ร่ายสุภาษิตพระร่วงฉบับวัดเà¸à¸²à¸°
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == หมวดหมู่:วรรณคดีไทย [[หมวดหมู่…') |
(→ข้อมูลเบื้องต้น) |
||
แถว 4: | แถว 4: | ||
[[หมวดหมู่:ร่าย]] | [[หมวดหมู่:ร่าย]] | ||
[[หมวดหมู่:สุภาษิต]] | [[หมวดหมู่:สุภาษิต]] | ||
- | ''' | + | '''ผู้แต่ง:''' [[ไม่ปรากฎนาม]] |
+ | |||
== บทประพันธ์ == | == บทประพันธ์ == | ||
<tpoem> | <tpoem> |
รุ่นปัจจุบันของ 11:41, 13 สิงหาคม 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
ผู้แต่ง: ไม่ปรากฎนาม
บทประพันธ์
๏ พระผู้ฝ่ายสรรพเชญ์ | เล็งเห็นเสร็จทุกประการ | ||
จึงพากย์ญาณกล่าวไว้ | สอนสัตว์ในโลกา | ||
ทำตามอย่าคลาดคล้อย | เมื่อน้อยให้เรียนวิชา | ||
ให้หาสินเมื่อใหญ่ | อย่าให้ลักทรัพย์ท่าน | ||
อย่าคร้านแก่ความ | ว่าไรตามระบอบ | ||
เอแต่ชอบเสียผิด | อย่าคบมิตรคบพาล | ||
อย่าอวดหาญแก่เพื่อน | เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า | ||
ข้าศึกมาอย่านอนใจ | ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน | ||
การเรือนตนเร่งคิด | อย่านั่งชิดผู้ใหญ่ | ||
อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์ | คนที่รักอย่าดูถูก | ||
ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง | สร้างกุศลอย่ารู้โรย | ||
อย่าโดยคำคนพลอด | เข็นเรือทอดกลางถนน | ||
เป็นคนอย่าทำใจใหญ่ | ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน | ||
คบขุนนางอย่าโหด | ดทษตนผิดคิดรำพึง | ||
อย่าคำนึงโทษท่าน | หว่านพืชจะเอาผล | ||
เลี้ยงคนไว้กินแรง | อย่าขัดแข็งผู้ใหญ่ | ||
อย่าให้ไพร่ชังตน | เดินหนอย่าไปเปลี่ยว | ||
สายน้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ | ที่ซุ้มเสือให้ประหยัด | ||
ให้ระมัดฟืนไฟ | ตนเป็นไทยอย่าคบทาส | ||
อย่าประมาทท่านผู้ดี | มีสินอย่าอวดมั่ง | ||
ผู้เฒ่าสั่งเร่งจำความ | ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก | ||
ทำรั้วเรือกไว้กันตน | คนรักอย่าวางใจ | ||
ที่ภัยเร่งหลบหลีก | ปีกไม่ชุ่มอย่าด่วน | ||
ได้ส่วนอย่ามักมาก | อย่ามีปากกล้าว่าคน | ||
รักตนสงวนตน | ให้รักตนกว่าทรัพย์ | ||
อย่าได้รับของเข็ญ | เห็นเต็มตาแล้วอย่าปาก | ||
ของฝากควรจึงรับ | ที่ทับจงมีไฟ | ||
ที่ไปจงมีเพื่อน | อย่าฟั่นเฟือนระอา | ||
ครูบาสอนอย่าโกรธ | โทษตนผิดจงรู้ | ||
สู้เสียสินสงวนศักดิ์ | ภักดีอย่ากลเกียจ | ||
อย่าค่อนเคียดแก่มิตร | ถ้าผิดช่วยเตือนตอบ | ||
ถ้าชอบช่วยยกยอ | อย่าขอของรักเพื่อน | ||
อย่ายืมเงินทองของหายาก | ศัตรูปากปราศรัย | ||
ภายในคิดดุจนอก | หอกดาบอย่าใกล้ตัว | ||
อย่าเมามัวเนืองนิจ | คิดความตายทุกเมื่อ | ||
อย่าเบื่อเบื้องทางธรรม | อย่ามักหมั่นจะพูดพยาธิ | ||
ให้รู้ที่ขลาดที่หาญ | คนพาลอย่าพาลผิด | ||
อย่าเอาเป็นมิตรไปมา | เจรจาจงรอบคอบ | ||
ให้ตอบถ้อยแต่พอตน | ให้คบคนผู้ใหญ่ | ||
ช้างไล่แล่นซอนซบ | หมาขบอย่าขบหมา | ||
อย่าหึงสาแก่ท่าน | โอมอ่านเรียนแต่ยุกติ์ | ||
อย่าปลุกผีกลางคลอง | อย่าปองเรียนอาถรรพ์ | ||
พลันฉิบหายมอดม้วย | อย่าดูเยี่ยงถ้วยแตกมิติด | ||
ดูเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกบ่มิสเย | ลูกเมียยังอย่าวางใจ | ||
ไฟในอย่านำออก | ไฟนอกอย่านำเข้า | ||
อาสาเจ้าจนตัวตาย | อาสานายให้เต็มแรง | ||
ของแพงอย่ามักกิน | อย่ายินคำคนโลภ | ||
ค่อยโอบอ้อมเอาใจเพื่อน | อย่าฟั่นเฟือนแก่คน | ||
อย่ายลเห็นแต่ไกล | ท้าวไทยอย่าหมายโทษ | ||
คนโหดให้เอ็นดู | ยอครูยอต่อหน้า | ||
ยอข้าเมื่อแล้วกิจ | ยอมิตรเมื่อลับหลัง | ||
ลูกเมียยังอย่าสรรเสริญ | จะสะเทิ้นอดสู | ||
อย่าชังครูชังมิตร | นักสิทธิ์เตือนอย่าดุด่า | ||
โหราเชี่ยวว่าควรจำ | หมอยายำอย่าดูถูก | ||
ลูกเมียเตือนควรค่อยคิด | ผิดอย่าเอาเอาแต่ชอบ | ||
นบนอบแก่ผู้เฒ่า | เข้าออกอย่านอนใจ | ||
ระวังระไวหน้าหลัง | เยียวผู้ชักจะคอยโทษ | ||
อย่ากริ้วโกรธเนืองนิตย์ | ที่ผิดปลิดเสียบ้าง | ||
วางหอกดาบอย่าหาญ | จะมารไพรีตอบ | ||
จะได้ชอบเมื่อภายหลัง | วังเวียงอย่ายินสนุก | ||
รำพึงทุกข์สงสาร | อย่าหาญทำความผิด | ||
คิดไต่ถามหาความชอบ | อย่าได้กอบเสียกำ | ||
คนขำอย่างรักใคร่ | เยี่ยงไก่กุกหาลูก | ||
ลูกหลานมากินอยู่ | ความมีกระทู้ทำ | ||
ของขำอย่ารับไว้ | อย่าใช้คนบังบด | ||
ทดแทนคุณท่านเมื่อยาก | ฝากที่รักจงพอใจ | ||
ท้าวไทยอย่าทะนง | จงภักดีอย่ากลเกียจ | ||
เจ้าเคียดอย่าเคียดตอบ | นบนอบใจใสสุทธิ์ | ||
อย่าถากถางท่านด้วยตา | อย่าพาผิดด้วยหู | ||
อย่าเตือนครูตีด่า | ครูว่าอย่าว่านัก | ||
ที่หลักแหลมอย่าด่วน | น้ำป่วนนักมักเป็นตม | ||
ลมพัดนักหักแพ้ไม้ | จะให้ให้จงพอศักดิ์ | ||
ถ้าจะทักจงพอใจ | ภายในจงคิดสำรอก | ||
ภายนอกคิดสรรเสริญ | เมินใจตนพึงงด | ||
คนทรยศอย่าเชื่อ | อย่าได้เพรื่อความผิด | ||
อย่าคิดความผ่อนผัน | ท่านสอนอย่าสอนตอบ | ||
ความชอบเก็บใส่ใจ | เร่งระไวที่ในป่า | ||
รู้พิจารณาพินิจ | คิดแล้วจึงเจรจา | ||
อย่าฉันทาท่านผู้อื่น | อย่ายืนเนื้อยกตน | ||
เห็นคนอย่าดูถูก | ปลูกไมตรีจงถ้วนผู้ | ||
เร่งรู้เร่งคำนับ | อย่าจับลิ้นแก่คน | ||
ท่านรักตนจงรักตอบ | ใครนอบตนจงนอบแทน | ||
ครั้นเห็นแน่(น)ให้ประหยัด | เผ่ากษัตริย์เหมือนไฟงู | ||
อย่าดูถูกว่าน้อย | หิ่งห้อยอย่าแข่งไฟ | ||
อย่าปองภัยตอบท้าว | ห้าวนักมักจะแตก | ||
อย่าเข้าแบกงาช้าง | อย่าอวดอ้างว่าขุนนาง | ||
ปางตนชอบท่านช่วย | ปางตนป่วยท่านชัง | ||
ถ้าจะบังบังจงลับ | ถ้าจะจับจับจงมั่น | ||
ถ้าจะคั้นคั้นจนตาย | ถ้าจะหมายหมายจงแท้ | ||
ถ้าจะแก้แก้จงกระจ่าง | ถ้าจะวางวางจงลึก | ||
เกลือกท่านนึกรู้จะเสียตน | เป็นคนเรียนรู้ความ | ||
ให้ยิ่งผู้แหลมหลัก | อย่ามักง่ายมิดี | ||
อย่าตีงูให้แก่กา | อย่าตีหมาอันหอนเห่า | ||
ข้าเก่าร้ายอดเอา | อย่ารักเหากว่าผม | ||
อย่ารักลมดีกว่าน้ำ | อย่ารักถ้ำยิ่งกว่าเรือน | ||
อย่ารักเดือนยิ่งกว่าตะวัน | ธรรมเหล่านี้ใครทำตาม | ||
จะถึงความสุขทุกเมื่อ | เพื่อแต่งไว้ให้สรรพสัตว์ | ||
ให้ถึงสุขสวัสดิ์แล ฯ | |||
เชิงอรรถ
ที่มา
ประชุมสุภาษิตพระร่วง สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๒
(ขอขอบคุณ คุณโอม สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน)