สุขุมาลนิพนธ์
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(→กาพย์ตอบกรมพระดำรงฯ ถวายพระพรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ในวันประสูติ) |
(→โคลงแลกลอนสำหรับสอดในชักเปี๊ยะพร้อมกับแหวน) |
||
แถว 390: | แถว 390: | ||
===โคลงแลกลอนสำหรับสอดในชักเปี๊ยะพร้อมกับแหวน=== | ===โคลงแลกลอนสำหรับสอดในชักเปี๊ยะพร้อมกับแหวน=== | ||
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ | ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | '''คำอธิบาย''' | ||
+ | |||
+ | เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า ฯ เจริญพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ ในงานฉลองพระชันษาได้ทรงเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระบรมวงศ์ทั้งพระองค์ชายและพระองค์หญิงไปเสวยเวลาค่ำ ณ วังบางขุนพรหม เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคมเนื่องในของซึ่งแจกชำร่วยที่โต๊ะเสวยนั้น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า ฯ ทรงพระดำริห์ให้สร้างพระธำมรงค์ลงยาสีตามวันประสูติของเจ้านายที่ประทับเสวยทุกพระองค์ แล้วทรงพระนิพนธ์กลอนต่างๆ ซึ่งพิมพ์ต่อไปนี้บทหนึ่ง สำหรับกำกับพระธำมรงค์วงหนึ่ง หมายจะซ่อนไว้ด้วยกันในห่อชักเปี๊ยะวางไว้ตรงที่ประทับทุกพระองค์ สำหรับจะได้ทรงชักเปี๊ยะได้ธำมรงค์แลทรงอ่านบทกลอนเปนของฉลากประกอบความรื่นเริง แต่ต่อมาเปลี่ยน กระแสพระดำริห์ งดบทกลอนเหล่านี้ มาได้พิมพ์ห่อพระธำมรงค์แจกไม่ | ||
+ | |||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ประวิชวรรณประจำวาร ประสูติท่านทุกองค์มา | ||
+ | ประชุมเลี้ยงกระยาพา หทัยเริงสราญรมย์ | ||
+ | ๏ ผิทรงจับฉลากได้ มิตรงสีประสูติสม | ||
+ | พระหัตถ์สอดมิชวนชม นิยมใช้บมีดี | ||
+ | ๏ ประทานส่งพระวงศ์ใด ประสบวรรณประสูติมี | ||
+ | ประสงค์เสาะฉเพาะสี ประสูติทรงจะส่งสวย | ||
+ | ๏ เจริญอายุวรรณ สุขเพิ่มพลังรวย | ||
+ | พระยศยิ่งภิยโยพวย พพุ่งเกียรติกำจร ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ สียาในประวิชนี้ สำหรับ วันแฮ | ||
+ | ท่านอุบัติวันใดจับ ฉลากได้ | ||
+ | ไป่เหมาะจุ่งเปลี่ยนสับ กันแหละ กันนา | ||
+ | ให้สบวันท่านใช้ สอดนิ้วในงาร ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ประวิชน้อยห้อย ส.ม. มีสีพอครบเจ็ดวัน | ||
+ | ชักเปี๊ยะฉลากอัน บรรจงห่อมาวางถวาย | ||
+ | ๏ แม้สีมิต้องวาร ประสูติท่านจงขวนขวาย | ||
+ | แลกเปลี่ยนอย่าดูดาย ให้สีตรงจึงทรงงาม ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ธำมรงค์วงน้อยในฉลาก | ||
+ | มีสีมากเบ็จเสร็จครบเจ็ดสี | ||
+ | ผิดสีวันประสูติใช้ไม่เข้าที | ||
+ | ทรงเปลี่ยนกันสรรที่สีตรงวัน ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ฉลากแหวนก้านพลูน้อย สีต่างห้อยนามสุขุมาล | ||
+ | เสร็จเสวยพระอาหาร โปรดสรรทรงให้ตรงวัน ฯ | ||
+ | ๏ สีแหวนแผกมิพ้องวาร อุบัติท่านจงแปรผัน | ||
+ | เปลี่ยนผัดซึ่งกันแลกัน คงได้เหมาะฉเพาะสี ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ฉลากแหวนแทนขอบพระคุณเหลือ | ||
+ | ที่ทรงเอื้อเสด็จมาเลี้ยงอาหาร | ||
+ | สีน้ำยานี้ประสงค์ให้ตรงวาร | ||
+ | ประสูติท่านทุกพระองค์ที่ทรงรับ | ||
+ | แม้นสีไม่เหมาะส่งพระวงศ์แลก | ||
+ | ถ้ายังแผกสีเวียนเที่ยวเปลี่ยนสับ | ||
+ | คงสบเหมาะเพราะได้คิดพินิจนับ | ||
+ | ได้ตรงกับวันพระวงศ์ทุกองค์ เอย ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ธำมรงค์ที่ทรงจับฉลากได้ | ||
+ | ถ้าสีไม่เหมาะวันพระชันษา | ||
+ | โปรดส่งสับกับองค์ที่มีสียา | ||
+ | ตามตำรานามวันฉนั้น เทอญฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ธำมรงค์ไร้มณีสียาต่าง | ||
+ | ถ้วนเจ็ดอย่างตามวันพระชันษา | ||
+ | สีไม่ถูกวันอุบัติขัดตำรา | ||
+ | ทรงไปไหนขายหน้าท่าไม่ดี | ||
+ | จงเปลี่ยนกันกับพระวงศ์ที่ทรงรับ | ||
+ | คงจะจับได้วงที่ตรงสี | ||
+ | สวมพระหัตถ์วัฒนสวัสดี | ||
+ | ทุกเมื่อมีสุขเกษมเปรมกมล ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ สีแสงแดงโลหิต คู่วันอาทิตย์พิศตาตรู | ||
+ | สีด่อนจันทรหรู สีชมพูคู่วันอังคาร | ||
+ | ๏ พุธเขียวพฤหัสเหลือง ศุกร์เรืองน้ำเงินสอ้าน | ||
+ | เสาร์ดำคล้ำสคราน ถ้วนเจ็ดวารสีธำมรงค์ | ||
+ | ๏ ท่านได้ไม่ถูกวัน เชิญเปลี่ยนกันตามประสงค์ | ||
+ | เลือกสรรให้สีตรง ทรงสวมหัตถ์เพิ่มสวัสดี ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ แหวนสีแดงท่านให้แต่งวันอาทิตย์ | ||
+ | ฉลากผิดวันพระองค์จงหาใหม่ | ||
+ | แลกเจ้าน้องหรือเจ้าพี่มีถมไป | ||
+ | ได้สวมใส่นิ้วพระหัตถ์ชัดตำรา ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ พระจันทรจรกระจ่างในกลางหาว | ||
+ | แหวนสกาวเทียบสีดีหนักหนา | ||
+ | ถ้าไม่พ้องวันพระองค์จงทรงพา | ||
+ | แหวนที่ได้ไปหาแลกมาทรง ฯ | ||
+ | ประวิชสีที่ทรงจับฉลากได้ | ||
+ | ถ้ามีไม่เหมาะวันพระชันษา | ||
+ | จงเปลี่ยนสับกับท่านทุกองค์มา | ||
+ | เสวยอาหารด้วยกันวันนี้ เทอญ ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ วันใดท่านสมภพ สบสีใดในประวิชน้อย | ||
+ | จุ่งท่านสรรสอดก้อย เพื่อต้องตามวัน ท่านนา ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ถ้าแหวนผิดวันพระองค์ทรงสมภพ | ||
+ | จงปรารภแลกลองพี่น้องท่าน | ||
+ | แม้ประสบพบสีที่ตรงวาร | ||
+ | ขอประทานเปลี่ยนมาอย่าช้าที ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ประวิชวงที่ทรงหัตถ์ ถ้าสีซัดมิต้องวัน | ||
+ | ใครเห็นจะเย้ยหยัน จงแลกกันให้ตรงวาร ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ อังคารคู่ชมพูสีที่ประวิช | ||
+ | ถ้าแม้ผิดวันพระองค์จงเปลี่ยนผลัด | ||
+ | ให้ต้องสีเหมาะตรงไม่หลงพลัด | ||
+ | สวมพระหัตถ์วัฒนสถาพร ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ถ้าได้แหวนผิดวันจงหันเหียน | ||
+ | เวียนถามตามพี่น้องท่าน | ||
+ | คงสมใจได้สีที่ต้องการ | ||
+ | ขอประทานเปลี่ยนวงสมทรงงาม ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ แหวนเอยแหวนลงยา | ||
+ | สีสัปดาห์ครบวันท่านอุบัติ | ||
+ | ดูจงดีอย่าให้สีมันจับพลัด | ||
+ | ทรงสวมหัตถ์จะได้งามตามบุราณ ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ---- | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ แหวนสีสัปดาหะ กะถ้วนวันประสูติแล้ว | ||
+ | ผิวท่านได้ฉลากแคล้ว คลาดพ้องเชิญเปลี่ยน กันนา ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
===โคลงสุภาสิต=== | ===โคลงสุภาสิต=== |
การปรับปรุง เมื่อ 17:51, 17 พฤศจิกายน 2552
ข้อมูลเบื้องต้น
พระนิพนธ์: สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
บทประพันธ์
โคลงดั้นสุภาสิตวชิรญาณ
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑
๏ คราวเข็ญจะเฝ้าแต่ | โศกศัลย์ | ||
โศกจะดับขุ่นเข็ญ | ห่อนได้ | ||
ยิ่งโศกยิ่งจักพลัน | รอญชีพ | ||
ควรปลดควรเปลื้องให้ | โศกคลาย ฯ | ||
๏ ละโศกเร่งตริรู้ | สึกเข็ญ ตนนา | ||
รู้เข็ดเข็ญคงวาย | ว่างบ้าง | ||
ทิ้งชั่วยึดที่เปน | ทางชอบ | ||
จึงจักเริศร้างพ้น | เหตุภัย ฯ | ||
โคลงสุภาสิต
เริ่มทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑
คำอธิบาย
โคลงสุภาษิตนี้ทรงแต่งตามเค้าโครงสุภาสิตใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์กับเจ้านายที่บางปอิน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ (ฉบับพิมพ์เรียกว่า “โคลงสุภาษิตใหม่” ) สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ ทรงพระนิพนธ์โคลงสุภาสิตนี้ทรงกับเจ้านายผู้หญิงอีกหลายพระองค์ด้วยกัน คัดเอามาพิมพ์ในสมุดนี้แต่โคลงพระนิพนธ์ของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า ฯ
๏ รักเรียนต้องกอปด้วย | วิริยะ | ||
รักยศควรอุสาหะ | กิจไท้ | ||
รักทรัพย์อย่าพึงสละ | ทรัพย์จ่าย เฝือนา | ||
รักชอบกอบกิจให้ | ถ่องแท้ยุติธรรม ฯ | ||
๏ รักตนประพฤติล้วน | สุจริต | ||
รักลูกเพียรดัดจิต | ลูกไว้ | ||
รักมิตรมากที่มิตร | รักตอบ | ||
รักบ่าวเมื่อคราวใช้ | ไป่ลี้หนีงาร ฯ | ||
๏ ชังพูดเปนเล่ห์เลี้ยว | หลอกหลอน | ||
ชังชาตินิรคุณบอน | บ่อนไส้ | ||
ชังโจรเที่ยวซอกซอน | ลักทรัพย์ ท่านนา | ||
ชังมากบอยากใกล้ | เผ่าพ้องอสัทธรรม ฯ | ||
๏ กล้าคิดเพราะเหตุด้วย | ใจมาน | ||
กล้าเชื่อเพื่อปฏิญาณ | สัตย์ไว้ | ||
กล้าพูดเพราะเชื่อชาญ | เชาวน์ว่อง | ||
กล้ารักชักกล้าให้ | สู่สู้ริปูแทน ฯ | ||
๏ อาญาไทธิราชเผ้า | แผ่นสยาม | |||
เกรงไป่มีโมงยาม | ว่างน้อ | |||
ภัยพิบัติมัจจุราชตาม | ฉกชีพ | |||
กลัวบ่เว้นทุ่มท้อ | จิตลี้หนีไฉน ฯ | |||
๏ กลัวบาปบส่อให้ | โทษถึง ท่านนา | |||
กลัวท่านผูกเวรตรึง | ติดติ้ว | |||
กลัวกรรมจักตามดึง | ตนสู้ อบายพ่อ | |||
กลัวชอบบุญหอบหิ้ว | อาตม์ขึ้นสุขภูมิ์ ฯ | |||
๏ เพียรประพฤติสุจริตอ้าง | อวยผล | ||
เพียรประพฤติยุติธรรมดล | ดับไร้ | ||
เพียรประพฤติกอปกุศล | บุญส่ง สุขนา | ||
เพียรประพฤติเมตตจิตได้ | ห่างพ้นคนชัง ฯ | ||
๏ เพียรประพฤติทุจริตร้อน | แรงไฟ นรกพ่อ | ||
เพียรประพฤติฉ้อฉกภัย | จักพ้อง | ||
เพียรประพฤติบาปบไกล | ทุกข์ถับ ถึงนา | ||
เพียรประพฤติเหี้ยมโหดต้อง | ตกข้างคนฉิน ฯ | ||
๏ หมั่นเขียนหมั่นอ่านอ้าง | อักษร | ||
เพียรแต่งโคลงลิลิตกลอน | ดอกสร้อย | ||
กลบทอีกบทละคอน | ฉันท์กาพย์ | ||
เพียรดั่งนี้ฤาคล้อย | คลาดผู้ชาญกวี ฯ | ||
๏ โกสัชชัดเชิดอ้าง | โทษา | ||
ฉัพพรรคอรรถกถา | กล่าวแจ้ง | ||
นรชาติปราศวิริยา | นฤสุข | ||
จักสฤษดิกิจใดแสร้ง | ผัดเพี้ยนผ่อนตน ฯ | ||
๏ หนาวหนักจักกอปเกื้อ | การใด ได้พ่อ | ||
บางผ่อนร้อนจัดใจ | จักหวิ้น | ||
บางคาบก็ขานไข | ยลย่ำ แล้วนา | ||
กอปกิจบควรสิ้น | รติแผ้วควรทำ ฯ | ||
๏ ยามพรุกพร่ำผัดเพี้ยน | ทำงน มากนา | ||
งายหน่อยจึงจักขวน | กิจไซร้ | ||
บางผ่อนอุทรรน | ร้อนภักษ์ ภุญช์พ่อ | ||
บางผัดอิ่มหนักให้ | หย่อนน้อยค่อยทำ ฯ | ||
๏ สันดานประกอบด้วย | โกสัช | ||
ผิสฤษดิ์กิจใดผัด | พรุ่งเพล้ | ||
เพี้ยนหนาวผัดร้อนจัด | อิ่มพร่อง อุทรนา | ||
กว่าจะเสร็จประสงค์เอ้ | อูดพ้นพันทวี ฯ | ||
๏ พุทธรัตน์ธรรมรัตน์ทั้ง | สงฆ์สรรพ์ พิสุทธิ์แฮ | ||
อีกชนกชนนีอัน | เกิดเกล้า | ||
สยามรัฐดิลกธรร | มิกแห่ง ตนฤา | ||
ควรซื่อสุจริตเช้า | ค่ำน้อมนมัสการ ฯ | ||
๏ โกงคิดทรยศผู้ | บำรุง ตนแฮ | ||
หมายลาภเปิดลับจุง | โทษให้ | ||
ความชั่วติดตัวนุง | เหนียวเหนอะ | ||
สบลาภก็พลันไร้ | เพื่อร้อนแรงกรรม ฯ | ||
๏ อาลัยลูกจักเมื้อ | ยุรเปียน ทวีปแฮ | ||
ใจคิดเปนนิจเวียน | วาบว้ำ | ||
อาลัยเพื่อเคยเสถียร | สถิตสุข เสมอนา | ||
ใจห่วงเหลือจักปล้ำ | ปลิดให้อาลัยสูญ ฯ | ||
๏ เบื่อโลกเห็นโลกล้วน | อนิจจัง | ||
เบื่อทุกข์ทุกวันประดัง | รุกเร้า | ||
เบื่อเคราะห์เบื่อกรรมฝัง | รกราก | ||
เบื่อหน่ายตายเกิดเฝ้า | รับท้นทุกข์ทวี ฯ | ||
๏ ราชภัยพิบัติแม้ | หลีกหนี | ||
อัคนิภัยพิบัติลี | ลาศแคล้ว | ||
โจรภัยพิบัติมี | หลบรอด โจรนา | ||
สามสิ่งโสมนัสแผ้ว | ผ่องชื้นกมลเปรม ฯ | ||
๏ ยินดีได้ลาภล้น | มูลมอง | ||
ยินลาภยศศักดิ์ปอง | ศักดิ์ได้ | ||
ยินดีอนี้ตรอง | ตรึกรงับ บ้างพ่อ | ||
ยินลาภนักมักให้ | ช่องให้ชนหยัน ฯ | ||
๏ กลางประชุมแม้ว่าต้อง | ถูกทัก | ||
โดยเท็จหรือจริงประจักษ์ | สุดพื้น | ||
เก่าเหลือที่จะหัก | ใจกลับ ใหม่แม่ | ||
โทมนัสขัดจิตตื้น | อกน้ำตาคลอ(๑) ฯ | ||
๏ คิดเห็นประโยชน์แล้ว | จึ่งทำ | ||
กลายกลับเปนผิดนำ | โทษพ้อง | ||
เสียใจที่ใจสำ | คัญผิด | ||
โทษอื่นบได้ต้อง | โทษแท้ตนเอง ฯ | ||
๏ ริษยาเกิดขึ้นเพราะด้วย | เสียจิต ก่อนนา | ||
เสียจิตเพาะริษยา | กอปสร้าง | ||
สองอย่างต่างประชันปิด | ประชันส่อ กันแฮ | ||
ปวงปราชญ์อาจมละล้าง | คู่ข้อมลายสูญ ฯ | ||
๏ พยาบาทนี่นี้ขาด | ทางธรรม นะพ่อ | ||
ผิเกิดไป่คนึงรำ | งับแล้ว | ||
ดังฤาจักดลสำ | ราญสุข พ่อเอย | ||
ไปปรโลกฤาจักแคล้ว | คลาดพ้นเวรจอง ฯ | ||
๏ ปราชญ์มองเห็นโทษแท้ | จึ่งประหาร ขาดนา | ||
เวรรงับดับเวรผลาญ | หมดเชื้อ | ||
อาฆาฏขาดจิตสราญ | รมย์ยิ่ง ยงแฮ | ||
เขษมสุขประจวบเมื้อ | สู่ยั้งนฤพาน ฯ | ||
๏ ประสงค์ศิลปศาสตรต้อง | เติมเพียร | ||
ประสงค์มั่งมีทรัพย์เรียน | เรื่องค้า | ||
ประสงค์ยศจุ่งหมั่นเวียน | เฝ้าบพิตร เสมอนา | ||
ประสงค์สุขหน่วงจิตคว้า | สัตย์ไว้นิจกาล ฯ | ||
๏ หยิ่งยศถือยศก้ำ | เกินคน | ||
หยิ่งศักดิ์หวังศักดิ์ตน | ใหญ่กว้าง | ||
หยิ่งทรัพย์ส่ายทรัพย์กล | ดั่งทรัพย์ จักรฤา | ||
สามหยิ่งจักพาค้าง | ขาดสิ้นนิจผล ฯ | ||
โคลงทรงตอบพระราชนิพนธ์ เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงประชวร
ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๖ กับ พ.ศ. ๒๔๓๗
๏ เจ็บนานหนักอกผู้ | บริรักษ์ ปวงแฮ | ||
คิดใคร่ลาลาญทัก | ปลดเปลื้อง | ||
ความเหนื่อยแห่งสูจัก | พลันเสื่อม | ||
ตูจะสู่ภพเบื้อง | น่านั้นพลันเขษม | ||
๏ สรวมชีพข้าบาท | ภักดี | ||
พระราชเทวีทรง | สฤษดิ์ให้ | ||
สุขุมาลมารศรี | เสนอยศ นี้นา | ||
ขอกราบทูลท่านไท้ | ธิราชเจ้าจอมสยาม ฯ | ||
๏ ประชวรนานหนักอกข้า | ทั้งหลาย ยิ่งแล | ||
ทุกทิวาวันบวาย | คิดแก้ | ||
สิ่งใดซึ่งจักมลาย | พระโรค เร็วแฮ | ||
สุดยากเท่าใดแม้ | มาทม้วยควรแสวง ฯ | ||
๏ หนักแรงกายเจ็บเพี้ยง | เท่าใด ก็ดี | ||
ยังบหย่อนหฤทัย | สักน้อย | ||
แม้พระจะด่วนไกล | ข้าบาท ปวงแฮ | ||
อกจะพองหนองย้อย | ทั่วหน้าสนมนาง ฯ | ||
โคลงสุภาสิตเบ็ดเตล็ด
ความลอาย๏ มีอายอาจสกัดกั้น | กันทาง ชั่วแฮ | ||
จักประพฤติชั่วอายขวาง | ขัดไว้ | ||
ผู้มีหฤทัยจาง | จืดต่อ หิรินา | ||
จึงประพฤติความชั่วได้ | แน่แท้เทียวเธอ ฯ | ||
๏ อุด(๑)นานแรกออกนั้น | แสนอาย | ||
ลมล่อยพลอยจับกาย | รริกเริ้ม | ||
หน้ามือจักษุลาย | แลพร่าง | ||
เหงื่อหยดขาสั่นเทิ้ม | อุทัจด้วยคนดู ฯ | ||
๏ เพ็ญบูรณ์เกียรติยศทั้ง | บริวาร | ||
งามเลิศใดบปาน | เปรียบได้ | ||
เพ็ญทรัพย์อีกคำขาน | สัตย์ทุก เมื่อนา | ||
งามยิ่งงามแท้ให้ | ทั่วผู้สรรเสริญ ฯ | ||
๏ ผู้หาญราญเศิกสู้ | ไป่หนี | ||
หนึ่งเหล่าคณะเมธี | ทั่วหน้า | ||
อีกสงฆ์พิสุทธิ์ศี | ลวัตยิ่ง ยงเฮย | ||
หญิงซื่อสุจริตกล้า | สี่นี้ควรชม ฯ | ||
โคลงสุภาสิต ทรงถอดความจากวชิรญาณสุภาสิต
๏ บุญมากหากกอปเกื้อ | ปัญญา มากนา | |||
โดยป่วยก็พลันหาย | ห่างไข้ | |||
มากคนรักไปมา | เช้าค่ำ | |||
เคยเกลียดกลับรักได้ | เพราะบุญ ฯ | |||
๏ บุญต่ำนำชักให้ | หมดความ คิดนา | |||
กำเริบไข้แรงรุน | โรคร้าย | |||
มิตรญาติขาดรักยาม | บุญอับ | |||
พบปะก็คล้ายคล้าย | แขกเมิน ฯ | |||
๏ ความรู้มีมากล้น | เพียงใด ก็ดี | |||
แต่ขาดความเพียรใจ | เกียจคร้าน | |||
เฉกผู้มากทรัพย์ใน | เรือนฟุ่ม เฟือยนา | |||
ตระหนี่เก็บไว้แต่บ้าน | ห่างใช้ไฉนเติม ฯ | |||
๏ วิชาเดิมมีน้อยแต่ | มีเพียร มากฮา | |||
ยังบ่ทราบใดเรียน | มากไว้ | |||
ผู้น้อยทรัพย์ค่อยเบียน | ทรัพย์จ่าย เสมอนอ | |||
ทรัพย์จะเสริมเติมได้ | มากด้วยแรงเพียร ฯ | |||
โคลงสุภาสิตทรงแต่งเล่นกับเจ้านายผู้หญิง
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓
๏ ความเพลินมีทั่วทั้ง | ฝ่ายดี ทรามเฮย | ||
สุดแต่ผู้เพลินมี | สติค้น | ||
เพลินชอบก็พลันทวี | ลาภยศ ปวงแฮ | ||
เพลินผิดก็ไป่พ้น | ภาคร้ายเร็วถึง ฯ | ||
๏ รูปต่ำซ้ำศิระงุ้ม | ปานปม เปรอะนา | ||
รสพลับแช่ฝาดขุย | เกาะลิ้น | ||
กลิ่นสาบมนุษย์ระดม | กลิ่นอุต พิษแฮ | ||
เสียงพูดปลอกปลิ้นปลี้ | เปล่าความ ฯ | ||
๏ งามโฉมแต่หยุดอ้า | อาตม์โฉม | ||
ฤาแต่งเกินพองาม | เงื่อนหน้า | ||
มารยาทลุกลนโครม | ครามเตะ ต่อยเฮย | ||
ปวงกล่าวทั้งนี้ข้า | สุดรำคาญ ฯ | ||
๏ ปรารถนาของมนุษย์นั้น | หมดไฉน ท่านเฮย | ||
แม้จักพรรณาไป | ไป่สิ้น | ||
แต่ผู้ว่องวุฒิไวย | รู้เลือก สรรแฮ | ||
ควรดับฤาควรดิ้น | โดดยั้งตามควร ฯ | ||
ร่ายประทานพระพรกรมพระดำรงในวันประสูติ
ทรงนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒
๏ ขษณพระพุทธศก | ตกสองพันสี่ร้อย | ||
ห้อยเศษหกสิบสองปี | วีสะดิถีมิถุนายน | ||
ดลอภิลักขิตสมัย | ในพระเจ้าบรมวงศ์ | ||
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ | คาบพระชนม์คำณวน | ||
ประมวลกึ่งสตพรรษ | อีกเศษอัฐฉนำกาล | ||
มานพระหฤทัยจำนง | ประสงค์กอปกุศลอุทิศ | ||
เปนนิรามิสราชพลี | แด่ภูวบดีปิยมหาราช | ||
ทั้งพระบาทบรมอัยกา | ราชปิตุลาบวรอิศเรศ | ||
เหตุสมภาคมายุสม์ | ลุอำนวยทานสงฆ์ | ||
ปลงธนสารบำรุง | ผดุงสภากาชาดสยาม | ||
พยาบาลพระนามบัญญัติ | ข้อยมีมนัสปราโมทย์ | ||
มาโนชในพระกุศล | จึงนิพนธ์ถวายชัย | ||
ด้วยน้ำใจสุทธิ์สอาด | สรวมอำนาจพระรัตนตรัย | ||
อีกไทยเทพทรงมหิทธิศักดิ์ | ซึ่งพิทักษ์สยามณาเขต | ||
สรวมพระเดชนฤบดินทร์ | เจ้าสยามินทร์ห้าพระองค์ | ||
ทรงแผ่พระเดชานุภาพ | ปราบปวงอุปัทวภัย | ||
ไกลอุปสัคไกลโศก | นิราสโรคนิราสทุกข์ | ||
เนืองนิตย์ยุกต์สุขารมณ์ | อุดมพระปรีชาเชาวน์ | ||
เนาประมุขโบราณคดี | ทวีพระยศฦาเลื่อง | ||
เฟื่องกิตติคุณฦาเลวง | ล้ำยิ่งเพรงบันดาล | ||
พระชนมานยืนยง | ธำรงวังวรดิศ | ||
พิพิธสุขพิศาล | กอปศฤงคารไพบูลย์ | ||
วงศ์ประยูรพรั่งพร้อม | น้อมมนัธยาศัย | ||
ในพระเมตตาคุณ | การุญรักษ์ดิเรก | ||
เฉกโพธิพฤกษ์ฉายา | ร่มบริจาร์แลดนัย | ||
เหล่าข้าไทยทั้งผอง | ใดธปองจงประสบ | ||
ใดธปรารภจงสัมฤทธิ์ | สิทธิดังมโนหวัง | ||
ดังข้อยผู้ภคินี | อื้นวจีพจน์สุนทร | ||
อำนวยพระพรถวายฉนี้ | สรวมเทพช่วยชี้ | ||
ช่องให้คงเขษม | โสตถิ เทอญ ฯ | ||
โคลงตอบกรมพระดำรงฯ ถวายพระพรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ในวันประสูติ
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒
โคลงของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๏ ฝาตลับรูปไข่ถ้วย | ทูลถวาย | ||
เฉกเช่นไข่ขวัญหมาย | อรรถชี้ | ||
นิพนธ์พจนแทนบาย | ศรีปาก ชามแฮ | ||
สมโภชวันเฉลิมนี้ | เพิ่มพร้อมพรถวาย ฯ | ||
๏ สมเด็จพระพี่เจ้า | จอมสยาม | ||
จงโปร่งปราศพยาธิความ | ขุ่นไข้ | ||
เสวยสุขสวัสดิ์งาม | วรรณผ่อง เพ็ญเทอญ | ||
เจริญพละพระชนม์ให้ | ร่วมร้อยปีประมาณ ฯ | ||
โคลงทรงตอบแทนทูลกระหม่อมหญิง
๏ ไข่ถ้วยแทนไข่เข้า | เฉลิมขวัญ | ||
อีกพจนประพันธ์อวย | สวัสดิ์พร้อม | ||
ประทานลูกสมัยวัน | อุปัติศก นี้นา | ||
ลูกธมาโนชน้อม | นบน้อมขอบพระคุณ ฯ | ||
กาพย์ตอบกรมพระดำรงฯ ถวายพระพรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ในวันประสูติ
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓
กาพย์กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๑๖ | |||
๏ สถิติสถานบ้านแป้งแหล่งตำบล | จวบกันยายน | ||
สิบสี่ประสบครบดิถี | |||
๏ เฉลิมชนม์พระเชฏฐภคินี | สมเด็จกษัตรี | ||
ศรีรัตนโกสินทร์สมร | |||
๏ อยู่ไกลใคร่จะถวายพร | จึงเพียรเขียนกลอน | ||
จำทูลถวายอย่างต่างตน | |||
๏ ลูกหลานว่านเครือหลายคน | ก็บอกยุบล | ||
ให้กราบบาทมูลทูลผสม | |||
๏ ร่วมใจปรีดาสารภิรมย์ | ยอกรบังคม | ||
ถวายพรพิพัฒน์สวัสดี | |||
๏ ให้ทรงสุขเกษมเปรมปรีดิ์ | ทุกทิวาราตรี | ||
อย่ารู้นิราสคลาดคลาย | |||
๏ ผ่องพระฉวีพรรณราย | ดุจเดือนเด่นฉาย | ||
มลทินพยาธิขาดสูญ | |||
๏ เจริญพละพระกำลังเพิ่มพูน | สมบุรณบริบูรณ | ||
ทุกสิ่งทรงมาทปรารถนา | |||
๏ ขอให้เจริญพระชันษา | ยั่งยืนวัฒนา | ||
การเกิดประโยชน์โพธิผล | |||
๏ ได้ทรงสมาทานการกุศล | ปรฏิบัติพระชน | ||
นีแลเลี้ยงเหล่าประยูร | |||
๏ อุปการ์ข้าไทเอาธูร | โอบเอื้อเกื้อกูล | ||
ตลอดจนเหล่าชาวประชา | |||
๏ จิรฐิติกาลนานช้า | เรือนร้อยพรรษา | ||
ให้สมดังสัจอธิฐาน ฯ | |||
ทรงตอบแทนทูลกระหม่อมหญิง
๑๖ | |||
๏ จวบวันอุบัติกาล | ณวารที่สิบสี่กันย์ | ||
ได้รับลายพระหัตถ์อัน | ไพเราะห์พจนพาที | ||
๏ ข้อยมีมนัสนึก | รฦกในพระอารี | ||
แก่ภาคินัยมี | ประจำมั่นนิรันดร | ||
๏ ขอโอนศิโรดม | บังคมรับบวรพร | ||
ด้วยกาพย์ลำเนากลอน | อันแต่งโดยพระมารดา | ||
๏ อนึ่งปวงประยูรวงศ์ | ทุกองค์ร่วมพระหัทยา | ||
แด่ปิตุลปิตา | อำนวยศุภมงคล | ||
๏ ขอเธอทั้งหลายจง | ธำรงสุขสถาผล | ||
โรคภัยอันใดดล | พลันบำราศประลาตไกล | ||
๏ สรวมพรชมัยพร | จงประสิทธิ์ทุกสิ่งไกษย | ||
อำนาจสัจวจีใจ | ประจวบปองสนองเสนอ ฯ | ||
โคลงแลกลอนสำหรับสอดในชักเปี๊ยะพร้อมกับแหวน
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔
คำอธิบาย
เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า ฯ เจริญพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ ในงานฉลองพระชันษาได้ทรงเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระบรมวงศ์ทั้งพระองค์ชายและพระองค์หญิงไปเสวยเวลาค่ำ ณ วังบางขุนพรหม เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคมเนื่องในของซึ่งแจกชำร่วยที่โต๊ะเสวยนั้น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า ฯ ทรงพระดำริห์ให้สร้างพระธำมรงค์ลงยาสีตามวันประสูติของเจ้านายที่ประทับเสวยทุกพระองค์ แล้วทรงพระนิพนธ์กลอนต่างๆ ซึ่งพิมพ์ต่อไปนี้บทหนึ่ง สำหรับกำกับพระธำมรงค์วงหนึ่ง หมายจะซ่อนไว้ด้วยกันในห่อชักเปี๊ยะวางไว้ตรงที่ประทับทุกพระองค์ สำหรับจะได้ทรงชักเปี๊ยะได้ธำมรงค์แลทรงอ่านบทกลอนเปนของฉลากประกอบความรื่นเริง แต่ต่อมาเปลี่ยน กระแสพระดำริห์ งดบทกลอนเหล่านี้ มาได้พิมพ์ห่อพระธำมรงค์แจกไม่
๏ ประวิชวรรณประจำวาร | ประสูติท่านทุกองค์มา | ||
ประชุมเลี้ยงกระยาพา | หทัยเริงสราญรมย์ | ||
๏ ผิทรงจับฉลากได้ | มิตรงสีประสูติสม | ||
พระหัตถ์สอดมิชวนชม | นิยมใช้บมีดี | ||
๏ ประทานส่งพระวงศ์ใด | ประสบวรรณประสูติมี | ||
ประสงค์เสาะฉเพาะสี | ประสูติทรงจะส่งสวย | ||
๏ เจริญอายุวรรณ | สุขเพิ่มพลังรวย | ||
พระยศยิ่งภิยโยพวย | พพุ่งเกียรติกำจร ฯ | ||
๏ สียาในประวิชนี้ | สำหรับ วันแฮ | ||
ท่านอุบัติวันใดจับ | ฉลากได้ | ||
ไป่เหมาะจุ่งเปลี่ยนสับ | กันแหละ กันนา | ||
ให้สบวันท่านใช้ | สอดนิ้วในงาร ฯ | ||
๏ ประวิชน้อยห้อย ส.ม. | มีสีพอครบเจ็ดวัน | ||
ชักเปี๊ยะฉลากอัน | บรรจงห่อมาวางถวาย | ||
๏ แม้สีมิต้องวาร | ประสูติท่านจงขวนขวาย | ||
แลกเปลี่ยนอย่าดูดาย | ให้สีตรงจึงทรงงาม ฯ | ||
๏ ธำมรงค์วงน้อยในฉลาก | |||
มีสีมากเบ็จเสร็จครบเจ็ดสี | |||
ผิดสีวันประสูติใช้ไม่เข้าที | |||
ทรงเปลี่ยนกันสรรที่สีตรงวัน ฯ | |||
๏ ฉลากแหวนก้านพลูน้อย | สีต่างห้อยนามสุขุมาล | ||
เสร็จเสวยพระอาหาร | โปรดสรรทรงให้ตรงวัน ฯ | ||
๏ สีแหวนแผกมิพ้องวาร | อุบัติท่านจงแปรผัน | ||
เปลี่ยนผัดซึ่งกันแลกัน | คงได้เหมาะฉเพาะสี ฯ | ||
๏ ฉลากแหวนแทนขอบพระคุณเหลือ | |||
ที่ทรงเอื้อเสด็จมาเลี้ยงอาหาร | |||
สีน้ำยานี้ประสงค์ให้ตรงวาร | |||
ประสูติท่านทุกพระองค์ที่ทรงรับ | |||
แม้นสีไม่เหมาะส่งพระวงศ์แลก | |||
ถ้ายังแผกสีเวียนเที่ยวเปลี่ยนสับ | |||
คงสบเหมาะเพราะได้คิดพินิจนับ | |||
ได้ตรงกับวันพระวงศ์ทุกองค์ เอย ฯ | |||
๏ ธำมรงค์ที่ทรงจับฉลากได้ | |||
ถ้าสีไม่เหมาะวันพระชันษา | |||
โปรดส่งสับกับองค์ที่มีสียา | |||
ตามตำรานามวันฉนั้น เทอญฯ | |||
๏ ธำมรงค์ไร้มณีสียาต่าง | |||
ถ้วนเจ็ดอย่างตามวันพระชันษา | |||
สีไม่ถูกวันอุบัติขัดตำรา | |||
ทรงไปไหนขายหน้าท่าไม่ดี | |||
จงเปลี่ยนกันกับพระวงศ์ที่ทรงรับ | |||
คงจะจับได้วงที่ตรงสี | |||
สวมพระหัตถ์วัฒนสวัสดี | |||
ทุกเมื่อมีสุขเกษมเปรมกมล ฯ | |||
๏ สีแสงแดงโลหิต | คู่วันอาทิตย์พิศตาตรู | ||
สีด่อนจันทรหรู | สีชมพูคู่วันอังคาร | ||
๏ พุธเขียวพฤหัสเหลือง | ศุกร์เรืองน้ำเงินสอ้าน | ||
เสาร์ดำคล้ำสคราน | ถ้วนเจ็ดวารสีธำมรงค์ | ||
๏ ท่านได้ไม่ถูกวัน | เชิญเปลี่ยนกันตามประสงค์ | ||
เลือกสรรให้สีตรง | ทรงสวมหัตถ์เพิ่มสวัสดี ฯ | ||
๏ แหวนสีแดงท่านให้แต่งวันอาทิตย์ | |||
ฉลากผิดวันพระองค์จงหาใหม่ | |||
แลกเจ้าน้องหรือเจ้าพี่มีถมไป | |||
ได้สวมใส่นิ้วพระหัตถ์ชัดตำรา ฯ | |||
๏ พระจันทรจรกระจ่างในกลางหาว | |||
แหวนสกาวเทียบสีดีหนักหนา | |||
ถ้าไม่พ้องวันพระองค์จงทรงพา | |||
แหวนที่ได้ไปหาแลกมาทรง ฯ | |||
ประวิชสีที่ทรงจับฉลากได้ | |||
ถ้ามีไม่เหมาะวันพระชันษา | |||
จงเปลี่ยนสับกับท่านทุกองค์มา | |||
เสวยอาหารด้วยกันวันนี้ เทอญ ฯ | |||
๏ วันใดท่านสมภพ | สบสีใดในประวิชน้อย | ||
จุ่งท่านสรรสอดก้อย | เพื่อต้องตามวัน ท่านนา ฯ | ||
๏ ถ้าแหวนผิดวันพระองค์ทรงสมภพ | |||
จงปรารภแลกลองพี่น้องท่าน | |||
แม้ประสบพบสีที่ตรงวาร | |||
ขอประทานเปลี่ยนมาอย่าช้าที ฯ | |||
๏ ประวิชวงที่ทรงหัตถ์ | ถ้าสีซัดมิต้องวัน | ||
ใครเห็นจะเย้ยหยัน | จงแลกกันให้ตรงวาร ฯ | ||
๏ อังคารคู่ชมพูสีที่ประวิช | |||
ถ้าแม้ผิดวันพระองค์จงเปลี่ยนผลัด | |||
ให้ต้องสีเหมาะตรงไม่หลงพลัด | |||
สวมพระหัตถ์วัฒนสถาพร ฯ | |||
๏ ถ้าได้แหวนผิดวันจงหันเหียน | |||
เวียนถามตามพี่น้องท่าน | |||
คงสมใจได้สีที่ต้องการ | |||
ขอประทานเปลี่ยนวงสมทรงงาม ฯ | |||
๏ แหวนเอยแหวนลงยา | |||
สีสัปดาห์ครบวันท่านอุบัติ | |||
ดูจงดีอย่าให้สีมันจับพลัด | |||
ทรงสวมหัตถ์จะได้งามตามบุราณ ฯ | |||
๏ แหวนสีสัปดาหะ | กะถ้วนวันประสูติแล้ว | ||
ผิวท่านได้ฉลากแคล้ว | คลาดพ้องเชิญเปลี่ยน กันนา ฯ | ||
โคลงสุภาสิต
ทรงพระนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ และ ๒๔๖๘
เพลงยาวกลบท
พระโอวาทประทานทูลกระหม่อมพระองค์ชาย เมื่อจะเสด็จไปทรงศึกษาในยุโรป
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗
พระนิพนธ์ที่สุด ลายพระหัตถ์ประทานพระพรในวันประสูติกรมพระยาดำราชานุภาพ
เชิงอรรถ
ที่มา
สุขุมาลนิพนธ์ พระนิพนธ์กาพย์กลอนแลร้อยแก้วของ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดให้พิมพ์เนื่องในการทรงบำเพ็ญพระกุศลสนองพระคุณสมเด็จพระชนนี เมื่อพระศพครบปัญญาสมวาร ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๐ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
(ขอขอบคุณ คุณพิกุลแก้ว สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน)