บทเสภาเรื่à¸à¸‡à¸‚ุนช้างขุนà¹à¸œà¸™
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ล |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
== ข้อมูลเบื้องต้น == | == ข้อมูลเบื้องต้น == | ||
- | {{เรียงลำดับ| | + | {{เรียงลำดับ|บทสเภารเืองขุนชางขุนผแน}} |
[[หมวดหมู่:วรรณคดีไทย]] | [[หมวดหมู่:วรรณคดีไทย]] | ||
[[หมวดหมู่:วรรณคดีรัตนโกสินทร์]] | [[หมวดหมู่:วรรณคดีรัตนโกสินทร์]] |
รุ่นปัจจุบันของ 06:00, 13 พฤศจิกายน 2553
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ ผู้แต่ง:
บทประพันธ์
ตอนที่ ๑ กำเนิดขุนช้างขุนแผน
๏ ครั้นว่าไหว้ครูแล้วจับบท | ให้ปรากฏเรื่องราวกล่าวมาแต่ก่อน | ||
ครั้นสมเด็จพระพันวษานรากร | ครองนครกรุงศรีอยุธยา | ||
เกษมสุขแสนสนุกดังเมืองสวรรค์ | พระเดชนั้นแผ่ไปในทิศา | ||
เป็นปิ่นภพลบโลกโลกา | ครอบครองไพร่ฟ้าประชากร | ||
เมืองขึ้นน้อยใหญ่ในอาณาเขต | เกรงพระเดชทั่วหมดสยดสยอน | ||
ทุกประเทศเขตขอบพระนคร | ชลีกรอ่อนเกล้าอภิวันท์ | ||
พร้อมด้วยโภโคยไอศูรย์ | สมบูรณ์พูนสุขเกษมสันต์ | ||
พระองค์ทรงทศพิธราชธรรม | ราษฎรทั้งนั้นก็ยินดี ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงเรื่องขุนแผนขุนช้าง | ทั้งนวลนางวันทองผ่องศรี | ||
ศักราชร้อยสี่สิบเจ็ดปี | พ่อแม่เขาเหล่านี้คนครั้งนั้น | ||
เป็นข้าขอบขัณฑสีมา | สมเด็จพระพันวษานราสวรรค์ | ||
จะว่าเนื่องตามเรื่องนิยายพลัน | ท่านผู้ฟังทั้งนั้นจงเข้าใจ | ||
ขุนไกรพลพ่ายอยู่บ้านพลับ | มีทรัพย์เงินทองของน้อยใหญ่ | ||
นางทองประศรีนั้นอยู่วัดตะไกร | ทั้งสองนี้ได้เป็นคู่กัน | ||
แล้วรื้อเรือนออกไปปลูกใหม่ | อยู่ในแว่นแคว้นสุพรรณนั่น | ||
เป็นทหารชาญชัยใจฉกรรจ์ | คุมไพร่ทั้งนั้นได้เจ็ดร้อย | ||
อาจองคงกระพันชาตรี | เข้าไหนไม่มีที่จะถอย | ||
รบศึกศัตรูอยู่กับรอย | ถึงมากน้อยเท่าไรไม่หนีมา | ||
กรมการเมืองสุพรรณสั่นหัว | เข็ดขามคร้ามกลัวใครไม่ฝ่า | ||
โปรดปรานเป็นทหารอยุธยา | มีสง่าอยู่ในเมืองสุพรรณ ฯ | ||
๏ มาจะกล่าวบทไป | ถึงขุนศรีวิชัยคนขยัน | ||
เป็นนายกรมช้างกองนอกนั้น | บ้านอยู่สุพรรณพารา | ||
เป็นเศรษฐีมีทรัพย์นับร้อย | บ่าวไพร่ใหญ่น้อยก็หนักหนา | ||
ได้นางเทพทองเป็นภรรยา | อยู่ท่าสิบเบี้ยเมืองสุพรรณ ฯ | ||
๏ จะกล่าวกลอนถึงพันศรโยธา | เพื่อนได้ภรรยาก็คมสัน | ||
ชื่อว่านวลนางศรีประจัน | เป็นเศรษฐีมีพันธุ์ด้วยกันมา | ||
อยู่ท่าพี่เลี้ยงเมืองสุพรรณ | น้องนางศรีประจันนั้นปากกล้า | ||
ชื่อว่าบัวประจันถัดกันมา | มีผัวชื่อนายโชดคง | ||
เดิมเพื่อนอยู่ทางบางเหี้ย | ครั้นไปได้เมียก็ลุ่มหลง | ||
ไม่คิดถึงซึ่งเหล่าเผ่าพงศ์ | ยวดยงแต่จะเที่ยวขโมยควาย ฯ | ||
๏ บทนี้จะยกไว้เสียก่อน | จะกล่าวกลอนถึงกำเนิดคนทั้งหลาย | ||
เมื่อแรกเข้าสู่ครรภ์บรรยาย | ว่าอ้ายผีแสนร้ายบนปลายไม้ | ||
กลางคืนปั้นรูปหัวเราะขิก | แล้วหยิบหยิกปีบบี้มิเอาส่ำได้ | ||
ปั้นแล้วปั้นเล่าเฝ้าริกไป | เอานั่นนี่บี้ใส่ให้ครบครัน | ||
คืนหนึ่งผีปั้นอยู่ปลายไม้ | ยังมีสัตว์อยู่ในนรกนั่น | ||
ทนทุกข์เวทนาสากรรจ์ | ครั้นสิ้นกรรมทำนั้นก็พ้นทุกข์ | ||
จุติจากเพศเปรตอสุรกาย | วุ่นวายวิ่งมาหาความสุข | ||
จะไปสวรรค์มิทันจะพ้นทุกข์ | ผีปั้นมันจึงซุกเข้าในครรภ์ ฯ | ||
๏ ฝ่ายนางเทพทองนั้นนอนหลับ | พลิกกลับก็เพ้อละเมอฝัน | ||
ว่าช้างพลายตายกลิ้งตลิ่งชัน | พองขึ้นหัวนั้นเน่าโขลงไป | ||
ยังมีนกตะกรุมหัวเหม่ | บินเตร่เร่มาแต่ป่าใหญ่ | ||
อ้าปากคาบช้างแล้ววางไป | เข้าในหอกลางที่นางนอน | ||
ในฝันนั้นว่านางเรียกนก | เชิญเจ้าขรัวหัวถกมานี่ก่อน | ||
นางคว้าได้ตัวเจ้าหัวกล้อน | กอดนกกับช้างนอนสบายใจ | ||
ครั้นตื่นฟื้นตัวปลุกผัวพลัน | เหียนรากตัวสั่นไม่กลั้นได้ | ||
ให้เหม็นช้างเหม็นนกติดอกใจ | โฮกโฮกอีพ่อข้าไหว้ช่วยทุบคอ | ||
ขุนศรีวิชัยตกใจจ้าน | ลุกขึ้นลนลานตาปอหลอ | ||
เอามือเข้ากำขยำคอ | พอหายรากเล่าต่อความฝันไป | ||
ขุนศรีวิชัยจึงทำนายฝัน | อ้อเจ้าจะมีครรภ์หาเป็นไรไม่ | ||
ลูกของเราจะเป็นชายทำนายไว้ | เหมือนนกตะกรุมตัวใหญ่คาบช้างมา | ||
จะบริบูรณ์พูนสวัสดิ์แล้วเจ้าพี่ | แต่ลูกของเรานี้จะขายหน้า | ||
หัวล้านแต่กำเนิดเกิดมา | จะมั่งมีเงินตรากว่าห้าเกวียน | ||
ฝ่ายนางเทพทองไม่รับพร | กุมท้องขย้อนไม่หายเหียน | ||
โคตรแม่มึงช่างมาให้อาเจียน | อ้ายุหัวเลี่ยนโล้นเกลี้ยงจะเลี้ยงไย ฯ | ||
๏ จะมากล่าวถึงนางทองประศรี | นอนด้วยสามีในเรือนใหญ่ | ||
นิมิตฝันนั้นว่าท้าวสหัสสนัยน์ | ถือแหวนเพชรเม็ดใหญ่เหาะดั้นมา | ||
ครั้นถึงจึงยื่นแหวนนั้นให้ | นางรับแหวนไว้ด้วยหรรษา | ||
แสงเพชรส่องวาบปราบเข้าตา | ตื่นผวาคว้าทั่วปลุกผัวพลัน | ||
ขุนไกรลืมตาว่าอะไรเจ้า | นางจึงเล่าเนื้อความนิมิตฝัน | ||
ทั้งสองลุกมาล้างหน้าพลัน | หาหมากหาพลูสู่กันแล้วทำนาย | ||
ฝันว่าได้ธำรงค์วงวิเศษ | ของโกสีย์ตรีเนตรอันเฉิดฉาย | ||
เพชรรัตน์อร่ามงามเพริศพราย | บรรยายว่าเป็นสิ่งมีมงคล | ||
จะมีครรภ์ลูกนั้นจะเป็นชาย | ดังทหารพระนารายณ์มาปฏิสนธิ์ | ||
กล้าหาญการณรงค์คงทน | ฤทธิรณปราบทั่วทั้งแดนไตร | ||
ซึ่งว่าเพชรรัศมีสีกล้า | ภายหน้าจะได้เป็นทหารใหญ่ | ||
มียศศักดิ์เป็นพระยาข้าใช้ | ร่วมพระทัยทรงธรรม์พระพันปี | ||
นางทองประศรียกมือไหว้ | รับพรผัวให้ประเสริฐศรี | ||
ทั้งสองนอนไปในราตรี | สุขเกษมเปรมปรีดิ์ทั้งสองรา ฯ | ||
๏ มาจะกล่าวถึงนางศรีประจัน | เที่ยงคืนนอนฝันในเคหา | ||
ว่าพระพิศณุกรรม์เหาะดั้นฟ้า | ถือแหวนประดับมาสวมนิ้วนาง | ||
แล้วก็กลับไปสถานพิมานมาศ | แสนสนิทพิศวาสจนสว่าง | ||
ตื่นลุกปลุกผัวยิ้มหัวพลาง | ล้างหน้าแล้วพลันแก้ฝันไป | ||
ท่านขาคืนนี้ข้าเจ้าฝัน | ว่าพระพิศณุกรรม์นายช่างใหญ่ | ||
ถือแหวนประดับงามจับใจ | เอามาส่งให้ไว้กับเรา | ||
แล้วก็กลับไปสถานพิมานฟ้า | เมียจะเกิดโรคาหรือพ่อเจ้า | ||
ให้เมียรู้ประจักษ์ว่าหนักเบา | ความฝันนั้นเล่ายังติดตา | ||
พนศรโยธาผู้ผัวแก้ว | ฟังเมียเล่าแล้วหัวเราะร่า | ||
จึงทำนายฝันไปมิได้ช้า | ว่าเจ้าฝันนั้นหนาจะมีครรภ์ | ||
ได้แหวนประดับลูกจะเป็นหญิง | รูปร่างงามจริงตละแกล้งสรร | ||
ด้วยเป็นแหวนของพระพิศณุกรรม์ | จะเป็นช่างใครนั้นไม่ทันเลย | ||
ศรีประจันรับพรหัวเราะร่า | ให้ได้เหมือนปากว่าเถิดพ่อเอ๋ย | ||
ถ้าฉันนี้มีลูกได้ชมเชย | ไม่อุ้มลูกใครเลยให้บินทา ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงนางเทพทอง | ท้องนั้นโตใหญ่ขึ้นค้ำหน้า | ||
ลงนั่งอึดอัดถัดไปมา | ให้อยากเหล้าเนื้อพล่าตัวสั่นรัว | ||
น้ำลายไหลรี่ดังกระสือ | ร้องไห้ครางฮืออ้อนวอนผัว | ||
เหมือนหนึ่งตาหลวงเข้าประจำตัว | ยิ่งให้กินตละยั่วยิ่งเป็นไป | ||
ปลาไหลไก่กบทั้งเต่าฝา | แย้บึ้งอึ่งนาไม่พอไส้ | ||
หยิบคำโตโตโม้เข้าไป | ประเดี๋ยวเหล้าสิ้นไหไม่ซื้อทัน | ||
เจ็บปวดหลายเดือนดีดัก | พะอำพะอักออดแอดอยู่ตัวสั่น | ||
ท้องลดทศมาสลูกถีบยัน | พอใกล้ฤกษ์ยามนั้นเจ็บหนักไป | ||
บิดตัวเรียกผัวหาพ่อแม่ | ร้องเปื้อนเชือนแชไม่เอาส่ำได้ | ||
ฝ่าผัวพ่อแม่แลข้าไท | วิ่งวุ่นครุ่นไปที่บนเรือน | ||
บ้างก็เสกมงคลปรายข้าวสาร | เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน | ||
บ้างเร่งหมอตำแยอย่าแชเชือน | ข่มท้องร้องเตือนลูกขวางตัว | ||
บ้างก็เข้าหนุนหลังนั่งเคียงข้าง | นางเทพทองร้องครางพลางกลอกหัว | ||
ขุนศรีวิชัยนั้นตัวสั่นรัว | จิกหัวแล้วเป้ากระหม่อมลง | ||
หมอตำแยแยงแย่เข้าคร่อมท้อง | แม่นางเทพทองเข้าข่มส่ง | ||
ตัวสั่นหวั่นไหวมิใคร่ลง | หมอตำแยว่าตรงแล้วข่มมา | ||
ยายคงโก้งโค้งโขย่งข่ม | เสียงผลุดนอนล้มไปจมฝา | ||
ลูกร้องแงแงแม่ลืมตา | พอช้างเผือกเข้ามาถึงวันนั้น | ||
นางเทพทองเหลียวหน้าคว้าลูกชาย | พลิกคว่ำพลิกหงายอยู่ตัวสั่น | ||
ทุดลูกบัดสีเหมือนผีปั้น | หัวล้านในครรภ์ดังวงเดือน | ||
เสียแรงอุ้มท้องประคองมา | ชกโคตรแม่อ้ายหมาขี้เรื้อนเปื้อน | ||
เลี้ยงมันไว้ไยอายเพื่อนเรือน | หัวเหมือนโคตรข้างไหนให้เกิดมา | ||
ด่าแล้วจึงเข้าไปนอนไฟ | แม่นมข้าไทให้รักษา | ||
อาบน้ำป้อนข้าวทุกเวลา | ไกวเปลเห่ช้ามาทุกวัน | ||
บริบูรณ์พูนเกิดว่าแต่ก่อน | เพราะบุญของลูกอ่อนได้สร้างสรรค์ | ||
แต่เกิดมาเงินตราอุดมครัน | ข้าหญิงชายนั้นมากมายไป | ||
เผอิญให้แม่เคียดเกลียดชัง | แต่มั่งคั่งหาใครเสมอไม่ | ||
ปู่ย่าตายายสบายใจ | จะให้ชื่อหลานไว้เป็นมงคล | ||
แม่ฝันว่านกตะกรุมคาบช้าง | บินมาแต่ทางพนาสณฑ์ | ||
พาไปให้ถึงในเรือนตน | หัวล้านนอกขนแต่เกิดมา | ||
เมื่อตกฟากฤกษ์พารของหลานชาย | ช้างเผือกมาถวายพระพันวษา | ||
จึงให้นามตามเหตุทั้งปวงมา | หลานรักของข้าชื่อขุนช้าง | ||
แล้วให้เอาเงินทองกรองใส่คอ | กำไลมือล้นข้อทั้งสองข้าง | ||
กำไลเงินใส่ท้าวก้าวขากาง | ปะวะหล่ำสองข้าง เขนหลานยา | ||
เอวคาดสร้อยอ่อนจำหลักทับ | พริกเทศประดับกัลปังหา | ||
ห้อยอยู่ต่องแต่งแกว่งไปมา | ยิ้มหัวหาหาอ้าปากโจน | ||
นางเทพทองร้องด่าอ้ายยาจก | ช่างเต้นหยกหยกเหมือนตลกโขน | ||
ยึดไว้ไม่นิ่งตละลิงทโมน | อ้ายผีโลนที่ไหนปั้นใส่มา | ||
ไม่มีใจที่จะใคร่เข้าอุ้มชู | เหมือนค่างครอกหลอกกูดูขายหน้า | ||
ทำตาบ้องแบวแมวกินปลา | อ้ายตายห่าด่าแช่งไม่เว้นวัน | ||
พอขุนช้างสามขวบไปเที่ยวเล่น | เด็กเห็นก็กลัวจนตัวสั่น | ||
โน้นแน่แม่เอ๋ยอะไรนั้น | มันอ้าปากยิงฟันข้าพรั่นใจ | ||
นางแม่ห้ามว่าเองอย่ากลัว | ขุนช้างลูกเจ้าขรัวบ้านรั้วใหญ่ | ||
เขาเป็นเศรษฐีมีข้าไท | อย่ากีดขวางหลีกไปให้เขามา ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงทองประศรีมีครรภ์แก่ | งามแท้เผ้าผมก็สมหน้า | ||
ผิวพรรณดังสุวรรณมาทาบทา | ดวงหน้าดังจันทร์เมื่อวันเพ็ญ | ||
แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง | เต้านมทั้งสองก็ครัดเคร่ง | ||
ผิวเนื้อเป็นนวลควรแลเล็ง | ดูปลั่งเปล่งน่าชมพอสมตัว | ||
จำศีลภาวนาเป็นเนืองนิตย์ | น้อมจิตนบนิ้วขึ้นเหนือหัว | ||
ภาวนาบูชาด้วยดอกบัว | ไม่กลัวที่จะเป็นอันตราย | ||
จนท้องโตใหญ่ได้สิบเดือน | บุญเตือนจะคลอดลูกสืบสาย | ||
ลมกัมมัชวาตพัดกลับกลาย | ลูกนั้นบ่ายศีรษะลงทวาร | ||
เจ็บท้องร้องแรกอยู่เวยวาย | ปู่ตาย่ายายอึงทั้งบ้าน | ||
ญาติกาข้าไทมาซมซาน | หมอตำแยงุ่นง่านเข้าผันแปร | ||
ถึงฤกษ์งามยามปลอดคลอดง่ายดาย | ลูกนั้นเป็นชายร้องแว้แว้ | ||
พี่ป้าน้าอามาดูแล | ล้างแช่แล้วก็ส่งให้แม่นม | ||
ทาขมิ้นแล้วใส่กระดังร่อน | ใส่เบาะให้นอนเอาผ้าห่ม | ||
ปู่ย่าตายายสบายชม | เรือนผมน่ารักดังฝักบัว | ||
เอาขึ้นใส่อู่แล้วแกว่งไกว | แม่เข้านอนไฟให้ร้อนทั่ว | ||
เดือนหนึ่งออกไฟไม่หมองมัว | ขมิ้นแป้งแต่งตัวน่าเอ็นดู | ||
พ่อแม่ปรึกษากับย่ายาย | จะชื่อหลานชายอย่างไรปู่ | ||
ฝ่าตาตะแกเป็นหมอดู | คิดคูณเลขอยู่ให้หลานชาย | ||
ปีขาลวันอังคารเดือนห้า | ตกฟากเวลาสามชั้นฉาย | ||
กรุงจีนเอาแก้วอันแพรวพราย | มาถวายพระเจ้ากรุงอยุธยา | ||
ให้ใส่ปลายยอดเจดีย์ใหญ่ | สร้างไว้แต่เมื่อครั้งเมืองหงสา | ||
เรียกวัดเจ้าพระยาไทยแต่ไรมา | ให้ชื่อว่าพรายแก้วผู้แววไว | ||
แล้วเร่งรัดจัดแจงแต่งบายศรี | เงินทองของดีมาผูกให้ | ||
กล้วยน้ำแตงกวาเอามาใส่ | ธูปเทียนดอกไม้มีหลายพรรณ | ||
ให้หลานใส่เสมาปะวะหล่ำ | กำไลทองคำงามเฉิดฉัน | ||
บ้าหว่าทองผูกสองข้างแขนนั้น | สายกุดั่นทั้งแท่งดังแกล้งทำ | ||
เอวคาดสร้อยอ่อนช้อนดอกลอย | ฝังพลอยมรกตสีสดขำ | ||
ผูกลูกพริกเทศด้วยทองคำ | กำไลตีนนากเห็นหลากตา | ||
จัดแจงแขกนั่งเป็นวงกัน | พงศ์พันธุ์พร้อมอยู่ทั้งปู่ย่า | ||
ยกบายศรีแล้วโห่ขึ้นสามลา | เวียนแว่นไปมาโห่เอาชัย ฯ | ||
๏ ศรีศรีวันนี้ฤกษ์ดีแล้ว | เชิญขวัญพลายแก้วอย่าไปไหน | ||
ขวัญมาอยู่สู่กายให้สบายใจ | ชมช้างม้าข้าไททั้งเงินทอง | ||
ขวัญเอ๋ยเจ้ามาเถิดพ่อมา | อย่าเที่ยวล่ากะเกณฑ์ตระเวนท่อง | ||
มาชมพวงแก้วแล้วพวงทอง | ข้าวของเหลือหลายสบายใจ | ||
ครั้นแล้วก็โห่อีกสามที | ดับอัคคีโบกควันเจิมพักตร์ให้ | ||
ให้ชันษายืนหมื่นปีไป | มีชัยชำนะสวัสดี | ||
ครั้นทำขวัญเสร็จสำเร็จการ | วงศ์วานปรีดิ์เปรมเกษมศรี | ||
จนอายุพลายแก้วได้ห้าปี | พาทีแคล่วคล่องว่องไว ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงนางศรีประจัน | เมื่อเจ้ามีครรภ์ท้องใหญ่ | ||
ยินดีรื่นเริงบันเทิงใจ | ถ้วนกำหนดได้ถึงสิบเดือน | ||
เจ็บรนก็พ้นที่จะกลั้น | ลุกขึ้นถีบยันจะคลอดเคลื่อน | ||
กลิ้งเกลือกเสือกร้องก้องทั้งเรือน | จิตประหวั่นฟั่นเฟือนไม่สมประดี | ||
ปู่ย่าตายายทั้งพ่อแม่ | หมอตำแยแม่มดที่ถือผี | ||
ต่างมาพร้อมกันในทันที | พี่ป้าน้าอาทั้งข้าไท | ||
บ้างเอาเบี้ยขึ้นควงบวงบน | ปากบ่นพึมพำไม่เอาส่ำได้ | ||
ออท้าวหาวเรอเฮ่อเฮ่อไป | หากูมาทำไมอ้ายขุนโรง | ||
คว้าเหล้าเข้าปากเคี้ยวหมากซ้ำ | ลุกขึ้นเต้นรำอยู่โหยงโหยง | ||
ซวนคะมำต้ำปลุกลุกโก้งโค้ง | ปะติโปงเท่งโปงรำช้อยไป | ||
เมาเหล้าเข้าหนักยักสี่มุม | พ่อหลวงมาช่วยคุ้มหาเป็นไรไม่ | ||
ปู่ย่าตายายสบายใจ | โปรดเถิดอีพ่อข้าไหว้ข้าตีนโรง | ||
มึงอย่าร้อนใจฟังกูว่า | ลุกขึ้นหลกผ้าอยู่โล้งโต้ง | ||
ศรีประจันเจ็บท้องร้องโก้งโค้ง | หมอตำแยเข้าโขย่งแล้วข่มมา | ||
เข้าล้อมซ้อนข่มอยู่พัลวัน | ถึงยามนั้นฤกษ์ปลอดคลอดแล้วหวา | ||
นอนหงายตงะกายร้องวาวา | เป็นหญิงโสภาน่าเอ็นดู | ||
อาบน้ำแล้วซ้ำทาขมิ้น | เอานมให้กินแล้วใส่อู่ | ||
แม่นมข้าไทให้เลี้ยงดู | กินอยู่เป็นสุขทุกเวลา | ||
สำเร็จเสร็จพลันทันใด | ค่อยจำเริญวัยขึ้นใหญ่กล้า | ||
แม่พ่อก็รักดังดวงตา | เลี้ยงมามิได้เป็นอันตราย | ||
ปู่ตาย่าทวดมาทำขวัญ | แหวนทองผูกพันเข้าเหลือหลาย | ||
เลี้ยงมาก็ได้ห้าขวบปลาย | รูปกายงามยิ่งพริ้งเพรา | ||
ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแม้น | อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา | ||
ผมสลวยสวยขำงามเงา | ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย | ||
สอนเย็บเก็บปักหักทองขวาง | ที่รู่นราวคราวนางไม่เปรียบได้ | ||
เช้าเย็นออกไปเล่นเก็บดอกไม้ | ที่ข้างวัดเขาใหญ่อยู่อัตรา ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพลายแก้วกับขุนช้าง | ทั้งสองข้างออกไปเล่นกับบ่าวข้า | ||
พอพบขุนช้างพลางพูดจา | ไปซื้อเหล้าเอามากินด้วยกัน | ||
พลายแก้วกินเหล้าเข้าต้ำอึก | ขุนช้างวางหงึกจนหัวสั่น | ||
ยั่นกูเมาหนักหนาจนตาชัน | เทเหล้าใส่ข้นชวนเป็นเกลอ | ||
จึงเอามือพลายแก้วลงจดขน | เราซี่อต่อกันจนตายหนอ | ||
ถ้าใครทรยศคดต่อเกลอ | ให้เทพเธอสังหารผลาญชีวัน | ||
อันดาบองครักษ์ทั้งสี่หมู่ | อย่าให้แคล้วคองกูเป็นแม่นมั่น | ||
ขอให้พลัดมารดาห้าร้อยกัลป์ | จิ้มเอาเหล้าในขันขึ้นควั่นคอ | ||
พลายแก้วกินเหล้าเข้าต้ำอึก | ขุนช้างวางปึกตาปอหลอ | ||
นางพิมพิลาไลยชอบใจงอ | สมน้ำหน้ามันหนอไอ้จัณฑาล | ||
แล้วนางเล่นหุงข้าวต้มแกง | กวาดทรายจัดแจงเป็นรั้วบ้าน | ||
นางเล่นทำบุญให้ทาน | ไปนิมนต์สมภารมาเร็วไว | ||
ขุนช้างนั้นเป็นสมภารมอญ | ไม่พักโกนหัวกล้อนสวดมนต์ใหญ่ | ||
พลายแก้วนั้นเป็นสมภารไทย | จัดแจงแต่งให้ยกของมา | ||
สวดมนต์ฉันเสร็จสำเร็จแล้ว | ฝ่ายข้างพลายแก้วอุตริว่า | ||
เราเล่นเป็นผัวเมียกันเถิดรา | ขุนช้างร้องว่าข้าชอบใจ | ||
นางพิมว่าไปอ้ายนอกคอก | รูปชั่วหัวถลอกกูหาเล่นไม่ | ||
พลายแก้วว่าเล่นเถิดเป็นไร | ให้ขุนช้างนั้นไซร้เป็นผัวพลาง | ||
ตัวข้าจะย่องเข้าไปหา | จะไปลักเจ้ามาเสียจากช้าง | ||
ทั้งสองคนรบเร้าเฝ้าชวนนาง | จึงหักใบไม้วางต่างเตียงนอน | ||
นางฉลาดกวาดทรายกลายเป็นเรือน | พูนขึ้นกล่นเกลื่อนดังฟูกหมอน | ||
นางพิมนอนพลางกลางดินดอน | เจ้าขุนช้างหัวกล้อนเข้านอนเคียง | ||
พลายแก้วโดดแหวกเข้าแทรกกลาง | ชกหัวขุนช้างที่กลางเกลี้ยง | ||
ขุนช้างทำหลับอยู่กับเตียง | ฝ่ายนางพิมนอนเคียงค่อยเมียงมอง | ||
ขุนช้างวางร้องก้องกู่โวย | ขโมยลักเมียกูจู่จากห้อง | ||
ลุกขึ้นงุ่นง่านเที่ยวซานร้อง | เรียกหาพวกพ้องให้ติดตาม | ||
อ้ายเด็กเด็กกราวเกรียวบัดเดี๋ยวใจ | พวกขุนช้างรุกไล่ให้เข็ดขาม | ||
พอทันพวกพลายแก้วแล้วเลยลาม | ถ้อยทีถ้อยปามเข้าตีกัน | ||
จมูกครากปากแตกจนเลือดไหล | บ้างก็วิ่งร้องไห้ไปตัวสั่น | ||
เรียกหาพ่อแม่อยู่แจจัน | จนผู้ใหญ่ชวนกันมาห้ามไว้ | ||
นางพิมด่าให้อ้ายตายโหง | พวกอ้ายโล้งโต้งกูไม่เล่นได้ | ||
อ้ายหัวล้านขี้ถังมันจังไร | แล้วพาฝูงข้าไทไปเรือนพลัน | ||
เจ้าขุนช้างหัวฟกวิ่งตกใจ | ข้าไทก็กลัววิ่งตัวสั่น | ||
ฝนไพลใส่ทาตาเป็นมัน | ยิงฟันแลบลิ้นแทบสิ้นใจ | ||
ท่านผู้ฟังทั้งสิ้นอย่ากินแหนง | จะประดิษฐ์คิดแต่งก็หาไม่ | ||
เด็กอุตริเล่นหากเป็นไป | เทวทูตดลใจให้ประจักษ์ตา | ||
เด็กเล่นสิ่งไรก็ไม่ผิด | ทุจริตก็เป็นเหมือนปากว่า | ||
อันคดีมีแต่โบราณมา | ตำรานี้มีอยู่ในสุพรรณ ฯ | ||
๏ ครั้นอยู่มาขุนศรีวิชัย | กับเมียรักร่วมใจทั้งสองนั่น | ||
จึงปรึกษายินยอมลงพร้อมกัน | ว่าขุนช้างลูกนั้นจำเริญวัย | ||
ควรจะเข้าไปเฝ้าพระพันวษา | ถวายตัวลูกยาจึงจะได้ | ||
ให้เป็นข้าบาทบงส์ทรงช่วงใช้ | บังไว้ความผิดจะติดตัว | ||
ปรึกษากันพลันสั่งซึ่งข้าไท | ให้พาไปอาบน้ำแล้วดำหัว | ||
ทาขมิ้นผัดแป้งแต่งตัว | เอามุหน่ายป้ายทั่วจนท้ายทอย | ||
กำไลทองสองเส้นเน้นสองแขน | ให้ถือแหวนเพชรยอดสอดใส่ก้อย | ||
ดูเหมือนลูกเสือปลานัยน์ตาลอย | วิ่งร่อยร่อยยักคอเข้าหอกลาง | ||
จึงให้หาธูปเทียนทั้งดอกไม้ | ใส่พานจัดไปตามเยี่ยงอย่าง | ||
ทั้งเสบียงเลี้ยงกันที่ตามทาง | ให้ผูกช้างพลายนั้นมาทันใด | ||
พ่อลุกขึ้นนั่งสัปคับ | ควาญขับออกจากบ้านรั้วใหญ่ | ||
ข้ามธารผ่านทุ่งมุ่งทิวไม้ | บ่าวไพร่งุ่มง่ามตามกันมา | ||
ครั้นถึงวัดธรรมาก็ยับยั้ง | ปลงช้างข้างฝั่งแม่น้ำหน้า | ||
เจ้าขุนช้างกะจิริดกับบิดา | ข้ามท่าคอยเข้าในกรุงไกร | ||
ชาวบ้านร้านตลาดพอผาดเห็น | ร้องว่าเป็นเวทนาน่าหมั่นไส้ | ||
เด็กอะไรหัวร่อนกล้อนสุดใจ | แลไปเหมือนหนึ่งหลอกบอกเพื่อนกัน | ||
จะว่าค่างหรือลิงวิ่งมาเกิด | อ้ายผีนอกละเมิดที่ไหนปั้น | ||
ชายหญิงวิ่งหัวร่ออยู่งองัน | ดูจนพ่อลูกนั้นเข้าในวัง | ||
พวกขุนนางต่างคนที่คอยเฝ้า | พอเห็นเข้าก็หัวเราะราวจะคลั่ง | ||
ขุนช้างน้อยพลอยประหม่าละล้าละลัง | เข้าหมอบชิดติดหลังบังบิดา ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงภพ | เลิศลบสยบแสยงทั้งแหล่งหล้า | ||
ทุกประเทศเขตขัณฑสีมา | ออกระอาอ่อนเกล้าอภิวันท์ | ||
ต่างถวายเครื่องราชบรรณา | ขอขึ้นอยุธยาทุกเขตข้ณฑ์ | ||
พระเดชปกเกศเป็นนิรันดร์ | เกษมสันต์ทั่วหน้าประชากร | ||
ขาดเข็ญเป็นสุขโสมนัส | สืบพระวงศ์พงค์กษัตริย์มาแต่ก่อน | ||
กรุงศรีอยุธยาสถาพร | สโมสรโสมนัสสวัสดี | ||
เสด็จในพระที่นั่งบัลลังก์รัตน์ | พร้อมขนัดนวลอนงค์ส่งศรี | ||
น้อมเศียรหมอบเฝ้าเจ้าธานี | ทุกหน้าที่พร้อมพรักพนักงาน | ||
แต่ละหน้าหน้านวลควรสวาท | บำเรอราชหฤทัยเกษมศานต์ | ||
ดังดาวล้อมแขไขในคัคนานต์ | หมอบกรานคลานเฝ้าเป็นเหล่าไป | ||
ทั้งพวกจำเรียงเสียงดนตรี | ก็เรื่อยรี่ขับประสานขานไข | ||
เพลิดเพลินเจริญราชหฤทัย | นางในปฏิบัติเป็นอัตรา | ||
พระสุริย์ฉายบ่ายแล้วสี่โมงเศษ | จะประเวศออกที่พระลานหน้า | ||
บทจรสู่สรงพระคงคา | ไขสุหร่ายธาราลงซ่าเซ็น | ||
ทรงสุคนธ์หอมฟุ้งจรุงกลิ่น | พระภูษาดอกกินรีเด่น | ||
จับพระแสงนาคาหน้าดังเป็น | พอจวนเย็นออกหน้าพระลานพลัน | ||
สนั่นเสียงแตรสังข์ประดังก้อง | ประโคมฆ้องกลองชนะคะครื้นครั่น | ||
ตำรวจหน้าข้าราชการนั้น | ต่างก้มเกล้าอภิวันท์อัญชลี | ||
ประทับเหนืออาสน์เอี่ยมลอออ่อน | ดังพระยาไกรราชสีห์ | ||
จึงขุนศรีวิชัยใจภักดี | กับขุนช้างคลานรี่ติดเข้ามา | ||
ยกพานธูปเทียนแลดอกไม้ | เข้าไปตั้งไว้ที่ตรงหน้า | ||
ขุนช้างหมอบชิดกับบิดา | ภาวนาคิดกลัวแทบตัวตาย ฯ | ||
๏ ครั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรเห็นดอกไม้ธูปเทียนถวาย | ||
ทั้งขุนศรีวิชัยกับลูกชาย | แย้มพระโอษฐ์อภิปรายประภาษมา | ||
ฮ้าเฮ้ยอ้ายขุนศรีวิชัย | นั่นมึงพาลูกใครเข้ามาหวา | ||
ดูหัวหูน่าสมเพชเวทนา | เป็นเชื้อวงศ์พงศาของผู้ใด | ||
หรือลูกหลานว่านเครือจองมึงเอง | หัวล้านโจงเหม่งไม่เอาส่ำได้ | ||
จะเอามาให้กูหรือว่าไร | มีธูปเทียนดอกไม้ใส่พานมา ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนศรีวิชัย | กราบลงทันใดแล้วทูลว่า | ||
ขอเดชะพระองค์จงกรุณา | อันชีวาอยู่ใต้บทมาลย์ | ||
ขุนช้างบุตรข้าพระพุทธเจ้า | ขอทูลเกล้าถวายไว้เป็นทหาร | ||
ด้วยชะตาราศีมีลาภสการ | มาสู่โพธิสมภารพระทรงชัย | ||
แต่เกิดบุตรขุนช้างคนนี้ | เงินทองของดีทั้งน้อยใหญ่ | ||
วัวควายช้างม้าข้าไท | มิพอที่จะได้ก็ได้มา ฯ | ||
๏ ครานั้นสมเด็จนเรนทร์สูร | ฟังทูลทรงพระสรวลอยู่ร่วนร่า | ||
เออหัวหดสมเพชเวทนา | แต่ได้ลาภอย่างว่าก็ชอบกล | ||
เดี๋ยวนี้มันยังเด็กเล็กอยู่ | จะมอบไว้ให้กูไม่เป็นผล | ||
เอ็งเลี้ยงไว้ก่อนอย่าร้อนรน | ไว้เมื่อจนเติบใหญ่จึงให้มา | ||
ตรัสพลางทางสั่งพนักงาน | จัดของพระราชทานทั้งเสื้อผ้า | ||
พ่อลูกกราบงามลงสามลา | ด้วยทรงพระกรุณาก็ยินดี ฯ | ||
ตอนที่ ๒
๏ | |||
ตอนที่ ๓
๏ | |||
ตอนที่ ๔
๏ | |||
ตอนที่ ๕
๏ | |||
ตอนที่ ๖
๏ | |||
ตอนที่ ๗
๏ | |||
ตอนที่ ๘
๏ | |||
ตอนที่ ๙
๏ | |||
ตอนที่ ๑๐
๏ | |||
ตอนที่ ๑๑
๏ | |||
ตอนที่ ๑๒
๏ | |||
ตอนที่ ๑๓
๏ | |||
ตอนที่ ๑๔
๏ | |||
ตอนที่ ๑๕
๏ | |||
ตอนที่ ๑๖
๏ | |||
ตอนที่ ๑๗
๏ | |||
ตอนที่ ๑๘
๏ | |||
ตอนที่ ๑๙
๏ | |||
ตอนที่ ๒๐
๏ | |||
ตอนที่ ๒๑
๏ | |||
ตอนที่ ๒๒
๏ | |||
ตอนที่ ๒๓
๏ | |||
ตอนที่ ๒๔ กำเนิดพลายงาม
๏ ครานั้นวันทองผ่องโสภา | อยู่เคหากับขุนช้างให้หมางหมอง | |||
ไม่มีสุขทุกเวลาน้ำตานอง | ด้วยว่าท้องสิบเดือนไม่เคลื่อนคลา | |||
จะคลอดบุตรสุดปวดให้รวดร้าว | ตึงหัวเหน่าเหน็ดเหนื่อยเมื่อยต้นขา | |||
แสงห่องห้อยพรอยพรายพร่างสายตา | จะเรียกหาขุนช้างให้หมางใจ | |||
แต่นวดนวดปวดมวนให้ป่วนปั่น | สุดจะกลั้นกลอกหน้าน้ำตาไหล | |||
พยุงท้องร้องเรียกพวกข้าไท | จะขาดใจแล้วช่วยด้วยแม่คุณ | |||
ขุนช้างตื่นฟื้นตัวหัวผงก | เห็นเมียตกใจผวาออกว้าวุ่น | |||
ประคองนางพลางบนเอาต้นทุน | อย่าท้อแท้แม่คุณจงแข็งใจ | |||
พลางดูท้องร้องว่าเออออกแล้วซิ | ตั้งสติอารมณ์จะข่มให้ | |||
นางวันทองร้องเสือกกลิ้งเกลือกไป | ขุนช้างได้หมอนรองประคองคอ | |||
เรียกหาข้าคนอลหม่าน | บนนอกชานพวกผู้หญิงออกวิ่งสอ | |||
ให้ไปรับยายสายกับยายยอ | แต่ล้วนหมอตำแยเซ็งแซ่มา | |||
เข้าถือท้องต้องถูกว่าลูกต่ำ | เอาหน้าคว่ำไขว่ขวางไปข้างขวา | |||
ช่วยผันแปรแก้ไขใกล้เวลา | บ้างตำยาขยำส้มต้มน้ำร้อน | |||
นางวันทองร้องไห้ใจจะขาด | พอกรรมชวาตวาตะประทะถอน | |||
อรุณฤกษ์เบิกสุรินทร์ทินกร | อุทรคลอนเคลื่อนคลอดไม่วอดวาย | |||
พอพ้นท้องร้องแว้นางแม่หวีด | หน้าซีดอกสั่นมิ่งขวัญหาย | |||
ขุนช้างมองร้องอ้ายหนูเป็นผู้ชาย | ทั้งย่ายายเยี่ยมลูกให้หยูกยา | |||
แล้วทอดเตาเข้าไฟไม่ไข้เจ็บ | ครั้นจะเก็บความกล่าวยาวหนักหนา | |||
ค่อยกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงไว้จนใหญ่มา | กระทั่งอายุเจ้าได้เก้าปี | |||
ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนแม้นขุนแผนพ่อ | เหลืองลอออวบอ้วนเป็นนวลศรี | |||
ทั้งจุกผมกลมกล่อมกระหม่อมดี | ช่างพาทีฉอเลาะพูดเพราะพราย | |||
นางวันทองน้องคะนึงถึงขุนแผน | ด้วยลูกแม้นเหมือนเหลือเป็นเชื้อสาย | |||
บอกบ่าวไพร่ให้สำเหนียกเรียกลูกชาย | ชื่อว่าพลายงามน้อยแก้วกลอยใจ ฯ | |||
๏ ฝ่ายขุนช้างหมางจิตให้คิดแค้น | ลูกขุนแผนมั่นคงไม่สงสัย | |||
เมื่อกระนั้นเหมือนกูครั้นดูไป | ก็กลับไพร่เหมือนพ่ออ้ายทรพี | |||
อีแม่มันวันทองก็สองจิต | ช่างประดิษฐ์ชื่อลูกให้ถูกที่ | |||
เรียกพ่อพลายคล้ายผัวอีตัวดี | ทุกราตรีตรึกตราจะฆ่าฟัน | |||
พอวันทองน้องป่วยลงด้วยเคราะห์ | มาจำเพาะจะวิโยคให้โศกศัลย์ | |||
ฟังเสียงเงียบระงับหลับกลางวัน | พลายงามนั้นนั่งกับพ่อที่หอกลาง | |||
ขุนช้างเห็นเป็นทีไม่มีเพื่อน | แกล้งชี้เชือนชักพาลงมาล่าง | |||
ให้ขี่หลังนั่งบ่าแล้วว่าพลาง | ไปชมช้างกวางทรายมีหลายพรรณ | |||
ทั้งนกยูงฝูงหงส์มันลงเกลื่อน | จับไก่เถือนมาเลี้ยงฟังเสียงขัน | |||
พูดให้เพลินเดินพลางกลางอรัญ | แกล้งให้หมั่นดูแลฝูงแกกา | |||
โพระดกนกงั่นกระตั้วเต้น | กระแตเล่นไม้โจนโผนผวา | |||
เจ้าพลายงามถามพ่อพูดจ้อมา | ขุนช้างพาเลี้ยวไปปะไม้ซุง | |||
เห็นลับลี้ที่สงัดขัดเเขมร | สะบัดเบนเบือนเหวี่ยงลงเสียงผลุง | |||
ปะเตะซ้ำต้ำผางเข้ากลางพพุง | ถีบกระทุ้งถองทุบเสียงอุบโอย | |||
พลายงามร้องสองมือมันอุดปาก | ดิ้นกระดากถลากไถลร้องไห้โหย | |||
พอหลุดมือรื้อร้องวันทองโวย | หม่อมพ่อโบยตีฉันแทบบรรลัย | |||
ไม่เห็นแม่แลหาน้ำตาตก | ขุนช้างชกฉุดคร่าไม่ปราศรัย | |||
จนเหงื่อตกกระปรกประปรอมขึ้นคร่อมไว้ | หอบหายใจฮักฮักเข้าหักคอ | |||
พลายงามดิ้นสิ้นเสียงสำเนียงร้อง | ยกแต่สองมือไหว้หายใจฝ่อ | |||
มันห้ามว่าอย่าร้องก็ต้องรอ | เรียกหม่อมพ่อเจ้าขาอย่าฆ่าเลย | |||
จงเห็นแก่แม่วันทองของลูกบ้าง | พ่อขุนช้างใจบุญพ่อคุณเอ๋ย | |||
ช่วยฝังปลูกลูกไว้ใช้เช่นเคย | ผงกเงยมันก้ทุบหงุบลงไป | |||
บีบจมูกจุกปากลากกระแทก | เสียงแอ้กแอ้กอ่อนซบสลบไสล | |||
พอผีพรายนายขุนแผนผู้แว่นไว | เข้ากอดไว้มิให้ถูกลูกของนาย | |||
ขุนช้างเห็นว่าทับจนตับแตก | เอาคาแฝกฝุ่นกลบให้ศพหาย | |||
แล้วกลิ้งขอนซ้อนทับให้ลับกาย | ทำลอยชายชมป่ากลับมาเรือนฯ | |||
๏ ฝ่ายผีพรายนายขุนแผนแค้นขุนช้าง | อุตส่าห์ง้างขอนใหญ่ให้เขยื้อน | |||
แล้วเป่าแผลแก้หายละลายเลือน | เจ้าพลายเคลื่อนคลายฟื้นเหมือนตื่นนอน | |||
นางพรายบอกว่าเราบ่าวขุนแผน | มาทำแทนเมื่อมันทับช่วยรับขอน | |||
ไม่ม้วยแล้วแก้วตาอย่าอาวรณ์ | อยู่นี่ก่อนเถิดนะเจ้าอย่าเศร้าใจ | |||
แม่ของเจ้าเราจะบอกออกมารับ | แล้วหายวับวู่วามตามนิสัย | |||
เจ้าพลายงามยามเย็นไม่เห็นใคร | เที่ยวร้องไห้หาแม่ชะแง้คอย | |||
จะไปเรือนเพื่อนทางที่กลางป่า | นึกน้ำตาหยดเหยาะลงเผาะผ็อย | |||
เจ้าแหงนดูสุริย์ฉายก็บ่ายคล้อย | ให้นึกน้อยใจพ่อพูดล่อลวง | |||
เสียแรงลูกผูกใจจะได้พึ่ง | พ่อโกรธขึ้งสิ่งใดเป็นใหญ่หลวง | |||
โอ้มีพ่อก็ไม่เหมือนเพื่อทั้งปวง | มีแต่ลวงลูกรักไปหักคอ | |||
รู้กระนี้มิอยากเรียกพ่อดอก | จะไปบอกแม่วันทองให้ฟ้องพ่อ | |||
เที่ยวผันแปรแลหาน้ำตาคลอ | นึกระย่อเยือกเย้นไม่เห็นใคร | |||
ดูครึ้มครึกฟฤกษาป่าสงัด | ไม่แกว่งกวัดก้านกิ่งประวิงไหว | |||
จังหรีดร้องก้องเสียงเคียงเรไร | ทั้งลองไนเรื่อยแร่แวแววับ | |||
ดุเหว่าร้องมองเมียงเสียงว่าแม่ | ยืนชะแง้แลดูเงี่ยหูตรับ | |||
อยู่นี่แน่แม่จ๋าจงมารับ | วิ่งกระสับกระสนวนเวียนไป ฯ | |||
๏ ฝ่ายพวกพรายกายสิทธิ์ฤทธิรุทร | เหมือนลมวุดวู่หนึ่งถึงไหนไหน | |||
ไปเข้าฝันวันทองถึงห้องใน | เหมือนจะให้เห็นลูกคิดผูกพัน ฯ | |||
๏ ครานั้นวันทองผ่องโสภา | เมื่อลูกแก้วแววตาจะอาสัญ | |||
คิ้วกระเหม่นเป็นลางแต่กลางวัน | ให้หวั่นหวั่นหวิวหวิวหิวหาวนอน | |||
พอม่อยหลับคลับคล้ายเห็นพลายน้อย | ขุนช้างถ่อยทับไว้ด้วยไม้ขอน | |||
ผวาฟื้นตื่นตาด้วยอาวรณ์ | สะอื้นอ่อนในอกตกตะลึง | |||
พอแมงมุมอุ้มไข่ไต่ตีตก | นางผงกเงี่ยฟังดังผึงผึง | |||
ประหลาดลางหมางจิตคิดคะนึง | รำลึกถึงลูกชายเจ้าพลายงาม | |||
ลุกออกมาหาจบไม่พบเห็น | ที่เคยเล่นอยู่กับใครเที่ยวไต่ถาม | |||
แต่อีดูกลูกครอกมันบอกความ | ว่าเห็นตามพ่อขุนช้างไปกลางไพร | |||
นางแคลงผัวกลัวจะพาไปฆ่าเสีย | น้ำตาเรี่ยเรี่ยตกซกซกไหล | |||
ออกนอกรั้วตัวคนเดียวเที่ยวเดินไป | โอ้อาลัยเหลียวแลชะแง้เงย | |||
เห็นคุ่มคุ่มพุ่มไม้ใจจะขาด | พ่อพลายงามทรามสวาทของแม่เอ๋ย | |||
เจ้าไปไหนไม่มาหาแม่เลย | ที่โคกเคยวิ่งเล่นไม่เห็นตัว | |||
หรือล้มตายควายขวิดงูพิษขบ | ไฉนศพสาบสูญพ่อทูนหัว | |||
ยิ่งเย็นย่ำค่ำคลุ้มชอุ่มมัว | ยิ่งเริ่มรัวเรียกร่ำระกำใจ | |||
เสียงซ้อแซ้แกกาผวาว่อน | จิ้งจอกหอนโหยหาที่อาศัย | |||
จักจั่นเจื้อยร้องริมลองไน | เสียงเรไรหริ่งหริ่งที่กิ่งรัง | |||
ทั้งเป็ดผีปี่แก้วแว่วแว่วหวีด | เสียงจังหรีดกรีดแซ่ดังแตรสังข์ | |||
นางวันทองมองหาละล้าละลัง | หรือผีบังซ่อนเร้นไม่เห็นเลย | |||
จะบนหมูสุรารำว่าครบ | ขอให้พบลูกตัวทูนหัวเอ๋ย | |||
แล้วลดเลี้ยวเที่ยวแลชะแง้เงย | โอ้ทรามเชยหลากแล้วพ่อแก้วตา | |||
ตะโกนเรียกพลายงามทรามสวาท | ใจจะขาดคนเดียวเที่ยวตามหา | |||
สะอื้นโอ้โพล้เพล้เดินเอกา | สกุณานอนรังสะพรั่งไพร | |||
เห็นฝูงนกกกบุตรยิ่งสุดเศร้า | โอ้ลูกเราไม่รู้ว่าอยู่ไหน | |||
ชะนีโหวยโหยหวนรัญจวนใจ | ยิ่งอาลัยแลหาน้ำตานอง | |||
พอแจ้วแจ้วแว่วเสียงสำเนียงเรียก | นึกสำเหนียกหลายหนขนสยอง | |||
ตรงเซิงซุ้มคุ่มเคียงนางเมียงมอง | เห็นลูกร้องไห้สะอื้นยืนเหลียวแล | |||
ความดีใจไปกอดเอาลูกแก้ว | แม่มาแล้วอย่ากลัวทูนหัวแม่ | |||
เป็นไรไม่ไปเรือนเที่ยวเชือนแช | แม่ตามแต่ตะวันบ่ายเห็นหายไป ฯ | |||
๏ เจ้าพลายน้อยสร้อยเศร้าแล้วเล่าว่า | หม่อมพ่อพาเวียนวงให้หลงใหล | |||
แล้วทุบถีบบีบจมูกของลูกไว้ | เอาขอนไม้ทับคอแทบมรณา | |||
พอพวกพ้องของขุนแผนแล่นมาช่วย | จึงไม่ม้วยแม่คุณบุญหนักหนา | |||
ยังช้ำชอกยอกเหน็บเจ็บกายา | พูดน้ำตาผ็อยผ็อยด้วยน้อยใจฯ | |||
๏ นางวันทองร้องไห้ใจจะขาด | โอ้ชาตินี่มีกรรมจะทำไฉน | |||
แล้วเล่าความตามจริงทุกสิ่งไป | เจ้ามิใช่ลูกเต้าเขาจึงชัง | |||
พ่อของเจ้านั้นหรือชื่อขุนแผน | เป็นคนแค้นกับขุนช้างแต่ปางหลัง | |||
เอาทุกข์ร้อนก่อนเก่าเล่าให้ฟัง | เดี๋ยวนี้ยังอยู่ในคุกเป็นทุกข์ทน | |||
จึงจนใจไม่มีที่จะพึ่ง | มันทำถึงสาหัสก็ขัดสน | |||
ครั้นจะฟ้องร้องเล่าเราก็จน | แม้นไม่พ้นมือมันจะอันตราย | |||
แต่รู้อยู่ว่าย่าทองประศรี | อยู่บ้านกาญจน์บุรีวัดเชิงหวาย | |||
แม้นไปถึงพึ่งพาย่าพ่อพลาย | จะสบายบุญปลอดตลอดไป | |||
แต่ทางนั้นวันครึ่งจึงถึงบ้าน | ทางกันดารเดินดงจะหลงใหล | |||
โอ้ใครเล่าเขาจะพาเจ้าคลาไคล | นางร้องไห้สะอื้นกลืนน้ำตา ฯ | |||
๏ เจ้าพลายงามถามซักตระหนักแน่ | พลางบอกแม่ลูกแสนแค้นหนักหนา | |||
อ้ายคนนี้มิใช่พ่อจะขอลา | ไปหาย่าอยู่บ้านกาญจน์บุรี | |||
สงสารแต่แม่คุณของลูกแก้ว | จะลับแล้วตายเป็นไม่เห็นผี | |||
เพราะพ่อเลี้ยงเดียงสาไม่ปรานี | อยู่ที่นี่ชีวันจะบรรลัย | |||
ไปสู้ตายวายวางเสียข้างหน้า | ด้วยเกิดมามีกรรมจะทำไฉน | |||
ขอลาแม่แต่นี้นับปีไป | แล้วร้องไห้หวลคิดถึงบิดา | |||
โอ้พ่อคุณขุนแผนของลูกเอ๋ย | เมื่อไรเลยลูกจะได้ไปเห็นหน้า | |||
ต้องติดคุกทุกข์ทุเรศเวทนา | เจ้าครวญคร่ำร่ำว่าด้วยอาลัย ฯ | |||
๏ นางวันทองร้องไห้จิตใจหาย | กอดเจ้าพลายงามน้อยละห้อยไห้ | |||
โอ้ลูกแก้วแววตาจะลาไป | หนทางป่าค่าไม้พ่อไม่เคย | |||
จะเลี้ยวหลงวงวกระหกระเหิน | เจ้าจะเดินไปถูกหรือลูกเอ๋ย | |||
โอ้ยากเย็นเข็ญใจกระไรเลย | เพราะกรรมเคยพรากสัตว์ให้พลัดพราย | |||
เดี๋ยวนี้เล่าเจ้าจะพรากไปจากแม่ | แม่จะแลเห็นใครน่าใจหาย | |||
พลางสวมสอดกอดแอบไว้แนบกาย | สะอื้นไห้ไม่วายฟายน้ำตา ฯ | |||
๏ จนจวนค่ำน้ำค้างลงพร่างพราย | ปลอบลูกชายพลายน้อยเสน่หา | |||
อ้ายศัตรูรู้ความจะตามมา | แม่จะพาเจ้าไปฝากขรัวนากไว้ | |||
แล้วพากันดั้นดัดไปวัดเขา | เห็นสมภารคลานเข้าไปกราบไหว้ | |||
แล้วเล่าความตามจริงทุกสิ่งไป | เจ้าคุณได้โปรดด้วยช่วยธุระ | |||
เอาลูกอ่อนซ่อนไว้เสียในห้อง | เผื่อพวกพ้องเขามาหาอย่าให้ปะ | |||
ท่านขรัวครูผู้เฒ่าว่าเอาวะ | ไว้ธุระเถิดอย่ากลัวที่ผัวเลย | |||
ถ้าหากว่ามาค้นจนถึงห้อง | กูมิถองก็จงว่าสีกาเอ๋ย | |||
ฆ่าลูกเลี้ยงเอี้ยงดูกูไม่เคย | อย่าทุกข์เลยลุงจะช่วยลูกอ่อนไว้ ฯ | |||
๏ นางวันทองหมองหมางไม่สร่างทุกข์ | กระหมวดจุกลูกยาน้ำตาไหล | |||
เห็นจวนค่ำจำลาทั้งอาลัย | ลงบันไดเดินด่วนด้วยจวนเย็น | |||
พอเข้าไปในรั้วด่าผัวโผง | อ้ายตายโหงหักคอไม่ขอเห็น | |||
แต่ชาตินี้กีกรรมจึงจำเป็น | ได้ชายเช่นนี้มาเป็นสามี | |||
ขึ้นบนเรือนเหมือนใจจะจากร่าง | เห็นขุนช้างชิงชังผินหลังหนี | |||
เข้าในห้องหมองอารมณ์ไม่สมประดี | เห็นแต่ที่นอนเปล่ายิ่งเศร้าใจ | |||
คิดถึงลูกผูกพันให้หวั่นอก | น้ำตาตกผ็อยผ็อยละห้อยไห้ | |||
โอ้ลูกเอ๋ยเคยนอนแต่ก่อนไร | จนเจ้าได้สิบปีเข้านี่แล้ว | |||
อยู่หลัดหลัดพลัดพรากไปจากแม่ | แม่ยังแลเห็นแต่ฟูกของลูกแก้ว | |||
โอ้พลายงามทรามสวาทจะคลาดแคล้ว | เสียงแจ้วแจ้วเจ้าวันทองนองน้ำตาฯ | |||
๏ ฝ่ายขุนช้างคางเคราอ้ายเจ้าเล่ห์ | เมาโมเมยิ้มกริ่มอยู่ริมฝา | |||
เสียงวันทองร้องไห้จุดไฟมา | ส่องดูหน้านั่งเคียงบนเตียงนอน | |||
ทำไถลไถ่ถามเป็นความหยอก | หรือหนามยอกเจ็บป่วยจะช่วยถอน | |||
พลางรับขวัญวันทองร้องละคร | เจ้าทุกข์ร้อนรำคาญประการใด ฯ | |||
นางวันทองข้องขัดสะบัดหน้า | ขุนช้างรำทำท่าเข้าคว้าไขว่ | |||
นางผลักพลิกหยิกข่วนว่ากวนใจ | ไฮ้อะไรนี่เล่าเฝ้าเซ้าซี้ | |||
ลูกข้าหายตายเป็นไม่เห็นศพ | อย่ามากลบรอยเสือเบื่อบัดสี | |||
เจ้าพาไปในป่าพนาลี | แล้วก็มิพามาว่ากระไร ฯ | |||
๏ ขุนช้างฟังช่างแก้อีแม่เจ้า | ข้าเมาเหล้าหลับซบสลบไสล | |||
ใครบอกเจ้าเล่าว่าข้าพาไป | หล่อนไม่ได้ตามข้าผ่าเถิดซิ | |||
เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง | กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีปิ | |||
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมิ | ว่าแล้วซิอย่าให้ลงไปดิน | |||
ลูกปะหล่ำกำไลใส่ออกกลบ | ฉวยว่าพบคนร้ายอ้ายคอฝิ่น | |||
มันจะทุบยุบยับเหมือนกับริ้น | ง้างกำไลไปกินเสียแล้วกรรม | |||
แล้วแก้เก้อเร่อออกไปนอกห้อง | ตะโกนร้องเรียกข้ามาด่าพร่ำ | |||
ไปเที่ยวตามถามหาถึงท่าน้ำ | ไม่พบทำถอนใจกลับไปเรือน | |||
รินสุรามาดื่มลืมสติ | อุตริร้องไห้ใครจะเหมือน | |||
ขึ้นหอขวางกลางแจ้งเห็นแสงเดือน | โอ้พ่อเพื่อนชีวิตของบิตุรงค์ | |||
แกล้งร้องร่ำคร่ำครวญทำหวนโหย | สะโอดโอยเอกทุ้มจนลุ่มหลง | |||
ถึงท่อนปลายกรายเกริ่นเป็นเดินดง | ปีกเจ้าอ่อนร่อนลงในดงเตย | |||
แล้วรู้ตัวกลัวเมียร้องเสียใหม่ | เจ้าจำไกลพ่อแล้วลูกแก้วเอ๋ย | |||
เสียงอ้อแอ้แผ่กายนอนหงายเลย | จนลืมเลยซบเซาด้วยเมามาย ฯ | |||
๏ นวลนางวันทองค่อยย่องย่าง | เห็นขุนช้างหลับสมอารมณ์หมาย | |||
สะอื้นอั้นพันผูกถึงลูกชาย | จนพลัดพรายเพราะผัวเป็นตัวมาร | |||
จึงเย็บไถ้ใส่ขนมกับส้มลิ้ม | ทั้งแช่อิ่มจันอับลูกพลับหวาน | |||
แหวนราคาห้าช่างทองบางตะพาน | ล้วนต้องการเก็บใส่ในไถ้น้อย | |||
ไปอยู่บ้านท่านย่าจะหายาก | เมื่ออดอยากอย่างไรได้ใช้สอย | |||
แล้วนั่งนึกตรึกตราน้ำตาย้อย | รำคาญคอยสุริยาจะคลาไคล ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพลายงามทรามสงสาร | พึ่งสมภารอยู่ในห้องนั่งร้องไห้ | |||
พวกศิษย์เณรเถรชีต้นช่วยฝนไพล | มาลูบไล้แผลที่มันตีรัน | |||
แล้วสมภารท่านก็หลับระงับเงียบ | ยิ่งเย็นเยียบเยือกใจเมื่อไก่ขัน | |||
เพราะแม่ลูกผูกจิตคิดถึงกัน | เฝ้าใฝ่ฝันเฟือนแลเห็นแม่มา | |||
ดุเหว่าร้องซ้องเสียงสำเนียงแจ้ว | ให้แว่วว่าวันทองร้องเรียกหา | |||
สะดุ้งใจไหววับทั้งหลับตา | ร้องขานขาสุดเสียงแต่เที่ยงคืน | |||
ครั้นรู้สึกนึกได้ให้ละห้อย | เจ้าพลายน้อยนิ่งนอนถอนสะอื้น | |||
จนเคาะระฆังหงั่งเหง่งเสียงเครงครื้น | สมภารตื่นเตือนชีต้นสวดมนตร์เกณฑ์ฯ | |||
๏ นางวันทองร้องไห้เมื่อใกล้รุ่ง | น้ำค้างฟุ้งฟ้าแดงเป็นแสงเสน | |||
ด้วยวัดเขาเข้าใจเคยไปเจน | โจงกระเบงมั่นเหมาะห่มเพลาะดำ | |||
แล้วถือไถ้ใส่ขนมผ้าห่มหุ้ม | ออกย่างดุ่มเดินเหย่าก้าวถลำ | |||
ลงจากเรือนเชือนมาข้างท่าน้ำ | แล้วรีบร่ำเดินตรงเข้าดงตาล | |||
ถึงวัดเขาเช้าตรู่ดูลูกน้อย | เห็นมาคอยนั่งท่าน่าสงสาร | |||
จะนั่งหยุดพูดจาจะช้าการ | ลาสมภารพามาป่าสะแก | |||
ให้ขนมส้มสูกแก่ลูกรัก | สงสารนักจะร้างไปห่างแม่ | |||
หนทางบ้านกาญจน์บุรีตรงนี้แล | จำให้แน่นะอย่าหลงเที่ยววงเวียน | |||
อุตส่าห์ไปให้ถึงเหมือนหนึ่งว่า | ให้คุณย่าเป็นอาจารย์สอนอ่านเขียน | |||
จงหมายมุ่งทุ่งกว้างตามทางเกวียน | ที่โล่งเลี่ยนลัดไปในไพรวัน | |||
แล้วเกล้าจุกผูกไถ้ที่ใส่ของ | ให้แหวนทองทุกสิ่งทำมิ่งขวัญ | |||
แล้วกอดลูกผูกใจจะไกลกัน | สะอื้นอั้นออกปากฝากเทวา | |||
ขอเดชะพระไพรข้าไหว้กราบ | ช่วยกำราบเสือสิงห์มหิงสา | |||
ทั้งปู่เจ้าเขาเขินขอเชิญพา | ไปถึงย่าอย่าให้หลงเที่ยววงวน | |||
ทั้งพ่อคุณขุนแผนแสนวิเศษ | บังเกิดเกศแก้วตาสถาผล | |||
ช่วยลูกชายพลายงามเมื่อยามจน | ให้รอดพ้นภัยพาลถึงกาญจน์บุรี | |||
นางคร่ำครวญร่ำว่าน้ำตาตก | เหมือนหนึ่งอกพุพองเป็นหนองฝี | |||
แม่อุ้มท้องครองเลี้ยงถึงเพียงนี้ | ได้สิบปีเศษแล้วจะแคล้วกัน | |||
เคยกินนอนวอนแม่ไม่แหห่าง | จะอ้างว้างเปล่าใจในไพรสัณฑ์ | |||
ทั้งจุกไรใครเล่าจะเกล้าพัน | จะนับวันนับเดือนไปเลือนลับ | |||
นับปีมิได้มาเห็นหน้าแม่ | จะห่างแหหายเหมือนเมื่อเดือนดับ | |||
โอ้เสียชาติวาสนาแม่อาภัพ | ให้ย่อยยับยากแค้นแสนระอา | |||
จะมีผัวผัวก็พลัดกำจัดจาก | จนแสนยากอย่างนี้แล้วมิหนำ | |||
มามีลูกลูกก็จากวิบากกรม | สะอื้นร่ำรันทดสลดใจ ฯ | |||
๏ เจ้าพลายงามความแสนสงสารแม่ | ชำเลืองแลดูหน้าน้ำตาไหล | ||
แล้วกราบกรานมารดาด้วยอาลัย | ลูกเติบใหญ่คงจะมาหาแม่คุณ | ||
แต่ครั้งนี้มีกรรมจะจำจาก | ต้องพลัดพรากแม่ไปเพราะอ้ายขุน | ||
เที่ยวหาพ่อขอให้ปะเดชะบุญ | ไม่ลืมคุณมารดาจะมาเยือน | ||
แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก | คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน | ||
จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน | จะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว | ||
แม่วันทองของลูกจงกลับบ้าน | เขาจะพาลว้าวุ่นแม่ทูนหัว | ||
จะก้มหน้าลาไปมิได้กลัว | แม่อย่ามัวหมองนักจงหักใจ ฯ | ||
๏ นางกอดจูบลูบหลังแล้วสั่งสอน | อำนวยพรพลายน้อยละห้อยไห้ | ||
พ่อไปดีศรีสวัสดิ์กำจัดภัย | จนเติบใหญ่ยิ่งยวดได้บวชเรียน | ||
ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ | เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน | ||
แล้วพาลูกออกมาข้างท่าเกวียน | จะจากเจียนใจขาดอนาถใจ | ||
ลูกก็และดูแม่แม่ดูลูก | ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล | ||
สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย | แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา | ||
เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น | แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา | ||
แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์ | โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง ฯ | ||
๏ นางวันทองหมองมัวกลัวขุนช้าง | ไม่เหมือนอย่างคนทั้งปวงมันหวงหึง | ||
ออกชายทุ่งมุ่งเมินเดินตะบึง | กลับมาถึงเรือนร่ำระกำตรอม | ||
ทุกเช้าเย็นเศร้าหมองเฝ้าร้องไห้ | ด้วยอาลัยพลายงามทรามถนอม | ||
ถึงยามกินสิ้นรสสู้อดออม | จนซูบผอมผิวพรรณทุกวันคืน ฯ | ||
๏ เจ้าพลายงามตามทางไปกลางทุ่ง | เขม้นมุ่งเขาเขินเดินสะอื้น | ||
ออกหลังบ้านตาลตะคุ่มเป็นพุ่มพื้น | ร่มรื่นรังเรียงเคียงตะเคียน | ||
ต้นแคคางกร่างกระทุ่มชอุ่มออก | ทั้งช่อดอกดูไสวเหมือนไม้เขียน | ||
เจ้าพลายเพลินเดินพลางตามทางเกวียน | ตลอดเลี่ยนลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยมา | ||
ถงโคกฆ้องหนองสะพานบ้านกะเหรี่ยง | เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา | ||
พริกมะเขือเหลืออร่ามงามตา | สาลิกาแก้วกินแล้วบินฮือ | ||
เห็นไก่เตี้ยเขี่ยคุ้ยที่ขุยไผ่ | กระโชกไล่ลดเลี้ยวมันเปรียวปรื๋อ | ||
พบนกยูงฝูงใหญ่ไล่กระพือ | มันบินหวือโห่ร้องคะนองใจ | ||
จนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยข้อให้ท้อแท้ | คิดถึงแม่วันทองแล้วร้องไห้ | ||
พระสุริยาสายัณห์ลงเรไร | เหมือนจิตใจเจ้าจะขาดลงรอนรอน | ||
พอจวนพลบพบฝูงจิ้งจอกน้อย | วิ่งร่อยร่อยตามเขาแล้วเห่าหอน | ||
แสยงเส้นโลมาให้อาวรณ์ | ถึงดงดอนแดนบ้านกาญจน์บุรี | ||
เห็นวัดร้างข้างเขาดูเก่าแก่ | ยังมีแต่รูปพระชินสีห์ | ||
โบสถ์โบราณบานประตูยังดูดี | พอราตรีกราบไหว้อาศัยนอน | ||
ครั้นรุ่งเช้าเอาขนมทั้งส้มลิ้ม | พอกินอิ่มแล้วออกเดินเนินสิงขร | ||
ถึงบ้านกร่างทางคนเขาหาบคอน | เห็นเด็กต้อนควายอึงคะนึงไป | ||
ไม่รู้ความถามเหล่าพวกชาวบ้าน | ว่าเรือนท่านทองประศรีอยู่ที่ไหน | ||
เด็กบ้านนอกบอกเล่าให้เข้าใจ | แกอยู่ไร่โน่นแน่ะยังแลลับ | ||
มะยมใหญ่ในบ้านกินหวานนัก | กูไปลักบ่อยบ่อยแกคอยจับ | ||
พอฉวยได้อ้ายขิกหยิกเสียยับ | ร้ายเหมือนกับผีเสื้อแกเหลือตัว | ||
ถ้าลูกใครไปเล่นแกเห็นเข้า | แกจับเอานมยานฟัดกบาลหัว | ||
มาถามหาว่าไรช่างไม่กลัว | แกจับตัวตีตายยายนมยาน ฯ | ||
๏ เจ้าพลายงามถามแจ้งแล้วแกล้งว่า | เอ็งช่วยพาเราไปชมมะยมหวาน | ||
จะขึ้นลักหักห่อให้พอการ | มาสู่ท่านทั้งสิ้นกินด้วยกัน | ||
พวกเด็กเด็กดีใจไปสิหวา | ซ่อนข้าวปลาปล่อยควายแล้วผายผัน | ||
บ้างเหน็บหน้าผ้านุ่งเกี้ยวพุงพัน | หัวเราะกันกูจะห่อให้พอแรง | ||
พอถึงบ้านท่านยายทองประศรี | พวกเด็กชี้เรือนให้แล้วแอบแฝง | ||
เจ้าพลายงามขามจิตยังคิดแคลง | ค่อยลัดแลงเล็งแลมาแต่ไกล | ||
ดูเงียบเชียบเลียบรอบริมขอบรั้ว | ไม่เห็นตัวท่านย่าน่าสงสัย | ||
ประตูหับยับยั้งยืนฟังไป | เสียงแต่ในออดแอดแรดแรแร | ||
รู้ว่าคนบนนั้นนั่งปั่นฝ้าย | จะอุบายบอกความตามกระแส | ||
ขึ้นมะยมห่มล้อทำตอแย | ให้ท่านแลเห็นเรามาเอาตัว | ||
จึงจะบอกออกตามเนื้อความลับ | ได้อยู่กับย่าบังเกิดกำเนิดหัว | ||
แล้วเมียงมองย่องดอดเข้าลอดรั้ว | ค่อยแฝงตัวขึ้นบนต้นมะยม | ||
แล้วพยักกวักเรียกอ้ายเด็กเด็ก | ลูกเล็กหลบลอบค่อยหมอบก้ม | ||
ระวังตัวกลัวยายเฒ่าเจ้าคารม | เก็บมะยมซุบซิบกระหยิบตา ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านยายทองประศรี | กับยายปลียายเปลอยู่เคหา | ||
ให้พวกเหล่าบ่าวไพร่ไปไร่นา | ตามประสาเพศบ้านกาญจน์บุรี | ||
แต่ขุนแผนแสนสนิทต้องติดคุก | ไม่มีสุขเศร้าหมองทองประศรี | ||
จนซูบผอมตรอมใจมาหลายปี | อยู่แต่ที่ในห้องนองน้ำตา | ||
แต่หูไวได้ยินมะยมหล่น | เป็นทำวลแหวกมองตามช่องฝา | ||
เห็นเด็กเด็กเล็ดดลอดดอเข้ามา | แกฉวยคว้าไม้ตระบองค่อยมองเมียง | ||
ลงบันไดอ้ายเด็กเล็กกเล็กวิ่ง | แกไล่ทิ้งด่าทอมันล้อเถียง | ||
ชกโคตรเหง้าเหล่ากอเอาพอเพียง | พอแว่วเสียงอยู่บนต้นมะยม | ||
มองเขม้นเห็นลูกหัวจุกน้อย | เหม่อ้ายจ้อยโจรป่าด่าขรม | ||
อย่าแอบอิงนิ่งนั่งตั้งเทพนม | ลงมาก้มหลังลองตระบองกู ฯ | ||
๏ เจ้าพลายงามคร้ามพรั่นขยั้นหยุด | ความกลัวสุดแสนกลัวตัวเป็นหนู | ||
จึงว่าฉานหลานดอกบอกให้รู้ | อันอยู่ที่เมืองสุพรรณบ้านวันทอง | ||
ทองประศรีชี้หน้าว่าอุเหม่ | อ้ายเจ้าเล่ห์หลานข้ามันน่าถอง | ||
มาเถิดมาย่าจะให้ไม้ตระบอง | แกคอยจ้องจะทำให้หนำใจ | ||
เจ้าพลายงามความกลัวจนตัวสั่น | หยุดขยั้นอยู่ไม่กล้าลงมาได้ | ||
แล้วนึกว่าย่าตัวกลัวอะไร | โจนลงไปกราบย่าที่ฝ่าตีน ฯ | ||
๏ ทองประศรีตีหลังเสียงดังผึง | จะมัดมึงกูไม่ปรับเอาทรัพย์สิน | ||
มาแต่ไหนลูกไทยหรือลูกจีน | เฝ้าลักปีนมะยมห่มหักราน | ||
เจ้าพลายน้อยคอยหลบแล้วนบนอบ | ฉันเจ็บบอบแล้วย่าเมตตาหลาน | ||
ข้าเป็นลูกพ่อขุนแผนแสนสะท้าน | ข้างฝ่ายมารดาชื่อแม่วันทอง | ||
จะมาหาย่าชื่อทองประศรี | อย่าเพ่อตีฉันจะเล่าความเศร้าหมอง | ||
ย่าเขม้นเห็นจริงทิ้งตระบอง | กอดประคองรับขวัญกลั้นน้ำตา | ||
แล้วด่าตัวชั่วเหลือไม่เชื่อเจ้า | ขืนตีเอาหลานรักเป็นหนักหนา | ||
จนหัวห้อยพลอยนอพ่อนี่นา | แล้วพามาขึ้นเรือนเตือนยายปลี | ||
ช่วยฝนไพลให้เหลวเร็วเร็วเข้า | อีเปลเอาขันล้างหน้าออกมานี่ | ||
แกตักน้ำร่ำรดหมดราคี | ช่วยขัดสีโซมขมิ้นสิ้นเป็นชาม | ||
แล้วทาไพลให้หลานสงสารเลหือ | มานั่งเสื่อลันไตปราศรัยถาม | ||
เจ้าชื่อไรใครบอกออกเนื้อความ | จึงได้ตามขึ้นมาถึงย่ายาย ฯ | ||
๏ เจ้าพลายน้อยสร้อยเศร้าแล้วเล่าเรื่อง | แต่อยู่เมืองสุพรรณเหมือนมั่นหมาย | ||
แม่วันทองครองเลี้ยงไว้เคียงกาย | ให้ชื่อพลายงามน้อยแก้วกลอยใจ | ||
ให้ไหว้บุญขุนช้างเหมือนอย่างพ่อ | มันลวงล่อหลานหลงไม่สงสัย | ||
พาหลานเที่ยวเลี้ยวทางไปกลางไพร | เอาขอนไม้ทับคอแทบมรณา | ||
แม่จึงบอกออกว่าพ่อชื่อขุนแผน | ขุนช้างแค้นเคืองคิดริษยา | ||
อยู่ไม่ได้ในสุพรรณจึงดั้นมา | ขอพึ่งบุญคุณย่าประสาจน ฯ | ||
๏ ทองประศรีตีอกชกผางผาง | ทุดอ้ายช้างชาติข้าอ้ายหน้าขน | ||
ลูกอีเฒ่าเทพทองคลองน้ำชน | จะฆ่าคนเสียทั้งเป็นไม่เอ็นดู | ||
ทำราวเจ้าชีวิตกูคิดฟ้อง | ให้มันต้องโทษกรณ์จนอ่อนหู | ||
แกบ่นว่าด่าร่ำออกพร่ำพรู | พ่อมาอยู่บ้านย่าแล้วอย่ากลัว | ||
แม้นอ้ายขุนวุ่นมาว่าเป็นลูก | มันมิถูกนมยานฟัดกบาลหัว | ||
พลางเรียกอีไหมที่ในครัว | เอาแกงคั่วข้าวปลามาให้กิน | ||
พอบ่ายเบี่ยงเสียงละว้าพวกข้าบ่าว | ทั้งมอญลาวเลิกนาเข้ามาสิ้น | ||
บ้างสุมไฟใส่ควันกันยุงริ้น | ตามถิ่นบ้านนอกอยู่คอกนา ฯ | ||
๏ ครั้นพลบค่ำย่ำฆ้องทองประศรี | เรียกยายปลียายเปลเข้าเคหา | ||
เย็บบายศรีนมแมวจอกแก้วมา | ใส่ข้าวปลาเปรี้ยวหวานเอาจานรอง | ||
เทียนดอกไม้ไข่ข้าวมะพร้าวพร้อม | น้ำมันหอมแป้งปรุงฟุ้งทั้งห้อง | ||
ลูกปะหล่ำกำไลไขออกกอง | บอกว่าของพ่อเจ้าแต่เยาว์มา | ||
เอาสอดใส่ให้หลานสงสารเหลือ | ด้วยหน่อเนื้อนึกรักเป็นหนักหนา | ||
เหมือนพ่อแผนแสนเหมือนไม่เคลื่อนคลา | ทั้งหูตาคมสันเป็นมันยับ | ||
พลางเรียกหาข้าคนมาบนหอ | ให้นั่งต่อต่อกันเป็นอันดับ | ||
บายศรีตั้งพรั่งพร้อมน้อมคำนับ | เจริญรับมิ่งขวัญรำพันไป ฯ | ||
๏ ขวัญพ่อพลายงามทรามสวาท | มาชมภาชนะทองอันผ่องใส | ||
ล้วนของขวัญจันทร์จวงพวงมาลัย | ขวัญอย่าไปป่าเขาลำเนาเนิน | ||
เห็นแต่เนื้อเสือสิงห์ฝูงลิงค่าง | จะอ้างว้างเวียนวกระหกระเหิน | ||
ขวัญมาหาย่าเถิดอย่าเพลิดเพลิน | จงเจริญร้อยปีอย่ามีภัย | ||
แล้วจุดเทียนเวียนวงส่งให้บ่าว | มันโห่กราวเกรียวลั่นสนั่นไหว | ||
คอยรับเทียนเเวียนส่งเป็นวงไป | แล้วดับไฟโบกควันให้ทันที | ||
มะพร้าวอ่อนป้อนเจ้าทั้งข้าวขวัญ | กระแจะจันทน์เจิมหน้าเป็นราศี | ||
ให้สาวสาวลาวเวียงที่เสียงดี | มาซอปี่อ้อซั้นทำขวัญนาย ฯ | ||
๏ พ่อเมื้อเมืองดง | เอาพงเป็นเหย้า | อึดปลาอึดข้าว | ขวัญเจ้าตกหาย | |||
ขวัญอ่อนร่อแร่ | ว้าเหว่สู่กาย | อยู่ปลายยางยูง | ท้องทุ่งท้องนา | |||
ขวัญเผือเมื้อเมิน | ขอเชิญขวัญพ่อ | ฟังซอเสียงอ้อ | ขวัญพ่อเจ้าจ๋า | |||
ข้าวเหนียวเต็มพ้อม | ข้าวป้อมเต็มป่า | ขวัญเจ้าจงมา | สู่กายพลายเอยฯ | |||
๏ แล้วพวกมอญซ้อนซอเสียงอ้อแอ้ | ร้องทะแยย่องกระเหนาะย่ายเตาะเหย | |||
ออระน่ายพลายงามพ่อทรามเชย | ขวัญเอ๋ยกกกะเนียงเกรียงเกลิง | |||
ให้อยู่ดีกินดีมีเมียสาว | เนียงกะราวกนตะละเลิงเคลิ่ง | |||
มวยบามาขวัญจงบันเทิง | จะเปิงยี่อิกะปิปอน | |||
ทองประศรีดีใจให้เงินบาท | เห็นแต่ทาสพรั่งพร้อมล้อมสลอน | |||
ถึงเวลาพาเจ้าเข้าที่นอน | มีฟูกหมอนมุ้งม่านสำราญใจ ฯ | |||
๏ เจ้าพลายงามถามย่าว่าพ่อแผน | ต้องคับแค้นเคืองเข็ญเป็นไฉน | |||
ไม่เคยคุ้นคุณย่าช่วยพาไป | พอหลานได้เห็นหน้าบิดาตัว | |||
ได้ฟังหลานท่านย่าน้ำตาตก | สะอื้นอกอาดูรว่าทูนหัว | |||
พ่อเอ็งย่าว่าไรเขาไม่กลัว | เพราะเมามัวเมียลาวนางชาววัง | |||
ไปทูลขอพระองค์ทรงพระโกรธ | ให้ลงโทษทนทุกข์ใส่คุกขัง | |||
แต่ไม่ต้องจองจำอยู่ลำพัง | ถึงสิบปีแล้วยังไม่พ้นเลย | |||
รุ่งพรุ่งนี้สิย่าจะพาเจ้า | ไปหาเขาอยู่ที่ทับริมหับเผย | |||
ให้พ่อเห็นเย็นอารมณ์ได้ชมเชย | พูดจนเลยลืมหลับระงับไป ฯ | |||
๏ เห็นแสงทองหมองจิตคิดถึงลูก | สั่งบ่าวผูกช้างสัปคับใหญ่ | |||
ใส่ข้าวปลาผ้าผ่อนท่อนสไบ | กับไต้ไฟฟักแฟงแตงน้ำตาล | |||
ทั้งปูนยาสาคูแลพลูหมาก | จะไปฝากขุนแผนแสนสงสาร | |||
อ้ายกุลาตาหลอเป็นหมอควาญ | แล้วพาหลานขึ้นช้างตามทางมา | |||
ลงบางขามข้ามบ้านสะพานโขลง | ออกทุ่งโล่งเลี้ยวทางไปข้างขวา | |||
สองวันครึ่งถึงกรุงอยุธยา | ลงเดินพาพลายงามไปตามทาง ฯ | |||
๏ จะกล่าวฝ่ายนายขุนแผนที่แสนทุกข์ | แต่ติดคุกขัดข้องให้หมองหมาง | |||
อยู่หับเผยเคยสะอาดขาดสำอาง | จนผอมซูบรูปร่างดูรุงรัง | |||
ผมยาวเกล้ากระหวัดตัดไม่เข้า | เหตุด้วยเขาคงทนทั้งมนตร์ขลัง | |||
อยู่เปล่าเปล่าเล่าก็จนพ้นกำลัง | อุตส่าห์นั่งทำการสานกระทาย | |||
ให้นางแก้วกิริยาช่วยทารัก | ขุนแผนถักขอบรัดกระหวัดหวาย | |||
ใบละบาทคาดได้ด้วยง่ายดาย | แขวนไว้ขายทั้งเรือนออกเกลื่อนไป | |||
พอมารดามาถึงทับรับเข้าห้อง | ทั้งข้าวของผู้คนขนมาให้ | |||
เห็นลูกชายพลายงามถามทันใด | นี่ลูกใครหน้าตาน่าเอ็นดู ฯ | |||
๏ ทองประศรีชี้แจงแถลงเล่า | นี่ลูกเจ้าแล้วเป็นไรไหว้เสียหนู | |||
แล้วบอกความตามที่มีศัตรู | ขุนแผนรู้รับขวัญกลั้นน้ำตา | |||
เข้าสวมสอดกอดจูบแล้วลูบหลัง | น้ำตาพรั่งพรั่งพรายทั้งซ้ายขวา | |||
แค้นขุนช้างดังจะดิ้นสิ้นชีวา | มันชะล่าชะเลยจนเคยตัว | |||
ฉุดคร่าพาวันทองไปครองคู่ | เห็นว่ากูถือสัตย์ไม่ตัดหัว | |||
ทั้งลูกเต้าเอาไปฆ่าเหมือนม้าวัว | หมายว่ากลัวแล้วกระมังอ้ายจังไร | |||
วันนี้ค่ำจำจะไปให้ถึงบ้าน | สับกบาลหัวเชือดให้เลือดไหล | |||
ลูกผู้ชายตายไหนก็ตายไป | ขัดใจฮึดฮัดกัดฟันฟาง ฯ | |||
๏ ท่านย่าทองประศรีว่าอีพ่อ | แม่จะขอทัดทานเหมือนขัดขวาง | |||
ไปฆ่าผีดีกว่าฆ่าขุนช้าง | จะสืบสร้างบาปกรรมไปทำไม | |||
ลูกของเจ้าเล่าก็มาหาเจ้าแล้ว | ใช่เชื้อแถวเจ้ายังมีอยู่ที่ไหน | |||
จงฟังแม่แต่เท่านั้นแล้วกันไป | พ่อจะได้ภาวนารักษากาย | |||
ลูกของเจ้าเล่าแม่จะรับเลี้ยง | ช่วยกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงไว้ได้ถวาย | |||
ที่กริ้วโกรธโทษกรณ์จะผ่อนคลาย | คราวเคราะห์ร้ายเจ้าจงเจียมเสงี่ยมตน | |||
โบราณท่านสมมุติมนุษย์นี้ | ยากแล้วมีใหม่สำเร็จถึงเจ็ดหน | |||
ที่ทุกข์โศกโรคร้อนค่อยผ่อนปรน | คงจะพ้นโทษทัณฑ์ไม่บรรลัย ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสุภาพ | ก้มกราบมารดาน้ำตาไหล | |||
ลูกเห็นแต่แม่คุณค่อยอุ่นใจ | ช่วยสอนให้พลายงามเรียนความรู้ | |||
อันตำรับตำราสารพัด | ลูกเก็บจัดแจงไว้ที่ในตู้ | |||
ถ้าลืมหลงตรงไหนไขออกดู | ทั้งของครูของพ่อต่อกันมา | |||
แล้วลูบหลังสั่งความพลายงามน้อย | เจ้าจงค่อยร่ำเรียนเขียนคาถา | |||
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา | ไปเบื้องหน้าเติบใหญ่จะให้คุณ | |||
เรายากแล้วแก้วตาอย่าประมาท | ทั้งสิ้นญาติสิ้นเชื้อจะเกื้อหนุน | |||
ทุกวันนี้มีแต่ย่ายังการุญ | พ่อพึ่งบุญเถิดลูกได้ปลูกเลี้ยง | |||
จงนึกว่าย่าเหมือนกับแม่พ่อ | ถึงด่าทอเท่าไรอย่าได้เถียง | |||
อันพ่อนี้มิได้อยู่ใกล้เคียง | ไม่ได้เลี้ยงลูกแล้วนาแก้วตา | |||
พลางกอดพลายงามแอบไว้แนบอก | น้ำตาตกพร่างพรายทั้งซ้ายขวา | |||
โอ้มีกรรมทำไว้แต่ไรมา | พอเห็นหน้าลูกแล้วจะแคล้วกัน | |||
มาหาพ่อพ่อไม่มีสิ่งไรผูก | ยังแต่ลูกประคำจะทำขวัญ | |||
อยู่หอกปืนยืนยงคงกระพัน | ได้ป้องกันกายาข้างหน้าไป ฯ | |||
๏ เจ้าพลายงามความแสนสงสารพ่อ | น้ำตาคลอคลอตกซกซกไหล | |||
รับประคำร่ำว่าประสาใจ | ฉันจะใคร่อยู่ด้วยช่วยบิดา | |||
ได้ตักน้ำตำข้าวทุกเช้าค่ำ | ที่พอทำฟืนผักจะหักหา | |||
ให้พ่อพ้นทนทุกข์แล้วลูกยา | จะอุตส่าห์เล่าเรียนค่อยเพียรไป ฯ | |||
๏ ขุนแผนแสนสวาทจะขาดจิต | กะจิริดรู้ว่าจะหาไหน | |||
น่าสงสารท่านย่าพลอยอาลัย | น้ำตาไหลพรากพรากเพราะยากเย็น | |||
ขุนแผนว่าจะอยู่ดูไม่ได้ | ในคุกใหญ่มันยากแค้นถึงแสนเข็ญ | |||
เหมือนกับนรกตกทั้งเป็น | มิได้เว้นโทษทัณฑ์สักวันเลย | |||
แต่พ่อนี้ท่านเจ้ากรมยมราช | อนุญาตให้อยู่ทับในหับเผย | |||
คนทั้งหลายนายมุลก็คุ้นเคย | เขาละเลยพ่อไม่ต้องถูกจองจำ | |||
ทั้งข้าวปลาสารพันทุกวันนี้ | พระหมื่นศรีเธอช่วยชุบอุปถัมภ์ | |||
ค่อยเบาใจไม่พักต้องตักตำ | คุณท่านล้ำล้นฟ้าด้วยปรานี | |||
ถ้าแม้นเจ้าเล่าเรียนความรู้ได้ | จะพาไปพึ่งพระจมื่นศรี | |||
ถวายตัวพระองค์ทรงธรณี | จะได้มีเกียรติยศปรากฏไป ฯ | |||
๏ พลายงามน้อยสร้อยเศร้ารับเจ้าคะ | ดีฉันจะพากเพียรเรียนให้ได้ | |||
ต่างพูดจาพาทีค่อยดีใจ | จนจวนใกล้โพล้เพล้ถึงเวลา | |||
ทองประศรีสั่งความว่ายามค่ำ | แม่จะจำจากพ่อแก้วไปแล้วหนา | |||
ขุนแผนแสนสะท้านไหว้มารดา | พลายงามลาพ่อลูกผูกอาลัย | |||
ตามย่ามาพ้นทับที่หับเผย | ไม่ลืมเลยเหลียวหน้าน้ำตาไหล | |||
ทั้งขุนแผนแสนสวาทเพียงขาดใจ | ต่างอาลัยแลลับวับวิญญาณ์ | |||
ไปขึ้นช้างข้างวัดท่าการ้อง | พอเดือนส่องแสงสว่างกลางเวหา | |||
ออกข้ามทุ่งกรุงศรีอยุธยา | รีบกลับมาถึงบ้านกาญจน์บุรีฯ | |||
๏ อันเรื่องราวกล่าวความพลายงามน้อย | ค่อยเรียบร้อยเรียนรู้ครูทองประศรี | |||
ทั้งขอมไทยได้สิ้นก็ยินดี | เรียนคัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์ | |||
ปัถมังตั้งตัวนะปัดตลอด | แล้วถอนถอดถูกต้องเป็นล่องหน | |||
หัวใจกริดอิทธิเจเสน่ห์กล | แล้วเล่ามนตร์เสกขมิ้นกินน้ำมัน | |||
เข้าในห้องลองวิชาประสาเด็ก | แทงจนเหล็กแหลมลู่ยู่ขยั้น | |||
มหาทะมื่นยืนยงคงกระพัน | ทั้งเลขยันตร์ลากเหมือนไม่เคลื่อนคลาย | |||
แล้วทำตัวหัวใจปิติโส | สะเดาะโซ่ตรวนได้ดังใจหมาย | |||
สะกดคนมนตร์จังงังกำบังกาย | เมฆฉายสูรย์จันทร์ขยันดี | |||
ทั้งเรียนธรรมกรรมฐานนิพพานสูตร | ร้องเรียกภูตพรายปราบกำราบผี | |||
ผูกพยนต์หุ่นหญ้าเข้าราวี | ทองประศรีสอนหลานชำนาญมา | |||
จนอายุพลายงามสิบสามขวบ | ดูขาวอวบอ้วนท้วนเป็นนวลหน้า | |||
ด้วยเนื้อแตกแรกรุ่นละมุนตา | กิริยาแย้มยิ้มหงิมหงิมงาม | |||
นัยน์ตากลมคมขำดูดำขลับ | ใครแลลับรักใคร่ปราศรัยถาม | |||
ทองประศรีดีใจได้ฤกษ์ยาม | ได้สิบสามปีแล้วหลานแก้วกู | |||
จะโกนจุกสุกดิบขึ้นสิบค่ำ | แกทำน้ำยาจีนต้มตีนหมู | |||
พวกเพื่อนบ้านวานมาผ่าหมากพลู | บ้างปัดปูเสื่อสาดลาดพรมเจียม | |||
ทั้งหม้อเงินหม้อทองสำรองตั้ง | มีทั้งสังข์ใส่น้ำมนตร์ไว้จนเปี่ยม | |||
อัฒจันทร์ชั้นพระก็ตระเตรียม | ตามธรรมเนียมห้องกลองฉลองทาน | |||
ถึงวันดีนิมนต์ขรัวเกิดเฒ่า | อยู่วัดเขาชนไก่ใกล้กับบ้าน | |||
พอพิณพาทย์คาดตระสาธุการ | ท่านสมภารพาพระสงฆ์สิบองค์มา | |||
นั่งสวดมนตร์จนจบพอพลบค่ำ | ก็ซัดน้ำมนตร์สาดเสียงฉาดฉ่า | |||
ผู้ชายเสียดเบียดสาวชาวละว้า | เสียงเฮฮาฮึดฮัดเมื่อซัดน้ำ | |||
ผู้หญิงหยิกตะกายผู้ชายทับ | เสียงหนุบหนับเหนาะแหนะแขยะขยำ | |||
จนอีหังคลั่งใจถีบอ้ายดำ | ลุกขึ้นปล้ำกันออกอึงเสียงตึงตัง | |||
ทองประศรีดีใจว่าใครแพ้ | สนุกแน่แล้วอ้ายดำปล้ำอีหัง | |||
แล้วให้หลานผลัดผ้ามาเก้กัง | เข้าไปนั่งกราบกรานสมภารครู | |||
ขรัวเกิดแลมองเห็นทองประศรี | ถามว่านี่ลูกใครเล่าไอ้หนู | |||
เจ้าขรัวย่าอ้าปากน้ำหมากพรู | เล่าให้รู้แต่ต้นมาจนปลาย | |||
เดี๋ยวนี้เล่าเจ้าขุนแผนยังติดคุก | นี่โกนจุกแล้วจะได้ไปถวาย | |||
ท่านขรัวครูดูพ่อของออพลาย | เคราะห์จะคลายเคลื่อนบ้างหรืออย่างไร ฯ | |||
๏ ท่านขรัวครูรู้เรื่องให้เคืองแค้น | ทุดอ้ายแผนถ่อยแท้ไม่แก้ไข | |||
เมื่อความรู้กูสอนเจ้าหล่อนไว้ | ยังวิ่งไปเข้าคุกสนุกจริง | |||
อ้ายเจ้าชู้กูได้ว่ามาแต่ก่อน | จะทุกข์ร้อนอ่อนหูเพราะผู้หญิง | |||
หัวเราะพลางทางเอกเขนกอิง | พินิจนิ่งดูกายเจ้าพลายงาม | |||
เห็นน่ารักลักษณะก็ฉลาด | จะมีวาสนาดีขี่คานหาม | |||
ถ้าถึงวันชั้นโชคโฉลกยาม | ก็ต้องตามลักษณะว่าจะรวย | |||
แต่ที่เมียเสียถนัดปัตนิ | ตัวตำหนิรูปขาวเป็นสาวสวย | |||
แต่อ้ายนี่ขี้หลงจะงงงวย | ต้องถูกด้วยละโมบโลภโลกีย์ | |||
แล้วท่านขรัวหัวร่อว่าออหนู | มันเจ้าชู้เกินการหลานอีศรี | |||
ก็แต่ว่าอายุสิบแปดปี | จะได้ที่หมื่นขุนเป็นมุลนาย | |||
ทั้งเมียสาวชาวเหนือเป็นเชื้อแถว | อีนั่นแล้วมันจะมาพาฉิบหาย | |||
อันอ้ายขุนแผนพ่อของออพลาย | จะพ้นปลายเดือนยี่ในปีกุน | |||
นับแต่นี้มีสุขไม่ทุกข์ร้อน | ได้เตียงนอนนั่งเก้าอี้เป็นที่ขุน | |||
ทองประศรีดีใจไหว้เจ้าคุณ | ช่วยแบ่งบุญให้ได้ฟื้นคืนสักที | |||
สมภารรับกลับมายังอาวาส | เสียงพิณพาทย์พวกพ้องทองประศรี | |||
หาเสภามาทั่วที่ตัวดี | ท่านตามีช่างประทัดถนัดรบ | |||
ดูทำนองพองคอเสีบงอ้อแอ้ | พวกคนแก่ชอบหูว่ารู้จบ | |||
ตารองศรีดีแต่ขันรู้ครันครบ | กรับกระทบทำหลอกแล้วกลอกตา | |||
แล้วนายทั่งดังโด่งเสียงโว่งโวก | ว่ากระโชกกระชั้นขันหนักหนา | |||
ฝ่ายนายเพรชเม็ดมากลากช้าช้า | ตั้งสามวาสองศอกเหมือนบอกยาว | |||
ส่วนนายมาพระยานนท์คนตลก | ว่าหยกหยกหยาบช้าคนฮาฉาว | |||
ตาทองอยู่รู้ว่าภาษาลาว | แล้วส่งกราวเชิดเพลงโหน่งเหน่งไป | |||
ครั้นรุ่งเช้าเจ้าพลายก็โกนจุก | เป็นพ้นทุกข์พ้นร้อนนอนหลับใหล | |||
จนผมยาวเจ้าได้ตัดมหัดไทย | คิดจะใคร่ไปเป็นข้าฝ่าธุลี | |||
เดชะบุญทูลขอพ่อพ้นโทษ | เหมือนได้โปรดบิดาเป็นราศี | |||
แต่นิ่งนึกตรึกตราจนราตรี | เข้าข้างที่นอนย่าน้ำตาคลอ | |||
ทำคลึงเคล้าเว้าวอนด้วยอ่อนหวาน | พรุ่งนี้หลานจะลาไปหาพ่อ | |||
จะได้เฝ้าเจ้าชีวิตชิดชอบพอ | ทูลขอเผื่อจะโปรดที่โทษทัณฑ์ ฯ | |||
๏ ทองประศรีดีใจให้อนุญาต | เจ้าเชื้อชาติพงศ์พลายจงผายผัน | |||
จะได้ช่วยพ่อแม่คิดแก้กัน | ตามกตัญญูเถิดประเสริฐดี | |||
ย่าจะให้ไปส่งจนถึงพ่อ | จึงพาต่อไปหาพระหมื่นศรี | |||
ตามแต่บุญวาสนาบารมี | อันย่านี้นับวันจะบรรลัย | |||
มีลูกเต้าเล่าก็ทำให้ซ้ำทุกข์ | ไม่มีสุขสักเวลาน้ำตาไหล | |||
โรคก็ซ้ำช้ำบอบทั้งหอบไอ | ใครจะได้เผาผีก็มิรู้ | |||
เจ้าจงจำตำราที่ย่าสอน | จะถาวรเพิ่มยศไม่อดสู | |||
ย่าจะให้ไอ้พลัดไอ้ปัดไอ้ปู | เข้าไปอยู่ติดตามทั้งสามคน | |||
พอถือร่มสมปักตักน้ำท่า | หุงข้าวปลาสารพัดไม่ขัดสน | |||
พูดจนดึกตรึกการกับหลานตน | แล้วหลับจนแจ่มแจ้งแสงตะวัน ฯ | |||
๏ รู้สึกกายยายทองประศรีย่า | เอาเงินผ้าเสื้อใส่ในกำปั่น | |||
ทั้งหวานคาวข้าวปลาสารพัน | ขนขึ้นบรรทุกสัปคับช้าง | |||
พลายงามลาย่าช่วยอวยสวัสดิ์ | ได้ฤกษ์พาสารพัดไม่ขัดขวาง | |||
ขึ้นขี่หลังพังสะเทินเดินตามทาง | ไม่แรมค้างข้ามทุ่งถึงกรุงไกร | |||
ไปหาพ่อพอพบนั่งนบนอบ | ขุนแผนสอบไต่ถามความสงสัย | |||
เจ้าพลายน้อยค่อยเล่าให้เข้าใจ | ลูกจะใคร่ให้พระนายถวายตัว ฯ | |||
๏ ขุนแผนแสนสวาทอนุญาตว่า | จงอุตส่าห์สืบตะรกูลเถิดทูนหัว | |||
พ่อพงศ์พลายหมายศึกอย่านึกกลัว | จะพาตัวเจ้าไปให้พระนาย | |||
แล้วซักไซ้ไต่ถามถึงความรู้ | ให้ท่องดูได้สมอารมณ์หมาย | |||
ที่เข้าออกบอกความตามอุบาย | สอนลูกชายอยู่จนสนธยา | |||
พอเสียงฆ้องกลองย่ำเข้าค่ำพลบ | ถึงเดินพบผู้ใดไม่เห็นหน้า | |||
ชวนลูกชายพลายงามตามกันมา | ไปเคหาพระหมื่นศรีที่ริมคลอง | |||
ขึ้นบันไดไฟอร่ามถามพวกบ่าว | พอรู้ข่าวว่าสบายค่อยคลายหมอง | |||
ตรงมาหอรอรั้งยั้งหยุดมอง | หมื่นศรีร้องเรียกว่ามาซิเกลอ | |||
ด้วยรักใคร่ใจซื่อถือว่าเพื่อน | ไม่บากเบือนหน้าหนีดีเสมอ | |||
ขุนแผนพาลูกไปนั่งไหว้เธอ | ถามว่าเออนั่นใครที่ไหนมา ฯ | |||
๏ ขุนแผนบอกออกว่าลูกเจ้าวันทอง | ที่มีท้องเกือบแก่มาแต่ป่า | |||
เอาความหลังทั้งนั้นพรรณนา | จะพามามอบไว้ให้เจ้าคุณ | |||
ด้วยไม่มีที่เห็นแต่เป็นโทษ | พระนายโปรดช่วยเหลือทั้งเกื้อหนุน | |||
เป็นที่พึ่งจึงมาจงการุญ | เอาแต่บุญเถิดพ่อเจ้าเมื่อคราวจน | |||
อันวิชาย่าสอนลูกอ่อนแล้ว | เห็นคล่องแคล่วการศึกพอฝึกฝน | |||
ถ้ากระไรได้ช่องเห็นชอบกล | ช่วยผ่อนปรนโปรดถวายเจ้าพลายงาม ฯ | |||
๏ พระหมื่นศรีดีใจปราศรัยทัก | ดูแหลมหลักลูกทหารชาญสนาม | |||
เป็นข้าเฝ้าเจ้าชีวิตอย่าคิดคร้าม | มีสงครามเมื่อไรคงได้ดี | |||
ไว้ธุระจะถวายช่วยบ่ายเบี่ยง | ให้ชุบเลี้ยงลูกรักเป็นศักดิ์ศรี | |||
ที่กินอยู่ผู้คนของเรามี | อยู่เรือนนี่นั่งนอนไม่ร้อนรน | |||
ขุนแผนเล่าเจ้าก็รู้อยู่ว่ารัก | จนเจียนจักแหล่นตายด้วยหลายหน | |||
ก็เอ็นดูอยู่ว่าเกลอถึงเธอจน | ที่ขัดสนสารพัดไม่ขัดกัน | |||
แต่สุดช่วยด้วยว่าอาญาหลวง | ต่อได้ท่วงทีก่อนจะผ่อนผัน | |||
จริงนะเจ้าเราก็คิดทุกคืนวัน | คงช่วยกันไปกว่ากายจะวายวาง ฯ | |||
๏ นายขุนแผนแสนชื่นให้ตื้นอก | อุตส่าห์ยกมือไหว้มิได้หมาง | |||
สู้กลืนกล้ำน้ำตาแล้วว่าพลาง | พ่อเหมือนอย่างพ่อแม่ช่วยแก้ทุกข์ | |||
จนยากเย็นเป็นโทษเห็นโหดไร้ | ยังส่งให้ข้าวปลาเป็นผาสุก | |||
ก็หมายมั่นกตัญญูถึงอยู่คุก | กราบพ่อทุกทุกคืนได้ชื่นใจ | |||
อันลูกชายพลายงามตามแต่พ่อ | ลูกจะขอกราบลาช้าไม่ได้ | |||
พลางลูบหลังสั่งลูกผูกอาลัย | พ่อจะไปก่อนแล้วนะแก้วตา | |||
อยู่พึ่งบุญคุณพ่อต่อไปเถิด | จะประเสริฐสมหวังเป็นฝั่งฝา | |||
แล้วลงเรือนเดือนสว่างกระจ่างตา | ก็กลับมาหับเผยที่เคยนอน ฯ | |||
๏ ครานั้นจมื่นศรีเสาวรักษ์ราช | เรียกพลายงามทรามสวาทมาสั่งสอน | |||
จะเป็นข้าจอมนรินทร์ปิ่นนคร | อย่านั่งนอนเปล่าเปล่าไม่เข้าการ | |||
พระกำหนดกฎหมายมีหลายเล่ม | เก็บไว้เต็มตู้ใหญ่ไขออกอ่าน | |||
กรมศักดิ์หลักชัยพระอัยการ | มนเทียรบาลพระบัญญัติตัดสำนวน | |||
แล้วให้รู้สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง | ตามกระทรวงผิดชอบคิดสอบสวน | |||
ราชาศัพท์รับสั่งให้บังควร | รู้จงถ้วนถี่ไว้จึงได้การ | |||
ที่ไม่สู้รู้อะไรผู้ใหญ่เด็ก | มหาดเล็กสามต่อพ่อลูกหลาน | |||
เสียตระกูลสูญลับอัประมาณ | เพราะเกียจคร้านคร่ำคร่าเหมือนพร้ามอญ | |||
นี่ตัวเจ้าเหล่ากอทั้งพ่อแม่ | อย่าเชือนแชอุตส่าห์จำเอาคำสอน | |||
แล้วจัดแจงห้องหับให้หลับนอน | ไม่อาวรณ์เธอช่วยเลี้ยงเป็นเที่ยงธรรม์ ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามทรามสวาท | แหลมฉลาดเลขผาปัญญาขยัน | |||
อยู่บ้านพระหมื่นศรียินดีครัน | ทุกคืนวันตามหลังเข้าวังใน | |||
เธอเข้าเฝ้าเจ้าก็นั่งบังไม้ดัด | คอยฟังตรัสตรึกตราอัชฌาสัย | |||
ค่อยรู้กิจผิดชอบรอบคอบไป | ด้วยมิได้คบเพื่อนเที่ยวเชือนแช | |||
ครั้นอยู่บ้านอ่านคำพระธรรมศาสตร์ | ตำรับราชสงครามตามกระแส | |||
ค่อยชื่นชุ่มหนุ่ตะกอดูฟ้อแฟ้ | นางสาวแส้ใส่ใจจะใคร่พบ | |||
เข้าไปหามาสู่ไม่รู้เกี้ยว | แต่พอเหลียวเห็นผู้หญิงก็วิ่งหลบ | |||
อุตส่าห์เพียรเรียนรู้ดูจนครบ | รู้ขนบธรรมเนียมก็เจียมใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านพระจมื่นศรี | ถึงวันดีได้ช่องก็ผ่องใส | |||
จึงจัดแจงแต่งธูปเทียนดอกไม้ | จะเข้าไปทูลถวายเจ้าพลายงาม | |||
นุ่งสมปักชักกลีบจีบสลับ | ครั้นเสร็จสรรพสำราญขึ้นคานหาม | |||
พวกข้าคนอลหม่านถือพานตาม | เจ้าพลายงามตามหลังเข้าวังใน | |||
ถึงพระลานวานเขาพวกชาวที่ | ที่ค่อยมีกิริยาอัชฌาสัย | |||
ถือพานทองรองธูปเทียนดอกไม้ | ยกเข้าไปเตรียมตั้งพอบังควร | |||
ให้พลายงามตามไปนั่งตรงตั้งของ | ตามทำนองพระหมื่นศรีสั่งถี่ถ้วน | |||
ฝ่ายข้าเฝ้าเจ้าพระยาเวลาจวน | ต่างก็ชวนกันเข้ามาหน้าพระโรง | |||
นุ่งสมปักชักชายกรายกรีดเล็บ | ผ้ากราบเหน็บแนบหน้าดูอ่าโถง | |||
พอเวลานาทีถ้วนสี่โมง | เข้าพระโรงพร้อมหน้าข้าราชการ ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | มงกุฎเกศอยุธยามหาสถาน | |||
สถถิตแท่นแว่นฟ้าโอฬาฬาร | ดังวิมานเมืองฟ้าสุราลัย | |||
ห้ามแหนแน่นหนุนละมุนหมอบ | งามประกอบกิริยาอัชฌาสัย | |||
ระเรื่อยรับขับร้องทำนองใน | สำราญราชหฤทัยทุกเวลา | |||
ยามกลางวันนั้นก็ออกพระโรงรัตน์ | มีแต่ตรัสสรวลสันต์ทรงหรรษา | |||
ทั้งเหนือใต้ไพรีไม่มีมา | สำราญใจไพร่ฟ้าประชาชี | |||
ด้วยเดชะบุญญาอานุภาพ | มีแต่ลาภมาประมูลพูนภาษี | |||
แต่บรรดาข้าเฝ้าเหล่าเสนี | ใครทำดีได้ประทานถึงพานทอง ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระจมื่นศรีเสาวรักษ์ราช | อภิวาทบาทมูลทูลฉลอง | |||
ขอเดชะพระกรุณาฝ่าละออง | ดอกไม้ธูปเทียนทองของพลายงาม | |||
บุตรขุนแผนแสนสะท้านหลานทองประศรี | ความรู้มีเรียบราบไม่หยาบหยาม | |||
จะขอรองมุลิกาพยายาม | พลางกราบสามทีสดับตรับโองการ ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | เหลือบเห็นหน้าพลายงามความสงสาร | |||
จะออกโอษฐ์โปรดขขุนแผนแสนสะท้าน | แต่กรรมนั้นบันดาลดลพระทัย | |||
ให้เคลิ้มองค์ทรงกลอนละครนอก | นึกไม่ออกเวียนวงให้หลงใหล | |||
ลืมประภาษราชกิจที่คิดไว้ | กลับเข้าในแท่นที่ศรีไสยา ฯ | |||
๏ อันเรื่องกล่าวความพลายงามสวาท | เป็นมหาดเล็กแล้วค่อยแกล้วกล้า | |||
อยู่ด้วยพระหมื่นศรีผู้ปรีชา | เฝ้าเวลาเช้าเย็นไม่เว้นวัน | |||
มุลนายถ้วนหน้าก็ปรานี | มิได้มีใครรังเกียจเดียดฉันท์ | |||
ถึงว่าท่านจางวางทั้งสองนั้น | ก็ฝากตัวกลัวทั่นทุกคนไป ฯ | |||
ตอนที่ ๒๕ เจ้าล้านช้างถวายนางสร้อยทอง (ยังไม่สมบูรณ์)
. | |||
. | |||
. | |||
แต่ละหน้าหน้านวลควรจะรัก | ผ่องพักตร์เป็นที่พิสมัย | ||
เกล้าผมนมนางงามวิไล | อำไพผิวผ่องเพียงขวัญตา | ||
แซมดอกไม้ไหวใส่ช้อง | ห่มตาดริ้วทองกรองหน้า | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ในเรื่องราวลักษณะราชสาร | พระผู้ผ่านเชียงใหม่มไหศวรรย์ | ||
ทรงพระนามเชียงอินทร์ปิ่นกำนัล | ครองขัณฑเสมาธานินทร์ | ||
เป็นหลักปักโลกทั้งโกฏิแสน | ทุกด้าวแดนย่อท้อไม่ต่อสิ้น | ||
ระอาทั่วกลัวฤทธิ์ทั้งแผ่นดิน | ทั่วถิ่นทุกประเทศธานี | ||
ทั้งกรุงนาคนหุตมกุฎภพ | เลิศลบทั่วโลกราศี | ||
ทั้งสองกรุงบำรุงธรณี | พระเกียรตินั้นก็มีเสมอกัน | ||
ได้ทราบข่าวกล่าวโฉมพระธิดา | ว่าโสภาพริ้งเพริศเฉิดฉัน | ||
พร้อมทั้งสุริย์วงศ์พงศ์พันธุ์ | ควรมอบไอศวรรย์เป็นคู่ครอง | ||
มาตรอื่นหมื่นกษัตริย์ร้อยประเทศ | ไม่ควรคู่เยาวเรศภิรมย์สอง | ||
ไม่สมพักตร์ต่ำศักดิ์กว่าละออง | จะเศร้าหมองเสื่อมสิ้นพระเดชา | ||
จะขอองค์พระธิดาดวงเนตร | เยาวเรศไปไว้เป็นฝ่ายขวา | ||
ขอประทานสร้อยทองละอองตา | ไปเป็นบาทบริจาเจ้าเชียงอินทร์ | ||
ถ้าทราบสารแม้นประทานดวงสมร | สองนครจะเป็นสุขเกษมสิ้น | ||
ตะพานเงินทองมาถึงธานินทร์ | สิ้นสารแล้วก็กราบลงสามรา ฯ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ผินพระพักตร์ตรัสปรึกษาเสนาพลัน | พร้อมกันจะเห็นประการใด | ||
ต่างเมืองเขามาถวายนาง | จะเห็นจริงอยู่บ้างฤาหาไม่ | ||
ฤากลศึกนึกแหนงควรแคลงใจ | ใครเห็นอย่างไรให้ว่ามา | ||
. | |||
. | |||
. | |||
เบิกธนูโล่ห์เขนง้าวทวน | ตามกระบวนกลาบาตซ้ายขวา | ||
. | |||
. | |||
. | |||
เหล่าทหารถ้วนมือถืออาวุธ | ครบสิ่งสรรพยุทธหลายหลั่น | ||
. | |||
. | |||
. | |||
แน่นเนืองเป็นขนัดถัดกัน | จัดสรรตามขนบธรรมเนียมมา | ||
เหล่าหนึ่งถือธนูอยู่เป็นพวก | นุ่งกางเกงใส่หมวกเกี้ยวผ้า | ||
ล้อมวังถือดั้งนั่งเนื่องมา | บ้างถือดาบพาดบ่าเกี้ยวผ้าลาย | ||
เหล่าทวนถือทวนดูสันทัด | เกณฑ์หัดถือปืนก็มากหลาย | ||
เสื้อแดงหมวกแดงแต่งกาย | บ้างถือเขนนั่งรายล้วนตัวดี | ||
เกณฑ์หัดอย่างฝรั่งนั่งเป็นพวก | ใส่เสื้อใส่หมวกอยู่ตามที่ | ||
ถือปืนปลายหอกทุกบอกมี | ตัวดีแม่นยำทำท่าทาง | ||
. | |||
. | |||
. | |||
กี่วันจึงถึงพระพารา | มรรคายากง่ายประการใด | ||
อนึ่งกรุงนาคบุรี | ข้าวกล้านาดีฤาไฉน | ||
ฤาฝนแล้งข้าวแพงมีไภย | ศึกเสือเหนือใต้สงบดี | ||
ทั้งองค์พระเจ้าเวียงจันท์ | ทรงธรรม์เป็นสุขเกษมศรี | ||
ไม่มีโรคายายี | อยู่ดีฤาอย่างไรในเวียงจันท์ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ตอนที่ ๒๖ พระเจ้าเชียงใหม่ชิงนางสร้อยทอง (ยังไม่สมบูรณ์)
. | |||
. | |||
. | |||
กระหมวดมุ่นมวยอย่างนางกษัตริย์ | ปักปิ่นเพชรรัตน์จำรัสศรี | ||
แล้วแซมช่อบุปผามาลี | ทรงกุณฑลมณีมีราคา | ||
ภูษาซิ่นยกกนกทอง | สะไบกรองเนื้อนุ่มคลุมอังสา | ||
สร้อยสอิ้งสังวาลตระการตา | ทองกรซ้ายขวาหาพุรัด | ||
คาดสายเข็มขัดรัดพระองค์ | ธำมรงค์ทรงทั้งสองพระหัตถ์ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ตอนที่ ๒๗ พลายงามอาสา
๏ จะกล่าวถึงพระเจ้าเชียงใหม่ | แต่ได้นางมาไว้ในกรุงศรี | ||
ไม่วายเว้นนึกคะนึงถึงไพรี | เห็นจะมีศึกมาไม่ช้านัก | ||
ด้วยล้านช้างข้างหนึ่งก็โกรธา | ฝ่ายข้างอยุธยาก็โกรธหนัก | ||
ถ้าสองข้างต่างยกมาพร้อมพรัก | จะหาญหักต่อสู้ดูยากครัน | ||
จำจะคิดชิงชัยข้างไทยก่อน | ต้องรีบรัดตัดรอนผ่อนผัน | ||
ถ้าเสร็จสิ้นศึกไทยข้างใต้นั้น | ล้านช้างก็คงพรั่นไม่อาจมา | ||
แต่นิ่งนึกตรึกไตรอยู่ในที่ | จนสุริย์ศรีเรืองแรงแสงกล้า | ||
เสด็จออกท้องพระโรงรจนา | ท้าวพระยานอบน้อมอยู่พร้อมกัน | ||
จึงปรึกษาเสนาข้าเฝ้า | ชาวเราจะเห็นเป็นไฉนนั่น | ||
เดิมเจ้าอยุธยาทำอาธรรม์ | มาชิงเมียมิ่งขวัญของกูไป | ||
ฝ่ายเราไปสั่งดักกักทาง | รับนางจับพวกมันมาได้ | ||
ถ้ารู้ข่าวราวเรื่องถึงเมืองไทย | เห็นจะยกทัพใหญ่มาราญรอน | ||
เราจะเตรียมกำลังตั้งต่อสู้ | หรือจะจู่ลงไปทำไทยก่อน | ||
จงปรึกษาว่ากันให้แน่นอน | จะตัดรอนคิดอ่านประการใด ฯ | ||
๏ ครานั้นเสนาพระยาลาว | พระยาท้าวแสนหลวงผู้เป็นใหญ่ | ||
ปรึกษากันพร้อมมูลแล้วทูลไป | อันศึกไทยไพรีมีกำลัง | ||
เห็นจะจู่ลงไปไม่ชนะ | แต่ถ้าละช้าไว้ให้พร้อมพรั่ง | ||
จะเป็นศึกใหญ่มาดาประดัง | ที่จะหวังต่อสู้ดูยากนัก | ||
ขอให้คิดอ่านการอุบาย | ท้าทายยั่วไทยให้โกรธหนัก | ||
ให้รีบมาอย่าทันจะพร้อมพรัก | จึงจะหักศึกไทยได้ง่ายดาย ฯ | ||
๏ พระเจ้าเชียงใหม่ได้ฟังทูล | เค้ามูลเห็นสมอารมณ์หมาย | ||
จึงได้แต่งสาราว่าท้าทาย | ให้หยาบคายหมายยั่วให้โกรธา | ||
เสร็จสรรพพับใส่ลงในกล่อง | มอบให้แสนกำกองตรีเพชรกล้า | ||
คุมไพร่ร้อยถ้วนล้วนขี่ม้า | ไปส่งด่านอยุธยาธานี ฯ | ||
๏ ครานั้นตรีเพชรแสนกำกอง | ทั้งสองรับราชสารศรี | ||
เรียกไพรได้ครบตามบาญชี | แล้วขึ้นขี่ม้าตามกันหลามมา | ||
ได้ข้าวตากใส่ไถ้ตะพายแล่ง | เครื่องม้าเครื่องแสงแดงดาดป่า | ||
ทวนดูพู่ระยับจับนัยน์ตา | ข้ามท่าน้ำได้ไปลำพูน | ||
ข้ามห้วยแม่ทามาเมืองนคร | ไม่หยุดหย่อนขับควบเข้าไพรสูญ | ||
ค่ำเข้าเขตเถินเดินพร้อมมูล | แสงจันทร์จำรูญจำรัสฟ้า | ||
ม้าคนหิวหอบอยู่บอบแบบ | ขึ้นเขาช่องแคบแล้วลงป่า | ||
แดดร้อนผ่อนพักเป็นเพลา | หยุดให้ม้ากินหญ้าหากำลัง | ||
พอหายเหนื่อยขึ้นมาพากันไป | สะบัดย่างวางใหญ่ไม่เหลียวหลัง | ||
สามวันดั้นมาไม่รอรั้ง | จนกระทั่งถึงด่านบ้านท่าเกวียน ฯ | ||
๏ ครานั้นนายบุญเป็นขุนไกร | เห็นลาวสงสัยว่าศึกเสี้ยน | ||
จึงเรียกพวกไพร่เวรเกณฑ์จำเนียร | ออกยืนขวางทางเตียนตรงประตู | ||
ถือสาตราอาวุธอยู่พร้อมหน้า | โน่นแน่ลาวขี่ม้ามาเป็นหมู่ | ||
แต่งตัวโพกหัวพันชมพู | แลดูแดงเถือกมะเหลือกมา | ||
บ้างปิดประตูด่านงุ่นง่านไป | ยัดปืนใหญ่หับชุดจุดไว้ท่า | ||
ไปไหนเหวยเฮ้ยสูอย่าได้ช้า | ดีร้ายเร่งว่าให้รู้พลัน | ||
ถ้าดีมานี่แต่สองม้า | ร้ายแล้วยกมากูไม่พรั่น | ||
บ้างแกว่งดาบถือปืนออกยืนยัน | ต่างพากันเตรียมตัวออกทั่วไป ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าพวกลาวเห็นชาวด่าน | อาจหาญยืนขวางหนทางใหญ่ | ||
จึงพากันหยุดยั้งรั้งม้าไว้ | บอกให้แจ้งใจมิได้ช้า | ||
เราเป็นแต่ผู้น้อยที่นำสาร | จะมาเว้าชาวด่านแจ้งการหวา | ||
เพชรกล้ากำกองแต่สองม้า | เข้าไปส่งสาราแล้วว่าไป | ||
เรื่องราวกล่าวด้วยพระท้ายน้ำ | กับไพร่ต้องจองจำอยู่เชียงใหม่ | ||
เจ้าเราให้สารมากรุงไทย | สูจงรีบส่งไปให้กราบทูล ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าขุนด่านรับสารมา | ไปตามดูหมู่ม้าเข้าป่าสูญ | ||
เห็นมิใช่กองทัพกลับพร้อมมูล | ให้นายมูลนายหมวดอยู่ตรวจตรา | ||
ขุนไกรได้สารขึ้นมาใช้ | สะบัดย่างวางใหญ่เข้าในป่า | ||
ข้ามทุ่งชะเรียงเร่งตะเบ็งมา | บ่ายหน้ามาตรงลงธานี | ||
ถึงสังคโลกพลันทันใด | ลงม้าจูงคลาไคลไปเร็วรี่ | ||
ขุนนางกรมการนั่งศาลมี | ปรึกษาคดีอีเม้ยทอง | ||
จีนแสไม่แก้ยอมให้ปรับ | ว่าไสบวยพวยรับแต่คล่องคล่อง | ||
พอเห็นขุนด่านกรมการร้อง | เยี่ยมมองอยู่ไยไม่เข้ามา | ||
ขุนไกรตรงมาศาลากลาง | แหวกทางหมอบคลานเข้าไปหา | ||
ส่งกล่องใส่ลานสารตรา | แล้วเล่าแจ้งกิจจาทุกสิ่งอัน ฯ | ||
๏ ครานั้นจึงท่านเจ้าพระยา | ทั้งเวียงวังคลังนาอยู่ที่นั่น | ||
กรมการถ้วนหน้าปรึกษากัน | เกิดเหตุสำคัญหนักหนานัก | ||
ชิงนางมิหนำซ้ำจับทหาร | ทำการอาจองทะนงศักดิ์ | ||
แล้วยังมีสารามาอึกฮัก | ไม่รู้จักเหมือนริ้นบินเข้าไฟ | ||
แต่ทว่าหญ้าแพรกจะแหลกก่อน | ต้องยกทัพขับต้อนจะร้อนไพร่ | ||
อย่าดูเบาเราต้องรีบส่งไป | ถ้านิ่งไว้เข้าร้ายตายทีเดียว | ||
อ้ายลาวเจ้ากรรมทำแล้วหวา | เขียนบอกปิดตราสักประเดี๋ยว | ||
เสร็จสรรพใส่กลักถักเป็นเกลียว | เคี่ยวคั่งติดประจำซ้ำตีตรา | ||
แต่งให้พันมโนเป็นนายใหญ่ | ถือไปบอกกับไพร่ยี่สิบห้า | ||
หาบโพล่แฟ้มยุ่งกรุ่งกริ่งมา | ลงเรือเก้าวากัญญายาว | ||
ให้แก้หน้าจากท่าตะเบ็งพาย | เดือนหงายน้ำฟุ้งเป็นฟองขาว | ||
ตะละเล่มเต็มเหนี่ยวเสียงเกรียวกราว | โห่ฉ่าวฉ่าลั่นสนั่นไป | ||
พอเช้าตรู่ลงมาถึงท่าเกษม | หุงต้มกินเปรมทั้งนายไพร่ | ||
อิ่มแล้วรีบร้อนไม่นอนใจ | พันมโนนายใหญ่นั่งโยกมา | ||
ครั้นพ้นวัดใหม่ไปบ้านตรุ | ลุถึงท่ากงลงพิงหวา | ||
เเข้าพิจิตรวังวังจันทร์นน้ำดันซ่า | รับวาเฮ้ยโขนโดนเรือเจ๊ก | ||
เออเรือขายเหล้าชาวเราหวย | พะซี้ไบใส่บวยฉวยเหวยเด็ก | ||
ยกขึ้นเรือได้ไหไม่เล็ก | ถีบเรือเจ๊กเจ้าของร้องโล่ไป | ||
มึงบึกกูบึกสะอึกคว้า | เรือกัญญษหน้าโขนเข้าโนไผ่ | ||
จะร่ำพรรณนาให้ช้าไย | เจ็ดวันมาได้ถึงท่าคัน ฯ | ||
๏ พอเรือจอดทอดถึงที่หน้าท่า | พันมโนรีบมาขมีขมัน | ||
ทั้งบ่าวไพร่ตามไปอยู่พร้อมกัน | เห็นสาวชาววังนั้นก็ชอบเชิง | ||
จุปากเจาะเจาะกระเดาะลิ้น | หอมกลิ่นแหงนหงายเหมือนควายเบิ่ง | ||
ทำกรีดกรายชายตาร่าเริง | หลงละเลิงลดเลี้ยวเกี้ยวพานมา | ||
งุ่มง่ามข้ามฉนวนประตูดิน | ตาถินนายประตูครู่เอาผ้า | ||
ชายพกหลุดลุ่ยหุยหม่อมตา | ยั่นอ้ายบ้าลอยชายคาดใต้พก | ||
พ่อเอ๋ยชาวบ้านนอกถือบอกมา | มึงซ่อนอะไรหวาเอาผ้าปก | ||
ดูเป็นตะะกร้าใส่ไข่นก | สกปรกชาวเหนือมันเหลือใจ | ||
เสียเงินให้สลึงเขาจึงปล่อย | หน้าจ๋อยกลับมาทั้งนายไพร่ | ||
เที่ยวถามหาศาลาลูกขุนใน | เขาชี้บอกให้ก็ตรงมา | ||
เห็นหัวพันนายเวรเกณฑ์เมืองรั้ง | พันมโนก็นั่งลงตรงหน้า | ||
พอนายควรสวนออกนอกศาลา | กราบไหว้วางตราอยู่ลนลาน | ||
นายเวรต่อยกลักกับพนักผาง | ชักบอกออกวางกับราชการ | ||
อ่านดูรู้ข้อราชการ | ก็รีบมาเรียนท่านลูกขุนใน | ||
ฝ่ายท่านเจ้าพระยาจักรี | เอกอัครอธิบดีเป็นใหญ่ | ||
ทราบเรื่องราชสารรำคาญใจ | สั่งให้รีบคัดจะกราบทูล ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงภพ | เลิศลบโภไคยมไหศูรย์ | ||
สถิตในห้องแก้วแพรวไพฑูรย์ | ไพบูลย์พูนสุขทุกเวลา | ||
แต่เหตุการณ์ราชการหาทราบไม่ | ให้รุ่มร้อนฤทัยเป็นหนักหนา | ||
ด้วยเทพเจ้าสิงสู่อยู่อัตรา | รักษาพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ||
ประทับอยู่ข้างในได้เวลา | สามโมงนาฬิกาตีฆ้องลั่น | ||
จะเสด็จออกท้องพระโรงคัล | จรจรัลไปสรงพระคงคา | ||
น้ำกุหลาบอาบอบตลบกลิ่น | หอมประทิ่นพระสุคนธ์ปนบุปผา | ||
ฝ่ายนางพนักงานก็คลานมา | ถวายภูษาทรงอลงการ | ||
ทรงเครื่องเสร็จสรรพจับพระขรรค์ | เพชรกุดั่นพรรณรายฉายฉาน | ||
นางในใจภักดิ์พนักงาน | ถวายพานพระศรีแล้วกราบลง | ||
เสวยเสร็จพระเสด็จลีลาศ | ผุดผาดดั่งพระยาราชหงศ์ | ||
นางในตามชิดติดพระองค์ | ตรงขึ้นบรรยงค์รัตนาศน์ | ||
พระสูตรรูดกร่างขุนนางเฝ้า | คู้เข่าคึกคักแทบถมปักขาด | ||
กราบถวายบังคมบรมราช | ทั้งอำมาตย์เสนาพระยาครู | ||
แตรสังข์กระทั่งถวายเสียง | ขุนนางหมอบเรียงเคียงเป็นหมู่ | ||
ตำรวจในไล่คนพ้นประตู | คอยดูเข้าออกบอกไปมา ฯ | ||
๏ ครานั้นเจ้าพระยาจักรี | ได้ทีก็ประนมก้มเกศา | ||
กราบทูลขึ้นพลันมิทันช้า | อันชีวาอยู่ใต้บาทบงสุ์ | ||
บัดนี้เชียงใหม่มีราชสาร | มอบให้นายด่านท่าเกวียนส่ง | ||
พระยาเกษตรสงครามรามณรงค์ | ให้พันมโนจำนงนั้นถือมา | ||
เรื่องราวกล่าวด้วยพระท้ายน้ำ | เชียงใหม่จับจำยังไม่ฆ่า | ||
ให้ทรงฟังยังมิทันอ่านสารา | ก็โกรธากลุ้มกลัดขัดพระทัย | ||
กระทืบบาทผาดพระสุรเสียงก้อง | พระแท่านทองสนั่นหวั่นไหว | ||
เหม่อ้ายลาวจองหองคะนองใจ | มันพูดจาว่ากระไรให้บอกพลัน ฯ | ||
๏ ขอเดชะในสารว่าทรงเดช | ครองนิเวศสน์เชียงใหม่มไหสวรรย์ | ||
ตั้งอยู่ในสัตย์สุตจริตธรรม์ | เป็นมหันต์อิศโรอันโอฬาร | ||
ลือเดชทุกเขตอาณาจักร | ปรปักษ์ย่อท้อไม่ต่อต้าน | ||
ในตำรับข้างที่มีมานาน | จารจารึกกไว้ในแผ่นทอง | ||
ว่าพระเจ้ากษัตริย์ศึกองค์นี้ | เป็นมโหฬีเลื่องโลกไม่มีสอง | ||
ดังอวตารมาผลาญศึกคะนอง | มิให้ข้องเคืองขุ่นราะคายมี | ||
เดิมให้ราชทูตจำทูลสาร | ไปขอองค์เยาวมาลย์โฉมศรี | ||
ตามโบราณราชประเพณี | บุตรีล้านช้างนางสร้อยทอง | ||
หวังพระทัยจะได้ซึ่งองค์เอก | มาอภิเษกสู่สมภิรมย์สอง | ||
ยังเยาว์อยู่มิควรภิรมย์ครอง | จึงยังไม่รับรองมาแนบองค์ | ||
แต่เดิมมากรุงไทยอยู่ในสัตย์ | มาวิบัติถือจริตด้วยฤทธิ์หลง | ||
ให้พระท้ายน้ำนำจตุรงค์ | ดั้นดงล่วงแดนของเรามา | ||
ไม่เกรงเราผู้เป็นเจ้านคเรศ | โอหังบังเหตุแล้วมิสา | ||
ยังซ้ำกลับรับองค์พระธิดา | สร้อยทองเสนหาของเราไป | ||
จึงได้เกณฑ์กองทัพออกรับรบ | ตีตลบชิงนางนั้นไว้ได้ | ||
พระท้ายน้ำนายทัพกับพวกไทย | เราจับจำคุกไว้ไม่ฆ่าตี | ||
ครั้นจะไม่บอกมาว่าให้แจ้ง | จะเคลือบแคลงเราว่าพานางหนี | ||
อันโฉมยงค์องค์ราชบุตรี | รับมาไว้ในที่ตำหนักจันทน์ | ||
ถ้าประสงค์ซึ่งองค์อัคเรศ | ละนิเวศน์ยกมาอย่าได้พรั่น | ||
ขอเชิญเจ้าอยุธยามาประจัญ | ตัวต่อตัวสู้กันบนหลังช้าง | ||
มีชัยก็จะได้นางสร้อยทอง | ไปสมสองสัมผัสไม่ขัดขวาง | ||
พระท้ายน้ำเราจำเอาไว้พลาง | เป็นจำนำฝ่ายข้างอยุธยา | ||
ครบสามเดือนจะฆ่าทั้งห้าร้อย | เราคอยฟังอย่างไรให้เร่งว่า | ||
จะไว้ยศให้ปรากฏกัลป์ปา | หรือเกรงภัยไม่มาก็ว่าไป | ||
จะกำหนดสงครามตามแบบอย่าง | อันองค์นางยังหาร่วมภิรมย์ไม่ | ||
กว่าจะได้รบพุ่งเจ้ากรุงไทย | ให้ประจักษ์ฤทธิไกรใครรุ่งเรือง | ||
แล้วจึงจะอภิเษกให้ปรากฏ | เกียรติยศระบือลือเลื่อง | ||
ว่าชนช้างได้นางเป็นศรีเมือง | อ่านสารสิ้นเรื่องบังคมคัล ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ได้ทรงฟัง | แค้นคั่งเคืองขัดจนอัดอั้น | ||
ให้ร้อนรุ่มกลุ้มพระทัยดังไฟกัลป์ | จะเผาผลาญชีวันให้บรรลัย | ||
เป็นครู่หนึ่งจึงเปล่งสิงหนาท | กระทืบบาทสนั่นหวั่นไหว | ||
ฉวยชักพระแสงออกแกว่งไกว | ข้าเฝ้าน้อยใหญ่ก็ถอยทรุด | ||
หน้าซีดตัวสั่นอยู่งันงก | บ้างล่วมหมากพลัดตกพกไม่หยุด | ||
บ้างแอบเสาท้องพระดรงหมอบโค้งคุด | อุตลุดหวั่นไหวไปทั้งวัง | ||
ความกลัวดังจะแทรกแผ่นดินด้น | บางคนลนลานคลานถอยหลัง | ||
เปล่งพระสุรเสียงประเปรี้ยงดัง | นักสนมแน่นนั่งก็ตกใจ | ||
เหม่เหม่อ้ายเชียงใหม่ใจพาล | จับพวกพลทหารของกูได้ | ||
หยาบช้าท้าให้ไปชิงชัย | กำเริบนี่กระไรใช่พอดี | ||
อ้ายบ้านเล็กเมืองน้อยร้อยประเทศ | บังเหตุจะสู้กับกูนี่ | ||
มันเหมือนหนึ่งลูกมฤคี | จะมาสู้ราชสีห์ให้วายปราณ | ||
ตัวกูผู้เป็นหลักนัคเรศ | ทุกประเทศมิได้รอต่อต้าน | ||
อ้ายนี่โมหันธ์อันธการ | กรรมของมันบันดาลให้หลงคิด | ||
เชียงใหม่ใหญ่เท่าสักหยิบมือ | ไม่พอครือทัพไทยจะไปติด | ||
จะพลอยพาโตตรวงศ์ปลงชีวิต | อวดฤทธิ์ประจญชนช้างกู | ||
เคลือบแฝงแกล้งว่าขอนางไว้ | ดังว่าเขายกให้ไม่อดสู | ||
เมื่อตัวนางล้านช้างเขาให้กู | ทูตมาก็รู้อยู่ทั่วไป | ||
ถ้ามันมีอำนาจดังราชสาร | เขากลัวโพธิสมภารไม่ขัดได้ | ||
นี่เพราะรู้เช่นเห็นจัญไร | เขาจึงยกลูกให้เสียเมืองนี้ | ||
ชิงนางกลางคันแล้วมิหนำ | จับพระท้ายน้ำทำป่นปี้ | ||
เอาไว้ไยให้หนักพระธรณี | เหวยพระยาจักรีเร่งเตรียมทัพ | ||
อีกสามวันกูจะยกไปเชียงใหม่ | ถ้าตีเมืองไม่ได้กูไม่กลับ | ||
เกณฑ์เมืองขึ้นน้อยใหญ่อย่าได้นับ | เร่งขับตามไปให้สิ้นพล | ||
อ้ายพวกเชียงใหม่อย่าไว้มัน | พบที่ไหนไล่ฟันเสียให้ป่น | ||
จนให้เมืองมันร้างว่างผู้คน | รื้อจนกำแพงล้อมป้อมปราการ ฯ | ||
๏ ครานั้นจตุสดมภ์กรมทั้งสี่ | ฟังคดีรับสั่งดั่งศรผลาญ | ||
สะกิดกันตัวสั่นหวั่นสะท้าน | ให้ท่านอธิบดีจักรีทูล | ||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงเดช | ปิ่นปักนัคเรศมไหศูรย์ | ||
บารมีทรงบำเพ็ญเห็นไพบูลย์ | จะเพิ่มพูนปรโยชน์โพธิสมภาร | ||
ซึ่งพระองค์จะทรงกิจสงคราม | ก็เห็นว่าเสี้ยนหนามไม่ต่อต้าน | ||
ขอพระราชทานโทษจงโปรดปราน | จะหนักหน่วงโพธิญาณให้นานไป | ||
กับข้อราชการแต่เพียงนี้ | หาควรที่จะถึงเสด็จไม่ | ||
กับรบพุ่งพวกลาวชาวพงไพร | ใช่เสนาข้าใช้จะไม่มี | ||
เห็นพระเกียรติยศจะถดถอย | เชียงใหม่กลับจะพลอยได้ราศี | ||
ว่าเป็นคู่สู้พระองค์ทรงธรณี | ไม่ควรที่แผ่นฟ้าลงมาดิน | ||
ครั้นเมื่อสมเด็จพระรามา | หนุมานอาสาก็เสร็จสิ้น | ||
จนได้นางสีดาคืนธานินทร์ | อสุรินทร์ย่นย่อท้อทด | ||
ครั้งนี้ถ้าเสด็จไปเชียงใหม่ | ตกทหารกรุงไกรนี้สิ้นหมด | ||
ขอพระองค์ทรงชัยจงไว้ยศ | ให้ปรากฏเหมือนครั้งพระรามา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | ปิ่นปักหลักโลกนาถา | ||
ได้ฟังคำทูลเป็นมูลมา | พระตรึกตรานิ่งนึกในพระทัย | ||
จึงตรัสถามเสนาข้าเฝ้า | นี่ออเจ้าคิดเห็นเป็นไฉน | ||
เมื่อมาทานทัดขัดกูไว้ | ใครจะอาสาไปก็ว่ามา ฯ | ||
๏ ครานั้นบรรดาท่านผู้ใหญ่ | จนใจด้วยไม่มีผู้อาสา | ||
มิรู้ที่จะสนองพระบัญชา | ก็หมอบนิ่งก้มหน้าไปตามกัน | ||
พระองค์ทรงพิโรธกระทืบบาท | สุรเสียงสิงหนาทดังฟ้าลั่น | ||
อย่างไรเล่าเอาจริงก็นิ่งงัน | เปล่าทั้งนั้นพูดเล่นไม่เป็นงาน | ||
ดีแต่ฉ้อไพร่ไพล่เงินกิน | ปลอบปลิ้นสิ้นลมประสมประสาน | ||
เลี้ยงเสียเบี้ยหวัดไม่ต้องการ | มีศฤงคารยศศักดิ์หนักแผ่นดิน | ||
กริ้วพลางทางเสด็จเข้าวังใน | ขุนนางน้อยใหญ่กลับไปสิ้น | ||
พรั่นตัวทุกคนเป็นมลทิน | ด้วยได้ยินประภาษคาดโทษทัณฑ์ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพลายงามทรามสวาท | เฉลียวฉลาดแกล้วกล้าวิชาขยัน | ||
เรืองฤทธิ์ประสิทธิ์ทุกสิ่งอัน | หมายประจัญสงครามไม่ขามใคร | ||
อยู่กับพระหมื่นศรีมาปีกว่า | เจ้าอุตส่าห์ฝากตัวให้รักใคร่ | ||
จนเธอเลี้ยงเป็นลูกด้วยถูกใจ | สารพัดจัดให้ได้สุขสบาย | ||
วันนั้นรู้คดีว่ามีศึก | คะเนนึกเห็นจะสมอารมณ์หมาย | ||
จะอ้อนวอนพึ่งบุญคุณพระนาย | เบี่ยงบ่ายให้ได้รับอาสาไป | ||
ถ้ากระไรจะได้ทูลขอพ่อ | คิดมาน้ำตาคลอสะอื้นไห้ | ||
โอ้กรรมพ่อทำมาอย่างไร | จึงต้องไปทนทุกข์ทรมาน | ||
ติดคุกมาแต่ลูกอยู่ในท้อง | แม่วันทองช่างกระไรไม่สงสาร | ||
เสียแรงร่วมยากมาเป็นช้านาน | ครั้นถึงบ้านแล้วแม่ก็แชไป | ||
เป็นหลายปีดีดักไม่อินัง | หาคิดถึงความหลังของพ่อไม่ | ||
แต่ตัวลูกจักแหล่นจะบรรลัย | เพราะเหตุอ้ายขุนช้างเป็นตัวมาร | ||
สะอื้นพลางทางคิดถึงคุณพพระ | เดชะความสัตย์อธิษฐาน | ||
ข้าพเจ้าจะดำริตริการ | คิดอ่านขอโทษให้บิดา | ||
ขอให้ได้สมอารมณ์คิด | อย่าให้ผิดมุ่งมาดปรารถนา | ||
อธิษฐานเสร็จพลันแล้ววันทา | พอเพลาพลบค่ำเข้าไต้ไฟ | ||
เห็นพระหมื่อนศรีอยู่หอกลาง | แสงเทียนสว่างกระจ่างไข | ||
ลูกเมียหมอบนั่งสะพรั่งไป | พระหมื่นศรีทีใจไม่สบาย | ||
เล่าความถึงเรื่องกริ้วด้วยเรื่องทัพ | รับสั่งเสร็จสรรพให้บัตรหมาย | ||
เตรียมทัพหลวงไว้ทั้งไพร่นาย | วุ่นวายอึกทึกทั้งพารา | ||
พลายงามแอบฟังพระหมื่นศรี | พอได้ทีก็คลานเข้าไปหา | ||
พลางร่ายพระเวทให้เมตตา | วันทาแล้วถามไปทันที | ||
ดูคุณพ่อเป็นไรไม่สบาย | ได้ยินว่าวุ่นวายทั้งกรุงศรี | ||
เกณฑ์ทัพจับกันเป็นโกลี | ลูกนี้อยากรู้เป็นอย่างไร ฯ | ||
๏ พระหมื่นศรีว่าเออพลายงามเอ๋ย | รบพุ่งเราจะเคยก็หาไม่ | |||
วันนี้พระองค์ผู้ทรงชัย | ตรัสไถ่ถามทั่วทุกตัวคน | |||
นิ่งหมดไม่มีใครอาสา | กริ้วดังฟ้าผ่าโกลาหล | |||
เสด็จออกพรุ่งนี้เข้าที่จน | เอากุศลเสี่ยงสุดแต่บุญกรรม | |||
ถ้าไม่มีผู้ใดใครอาสา | พ่อนี้เห็นว่าไม่เป็นส่ำ | |||
จะพากันวุ่นวายตายระยำ | หน้าดำอยู่ทั่วทุกตัวคน ฯ | |||
๏ พลายงามฟังความก็สมคิด | หมอบชิดแล้วตอบอนุสนธิ์ | |||
คุณพ่ออย่าได้เป็นทำวล | จงผ่อนปรนเพ็ดทูลให้ชอบที | |||
ลูกนี้จะรับอาสาไป | ทำเมืองเชียงใหม่ให้ป่นปี้ | |||
จะจับเจ้าเชียงใหม่ไอ้ตัวดี | มิให้มีลำบากแก่ไพร่พล | |||
เสียแรงลูกเรียนรู้แต่ครูมา | จะอาสาทำศึกเสียสักหน | |||
ให้มีชื่อลือทั่วทั้งสากล | ว่าเป็นคนชาติทหารอันชาญชัย ฯ | |||
๏ ครานั้นพระหมื่นศรีผู้ปรีชา | ฟังพลายงามว่ายังสงสัย | |||
ซึ่งเจ้าจะกล้าอาสาไป | พ่อนี้ยังไม่ไว้อารมณ์ | |||
ด้วยตัวเจ้ายังเล็กเด็กหนักหนา | จะทูลความอาสาเห็นไม่สม | |||
ไม่เคยเห็นวิชาอาคม | เจ้าสะสมร่ำเรียนไว้อย่างไร | |||
ลูกเอ๋ยการศึกนี้ลึกนัก | เอาแต่หาญหักนั้นไม่ได้ | |||
ถ้าเหมือนพ่อก็พอจะไว้ใจ | หรือพ่อเจ้าเขาให้ตำรับเรียน | |||
ไปเพ็ดทูลถ้าดีก็มีหน้า | เคลื่อนคลาดก็จะพากันถูกเฆี่ยน | |||
จะเสียทีที่ลำบากพากเพียร | ไปพลั้งพลาดแล้วเจียนพากันตาย | |||
ตรองดูให้ดีนะลูกรัก | จะหาญหักเพ็ดทูลมิใช่ง่าย | |||
เอ็นดูอยู่ว่าเจ้าเป็นลูกชาย | พ่อหมายจะปลูกฝังให้เป็นตัว | |||
มิใช่แกล้งเกียดกันฉันทา | เกรงแต่ว่าจะไปไม่รอดชั่ว | |||
อย่าประมาทคาดได้ด้วยไม่กลัว | จงถ่ายเทดูให้ทั่วถึงทางความ ฯ | |||
๏ เจ้าพลายนบนอบตอบวาจา | คุณพ่อว่าเพราะรักจึงหักห้าม | |||
ด้วยยังไม่เห็นดีของพลายงาม | มิใช่ลูกว่าตามใจคะนอง | |||
เป็นลูกศิษย์มีครูรู้เที่ยงแท้ | ท่านทำนายไว้แน่ไม่เป็นสอง | |||
ถ้าจะให้ปรากฎจะทดลอง | ให้ถ่องแท้ได้เห็นเป็นแก่ตา | |||
ว่าแล้วยกมือขึ้นไหว้ครู | ให้สิงสู่แล้วอ่านพระคาถา | |||
หายตัวไปพลันมิทันช้า | ต่อหน้าคนผู้อยู่ทั้งนั้น | |||
พระหมื่นศรีค่อยมีน้ำใจมา | หัวเราะร่าเออเช่นนี้ดีขยัน | |||
พอจะเอาการได้ไม่เสียพันธุ์ | คลายเวทย์พูดกันเถิดลูกยา | |||
เจ้าพลายก็คลายให้คนเห็น | กลับเป็นเสือโคร่งตัวคร่ำคร่า | |||
โตทะมื่นยืนหยัดดัดกายา | ทำท่าเหมือนโดดโลดไล่คน | |||
แต่บรรดาลูกเมียพระหมื่นศรี | ตกใจวิ่งหนีอยู่สับสน | |||
แต่พระหมื่นศรีรู้ทีกล | ไม่ร้อนรนหัวร่ององันไป | |||
พลายงามก็คลายฤทธิมนตร์ | กลับกลายเป็นคนลงนั่งไหว้ | |||
พระหมื่นศรีเปรมปริ่มยิ้มละไม | ลูบหลังลูบไหล่เจ้าพลายงาม | |||
เอาการแน่แล้วลูกแก้วพ่อ | เจ้าเป็นต่อนักเลงอย่าเกรงขาม | |||
เมื่อแรกพ่อแคลงใจจึงไม่ตาม | พึ่งเห็นความรู้ดีฉะนี้เจียว | |||
อย่างนี้พระองค์ก็คงโปรด | ไม่พักทรงพิโรธเป็นสองเที่ยว | |||
ทั้งพระหลวงเจ้าพระยาได้หน้ากรียว | เพราะเจ้าคนเดียวได้รอดดอน | |||
พูดกันสองคนจนสว่าง | สุริยาเยื้องย่างเยี่ยมสิงขร | |||
ก็เลยเตรียมไปเฝ้าไม่เข้านอน | ได้เวลาพาจรจากบ้านพลัน ฯ | |||
๏ พระหมื่นศรีขึ้นขี่คลานหาม | เจ้าพลายเดินตามขมีขมัน | |||
เข้าไปในศาลาลูกขุนนั้น | ท่านผู้ใหญ่พร้อมกันอยู่ศาลา | |||
กำลังท่านกลาโหมจักรี | จตุสดมภ์ทั้งสี่นั่งปรึกษา | |||
จึงพระหมื่นศรีผู้ปรีชา | ก็พาตัวพลายงามตามเข้าไป | |||
กราบเรียนความพลันในทันที | ว่าคนดีจะเข้ามาอาสาได้ | |||
ลูกขุนแผนแสนสะท้านหลานขุนไกร | ชื่อพลายงามว่องไวใจคอดี | |||
วิชากล้าแกล้วแคล่วคล่อง | ล่องหนหายตัวได้ถ้วนถี่ | |||
ท่านผู้ใหญ่ได้ฟังก็เปรมปรีดิ์ | เจ้าพระยาจักรีว่าชอบกล | |||
หน่วยก้านหาญเหี้ยมดูเจียวเจ้า | ลาดเลาก็เห็นจะเป็นผล | |||
เป็นลูกหลานทหารถึงสองคน | ฤทธิ์เดชเวทมนตร์คงได้การ | |||
ดูคมคายคล้ายกับขุนแผนพ่อ | ทั้งน้ำใจในคอก็อาจหาญ | |||
นี่แน่เจ้าจะเข้ารับราชการ | ถ้าเชี่ยวชาญเหมือนว่าแล้วอย่ากลัว | |||
เราจะช่วยยกย่องให้มียศ | ปรากฏเลื่องลือระบือทั่ว | |||
ถ้าตีได้เชียงใหม่ไหนครอบครัว | ทั้งควายวัวเหลือหลายสบายใจ | |||
พูดจาหารือกันเสร็จสรรพ | เป็นลำดับแต่ล้วนท่านผู้ใหญ่ | |||
จวนเสด็จออกท้องพระโรงชัย | ก็เตรียมเฝ้าเข้าไปได้เวลา ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ทรงสวัสดิ์ | เนาในปรางค์รัตน์จำรัสหล้า | |||
ครั้นรุ่งแจ้งแสงสีสุริยา | พระผ่านฟ้าสระสรงทรงเครื่องครัน | |||
ให้เร่าร้อนพระทัยด้วยไพรี | พระเสด็จออกที่สุทธาสวรรย์ | |||
ขุนนางหมอบราบกราบพร้อมกัน | เสียงแตรแซ่สั่นเสนาะวัง | |||
ทอดพระเนตรเห็นข้าราชการ | พระพักตร์เผือดเดือดดาลดังจะคลั่ง | |||
เป็นอย่างไรนิ่งอยู่กูรอฟัง | ใครจะอาสามั่งหรือไม่มี | |||
อ้ายเลกทาสเลกสมกรมนอกใน | มันจะอาสาได้กระมังนี่ | |||
จะได้แต่งตั้งมันให้ทันที | ถอดออเจ้าเหล่านี้ลงแทนมัน ฯ | |||
๏ ครานั้นจมื่นศรีเสาวรักษ์ | อภิวาททูลไปมิได้พรั่น | |||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | อันชีวันอยู่ใต้พระบาทา | |||
กระหม่อมฉันออกไปไต่ถาม | ได้นายพลายงามจะอาสา | |||
เป็นบุตรขุนแผนแสนศักดา | ได้ร่ำเรียนวิชามาเชี่ยวชาญ | |||
กระหม่อมฉันสงสัยได้ทดลอง | ก็แคล่วคล่องสามารถอาจหาญ | |||
เป็นคนดีมีวิชาอาการ | แล้วเหล่าปราณก็เคยสงครามมา ฯ | |||
๏ พระองค์ทรงฟังพระหมื่นศรี | เปรมปรีดิ์ดำรัสตรัสให้หา | |||
ตัวมันอยู่ไหนอย่าได้ช้า | เรียกให้กูดูหน้าให้เต็มใจ | |||
พระหมื่นศรีเหลียวหลังสั่งให้เรียก | เจ้าพลายงามสำเหนียกหาช้าไม่ | |||
ค่อยคลานผ่านหมู่หุ้มแพรไป | นายเวรแหวกช่องให้เป็นทางมา | |||
ถึงหน้าพระที่นั่งก็บังคม | ปลงอารมณ์ร่ายเวทพระคาถา | |||
ผูกพระทัยให้ทรงพระเมตตา | หมอบนิ่งภาวนาอยู่ในใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรพอเห็นให้รักใคร่ | |||
จึงมีสีหนาทประภาษไป | เฮ้ยไอ้พลายงามทรามคะนอง | |||
โคตรเหง้าเหล่ามึงเป็นทหาร | อุตส่าห์ทำราชการให้แคล่วคล่อง | |||
แม้นมึงทำลาวได้ดังใจปอง | เงินทองยศอย่างจะรางวัล | |||
จะได้หรือมิได้ให้ว่ามา | กูดูหน้าตาก็คมสัน | |||
น้ำใจในคอก็พ่อมัน | นิ่งอั้นอยู่ไยไม่ว่ามา ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม | ฟังความรับสั่งใส่เกศา | |||
ขอเดชะพระองค์ทรงศักดา | อันชีวาอยู่ใต้ฝ่าละออง | |||
กระหม่อมฉันจะขอรับอาสา | เอาพระเดชามาปกป้อง | |||
จะจับเจ้าเชียงใหม่ใจคะนอง | มิให้ต้องร้อนใจแก่ไพร่พล | |||
ขอพระราชทานโทษโปรดบิดา | ไปเป็นคู่ปรึกษากันกลางหน | |||
ทั้งจะได้ช่วยเหลือเผื่ออับจน | แก้กลศึกสู้ศัตรูนั้น | |||
แม้นว่าได้ร่วมคิดกับบิดา | จะขอรับอาสาจนอาสัญ | |||
ถ้าพ่ายแพ้แก่พวกเชียงใหม่มัน | ขอถวายชีวันทั้งโคตรปราณ ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จนเรนทร์สูร | ฟังทูลตบพระหัตถ์อยู่ฉาดฉาน | |||
ทรงพระสรวลร่วนรื่นชื่นบาน | เออเอ็งเอาการมิเสียที | |||
อนิจจาอ้ายขุนแผนแสอาภัพ | ตกอับเสียคนแทบป่นปี้ | |||
ติดคุกทุกข์ยากมาหลายปี | กูนี้ก็ชั่วมัวลืมไป | |||
ให้บังอกบังใจกระไรหนอ | อ้ายพลายงามมาขอจึงนึกได้ | |||
ครั้งขออีลาวทองกูหมองใจ | จำไว้ช้านานถึงปานนี้ | |||
ดูดู๋ขุนนางทั้งน้อยใหญ่ | พากันนิ่งเสียได้ไม่พอที่ | |||
ทาระกรรมมันมาสิบห้าปี | ช่างไม่มีผู้ใดใครชอบพอ | |||
เหตุด้วยอ้ายนี่ไม่มีทรัพย์ | เนื้อความมันจึงลับไปเจียวหนอ | |||
ถ้ามั่งมีไม่จนคนก็ปรอ | มึงขอกูขอไม่เว้นวัน | |||
นับประสาหาคนไปสู้ศึก | ก็ไม่มีใครนึกถึงมันนั่น | |||
ด้วยอิจฉาว่าวิชาไม่เท่ามัน | มันไล่ฟันเอาเมื่อตามขุนช้างไป | |||
ความกลัววิ่งหัวเป็นดอกล่อ | รู้จักฝีมือพ่อหรือหาไม่ | |||
พระยายมฟังว่าช้าอยู่ไย | จงสั่งให้ไปถอดอ้ายแผนมา ฯ | |||
๏ ท่านเจ้ากรมยมราชได้รับสั่ง | ถวายบังคมคัลด้วยหรรษา | |||
รีบออกนอกพระโรงรัตนา | ให้หานรบาลแล้วสั่งพลัน | |||
ไปถอดขุนแผนเป็นการด่วน | เวลาจวนพามาขมีขมัน | |||
ให้ทันเฝ้าองค์พระทรงธรรม์ | นรบาลงกงันรีบออกไป | |||
ถึงคุกเร่งรัดพัสดี | ถอดกันทันทีไม่ช้าได้ | |||
แล้วพาขุนแผนผู้แว่นไว | เข้าในวังนั่งไหว้ท่านเจ้าคุณ | |||
ท่านพระยายมราชก็ทักถาม | บอกความขุนแผนว่าแสนวุ่น | |||
พลายงามทูลขอพ่อเป็นบุญ | ทรงการรุญยกโทษโปรดประทาน | |||
อนิจจาผมเผ้ายาวเลื้อยดิน | ผิดหน้าตาสิ้นน่าสงสาร | |||
เข้าไปเฝ้าเถิดเจ้าจะช้าการ | ว่าแล้วก็คลานพาเข้าไป ฯ | |||
๏ พระองค์ทรงศักดิ์กวักพระหัตถ์ | ตรัสเรียกขุนแผนเข้ามาใกล้ | |||
หมอบหน้าพลายงามทรามวัย | บังคมไหว้กราบงามลงสามที | |||
พระองค์ทรงตรัสประภาษไป | เออไอ้ขุนแผนไม่พอที่ | |||
มึงจำเพาะเคราะห์ร้ายมาหลายปี | วันนี้สิ้นเคราะห์เพราะลูกชาย | |||
บัดนี้มีศึกข้างเชียงใหม่ | อ้ายลูกมันจะไปตีถวาย | |||
มันจะขอพ่อไปเป็นเพื่อนตาย | ปรึกษากับลูกชายก็เป็นไร | |||
ตัวมึงกูเคยได้เชื่อถือ | ไม้มือไม่มีใครหักได้ | |||
กูนี้ชั่วมัวเอามึงจำไว้ | ลืมไปใช่ว่าจะแค้นเคือง | |||
มึงจะเอาผู้คนสักกี่หมื่น | ให้เร่งกะวันคืนอย่าร่ำเรื่อง | |||
จะเอาไพร่ในกรุงหรือหัวเมือง | วัวต่างช้างเครื่องให้หมายไป ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสุภาพ | ก้มกราบแล้วทูลเฉลยไข | |||
มิต้องให้ไพร่ยากไปมากมาย | ครั้นกะเกณฑ์วุ่นวายจะช้าการ | |||
ขอพระราชทานแต่ไพร่ราบ | พอหามหาบหาเสบียงเลี้ยงอาหาร | |||
อันพวกพลจะประจญประจัญบาน | ขอประทานคนโทษที่ในคุก | |||
มีสามสิบห้าคนล้วนทนคง | ยืนยงสามารถอาจอุก | |||
ได้ร่ำเรียนรู้ครบเชิงรบรุก | เห็นมีทุกความรู้ครูต่างกัน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังขุนแผนพูดจบเห็นขบขัน | |||
เออเขตแขวงเชียงใหม่สิใหญ่ครัน | คนมันมากมายเป็นหลายเมือง | |||
ผู้คนเอ็งจะเอาไปเท่านี้ | ถึงว่าได้คนดีที่ปราดเปรื่อง | |||
จะรบราฆ่าฟันมันไม่เปลือง | กูเห็นเครื่องจะยับกลับลงมา | |||
มันดีดีอย่างไรว่าไวว่อง | มะรืนนี้เอามาลองกันต่อหน้า | |||
พระยายมว่าอย่างไรอย่าได้ช้า | ไปถอดทั้งสามสิบห้าให้แก่มัน | |||
สั่งเสร็จพระเสด็จเข้าในที่ | ภูมีแสนสุขเกษมสันต์ | |||
พวกขุนนางออกมาพร้อมหน้ากัน | ขุนแผนนั้นไหว้ทั่วตัวขุนนาง | |||
บ้างทักทายปราศรัยเป็นไมตรี | ล้วนยินดีเชยชมกันต่างต่าง | |||
ให้ศีลให้พรสั่งสอนพลาง | เคราะห์โศกสิ้นสร่างแล้วคราวนี้ | |||
ท่านเจ้ากรมยมราชก็เรียกหา | ทั้งพ่อลูกตามมากับจมื่นศรี | |||
ให้จดหมายรายชื่อลงบาญชี | ครบคนโทษที่พระราชทาน | |||
แล้วสั่งให้ประแดงไปถอดมา | ตรวจตัวทั่วหน้าให้นับอ่าน | |||
ต่อหน้าขุนแผนแสนสะท้าน | สอบคำให้การให้ขานมา ฯ | |||
๏ ข้าพเจ้าอ้ายพุกอยู่ลุกแก | เมียชื่ออีแตพระเจ้าข้า | |||
โทษปล้นให้รำระบำป่า | ให้อีมารำรื้อไปมือเดียว | |||
ถัดไปอ้ายมีบ้านยี่ล้น | เมียชื่ออีผลปล้นตาเขียว | |||
แทงถูกอีชังกำลังเยี่ยว | ปากเบี้ยวล้มหงายน้ำลายฟด | |||
ถัดไปอ้ายปานบ้านชีหน | เมียชื่ออีสนปล้นบางปลากด | |||
ผูกคอตาจ่ายกับยายรด | เอาไฟจดจุดขนหล่นร่วงไป | |||
ถัดนั้นอ้ายจันสามพันตึง | เมียชื่ออีอึ่งบ้านเหมืองใหม่ | |||
พวกปล้นขุนศรีวิชัย | เอาไม้เสียบก้นจนแกตาย | |||
ถัดมาข้าชื่ออ้ายคงเครา | เมียชื่ออีเต่าบ้านหนองหวาย | |||
ปล้นบ้านบางภาษีเมื่อปีกลาย | ได้ทรัพย์จับควายผูกต่างมา | |||
ต่อมาข้านี้อ้ายสีอาด | เมียชื่ออีกงราดพระเจ้าข้า | |||
คบไทยไล่ปล้นบ้านละว้า | แล้วเข่นฆ่าตาปานบ้านตาลเอน | |||
ถัดไปอ้ายทองอยู่ช่องขวาก | ผัวอีมากฆ่าลาวชื่อท้าวเสน | |||
ขึ้นย่องเบาเอาบาตรผ้าพาดเณร | ทุบตาเถรแล้วซ้ำปล้ำหลวงชี | |||
ที่นั่งถัดไปอ้ายช้างดำ | อยู่บ้านถ้ำย่องเบาเจ้าภาษี | |||
เก็บเงินทองของข้าวบรรดามี | ของดีดีไม่น้อยทั้งพลอยเพชร | |||
ถัดมาอ้ายบัวหัวกะโหลก | โทษปล้นชีโคกที่บ้านเกร็ด | |||
แล้วตีอ้ายดูกจมูกเฟ็ด | ฟันตาสายขายเป็ดบ้านตึกแดง | |||
ถัดมาข้าชื่ออ้ายแตงโม | เมียชื่อออีโตบ้านชุมสาย | |||
ปล้นชีดักขนนขนพอแรง | ฆ่าขุนทิพย์แสงเจ้าทรัพย์ตาย | |||
อ้ายอินเสือเหลืองเมืองชัยนาท | เมียชื่ออีปาดบ้านขนาย | |||
เที่ยวปล้นฆ่าคนสักร้อยราย | ลักควายแทงกินสิ้นเป็นเบือ | |||
อ้ายมอญมือด่างบางโฉลง | เมียชื่ออีโค่งเป็นชาวเหนือ | |||
ลักถ้วนลักถี่ทั้งตีเรือ | ครกกระบากสากกะเบือไล่เก็บครบ | |||
ถัดไปอ้ายทองอยู่หนองฟูก | เมียชื่ออีดูกลูกตาจบ | |||
กลางวันปีนเรือนเหมือนชะมบ | แต่พอพลบคนเดียวเที่ยวย่องเมา | |||
อ้ายมากสากเหล็กปล้นเจ๊กกือ | เมียมันตาปรือชื่ออีเสา | |||
ถัดไปอ้ายกุ้งคุ้งตะเภา | ฟันผัวแย่งอีเม้าเอาเป็นเมีย | |||
อ้ายสงผัวอีคงอยู่กงคอน | ตีชิงผ้าผ่อนฆ่ามอญเสีย | |||
ถัดไปอ้ายกร่างอยู่บางเหี้ย | หาเมียมิได้ไล่ตีเรือ | |||
อ้ายกลิ้งผัวอีกลักดักขนน | ลักควายขายคนปล้นเรือเหนือ | |||
อ้ายพานผัวอีพาบ้านนาเกกลือ | เอายาเบื่อหลวงโชฎึกเก็บตึกเตียน | |||
อ้ายจั่วผัวอีปรางบางน้ำชน | ขึ้นย่องเบาหมื่นชนขนเอาเลี่ยน | |||
อ้ายแมวผัวอีมาอยู่ท่าเกวียน | เข้าบ้านทิดเพียนปล้นปลอมริบ | |||
พิจารณาเป็นสัตย์ซัดทอดฟ้อง | เก็บเอาข้าวของนางทองกระหมิบ | |||
ถัดไปอ้ายมั่นผัวอีจันทิพ | อยู่น้ำดิบปล้นตีหลวงชีเภา | |||
หาได้แทงแกไม่ดังให้การ | นครบาลสอบแก้เป็นแผลเก่า | |||
อ้ายจันผัวอีจานบ้านกระเพรา | โทษปล้นจีนเก๊าเผาโรงเจ๊ก | |||
ยิงปืนปึงปังประดังโห่ | แล้วเอาสันพร้าโต้ต่อยหัวเด็ก | |||
ถัดมาอ้ายสานกเล็ก | อยู่คุ้งถลุงเหล็กผัวอีดี | |||
สกัดตีโคต่างทางโคราช | แทงอ้ายขั้วผัวอีปาดล้มกลิ้งคี่ | |||
อ้ายมากหนวดผัวอีขวดอยู่บางพลี | โทษตีเดิมบางเอากลางวัน | |||
อ้ายเกิดกระดูกดำผัวอีคำด่าง | โทษสะดมกรมช้างกับหมอมั่น | |||
ปล้นละว้าป่าดงคงกระพัน | กระหำไขว้ไข่ดันเป็นทองแดง | |||
สิริคนโทษซึ่งโปรดมา | ครบสามสิบห้าล้วนกล้าแข็ง | |||
อยู่ยงคงกระพันทั้งฟันแทง | เรี่ยวแรงทรหดอดทน | |||
ทำกรรมต้องจำมาช้านาน | สิ้นกรรมบันดาลจึงให้ผล | |||
พลายงามทูลขอพ่อออกพ้น | จึงปล่อยโปรดโทษคนทั้งนี้มา ฯ | |||
๏ ครั้นตรวจตราสำเร็จเสร็จทั่ว | จึงมอบตัวไพร่ทั้งสามสิบห้า | |||
ให้แก่ขุนแผนแสนศักดา | ท่านพระยายมราชก็อวยชัย | |||
ให้พ่อชนะมารผลาญศัตรู | เชิดชูพระยศปรากฏกระฉ่อน | |||
ทั้งลูกชายพลายงามไปราญรอน | ตีนครเชียงใหม่ให้สมนึก | |||
แล้วหันหน้ามาสั่งพวกทนาย | จงเลือกหาผ้าลายที่ในตึก | |||
ทั้งส้มสูกลูกไม้ให้ครันครึก | แจกพวกอาสาศึกให้ทั่วกัน | |||
พวกทนายขนของมากองเกลื่อน | พระยายมตัดเตือนให้เลือกสรร | |||
ขุนแผนจึงจัดแจงแล้วแบ่งปัน | แจกให้ไพร่นั้นทุกตัวคน | |||
ต่างผลัดผ้าเก่าเอาโยนเสีย | ทุดกูขายหน้าเมียไม่ปิดก้น | |||
บางคนเปลื้องกระสอบดูชอบกล | มันช่างจนเหลือจนได้พ้นทุกข์ | |||
ชวนกันกินของร้องโมทนา | ตั้งแต่วันหน้าจะเป็นสุข | |||
ถ้าหากพ่อไม่ขออกจากคุก | ก็สิ้นคิดติดกรุกจนตายไป | |||
จะเป็นข้าของนายจนตายจาก | ใช้สอยน้อยมากจะทำให้ | |||
ฝ่ายว่าขุนแผนผู้แว่นไว | กราบกรานท่านผู้ใหญ่แล้วอำลา | |||
พระหมื่นศรีขี่ม้านำมาบ้าน | ผู้คนอลหม่านเป็นหนักหนา | |||
พลายงามเดินตามขุนแผนมา | พวกไพร่สามสิบห้าก็มาพลัน | |||
พระหมื่นศรีจัดที่ให้พักอยู่ | แต่งสำรับเลี้ยงดูเกษมสันต์ | |||
พวกไพร่สามสิบห้าเฮฮากัน | พลุกพล่านจนตะวันลงรอนรอน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงนางแก้วกิริยา | เจ้าติดตามผัวมาอยู่แต่ก่อน | |||
อาศัยทับหับเผยเคยหลับนอน | ตั้งอุทรเติบใหญ่ได้สิบเดือน | |||
ครั้นผัวพ้นทุกข์จากคุกได้ | หม้อกระออมโอ่งไหกองไว้เกลื่อน | |||
ผ้าขี้ริ้วผ่อนขาดกลาดทั้งเรือน | เคยเป็นเพื่อนเมื่อยากจะจากกัน | |||
พิษฐานให้ทานคนโทษแล้ว | ผ่องแผ้วตามมาหาผัวขวัญ | |||
พระหมื่นศรีดีใจบอกไปพลัน | อยู่ด้วยกันอย่ากลัวผัวไปทัพ | |||
แล้วชวนขุนแผนกับเจ้าพลาย | ทั้งสามนายนั่งพร้อมล้อมลำดับ | |||
เรียกให้เมียน้อยยกสำรับ | กินเสร็จสรรพระหมื่นศรีก็ชี้แจง | |||
เกลอเอ๋ยน่าอดสูดูเผ้าผม | ทำรุงรังช่างสมอ้ายใจแข็ง | |||
จะเป็นเจ๊กก็ใช่ไทยก็แคลง | มันระแวงคล้ายละว้าน่าขันครัน | |||
ขุนแผนหัวร่อคุณพ่อช่างว่า | แล้วลุกมาเสกน้ำที่ในขัน | |||
ชุบตัดมหาดไทยใส่น้ำมัน | เสร็จพลันอาบน้ำชำระกาย | |||
ทาแป้งแต่งตัวเอี่ยมสะอาด | นุ่งลายผ้าคาดดูเฉิดฉาย | |||
แล้วกลับมาหน้าหอของพระนาย | ทั้งเจ้าพลายสามคนสนทนา | |||
ขุนแผนวอนไหว้พระหมื่นศรี | ว่าลูกนี้ตั้งใจจะอาสา | |||
ยังเป็นห่วงบ่วงใยด้วยมารดา | คร่อแคร่แก่ชราลงทุกวัน | |||
อยู่บ้านกาญจน์บุรีไม่มีสุข | จะเฝ้าทุกข์ถึงลูกกับหลานขวัญ | |||
ถ้ารับมาเลี้ยงดูอยู่ด้วยกัน | ถึงลูกไปทัพนั้นจะนอนใจ | |||
พระหมื่นศรีฟังคำขุนแผนว่า | โมทนาข้าจะเป็นธุระให้ | |||
รับมาจะลำบากยากอะไร | พรุ่งนี้ข้าจะให้ไปรับมา | |||
แล้วพูดกันสามคนจนดึกดื่น | ครั้นเที่ยงคืนก็เข้าในเคหา | |||
ต่างระงับหลับใหลไสยา | จนเวลารุ่งแจ้งแสงตะวัน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงสมเด็จพระพันวษา | ตรัสเรียกลาวทองมาขมีขมัน | |||
อ้ายพลายงามอาสามันกล้าครัน | แล้วทูลขอพ่อมันพ้นจากคุก | |||
มึงทรมานมากว่าสิบปี | กูเห็นมึงนี้ไม่มีสุข | |||
จะโปรดยกโทษให้พ้นทุกข์ | อย่าปักสะดึงกรึงกรุกเร่งออกไป | |||
ลาวทองได้ฟังรับสั่งโปรด | ปราโมทย์ยินดีจะมีไหน | |||
ถวายบังคมลามาทันใด | ออกไปกราบลาหม่อมป้าโต | |||
เพื่อนฝูงร้องไปจะได้ลาภ | ค่อยกระซิบกระซาบนางมีโหว่ | |||
นางสีนางพรมแม่ส้มโอ | เพื่อนฝูงอักโขจะลาไป | |||
แล้วลาเจ้าขรัวนายกรายเข้าห้อง | หวีหัวกระจกส่องน้ำมันใส่ | |||
ทั้งกระแจะจันทน์ปรุงจรุงใจ | หวังจะให้ชื่นอารมณ์ชมชิด | |||
นุ่งยกดอกกลมห่มม่วงอ่อน | เทพนมห่มซ้อนดูวิจิตร | |||
ก้มแลดูกายไม่วายคิด | ใส่จริตเยื้องย่างสำอางงาม | |||
จัดแจงหีบหมากเครื่องนากทอง | ถาดรองขันน้ำทำอย่างห้าม | |||
ใส่เครื่องประดับวับแวววาม | ออกประตูข้างข้ามประตูดิน | |||
อีถึงถือหีบรีบตามนาย | อีกห้าคนขวนขวายเก็บของสิ้น | |||
เพื่อนทักถามไถ่ไม่ได้ยิน | มาถึงถิ่นบ้านขึ้นบนบันได ฯ | |||
๏ ขุนแผนครั้นเห็นนางลาวทอง | เจียนจะแปลกเจียวน้องนึกขึ้นได้ | |||
ร้องเรียกทันทีด้วยดีใจ | แปลกพี่ไปหรือเจ้าไม่เข้ามา | |||
ลาวทองฟังคำจำเสียงได้ | เข้าใกล้ผัวรักรู้จักหน้า | |||
กอดตีนร่ำไห้ฟายน้ำตา | ท่านโปรดโทษข้าข้าจึงรู้ | |||
ครั้นติดตามมาหาผัวรัก | แปลกไปไม่รู้จักจึงยืนอยู่ | |||
ไม่กล้าเข้าไปในประตู | แลดูพ่อซูบผิดรูปไป | |||
โอ้โอ๋เจ้าประคุณของเมียแก้ว | เหมือนตายแล้วเกิดมาหากันใหม่ | |||
ตั้งแต่เมียถูกขังอยู่วังใน | เฝ้าแต่ร่ำร้องไห้ไม่วายวัน | |||
ยามกินกินข้าวไม่เป็นคำ | ต้องฝืนกลืนกับน้ำร่ำโศกศัลย์ | |||
ยามนอนนอนคิดจิตผูกพัน | แทบจะกลั้นใจตายไม่วายเว้น | |||
ปักสะดึงกรึงไหมมิได้หยุด | จะสิ้นสุดเมื่อไรไม่แลเห็น | |||
ได้แต่โศกเศร้าทั้งเช้าเย็น | ตั้งแต่เป็นทุกข์มาช้านานครัน | |||
พูดพลางทางแลแล้วถามผัว | ทูนหัวใครนั่งข้างหลังนั่น | |||
ขุนแผนจึงบอกออกมาพลัน | นางนั้นชื่อแก้วกิริยา | |||
เมียข้าเมื่อพาวันทองหนี | ครั้นติดคุกนางนี้อยู่รักษา | |||
นั่นลูกพี่ที่เขาทูลขอมา | ชื่อพลายงามมารดาคือวันทอง | |||
ว่าแล้วก็พากันเข้าเรือน | ข้าวของกองเกลื่อนอยู่ในห้อง | |||
ต่างปรึกษาหารือตามทำนอง | ปรองดองมิได้คิดจิตฉันทาฯ | |||
๏ ขุนแผนออกมาหน้าหอนั่ง | พลันสั่งทหารสามสิบห้า | |||
ให้แต่งตัวตัดผมสมหน้าตา | เตรียมผ้านุ่งห่มให้คมคาย | |||
ขาดเหลือพึ่งพระจมื่นศรี | พรุ่งนี้จะได้ไปลองถวาย | |||
พระหมื่นศรีขุนแผนกับลูกชาย | ทั้งสามนายสนทนาจนราตรี ฯ | |||
๏ ครั้นรุ่งเช้าข้าวปลาหากินเสร็จ | จวนเสด็จออกต่างก็เร็วรี่ | |||
เข้าวังพร้อมกันในทันที | วันนี้ชาวเมืองนั้นเลื่องลือ | |||
ว่าจะลองความรู้พวกอาสา | ต่างแตกตื่นกันมาออกอึงอื้อ | |||
ไทยจีนมอญพม่าข่าลาวลื้อ | จูงมือลูกหลานซานเข้าไป | |||
ยัดเยียดเสียดแทรกเข้าประตู | นมจู้เบียดบีบกันเหลวไหล | |||
เจ้าหนุ่มหนุ่มที่ลำพองคะนองใจ | เข้าคว้าไขว่สาวสาวออกกราวเกรียว | |||
บ้างกระชากผ้าห่อมฉวยนมหมับ | พวกตำรวจหวดขวับเอาเต็มเหนี่ยว | |||
จับตัวได้ใส่คาทำหน้าเซียว | ที่เลี่ยงเลี้ยวหลบได้ไพล่เข้าวัง | |||
ยัดเยียดเบียดกันอยู่ชั้นนอก | พอเวลาเสด็จออกก็พร้อมพรั่ง | |||
สังข์แตรแซ่เสียงสนั่นดัง | ถวายบังคมกราบลงพร้อมกัน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ | เสด็จสถิตพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ | |||
พระสูตรรูดกร่างกระจ่างพลัน | ดังองค์พระสุริยันเหมื่อเยี่ยมรถ | |||
ตรัสเรียกขุนแผนพลายงาม | ทหารสามสิบห้าเข้ามาหมด | |||
ต่างคลานเข้าเฝ้าองค์พระทรงยศ | น้อมประณตดาษดาหน้าพระลาน | |||
ทนายเลือกตีวงตรงพระที่นั่ง | เอาเชือกหนังขึงขอบรอบหน้าฉาน | |||
ข้างในล้วนบรรดาข้าราชการ | วงนอกไพร่บ้านพลเมือง | |||
เสียงระเบ็งเซ็งแซ่ทั้งแก่หนุ่ม | มามั่วสุมคับคั่งนั่งเนื่อง | |||
บ้างยงโย่แยงแย่แลชำเลือง | บ้างยักเยื้องหยุกหยิกคะยิกกัน | |||
พวกตำรวจเรียงรายถือหวายห้าม | รอบทั้งท้องสนามเป็นกวดขัน | |||
ฝ่ายว่าพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | สั่งขุนแผนให้สรรกันเข้ามาฯ | |||
๏ นายบัวหัวกะโหลกบ้านโคกขาม | ถวายบังคมงามแล้วออกหน้า | |||
นอนหงายร่ายมนตร์ภาวนา | ให้เอาขวานผ่าเป็นหลายซ้ำ | |||
โปกโปกขวานกระดอนนอนพยัก | ไม่แตกหักลุกมาหน้าแดงก่ำ | |||
นายคงเคราเข้านั่งบริกรรม | ให้เอาหอกตำเข้าจำเพาะ | |||
ถูกตรงยอดอกไม่ฟกช้ำ | แทงซ้ำหลายทีที่เหมาะเหมาะ | |||
เสียงอักอักพยักหน้านั่งหัวเราะ | จนด้ามหอกหักเดาะไม่ทานทน | |||
นายมอญนอนเปลือยเอาเลื่อยชัก | เลื่อยหักฟันเยินพระเนินย่น | |||
ให้เปลี่ยนหน้ามาเลื่อยก็หลายคน | เป็นหลายหนไม่เข้าเปล่าทั้งนั้น | |||
นายช้างดำกำลังดังช้างสาร | ถวายบังคมคลานมาไม่พรั่น | |||
กระโดสูงสามวาตาเป็นมัน | แข็งขันข้อลำดำทมิฬ | |||
นายสีอาดคลาดแคล้วแล้วไม่แตก | หอกซัดเจ็ดแบกพุ่งจนสิ้น | |||
ไม่ถูกเพื่อนเชือนไถลไปปักดิน | นายอินอึดใจแล้วหายตัว | |||
นายทองลองให้เอาปืนยิง | ยืนนิ่งคอยรับจับลูกตะกั่ว | |||
นายจันนั้นแปลกเข้าแบกวัว | นายบัวทำคล้ายเป็นหลายคน | |||
นายแตงโมทำโตได้เหมือนยักษ์ | คึกคักกรอกตาดูหน้าย่น | |||
นายจั่งหัวหูดูพิกล | เอาไฟลนทนได้ไฟวับวับ | |||
ลองถวายสิ้นทั้งสามสิบห้า | ต่างสำแดงวิชาเป็นลำดับ | |||
แล้วมาหมอบเรียงเคียงคำนับ | รับสั่งให้ประทานรางวัลพลัน | |||
คนหนึ่งเงินตราห้าตำลึง | กับผ้าสำรับหนึ่งให้จัดสรร | |||
ทั้งเพิ่มนอกออกไปให้ต่างกัน | ตามไม้มือมันใครเอกโท | |||
ยังอ้ายพลายงามจะอาสา | ดีจริงหรือว่ามันโยโส | |||
ดูตัวก็ไม่ใหญ่ใจมันโต | เฮ้ยอ้ายแผนลองโต้กับลูกดู ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนพลายงาม | ถวายบังคมตามกันทั้งคู่ | |||
ที่คนดูลุกยืนตื่นกันกรู | คอยดูพ่อลูกจะลองกัน | |||
เจ้าพลายงามขออภัยพ่อขุนแผน | แล้วจับทวนทอดแขนดูขบขัน | |||
ขุนแผนดาบสองมือถือยืนยัน | ชักท่าทางวางหันเข้าสู้ทวน | |||
กลองแขกติงทั่งตั้งเพลงรำ | ไม่เพลี่ยงพล้ำถ้อยทีถี่ถ้วน | |||
ชั้นเชิงกรีดกรายหลายกระบวน | สับสวนท่าทางสันทัดกัน | |||
ดูข้างพลายงามก็ไวว่อง | ดูทำนองขุนแผนก็แข็งขัน | |||
ได้ทีหนีไล่พัลวัน | กลับแทงแย้งฟันกันคนละที | |||
ถูกฉับไม่เข้าเปล่าทั้งนั้น | เจ้าพลายหันเยื้องย่องทำนองหนี | |||
แต่พอห่างวางทวนกับปัถพี | อัญชลีร่ายเวทเป็นไฟกัลป์ | |||
ลุกโพลงโผงผางกลางสนาม | เปลวฟู่วู่วามเสียงสนั่น | |||
ลามไหม่ไล่คนทั้งหลายนั้น | คนผู้อยู่นั่นก็หนีกรู | |||
ตกใจหน้าซีดทุกตัวคน | ขุนแผนอ่านมนตร์ฝนตกซู่ | |||
เป็นน้ำไหลไฟดับอยู่วับวู | เสียงคนดูฮาลั่นสนั่นอึง | |||
ชมปรอพ่อลูกนี้เอาจริง | วิชาเขายวดยิ่งไม่มีถึง | |||
ฝ่ายขุนแผนเสกซ้ำพร่ำตะบึง | ประเดี๋ยวหนึ่งเป็นงูชูโพนเพน | |||
อ้ายตัวใหญ่มีหงอนเท่าท่อนซุง | เลื้อยพุ่งตาแดงดังแสงเสน | |||
บริวารมากมายมาก่ายเกน | แผ่พังพานเพ่นเพ่นสักสองพัน | |||
เที่ยวเลี้ยวไล่ไชชอนไปทุกแห่ง | พวกคนดูแอบแฝงเป็นจ้าละหวั่น | |||
เหล่าผู้หญิงวิ่งหนีพัลวัน | ตัวสั่นหน้าซีดกรีดกราดไป | |||
ผ้าผ่อนล่อนหลุดสะดุดล้ม | เหยียบทับกันจมออกเหลวไหล | |||
พลายงามขว้างตะกรุดไปทันใด | เป็นนกกดตัวใหญ่ไล่ตามงู | |||
ตีนหยิกปากจิกปีกป้องรับ | งูขยับเลี้ยวฉกนกจิกสู้ | |||
ฝูงคนกล่นเกลื่อนกันมาดู | นกกดคาบงูชูร่อนบิน | |||
บรรดางูบริวารสิ้นทั้งหลาย | ก็พลอยหายสาบสูญไปหมดสิ้น | |||
พลายงามตัวเอกเสกก้อนดิน | นกหายกลายปลิ้นไปเป็นช้าง | |||
ซับมันชันหูชูงวง | งายาวขาวช่วงทั้งสองข้าง | |||
เงยแหงนแปร๋มาคว้างคว้าง | ขุนแผนยืนขวางรำขอรับ | |||
เหยียบขึ้นปลายงาขาคร่อมคอ | ช้างร้ายแรงหล่อเอาขอสับ | |||
ฟันกระชากหน้าผาก.....ยับ | จนตาหลับแหงนหงายท้ายติดดิน | |||
ช้างหายพลายงามทรามคะนอง | มีวิชาสำรองไม่รู้สิ้น | |||
บริกรรมสำแดงแปลงกายิน | เปลี่ยนปลิ้นกลับกลายเป็นควายรับ | |||
ขุนแผนหายกลายกลับเป็นเสือโคร่ง | เขี้ยวโง้งโดดหลอกกลอกกลับ | |||
ล่อควายบ่ายหน้ามาที่ประทับ | ตบขวับขวิดผึงทะลึ่งลอย | |||
ชุลมุนผลุนผลันถลันโดด | เสือโดดควายขวิดชิดไม่ถอย | |||
สู้กันฟั่นเฝือจนเหงื่อย้อย | ต่างปละปล่อยกลายกลับไปฉับพลัน | |||
พ่อเป็นนกแก้วแจ้วส่งเสียง | ลูกเลี่ยงเป็นสาลิกานั่น | |||
บินไปจับต้นไม้อยู่ใกล้กัน | รู้พูดสารพันภาษาคน | |||
แต่บรรดาคนผู้ดูจนเพลิน | สรรเสริญสองนายทุกแห่งหน | |||
เออช่างศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์เวทมนตร์ | ข้าศึกไหนจะทนฤทธาเธอ | |||
พระองค์ตบพระหัตถ์อยู่ฉัดฉาน | เบิกบานทรงพระสรวลสำรวลเร่อ | |||
อ้ายคู่นี้ใช้ได้ไม่อมเออ | ฤทธิ์เดชมันเสมอสมานกัน | |||
ทีนี้จะได้ดูอ้ายเชียงใหม่ | มันอวดอิทธิ์ฤทธิไกรอย่างไรนั่น | |||
จะสู้กับลูกกูอยากดูมัน | ไม่ถึงวันก็จะวิ่งเข้าป่าไป | |||
สิ้นพุงมึงเท่านี้แล้วหรือหวา | นกแก้วสาลิกาก็ทูลไข | |||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงชัย | ยังไม่สิ้นตำราของอาจารย์ | |||
ทูลแล้วพ่อลูกก็คลายมนตร์ | กลับเป็นคนมาหมอบอยู่หน้าฉาน | |||
พระพันวษาปราโมทย์โปรดปราน | ให้เลื่อนเครื่องประทานแล้วตรัสมา | |||
ฮ้าเฮ้ยอ้ายขุนแผนพลายงาม | มึงลูกพ่อต่อตามกันหนักหนา | |||
ดูหน้านิ่วหิวเหนื่อยจะเลื่อยล้า | กินข้าวปลาเสียทีให้มีแรง | |||
แล้วจึงตรัสสั่งคลังวิเศษ | ให้จัดเสื้อโหมดเทศอย่างก้านแย่ง | |||
แพรจีนดวงพุดตานส่านสีแดง | ทั้งสมปักตามตำแหน่งขุนนางใน | |||
ให้คลังหาสมบัติจัดเงินตรา | ห้าชั่งเอามาประทานให้ | |||
มึงทั้งสองใช้ของเหล่านี้ไป | กว่าจะได้บำเหน็จเสร็จสงคราม | |||
ขุนแผนพลายงามความยินดี | ถวายบังคมอยู่ที่กลางสนาม | |||
ด้วยทรงพระกรุณาสง่างาม | คนผู้ดูหลามไปทั้งวัง ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | ตรัสเรียกโหราเข้ามาสั่ง | |||
ให้คูณหารฤกษ์ยามตามกำลัง | วันไรจะตั้งให้ยาตรา | |||
พระโหราหาฤกษ์แล้วทูลพลัน | ขึ้นเจ็ดค่ำนั้นเป็นเศษห้า | |||
ได้ฤกษ์เบิกพยุหเสนา | เวลาสี่โมงเช้าเก้านาที | |||
ปลอดทั้งผีหลวงห่วงวัน | ยามนั้นได้เมื่อพระฤาษี | |||
แค้นขัดมัดมือลิงกาลี | จะไปตีบ้านเมืองย่อมมีชัย | |||
พระองค์ทรงฟังก็สั่งพลัน | ไปให้ทันฤกษ์พาอย่าช้าได้ | |||
มันขอแต่ไพร่ราบหาบของไป | ก็เกณฑ์ไพร่ให้มันเจ็ดสิบคน | |||
สั่งเสร็จพระเสด็จเข้าในวัง | ขุนนางลุกสะพรั่งอยู่สับสน | |||
ออกบอบแบบแสบท้องจนเต็มทน | อลวนกลับบ้านสำราญใจ | |||
พวกคนดูโจษกันสนั่นมา | ไม่เลือกหน้าไทยเจ๊กเด็กผู้ใหญ่ | |||
เขาดีจริงยิ่งยวดในกรุงไกร | แปลงตัวไปได้ดังเทวดา | |||
ชั่วพ่อชั่วแม่ไม่เคยเห็น | แต่รำเต้นนั้นก็ดูมาหนักหนา | |||
สันนี้ได้เห็นเป็นบุญตา | เรากำเนิดเกิดมาไม่เสียทีฯ | |||
ฝ่ายว่าขุนแผนแสนสะท้าน | กลับมาอยู่บ้านพระหมื่นศรี | |||
ครั้นรุ่งเช้าเข้าไปอัญชลี | บอกคดีได้ข่าวบ่าวมันมา | |||
ว่าบัดนี้คุณแม่ทองประศรี | มาแต่กาญจน์บุรีอยู่เคหา | |||
เพราะฝ่าเท้าเจ้าคุณกรุณา | ลูกกับบุตรภรรยาจะลาไป | |||
พระหมื่นศรีเมตตาสั่งข้าคน | ให้ช่วยขนข้าวของไปส่งให้ | |||
พ่อลูกกราบลาแล้วคลาไคล | ภรรยาข้าไทก็ไปตาม | |||
พวกทหารสามสิบห้ามาติดก้น | เดินดาเต็มถนนจนล้นหลาม | |||
ชาวตลาดแลดูไม่รู้ความ | กระซิบถามเพื่อนกันว่านั่นใคร | |||
บ้างบอกพวกนี้ที่พ้นโทษ | โปรดให้ไปทัพจับเชียงใหม่ | |||
ขุนแผนมาถึงบ้านวัดตระไกร | ก็เข้าไปไหว้กราบท่านมารดา ฯ | |||
๏ ครานั้นนวลนางทองประศรี | เห็นลูกยินดีเป็นหนักหนา | |||
ลูบหน้าลูบหลังถั่งน้ำตา | เออเหมือนมาเกิดใหม่ได้พบกัน | |||
กูขอบใจออแก้วกิริยา | มันอุตส่าห์ติดตัวตามผัวขวัญ | |||
เอ็งจงเป็นพี่น้องลาวทองนั้น | อย่าขึ้งเคียดเดียดฉันท์กันวุ่นไป | |||
อนิจจาน่ารักออพลายงาม | เพียรติดตามทูลขอพ่อจนได้ | |||
นี่แลบุราณท่านกล่าวไว้ | ว่าเป็นชายมิให้ดูหมิ่นชาย | |||
แล้วหันมาหาขุนแผนแสนสะท้าน | ยิ่งสงสารดูไปใจคอหาย | |||
ช่างผอมซูปวิปริตรผิดทั้งกาย | นี่หากว่าไม่ตายเสียในคุก | |||
สิ้นเคราะห์โศกโรคภัยเถิดแก้วแม่ | ตั้งแต่นี้มีแต่ให้เป็นสุข | |||
ร้อยปีพันปีอย่ามีทุกข์ | จงเป็นสุขตราบเท่าเข้านิพพาน ฯ | |||
๏ ขุนแผนรับพรของมารดา | แล้วออกมาเร่งรัดให้จัดบ้าน | |||
ขนของขึ้นเรือนเกลื่อนนอกชาน | ให้ปลูกร้านพวกไพร่จะได้นอน | |||
เรือนเหย้าเก่าเกจะเซคว่ำ | เอาไม้ค้ำจุนดูพออยู่ก่อน | |||
ทำกันจนตะวันลงรอนรอน | ต่างพักผ่อนลืมทุกข์สุขสำราญ ฯ | |||
๏ ฝ่ายเจ้ากรมสัสดีก็มีหมาย | ทุกตัวนายหมวดหมู่อยู่อลหม่าน | |||
เป็นการจวนด่วนวิ่งไม่นิ่งนาน | เอาที่บ้านใกล้ใกล้จะได้ทัน | |||
บ้างเร่งรัดมัดผูกลูกเมียมา | อุตลุดฉุดคร่าจ้าละหวั่น | |||
ผัดดผ่อนไม่ได้ไม่ฟังกัย | ครบครันเบ็ดเสร็จเจ็ดสิบคน | |||
จึงสั่งให้นายสมุห์บาญชี | ไปส่งที่ขุนแผนออกสับสน | |||
ลูกเมียหาข้าวสารอยูลานลน | อลวนจัดแจงประจุบัน | |||
หาได้ตามยากตามมี | ให้ทันทีตามส่งกันตัวสั่น | |||
ที่ในบ้านขุนแผนออกแน่นนันต์ | พร้อมเพรียงสามวันจะครรไล ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | คิดกับลูกยาหาช้าไม่ | |||
จะปลุกเครื่องให้เรืองฤทธิไกร | จึงชวนกันออกไปที่ป่าช้า | |||
ให้ทหารปลูกศาลขึ้นฉับพลัน | ตั้งบายศรีสามชั้นทั้งซ้ายขวา | |||
หัวหมูเป็ดไก่ทั้งเหล้ายา | เครื่องเซ่นจัดหามาเรียงราย | |||
เอาผ้าขาวปูลาดดาดเพดาน | นมัสการจุดธูปเทียนถวาย | |||
ในมณฑลนั้นให้อยู่แต่ผู้ชาย | วงสายสิญจน์สิณจน์รอบเป็นขอบคัน | |||
ทั้งพ่อลูกเข้านั่งกลางมณฑล | อ่านมนตร์โองการอันกวดขัน | |||
ชุมนุมเทวดามาพร้อมกัน | ทุกช่องชั้นอินทร์พรหมยมยักษ์ | |||
ทั้งพระเพลิงพระพายกรุงพาลี | พระภูมิเจ้าที่อันมีศักดิ์ | |||
อีกพระไพรเจ้าป่าพนารักษ์ | พระนารายณ์ทรงจักรศิวาทิตย์ | |||
พระคเณศร์พินายทั้งซ้ายขวา | ขอเชิญลงมาให้ศักดิ์สิทธิ์ | |||
ทั้งคุณแก้วสามประการอันชาญชิต | บิดามารดาสถาวร | |||
คุณครูอุปัชฌาอาจารย์ | พระโองการบพิตรอดิศร | |||
ขออับเชิญช่วยมาอวยพร | ให้เรืองฤทธิ์ขจรทุกสิ่งอัน | |||
แล้วร่ายคาถามหาเวท | ปลุกเครื่องวิเศษทุกสิ่งสรรพ์ | |||
ว่านยาผ้าประเจียดมงคลนั้น | ตะกรุดโทนน้ำมันอันเรืองฤทธิ์ | |||
เดชะพระเวทอันเชี่ยวชาญ | เครื่องอานกลิ้งไปดังใครบิด | |||
แล้วตั้งกองอัคคีทั้งสี่ทิศ | เอาเครื่องวางกลางมิดในกองไฟ | |||
เปลวไฟคึกคึกไม่ขาดสาย | ชั้นแต่เส้นด้ายหาไหม้ไม่ | |||
จึงเอาพระควำที่ทำไว้ | ใส่ขันสำริดประสิทธิ์มนตร์ | |||
ในขันนั้นใส่น้ำมันหอม | เสกพร้อมเป่าลงไปสามหน | |||
พระนั่งขึ้นได้ในบัดดล | น้ำมันทาทนทั้งทุบตี | |||
ล่องหนกำบังจังงังครบ | อุปเท่ห์เล่ห์จบเป็นถ้วนถี่ | |||
ปลุกเครื่องเสร็จพลันอัญชลี | อ่านมนตร์เรียกผีพวกภูตพราย | |||
ผีตายฟ้าผ่าทั้งห่าโหง | อยู่ในหลุมในโลงสิ้นทั้งหลาย | |||
ผีตายคลอดลูกผูกคอตาย | ผีนายผีไพร่ให้รีบมา | |||
ฝูงผีมิอาจจะซุ่มซ่อน | ด้วยเร่าร้อนฤทธิ์เวทพระคาถา | |||
พากันเหลื่อนกลาดดาษดา | พร้อมหน้ามาที่พิธีการ | |||
บรรดาผู้นั่งอยู่ในมณฑล | เห็นผีทุกคนออกพลุกพล่าน | |||
พลายงามขุนแผนแสนสำราญ | เอาเหล้าข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก | |||
เนื้อพล่าปลายำทำตามมี | ฝูงผีเข้ามากินหนักกว่าหนัก | |||
ข้างนอกยังนั่งล้อมอยู่พร้อมพรัก | ชักชวนกันกินสิ้นทั้งปวง | |||
ที่อดหยากปากไหม้ไส้ขม | ต่างชื่นชมรับเอาเครื่องบวงสรวง | |||
ล้อมกินปลิ้นตาอ้าปากกลวง | ตวงเหล้าเติบบ่อยอร่อยครัน | |||
เสร็จแล้วพ่อลูกก็สั่งผี | ว่าพวกท่านวันนี้จงจัดสรร | |||
มาอาสาศึกใหญ่ไปด้วยกัน | ให้ทันฤกษ์พาเวลาเพล | |||
พวกผีดีใจไปสิพ่อ | ลูกจะขอเป็นบ่าวให้กราวเขน | |||
อันทัพผีมิให้ต้องกะเกณฑ์ | จะเข้านอนออกเวรให้ทันการ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนกับพลายงาม | เสร็จพิธีมีความเกษมศานต์ | |||
จึงจัดแจงจงแบ่งปันซึ่งเครื่องอาน | แจกทหารกับไพร่ให้ผูกพัน | |||
พวกพลทั้งสิ้นก็ยินดี | เห็นอย่างนี้ละคุณพ่อใจคอมั่น | |||
ถึงจะให้ไปไหนก็ไปกัน | จะสู้คนร้อยพันไม่พรั่นใจ | |||
ครั้นเสร็จสรรพกลับพากันมาบ้าน | ขุนแผนเรียกทหารเข้ามาใกล้ | |||
สาตราอาวุธจงเลือกใช้ | ใครถนัดอย่างไหนเอาไปพลัน | |||
บางคนฉวยดาบชักวาบวับ | ที่บางคนก็จับเอากั้นหยั่น | |||
บ้างเข้ามาคว้าปืนถือยืนยัน | บางคนนั้นร้องบอกขอหอกยาว | |||
อ้ายเฉยว่าฉันเคยแต่ไม้พลอง | อ้ายมาว่าฉันคล่องก็เพลงหลาว | |||
อ้ายเพชรว่าพร้าก็พอกับคอลาว | อ้ายทิดสาคว้าง้าวออกลองรำ | |||
ต่างคนต่างเลือกหาเครื่องอาวุธ | อุตลุดสับสนอยู่จนค่ำ | |||
แล้วแจกจ่ายเสื้อผ้ายาประจำ | กระบอกน้ำถุงไถ้ใส่ข้าวปลา | |||
ที่พวกหาบหาไม้มาทำคาน | จักสานโพล่แฟ้มแซมตะกร้า | |||
ที่ได้เป็นนายหมวดคอยตรวจตรา | เสียงเฮฮาครึกครื้นรื่นเริงกัน ฯ | |||
๏ ฝ่ายนางทองประศรีกระปรี้กระเปร่า | ตั้งแต่เช้าจัดเสบียงเสียงสนั่น | |||
พริกเกลือข้าวปลาสารพัน | ใครเชือนช้าด่าลั่นไม่เลือกตัว | |||
นางแก้วกิริยากับลาวทอง | จัดของเครื่องใช้ให้แก่ผัว | |||
ปรึกษากันปรองดองไม่หมองมัว | ด้วยความกลัวผัวรักจักทุกข์ร้อน | |||
หีบหมากเครื่องนากอยู่ในกลี่ | ซองบุหรี่ย่ามใหญ่ใส่ผ้าผ่อน | |||
เสื้อผ้าจัดพับที่หลับนอน | มุ้งหมอนพร้อมสิ้นทุกสิ่งอัน | |||
ข้าวของขนมาไว้หน้าเรือน | กองเกลื่อนบ่าวข้าจ้าละหวั่น | |||
ส่วนว่าของนายพลายงามนั้น | พระหมื่นศรีจัดสรรทุกสิ่งไป ฯ | |||
๏ ครั้นรุ่งเช้าจะเข้าไปทูลลา | ขุนแผนลูกยาไม่ช้าได้ | |||
จัดพานธูปเทียนแลดอกไม้ | ไปหาท่านผู้ใหญ่ที่ในวัง | |||
เวลาสี่โมงเสด็จออก | พระโรงนอกเสียงแตรแซ่กระทั่ง | |||
เสด็จประทับเหนืออาสน์ราชบังลังก์ | มีรับสั่งไต่ถามความนานา ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าพระยาจักรี | ได้ทีก็ประนมก้มเกศา | |||
กราบทูลเบิกไปมิได้ช้า | ขอเดชะพระบาทามาปกครอง | |||
ดอกไม้ธูปเทียนทองของถวาย | ของขุนแผนนายพลายงามทั้งสอง | |||
กราบถวายบังคมลาฝ่าละออง | ไปราชการศึกสนองพระเดชา ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จนเรนทร์สูร | ฟังทูลทรงพระสรวลสำรวลร่า | |||
เฮ้ยขุนแผนพลายงามทั้งสองรา | ซึ่งอาสาทำชอบกูขอบใจ | |||
จงไปดีมาดีศรีสวัสดิ์ | พ้นวิบัติเสี้ยนหนามความเจ็บไข | |||
ให้ศัตรูพ่ายแพ้แก่ฤทธิไกร | มีชัยได้เวียงเชียงใหม่มา | |||
ตรัสพลางทางสั่งพนักงาน | พระราชทานเครื่องยศกับเสื้อผ้า | |||
ทั้งกระบี่ทั้งทองของนานา | เงินตราเตรียมไปใช้ในทัพ | |||
อีกทั้งม้าต้นคนละม้า | เครื่องอานพานหน้าให้พร้อมสรรพ | |||
พวกไพร่ให้ผ้าคนละสำรับ | สั่งเสร็จเสด็จกลับเข้าวังใน ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนกับลูกยา | เสด็จขึ้นกลับมาหาช้าไม่ | |||
หาธูปเทียนใส่พานคลานเข้าไป | กราบไหว้ทองประศรีผู้มารดา | |||
ลูกหลายจะมาลาคุณแม่ | จงอยู่ดูแลซึ่งเคหา | |||
อันลาวทองกับเจ้าแก้วกิริยา | คุณแม่ได้เมตตาช่วยดูแล | |||
ถัาทุกข์ร้อนก่อนลูกกลับมาถึง | จะหมายพึ่งผู้ใดให้เป็นแน่ | |||
พระหมื่นศรีแลเธอเป็นเกลอแท้ | คุณแม่เจ็บไข้จงไหว้วาน | |||
เหย้าเรือนรุงรังจะพังคว่ำ | พอจะทำเงินมีอยู่ที่บ้าน | |||
ขอแต่ให้คุณแม่อยู่สำราญ | ถึงลูกไปช้านานไม่ร้อนใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นทองประศรีผู้มารดา | ฟังลูกหลานลาน้ำตาไหล | |||
ลูบหลังลูบหน้าแล้วว่าไป | อย่าเป็นห่วงบ่วงใยเลยทางนี้ | |||
เมียเจ้านั้นไซร้ไว้ธุระแม่ | จะดูแลสารพัดให้ถ้วนถี่ | |||
ทั้งเรือนเหย้าข้าวของบรรดามี | ได้พึ่งพระหมื่นศรีก็ดีแล้ว | |||
แม่ขัดขวางอย่างไรจะไปหา | เจ้าตั้งหน้าไปเถิดนะลูกแก้ว | |||
ทุกข์โศกโรคภัยให้คลาดแคล้ว | จงผ่องแผ้วพูนสุขทุกเวลา | |||
ให้เจ้าชนะมารผลาญศัตรู | ใครอย่ารอต่อสู้ได้สักหน้า | |||
อองามเจ้าอย่าห่างข้างบิดา | ยังเด็กนักเด็กหนาย่าห่วงนัก | |||
อย่าประมาททอาจหาญการรบสู้ | ขุนไกรปู่นั้นแต่หนุ่มคุ้มฟันหัก | |||
แกมิได้หมิ่นศึกทำฮึกฮัก | เบาหนักตรองดูให้รู้ความ | |||
อนึ่งพวกพลไพร่ที่ไปด้วย | ใครเดือดร้อนผ่อนช่วยอย่าหยาบหยาม | |||
อุตส่าห์เอาอกใจให้งดงาม | ไปรบพุ่งเหมือนตามกันไปตาย | |||
ถ้าใจเดียวเกลียวกลมกันหนึ่งแน่ | ถึงน้อยก็ไม่แพ้ที่มากหลาย | |||
ท่านว่าป่าพึ่งเสือเรือพึ่งพาย | เราเป็นายก็ต้องพึ่งซึ่งไพร่พล | |||
อนึ่งความกตัญญูรู้คุณเจ้า | ทุกค่ำเช้านึกไว้จะให้ผล | |||
ให้รุ่งเรืองฤทธิเดชทั้งเวทมนตร์ | เจ้าจงสนใจจำคำย่าไว้ ฯ | |||
๏ ขุนแผนพลายงามความยินดี | รับพรทองประศรีแล้วก้มไหว้ | |||
ขุนแผนกลับมาสั่งข้าไท | แล้วเข้าไปในห้องทั้งสองนาง | |||
เจ้าลาวทองกับเจ้าแก้วกิริยา | จงอุตส่าห์ปรองดองอย่าหมองหมาง | |||
ไปทัพถ้าข้างบ้านเกิดรานทาง | มักเป็นลางให้ร้ายฝ่ายผู้ไป | |||
การกินอยู่ดูแลแม่ทองประศรี | อย่าให้มีทุกข์ยากลำบากได้ | |||
เจ้าแก้วก็อลักเอลื่ออยู่เหลือใจ | ท้องไส้จงระวังจะนั่งนอน | |||
เมื่อคลอดลูกลาวทองน้องช่วยดู | ทั้งฟืนไฟให้อยู่แลผ้าผ่อน | |||
ให้บ่าวมันคั้นส้มต้มน้ำร้อน | เอาผ้าซ้อนเปลลูกผูกเห่ช้า | |||
อันที่จะทำมิ่งสิ่งขวัญ | เรื่องนั้นมอบไว้ให้คุณย่า | |||
ด้วยท่านเป็นผู้ใหญ่ได้เคยมา | ถึงหยูกยาสารพัดทั่นเข้าใจ | |||
อนึ่งพี่นึกได้ไปคราวนี้ | ท่วงทีจะได้พบท่านผู้ใหญ่ | |||
ด้วยเดินทางไม่ห่างสุโขทัย | ไปเชียงใหม่ก็จะผ่านบ้านจอมทอง | |||
จะสั่งเสียอย่างไรไปถึงบ้าง | หรือสองนางเจ้าอยากฝากข้าวของ | |||
พี่จะรับไปให้ดังใจปอง | ถ้าได้ช่องคงพบประสบกัน ฯ | |||
๏ ครานั้นลาวทองแก้วกิริยา | ฟังว่าอกใจให้ไหวหวั่น | |||
จะร้องไห้กลัวลางในกลางคัน | อุตส่าห์กลั้นโศกาแล้วว่าไป | |||
พ่ออย่าได้รำพึงถึงตัวน้อง | จะปรองดองผูกสมัครรักใคร่ | |||
รับการงานให้ท่านคุณแม่ใช้ | จะตั้งใจปฏิบัติเป็นอัตรา | |||
ถ้าขึ้นไปได้พบกับพ่อแม่ | จงบอกแต่ว่าลูกเป็นสุขา | |||
แล้วผัวเมียต่างคนสนทนา | ด้วยสนิทเสนหาต่างอาลัย ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าขุนแผนแสนศักดา | ตื่นขึ้นเวลาปัจจุบันสมัย | |||
บ้วนปากล้างหน้าแล้วคลาไคล | ชวนลูกออกไปตระเตรียมทัพ | |||
ที่ตำบลวัดใหม่ชัยชุมพล | เป็นมงคลเคยตั้งตามตำรับ | |||
ผู้คนพร้อมพรั่งอยู่คั่งคับ | ขุนแผนกับลูกยาตรวจตราการ | |||
ทองประศรีลาวทองแก้วกิริยา | ก็ตามมาจัดเสบียงเลี้ยงอาหาร | |||
ทั้งบ่าวไพร่พวกพงศ์วงศ์วาร | ตามไปส่งพลุกพล่านทั้งลานวัด | |||
พระหมื่นศรีดีจริงไม่นิ่งได้ | พาลูกเมียบ่าวไพร่ไปเป็นขนัด | |||
ขาดเหลือเจอจานสารพัด | แล้วช่วยจัดข้าวของจะเอาไป | |||
ของใหญ่ให้เอาขึ้นหลังช้าง | วัวต่างนั้นบรรทุกเสบียงใส่ | |||
ที่เบาเบาเหล่าของต้องการใช้ | ให้พวกไพร่หาบหามตามติดนาย | |||
ครั้นจัดเสร็จเรียบร้อยคอยเวลา | โหราเหยียบเงาเอาชั้นฉาย | |||
พอถ้วนนาทีสี่โมงปลาย | ถึงฤกษ์จะขยายกระบวนพล ฯ | |||
๏ ครานั้นนางแก้วกิริยา | แต่เช้ามาหาสำรับอยู่สับสน | |||
ท้องแก่อลักเอลื่อก็เหลือทน | เจ็บท้องร้องทุรนจะขาดใจ | |||
ทองประศรีว้าวุ่นเรียกขุนแผน | แล้วลุกแล่นมาประคองทั้งสองไหล่ | |||
ขุนแผนทำน้ำสะเดาะให้ทันใด | กลืนเข้าไปพอตลอดคลอดลูกชาย | |||
ประจวบฤกษ์ดิถีกรีธาทัพ | ต้องตำรับว่าประเสริฐเลิศหลาย | |||
ทองประศรีอุ้มแอบไว้แนบกาย | ให้ชื่อพลายชุมพลรณรงค์ | |||
แล้วเรียกเรือมารับกลับเข้าบ้าน | ด้วยห่วงหลานลูกสะใภ้ไม่อยู่ส่ง | |||
พระหมื่นศรีรับว่าอย่าพะวง | จงวางใจให้ฉันไว้ทางนี้ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | ดูท้องฟ้าเห็นจำรัสรัศมี | |||
สบยามตามตำราว่าฤกษ์ดี | สั่งให้ตีฆ้องชัยไว้เดโช | |||
ยกจากวัดใหม่ชัยชุมพล | พวกพหลพร้อมพรั่งตั้งโห่ | |||
พระสงฆ์ส่งสวดชยันโต | ออกทุ่งโพธิ์สามต้นขับพลมา | |||
โห่ร้องฆ้องลั่นมาหึ่งหึ่ง | นายจันสามพันตึงเป็นกองหน้า | |||
กองหลังสีอาดราชอาญา | พวกทหารสามสิบห้าต่างคลาไคล | |||
บ้างคอนกระสอบหอบกัญชา | ตุ้งก่าใส่ย่ามตามเหงื่อไหล | |||
บ้างเหล้าใส่กระบอกหอกคอนไป | ล้าเมื่อไรใส่อึกไม่อื้ออึง | |||
บ้างห่อใบหระท่อมตะพายแล่ง | เงี่ยนยาหน้าแห้งตะแคงขึง | |||
ถุนกระท่อมใส่ห่อพอตึงตึง | ค่อยมีแรงเดินดึ่งถึงเพื่อนกัน ฯ | |||
๏ ขุนแผนพลายงามตามกันมา | ชักม้าข้ามทุ่งมุ่งไพรสัณฑ์ | |||
พอพ้นถิ่นก็สิ้นแสงตะวัน | ผ่อนผันหยุดพักพิตเพียน | |||
นายกำนันก็ชวนลูกบ้านช่อง | แบกสำรับเนืองนองไม่ต้องเฆี่ยน | |||
ไฟฟืนดื่นไปทั้งไต้เตียน | เยี่ยมเยียนกองทัพสับสนกัน | |||
พวกกองทัพทั้งสิ้นกินข้าวปลา | ชาวบ้านเอามาเลี้ยงที่นั่น | |||
แล้วกำนันไปจัดที่วัดพลัน | ให้พวกกองทัพนั้นอาศัยนอน | |||
รุ่งเช้าข้าวปลาหากินสรรพ | ขับกันรีบไปไม่หยุดหย่อน | |||
พ้นทุ่งเข้าป่ามาทางดอน | พอแดดกล้าหน้าร้อนอ่อนระทม | |||
มาถึงบ้านดาบก่งธนู | พักร้อนเข้าอยู่อาศัยร่ม | |||
พ่อลูกนั่งเล่นเย็นเย็นลม | เชยชมลูกชายสบายใจ ฯ | |||
๏ ขุนแผนจึงเรียกเจ้าพลายงาม | เดินตามไปที่ต้นไทรใหญ่ | |||
หมากพลูธูปเทียนเอาถือไป | ถึงต้นพระไทรก็กราบลง | |||
บอกว่าฟ้าฟื้นของพ่อฝัง | ไว้แต่ครั้งพระพิจิตรเขาบอกส่ง | |||
ดาบนี้มีฟทธิ์ปราบณรงค์ | ฝังไว้ตรงกิ่งทิศบูรพา | |||
พลายงามก็ขุดดินลงไป | พบดาบดีใจเป็นหนักหนา | |||
ส่งให้พ่อชักวาบปลาบนัยน์ตา | ขุนแผนทูนเกศาด้วยสุดรัก | |||
ดาบนี้ต่อไปจะให้เจ้า | รบพุ่งจะได้เอาไปเป็นหลัก | |||
อันฟ้าฟื้นเล่มนี้ดียิ่งนัก | ดาบอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเลย | |||
ถึงพระแสงทรงองค์กษัตริย์ | ไม่เทียมทัดของเราดอกเจ้าเอ๋ย | |||
จะฝึกเจ้าให้ใช้เสียให้เคย | ชมเชยดาบพลางทางเดินมา ฯ | |||
๏ กลับถึงที่สำนักแล้วพักผ่อน | ตะวันรอนแดดบ่ายลงชายป่า | |||
เตือนกันทั้งสิ้นกินข้าวปลา | พอเพลาลมตกยกต่อไป | |||
ค่ำลงหยุดนอนลพบุรี | เช้ายกจากที่อีกพักใหญ่ | |||
ตัดบางขามข้ามบ้านด่านโพธิ์ชัย | ล่องเข้าแขวงใกล้อู่ตะเภา | |||
ตรงมาหัวแดนภูเขาทอง | หนองบัวห้วยเฉียงเลี่ยงชายเขา | |||
ตัดลงชายดอนร้อนไม่เบา | พอย่างเข้าทุ่งหลวงเพลาพลบ | |||
ขุนแผนก็สั่งให้หยุดพัก | ที่ล้าเมื่อยเหนื่อยหนักนอนสลบ | |||
บรรดาพวกพหลพลรบ | จุดคบกองไฟไว้เป็นวง | |||
ลางคนหาเขียงหั่นกัญชา | นั่งชักตุ้งก่าจนคอก่ง | |||
บ้างมีแต่กัญชามานั่งลง | ผลัดกันหั่นส่งใส่ไฟโพลง | |||
ที่ไม่มีขอซื้อสามมื้อสลึง | พอส่งถึงรับหั่นชักควันโขมง | |||
อยากหวานเมางวงล้วงกระโปรง | บ้างโก้งโค้งค้นหาพุทรากวน | |||
พวกขี้ยาขึงผ้าขึ้นบังมิด | ลงนอนขิดกองไฟใส่กล้องง่วน | |||
สิ้นเนื้อเหลือขี้ลงรีรวน | จวนหมดอตส่าห์สงวนไว้ | |||
เพื่อนกันขอปันหุนละบาท | คราวขาดกลัวตายหาขายไม่ | |||
อ้ายที่เงี่ยนเต็มอ่อนวอนร่ำไร | ได้แต่ขี้สองชั้นพอกันตาย | |||
เอาดาบหอกออกแลกกับขี้ยา | จนชั้นขันล้างหน้าก็ยื่นขาย | |||
พอแก้เงี่ยนเหียนห้อยค่อยสบาย | กินอยู่พูวายแล้วหลับนอน ฯ | |||
ตอนที่ ๒๘ พลายงามได้นางศรีมาลา
๏ จะกล่าวถึงโฉมเจ้าพลายงาม | เพลายามสามหลับอยู่กับหมอน | ||
กำนัดหนุ่มกลุ้มใจให้อาวรณ์ | เทพเจ้าจึงสังหรณ์ให้เห็นตัว | ||
ฝันว่านารีเพิ่งรุ่นสาว | ผิวขาวคมคายมิใช่ชั่ว | ||
สองเต้าเต่งตั้งดังดอกบัว | มายืนยิ้มยั่วแล้วเยื้องกราย | ||
พอภปรายทายทักชักสนิท | นางเบือนบิดทำทีจะหนีหน่าย | ||
ก็ลุกรีบตามติดเข้าชิดกาย | คว้าเข้าเจ้าก็หายไปกับมือ | ||
เคลิ้มผวาคว้ากอดขุนแผนพ่อ | พูดจ้อนี่เจ้าไม่เมตตาหรือ | ||
ขุนแผนตื่นฟื้นตัวก็ผลักมือ | ร้องฮื้อพลายงามทำอะไร | ||
เจ้าพลายกลัวพ่อใจคอหวั่น | บอกว่าฝันเห็นผู้หญิงลูกวิ่งไล่ | ||
รุ่นสาวขาวอร่ามงามสุดใจ | จึงเผลอไปขอโทษได้โปรดปราน ฯ | ||
๏ ขุนแผนฟังความพลายงามเล่า | เอ๊ะออเจ้าช่างฝันดูขันจ้าน | ||
ฝันเช่นนี้มีตำรับแต่บุราณ | ใครฝันมักบันดาลได้เมียดี | ||
หรือจะถูกลูกเจ้าบ้านผ่านเมือง | ทำนายพลางย่างเยื้องออกจากที่ | ||
บอกกันทั่วหน้าบรรดามี | วันนี้ถึงพิจิตรไม่ทันเย็น | ||
ว่าแล้วเตือนกันกินข้าวปลา | รีบยกยาตราขะมักเขม้น | ||
ไม่หยุดหย่อนร้อนเหลือเหงื่อกรเด็น | พอแลเห็นเมืองแวะเข้าวัดจันทร์ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่านวลนางศรีมาลา | คืนวันนั้นนิทราก็ใฝ่ฝัน | ||
ว่าลงสระเล่นน้ำสำราญครัน | เห็นบุษบันดอกหนึ่งดูพึงตา | ||
ผุดขึ้นพ้นน้ำงามสะอาด | นางโผดผาดออกไปด้วยหรรษา | ||
เด็ดได้ดีใจว่ายกลับมา | กอดแนบแอบอุราประคองดม | ||
ลืมตาคว้าดูดอกบัวหาย | เสียดายนี่กระไรไม่ได้สม | ||
ปลุกอีเม้ยแก้ฝันหวั่นอารมณ์ | อีเม้ยชมว่าฝันของนายดี | ||
ดอกบัวคือผัวมิใช่อื่น | มิพรุ่งนี้ก็มะรืนคงถึงนี่ | ||
ไม่เหมือนอีเม้ยทายให้นายดี | ฝันอย่างนี้ได้ทายมาหลายคน | ||
ศรีมาลาว่าไฮ้อีมอญถ่อย | เอาผัวผ้อยมาพูดไม่เป็นผล | ||
อุตริทำนายทายสัปดน | ถึงใครใครให้จนเทวดา | ||
ถ้ามีหน้ามาเกี้ยวก็คงเก้อ | อย่าเพ้อเลยไม่อยากปรารถนา | ||
อยู่คนเดียวไม่สบายเอาชายมา | เขาย่อมว่ามันเป็นเจ้าหัวใจ | ||
อีเม้ยมอญคะนองร้องอุยย่าย | อย่าพักพูดเลยนายหาเชื่อไม่ | ||
ยังไม่พบปะก็พูดไป | ถึงตัวเข้าเมื่อไรได้ดูกัน | ||
บ่าวนายสัพยอกหยอกเย้า | รุ่งเช้าศรีมาลาก็ผายผัน | ||
ไปดูการบ้านเรือนเหมือนทุกวัน | นึกถึงฝันพรั่นใจไม่รู้วาย ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสงคราม | พักอยู่อารามจนตกบ่าย | ||
จะเข้าไปในจวนชวนลูกชาย | แล้วย่างกรายบ่าวตามออกหลามไป | ||
ถือถาดหมากคนโทเป็นยศอย่าง | เดินมาตามทางกับบ่าวไพร่ | ||
พลายงามคิดถึงฝันปั่นป่วนใจ | เข้าในย่านตลาดก็แลชม | ||
ที่เหล่าร้านขายผ้ามีหน้าถัง | ลายสุหรัดมัดตั้งทั้งผ้าห่ม | ||
ร้านถ้วยชามรามไหมีอุดม | สะสมสินค้าสารพัด | ||
สิ่งของทองเหลืองทั้งเครื่องแก้ว | เป็นถ่องแถวคนผู้ดูแออัด | ||
พวกลูกสาวชาวร้านพานสันทัด | ทำเหยาะหยัดกิริยาท่าชาวกรุง | ||
พวกขมิ้นเหลืองจ้อยสอยไรจุก | มีแทบทุกหน้าถังบ้างเย็บถุง | ||
แต่ละหน้าหน้านวลชวนบำรุง | ใส่กลิ่นหอมฟุ้งสองฟากทาง | ||
นุ่งลายห่มสีไม่มีเศร้า | ผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวล่าง | ||
คนหนึ่งรูปขาวสาวสำอาง | ดูคล้ายนางคืนนี้เป็นนวลจันทร์ | ||
ครั้นเข้าใกล้แลเขม้นเป็นแต่แม้น | ไม่อ้อนแอ้นเหมือนนางที่ในฝัน | ||
ทั้งนมคล้อยหน่อยนึงจึงผิดกัน | นอกจากนั้นตะละอย่างต่างต่างไป | ||
นางนิมิตติดใจมิได้ลืม | ยิ่งป่วนปลื้มถึงฝันให้หวั่นไหว | ||
สู้เดินเมินหน้าไม่อาลัย | ล่วงตลาดเข้าไปในจวนพลัน ฯ | ||
๏ พระพิจิตรนั่งเล่นอยู่หอขวาง | เห็นคนเดินมาสล้างก็นึกหวั่น | ||
เอ๊ะข้าหลวงมาทำไมหลายคนครัน | ที่เดินหน้ามานั่นดังพระยา | ||
ครั้นดูไปจำได้ว่าขุนแผน | ดีใจลุกแล่นลงมาหา | ||
จูงมือขึ้นจวนชวนพูดจา | ขุนแผนวันทากับลูกชาย | ||
พระพิจิตรเรียกศรีบุษบา | ขุนแผนเขามาไปไหนหาย | ||
บุษบาเยี่ยมหน้าเห็นสองนาย | ยิ้มพรายออกมาด้วยดีใจ | ||
นั่งลงไต่ถามความทุกข์ยาก | แต่ไปจากแม่ได้แต่ร้องไห้ | ||
มิรู้ที่จะถามข่าวคราวใคร | ด้วยทางไกลเหลือไกลมิได้รู้ | ||
จะเป็นตายหายลับไปหลายปี | วันนี้แลหวังว่ายังอยู่ | ||
เห็นเจ้าเหมือนใครให้แก้วชู | ด้วยเอ็นดูเหมือนลูกจึงผูกใจ | ||
วันทองท้องแก่ไปแต่นี่ | คลอดง่ายดายดีหรือเจ็บไข้ | ||
ลูกเป็นชายหญิงอย่างกระไร | เดี๋ยวนี้อยู่ไหนไม่พามา ฯ | ||
๏ ขุนแผนเล่าความไปตามเรื่อง | เมื่อส่งไปจากเมืองก็สุขา | ||
เขาผ่อนปรนจนถึงอยุธยา | โปรดประทานโทษาไม่ฆ่าตี | ||
เป็นความกับขุนช้างก็ชนะ | ลูกไปอยู่บ้านพระจมื่นศรี | ||
เผอิญกรรมตามซัดวิบัติมี | ไปเห็นชั่วเป็นดีไม่ควรการ | ||
ให้ทูลขอลาวทองต้องติดคุก | ทนทุกข์โทษแทบถึงประหาร | ||
วันทองท้องแก่เหลือกันดาร | ทรมานว้าเหว่อยู่เอกา | ||
อ้ายขุนช้างบังอาจฉุดเอาไป | ไม่มีผู้ใดจะตามว่า | ||
จนคลอดลูกชายคนนี้มา | ชันษาเจ้าได้ถึงสิบปี | ||
มันจะเอาไปฆ่าในป่ใหญ่ | พลายช่วยไว้ได้ไม่เป็นผี | ||
หนีไปอยู่บ้านกาญจน์บุรี | แม่ทองประศรีเลี้ยงไว้ให้เรียนรู้ | ||
พอมีศึกเจ้าสะอึกเข้าอาสา | แต่ตัวข้ายังติดคุกอยู่ | ||
จึงเป็นเหตุให้พระองค์ทรงเอ็นดู | ได้ช่องคูทูลขอพ่ออกมา | ||
ก็โปรดให้พลายงามด้วยความชอบ | รับสั่งมอบการศึกให้รักษา | ||
ประทานคนโทษที่มีวิชา | สามสิบห้าลูกหาบเจ็ดสิบคน | ||
ที่มานี่จะยกไปเชียงใหม่ | ไปจับอ้ายลาวตีให้ปี้ป่น | ||
นึกถึงคุณปกเกล้าเมื่อคราวจน | จึงแวะวนเข้ามนมัสการ ฯ | ||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบุษบา | ฟังขุนแผนว่าน่าสงสาร | ||
อนิจจาเคราะห์ร้ายแทบวายปราณ | นมนานน้อยหรือแต่ทนทุกข์ | ||
นี่หากลูกยากล้าทูลขอ | หวังจะแทนคุณพ่อสู้บั่นบุก | ||
หาไม่ก็จะตายอยู่ในคุก | เจ้าให้พ่อเป็นสุขมิเสียแรง | ||
ผัวเมียชอบอารมณ์ชมเปาะ | หน้าตาเหมาะเจาะใจกล้าแข็ง | ||
ชาติทหารเหมือนพ่อไม่ย่อแยง | ดูกล้องแกล้งนึกรักเฝ้าทักทาย | ||
แค้นใจแต่ท้องบุษบา | เป็นผู้หญิงเสียข้าขันใจหาย | ||
คิดคิดขึ้นมาน่าเสียดาย | ถ้าแม้นชายจะให้ไปด้วยพลัน | ||
ว่าพลางทางร้องเรียกลูกสาวมา | ศรีมาลาเอ๋ยนั่งทำไมนั่น | ||
ออกมาหาพี่ชายอย่าอายกัน | ศรีมาลาหวั่นหวั่นแล้วแอบมอง | ||
พี่เชื้อมาแต่ไหนไม่รู้จัก | ค่อยค่อยผลักบานประตูดูตามช่อง | ||
เห็นหนุ่มน้อยหน้านวลชวนคะนอง | สองคนพ่อลูกประหลาดตา | ||
อีเม้ยรับขยับเข้ายืนชิด | มือสะกิดเย้าเยาะหัวเราะว่า | ||
นั่นเป็นไรใครบนเทวดา | อีเม้ยทายแล้วว่าอย่าไม่ผิดคำ | ||
ศรีมาลาว่าชิอีขี้เค้า | ว่าได้ว่าเอาไม่เป็นส่ำ | ||
ขืนว่าแล้วจะด่าให้ระยำ | ค้อนควักหน้าคว่ำแล้วยิ้มเมิน | ||
พอพระพิจิตรเรียกซ้ำมา | ขานเจ้าขาค่อยเยี่ยมเฟี้ยมแฝงเขิน | ||
นางอุทัจอัดใจมิใคร่เดิน | ก้มสะเทินทรุดนั่งบังมารดา | ||
ยกมือไหว้ขุนแผนกับพลายงาม | ให้วาบหวามอารมณ์แล้วก้มหน้า | ||
พลายงามรับไหว้ชายแลมา | พอสบตาก็ตะลึงตะลานใจ | ||
คนนี้แลแน่แล้วที่เราฝัน | รูปโฉมโนมพรรณหาผิดไม่ | ||
น้องเอ๋ยรูปร่างช่างกระไร | ถึงนางในกรุงศรีไม่มีเทียม | ||
ดังพระจันทร์วันเพ็ญเมื่อผ่องผุด | บริสุทธิ์โอภาสสะอาดเอี่ยม | ||
สองแก้มแย้มเหมือนจะยั่วเรียม | งามเงี่ยมราศีผู้ดีจริง | ||
ทั้งจริตกิริรยามารยาท | ดูฉลาดไว้วางอย่างผู้หญิง | ||
อ่อนชะอ้อนเหมือนจะวอนให้ประวิง | จะยิ้มพรายก็พริ้งยิ่งเพราตา | ||
ดูไหนไม่ขัดแต่สักอย่าง | นี่คู่สร้างของเรากระมังหนา | ||
พอแลลอดสอดรับจับนัยน์ตา | ดังว่าเจ้าจะตัดเอาหัททัย | ||
หญิงอื่นหมื่นแสนที่เคยเห็น | ก็หาจับใจเป็นเช่นนี้ไม่ | ||
ถ้าแม้นได้ร่วมรักสักอึดใจ | จะตายไปก็ไม่คิดสักนิดเดียว | ||
นึกพลางเจ้าพลายร่ายพระเวท | ประสบเนตรเป่าไปให้ซ่านเสียว | ||
ศรีมาลาต้องมนตร์ขนลุกเกรียว | ชำเลืองเหลียวแลมาประหม่าใจ | ||
พอสบเนตรให้สะท้านละลานจิต | ยิ่งต่อตายิ่งคิดพิสมัย | ||
อกอ่อนร้อนรุ่มดังสุมไฟ | ไม่อยู่ได้นางก็ลาเข้ามาเรือน | ||
แอบช่องมองดูอยู่ข้างใน | ยิ่งเพ่งพิศพาใจอาลัยเลื่อน | ||
ความรักมีแต่ชักกระตุ้นเตือน | ฟั่นเฟือนดังจะคลั่งตั้งตามอง | ||
ชะชายคนนี้มิเสียแรง | ดังหนึ่งแกล้งหล่อเหลาไม่เศร้าหมอง | ||
ดูเนื้อตัวหน้าตาดังทาทอง | ไม่ขัดข้องสวยสมช่างคมคาย | ||
รู้สึกตัวนึกอายระคายเขิน | ไถลเดินเลยเข้าในห้องหาย | ||
อีเม้ยยิ้มกริ่มตามไปถามนาย | วันนี้ดูไม่สบายเป็นอย่างไร | ||
ออกไปไหว้พี่มาแต่กรุง | แล้ววิ่งกลับเข้ามุ้งเหมือนเป็นไข้ | ||
หรือผีสางทักทายนายตกใจ | ฉันจะบนบวงให้กบาลกิน | ||
ผีมาแต่กรุงหรือบ้านนอก | อย่าหลอนหลอกจงคลายให้หายสิ้น | ||
ขอผัดหน่อยคอยตะวันให้ตกดิน | ปัดยุงริ้นแล้วจะเซ่นในมุ้งนี้ | ||
ศรีมาลาต่อยหัวลงต้ำเหงาะ | เฝ้าค่อนเคาะร่ำไปไม่บัดสี | ||
นี่แลสัญชาติไพร่ที่ไหนมี | เซ่นผีในมุ้งมอญจัญไร | ||
เย้ากันจนตะวันนั้นเย็นลง | ศรีมาลายิ่งพะวงหลงใหล | ||
บุษบาเห็นช้าจึงเกริ่นไป | เป็นอย่างไรสำรับไม่จัดแจง | ||
ศรีมาลาฟังว่าก็ลุกไป | ช่วยดูแลข้าไทให้ตกแต่ง | ||
จัดสำรับอุดมทั้งต้มแกง | ฝาชีแดงปิดปกแล้วยกมา | ||
นางยกชามข้าวบ่าวยกสำรับ | ใจวับวับมิค่อยออกไปนอกฝา | ||
ครั้นถึงจัดวางข้างบิดา | ไม่อาจเงยดูหน้าเจ้าพลายงาม | ||
พระพิจิตรก็ชวนกันกินข้าว | เจ้าพลายร้อนเร่าประหวั่นหวาม | ||
ตะลึงแลศรีมาลาคว้าแต่ชาม | กลืนข้าวเหมือนหนามอยู่ในคอ | ||
กลัวเนื้อความจะฟุ้งสะดุ้งคิด | เหลือบดูพระพิจิตรแล้วดูพ่อ | ||
พระพิจิตรรู้ทีทำตัดพ้อ | อย่างไรหนอกินอยู่ดูระคาง | ||
กินอะไรไม่อร่อยหรือพ่อหรือ | ชาวเหนือฝีมือไม่เหมือนล่าง | ||
รสชาตปิ้งจี่มันจืดจาง | หัวเราะพลางหยอกเย้าเจ้าพลายงาม | ||
แล้วจึงชักชวนทั้งสองนาย | ค้างที่นี่เถิดสบายอย่าเกรงขาม | ||
บ้านมีอยู่ไยในอาราม | มาอยู่ตามชอบใจในหอนั้น | ||
อิ่มเสร็จแล้วสั่งศรีมาลา | ให้จัดแจงฟูกผ้าทุกสิ่งสรรพ์ | ||
ที่นอนน้อยกำมะหยี่นุ่นสองอัน | เสื่ออ่อนสองชั้นจัดออกมา ฯ | ||
๏ ขุนแผนถามพระพิจิตรพลัน | สีหมอกนั้นอยู่ดีหรือเจ้าขา | ||
พระพิจิตรบอกว่าสีหมอกม้า | อยู่ดีแต่ชราถนัดใจ | ||
เนื้อหนังพาลติดจะเหี่ยวคร่ำ | อันหญ้าน้ำค่ำเช้าหาขาดไม่ | ||
ข้าก็ช่วยเยี่ยมเยียนเวียนมาไป | เกณฑ์ให้อ้ายจันมันเลี้ยงดู | ||
ขุนแผนจึงชวนลูกชายพลัน | ไปเยี่ยมม้าด้วยกันเสียสักครู่ | ||
ว่าพลางทางออกนอกประตู | ตรงไปที่อยู่สีหมอกม้า | ||
อ้ายจันครั้นเห็นยกมือไหว้ | ฉันเลี้ยงไว้อ้วนพีดีหนักหนา | ||
พ่อลูกเข้าไปใกล้อาชา | ขุนแผนเสกหญ้าให้ม้ากิน ฯ | ||
๏ สีหมอกม้าหญ้ามนตร์เข้าดลใจ | จำได้รู้ภาษาพูดจาสิ้น | ||
ลงตีนโปกโปกโขกแผ่นดิน | เพียงจะดิ้นหลุดแหล่งด้วยดีใจ | ||
เลียชมดมทั่วทั้งกายา | ขุนแผนกอดม้าน้ำตาไหล | ||
ลูบหลังสีหมอกแล้วบอกไป | ข้านี้ต้องราชภัยเพิ่งพ้นมา | ||
ไปติดคุกจนลูกทูนขอโทษ | ท่านปล่อยโปรดจึงได้มาเห็นหน้า | ||
เจ้าพลายนี้ลูกวันทองน้องยา | ที่ท่านรับบุกป่ามากับเรา | ||
สีหมอกฟังเหลียวหน้าหาวันทอง | ไม่เห็นน้องอยู่ไหนให้สร้อยเศร้า | ||
มิรู้ที่จะถามความหนักเบา | เฝ้าแต่ดูลูกพ่อคลอน้ำตา ฯ | ||
๏ ขุนแผนบอกว่าข้าจะไปทัพ | หมายจะรับไปด้วยช่วยอาสา | ||
เพราะได้เคยเห็นใจแต่ไรมา | จะไปได้หรือว่าท่านหย่อนแรง | ||
สีหมอกดีใจจะไปทัพ | เต้นหรับร้องร่าดัดขาแข้ง | ||
ดังบอกว่าข้าจะไปอย่าได้แคลง | ขุนแผนแจ้งท่วงทีก็ดีใจ | ||
จึงเลือกเด็ดยอดหญ้ามาเต็มมือ | ถือเสกด้วยพระเวทมุขใหญ่ | ||
ป้อนม้ากินหญ้าในทันใด | ระงับโศกโรคภัยให้บรรเทา | ||
เดชะพระเวทวิเศษขลัง | สีหมอกมีกำลังขึ้นดังเก่า | ||
ผูกเครื่องเรืองอร่ามงามเพริศเพรา | ขุนแผนขี่เหยาะเหย่าออกมาพลัน | ||
ลองขับน้อยใหญ่ทั้งไล่หนี | ท่วงทีไวว่องคล่องขยัน | ||
ถึงม้าหนุ่มจะเปรียบไม่เทียบทัน | สารพันถูกทำนองด้วยว่องไง | ||
ขุนแผนดีใจลงจากหลัง | เรียกอ้ายจันมาสั่งหาช้าไม่ | ||
เอ็งดูให้อิ่มหนำสำราญใจ | จะขี่ไปในรุ่งพรุ่งนี้เช้าฯ | ||
๏ ครั้นสั่งแล้วขุนแผนแสนศักดา | เรียกลูกชายมาแถลงเล่า | ||
พ่อเกรงว่าช้าอยู่เหมือนดูเบา | เราจะยกในรุ่งขึ้นพรุ่งนี้ | ||
ด้วยปลอดสิ้นทักทอนยมขัน | เป็นฤกษ์เสาร์เก้าชั้นวิเศษศรี | ||
มีตบะจะชนะแก่ไพรี | เจ้านี้จะเห็นเป็นอย่างไร | ||
พลายงามความอาลัยศรีมาลา | ไม่รับมาว่าจะจากพิจิตรได้ | ||
จะแจ้งข้อกลัวพ่อไม่ตามใจ | จึงแก้ไขเบือนบิดคิดเจรจา | ||
ว่าไพร่พลบอบช้ำระกำอก | จะด่วนยกไปไหนนี่เจ้าขา | ||
ขอให้ไพร่พักสักเวลา | พอหายเหนื่อยเมื่อยล้าจึงคลาไคล | ||
ขุนแผนว่าดูเอาเถิดเจ้าพลาย | จะหยุดหาความสบายก็เป็นได้ | ||
การรับสั่งว่ายากลำบากไย | ที่ไหนจะเหมือนบ้านเรือนตน | ||
เจ้าพลายงามตอบว่าหามิได้ | ลูกจะใคร่ปลุกเครื่องอีกสักหน | ||
ด้วยยังหย่อนฤทธิ์เดชทั้งเวทมนตร์ | ขอพักพลปลุกเครื่องเสียสักนิด | ||
ขุนแผนว่าถ้าไปเสียให้ทัน | พรุ่งนี้เป็นวันมหาสิทธิ์ | ||
จะปลุกเครื่องก็เรืองอิทธิฤทธิ์ | ประกอบกิจกับฤกษ์ที่เบิกไพร | ||
อันพิธีในเรื่องปลุกเครื่องอาน | ทำในบ้านไม่เหมือนในป่าใหญ่ | ||
ด้วยบ้านเมืองผู้คนเกลื่อนกล่นไป | จะระงับดับใจไม่สู้ดี | ||
เจ้าพลายว่าป่าไม้จะปลุกฤทธิ์ | ไม่ประสิทธิ์เหมือนหนึ่งป่าช้าผี | ||
อยู่ในพาราป่าช้ามี | ก็เป็นที่สงัดเงียบปากคอ | ||
ขุนแผนรู้ว่าบิดก็คิดเคือง | เอ็งห่วงเมืองอยู่ทำไมไฉนหนอ | ||
ธุระสิ่งไรมีจะรีรอ | พ่อพูดมิฟังช่างกระไร | ||
พลายงามคร้ามพ่อไม่ต่อเถียง | พูดเลี่ยงว่าธุระหามีไม่ | ||
แล้วพ่อลูกก็พากันคลาไคล | ขึ้นจวนใหญ่พลายน้อยคะนึงนาง | ||
ขุนแผนพลายงามพระพิจิตร | ชอบชิดพูดจากันต่างต่าง | ||
ถึงเรื่องรบพุ่งแลทุ่งทาง | พูดพลางต่างหัวร่อกันเรื่อยไป ฯ | ||
๏ ครั้นสิ้นแสงสุริยนสนธยา | พระจันทราแย้มเยี่ยมเหลี่ยมไศล | ||
เคลื่อนคล้อนลอยฟ้านภาลัย | หมดเมฆปัถไหมไม่หมองมอม | ||
พระพายพามาลาละอองกลิ่น | รวยรินรสร่อนขจรหอม | ||
ศรีมาลาอาวรณ์นอนใจตรอม | ถนอมแนบหมอนข้างเคียงคะนึง | ||
โอ้พ่อพลายงามของน้องเอ๋ย | ใครเลยจะเอ็นดูให้รู้ถึง | ||
ว่าน้องนี้มีจิตคิดรำพึง | ดังศรตรึงทรวงโศกวิโยคคิด | ||
พ่อชายตามาสบเมื่อน้องแล | จะรู้แน่หรือจะแหนงแคลในจิต | ||
ดูลาดเลาเจ้าก็ใคร่จะเป็นมิตร | หรือวิปริตคิดว่าไม่ปรานี | ||
อกน้องยากนักด้วยเป็นหญิง | ต้องซ่อนรักหนักนิ่งอยู่กับที่ | ||
แม้นเป็นชายพ่อพลายเป็นสตรี | ค่ำวันนี้เป็นตายจะหมายไป | ||
นึกพลางนางนอนสะท้อนท้อ | น้ำตาคลอมิใคร่จะเคลิ้มได้ | ||
ให้เฟื่องฟุ้งพลุ่งพล่านรำคาญใจ | นึกอาลัยไปจนหลับกับที่นอน ฯ | ||
๏ พระพิจิตรขุนแผนพลายงาม | พูดกันจนยามไม่หยุดหย่อน | ||
พระพิจิตรว่าเช้าเจ้าจะจร | จงพักผ่อนเสียเถิดทั้งสองรา | ||
ว่าแล้วก็ลุกไปเข้าเรือน | พลายงามฟั่นเฟือนเป็นหนักหนา | ||
ชวนพ่อเข้านอนวอนพูดจา | คุณพ่อขานี่ดึกแล้วกระมัง | ||
ฉันวันนี้อย่างไรไม่สบาย | ระส่ำระสายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยสันหลัง | ||
จะนอนเสียแต่หัวค่ำเอากำลัง | จะได้ตั้งหน้ายกแต่เช้าไป ฯ | ||
ขุนแผนนึกในใจไอ้เจ้าชู้ | มันสำคัญว่ากูหารู้ไม่ | ||
กรรมกรรมเจียวจะทำเป็นอย่างไร | มันจะแกล้งให้ผู้ใหญ่ผิดใจกัน | ||
คิดแล้วก็ทำเป็นมารยา | หลับตานอนนิ่งไม่พลิกผัน | ||
คอยจับแยบคายลูกชายนั้น | ไม่วางใจให้หวั่นในอารมณ์ ฯ | ||
๏ เจ้าพลายก่ายหมอนทำนอนนิ่ง | สุดประวิงอกไหม้ไส้พุงขม | |||
กำเริบรักหนักแน่นแสนระทม | โอ้เจ้านมพวงพี่ศรีมาลา | |||
ป่านนี้เนื้ออ่อนจะนอนสนิท | หรือดวงจิตจะนึกเสนหา | |||
ดูทีเหมือนจะมีซึ่งเมตตา | แต่ทว่าเป็นหญิงก็นิ่งไว้ | |||
อันความรักหนักแน่นในอกพี่ | ข้อนี้เจ้ารู้หรือหาไม่ | |||
แม้นรู้เค้าเจ้าก็เห็นจะอาลัย | คงมิให้เสียทีพี่หมายชิด | |||
เขาย่อมว่าถ้ามีมิตรใจ | แล้วคงไม่สาบสูญมิตรจิต | |||
พี่รักเจ้าเทียมเท่าดวงชีวิต | นี่จะคิดฉันใดให้เป็นการ | |||
จะวนเวียนเพียรพูดให้ถึงปาก | ก็สุดยากเชิงชักสมัครสมาน | |||
ด้วยพรุ่งนี้ก็จะไปไม่อยู่นาน | จะพึ่งพานผู้ใดก็ไม่มี | |||
ถ้าจะไว้สู่ขอต่อขากลับ | เห็นตัวพี่นี้จะยับลงเป็นผี | |||
ด้วยความรักหนักใจเสียเต็มที | จะทวีขึ้นทุกวันจนบรรลัย | |||
จำจะคิดเข้าสนิทให่สมนึก | จึงจะคิดทำศึกต่อไปได้ | |||
แม้นมิได้ศรีมาลายาใจ | ซึ่งจะไปเชียงใหม่อย่าสงกา | |||
ตามแต่บุญกรรมเถิดน้องแก้ว | คนหลับแล้วจะลอบเข้าไปหา | |||
ถ้าแม้นแก้วพี่มิเมตตา | ก็ตามแต่เวราจะเป็นไป | |||
ยิ่งนึกยิ่งตรมอารมณ์หมอง | แสงเดือนเด่นส่องสว่างไสว | |||
น้ำค้างพร่างพร้อยละห้อยใจ | เสียงไก่แก้วขันกระชั้นยาม | |||
ฟังพ่อรอหูดูจนใกล้ | ไม่ไว้ใจแคลงคลำแล้วทำถาม | |||
ขุนแผนรู้แยบคายเจ้าพลายงาม | ไม่ตอบความนิ่งอยู่จะดูที | |||
เจ้าพลายสำคัญว่าพ่อหลับ | ค่อยขยับลุกย่องมาจากที่ | |||
พอออกนอกห้องได้ก็ยินดี | หมายว่าหนีพ้นพ่อรอบังเงา ฯ | |||
๏ ขุนแผนลุกมองแล้วย่องตาม | พอทันถามออกมาทำไมเจ้า | |||
พลายงามแก้เก้อละเมอเดา | ฉันจะออกไปเบาที่นอกชาน | |||
วันนี้มันให้ปวดแต่ท้องเยี่ยว | หลายเที่ยวแล้วด้วยกล่อนมันสังหาร | |||
จะปลุกพ่อขอยารับประทาน | ขุนแผนว่าไม่ได้การแล้วเจ้าพลาย | |||
อ้ายโรคกล่อนเช่นนี้มันขี้ถ่อย | หมอสักร้อยรักษาก็ไม่หาย | |||
ว่าพลางทางจูงมือลูกชาย | ย่างกรายเข้าห้องต้องระวัง ฯ | |||
๏ เจ้าพลายงามขัดใจไม่เป็นสุข | ล้มนอนแล้วลุกทะลึ่งนั่ง | |||
แค้นพ่อเหมือนหัวอกจะฟกพัง | กระไรช่างแกล้งได้ไม่เมตตา | |||
เป็นไรมีดีแล้วว่าไม่หลับ | จะคอยจับให้ได้ก็ไม่ว่า | |||
พลางร่ายมนตร์ขลังสั่งนิทรา | ตั้งสมาธิปลงตรงภวังค์ | |||
เป่าต้องขุนแผนแสนสนิท | ก็เคลิ้มจิตด้วยพระเวทวิเศษขลัง | |||
หลับสนิทแน่วนิ่งลงจริงจัง | พลายงามสมหวังสิ้นอาวรณ์ | |||
ขยับเท้าก้าวย่างออกจากห้อง | พระจันทร์ส่องแสงจำรัสประภัสสร | |||
พระพายพัดบุปผาพาขจร | รวยรินรสอ่อนระรื่นไป ฯ | |||
๏ มาถึงเรือนที่ศรีมาลาอยู่ | แอบบังเงาดูด้วยสงสัย | |||
หลังนี้ดอกกระมังยืนชั่งใจ | แสงไฟวับวามตามตะเกียง | |||
คิดพลางทางร่ายมนตร์สะกด | หลับหมดเงียบดีไม่มีเสียง | |||
สะเดาะกลอนถอนหลุดแล้วมองเมียง | เลี่ยงเข้าในห้องย่องเดินมา | |||
อัจกลับตามวางกระจ่างแสง | เจ้าตกแต่งเครื่องเรือนไว้หนักหนา | |||
เครื่องแป้งจัดตั้งไว้หลังม้า | ขันล้างหน้าพานรองของผู้ดี | |||
เครื่องนากเครื่องทองสองสำรับ | เรียงลำดับวางไว้เป็นที่ที่ | |||
โถขี้ผึ้งแป้งร่ำน้ำมันตานี | โต๊ะหวีตั้งเรียงไว้เคียงกัน | |||
โตกพานหีบปัดจัดตั้งซ้อน | ทั้งผ้าผ่อนพับเรียบทุกสิ่งสรรพ์ | |||
เครื่องไหว้พระนั้นจัดอัฒจันทร์ | คันฉ่องแกะงาเป็นหน้าพรหม | |||
กระจกใหญ่ใส่ตั้งทั้งไม้สอย | อุบะห้อยรื่นรวยดูสวยสม | |||
สะอาดสะอ้านลานตาน่านิยม | พลางชมม่านกางข้างที่นอน | |||
พื้นไหมใส่ทองเป็นลายปัก | น่ารักรูปร่างบางชะอ้อน | |||
ปักระเด่นเป็นไข้ใจอาวรณ์ | ทุรนร้อนรักนุชบุษบา | |||
เอาไฟเผาเข้าลักพระน้องนาฎ | โอบอุ้มใส่ราชรถา | |||
ระเด่นแกล้งแปลงเป็นจรกา | ปักเป็นบุษบาเจ้าจาบัลย์ | |||
๏ พระรีบเร่งชักรถถึงคีรี | เข้าสู่ถ้ำมณีภิรมย์ขวัญ | |||
สองกษัตริย์เชยชมสมสู่กัน | พอรุ่งแสงสุริยันก็จากนาง | |||
เข้ามาเมืองจะเปลื้องความสงสัย | สั่งพี่เลี้ยงไว้มิให้ห่าง | |||
ผลกรรมจำจากจะพรากร้าง | เผอิญข้างนางนึกนิยมไป | |||
ออกทรงรถชมพรรณบุปผา | ปักปะการะตาหลาอันเป็นใหญ่ | |||
ให้ลมเพชรหึงลั่นสนั่นไพร | พัดพาอรไทไปทั้งรถ | |||
ครั้นไกลไปตกกลงกลางป่า | บุษบายิ่งแสนโศกกำสรด | |||
คิดถึงพระองค์ผู้ทรงยศ | นางระทดระทวยแทบทำลายชนม์ | |||
ปักเป็นระเด่นเที่ยวตามหา | ค้นคว้าจบแหล่งทุกแห่งหน | |||
พระวงศาแยกย้ายหลายตำบล | แปลงตนเป็นปันจุเหร็จไพร | |||
ฉลาดนักปักงามนี้น้อยหรือ | ช่างฟัดครือเรื่องพี่หาผิดไม่ | |||
อันองค์บุษบายาใจ | พิเคราะห์ไปเหมือนเจ้าศรีมาลา | |||
อันอกของระเด่นมนตรี | เหมือนอกพี่นี่ที่โหยหา | |||
คล้ายระเด่นกับพระนุชบุษบา | แต่ไม่มีจรกาจึงผิดกัน | |||
ถ้าใครเป็จรกาเข้ามาแกล้ง | พี่ไม่แปลงอย่างเช่นระเด่นนั่น | |||
จะจิกหัวจรกาเอามาฟัน | แล้วสรวลสันต์ผันแปรแลชำเลือง | |||
เตียงจีนตีนตั้งบนตัวสิงห์ | ฉลุลายพรายพริ้งพร้อมทั้งเครื่อง | |||
แลวิจิตรปิดทองดูรองเรือง | มุ้งเหลืองแพรดอกกกระเด็นลอย | |||
หน้าระบายลายทับสลับสี | มุ้งผู้ดีมีแส้หางม้าห้อย | |||
เปิดมุ้งเมียงมองเห็นน้องน้อย | เจ้าหลับผ็อยเพ่งพิศจิตทะยาน | |||
พักตร์พริ้มเหมือนยิ้มอยู่ทั้งหลับ | ประทีปจับหน้านวลชวนสมาน | |||
เจ้านิทรามารยาทไม่มีปาน | ยิ่งคิดก็ยิ่งซ่านสวาทเตือน | |||
ค่อยประคองลองจูบเจ้าทั้งหลับ | หอมกระไรใจวับขยับเขยื้อน | |||
พอต้องเต้าตัวสั่นให้ฟั่นเฟือน | ค่อยลูบเลื่อนโลมเล้าละลานใจ | |||
จับแล้ววางเล่าเฝ้ากลัดกลุ้ม | ด้วยรุ่นหนุ่มชู้สาวหาเคยไม่ | |||
จะปลุกนางกลัวร้องย่องห่างไป | คลายเวทแล้วก็ไอให้สำเนียง ฯ | |||
๏ ครานั้นศรีมาลานารี | รู้สึกสมประดีได้ยินเสียง | |||
ลืมตาเห็นชายอยู่ปลายเตียง | เจ้ามองเมียงจำได้ว่าพลายงาม | |||
นึกสำคัญในจิตคิดว่าฝัน | ไม่หวาดหวั่นยิ้มแล้วก็ทักถาม | |||
นึกอย่างไรใจกล้าเข้ามาตาม | จะเกิดความงามหน้าพากันอาย | |||
เจ้าพลายได้ฟังเข้านั่งอิง | นางรู้ว่าคนจริงมิ่งขวัญหาย | |||
ตกใจเพียงจะดิ้นสิ้นใจตาย | ร้องว้ายแล้วก็ซบสลบไป ฯ | |||
๏ อีเม้ยรับหลับอยู่ที่เฉลียง | ได้ยินเสียงนายร้องก็จำได้ | |||
ลุกขึ้นด้วยตระหนกตกใจ | เข้าในห้องมองเมียงถึงเตียงพลัน | |||
เห็นเจ้าหนุ่มอุ้มนางวางบนตัก | รู้จักว่าเจ้าพลายที่หมายมั่น | |||
ก็แจ้งใจในเหตุปัจจุบัน | มาฉวยขันน้ำส่งให้เจ้าพลาย | |||
พ่อเอาผ้าชุบน้ำนี้ลูบหน้า | ลูบไล้ไปมากว่าจะหาย | |||
แล้วปลอบโยนตามใจให้สบาย | ถ้าขืนใจแล้วจะตายในพริบตา | |||
ว่าแล้วปิดห้องย่องกลับไป | อีเม้ยยิ้มละไมอยู่ในหน้า | |||
คอยดูผู้คนจะไปมา | ด้วยสงสารศรีมาลากับพลายงาม ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงท่านพระพิจิตร | หลับสนิทเสียงลูกตกใจหวาม | |||
จะเกิดเหตุอะไรไม่รู้ความ | จึงร้องถามอีเม้ยเฮ้ยเป็นไร | |||
กูแว่วเหมือนเสียงศรีมาลา | มึงลืมตาขึ้นฟังมั่งหรือไม่ | |||
อีเม้ยเอ่ยตอบไปทันใด | นายท่านเรียกฉันไปให้ปัดยุง | |||
ปัดไปปัดมาไม่ทันดู | จิ้งจกมันอยู่ที่ในอุ้ง | |||
ฉันปัดมันพลัดลงจากมุ้ง | ถูกพุงเธอจึงร้องออกก้องเรือน | |||
พระพิจิตรว่าดูอีมอญถ่อย | สักหน่อยอ่อนจะเลยเป็นกลากเกลื้อน | |||
บุษบาว่าฉันก็ได้เตือน | มันไม่เชือนดูแลแต่กลางวัน ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าขุนแผนอยู่หอนั่ง | สะดุ้งฟื้นตื่นฟังใจหวั่นหวั่น | |||
ออพลายหายแล้วไม่แคล้วกัน | อ้ายขี้เค้าคงถลันไปเข้ามุ้ง | |||
อ้ายลูกเจ้ากรรมมาทำเข็ญ | พรุ่งนี้ทีเห็นจะเกิดยุ่ง | |||
แต่ตริตรองแก้ไขสิ้นไส้พุง | คืนยังรุ่งไม่ระงับหลับนอน ฯ | |||
๏ ครานั้นนารีศรีมาลา | ค่อยฟื้นตื่นมายังเหนื่อยอ่อน | |||
ได้สติลืมตาด้วยอาวรณ์ | เห็นเจ้าพลายกอดช้อนไว้ทั้งตัว | |||
มือหนึ่งลูบน้ำชดลมหน้า | นางประหม่าขนพองสยองหัว | |||
ใจเต้นหวามหวามด้วยความกลัว | ยังมึนมัวมิรู้ที่จะหนีไป | |||
จึงค่อยเคลื่อนเลื่อนตัวลงจากตัก | ละอายนักนิ่งนอนถอนใจใหญ่ | |||
ค่อยกระดิกพลิกตัวเข้าข้างใน | เจ้าแกล้งหันหลังให้ไม่แลดู ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามทรามสวาท | ยังไม่อาจถามทักเป็นสักครู่ | |||
ด้วยอาการอย่างไรยังไม่รู้ | เห็นนอนอยู่ดิบดีค่อยมีใจ | |||
จึงหยิบพัดหางปลามารำเพย | น้องเอ๋ยนอนเถิดจะพัดให้ | |||
เมื่อตะกี้พี่วิตกนี่กระไร | ถ้าบรรลัยพี่ชายจะตายตาม | |||
พี่บนบวงเทวดาคงมาช่วย | จึงรอดด้วยเทพไทมิได้ห้าม | |||
ท่านเอ็นดูโฉมฉายกับพลายงาม | เพราะเห็นความรักพี่มีต่อน้อง | |||
แต่แลพบสบตาเมื่อมาถึง | พี่เหมือนหนึ่งกับปลามาติดข้อง | |||
ทุรนร้อนรักรึงคะนึงปอง | ถ้าเจ้าไม่ปรองดองก็ถึงตาย | |||
เหลือที่พี่จะโศกโรครักร้าง | ช่วยรักษาพี่บ้างพอห่างหาย | |||
เชิญเจ้าผินหน้ามาหาพี่ชาย | พูดภิปรายพอให้พี่มีน้ำใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นนวลนางศรีมาลา | ได้ฟังวาจายิ่งรักใคร่ | |||
แต่หากมารยาแกล้งว่าไป | นี่อยากรู้ว่าใครให้เข้ามา | |||
เป็นผู้ดีช่างไม่มีอัชฌาสัย | ไม่เกรงใจพ่อแม่แต่สักหน้า | |||
รู้จักกันไม่ทันล่วงเวลา | จะมาฆ่าแท้แท้แก้ว่ารัก | |||
รักจริงนิ่งไยมิไปขอ | บอกแม่พ่อเป็นผู้ใหญ่ให้ประจักษ์ | |||
ล่วงเกินแล้วมาเชิญให้ทายทัก | นี่จะให้ใครสมัครไปทักทาย ฯ | |||
๏ อนิจจาแก้วตาช่างว่าได้ | ไม่เห็นใจหรือว่ารักสมัครหมาย | |||
พี่กล้ามาถึงตัวไม่กลัวตาย | ก็เพราะรักโฉมฉายกว่าชีวิต | |||
ถ้าสามารถอาจขอต่อพ่อแม่ | แน่แล้วพี่จะขอต่อพระพิจิตร | |||
ท่วงทีก็จะสมอารมณ์คิด | ท่านเป็นมิตรกับบิดามาช้านาน | |||
เมื่อนั่งกินข้าวเย็นเห็นหรือเปล่า | ท่านหยอกเย้าพี่อย่างว่าลูกหลาน | |||
แต่สุดคิดเพราะติดราชการ | จะต้องคุมพวกทหารไปพรุ่งนี้ | |||
ถ้าร้างรักหักใจไปจากเจ้า | ทุกค่ำเช้าจะระทมดังตรมฝี | |||
คงบรรลัยไม่ทันเป็นไมตรี | ใช่ว่าพี่จงจิตจะคิดร้าย | |||
เพราะขัดขวางอย่างอื่นไม่คิดเห็น | จำเป็นจึงเข้ามาหาโฉมฉาย | |||
ถ้าเจ้าไม่ปรานีพี่ยอมตาย | ขอฝากกายไว้ในห้องของน้องรัก ฯ | |||
๏ ศรีมาลาฟังความพลายงามว่า | นางตรึกตราทุกสิ่งจริงประจักษ์ | |||
นึกถึงตัวกลัวอายยิ่งร้ายนัก | เหมือนชวนชักชายไว้ที่ในเรือน | |||
ถึงเพียงนี้แล้วที่ไหนจะไปจาก | ยากที่จะผลัดวันประกันเลื่อน | |||
ทั้งใจนางความรักก็ตักเตือน | จึงลุกเบือนหน้าค้อนเข้าพลายงาม | |||
อ้อชาวกรุงศรีเช่นนี้เจียว | ฉลาดเฉลียวลิ้นลมเป็นคมหนาม | |||
จะว่าไรแก้ไขได้ทุกความ | มิน่าหญิงวิ่งตามกันปรอปรอ | |||
ขึ้นมาถึงพิจิตรติดผู้หญิง | ครั้นติดทัพกลับนิ่งไม่สูขอ | |||
ไปทัพก็ไม่ไปไถลรอ | จนแม่พ่อหลับใหลเข้าในเรือน | |||
ไม่คบค้าก็ว่าจะบรรลัย | ชาวบ้านนอกที่ไหนใครจะเหมือน | |||
ถ้าหญิงใดใจเบาให้เจ้าเชือน | ไม่ถึงเดือนก็จะทิ้งวิ่งไปทัพ | |||
ปล่อยนางร้างเปล่าอยู่ข้างนี้ | ต้องให้คอยร้อยปีไม่มีกลับ | |||
ให้เสียตัวชั่วช้ำระกำยับ | เพราะสับปลับหลงเสน่ห์เล่ห์ชาวกรุง | |||
ฉันขอบคุณที่อุตส่าห์รักษาไข้ | ไปเสียเถิดพ่อไปจะใกล้รุ่ง | |||
ถ้าพ่อแม่รู้ความจะลามนุง | จะโกรธยุ่งไม่ได้ดังใจปอง ฯ | |||
๏ น้องเอ๋ยที่จะไปอย่าได้คิด | สิ้นชีวิตก็จะตายอยู่ในห้อง | |||
พี่ไม่ลวงหลอกดอกนะน้อง | จะครอบครองเป็นคู่อยู่จนตาย | |||
ปรานีพี่เถิดอย่าเฝ้าดื้อ | ได้ถูกถือแล้วเช่นนี้ไม่มีหน่าย | |||
ว่าพลางอิงแอบเข้าแนบกาย | เจ้าพลายจับต้องจะลองใจ ฯ | |||
๏ ศรีมาลาป้องปัดสะบัดเบี่ยง | เขาว่าแล้วยังเมียงเข้ามาใกล้ | |||
สัญญาว่าแต่ปากยากอะไร | อย่าด่วนได้นะจงยั้งตั้งใจคิด | |||
ถ้าจริงใจก็ให้ความสัตย์ก่อน | ให้แน่นอนภายหน้าว่าสุจริต | |||
เชื่อได้จึงจะปลงลงเป็นมิตร | ถ้าเบือนบิดอย่าสำรวยให้ป่วยการ ฯ | |||
๏ จริงจริงกระนั้นหรือน้องแก้ว | มันก็แล้วมิให้น้องต้องว่าขาน | |||
พี่จะให้ความสัตย์ปฏิญาณ | ขอบันดาลเทพยดาจงมาฟัง | |||
ถ้าพี่นี้ทิ้งขว้างร้างหย่า | ไม่เลี้ยงเจ้าศรีมาลาไปวันหลัง | |||
ขอให้มีอันเป็นเห็นจริงจัง | ลงนรกตกกระทั่งถึงโลกันต์ | |||
พี่ให้สัตย์ปฏิญญาณอย่างนี้แล้ว | น้องแก้วยังสงสัยหรือไรนั่น | |||
เชิญเจ้าช่วยรับรักพี่หนักครัน | จะหวาดหวั่นต่อไปไม่ต้องการ ฯ | |||
๏ เห็นแล้วหม่อมพี่ที่รักน้อง | คงปรองดองร่วมรักสมัครสมาน | |||
แต่ฉันยังเป็นไข้ให้สะท้าน | ขอผัดพอนานนานจะตามใจ | |||
เจ้าพลายรู้ใจไข้มารยา | ไม่รอช้ากอดรัดกระหวัดไขว่ | |||
ประจงจูบลูบลอดในสไบ | นางผลักไสอยู่จนพับกับที่นอน | |||
ทั้งหนุ่มสาวคราวแรกภิรมย์รัก | ไม่ประจักษ์เสนหามาแต่ก่อน | |||
กำเริบรักเหลือทนทุรนร้อน | พอร่วมหมอนก็เห็นเป็นอัศจรรย์ | |||
เหมือนเกิดพายุกล้ามาเป็นคลื่น | ครืนครืนฟ้าร้องก้องสนั่น | |||
พอฟ้าแลบแปลบเปรี้ยงลงทันควัน | สะเทือนลั่นดินฟ้าจลาจล | |||
นทีตีฟองนองฝั่งฝา | ท้องฟ้าโปรยปรายด้วยสายฝน | |||
โลกธาตุหวาดไหวในกมล | ทั้งสองคนรสรักประจักษ์ใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นนวลนางศรีมาลา | เสนหาพะวงหลงใหล | |||
แอบผัวเคียงข้างไม่ห่างไกล | เอาสไบซับเนื้อที่เหื่อนอง | |||
พัดพลางถามผัวกลัวอิดโรย | หิวโหยหรือข้าจะหาของ | |||
เจ้าพลายสวมสอดกอดประคอง | ได้แนบน้องเนื้อนิ่มพี่อิ่มทิพย์ | |||
กินอยู่ไม่ต้องกล่าวทั้งคาวหวาน | ขึ้นสวรรค์เห็นวิมานอยู่หวิบหวิบ | |||
ต่าคะนึงคลึงเคล้าเฝ้ากระซิบ | งุบงิบกันจนม่อยผ็อยหลับไป ฯ | |||
๏ จวนอรุณเรื่อฟ้านภาแผ้ว | ไก่แก้วขันเร่งปัจจุสมัย | |||
ศรีมาลาตื่นนอนถอนฤทัย | ด้วยจำใจจะต้องพรากจากผัวนั้น | |||
นางล้างหน้าทาแป้งแล้วหวีหัว | ค่อยขยับจับตัวผัวปลุกสั่น | |||
ตื่นเถิดจวนจะแจ้งแสงตะวัน | อยู่ด้วยกันช้าไปจะได้อาย | |||
เจ้าพลายตื่นฟื้นตัวมัวแต่จูบ | โลมลูบอยู่ใม่ใคร่จะผันผาย | |||
จะเหินห่างนางไปให้เสียดาย | ซังตายลุกมาล้างหน้าพลัน | |||
ศรีมาลามพาไปที่เครื่องแป้ง | ตกแต่งแป้งร่ำน้ำดอกไม้กลั่น | |||
เจือกระแจะปรุงประทิ่นกลิ่นจวงจันทน์ | นางจัดสรรให้ผัวแต่งตัวไป | |||
เจ้าพลายประแป้งแต่งตัวแล้ว | จะคลาดแคล้วสะท้อนถอนใจใหญ่ | |||
นั่งลงอุ้มนางวางตักไว้ | ยิ่งอาลัยยิ่งอนาถไม่อาจจร ฯ | |||
๏ ครานั้นนวลนางศรีมาลา | เจ้าโศกาสะอึกสอื้นอ้อน | |||
นึกได้เหลียวหน้ามาว่าวอน | คิดก่อนนะจะไปไกลจากน้อง | |||
เรื่องของเราผู้ใหญ่ไม่รู้ความ | ต้องคิดอ่านลากหนามไว้จุกช่อง | |||
พ่อไปเผื่อใครจะขอร้อง | อย่าให้ต้องขืนขัดคำบิดา | |||
ถึงน้องจะยากเข็ญเป็นอย่างไร | ก็คงจะเอาใจไว้รอท่า | |||
เสร็จราชการทัพจงกลับมา | อย่าเชือนช้าให้ม้วยด้วยตรอมใจ | |||
พลายงามความอาลัยใจละเหี่ย | ฟังเมียไม่กลั้นน้ำตาได้ | |||
พี่นี้เหลือที่จะห่วงใย | พี่จะไปบอกพ่อให้ขอน้อง | |||
ถึงกระไรให้ขอพอได้หมั้น | ป้องกันมิให้ใครเกี่ยวข้อง | |||
ถ้าหากว่าบิดาไม่ปรองดอง | ถึงจะต้องฟันคอมิขอไป | |||
อย่าวิตกหมกไหม้เลยน้องแก้ว | ไปแล้วพี่หาลืมปลื้มจิตไม่ | |||
เจ้าจงจำคำสัตย์ของพี่ไว้ | เสร็จศึกเมื่อไรจะรีบมา | |||
อย่าร้องไห้ไปนักจงฟังพี่ | พรุ่งนี้ใครเห็นจะผิดหน้า | |||
ว่าพลางทางช่วยเช็ดน้ำตา | แล้วจูบซ้ายย้ายขวาจะลาจร | |||
ศรีมาลาอาลัยใจจะขาด | นางมิอาจดูหน้าดังแต่ก่อน | |||
ผละผัวตัวเจ้าเข้าที่นอน | ลงแอบหมอนซ่อนหน้าโศกาลัย ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม | แลตามเมียขวัญให้หวั่นไหว | |||
รามรามจะใคร่ตามกลับเข้าไป | แต่จนใจจะกระจ่างสว่างฟ้า | |||
หักใจเดินออกมานอกห้อง | ค่อยค่อยย่องบังเงาเข้าริมฝา | |||
ถึงหอนั่งตั้งใจจะไสยา | เห็นบิดาตื่นอยู่ก็ตกใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | เห็นพลายงามถามว่ามาแต่ไหน | |||
เจ้าพลายทำเฉยเอ่ยตอบไป | ฉันปวดท้องลงบันไดไปที่เว็จ | |||
ขุนแผนว่าเว็จไหนในเมืองนี้ | ถึงกับมีเครื่องแป้งแต่งตัวเสร็จ | |||
หน้าตาทาแป้งเป็นเม็ดเม็ด | กูรู้เช่นเห็นเท็จอย่าหลอกลวง | |||
มาอยู่บ้านพระพิจิตรผู้บิดา | พระคุณท่านมีมาเป็นใหญ่หลวง | |||
เอ็งนี้จ้วงจาบละลาบละล้วง | บังอาจล่วงลูกท่านผู้มีคุณ | |||
หากว่าติดนิดหนึ่งด้วยการทัพ | หาไม่กูจะขับลงใต้ถุน | |||
ไม่ถูกหวายลายพร้อยก็เป็นบุญ | ทำวุ่นแล้วจะว่าประการใด ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามทรามสวาท | ฟังพ่อบริภาษหาเถียงไม่ | |||
คิดไปได้ทีก็ดีใจ | กราบไหว้ว่าลูกนี้ผิดจริง | |||
ด้วยความรักอักอ่วนเหลือกำลัง | ราวจะคลั่งจะใคล้ไปทุกสิ่ง | |||
มิรู้ที่จะสลัดตัดทิ้ง | ถ้าขืนนิ่งไปศึกนึกว่าตาย | |||
จะพึ่งบุญคุณพ่อช่วยขอสู่ | ก็ว่าจะไม่อยู่ตอนบ่าย | |||
คิดไปไม่ตลอดจะวอดวาย | จึงปีนป่ายเข้าห้องน้องศรีมาลา | |||
อ่อนก็เป็นมิตรจิตไม่แหนง | คุณพ่อก็เห็นแป้งที่ประหน้า | |||
ลูกได้ให้คำมั่นเป็นสัญญา | ว่าจะบอกบิดาให้ขอร้อง | |||
ถึงกระไรได้หมั้นพอกันเท็จ | การเบ็ดเสร็จไว้ว่าเมื่อขาล่อง | |||
คุณพ่อโปรดด้วยช่วยปรองดอง | จะได้คล่องอกใจไปราวี ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | นิ่งคิดใคร่ครวญดูถ้วนถี่ | |||
การทั้งปวงล่วงเลยถึงเเพียงนี้ | จะทิ้งไปไม่ดีเป็นเนรคุณ | |||
อองามก็หลงจนงงงวย | ไม่ช่วยไปข้างหน้าจะว้าวุ่น | |||
ตกกระไดพลอยโผนโจนตามบุญ | ทำเป็นหุนหันโกรธเจ้าพลายงาม | |||
อ้ายลูกนอกพ่อก่อความร้อน | เมื่อแต่ก่อนทำไมไม่ไต่ถาม | |||
เอาแต่ใจหนุ่มตะกรุมตะกราม | เกิดความแล้วมาง้อพ่อทำไม | |||
ถ้าไม่รักพระพิจิตรผู้บิดา | กูหาพักพูดจาให้มึงไม่ | |||
ลูกของท่านท่านรักดังดวงใจ | มึงทำให้เสียตัวเหมือนชั่วช้า | |||
ก็จะต้องแก้ไขเสียให้หาย | อย่าให้ท่านอับอายขายหน้า | |||
ถ้าวันหน้าทิ้งขว้างนางศรีมาลา | กูมิฆ่าอย่านับว่าเป็นชาย | |||
เจ้าพลายดีใจกราบไหว้พ่อ | ข้อนั้นมิให้มีที่เสียหาย | |||
ว่าพลางล้างหน้าทั้งสองนาย | แล้วเยื้องกรายออกมาอยู่หน้าเรือน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงนวลนางศรีมาลา | โศกาอาลัยใครจะเหมือน | |||
กอดหมอนถอนใจให้ฟั่นเฟือน | นอนแชเชือนจนเช้าเจ้าไม่ลุก | |||
อีเม้ยเห็นนายยังหายเงียบ | ค่อยย่องเกรียบไถลเข้าไปปลุก | |||
เห็นนายเฉยเลยทำเหมือนเป็นทุกข์ | ลงนั่งปุกแกล้งสะท้อนแล้วถอนใจ | |||
อนิจจาขัดสนช่างจนยาก | แต่จะหาใส่ปากมิใคร่ได้ | |||
ยังมาซ้ำฝันเห็นให้เป็นไป | ว่าเทพไทเธอมาเมื่อคืนนี้ | |||
กลับไปเมื่อใกล้จะสว่าง | ไปกลางทางเธออยากหมากบุหรี่ | |||
เบี้ยหอยแต่สักร้อยก็ไม่มี | จะเอาที่ไหนไปให้เทวดา | |||
นายตื่นจะต้องขึ้นค่าตัวใช้ | ด้วยสงสารเทพไทเป็นหนักหนา | |||
น่าเอ็นดูเธอสู้เหาะลงมา | ถ้านายไม่เมตตาจะเสียใจ ฯ | |||
๏ ศรีมาลาไม่อินังกำลังเฉย | ฟังอีเม้ยแก้ฝันไม่กลั้นได้ | |||
ลุกขึ้นมาต่อยหัวตัวจัญไร | ไม่มีเลือกเสือกไปเที่ยวล่วงรู้ | |||
มึงอย่าพูดมากปากสำรวย | มานั่งช่วยกันทำเสียสักครู่ | |||
ว่าพลางเจียนหมกแล้วจีบพลู | บุหรี่มีในตู้เอาแก้มัด | |||
เย็บกระทงประจงเจียนฝาชี | ใส่หมากพลูบุหรี่ที่นางจัด | |||
ทั้งของกินระหว่างทางอัตคัด | ใส่ขวดอัดผูกผ้าตราประทับ | |||
จัดเสร็จซ่อนใส่ในตะกร้า | แล้วเอาผ้าซ้อนซ้ำเป็นลำดับ | |||
เอ็งเอาไปให้ดีอีเม้ยรับ | ของคำนับเทวดาที่หามึง ฯ | |||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบุษบา | สั่งผู้คนจนเวลาสักโมงครึ่ง | |||
เบิกเสบียงเลี้ยงกันอึงคะนึง | ครั้นเสร็จจึงออกมาหาสองนาย | |||
พอนั่งลงบุษบาก็เรียกไป | ศรีมาลาเป็นไรไปไหนหาย | |||
พ่อแผนจะไปแต่ในงาย | สายแล้วสำรับไม่ยกมา | |||
อีเม้ยบอกไปใจคอหาย | ผงเข้าตานายเมื่อล้างหน้า | |||
ยังปวดแสบเต็มที่เห็นยี่ตา | บุษบาว่ามึงเป็นแต่เล่นลิ้น | |||
ทิ้งนายมานั่งตั้งสำออย | สักหน่อยตาอ่อนจะบวมปลิ้น | |||
ชาติอีมอญหน้าเป็นเห็นแก่กิน | น้ำขมิ้นไม่เอาไปหยอดตา ฯ | |||
๏ เจ้าพลายได้ฟังนั่งนึกขัน | อีคนนี้สำคัญมันหนักหนา | |||
คงรู้เห็นเป็นใจกับศรีมาลา | นึกหน้าได้แล้วเมื่อคืนนี้ | |||
ที่เข้าไปช่วยเหลือเมื่อนางแน่ | แล้วช่วยปดพ่อแม่เป็นถ้วนถี่ | |||
นิ่งนึกตรึกตรองเห็นช่องดี | ได้ทีบอกบุษบาพลัน | |||
คุณแม่แก้ผงเข้าตาช้ำ | ถ้าลืมตาในน้ำดีขยัน | |||
กระตุกหนังตาช่วยไปด้วยกัน | ทำอย่างนั้นก็จะหายระคายตา ฯ | |||
๏ บุษบาได้ฟังนั่งหัวร่อ | พ่อคุณอารีดีหนักหนา | |||
อีเม้ยมึงจำเอาตำรา | ไปบอกศรีมาลาเหมือนพ่อพลาย | |||
แล้วหันหน้ามาพูดกับขุนแผน | แม่นี้แค้นตัวเองมิรู้หาย | |||
มีลูกก็ไม่เห็นเป็นผู้ชาย | ยังเสียดายอยากได้ไว้สักคน ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | เห็นสบท่าตอบต่ออนุสนธิ์ | |||
ลูกได้พึ่งฝ่าเท้าเมื่อคราวจน | มีพระคุณเป็นพ้นคณนา | |||
แต่ตริตรองจะสนองพระคุณตอบ | คิดดูรอบคอบเป็นหนักหนา | |||
ยังไม่เห็นสิ่งใดในปัญญา | จนขึ้นมาถึงพิจิตรบุรี | |||
มาถึงก็รำพึงแต่เย็นวาน | เห็นการสมควรเป็นถ้วนถี่ | |||
คุณพ่อแม่ลูกชายนั้นไม่มี | อองามนี้ลูกจะยกให้ช่วงใช้ | |||
ให้แทนคุณต่างตัวทั้งแม่พ่อ | ตามแต่จะตีด่าหาว่าไม่ | |||
คุณพ่อจะเห็นเป็นอย่างไร | ใจเด็กก็สมัครรักฝ่าเท้า ฯ | |||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบิดา | ฟังว่าเต็มใจให้ลูกสาว | |||
ยิ้มแล้วตอบความตามเรื่องราว | อย่าต้องกล่าวอุปไมยไปเป็นเพลง | |||
เจ้าว่าข้าก็เห็นว่าเป็นมิตร | ที่จริงจิตคิดดูก็เหมาะเหม็ง | |||
แต่เป็นชาวบ้านนอกยังออกเกรง | ลูกข้าเองมันไม่สู้รู้อะไร | |||
เป็นแต่คนซื่อซื่อไม่ดื้อดึง | จะเอาถึงชาวกรุงนั้นไม่ได้ | |||
ฉวยวันหน้าถ้าลูกไม่ถูกใจ | เจ้าจะทำฉันใดอย่าให้อาย ฯ | |||
๏ ขุนแผนนบนอบตอบพระพิจิตร | ข้อนั้นลูกก็คิดเป็นเหลือหลาย | |||
เอาทานบาดคาดทานบนจนออพลาย | หายวิตกแล้วลูกจึงพูดจา | |||
อันเช่นศรีมาลานารี | ถึงในที่กรุงศรีก็สุดหา | |||
ทั้งรูปร่างท่วงทีกิริยา | พอลูกมาเห็นลูกก็ถูกใจ | |||
ถึงอองามจะเป็นเจ้าพระยา | แขกไปใครมาก็รับได้ | |||
ทั้งตัวลูกก็จะอยู่ดูไป | คงมิให้อับอายขายฝ่าเท้า ฯ | |||
๏ พระพิจิตรจึงว่าถ้ากระนั้น | พอเชื่อกันวางใจที่ในเจ้า | |||
แต่บุษบาจะว่าข้าใจเบา | ลูกของเจ้าเจ้าถามบ้างเป็นไร ฯ | |||
๏ บุษบาได้ฟังนั่งอมยิ้ม | ใจสมัครรักปิ้มจะบอกให้ | |||
แต่คิดคิดก็ตะขิดตะขวงใจ | เป็นผู้ใหญ่จู่ลู่จะดูแคลน | |||
จึงว่าลูกข้าก็คนเดียว | ขับเคี่ยวมาแต่น้อยคอยหวงแหน | |||
ขอไปแม่จะได้ที่ไหนแทน | พ่อแผนก็จำเพาะมาเจาะจง | |||
เพราะรักเจ้าล้นเหลือเหมือนเนื้อไข | ไม่ขัดได้จำตามความประสงค์ | |||
แต่ทว่าข้าจะบอกออกตรงตรง | ยังนึกสงสัยบ้างทางเจ้าพลาย | |||
มีธุระทางไกลไปเมืองลาว | สาวสาวทางนั้นมันมากหลาย | |||
ถ้ากระไรไปถูกลูกเจ้านาย | ที่พูดกันมันจะกลายเป็นเหลวเลอะ | |||
จะทำให้เสียหายฝ่ายผู้ใหญ่ | เกิดระกำช้ำใจกันไปเถอะ | |||
เขาจะว่าข้านี้เป็นคนเคอะ | ช่างซมเซอะไม่รู้จะดูชาย | |||
ที่ว่านี้มิใช่จะตัดรอน | รักเจ้ามาแต่ก่อนนั้นเหลือหลาย | |||
จะควักแก้วตาไปให้เจ้าพลาย | ก็เบี่ยงบ่ายอย่างไรให้มั่นคง ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม | คิดแล้วกล่าวความตามประสงค์ | |||
ถ้าหากท่านผู้ใหญ่ได้ตกลง | ที่ตรงดีฉันนั้นอย่าแคลง | |||
ถึงจะไปนอกฟ้าป่าหิมพานต์ | อันที่การนอกใจอย่าได้แหนง | |||
แม้จะให้สัญญาปิดตราแดง | จะขีดแกงไดให้ในสัญญา | |||
ถึงเด็กอยู่รู้พระคุณแต่หนหลัง | พ่อแม่เล่าให้ฟังเป็นหนักหนา | |||
จะขอเป็นเกือกทองรองบาทา | คุณแม่พ่อขออย่าได้ปรารมภ์ | |||
ขุนแผนพ่อพูดต่อเจ้าพลายงาม | ความที่มันสัญญาน่าจะสม | |||
เห็นจะไม่โกหกพกลม | แต่นานนมหนักไปก็ไม่ดี | |||
ลูกคิดว่าถ้าหมั้นต่อกันไว้ | ถึงห่างไกลก็พะวงตรงที่นี่ | |||
เหมือนตัวไปใจอยู่ด้วยคู่มี | อย่างนี้เป็นทำนองที่ป้องกัน | |||
วันนี้ก็ประเสริฐเลิศดิถี | จงปรานีรับรองซึ่งของหมั้น | |||
แล้วจึงทำเหย้าเรือนหาเดือนวัน | การเหล่านั้นฝากไว้ในเจ้าคุณ | |||
ด้วยจะต้องไปทัพรับอาสา | การของลูกข้างหน้ายังว้าวุ่น | |||
คุณพ่อแม่เมตตาได้การุญ | ให้อุ่นอกเช่นครั้งแต่หลังมา ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงท่านพระพิจิตร | ทั้งบุษบาสมคิดก็หรรษา | |||
รับทองหมั้นไว้มิได้ช้า | พระพิจิตรจึงว่าเป็นไรมี | |||
เจ้าคิดอ่านการศึกเอาเชียงใหม่ | ถ้าคล่องใจคงสำเร็จราวเดือนยี่ | |||
ยังจะต้องคุมทัพกลับธานี | ก็เดือนสี่แลประมาณการวิวาห์ | |||
ครั้นตกลงปลงใจให้กันแล้ว | ต่างคนผ่องแผ้วเป็นหนักหนา | |||
สำรับพร้อมล้อมนั่งกินข้าวปลา | สนทนาเบิกบานสำราญใจ | |||
เลี้ยงดูกันสำเร็จเสร็จสรรพ | พ่อลูกลากลับหาช้าไม่ | |||
พระพิจิตรมาส่งลงบันได้ | ออกจากจวนไปยังวัดจันทร์ ฯ | |||
๏ ฝ่ายอีเม้ยดักทางอยู่ข้างบ้าน | พอขุนแผนเดินผ่านพ้นที่นั่น | |||
กระแอมไอให้เสียงเป็นสำคัญ | เจ้าพลายหันมาดูก็รู้ที | |||
จึงหลีกเข้าข้างทางหว่างต้นไม้ | ถามว่ามาทำไมจนถึงนี่ | |||
อีเม้ยบอกว่าตะกร้านี้ | มีของดีจะขายพ่อพลายงาม | |||
เจ้าพลายยิ้มแล้วว่าข้าอยากได้ | จะถูกแพงเท่าไรไม่ต้องถาม | |||
รับตะกร้ามาให้ไพร่แบกตาม | เอาเงินสามตำลึงส่งให้อีเม้ย | |||
แล้วค่อยงุบงิบกระซิบสั่ง | กลับหลังเข้าเรือนอย่าเชือนเฉย | |||
ถ้านายยังร้องไห้ไม่เสบย | เจ้าคนเคยปฏิบัติอยู่อัตรา | |||
ปลอยโยนนางไว้อย่าให้เศร้า | ตัวเจ้าจงพิทักษ์รักษา | |||
ให้เป็นสุขค่ำเช้าจนเรามา | เงินตราข้าจะเติมเพิ่มรางวัล | |||
ว่าแล้วเท่านั้นก็ผันผาย | เจ้าพลายปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | |||
รีบตามบิดามาวัดจันทร์ | แล้วช่วยกันจัดพหลพลโยธี ฯ | |||
๏ ครั้นเรียกคนสำรวจตรวจถ้วน | จัดกระบวนหน้าหลังตั้งตามที่ | |||
พระพิจิตรมาช่วยอวยสวัสดี | แล้วคลายคลี่พหลพลโยธา | |||
กองหน้านายจันสามพันตึง | พอฆ้องหึ่งโห่กระหน่ำออกนำหน้า | |||
กองหลวงกองเสบียงเรียงกันมา | ราชอาญากองหลังนั้นรั้งพล | |||
พวกชาวบ้านร้านตลาดดาษดื่น | แตกตื่นมาดูอยู่สับสน | |||
ที่ตามวัดก็พระประน้ำมนตร์ | ขุนด่านนำส่งจนพ้นพรมแดน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงโฉมเจ้าพลายงาม | ขี่ม้ามาตามพ่อขุนแผน | |||
ยังง่วงเหงาหาวนอนนั่งคลอนแคลน | ทรวงแสนกระสันโศกวิโยคครวญ | |||
โอ้ว่าศรีมาลาแก้วตาพี่ | ป่านฉะนี้จะเศร้าเฝ้าโหยหวน | |||
เหมือนใจพี่ที่นึกคะนึงนวล | ใครจะชวนโฉมฉายให้คลายใจ | |||
ที่พูดกันเมื่อเช้าถ้าเจ้ารู้ | ว่าขอสู่แม่พ่อก็ยกให้ | |||
เห็นจะวายหวาดหวั่นพรั่นฤทัย | นั่งนับวันไปจนถึงงาน | |||
ค่ำเช้าเจ้าคะนึงถึงตัวพี่ | พอมีที่แก้ไขได้คิดอ่าน | |||
ตระเตรียมจัดแจงแต่งเรือนชาน | แก้รำคาญเบ่งบานที่เศร้าใจ | |||
๏ เออเมื่อคิดขึ้นมาก็น่ารู้ | ว่าเนื้อคู่คิดเห็นเป็นไฉน | |||
จะตกแต่หอห้องทำนองใด | ใครจะเป็นที่ปรึกษาหารือนาง | |||
คู่คิดเจ้าก็มีแต่อีเม้ย | มันเป็นไพร่ไม่เคยคงพานขวาง | |||
จะชวนซื้อหาใหม่ไปทุกทาง | ของเก่ามีดีบ้างไม่นำพา | |||
เครื่องเรือนในห้องของน้องแก้ว | ล้วนดีดีมีแล้วก็หนักหนา | |||
พี่ยังได้ชมเล่นเห็นแก่ตา | จะต้องหาใหม่นั้นมีเพียงไร | |||
๏ เตียงนอนค่อนจะแคบอยู่สักนิด | แต่ก็ดีที่ชิดพิสมัย | |||
ถึงหนาวร้อนก็ไม่นอนห่างกันไป | อย่าต้องหาเตียงใหม่เลยน้องรัก | |||
ม่านกรองทองทับสลับสี | เรื่องระเด่นมนตรีที่เจ้าปัก | |||
มันถูกเรื่องของเราเข้าทีนัก | จะเยื้องยักปักใหม่ไม่ต้องการ | |||
ถ้ากระไรปักต่อก็จะดี | เติมเมื่อตรงศึกชีอีกสักม่าน | |||
ยังเครื่องแป้งแต่งไว้ไม่มีปาน | ขันพานขวดน้อยน้อยน่าเอ็นดู | |||
เมื่อคืนนี้ตอนดึกยังนึกได้ | เจ้าพาไปนั่งเรียงเคียงคู่ | |||
เครื่องเชี่ยนหมากนากทองของโฉมตรู | ยังติดตาพี่อยู่ทุกสิ่งอัน | |||
พี่จะปลูกหอใหม่ให้ใหญ่กว้าง | ทั้งของนางของพี่จะจัดสรร | |||
ของของพี่มีมากหลากหลากกัน | เครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ก็ดีดี | |||
๏ ยังเครื่องรางปลุกเสกด้วยเลขยันต์ | หรือขวัญข้าวเจ้ารังเกียจด้วยเกลียดผี | |||
ก็ไว้ที่อื่นได้เป็นไรมี | พี่จะสร้างหอน้อยเป็นหอพระ | |||
ที่ในห้องของเราเอาพรมปู | วางหมอนคู่เคียงไว้ไม่เกะกะ | |||
ไว้นอนเล่นเย็นเช้านะเจ้านะ | พี่จะเฝ้าถนอมกล่อมน้องยา | |||
ถึงจะนั่งกินข้าวทั้งเช้าเย็น | เราอย่าให้ใครเห็นจะดีกว่า | |||
ได้หยอกเอินพูดเล่นเจรจา | กินข้าวปลาเอิบอิ่มกระหยิ่มใจ | |||
ทำไมกับเรื่องเครื่องเรือนชาน | จะเบิกบานก็ที่ชิดพิสมัย | |||
ชั้นชั่วเสื่ออ่อนกับหมอนใบ | ก็คงได้ความสุขทุกคืนวัน | |||
๏ กำลังง่วงดวงจิตคิดเลื่อนเปื้อน | เจ้าพลายฟั่นเฟือนเหมือนกับฝัน | |||
สำคัญว่าเนื้อคู่อยู่ด้วยกัน | ยิ่งยั่วยวนสรวลสันต์จำนรรจา | |||
พี่ยังทุกข์อยู่นิดคิดไม่ถูก | เผื่อเจ้าจะมีลูกในวันหน้า | |||
พี่เห็นเขาเจ็บท้องร้องเต็มประดา | แก้วตาจะอย่างไรก็ไม่รู้ | |||
เขาว่ามดถ่อหมอตำแย | มักเชือนแชข่มขยำทำจู่ลู่ | |||
ถ้าหากไม่คอยนั่งระวังดู | เคยลากถูจนตายมาหลายคน | |||
พี่จะคอยถือตระบองมองกำกับ | ถ้าสัปปลับเอาอย่างนี้ตีให้ป่าน | |||
เคลิ้มฟาดแส้ม้ามาประดน | ถูกก้นม้าพ่อเข้าพอแรง ฯ | |||
๏ ม้าผลุนขุนแผนเจียนจะตก | หากแอบอกอยู่ที่ด้วยขี่แข็ง | |||
พอรั้งอยู่เหลียวมาโกรธหน้าแดง | นี่มึงแกล้งหรือไรให้ว่ามา | |||
เจ้าพลายตกใจไม่มีขวัญ | บอกความพ่อพลันไม่มุสา | |||
ลูกหลับใหลฝันไปว่าศรีมาลา | เจ้าจะคลอดลูกยาเจ็บครวญคราง | |||
เห็นยายหมอตำแยแกมักง่าย | ทำจู่ลู่ดูดายเมื่อลูกขวาง | |||
เกรงจะเป็นอันตรายวายวาง | ลูกตีแกดังผางพอถูกม้า | |||
เพราะเคลิ้มเขลาเมามัวด้วยความฝัน | ใช่จะแกล้งตีรันไม่มุสา | |||
สีหมอกก็ได้มีพระคุณมา | คุณพ่อได้เมตตาที่โทษกรณ์ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | ฟังลูกคิดคิดก็ใจอ่อน | |||
นี่แลรักชักพาให้อาวรณ์ | ร้อนทั้งหลับตื่นทุกคืนวัน | |||
ว่าแล้วนิ่งนึกตรึกตรา | อองามหลงศรีมาลาจนใฝ่ฝัน | |||
ด้วยพึ่งแรกรู้จักความรักนั้น | ที่สำคัญทุกอย่างแต่ข้างดี | |||
ลูกเอ๋ยยังไม่เคยรู้รสร้าย | ที่ความรักกลับกลายแล้วหน่ายหนี | |||
อันเจ็บปวดยวดยิ่งทุกสิ่งมี | ไม่เท่าที่เจ็บช้ำระกำรัก | |||
จะว่าเขาอื่นไกลไปไยเล่า | ถึงแม่เจ้าพ่อก็ช้ำระกำหนัก | |||
ต้องทนทุกข์มากมายมาหลายพัก | จักแหล่นเลือดตาจะกระเด็น | |||
เมื่อหนุ่มสาวคราวอยู่เป็นชู้ชื่น | ดังจะกลืนไว้ได้มิใช่เล่น | |||
จะร่วมหอคลึงเคล้าทุกเช้าเย็น | ไม่คิดเห็นว่าจะพรากไปจากกัน | |||
พอไปทัพกลับมาเห็นหน้านิด | มันปลดปลิดผลาญรักหักสะบั้น | |||
ต้องคับแค้นเพียงจะดิ้นสิ้นชีวัน | แต่โศกศัลย์โหยหาอยู่กว่าปี | |||
สู้พากเพียรพยายามตามมาได้ | เที่ยวบุกป่าฝ่าไพรพากันหนี | |||
ทนลำบากยากไร้ในพงพี | ไม่อาลัยชีวีเพราะความรัก | |||
พอพ้นภัยหมายใจว่าพ้นทุกข์ | จะร่วมสุขอยู่เย็นเป็นแหล่งหลัก | |||
เกิดวิบากผลกรรมมานำชัก | ให้ไอ้มารผลาญรัก***ไป | |||
ความแค้นแสนที่จะชอกช้ำ | ก็มิรู้ว่าจะทำอย่างไรได้ | |||
เพราะตัวต้องทนทุกข์อยู่คุกใน | ต้องเจ็บใจตรมมากว่าสิบปี | |||
โอ้ว่าเจ้าวันทองน้องแก้ว | จะลืมพี่เสียแล้วกระมังนี่ | |||
ด้วยเริดร้างห่างนานเสียเต็มที | ป่านนี้จะหลงบุญอ้ายขุนช้าง | |||
หรือว่ายังมีจิตคิดคะนึง | นึกถึงเพื่อนยากที่จากบ้าง | |||
พี่คิดถึงเช้าเย็นไม่เว้นวาง | รำพึงพลางถอนใจอยู่ไปมา ฯ | |||
๏ กองทัพยกออกนอกพิจิตร | ต้องเลียบชิดบึงบางที่ขวางหน้า | |||
บางแห่งใหญ่โตมโหฬาร์ | เป็นที่ปลาอาศัยทั้งใหญ่น้อย | |||
ดูจากหลังม้าเห็นคลาคล่ำ | บ้างโดดดำโผล่ผุดแล้วมุดถอย | |||
ชะโดดุกอ้ายด้องขึ้นล่องลอย | ฝูงปลาสร้อยเป็นหมู่ดูคลับคล้าย | |||
เทโพเทพาทั้งปลาช่อน | เนื้ออ่นนวลจันทร์พรรณสวาย | |||
สลิดสลาดปลาตะเพียนเวียนกราย | หลากหลายว่ายแหวกอยู่ในบึง | |||
ที่บางแห่งปลาชุมเหล่ากุมภา | ไล่ปลาฟาดหางดังผางผึง | |||
พอได้ยินเสียงคนข้างบนอึง | ก็จมดึ่งหลีกหลบลงกบดาน | |||
ยังเหล่าปักษาทิชาชาติ | เกลื่อนกลาดหาปลาเป็นอาหาร | |||
กระทุงทองล่องลอยนทีธาร | เหนียงยานปากอ้าเอาราน้ำ | |||
อ้ายงั่วดำด้นลงค้นปลา | ทั้งเหล่านกกระสาก็คลาค่ำ | |||
นกยางยืนมองจ้องประจำ | พอพลบค่ำนกแขวกแกรกแกรกร้อง | |||
ฝูงเหยี่ยวเที่ยวว่อนทั้งร่อนบิน | โฉบเฉี่ยวปลากินที่ในหนอง | |||
ตะกรุมหัวเหม่เที่ยเร่มอง | ขามันยาวก้าวท่องย่องสุ่มปลา | |||
นกฝักบัวช้อนหอยแลปากห่าง | หลายอย่างต่างพรรณกันหนักหนา | |||
ฝูงนกเกลื่อนกลาดดาษดา | ดูมาไม่สิ้นในถิ่นทาง | |||
ยังพืชพรรณบุปผาลดาชาติ | ก็ประหลาดมากมายเป็นหลายอย่าง | |||
ล้วนผลิดอกออกใบในบึงบาง | ต่างต่างน่าชมภิรมย์ใจ | |||
ที่บางแห่งโกมุทบุษบัน | เป็นพืชพรรณติดต่อกอไสว | |||
บ้างชูดอกออกฝักแล้วชักใบ | แลไปล้วนโกมุทจนสุดตา | |||
เหล่าบัวสายรายกอกันห่างห่าง | พอสางสางก็ตระการบานบุปผา | |||
ทั้งกระจับตับเต่าเถาสันตะวา | ในคงคาหลายอย่างต่างต่างพรรณ | |||
พอเช้าตรู่หมู่ภมรร่อนมาถึง | หึ่งหึ่งฟังจำเรียงเสียงสนั่น | |||
เที่ยวซอกซอนเกสรบุษบัน | เลาะสรรรสหวานตระการใจ | |||
ลมพัดเฉื่อยฉ่ำน้ำกระเพื่อม | แลละเลื่อมริ้วริ้วปลิวไสว | |||
ถึงแดดร้อนลมรื่นชื่นฤทัย | ทั้งนายไพร่เพลิดเพลินเดินชมมา ฯ | |||
๏ พอพ้นแนวหนองคลองบึงบาง | ก็เลี้ยวลัดตัดทางมากลางป่า | |||
เป็นพงแซมแกมอ้อกอหญ้าคา | ทั้งซ้ายขวาสูงปรกดูรกชัฏ | |||
เห็นแต่นกกระจาบคาบทำรัง | ไม่มีทั้งสิงสาราสัตว์ | |||
ทางกันดารน้ำท่าสารพัด | ก็เร่งรัดรี้พลด้นเดินมา | |||
พ้นป่าพงลงทางข้างตลิ่ง | ถึงปากพิงเลี้ยวข้ามไปข้างขวา | |||
เข้าทางป่าไม้ไพรพนา | ถึงพาราพิษณุโลกโอฆบุรี | |||
ทั้งนายไพร่ไปวัดมหาธาตุ | ไหว้พระชินราชชินสีห์ | |||
ขอให้มีชัยสวัสดี | แล้วมาที่ศาลากลางวางท้องตรา | |||
เจ้าพระยาพิษณุโลกกรมการ | อลหม่านเลี้ยงดูกันทั่วหน้า | |||
พอพักไพร่หายเหนื่อยเลื่อยล้า | ก็ยกพลต่อมาเมืองพิชัย | |||
ผู้รั้งกรมการด้านทาง | ต่างเมืองต้อนรับไม่นิ่งได้ | |||
ยกฟากข้ามจากเมืองพิชัยไป | ถึงบ้านไกรป่าแฝกแล้วแยกมา | |||
วันหนึ่งถึงเมืองสัชนาลัย | กรมการผู้ใหญ่ก็พร้อมหน้า | |||
เลี้ยงดูรับรองตามท้องตรา | พักอยู่สามเวลาในธานี ฯ | |||
๏ ยกออกนอกเมืองสวรรคโลก | ข้ามโคกเข้าป่าพนาศรี | |||
เจ้าพลายกระสันพันทวี | รำลึกถึงนารีศรีมาลา | |||
ถ้าแม้นแก้วตามาด้วยพี่ | จะชวนชี้ชมไม้ไพรพฤกษา | |||
คิดพลางเดินพลางตามทางมา | ข้ามท่าเขินเขาลำเนาธาร | |||
แลเห็นเขาเงาเงื้อมชะง่อนชะโงก | เป็นกรวยโกรกน้ำสาดกระเซ็นซ่าน | |||
โครมครึกกึกก้องท้องพนานต์ | พลุ่งพล่านมาแต่ยอดศิขรินทร์ | |||
เป็นชะวากวุ้งเวิ้งตะเพิงพัก | แง่ชะงักเงื้อมชะง่อนล้วนก้อนหิน | |||
บ้างใสสดหยดย้อยเหมือนพลอยนิล | บ้างเหมือนกลิ่นพู่ร้อยห้อยเรียงราย | |||
ตรงตระพักเพิงผาศิลาเผิน | ชะงักเงิ่นเงื้อมงอกชะแง้หงาย | |||
ที่หุบห้วยเหวหินบิ่นทะลาย | เป็นวุ้งโว้งโพรงพรายดูลายพร้อย | |||
บ้างเป็นยอดกอดก่ายระเกะระกะ | ตะขรุตะขระเหี้ยนหักเป็นหินห้อย | |||
ขยุกขยิกหยดหยอดเป็นยอดย้อย | บ้างแหลมลอยเลื่อมสลับระยับยิบ | |||
บ้างงอกเง้าเป็นเงี่ยงบ้างเกลี้ยงกลม | บ้างโปปมเป็นปุ่มกระปุบกระปิบ | |||
บ้างปอดแป้วเป็นพูดูลิบลิบ | โล่งตลิบแลตลอดยอดศิขรินทร์ | |||
เหล่ามิ่งไม้ไทรโศกอยู่ริมห้วย | ลมชวยหล่นตามกระแสสินธิ์ | |||
น้ำใสแลซึ้งถึงพื้นดิน | ฟุ้งกลิ่นสุมามาลย์บานระย้า | |||
สัตตบุษย์บัวแดงเข้าแฝงฝัก | พันผักพาดผ่านก้านบุปผา | |||
แพงพวยพุ่งพาดพันสันตะวา | ลอยคงคาทอดยอดไปตามธาร | |||
สาหร่ายเรียงเคียงทับกระจับจอก | ผักบุ้งงอกยอดชูดูสะอ้าน | |||
ภุมรินบินเคล้าสุมามาลย์ | ในธาราปลาพล่านตระการตา | |||
ชมพลางทางเดินเนิพนม | รื่นร่มพรรณไม้ใบหนา | |||
แลดูหมู่วิหคนกนานา | สาลิกาพูดจ้ออยู่จอแจ | |||
คุ่มขาบเขาขันสนั่นป่า | กระสาจับกระสังส่งเสียงแซ่ | |||
กระลิงจับกิ่งประโลงแล | คับแคไต่คางริมทางจร | |||
ค้อนทองจับบนต้นกระถิน | แก้วจับแก้วกินแล้วบินร่อน | |||
นกยูงจับยางแผ่หางฟ้อน | กระทุงทองจับกระท้อนทำอ่อนคอ | |||
กระจาบจ้อยดจนจับกระเจาเจ่า | แซงแซวเซาจับสนดูซอมซ่อ | |||
นกกระไนไก่ฟ้าพระยาลอ | นกกรอดพรอดจ้ออยู่กิ่งจันทน์ | |||
นกเขาจับเงื่อมเขาแล้วเคล้าคู่ | จู้หุกกูจู้ฮุกกูเฝ้าคูขัน | |||
อัญชันจับกิ่งต้นชิงชัน | เบญจวรรณจับเจ่าเถาวัลย์เปรียง | |||
ไก่ป่าวิ่งกรากกระต๊ากลั่น | ตัวผู้ขันเอกอี๊เอ๊กวิเวกเสียง | |||
เข้ากินขุยคุ้ยเขี่ยยตัวเมียเมียง | เห็นคนเลี่ยงลัดแลงเข้าแฝงกอ | |||
นกกระทาราแต้แผ่ปีกปัก | ขันชักปักกะจาดกะจ้าจ้อ | |||
เห็นตัวเมียเขี่ยจังหวีดเข้ากรีดรอ | ปักก้อป่องร่าดูน่าชม | |||
เดินพลางชมพลางมากลางชัฎ | ชักม้าหลีดลัดเข้าร่มร่ม | |||
ตะวันชายบ่ายรังบังพนม | เพลาลมตกตัดออกทางเตียน | |||
ไฟป่าครอกหญ้าเพิ่งแตกอ่อน | แผ่นดินร่อนแลโล่งตลิบเลี่ยน | |||
หมู่สัตว์จตุบาทออกวาดเวียน | บ้างหยอกกันหันเหียนหาคู่เคียง | |||
พยัคฆีมีกำลังทะลวงโลด | ทะลึ่งโดดเท้าถีบปีบปะเปรี้ยง | |||
มฤคกลัวตัวลอบลงหมอบเมียง | บ้างหลีกเลี่ยงหลบเพริดเตลิดไป | |||
ริมทางกวางทองดูผ่องผุด | ยั้งหยุดหย่งกีบบีบเสียงใส | |||
กระทิงถึกโทนเที่ยวอยู่ในไพร | กระบือเบิ่งเถลิงไล่กันดาดดง | |||
อีเห็นเม่นหมีหมู่ชะมด | กระจงจดจ้องกีบดูหยิบหย่ง | |||
ละมั่งละมาดผาดเผ่นออกจากพง | กระสู้ส่งซัดกระทิงออกวิ่งโทง | |||
เสือดาวเดาะเราะรายหมายละมั่ง | ช้างพังชักผากกระชากโผง | |||
สมันเมินเดินดุ่มจากพุ่มโพรง | ออกเลียดินกินโป่งอร่อยไป | |||
ตัดข้ามเขตระแหงแขวงเถิน | เดินเลยหาเยื้องเข้าเมืองไม่ | |||
สิบสี่วันดั้นเดินตามเนินไพร | เกือบจะถึงเชียงใหม่อีกสองวัน | |||
หยุดหนองโคกเต่าไม่เข้าบ้าน | พักทหารตั้งกองริมหนองนั่น | |||
ชักหนามวงรอบเป็นขอบคัน | กำชับกันมิให้ใครเที่ยวไปมา ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสงคราม | เรียกลูกชายพลายงามมาปรึกษา | |||
เราเกือบถึงเชียงใหม่ใกล้พารา | จะด่วนเข้ายุทธนาไม่สู้ดี | |||
มันจับพระท้ายน้ำจำเอาไว้ | เราตรงไปคงหั่นบั่นเกศี | |||
จะคิดลอบเข้าไปในบุรี | ดูท่วงทีแก้ไขเอาไทยมา | |||
แล้วจึงเข้าประชิดติดนคร | เราผันผ่อนเช่นนี้จะดีกว่า | |||
พ่อกับเจ้าเข้าไปแต่สองรา | ไปเที่ยวหาพวกไทยให้พบพาน | |||
ต้องปลอมตัวเป็นลาวพวกชาวเมือง | เราหาเครื่องแต่งตัวเอาตามบ้าน | |||
จำจะรีบเข้าไปอย่าได้นาน | หรือเจ้าจะคิดอ่านประการใด ฯ | |||
๏ เจ้าพลายเห็นชอบตอบบิดา | คุณพ่อว่าต้องจิตหาผิดไม่ | |||
ถ้าเรายกโยธาผ่าเข้าไป | มันเห็นไทยพวกลาวจะร้าวราน | |||
จะระมือลือเลื่องทั้งเมืองใหญ่ | มิทันได้คนโทษจะฉาวฉาน | |||
อ้ายคนต้องจองจำจะรำคาญ | มันประหารตายสิ้นสิเสียที | |||
ถ้าเราลอบเข้าไปให้พบก่อน | จะได้ผ่อนผู้คนให้พ้นที่ | |||
เป็นกำลังรบลาวชาวบุรี | ทั้งไทยยลาวราวสักสี่ห้าร้อยคน | |||
ปรึกษากันทั้งสองเห็นต้องใจ | แล้วเหลียวไปข้างหลังสั่งพหล | |||
จงซุ่มซ่อนนอนั่งระวังตน | คอยดูผู้คนจะไปมา | |||
ครั้นกำชับสั่งพลทุกคนทั่ว | พ่อลูกแต่งตัวงามสง่า | |||
ประจงคาดเครื่องอานทาว่านยา | แล้วโพกผ้าประเจียดประจุฤทธิ์ | |||
พลายงามจับดาบขยับยืน | ขุนแผนจับฟ้าฟื้นอันศักดิ์สิทธิ์ | |||
บ่ายหน้ามาสู่บูรพาทิศ | ตั้งจิตหมายหมาดพิฆาตลาว | |||
ขยับยืนภาวนานัยน์ตาหลับ | ตามตำรับบุราณอาจารย์กล่าว | |||
นิมิตดูลมกลาออกขวายาว | ก็ยกก้าวตีนขวาแล้วคลาไคล | |||
พ่อลูกลัดเลาะละเมาะเมือง | แยกเยื้องเสียหาเข้าหนทางไม่ | |||
พอแลเห็นไร่แตงเข้าแฝงไม้ | ริมทางลาวชาวไร่เดินไปมา ฯ | |||
๏ จะยกกลับจับกล่าวลาวพ่อลูก | ออกไปปลูกห้างไร่อยู่ชายป่า | |||
ปลูกผักฟักแฟงทั้งแตงกวา | ถั่วงากล้วยกล้ายเป็นหลายพรรณ | |||
เมื่อจะถึงที่ตายวายชีวิต | ให้หงุดหงิดง่านใจอยู่ไหวหวั่น | |||
คิดจะคืนกลับหลังแต่ยังวัน | ก็ชวนกันออกเดินดำเนินมา | |||
ตาพ่อถือดาบงามย่ามตะพาย | ลูกชายถือทวนขึ้นพาดบ่า | |||
เอาน้ำเต้าสอดด้ามซ้ำห้อยมา | โพกชมพูดูสง่าพากันเดิน | |||
ตาพ่อเฒ่าออกหน้ามาดุ่มดุ่ม | เจ้าลูกหนุ่มตามไปไม่ห่างเหิน | |||
เมื่อถึงวันจะบรรลัยให้บังเอิญ | เจ้าลูกเพลินรับซอพ่อรับแคน | |||
โอหนออ่อเจ้าสาวคำเอ๋ย | ข้อยอยากเซ้ยสาวเวียงที่เชียงแสน | |||
ขอให้ข้อยเบิ่งนางที่ต่างแดน | ข้อยแค่นใจตายแล้วแก้วพี่อา | |||
เพี้ยงเอ๋ยปู่เจ้าในเขาเขิน | ช่วยชักเชิญสาวเวียงมาเคียงข้า | |||
เหล้าเข้มไก่หมูจะบูชา | จะเซ่นส้าบวงสรวงเข้าแทรกใจ ฯ | |||
๏ พ่อลูกร้องขับรับกันมา | ใกล้พฤกษาที่ขุนแผนเข้าอาศัย | |||
ขุนแผนเห็นลาวซ้องร้องแต่ไกล | กระซิบบอกลูกให้ระวังตัว | |||
เห็นหรือไม่เเล่านะเจ้าพ่อ | อ้ายลาวซอแลไปไม่มีหัว | |||
มันถึงที่มรณาแล้วอย่ากลัว | จิกหัวฟันเสียให้พร้อมกัน | |||
ต่างถอดดาบจากฝักยืนหยักรั้ง | พอลาวเดินมากระทั่งถึงที่นั่น | |||
ดังองคตหนุมานชาญฉกกรจ์ | ทะลึ่งถลันด้วยกำลังไม่รั้งรอ | |||
ขุนแผนฟันป่ายพลายงามฟาด | ฉะฉาดหัวเด็ดกระเด็นปร๋อ | |||
เลือดพุ่งโชนเชี่ยวสองเกลียวคอ | ลาวลูกพ่อล้มดิ้นลงสิ้นใจ | |||
เหลือกตาหน้าเผือดเลือดไหลนอง | ทั้งสองยินดีจะมีไหน | |||
หยิบเอาหัวมาต่อคอเข้าไว้ | สนิทนั่งตั้งใจภาวนา | |||
ขุนแผนซัดข้าวสารอ่านมนตร์ปลุก | ผีลาวผุดลุกขึ้นต่อหน้า | |||
เคารพราบกราบเท้าทั้งสองรา | ขุนแผนว่าสองผีมีนามใด | |||
สองผีหมอบราบแล้วกราบกราน | กระผมชื่อขนานมโนใหญ่ | |||
นั่นลูกข้อยชื่อน้อยศรีวิชัย | เจ้าประสงค์สิ่งไรจึงขึ้นมา | |||
ขุนแผนว่าขนานมโนใหญ่ | เราตั้งใจมุ่งมาดปรารถนา | |||
จะขึ้นไปประจญปล้นพารา | เจ้าช่วยพาตัวเราเข้าบุรี | |||
ผีคำนับนรับแล้วก็ล้มลง | พ่อลูกตรงเข้าเปลื้องเอาผ้าผี | |||
เอาดาบตัดผมพลันด้วยทันที | สีชมพูโพกเกล้าก็เอามา | |||
พ่อลูกนุ่งห่มใส่ผมช้อง | โพกสะพองเหมือนลาวพวกชาวป่า | |||
ขุนแผนหยิบย่ามใหญ่ใส่ไหล่มา | พลายงามคว้าทวนถือติดมือพลัน | |||
ทั้งลูกทั้งพ่อหัวร่อร่า | ก็พากันเดินขมีขมัน | |||
ถึงโคกเต่าเข้าเพลาจะสายัณห์ | พวกอาสาทั้งนั้นก็ตกใจ | |||
บ้างก็เข้าซ่อนซุ่มในพุ่มชิด | สำคัญคิดว่าเป็นลาวพวกชาวไร่ | |||
ขุนแผนไม่แวะวงตรงเข้าไป | พวกอาสาสงสัยว่าลาวจริง | |||
พากันมองดูไม่รู้จัก | ไม่มีใครถามทักต่างแอบนิ่ง | |||
ขุนแผนว่าอย่างไรไม่ไหวติง | ทหารรู้กรูวิ่งมาวันทา | |||
เจ้าประคุณนุ่งห่มใส่ผมยาว | ช่างเหมือนลาวจริงจังไม่กังขา | |||
ลูกได้แอบพินิจพิจารณา | ช่างแปลกหน้าแปลกกายคล้ายพุงดำ | |||
พ่อลูกปลดผมแล้วเปลื้องผ้า | แล้วสั่งว่าเราจะไปเสียในค่ำ | |||
ถ้าช้าอยู่มันจะรู้ซึ่งเงื่อนงำ | ลาวจะร่ำลือดังไปทั้งกรุงฯ | |||
ทหารรับจับจัดผูกช้างม้า | แล้วก็ยกโยธามากลางทุ่ง | |||
อย่าอื้อฉาวชาวเมืองจะเฟื่องฟุ้ง | พอจวนรุ่งเข้าดงปลงม้าช้าง | |||
ให้แฝพุ่มซุ่มซ่อนนอนจนค่ำ | กลางคืนร่ำรุดไปจนใกล้สว่าง | |||
สองคืนสองวันดั้นเดินทาง | กระทั่งถึงบึงกว้างเข้าทันใด | |||
ก็หยุดทัพจับจัดตัดไม้ปัก | ชักหนามวงรอบขอบบึงใหญ่ | |||
สงบทัพยับยั้งตั้งมั่นไว้ | ด้วยทางใกล้จวนถึงสักครึ่งวัน | |||
ช้างม้าหญ้าน้ำก็สำราญ | พวกทหารพักผ่อนนอนที่นั่น | |||
เอากูบอานเรีบเรียงเข้าเคียงกัน | ให้สองท่านแม่ทัพนั้นยับยั้ง ฯ | |||
ตอนที่ ๒๙ ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ
ตอนที่ ๒๙ ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ
๏ จะกล่าวถึงพระนายท้ายน้ำ | ลาวมันจำครบไว้ในคุกขัง | |||
เป็นกึ่งปีได้ออกนอกฝาบัง | แทบจะคลั่งไคล้ไปด้วยใจตรอม | |||
แสนรันทดอดอยากลำบากกาย | แต่ร้องไห้ไม่วายจนผ่ายผอม | |||
ไม่ถูกน้ำเนื้อตัวก็มัวมอม | ต้องอดออมเฝ้าสะอื้นทุกคืนวัน | |||
โอ้ว่าพระทูลกระหม่อมแก้ว | จะทิ้งลูกเสียแล้วหรือไรนั่น | |||
ต้องทนทุกข์ทรมานมานานครัน | พระทรงธรรม์มิได้ใช้ผู้ใดมา | |||
ทั้งเพี้ยกึ่งกำกงที่ส่งนาง | ก็ครวญครางขุ่นคอยละห้อยหา | |||
ทนลำบากยากแค้นแสนเวทนา | กินน้ำตาต่างข้าวทุกเช้าเย็น | |||
พระท้ายน้ำร่ำไห้ใจจะขาด | โอ้อนาถยากแค้นนี้แสนเข็ญ | |||
เหมือนมาอยู่ในนรกตกทั้งเป็น | ไม่ว่างเว้นโพยภัยกระไรเลย | |||
แต่อ้ายหลอออสามันผาสุก | มาปรับทุกข์กันบ้างเป็นไรเหวย | |||
ช่างหน้าเป็นเล่นหัวมัวเสบย | ดูเชิงเฉยไม่ช้ำระกำใจ | |||
ตาหลอว่าคุณพ่อก็ติดคุก | ถึงจะทุกข์จะทำอย่างไรได้ | |||
ต้องแช่มชื่นกลืนกล้ำด้วยจำใจ | จะดิ้นรนร้องไห้ก็ไม่พ้น | |||
พระท้ายน้ำร่ำว่าอ้ายหลอเอ๋ย | ท่านละเลยเรานี้ให้ปี้ป่น | |||
ประหลาดนักนอนพระทัยไม่ใช่คน | ให้กรูกรีรี้พลมาแก้กัน | |||
ตาหลอว่าคุณพ่ออย่าดิ้นโดด | คุณกับโทษมันก็เท่ากันอยู่นั่น | |||
ถึงจะยกโยธามาประจัญ | ลาวขยันมิใช่เล่นเห็นแก่ตา | |||
ฝีมือศึกสอยดาวท้าวกรุงกาฬ | ทหารปราบเมืองแมนแสนเพชรกล้า | |||
ผิดพ่อแผนแม้นใช้ผู้ใดมา | เหมือนเร่งให้มันฆ่าเสียเร็วพลัน | |||
เมื่อเรายกแกยังนั่งติดคุก | จะขุกเข็ญเป็นตายอย่างไรนั่น | |||
ขุนนางไทยใครอื่นสักหมื่นพัน | เห็นไม่ทันมือลาวชาวเชียงอินทร์ | |||
พระท้ายน้ำฟังคำของตาหลอ | เอออ้ายพ่อเอ็งว่าก็จริงสิ้น | |||
กูเล็งไม่เห็นใครในแผ่นดิน | ที่จะภิญโญยิ่งขุนแผนไป | |||
เจ้าประคุณเทวาสุราฤทธิ์ | ซึ่งสถิตในเศวตฉัตรใหญ่ | |||
จงช่วยดับทุกข์ทนดลพระทัย | ให้ทรงใช้ให้พ่อขุนแผนมา | |||
แต่ปรับทุกข์สองคนจนค่ำลง | อัสดงแดดดับลงลับหล้า | |||
อ้ายผู้คุมเข้มงวดเที่ยวตรวจตรา | ใส่ขื่อคาร้อยแหล่งทุกแห่งไป | |||
พระท้ายน้ำกำกงพวกอาสา | มันจำห้าประการหมดหาลดไม่ | |||
ให้คนโทษตีเกราะเคาะไม้ | นั่งยามตามไปไม่นิทรา | |||
แต่กำกงท้ายน้ำมันจำนั่ง | ต้องบ่ายเบนเอนหลังพิงข้างฝา | |||
หาวนอนอ่อนคอลงทับคา | ภาวนาไปจนม่อยผ็อยหลับลง ฯ | |||
๏ คืนนั้นพระท้ายน้ำระกำจิต | เกิดนิมิตเห็นพราหมณ์งามระหง | |||
กระหมวดมุ่นมวยผมรูปสมทรง | จิ้มประจงเจิมหน้าอุณาโลม | |||
ถือสังข์ทรงศักดิ์ทักขินาวัฏ | สังวาลรัดเจ็ดเส้นเห็ฯเฉิดโฉม | |||
ใส่ตุ้มหูห่มสไบไขว้กระโจม | ผ้าขาวโขมพัตถ์นุ่งดูรุ่งเรือง | |||
บรรจงจีบโจงข้างแล้ววางชาย | พรรณรายรัศมีเนื้อสีเหลือง | |||
เหาะลอยคล้อยลงตรงท้ายเมือง | เปิดตะรางย้างเยื่องเข้าใกล้ตน | |||
เอาน้ำสังข์โอสถรดเกศา | เครื่องพันธนาทั้งปวงก็ร่วงหล่น | |||
แล้วก็สาดราดรดหมดทุกคน | เครื่องจำตนร่วงกราวทั้งลาวไทย | |||
พรามหณ์ก็คลายหายวับไปกับตา | สะดุ้งฟื้นตื่นผวาหาช้าไม่ | |||
คิดว่าจำหลุดกายสบายใจ | พอหวาดไหวตัวตึงอยู่ตรึงตรา | |||
นิ่งนึกตรึกดูรู้ว่าฝัน | นิมิตนี้สำคัญเป็นหนักหนา | |||
กระซิบปลุกตาหลอพ่อกูอา | ลุกขึ้นมาช่วยทำนายทายฝันที | |||
ตาหลอว่าคุณพ่อฝันอย่างไร | พระท้ายน้ำเล่าให้เป็นถ้วนถี่ | |||
จงตรองคำทำนายทายให้ดี | นิมิตนี้ล้ำเลิศประเสริฐครัน ฯ | |||
๏ ตาหลอยิ้มพลางทางทำนาย | ไม่ตายในเชียงใหม่แล้วแม่นมั่น | |||
คงจะพ้นพันธนาไม่ช้าวัน | เห็นสำคัญคนดีจะมีมา | |||
พิเคราะห์ฤกษ์ก็งามเป็นยามเสาร์ | ทีนี้เรารอดแท้แน่นักหนา | |||
ซุบซิบกันสองคนสนทนา | จนเวลายามสองร้องเรียกยาม | |||
ถึงชื่อใครลนลานขึ้นขานรับ | เสียงโวยวายเป็นลำดับตลอดหลาม | |||
ใครไม่ขานเฆี่ยนสิ้นดิ้นโครมคราม | ร้องเรียกตามโทษทั่วทุกตัวคน | |||
ครั้นเสร็จแล้วตีเกราะเคาะห้อง | เสียงสนั่นลั่นก้องโกลาหล | |||
ผลัดกันลุกปลุกกันนั่งระวังตน | ประจวบจนรุ่งแจ้งแสงรวี ฯ | |||
๏ นายร้อยพะทำมะรงตรงเข้าคุก | จ่ายคนโทษไปทุกตำแหน่งที่ | |||
ตาหลอกับตารักบักจันดี | อ้ายเหล่านี้เกี่ยวหญ้าหาเคียวคาน | |||
ตาหลอนึกถึงฝันท่านท้ายน้ำ | ร้องรำปรีเปรมเกษมศานต์ | |||
ผู้คุมตามกันมาลนลาน | เดินผ่านล้วงตลาดวินาศไป | |||
ฉวยกระชากหมากดิบหยิบใส่กระ | เขาโขลกพลาดกลับฉวยเอากล้วยไข่ | |||
เสียงฉุ่งฉิ่งวิ่งเลยไม่หลีกใคร | เจออะไรไขว่คว้ามาเป็นราว | |||
โซ่ตรวนโกร่งกร่างตามทางมา | เข้าร้านไหนแม่ค้าก็ฉ่าวฉาว | |||
บ้างโกรธด่าเปรี้ยงเสียงกราว | ข้ามสะพานย่านยาวเหย่าเหย่ามา | |||
ครั้นถึงทุ่งมุ่งตรงลงขอบหนอง | กำเริบร้องรำเคียวแล้วเกี่ยวหญ้า | |||
ผู้คุมนั่งบังสุมทุมพุ่มพุทรา | แล้วปูผ้านอนเล่นเย็นหลับไป ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงขุนแผนแสนสะท้าน | กำชับสั่งพวกหทารทั้งน้อยใหญ่ | |||
ให้ผลัดกันลุกนั่งระวังระไว | อยู่แต่ในที่ซุ่มประชุมกัน | |||
อย่าเที่ยวไปเที่ยวมารอท่าเรา | ข้าสองคนจะเข้าไปเขตขัณฑ์ | |||
ไปคิดอ่านแก้ไทยในคุกนั้น | กับพวกลาวเวียงจันทน์ที่มันจำ | |||
เอารีบร้นมาให้พ้นจากพารา | เราคงมาถึงนี่พรุ่งนี้ค่ำ | |||
พวกทหารต่างคำนับรับถ้อยคำ | แล้วสั่งกำชับกันให้มั่นคง | |||
สั่งเสร็จขุนแผนกับลูกชาย | ต่างคนแต่งกายงามระหง | |||
โพกประเจียดเคยประจญรณรงค์ | สอดสวมเสื้อลงเป็นองค์พระ | |||
แล้วนุ่งผ้าลาวเหมือชาวไร่ | เอาช้องใส่สีชมพูโพกศีรษะ | |||
ผูกพันกระสันเครื่องเรืองเดชะ | เข็มขัดปะขมองพรายคาดกายพลัน | |||
ขุนแผนจับดาบกลายสะพายย่าม | เจ้าพลายงามแบกทวนดูแข็งขัน | |||
ดูดังสองสิหราชกาจฉกรรจ์ | เยื้องกรายผายผันเข้ากรุงไกร ฯ | |||
๏ เดินปนมากับลาวชาวพารา | หามีใครสงการสังเกตไม่ | |||
ด้วยฤทธิ์ผีแรงมนตร์เข้าดลใจ | เห็นป็นลาวชาวไร่เข้าพารา | |||
นางสาวสาวชาวบ้านในชานเมือง | ชำเลืองดูพลายน้อยเสนหา | |||
ให้วาบวับจับใจไม่วางตา | เจ้าพลายเดินเมินหน้าไม่ดูใคร | |||
พวกสาวแส้แม่ม่ายทั้งยายเฒ่า | ทักว่าเจ้าหนุ่มน้อยจะไปไหน | |||
จงหยุดยั้งนั่งเล่นก่อนเป็นไร | ข้อยจะให้หมากพลูบุหรี่ดี | |||
ปีศาจน้อยศรีวิชัยที่ไปด้วย | ก็ช่วยตอบคำลาวนางสาวศรี | |||
สาวเอยเพื่อนว่าจงปรานี | ธุระมีจะไปในนคร | |||
จิตข้อยนี้มักเจ้าหนักหนา | แต่เดี๋ยวนี้พี่จะลาเจ้าไปก่อน | |||
ไปเที่ยวเบิ่งเมืองเล่นพอเย็นรอน | กลับมานอนจึงจะเข้ามาเว้ากัน | |||
พูดพลางเดินพลางตามทางมา | ถึงแม่ค้าขายของล้วนคมสัน | |||
เห็นโฉมฉายพลายน้อยเป็นนวลจันทร์ | คิดสำคัญว่าลาวชาวป่าดง | |||
จึงทักทายแม่นายที่เดินหลัง | ไม่เอิ้นมั่งนั่งบึ้งตะลึงหลง | |||
อยากได้อะไรมั่งก็นั่งลง | แล้วยื่นส่งดอกไม้ให้พลายงาม | |||
เจ้าพลายรับจับมือรื้อสะกิด | นางลาวบิดเบือนสะบัดประหวัดหวาม | |||
บ้านเฮือนเพื่อนอยู่ใดอยากได้ความ | จะใคร่ตามหนุ่มน้อยไปแนบนอน | |||
เจ้าพลายชายตาว่าพี่มัก | นางลาวรักทำทอดฤทัยถอน | |||
ชมดชม้อยเชือนชายชม้ายงอน | ยิ้มแล้วก้มคมค้อนตะแคงดู | |||
นางแม่ม่ายขายหมากปากคะนอง | ร้องทักออกไปไม่อดสู | |||
เจ้าหนุ่มน้อยรูปดีสีชมพู | เพื่อนจะอยากหมากพลูของตูมี | |||
นางสาวอ่องร้องห้ามนางสาวฟัก | เราบ่มักแม่ม่ายจึงหน่ายหนี | |||
เพราะรูปร่างของสูไม่สู้ดี | ไปเรียกเขาเซ้าซี้บ่อายใจ | |||
นางสาวฟักตอบว่าอย่ากั้นกาง | สาวนางอย่างสูสู้ข้อยบ่ได้ | |||
เพื่อนบ่เคยเชยชู้รู้อะไร | ทำนองในนางสาวเหมือนลาวตาย | |||
มีแต่ลมหายใจใครจะมัก | เชิงเยื้องยักอย่าประมาทชาติแม่ม่าย | |||
ยังหนุ่มเหมือนเพื่อนนี้ขี้งมงาย | ถูกแต่ปลายเงื่อนกระทกจะงกไป ฯ | |||
๏ ขุนแผนพลายงามตามกันมา | ถึงไหนแม่ค้าก็ปราศรัย | |||
สองสูอยู้บ้านถิ่นฐานใด | มีธุระสิ่งไรจึงได้มา | |||
ผีที่ไปด้วยช่วยขุนแผน | พูดแทนว่าเราเป็นชาวป่า | |||
เขาลือว่าจับไทยไว้ในพารา | ข้อยบ่เคยเห็นหน้าไอ้บักไทย | |||
อยากจะไปเบิ่งเล่นว่าเป็นหยัง | เขาจำขังคนโทษไว้ที่ไหน | |||
พวกลาวบอกตามจริงไม่กริ่งใจ | เขาจำไว้ในตะรางข้างโรงม้า | |||
แต่ตัวนายตรำตรากไม่ลากใช้ | พวกไพร่นั้นเขาคุมไปเกี่ยวหญ้า | |||
เพื่อนจะเบิ่งบักไทยไปท้องนา | มันกลับมาสายัณห์ตะวัรอน | |||
ขุนแผนชื่นชมสมปรารถนา | ว่ากระนั้นฉันจะลาท่านไปก่อน | |||
พ่อลูกสองราพากันจร | ก็รีบร้อนตรงมุ่งไปทุ่งนา | |||
เห็นพวกไทยไขว่คว้างอยู่กลางบึง | ก็ย่างเยาะเดาะดึ่งเข้าไปหา | |||
เห็นผู้คุมคลุมหัวมัวหลับตา | จึงเลาะลัดตัดมาที่ไทยพลัน ฯ | |||
๏ ตารักกับตาหลอพอแลไป | เจ้าสองรามาแต่ไหนดูคมสัน | |||
พ่อลูกเดินเข้าไปพอใกล้กัน | ตาหลอผันหน้าพิศพินิจแล | |||
แต่แรกเห็นเป็นลาวชาวบ้านป่า | ครั้นดูซ้ำจำหน้าถนัดแน่ | |||
เอ๊ะพ่อขุนแผนแล้วแม่นแท้ | พาตารักรีบแร่ไปทันใด | |||
พอเข้าใกล้ตาหลอว่าพ่อเรา | โถมเข้ากอดตีนแล้วร้องไห้ | |||
ซบหน้ากลิ้งเกลือกเสือกไป | เป็นครู่หนึ่งจึงได้สติคืน | |||
ขุนแผนว่าตาหลอกับตารัก | อย่าอึงนักอ้ายผู้คุมมันจะตื่น | |||
โศกเศร้าแต่เท่านั้นจงกลั้นกลืน | ฉวยผู้อื่นมันเห็นไม่เป็นการ | |||
ตาหลอกับตารักได้ฟังว่า | เช็ดน้ำตาร่อยร่อยค่อยเล่าขาน | |||
พ่อแผนลูกนี้แสนทรมาน | ถูกจองจำทำประจานให้เจ็บช้ำ | |||
มันใช้จับจ่ายหวายล่อหลัง | เหลือกำลังข้าวเช้าเป็นข้าวค่ำ | |||
หลังลูกกว่าร้อยรอยระยำ | พระท้ายน้ำจำครบทุกคืนวัน | |||
ทั้งเจ็บใจเจ็บเนื้อเหลือพรรณนา | คิดจะฆ่าตัวเสียให้อาสัญ | |||
เดชะบุญเจ้าประคุณขึ้นมาทัน | พ่อหนุ่มน้อยคนนั้นนั่นลูกใคร ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสงคราม | ก็ชี้แจงแจ้งความหาช้าไม่ | |||
คนนี้มิใช่ผู้อื่นไกล | ลูกคนใหญ่เกิดแต่แม่วันทอง | |||
พระนายถวายเป็นมหาดเล็ก | ถึงตัวเด็กใจใหญ่ไม่มีสอง | |||
เขาองอาจอาสาฝ่าละออง | ข้าพ้นจากจำจองเพราะเจ้าพลาย | |||
ทูลขอคนดทษก็โปรดปราน | สามสิบห้ากล้าหาญสิ้นทั้งหลาย | |||
จะขึ้นมาแก้ไขให้พ้นตาย | บอกพระนายท้ายน้ำให้รู้ตัว | |||
บอกทั้งพวกลาวชาวเวียงจันทน์ | กับพวกเราเหล่านั้นเสียให้ทั่ว | |||
คืนนี้จะเข้าไปอย่าได้กลัว | คอยช่วยกันหั่นหัวอ้ายผู้คุม | |||
อย่าเห็นแก่หลับใหลให้ชักช้า | จะเข้าไปในเวลาสักห้าทุ่ม | |||
มัวพูดกันมันเห็นจะจับกุม | แต่กลางวันนั้นจะซุ่มอยู่ไหนดี ฯ | |||
๏ ตาหลอว่าคุณพ่อออย่าเป็นทุกข์ | วัดหนังหลังคุกเห็นชอบที่ | |||
กุฎีร้างริมสระพระไม่มี | ทั้งตาปีไม่เห็นใครเที่ยวไปมา | |||
ว่าพลางทางชี้ตำแหน่งให้ | ตรงไปหลังเมืองเยื้องข้างขวา | |||
ก็จะเห็นตะรางข้างโรงม้า | วัดหนังหลังศาลาตรงเข้าไป ฯ | |||
๏ ขุนแผนรู้ตำแหน่งแจ้งกิจจา | พูดกันนักจักช้าเห็นไม่ได้ | |||
พ่อลูกสองราก็คลาไคล | ตัดทุ่งมุ่งไปที่หมู่ยาง | |||
สังเกตผู้คนตามทางมา | แวะข้างขวาข้ามย่านสะพานขวาง | |||
หลีกคนด้นเดินเสียนอกทาง | ผ่านตะรางเห็นถนัดวัดรุงรัง | |||
ร้างรกปกคลุมล้วนพุ่มหนาม | เอออารามนี้แน่แลวัดหนัง | |||
ตรงเข้ากุฎีคร่ำคร่ามีฝาบัง | ต่างนอนนั่งคอยท่าเวลากาล ฯ | |||
๏ พอสายัณห์ตะวันลงตรงปลายไม้ | ผู้คนเรียกคนไปเสียงมี่ฉาน | |||
พวกคนโทษวิ่งรี่ตะลีตะลาน | จับสาแหรกแบกคานเข้าทุกคน | |||
สวบสาบหาบหญ้ามาเป็นกลุ่ม | อ้ายผู้คุมถือหวายแล้วไล่ก้น | |||
เสียงฉุ่งฉิ่งวิ่งออกอลวน | หาบหญ้าผ่าถนนตลาดมา | |||
แม่ค้าเห็นคนพวงล่วงเข้าตลาด | บ้างยกกระจาดหับกระชังระวังผ้า | |||
พวกที่นั่งร้านรายขายกุ้งปลา | ถือกะโล่โงง่าตั้งท่าคอย | |||
ตาหลอหัวพวงล้วงปลาไหล | ตารักร่าคว้าใส่เอาปลาสร้อย | |||
อ้ายลูกแล่งแย่งคว้าปลาเล็กน้อย | เขาโขกคอยหลบหน้าแล้วด่าทอ | |||
ตาหลอหัวร่อร่าออกราแต้ | วันนี้แลพ่อจะสั่งปีสังก้อ | |||
เขาตีตบหลบขนเอาจนพอ | ทั้งส้มกล้วยมะละกอก็พอการ | |||
เสียงโซ่ตรวนโกร่งกร่างวางกันอึง | นางคนหนึ่งรำมาะก้าออกหน้าบ้าน | |||
ฉวยไม้คานตีผลับแกจับคาน | พลัดตกคานล้มเค้ลงเก้กัง | |||
พวกแม่ค้าด่าเปรี้ยงเสียงเกรี้ยวโกรธ | อ้ายคนโทษวันนี้เป็นปีสัง | |||
จึงเริงร่ากล้าหาญออกตึงตัง | จะไปเรียนเฆี่ยนหลังเสียให้เลอะ | |||
ตาหลอว่าพ่อไม่อยากกลัว | จะฟ้องใครไสหัวมึงไปเถอะ | |||
ไม่พรั่นพรึงมึงดอกอีหน้าเคอะ | เชอะเข้ามากูจะใส่ให้นอนคราง | |||
พ้นตลาดพอเวลาสายัณห์ | ก็ชวนกันวุ่นวิ่งมากริ่งกร่าง | |||
หิ้วปลาหาบหญ้ามาตามทาง | ถึงตะรางวางหญ้าลงหากิน | |||
ชวนกันตั้งหม้อข้าวเผาปลาดุก | ประเดี๋ยวใจก็สุกอยู่เสร็จสิ้น | |||
คดข้าวใส่กระบายให้นายกิน | พอตะวันตกดินลงทันใด | |||
นายร้อยคอยนับคนโทษถ้วน | ตรวจตรวนแล้วก็ร้อยด้วยโซ่ใหญ่ | |||
ตะเกียงตามสามแห่งออกแดงไป | กุญแจใส่ลั่นกลอนซ้อนสองชั้น ฯ | |||
๏ พอผู้คุมสามคนขึ้นบนร้าน | ตาหลอคลานหานายขมีขมัน | |||
กระซิบบอกพระท้ายน้ำพลัน | คุณพ่อฝันแน่นักประจักษ์ตา | |||
ที่พูดกับกระผมสมทุกสิ่ง | ขุนแผนมาจริงเจียวพ่อขา | |||
กับลูกชายแปลงกายเป็นลาวมา | กระผมยืนเกี่ยวหญ้าผ่าเข้าไป | |||
ใส่ผมยาวเหมือนลาวสนิทนัก | แต่กระผมกับอ้ายรักยังจำได้ | |||
ถ่มถึงคุณเจียวขอรับกับพวกไทย | ข้าพเจ้าเล่าไปทุกสิ่งอัน | |||
เธอให้บอกให้ทั่วเตรียมตัวท่า | คืนวันนี้จะเข้ามาเป็นแม่นมั่น | |||
จะสะกดให้หมดทั้งคุกนั้น | สะเดาะกุญแจแก้กันให้พ้นไปฯ | |||
๏ พระท้ายน้ำฟังคำตาหลอเล่า | ดังได้น้ำทิพย์มารดให้ | |||
สว่างอกอิ่มเอิบกำเริบใจ | ดุจได้ไปผ่านพิมานอินทร์ | |||
เฮ้ยอ้ายหลอโม้โซ่มันยาว | ค่อยค่อยสาวกระซิบบอกกันให้สิ้น | |||
พวกเชียงใหม่อย่าให้มันได้ยิน | พ่อจะพามาบินไปคืนนี้ | |||
ค่อยงุบงิบกระซิบกันต่อไป | ลาวไทยที่ติดตรวนรู้ถ้วนถี่ | |||
พวกคนโทษทั้งสิ้นก็ยินดี | เตรียมตัวไว้ไม่มีใครนิทราฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | เรืองฤทธิ์เชี่ยวชาญหาญกล้า | |||
กับพลายงามลูกกรักอันศักดา | ดูเวลาปลอดห่วงการทัณฑ์ | |||
เห็นดวงดาวสะกดหมดจดแจ่ม | พระจันทร์แรมลบสิ้นดินสวรรค์ | |||
ดึกได้ฤกษ์งามยามสำคัญ | ก็แต่งตัวจัดสรรให้มั่นคง | |||
ปลดเปลื้องเครื่องลาวลงใส่ย่าม | นุ่งม่วงสีครามงามระหง | |||
เข็มขัดขมองโขมดคาดดูอาจอง | แล้วประจงโพกประเจียดประจุฤทธิ์ | |||
ใส่เสื้อลงเลขยันตร์ย้อมว่านยา | เสกจันทน์เจิมหน้าประกาศิต | |||
จับดาบย่างกรายบ่ายตามทิศ | แล้วยกเมฆได้นิมิตเหมือนรูปคน | |||
ลมจันกลาล่องคล่องทางซ้าย | ก็ก้าวกรายซ้ายก่อนออกจรถนน | |||
แล้วร่ายเวทจังงังกำบังตน | เดินรีบร้นถึงตะรางสว่างไฟ | |||
ขุนแผนอ่านอาคมสะดมคน | ทั้งตารางครางกรนไม่ทนได้ | |||
กระซิบสั่งโหงพรายทั้งหลายไป | สะกดอ้ายนายคุกเสียทุกคน | |||
แล้วแก้มนตร์พวกไทยที่ในคุก | ราวกลับปลุกตื่นเตือนกันเกลื่อนกล่น | |||
สะเดาะประตูเปิดกว้างทั้งล่างบน | ทั้งสองคนเข้าไปมิได้ช้า ฯ | |||
๏ ขุนแผนเสกข้าวสารหว่านซัดซ้ำ | เครื่องจำหลุดกายทั้งซ้ายขวา | |||
ร่วงกราวเท้ามือทั้งขื่อคา | ต่างทะลึ่งลุกถลาทั้งลาวไทย | |||
พระท้ายน้ำกำกงตรงออกมา | วันทาขุนแผนทั้งนายไพร่ | |||
อ้ายลางคนขุ่นแค้นแสนเจ็บใจ | ใครข่มเหงนึกได้ไล่ฟาดฟัน | |||
อ้ายผู้คุมสามนายที่ร้ายกาจ | ฟันผลัวะฉัวะฉาดขาดสะบั้น | |||
เลือดอาบดาบมันแลฟันมัน | มันดุดันด่าเฆี่ยนพ่อเจียนตาย | |||
ยังอ้ายผู้กำกับอยู่ทับนอก | อ้ายขี้ครอกเฆี่ยนพ่อถึงสองหวาย | |||
ตาหลอขึ้นทับคร่าฝาทลาย | เอาดาบป่ายปุบดิ้นสิ้นชีวี | |||
ตารักแค้นใจอ้ายตรวจเพลิง | มันตรวจหวดหลังเปิงอยู่ป่นปี้ | |||
จะเอามันไว้ไยไอ้อัปรีย์ | แกฟันทิ้งกลิ้งคี่อยู่คาเรือน | |||
อ้ายคนโทษโกรธใครไล่พิฆาต | ฟันเสียหัวขาดออกกลาดเกลื่อน | |||
ที่ไม่ถูกฆ่าฟันก็ฟั่นเฟือน | ละเมอกรนป่นเปื้อนเหมือนป่าช้า ฯ | |||
ครั้นออกจากตะรางมาข้างนอก | ตาหลอจึงบอกขุนแผนว่า | |||
พวกเราถูกรัดรึงไว้ตรึงตรา | จนง่อยเปลี้ยเสียขาไปหลายคน | |||
จะคลุกคลีหนีไล่ไม่ถนัด | ฉวยมันตัดทางตีสิปี้ป่น | |||
ต้องลักม้าไปบ้างต่างตีนตน | ได้ถ้วนคนตามพ่อพอจะทัน | |||
พวกฉันจะไปดูด้วยรู้แห่ง | โรงข้างขวาม้าแซงนั้นแข็งขัน | |||
โรงซ้ายม้าทาวนล้วนสำคัญ | เอาให้ครบขากันทุกคนไป ฯ | |||
๏ ขุนแผนร้องว่าช้าตาเฒ่า | แต่ลำพังพวกเจ้าเห็นไม่ได้ | |||
ไปเจอลาวก็จะฉาวทั้งเวียงชัย | มันจะไล่เอาแหลกขี้แตกตาย | |||
จึงสั่งตาหลอให้นำหน้า | แล้วต่างคนตามมาสิ้นทั้งหลาย | |||
ถึงโรงม้าซัดปาข้าสารปราย | แล้วสั่งพรายให้กำบังระวังตัว | |||
อ้ายพวกลาวเฝ้าม้าพากันหลับ | กอดประกับกรนดังทั้งเมียผัว | |||
เปิดประตูกรูเข้าไปไม่คิดกลัว | เที่ยวค้นของมองทั่วทุกสิ่งไป | |||
บ้างฉวยคว้าผ้าแพรแก้ผ้านุ่ง | รูดเอาถุงเมียหมดปลดเอาไถ้ | |||
ทั้งเงินทองของดีที่พอใจ | พบที่ไหนฉวยคว้าไม่ปรานี | |||
ขุนแผนร้องเหวยเฮ้ยอย่าช้า | ต่างก็มาแก้ม้าขมันขมี | |||
เครื่องใครใส่มันเข้าทันที | แล้วขึ้นขี่พร้อมหน้าถ้วนขากัน | |||
ตาหมอเลือกม้าดีให้สี่นาย | ล้วนแยบคายขี่ถูกผูกเครื่องมั่น | |||
พระท้ายน้ำขับม้านำหน้าพลัน | ถัดนั้นกำกงมาตรงกลาง | |||
ม้าขุนแผนพลายงามตามต้อนหลัง | กระทืบโกกลนกังกังสะบัดย่าง | |||
ครั้นถึงสี่แพรกจะแยกทาง | ขุนแผนถากไม้ทองหลางคาบหลักไว้ | |||
เอาถ่านมาจารึกอักษรศรี | ให้ชาวบุรีรู้ระบิลสิ้นสงสัย | |||
ใครมาพบอักษรอย่านอนใจ | จงรีบเอาเข้าไปให้นายมึง | |||
ครั้นสำเร็จเสร็จปักหลักสารา | เผ่นขึ้นหลังม้ากระทืบผึง | |||
ตามกันสะบัดย่างวางปรึงปรึง | มาถึงทางจะออกนอกนคร ฯ | |||
๏ ตาโม้กับตามาทั้งตาหลอ | ว่าคุณพ่ออย่าเพ่อรีบไปก่อน | |||
อ้ายพวกลาวเลี้ยงช้างอยู่กลางดอน | ล้วนงางอนงามงามสามสิบตัว | |||
เราจะต้องรบรับยับยั้ง | ถ้าช้างมีขี่มั่งจะยังชั่ว | |||
ล้วนแต่ดีฝีงาน่ากลัว | ฉันรู้ที่ทอดทั่งทุกตำบล ฯ | |||
ขุนแผนร้องว่าเออตาเฒ่า | ถ้าพวกเรารู้ตำแหน่งแห่งหน | |||
คิดจะเข้าเอาช้างก็ชอบกล | ด้วยผู้คนของเราไม่มากมาย | |||
ถึงแม้นได้ช้างงามมาหลายหลัง | พอจะได้เป็นกำลังเราทั้งหลาย | |||
ควาญหมอเราก็มีดีมากนาย | ไว้ดันแดกแหกค่ายทลายทัพ | |||
แน่ตาหลอคุมไพร่ไปสักร้อย | อ้ายลาวน้อยจงกลุ้มเข้ารุมจับ | |||
ชิงช้างทั้งจำลองสัปคับ | เอาให้ได้พร้อมสรรพแล้วขับมา ฯ | |||
๏ ตาหลอรับนับคนได้ร้อยเศษ | สังเกตที่ได้ชัดเดินลัดป่า | |||
ถึงก็ยั้งตั้งโห่ขึ้นสามลา | ตรงเข้าคว้าจับเอาอ้ายชาวช้าง | |||
ทำแต่ให้ตกใจไม่ฆ่าฟัน | มัดศอกติดกันทั้งสองข้าง | |||
เข้าควักล้วงช่วงชิงวิ่งโกรงกราง | เครื่องเคราขนพลางไม่รั้งรอ | |||
ประโคนพานหน้าหลังหนังชนัก | อานจำหลักทั้งแหย่งกระแชงขอ | |||
บรรดาของต้องการกว้านจนพอ | แล้วขึ้นคอไล่วิ่งลูกดิ่งตี | |||
ช้างถูกลูกดิ่งวิ่งชิงคลอง | บ้างก็ร้องแหกป่ามาอึงมี่ | |||
พวกไทยลาวตัวลือฝีมือดี | ทั้งหมอควาญขับขี่ไม่มีช้า | |||
ครู่หนึ่งถึงที่ขุนแผนคอย | ตาหลอตามรอยเข้าไปหา | |||
บอกว่าลูกไปได้ช้างมา | ล้วนว่องไวใหญ่กล้างาลากดิน | |||
ขุนแผนฟังตาหลอัวร่อร่า | สั่งให้เดินช้างม้ามาทั้งสิ้น | |||
กำลังดึกดาวกระจ่างน้ำค้างริน | ก็เข้าถิ่นจะถึงที่บึงบอน ฯ | |||
๏ ฝ่ายข้างทหารสามสิบห้า | ได้ยินอื้ออึงมาป่ากระฉ่อน | |||
สำคัญคิดว่าลาวชาวนคร | ก็รีบร้อนแต่งตัวทั่วทุกคน | |||
พรหมศรสำมะยังสั่งอาสา | เราคอยท่าตัดทัพให้ยับย่น | |||
ถ้าได้ยินกลองน้อยแล้วถอยตน | ฆ้องกระแตรีบร้นเร่งเข้ามา | |||
สั่งกันเสร็จสรรพจับอาวุธ | คาดตะกรุดโพกประเจียดมงคลใส่ | |||
พรหมศรคุมอาสาแยกขวาไป | สำมะยังคุมไพร่แยกซ้ายจร | |||
ครั้นถึงที่แถบทางหว่างช่องแคบ | ต่างเข้าไปแอบในพุ่มแล้วซุ่มซ่อน | |||
แต่ล้วนคนหัวไม้ใจแน่นอน | มิได้หย่อนย่อท้อต่อไพรี | |||
พอพระท้ายน้ำที่นำหน้า | ขับม้าเดินเฉยเลยพ้นที่ | |||
สำมะยังสั่งให้โห่ขึ้นสามที | ออกจากพงตรงรี่เข้าตัดทัพ | |||
เผ่นขึ้นงาช้างง้างฟันคอ | ถูกตาหลอพอเลือดเป็นยางหนับ | |||
ตาหลอยกขอขึ้นรำรับ | ฟาดขวับถูกถนัดพลัดตกตึง | |||
หล่นปุกลุกขึ้นได้ใส่พวกม้า | เอาดาบปาพระท้ายน้ำเข้าต้ำผึง | |||
เสื้อขาดพลาดท่าควบม้าปรึง | กระทืบโกลนโผ่นทะลึ่งไปตามช้าง | |||
ทั้งพวกลาวไทยไม่รู้ตัว | พากันกลัวโดดวิ่งทิ้งดาบผาง | |||
ขุนแผนคิดว่าลาวมาดักทาง | กระทืบม้าผ่ากลางวางเข้าไป | |||
เจ้าพลายกระทืบแผงแข่งบิดา | ฟันฟาดสาตราเข้าลุยใส่ | |||
ธรรมเถียรวิ่งถลันมาทันใด | กับพวกไพร่กรูพร้อมล้อมเข้ามา | |||
ขุนแผนตวาดอำนาจครุฑ | ดาบหลุดหกล้มลงจมหญ้า | |||
พรหมศรสำมะยังยืนจังก้า | หยักรั้งตั้งท่าแล้วแทงเอา | |||
ถูกอกขุนแผนเข้าต้ำอัก | หอกหักยู่ไปไม่ยักเข้า | |||
ขุนแผนเห็นหอกหักชักนางกระเบา | แทงอ่ายเฒ่าพรหมศรลงนอนดิ้น | |||
ไม่เข้าหนังสำมะยังวิ่งเข้าแก้ | แร่เข้าฟันเจ้าพลายคล้ายฟันหิน | |||
ชั้นเสื้อนอกหอกดาบก็ไม่กิน | หักบิ่นยู่พับยับย่อยไป | |||
นายโดดกับนายเสือเงื้อหอกง่า | ขุนแผนปาลงต้ำฉาดพลาดไถล | |||
สำมะยังธรรมเถียรเปลี่ยนแปลกใจ | นี่อย่างไรคงทนพ้นกำลัง | |||
พิโรธแรงแกว่งดาบทะลวงไล่ | เหลือบไปเห็นขุนแผนก็ถอยหลัง | |||
ใครนั่นหนอคุณพ่อดอกกระมัง | เออ้ายสำมะยังดอหรือไร | |||
พวกทหารเห็นแม่นขุนแผนนาย | ใจหายทิ้งดาบลงกราบไหว้ | |||
ไม่รู้ว่าคุณพ่อขออภัย | คิดว่าลาวเชียงใหม่มันยกมา | |||
แทงคุณพ่อกับพ่อพลายเป็นหลายที | โทษลูกถึงที่จะสังขาร์ | |||
ขุนแผนชอบใจไม่โกรธา | ว่าแกล้วกล้าเช่นนี้แลดีครัน | |||
ครั้นรู้จักตัวกันทั่วหน้า | ให้ลดเลี้ยวเที่ยวหากันจ้าละหวั่น | |||
ทั้งพวกช้างพวกม้าตามมาพลัน | เสียงเพรียกเรียกกันอึงคะนึง | |||
กำกงกับพระท้ายน้ำนั้น | ด้วยความกลัวตัวสั่นจนมาถึง | |||
ประทับทอดม้าช้างวางกันอึง | พร้อมกันอยู่ที่บึงสบายใจ ฯ | |||
๏ ครั้นรุ่งรางสางแสงสุริเยนทร์ | เยื้องพระเมรุเลื่อนล่องส่องแสงใส | |||
พวกพนักงานลาวชาวเวียงชัย | จะเบิกไขคนโทษไปทำงาน | |||
ถึงประตูจู่เดินมาดุ่มดุ่ม | เห็นผู้คุมหัวขาดอยู่กลาดย่าน | |||
ต่างตกใจไปค้านวิ่งลนลาน | พบซมซานยังไม่ตายก็หลายคน | |||
เรือนนายตรวจหักแหกของแตกหาย | กระจัดกระจายไปทุกเรือนออกเกลื่อนกล่น | |||
เข้าไปในตะรางที่ข้างบน | เห็นผู้คนหายไปทั้งไทยลาว | |||
นายร้อยพะทำมะรงลงกลิ้งกลาด | บ้างหัวขาดเหลือกตาดูหน้าขาว | |||
โซ่ตรวนหลุดกองทั้งสองราว | คาขื่อมือเท้าเกะกะไป | |||
โซ่พันยังลั่นกุญแจติด | ตรวนก็ชิดหาเห็นรอยตัดไม่ | |||
ขื่อลิ่มก็ยังดีนี่อย่างไร | ประหลาดใจโดดตะรางวางวิ่งมา | |||
ฝ่ายอ้ายลาวเฝ้าม้าทั้งผัวเมีย | ลุกขึ้นนั่งงัวเงียยังแก้ผ้า | |||
ครั้นสร่างมนตร์เหลี้ยวคว้างเห็นว่างตา | หมอนมุ้งกระบุงตะกร้าก็หายไป | |||
เมียแลดูผัวเห็นตัวเปล่า | เอ๊ะใครเอาผ้านุ่งไปเสียไหน | |||
ผัวแลดูเมียเสียน้ำใจ | ผ้าผ่อนล่อนกระไรไม่ติดกาย | |||
ผัวเมียตีอกตกประหม่า | นางเมียไม่มีผ้าคว้าเสื่อหวาย | |||
ผัวขยุ้มกุมจุ่นอยู่วุ่นวาย | ฉวยกระสอบสวมกายคล้ายกางเกง | |||
ทั้งโรงเหนือโรงใต้ไม่มีม้า | พวกคนเลี้ยงวิ่งร่ามาเหยงเหยง | |||
อ้ายบางคนแก้ผ้ามาดโทงเทง | โรงกูเองก็หายตายแล้วเรา | |||
กำลังพวกเลี้ยงม้าจ้าละหวั่น | ก็พบกันกับอ้ายพวกนายคุกเข้า | |||
พูดกันฟั่นเฟือนเหมือนกับเมา | พออ้ายเฒ่าเลี้ยงช้างวางวิ่งมา | |||
พบกันเข้าทุกคนที่ต้นทาง | เล่าคดีถี่ห่างกันพร้อมหน้า | |||
จะพากันเข้าไปในศาลา | มาพบหลักอักขราเข้ากลางทาง | |||
ก็รู้ว่าหนังสือฝีมือไทย | ตรงเข้าไปถอนชักหลักทองหลาง | |||
อ่านดูรู้แจ้งไม่แคลงคลาง | ก็แบกวางเข้ามาศาลาใน ฯ | |||
๏ ครานั้นแสนท้าวเหล่าพระยา | นั่งอยู่บนศาลาลูกขุนใหญ่ | |||
กำลังว่าราชการงานเวียงชัย | แลไปเห็นคนวิ่งลนลาน | |||
บ้างนุ่งเสื่อใส่กระสอบวิ่งหอบโครง | บ้างโล่งโต้งแก้ผ้ามางุ่นง่าน | |||
ก็ร้องทักถามไปไม่ได้การ | อ้ายพวกนั้นจัณฑาลเป็นสิใด | |||
ผ้าผ่อนล่อนแก่นแล่นออกฉาว | ใครฉกชิงวิ่งราวหรือไฉน | |||
คนดีหรือคนบ้ามาทำไม | นายเวรไปถามดูให้รู้ความ | |||
พอพวกนั้นเข้าไปในศาลา | หมอบกราบคลานเข้ามาออกงุ่นง่าน | |||
ปากคอสั่นให้ครั่นคร้าม | ฟังถามต่างก็แจ้งแห่งกิจจา | |||
ว่าสาธุเจ้าประคุณบุญปกหัว | โทษตัวข้อยนี้เป็นหนักหนา | |||
เมื่อยามดึกคนดีมีเข้ามา | สะกดฆ่าผู้คุมเสียมากมาย | |||
สะเดาะโซ่กุญแจเข้าแก้ไทย | ทั้งพวกล้านช้างไปเสียศูนย์หาย | |||
นายตรวนนายตรามันฆ่าตาย | เจ้าประคุณทั้งหลายได้โปรดปราน | |||
ฝ่ายพวกกองช้างก็กราบเรียน | มันผูกมัดรัดเฆี่ยนกระหม่อมฉาน | |||
เข้าแก้แหล่งลักช้างทั้งเครื่องอาน | เอาช้างไปประมาณสามสิบตัว | |||
อ้ายพวกม้าปากสั่นรันเรียนไป | ว่าสาธุคุณผู้ใหญ่ได้ปกหัว | |||
มันสะกดข้าพเจ้าหลับเมามัว | แก้ผ้าผ่อนล่อนตัวไม่ว่าใคร | |||
แล้วเลือกม้าดีดีมีกำลัง | ทั้งเครื่องอานเบาะหนังหาเหลือไม่ | |||
ประมาณม้าทั้งหลายที่หายไป | นับได้เป็นม้าห้าร้อยปลาย | |||
แล้วมาพบไม้หลักปักกลางทาง | ปิดหนังสืออวดอ้างไว้มากหลาย | |||
ว่ากล่าวหยาบช้าถึงท้าทาย | จะทำลายเชียงอินทร์ให้สิ้นกรุง ฯ | |||
๏ พระยาลาวฟังแถลงแจ้งคดี | อ้ายพวกไทยแล้วนี่ที่ทำยุ่ง | |||
ต่างพิโรธโกรธใจดังไฟฟุ้ง | จับหนังสือถือมุ่งเขม้นดู | |||
ครั้นรู้แจ้งประจักษ์ในอักษรา | ต่างคนต่างผลัดผ้าไม่ช้าอยู่ | |||
เพี้ยกวานตามหลังมาพรั่งพรู | กรูเข้าท้องพระโรงด้วยทันใด ฯ | |||
ครานั้นเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นพุงดำ | ฤทธิ์ล้ำลึกจบพิภพไหว | |||
สถิตแท่นสุวรรณอันอำไพ | อยู่ที่ในพระโรงรัตน์ชัชวาล | |||
หร้อมหมู่แสนท้าวเหล่าพระยา | บัญชาตรัสประภาษอยู่ฉาดฉาน | |||
เห็นข้าเฝ้าเข้ามาดูลนลาน | เฮ้ยเพี้กวานเอาไม้อะไรมา ฯ | |||
๏ เพี้ยกวานกราบทูลมูลเหตุ | ว่าสาธุทรงเดชโปรดเกศา | |||
เมื่อคืนมีโจรอหังการ์ | มาแก้ชาวอยุธยาพาหนีไป | |||
ซ้ำลักเอาม้าห้าร้อยถ้วน | เลือกแต่ล้วนตัวดีที่สูงใหญ | |||
แล้วออกไปชิงช้างที่กลางไพร | เอาไปได้งามงามสามสิบตัว | |||
อ้ายคนโทษพวกลาวชาวล้านช้าง | ก็พลอยหนีหมดตะรางพระทูนหัว | |||
มันปักหนังสือท้าว่าไม่กลัว | ได้ค้นคว้าหาทั่วก็ไม่ทัน ฯ | |||
๏ เจ้าเชียงใหม่ได้ฟังดังไฟผลาญ | ร้องเรียกล่ามพนักงานขมีขมัน | |||
เฮ้ยอ่านไปให้แจ้งแห่งสำคัญ | หนังสือนั้นมันว่าท่ากระไร ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าพันจามล่ามพนักงาน | คลานมารับจับอ่านหาช้าไม่ | |||
ว่าพระจอมนครินทร์ปิ่นกรุงไทย | บัญชาใช้ให้ทหารพระกาลมา | |||
เราหรือชื่อพระยาแผนพิฆาฏ | คุมพวกไพร่อาทมาตสามสิบห้า | |||
กับพลายงามลูกรักอันศักดา | ยกมาจะประหารผลาญบุรี | |||
ด้วยลาวชิงสร้อยทองของท่านไว้ | แล้วจับไทยจองจำทำป่นปี้ | |||
เราเข้ามาแก้ไขไทยเหล่านี้ | กับพวกที่ล้านช้างส่งนางไป | |||
ให้พวกเรารอดพ้นทนทุกข์ก่อน | จะหลบลี้หนีซ่อนนั้นหาไม่ | |||
จะรอเราให้เข้ามาชิงชัย | หรือจะตามก็ไปที่บึงบัว | |||
ถ้ารักชีวิตคิดถึงซึ่งพวกพ้อง | จงทูนนางสร้อยทองไว้บนหัว | |||
ส่งให้แล้วคำนับรับว่ากลัว | จึงจะปลอดรอดตัวไม่มรณา ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าเชียงใหม่ครั้นได้ฟัง | แค้นคั่งราวกับไฟไหม้เวหา | |||
เหม่อ้ายไทยขี้ถังอหังการ์ | มาอวดกล้าท้าทายหยาบคายแท้ | |||
เฮ้ยบรรดาแสนท้าวเหล่าพระยา | ซึ่งมันว่ายังจะจริงฉะนั้นแน่ | |||
หรือพรั่นตัวกลัวเราจะตามแจ | จึงพูดแก้ขู่ไว้ให้รอช้า | |||
กับพวกมันสามสิบสักหยิบมือ | อ้ายที่หนีคุกหรือจะสู้หน้า | |||
ล้อมฟันเสยไม่ทันจะพริบตา | ซึ่งเราว่าใครจะเห็นเป็นอย่างไร ฯ | |||
๏ ครานั้นพระยาจันทรังสี | ผู้ว่าที่สมุหทหารใหญ่ | |||
คิดพลางทางทูลไปทันใด | มันท้าไว้ถ้อยคำก็สำคัญ | |||
ถ้าไม่ดีไหนจะมีหนังสือท้า | อ้ายคนที่ยกมาจะแข็งขัน | |||
เรายกไปคงได้ถึงรบกัน | ด้วยว่ามันอิ่มเอิบกำเริบใจ | |||
แต่อ้ายพวกมาตามสามสิบห้า | ถึงดีแท้ก็จะมาทำไมได้ | |||
อ้ายห้าร้อยที่มันลักพาไป | ทั้งลาวไทยไม่มีอ้วนล้วนพุงโร | |||
มันเสมือนหมู่เนื้อเสือเคยทับ | ไหนจะกลับหันหน้าเข้ามาโต้ | |||
สามสิบห้าถึงจะกล้าเป็นเอกโท | อ้ายคนโซก็จะพาอ้ายกล้าไป | |||
ขอให้แต่งม้าใช้ออกไปดู | ถ้ามันยังตั้งอยู่ที่บึงใหญ่ | |||
จึงค่อยยกกองทัพขับพลไกร | เข้าลุยไล่เสียให้แหลกเป็นผงคลี ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นพิภพ | ฟังจบตรึกตรองเห็นต้องที่ | |||
จึงสั่งตรัสมุงกะยองกองพาชี | จงเลือกหาม้าดีขี่ออกไป | |||
รีบไปสืบดูให้รู้แท้ | มันหนีแน่หรือยังอยู่ที่บึงใหญ่ | |||
ถ้ามันอยู่สูมาอย่านอนใจ | เราจะได้เกณฑ์ทัพไปจับมัน ฯ | |||
๏ ครานั้นมุงกะยองมองไล่ | รับสั่งแล้วรีบไปขมีขมัน | |||
ผูกม้าโผนธรณีสีจันทน์ | ขึ้นกระทบแผงผันผยองไป | |||
ปล่อยใหญ่ใส่ห้อไม่ย่อหย่อน | พอแดดอ่อนก็ถึงที่บึงใหญ่ | |||
ลงจากม้าดอดดุ่มเข้าพุ่มไพร | ขึ้นบนต้นไม้ลอบแลดู | |||
ประมาณคนเบ็ดเสร็จเจ็ดร้อยกว่า | เห็นทางท่าไม่หนีทีจะสู้ | |||
แต่แลไปไม่เห็นตั้งค่ายคู | สังเกตรู้แน่ชัดถนัดตา | |||
ลงจากต้นไม้มารี่หรับ | ขึ้นพาชีขี่ขับไปกลางป่า | |||
พอตะวันอัสดงก็ปลงม้า | ตรงเข้ามายังท้องพระโรงชัย | |||
ครั้นถึงหน้าที่นั่งบังคมทูล | ตามมูลเหตุแจ้งแถลงไข | |||
ข้าพเจ้าเล็ดลอดดอดเข้าไป | เห็นลาวไทยลุกนั่งอยู่พรั่งพรู | |||
ทั้งนายไพร่ใหญ่น้อยเจ็ดร้อยกว่า | เห็นทางท่ารั้งรอจะต่อสู้ | |||
แต่อย่างไรไม่เห็นตั้งค่ายคู | มันตั้งอยู่ที่บึงทางครึ่งวัน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ได้ทรงฟัง | แผดเสียงเปรี้ยงดังสนั่นลั่น | |||
เหม่เหม่อ้ายไทยใจฉกรรจ์ | เจ็ดร้อยน้อยหรือนั่นมาขันรบ | |||
ไม่พอครือมือลาวชาวเชียงใหม่ | สักอึดใจก็จะมัดดังรัดกบ | |||
เพียงหักไม้คนละกิ่งทิ้งสมทบ | ก็จะกลบเสียได้ไม่คณนา | |||
ดำรัสตรัสประภาษอยู่ฉาดฉาน | สั่งท้าวกรุงกาฬตรีเพชรกล้า | |||
จงเร่งพหลพลโยธา | ไปจับจิกหัวมาให้หนำใจ | |||
อันเพี้ยปราบเมืองแมนแสนกำกอง | ทั้งสองเคยเคี่ยวเข็ญเป็นผู้ใหญ่ | |||
ยกเป็นปีกซ้ายขวาคลาไคล | ให้กรุงกาฬนั้นไซร้เป็นแม่ทัพ | |||
แสนตรีเพชรกล้าขี่ม้าคล่อง | เคยทำนองหักโหมเข้าโจมจับ | |||
เป็นแม่ทัพสินธพไปรบรับ | ให้พร้อมสรรพพรุ่งนี้สี่โมงปลาย ฯ | |||
๏ พระยาจันทรังสีได้รับสั่ง | ออกมานั่งศาลาให้บัตรหมาย | |||
เร่งเรียกพลไกรทั้งไพร่นาย | จัดจ่ายช้างม้าเครื่องอาวุธ | |||
ทัพม้าห้าพันสกรรจ์หมด | ใจคอทรหดเป็นที่สุด | |||
เคยฝึกฝนทนทานชำนาญยุทธ์ | ทั้งซ้ายขวาอุตลุดล้วนขี่ม้า | |||
บ้างถือทวนถือเสน่าเกาทัณฑ์ | เรี่ยวแรงแข็งขันเคยอาสา | |||
มีนายกองนายหมวดคอยตรวจตรา | พร้อมสรรพทัพหน้าได้ห้าพัน | |||
เพชรกล้าประทานม้าพระที่นั่ง | มีกำลังไวว่องคล่องขยัน | |||
ชื่อว่าเหมรัศมีสีจันทน์ | ผูกเครื่องกุดั่นประดับพลอย | |||
แผงข้างเขียงนางกินนรรำ | โกลนคร่ำโพธิ์ทองทั้งพู่ย้อย | |||
อานปรุลายฉลุจำหลักลอย | ควาญประจำจูงคอยจะยาตรา ฯ | |||
๏ กรุงกาฬทัพใหญ่ยกไว้ก่อน | กล่าวถึงทัพอัสดรตรีเพชรกล้า | |||
อันแม่ทัพคนนี้มีศักดา | อยู่คงสาตราวิชาดี | |||
แขนขวาสักรงเป็นองค์นารายณ์ | แขนซ้ายสักชาดเป็นราชสีห์ | |||
ขาขวาหมึกสักพยัคฆี | ขาซ้ายสักหมีมีกำลัง | |||
สักอุระรูปพระโมคคัลลาน์ | ภควัมปิดตานั้นสักหลัง | |||
สีข้างสักอักขระนะจังงัง | ศีรษะฝังพลอยนิลเม็ดจินดา | |||
ฝังเข็มแล่มทองไว้สองไหล่ | ฝังเพชรเม็ดใหญ่ไว้แสกหน้า | |||
ฝังก้อนเหล็กไหลไว้อุรา | ข้างหลังฝังเทียนคล้าแก้วตาแมว | |||
เป็นโปเปาปุบปิบยิบทั้งกาย | ดูเรี่ยรายรอยร่องเป็นถ่องแถว | |||
แต่เกิดมาอาวุธไม่พ่องแพว | ไม่มีแนวหนามขีดสักนิดเดียว | |||
สูงใหญ่รูปร่างเหมือนอย่างเสือ | กำลังเหลือเนื้อหนังก็แน่นเหนียว | |||
หนวดโง้งโก่งฟั่นพันเป็นเกลียว | ฟันขาวปากเขียวดังปลิงควาย | |||
นัยน์ตาดำคล้ำคล้ายกับตาเสือ | ขอบตาแดงเรื่องดังชาดป้าย | |||
คิ้วกระหมวดหนวดแดงดูแรงร้าย | ผมมุ่นมวยคล้ายกับโยคี | |||
แต่รุ่นหนุ่มคุ้มใหญ่ไม่อาบน้ำ | เพื่อนตำแต่ว่านยาทาขัดสี | |||
ไม่นอนด้วยภรรยาทั้งตาปี | ต่อศึกมีเมื่อไรได้อาบน้ำ | |||
จะไปทัพจึงหาบรรดาว่าน | มาเสกอ่านอาคมถมถนำ | |||
เครื่องรางตะกรุดลงองค์ภควัม | บริกรรมเสกเป่าเข้าทันใด | |||
แล้วตักน้ำตีนท่ามาใส่ขัน | หยิบเครื่องอานว่านนั่นเอาลงใส่ | |||
เสกเดือดพล่านพลั่งดังตั้งไฟ | เห็นประจักษ์วักได้ใส่หัวพลัน | |||
หยิบเครื่องอานว่านยาขึ้นมาไว้ | เพชรกล้าลงไปในแม่ขัน | |||
ประจงจบเคารพแล้วอาบพลัน | ดูสำคัญในนทีจะมีลาง | |||
ถ้าจะเกิดอันตรายวายชีวิต | ในนิมิตน้ำแดงเป็นแสงฝาง | |||
ถ้าไม่ชนะไม่แพ้แต่ปานกลาง | น้ำเป็นอย่าสีรงลงละลาย | |||
ถ้าจะไปมีชัยแก่ข้าศึก | น้ำเลื่อมดังผลึกวิเชียรฉาย | |||
ครั้งนั้นขาดชันษาชะตาตาย | นิมิตสายชลธีเป็นสีแดง | |||
เพชรกล้ามุ่งเขม้นเห็นนิมิต | รู้แท้แน่จิตประจักษ์แจ้ง | |||
น้ำอย่างสีฝางลางร้ายแรง | นึกแสยงสยดสยอนถอนฤทัย | |||
เป็นสุดทุกข์ลุกออกมาผลัดผ้า | ประหนึ่งว่าไม่ดำรงทรงกายได้ | |||
แล้วนึกว่าชาติทหารอันชาญชัย | ถึงบรรลัยก็ให้ลือฝีมือลาว | |||
ฮึดฮัดจัดแจงแต่งกายา | วันจันทร์นุ่งผ้ายกพื้นขาว | |||
คาดตะกรุดเครื่องรางปรอทวาว | ใส่แหวนเพชรเม็ดวาวเหมือนดาวราย | |||
ประเจียดประจงจับตะเบงมาน | สอดสังวาลสะอิ้งรัดจำรัสฉาย | |||
โพกผ้าขลิบพื้นขาวดาวกระจาย | เข็มขัดสายทองถักล้วนอักขรา | |||
จบจับประคำทองเข้าคล้องคอ | ผงดินสอเสกเสริมแล้วเจิมหน้า | |||
ถือง้าวก้าวย่างสามขุมมา | เผ่นขึ้นหลังม้าสง่างาม | |||
ท่วงทีองอาจดังราชสีห์ | สมกับที่ชาญชัยในสนาม | |||
ขยับยกเมฆในได้ฤกษ์ยาม | ให้โห่สามลาเลิกโยธาไป | |||
แม่ทัพสัปทนคนกางกั้น | เสียงฝีเท้าม้าลั่นแผ่นดินไหว | |||
พวกพลโห่ร้องคะนองใจ | เป็นโกลามาในอรัญวา ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงกองทัพท้าวกรุงกาฬ | ทหารแม่ทัพใหญ่ใจกล้า | |||
ต่างเร่งรัดจัดแจงแต่โยะา | สั่งให้ผูกช้างงาเข้าฉับพลัน | |||
กรมช้างเร่งรัดจัดช้างตั้ง | ล้วนพ่วงพีมีกำลังผูกเครื่องมั่น | |||
ควาญหมอท้ายคอคนสำคัญ | ทหารนั้นนั่งกลางข้างละคน | |||
มีอาวุธพร้อมสรรพสำหรับช้าง | มายืนข้างสองแถวแนวถนน | |||
สวมสอดเสื้อลงใส่มงคล | ล้วนอยู่ยงคงทนซึ่งสาตรา | |||
บ้างอยู่ด้วยรากไม้ไพรว่าน | บ้างอยู่ด้วยโอมอ่านพระคาถา | |||
บ้างอยู่ด้วยเลขยันตร์น้ำมันทา | บ้างอยู่ด้วยสุราอาพัดกิน | |||
บ้างอยู่ด้วยเขี้ยวงาแก้วตาสัตว์ | บ้างอยู่ด้วยกำจัดทองแดงหิน | |||
บ้างอยู่ด้วยเนื้อหนังฝังเพชรนิล | ล้วนอยู่สิ้นทุกคนทนสาตรา | |||
เพี้ยปราบเมืองแมนแสนเสนี | คุมกองโยธีข้างปีกขวา | |||
ขึ้นขี่คชสารตระหง่านงา | โพกผ้าสีทับทิมริมขลิบทอง | |||
ใส่เสื่อสีชมพูดูแดงฉาด | ขลิบตาดต้นแขนไว้ทั้งสอง | |||
ฝ่ายข้างปีกซ้ายนายกำกอง | โพกทับทิมขลิบททองอยู่เหมือนกัน | |||
ใส่เสื้อกำมะหยี่สีตอง | ประคำทองคล้องคอดูแข็งขัน | |||
ทั้งสองล้วนอยู่คงลงเลขยันตร์ | คุมพลข้างละพันทั้งขวาซ้าย | |||
แต่ล้วนเหล่าทหารชำนาญยุทธ์ | ถือสาตราอาวุธเป็นเหล่าหลาย | |||
นายสอยดาวคุมสกรรจ์ก็พันปลาย | เป็นทัพหลังรั้งท้ายสำราจพล | |||
ขี่พลายแก้วมิ่งเมืองผูกเครื่องมั่น | ใส่เสื้อจีบสีจันทน์หนังไก่ย่น | |||
หมวดโหมดลงยันตร์กั้นสัปทน | พร้อมพรั่งทั้งพหลพลโยธี | |||
ที่นั่งรองขององค์เจ้าเชียงใหม่ | ประทานให้แม่ทัพนั้นขับขี่ | |||
สำหรับทรงชิงชัยกับไพรี | ชื่อพลายพลิกธรณีมีน้ำมัน | |||
สูงหกศอกกำมางารัดทอง | ตะพองผายท้ายด้อยดังช้างปั้น | |||
หางยาวหูใหญ่ใจฉกรรจ์ | โขมดหัวสองชั้นคั่นมงคล | |||
จะย่างย่องว่องไวใช้กิริยา | หนังหนาหน้ายักษ์ชักเนื้อย่น | |||
อยู่ปืนฟืนไฟไม่ดิ้นรน | หางสะพัดปัดส้นเส้นขนกลม | |||
ผูกสะพักปักตระพองด้วยทองแล่ง | พู่แดงห้อยหูดูงามสม | |||
พานหน้าท้านลายดาวเป็นดอกกลม | สองช้างแนบแถบถมด้วยเงินยวง | |||
สายชนักถักไหมกลางใส่เบาะ | ขอเกาะปลายง้าวคมขาวช่วง | |||
ควาญใส่เสื้อแดงแย่งชิงดวง | ใส่หมวกโหมดม่วงทะมัดทะแมง ฯ | |||
๏ ครานั้นกรุงกาฬชำนาญทัพ | จบจับเครื่องอานเข้าตกแต่ง | |||
นุ่งยกอย่างลาวขาวดอกแดง | ใส่เสื้อกรองทองแล่งเป็นแย่งครุฑ | |||
สายสังวาลภควัมประจำคล้อง | แหวนทองปัทมราชคาดตะกรุด | |||
เสื้อในลงยันต์กันอาวุธ | เข็มขัดขุดขมองพรายเป็นลายดุน | |||
เหน็บกริชตรงลงคมประจุขาด | แล้วซ้ำคาดราตคดหนามขุน | |||
ใส่หมวกถักไหมทองกรองตาชุน | สะพายดาบญี่ปุ่นฝักหุ้มทอง | |||
เอาน้ำสระสรงองค์นารายณ์ | มาพรมกายกรายกรากออกจากห้อง | |||
ควาญเทียบช้างประทับเข้ารับรอง | ก็ย่างย่องขึ้นคอจับขอกราย | |||
ภาวนาเขม้นเห็นนิมิต | วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย | |||
จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย | เป็นลางร้ายวิปริตก็ผิดใจ | |||
ครั้นจะทูลขอรั้งรออยู่ | ก็อดสูโยธาบรรดาไพร่ | |||
เกิดเป็นคนใครจะพ้นที่บรรลัย | ก็แข็งใจไปตามแต่เวรา | |||
ขาขยับไสช้างพอย่างกราย | เห็นลูกนกตกตายลงต่อหน้า | |||
นกแสกแถกเสียดศีรษะมา | แร้งกาบินจับสัปทน | |||
วันนั้นท้าวกรุงกาฬสะท้านจิต | โอ้ชีวิตกูนี้คงปี้ป่น | |||
จะใจได้ฤกษ์ให้เลิกพล | ขานโห่สามหนแล้วยกไป | |||
ดูชายธงตรงลิ่วไม่ปลิวสะบัด | ลมก็จัดวิปลาสไม่หวาดไหว | |||
ทั้งเสียงโห่ก็ไม่ก้องให้หมองใจ | สะทึกสะท้อนถอนฤทัยมาในดง ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงขุนแผนแสนสนิท | เรืองฤทธิ์พริ้งเพริศระเหิดระหง | |||
กับเจ้าพลายท้ายน้ำกึงกำกง | นั่งปรึกษาการณรงค์กับโยธา | |||
เห็นผงคลีกลุ้มกลบตลบบน | ชะรอยลาวยกพลมาหนักหนา | |||
ขุนแผนนิ่งระงับหลับตา | พิจารณารู้แน่ในทางปราณ | |||
นี่ลาวยกทัพหมื่นมาดื่นป่า | ก็บัญชาสั่งให้ไพร่ทหาร | |||
ไปตัดอ้อขมมาอย่าเนิ่นนาน | ปักขนาบหน้ากระดานด้านท้ายบึง | |||
แล้วปักแยกแหกฉีกเป็นปีกกา | เอาไม้มาขีดคูดูขังขึง | |||
ทั้งหอรบหอคอยร้อยแขมกรึง | ดูประหนึ่งปักเล่นไม่แน่นแฟ้น | |||
พอแม่ทัพจับซัดข้าวสารปร๋อ | แขมอ้อกลายไปเป็นไม้แก่น | |||
เชิงเทินรอบขัณฑ์ไม่คลอนแคลน | ปีกกาชักปักแน่นกว่าไม้จริง | |||
ที่รอยขีดกลับเป็นคูดูลึกซึ้ง | อยู่ข้างบึงขวางดงตรงตลิ่ง | |||
ถึงจะต้องปืนใหญ่ไม่ไหวติง | ทั้งหอรบครบสิ่งสำเร็จการ | |||
ขุนแผนสั่งพวกไพร่ที่ในทัพ | กำชับเตรียมตัวทั่วทุกด้าน | |||
แต่ตัวนายสี่คนอยู่บนร้าน | ให้กองด่านดูลาวจะเข้ามา ฯ | |||
๏ จะขอหยุดยับยั้งข้างขุนแผน | กล่าวถึงทัพนายแสนตรีเพชรกล้า | |||
รีบร้อนต้อนขับกองทัพม้า | มาถึงป่าดอนตะแบกจะแยกทาง | |||
ดูไปไกลประมาณสามสิบเส้น | แลเห็นค่ายไทยทั้งใหญ่กว้าง | |||
ทั้งขวาซ้ายรายชักปีกกากาง | ขุดคูข้างขอบบึงไปถึงกัน | |||
ครั้นถึงที่เห็นสนามตามตำรับ | ก็หยุดทัพยับยั้งลงตั้งมั่น | |||
แล้วปักธงยิงปืนเป็นสำคัญ | ให้โห่สามลาลั่นสนั่นไป ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนทหาร | ได้ยินลาวโห่ขานสะท้านไหว | |||
ร้องประกาศบอกกันนั่นเป็นไร | ลาวยกทัพใหญ่มาคั่งคับ | |||
เรากับลูกรักอันศักดา | จะยกพลโยธาออกเคี่ยวขับ | |||
ท่านทั้งสองคอยอยู่ดูในทัพ | เราจะรับมือลาวชาวเชียงอินทร์ | |||
แต่บรรดาพวกลาวบ่าวของท่าน | ประจำการอยู่ในค่ายวงสายสิญจน์ | |||
แต่บรรดาพวกไทยใจทมิฬ | จงขี่ม้ามาสิ้นให้ครบกัน | |||
เจ้าพลายงามยกไปเป็นทัพหน้า | คุมพวกสามสิบห้าล้วนแข็งขัน | |||
เราจะยกทัพใหญ่หนุนไปพลัน | ถ้าได้ทีตีตะบันบุกเข้าไป | |||
ถ้าพลลาวเหลือล้นพ้นประมาณ | เราจะไสคชสารเข้าลุยไล่ | |||
จะรบราฆ่ามันให้บรรลัย | จงตั้งใจอย่าประมาทต้องอาจอง | |||
สั่งแล้วขุนแผนกับลูกชาย | แต่งกายคาดเครื่องเรืองระหง | |||
นุ่งผ้าตามตำรารณงค์ | เข็มขัดลงยันต์คาดสะอาดงาม | |||
เสื้อลงเลขยันต์ใส่ชั้นใน | เสื้อนอกดอกใหญ่ทองอร่าม | |||
แหวนมณฑปนพเก้าดูวาววาม | สังวาลสามสายแย่งตะแบงมาน | |||
สวมสายประคำทองเข้าคล้องคอ | ทั้งลูกพ่อองอาจชาติทหาร | |||
ใส่หมวกขลิบตาดพระราชทาน | ถือฟ้าฟื้นยืนตระหง่านสง่าดี | |||
ภาวนาตาเขม้นเห็นเมฆฉาย | นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี | |||
สี่กรร่อนติดบนเมฆี | ขุนแผนขึ้นคอขี่คชฉกรรจ์ | |||
เอานายเพชรเจ็ดปานเป็นควาญท้าย | ใส่เสื้อลายสีแดงแสงเฉิดฉัน | |||
พลายงามขึ้นขี่ม้าสีจันทน์ | สั่งให้ลั่นฆ้องฤกษ์แล้วเลิกพล | |||
ยิงปืนสัญญาณขึ้นห้าตึง | ฆ้องหึ่งขานโห่ขึ้นสามหน | |||
นายปลออดโบกธงเป็นมงคล | ก็รีบร้นโยธาคลาไคล ฯ | |||
๏ พอสองทัพถึงกันประจันหน้า | ลาวก็แยกปีกกาออกหวั่นไหว | |||
แสนตรีเพชรกล้าทอดตาไป | เห็นทัพไทยลิบลิบสักหยิบมือ | |||
มันเสมือนแมลงเม่ามาเข้าไฟ | นี่เข้าใจว่าจะรอดไปแล้วหรือ | |||
สั่งให้ขับอัสดรต้อนพลฮือ | คนละมือก็จะยับทั้งทัพไทย | |||
เอาเหวยเอาหวาโยธาทัพ | จับเอาตัวมันให้จงได้ | |||
อย่าให้มันปลอดรอดหนีไป | กระทืบม้าผ่าไล่ไพร่พลมา | |||
เข้าล้อมหน้าล้อมหลังประดังฟัน | พวกไทยตัวกลั่นล้วนแกล้วกล้า | |||
เจ้าพลายสั่งตั้งโห่ขึ้นสามลา | กระทืบม้าฝ่าฟันประจัญรับ | |||
ลาวแทงเข้าด้วยทวนสวนสกัด | ไทยปัดทวนพลาดฟาดฟันฉับ | |||
พวกลาวแร่แก้กันไทยฟันยับ | โถมจับล้มคะมำคว่ำโก้งโค้ง | |||
ไล่ตะบันฟันฟัดสกัดสะแกง | ลาวแทงไทยผลุงสะดุ้งโหยง | |||
ไม่เข้าไทยไทยกระทืบอยู่โกรงโกรง | ไล่ทันฟันโป้งเข้าหลังปึง | |||
ลาวเงื้อทวนใหญ่แทงไทยปราด | ไทยฟาดคันทวนสวนแทงผึง | |||
หัวถลำคว่ำถลาตกม้าตึง | ยิ่งตายยิ่งตะบึงเข้าบุกบัน ฯ | |||
๏ เจ้าพลายกับพวกสามสิบห้า | คว้างคว้างวางมาดังกังหัน | |||
เห็นลาวล้อมเข้าใกล้ออกไล่ฟัน | ลาวเข้ารันรุมตีไม่หนีไทย | |||
ลาวแทงไทยฟันตะบันฆ่า | ที่อยู่เหยียบกันเข้ามาหาถอยไม่ | |||
เป็นกลุ่มกลุ่มกลุ้มห้อมล้อมเข้าไว้ | จนเต็มทีพวกไทยหัวไหล่ล้า | |||
เจ้าพลายขับสีจันทน์เข้าฟันฟาด | ดาบลงยันต์ฟันขาดดังฟ้าผ่า | |||
ถึงลาวคาดเครื่องอานกินว่านยา | ถูกดาบมรณาลงดาดดิน | |||
ลาวรุมกลุ้มแทงเสียงอึกอัก | ทวนหักหอกยู่บู้บิ่น | |||
บุกตะบันฟันขนาบดาบไม่กิน | เจ้าพลายฟาดขาดดิ้นสิ้นเป็นเบือ | |||
พวกลาวหวาดหวั่นพรั่นชะงัก | ดังสุนัขพาหมู่เข้าสู้เสือ | |||
ร้องว่าดาบเราบ่เข้าเนื้อ | กูฟันชั้นแต่เสื้อบ่เข้ามัน | |||
เจ้าพลายแกว่งดาบอยู่วาบวาว | พวกลาวถอยท้อย่อขยั้น | |||
ดังพระยาสีหราชกาจฉกรรจ์ | เข้าผกผันเผ่นคว้างกลางฝูงวัว | |||
เข้าไหนลาวหนีอยู่มี่ฉาว | พวกลาวต่างขยั้นสั่นหัว | |||
เกรงสง่าไม่กล้าเข้าใกล้ตัว | ด้วยความกลัวชีวันจะบรรลัย ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงแสนตรีเพชรกล้า | ขับต้อนโยธาอยู่หวั่นไหว | |||
เห็นไพร่พลเรรวนปั่นป่วนไป | เพชรกล้าขัดใจกระโจนมา | |||
เท้ากระทืบแผงข้างผางผางลั่น | เร่งรุกบุกบันขึ้นมาหน้า | |||
เสียงตวาดประกาศก้องเป็นโกลา | มาจนหน้าม้าเจ้าพลายงาม | |||
เห็นรูปร่างสำอางลออตา | เพชรกล้าเข้าใกล้แล้วไต่ถาม | |||
แน่ะเจ้านายทหารชาญสงคราม | เจ้านี้มีนามกรไร | |||
พึ่งรุ่นหนุ่มร่างน้อยกะจิดริด | เจ้าเป็นศิษย์ศึกษาอาจารย์ไหน | |||
เป็นเผ่าพงศ์วงศ์วานท่านผู้ใด | จงบอกไปให้แจ้งแก่กิจจา ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามทรามคะนอง | ร้องตอบคดีตรีเพชรกล้า | |||
อันตัวเราเป็นทหารอยุธยา | ชื่อว่าพลายงามมาตามวงศ์ | |||
บิดาชื่อพระยาแผนพิฆาฏ | พระราชทานตั้งนามตามประสงค์ | |||
ตัวเราเป็นศิษย์บิตุรงค์ | เผ่าพงศ์วงศ์พลายหลายชั่วมา | |||
ท่านนี้มีนามกรใด | ครั้นจะถามถึงผู้ใหญ่ก็เกินหน้า | |||
ถึงยังมีมิตายก็เต็มชรา | แต่เรียนรู้ครูบาอาจารย์ใด ฯ | |||
๏ ครานั้นเพชรกล้าได้ฟังถาม | ก็ชื่นชมตอบความหาช้าไม่ | |||
ซึ่งถามเราจะเล่าให้เข้าใจ | เจ้าชาวใต้ไม่รู้จู่ขึ้นมา | |||
เราเป็นเชื้อเจ้าท้าวคำแมน | มียศเป็นแสนตรีเพชรกล้า | |||
เราเป็นเชื้อชาติทหารชาญศักดา | ในลานนาใครใครไม่ต่อแรง | |||
พระครูผู้บอกวิทยา | ชื่อว่าศรีแก้วฟ้ากล้าแข็ง | |||
สถิตยังเขาคำถ้ำวัวแดง | ทุกหนแห่งเลื่องลือนับถือจริง | |||
เจ้าหนุ่มน้อยนี้หรือชื่อพลายงาม | ช่างสมรูปสมนามดูงามยิ่ง | |||
ตะละแกล้งหล่อเหลาเพราพริ้ง | รูปร่างอย่างผู้หญิงพริ้งพรายตา | |||
จะเปรียบลูกก็อ่อนกว่าลูกเล็ก | จะเปรียบหลานพานจะเด็กกว่าหลานข้า | |||
ไม่ควรจะรบสู้กับปู่ตา | กลับไปบอกบิดามารอนราญ | |||
จะได้เป็นขวัญตาโยธาทัพ | เห็นฉบับแบบไว้ในทหาร | |||
ยังเด็กอยู่คอยดูวิชาการ | เฮ้ยหลานพ่ออยู่ไหนไปบอกมา ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามทรามคะนอง | ร้องตอบต่อคดีตรีเพชรกล้า | |||
แน่เธออย่าเพ่ออหังการ์ | เจรจาหมิ่นประมาทเราชาติเชื้อ | |||
ตัวท่านแก่กายอย่างควายเฒ่า | อันตัวถึงเด็กเล็กลูกเสือ | |||
ฝีมือใครไพร่ลาวแหลกเป็นเบือ | อย่าหลงเชื่อว่าผู้ใหญ่จะไม่แพ้ | |||
ถ้าไม่ดีที่ไหนใครจะมา | จะขอลองวิชากับตาแก่ | |||
ให้ปรากฎฤทธีว่าดีแท้ | หรือเป็นแต่ปากกล้ากว่าฝีมือ | |||
ขออภัยอย่าเพ่อให้ถึงบิดา | แต่ลูกยาท่านจะชนะหรือ | |||
มาลองดูสักหนให้คนลือ | จะปลกเปลี้ยเสียชื่อดอกกระมัง ฯ | |||
๏ ครานั้นแสนตรีเพชรกล้า | โกรธาตาแดงดังแสงครั่ง | |||
เหม่อ้ายนี่หนักหนาว่าไม่ฟัง | มาโอหังอวดรู้สู้สงคราม | |||
เท้ากระทืบกระทบโกลนโผนผก | มุ่นหมกขับคว้างมากลางสนาม | |||
ท่วงทีขี่ม้าสง่างาม | รำง้าวก้าวตามกระบวนทวน ฯ | |||
๏ ฝ่ายเจ้าพลายงามทรามสง่า | เห็นตรีเพชรขับม้ามาปั่นป่วน | |||
ก็ชักม้ารับร่ายย้ายกระบวน | แล้วหันทวนว่องไวในทำนอง | |||
เพชรกล้ารำง้าววาววาววับ | เจ้าพลายรำดาบรับสองมือป้อง | |||
สองนายร่ายรำตามทำนอง | ม้าผยองผันผกวกวนเวียน | |||
แล้วยกรำทำท่าหงส์สองคอ | เยื้องล่อเลี้ยวฟันหันเ***ยน | |||
แล้วรำท่ามังกรช้อนวิเชียร | ผลัดเปลี่ยนว่องไวไม่เสียที | |||
เพชรกล้าถือง้าวยาวกว่าดาบ | เจ้าพลายฉาบเข้าฟันแล้วผันหนี | |||
เพชรกล้าขัดใจไม่คลุกคลี | เจ้าพลายรำทำทีให้ไล่ทัน | |||
เพชรกล้าได้ท่าปาลงฉาด | เจ้าพลายหลบลาวพลาดคะมำหัน | |||
พลายงามตามชิดติดตะบัน | สบท่าผ่าฟันลงต้ำตึง | |||
หยึ่นเปล่าหาเข้าตรีเพชรไม่ | เยื้องขยับกลับใส่เจ้าพลายผึง | |||
เจ้าพลายผันฟันบ่าเพชรกล้าปึง | เนื้อประหนึ่งหินผาศิลาแลง | |||
แสนตรีเพชรกล้าง่าง้าวกราย | ฟันเจ้าพลายงามพรวดดังกรวดแข็ง | |||
ราวกับเกาหลังให้ยิ่งได้แรง | ฟันตะแบงบุกไปไล่ตะครุบ | |||
เอาดาบฟาดฉาดฟันตะบันส่ง | เป็นหลายหนคงทนไม่บู้บุบ | |||
เพชรกล้ากลับด่ำเข้าตำทุบ | ถูกเนื้อยุบพอขยายก็หายไป ฯ | |||
๏ แสนตรีเพชรกล้าระอาจิต | สุดคิดที่จะเอาชนะได้ | |||
น่งนึกตรึกตราแต่ในใจ | ชะเด็กไทยคนนี้มันดีจริง | |||
ช่างกล้าแข็งแรงฤทธิ์นั้นเกินร่าง | ดูแต่หน้าท่าทางอย่างผู้หญิง | |||
มันสู้กูผู้ใหญ่ไหวมันจริง | ด้วยเชิงชิงชัยชาญชำนาญแท้ | |||
จะรบรันฟันฟาดด้วยสาตรา | เห็นทางท่าเอาชัยบ่ได้แน่ | |||
ต้องใช้มนตร์ทางในให้มันแพ้ | ก็ชักม้าราแต้ออกยืนไกล | |||
หลับตาภาวนาร่ายพระเวท | อันวิเศษเชี่ยวชาญอาจารย์ให้ | |||
เรียกมหาอาโปเป่าออกไป | เป็นน้ำไหลพลุ่งพลั่งดังท่อธาร | |||
พิลึกล้นท้นท่วมทั่วจังหวัด | ลมก็พัดเป็นระลอกกระฉอกฉาน | |||
พวกทัพไทยต่างคนตะลนตะลาน | ตะเกียกตะกายว่ายซานขึ้นต้นไม้ | |||
ทั้งขี่ม้าหยั่งขาไม่ถึงที่ | ด้วยนทีโชนเชี่ยวเป็นเกลียวไหล | |||
เหล่าพวกอาสาระอาใจ | ต่างร้องบอกนายไปให้แก้มนตร์ ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามเจ้าความคิด | เรืองฤทธิ์ลือแจ้งทุกแห่งหน | |||
อ่านคาถาเป่าปัดไปบัดดล | ก็ทดท้นน้ำแห้งทุกแห่งไป | |||
แล้วอ่านมนตร์ดลเรียกเตโชธาตุ | เป่าปราดไปเป็นเพลิงเถกิงไหม้ | |||
โพลงพลุ่งทุ่งเถือกเป็นเปลวไฟ | วาบวามลามไล่ไพร่พลลาว | |||
พอลาวเห็นไฟไหม้ลามมา | กระทืบม้าหนีพล่านออกฉานฉาว | |||
กัมปนาทหวาดหวั่นตัวสั่นท้าว | ร้องเรียกเจ้านายช่วยข้าด้วยรา ฯ | |||
๏ ครานั้นเพชรกล้าเป็นจ่าศึก | เห็นไฟไหม้คึกคึกมาเต็มป่า | |||
ระงับการร่ายพระเวทวิทยา | เรียกกมหาวลาหกให้ตกลง | |||
ก็เกิดเป็นเมฆตั้งขึ้นบังปก | แล้วฝนตกโฉมซ่าป่าระหง | |||
สักห่าใหญ่ไหลดาดแผ่นดินดง | ดับไฟไหม้พงนั้นสูญไป | |||
เหล่าพวกอาสาโยธาหาญ | หนาวสะท้านทุกคนไม่ทนได้ | |||
เข้ามั่วสุมกลุ่มกลมใต้ร่มไม้ | ถูกเม็ดใหญ่ลูกเห็บเจ็บแทบตาย ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามความสามารถ | ชาญฉลาดเฉลียวเลิศเฉิดฉาย | |||
อ่านอาคมเรียกลมที่ในกาย | ระบายวาโยธาตุเป่าปราดไป | |||
ด้วยอาคมเกิดเป็นลมเพชรหึง | ตึงตึงพัดฝนไม่หล่นได้ | |||
ที่หยดหยาดขาดสายหายทันใด | ด้วยพระเวทฤทธิไกรอันชัยชาญ | |||
แล้วเอาก้อนกรวดมาซัดปราด | เป็นเม็ดฝนกรวดทรายกระเซ็นซ่าน | |||
ตกต้องลาวพลตะลนตะลาน | อลหม่านหนีซุกไปทุกคน | |||
บ้างขับม้าเข้าพุ่มคลุมหัวร้อง | บ้างถูกต้องเจ็บปวดเม็ดกรวดฝน | |||
เป็นแผลเหือดเลือดไหลไปทุกคน | เหลือทนเต็มประดาแก้ผ้าคลุม ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงแสนตรีเพชรกล้า | เห็นโยธาหน้าฟกอกเป็นตุ่ม | |||
แสนพิโรธโกรธใจดังไฟรุม | ประชุมนิ้วเหนือเกล้าแล้วเป่าไป | |||
เกิดเป็นตารางกลางอากาศ | กั้นหยาดเม็ดฝนไม่หล่นได้ | |||
เม็ดฝนกรวดทรายหายทันใด | แล้วสั่งไพร่ให้ลงจากพาชี | |||
อันจะเข้ารบรุกกันคลุกคลี | การว่องไวไม่ดีเหมือนเดินเท้า | |||
ให้เอาม้าไปซุ่มเสียพุ่มชัฎ | เลือกจัดแต่ล้วนทวนแหลนหลาว | |||
ให้พร้อมสรรพเครื่องยุทธ์อาวุธยาว | สกัดก้าวห้อมล้อมให้พร้อมพรัก | |||
พวกเราเอาแต่แรงแทงมันส่ง | ถึงอยู่คงก็ถูกกระดูกหัก | |||
ด้วยข้างเรากว่าพันมันน้อยนัก | เอาเสียพักเดียวเถิดอ้ายพ่อกู ฯ | |||
๏ ทหารลาวกราวลงจากหลังม้า | วิ่งผลุนหมุนมาเป็นหมู่หมู่ | |||
เข้าล้อมหน้าล้อมหลังออกพรั่งพรู | เกรียวกรูทิ่มตำกระหน่ำแทง | |||
เหล่าพวกอาสาเข้าฝ่าฟัน | ถูกลาวขาดสะบั้นสะพายแล่ง | |||
หัวขาดตัวขาดเลือดสาดแดง | พวกกองหลังยังแซงแข่งเข้าไป | |||
เกลื่อนกลุ้มหุ้มไทยไว้เป็นหมู่ | หอกยู่แทงเปล่าไม่เข้าได้ | |||
พวกอาสาฟันฟอนจนอ่อนใจ | ยิ่งบรรลัยยิ่งรุมกลุ้มเข้ามา ฯ | |||
๏ จนไหล่ตกยกมือขึ้นไม่ไหว | อึดใจเรียกนายพ่อพลายขา | |||
ลูกฟันมันจนสิ้นแรงระอา | ตายหนึ่งหนุนมาห้าหกคน ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม | เชี่ยวชาญการสงครามไม่ย่อย่น | |||
เห็นพวกอาสาบรรดาพล | เหนื่อยจนไหล่ตกไม่ยกมือ | |||
จึงรูดเอาใบมะขามมาสามกำ | เสกซ้ำเป็นต่อบินปร๋อปรื๋อ | |||
ตั้งโกฎิแสนแน่นป่ามาฮือฮือ | ดูออกคล่ำดำปื้อไปทุกละเมาะ | |||
ตัวยาวราวก้อยไม่ต่อยไทย | จำเพะลาวกราวไล่ใส่เปาะเปาะ | |||
พิษสงเหล็กในดังใครเคาะ | ถูกเหมาะเหมาะล้มทับกันยับยุบ | |||
พวกลาวอาวุธหลุดมือถือ | เอาแต่มือตบสู้อยู่ปับปุบ | |||
เหลือทนลุกล้มลงก้มฟุบ | โดดผลุบลงในน้ำดำหนีไป | |||
พอเต็มกลั้นผุดฟ่อต่อต่อยซ้ำ | ไม่กลับดำต่อยป่นทนไม่ได้ | |||
เพชรกล้าตาปิดพิษเหล็กใน | ทั้งม้าม่อยต่อยไล่ไปพรั่งพรู | |||
หน้าตาล้วนแต่คาเหล็กในต่อ | ม้าลาพาห้อชักไม่อยู่ | |||
บ่าวนายพ่ายหนีวิ่งกรีกรู | พวกไทยไล่ลู่ตะลุมบอน ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านท้าวกรุงกาฬ | เห็นทหารเพชรกล้าวิ่งว้าว่อน | |||
กะปลกกะเปลี้ยเสียทีหนีซอกซอน | ก็ไสช้างวางต้อนโยธามา ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าขุนแผนแสนสะท้าน | เห็นกรุงกาฬเข้าด้วยช่วยทัพหน้า | |||
ก็ขับกุญชรต้อนโยธา | ไสช้างขวางหน้าเจ้ากรุงกาฬ | |||
จึงร้องฮ้าท่านหรือทัพหลวง | จึงเลยล่วงขับช้างมากลางทหาร | |||
ดูช้างม้ารี้พลพ้นประมาณ | นี่จะไปรบราญบ้านเมืองใด ฯ | |||
๏ ครานั้นกรุงกาฬชาญกำแหง | ได้ฟังคำเสียดแทงให้หมั่นไส้ | |||
สูนี้พระยาแผนแล้วแม่นใจ | มายกความถามไถ่ไม่มีอาย | |||
เข้ามาลักช้างม้าพาคนหนี | แล้วเข่นฆ่าราตีคนทั้งหลาย | |||
ซ้ำปักหนังสือท้าว่าหยาบคาย | ตัวไม่เป็นผู้ร้ายดอกหรือไร | |||
อยุธยาช้างม้าไม่มีหรือ | จึงดึงดื้อมาปล้นจนเชียงใหม่ | |||
เรายกพลมาประจญจับโจรไพร | ถ้าคืนของกลางให้จะรอดตัว ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสะท้าน | ได้ฟังท้าวกรุงกาฬก็ยิ้มหัว | |||
ช่างพูดได้ไม่คิดถึงเงาตัว | ทำความชั่วถึงปิดไม่มิดควัน | |||
ซึ่งล้านช้างส่งนางไปกรุงไทย | เจ้าเชียงใหม่เมามืดด้วยโมหันธ์ | |||
ลอบไปฉกชิงนางไว้กลางคัน | จับพวกส่งลงทัณฑกรรมไว้ | |||
ข้าหลวงไทยที่มารับก็จับจำ | เฆี่ยนขับยับระยำทั้งนายไพร่ | |||
กระทำความข่มเหงไม่เกรงใจ | ยังท้าให้ยกพลมาชนช้าง | |||
เจ้าท่านนั้นแลเป็นโจรป่า | เอาชีวาแลกสตรีไม่มีอย่าง | |||
ถ้ารักตัวกลัวว่าจะวายวาง | ให้ส่งนางคืนไปจะไม่ตาย ฯ | |||
๏ กรุงกาฬทหารใหญ่ครั้นได้ฟัง | แค้นคั่งอสนีบาตฟาดสาย | |||
จะตอบเหมือนล้มไม้ลงทับกาย | ด้วยเจ้านายทำความไม่งามดี | |||
จึงแกล้งกลบเกลื่อนเป็นเงื่อนงำ | อันถ้อยคำอาจเอิ้นเห็นเกินที่ | |||
เพราะเจ้าเวียงจันทน์นั้นไม่ดี | เป็นพาลีสองหน้ามาแต่ไร | |||
มีสารามาถวายองค์สร้อยทอง | แก่พระผู้ครองเมืองเชียงใหม่ | |||
แล้วกลับยกยักย้ายถวายไทย | เราจึงได้อาฆาตวิวาทกัน | |||
จนติดพันประจัญรณรงค์ | มากล่าวไยให้ส่งองค์นางนั้น | |||
อย่าช้ามาชนช้างกันกลางครัน | ถ้าใครดีชีวันไม่บรรลัย | |||
ถ้าแม้นเราแพ้ท่านในการณรงค์ | ก็ควรละจะส่งสร้อยทองให้ | |||
ถ้าแม้นท่านเสียท่าปราชัย | สร้อยทองต้องเอาไว้ในเชียงอินทร์ | |||
ว่าพลางทางสั่งปีกซ้ายขวา | ทั้งกองกลางช้างม้าดากันสิ้น | |||
ให้รายล้อมพวกไทยใจทมิฬ | อย่าให้ปลิ้นหนีพล่านออกด้านใคร ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนวิเศษ | ขจรเดชลือเลื่องกระเดื่องไหว | |||
จึงร้องสั่งทหารอันชาญชัย | อย่าคลุกคลีตีให้เป็นด้านกัน | |||
สำมะยังรั้งรับกับปีกขวา | พรหมศรรับราปีกซ้ายนั่น | |||
ธรรมเถียรคอยทัพรับหลังมัน | ตัวเราจะประจญเข้าชนช้าง | |||
สั่งแล้วไสสีห์คชเดช | ร่ายพระเวทเป่าตะพองงาสองข้าง | |||
ให้คงทนทั้งตัวทั่วสรรพางค์ | แล้วไสวางช้างมุ่งท้าวกรุงกาฬ ฯ | |||
๏ ครานั้นกรุงกาฬชาญชัยศรี | ไสพลายพลิกธรณีมาง่านง่าน | |||
กรายของ้าวรำด้วยชำนาญ | คชสารสองปะทะเข้าประงา | |||
ด้วยช้างลาวกำลังที่คลั่งเมา | เมื่อยกออกกรอกเหล้าไว้หนักหนา | |||
คขเดชยั่งยืนชื่นนัยน์ตา | บ่มมันกลั่นกล้าไม่กลัวช้าง | |||
ครั้นพลายพลิกธรณีรี่เข้าชิด | คชเดชก็ขวิดปลายงาผาง | |||
พอช้างลาวเบนเสยเข้าเกยคาง | ช้างไทยได้ล่างเข้าหว่างคอ | |||
นายเจ็ดปานพานกระแชงแทงต้ำเฮือก | ถูกช้างลาวหน้าเสือกหงายท้ายย่อ | |||
ขุนแผนคะยิกใหญ่ไม่รั้งรอ | ช้างไทยเป็นต่อดันตะบึง | |||
ช้างลาวถอยหลังยั้งไม่ถนัด | เพียรจะงัดช้างไทยใส่ผึงผึง | |||
ช้างไทยดันแดกกระแทกตึง | ช้างลาวถอยดึ่งทุกทีไป | |||
กรุงกาฬเหนี่ยวสับให้กลับหัน | ช้างไทยดันไม่ฝืนคืนมาได้ | |||
ด้วยช้างลาวเมาสุราเป็นบ้าใจ | ครั้นเจ็บหนักยักไหล่สลัดคว้าง | |||
ขุนแผนเห็นได้ทีไม่รีรอ | รำของ้าวฟาดลงฉาดผาง | |||
ถูกกรุงกาฬซานซบทบคอช้าง | ไม่เข้าคอพอเป็นยางออกช้ำช้ำ | |||
กรุงกาฬฟื้นลุกคืนขึ้นมาได้ | ขุนแผนไสช้างกระชั้นไล่ฟันร่ำ | |||
จนตีนหลุดจากชนักหัวปักปำ | ขุนแผนซ้ำลงอีกฉาดพลาดตกตึง | |||
ขุนแผนไสช้างเข้าร้องเอาพ่อ | ช้างก็ปร๋อปราดแปร้นแล่นเข้าถึง | |||
ม้วนงวงหลับตาลงงาตึง | ตีตะบึงแทงตะบันดันจนแบน | |||
พอถอนงาคว้าผีขึ้นโยนขวับ | ตกลงมางารับแล้วร้องแปร้น | |||
ไส้ทะลักหักแหกหัวแตกแตน | ช้างลาวแล่นหนีออกนอกโยธา | |||
สำมะยังคุมไพร่ไล่ขนาบ | ตีกองปราบเมืองแมนข้างปีกขวา | |||
พรหมศรต้อนพลกล่นเกลื่อนมา | เข้ารบราปีกซ้ายนายกำกอง | |||
สองข้างต่างโถมเข้าโจมตี | ถ้อยทีหนีไล่กันไวว่อง | |||
ลาวแทงไทยจับเข้ารับรอง | ไทยฟันลาวป้องจ้องเข้ารับ | |||
พวกไทยไล่ทันฟันตะบึง | นั่นปึงนี่ปังข้างหนึ่งปับ | |||
สำมะยังโถมเข้าเอานายทัพ | นายปราบรันฟันปังดังเหล็กเพชร | |||
สำมะยังเป่าไปให้ประจุขาด | เอาดาบฟาดขาดสะบั้นกระเด็นเด็ด | |||
ดาบล่อนเลือดฝาดดังชาดเช็ด | อ้ายลาวเข็ดคิดขยาดไม่อาจรบ | |||
พรหมศรเสกคาถาว่าถอนโบสถ์ | โดดแทงกำกองเข้าท้องกบ | |||
ชักกั้นหยั่นฟันควาญลงซานซบ | ทับศพผีนายลงก่ายกัน | |||
สอยดาวเห็นแม่ทัพอัปรา | นายทั้งปีกซ้ายขวาก็อาสัญ | |||
ก็ขับไสช้างงาเข้ามาพลัน | เอาง้าวหันพวกไทยไล่ตะลุย | |||
ธรรมเถียรยืนดูอยู่ท่ามกลาง | ขัดใจไสช้างมาฉุยฉุย | |||
อ้ายพลายแก้วมิ่งเมืองไม่เงื่องงุย | เอางาชุ่ยสอยดาวเข้าราวนม | |||
นายสอยดาวทรงกายพอหายขัด | เอาของคัดงาหันฟันประสม | |||
ไทยเป่าโอ้ฟ้าผ่ามาตามลม | ฟันลาวง้าวจมลงครึ่งคอ | |||
แล้วเหยียบดจนโผนทะยานฟันควาญท้าย | อ้ายลาวบ่าวนายไม่เหลือหลอ | |||
ฉัวะแาดขาดเด็ดทั้งสองคอ | พวกพลย่นย่อเข้าป่าไป ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงแสนเพชรตรีกล้า | สิ้นพิษต่อลืมตาขึ้นมาได้ | |||
แลเห็นทัพแตกตายกระจายไป | ก็ขัดใจขับม้ามาทันที | |||
ร้องว่าฮ้าเจ้าพลายนายแผนนั้น | มิสำคัญคิดเอาว่าเราหนี | |||
ด้วยตัวต่อต่อยตาเอาพาชี | มันแล่นลี้ชักฉุดไม่หยุดยั้ง | |||
เรากลับมากล้าดีมาลองฤทธิ์ | อย่าได้คิดว่าเราจะถอยหลัง | |||
มาตรแม้นแพ้นายวายชีวัง | จะให้ชื่อลือดังทั้งแผ่นดิน ฯ | |||
ครานั้นขุนแผนแมนศักดา | ฟังคำเพชรกล้าพูดบ้าบิ่น | |||
จึงร้องตอบคำไปให้ได้ยิน | ยังเล่นลิ้นลอยหน้ามาท้าทาย | |||
เราเห็นทำศักดากับทารก | ยังต้องยกธงล่าเข้าป่าหาย | |||
แพ้ลูกกะจิดริดไม่คิดอาย | จะมาหมายต่อสู้ผู้บิดา | |||
นี่แท้นายอายลาวพวกบ่าวไพร่ | จึงซ่องแซ่งแข็งใจมาแก้หน้า | |||
ด้วยจนตรอกบอกไม่ได้แข็งใจมา | ในครั้งนี้ชีวาไม่คงชนม์ ฯ | |||
๏ เพชรกล้าตาเขียวให้เกรี้ยวโกรธ | ดังถูกหอกรอกโสตรสักแสนหน | |||
เดือดดาลไม่ทันอ่านพระเวทย์มนตร์ | ก็ขับม้าผ่าพลเข้าชิงชัย | |||
ขุนแผนตวาดอำนาจยักษ์ | เพชรกล้าง่าชะงักไม่ไหวได้ | |||
แล้วยกเงื้อง้าวฟาดฉาดลงไป | ถูกหัวไหล่ลาวล้มลงจมอาน | |||
ตาหลอว่าคุณพ่อดิฉันเอง | วิ่งถลันฟันเป้งลงด้วยขวาน | |||
ตารักว่าฉันด้วยช่วยลนลาน | เอาพลองกระทุ้งพุงกรานให้ตกม้า | |||
นายโห้สามหอกกรอกด้วยทวน | เหล็กม้วนไม่เข้าตรีเพชรกล้า | |||
ทิ้งทวนเข้าปะทะฉะด้วยพร้า | นายปานขวานฟ้าเอาดาบฟัน | |||
ราวกับฟาดทองแดงแทงก้อนหิน | หักบิ่นยู่ย่นไปจนกั่น | |||
แม้กระดูกก็ไม่หักแต่สักอัน | คงกระพันชาตรีดีทั่วกาย | |||
ตาหลอว่าคุณพ่อพ่อพลายขา | อ้ายเพชรกล้าคนนี้ดีใจหาย | |||
จะฟันแทงสักเท่าไรก็ไม่ตาย | ยังนอนหายใจอยู่ดูพิกล | |||
ขุนแผนร้องว่าอย่ามี่ฉาว | เฮ้ยพวกเราเอาหลาวทะลวงก้น | |||
ถึงมาตรแม้นอยู่ยงมันคงทน | แยงให้จนถึงคอคงมรณา | |||
ตาหลอกับตารักยืนหยักรั้ง | พวกทะลึ่งตึงตังเข้าแก้ผ้า | |||
นายโม้กับนายเม้าเอาหลาวมา | ผ่าทวารเข้าปรอดตลอดตัว | |||
หลายคนช่วยกันดันกระดอก | เอาไม้ตอกกังกังกระทั่งหัว | |||
หน้าเผือดเลือดแดงดังแทงวัว | ถูกรูรั่วเลือดราดลงดาดดิน ฯ | |||
๏ พวกโยธาบรรดาที่เหลือตาย | บ้างหลบลี้หนีหายเข้าป่าสิ้น | |||
พวกม้าเร็วรีบตะบึงถึงบุรินทร์ | บอกระบิลแสนท้าวเหล่าพระยา | |||
ว่าสาธุโยธาทั้งห้าทัพ | ตายยับสิ้นแล้วพระเจ้าข้า | |||
เหล่าพวกที่หลบลี้มิมรณา | ไม่ทราบว่ามาได้สักเท่าไร ฯ | |||
๏ พวกผู้ใหญ่ได้ฟังพวกม้าเร็ว | เอาผ้ากราบคาดเอวหาช้าไม่ | |||
วิ่งมางกงกด้วยตกใจ | ตรงเข้าในท้องพระดรงรจนา | |||
เห็นจอมนคเรศเกศเชียงอินทร์ | สถิตแท่นมณีนิลข้างฝ่ายหน้า | |||
อำมาตย์หมอบยอบกรานคลานเข้ามา | วันทาทูลพลันในทันใด | |||
ว่าเพชรกล้าสอยดาวท้าวกรุงกาฬ | ทหารปราบเมืองแมนทั้งนายไพร่ | |||
ยกออกไปรบกรับกับพวกไทย | บรรลัยย่อยยับอัปรา | |||
พวกทหารน้อยใหญ่ทั้งไพร่นาย | ที่เหลือตายหลบลี้หนีเข้าป่า | |||
ยังแตกซ่านซ่อนเร้นไม่เห็นมา | ไม่ทราบว่ามากน้อยกี่ร้อยคน ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นนคเรศ | ได้ฟังเหตุว่าทัพนั้นยับย่น | |||
ดังพระกาลจะผลาญให้วายชนม์ | พระพักตร์หม่นหมองสลดระทดใจ | |||
แต่มานะกษัตริย์ตรัสประภาษ | ประกาศสั่งเสนาทั้งน้อยใหญ่ | |||
ให้เร่งรัดจัดรักษาซึ่งเวียงชัย | ให้ตั้งค่ายรายไปรอบพารา | |||
ปิดทวารทั้งนั้นให้มั่นคง | ลงเขื่อนไม้แก่นให้แน่นหนา | |||
ปืนหามแล่นเอาจุกทุกเสนา | คาบศิลาใส่ตับลำดับไว้ | |||
ที่ขอบค่ายนั้นให้รายปืนจ่ารง | ที่ช่องตรงประตูกลางวางปืนใหญ่ | |||
เอาปะขาวกวาดวัดทั้งฉัตรชัย | จุกใส่ให้ทุกช่องทวารา | |||
บนทวารกำแพงข้างด้านใต้ | จงเอาซุงแขวนไไว้ให้หนักหนา | |||
แม้นข้าศึกฮึกโหมโจมเข้ามา | เอามีดพร้าตัดทับให้ยับไป | |||
ในกำแพงถากถางหนทางเดิน | แนวถนนบนเชิงเทินให้กว้างใหญ่ | |||
ที่ตรงหว่างวางปืนกองฟืนไฟ | คั่วกรวดทรายไว้ให้ทุกกอง | |||
ให้กรมเมืองร้องป่าวชาวประชา | ผู้ดีไพร่ให้เข้ามาทุกบ้านช่อง | |||
นั่งยามตามไฟเที่ยวสอดมอง | ตีฆ้องตรวจตระเวณกะเกณฑ์กัน | |||
ผลัดกันลุกปลุกกันนั่งระวังไฟ | ถ้าเกิดขึ้นเรือนใครจะอาสัญ | |||
เหล่าบ้านนอกกำแพงทุกแห่งนั้น | ให้ผ่อนผันคนมาในธานี | |||
สระบ่อท่อธารบ้านของใคร | ขุดไขน้ำเข้าให้เต็มที่ | |||
ข้าวปลานาไร่ของใครมี | ให้ขนมาไว้ที่นี่สิ้นทั้งนั้น | |||
แต่บรรดาแสนท้าวเหล่าเพี้ยกวาน | คอยระวังการงานให้แข็งขัน | |||
ถ้าศึกเข้าด้านใดอย่าไว้มัน | เอาไปฟันเสียบเสียให้สาใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นแสนท้าวเหล่าพระยา | รับสั่งออกมาหาช้าไม่ | |||
อื้ออึงเอะอะกะเกณฑ์ไป | ลากปืนใหญ่จุกจ้องช่องประตู | |||
ให้กรมเมืองร้องป่าวชาวประชา | ทั้งชายหญิงวิ่งมาเป็นหมู่หมู่ | |||
บ้างตั้งค่ายรายรอบที่ขอบคู | บ้างเกณฑ์คนขึ้นอยู่บนกำแพง | |||
เอาฟืนใส่ไฟก่อเอาหม้อตั้ง | คั่วกรวดทรายรายระวังไปทุกแห่ง | |||
ให้มีสารวัตรเที่ยวจัดแจง | ตีฆ้องป๋องแป๋งออกรอบไป | |||
ชุลมุนวุ่นแาวพวกชาวบ้าน | บ้างอุ้มลูกจูงหลานอยู่ขวักไขว่ | |||
เชี่ยนขันโตกพานในบ้านใคร | บ้างขุดไว้ฝังดินสิ้นทั้งนั้น | |||
ลูกแหวนรวงทองของสะอาด | บ้างเย็บไถ้ใส่คาดบั้นเอวมั่น | |||
บ้างเอาผ้าปะในไว้อีกชั้น | ของสำคัญซ่อนซุกไว้ทุกคน | |||
ที่แม่ม่ายยายแก่รำมะก้า | เอาห่อผ้าใส่หนีบไว้กลีบก้น | |||
ให้นึกกลัวพวกไทยจะไล่ค้น | เอาซุกซนลงไว้ใต้พริกเกลือ | |||
บ้างซ่อนใส่มวยผมผ้าห่มนอน | บ้างซุกไว้ในหมอนซ่อนในเสื่อ | |||
บ้างเอาชันปะไว้ใต้ท้องเรือ | ไม่ให้เหลือสักนิดเอาติดไป | |||
ที่รู้ว่าลูกผัวของตัวตาย | ทั้งสาวแส้แม่ม่ายร่ำร้องไห้ | |||
ออกอัดแอแซ่เสียงทั้งเวียงชัย | ด้วยกวาดกันเข้ามาในกำแพง | |||
ข้างในวังชุลมุนกันวุ่นวาย | เจ้านายทุกองค์ทรงกันแสง | |||
ทั้งหม่อมคุณวุ่นว่อนข้อนอกแดง | บ้างฝังแฝงของไว้ใต้ตึกราม ฯ | |||
๏ ส่วนพระเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นเชียงใหม่ | พูดเอาใจลูกเต้าเหล่าหม่อมห้าม | |||
อ้ายศึกนิดพวกเราเบาสงคราม | เข้ารบรุมซุ่มซ่ามจึงเสียที | |||
เฮ้ยฝีมือของกูสูคอยเบิ่ง | จะลุยไล่ให้เปิงแหกป่าหนี | |||
กับอ้ายพวกห้าร้อยน้อยเท่านี้ | จะขยี้เสียให้ยับลงกับเท้า | |||
จะร้องไห้ทำไมให้เป็นลาง | ทัพขุนนางหรือจะสู้กูเป็นเจ้า | |||
ถ้าขืนจะรุกรานบ้านเมืองเรา | ระดมเอาเสียสักวันก็บรรลัย | |||
พระตรัสพลางทางเสด็จออกข้างหน้า | ประกาศสั่งเสนาทั้งน้อยใหญ่ | |||
ให้เร่งรัดจัดเตรียมให้พร้อมไว้ | เอาเชียงใหม่เป็นค่ายได้สำคัญ | |||
ถ้าแม้นมันบกตะบึงถึงบุรี | อย่าเพ่อออกต่อตีให้ตั้งมั่น | |||
ข้างเรามีข้าวปลาสารพพัน | พวกมันนั้นจะได้อะไรกิน | |||
เหล่าบ้านนอกธานีมียุ้งข้าว | เอาไฟเผายุ้งฉางล้างให้สิ้น | |||
ตัดกำลังพวกไอ้ใจทมิฬ | มันจะบินไปข้างไหนได้เห็นกัน | |||
พอเสบียงเลี้ยงท้องมันหมดตัว | จึงออกไปจิกหัวเอาดาบหั่น | |||
อ้ายศึกสักหยิบมือไม่ครือครัน | พวกเราทำเสียไม่ทันจะพริบตา ฯ | |||
๏ ครานั้นเสนีสี่จตุสดมภ์ | ถวายบังคมเห็นชอบกันพร้อมหน้า | |||
ซึ่งพระองค์ทรงดำริตริตรา | คงสมดังบัญชาทุกประการ | |||
จะมีชัยอาศัยเพราะเสบียง | ตัดลำเลียงเสียให้หมดอดอาหาร | |||
ข้าวตากมันจะมีกี่ทะนาน | หมดข้าวสารก็จะสิ้นกำลังลง | |||
ถึงโดยมันมาล้อมเราอ้อมนอก | อย่าให้ออกไปหาเสบียงส่ง | |||
ไม่กี่วันจะวิ่งเป็นชิงธง | คอยสกัดปากดงคงได้ตัว | |||
ไม่พักต้องรบรับขับเคี่ยว | โห่สักเกรียวก็จะบุกเที่ยวซุกหัว | |||
อ้ายห้าร้อยเป็นเชลยมันเคยกลัว | จับเป็นเอาให้ทั่วทั้งไพร่นาย | |||
แต่บรรดาเพี้ยกวานท่านผู้ใหญ่ | ปรึกษาเห็นพร้อมใจสิ้นทั้งหลาย | |||
ออกมานั่งสั่งความตามอุบาย | เอากำแพงเป็นค่ายรายเขื่อนคู ฯ | |||
ตอนที่ ๓๐ ขุนแผนพลายงามจับเจ้าเชียงใหม่
ตอนที่ ๓๐ ขุนแผนพลายงามจับเจ้าเชียงใหม่
๏ จะกล่าวถึงขุนแผนแสนสนิท | เรืองฤทธิ์ราวีไม่มีสู้ | |||
เห็นทัพลาวแตกพ่ายกระจายพรู | ที่เหลืออยู่พวกไทยไล่ตามฟัน | |||
พอจวนเย็นเรียกทัพกกลับเข้าค่าย | หุงต้มล้มควายกินจ้าละหวั่น | |||
พวกทหารพูดจาเฮฮากัน | จนสิ้นแสงสุริยันลงทันใด | |||
ขุนแผนบอกลูกชายเจ้าพลายกล้า | จะเฉยช้าอยู่ที่นี่หาดีไม่ | |||
ควรกรูกรีรี้พลพหลไกร | เข้าประชิดติดเชียงใหม่ให้ทันที | |||
อย่าให้มันหยุดยั้งตั้งตัวได้ | เข้าลุยไล่รีบทำให้ป่นปี้ | |||
ด้วยเสบียงเลี้ยงไพร่เราไม่มี | ต้องคลุกคลีเสียให้ได้ในสองวัน ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม | ฟังความเท็จจริงทุกสิ่งสรรพ์ | |||
จะเนิ่นช้าอาหารกันดารครัน | ด้วยลาวนั้นที่ไหนจะยกมา | |||
พอรู้ข่าวก็จะหนาวสะท้านจิต | เป็นจะปิดประตูน้ำค้ำประตูท่า | |||
ถ้าเราไม่เข้าไปถึงพารา | จะรอให้มันมาเห็นจะลึก | |||
เอาทัพเราเข้าประชิดติดเวียงชัย | แล้วสะกดเข้าไปเมื่อยามดึก | |||
ถ้าจับเจ้าเชียงใหม่ได้สมนึก | จะตัดศึกสิ้นลำบากไม่ยากใจ | |||
พ่อลูกพูดจาปรึกษากัน | พอแสงจันทร์ส่องสว่างกระจ่างไข | |||
สั่งให้พวกอาสาพากันไป | ตัดไม้ปลูกศาลขึ้นเพียงตา | |||
วงสายสิญจน์เสกลงเลขยันต์ | เครื่องเซ่นสารพันให้จัดหา | |||
เป็ดไก่เต่าหมูและสุรา | ทั้งข้าวปลาอาหารทุกสิ่งอัน | |||
สั่งแล้วขันแผนแสนสนิท | ประชุมฤทธิ์ปลุกตัวขมีขมัน | |||
ใส่มงคลมนตร์เสกข้าวสารพลัน | เหน็บมีดหมอจรจรัลมาทันที | |||
จุดเทียนติดศาลอ่านคาถา | เรียกบรรดาโหงพรายโขมดผี | |||
ทั้งปู้เจ้าเขาเขินเนินคีรี | เชิญมารับบัดพลีพลีการ ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงภูตพรายผีตายโหง | ที่ป่าโปร่งรังรุกข์ทุกสถาน | |||
ทั้งปู่เจ้าเขาถ้ำทุกลำธาร | ต้องมนตร์อลหม่านไปทั้งดง | |||
พวกผีไทยไปทัพกับขุนแผน | ต่างเที่ยวแล่นเรียกหาทุกป่าระหง | |||
ผีลาวครั่นคร้ามขามฤทธิรงค์ | ต่างก็ตรงมาที่พิธีกรรม์ | |||
แต่ล้วนผีดาษดื่นสักหมื่นแสน | ดูออกแน่นคั่งคึกพิลึกลั่น | |||
ล้อมศาลรอบรายเป็นหลายชั้น | คนทั้งนั้นนั่งเขม้นไม่เห็นกาย | |||
แต่ขุนแผนแสนสนิทเรืองฤทธี | เห็นผีสะพรั่งสิ้นทั้งหลาย | |||
ที่ร้ายกาจผาดแผลงแกล้งอุบาย | เป็นสัตว์ร้ายต่างต่างวางเข้ามา | |||
ขุนแผนเสกซัดข้าวสารปราย | ผีร้ายหมอบกราดลงดาดป่า | |||
ซ้ำเป่าอาคมลมจินดา | ให้ฝูงผีมีเมตตาไปทุกตน | |||
ขุนแผนว่าข้าแต่เทพารักษ์ | อันเรืองฤทธิ์สิทธิศักดิ์ทุกแห่งหน | |||
ท่านจงยกพยุหบาตรปีศาจพล | ไปประจญอารักษ์หลักเชียงอินทร | |||
ด้วยว่าเจ้าเชียงใหม่ไม่ครองธรรม | ถึงกรรมเมืองจะแหลกแตกสิ้น | |||
จงช่วยเรามาอาสาแผ่นดิน | เชิญมากินเครื่องเซ่นอย่าเว้นตัว | |||
เทพเจ้าเหล่าโขมดมายา | ต้องมนตร์จินดาก็ยิ้มหัว | |||
ต่างรับอาสาว่าอย่ากลัว | จะช่วยท่านเรียงตัวทั่วทั้งนั้น | |||
กินเครื่องเซ่นสุราแล้วลาแล่น | ออกเยียดยัดอัดแน่นในไพรสัณฑ์ | |||
แผลงฤทธิ์บิดร่างต่างต่างกัน | แผ่นดินลั่นดังจะถล่มทลาย | |||
สนั่นเมืองเปรื่องเปรี้ยงเสียงปีศาจ | ดังพสุธาฟ้าฟาดไม่ขาดสาย | |||
เหมือนจะล่มเมืองคว่ำให้ทำลาย | เข้ารุมรายล้อมรอบขอบบุรี ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าอารักษ์หลักเชียงใหม่ | พระเสื้อเมืองเรืองชัยแลเจ้าผี | |||
สถิตศาลน้อยใหญ่ในธานี | ที่ได้รับเครื่องพลีเจ้าเชียงอินทร์ | |||
เห็นผีไพรไทยมาเป็นสามารถ | ก็เกณฑ์กวาดผีบ้านทุกฐานถิ่น | |||
ผีป่าช้าอยู่ในใต้แผ่นดิน | เรียกมาสิ้นให้สู้หมู่ผีไทย | |||
ต่างตนสำแดงฤทธิรุทร | บ้างพุ่งซัดอาวุธอยู่หวั่นไหว | |||
บ้างฉวยได้ม้าช้างขว้างออกไป | คว้าท่อนไม้เท่าซุงเอาพุ่งโยน | |||
ถูกผีป่าล้มคว่ำคะมำกลิ้ง | ผีไทยผลุนหนุนวิ่งมาผาดโผน | |||
เอากอหนาดฟาดไล่ดังไฟโชน | พวกผีป่ากลับกระโจนเข้าโรมรัน ฯ | |||
๏ เดิมเชียงอินทร์เป็นปิ่นเอกราช | ชะตาขาดนครอ่อนอาถรรพ์ | |||
จะเสื่อมสิ้นยศอย่างแต่ปางบรรพ์ | เป็นประจันตประเทศเขตกรุงไทย | |||
ผีป่าจึงแข็งแรงร้ายกาจ | ผีเมืองมิอาจจะสู้ได้ | |||
ก็ถอยป่นย่นยับอัปราชัย | ผีป่าเข้าไปไล่ลุยเมือง | |||
เทพทุกศาลสิงออกวิ่งพล่าน | กำภูฉัตรพระกาฬโดดศาลเปรื่อง | |||
ไม่หลอเหลือทั้งพระเสื้อเมืองพระทรงเมือง | หอเครื่องเจตคุกบุกหนีไป | |||
พวกเหล่าผีเล็กผีน้อยพลอยวิ่งว่อน | ทั้งนครเสียงมี่ผีร้องไห้ | |||
บ้างอุ้มลูกจูงหลานซานเข้าไพร | เพราะผีป่าเข้าได้ในนคร ฯ | |||
๏ เวลานั้นเจ้าเชียงใหม่เธอไสยาสน์ | ครั้นทัพผีวิปลาสเกิดสังหรณ์ | |||
ทั้งตระกูลประยูรญาติราษฎร | พากันนอนใฝ่ฝันออกฟั่นเฟือน | |||
เห็นเป็นกองทัพไทยไล่ฟันลาว | ขุนนางเจ้าชาวบุรีหนีเข้าเถื่อน | |||
ตื่นแซ่แก้ฝันกันทุกเรือน | หลากจิตนิมิตเหมือนกันทั้งนั้น | |||
บ้างก็ว่าเวลาเคาะระฆัง | ได้ยินดังคึกคึกพิลึกลั่น | |||
เห็นชะรอยภูตผีเราหนีมัน | ต่างวิตกอกสั่นทุกคนไป ฯ | |||
๏ พระเจ้าเชียงใหม่ฟื้นตื่นนิทรา | ลุกผวาหวั่นหวาดพระทัยไหว | |||
ก็ทราบว่าผีบ้านย่านผีไพร | อยู่ไม่ได้หนีออกนอกบุรี | |||
แสนวิตกอกเมืองจะเคืองเข็ญ | ต้องยากเย็นผู้คนจะป่นปี้ | |||
นี่เพราะกูทำความไม่งามดี | ไปชักให้ไพรีมีขึ้นมา | |||
แล้วหวนมานะนึกกลับฮึกเหี้ยม | อายุกูก็เยี่ยมหกสิบห้า | |||
ถึงจะครองเมืองไปก็ไม่ช้า | ไม่ขายหน้ายอมไทยให้อัปประมาณ | |||
อันชาติเสือถึงจะตายลายก็อยู่ | ให้ใครดูรู้ชาติว่าอาจหาญ | |||
ชาติกษัตริย์ถึงจะป่นจนวายปราณ | มิให้พานชื่อชั่วว่ากลัวใคร | |||
ถึงชีวันบรรลัยจะไว้ยศ | ให้ปรากฏทั่วโลกวิสัย | |||
เหมือนทศเศียรสุริย์วงศ์ทรงฤทธิไกร | ถูกลักล้วงดวงใจไปให้ราม | |||
แม้นรักชีวิตรักวงศ์จะส่งนาง | เธอสู้ตายวายวางไม่คิดขาม | |||
จึงเลื่องชื่อลือยศปรากฏนาม | มีเรื่องความในนิพนธ์จนทุกวัน | |||
ถ้ากลัวเขาเราจะส่งสร้อยทองให้ | ก็คงไม่เกิดเข็ญเป็นมหันต์ | |||
สู้บรรลัยไว้ยศเหมือนทศกัณฐ์ | ให้ลือลั่นชั่วหล้าแลฟ้าดิน | |||
ตริพลางทางเสด็จออกข้างหน้า | ดำรัสสั่งเสนาทั้งปวงสิ้น | |||
ให้คอยระวังระไวพวกไพริน | เราเอาเวียงเชียงอินทร์เป็นเรือนตาย ฯ | |||
๏ อำมาตย์กับโองการคลานออกมา | ต่างเข้มงวดตรวจตราคนทั้งหลาย | |||
ทุกค่ายคูปิดประตูหอรบราย | กระทะทรายตั้งคั่วทั่วกำแพง | |||
ทั้งหญิงชายให้มาขึ้นหน้าที่ | มองอัคคีให้สว่างกระจ่างแสง | |||
ให้เหล่าสารวัตคอยจัดแจง | ทั่วตำแหน่งเกณฑ์ตรวจทุกหมวดกรม ฯ | |||
๏ ครานั้นนางอัปสรสุมาลี | มเหสีเชียงอินทร์ปิ่นสนม | |||
เห็นบ้านเมืองวิปริตผิดนิยม | จะแหลกล่มเสียกระมังในครั้งนี้ | |||
จำจะไปเพ็ดทูลมูลเหตุ | ให้ทรงเดชวินิจฉัยให้ต้องที่ | |||
คิดพลางย่างเเยื้องจรลี | ไปเฝ้าเจ้าธานีในทันใด | |||
ครั้นถึงกราบก้มประนมกร | บังอรซบเศียรสะอื้นไห้ | |||
แล้วกราบทูลสามีพิรี้พิไร | ขอพระองค์จงได้กรุณา | |||
เป็นความสัตย์สุจริตไม่คิดหึง | หมายจะพึ่งภูวไนยจนสังขาร์ | |||
อันซึ่งศึกประชิดติดพารา | ด้วยสาเหตุเนื้อเคราะห์เพราะสร้อยทอง | |||
จะเอานางไว้ไยในพารา | ให้ไพร่ฟ้าทุกข์ทนหม่นหมอง | |||
เคืองระคายบาทาฝ่าละออง | ขอพระองค์จงตรองในพระทัย | |||
พระสนมแน่งนวลควรประคอง | งามกว่าเจ้าสร้อยทองไม่นับได้ | |||
ไม่ควรจะขุ่นเคืองกับเมืองไทย | ถ้าส่งสร้อยทองให้กับนายทัพ | |||
ที่คนเขาเขาก็คืนเอาไปได้ | เห็นพวกไทยจะเลิกกองทัพกลับ | |||
ทั้งวังเวียงเชียงใหม่ไม่ย่อยยับ | เหมือนพระดับความเข็ญเย็นประชา | |||
ให้หมดสิ้นเสี้ยนหนามได้ความสุข | ตัดยุคเสียอย่างนี้จะดีกว่า | |||
ขอพระองค์ทรงพระกรุณา | ให้ไพร่ฟ้าแผ่นดินสิ้นทุกข์ภัย ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าเชียงอินทร์บดินทร์สูร | ฟังทูลก็สะท้อนถอนใจใหญ่ | |||
นึกสงสารสายสมรอ่อนพระทัย | ประเดี๋ยวใจหวนพิโรธโกรธขึ้นมา | |||
น้องเอ๋ยพี่ไม่เคยให้ใครหยาม | เจ้าเวียงจันทน์ทำความไว้ข้ามหน้า | |||
ยังมิหนำซ้ำพวกอยุธยา | หยาบช้ามาประชิดติดนคร | |||
ถ้าขอนางโดยดีพี่จะให้ | นี่มันไม่ยำเกรงข่มเหงก่อน | |||
บังอาจลักช้างม้าฆ่าราษฎร | ลือกระฉ่อนออกดังทั้งแดนไตร | |||
มันเขียนหนังสือว่าท้าประจาน | มิใช่พระในวิหารจะอดได้ | |||
จึงได้เกิดรบพุ่งกันยุ่งไป | ลาวบรรลัยมากมายเป็นหลายคน | |||
ซึ่งจะส่งองค์นางไปเดี๋ยวนี้ | เหลือที่จะทำได้ให้ขัดสน | |||
ไม่ขอส่งคงสู้จนวายชนม์ | เกิดเป็นคนถึงกรรมก็จำตาย ฯ | |||
๏ ครานั้นนางอัปสรสุมาลี | ได้ฟังคำสามีก็ใจหาย | |||
ช่างดึงดันโกรธเกรี้ยวไปเดียวดาย | จะทานทัดมากมายก็ไม่ควร | |||
เคารพราบกราบลาพระสามี | เทวีเสด็จมาโดยด่วน | |||
ทอดองค์ลงกับแท่นแสนรัญจวน | ยิ่งปั่นป่วนโศกเศร้าเสียพระทัย | |||
กรกอดลูกน้อยเจ้าสร้อยฟ้า | นางโศกาสะอึกสะอื้นไห้ | |||
แม่ไปทูลพระองค์ผู้ทรงชัย | เธอดื้อดึงขึงไปไม่นำพา | |||
ทั้งนี้เพราะเคราะห์กรรมนำนิยม | จะให้ล่มโลกลาวตลอดหล้า | |||
ทั้งหญิงชายก็จะฟายแต่น้ำตา | คงยากเย็นเป็นข้าพวกไทยแท้ | |||
แสนวิตกโอ้อกเจ้าแม่เอ๋ย | จะเป็นเชลยเขาเสียแล้วนะแก้วแม่ | |||
จึงเผอิญให้กษัตริย์วิบัติแปร | ที่ชั่วแน่กลับเห็นว่าเป็นดี | |||
ตรัสทางพลางข้อนพระทรวงร่ำ | แสนระกำดังจะม้วยไปเป็นผี | |||
เจ้าครอกน้อยสร้อยฟ้านารี | ก็โศกีลูกแม่แน่นิ่งไป | |||
กำนัลนางต่างเอาสุคนธ์สรง | ค่อยชุ่มชื่นฟื้นองค์ขึ้นมาได้ | |||
แต่โศกแล้วโศกเล่าเฝ้าร่ำไร | ร้องไห้ข้อนอกจนฟกแดง ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงขุนแผนแสนสนิท | เรืองฤทธิ์ลือทั่วกลัวแสยง | |||
พอรุ่งแสงทินกรขึ้นร้อนแรง | ก็จัดแจงกองทัพกำชับการ | |||
ให้เร่งผูกอัสดรกุญชรชาติ | จะยกยาตราหลพลหาญ | |||
ล่วงลัดตัดตรงเข้าดงดาน | ประชิดชานเชียงใหม่ในวันนี้ ฯ | |||
๏ พวกอาสารับสั่งไม่รั้งรา | ต่างไปผูกช้างม้าอยู่อึงมี่ | |||
จับอาวุธวุ่นวิ่งเป็นสิงคลี | ประจำที่พยุหบาตรจะยาตรา | |||
ให้พระนายท้ายน้ำนั้นนำศึก | ขี่พลายประกายพรึกมาข้างหน้า | |||
เพี้ยกึงกำกงถัดลงมา | ขี่พลายพลิกพสุธามากลางพล | |||
ขุนแผนขี่พลายศรีคชเดช | พลายงามขี่พลายเกตุต้อนพหล | |||
พวกอาสาร่าเริงทุกตัวคน | รีบร้นโยธาคลาไคล | |||
โห่สั่นลั่นก้องท้องอรัญ | ครึ่งวันก็กระทั่งถึงเชียงใหม่ | |||
ให้หยุดทัพยับยั้งตั้งพลไว้ | นายไพร่พร้อมพรั่งอยู่คั่งคับ | |||
เอาอ้อแขมมากระหนาบคาบเอาไว้ | ซัดข้าวสารหว่านไปเป็นค่ายตับ | |||
ปักรายหลายชั้นกั้นหน้าทัพ | สำหรับปืนใหญ่ในบุรี ฯ | |||
๏ ในชานเวียงเสียงสนั่นออกหวั่นไหว | เห็นทัพไทยมาประชิดติดกรุงศรี | |||
พวกลาวระวังตัวทั่วธานี | เข้าประจำหน้าที่สิ้นทั้งนั้น | |||
บ้างเคี่ยวชันหลอมตะกั่วคั่วทราย | ตั้งเตารายบนกำแพงไว้แข็งขัน | |||
กองไฟรอบเมืองเนื่องเนื่องกัน | ส่งแสงแดงฉานทั้งเวียงชัย | |||
องค์พระเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นนครา | ออกมาสั่งเสนาผู้น้อยใหญ่ | |||
ให้ระแวดระวังตั้งใจ | ดูอย่าให้ผู้คนปนเข้ามา | |||
เอาหอกดาบปืนผาอาวุธ | เครื่องยุทธ์เตรียมไว้ให้แน่นหนา | |||
ชั้นแมวหมูสุนัขนกกา | แม้นเข้าเมืองจับฆ่าให้วายชนม์ | |||
ให้เสนีสี่นายแยกย้ายไป | ตรวจไพร่โยธาโกลาหล | |||
รอบจังหวัดอัดแอแต่ล้วนคน | ทุกถนนหนทางสว่างไฟ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | เรืองฤทธิ์ลือจบพิภพไหว | |||
กับลูกชายพลายงามทรามวัย | พอดึกได้สามยามตามตำรา | |||
ฟ้าขาวดาวดวงสะกดแจ่ม | พระจันทร์แรมรีบดับลงลับหล้า | |||
พ่อลูกจัดแจงแต่งกายา | นุ่งผ้าม่วงดำประจำกาย | |||
สะเอวคาดราตคดก็สีดำ | คล้องประคำตะกรุดทองทั้งสองสาย | |||
ใส่เสื้อยันต์ลงองค์นารายณ์ | เข็มขัดขมองพรายคาดกายพัน | |||
ประจงจับจบประเจียดประจุพระ | โพกศีรษะทะมัดทะแมงดูแข็งขัน | |||
ทั้งพ่อลูกผัดผงที่ลงยันต์ | แล้วเสกจันทน์เจิมหน้าสง่างาม | |||
ขึงขังทั้งคู่ดูสง่า | ดังพระยาสีหราชเรืองสนาม | |||
จบคำนับจับดาบปราบสงคราม | บ่ายหน้ามาตามยามอาทิตย์ | |||
ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว | เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต | |||
ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต | เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร | |||
สี่หัตถ์ทรงศัตราคทาเพชร | พร้อมเสร็จจักรสังข์พระแสงศร | |||
ลมสองคลองคล่องขวาเวลาจร | ก็ก้าวเท้าขวาก่อนทั้งสองคน | |||
กุมารทองโหงพรายรายรอบข้าง | พ่อลูกเยื้องย่างมาทางถนน | |||
ร่ายเวทจังงังกำบังตน | ไม่มีคนทายทักแต่สักคำ | |||
ปีนข้ามเนินคูประตูค่าย | อ้ายพวกลาวบ่าวนายอยู่คลาคล่ำ | |||
ล้วนต้องมนตร์ง่วงหงับระงับงำ | ขุนแผนนำหน้าไปใกล้กำแพง | |||
ยืนมองช่องประตูคนผู้ไขว่ | กองไฟไว้สว่างกระจ่างแสง | |||
ทหารปืนยืนเป็นพวกใส่หมวกแดง | เสียงฆ้องป๋องแป๋งออกรอบไป | |||
ขุนแผนกับลูกชายร่ายพระเวท | อันวิเศษสองนายใช้พรายได้ | |||
แล้วขึ้นคอผีกุมารอันชาญชัย | ผีก็แผลงฤทธิไกรวิสัยตน | |||
ผาดโผนโจนข้ามกำแพงเมือง | เปรื่องเดียวเข้าได้ไม่ขัดสน | |||
ขุนแผนเป่าซ้ำกระหน่ำมนตร์ | สะกดคนหลับรอบขอบนคร | |||
แล้วตรงมาถึงวังเจ้าเชียงใหม่ | ขุนแผนใช้พรายลาวเข้าไปก่อน | |||
ให้ถอนลิ่มถอดสลักชักกลอน | ทั้งพ่อลูกบทจรเข้าวังใน ฯ | |||
๏ ผู้หญิงลาวท้าวนางแลโขลนจ่า | แลมาหาเห็นขุนแผนไม่ | |||
ทั้งคุณหม่อมจอมเจ้าแลสาวใช้ | จรลีสีไหล่กันไปมา | |||
ขุนแผนพลายงามตามกันจร | เที่ยวทุกตรอกซอกซอนทั้งซ้ายขวา | |||
ขึ้นตำหนักเจ้าจอมหม่อมมารดา | จะดูท่าชาววังเป็นอย่างไร | |||
บ้างซุบซิบสนทนาถึงข้าศึก | บ้างข้อนอกเข้าสะอึกสะอื้นไห้ | |||
บ้างจับเบี้ยบนผีพิรี้พิไร | บ้างเย็บไถ้คาดแน่นใส่แหวนทอง | |||
ทุกหนแห่งแสยงสยดทั่ว | ไม่มีหัวมีแต่ไห้ไปทุกห้อง | |||
พ่อลูกเล็ดลอดเที่ยวสอดมอง | เห็นหม่นหมองเวทนาในอารมณ์ | |||
แต่พวกเล่นจับคู่ไม่สู้ทุกข์ | ยังสนุกรื่นรวยทำสวยสม | |||
บ้างไปมาหาคู่ที่เคยชม | เชยแก้มแนมนมกระนี้กระนั้น | |||
บ้างขึ้นมาหาสู่เหมือนชู้ชาย | แย้มคายลิ้นลมเป็นคมสัน | |||
บ้างหวงหึงบึงบอนควักค้อนกัน | บ้างแดกดันทุ่งเถียงเสียงอลวน | |||
ที่ลางนางทอดตัวเกาหัวแกรก | ถ้าเมืองแตกเรานี้คงปี้ป่น | |||
ลางนางบ้างว่าอย่าร้อนรน | ของยังมีที่ตนไม่จนนาน | |||
บ้างว่าถ้าตกไปเมืองใต้ | ทำอย่างไรจึงจะดีให้วิถาร | |||
ที่ลางนางนอกคอกบอกอาการ | อย่าเกียจคร้านโต้ตอบชอบทุกคน | |||
ที่คนโง่ถามว่าโต้อย่างไรขา | ถ้าผัวด่าด่าโต้หรือยังฉงน | |||
ใครเขาให้โต้ปากอยากสัปดน | ให้เอาตนโต้ดอกบอกตามการ | |||
ซึ่งโต้ตอบอย่างนี้ไม่มีครู | ด้วยต่างคู่ต่างวิสัยหลายสถาน | |||
ถ้าโต้ตอบชอบใจแล้วไม่นาน | ต้องซมซานฝากตัวกลัวจนงอ | |||
แน่พวกเรานะอย่าเอาที่ผัวไพร่ | เหมือนกับเหยียบขี้ไก่มันไม่ฝ่อ | |||
ปะนายมุลขุนนางวางให้พอ | เข้าเคลียคลอเคล้าคลึงให้ถึงใจ | |||
ทั้งนวดฟั้นปรนนิบัติพัดวี | ทำให้ดีขี้คร้านจะหลงใหล | |||
ยิ่งกว่ายาแฝดฝังยังเข้าใจ | ท่านผู้หญิงทิ้งไล่เสียเลเพ | |||
บิ่งงกงันฟันหักยิ่งรักสาว | กลัวจะซานลานลาวเจ้าเสน่ห์ | |||
อุตส่าห์เฝ้าเอาใจใช้อุปเทห์ | แก่ขี้เหร่ดีนักยิ่งรักเมีย | |||
ระวังแต่อ้ายหนุ่มกระจุ๋มกระจิ๋ม | มันมักชิมแล้วเฉยเลยทิ้งเสีย | |||
ถ้าไม่ช่วยตัวได้อย่าให้เยีย | ทำปัวเปียเสียพอป่องพร่องราคา ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนประเสริฐ | เลื่องชื่อลือเลิศตลอดหล้า | |||
กับลูกชายหงายแหงนดูดารา | พอเพลาดาวธงเข้าตรงรถ | |||
ดูอากาศแผ้วผ่องเป็นคลองช้าง | แจ่มกระจ่งเด่นดาวดวงสะกด | |||
พระจันทรล่อนดับลับบรรพต | กำหนดต้องฤกษ์พาตำราเรียน | |||
พ่อลูกเสกซัดข้าวสารกราว | พวกแสนลาวล้มเกลือกลงเสือกเศียร | |||
ที่นั่งขึงแข็งตาน่าวิงเวียน | จนล้มพาดดาษเดียรลำดับกัน | |||
ที่ลุกขึ้นกึกกักมาตักน้ำ | ต้องอาคมล้มคะมำคว่ำทับขัน | |||
ลางนางเช็ดไรใส่น้ำมัน | สำลีพันไม้คาหลับตาไป | |||
ลางนางปักสะดึงตรึงตราขุน | ง่วงงุนหลับตามือคาไหม | |||
ที่ปั่นฝ้ายกระหลอดลงกอดไน | ที่นั่งยามตามไฟไม่สมประดี | |||
ขุนแผนสั่งผีโขมดกุมารทอง | จงเข้าไปในห้องปราสาทศรี | |||
สะกดพระยาลาวเจ้าธานี | มเหสีลูกสาวชาวพนักงาน ฯ | |||
๏ ผีคำนับรับคำทำเดชา | พอพริบตาเดี๋ยวหนึ่งถึงราชฐาน | |||
ขึ้นบนตำหนักพลันมิทันนาน | เข้ากดทับหลับซานไปทุกคน | |||
ด้วยเทวดารักษากำภูฉัตร | ผีไทยไล่กำจัดเข้าไพรสณฑ์ | |||
กุมารจึงเข้าไปได้ใกล้ตน | ทบเจ้าภูวดลไว้ตรึงตรา | |||
องค์พระเจ้าเชียงใหม่ชัยศรี | ครั้นต้องมนตร์ดลผีให้มืดหน้า | |||
ดังใจปลิดจิตปลิวจากกายา | ลงนิทราแน่นิ่งไม่ติงองค์ ฯ | |||
๏ ขุนแผนกับลูกยาศักดาเดช | ร่ายพระเวทเป่าลมประสมส่ง | |||
แล้วเยื้องย่างอย่างสองพยัฆค์ยง | ตรงเข้าเรือนทองห้องสุวรรณ | |||
อเนกแน่นล้วนแสนสุรางค์ราช | ต้องอาคมล้มกลาดเป็นหลั่นหลั่น | |||
ดูงามถ้วนล้วนเหล่าพระกำนัล | ผิวพรรณพึงชมสมสะคราญ | |||
ผ้าผวยเทพประนมห่มนอน | ฟูกหมอนเสื่อสาดสะอาดสะอ้าน | |||
กลิ่นฟุ้งมุ้งแพรแลละลาน | พนักงานต่างต่างทุกอย่างไป | |||
พ่อลูกจรจรัลเข้าชั้นสอง | ประทีปส่องแสงสว่างกระจ่างไข | |||
พระสนมล้มหลับระเนนใน | ล้วนวิไลเลิศล้ำดูสำอาง | |||
ละม่อมเหมาะเพลาะกลอมหอมห่ม | บ้างเปิดนมขาวช่วงอล่างฉ่าง | |||
ดูสองแก้มแจ่มเจียนผิวมะปราง | ล้วนแต่อย่างสาวใหญ่ไว้ท่วงที | |||
สนิทนิ่งเหนือหมอนที่นอนนาง | ดูสำอางอ่อนสะอาดลาดกำมะหยี่ | |||
มุ้งน้อยน้อยห้อยพู่ประตูมี | ล้วนแพรบางต่างสีดูสมทรง | |||
พ่อลูกจรจรัลเข้าชั้นสาม | ประทีปอัจกลับตามงามระหง | |||
ทั้งสองย่างยุรยาตรดูอาจอง | เห็นองค์แน่งน้อยสนิทนอน | |||
ล้วนรุ่นรุ่นรูปเรี่ยมจำเริญลักษณ์ | ผิวพักตร์ผ่องเกลี้ยงเพียงอัปสร | |||
ห่มแพรสีมีวลัยใส่สวมกร | เอาสร้อยอ่อนทำสายสะอิ้งรัด | |||
ใส่ตุ้มหูซ้ายขวาระย้าย้อย | เอวบางร่างน้อยนมถนัด | |||
ดังปทุมตูมเต่งเคร่งครัด | จำปาทัดถันได้ไม่ลอดทรวง | |||
เจ้าพลายงามเดินหลังตั้งตาเขม้น | เสียดายเป็นที่นั่งรองของหลวง | |||
เอามือข้อนเข้าที่พุ่มปทุมทรวง | ไม่โรยร่วงกลีบกลัดกำดัดตึง | |||
ขุนแผนเห็นลูกเข้าไปเคล้าคลอ | เอามือห่อป่ายหลังลงดังผึง | |||
นี่ของหลวงนะอย่าเข้าไปเคล้าคลึง | ถ้าแม้นนึกลึกซึ้งสิเสียความ | |||
ไม่ควรนะเจ้าเราเป็นไพร่ | เขาก็ได้เป็นนางระวางห้าม | |||
ยิ่งจะให้เชี่ยวชาญการสงคราม | มาคุกคามลามลวนอย่าควรทำ | |||
เจ้าพลายงามบอกความกับบิดา | แวะเข้ามาชมเล่นเห็นขำขำ | |||
เพียงลักหลับลูกต้องประคองคลำ | ไม่ได้นึกลึกล้ำละเลิงใจ | |||
เออนะเจ้าเราขอเสียคืนเดียว | ช่วยกันเคี่ยวแข็งข้อเอาให้ได้ | |||
ถ้าเสร็จศึกแล้วจะนึกเอานางใด | เว้นแต่หม่อมยอมให้ทุกนารี ฯ | |||
๏ พ่อลูกไคลคลามาทั้งสอง | ถึงห้องทองที่ประทมเจ้ากรุงศรี | |||
เสกสะเดาะลิ่มลั่นออกทันที | ตรงขึ้นที่อัฒจันทร์บนชั้นพัก | |||
เข้าปรางค์ทองชมห้องปราสาทศรี | เธอเทียบที่พระประทมไว้สมศักดิ์ | |||
มีม่านทองสองไขใส่เชือกชัก | ที่ฝาทำจำหลักเป็นลายลอย | |||
เพดานเขียนลายทองเป็นถ่องแถว | ระย้าแก้วแพรวพรายสายโซ่ห้อย | |||
โคมปัดอัจกลับระยับย้อย | แสงสว่างพร่างพร้อยดูพรายตา | |||
หน้าพระแท่นล้วนแต่แสนสาวสุรางค์ | อนงค์นางอยู่งานขนานหน้า | |||
ดูรูปเรียบกะทัดรัดจำรัสตา | โสภานิ่มนวลควรจะชม | |||
ขนงเนตรเกศแก้มจำรัส | ถันก็ถัดกันทั้งคู่ดูงามสม | |||
มีสุจหนี่นอนหมอนพรม | ล้วนแต่ห่มแพรสีมีขลิบริม | |||
ทองวลัยใส่แขนแหวนสอดก้อย | ผูกสายสร้อยสิบนิ้วเจ้านุ่มนิ่ม | |||
ใส่ตุ้มหูเฟื่องห้อยพลอยทับทิม | ดูหน้าตาจิ้มลิ้มดังลูกจันทน์ | |||
เหล่านางดีดสีที่ข้างแท่น | ละม้ายแม้นเหมือนตุ๊กตาปั้น | |||
งามระหงทรงศรีฉวีวรรณ | ประดับกายคล้ายกันทุกนารี | |||
คนระนาดนอนหลับทับคนฆ้อง | นางคนร้องนอนทับกระจับปี่ | |||
คนโทนทับหลับใหลไม่สมประดี | นางคนสีซอทับคนกรับนอน ฯ | |||
๏ พ่อลูกชมย่างย่อง | ขึ้นพระแท่นในห้องข้างซ้ายก่อน | |||
แหวกวิสูตรสุวรรณอันบวร | เข้าในที่บรรจถรณ์ด้วยทันใด | |||
เห็นสองนางต่างองค์บรรทมหลับ | อัจกลับจับผิวดูผ่องใส | |||
งามจริงพริ้งพร้อมละม่อมละไม | เป็นนวลปลั่งดังใยสำลีชี | |||
เพ่งพินิจพิศทรงพระองค์ใหญ่ | แลวิไลเลิศลักษณ์เป็นศักดิ์ศรี | |||
ดูผิวพักตร์ก็ยังผ่องละอองดี | แต่ตรงที่พระถันนั้นพร่องทรวง | |||
เห็นอนงค์จะเป็นองค์ชนนี | นางโฉมยงค์องค์นี้เป็นลูกหลวง | |||
พึ่งเป็นสาวรุ่นร่างกระจ่างดวง | ดูสองถันนั้นเป็นพวงผกาทิพย์ | |||
เหมือนโกมุทพึ่งผุดหลังชลา | พอต้องตาเตือนใจให้จะหยิบ | |||
เจ้าพลายแลเล็งเพ่งไม่พริบ | พ่อกระซิบห้ามปรามก็ขามใจ | |||
สนิทนิ่งเหนือหมอนดังท่อนแก้ว | พระพักตร์แผ้วมิได้มีรอยฝีไฝ | |||
งามขนงก่งค้อมละม่อมละไม | แต่เนตรหลับยังวิไลประหลาดนาง | |||
นาสิกตะละทรงพระแสงขอ | โอษฐ์ลออเรี่ยมริมเหมือนจิ้มฝาง | |||
สองปรางอย่างผิวผลมะปราง | ดูทรงศอคอคางอย่างกลึงกลม | |||
งามระหงทรงศรีไม่พีผอม | เพริศพร้อมแต่บาทจนถึงผม | |||
กระหมวดมุ่นเกศาก็น่าชม | ปักปิ่นทองถมราชาวดี | |||
กุณฑลสองข้างพร่างแสงเพชร | สังวาลประดับสลับเม็ดพลอยต่างสี | |||
กำไลกรทองร่อนรูปนาคี | ธำมรงค์เรือนมณีสีพร่างพราย | |||
ผ้านุ่งถถุงยกกระหนกกรอง | ห่มแพรริ้วทองจำรัสฉาย | |||
มเหสีทรงยกกระหนกลาย | ห่มแพรเหลืองลายมะลิทอง | |||
พระเทพีมีบุตรจนเป็นสาว | ยังดูลาวสักสิบหกไม่บกพร่อง | |||
กทัดรัดผิวเรี่ยมเอี่ยมละออง | ควรประคองไว้ถนอมเป็นจอมนาง ฯ | |||
๏ ชมพลางย่างมาพระแท่นใหญ่ | ตรงเข้าไปรวบรูดวิสูตรกร่าง | |||
แต่ล้วนเครื่องทองคำดูสำอาง | พระแสงวางข้างที่มีหลายองค์ | |||
แลเห็นเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นไอศวรรย์ | สถิตบรรจถรณ์ประเทืองเรืองระหง | |||
ดูขาวนวลอ้วนกลมสมทรวดทรง | ควรเป็นวงศ์อิศเรศเกศเชียงอินทร์ | |||
คลุมประทมถมเถือกด้วยทองชุด | เป็นเครือครุฑยุดนาคดูเฉิดฉิน | |||
ภูษาทรงพื้นแดงแย่งข้าวบิณฑ์ | ดูงามสิ้นสมศักดิ์กษัตรา | |||
พลายงามก็กรายเข้าซ้ายองค์ | ขุนแผนแสนณรงค์เข้าเบื้องขวา | |||
หยิบเอาพระแสงวางข้างที่มา | จนสิ้นราชสาตราจะรอนราญ | |||
แล้วสองนายเข้าประจำทั้งซ้ายขวา | ดังพระยาสีหราชอาจหาญ | |||
ขุนแผนเป่ามนตร์ประทับขับกุมาร | ผีก็คลานเคลื่อนตนลงพ้นองค์ | |||
ขุนแผนกระทืบเตียงทองร้องตวาด | ด้วยอำนาจพระยาครุฑสุดเสียงส่ง | |||
ฝ่ายว่าท้าวเจ้าฟ้ามลาวงศ์ | สะดุ้งองค์ตกประหม่าสง่าครุฑ | |||
ลืมพระเนตรเห็นไทยอยู่ในที่ | พระอินทรีย์เสียวสันพรั่นที่สุด | |||
นึกมานะจะประจญรณยุทธ์ | คว้าหาอาวุธไม่พบพาน | |||
ดังใครเอาตรีเพชรมาเด็ดเศียร | พระทัยเจียนจะแยกแตกฉาน | |||
ชีวิตกูตกอยู่ในมือมาร | ไม่ช้านานมันคงฆ่าชีวาวาย | |||
จะออกปากวอนง้อขอชีวิต | ก็ละอายแก่จิตไม่คิดหมาย | |||
ลุกขึ้นนั่งนิ่งไม่ติงกาย | มาดหมายว่าไม่มีชีวาคง ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | เห็นเจ้าเชียงอินทร์สิ้นคิดตะลึงหลง | |||
หากมานะนั่งนิ่งไม่ติงองค์ | ขุนแผนส่งสุรเสียงประเปรี้ยงมา | |||
ฮ้าเฮ้ยพระยาปัจจามิตร | ตัวเป็นคนพาลผิดริษยา | |||
องค์พระจอมมงกุฎอยุธยา | มิได้มาย่ำยีเมืองเชียงอินทร์ | |||
เจ้าฟ้าสัตนาคนหุต | ถวายบุตรกรุงไทยดังใจถวิล | |||
ตัวกระทำจัญไรใจทมิฬ | ออกชิงไว้ให้สิ้นเสียไมตรี | |||
ทั้งพวกไทยที่มารับก็จับจำ | เฆี่ยนขับยับระยำจนป่นปี้ | |||
แล้วมีสารไปท้าถึงธานี | ให้กรูกรีรี้พลมาชนช้าง | |||
ไม่เจียมตัวเป็นประจันตประเทศ | ช่างโอหังบังเหตุเสียสิ้นอย่าง | |||
จึงตรัสใช้เราทหารแต่ปานกลาง | ให้มาล้างชีวันให้บรรลัย | |||
อย่านั่งก้มหน้านิ่งไม่ติงกาย | จะยอมตายหรือจะคิดกลับจิตใหม่ | |||
แผ่นดินลาวนี้จะเห็นเป็นของใคร | จะว่าไรว่ามาอย่านิ่งนาน ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าเชียงใหม่ครั้นได้ฟัง | อุระดังเพลิงไหม้ประลัยผลาญ | |||
สุดฤทธิ์ที่จะคิดประจัญบาน | ด้วยทหารกรุงไทยอยู่ใกล้ตน | |||
จะต่อตีก็ไม่มีอาวุธสู้ | เป็นสุดรู้สุดฤทธิ์ติดขัดสน | |||
จะผุดลุกหนีไปก็ไม่พ้น | ให้อัดอ้นจนจิตคิดเสียใจ | |||
กลัวตายคลายมานะละทิฐิ | ดำริแล้วดำรัสตรัสปราศรัย | |||
นี่แน่ะท่านสองทหารอันชาญชัย | ข้อยก็ได้พลั้งจิตผิดเสียแล้ว | |||
ถ้าท่านไว้ชีวิตคิดเมตตา | จะเป็นข้าพระทูลกระหม่อมแก้ว | |||
สร้อยทองข้อยบ่ได้ไปวี่แวว | มิได้แผ้วพานพ้องประเพณี | |||
จะอ่อนน้อมยอมถวายเจ้านายแล้ว | ทั้งลูกแก้วเมียมิ่งมเหสี | |||
ทั้งเวียงชัยไพร่ฟ้าข้าบุรี | ถวายไว้ใต้ธุลีพระบาทา ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนกับพลายงาม | ได้ฟังความเจ้าเชียงอินทร์สิ้นกังขา | |||
เห็นเต็มหวั่นครั่นคร้ามความมรณา | ก็รู้ว่ายอมตัวกลัวเป็นแท้ | |||
จึงตอบว่าวาจาของเจ้าตรัส | ยังจะสัตย์สุจริตสนิทแน่ | |||
หรือเห็นเข้าที่คับจึงรับแท้ | แล้วจะเบือนเชือนแชดอกกระมัง ฯ | |||
๏ เจ้าเชียงใหม่ได้ฟังจึงตอบถ้อย | อันคำข้อยเว้าแล้วบ่ถอยหลัง | |||
ทุกสิ่งสิ้นสารพัดเป็นสัจจัง | ชาติกษัตริย์ตรัสดังว่าช้างงา | |||
ถ้าขืนคดหดเหี้ยนเหมือนเศียรเต่า | ขอให้เราสิ้นชีวังสังขาร์ | |||
แล้วทนทุกข์ท่วมหัวชั่วกัลปา | ในมหาโลกันต์แต่วันตาย | |||
จะเชื่อคำข้าเฝ้าเหล่าลูกเมีย | ยุให้เสียสุจริตอย่าคิดหมาย | |||
จะถือสัตย์ให้ตลอดจนวอดวาย | ขอให้ท่านสองนายจงวางใจ ฯ | |||
๏ ขุนแผนฟังท้าวเจ้าเชียงอินทร์ | ให้ความสัตย์สมถวิลสิ้นสงสัย | |||
ทั้งสองนายคลายขู่ลงทันใด | เข้านั่งใกล้แล้วกล่าววาจาพลัน | |||
ถ้าเที่ยงตรงคงสัตย์ปฏิญญาณ | ซึ่งโทษท่านนั้นไว้ให้หม่อมฉัน | |||
จะเบี่ยงบ่ายทูลองค์พระทรงธรรม์ | มิให้ท่านอันตรายวายชีวิต | |||
แล้วพ่อลูกก็ถวายพระแสงคืน | จงชูชื่นเถิดอย่าช้ำระกำจิต | |||
จะทูลลาพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ | คืนไปที่สถิตกองทัพไทย ฯ | |||
๏ เจ้าเชียงอินทร์คำนับรับพระแสง | พระพักตร์แดงมัวหมองค่อยผ่องใส | |||
ถ้าแม้นท่านเมตตาเหมือนว่าไว้ | ก็จะรอดบรรลัยด้วยสองนาย | |||
ขอมอบชีวิตไว้ที่ในท่าน | ช่วยโปรดปรานเพ็ดทูลขยับขยาย | |||
ให้พระองค์ทรงโปรดโทษเคลื่อนคลาย | จะเป็นตายก็เพราะท่านกรุณา ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสงคราม | กับลูกชายพลายงามงามสง่า | |||
ได้ฟังเจ้าธานีมีเมตตา | จึงตอบว่าอย่าแหนงแคลงพระทัย | |||
ที่ทูลรับกับท่านนั้นทุกสิ่ง | เป็นคำจริงหามีมุสาไม่ | |||
แม้นพระองค์คงสัตย์เหมือนตรัสไว้ | คงมิให้ตัวท่านอันตราย | |||
ทั้งสองคนพ่อลูกขอสมา | แล้วลุกลาจรจรัลผันผาย | |||
ลงจากปรางค์ย่างเยื้องชำเลืองกาย | กระซิบสั่งโหงพรายกุมารทอง | |||
เอ็งจงดูอยู่ปรางค์อย่าห่างไกล | ประจำเจ้าเชียงใหม่อยู่ในห้อง | |||
สะกดตามทุกรอยคอยสอดมอง | เธอจะตรองอย่างไรก็ให้รู้ | |||
ลูกเมียมาตะบอยอ้อยอิ่ง | เธอตรงไว้ไม่ประวิงให้นิ่งอยู่ | |||
ถ้าเชื่อเมียเสียสัตย์เป็นศัตรู | เอ็งรีบออกไปบอกกูอย่านอนใจ | |||
สั่งพลางทางแก้สะกดคน | ล่องหนออกทางช่องลูกดาลไข | |||
ขุนแผนพลายงามตามกันไป | ถึงกองทัพไทยมิได้ช้า ฯ | |||
๏ เดินยิ้มเข้าในค่ายไปนั่งลง | พระท้ายน้ำกำกงพวกอาสา | |||
ทั้งพวกไพร่ทั้งหลายเห็นนายมา | ต่างวันทาไต่ถามความณรงค์ | |||
ขุนแผนเล่าแจ้งแถลงความ | ที่ไปกับพลายงามตามประสงค์ | |||
ลอบสะกดเข้าได้จนใกล้องค์ | แล้วปลุกขึ้นจะปลงชีวิตท้าว | |||
เธอตกใจจวนตัวกลัวความตาย | ยอมถวายสร้อยทองกับลูกสาว | |||
ทั้งเสนาข้าแผ่นดินสิ้นเมืองลาว | ทั้งไพร่เจ้าเมียมิ่งแลศฤงคาร | |||
ตัวเธอก็ถ่อมยอมเป็นข้า | ขอขึ้นอยุธยามหาสถาน | |||
ขอแต่อย่าให้ตายวายปรารณ | ได้ให้สัตย์ปฏิญญาณไว้แน่นอน ฯ | |||
๏ พวกนายไพร่ได้ฟังขุนแผนว่า | ทั้งไทยลาวราวจะพากันบินร่อน | |||
เสร็จศึกเชียงอินทร์สิ้นทุกข์ร้อน | จะร้องละครไปบ้านสำราญใจ | |||
ทั้งนายไพร่พูดจ้อหัวร่อร่า | จนเวลาจวบจวนประจุสมัย | |||
ขุนแผนกับพลายงามผู้ทรามวัย | ก็เข้าในที่สถิตแล้วนิทรา ฯ | |||
๏ ครั้นอุทัยไขประเทองเรืองรุ่งราง | ส่องสว่างทั่วทศทิศา | |||
ฝ่ายพระจอมเชียงอินทร์ปิ่นนครา | เสด็จมาที่สถิตพระเทพี | |||
ลดองค์ลงนั่งบัลลังก์รัตน์ | แล้วดำรัสบอกมิ่งมเหสี | |||
พี่นอนหลับใหลในราตรี | ไพรีเข้ามาได้จนใกล้กาย | |||
ครั้นสะดุ้งจิตฟื้นตื่นผวา | คว้าหาอาวุธก็สูญหาย | |||
จะแล่นหนีปัจจามิตรก็คิดอาย | จึงถวายกรุงลาวกับชาวไทย | |||
ทั้งองค์นางสร้อยทองของสำคัญ | พระสนมกำนัลน้อยใหญ่ | |||
ทั้งเจ้าข้อยสร้อยฟ้าข้าเวียงชัย | ถวายไว้ใต้เบื้องบทมาลย์ | |||
พี่ยอมน้อมคำนับรับความผิด | ขอแต่ชีวิตอย่าสังหาร | |||
จะถวายสุวรรณบรรณาการ | ได้ให้สัตย์ปฏิญญาณทุกสิ่งไป | |||
ก็ขอบใจไพรีที่เข้ามา | เราสัญญาเขาก็กลับไปทัพใหญ่ | |||
ดวงจิตเจ้าอย่าคิดเสียน้ำใจ | เพราะมีกรรมทำไว้แต่ก่อนมา ฯ | |||
๏ ครานั้นนางอัปสรมารศรี | ได้สดับคดีที่ผัวว่า | |||
ดังพระกาฬจะผลาญให้มรณา | ก็โศกาข้อนทรวงเข้าร่ำไร | |||
เจ้าประคุณทูลกระหม่อมของเมียแก้ว | ได้ทูลแล้วหาฟังคำเมียไม่ | |||
เพราะรู้แน่แท้เที่ยงจะเกิดภัย | แต่แรกไทยยกมาถึงธานี | |||
สะกดคุกลักคนปล้นช้างม้า | เข่นฆ่าผู้คนเสียป่นปี้ | |||
เพียงคนสามสิบห้ามาเท่านี้ | แม้นไม่ดีหรือจะหาญมาราญรอน | |||
เสนาห้านายไปรบมัน | ก็แตกตายก่ายทับเป็นไม้ขอน | |||
ทั้งทัพผีก็หนีเข้าซอกซอน | แต่ภูธรดื้อดึงตะบึงไป | |||
แม้นพระองค์ทรงฤทธิ์คิดปรองดอง | ส่งสร้อยทองคืนเสียไปเกลี่ยไกล่ | |||
กองทัพก็จะกลับไปกรุงไทย | เชียงใหม่จะดำรงคงเจริญ | |||
แต่นี้ไปไหนจะพ้นความฉิบหาย | ถึงไม่ตายก็จะตกระหกระเหิน | |||
ฝูงประชาก็จะซ้ำระยับระเยิน | ต้องเป็นทุกข์ฉุกเฉินทั้งไพร่นาย | |||
เหมือนปางหลังเมื่อครั้งนางสีดา | เกิดมาล้างลงกาให้ฉิบหาย | |||
ทศพักตร์รักหลงให้วงศ์วาย | ต้องฆ่าฟันกันตายลงก่ายกอง | |||
นางมณโฑทูลทัดท้าวขัดเคือง | จึงบรรลัยไพร่เมืองได้หม่นหมอง | |||
เหมือนครั้งนี้พระองค์หลงสร้อยทอง | จึงได้พาพวกพ้องต้องบรรลัย | |||
นางสร้อยทองก็ทำนองนางสีดา | เกิดมาล้างผลาญเมืองเชียงใหม่ | |||
ครั้นเมียห้ามก็ว่าหึงจึงจนใจ | ร่ำพลางสะอื้นไห้ไม่สมประดี ฯ | |||
๏ เจ้าเชียงใหม่ได้ฟังนางอัปสร | ให้เร่าร้อนฤทัยดังไฟจี้ | |||
จึงดำรัสตรัสตอบพระเทพี | จะขืนเฝ้าเซ้าซี้ไปทำไม | |||
ใช่พะวงหลงรักนางสร้อยทอง | เพราะเคืองข้องเวียงจันทน์นั้นข้อใหญ่ | |||
ไม่เกรงขามข้ามหน้าไปหาไทย | เราจึงชิงนางไว้ในพารา | |||
ถ้าแม้นพี่สมัครรักจริง | ไหนจะนิ่งเสียไม่ร่วมเสนหา | |||
เป็นกึ่งปีพี่มิได้จะไปมา | นิจจาเจ้าเฝ้าว่าให้ช้ำใจ | |||
รู้ว่าธานีจะมีทัพ | รบรับหมายจะสู้ศัตรูได้ | |||
เหมือนเขาเล่นการพนันกันอึงไป | จะใคร่ดีมีชัยจึงเล่นกัน | |||
ไม่สมมาตรคาดผิดก็แพ้เขา | จะขืนเฝ้าเสียดแทงมาแกล้งกลั่น | |||
ไหนไหนก็ได้พลั้งยั้งไม่ทัน | จะโศกศัลย์เสียเปล่าไม่เข้าการ | |||
ถ้าร้องร่ำน้ำตาเป็นโลหิต | ความผิดก็ไม่คลายหายร้าวฉาน | |||
จะถึงเข็ญมันก็เป็นไปตามกาล | ถึงที่ตายวายปราณก็คงตาย ฯ | |||
๏ ตรัสเสร็จเสด็จออกข้างฝ่ายหน้า | พร้อมเหล่าท้าวพระยาสิ้นทั้งหลาย | |||
จึงตรัสเล่าอนุสนธิ์ต้นปลาย | ซึ่งถวายเมืองขึ้นกับกรุงไทย | |||
สูไปบอกนายไพร่ให้มันรู้ | ให้รื้อค่ายเปิดประตูเมืองเชียงใหม่ | |||
ปืนล้อลากกลับเข้าโรงใน | แล้วเลิกไล่คนออกเสียนอกวัง | |||
ท้องสนามปราบปรามให้ราบเรียบ | ปลูกทำเนียบขึ้นให้ดียี่สิบหลัง | |||
ทำหอกลางขวางรีมีฝาบัง | ไม้ไผ่ตั้งเรียงรำทำรั้วราย | |||
สนามเล่นต่างต่างวิ่งช้างม้า | เป็นข้างหน้าข้างในให้เฉิดฉาย | |||
เอาผ้าขาวดาดเเพดานผูกม่านราย | แล้วไปเชิญสองนายกับไพร่มา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระยาจันทรังสี | ได้สดับรับคดีใส่เกศา | |||
ถอยหลังลนลานคลานออกมา | สั่งเสนาหลายนายแยกย้ายไป | |||
บ้างเกก็บงำปืนผาเลิกหน้าที่ | เปิดประตูบูรีอยู่ขวักไขว่ | |||
ปล่อยประชาชนชาวนอกให้ออกไป | ข้างในทำทำเนียบเทียบที่ทาง | |||
ปลูกเรือนขวางรียี่สิบหลัง | ระเนียดบังล้อมไว้ให้ใหญ่กว้าง | |||
ทั้งปลูกโรงน้อยใหญ่ไว้ม้าช้าง | ถากถางที่ปราบราบรื่นไป | |||
แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน | ให้ไปเชิญสองท่านเม่ทัพใหญ่ | |||
เข้ามาอยู่ที่เทียบทำเนียบใน | ทั้งนายไพร่ไทยลาวชาวเวียงจันทน์ ฯ | |||
๏ ท้าวหนูผู้เฒ่าเหล่าเพี้ยกวาน | จัดเอาคานหามมาขมีขมัน | |||
ถึงกองทัพไทยเข้าไปพลัน | อภิวันท์อัญเชิญทั้งสองนาย | |||
ว่าพระจอมเชียงอินทร์ปิ่นไอศวรรย์ | ให้มาเชิญสองทั่นนั้นผันผาย | |||
กับทหารลาวไทยทั้งไพร่นาย | เข้าไปพักให้สบายในบุรี ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | เรืองฤทธิ์แรงราวราชสีห์ | |||
เห็นเพี้ยกวานคลานมาอัญชลี | เชิญเข้าไปอยู่ที่ทำเนียบใน | |||
ชวนเจ้าพลายท้ายน้ำกำกึงกง | กับอาสาจตุรงค์ทั้งนายไพร่ | |||
แล้วขุนแผนนำหน้าคลาไคล | ขึ้นนั่งในคานหามมาสามนาย | |||
กำกงขี้ม้ามาข้างหลัง | สะพรั่งพร้อมโยธามาทั้งหลาย | |||
ครั้นถึงที่ทำเนียบเขาเรียบราย | ทั้งนายไพร่ก็เข้าพักสำนักใน | |||
ออกสะพรั่งนั่นอนสลอนหลาม | อยู่กันตามตำแหน่งผู้น้อยใหญ่ | |||
วิเสทแต่งเครื่องเทียบเพียบไป | เลี้ยงกองทัพไทยทุกเพลา ฯ | |||
ตอนที่ ๓๑ ขุนแผนพลายงามยกทัพกลับ
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสงคราม | พระท้ายน้ำพลายงามนั่งปรึกษา | |||
บัดนี้มีชัยได้พารา | จำจะแจ้งกิจจาไปกรุงไกร | |||
ให้พระองค์ทรงทราบข่าวคดี | ว่าเราตีเอาเมืองเชียงใหม่ได้ | |||
ทั้งตัวเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นราชัย | จะโปรดปรานประการใดให้รู้ความ | |||
จึงพร้อมใจให้เขียนเป็นสารา | ประทับตราหนุมานชาญสนาม | |||
กับสำเนาเข้าผนึกบันทึกความ | ห่อสามชั้นใส่ในกลักพลัน | |||
ปากกระบอกพอกคลั่งประจำตรา | สั่งนายปานขวานฟ้านายคงมั่น | |||
เอ็งไปเลือกม้าดีที่สำคัญ | พากันรีบไปในพรุ่งนี้ | |||
ไปทางลัดตัดตรงลงระแหง | พ้นกำแพงหมายมุ่งเอากรุงศรี | |||
เสร็จการกลับมาอย่าช้าที | ให้ถึงนี่ปลายเดือนอย่าเคลื่อนคลา ฯ | |||
๏ สองนายคำนับรับกระบอก | ออกมารีบรัดจัดห่อผ้า | |||
ได้ข้าวตากรอกไถ้ไปผูกม้า | เลือกหาถูกทำนองที่ว่องไว | |||
ได้ม้าเผ่นผจญด้นธรณี | ต่างขึ้นขี่ควบร่อยแล้วปล่อยใหญ่ | |||
ลัดป่าผ่าดงตรงไป | พอได้สิบวันครึ่งถึงอยุธยา | |||
ตรงมาศาลาลูกขุนใน | เรียนเจ้าคุณผู้ใหญ่อยู่พร้อมหน้า | |||
บัดนี้ท่านขุนแผนแสนศักดา | ให้กระผมถือตรามากราบเท้า | |||
บอกขานการไปรณรงค์ | ให้กราบทูลพระองค์ทรงทราบข่าว | |||
ว่าบัดนี้มีชัยได้เมืองลาว | จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมประการใด ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านเจ้าคุณอธิบดี | ทราบว่าตีได้เวียงเชียงใหม่ | |||
สั่งนายเวรทันทีด้วยดีใจ | คัดบอกไวไวมาให้เรา | |||
นุ่งสมปักปูมแดงแย่งนาคราช | หยิบผ้ากรายมาคาดบั้นเอวเข้า | |||
จวนเสด็จออกข้างหน้าเวลาเช้า | ก็รีบไปคอยเฝ้าพระทรงธรรม์ ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ | สถิตที่ข้างในมไหศวรรย์ | |||
พอเวลาสายสีรวีวรรณ | จรจรัลออกพระโรงพรรณราย | |||
ประทับเหนือพระที่นั่งบัลลังก์รัตน์ | ภายใต้เศวตฉัตรจำรัสฉาย | |||
เหล่าอำมาตย์หมื่นหมอบนอบน้อมกาย | กราบถวายบังคมอยู่พร้อมกัน ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าคุณอธิบดี | กราบทูลทันทีขมีขมัน | |||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ชีวันอยู่ใต้พระบาทา | |||
บัดนี้ขุนแผนแสนสงคราม | กับนายพลายงามซึ่งอาสา | |||
บอกมากราบทูลพระกรุณา | เสมียนตราคลี่บอกออกอ่านพลัน ฯ | |||
๏ ในบอกว่าขุนแผนแสนสงคราม | กับนายพลายงามคนขยัน | |||
อาสาบาทบงสุ์พระทรงธรรม์ | คุมพหลพลขันธ์ไปชิงชัย | |||
ได้เร่งรัดจตุรงค์ทวยหาญ | ยกขึ้นไปถึงชานเมืองเชียงใหม่ | |||
ให้หยุดทัพยับยั้งตั้งซุ่มไว้ | แล้วปลอมตัวเข้าไปในพารา | |||
เวลาค่ำลอบเข้าในคุกใหญ่ | แก้ไขไทยมาได้ถ้วนหน้า | |||
ช่วยกันฆ่าคนปล้นช้างม้า | แล้วกลับมาที่ตั้งยั้งโยธี | |||
ครั้นรุ่งเช้าลาวยกมาห้าทัพ | ไพร่พลคนคับทั้งไพรศรี | |||
ข้าพเจ้าขับพลเข้าราวี | ต่อตีรุมรบตะลุมบอน | |||
ฆ่านายตายลงในที่รบ | ไพร่ก็หลบหนีหายกระจายว่อน | |||
ทั้งห้าทัพกลับถอยเข้านคร | ปิดประตูลงกลอนไว้ทุกชั้น | |||
แล้วรักษาหน้าที่ใบเสมา | ตรวจตราเข้มงวดกวดขัน | |||
กองไฟไว้สว่างเหมือนกลางวัน | คอยป้องกันตั้งรับกองทัพไทย | |||
ในคืนนั้นข้าพเจ้ากับพลายงาม | ลอบตามขึ้นปราสาทเจ้าเชียงใหม่ | |||
พบกำลังนอนหลับจับตัวไว้ | แล้วปลุกขึ้นตกใจอยู่ลนลาน | |||
กลัวตายขอถวายองค์สร้อยทอง | กับพวกพ้องประยูรญาติราชฐาน | |||
ทั้งธิดาเมียมิ่งแลศฤงคาร | ไว้ใต้เบื้องบทมาลย์พระทรงฤทธิ์ | |||
ส่วนตัวนั้นก็ถ่อมยอมเป็นข้า | ถวายราชบรรณาจนดับจิต | |||
ขอแต่อย่าให้ตายวายชีวิต | ให้ความสัตย์สุจริตทุกสิ่งอัน | |||
เห็นรับเป็นสัจจังพอฟังได้ | จึงงดไว้ไม่ฆ่าให้อาสัญ | |||
ข้าพเจ้าตรึกตราปรึกษากัน | ให้นายปานกับนายมั่นถือบอกมา | |||
ให้ความทราบบาทบงสุ์พระทรงฤทธิ์ | ถ้าพลั้งผิดได้โปรดเหนือเกศา | |||
ยับยั้งฟังพระราชบัญชา | จะทรงพระกรุณาประการใด ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทราบเหตุว่าตีเชียงใหม่ได้ | |||
ราวกับจอมสุทัศน์สหัสนัยน์ | มาเชิญให้ไปผ่านพิมานอินทร์ | |||
พระพักตร์ผุดผ่องพรรณรังสี | เปรมปรีดิ์ชื่นชมสมถวิล | |||
เออกระนี้สิหนอพอได้ยิน | เหมือนปลิดปลดหมดสิ้นที่ขุ่นแค้น | |||
กูเป็นไข้ใจมานี่กว่าปี | วันนี้หายป่วยด้วยขุนแผน | |||
ที่มันทำความชอบจะตอบแทน | ทั้งพ่อลูกให้แม้นเสมอกัน | |||
เจ้าพระยาจักรีจงมีตรา | ให้หากองทัพกลับเขตขัณฑ์ | |||
ส่วนอ้ายเฒ่าเจ้าเมืองเชียงใหม่นั้น | ว่าโทษมันถึงอุกฤษฎ์เพราะคิดร้าย | |||
ต้องตามกำหนดบทอัยการ | ควรประหารชีวิตให้ฉิบหาย | |||
พวกเสนาข้าเฝ้าเข้ากับนาย | ก็ล้วนโทษถึงตายไม่เว้นตัว | |||
ส่วนบุตรภรรยาข้าทาส | ต้องตกเป็นคนระบาตรด้วยโทษผัว | |||
ริบทั้งช้างม้าแลควายวัว | ครอบครัวเงินทองของที่มี | |||
ทั้งบรรดาหญิงชายชาวนคร | ต้องกวาดต้อนเป็นเชลยมาตามที่ | |||
ข้อที่มันอ่อนน้อมยอมภักดี | กูปรานียกให้ชีวิตไว้ | |||
แต่กวาดตัวเอาครัวมาให้หมด | ให้ปรากฏแก่ประเทศทั้งน้อยใหญ่ | |||
จะได้เป็นเยี่ยงอย่างข้างหน้าไป | มิให้ใครทุจริตผิดเหมือนมัน | |||
อนึ่งนางสร้อยทองผ่องโสภา | ซึ่งมันกล้าชิงไปเชียงใหม่นั่น | |||
กับสร้อยฟ้าธิดาของมันนั้น | ให้ส่งกันมาอย่างเป็นนางใน | |||
ด้วยว่าราชบุตรีศรีสัตนา | เป็นต้นเหตุรบรากับเชียงใหม่ | |||
จึงจะเป็นเกียรติยศปรากฏไป | ว่ามีชัยได้นางนั้นคืนมา | |||
จงจัดเรือประเทียบให้เรียบร้อย | ขึ้นไปคอยรับนางให้ถึงท่า | |||
เรือรับอ้ายขุนแผนแสนศักดา | ก็เอาเรือกัญญาไปสองลำ | |||
ทั้งพ่อลูกความดีมีหนักหนา | ให้มันขี่เรือกัญญามาให้ขำ | |||
ให้ลือเลื่องเฟื่องฟุ้งทุกคุ้งน้ำ | ว่าไปทำเชียงใหม่ได้บ้านเมือง | |||
อันครอบครัวกับตัวอ้ายเชียงใหม่ | เอามันใส่เรือตามให้หลามเนื่อง | |||
มันอยากทำวุ่นให้ขุ่นเคือง | ให้ชาวเมืองดูเล่นเป็นขวัญตา ฯ | |||
๏ ท่านเจ้าคุณมหาดไทยชัยชาญ | รับพระราชโองการใส่เกศา | |||
ออกจากพระโรงชัยไปศาลา | ให้ร่างเรื่องสารตราเข้าฉับพลัน | |||
ขึ้นกระดาษเสร็จสรรพประทับตรา | ใส่กลักปิดฝาสนิทมั่น | |||
สองนายรับตรากราบลาพลัน | พากันรีบออกกนอกกรุงไกร | |||
ขับม้าลัดไปในไพรสัณฑ์ | สิบวันเร่งตะบึงถึงเชียงใหม่ | |||
ลงจากม้าหมอบกรานคลานเข้าไป | ส่งกลักตราให้ขุนแผนพลัน ฯ | |||
๏ ขุนแผนคำนับแล้วรับสาร | ต่อยกลักออกอ่านขมีขมัน | |||
ทราบเรื่องสารตราสารพัน | ก็บอกกันถ้วนหน้าบรรดาไทย | |||
แล้วสั่งลูกชายเจ้าพลายงาม | เจ้าเข้าไปแจ้งความเจ้าเชียงใหม่ | |||
ว่าบัดนี้พระองค์ผู้ทรงชัย | ให้กวาดครัวลงไปอยุธยา | |||
เก็บทั้งสมบัติพัสถาน | ประทานแต่ชีวิตไม่เข่นฆ่า | |||
ให้บอกกล่าวกันทั่วตัวประชา | เราจะรั้งรอท่าสิบห้าวัน ฯ | |||
๏ พลายงามรับคำแล้วอำลา | พวกอาสาตามหลังไปเป็นหลั่น | |||
เข้าไปในท้องพระโรงพลัน | อภิวันท์ทูลท้าวเจ้าเชียงอินทร์ | |||
ว่ามีตรามาแต่พระราชฐาน | ให้กวาดกว้านครัวไปให้เสร็จสิ้น | |||
ด้วยความผิดคิดร้ายในแผ่นดิน | ทั้งภูมินทร์เมียมิ่งศฤงคาร | |||
ให้เสนารักษาเมืองเชียงใหม่ | คุมพระองค์ลงไปราชฐาน | |||
ให้ต้องตามจารีตโบราณกาล | พระราชทานแต่ชีวันไม่บรรลัย ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นนคเรศ | ทราบเหตุว่าจะกวาดไปกรุงใต้ | |||
แสนวิตกอกร้อนดังนอนไฟ | พระพักตร์ไหม้หมองหมดสลดพลัน | |||
กล่าวสุนทรวอนว่ากับพลายงาม | ก็รู้ความอยู่ว่าโทษเป็นมหันต์ | |||
ครั้งนี้ที่จะปลอดรอดชีวัน | ก็เพราะทั่นแม่ทัพทั้งสองนาย | |||
เจ้าพลายตอบว่าอย่าเศร้าจิต | ด้วยโทษท่านนั้นอุกฤษฎ์ผิดมากหลาย | |||
จำเป็นจำยากลำบากกาย | จะช่วยทูลเบี่ยงบ่ายให้คืนเมือง ฯ | |||
๏ สาธุข้อยก็หวังทั้งสองนาย | รอดตายก็เพราะท่านช่วยปลดเปลื้อง | |||
แม้นได้คืนเชียงอินทร์สิ้นความเคือง | จะมอบกายถวายเครื่องบรรณาการ | |||
เจ้าพลายงามรับคำแล้วอำลา | กลับมาที่อยู่หมู่ทหาร | |||
เจ้าเชียงใหม่สั่งเสียพวกเพี้ยกวาน | ให้ร้องป่าวชาวบ้านทั้งบุรี | |||
สั่งเสร็จก็เสด็จเยื้องย่าง | กลับเข้าในปรางค์ปราสาทศรี | |||
พระทัยแสนโศกศัลย์พันทวี | มาถึงที่แท่นทองห้องไสยา | |||
ลดองค์ลงนั่งบัลลังก์รัตน์ | ตรัสบอกนางอัปสนเสนหา | |||
ว่าพระจอมมงกุฎอยุธยา | มีท้องตรามาถึงท่านแม่ทัพ | |||
ให้กวาดครัวกับตัวเราลงไป | คงตกอยู่กรุงไทยมิได้กลับ | |||
ทั้งผู้คนใหญ่น้อยจะพลอยยับ | ต้องล้มตายก่ายทับไปรวดทาง | |||
โอ้ว่ากองกรรมมานำจิต | ให้กระทำทุจริตไปผิดอย่าง | |||
อยู่หลัดหลัดจะมาพลัดไปจากปรางค์ | ตรัสพลางโศกศัลย์รำพันครวญ ฯ | |||
๏ ครานั้นนางอัปสรสุมาลัย | ได้ฟังร่ำไห้พิไรหวน | |||
แสนสนมกำนัลก็รัญจจวน | สุดกำสรวลแสนกำสรดสลดใจ | |||
โอ้อกจะตกไปกรุงล่าง | จะย่อยยับอับปางเป็นไฉน | |||
ต้องตกทุกข์ขุกเข็ญเป็นบ่าวไทย | จะบรรลัยแหลกล่มถมดินดาน | |||
ลูกเต้าจะกำจัดพลัดพ่อแม่ | ปู่เฒ่าย่าแก่จะพลัดหลาน | |||
องค์กษัตริย์กำจัดจากศฤงคาร | สาวสนมก็จะพล่านไปพลัดวัง | |||
คุณจอมหม่อมยายข้างฝ่ายใน | เสียงร้องไห้เซ็งแซ่ดังแตรสังข์ | |||
ลงกลิ้งเกลือกเสือกดิ้นสิ้นกำลัง | เหมือนนางรังต้องล้มระเนนไป ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าเชียงใหม่ใจอนาถ | ตรัสประภาษแก่สนมทั้งน้อยใหญ่ | |||
จะกลั้นกลืนโศกเศร้าให้เบาใจ | มิบรรลัยคงได้มาพาราเรา | |||
ถ้าตัวกูตายอยู่ในเมืองใต้ | เอ็งจึงจะต้องไปเป็นข้าเขา | |||
เดชะบุญโทษทัณฑ์ถ้าบรรเทา | พวกสูเจ้าคงไม่ตกอยู่เมืองไทย | |||
นี่กองกรรมเราทำไว้ด้วยกัน | มาตามทันเราทั้งผองอย่าร้องไห้ | |||
จงสู้กรรมไปก่อนอย่าร้อนใจ | ถึงร้องไปก็ไม่พ้นเวทนา ฯ | |||
๏ ฝ่ายฝูงประชาชาติราษฎร | ก็ทุกข์ร้อนข้อนอกไปทั่วหน้า | |||
ดังจะตีตนตายฟายน้ำตา | ต่างจัดหาของข้าวจะเอาไป | |||
บ้างเลื่อยกลักจักระบอกกรอกปลาร้า | ทั้งน้ำปลาปลาแดกเอาแทรกใส่ | |||
พริกกะเกลือเนื้อกวางเอาย่างไว้ | บ้างเย็บไถ้ใส่ข้าวตากจัดหมากพลู | |||
ครกกระบากสากจ่าปลาร้าปลาแห้ง | หม้อข้าวหม้อแกงกระทะหู | |||
เที่ยววิ่งลนค้นหาน้ำตาพรู | บ้างแลดูหน้าเมียเสียน้ำใจ | |||
บ้างข้อนอกอึกอึกนึกถึงชู้ | บ้างแต่งขันหมากรากพลูอยู่ใหม่ใหม่ | |||
กำลังมัวหวานมันไม่ทันไร | เข้าในห้องร้องไห้ทั้งผัวเมีย | |||
ลางคนปลูกหอเพิ่งขอสู่ | พวกผู้ใหญ่ให้อยู่ด้วยกันเสีย | |||
ที่ผัวตายเป็นม่ายมีแต่เมีย | ลงทอดตัวงัวเงียร้องไห้งอ | |||
ที่นักเลงขับร้องก็ตรองเตรียม | เคี่ยมเคี้ยเพลี้ยแคนทั้งปี่อ้อ | |||
โทนทับกระจับปี่สีซอ | เตรียมไปขอทานเขาเอามากิน | |||
บ้างมีทองของแห้งเครื่องแต่งตน | เอาซุกซนซ่อนไว้ในผ้าซิ่น | |||
ทั้งแหวนเล็กแหวนน้อยหัวพลอยนิล | บ้างถอดปิ่นที่ปักหักห่อไป | |||
ที่ของหยาบหยาบเหลือหาบคอน | เอาซุกซ่อนไว้ในโพรงต้นไม่ใหญ่ | |||
บ้างฝังแฝงปลอมผีที่วัดไว้ | บ้างซุกใส่สระบ่อแลท่อน้ำ | |||
บ้างพ่อแม่แก่เกินเดินไม่รอด | บ้างตาบอดเสียขาอะร้าอะร่ำ | |||
ที่ป่วยเจ็บไข้จับระยับยำ | จะปลุกปล้ำกันไปไม่ไหวแท้ | |||
บ้างตาปู่อยู่บ้านลูกหลานไป | เสียงร้องไห้รักกันสนั่นแซ่ | |||
ทั้งลูกเล็กเด็กกระจอมมอแม | บ้างท้องแก่ไปไม่รอดลงทอดตัว | |||
บ้างออกลูกมาสักครู่เพิ่งอยู่ไฟ | พ่อก็ไปทัพตายเป็นม่ายผัว | |||
จะอยู่ก็ไม่ได้ไปก็กลัว | แต่ตีอกชกหัวไปทั่วเมือง ฯ | |||
๏ ครั้นจะใกล้เลิกทัพเขาขับต้อน | เที่ยวหาบคอนเกลื่อนกล่นถนนเนื่อง | |||
พวกนางในให้เทวษทวีเคือง | ต่างจัดเครื่องเงินทองข้าวของตน | |||
องค์พระเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นราชัย | รับสั่งให้ผูกช้างมาเกลื่อนกล่น | |||
ให้นางห้ามขึ้นนั่งหลังละคน | ข้าวของกองล้นบนสัปคับ | |||
ตุณท้าวชาววังสั่งโขลนจ่า | ให้ขึ้นหน้าประจำอยู่กำกับ | |||
พวกสนมกรมวังก็คั่งคับ | เทียบไว้เป็นอันดับออกดาดดิน | |||
ช้างทรงสร้อยทองกับสร้อยฟ้า | กระโจมทองสองหน้าดูเฉิดฉิน | |||
ดาดพื้นสีแดงแย่งทรงข้าวบิณฑ์ | มีม่านทองป้องสิ้นกำบังองค์ | |||
ช้างที่นั่งเจ้าเชียงใหม่มเหสี | แต่ล้วนขี่กูบทองก่องก่ง | |||
หมอควาญคนขยันมั่นคง | เทียบประทับเกยทรงตรงชลา ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผแสนสนิท | เรืองฤทธิ์เเชี่ยวชาญหาญกล้า | |||
กับพลายงามลูกรักอันศักดา | ต่างขึ้นคอช้างงาสง่างาม | |||
พระท้ายน้ำกำกงธงอาสา | ก็ขึ้นขี่ช้างงามาทั้งสาม | |||
เหล่าพวกทหารชาญสงคราม | ขี่ช้างม้ามาตามออกหลามทาง | |||
ขุนแผนสั่งกำชับกับพวกไทย | จัดกันให้แยกกองเดินสองข้าง | |||
พวกครัวเดินรายมาสายกลาง | ให้กองช้างเดินก่อนผ่อนกันมา | |||
ให้บรรดาพวกลาวชาวเวียงจันทน์ | ช่วยป้องกันเดินรายทั้งซ้ายขวา | |||
คอยกำกับทัพลาวชาวพารา | ให้อาสาต้อนหลังระวังครัว | |||
ช้างเถื่อนมากว่าต่ออย่าอ้อแอ้ | ดูแลไปทั้งมวลให้ถ้วนทั่ว | |||
อ้ายพวกไหนสู้รบหรือหลบตัว | ออกสกัดตัดหัวอย่าไว้มัน ฯ | |||
๏ ครั้นได้ฤกษ์ให้เลิกโยธาทัพ | คั่งคับพสุธาโกลาลั่น | |||
พวกทหารขานโห่ขึ้นพร้อมกัน | ยิงปืนครื้นครั่นสนั่นไป | |||
องค์พระเจ้าเชียงใหม่มเหสี | กับสนมนารีทั้งน้อยใหญ่ | |||
ขึ้นช้างพร้อมกันด้วยทันใด | สั่งให้ท้าวหนูอยู่เฝ้าวัง | |||
ออกช้างทางประตูบูรพทิศ | เจ้าเชียงอินทร์ผินพิศมาเบื้องหลัง | |||
แลเห็นปรางค์มาศราชวัง | พระเนตรหลั่งชลนัยน์อาลัยลา | |||
โอ้เสียดายปราสาทราชฐาน | ได้อยู่มาช้านานแต่ปู่ย่า | |||
คงย่อยยับเยือกเย็นเป็นป่าช้า | จะรกร้างโรยราลงทุกวัน | |||
พระปรัศว์ทัดเทียมเทวสถาน | ปรางค์มาศดังวิมานเมืองสวรรค์ | |||
โอ้แต่นี้ลี้ลับไปฉับพลัน | สารพันจะผุพังเป็นรังแร้ง | |||
แสนเสียดายมิ่งไม้ในสวนขวา | ทั้งสระแก้วปทุมาจะเหือดแห้ง | |||
ท้องพระโรงก็จะร้างเป็นกลางแปลง | ที่นั่งโถงโรงแสงจะทรุดโทรม | |||
นิจจาเอ๋ยเคยออกที่นั่งเย็น | จะรกเป็นแฝกพงดงผักโหม | |||
เรือนสนมทุกตำหนักจะหักโทรม | ทั้งเสาโคมสี่คันจะอันตราย | |||
โอ้เสียดายโรงรถคชสาร | ทั้งโรงพาชีชาญจะฉิบหาย | |||
ป้อมกำแพงก็จะล่มถล่มทลาย | กระจัดกระจายทั่วสิ้นทั้งถิ่นเมือง | |||
เสียดายเอ๋ยเคยเล่นสนามจันทน์ | นับวันก็จะลุ่มเป็นคลองเหมือง | |||
ที่ท่าวังจะเป็นหาดน้ำขาดเคือง | ดินหล้าฟ้าจะเหลืองทั้งเมืองลาว ฯ | |||
๏ มเหสีโฉมยงองค์อัปสร | ก็อาวรณ์วิตกอกร้อนผ่าว | |||
ดังกริชกรดแกระทรวงให้ร่วงร้าว | อารมณ์ราวจะวินาศลงขาดรอน | |||
โอ้ตัวกูอยู่มาในเชียงใหม่ | เคยแต่ได้เสพสุขสโมสร | |||
ชั้นแต่มีที่ไปในนคร | ก็ทรงวออรชรให้ชูใจ | |||
พวกชะแม่แลหลามมาตามหลัง | ทั้งสนมกรมวังล้อมไสว | |||
โอ้อกจะตกไปกรุงไทย | จะเดินปนชนไหล่กับไพร่เลว | |||
ชั้นข้าหลวงก็จะล่วงมาบังคับ | จะยากยับเจ็บอกเหมือนตกเหว | |||
จนผ้าดีจะไม่มีอยู่พันเอว | อกจะแยกแหลกเหลวทุกวันไป | |||
โอ้อยู่เมืองเครื่องเสวยเคยประณีต | ตามจารีตมเหสีที่เชียงใหม่ | |||
ต้องพลัดพรากจากเมืองไปเคืองใจ | คงอดอยากยากไร้ไปตามกัน | |||
ร่ำพลางนางข้อนกายสยายเกศ | ชลเนตรไหลลงทรงโศกศัลย์ | |||
ทั้งเหล่าสาวสุรางค์นางกำนัล | ต่างครวญคร่ำรำพันในทางจร ฯ | |||
๏ ครั้นยกออกนอกเวียงเมืองเชียงใหม่ | พวกไทยกองทัพก็ขับต้อน | |||
พวกลาวครัวกลัวราบบ้างหาบคอน | อุ้มลูกอ่อนจูงลูกแก่ออกแซ่ทาง | |||
บ้างแก่เฒ่าง่อยเปลี้ยบางเสียขา | เอาเปลหามกันมาอยู่ยุ่งย่าง | |||
ที่ลางพวกผู้ดีไม่มีช้าง | เอาวัวควายใส่ต่างบรรทุกไป | |||
ตารักตามาทั้งตาสาย | ถือหวายต้อนมาไม่ปราศรัย | |||
ใครบิดเบือนเชือนลัดพลัดออกไป | เอาหวายไล่ลุกล้มวิ่งซมซาน | |||
ตารักร้องว่าเอาอ้ายเฒ่าถี | อีพวกนี้ชาวตลาดมันจาดจ้าน | |||
กูกับอ้ายหลอไปขอทาน | มันเอาคานไล่เฆี่ยนหลังเจียนพัง | |||
กูจำหน้ามันไว้ได้สิ้นเสร็จ | คราวนี้จะแก้เผ็ดมันเสียมั่ง | |||
กูจะเฆี่ยนให้ร้องก้องดงรัง | เอาแต่เขากับหนังไปให้นาย | |||
ถึงเวลาอัสดงก็ปลงทัพ | ดูสะพรั่งคั่งคับคนทั้งหลาย | |||
ประทับทอดม้าช้างต่างวัวควาย | ออกเรียงรายแน่นไปในไพรวัน | |||
ที่ประทับสร้อยทองกับสร้อยฟ้า | ทำพลับพลาฝารอบเป็นขอบกั้น | |||
มีเพดานม่านทองไว้ป้องกัน | ที่ชั้นนอกคนนั่งระวังยาม | |||
เหล่าพวกครัวหน้านิ่วทั้งหิวอ่อน | บ้างปลดหาบปลงคอนลงนอนหลาม | |||
ธรรมเถียรนายกองร้องสั่งความ | ให้ชักหนามวงป้องกองไฟแดง | |||
อ้ายพวกไทยทรหดอดมานาน | พอพลบค่ำก็เที่ยวควานไปทุกแห่ง | |||
เห็นสาวนอนเข้าเสียดเบียดตะแคง | บ้างเข้าแฝงกูบอานคลานเข้าไป | |||
คลำถูกเหี่ยวที่อกก็ยกมือ | ปะที่ตึงดึงดื้อเข้าคว้าใส่ | |||
อีลาวตื่นคลำดูรู้ว่าไทย | ทำหลับเฉยเลยไปเสียก็มี | |||
ปะลางทีที่มันไม่เล่นก้วย | พอเข้าฉวยมันก็ร้องออกก้องมี่ | |||
ที่นอนใกล้ตกใจไม่สมประดี | สำคัญว่าเสือหมีเข้ากัดลาว | |||
ธรรมเถียรนายกองร้องห้ามไป | อึงอะไรนั่นหวาออกฉ่าฉาว | |||
อย่าตกใจมิใช่เสือหางยาว | มันเป็นเสือสองเท้าหางนิดเดียว | |||
อ้ายเสือเลยกระดากมาจากที่ | พอกองนี้เงียบไปได้ประเดี๋ยว | |||
ยังไม่ทันหลับตากองหน้าเกรียว | อ้ายตัวอื่นไปเกี้ยวเที่ยวรางควาน | |||
ครั้นอรุณรุ่งรางสว่างฟ้า | หุงข้าวเผาปลากินอลหม่าน | |||
ครั้นอิ่มหนำสำเร็จเสร็จการ | ยกเอาคานใส่บ่าพากันไป | |||
ทั้งพวกวัวควายต่างแลช้างม้า | เดินตามกันมาออกไสว | |||
พวกรั้งทัพขับต้อนค่อนเคี่ยวไป | เสียงแต่ลาวร้องไห้ในดงดอน ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | เรืองฤทธิ์ราวราชไกรสร | |||
ขี่คชเดชานำหน้าจร | รีบร้อนเร่งไปไม่รั้งรา | |||
ค่ำนอนรุ่งเดินดำเนินพล | ผู้คนติดตามมาหลามป่า | |||
สิบสี่วันครึ่งตะบึงมา | กระทั่งถึงพาราพิจิตรพลัน | |||
ก็หยุดหย่อนผ่อนพักพลโยธา | ทอดช้างวางม้าเป็นจ้าละหวั่น | |||
พวกครัวคั่งคับนับร้อยพัน | อยู่ที่หลังวัดจันทน์ออกแน่นไป | |||
สั่งให้ทำที่ประทับพลับพลา | ให้สร้อยทองสร้อยฟ้าอยู่อาศัย | |||
ทั้งที่อยู่พระยาลาวเจ้าเวียงชัย | ส่วนพ่อลูกอาศัยศาลารี ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระพิจิตรบุษบา | แต่ทราบความตามตราพระราชสีห์ | |||
ว่าขุนแผนมีชัยได้ธานี | ก็ยินดีคอยรับจะกลับมา | |||
เรือประเทียบขึ้นไปได้หลายวัน | ให้จอดเคียงเรียงกันไว้หน้าท่า | |||
พวกฝีพายจ่ายเสบียงเลี้ยงข้าวปลา | ให้พักอยู่ศาลาข้างหน้าววัด | |||
ที่วัดจันทน์นั้นก็ให้ไปแผ้วทาง | ปราบที่ทางกว้างใหญ่ไว้ถนัด | |||
แฝกไม้ข้าวปลาสารพัด | เตรียมจัดไว้วางทุกอย่างมี | |||
วันนั้นพวกทนายไปสืบถาม | ทราบความแล้วรีบมาเร็วรี่ | |||
ว่ากองทัพกลับมาถึงธานี | ก็ยินดีชวนกันจะครรไล | |||
ทั้งผัวเมียรีบรัดผลัดผ้า | แล้วสั่งเหล่าบ่าวข้าหาช้าไม่ | |||
ไปบอกขานกรรมการมาไวไว | จะออกไปต้อนรับกองทัพมา | |||
ครั้นปลัดยกกระบัตรมหาดไทย | กรรมการผู้ใหญ่มาพร้อมหน้า | |||
พระพิจิตรกับนางบุษบา | ก็ลงจากเคหาพากันไป ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสงคราม | กับพลายงามอยู่หน้าศาลาใหญ่ | |||
เห็นพระพิจิตรบุษบามาแต่ไกล | ต่างดีใจไปรับด้วยฉับพลัน | |||
เชื้อเชิญขึ้นนั่งยังศาลา | พ่อลูกวันทาทั้งสองทั่น | |||
ว่าแรกถึงชุลมุนยังวุ่นครัน | หมายมั่นว่าจะเข้าไปกราบเท้า | |||
แต่ครอบครัวผู้คนนั้นล้นหลาย | ทั้งหญิงชายเด็กผู้ใหญ่ไพร่เจ้า | |||
แต่พอเผลอสักหน่อยคอยเกรียวกราว | ด้วยเป็นลาวระบาตรต้องกวาดมา | |||
ยังสร้อยฟ้าสร้อยทองสองนงเยาว์ | ข้าพเจ้าต้องพิทักษ์รักษา | |||
ไม่มีใครไว้วางต่างหูตา | จึงคิดว่าจะเข้าไปในพรุ่งนี้ | |||
คุณพ่อแม่เมตตาการุญ | เจ้าประคุณอุตส่าห์มาถึงนี่ | |||
ยังเป็นสุขทุกทิวาราตรี | ทั้งศรีมาลาอยู่ดีหรือฉันใด ฯ | |||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบุษบา | ยิ้มแย้มตอบมาหาช้าไม่ | |||
อันพ่อแม่แลธิดายาใจ | ไม่เจ็บไข้เป็นสุขทุกเวลา | |||
นึกเป็นห่วงบ่วงใยอยู่เย็นเช้า | คอยเอาใจช่วยเจ้าอยู่หนักหนา | |||
พอรู้ว่าทีชัยได้พารา | ก็ตั้งใจคอยท่าทุกคืนวัน | |||
ครอบครัวมากมายเป็นก่ายกอง | แต่สองคนดูไหวที่ไหนนั่น | |||
กรรมการเมืองนี้มีครบครัน | จะให้มาช่วยกันมิเป็นไร | |||
ว่าพลางทางเรียกหลวงปลัด | ยกกระบัตรกรมการผู้น้อยใหญ่ | |||
เข้ามาพร้อมกันในทันใด | แล้วออกไปแถลงแจ้งกิจจา | |||
ท่านเอ๋ยราชการพานหนักแน่น | ขุนแผนคุมลาวมาหนักหนา | |||
ถ้าเกิดเหตุอย่างไรในพารา | เราจะพากันผิดคิดให้ดี | |||
ท่านปลัดจัดแจงแบ่งพวกเรา | ให้ช่วยเขารักษาทุกหน้าที่ | |||
ด้วยว่าเป็นราชการงานธานี | อย่าให้มีเหตุการณ์รำคาญใจ ฯ | |||
๏ ขุนแผนพระพิจิตรกรมการ | ปรึกษากันปันด้านหาช้าไม่ | |||
ขุนพลนั้นรับรองกองทัพไทย | ทั้งให้ดูลาวชาวล้านช้าง | |||
มหาดไทยให้รับเลี้ยงช้างม้า | โคกระทิงมหิงสาสัตว์ต่างต่าง | |||
ขุนเมืองคุมครัวดูรั้วทาง | ให้จัดวางจุกช่องแลกองไฟ | |||
ขุนวางตั้งประจำที่พลับพลา | ทั้งที่บุตรภรรยาเจ้าเชียงใหม่ | |||
ขุนคลังนั้นให้นั่งระวังระไว | สิ่งของน้อยใหญ่แลเงินทอง | |||
ขุนนาหน้าที่เป็นกองกลาง | ประจำฉางจ่ายข้าวแลสิ่งของ | |||
การต้างต่างวางคนไว้สำรอง | ทุกหมวดกองสรรพเสร็จสำเร็จพลัน | |||
หลวงปลัดยกกระบัตรออกตรวจตรา | และกะเกณฑ์นานามาเลือกสรร | |||
จะส่งทัพกับครัวไปพร้อมกัน | อีกสามวันจะล่องลงกรุงไกร | |||
ครั้นวางการเป็นระเบียบเรียบร้อย | ตะวันชายบ่ายคล้อยพระสุริย์ใส | |||
พระพินิจบุษบาก็คลาไคล | กลับไปเคหาไม่ช้าที ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงศรีมาลายาใจ | แต่เจ้าพลายจากไปให้หมองศรี | |||
ค่ำเช้าเฝ้าคะนึงถึงสามี | อยู่แต่ที่ในห้องนองน้ำตา | |||
ถึงยามกินอาลัยฤทัยถอน | ถึงยามนอนใฝ่ฝันประหวั่นหา | |||
ไม่แย้มสรวลพูดเล่นเจรจา | เวียนแต่นอนซ่อนหน้ามาเกือบเดือน | |||
พ่อแม่แลเห็นผิดสังเกต | ไม่แจ้งเหตุถามลูกก็เลื่อนเปื้อน | |||
อีเม้ยรับร้อนใจเข้าในเรือน | กระซิบเตือนนายว่าอย่าโศกนัก | |||
เจ้าคุณคุณหญิงจะกริ่งใจ | มิใช่นายเจ็บไข้อะไรหนัก | |||
ต้องแต่งตัวให้ผ่องละอองพักตร์ | ทายทักพูดเล่นเจรจา | |||
ให้เขาเห็นเหมือนแต่ก่อนร่อนชะไร | ระงับโศกซ่อนไว้แต่ในหน้า | |||
ถึงจะต้องทนไปก็ไม่ช้า | หม่อมคงมาสมถวิลสิ้นทุกข์ร้อน | |||
ศรีมาลาฟังว่าก็เห็นด้วย | สู้ทำฝืนชื่นชวนยเหมือนแต่ก่อน | |||
พอกลับเข้าห้องในให้อาวรณ์ | ถึงยามนอนถอนสะอื้นทุกคืนวัน | |||
คิดถึงผัวให้วิตกอกสะทึก | ไปสู้ศึกจะอย่างไรไฉนนั่น | |||
เฝ้าบนบวงเทพไทให้ป้องกัน | นับวันคอยเจ้าพลายมาหลายเดือน | |||
พอได้ข่าวกองทัพกลับมาถึง | ประหนึ่งได้ดวงมณีไม่มีเหมือน | |||
เรียกอีเม้ยเข้าไปที่ในเรือน | เอ็งอย่าเชือนหาช่องย่องออกไป | |||
ถ้าหม่อมพลายถามไถ่จะใคร่รู้ | จงบอกว่าตัวกูนี้เป็นไข้ | |||
และฟังดูจะพูดจาว่ากระไร | เอ็งอย่าให้ใครพะวงสงกา | |||
อีเม้ยยิ้มแต้แม่อย่ากลัว | ไม่ได้ตัวหม่อมพลายละนายด่า | |||
ขอผลัดพรุ่งนี้มิให้ช้า | แล้วพูดกันไปมาจนสายัณห์ ฯ | |||
๏ ครั้นรุ่งแจ้งสุริยาภานุมาศ | ผุดผาดแผ้วกระจ่างสว่างสวรรค์ | |||
ขุนแผนกับลูกยาปรึกษากัน | ให้จัดสรรสิ่งของที่ต้องการ | |||
จะไปให้พระพิจิตรบุษบา | ทั้งนวลนางศรีมาลายอดสงสาร | |||
แล้วเรียกเหล่าบ่าวพวกบริวาร | ให้ขนพานมาบ้านท่านผู้รั้ง | |||
ครั้นถึงจึงขึ้นบนเคหา | เห็นพระพิจิตรบุษบาอยู่หอนั่ง | |||
เจ้าพลายแลหาละล้าละลัง | ใจหวังอยู่แต่ที่ศรีมาลา | |||
พวกบ่าวขนของมากองเรียง | เต็มระเบียงหอขวางที่ข้างหน้า | |||
พ่อลูกนั่งพลันแล้ววันทา | บอกว่าได้ของมามั่งเล็กน้อย | |||
โอลาวเสื่ออ่อนแลหมอนขวาน | โตกพานเช่นเชียงใหม่เขาใช้สอย | |||
กระบุงหมากขันน้ำมีจอกลอย | ทั้งใบเมี่ยงน้ำอ้อยจัดเอามา | |||
กราบเท้าเจ้าประคุณคุณพ่อแม่ | พอเป็นแต่ของฝากมาจากป่า | |||
แหวนทับทิมวงนี้มีราคา | มาให้เจ้าศรีมาลายาใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบุษบา | ว่าพ่อเอ๋ยอุตส่าห์เอามาให้ | |||
มิเสียแรงรักชอบน่าขอบใจ | ช่างกระไรแผ่เผื่อเหลือจะดี | |||
แล้วร้องเรียกเฮ้ยอีเม้ยหวา | ไปบอกเจ้าศรีมาลาออกมานี่ | |||
ว่าขุนแผนกลับมาถึงธานี | ทั้งหม่อมพี่พลายงามก็ตามมา | |||
เขามีใจได้ของเอามาฝาก | อย่ากระดากให้อ่อนออกมาหา | |||
อีเม้ยยิ้มละไมแล้วไคลคลา | ไปบอกนางศรีมาลาที่ห้องใน ฯ | |||
๏ ครานั้นนวลนางศรีมาลา | ได้ยินเสียงพูดจาก็จำได้ | |||
หม่อมามแล้วซิมิใช่ใคร | แทบจะวิ่งออกไปด้วยความรัก | |||
แต่คิดคิดก็วิตกอกผู้หญิง | ด้วยเรื่องจริงนั้นผู้ใหญ่ไม่ประจักษ์ | |||
ฉวยหม่อมพลายเผลอพล้ำระล่ำระลัก | ทำบุ้ยใบ้ทายทักจะเสียการ | |||
ต้องอดใจไว้พบเพลาอื่น | กลางคืนเห็นจะมาหาถึงบ้าน | |||
บอกอีเม้ยไปพลันมิทันนาน | เอ็งคิดอ่านบอกป่วยช่วยกูที | |||
แล้วลุกมาแอบมองที่ช่องฝา | และมาก็เห็นหม่อมพลายพี่ | |||
ดูอ้วนท้วนผึ่งผายสบายดี | แต่ราศีถูกแดดแผดดจนคล้าม | |||
ช่างนั่งบังหลังบิดานัยน์ตาจ้อง | เฝ้าแต่มองฝาเรือนเหมือนจะถาม | |||
นางเปรมปริ่มยิ้มมองเจ้าพลายงาม | เฝ้าชะแง้แลตามไม่วางตา ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าตัวดีอีสาวเม้ย | ทำหน้าเฉยเดินออกนอกเคหา | |||
มาบอกความพระพิจิตรบิดา | วันนี้นายศรีมาลาเธอตัวร้อน | |||
ปวดศีรษะตุบตุบแต่กลางคืน | พอนอนตื่นก็ละเหี่ยให้เพลียอ่อน | |||
มึนเมื่อยเป็นกำลังเห็นยังนอน | วอนสั่งให้กราบเท้าทั้งสองรา ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงท่านพระพิจิตร | สำคัญคิดเข้าใจไม่กังขา | |||
ว่าลูกสาวอายใจไม่ออกมา | เพราะได้หมั้นการวิวาห์กับพลายงาม | |||
จึงผินหน้ามายิ้มกับขุนแผน | มันเหลือแสนไข้พิรุธสุดจะห้าม | |||
พ่อก็อยากพูดจาปรึกษาความ | ศึกสงครามก็สำเร็จเสร็จกันแล้ว | |||
เราควรจะคิดอ่านการวิวาห์ | เป็นฝั่งฝาฝังปลูกให้ลูกแก้ว | |||
มีเฟื้องจะได้ให้เสียยังแล้ว | ให้ผ่องแผ้วพ้นบ่วงที่ห่วงใย | |||
พ่อแม่คร่ำคร่าเป็นตายาย | จะล้มตายวันพรุ่งหารู้ไม่ | |||
เจ้าคิดหาฤกษ์พาดูเป็นไร | จะได้หาไม้ไหล้ปลูกเรือนชาน ฯ | |||
๏ ขุนแผนนบนอบตอบพระพิจิตร | ลูกมานี่ก็คิดจะว่าขาน | |||
พอคุมทัพกลับไปมิได้นาน | จะขึ้นมาคิดอ่านงานทางนี้ | |||
ได้คำนวณฤกษ์พามาแต่วาน | วันอังคารแรมค่ำในเดือนสี่ | |||
ถูกชะตาร่วมกันขยันดี | แล้วแต่บารมีจะโปรดปราน ฯ | |||
๏ พระพิจิตรฟังคำขุนแผนว่า | ปรึกษากับบุษบาแล้วว่าขาน | |||
เดือนสี่ดีแล้วกำหนดงาน | เรือนชานก็คงเสร็จสำเร็จทัน | |||
แล้วว่ากับขุนแผนแสนสงคราม | จะพักอยู่อารมทำไมนนั่น | |||
กว่าจะล่องลงไปยังหลายวัน | มาอยู่นี่ด้วยกันก็เป็นไร ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | นิ่งคิดนึกพรั่นให้หวั่นไหว | |||
ออพลายสิพรากจากเมียไป | ถ้ากลับมาอยู่ใหม่ไหนจะยั้ง | |||
พอมืดค่ำก็จะคลำเข้าไปหา | ถ้าหากไม่มิดมาเหมือนหนหลัง | |||
เกิดเซ็งแซ่แพร่หลายกระจายดัง | จะเสียทั้งสองฝ่ายขายหน้าตา | |||
นึกพลางตอบความตามทำนอง | ลูกนี้ขัดข้องอยู่หนักหนา | |||
ด้วยว่ากองทัพที่กลับมา | ทั้งนายไพร่มากกว่าเมื่อขาไป | |||
ไหนนางสร้อยทองและสร้อยฟ้า | ทั้งพวกบุตรภรรยาเจ้าเชียงใหม่ | |||
ทั้งต้องคุมครัวลาวชาวพงไพร | มาอยู่ไกลกลัวจะทำให้รำคาญ | |||
พระท้ายน้ำกับพวกที่อยู่นั่น | จะพากันบอกกล่าวเป็นข่าวขาน | |||
ว่าพ่อลูกบ่ายเบี่ยงเลี่ยงราชการ | มาอยู่บ้านเป็นสุขสนุกสบาย | |||
ไหนไหนก็ลำบากมามากแล้ว | อย่าให้มีวี่แววความเสียหาย | |||
จำต้องทนถ่อร่างค้างกาย | ไปจนเสร็จสมหมายที่รับมา | |||
ว่าแล้วอำลาท่านทั้งสอง | เยื้องย่องกลับลงจากเคหา | |||
เจ้าพลายตามไปไม่พูดจา | ให้แค้นขัดอัธยาบิดาตัว | |||
อนิจจาพ่อก็รู้อยู่แก่ใจ | ว่ารักใคร่ได้เสียเป็นเมียผัว | |||
จะสะกดเข้าไปไม่ต้องกลัว | ยังมามัวกีดกันขันจริงจริง | |||
ดีแล้วเป็นไรได้เห็นกัน | อย่าสำคัญว่าแคล้วแล้วจะนิ่ง | |||
ต่อให้ทำกรงใส่ไว้เป็นลิง | พอค่ำลงคงจะวิ่งมาหานาง | |||
คิดพลางทางเดินทำเมินเฉย | เลยออกนอกจวนมาจนห่าง | |||
เห็นอีเม้ยนั่งยิ้มอยู่ริมทาง | แกล้งอำพรางใช้ใบ้ให้ตามมา ฯ | |||
๏ ครั้นถึงวัดจันทน์ตะวันสาย | กรมการมากมายมาคอยหา | |||
ขุนแผนเป็นกังวลสนทนา | เจ้าพลายหลบหน้ามาข้างวัด | |||
ไปถึงที่ลี้ลับไม่มีคน | เห็นต้นพิกุลใหญ่ได้ถนัด | |||
ที่ใต้ต้นเตียนรื่นพื้นทรายซัด | ก็หลีกลัดเข้านั่งบังต้นไม้ | |||
อีเม้ยเลยเดินมาข้างหลัง | ครั้นถึงจึงนั่งยกมือไหว้ | |||
เจ้าพลายยิ้มพลางทางว่าไป | ข้านี้หวังตั้งใจจะพบพาน | |||
ธุระร้อนของเราเจ้าก็รู้ | ถึงตัวไปใจอยู่แต่ที่บ้าน | |||
ค่ำเช้าเฝ้าคะนึงถึงนงคราญ | นางสำราญอยู่หรือประการใด | |||
เมื่อเช้าเข้าไปนั่งตั้งตาคอย | จะพบพักตร์สักหน่อยก็หาไม่ | |||
หรือว่านางขุ่นเคืองด้วยเรื่องไร | จึงแกล้งว่าเจ็บไข้ไม่ออกมา | |||
เมื่อจะไปได้กำชับกับตัวเจ้า | ให้โลมเล้าเอาใจไว้คอยท่า | |||
เจ้าทอดทิ้งคำมั่นที่สัญญา | หรือว่าคงวาจาก็ว่าไป ฯ | |||
๏ อีเม้ยสะบัดหน้าว่าพุทโธ่ | มาพาลโกรธาก็เป็นได้ | |||
ไม่เห็นอกนายมั่งช่างกระไร | ต่อหน้าคนหรือจะให้ออกไปรับ | |||
ซึ่งบอกว่าเจ็บไข้ไม่ออกมา | ไม่มุสาหลอนหลอกแกล้งกลอกกลับ | |||
ตั้งแต่วันหม่อมพลายยกกองทัพ | เธอก็จับไม่สบายหลายเดือนมา | |||
ไม่เป็นอันกินนอนจนอ่อนเปลี้ย | น้ำตาเรี่ยไม่แห้งไม่แกล้งว่า | |||
ฉันต้องอยู่ดูแลทุกเวลา | เฝ้าพูดจาเอาใจให้ประทัง | |||
หม่อมกลับมาถึงนี่ฉันดีใจ | เผื่อจะได้หยูกยามาลงมั่ง | |||
ฉันจึงรีบตั้งหน้าออกมาฟัง | จะสั่งให้พยาบาลสถานใด | |||
อันถ้อยยำคำมั่นที่สัญญา | กลัวแต่ว่าหม่อมดอกจำไม่ได้ | |||
ของกำนัลมุลนายออกก่ายไป | ส่วนอีไพร่อดแห้งแกล้งเฉยเมย ฯ | |||
๏ ชิชะปากคอช่างพอตัว | อย่ามามัวพ้อเราเลยเจ้าเอ๋ย | |||
แล้วหยิบเงินยื่นให้ไม่ละเลย | นี่แลของนางเม้ยเป็นรางวัล | |||
อันซึ่งนายเจ็บไข้ไม่สบาย | เรามียาสมุนพรายดีขยัน | |||
แต่เป็นยาปลุกเสกลงเลขยันต์ | กินกลางวันไม่ได้คนไข้ตาย | |||
พอดึกหน่อยจะไปให้ถึงบ้าน | เจ้าคิดอ่านเปิดรับขยับขยาย | |||
เราจะไปให้ยารักษานาย | คงจะหายเจ็บไข้ในพรุ่งนี้ | |||
ครั้นสัญญาอาณัติเสร็จสรรพ | อีเม้ยรับลาลุกไปจากที่ | |||
เจ้าพลายกลับมาศาลารี | มิได้มีใครพะวงสงกา ฯ | |||
๏ ครั้นค่ำพลบลบแสงสุริย์ฉาย | ไพร่นายพร้อมพรั่งประดังหน้า | |||
พวกนายกองนายหมวดออกตรวจตรา | ต่างพิทักษ์รักษารอบวัดจันทน์ | |||
ฝ่ายเจ้าพลายงามทรามสวาท | ชาญฉลาดเล่ห์กลมนตร์ขยัน | |||
ทำเป็นเที่ยวตักเตือนเหมือนทุกวัน | ตรวจกองนี้กองนั้นทุกชั้นไป | |||
แต่พอร่วมเวลาสักยามปลาย | เจ้าพลายลดเลี้ยวเที่ยวไถล | |||
ไปถึงตรงกุฎีชีต้นไทย | เห็นจุดไฟตั้งวงเล่นหมากรุก | |||
พวกอาสามาเล่นอยู่เป็นหมู่ | ทั้งพระเถรเณรดูกันสนุก | |||
บ้างนั่งมองบ้างเบียดเข้าเสียดซุก | ฉุกละหุกเสียงสนั่นลั่นกุฎี | |||
เจ้าพลายนิ่งนึกตรึกตรา | จำจะลวงบิดาว่าอยู่นี่ | |||
จะทำเป็นเล่นหมากรุกให้คลุกคลี | จนพ่อหลับจึงจะหนีไปหานาง | |||
คิดพลางทางขึ้นบนกุฎี | เฮ้ยขอกูเดินทีแล้วลุกผาง | |||
อ้ายพวกไพร่ให้นายเข้านั่งกลาง | ทั้งสองข้างอื้ออึงคะนึงไป | |||
ฝ่ายว่าขุนแผนพ่อรอเจ้าพลาย | เห็นไปหายนึกพะวงให้สงสัย | |||
ย่องลงจากศาลาแล้วคลาไคล | เห็นแสงไฟที่กุฎีรี่ไปพลัน | |||
แต่พอใกล้ได้ยินเสียงเฮฮา | ก็รู้ว่าลูกยาอยู่ที่นั่น | |||
เห็นกำลังเล่นหมากรุกสนุกครัน | ก็หันกลับคืนมาศาลาลัย ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม | สักสองยามเห็นพอพ่อหลับใหล | |||
จึงลุกออกจากวงลงบันได | ลอบไปจัดแจงแต่งกายา | |||
ลูบตัวทาน้ำอบตลบฟุ้ง | แป้งปรุงประเจิมเฉลิมหน้า | |||
สีขี้ผึ้งเสกละลวยด้วยวิชา | แล้วนุ่งผ้ายกไหมไปล่ปลิว | |||
ห่มผ้าของประทานส่านสี | มือขวาคว้าคลี่พัดด้ามจิ้ว | |||
แหวนทับทิมวงใหม่เอาใส่นิ้ว | ถือเช็ดหน้าผ้าริ้วแล้วคลาไคล | |||
มาถึงกลางวัดสงัดคน | เจ้าพรายร่ายบมนตร์ขึ้นมุขใหม่ | |||
โหงพรายมาพร้อมห้อมล้อมไป | เข้าในเมืองพิจิตรบุรี | |||
มินานผ่านมาถึงหน้าจวน | หน้าหลังทั้งกระบวนล้วนแต่ผี | |||
เห็นรั้วรอบขอบชิดสนิทดี | ประตูมีกลอนลั่นไว้ชั้นใน | |||
เจ้าพลายร่ายมนตร์มหาสะเดาะ | กลอนหลุดผลุดเผลาะอยู่หวั่นไหว | |||
ประตูบ้านบานระเบิดเปิดออกไป | เจ้าพลายเข้าได้ในประตู ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าทาสีอีเม้ยมอญ | อยู่บนเรือนถอดกลอนนอนคอยอยู่ | |||
ประตูบ้านลั่นกรุกกลุกขึ้นดู | พอแลเห็นก็รู้ว่าเจ้าพลาย | |||
เปิดประตูลงมาพาขึ้นเรือน | คนนอนเกลื่อนหลีกลอดคอยสอดส่าย | |||
นำหน้ามาถึงเรือนนาย | แล้วอุบายบ่ายเบี่ยงเลี่ยงหลบไป ฯ | |||
๏ ครานั้นพลายงามทรามคะนอง | ครั้นถึงห้องยินดีจะมีไหน | |||
ค่อยย่องเหยียบเบาเบาเข้าข้างใน | แสงไฟส่องงามอร่ามเรือน | |||
แลเห็นศรีมาลาดวงสมร | เจ้านิ่งนอนท่วงทีไม่มีเหมือน | |||
นี่แก้วพี่หลับสนิทหรือบิดเบือน | อารมณ์เตือนนั่งเคียงบนเตียงทอง | |||
ประจงจูบลูบประคองน้องแก้ว | พี่มาแล้วจงคลายหายหม่นหมอง | |||
แต่พี่เฝ้าคิดถึงคะนึงน้อง | ใจปองมิได้คลาดขาดสักวัน | |||
ถึงยามกินสิ้นรสหมดโอชา | ครั้นเวลาหลับไปก็ใฝ่ฝัน | |||
ถ้าไม่เกรงพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | จะผลุนผลันกลับมาเสียช้านาน | |||
เดชะบุญของเรานะเจ้าพี่ | มีชัยได้กลับมาถึงบ้าน | |||
มารู้ข่าวว่าเจ้าไม่เบิกบาน | พี่รำคาญกลุ้มอุรามาแต่เช้า | |||
เมื่อนั่งอยู่หน้าเรือนเหมือนกับบ้า | เฝ้าแลมาแลไปไม่เห็นเจ้า | |||
พี่มาดหมายตายเป็นก็ทำเนา | คงจะเข้ามาหาในราตรี | |||
ต้องรั้งรอจนพ่อนั้นหลับใหล | จึงดึกไปพี่พึ่งมาถึงนี่ | |||
ขอเชิญพุ่มพวงดวงชีวี | ผินหน้ามาทางนี้ให้พี่ชม ฯ | |||
๏ ครานั้นนวลนางศรีมาลา | ทำนิ่งนอนหลับตาเอาผ้าห่ม | |||
ฟังผัวพูดปลอบชอบอารมณ์ | สมคิดจิตหวามด้วยความรัก | |||
ลุกขึ้นนั่งเรียงเคียงหน้า | หันมากราบลงที่ตรงตัก | |||
นึกว่าหม่อมล้าเรื่อยยังเหนื่อยนัก | เห็นจะพักเสียก่อนไม่ย้อนมา | |||
ไปทัพมีชัยได้เมืองลาว | สาวสาวเหล่าเชลยก็หนักหนา | |||
ได้ยินเลอเลิศลอยชื่อสร้อยฟ้า | มิไขว่คว้าเข้าบ้างหรืออย่างไร | |||
ทำไมกับลูกสาวชาวพิจิตร | มันไม่น่าเชยชิดพิสมัย | |||
เหมือนดอกหญ้าเห็นงามเมื่อยามไร้ | แต่พอมีดอกไม้ไม่ต้องการ | |||
นี่คงนึกสมเพชเวทนา | จึงอุตส่าห์บุกมาจนถึงบ้าน | |||
พอเห็นหน้าก็จะเบื่อเหลือรำคาญ | ไม่อยู่นานห่วงทัพคงกลับไป ฯ | |||
๏ ดูซิค่อนว่านิจจาเจ้า | มาใส่ความเปล่าเปล่าก็เป็นได้ | |||
เป็นสัตย์จริงหญิงอื่นในแดนไตร | ทั้งลาวไทยไม่เคยไปคบค้า | |||
แต่จากไปใจพี่อยู่ที่น้อง | หม่นหมองเศร้าสร้อยละห้อยหา | |||
ถึงเห็นลาวก็ไม่รู้ดูหน้าตา | เห็นแต่รูปศรีมาลาประจำใจ | |||
อันนางสร้อยฟ้านารี | เป็นราชบุตรีเจ้าเชียงใหม่ | |||
เขาถวายพระองค์ผู้ทรงชัย | กับทรามวัยสร้องทองเป็นสองคน | |||
ตัวพี่นี้อุตส่าห์รักษาตัว | ถ้าครองไตรโกนหัวก็ชีต้น | |||
เคร่งครัดค่ำเช้าเฝ้าสวดมนตร์ | แผ่กุศลให้โยมศรีมาลา | |||
ได้แหวนแทนส่วนบุญลงมาให้ | บัดนี้ไซร้ก็ออกพระวษา | |||
โยมจงปลงใจได้เมตตา | พี่จะลาสิกขาค่ำวันนี้ | |||
ศรีมาลาสรวลสันต์ไม่กลั้นได้ | เจ้าพลายคว้าไขว่ขมันขมี | |||
ภิรมย์รักสุขเกษมเปรมปรีดิ์ | อยู่ยังที่เตียงทองทั้งสองรา ฯ | |||
๏ ฝ่ายนางศรีมาลายาใจ | เตรียมสำรับตั้งไว้ที่ข้างขวา | |||
จึงชวนสามีให้ลีลา | มาเลี้ยงดูโภชนาสำราญใจ | |||
กินพลางต่างคนสนทนา | ศรีมาลายิ้มย่องผ่องใส | |||
เจ้าพลายยั่วยวนกวนร่ำไป | ไม่หลับใหลผัวเมียเฝ้าเคลียเคล้า | |||
จนดาวเดือนเลื่อนลับเวหาสห้อง | แซ่ซ้องจำเรียงเสียงดุเหว่า | |||
จำจากทรามสงวนด้วยจวนเช้า | จะเวียนมาหาเจ้าทุกคืนไป | |||
พอคุมทัพกลับถึงอยุธยา | พี่จะรีบกลับมาหาเจ้าใหม่ | |||
พอเสร็จงานการวิวาห์ดังว่าไว้ | เป็นมิให้ห่างหน้าสักราตรี | |||
ว่าพลางโลมลูบจูบน้อง | แล้วออกมาจากห้องของโฉมศรี | |||
อีเม้ยนำหน้าพาจรลี | เร็วรี่เดินออกมานอกรั้ว | |||
รับรัดลัดมาหน้าวัดจันทน์ | พอถึงนั่นเช้ามืดขมุกขมัว | |||
หลีกเลี่ยงหลบหน้าบิดาตัว | ชักผ้าคลุมหัวแล้วหลับไป | |||
ขุนแผนตื่นนอนขึ้นตอนเช้า | เห็นเจ้าพลายงามยังหลับใหล | |||
นึกว่าเล่นหมากรุกสนุกใจ | ไม่พะวงสงสัยในลูกยา | |||
ครั้นค่ำลงเจ้าพลายก็หายอีก | หลบหลีกไปเล่นพอเห็นหน้า | |||
พอดึกดึกไปที่ศรีมาลา | ขึ้นหาสมสวาทไม่ขาดคืน | |||
ถึงคืนหลังสั่งเสียกันเมียผัว | เผลอตัวหลับไปไม่ทันตื่น | |||
จนสางสางเจ้าพลายจึงได้ฟื้น | ลุกขึ้นล้างหน้าแล้วคลาไคล ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงบุษบาผู้มารดร | คืนนั้นตื่นนอนแต่ก่อนไก่ | |||
ห่วงสำรับคับค้อนให้ร้อนใจ | ด้วยขุนแผนจะไปแต่รุ่งเช้า | |||
ลุกขึ้นเปิดหน้าต่างจะล้างหน้า | เจ้าพลายงามเดินมาก็เห็นเข้า | |||
เอ๊ะเกิดวิปริตผิดแล้วเรา | ลูกเต้าเห็นจะทำให้รำคาญ | |||
มาปลุกผัวตัวสั่นท่านเจ้าขา | เจ้าพลายงามเข้ามาจนในบ้าน | |||
พึ่งลงจากเรือนไปไม่ทันนาน | จะเกิดการข้างในอย่างไรแล้ว | |||
โบราณว่าหมาขี้ที่มูลฝอย | ดูร่องรอยมันจะถึงซึ่งลูกแก้ว | |||
เราผัวเมียเสียทีไม่มีแวว | อย่าสอดแคล้วเลยจะคิดประการใด ฯ | |||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบิดา | ได้ฟังภรรยาก็นึกได้ | |||
ตอบว่าข้าก็คิดเห็นผิดใจ | ดูอย่างไรอยู่ที่ศรีมาลา | |||
แต่ครั้งกองทัพบกยกขึ้นไป | เหมือนเจ็บไข้เคืองขุ่นวุ่นหนักหนา | |||
จะไต่ถามว่ากระไรไม่เข้ายา | มิรู้ว่าลอบลักไปรักกัน | |||
วันเมื่อกองทัพกลับมาถึง | ก็อ้ำอึ้งหลบเชือนเหมือนหวาดหวั่น | |||
นี่คงถึงเนื้อตัวเสียพัวพัน | หาไม่ไหนมันจะขึ้นมา | |||
จะไปโกรธโทษลูกก็ใช่ที่ | อ้ายคนนี้สำคัญมันหนักหนา | |||
รู้ล่องหนจังงังบังกายา | สารพัดทั้งเสน่ห์เล่ห์กล | |||
ถึงมีกำแพงเพชรสักเจ็ดชั้น | มันเสกเป่าเท่านั้นก็เปิดป่น | |||
รักใครก็เป่าเอาด้วยมนตร์ | ต้องหลงมันทุกคนไม่เว้นตัว | |||
แต่ได้สู่ขอเป็นหอห้อง | ถึงอย่างไรก็คงต้องมาเป็นผัว | |||
เพียงแต่มันด่วนได้ไม่เกรงกลัว | จะมามัวโกรธไปทำไมมี | |||
ถ้าต่อว่าต่อขานพานอื้อฉาว | จะรานร้าวถึงขุนแผนไม่พอที่ | |||
เขาก็ยังซื่อตรงคงภักดี | เรานี้เป็นผู้ใหญ่อย่าใจเบา | |||
จะขึ้นชื่อลือเสียงศรีมาลา | ว่าคบชู้สู่หาขายหน้าเขา | |||
เป็นนมยานกลิ้งชกอกของเรา | ทำเฉยเลยเถิดเจ้าอย่าแพร่งพราย | |||
เสร็จปรึกษาหารือกันเมียผัว | ก็แต่งตัวจะไปมิให้สาย | |||
ออกมาหาเรียกบ่าวเหล่าทนาย | แล้วเยื้องกรายตรงมาหน้าวัดจันทน์ ฯ | |||
๏ นาวามาทอดจอดคับคั่ง | กรมการพร้อมพรั่งอยู่ที่นั่น | |||
กำลังลงเรือแพกันแจจัน | จ้าละหวั่นวุ่นไปในลานวัด | |||
ส่วนเรือประเทียบทองทั้งสองลำ | พระท้ายน้ำกำกงลงไปจัด | |||
ขาดเหลือเรียกกระเบ็งเร่งรัด | เป็นขนัดในส่วนกระบวนนาง | |||
เรียกพระท้ายน้ำให้นำหน้า | เรือทหารอาสามาสองข้าง | |||
เรือประเทียบให้พายในสายกลาง | ส่วนเรือนางสาวใช้ไปข้างท้าย | |||
ต่อมาถึงกระบวนส่วนแม่ทัพ | เรือกัญญามารับก็เฉิดฉาย | |||
พ่อลูกลงประจำลำละนาย | พลพายล้วนทหารชำนาญยุทธ์ | |||
แล้วถึงเรือสิ่งของต้องพัทยา | ถัดมาเรือลาวเป็นที่สุด | |||
พวกอาสาคุมาเป็นชุดชุด | อุตลุดขับต้อนไม่ผ่อนปรน | |||
เรือเจ้าเชียงใหม่นั้นไปหน้า | เรือบุตรภรรยามาตามก้น | |||
แล้วถึงเรือท้าวพระยาข้าคน | เรือพลอาสามาข้างท้าย | |||
ครอบครัวยังเหลือเรือไม่พอ | ทั้งช้างม้าวัวมอสิ้นทั้งหลาย | |||
เครื่องสาตราอาวุธก็มากมาย | หมายฝากให้หัวเมืองรักษาไว้ ฯ | |||
๏ ครั้นบรรทุกสำเร็จเสร็จสรรพ | จะให้ล่องกองทัพกลับกรุงใต้ | |||
ขุนแผนลูกยาพากันไป | กราบไหว้พระพิจิตรบุษบา | |||
ลูกจะขอกราบลาฝ่าเท้า | ลงไปเฝ้าสมเด็จพระพันวษา | |||
พอเฝ้าแหนเสร็จสรรพจะกลับมา | ตามสัญญาว่าไว้ให้ทันการ | |||
พระพิจิตรบุษบานารี | ใจดีอวยพรสุนทรสาร | |||
ลงไปให้พระองค์ทรงโปรดปราน | พระราชทานยศอย่างทั้งรางวัล | |||
จำเริญจำเริญสุขีศรีสวัสดิ์ | สมบูรณ์พูนสมบัติทุกสิ่งสรรพ์ | |||
ทั้งพ่อลูกอยู่เย็นเป็นนิรันดร์ | อันตรายขุ่นข้องอย่าพ้องพาน | |||
เมื่อไปทำราชการงานแผ่นดิน | เสร็จสิ้นแล้วจึงกลับขึ้นมาบ้าน | |||
มาปรึกษาหารือเรื่องการงาน | คิดอ่านให้สำเร็จเสร็จไป ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแแสนสุภาพ | กับพลายงามก้มกราบท่านผู้ใหญ่ | |||
พ่อลูกอำลาแล้วคลาไคล | ลงในเรือกัญญาที่หน้าวัด | |||
นายไพร่พร้อมพรั่งทั้งเรือแพ | ผู้คนเซ็งแซ่อยู่แออัด | |||
ให้สัญญายิงปืนขึ้นสามนัด | ออกเรือเป็นขนัดไปทันใด | |||
เรือกระบวนหน้าหลังคั่งคับ | เป็นลำดับล่องตามแม่น้ำไหล | |||
ข้ามบ้านผ่านเมืองเนืองเนืองไป | จนเข้าเขตกรุงไกรใกล้พารา ฯ | |||
๏ พวกหญิงชายวิ่งพรูดูกองทัพ | ทั้งสองฝั่งคั่งคับกันหนักหนา | |||
อึงอื้อยกมือขึ้นวันทา | ชมบุญญาบารมีพระทรงชัย | |||
ว่าทรงพระเดชาอานุภาพ | ปราบได้เมืองลาวเจ้าเชียงใหม่ | |||
ได้เชลยมาตามออกหลามไป | เมืองไหนหรือจะรอต่อบุญฤทธิ์ | |||
เห็นเรือแม่ทัพมาพากันชี้ | พ่อลูกคู่นี้ช่างศักดิ์สิทธิ์ | |||
ขุนแผนเขาเคยดีมีความคิด | เจ้าชีวิตท่านโปรดยกโทษไป | |||
บางคนไม่รู้จักก็ซักถาม | เรือเจ้าพลายงามนั้นลำไหน | |||
ที่รู้จักบอกกันนั่นเป็นไร | เรือกัญญาลำใหญ่พนักทอง | |||
ลำหน้าท่านตาขุนแผนพ่อ | ลำเจ้าพลายพายต่อมาที่สอง | |||
ดูแบบางร่างน้อยนวลละออง | พวกคนดูต่างมองจ้องดูมา | |||
ครั้นเรือคล้อยลอยหน้ามาฉนวน | พวกผู้หญิงปั่นป่วนกันหนักหนา | |||
เห็นรูปร่างพลายงามอร่ามตา | บ้างชมว่าเท่านี้ช่างมีฤทธิ์ | |||
บ้างแลเล็งเพ่งพิศให้ติดใจ | ถ้าแม้นได้แล้วจะกอดไว้ให้ติด | |||
ที่บางคนเล่นเพื่อนเคยเชือนชิด | มากลับใจได้คิดว่าผิดไป | |||
นางคนหนึ่งใส่ไคล้ใครเห็นบ้าง | เจ้าพลายช่างเล่นตาเอาจนได้ | |||
นี่แกล้งทำให้ประวิงหรือจริงใจ | ไม่ทันไรกลับมาจะหาเมีย | |||
บ้างว่าเช่นเราเขาไม่ขอ | มีแต่กรอกินเปล่าให้เราเสีย | |||
อย่าใจเติบเกินตัวไปปัวเปีย | ละห้อยละเหี่ยถึงเขาก็เปล่าตาย | |||
ที่ตรงลำเรือกัญญาตาขุนแผน | ชะแง้แหงนดูแต่พวกแม่ม่าย | |||
ที่เป็นสาวทึกทึกนึกละอาย | ได้เจ้าพลายหรือพ่อก็พอใจ | |||
คนผู้ดูหลามตามตลิ่ง | ทั้งชายหญิงไทยเจ๊กเด็กผู้ใหญ่ | |||
พวกไปทัพกลับมาเฮฮาไป | ถึงกรุงไทยพ้นทุกข์สนุกสบาย ฯ | |||
ตอนที่ ๓๒ ถวายนางสร้อยทองสร้อยฟ้า
๏ ครานั้นขุนแผนแสนเสนี | ถึงกรุงศรีชื่นชมสมหมาย | |||
จึงปรึกษาหารือกับลูกชาย | ให้ผู้คนทั้งหลายทั้งไทยลาว | |||
ไปจอดนาวาที่หน้าคั่น | อยู่ด้วยกันกับเรือเจ้าเชียงใหม่ | |||
ส่วนเรือประเทียบทองทั้งสองไซร้ | ให้เข้าไปจอดท่าวาสุกรี | |||
แล้วสั่งขุนหมื่นพนักงาน | ประจำขานพระแนวเป็นถ้วนถี่ | |||
เสร็จพลันชวนกันจรลี | เข้าไปที่ศาลาลูกขุนใน | |||
กราบเรียนเจ้าพระยาจักรี | ว่าบัดนี้กระบวนเรือทั้งน้อยใหญ่ | |||
รับนางมาถึงซึ่งกรุงไกร | ทั้งตัวเจ้าเชียงใหม่ก็เอามา | |||
แต่พวกครัวลาวเป็นชาวไพร | มอบไว้เมืองพิจิตรนั้นหนักหนา | |||
ทั้งวัวควายเกวียนต่างแลช้างม้า | เครื่องสาตราอาวุธสารพัน | |||
ครั้นจะให้รวบรวมเอาลงมา | ก็เกรงจะชักช้าจึงผ่อนผัน | |||
ให้ยับยั้งคอยฟังตราสำคัญ | พณหัวทั่นจะบัญชา | |||
อนึ่งพวกลาวชาวเวียงจันทน์ | ที่มาส่งนางนั้นสามร้อยกว่า | |||
รับแต่กึงกำกงนั้นลงมา | แล้วแต่พระกรุณาจะโปรดปราน ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าพระยาจักรี | ฟังคดีปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ | |||
ให้จดความตามบอกมิทันนาน | จะได้อ่านกราบทูลพระกรุณา | |||
แล้วยิ้มย่องหันหน้ามาเชมเชย | เจ้าเอ๋ยไม่เสียทีที่อาสา | |||
เจ้าพ่อลูกสองคนพ้นปัญญา | ช่างแกล้วกล้าศึกเสือเหลือประมาณ | |||
สักอึดใจได้เมืองเชียงใหม่สิ้น | ทั้งแผ่นดินเราเห็นเป็นยอดทหาร | |||
ได้ดังพระประสงค์คงโปรดปราน | บำเหน็จบำนาญจะรวยด้วยความดี | |||
แล้วเรียกนครบาลมาบอกกล่าว | ท่านจงจำเจ้าลาวไว้ตามที่ | |||
ด้วยเป็นโทษยังไม่โปรดในคดี | กว่าจะมีรับสั่งพระทรงธรรม์ ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านเจ้ากรมยมราช | ก็จัดแจงเพชฌฆาตที่เข้มขัน | |||
โจมใจอาจฟาดใจกล้าทะลวงฟัน | ราชมัลยิ่งยวดตำรวจใน | |||
เอาโซ่ตรวนขื่อคามาทันใด | ตำแหน่งใครใครก็ไปไม่รอรั้ง | |||
เอาเครื่องจำจำจองเจ้าเชียงใหม่ | นายไพร่นั่งห้อมล้อมหน้าหลัง | |||
งำเมืองเพชรปาณีเสียงมี่ดัง | ราชศักดิ์ปลัดวังเกณฑ์กันมา ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าเชียงอินทร์สิ้นความคิด | ดังชีวิตจะม้วยดับสังขาร์ | |||
หวาดหวั่นพรั่นตัวกลัวอาญา | ตกประหม่าหน้าซีดสลดใจ | |||
แลเห็นเพชฌฆาตราชมัล | สำคัญว่าชีวิตหารอดไม่ | |||
เหงื่อกาฬซ่านทั่วทั้งตัวไป | ทอดอาลัยก้มหน้าไม่พาที ฯ | |||
๏ ครั้นสายแสงอโณทัยได้เวลา | ฝ่ายท่านเจ้าพระยาราชสีห์ | |||
ทั้งเจ้าพระยามหาเสนาบดี | จตุดามภ์กรมทั้งสี่ก็เข้าวัง | |||
ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน | กล่นเกลื่อนซ้ายขวามาพร้อมพรั่ง | |||
ท่านจักรีเข้าไปถึงในวัง | จึงสั่งขุนแผนกับลูกชาย | |||
เจ้าคอยท่าอยู่หน้าพระดรงทอง | เราจะกราบทูลฉลองเรื่องถวาย | |||
ให้ทรงทราบอนุสนธิ์ต้นปลาย | แล้วจะเบิกสองนายเฝ้าบาทบงสุ์ | |||
พระองค์คงจะรับสั่งถาม | ถึงการณงค์สงครามตามประสงค์ | |||
จะตรองตรึกนึกไว้ให้ทุกกระทง | อย่าลืมหลงเค้ามูลทูลความจริง | |||
เรารำคาญแต่ฝ่ายพระท้ายน้ำ | ด้วยว่าทำต้องตำหนิตริกริ่ง | |||
หากแต่ได้ชัยชนะพอพะพิง | จงรอนิ่งอยู่ที่ทิมริมประตู | |||
ครั้นว่าจวนเวลาพวกข้าเฝ้า | ต่างก็เข้าไปคอยทุกหมวดหมู่ | |||
มหาดเล็กกรมวังพรั่งพรู | เข้าสู่พระโรงชัยอันไพบูลย์ ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ดำรงโลก | ระงับโศกราษฎรให้ร้อนสูญ | |||
เนาในปรางค์รัตน์จำรัสจรูญ | เพิ่มพูนสุขาสถาพร | |||
ล้วนเหล่าสาวสนมกำนัลนาง | เคียงข้างพระแท่านบรรจถรณ์ | |||
พอสุริย์ฉายสายส่องช่องบัญชร | บทจรจากห้องบรรทมพลัน | |||
เสด็จสู่ที่สรงทรงสนาน | สุคนธ์ธารหอมฟุ้งทั้งปรุงกลั่น | |||
ทรงภูษาแดงแย่งสุบรรณ | รัดพระองค์ดวงกุดั่นเด่นมณี | |||
พระหัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์อันบวร | บทจรออกจากข้างในที่ | |||
นางเชิญเครื่องเนื่องตามจรลี | พระภูมีออกพระโรงรัตนา | |||
ประทับพระที่นั่งบัลลังก์อาสน์ | งามดังเทวราชไตรตรึงศา | |||
ให้เบิกหมู่ข้าเฝ้าท้าวพระยา | เข้ามาในท้องพระโรงชัย | |||
เจ้าพระยาพระหลวงกระทรวงการ | คลุกคลานพรั่งพรูดูไสว | |||
เข้าเฝ้าพระองค์ทรงภพไตร | บังคมไหว้แล้วก็หมอบอยู่พร้อมกัน ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าพระยาจักรี | อัญชลีทูลไปทันใดนั่น | |||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ชีวันอยู่ใต้พระบาทา | |||
ขุนแผนพลายงามที่ไปทัพ | ยกกลับจตุรงค์มาถึงท่า | |||
คุมเรือประเทียบทั้งสองมา | ทั้งพระยาเชียงใหม่ใจฉกรรจ์ | |||
ได้เงินทองของส่วนพัทยา | เงินตราเบ็ดเสร็จเจ็ดสิบกำปั่น | |||
ครัวลาวได้มารวมห้าพัน | แต่สกรรจ์พันร้อยห้าสิบคน | |||
ปืนใหญ่สองร้อยน้อยสามพัน | ทวนนั้นพันถ้วนล้วนพู่ขน | |||
ดาบเชลยพันสองเป็นของพล | ดาบดรงแสงต้นห้าร้อยปลาย | |||
ช้างสามร้อยห้าม้าแปดร้อย | โคกระบือใหญ่น้อยนั้นมากหลาย | |||
ทั้งนายไพร่ไม่เป็นอันตราย | สบายด้วยเดชะพระบารมี | |||
อันตัวเจ้าเชียงใหม่ใจพาล | ให้จำไว้ห้าประการตามที่ | |||
ควรมิควรฉันใดในคดี | แล้วแต่พระภูมีจะโปรดปราน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | ปิ่นปักอยุธยามหาสถาน | |||
ฟังทูลเรื่องขุนแผนแสนสำราญ | ดังได้ผ่านเมืองสวรรค์ชั้นโสฬส | |||
อ้ายเชียงอินทร์ดูหมิ่นกูหนักหนา | วันนี้จะดูหน้าให้ปรากฏ | |||
มันอวดดีเป็นไรไม่ไว้ยศ | พอได้ตัวหัวหดไปทันใด | |||
การสงครามครั้งนี้มิใช่เล่น | พิเคราะห์ไปก็เห็นเป็นศึกใหญ่ | |||
เพราะเรื่องมันยุ่งยากลำบากใจ | มิใช่ไปรบราอย่างสามัญ | |||
ด้วยมันจับพวกเราเอาไปไว้ | รู้ว่าไปก็คงฆ่าเสียอาสัญ | |||
อ้ายพ่อลูกเล็ดลอดดอดไปทัน | แก้กันว่องไวได้คนเรา | |||
กับอนึ่งถึงกระบวนที่รบพุ่ง | ถ้ามัวมุ่งล้อมเมืองก็เปลืองเปล่า | |||
จะฆ่าฟันกันอย่างไรให้บางเบา | มันมากมายหลายเท่าเราที่ไป | |||
อ้ายพ่อลูกมันดีที่กลศึก | ลอบสะอึกเข้าไปจับเจ้าเชียงใหม่ | |||
เหมือนตัดต้นสาเหตุเภทภัย | พอจับได้ก็เสร็จสำเร็จการ | |||
ต้องยกย่องว่าดีมีความชอบ | ควรประกอบยศศักดิ์อัครฐาน | |||
จงเรียกตัวมันมาอย่าได้นาน | อ้ายหน้าด้านท้ายน้ำก็เอามา ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านเจ้าคุณได้รับสั่ง | เหลียวบอกตำรวจวังที่อยู่หน้า | |||
เรียกท้ายน้ำขุนแผนแสนศักดา | กับลูกยาพลายงามทั้งสามคน | |||
ตำรวจวังคลานคล้อยถอยออกมา | แจ้งกิจจาขุนแผนนั้นเป็นต้น | |||
ว่าพระจทอนรินทร์ปิ่นภูวดล | ให้หาท่านสามคนในบัดนี้ ฯ | |||
ขุนแผนกับลูกชายพลายงาม | ได้ฟังความปรีดิ์เปรมเกษมศรี | |||
นุ่งสมปักเข้าพลันในทันที | รีบรี่มายังท้องพระโรงชัย | |||
น่าสงสารแต่ฝ่ายพระท้ายน้ำ | ได้ยินคำกรมวังดังจับไข้ | |||
ผลัดสมปักตัวสั่นพรั่นฤทัย | เผลอไผลตามาละล้าละลัง | |||
ขุนแผนพลายงามเข้ามาก่อน | พระท้ายน้ำค่อยผ่อนมาทีหลัง | |||
กราบกรานคลานตามตำรวจวัง | ต่างหมอบชม้อยคอยฟังพระบัญชา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรพ่อลูกก็หรรษา | |||
จึงมีสีหนาทประภาษมา | ดูราขุนแผนกับพลายงาม | |||
มิเสียแรงเป็นชายชาติทหาร | ชำนิชำนาญชาญชัยในสนาม | |||
ครั้งนี้กูใช้ไปสงคราม | มีไพร่ไปแต่สามสิบห้าคน | |||
เมืองเชียงใหม่ไพร่ฟ้าก็กว่าแสน | ไปไล่แล่นลุยลาวออกแหลกป่น | |||
ข้าศึกฮึกหาญไม่ทานทน | ได้คนคืนเมืองเพราะมือมึง | |||
ดีหนักหนากล้าจับเจ้าเชียงใหม่ | มึงคิดอ่านอย่างไรเมื่อไปถึง | |||
ไหนว่ารบมากมายที่ปลายบึง | อย่าอ้ำอึ้งจงเล่าให้เข้าใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสามารถ | อภิวาททูลแจ้งแถลงไข | |||
ด้วยเดชะพระองค์ทรงภพไตร | จึงมีชัยได้สิ้นทั้งพารา | |||
เกล้ากระหม่อมอาสาไปครานี้ | กับทหารตัวดีสามสิบห้า | |||
ได้อาศัยในคุณวิทยา | กับบารมีพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | |||
ขึ้นไปถึงบึงใหญ่ให้หยุดพัก | ซุ่มสำนักคนผู้อยู่ที่นั่น | |||
แล้วปรึกษายินยอมพร้อมใจกัน | กระหม่อมฉันสองคนกับพลายงาม | |||
ปลอมลาวเข้าไปสะกดคน | ขึ้นบนคุกใหญ่ในยามสาม | |||
พบพระท้ายน้ำนั้นไม่ครั่นคร้าม | ทั้งนายไพร่ต่างตามกันออกมา | |||
พวกเวียงจันทน์นั้นก็พาออกมาด้วย | ช่วยกันฟันผู้คุมเสียหนักหนา | |||
แล้วเข้าไปโรงแสงแย่งสาตรา | ทั้งลักม้าโรงในได้ครบคน | |||
แล้วไปชิงช้างงาเอามาค่าย | เวลาบ่ายลาวยกมาสับสน | |||
เกล้ากระหม่อมพร้อมกันออกประจญ | ลาวป่นแตกทัพยับระยำ | |||
ในวันนั้นกระหม่อมฉันกับพลายงาม | สะกดตามเข้าวังเวลาค่ำ | |||
จับได้เจ้าเชียงใหม่ในหอคำ | ก็ยอมทำสัตย์ให้ด้วยใจจง | |||
ขอเป็นข้าทูลละอองรองพระบาท | มอบกายถวายราชย์ตามประสงค์ | |||
แต่นั้นมากิริยาก็คงตรง | จงทราบเบื้องบาทบงสุ์พระทรงชัย ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จนเรนทร์สูร | ฟังทูลยินดีจะมีไหน | |||
มิเสียทีอ้ายนี่เหล่าขุนไกร | ทั้งลูกหลานชาญชัยไวปัญญา | |||
อันตัวอ้ายเฒ่าเจ้าเชียงใหม่ | จะปล่อยไปดอกกูไม่เข่นฆ่า | |||
ถึงมันองอาจอหังการ์ | จะว่ามันเป็นขบถก็เป็นพาล | |||
ด้วยเมืองมันนั้นเอกเทศ | อยู่นอกเขตอยุธยามหาสถาน | |||
เมื่ออ่อนน้อมยอมถวายบรรณาการ | ก็ไม่ควรล้างผลาญให้บรรลัย | |||
ถ้าอาหากเอามันไปฟันฆ่า | ใครจะเชื่ออยุธยาต่อไปได้ | |||
ไว้มันกลับทุจริตผิดต่อไป | จึงควรให้ลงโทษถึงชีวี | |||
อ้ายขุนแผนพลายงามมีความชอบ | กูจะตอบแทนมึงให้ถึงที่ | |||
ขุนแผนให้ไปรั้งกาญจน์บุรี | มีเจียดกระบี่เครื่องยศให้งดงาม | |||
สัปทนคนโทถาดหมากทอง | ช้างจำลองของประทานทั้งคานหาม | |||
สำหรับใช้ไปณรงค์สงคราม | ให้สมตามความชอบที่มีมา | |||
ให้เป็นที่พระสุรินทฦาชัย | มไหสูรย์ภักดีมีสง่า | |||
แล้วตรัสสั่งพระคลังในมิได้ช้า | เติมเงินตราสิบห้าชั่งเป็นรางวัล | |||
ทั้งเสื้อผ้าสมปักปูมส่าน | พระราชทานมากมายหลายหลั่น | |||
ส่วนอ้ายลูกชายพลายงามนั้น | จะให้มันมียศปรากฏไป | |||
ยังหนุ่มแน่นว่องไวมิใช่น้อย | ควรเอาไว้ใช้สอยให้ใกล้ใกล้ | |||
จะตั้งแต่งให้มึงให้ถึงใจ | ให้สมที่มีชัยได้เมืองมา | |||
ให้เป็นจมื่นไวยวรนาถ | หัวหมื่นมหาดเล็กเวรข้างฝ่ายขวา | |||
พระราชทานเครื่องยศแลเงินตรา | ปูมส่านเสื้อผ้าสารพัน | |||
แล้วตรัสว่าอ้ายไวยพึ่งได้ดี | บ้านช่องมันจะมีที่ไหนนั่น | |||
หัวหมื่นมีแต่ตัวก็ชั่วครัน | ต้องทำบ้านให้มันเสียครั้งนี้ | |||
ดูก่อนเจ้ากรมยมราช | จงบาตรหมายนายอำเภอไปเหยียบที่ | |||
หาบ้านให้ไอ้ไวยในบุรี | ดูท่วงทีพอให้ใกล้ใกล้วัง | |||
แล้วตรัสสั่งเจ้ากรมทหารใน | ไปปลูกเหย้าเรือนให้สักห้าหลัง | |||
ทั้งเรือนครัวรั้วรอบขอบกำบัง | ให้สมกับกูตั้งเป็นหมื่นไวย ฯ | |||
เบือนพระพักตร์มาพบพระท้ายน้ำ | กริ้วซ้ำดังจะฆ่าให้ตักษัย | |||
มีพระสีหนาทประภาษไป | เหม่อ้ายท้ายน้ำมึงทำงาม | |||
เสียแรงกูรักใคร่ให้เป็นพระ | มิรู้จะขี้ขลาดชาติส่ำสาม | |||
ให้กูหลงไว้ใจในสงคราม | จนอ้ายลาวเอาไปล่ามดังผูกลิง | |||
ช่างไม่คิดสู้มันให้พรั่นท้อ | ทุดกระไรใจคอเป็นผู้หญิง | |||
ช่างชาติชั่วสิ้นทีอัปรีย์จริง | ไปนั่งนิ่งให้มันจับได้อับอาย | |||
ถ้ามิได้ช่วยอ้ายขุนแผนรบ | จะจำครบผูกเฆี่ยนเสียสองหวาย | |||
อ้ายคนชั่วชาติข้าขายหน้านาย | จงหมายถอดเป็นไพร่ใช้เฝ้าประตู ฯ | |||
๏ แล้วตรัสสั่งเจ้ากรมตำรวจหน้า | ไปเอาพระยาเชียงใหม่มานี่หรู | |||
ส่วนพระยาธรมาก็ไปดู | ให้รับสองนางสู่ที่ในวัง | |||
ตำรวจรับมาบอกผู้รักษา | พระโองการให้หาเจ้าเชียงใหม่ | |||
เข้าหิ้วปีกซ้ายขวาพาเข้าไป | บังคมไหว้หมอบพรั่นสั่นสะท้าน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระปิ่นนรินทร์ราช | มีพระสีหนาทอยู่ฉาดฉาน | |||
เหวยพระยาเชียงใหม่น้ำใจพาล | ตัวทำการไม่สมอารมณ์นึก | |||
เข้าชิงนางจับไทยแล้วไม่หนำ | ยังซ้ำมีสารมาท้าทำศึก | |||
โทษทัณฑ์นั้นอย่างไรที่ใจฮึก | อย่านิ่งนึกเร่งว่ามาบัดดล ฯ | |||
เจ้าเชียงใหม่ได้ฟังพระโองการ | หนาวสะท้านซ่านเสียวทุกขุมขน | |||
เหงื่อตกอกร้อนดังเพลิงลน | เหมือนจะด้นดำไปใต้พสุธา | |||
สารภาพกราบทูลสนองไป | พระทรงชัยได้โปรดเหนือเกศา | |||
อันความผิดพลั้งแต่หลังมา | ข้าพระบาทโทษถึงซึ่งชีวิต | |||
ถ้าทรงพระกรุณาไม่ฆ่าฟัน | พระราชทานโทษทัณฑ์ที่ทำผิด | |||
ขอเป็นข้าบาทบงสุ์พระทรงฤ?ธิ์ | รักษาสัตย์สุจริตจนวายปราณ | |||
ขอถวายสมบัติกษัตรา | อีกทั้งลานนามหาสถาน | |||
ไว้ในใต้เบื้องบทมาลย์ | พึ่งพระโพธิสมภารสืบไป ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังจบตรัสตอบเจ้าเชียงใหม่ | |||
เมื่อรู้ตัวกลัวภัย | เราจะยกโทษให้ในครั้งนี้ | |||
จะให้กลับไปครองเมืองเชียงใหม่ | จงตั้งใจสัตย์ซื่อต่อกรุงศรี | |||
ตามเยี่ยงอย่างเจ้าประเทศเขตธานี | รักษาให้ไมตรีจีรังกาล | |||
ตรัสพลางทางสั่งท่านผู้ใหญ่ | ทั้งฝ่ายมหาดไทยแลทหาร | |||
จงพาเจ้าเชียงใหม่ไปสาบาน | อธิษฐานถือน้ำทำสัจจา | |||
แล้วจัดแจงแต่งบ้านรับแขกเมือง | กั้นฝาเฝืองเป็นข้างในแลข้างหน้า | |||
ให้เป็นที่อาศัยในพารา | ทั้งเจ้าข้าอย่าให้ได้เดือดร้อน | |||
จ่ายเสบียงอาหารการกินอยู่ | เครื่องเสื่อสาดลาดปูแลผ้าผ่อน | |||
พวกบ่าวไพร่ให้มีที่หลับนอน | นครบาลดูอย่าให้ใครบีฑา ฯ | |||
๏ แล้วตรัสสั่งพลันในทันใด | ยังพวกบ่าวไพร่ทัพสามสิบห้า | |||
ทั้งอ้ายพวกหาบหามตามโยธา | เอาเงินตราผ้าให้เป็รางวัล | |||
แล้วให้ยกราชการงานเมือง | ปลดเปลื้องหน้าที่ทุกสิ่งสรรพ์ | |||
สังกัดไว้ในอาทมาตนั้น | ต่อมีทัพขับขันจึงเรียกใช้ | |||
ให้มันมีตราภูมิคุ้มห้ามขาด | ทั้งอากรขนอนตลาดอย่าเก็บได้ | |||
ทำบาญชีมีนายหมวดกองไว้ | ให้ขึ้นแก่จมื่นไวยสิ้นทั้งนั้น | |||
ส่วนนายไพร่พวกลาวชาวล้านช้าง | ที่ตามมาส่งนางสร้อยทองนั้น | |||
จงเบิกเงินเสื้อผ้ามาให้มัน | แล้วส่งไปเวียงจันทน์ทั้งไพร่นาย | |||
ครั้นสิ้นข้อดำรัสตรัสเสร็จ | พระเสด็จจรจรัลผันผาย | |||
ขึ้นจากพระโรงคุลพรรณราย | เยื้องกรายคืนเข้าปราสาทชัย ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระยาธรมาธิบดี | มาถึงที่ประตูวังหาช้าไม่ | |||
บอกแก่ท้าวนางที่ข้างใน | ให้เกณฑ์กันลงไปรับสองนาง | |||
แล้วสั่งให้จัดสีวิกากาญจน์ | ผูกม่านลายปักหักทองขวาง | |||
พร้อมพรั่งทั้งคู่ดูสำอาง | ท้าวนางเถ้าแก่แซ่กันมา | |||
จึงเชิญนางสร้อยทองผ่องศรี | ขึ้นทรงวอจรลีไปข้างหน้า | |||
วอหลังนารีศรีสร้อยฟ้า | ท้าวนางนำมายังวังใน | |||
แล้วเร่งรัดจัดตำหนักรักษา | ให้สร้อยทองสร้อยฟ้าอยู่อาศัย | |||
มิให้อนาทรร้อนฤทัย | ตั้งใจคอยรับสั่งพระทรงธรรม์ ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ทรงศักดา | มิ่งมงกุฎอยุธยามหาสวรรค์ | |||
สถิตที่แท่นแก้วแกมสุวรรณ | เหล่ากำนัลพระสนมประนมกร | |||
ครั้นสิ้นแสงสุริยาภาณุมาศ | พระจันทร์เคลื่อนเลื่อนราชรถร่อน | |||
ดาราพรายพร่างกลางอัมพร | ประภัสสรแสงรื่นพื้นแผ่นดิน | |||
สว่างไสวในวังดังเมืองสวรรค์ | ด้วยแสงจันทร์นั้นสอ่งกระจ่างสิ้น | |||
พระพายเฉื่อยเรื่อยพัดมารินริน | พระองค์ทรงถวิลถึงสองนาง | |||
สร้อยทองลูกของเจ้าเวียงจันทน์ | เชิดชื่อลือลั่นมากรุงล่าง | |||
ว่างามขำล้ำเลิศในล้านช้าง | ดูหมายมาดสวาทนางทุกแดนไตร | |||
กับอนึ่งนารีศรีสร้อยฟ้า | ก็เป็นยอดธิดาเจ้าเชียงใหม่ | |||
รูปร่างจะตระการสักปานใด | พระตริพลางตรัสใช้เจ้าขรัวนาย ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านท้าววรจันทร์ | รับสั่งทรงธรรม์แล้วผันผาย | |||
ไปบอกสองอรไทให้แต่งกาย | ผัดพักตร์พรรณรายดังดวงจันทร์ | |||
กระหมวดมุ่นมวยผมดูสมพักตร์ | ปิ่นปักวาวแววแก้วกุดั่น | |||
แซมมวยด้วยบุปผาลาวัณย์ | สองกรรณใส่ตุ้มหูพู่ระย้า | |||
สวมใส่กำไลทองทั้งสองกร | ธำมรงค์เรียงสลอนทั้งซ้ายขวา | |||
นุ่งยกทองทอลออตา | ห่มผ้าพื้นไหมอุไรกรอง | |||
วิไลเลิศเฉิดฉินดังกินรี | จรลีตามกันมาทั้งสอง | |||
ขรัวนายนำนางขึ้นปรางค์ทอง | เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทา | |||
เจ้าจรัวนายบังคมประนมสนอง | นางสร้อยทองหมอบเฝ้าอยู่ฝ่ายขวา | |||
ที่น้อมกายเบื้องซ้ายข้างนี้มา | คือนางสร้อยฟ้านารี ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรรูปทรงทั้งสองศรี | |||
น่าชมสมเป็นราชบุตรี | ท่วงทีคนละอย่างดูต่างกัน | |||
พินิจทรงสร้อยทองละอองพักตร์ | นรลักษณ์งามเลิศเฉิดฉัน | |||
ละมุนละม่อมพร้อมพริ้งทุกสิ่งอัน | สมเป็นขวัญของประเทศเขตลาวกาว | |||
ดูสงบเสงี่ยมงามทรามสวาท | มารยาทสนิทสนมสมเป็นสาว | |||
กระนี้หรือจะมิลือในแดนลาว | จนเชียงใหม่ได้ข้าวเข้าช่วงชิง | |||
แล้วผินพักตร์มาพิศเจ้าสร้อยฟ้า | ดูจริตกิริยากระตุ้งกระติ้ง | |||
ท่าทางท่วงทีก็ดีจริง | จะเสียอยู่สักสิ่งด้วยรายงอน | |||
หูตากลอกกลมคมคายเหลือ | พิศแล้วเบื่อดูได้แต่ร่อนร่อน | |||
จะเปรียบก็เหมือนอย่างนางละคร | งามงอนอ้อนแอ้นบั้นเอวกลม | |||
เพราพริ้งเพรียวเหลือดังเรือแข่ง | กล้องแกล้งพายจิบก็เจียนล่ม | |||
ดูริมฝีปากบางลูกคางกลม | เห็นลาดเลาเจ้าคารมเป็นมั่นคง | |||
ถ้าเป็นม้าก็ม้าขึ้นระวาง | ถ้าเป็นช้างก็ช้างอย่างต้องประสงค์ | |||
ถึงจะผูกเครื่องทองเป็นรองทรง | ถ้าคนขี่ไม่ประจงคงเจ็บตัว | |||
สร้อยทองลูกของเจ้าล้านช้าง | ยศอย่างมารยาทจะยังชั่ว | |||
แต่ข้างนางสร้อยฟ้าดูน่ากลัว | กระซิบตรัสกับเจ้าขรัววรจันทน์ | |||
แน่ะขรัวนายท่าทีอีสองคน | ดูชอบมาพากลหรือไม่นั่น | |||
สร้อยทองดูทำนองจะดีครัน | สร้อยฟ้านั้นท่าทางเหมือนนางละคร | |||
จะเอาไว้เป็นข้างระวางใน | ลองใจขับขี่ดูทีก่อน | |||
ก็นึกกลัวตัวแก่ไม่แน่นอน | หรือจะควรผันผ่อนประการใด ฯ | |||
๏ เจ้าขรัวนายได้ฟังรับสั่งถาม | ก็ทราบความตามพระอัชฌาสัย | |||
จึงกราบทูลพระองค์ทรงภพไตร | เห็นถูกต้องตามพระทัยที่ใคร่ครวญ | |||
นางสร้อยทองต้องลักษณะนัก | นรลักษณ์งามดีถี่ถ้วน | |||
แต่สร้อยฟ้าดูจริตกระบิดกระบวน | เห็นไม่ควรที่จะเคียงพระบาทา | |||
ดูท่าทางอย่างเรือต้องระลอก | กลับกลอกกลิ้งกลมคมหนักหนา | |||
กระหม่อมฉันเกรงจะขัดพระอัธยา | เหมือนทรงม้าที่พยศต้องกดไว้ | |||
ถึงแม้ว่ารูปทรงส่งสัณฐาน | จะโปรดปรานก็ไม่หย่อนผ่อนลงได้ | |||
จะเป็นเครื่องอักอ่วนกวนพระทัย | มิให้เบิกบานสำราญองค์ | |||
ไม่เหมือนนางสร้อยทองผ่องศรี | นั่นควรที่ยกย่องต้องประสงค์ | |||
ดูท่วงทีกิริยานั้นสมทรง | ควรรองบาทบงสุ์พระทรงชัย | |||
นางสร้อยฟ้าถ้าจะรับราชการ | เพียงชั้นนางพนักงานเห็นพอได้ | |||
ขอพระองค์ผู้ทรงภพไตร | จะทรงวินิจฉัยให้สมควร ฯ | |||
๏ ครานั้นภูมินทร์บดิทร์สูร | ฟังเจ้าขรัวนายทูลทรงพระสรวล | |||
ข้าก็เบื่อคนจริตกระบิดกระบวน | จึงอักอ่วนคิดไปให้ระอา | |||
แต่จะเลี้ยงเพียงเป็นนางพนักงาน | ดูก็พานต่ำต้อยจะน้อยหน้า | |||
ด้วยมันเป็นลูกสาวท้าวพระยา | ให้มีคู่สู่หาเสียเป็นไร | |||
อย่าเลยอ้ายพลายงามมีความชอบ | ได้ประกอบยศศักดิ์เป็นไหนไหน | |||
พร้อมสรรพเคหาทั้งข้าไท | ยังแต่ไม่มีเมียจะถือน้ำ | |||
ได้นึกอยู่ว่าจะดูหาเมียให้ | เราจะได้เลี้ยงชุบอุปถัมภ์ | |||
ปล่อยไว้ฉวยได้คนระยำ | มันจะทำเสื่อมเสียวิชาดี | |||
มันก็เป็นจมื่นไวยวรนาถ | หัวหมื่นมหาดเล็กใช้อยู่ใกล้ที่ | |||
ถึงตัวเจ้าเชียงใหม่ในครั้งนี้ | มันก็มีคุณรักบำรุงมา | |||
เห็นจะไม่ขัดใจเจ้าเชียงใหม่ | เราขอเขาคงให้ดังเราว่า | |||
ให้สำเร็จเสร็จเรื่องอีสร้อยฟ้า | ทั้งมีหน้ามีตาอ้ายหมื่นไวย | |||
ดูเหมาะพอสมอารมณ์หมาย | เจ้าขรัวนายจะเห็นเป็นไฉน | |||
อ้ายหมื่นไวยได้อีสร้อยฟ้าไป | ก็จะได้เป็นกำลังราชการ ฯ | |||
๏ เจ้าขรัวนายกราบก้มบังคมบาท | เคารพรับพระราชบรรหาร | |||
จึงทูลความตามกระแสพระโองการ | ซึ่งประทานจมื่นไวยนั้นควรนัก | |||
ครั้งนี้มีชัยได้เมืองลาว | ลือข่าวทั่วหล้าอาณาจักร | |||
ถ้าประทานสร้อยฟ้าให้สมรัก | ก็จะยิ่งสามิภักดิ์พระทรงชัย ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ปิ่นปักนคเรศเป็นใหญ่ | |||
ฟังขรัวนายทูลสนองต้องพระทัย | เอออ้ายไวยมันสมกับสร้อยฟ้า | |||
แล้วหันมาปราศรัยนางสร้อยทอง | อย่าหม่นหมองจะเลี้ยงให้งามหน้า | |||
สมเป็นราชบุตรีศรีสัตนา | ซึ่งบิดายกให้ด้วยไมตรี | |||
จึงตรัสสั่งคลังในพนักงาน | ให้จัดของพระราชทานตามที่ | |||
หีบหมากทองลงยาราชาวดี | เงินยี่สิบชั่งทั้งขันทอง | |||
แหวนเรือนรังแตนทั้งแหวนงู | ตุ้มหูระย้าเพชรเก็จก่อง | |||
ผ้ายกทองยกไหมสไบกรอง | ทั้งสิ่งของส่วนพี่เลี้ยงกัลยา | |||
จัดตำหนักให้อยู่ตึกหมู่ใหญ่ | ข้าไทให้เป็นสุขทุกถ้วนหน้า | |||
แล้วตรัสปราศรัยนางสร้อยฟ้า | เอ็งก็อย่าอาวรณ์ร้อนฤทัย | |||
ถึงพ่อเอ็งจู่ลู่ให้กูโกรธ | กูก็ได้ยกโทษโปรดให้ | |||
เมื่อราชการเสร็จสรรพเขากลับไป | กูไซร้จะเป็นพ่อออสร้อยฟ้า | |||
จะเลี้ยงดูมิให้ได้อายเพื่อน | ถึงจะมีเหย้าเรือนไปวันหน้า | |||
จะตกแต่งให้ดีมีหน้าตา | มิให้ใครครหานินทากู | |||
เอ็งจงยับยั้งอยู่วังใน | ขรัวนายไปจัดเรือนให้มันอยู่ | |||
ฝากเจ้าขรัวนายด้วยจงช่วยดู | ทั้งคนผู้บ่าวไพร่ให้สบาย | |||
ถ้าหากมันคิดถึงพ่อแม่ | ให้เถ้าแก่พาไปดังใจหมาย | |||
รับสั่งแล้วจึงท้าวเจ้าขรัวนาย | พาสร้อยฟ้าผันผายลงมาพลัน ฯ | |||
๏ ครั้นรุ่งแสงสุริยาภาณุมาศ | โอภาสพรรณรายฉายฉัน | |||
ฝ่ายว่าพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | จรจรัลออกพระโรงรัตนา | |||
พรั่งพร้อมเสนาข้าเฝ้า | ทุกหมู่เหล่าแวดล้อมอยู่พร้อมหน้า | |||
เจ้าเชียงใหม่พ้นพระราชอาญา | ก็เข้ามาเฝ้าเบื้องบาทบงสุ์ | |||
พระองค์ทรงดำริตริตรา | ถึงขอบขัณฑสีมาโดยประสงค์ | |||
เห็นว่าเจ้าเชียงใหม่นั้นใจจง | ควรให้คงยศได้ไม่เสียการ | |||
จึงตรัสว่าฮ้าเฮ้ยเจ้าเชียงใหม่ | เราจะให้กลับหลังยังสถาน | |||
ทั้งบ่าวไพร่ชายหญิงแลศฤงคาร | ตัวท่านจงคืนเอาขึ้นไป | |||
ไปรักษาพระนิเวศน์เขตขัณฑ์ | ป้องกันศึกเสือเหนือใต้ | |||
ถ้าแม้นมีปัจจามิตรมาทิศใด | เหลือกำลังก็ให้บอกลงมา ฯ | |||
๏ เจ้าเชียงใหม่ได้ฟังรับสั่งโปรด | ปราโมทย์ดังจะเหาะขึ้นเวหา | |||
ก้มกราบทูลพระองค์ทรงศักดา | ขอรองพระบาทากว่าจะตาย | |||
ไปเบื้องหน้าถ้าทำให้เคืองขัด | แม้นเป็นสัตย์จงประหารให้ฉิบหาย | |||
ตัวจำนำรับคำไม่กลับกลาย | ขอถวายบุตรไว้ใต้บาทา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังจบทรงพระสรวลสำรวลร่า | |||
เออเจ้าเชียงใหม่ไปพารา | แล้วไปมาหากันก็เป็นไร | |||
ซึ่งลูกสาวในอกยกให้ข้า | ก็ขอบใจหนักหนาเจ้าเชียงใหม่ | |||
แต่เห็นหน้าข้าก็นึกตั้งใจไว้ | จะขอสร้อยฟ้าให้กับอ้ายพลาย | |||
มันน่าชมสมกันนี่กระไร | ลูกสาวเจ้าเชียงใหม่ก็เฉิดฉาย | |||
อ้ายพลายงามความรู้ก็เลิศชาย | จะได้เป็นสุขสบายทั้งสองรา | |||
อย่าเสียใจว่าได้กับต่ำศักดิ์ | อ้ายพลายงามก็รักเหมือนลูกข้า | |||
เป็นหัวมหื่นมหาดเล็กเด็กชา | จงนึกว่าเราทั้งสองเกี่ยวดองกัน ฯ | |||
๏ เจ้าเชียงใหม่ได้ฟังรับสั่งขอ | รันทดท้อฤทัยให้ไหวหวั่น | |||
เสียดายศักดิ์สุริยวงศ์พงศ์พันธุ์ | อัดอั้นมิใคร่ออกซึ่งวาจา | |||
นึกถึงสร้อยฟ้านิจจาเอ๋ย | ไม่ควรเลยจะระคนลงปนข้า | |||
ครั้นขัดก็จะเคืองเบื้องบาทา | จึงกราบทูลพระกรุณาด้วยจำใจ | |||
อันลูกสาวเกล้ากระหม่อมถวายขาด | ไว้เป็นข้าฝ่าพระบาทจนตักษัย | |||
ซึ่งจะพระราชทานจมื่นไวย | ก็สุดแท้แต่พระทัยจะโปรดปราน | |||
อันพระไวยคนนี้ก็มีศักดิ์ | แหลมหลักเปรื่องปราดชาติทหาร | |||
ต่อไปคงจะได้ราชการ | กระหม่อมฉานจะได้พึ่งเพื่อนสืบไป ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังจบตรัสว่าเออเจ้าเชียงใหม่ | |||
แม้นมีเหตุเภทพาลประการใด | จะได้ใช้ให้ออไวยไปช่วยกัน | |||
ท่านจงคืนหลังยังพารา | ญาติงวศ์คอยท่าจะโศกศัลย์ | |||
ทั้งเจ้าไพร่จงเป็นสุขทุกคืนวัน | พระสั่งเสร็จจรจรัลเข้าวังใน ฯ | |||
ฝ่ายว่าเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นประชา | เสด็จขึ้นกลับมาที่อาศัย | |||
มีรับสั่งโปรดปรานประการใด | ก็เล่าให้เมียแจ้งแห่งกิจจา ฯ | |||
๏ ครานั้นนางอัปสรมเหสี | ได้ฟังคดีที่ผัวว่า | |||
ยินดีที่จะได้ไปพารา | แต่ทุกข์ถึงธิดาดวงชีวัน | |||
ให้อีไหมไปบอกเจ้าสร้อยฟ้า | ให้ออกมาทันทีขมีขมัน | |||
สร้อยฟ้าจึงลาขรัวนายพลัน | เถ้าแก่โขลนนั้นกำกับมา ฯ | |||
๏ คราถึงที่สถิตของบิดา | นางยอกรกราบบาทาทั้งซ้ายขวา | |||
เจ้าเชียงใหม่กอดลูกแล้วโศกา | ว่าพ่อแม่นี้จะลาเจ้ากลับไป | |||
เพราะมีตัวเจ้าถวายจึงคลายเคือง | ได้เมื้อเมืองเจ้าจะตกอยู่กรุงใต้ | |||
จะโปรดปรานประทานให้หมื่นไวย | เหลืออาลัยอยู่แล้วแก้วพ่ออา ฯ | |||
๏ ครานั้นสร้อยฟ้านารี | ฟังคดีเพียงจะดิ้นสิ้นสังขาร์ | |||
สองกรกอดบาทพระบิดา | ก้มหน้าซบลงแล้วโศกี | |||
โอ้ว่าเจ้าประคุณของลูกแก้ว | จะละลูกเสียแล้วเอาตัวหนี | |||
ซึ่งยกลูกถวายถ่ายชีวิต | ลูกไม่คิดบิดเบือนหรอกเจ้าพ่อ | |||
ท่านจะใช้ตักน้ำหรือหามวอ | ไม่ย่อท้อจะแทนพระคุณไป | |||
แสนทุกข์อยู่แต่ที่จะมีผัว | พระทูนหัวอกเอ๋ยหาเคยไม่ | |||
จะดูการเรือนเหย้าเขาข้างไทย | จะอย่างไรก็ไม่รู้ประเพณี | |||
ก็จะถูกติฉินยินร้าย | อัปยศอดอายชาวกรุงศรี | |||
สำหหรับเขาค่อนว่าทั้งตาปี | มีแต่จะอับอายขายบาทา | |||
ประการหนึ่งผู้ซึ่งจะเป็นผัว | มิใช่ตัวเขาสมัครรักใคร่ข้า | |||
ประทานไปถ้าเขาไม่มีเมตตา | ก็จะพาลด่าว่าเอาตามใจ | |||
แม้นจะทำย่ำยีถึงตีตบ | จะสู้รบหลบหนีไปไหนได้ | |||
ตัวคนเดียวตกอยู่ในหมู่ไทย | จะพึ่งใครยามยากลำบากกาย | |||
จะได้แต่ร้องไห้ไปจนม้วย | แม่พ่อพอจะช่วยก็ห่างหาย | |||
ไหนจะอยู่ไปตลอดคงวอดวาย | นางฟูมฟายชลนาโศกาลัย ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าเชียงใหม่อาลัยลูก | พันผูกนั่งสะท้อนถอนใจใหญ่ | |||
แข็งขืนกลืนกลั้นน้ำตาไว้ | โลมเล้าเอาใจของลูกรัก | |||
เป็นกรรมของเรานะเจ้าเอ๋ย | แต่เกิดมาพ่อไม่เคยจะหาญหัก | |||
ครั้งนี้ขัดสนจนใจนัก | เจ้าเหมือนที่พึ่งพักของบิดา | |||
ตลอดถึงวงศาคณาญาติ | ประชาราษฎร์เพื่อนยามมากนักหนา | |||
เป็นเชลยกองทัพเขาจับมา | เหมือนลูกช่วยให้รอดตลอดไป | |||
ถ้าไม่มีตัวเจ้าเข้าถวาย | ก็คงพากันตายอยู่เมืองใต้ | |||
นี่พอให้ไว้เนื้อเชื่อพระทัย | จึงโปรดให้กลับคืนไปเเมืองเรา | |||
ซึ่งพระองค์ทรงขอให้พระไวย | มิใช่พ่อพอใจจะให้เจ้า | |||
แต่จะขัดพระดำรัสเหมือนดูเบา | จึงจำยกให้เขาตามบัญชา | |||
ข้อนี้ก็ได้มีรับสั่งแล้ว | ว่าจะเลี้ยงลูกแก้วให้สมหน้า | |||
ด้วยพระองค?์ทรงพระกรุณา | จงพึ่งฝ่าบาทบงสุ์พระทรงชัย | |||
ไปวันหน้าถึงว่าจะอาดูร | จะเฝ้าแหนเพ็ดทูลก็พอได้ | |||
อนึ่งที่ตัวพระจมื่นไวย | เมื่อขึ้นไปย่ำยีบุรีเรา | |||
ถึงเมื่อไปเป็นปรปักษ์จะหักหาญ | ด้วยทำการถวายเจ้านายเขา | |||
เมื่อเราอ่อนเขาก็หย่อนผ่อนให้เบา | จนเลยเข้ากันเป็นมิตรสนิทมา | |||
คงเห็นกับไมตรีมีแต่หลัง | ทั้งเป็นเมียประทานพระผ่านหล้า | |||
ถึงเกิดข้องเคืองขัดอัธยา | เห็นจะไม่ตีด่าให้อับอาย | |||
พ่อจะให้เถถรขวาดฉลาดเวท | เธอวิเศษฤทธีดีใจหาย | |||
อยู่เป็นเพื่อนป้องกันอันตราย | กับเพี้ยกวานขนานอ้ายด้วยอีกคน | |||
แม่เจ้าเขาคงเลือกเหล่าผู้หญิง | ที่เชื่อใจได้จริงมาแต่ต้น | |||
มอบไว้ให้ชิดติดกับตน | ถึงพ่อไปเมืองบนไม่ละเลย | |||
อันจะเป็นแม่เหย้าเจ้าเรือน | ดูให้เหมือนแม่เจ้าเถิดลูกเอ๋ย | |||
เขาดีจริงสิ่งไรเจ้าไม่เคย | ทรามเชยถามแม่ให้แน่ใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นนางอัปสรชนนี | เรียกสร้อยฟ้านารีเข้าเรือนใหญ่ | |||
สงสารลูกโลมเล้าเอาใจ | อย่าร้องไห้ไปนักนะลูกอา | |||
เกิดมาเป็นมนุษย์ปุถุชน | ความทุกข์มิพ้นจนสักหน้า | |||
สุดแท้แต่กรรมที่ทำมา | ถึงเวลาสิ้นสุขก็ทุกข์ไป | |||
ถ้าถึงคราวพ้นเข็ญที่เป็นทุกข์ | ก็กลับมีความสุขสืบไปใหม่ | |||
เป็นธรรมดามาฉะนี้แต่ไรไร | จะหวาดหวั่นพรั่นใจไม่ต้องการ | |||
พระพ่อได้ถวายเจ้าถ่ายโทษ | เหมือนเจ้าโปรดพ่อให้ได้คืนสถาน | |||
ดังกัญหาชาลีสองกุมาร | เพิ่มประโยชน์โพธิญาณพระบิดา | |||
เป็นกุศลผลบุญอันยิ่งใหญ่ | จะค้ำชูตัวไปในภายหน้า | |||
ไม่ควรย่อท้อคิดระอิดระอา | จงก้มหน้าสนองพระคุณไป | |||
ซึ่งภูบาลจะประทานให้มีผัว | เจ้าอย่ากลัวชั่วร้ายหามีไม่ | |||
เป็นสตรีมีผัวกันทั่วไป | เพราะว่าเป็นวิสัยแห่งโลกีย์ | |||
ถึงเนื้อคู่อยู่ห่างต่างภาษา | จนหน้าตาไม่รู้จักมักจี่ | |||
สำคัญแต่ที่ให้ได้คนดี | ก็จะมีความสุขไม่ทุกข์ใจ | |||
เหมือนเช่นพระอุณรุทนางอุษา | ก็อยู่ห่างต่างพาราเป็นไหนไหน | |||
หลับอยู่เทวดาพาอุ้มไป | ยังรักใคร่ปรองดองทั้งสองรา | |||
ถึงตัวแม่เมื่อสาวคราวพวยพุ่ง | ก็อยู่เวียงเชียงตุงไกลหนักหนา | |||
พระปู่เฒ่าเจ้าเชียงใหม่ไปขอมา | เพิ่งเห็นหน้าพ่อเจ้าต่อวันงาน | |||
ถึงพ่อเจ้าเล่าก็ไม่ได้เห็นแม่ | ได้ยินแต่ว่ารูปทรงส่งสัณฐาน | |||
ยังอยู่ด้วยกันมาเป็นช้านาน | มิได้มีร้าวรานประการใด | |||
ด้วยวิสัยในการประเวณี | ย่อมอยู่ที่ดวงจิตพิสมัย | |||
พอถึงกันก็ประหวัดกำหนัดใน | แต่พอได้รู้รสก็หมดกลัว | |||
ยิ่งหนุ่มสาวคราวแรกภิรมย์รัก | พอประจักษ์ได้เสียเป็นเมียผัว | |||
มักหลงใหลคลึงเคล้าเฝ้าพันพัว | ราวกับตัวขึ้นสวรรค์ชั้นไตรตรึงส์ | |||
เมื่อแรกแรกร่วมเรียงเคียงเขนย | อย่ากลัวเลยจะพิโรธโกรธขึ้ง | |||
ต่อนานวันว่างวายคลายเคล้าคลึง | นั่นแลจึงจะได้รู้ดูใจกัน | |||
วิสัยชายคล้ายกับคชสาร | ถ้าหมอควาญรู้ทีดีขยัน | |||
แต่ทว่าบางยกตกน้ำมัน | ต้องรู้จักผ่อนผันจึงเป็นเพลง | |||
ธรรมดาสตรีที่มีผัว | ต้องเกรงยำจำกลัวผัวข่มเหง | |||
เพราะถ้าผัวตัวนั้นยังคุ้มเกรง | ถึงคนอื่นครื้นเครงมิเป็นไร | |||
ถ้าผัวทิ้งคนเดียวเปลี่ยวอนาถ | เหมืนอสิ้นชาติสิ้นเชื้อที่เนื้อไข | |||
หญิงที่ผัวทิ้งขว้างห่างเหไป | จะเข้าไหนเขากระหยิ่มมักยิ้มเยาะ | |||
ถึงจะหาลูกผัวแก้ตัวใหม่ | ก็ยากนักจักได้ที่มั่นเหมาะ | |||
ด้วยสิ้นพรหมจารีที่จำเพาะ | เหมือนไส้กลวงด้วงเจาะรังเกียจกัน | |||
ด้วยเหตุนี้มีผัวอย่ามัวประมาท | ถ้าพลั้งพลาดเพียงชีวาจะอาสัญ | |||
ต้องเอาใจสามีทุกวี่วัน | ให้ผัวนั้นเมตตาอย่าจืดจาง | |||
จงเคารพนบนอบต่อสามี | กิริยาพาทีอย่าอางขนาง | |||
จะยั่วยวนหรือว่ามีที่ระคาง | ไว้ให้ว่างผู้คนอยู่ที่ลับ | |||
สังเกตดูอย่างไรชอบใจผัว | ทั้งอยู่กินสิ้นทั่วทุกสิ่งสรรพ | |||
ทำให้ได้อย่าให้ต้องบังคับ | เป็นแม่เรือนเขาจึงนับว่าดีจริง | |||
อันเป็นเมียจะให้ชอบใจผัว | สิ่งสำคัญนั้นก็ตัวของผู้หญิง | |||
ทำให้ผัวถูกใจไม่มีทิ้ง | ยังมีอีกสิ่งก็อาหารตระการใจ | |||
ถ้ารู้จักประกอบให้ชอบลิ้น | ถึงแก่สิ้นเพราพริ้งไม่ทิ้งได้ | |||
คงต้องง้อขอกินทุกวันไป | จงใส่ใจจัดหาสารพัน | |||
เป็นต้นต้มตีนหมูให้ชูรส | ไข่ไก่สดต้มยำทำขยัน | |||
ตับเหล็กกสันในแลไข่ดัน | หั่นให้ชิ้นเล็กเล็กเหมือนเจ๊กทำ | |||
พยายามเลี้ยงดูให้ชูใจ | ถึงจะมีเมียใหม่ให้คมขำ | |||
เสน่ห์ปลายจวักไม่รู้จักทำ | หลงใหลไม่กี่น้ำก็จำคลาย | |||
พ่อเจ้ามีห้ามสักสามร้อย | เป็นไรไม่หลุดลอยไปง่ายง่าย | |||
ปะสาวสาวเจ้าก็ชมหลงงมงาย | แต่พอหน่ายก็แพ้แม่ทุกที | |||
ทำไมกับสาวสาวอีลาวเคอะ | ถึงจะสวยมันก็เซอะดังซากผี | |||
ยังชมว่าท่านยายแยบคายดี | มิได้มีเหมือนแม่จนแก่ชรา | |||
อันเป็นหญิงสุดแต่สิ่งปรนนิบัติ | ใครสันทัดผัวก็รักเป็นหนักหนา | |||
แม้นเจ้าทำเหมือนคำของมารดา | ดีกว่ายาแฝดฝังทั้งตาปี ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมนางสร้อยฟ้า | รับคำมารดาใส่เกศี | ||
เจ้าแม่ไปขอให้สวัสดี | ถึงปีแล้วจงใช้ให้คนมา | ||
ให้แจ้งข่าวเจ้าประคุณว่าเป็นสุข | ก็จะสบายคลายทุกข์ของตัวข้า | ||
สั่งพลางต่างองค์ทรงโศกา | เพียงว่าจะสิ้นสมประดี ฯ | ||
๏ ครั้นสุริย์ฉายบ่ายคล้อยลงรำไร | เจ้าเชียงใหม่กับองค์มเหสี | ||
แสนสงสารลูกยายิ่งปรานี | เวลานี้จวนเจ้าจะเข้าวัง | ||
เอาธำมรงค์เก้ายอดถอดให้ลูก | ถ้าจะขายถูกถูกก็สิบชั่ง | ||
ไว้ต่อมเมื่อยากจนพ้นกำลัง | จำนำไว้ในวังพอแก้จน | ||
แล้วเลือกสรรนางลาวพวกสาวใช้ | นางสาวไหมพี่เลี้ยงนั้นเป็นต้น | ||
กับรุ่นรุ่นรูปดีอีกสี่คน | เอาไว้เป็นเพื่อนตนเถิดลูกอา | ||
แล้วสั่งซ้ำกำชับกับสาวไหม | เอ็งเอ๋ยอย่าถือใจว่าเป็นข้า | ||
นึกว่านางเป็นน้องร่วมท้องมา | จงอุตส่าห์หมั่นระวังสั่งสอนกัน | ||
จวนประตูปิดแล้วแก้วแม่เอ๋ย | อย่าช้าเลยกลับไปเข้าไปไอศวรรย์ | ||
แม่จงอยู่เป็นสุขทุกนิรันดร์ | อันตรายราคีอย่ามีพาน ฯ | ||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าสร้อยฟ้า | ฟังว่าดังอุระจะแตกฉาน | ||
กราบตีนพ่อแม่ให้แดดาล | ชลนัยน์ไหลซ่านลงโซมทรวง | ||
เย็นนักจักช้าก็มิได้ | เป็นทุกข์ใจจะรีบเข้าวังหลวง | ||
พระสุริยาจวนพลบจะลบดวง | ให้เป็นห่วงบ่วงใยมิใคร่จร | ||
พวกเถ้าแก่เตือนตักว่าจักค่ำ | นางยิ่งซ้ำแสนทุกข์สะท้อนถอน | ||
จึงจำจากบิดาแลมารดร | เฝ้าอาวรณ์โศกเศร้าจนเข้าวัง ฯ | ||
๏ ครานั้นพระเจ้าเชียงใหม่ | อาลัยลูกยาน้ำตาหลั่ง | ||
แลตามสร้อยฟ้าจนฝาบัง | แล้วนิ่งนั่งสะอื้นไห้อยู่ไปมา | ||
ทั้งนางอัปสรมเหสี | ก็โศกีร่ำรักเป็นหนักหนา | ||
กระทั่งพวกสาวสรรค์กัลยา | ต่างก็พลอยโศกาด้วยอาลัย | ||
ครั้นว่าค่อยคลายวายโศกา | จึงเรียกเหล่าเสนาเข้ามาใกล้ | ||
บอกว่าพระองค์ผู้ทรงชัย | ยกโทษโปรดให้ไปธานี | ||
จงไปสั่งพวกลาวบ่าวไพร่ | ให้เตรียมตัวกลับไปบุรีศรี | ||
พร้อมพรั่งตั้งแต่ในพรุ่งนี้ | ฤกษ์ดีวันมะรืนจะคืนเมือง ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าเสนาพระยาลาว | ทราบข่าวว่าจะได้กลับไปเหนือ | ||
ต่างดีใจรีบลัดไปจัดเรือ | หาพริกเกลือเตรียมเสบียงไปเลี้ยงกัน | ||
ส่วนพวกพลลาวบ่าวข้า | ก็ติดตามกันมาจ้าละหวั่น | ||
ช่วยกันยาเรือแพอยู่แจจัน | บางคนนั้นเก็บของมากองไว้ | ||
บ้างไปซื้อเสื้อผ้าหาของกิน | ที่ใครมีหนี้สินรีบใช้ให้ | ||
ขะมักเขม้นอารามยามจะไป | ถึงเหน็ดเหนื่อยเหงื่อไหลไม่ขุ่นเคือง | ||
พวกพ่อค้ารู้ข่าวลาวจะกลับ | เอาของหาบหยับหยับมาแน่นเนื่อง | ||
ชวนให้ซื้อของข้าวเอาไปเมือง | ราคาเฟื้องขายสลึงให้พึงใจ | ||
ฝ่ายพวกนางลาวเหล่าข้าหลวง | ห่วงสมบัติต่างรีบหาหีบใส่ | ||
เก็บพับผ้าผ่อนท่อนสไบ | แป้งน้ำมันเอาไปให้พอแรง | ||
บรรดาพวกที่จะได้กลับบ้าน | ต่างเบิกบานยิ้มหัวทั่วทุกแห่ง | ||
ที่ต้องอยู่อยุธยาทำตาแดง | หัวอกแห้งใครทักไม่พูดจา | ||
เจ้าเชียงใหม่ครั้นเห็นก็สงสาร | แจกบำเหน็จบำนาญให้หนักหนา | ||
สูแอ๋ยอยู่หน่อยกับสร้อยฟ้า | พอปีหน้าข้าจะให้ได้ไปเมือง ฯ | ||
๏ พอรุ่งเช้ากลาโหมมหาดไทย | ทั้งกรมแสงคลังในมาแน่นเนื่อง | ||
ผู้คนขนของมานองเนือง | แต่ล้วนเครื่องอุปโภคที่ริบไว้ | ||
บอกว่ามีพระราชโองการ | พระราชทานคืนสิ่งศฤงคารให้ | ||
ของเหล่านี้ที่ส่งมากรุงไกร | กลับขึ้นไปถึงพิจิตรจงแวะรับ | ||
ช้างม้าพาหนะบ่าวไพร่ | คืนไปตามรับสั่งให้เสร็จสรรพ | ||
เอาบาญชีคลี่สำรวจตรวจนับ | มอบแล้วต่างกลับไปฉับพลัน | ||
พวกเสนาพระยาลาวชาวเชียงใหม่ | ก็รับของขนไปเป็นหลั่นหลั่น | ||
เรียกเรือมาเรียงไว้เคียงกัน | เอาของบรรทุกเรียบเพียบทุกลำ | ||
ทั้งของหลวงของเหล่าท้าวพระยา | ผู้คนขนมาอยู่คลาคล่ำ | ||
บรรทุกแล้วถอยมาทอดจอดประจำ | ในท้องน้ำเสียงลาวออกฉาวไป | ||
ที่ตรงท่าหน้าบ้านตะพานลง | ให้จอดเรือลำทรงเจ้าเชียงใหม่ | ||
ต่อมาข้างท้ายเรือฝ่ายใน | ให้จอดเรือพวกไพร่ข้างใต้น้ำ | ||
ครั้นพร้อมเสร็จเจ้าเชียงใหม่มเหสี | จรลีลงเรือเมื่อใกล้ค่ำ | ||
เรือพวกท้าวพระยามาประจำ | เรียงลำคอยท่าจะคลาไคล ฯ | ||
๏ พอดาวประกายพฤกษ์ขึ้นพวยพุ่ง | ใกล้รุ่งแสงทองจะส่องไข | ||
พระจันทร์เคลื่อนเลื่อนบ่ายลงปลายไม้ | สกุณาไก่ก้องขันสนั่นเมือง | ||
พวกลาวต่างฟื้นตื่นนิทรา | หุงข้าวเผาปลากันตามเรื่อง | ||
พออุทัยไขแสงขึ้นแรงเรือง | แลประเทืองทั่วฟ้าสุธาธาร | ||
ลงเรือพร้อมพรั่งทั้งนายไพร่ | เจ้าเชียงใหม่ลุกออกมานอกม่าน | ||
พอได้ฤกษ์รังสีรวีวาร | ให้ออกเรือจากตะพานไปทันใด | ||
น้ำขึ้นตีกรรเชียงเสียงครั่นครึก | ตกลึกผ่านมาหน้าวังใหญ่ | ||
ท้าวคิดถึงลูกยายิ่งอาลัย | น้ำตาไหลนั่งนิ่งอยู่ข้างท้าย | ||
เรือตามน้ำขึ้นมาคว้างคว้าง | ถึงเพนียดคล้องช้างก็ใจหาย | ||
เห็นช้างผูกเสาเคียงอยู่เรียงราย | โอ้ช้างพลายตามโขลงมาหลงซอง | ||
งวงพาดงาเหงากับเสาตะลุง | ตาจะมุ่งดูอะไรเมื่อใจหมอง | ||
น้ำตาซาบอาบหน้าอยู่เนืองนอง | ทั้งสองข้างมีงาไม่กล้าแทง | ||
ช้างเอ๋ยเคยกล้าอยู่กลางเถื่อน | ไม่กลัวเพื่อนแล่นไล่ด้วยใจแข็ง | ||
ความทะนงหลงตัวว่าเรี่ยวแรง | ถูกเขาแกล้งปกพาเอามาคล้อง | ||
ด้วยความรักนางพังกำบังตา | ติดโขลงตามมาได้คล่องคล่อง | ||
เพราะตัณหาพาหลงตรงเข้าซอง | จึงมาต้องผูกมัดอยู่อัตรา | ||
คิดถึงเพื่อนก็เหมือนกับตัวเรา | แต่ก่อนเก่าสารพันจะหรรษา | ||
สมบัติพัสถานก็ลานตา | เมืองไหนไม่มาประมาทแคลน | ||
เพราะหลงรักสร้อยทองปองสวาท | พลั้งพลาดจึงทุกข์เสียเหลือแสน | ||
เสียบ้านเสียเมืองได้เคืองแค้น | แม้นแต่ลูกสายใจมิได้คืน | ||
ยิ่งคิดยิ่งเหงาเศร้าวิญญาณ์ | น้ำตาไหลหลั่งนั่งสะอื้น | ||
ถึงบ้านมอญเห็นขอนมอญลงยืน | น้ำตื้นให้ถ่อต่อไปพลัน | ||
ผ่านโพธิ์สามต้นเห็นต้นโพธิ์ | กิ่งไสวใหญ่โตสูงถงั่น | ||
สามต้นปลูกเรียงไว้เคียงกัน | ต้นหนึ่งนั้นอยู่กลางดูบางใบ | ||
เหี่ยวแห้งรันทดสลดหมอง | สองต้นสดชื่นรื่นไสว | ||
เหมือนเราสองจะไปครองซึ่งเวียงชัย | ลูกน้อยละห้อยไห้เป็นโพธิ์กลาง | ||
โอ้วิบากปากน้ำพระประสบ | สักเมื่อไรจะได้พบกับลูกบ้าง | ||
ครวญคร่ำร่ำหามาตามทาง | ถึงบ้านขวางท่าคอให้ท้อใจ | ||
เหลียวหน้ามาทางมเหสี | ก็เห็นนางโศกีสะอื้นไห้ | ||
ยิ่งเบื่อบ้านย่านทางหมางฤทัย | นกไม้มีดื่นไม่ชื่นชม | ||
ครั้นจวนเย็นจอดหาที่อาศัย | เช้าไปแดดร้อนผ่อนพักร่ม | ||
ข้ามบ้านผ่านแขวงเมืองอินทร์พรหม | ชัยนาทมโนรมย์ลำดับมา | ||
พ้นนครสวรรค์แปรไปแควใหญ่ | เข้าปากน้ำเกยชัยในสาขา | ||
ถึงบางคลานไม่รอถ่อนาวา | จนหน้าเมืองพิจิตรบุรีฯ | ||
๏ ฝ่ายผู้รั้งกรมการทราบสารตรา | ต่างก็มารับรองต้องตามที่ | ||
มอบของบรรดานานามี | ตามบาญชีสั่งไปให้คืนนั้น | ||
ที่ครอบครัวสิ่งของต้องประสงค์ | ก็จัดส่งกรุงศรีขมีขมัน | ||
สำเร็จเสร็จในไม่กี่วัน | แล้วบอกบั่นตามคดีที่มีมา ฯ | ||
๏ ฝ่ายข้างเจ้าเชียงใหม่ให้จัดกัน | พวกหนึ่งนั้นเดินบกยกล่วงหน้า | ||
ให้คุมครัววัวต่างแลช้างม้า | ไปคอยท่าหน้าเมืองสัชนาลัย | ||
กระบวนเรือน้อยใหญ่ก็ไคลคลา | เข้าคลองพิงค์มาหาช้าไม่ | ||
ตกท่ากงลงทางน้ำยมไป | พ้นบ้านใหม่ไม่ช้าถึงท่าเรือ ฯ | ||
๏ ฝ่ายผู้รั้งสังคโลกกรมการ | รักษาด่านพระนครข้างตอนเหนือ | ||
ทราบว่าปล่อยเจ้าเชียงใหม่ให้คืนเมือ | จัดข้าวเกลือพริกปลาหาเตรียมไว้ | ||
ครั้นพวกลาวบ่าวนายถึงพร้อมเพรียง | เอาเสบียงอาหารมาจ่ายให้ | ||
แล้วตรวจสอบตามบาญชีที่จะไป | ทั้งนายไพร่ช้างม้าเครื่องอาวุธ | ||
ให้หลวงพลสงครามตามไปส่ง | ถึงปากดงพงแดนเป็นที่สุด | ||
แล้วให้แต่งม้าใช้ไปเร็วรุด | บอกเมืองเถินทราบดุจเดียวกัน ฯ | ||
๏ ครั้นกระบวนพร้อมพรั่งทั้งนายไพร่ | เจ้าเชียงใหม่ปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | ||
ขึ้นบกยกออกจากเมืองพลัน | เจ็ดวันถึงแคว้นแดนนคร | ||
ท้าวพระยาผู้รักษาเมืองลำปาง | ต่างก็มาพร้อมพรั่งดั่งแต่ก่อน | ||
เจ้าเชียงใหม่ค่อยสบายคลายอาวรณ์ | ให้พักผ่อนเหน็ดเหนื่อยที่เลื่อยล้า | ||
ส่วนพระยาข้าเฝ้าเจ้าเชียงใหม่ | ก็จัดแจงนายไพร่ให้ล่วงหน้า | ||
รีบไปบอกข่าวชาวพารา | ว่าพระเจ้าเชียงใหม่ได้คืนเมือง ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าพวกลาวชาวเชียงใหม่ | ต่างดีใจพร้อมหน้ามาแน่นเนื่อง | ||
จัดกระบวนแหนแห่แลประเทือง | ธงเทียวเขียวเหลืองบรรดามี | ||
ทั้งราชยานคานหามแลวอทอง | ฆ้องกลองเครื่องสักคีตดีดสี | ||
แล้วป่าวร้องบอกลาวชาวบุรี | มาคอยรับอยู่ที่เมืองลำพูน | ||
ครั้นพระเจ้าเชียงใหม่ไปถึงนั่น | ก็พากันมาเฝ้าเจ้าไอศูรย์ | ||
ทั้งเสนาอำมาตย์ราชประยูร | เพ็ดทูลต้อนรับด้วยยินดี ฯ | ||
๏ พอได้ฤกษ์วันดีมีมงคล | ต่างคนประณตบทศรี | ||
เชิญเจ้าสวรรยาเข้าธานี | ครองบุรีเนาวรัตน์เป็นฉัตรชัย | ||
เชิญพระองค์ขึ้นทรงยานมาศ | ทั้งนางราชเทวีศรีใส | ||
แห่ออกนอกเมืองลำพูนชัย | ไปยังเวียงเชียงใหม่ในวันนั้น | ||
ทั้งสองข้างทางแห่ให้ปักฉัตร | ผูกแผงราชวัติขึ้นกางกั้น | ||
เจ้าของบ้านนั่งเรียงอยู่เคียงกัน | พอเจ้านายถึงนั่นก็อวยพร | ||
พลางโปรยบุบผามาลัย | ยกมือกราบไหว้อยู่สลอน | ||
องค์พระเจ้าเข้าคืนพระนคร | เหมือนพระเวสสันดรแต่ก่อนมา | ||
สาธุชัยตุภวังค์ | ชัยมังคลังพระเจ้าข้า | ||
ให้พ่อเจ้าเป็นสุขทุกเวลา | ชาวพาราต่างอำนวยอวยพร ฯ | ||
๏ ครั้นว่ามาถึงนิเวศน์วัง | พระครูบามานั่งอยู่สลอน | ||
แต่งบัตรพลีตั้งสลับซับซ้อน | ตามแบบอย่างปางก่อนเคยฟาดเคราะห์ | ||
พระสังฆราชอัญเชิญเจ้าเชียงใหม่ | เข้านั่งในซุ้มกล้วยเป็นกรวยเกราะ | ||
มเหสีก็มีซุ้มจำเพาะ | แล้วพระสงฆ์สวดสะเดาะขึ้นพร้อมกัน | ||
สวดเสร็จสังฆราชเอาบาตรน้ำ | เสกซ้ำด้วยพระมนตร์ดลขยัน | ||
รดสะเดาะเคราะห์ร้ายให้หายพลัน | เสียงประโคมครื้นครั่นสนั่นดัง | ||
ครั้นตกบ่ายชายแสงพระสุริยา | พระญาติวงศ์พงศามาพร้อมพรั่ง | ||
ทั้งเสนาข้าเฝ้าเหล่าชาววัง | ประชุมนั่งในท้องพระโรงรัตน์ | ||
เชิญองค์เจ้าเชียงใหม่มเหสี | สถิตที่แท่นประทับสำหรับกษัตริย์ | ||
ตั้งบายศรีเครื่องกระยาสารพัด | ประจงจัดหลายอย่างต่างต่างกัน | ||
ให้พระยาจ่าบ้านเป็นผู้ใหญ่ | อวยชัยจำเริญเชิญพระขวัญ | ||
แล้วผู้หัตถ์รัดด้ายถวายพลัน | ตามเยี่ยงอย่างปางบรรพ์ประเพณี | ||
สมโภชเสร็จเสด็จออกพลับพลา | ราษฎรเข้ามาอยู่อึงมี่ | ||
เตรียมลูกกุยมาทั่วที่ตัวดี | ปล้ำประจัญกันที่สนามใน | ||
เกเกริกอยู่จนสนธยา | จึงเลิกงานต่างมาที่อาศัย | ||
เจ้าเชียงอินทร์สำราญบานฤทัย | ครองเชียงใหม่เป็นสุขทุกวันวาร ฯ | ||
ตอนที่ ๓๓ แต่งงานพระไวยพลายงาม
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงเดช | มงกุฎเกศอยุธยามหาสถาน | |||
สถิตแท่นแว่นฟ้าโอฬาฬาร | พร้อมขนานพระสนมประนมกร | |||
ครั้นสุริยงลงลับเมรุมาศ | พระจันทร์ผาดเผ่นจำรัสประภัสสร | |||
ทรงพระแสงเพชรประดับสำหรับกร | บทจรออกท้องพระดรงคัล | |||
แสงประทีปโคมแก้วแววสว่าง | พวกขุนนางหมอบเฝ้าเป็นเหล่าหลั่น | |||
พระตรัสความตามอย่างเป็นทางธรรม์ | แม่นมั่นตามระเบียบโบราณมา | |||
เบือนพระพักตร์มาพบพระกาญจน์บุรี | ก็ยิ่งมีพระทัยให้หรรษา | |||
ด้วยต้องการประทานนางสร้อยฟ้า | จึงตรัสว่าฮาเฮ้ยอ้ายกาจน์บุรี | |||
อ้ายหมื่นไวยกูก็ให้มียศสักดิ์ | พร้อมพรักข้าไทเป็นถ้วนถี่ | |||
ยังเสียอยู่แต่เมียมันไม่มี | จะยกอีสร้อยฟ้าให้แก่มัน | |||
จะให้สมกับที่มีความชอบ | ให้ประกอบยศยิ่งทุกสิ่งสรรพ์ | |||
เป็นขุนนางไม่มีเมียก็เสียครัน | จะให้มันมีเมียเสียสักคน ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงพระกาญจน์บุรี | อัญชลีกราบงามสามหน | |||
จึงกราบทูลภูวไนยไปบัดดล | พระคุณเป็นพ้นคณนา | |||
แต่ซึ่งจมื่นไวยใช่ตัวเปล่า | ข้าพระพุทะเจ้าไม่มุสา | |||
เมื่อไปทัพได้กับศรีมาลา | ลูกยาพระพิจิตรบุรี | |||
แต่รักใคร่ยังมิได้ทำงานการ | เขาผ่อนผัดนัดงานมาเดือนสี่ | |||
ได้หมั้นกันไว้ตามประเพณี | ขอจงทราบธุลีพระบาทา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ได้ฟังขุนแผนนั้นทูลว่า | |||
เมียจมื่นไวยมีชื่อศรีมาลา | เป็นลูกยาพระพิจตรบุรี | |||
จึงตรัสว่าอ้ายพลายงามเป็นหมื่นไวย | มีเมียมากสักเท่าไรไม่ควรที่ | |||
ได้สักสิบคนนั้นมันยิ่งดี | จึงสั่งพระยาราชสีห์ด้วยทันใด | |||
จงมีตราหาตัวพระพิจิตรนั้น | ทั้งลูกสาวมันมาให้จงได้ | |||
จะให้แต่งงานกับอ้ายไวย | ให้รีบรัดเร่งไปในวันนี้ | |||
สั่งเสร็จพระเสด็จขึ้นข้างใน | ขุนนางน้อยใหญ่ลุกจากที่ | |||
ฝ่ายท่านเจ้าพระยาจักรี | ออกมานั่งสั่งคดีที่ศาลา | |||
แต่งตราส่งให้นายสวัสดิ์ | เอ็งรีบรัดขึ้นไปพิจิตรหวา | |||
นายสวัสดิ์กราบกรานรับสารตรา | ลงเรือกัญญาโยนยาวไป | |||
ครั้นว่ามาถึงเมืองพิจิตร | สมคิดวางตราหาช้าไม่ | |||
พระพิจิตรต้อนรับฉับไว | กรมการน้อยใหญ่มาฟังตรา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบุรี | ฟังตราราชสีห์ว่าให้หา | |||
รู้แจ้งว่าจะแต่งศรีมาลา | จึงบอกบุตรภรรยาให้เตรียมการ | |||
พร้อมพรักผู้คนบ่าวข้า | ลงนาวาถอยออกมาจากบ้าน | |||
ล่องตรงลงทางบางคลาน | พ้นผ่านบ้านเมืองเนื่องเนื่องมา | |||
ถึงกรุงจอดบ้านท่านผู้ใหญ่ | พระพิจิตรคลาไคลขึ้นไปหา | |||
เจ้าพระยาราชสีห์ผู้ปรีชา | บอกกิจจาพระพิจิตรให้แจ้งใจ | |||
บัดนี้มีรับสั่งให้หามา | เพราะว่าจะจัดแจงแต่งงานให้ | |||
ศรีมาลาทูลท่านกับจมื่นไวย | จงรีบไปพบปะพระกาญจน์บุรี ฯ | |||
๏ พระพิจิตรรับคำแล้วอำลา | ตรงมาหาขุนแผนขมันขมี | |||
ขุนแผนกราบไหว้ด้วยยินดี | เชิญนั่งที่หอนั่งสั่งสนทนา | |||
เล่าความตามกระแสแก่พระพิจิตร | ว่าพระองค์ทรงฤทธิ์นั้นตรัสว่า | |||
จมื่นไวยไม่มีภรรยา | จะประทานสร้อยฟ้าแก่หมื่นไวย | |||
ลูกทูลว่าเมียมีชื่อศรีมาลา | รับสั่งว่ามีอีกก็มีได้ | |||
ให้มีตราหาเจ้าคุณมากรุงไกร | จะโปรดให้แต่งงานศรีมาลา | |||
มาเกิดเป็นเมียสองไม่ต้องใจ | จะทานทัดขัดพระทัยก็ไม่กล้า | |||
คุณพ่อขอจงได้เมตตา | อย่าว่าลูกกลับกลอกทำนอกใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงท่านพระพิจิตร | ว่าพระองค์ทรงฤทธิ์นั้นเป็นใหญ่ | |||
เราเป็นข้าโปรดมาประการใด | ก็ต้องแล้วแต่พระทัยพระทรงธรรม์ | |||
ว่าแล้วสองข้างต่างปรึกษา | ไปบอกพระไวยมาขมีขมัน | |||
ลงไปเรือเชื้อเชิญแม่ยายนั้น | พากันไปยังบ้านจมื่นไวย | |||
พระพิจิตรบุษบากับลูกรัก | ก็ขึ้นพักอยู่ที่บ้านประทานใหม่ | |||
จัดครัวชุลมุนกันวุ่นไป | ข้าไทอึกทึกทำการงาน ฯ | |||
๏ ครั้นรุ่งแจ้งแสงสว่างกระจ่างฟ้า | พระหมื่นศรีลีลามาถึงบ้าน | |||
ขึ้นบนเรือนพระไวยมิได้นาน | ก็คิดอ่านจัดแจงแต่งเรือนพลัน | |||
เอาพรมเจียมเสื่อสาดมาลาดปู | หมอนอิงพิงอยู่ดูเป็นหลั่น | |||
ทั้งเครื่องแก้วแถวถั่งตั้งอัฒจันทร์ | ม่านกั้นแกพับประกับกลาง | |||
อัจกลับใส่ตะเกียงแขวนเรียงไว้ | ค่ำจะได้จุดไฟให้สว่าง | |||
ทั้งกระโถนขันน้ำประจำวาง | พอกลางวันพร้อมเสร็จในทันใด | |||
พระพิจิตรว่าแก่พระหมื่นศรี | ท่านปรานีฉันด้วยช่วยแก้ไข | |||
จะซัดน้ำวันนี้ไม่มีใคร | วานโปรดให้สาวสาวสักสิบคน | |||
หล่อนแต่ล้วนขาวในได้เคยเห็น | แต่พอเป็นเพื่อนสาวกันสักหน | |||
ได้หุ้มห่อออกไปนั่งฟังสวดมนต์ | ให้มากมายหลายคนค่อยอุ่นใจ | |||
พระหมื่นศรีว่าได้เป็นไรมี | บ่ายวันนี้ดีฉันจะจัดให้ | |||
สาวสาวบ้านฉันนั้นถมไป | คุณตาอย่าได้เป็นกังวล ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระไวยอยู่บ้านพระนายศรี | เลือกกมหาดเล็กรูปดีอยู่สับสน | |||
เอามาเป็นเพื่อนบ่าวได้เก้าคน | แล้วจัดแจงแต่งตนให้แยบคาย | |||
จึงอาบน้ำชำระแล้วประแป้ง | นุ่งยกก้านแย่งดูเฉิดฉาย | |||
ห่มกรองทองเรืองประเทืองพราย | ให้พระนายเสมอใจเป็นบ่าวนำ | |||
เสร็จแล้วออกจากบ้านพระนาย | ผันผายตามถนนคนดูคล่ำ | |||
ครั้นถึงก็ขึ้นนั่งฟังธรรม | พระสงฆ์สวดมนตร์ร่ำขึ้นพร้อมกัน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงวันทองผ่องโสภา | แต่อยู่กับขุนช้างมาไม่เดียดฉันท์ | |||
เป็นใหญ่ในบุรีศรีสุพรรณ | วันนั้นได้ยินข่าวเขากล่าวมา | |||
ว่าลูกชายพลายงามมีความชอบ | ได้ประกอบยศศักดิ์ขึ้นหนักหนา | |||
โปรดปรานประทานนางสร้อยฟ้า | แล้วจะแต่งศรีมาลาด้วยคราวนี้ | |||
เป็นผู้ใหญ่จำจะไปช่วยเขาบ้าง | ให้ขุนนางรู้จักเป็นศักดิ์ศรี | |||
คิดแล้วก็มาลาสามี | พรุ่งนี้ฉันจะเข้าไปในเมือง | |||
พระนายพลายงามเขาแต่งงาน | ลือสะท้านทั่วกรุงฟุ้งเฟื่อง | |||
จะไม่ไปมิดีเป็นที่เคือง | ไพร่บ้านพลเมืองจะนินทา ฯ | |||
๏ ขุนช้างได้ฟังนั่งยิ้มแต้ | เออแม่จะไปผัวไม่ว่า | |||
เขาเป็นนายมหาดเล็กเด็กชา | เบื้องหน้าจะได้พึ่งเขาขุนนาง | |||
แม่อย่าไปมือเปล่าเอาเงินทอง | ข้าวของไปด้วยช่วยเขาบ้าง | |||
ผัวไม่นิ่งได้เจ้าไปพลาง | ตัวพี่จะขี่ช้างเข้าไปตาม | |||
ร้อยชั่งผัวจะสั่งไปหน่อยนะ | ถ้าพบปะอ้ายขุนแผนมันไต่ถาม | |||
อย่าพูดจาปราศรัยอ้ายบ้ากาม | ถ้าลวนลามแล้วจงด่าให้สาใจ ฯ | |||
๏ วันทองบอกว่าอย่าพักสั่ง | ฉันหานั่งพูดจากับเขาไม่ | |||
แล้วสั่งข้าหาของเข้าไวไว | นางเข้าห้องจ้องไขกำปั่นพลัน | |||
หยิบผ้ายกอย่างดีสีชมพู | แหวนงูแหวนประดับจับจัดสรร | |||
เลือกทองลิ่มเอามาสี่ห้าอัน | ทองนั้นจะได้ให้พระหมื่นไวย | |||
ผ้ายกอย่างดีสีชมพู | แหวนงูแหวนประดับไปรับไหว้ | |||
ตามมีตามจนคนละใบ | อย่าให้ลูกสะใภ้เขาเย้ยเยาะ | |||
แล้วให้ขนฟักแฟงแตงร้าน | ข้าวเม่าข้าวสารลูกตาลเฉาะ | |||
ทั้งฟักทองเนื้อดีที่กูเพาะ | อีเจาะไปจัดตัดเอามา | |||
ให้ข้าคนขนของลงเรือใหญ่ | บ่าวหลามตามไปอยู่พร้อมหน้า | |||
วันทองลงเรือได้ไพร่จ้ำมา | โยนยาวฉาวฉ่าสนั่นไป | |||
เข้าลัดตัดทางบางยี่หน | ประเดี๋ยวด้นออกบ้านเจ้าเจ็ดได้ | |||
ถึงกรุงจอดตะพานบ้านวัดตะไกร | ให้บ่าวไพร่ขนของขึ้นฉับพลัน | |||
วันทองเดินหน้ามาตามถนน | ขึ้นบนเรือนใหญ่พระไวยนั่น | |||
พระนายน้อมคำนับต้อนรับพลัน | แล้วเชิญทั่นมารดาเข้าเรือนใน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบุษบา | ตะวันบ่ายได้เวลาหาช้าไม่ | |||
บอกเพื่อนสาวที่หาเอามาไว้ | ได้สิบคนถ้วนล้วนสำอาง | |||
ให้อาบน้ำทาแป้งแต่งกาย | นุ่งลายห่มแพรสีต่างต่าง | |||
ศรีมาลาผัดหน้าเป็นนวลปราง | นุ่งลายนอกอย่างห่มสีจันทน์ | |||
จัดแจงผู้ใหญ่ให้เดินหน้า | พวกเพื่อนสาวตามาเป็นหลั่นหลั่น | |||
เอาหนามส้มเสียดผ้ามาคนละอัน | สำหรับได้ป้องกันเจ้าหนุ่มกวน | |||
หุ้มห่อกันออกนอกเคหา | หอมผ้ากลิ่นตลบอบหวน | |||
ศรีมาลาเดินกลางอย่างกระบวน | แต่ละหน้าหน้านวลดังนางใน | |||
ครั้นถึงน้อมนั่งฟังพระธรรม | พระสดำจับมงคลคู่ใส่ | |||
สายสิญจน์โยงศรีมาลาพระไวย | พอฆ้องใหญ่หึ่งดังตั้งชยันโต | |||
หนุ่มสาวเคียงคั่งเข้านั่งอัด | พระสงฆ์เปิดตาลปัตรซัดน้ำโร่ | |||
ปรำลงข้างสีกาห้าหกโอ | ท่านยายโพสาวนำน้ำเข้าตา | |||
อึดอัดยัดเยียดเบียดกันกลม | เอาหนาส้มแทงท้องร้องอุ๊ยหน่า | |||
ที่ไม่ถูกเท้ายันดันเข้ามา | ท่านยายสาออกมานั่งบังกันไว้ | |||
มหาดเล็กโลนโลนโดนกระแทก | โอยพ่อขี้จะแตกทนไม่ได้ | |||
ท่านยายสาเต็มทีลูกหนีไป | จนพระไวยศรีมาลามาชิดกัน | |||
ท่านขรัวหัวร่อซัดต่อไป | พวกผู้ใหญ่หนาวครางจนคางสั่น | |||
อย่าเติมน้ำอีกเลยเฮ้ยตาจัน | เต็มทีเท่านั้นเถิดเจ้าคุณ ฯ | |||
๏ ท่านขรัวหยุดยั้งนั่งนิ่ง | พวกผู้หญิงต่างลุกเข้าเรือนวุ่น | |||
แม่ยายจัดผ้าถักตาขุน | ปักทองสละปะตุ่นกับผ้ายก | |||
ใส่พานวางไว้ไปจัดแจง | เครื่องแป้งอย่างดีหวีกระจก | |||
พัดจันทน์ตลับทองของแถมพก | ให้คนยกมาให้พระหมื่นไวย | |||
พวกเจ้าบ่างผลัดผ้ามาแต่งตัว | ท่านขรัวยถาสัพพีให้ | |||
ครั้นเห็นได้เวลาก็คลาไคล | ต่างองค์ต่างไปยังกุฎี | |||
พวกเจ้าบ่าวเข้าไปในหอนั่ง | ผู้คนยกโต๊ะตั้งไว้ตามที่ | |||
ทั้งของเคียงเรียบเรียบเทียบไว้ได้ | มีกระโถนขันน้ำประจำพาน | |||
ล้วนแต่พานเงินงามรองชามข้าว | แล้วเชิญท่านเพื่อนบ่าวกินอาหาร | |||
ครั้นบริโภคอิ่มหนำสำราญ | แล้วยกโต๊ะของหวานส่งเข้าไป | |||
ล้วนแต่ของดีดีเทียบสี่ชั้น | แกล้งประจงจัดสรรขึ้นซ้อนใส่ | |||
อิ่มสำเร็จยกสำรับกลับเข้าไป | ข้างในตั้งพานหมากล้วนนากทอง | |||
สั่งให้ยกสำรับเลวไปลี้ยงไพร่ | อิ่มสำราญบานใจสิ้นทั้งผอง | |||
จุดประทีปแสงประเทืองเรืองรอง | มโหรีแซ่ซ้องประสานซอ | |||
ขับกล่อมซ้อมเสียงสำเนียงนวล | โหยหวนโอดพันสนั่นหอ | |||
ฆ้องวงหน่งหนอดสอดสีซอ | ระนาดตอดลอดล้อบรรเลงลอย | |||
แสนเสนาะเสียงสนั่นสนุกสนาน | วิเวกหวานคร่ำครวญหวนละห้อย | |||
พระไวยฟังวังเวงเพลงทยอย | ละเลิงลืมตัวม่อยผ็อยหลับพลัน ฯ | |||
๏ ครั้นอุทัยไขประเทืองเรืองจำรัส | ส่องสว่างกระจ่างจัดแจ่มสวรรค์ | |||
พวกคนงานต่างลุกขึ้นปลุกกัน | บ้างจัดสรรเทียบเคียงของเลี้ยงพระ | |||
บ้างผ่าฟืนตักน้ำตำพริกขิง | ชุลมุนวุ่นวิ่งออกเออะอะ | |||
บ้างซาวหม้อก่อไฟใส่ก้นกระ | บ้างยกกระบะหยิบกระบวยล้างถ้วยชามฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงภพ | ดิลกลบล้ำเลิศโลกทั้งสาม | |||
สถิตแท่นสุรกานต์ตระหง่านงาม | หมื่นหม่อมหมอบตามลำดับไป | |||
ทรงคะนึงถึงพระไวยจะแต่งงาน | พร้อมข้าราชการทั้งน้อยใหญ่ | |||
อีสร้อยฟ้านั้นจะช้าไว้ทำไม | เอาส่งไปให้มันเสียวันนี้ | |||
ให้พร้อมหน้าขุนนางกลางสนาม | จะได้งามเป็นสง่าราศี | |||
ดำรัสสั่งคลังไปในทันที | ให้เบิกผ้ามายี่สิบสำรับ | |||
หวีกระจกเครื่องแป้งแต่งให้ครบ | แหวนมณฑปนพเก้างูประดับ | |||
พานหมากนากทองสองสำรับ | กับเงินห้าชั่งทั้งโต๊ะพาน | |||
มันจะไปให้ขี่วอม่านลาย | เจ้าขรัวนายช่วยไปส่งให้ถึงบ้าน | |||
เร่งรีบไปพลันให้ทันการ | ของประทานให้คนขนตามไป | |||
แล้วตรัสว่าสร้อยฟ้าอย่าเป็นทุกข์ | ถ้าเฉินฉุกเบื้องหน้าหาทิ้งไม่ | |||
ไปเลี้ยงกันให้ดีอย่ามีภัย | เมื่อทุกข์ยากอย่างไรมาบอกกู ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมนางสร้อยฟ้า | รับพระราชบัญชาก้มหน้าอยู่ | |||
น้ำตาไหลหลั่งลงพรั่งพรู | แข็งใจจำสู้บังคมลา | |||
เจ้าขรัวศรีสัจจาพาครรไล | จึงสั่งให้จัดวอมารอท่า | |||
นางสร้อยฟ้าขึ้นวอลออตา | เจ้าขรัวนายนำหน้ามาจากวัง | |||
พวกนางสาวสาวเหล่าโขลนจ่า | ก็แบกของตามมาข้างภายหลัง | |||
นางไหมเดินเมียงเคียงระวัง | เจ้าสร้อยฟ้านั้นนั่งมาในวอ ฯ | |||
๏ บ้านพระไวยคนผู้อยู่คับคั่ง | พระสงฆ์นั่งสวดมนตร์อยู่บนหอ | |||
พวกขุนนางน้อยใหญ่ไปช่วยปรอ | เจ้าเณรตั้งบาตรรออยู่เรียงรัน | |||
ท่านผู้หญิงวันทองร้องเรียกบ่าว | ให้คดข้าวขาวขาวสักค่อนขัน | |||
เอาทารพีทองมาสองคัน | ช่วยกันยกไปวางกลางนอกชาน | |||
พระหมื่นศรีเข้าเรือนเตือนศรีมาลา | ออกมาธารณะเสียหน่อยหลาน | |||
ศรีมาลาอายคนพ้นประมาณ | แฝงม่านหน้าม่อยไม่ออกมา | |||
นางวันทองร้องเรียกลูกสะใภ้ | แม่เข็งใจไปหน่อยนะแม่หนา | |||
ทำบุญอย่าให้สูญเสียศรัทธา | แม่จะเป็นเพื่อนพาเจ้าออกไป ฯ | |||
๏ ครานั้นนารีศรีมาลา | ได้ยินแม่ผัวว่าไม่ขัดได้ | |||
สำลีพันไม่สอยเข็ดรอยไร | สอดใส่สร้อยทรงกะทัดรัด | |||
รู้จัดแจงแป้งผัดพอเรื่อเรื่อ | ดังนวลเนื้อในผิวใช่นวลผัด | |||
ใส่แหวนมลฑปนพรัตน์ | ห่มผ้าอัตลัดนุ่งริ้วทอง | |||
งามทรงสมหน้าสง่างาม | เดินตามแม่ผัวออกนอกห้อง | |||
นางเม้ยรับเคียงข้างคอยประคอง | นางเยื้องย่องประจงทรงกายา | |||
เดินออกนอกชานสะท้านใจ | พระหมื่นไวยตักข้าวไว้คอยท่า | |||
แล้วส่งคันทารพีให้ศรีมาลา | พอสบตาเจ้าก็ม่อยละมุนลง | |||
ศรีมาลาอายใจมิใคร่รับ | วันทองจับข้อศอกคอยเสือกส่ง | |||
แต่พอกุมเข้าด้วยกันให้มั่นคง | ประคองค่อยเทลงในบาตรพลัน ฯ | |||
๏ ศรีมาลากับพระไวยยังใส่ค้าง | พอวอวางเข้ามาขมีขมัน | |||
พระหมื่นไวยเรียกหาบิดาพลัน | ให้เชิญทั่นท้าวนางไปข้างใน | |||
เจ้าสร้อยฟ้าถึงบ้านแหวกม่านมอง | เห็นผัวเมียเขาประคองขันข้าวใส่ | |||
ให้เคืองขุ่นงุ่นง่านทะยานใจ | แล้วกัดฟันมั่นไว้ไม่วุ่นวาย ฯ | |||
๏ พระกาญจน์บุรีมารับเจ้าสร้อยฟ้า | กับเถ้าแก่โขลนจ่าสิ้นทั้งหลาย | |||
นำหน้าพานางย่างเยื้องกราย | เชิญขรัวนายไปนั่งข้างหลังโน้น | |||
ใส่บาตรแล้วศรีมาลาเข้ามาเรือน | พระไวยเตือนสำรับเลี้ยงจ่าโขลน | |||
ชุลมุนแม่ครัววิ่งหัวโดน | จัดสำรับจับกระโถนขันน้ำวาง | |||
ข้างฝ่ายในไว้ธุระพระกาญจน์บุรี | จัดแจงมิให้มีที่ขัดขวาง | |||
พระหมื่นศรีคอยระวังข้างขุนนาง | พระพิจิตรจัดข้างเลี้ยงพระเณร | |||
ครั้นพระสงฆ์ฉันแล้วลูกศิษย์ถ่าย | ถวายจีวรเนื้อดีย้อมสีเสน | |||
พระพิจิตรจัดกระจาดอังคาสประเคน | พอจวนเพลพระก็ลาไปอารามฯ | |||
๏ จะกลับกล่าวถึงเจ้าจอมหม่อมขุนช้าง | พอเรื่อรางแสงทองส่องอร่าม | |||
สั่งให้ผูกช้างงาสง่างาม | เชือกพวนล้วนดามผ้าแดงดี | |||
สั่งแล้วอาบน้ำชำระกาย | เยื้องกรายเข้าไปจับกระจกหวี | |||
ให้คิดแค้นใจด้วยหัวตัวอัปรีย์ | วิ่งไปสีเอามินหม้อมาพอแรง | |||
ปนเข้ากับน้ำมันแล้วปั้นปีก | ยังไม่ดำซ้ำอีกออกเป็นแสง | |||
แต่สิ้นมินหม้อกว่าฝาหอยแครง | แล้วลุกมาทาแป้งเข้าเป็นฟาย | |||
นุ่งยกอย่างโบราณก้านแย่ง | ห่มส่านสีแดงดูเฉิดฉาย | |||
ดูตะวันพอสว่างขึ้นช้างพลาย | บ่าวไพร่มากมายตามพรูมา ฯ | |||
๏ ขุนช้างไสช้างมาเงิ่นเงิ่น | โด่งเดินชิดเฉียดเข้าชายป่า | |||
อ้ายเฒ่าบัวหัวล้านเป็นควาญมา | บ่าวข้าตามแน่นแล่นปะเลง | |||
ข้ามหนองขึ้นเนินดุ่มเดินหรับ | เหงื่อซับโซมตัวหัวใสเหน่ง | |||
อ้ายเฒ่าล้านควาญท้ายย้ายตามเพลง | คร่อมท้ายตะโพ้งเก้งตีตะโพง | |||
ขุนช้างขี่คอกรายขอเกราะ | ไสช้างเหยาะเหยาะยักเอวโหยง | |||
ตัดลงตรงกรุงออกทุ่งโทง | หัวเป็นเงาโง้งโงกเงกมา | |||
ตัดลงกบเจาเอาช้างข้าม | เข้าบ้านมหาพราหมณ์เลี้ยวข้างขวา | |||
ตรงเข้าภูเขาทองเดินท้องนา | ถึงกรุงศรีอยุธยาพอกลางวันฯ | |||
๏ ขุนช้างวางขึ้นบนหอกลาง | พร้อมหน้าขุนนางอยู่ที่นั่น | |||
ขุนนางที่รู้จักทักทายกัน | พระไวยผันหน้าค้อนด้วยคิดอาย | |||
ตั้งสำรับเรียงรอบนหอกลาง | เลี้ยงขุนนางมหาดเล็กสิ้นทั้งหลาย | |||
ทั้งของเคียงเรียงรินสุราราย | ขุนช้างซัดส่านกรายนั่งสุดคน | |||
วางใหญ่ส่ซ้ำทั้งสามทับ | จับตาซ่าซ่านทุกเส้นขน | |||
ปะหมูไก่ใส่สิ้นกินออกซน | กระดูกกระเดี้ยวเคี้ยวป่นเป็นแป้งไป | |||
พวกขุนนางเขายุว่าจุ้นจ้าน | ยิ่งทะยานยงโย่ยกโถใส่ | |||
ฉวยกระโถนปากแตรแร่ออกไป | ครอบหัวเข้าไว้เดินเก้กัง | |||
มือปิดก้นป้องหน้าทำตาปรือ | เฮ้ยใครดูกูคือท้าวกุฎฐัง | |||
พระนายอายหน้าว่าไม่ฟัง | ลุกขึ้นซัดเซซังสิ้นสมประดี ฯ | |||
๏ วันทองได้ยินฮาออกมาดู | แสนอดสูดังจะแทรกแผ่นดินหนี | |||
ออกจากห้องร้องตวาดชาติอัปรีย์ | ช่างทำได้ไม่มีละอายใจ ฯ | |||
๏ ขุนช้างฟังเมียว่าทำตาปรือ | อออือเออข้าหาอายไม่ | |||
ลุกขึ้นเต้นตึกตักทำหนักไป | แม่เจ้าไวยมาช่วยเป็นวานรินทร์ | |||
พี่จะเป็นเจ้าขรัวหัวละมาน | หางพานตีนหดไปหมดสิ้น | |||
พี่เคยเป็นตัวนายหลายแผ่นดิน | แล้วแลบลิ้นเกาขาคว้าวันทอง ฯ | |||
๏ วันทองผลักไสพระไวยด่า | มาเรียกข้าว่าเจ้าไวยให้จองหอง | |||
นี่คิดอยู่ข้างหนึ่งจึงลำพอง | หาไม่กูกดคอถองให้แทบตาย ฯ | |||
๏ ขุนช้างกำลังเมายืนเกาก้น | ทุดอ้ายหมาด่าคนเล่นง่ายง่าย | |||
จองหองจะถองกูหรืออ้ายพลาย | หรือเชื่อเช่นว่าเป็นนายหมาดเล็ก | |||
อ้ายชาติอกตัญญูไม่รู้คุณ | คือใครแคะค่อนขุนมาแต่เด็ก | |||
ด่าทอพ่อได้ไอ้ใจเจ๊ก | เมื่อเล็กเล็กใครเลี้ยงมึงเป็นตัว ฯ | |||
๏ พระไวยได้ฟังขุนช้างด่า | โกรธาตัวสั่นให้คันหัว | |||
อ้ายล้านจะประจานให้เจ็บตัว | วาจาชั่วถอดชื่อกูขุนนาง | |||
เอาละเป็นไรก็เป็นไป | ขัดใจกำหมัดซัดปากผาง | |||
วันทองร้องหวีดวิ่งเข้ากลาง | ขุนช้างล้มคว่ำคะมำไป ฯ | |||
๏ พวกขุนนางเข้ายึดอยู่อึดอัด | พระไวยขัดใจด่าไม่ปราศรัย | |||
วันทองร้องไห้งอว่าพ่อไวย | อย่าถือใจคนเมาเลยเจ้าคุณ | |||
ประทานโทษโปรดเถิดพ่อทูนหัว | ไม่รู้ตัวเต็มประดาจึงว้าวุ่น | |||
พ่อเงือดงดอดใจจะได้บุญ | จงอย่าหุนหันเห็นแก่มารดา ฯ | |||
๏ พระไวยขัดใจว่าเพราะแม่ | ทำอย่างนี้มีแต่จะขายหน้า | |||
นี่หากจิตคิดถึงซึ่งมารดา | หาไม่ไม่คาระนากับฝีมือ ฯ | |||
๏ พระกาญจน์บุรีชี้หน้าว่าวันทอง | อ่อน้องเจ้าเป็นวานรินทร์หรือ | |||
ช่างไม่อายไม่เจ็บเท่าเล็บมือ | แค่นมาโลมให้เขาลือเล่นกลางคน | |||
ผัวเจ้าดูถูกด่าลูกข้า | ช่างไม่ว่าห้ามปรามกันสักหน | |||
เขาทำผัวตัวเต้นเป็นชักยนต์ | แต่ลูกชายอายคนนั้นทำเนา ฯ | |||
๏ วันทองแค้นขัดสะบัดหน้า | เอาจะฆ่าก็ฆ่าเสียเถิดเจ้า | |||
หลับหูหลับตามาว่าเดา | คือใครเล่าเขาโลมให้คนลือ | |||
คะข้าแลอีวานรินทร์โขน | เป็นคนโลนเคยเล่นไม่เห็นหรือ | |||
พูดเหมือนลูกเล็กเล็กเด็กอมมือ | นี่คนดีเจียวยังดื้อเป็นคนเมา | |||
ซึ่งว่าชังลูกนักรักสามี | ข้าเห็นดีด้วยเจ้าช้างเมื่อไรเล่า | |||
มิควรหมิ่นเขาก็หมิ่นเพราะกินเมา | เขาต่อยเอาก็พอสมกับหน้าคน ฯ | |||
๏ ฝ่ายนายขุนช้างค่อยสร่างมึน | ลุกขึ้นถกเขมรเพียงง่ามก้น | |||
ชี้หน้าว่าเฮ้ยอ้ายทรชน | ต่อยกูปากป่นเพราะตึงตัว | |||
มึงเหมือนทรพีอ้ายขี้ข้า | มาไล่ขวิดบิดาบังเกิดหัว | |||
เมื่อน้อยน้อยยังจะนึกรู้สึกตัว | กูจิกหัวมึงไปควั่นเอาขอนทับ | |||
มิเชื่อพ่อก็อ้ายพลายคลำท้ายทอย | ที่ริมไรนั้นเป็นรอยไม้ซีกสับ | |||
กูคิดว่าจะฉิบหายตายลี้ลับ | มิรู้กลับมาได้ทำดุดัน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระไวยครั้นได้ฟัง | ลำเลิกถึงความหลังแค้นตัวสั่น | |||
สมาแม่แร่ขึ้นบนหอพลัน | ดิฉันบอกกล่าวท่านทั้งปวงไว้ | |||
อ้ายใจยักษ์หักคอคนทั้งเป็น | เพราะบุญมีหนีเร้นจึงรอดได้ | |||
เหน็บรั้งจังก้าเรียกข้าไท | เอาหวาอย่าไว้ชีวิตมัน | |||
พวกทนายหนุ่มหนุ่มเข้ารุมถอง | เอาจนร้องไม่ออกศอกกลุ้มสัน | |||
ถีบตกลงดินดิ้นยันยัน | พวกขุนนางกางกั้นเกะกะไป ฯ | |||
๏ วันทองโผนโจนจากหอนั่งมา | วิ่งผวากอดผัวทอดตัวไห้ | |||
นิ่งแน่แลเห็นไม่หายใจ | นางร้องไห้โฮโฮโอ้พ่อคุณ | |||
ทั้งนี้รักเมียจึงมาช่วย | จนมาม้วยบรรลัยอยู่ใต้ถุน | |||
เขาทุบดังทุบปลาไม่การุญ | พ่อสิ้นบุญเสียแล้วกระมังนา | |||
ให้คนหามไปวางไว้กลางบ้าน | บ้างทะยานขึ้นเหยียบสองต้นขา | |||
จะนวดฟั้นเท่าไรไม่ลืมตา | วันทองทอดกายากับสามี | |||
โอ้พ่อร่มโพธิ์เตี้ยของเมียแก้ว | พ่อตายแล้วเมียเห็นจะเป็นผี | |||
อันจะหาน้ำใจในบุรี | เห็นสิ้นดีอยู่เพียงพ่อโพธิ์ทอง | |||
แต่อยู่มาเป็นสิบห้าสิบหกปี | คำน้อยหนึ่งไม่มีให้เมียหมอง | |||
เมื่อคลอดลูกหนุนหลังนั่งประคอง | เห็นเมียร้องพ่อก็ร่ำพิไรวอน | |||
เมื่อคราวเมียจับไข้ไม่กินข้าว | พ่อนั่งเฝ้าเคียงคอยตะบอยป้อน | |||
เห็นเมียไม่หลับใหลก็ไม่นอน | ครั้นหน้าร้อนพ่อก็พัดกระพือลม | |||
หน้าหนาวหนาวแล่นตลอดอก | พ่อกอดกกให้นอนซ้อนผ้าห่ม | |||
ครั้นหน้าฝนฝนฝอยลงพรอยพรม | ให้อยู่ร่มปิดรอบหน้าต่างเรือน | |||
อันชายใดในพื้นปัถพี | การรักเมียแล้วไม่มีเสมอเหมือน | |||
ถึงรูปชั่วใจช่วงดังดวงเดือน | นี่กรรมเตือนให้ตามเมียมาตาย | |||
อนิจจาเมื่อมาผัวเป็นเพื่อน | กลับไปเรือนแต่ตัวดูผัวหาย | |||
ร่ำพลางกลิ้งเกลือกลงเสือกกาย | ดังจะวายชีวังไปทั้งเป็น | |||
ครั้นโศกคลายคลำผัวตัวยังอ่อน | เทพจรเบื้องหลังยังริกเต้น | |||
ทรวงอกอุ่นคลายค่อยหายเย็น | เอ๊ะเห็นฤทธิ์เมาค่อยเบาบาง | |||
สั่งบ่าวให้เอาน้ำร้อนรด | ลูบหมดไปทั้งกายหายสร่าง | |||
จะกรอกปากไม่ถนัดคัดลูกคาง | ประเดี๋ยวครางออกมาได้หายใจแรง ฯ | |||
๏ ขุนช้างฟื้นพลันกัดฟันเกรี้ยว | โกรธาตาเขียวร้องเสียงแข็ง | |||
เฮ้ยที่กูจะไม่ว่ามึงอย่าแคลง | จะสู้ซนชนกำแพงกว่าจะตาย | |||
ถึงตัวกูบรรลัยกระดูกร้อง | อันจะถองเล่นเปล่าเปล่าเจ้าอย่าหมาย | |||
มึงพวกมากฝากไว้เถิดอ้ายพลาย | ถ้าเจ้านายไม่เลี้ยงก็แล้วไป | |||
ตัวสั่นเทาเทาเรียกบ่าวข้า | จูงมือเมียมาจากบ้านใหญ่ | |||
แม่กลับบ้านก่อนอย่าร้อนใจ | ผัวจะไปคอยเฝ้าเจ้าชีวิต | |||
วันทองร้องไห้พิไรห้าม | จะเกิดความเพ็ดทูลไม่กลัวผิด | |||
คราวนี้เขาโปรดปรานเชียวชาญชิด | จงหยุดยั้งชั่งจิตให้จงดี | |||
ขุนช้างว่าถ้าพี่ไม่เมาแล้ว | น้องแก้วอย่าปรารมภ์ที่ตรงพี่ | |||
ให้เมียมาสุพรรณในทันที | ฝ่ายขุนช้างวางรี่เข้าวังใน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระไวยวรนาถ | ครั้นเสื่อมคลายวายวิวาทค่อยผ่องใส | |||
พวกขุนนางต่างคนต่างลาไป | พระไวยมานั่งที่ท้าวศรีสัจจา | |||
เจ้าขรัวนายว่าองค์พระทรงเดช | โปรดเกศตรัสใช้ให้พวกข้า | |||
พานางนารีศรีสร้อยฟ้า | ออกมาส่งให้พระนายไวย ฯ | |||
๏ ครานั้นพระไวยเจ้าพลายงาม | ฟังความยินดีจะมีไหน | |||
น้อมกายกราบถวายบังคมไป | แล้วสั่งให้ตอบแทนพวกท้าวนาง | |||
คุณท้าวเจ้าขรัวศรีสัจจา | ให้ผ้าส่านขาวดอกกับนอกอย่าง | |||
ให้พวกจ่าตานกแก้วกับขาวบาง | พวกโขลนเลวลายฉลางกับริ้วญวณ | |||
นางสาวสาวที่ตามมาสามสิบห้า | แพรผ้าให้จบจนครบถ้วน | |||
ผู้น้อยผู้ใหญ่ให้งามตามสมควร | แล้วก็ชวนกันลาเข้ามาวัง ฯ | |||
๏ พระนายจัดแจงแต่งเคหา | ให้สร้อยฟ้าอยู่ครองนั้นสองหลัง | |||
มีม่านฉากชั้นกั้นกำบัง | เตียงนอนเตียงนั่งห้องอาบน้ำ | |||
แบ่งปันกันกึ่งครึ่งเคหา | มิให้พวกศรีมาลามากรายกล้ำ | |||
ทำฝารอบขอบชิดปิดงำ | ให้อยู่จำเพาะพวกเจ้าสร้อยฟ้า | |||
ครั้นงานเสร็จแล้วก็แจกพวกวิเสท | ทั้งเงินตราผ้าขาวเทศทั่วหน้า | |||
มิให้เขาติฉินนินทา | จนชั้นข้าในเรือนก็ให้ทาน ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าพระพิจิตรบุษบา | ครั้นงานแล้วจะลาขึ้นไปบ้าน | |||
เข้ามาหาพระไวยไชยชาญ | ว่าราชการบ้านเมืองนั้นมากมาย | |||
จะไว้ใจหลวงปลัดกรมการ | ครั้นนานก็พากันฉิบหาย | |||
พ่อแม่ขึ้นมาลาพระนาย | แต่ไม่วายทำวลด้วยศรีมาลา | |||
แต่เกิดมาไม่เคยพรากจากอก | มาตกอยู่เมืองใต้ไกลหนักหนา | |||
ถ้าพลาดพลั้งยั้งคิดถึงบิดา | อนาถาไร้ญาติขาดพงศ์พันธุ์ | |||
อนึ่งพระไวยเดี๋ยวนี้มีเมียสอง | เห็นจะต้องหวงหึงเป็นแม่นมั่น | |||
กลัวจะตั้งหัวคณะระรานกัน | พ่อจงหมั่นตรองดูอย่าวู่วาม | |||
อันจตุรเคหาภริยาสอง | ดูเห็นต้องสุภาษิตประดิษฐ์ห้าม | |||
ไหนจะมีความสบายพ่อพลายงาม | ต้องว่าความเมียรักนั้นร่ำไป | |||
ลูกข้าพร้าคัดปากพูดไม่ออก | อยู่บ้านนอกไม่ทะเลาะกับใครได้ | |||
เพื่อนฝูงเขาด่าว่ากระไร | ก็เอาแต่ร้องไห้ไม่เถียงเป็น | |||
เหมือนช้างกล้าป่าเดียวมีสองตัว | สองเมียร่วมผัวคงเกิดเข็ญ | |||
ใครเงอะงั่งก็จะนั่งน้ำตากระเด็น | พ่อจงเป็นตราชูดูให้ดี ฯ | |||
๏ ครานั้นโฉมพระนายพลายงาม | ฟังความประนมก้มเกศี | |||
เจ้าคุณจงไปให้สวัสดี | อันตรงที่ศรีมาลาอย่าพรั่นท้อ | |||
ถึงลูกอ่อนไม่ฉลาดจะพลาดผิด | ฉันคงคิดถึงคุณแม่แลคุณพ่อ | |||
ฉันรักคนที่ไม่มากปากสอพลอ | อันคนฉอดพลอดผลอไม่พอใจ | |||
เจ้าประคุณการุญเป็นหนักหนา | ฉันหาลืมวาจาที่ว่าไม่ | |||
ทั้งอุปถัมภ์พ่อแม่มาแต่ไร | จะสนองคุณไปดังสัญญา ฯ | |||
๏ เออพ่อกตัญญูรู้จักคุณ | โมทนาบุญแล้วนะพ่อหนา | |||
ค่อยอยู่เถิดแม่พ่อจะขอลา | แล้วลุกมาหาลูกด้วยทันที | |||
ครั้นถึงสวมกอดลูกแก้ว | พ่อจะลาเจ้าแล้วอย่าหมองศรี | |||
จงตั้งใจจงรักภักดี | ฝากตัวสามีเจ้าสืบไป ฯ | |||
๏ ครานั้นนารีศรีมาลา | กอดตีนบิดาเข้าร้องไห้ | |||
ฉวยลำบากยากเย็นจะเห็นใคร | พ่อแม่อยู่ใกล้ได้ดูแล | |||
ถึงผัวจะรักสักเท่าไร | ก็ยังไม่เหมือนคุณพ่อกับคุณแม่ | |||
ถ้าเธอไม่เป็นธรรม์จะผันแปร | ตั้งแต่จะระกำทุกค่ำคืน ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านยายบุษบา | ปลอบลูกสาวว่าอย่าสะอื้น | |||
พ่อแม่ได้สั่งไว้ยั่งยืน | หม่อมหมื่นเธอก็รับปฏิญาณ | |||
แต่ใจแม่นี้ยังกริ่งอยู่สิ่งหนึ่ง | กลัวจะหึงกันวุ่นวายอายชาวบ้าน | |||
อันเมียสองต้องห้ามตามโบราณ | เป็นกับใครก็รำคาญไม่เว้นคน | |||
แม่สอนเจ้ามาแต่น้อยกว่าร้อยพัน | สุดสำคัญแต่ต้องอดนั้นเป็นต้น | |||
อย่าทำชั่วเพราะว่าตัวของตัวจน | เขาเปรียบเทียบจงสู้ทนต้องเกรงกลัว | |||
ใครจะด่าเจาะจังก็ช่างเขา | จงอดเอาอย่าสำออยคอยฟ้องผัว | |||
อันคนดีนานดอกจึงออกตัว | ถ้าคนชั่วเขาคงเห็นเป็นไปเอง | |||
จงอุตส่าห์เสงี่ยมคอยเจียมตน | อย่าให้คนทั้งปวงล่วงข่มเหง | |||
จงซื่อตรงต่อผัวรู้กลัวกรง | อย่าครื้นเครงด่าว่ากับข้าไท | |||
ปรนนิบัติอย่าให้ขัดน้ำใจเขา | การเรือนการเหย้าเอาใจใส่ | |||
ข้าวของสารพันหมั่นเก็บไว้ | ระวังระไวดูแลอย่าแชเชือน | |||
สอนลูกแล้วบอกอีเม้ยรับ | สั่งกำชับอีจูจงอยู่เพื่อน | |||
ทั้งอีมีอีรักช่วยตักเตือน | เอ็งเป็นคนต้นเรือนแต่ไร | |||
แล้วเรียกข้าผู้ชายที่ใช้ชิด | ชื่ออ้ายทิดกับอ้ายเต่าเอาไว้ให้ | |||
เฮ้ยพลัดบ้านเมืองมาอย่าไว้ใจ | ฉวยเกิดเหตุเภทภัยอย่าทิ้งนาย | |||
ว่าพลางสวมสอดกอดลูกแก้ว | แม่จะลาเจ้าแล้วตะวันสาย | |||
แล้วลุกลงเรือนมาทั้งตายาย | พระนายก็ตามส่งลงนาวา | |||
พระกาญจน์บุรีศรีมาลามาส่งพ่อ | น้ำตาคลอไหลซาบลงอาบหน้า | |||
นั่งชะแง้แลตามจนสุดตา | ลับแหลมแล้วก็มายังห้องนอน ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมจมื่นไวย | จำเดิมได้อยู่ครองสองสมร | |||
น้ำใจช่วงตะละดวงศศิธร | สถาพรพูนสวัสดิ์ทุกเวลา | |||
ครั้นสิ้นแสงสุริยงอัสดงดับ | ลดลับเหลี่ยมพระเมรุภูผา | |||
พระจันทรจรแจ้งกระจ่างตา | ดวงดาราไพโรจน์จำรัสแพรว | |||
เสียงเรไรหริ่งหริ่งนิ่งนอนวัน | เสนาะนักจักจั่นสนั่นแจ้ว | |||
หิ่งห้อยพรอยพราวดูวาวแวว | อยู่ที่แถวไม้กระถางวางเป็นทิว | |||
แมลงผึ้งคลึงเคล้าเอาเกสร | ภุมรินบินร่อนมาลิ่วลิ่ว | |||
เรณุฟูฟ่องละอองปลิว | พระไวยฉิวฉุนคิดถึงสองนาง | |||
โอ้ว่าป่านฉะนี้ศรีมาลา | จะนิทรานิ่งนึกคะนึงหมาง | |||
ว่าพี่นี้คลายรักหักใจจาง | จะระคางขุ่นแค้นไม่ขาดคิด | |||
นึกหรือหนึ่งเล่าเจ้าสร้อยฟ้า | นิทราอยู่คนเดียวเปลี่ยวเปล่าจิต | |||
อนึ่งนางยังไม่เคยชายเชยชิด | จะไปก่อนเล่าก็คิดถึงศรีมาลา | |||
วันเมื่อจะพรากจากพิจิตร | เจ้าก็คิดขอสัตย์ไว้หนักหนา | |||
แต่อักอ่วนป่วนใจอยู่ไปมา | จนเวลาเยื้อเยี่ยมสองยามปลาย | |||
พระจันทร์ตรงทรงกลดอยู่หมดเมฆ | อดิเรกแพร้วพร่างกระจ่างฉาย | |||
พระหมื่นไวยอาบน้ำชำระกาย | แล้วผันผายเข้าห้องศรีมาลา | |||
เห็นขวัญอ่อนนอนนิ่งสนิทหลับ | อัจกลับแสงส่องต้องนวลหน้า | |||
งามทรงสมศรีกิริยา | เป็นนวลปลั่งดังทาน้ำยาทอง | |||
พระไวยคิดพิศวาสเพียงขาดจิต | เข้าแนบชิดทรุดลงประจงต้อง | |||
ลูบไล้ทั้งหลับประคับประคอง | ไฉนน้องเจ้าจึงนิ่งสนิทนอน ฯ | |||
๏ ครานั้นนารีศรีมาลา | ลืมตาแล้วก็ลุกขึ้นจากหมอน | |||
เห็นพระนายนึกแค้นด้วยแสนงอน | คมค้อนเบือนหน้ามาพาที | |||
หม่อมขามาไยจนค่อนคืน | หลับได้ตื่นแล้วหรือจึงมานี่ | |||
เมื่อจะมาลาหล่อนแต่โดยดี | หรือหล่อนหลับลอบหนีมากระมัง ฯ | |||
๏ อนิจจาแก้วตาของพี่เอ๋ย | อย่างอนว่าไปเลยเจ้าร้อยชั่ง | |||
จริงจริงนะจะเล่าให้เจ้าฟัง | เมื่อกี้นั่งเล่นอยู่ที่หอกลาง | |||
พระพายพัดหอมหวนรัญจวนใจ | ก็เพลินชมมิ่งไม้ในกระถาง | |||
ครั้นหาวนอนแล้วจึงจรมาหานาง | ไม่ควรคลางแคลงคำระกำใจ | |||
เมื่อจากมาวันนั้นได้สัญญา | หาทำหยามข้ามหน้าของน้องไม่ | |||
นี่เปล่าเปล่าเดาว่าน่าน้อยใจ | มาปรับไหมจูบนางข้างละที ฯ | |||
๏ ไฮ้หม่อมอย่ามาเล่นฉันเช่นนั้น | ไม่น่าขันมาปล้ำทำจู้จี้ | |||
นี่แลโจรจับได้ไม่เฆี่ยนตี | ถ้าเบาไม้แล้วไม่มีที่จะรับ | |||
กระนั้นสิหม่อมหมื่นจึงขึ้นหน้า | เหตุว่าเขาขี้คร้านจะไปจับ | |||
เชื่อว่าใครไม่เห็นเป็นที่ลับ | จึงแกล้งกลับมาพาโลทำโพคลุม | |||
หม่อมขาอย่าทำจำใจอยู่ | ด้วยรูปฉันมันไม่สู้จะชวยชุ่ม | |||
ที่น่าพูดจงไปพรอดนั่งกอดกุม | ที่น่าจูบจงไปจุ้มอยู่จนจาง ฯ | |||
๏ ชะคารมคารี้เจ้าศรีมาลา | ช่างเจรจาตัดพ้อเล่นทุกอย่าง | |||
พี่ยอมแพ้แล้วไม่แก้สำนวนนาง | พลางก็กางมือกอดไว้กับกาย | |||
เกิดโกลาฟ้าลั่นสนั่นเสียง | เปรียงเปรี้ยงอสนีคะนองสาย | |||
พิรุณโรยโปรยสาดกระเซ็นปราย | พระพายพัดพ่างเพียงพิภพพัง | |||
ลั่นพิลึกครึกครื้นคลื่นระลอก | แฉะกระฉอกฟองเฟอะขึ้นฟูมฝั่ง | |||
ตลิ่งกระทบกลบกระแทกกระเทือนดัง | พอฝนถั่งลมก็ถอยผ็อยนิทรา ฯ | |||
ตอนที่ ๓๔ ขุนช้างเป็นโทษ
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | ปิ่นปักหลักโลกนาถา | |||
สถิตเหนือพระแท่นแว่นฟ้า | พอสุริยาเร่งรถขึ้นเรืองรอง | |||
ถึงเวลาพระก็ฟื้นตื่นไสยาสน์ | ลงจากอาสน์เสด็จออกนอกห้อง | |||
นางในถ้วนหน้าข้าทูลละออง | หมอบชม้อยคอยจ้องประจำงาน | |||
พระชำระสระสรงทรงสุคนธ์ | ปรุงปนประทิ่นกลิ่นหอมหวาน | |||
ทรงพระแสงเนาวรัตน์ชัชวาล | พระภูบาลออกท้องพระโรงเรือง | |||
ประทับพระที่นั่งบัลลังอาสน์ | อำมาตย์หมอบนอบน้อมประนมเนื่อง | |||
ตรัสประภาษราชการบ้านเมือง | แล้วชำเลืองมาข้างเหล่ามหาดชา ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนช้างเห็นว่างจังหวะ | ขอเดชะฝ่าพระบาทปกเกศา | |||
ชีวิตอยู่ใต้พระบาทา | แต่เกล้ากระหม่อมเป็นข้าฝ่าละออง | |||
อยู่ในมหาดชากว่าแปดปี | แต่หวายเปรียะยังไม่มีได้ถูกต้อง | |||
บัดนี้จมื่นไวยใจคะนอง | ทุบถองกระหม่อมฉันแทบบรรลัย | |||
แต่ต่อยแล้วมิหนำซ้ำท้าทาย | ถึงเจ้านายของมึงหากกลัวไม่ | |||
บ่าวไพร่กว่าร้อยต่อยร่ำไป | พวกขุนนางขวางไว้จึงไม่ตาย | |||
เมื่อขณะทุบถองร้องด่าว่า | ก็ต่อหน้าขุนนางสิ้นทั้งหลาย | |||
ได้ห้ามปรามรู้เห็นเป็นมากมาย | แม้นมิสัตย์ขอถวายซึ่งชีวี ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงธรรม | ได้ทรงฟังถ้อยคำขุนช้างว่า | |||
พระนิ่งนึกตรึกความตามกิจจา | ข้อที่ว่าทุบตีทีจะจริง | |||
อันจะร้องท้าทายถึงนายเจ้า | มันจะเสกใส่เอาให้ใหญ่ยิ่ง | |||
เหตุที่เกิดความยุ่งขึ้นนุงนิง | เพราะอ้ายนี่ถือหยิ่งว่าพ่อเลี้ยง | |||
ครั้นเต็มเมาเข้าจะว่ามันหยาบคาย | อ้ายไวยอายจึงทะเลาะเบาะถียง | |||
เกินกันแต่ละน้อยค่อยเลียบเคียง | ครั้นด่ามันมันก็เหวี่ยงเอาสาใจ | |||
แม้นจะนิ่งความไว้ไม่ไต่ถาม | อ้ายหมื่นไวยก็จะหยามขึ้นหยาบใหญ่ | |||
จะถือว่าเจ้ารักแล้วหนักไป | โกรธใครก็จะพาลพาโล | |||
พระตริเสร็จตรัสสั่งตำรวจใน | ไปหาตัวจมื่นไวยเข้ามานี่ | |||
ตำรวจรับสั่งวิ่งเป็นสิงคลี | ครั้นถึงที่บ้านนอกบอกพระไวย | |||
รับสั่งให้หาไปในบัดนี้ | ขุนช้างทูลคดีเป็นความใหญ่ | |||
พระไวยแจ้งกิจจาเรียกข้าไท | ลงบันไดเดินเหย่าเข้าวังพลัน | |||
นุ่งสมปักลนลานเป็นการเร็ว | เอาผ้ากราบคาดเอวขมีขมัน | |||
เข้าไปเฝ้าองค์พระทรงธรรม์ | บังคมคัลคอยฟังพระโองการ ฯ | |||
๏ ครานั้นพระปิ่นนรินทร์ราช | มีพระสิงหนาทอยู่ฉาดฉาน | |||
เหวยอ้ายไวยอย่างไรเมื่อทำงาน | จึงฮึกหาญข่มเหงอ้ายขุนช้าง | |||
เตะต่อยแล้วมิหนำซ้ำท้าทาย | จ้วงจาบเจ้านายได้ทุกอย่าง | |||
ใครเล่าเป็นเจ้านายของอ้ายช้าง | เอ็งอ้างว่าไม่กลัวคือตัวใคร | |||
พวกขุนน้ำขุนนางเข้ากางกั้น | แต่กระนั้นมึงยังหาฟังไม่ | |||
ถีบถองต่อยชกตกบันได | จริงเท็จเป็นกระไรให้ว่ามา ฯ | |||
๏ พระไวยทูลตามข้อขอเดชะ | ข้าพระพุทธเจ้าไม่มุสา | |||
ซึ่งขุนช้างกราบทูลพระกรุณา | เสกแสร้งแกล้งว่าเอาแต่ดี | |||
ที่ข้อว่าหยาบช้าเป็นสาหัส | แม้นเป็นสัตย์จงประหารให้เป็นผี | |||
ขุนช้างไปช่วยงานเมื่อวานนี้ | รับประทานอาหนีเข้าตึงตน | |||
กล่าวคำหยาบช้าสารพัน | กระหม่อมฉันห้ามปรามเป็นหลายหน | |||
เข้ายุดหยอกมารดาต่อหน้าคน | เหลือทนแล้วจึงได้วิวาทกัน | |||
โป้งโหยงหยาบคายเป็นหลายข้อ | ด่าทอถอดชื่อกระหม่อมฉัน | |||
เต็มอายต่อหน้าธารกำนัล | แล้วเสกสรรลำเลิกโพนทะนา | |||
เมื่อครั้งนั้นกระหม่อมฉันได้เจ็ดปี | ขุนช้างพาไปฆ่าตีที่ในป่า | |||
จนสลบซบอยู่กับพสุธา | กลัวมิตายหมายว่าจะไม่ลับ | |||
ทั้งสลบตบต่อยปะเตะปะตะ | แสบศีรษะซ้ำเอาไม้ซีกสับ | |||
ลากตัวไปในรกยกขอนทับ | แล้วขุนช้างวางกลับไปบ้านตน | |||
เดชะบุญกระหม่อมฉันไม่บรรลัย | ฟื้นได้ซานมาหาชีต้น | |||
ซ่อนตัวอยู่กับท่านอาจารย์นน | มิให้คนเห็นตัวด้วยกลัวตาย | |||
เมื่อวานนี้อ้ายขุนช้างอ้างความหลัง | พูดดังดังได้ยินสิ้นทั้งหลาย | |||
กระหม่อมฉันบอกกล่าวทั้งไพร่นาย | แม้นมิสัตย์ขอถวายซึ่งชีวา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงภพ | ฟังจบที่พระไวยให้การว่า | |||
ข้างต้นความดูเห็นเป็นอาญา | แต่ข้างปลายกลายมานครบาล | |||
จำเลยแก้เป็นฉกรรจ์มหันตโทษ | จำจะซักข้างโจทย์ให้แตกฉาน | |||
เฮ้ยขุนช้างหมื่นไวยมันให้การ | ว่าประมาณอายุสักเจ็ดปี | |||
มึงแกล้งชวนเอาไปในป่าใหญ่ | เอาขอนทับไว้แล้วแล่นหนี | |||
มันสู้นิ่งความมากว่าแปดปี | จนวานนี้เอ็งว่าต่อหน้าคน | |||
ข้อหยาบช้าสาหัสเขาปฏิเสธ | เกิดวิวาทขึ้นเพราะเหตุนี้เป็นต้น | |||
มันบอกกล่าวเล่าทุกตัวตน | นี่แน่ะเฮ้ยเหตุผลเป็นอย่างไร ฯ | |||
๏ ขุนช้างได้ฟังรับสั่งถาม | เห็นว่าความเก่าเกิดก็หวั่นไหว | |||
ด้วยจริงใจในอกก็ตกใจ | เหงื่อไหลโซมตัวกลัวอาญา | |||
แข็งใจกราบทูลไปทันที | พระบารมีปกเกล้าเหนือเกศา | |||
ซึ่งพระไวยกราบทูลพระกรุณา | ล้วนเสกแสร้งแกล้งว่าใช่ความจริง | |||
ซึ่งจะได้ตีฆ่าหามิได้ | แกล้งกล่าวเสกใส่ให้ใหญ่ยิ่ง | |||
ถ้าฆ่าตีก็จะมีที่อ้างอิง | ไยจึงนิ่งความไว้ไม่กราบทูล | |||
ครั้นเกล้ากระหม่อมฟ้องหาว่าต่อยตบ | แกล้งจะกลบความร้ายให้หายสูญ | |||
จึงเสกแสร้งใส่เอาเป็นเค้ามูล | เอาความเท็จเพ็ดทูลแต่โดยเดา | |||
กระหม่อมฉันจะได้ว่าหามิได้ | พระหมื่นไวยยุแยงแกล้งมอมเหล้า | |||
ล่อให้พูดจาประสาเมา | แล้วเอาความร้ายมาป้ายทา | |||
อันที่ท้าถึงเจ้ากล่าวสาหัส | แม้นมิสัตย์ขอพระองค์ลงโทษา | |||
ถ้าแม้นไม่จริงจังดังเจรจา | รับพระราชอาญาจนบรรลัย ฯ | |||
๏ พระองค์ทรงภพตบพระเพลา | กูจะเอาความจริงให้จงได้ | |||
เฮ้ยขุนนางข้าเฝ้าอย่าเข้าใคร | บรรดาไปช่วยงานเมื่อวานนี้ | |||
ใครรู้เห็นเป็นอย่างไรให้เร่งว่า | อย่าเห็นแก่หน้าขุนนางแลเศรษฐี | |||
ขุนช้างว่าหมื่นไวยไล่ทุบตี | พาทีถึงเจ้ากล่าวหยาบคาย | |||
ข้างหมื่นไวยว่าขุนช้างอ้างความหลัง | พูดดังดังได้ยินสิ้นทั้งหลาย | |||
เมื่อเล็กเล็กเอาไปล้างให้วางวาย | บุญตัวไม่ตายจึงรอดมา | |||
เมื่อขุนช้างอ้างว่าฆ่าหมื่นไวย | เต็มเมาหรือไม่สู้หนักหนา | |||
อย่าได้เข้าข้างใครให้เจรจา | จงเร่งว่าอย่าได้เห็นกับบุคคล ฯ | |||
๏ บรรดาข้าเฝ้าเหล่าไปงาน | จึงกราบทูลพระโองการตามเหตุผล | |||
กระหม่อมฉันจำไว้ได้ทุกคน | เป็นต้นด้วยขุนช้างไปช่วยงาน | |||
รับพระราชทานเหล้าจนเมามาย | แล้ววุ่นวายว่ากล่าวห้าวหาญ | |||
ขึ้นตั้งท่าอวดตนว่าหนุมาน | แล้วพูดจาเกี้ยวพานถึงวันทอง | |||
พระนายอายหน้าว่าไม่ฟัง | จึงตึงตังต่อยตีกันมี่ก้อง | |||
ขุนช้างโป้งปากหากคะนอง | ร้องลำเลิกความหลังออกคลั่งไป | |||
ว่าเมื่อพระไวยอยู่กับมารดา | ขุนช้างเอาไปฆ่าในป่าใหญ่ | |||
เอาไม้ซีกสับลงที่ตรงไร | เอาขอนทุ่มทับไว้จะให้ตาย | |||
พระไวยขัดใจก็เรียกบ่าว | มี่ฉาวชกซ้ำล้มคว่ำหงาย | |||
ซึ่งจะท้าว่ากล่าวถึงเจ้านาย | กระหม่อมฉันทั้งหลายไม่ได้ยิน | |||
แต่ขุนช้างกินเหล้าเมาเต็มประดา | จนเปลื้องผ้าจากกายความอายสิ้น | |||
ไม่เข้าใครใส่กลเป็นมลทิน | พระภูมินทร์จงทราบพระบาทา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงธรรม | พิเคราะห์คำให้การพยานว่า | |||
วินิจฉัยไปด้วยพระปรีชา | ซึ่งข้อที่หยาบช้านั้นสำคัญ | |||
ความโจทย์กล่าวหาเป็นสาหัส | แม้นเป็นสัตย์ก็โทษถึงอาสัญ | |||
ถ้าไม่เป็นสัตย์โทษโจทย์เหมือนกัน | อีกข้อนั้นซึ่งหาว่าฆ่าตี | |||
ถ้าแพ้กับทัณฑ์บนจนกับพยาน | ผู้ทำผิดต้องประหารให้เป็นผี | |||
แต่หากเบาด้วยเมาอยู่เต็มที | ไม่รู้สึกสมประดีก็ว่าไป | |||
จำจะซักหมื่นไวยให้กระจ่าง | จะเอาโทษขุนช้างยังไม่ได้ | |||
จึงตรัสว่าฮ้าเฮ้ยอ้ายหมื่นไวย | เมื่อแรกไอ้ขุนช้างมันฆ่าตี | |||
ไยจึงนิ่งความไม่กล่าวหา | พึ่งมาว่าเมื่อเขาฟ้องไม่ต้องที่ | |||
ที่ป่าไหนมันฆ่าว่าให้ดี | มีผู้รู้เห็นบ้างหรืออย่างไร ฯ | |||
๏ ขอเดชะปกเกล้าปกกระหม่อม | ด้วยยังย่อมเมื่อเขาทำจำไม่ได้ | |||
รู้แต่ว่าป่าหลังสุพรรณไป | ครั้นจะอ้างก็ไม่มีใครมา | |||
จะร้องก็ไม่ได้ไกลบ้านคน | ครั้นจะหนีก็ไม่พ้นเป็นกลางป่า | |||
เดชะบุญปลดปลอดรอดชีวา | จะไปร้องฟ้องหาก็เด็กนัก | |||
ไม่รู้ว่ารั้วแขวงกรมการ | โรงศาลอยู่ที่ไหนไม่รู้จัก | |||
จึงมิได้ว่าขานมานานนัก | จนอารักษ์ดลใจให้พาที | |||
จะอ้างอิงนั้นไม่ได้เป็นในป่า | เหลือปัญญาขอพิสูจน์ไปตามที่ | |||
ถ้าแม้นแพ้แก่สัตย์ดำนัทที | ขอถวายชีวีพระทรงธรรม์ ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ทรงธรณิน | ได้ฟังสิ้นถ้อยคำหมื่นไวยนั่น | |||
จึงมีสีหนาทประภาษพลัน | อ้ายไวยนั้นมันว่าก็ชอบกล | |||
แล้วตรัสว่าฮ้าเฮ้ยอ้ายขุนช้าง | มึงอย่าพลางเล่าไขไปแต่ต้น | |||
ถ้าแม้นว่าทำผิดคิดผ่อนปรน | อย่าอั้นอ้นบอกให้หมดอย่าปดกู ฯ | |||
๏ ขุนช้างฟังพระองค์ทรงถามซัก | เป็นทุกข์หนักมือประนมก้มหน้าอยู่ | |||
เหงื่อไหลหน้าหลังลงพรั่งพรู | เป็นครู่จึงทูลพระกรุณา | |||
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท | องค์พระหริราชนาถา | |||
ซึ่งถ้อยคำจมื่นไวยใช่สัจจา | เสกแสร้งใส่ว่าสารพัน | |||
ที่จะได้ตีรันนั้นหามิได้ | กล่าวพอให้กลบความกระหม่อมฉัน | |||
ขุนนางเข้ากับพระไวยไปทั้งนั้น | เพราะเป็นพวกเดียวกันกับพระนาย | |||
กระหม่อมฉันจนใจไร้พวกพ้อง | ได้อยู่ก็แต่ต้องพิสูจน์ถวาย | |||
ถ้าแม้นแพ้จงล้างให้วางวาย | กระหม่อมฉันขอถวายซึ่งชีวี ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงชัย | วินิจฉัยในสำนวนถ้วนถี่ | |||
อ้ายขุนช้างเอามุสามาพาที | ในคดีพิรุธทุกประการ | |||
แต่พยานร่วมกันยังติดใจ | ผิดวิสัยความหลวงกระทรวงศาล | |||
เดี๋ยวนี้แพ้ทัณฑ์บนจนพยาน | อ้างเองยังกลับค้านทุกคนไป | |||
ถึงจะพูดจาประสาเมา | ก็จัดเอาเป็นข้อพิรุธได้ | |||
ถ้าสั่งกรมเมืองให้ติดไม้ | ครู่เดียวก็จะได้เท็จจริงกัน | |||
แต่ครั้งนี้อ้ายไวยสิโปรดปราน | ไพร่บ้านพลเมืองก็ลือลั่น | |||
จะเป็นเข้ากับอ้ายไวยใส่ความมัน | จริงเท็จทั้งนั้นใครจะรู้ | |||
จำจะต้องพิสูจน์ตามกระบวน | ให้มันสิ้นสำนวนที่ต่อสู้ | |||
เท็จจริงข้างใครให้คนดู | ตัวกูจึงจะพ้นคนนินทา | |||
จึงตรัสว่าฮ้าเฮ้ยอ้ายขุนช้าง | มึงอ้างข้าราชการก็พร้อมหน้า | |||
กูได้ถามความข้อว่าหยาบช้า | พวกขุนนางต่างว่าไม่ได้ยิน | |||
อันความฉกรรจ์มหันตโทษ | พยานโจทย์กลับเจือจำเลยสิ้น | |||
ครั้นอ้างเขาไม่รับก็กลับลิ้น | ปลิ้นไปติดใจค้านพยานตัว | |||
กูเห็นแน่แท้เท็จสิ้นทั้งหมด | ถ้าใส่บทแล้วก็โทษถึงตัดหัว | |||
ข้อหยาบช้ามึงมุสาไม่เกรงกลัว | แล้วทำชั่วถอดชื่ออ้ายหมื่นไวย | |||
ข้อหาว่าทุบตีข้อนี้รับ | ที่ถอดชื่อพอจะปรับกันลงได้ | |||
ข้อหยาบช้าโทษมึงถึงบรรลัย | จะยกโทษให้ไอ้ขุนช้าง | |||
แต่ข้อหาฆ่าฟันนั้นลับนาน | ไม่มีพยานขอพิสูจน์ทั้งสองข้าง | |||
ยังไม่แน่ข้างหมื่นไวยหรืออ้ายช้าง | มิพิสูจน์ไม่กระจ่างซึ่งกิจจา | |||
ปรึกษาเสร็จตรัสสั่งสี่พระครู | ไปดูให้โจทย์จำเลยมันจัดหา | |||
เครื่องสำหรับดำน้ำให้ทำมา | ไปปักหลักลงที่หน้าตำหนักแพ | |||
เข้ามณฑลกันวันพรุ่งนี้ | จนถึงที่วันดำน้ำเจ็ดค่ำแน่ | |||
ให้กำกับกันอยู่คอยดูแล | ให้พร้อมแต่เวลาบ่ายโมงปลาย | |||
พนักงานกรมไหนให้ไปดู | พระครูจัดแจงแต่งบัตรหมาย | |||
คุมตัวไว้ในวังทั้งสองนาย | พระสั่งเสร็จผันผายเข้าข้างใน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระครูผู้รับสั่ง | ออกมานั่งยังที่ทิมดาบใหญ่ | |||
จัดแจงแต่งหมายแยกย้ายไป | สั่งให้เรียกหลักนครบาล | |||
ให้ทำมะรงสำรองไว้สองหลัก | แล้วปักมณฑลและทำศาล | |||
เสมียนเขียนฟ้องคำให้การ | สุภาการให้อยู่ดูเป็นกลาง | |||
มิให้ส่งข้าวปลามาแต่บ้าน | ขุนศาลหาให้กินทั้งสองข้าง | |||
ให้โจทก์จำเลยหาผ้าขาวบาง | มาปูกลางศาลทั้งสองรองบัตรพลี | |||
หมากพลูใส่กระทงประจงเจียน | ทั้งธูปเทียนดอกไม้บายศรี | |||
เครื่องตั้งสังเวยกรุงพาลี | มีมะกรูดส้มป่อยกระแจะจันทน์ | |||
ผ้าขาวนุ่งผ้าขาวห่มพรมลาด | เสื่อสาดสายสิญจน์ให้จัดสรร | |||
หม้อข้าวหม้อแกงใหม่และหม้อกรัณฑ์ | กระโถนขันน้ำตั้งทั้งกระแซง | |||
กระติกเหล้าข้าวสารเชิงกรานใหม่ | ข่าตระไคร้หอมกระเทียมพริกแห้ง | |||
ครกสากคนใช้ไก่พะแนง | ทั้งสองแห่งจัดหาให้เหมือนกัน | |||
ขุนช้างกับพระไวยได้บัญชา | ก็รีบสั่งบ่าวข้าขมีขมัน | |||
บัดเดี๋ยวใจได้มาสารพัน | ถ้วนจบครบครันดังบัญชา | |||
เข้ามณฑลเสร็จถึงเจ็ดค่ำ | นักการทำไม้หลักไปปักท่า | |||
ที่ตำหนักแพโถงโรงนาวา | ทำมะรงหาฆ้องไว้คอยตี | |||
คำสาบานแช่งชักอาลักษณ์อ่าน | ตระลาการอ่านสำนวนถ้วนถี่ | |||
เอาเชือกผูกเอวไว้ให้ดิบดี | ประจำที่คอยท่าเสด็จมา ฯ | |||
๏ พวกชายหญิงวิ่งพรูดูดำน้ำ | ทั้งสาวหนุ่มกลุ้มกล้ำมาหนักหนา | |||
ผู้ใหญ่เด็กเจ๊กฝรั่งทั้งละว้า | แขกข่ามอญลาวมี่ฉาวไป | |||
นางสาวสาวอยู่ในเรือนเห็นเพื่อนอึง | ลุกทะลึ่งออกมาไม่ช้าได้ | |||
ชวนเพื่อนเตือนกันให้รีบไป | ดูพระไวยกับขุนช้างดำน้ำกัน | |||
ที่เฒ่าแก่อยากดูไม่อยู่บ้าน | อุ้มลูกจูงหลานเป็นจ้าละหวั่น | |||
ที่โรงเรือเหลือหลามคนครามครัน | ยัดเยียดเบียดกันอยู่วุ่นวาย | |||
พวกท้าวนาวในวังทั้งปวง | โขลนจ่าข้าหลวงสิ้นทั้งหลาย | |||
รู้ว่าขุนช้างกับพระนาย | เวลาบ่ายวันนี้จะดำน้ำ | |||
ต่างอาบน้ำทาแป้งแต่งตัว | หวีหัวนุ่งห่มให้คมขำ | |||
บ้างหาหมากใส่ซองสองสามคำ | บ้างชักนำเพื่อนฝูงจูงมือมา | |||
ถึงที่ตำหนักแพแออัด | เบียดเสียดเยียดยัดกันหนักหนา | |||
ออกเพียบแพแซ่ซ้องท้องคงคา | คอยท่าว่าเมื่อไหร่จะได้ดำ | |||
ข้างพวกคนเหล่าเป็นชาวเรือ | ทั้งใต้เหนือตลอดจอดออกส่ำ | |||
เรือเล็กเล็กน้อยน้อยออกลอยลำ | แน่นแม่น้ำเซ็งแซ่อยู่แจจัน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงสมเด็จพระพันวษา | ปิ่นปักอยุธยามหาสวรรค์ | |||
เนาในปราสาทแก้วอันแพรวพรรณ | ฝูงกำนัลนบนอบหมอบแน่นไป | |||
ทรงพระราชดำริตริตรึก | ระลึกถึงพลายงามเป็นความใหญ่ | |||
ดำน้ำกับขุนช้างจะอย่างงไร | จนบ่ายได้เวลาสามโมงปลาย | |||
จึงชำระสระสรงทรงเครื่อง | อร่ามเรืองเนาวรัตน์จำรัสฉาย | |||
ทรงพระแสงกุดั่นพรรณราย | ผันผายจากที่มนเทียรทอง | |||
ขึ้นเกยลาทรงมหายานุมาศ | พร้อมอำมาตย์ราชกระวีมี่ก้อง | |||
ประโคมแตรสังข์ประดังกลอง | มาตามท้องฉนวนลงซึ่งคงคา ฯ | |||
๏ ครั้นถึงจึงเสด็จขึ้นบนอาสน์ | หมู่อำมาตย์บังคมก้มหน้า | |||
ตำรวจใหญ่ลงในเรือกัญญา | ทอดทุ่นกระสุนง่าว่าห้ามคน | |||
ทำมะรงลงเรือขึ้นเหนือน้ำ | หลายลำขึ้นล่องออกสับสน | |||
สิ่งอันใดลอยตายในชายชล | ก็เสือกไสให้พ้นใส่แผ้วพาน | |||
พระผู้จอมนรินทร์ปิ่นธรณี | พระจึงมีพระราชบรรหาร | |||
ไปบอกพระครูหวาอย่าช้านาน | เวลากาลจะอัสดงให้ลงดำ ฯ | |||
๏ พระครูผู้รับสั่งก็บังคับ | ตามตำรับอัยการโบราณร่ำ | |||
พระหมื่นไวยให้ขึ้นข้างเหนือน้ำ | ขุนช้างดำฝ่ายใต้ให้สมควร | |||
เดิมขุนช้างเป็นโจทย์ก็จริงแล | แต่ไต่ถามคดีกันถี่ถ้วน | |||
เป็นสัตย์รับรองท้องสำนวน | ข้อพิสูจน์นี้เป็นส่วนของพระไวย | |||
กับอนึ่งซึ่งเขาเป็นขุนนาง | ขุนช้างต้องดำข้างฝ่ายใต้ | |||
ปรึกษาเห็นพร้อมกันในทันใด | แล้วจึงคุมออกไปนอกมณฑล | |||
พาดำเนินย่างย่องทั้งสองนาย | ผู้คุมรายกำกับอยู่สับสน | |||
ชำระตัวสระหัวทั้งสองคน | ชนไก่แล้วก็ลงในคงคา | |||
ผู้คุมกุมยึดหางเชือกไว้ | จับลำไม้ไผ่คอยพาดบ่า | |||
ทั่ริมฝั่งตั้งขันนาฬิกา | ทำมะรงตั้งท่าเข้าข่มคอ | |||
ตีฆ้องโหม่งดำลงทั้งสองข้าง | พอขุนช้างดำมุดก็ผุดฝอ | |||
ผู้คุมเอาโซ่ใหญ่เข้าใส่คอ | พวกคนดูด่าทอออกเพรียกมา | |||
พวกผู้คุมกลุ้มฉุดไม่ละวาง | ขุนช้างร้องโปรดก่อนพุทธเจ้าข้า | |||
พระไวยคนนี้มีวิชา | เป่าซ้ำทำมาให้ต้องตน | |||
ฤทธิเดชพระเวทเข้าจับใจ | ทนไม่ไหวหัวพองสยองขน | |||
เอาจำเลยขึ้นเหนือน้ำดำข้างบน | เป่ามนตร์ลงมาข้าติดใจ ฯ | |||
๏ พระองค์ทรงฟังขุนช้างว่า | ชะต้าอ้ายเจ้าสำนวนใหญ่ | |||
แพ้เขาเฝ้าว่าโว้เว้ไป | กลับพาโลว่าอ้ายไวยใช้เวทมนตร์ | |||
อ้ายสิ้นคิดมันก็บิดเอาซึ่งหน้า | มันแกล้งว่าจะให้ซ้ำดำอีกหน | |||
อ้ายโกหกแผ่นดินลิ้นกะลาวน | ชอบแต่เฆี่ยนเสียให้ป่นคนเช่นนี้ | |||
แต่ซึ่งว่าให้จำเลยขึ้นเหนือน้ำ | ถ้อยคำมันร้องนั้นต้องที่ | |||
จะตัดสินก็ไม่สิ้นซึ่งราคี | ด้วยคดีเกิดขึ้นเพราะตัวมัน | |||
ให้มันขึ้นเหนือน้ำดำอีกที | จงจัดแจงเดี๋ยวนี้ขมีขมัน | |||
ถ้าแพ้เขาอีกครั้งอย่าฟังกัน | เอาไปฟันเสียบเสียให้สาใจ ฯ | |||
๏ พระครูรับพระโองการลนลานมา | อย่าช้านายช้างมาดำใหม่ | |||
เอาชือกผูกบั้นเอวเร็วพระไวย | คุมออกไปยุดหลักทั้งสองนาย | |||
เอาไม่พาดบ่าพลันแล้วลั่นฆ้อง | ข่มคอลงทั้งสองแล้วหย่อนสาย | |||
พวกคนดูชุลมุนอยู่วุ่นวาย | ทั้งเรือพายแทรกเสียดเข้าเบียดกัน | |||
ด้วยขุนช้างนั้นพิรุธทุจริต | พอดำมิดไม่ถึงสักกึ่งกั้น | |||
บันดาลเห็นเป็นงูเข้ารัดพัน | ตัวสั่นกลัวสุดผุดลนลาน | |||
พระกาญจน์บุรีโดดน้ำตามลงไป | อุ้มพระไวยขึ้นมาต่อหน้าฉาน | |||
เหล่าพวกผู้คุมนครบาล | เอาคลังใส่ไอ้หัวล้านลากขึ้นมา ฯ | |||
๏ พระองค์ทรงกริ้วกระทืบบาท | ยมราชเอาไปจำให้แน่นหนา | |||
อ้ายเสี้ยนหนามแผ่นดินลิ้นลังการ | น้อยหรือฆ่าคนได้ช่างไม่คิด | |||
แต่กูมันยังคดปดเล่นได้ | มันถือใจว่าไม่มีอาชญาสิทธิ์ | |||
ลอยหน้าท้าทายถวายชีวิต | เดี๋ยวนี้ผิดแพ้เขาเข้าสองยก | |||
บังอาจฆ่าคนได้แล้วไม่สา | แต่กูมันยังกล้ามาโกหก | |||
อย่าเอาไว้ให้พื้นแผ่นดินรก | ไปผ่าอกเสียอย่าให้ดูเยี่ยงกัน | |||
มันเอาอ้ายไวยไปฆ่าที่ป่าไหน | เอามันไปเสียบเสียที่ป่านั่น | |||
สั่งเสร็จเสด็จจากที่นั่งพลัน | ขึ้นยานุมาศผาดผันเข้าวังใน ฯ | |||
๏ ฝ่ายท่านจตุสดมภ์ยมราช | ประกาศสั่งขุนหมื่นน้อยใหญ่ | |||
คนโทษถึงมรณาอย่าไว้ใจ | ไปส่งให้เจ้ากระทรวงหลวงพัศดี | |||
ทำมะรงลงเหล็กตะลีตะลาน | ประทุกประทาห้าประการไม่พ้นหนี | |||
โซ่ตรวนขื่อคาไม่ปรานี | สี่ทำมะรงจูงมาพาไปคุก | |||
ขุนช้างถูกจำตรวนถ้วนสามชั้น | เคยย่างยาวก้าวสั้นก็ล้มปุก | |||
ผู้คุมรุมไล่ก็ไม่ลุก | ทำเป็นจุกเจ็บท้องร้องอื้ออึง | |||
ทำมะรงโกรธาคว้ามัดหวาย | ป่ายลงทั้งกำดังต้ำผึง | |||
ตีซ้ำคว่ำหงายตายช่าง*** | ผิดก็เสียเฟื้องหนึ่งบอกศาลา | |||
ขุนช้างเข้าใจเขาไม่ฟัง | ลุกขึ้นตึงตังทำเป็นบ้า | |||
อ้าปากแลบลิ้นทำปลิ้นตา | แก้ผ้านุ่งทิ้งวิ่งโทงโทง | |||
หยิบเอาก้อนขี้หมาไล่ปาคน | เอาหัวชนเสาเล่นเต้นเหยงเหยง | |||
ลากตรวนโกรกกรากปากร้องเพลง | คนดูอัดวัดเป้งเข้าด้วยคา | |||
ทำมะรงร้องขู่ว่าอุแหม่ | กูจะแก้มึงด้วยหวายให้หายบ้า | |||
อ้ายอัปรีย์เอาขี้เที่ยวไล่ปา | แก้ผ้าวิ่งโขนออกโพนเพน | |||
พวกผู้หญิงแลมาหันหน้าหนี | สิ้นที่ร้องเบื่อมันเหลือเถน | |||
อ้ายพวกหนุ่มคะนองมันร้องเกน | ไม่โจงกระเบนเสียบ้างนี่อย่างไร | |||
พวกบ่าวมากับนายพลอยขายหน้า | วิ่งพวยฉวยผ้ามานุ่งให้ | |||
ทำมะรงฉุดคร่าพาตัวไป | เอาเข้าในคุกขึงจำตรึงตรา | |||
คาไม้จริงยิงประตูดูให้มั่น | โซ่ร้อยแหล่งแกล้งสรรให้แน่นหนา | |||
เอาอิฐหนุนก้นโงโยงหัวคา | ใส่ขื่อมือยื้อคร่าให้ตึงตัว ฯ | |||
๏ ขุนช้างต้องพันธนาถึงสาหัส | มือรัดเอวโยงเอาโคลงหัว | |||
จะไหวติงก็ไม่ได้ใจสั่นรัว | โอ้ตัวกูถึงวันจะบรรลัย | |||
ผุดปากภาวนาหน้าเป็นหลัง | ปิติสังขาเยเผลไพล่ | |||
การะมังยังมุระกุสะไล | มอลอกอขอไขคัจไฉมิ | |||
หิรูปักขาหิราปักเข | สัมตันสันเตเยตะสิ | |||
มุดทะกังทั้งกระทะคั้นกะทิ | ต่อยปะเตะตกกะติปากแตกตาย | |||
ทำมะรงโกรธด่าอึงมี่ | สวดอะไรอย่างนี้อ้ายฉิบหาย | |||
เขาจะได้ตรวจคนบ่นวุ่นวาย | มึงไม่รู้ฤทธิ์หวายหรืออึงไป | |||
ขุนช้างร้องขอโทษอย่าโกรธขึ้ง | เจ็ดตำลึงสิบสลึงลูกจะให้ | |||
จงลดก่อนผ่อนคลายให้หายใจ | แล้วจะให้ค่าลดสิบตำลึง | |||
เออกระนั้นสิอย่าโกรธโทษถึงตาย | ครั้นมิทำนายเขาโกรธขึ้ง | |||
พอให้เขาตรวจตราอย่าอื้อึง | ลั่นกุญแจแล้วจึงจะเคลื่อนคลาย ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงวันทองผ่องโสภา | อยู่เคหานอนไม่หลับกระสับกระส่าย | |||
ด้วยผัวไปเป็นความกับลูกชาย | จะดีร้ายเป็นอย่างไรจึงไม่มา | |||
พออ้ายพลับกลับไปร้องไห้งอ | คุณพ่อเป็นความแพ้คุณแม่ขา | |||
ส่งเข้าคุกประทุกทั้งขื่อคา | พระพันวษากริ้วกราดคาดโทษตาย | |||
เขาเอาไว้สุดคนก้นกระชุง | จำต้องนั่งยังรุ่งจนเช้าสาย | |||
แขวนจนก้นพ้นกระดานสงสารนาย | เมื่อฉันมายังไม่คลายอีกขอรับ ฯ | |||
๏ วันทองฟังเล่าบอกข่าวผัว | ทอดตัวร้องไห้จนลมจับ | |||
กลิ้งเกลือกเสือกนอนอ่อนพับ | ดังจะดับชีวันไปทันใด | |||
พวกบ่าวข้อนอกตกตะลึง | อื้ออึงอัดแอเข้าแก้ไข | |||
นวดเหยียบนัดยาทาน้ำดอกไม้ | พอลมถอยค่อยได้สติพลัน | |||
ลุกขึ้นลนลานคลานเข้าห้อง | ประจงจ้องจับกุญแจไขกำปั่น | |||
เปิดฝาคว้าทองสองสามอัน | แล้วหยิบขันปากสลักตักเงินตรา | |||
ใส่ลงในกระทายเป็นหลายขัน | ปากนั้นกอบเบี้ยเกลี่ยปิดหน้า | |||
แล้วส่งให้อีเขียดกระเดียดมา | ทั้งข้าวปลาหาไปใส่ขันโต | |||
แล้วจัดแจงสำรองของกำนัล | เนื้อฉมันน้ำผึ้งเป็นครึ่งโถ | |||
ให้บ่าวเที่ยวหาซื้อปลาเทโพ | บรรทุกเรือแตงโมแล้วรีบมา ฯ | |||
๏ ครั้นถึงจอดเรือแล้วรีบไป | ข้าไทตามหลังมาหนักหนา | |||
บ้างแบกโต๊ะของกำนัลขันข้าวปลา | ถึงริมคุกขึ้นหาพัศดีกลาง | |||
ของกำนัลให้ท่านพัศดี | คุณพ่อได้ปรานีดีฉันบ้าง | |||
จะขอไปส่งข้าวเจ้าขุนช้าง | คุกตะรางอย่างไรฉันไม่เคย | |||
พัศดีเรียกทำมะรงเนียม | ช่วยพาพี่แกไปเยี่ยมผัวหน่อยเหวย | |||
ทำมะรงรับคำนำลุกเลย | เข้าประตูหับเผยถึงคุกใน | |||
วันทองร้องง้อพ่อทำมะรง | ช่วยถอดลงมากินข้าได้หรือไม่ | |||
ทำมะรงว่าไปเยี่ยมกันก็ไป | ถอดไม่ได้โทษอย่างนี้พี่วันทอง ฯ | |||
๏ วันทองแข็งใจเข้าในคุก | แลเห็นคนทนทุกข์สยดสยอง | |||
น่าเกลียดน่ากลัวหนังหัวพอง | ผอมกร่องร่างกายคล้ายสัตว์นรก | |||
เขาใส่คาอาหารไม่พานไส้ | เห็นวันทองขึ้นไปไหว้ประหลก | |||
เอากล้วยทิ้งชิงกันตัวสั่นงก | ใครมีแรงแย่งฉกเอาไปกิน | |||
สุดแต่มีของให้แล้วไม่เลือก | จนชั้นเปลือกก็ไม่ปอกขยอกสิ้น | |||
เป็นหิดฝีพุพองหนองไหลริน | เหม็นกลิ่นราวกับศพตลบไป | |||
ตัวเล็นเป็นขนไต่บนกบาล | นางก้าวหลีกลนลานไม่ดูได้ | |||
อุตส่าห์ทนจนถึงก้นคุกใน | ขุนช้างเห็นเมียไปร้องไห้แง | |||
วันทองเห็นผัวทอดตัวไห้ | ขุนช้างใส่งองอกระป้อกระแป้ | |||
น้ำตาน้ำมูกตะละลูกกะแอ | แม่เอ๋ยแม่ทิ้งเสียได้ไม่พุทโธ | |||
จะเดินเหินเข้าที่ไหนไปอย่าช้า | แม่เมตตาอย่าให้ตายในตรวนโซ่ | |||
เอาเงินใส่ในถุงให้โตโต | แล้วไปหาเจ๊กโล้ซื้อเหล้ามา | |||
โอ๊ยลืมไปแล้วแม่ช่วยแก้ไข | แม่จะเดินข้างในหรือข้างหน้า | |||
ของกำนัลเลือกสรรจัดเอามา | ทั้งข้าวปลาเหล้าแกล้มหมูแนมญวน ฯ | |||
๏ วันทองขัดใจอ้ายคนเคอะ | ยังซมเซอะไปจนคอจะเด็ดด้วน | |||
เพราะกินเหล้าจึงต้องเข้าถึงโซ่ตรวน | ยังหลงเล่อลามลวนข้างเหล้ายา | |||
ขุนช้างเห็นเมียโกรธขอโทษตัว | แม่ต่อยหัวพี่สักโขกก็ไม่ว่า | |||
ใจคอท้อแท้แล้วแม่อา | ได้หน้าลืมหลังพลั้งพลาดไป | |||
จะด่าทออย่างไรก็ไม่ว่า | เอาเงินตราค่าคุกนั้นมาให้ | |||
กับค่าลดสิบตำลึงให้ถึงใจ | เสียไหนเสียไปเถิดแม่คุณ | |||
วันทองตอบว่าอย่าปรารมภ์ | เงินทองมีถมอย่าว้าวุ่น | |||
ข้าจะเอาออกไปให้นายมุล | ถึงเจ้าคุณบ้านนอกก็ปรานี ฯ | |||
๏ ทำมะรงให้อ้ายรอดถอดขื่อคา | กินข้าวปลาเถิดพี่ช้างอย่างครางอี๋ | |||
เป็นตายอยู่กับตัวกลัวไยมี | จะด้นดำดินหนีได้เมื่อไร ฯ | |||
ขุนช้างฟังว่าคว้าขามข้าว | เปิบใส่ปากเปล่าไม่กลืนได้ | |||
เคี้ยวข้าวเป็นแป้งคอแห้งไป | เอาน้ำใส่กลั้วคอให้พอกลืน | |||
จะกินได้แต่ละคำเอาน้ำกลั้ว | คิดถึงตัววางชามข้าวเฝ้าสะอื้น | |||
วันทองปลอบว่าอุตส่าห์กลืน | ขืนใจกินเถิดพ่อพอมีแรง | |||
เห็นผัวยังนั่งครางนางช่วยป้อน | เอาช้อนตักแกงแย้แก้คอแห้ง | |||
ทั้งเนื้อพล่าปลาไหลไก่พะแนง | ขุนช้างแข็งใจกินสิ้นชามโคม | |||
แล้วสั่นหัวบอกพลันเท่านั้นเถิด | ประดักประเดิดพี่นักอย่าหักโหม | |||
คิดถึงตัวขึ้นมาน้ำตาโซม | โถมกอดคอภรรยาแล้วว่าวาน | |||
แม่คุณทูนหัวจงรีบไป | เอาเงินติดท่านข้างในให้ว่าขาน | |||
เพ็ดทูลผ่อนปรนช่วยบนบาน | ขอประทานโทษตนให้พ้นภัย | |||
วันทองว่าหาใครไม่ได้ดอก | หนามยอกเอาหนามบ่งคงจะได้ | |||
วิ่งนักมักล้มก้มซวนไป | จะอ้อนวอนพ่อไวยดูสักที | |||
ขุนช้างว่าจริงแท้แม่ทูนหัว | จะรอดตัวก็เพราะแม่ช่วยแก้พี่ | |||
ถ้าพ้นโทษโปรดถอดรอดชีวี | แม่ไปไหนจะให้ขี่ไปต่างวัว ฯ | |||
๏ วันทองว่าอย่าสำออยไปหน่อยเลย | พวกข้าไม่เคยขี่คอผัว | |||
สิ้นชีวิตไม่คิดเสียดายตัว | อย่ากลัวเลยอย่างไรไม่ทิ้งกัน | |||
ว่าพลางหยิบเงินในกระทาย | ให้กับนายทำมะรงขมีขมัน | |||
ทั้งนายร้อยนายใหญ่ให้ทั่วกัน | คนโทษทัณฑ์ให้ทานทุกคนไป | |||
ฝากฝังสามีแล้วมิช้า | ก็ลุกลาออกจากในคุกใหญ่ | |||
ให้เงินพัศดีกลางนางรีบไป | ขึ้นบนเรือนพระไวยมิได้ช้า | |||
โถมเข้าสวมสอดกอดพระไวย | ร้องไห้แทบสลบซบหน้า | |||
พระหมื่นไวยสงสารกับมารดา | วันทาทำเป็นถามไปฉับพลัน | |||
หม่อมแม่ทุกข์เข็ญเป็นอย่างไร | อย่าร้องไห้จงบอกออกกับฉัน | |||
หรือปู่ย่าตายายวายชีวัน | ไม่ทันบอกออกก็ร่ำแต่โศกี | |||
วันทองจึงว่าพ่อทูนเกล้า | ทุกข์แม่เทียมเท่าจะเป็นผี | |||
เหลียวไม่เห็นใครในครั้งนี้ | ซึ่งจะช่วยชีวีให้รอดตาย | |||
เห็นแต่ดวงใจพระไวยแม่ | ที่จะแก้ทุกข์ร้อนให้ผ่อนหาย | |||
เจ้าขุนช้างคนคดประทษร้าย | เพราะเช่นนั้นอันตรายจึงถึงตัว | |||
เหมือนนมยานกลิ้งอกแม่หมกไหม้ | ถึงชั่วดีเขาก็ได้มาเป็นผัว | |||
ครั้นจะนิ่งให้ตายอายติดตัว | จะเชิดชื่อลือชั่วทั่วกัลป์ปา | |||
เหตุเท่านี้จึงนิ่งทิ้งไม่ได้ | แม่จนใจจึงซานด้านมาหา | |||
พ่อคุณจงการุญกับมารดา | ช่วยทูลขอชีวาขุนช้างไว้ | |||
พระองค์ทรงพระกรุณา | คงหาขัดอัธยาพ่อพลายไม่ | |||
ขุนช้างสั่งถึงพ่อขออภัย | อย่ามีบาปกราบไหว้พ่อหมื่นมา | |||
นอกกว่าพ่อใครจะขอเห็นไม่ได้ | พ่อจงช่วยชีวิตไว้ใช้ต่างข้า | |||
อันที่ได้ผิดพลั้งแต่หลังมา | พ่ออย่าผูกเวรานั้นสืบไป ฯ | |||
๏ ครานั้นพระไวยพลายงาม | จึงตอบความมารดาหาช้าไม่ | |||
แม่มาอ้อนวอนว่าข้าทำไม | ข้ามิได้ฟ้องหานายขุนช้าง | |||
ข้างเขาอีกจะเอาชีวิตข้า | ไปกราบทูลพระพันวษาเอาทุกอย่าง | |||
แกล้งใส่ความจะให้ตายวายวาง | นี่หากมีที่อ้างจึงพ้นภัย | |||
เมื่อขุนช้างเขาพาไปฆ่าตี | ความนี้แม่ก็ทราบอยู่เต็มไส้ | |||
จะสงสารฉันบ้างก็เป็นไร | นี่หากฟื้นขึ้นได้จึงรอดตัว | |||
เมื่อลูกชายจะตายแม่ไม่คิด | แม่รักแต่ชีวิตข้างท่านผัว | |||
จึงเที่ยวท่องร้องไห้ไม่คิดตัว | เพราะว่ากลัวขุนช้างจะบรรลัย | |||
พระองค์กำลังทรงพิโรธ | จะให้ทูลขอโทษอย่างไรได้ | |||
เหมือนโถมถาผ่าขวางเข้ากลางไฟ | เป็นจนใจลูกแล้วนะมารดา ฯ | |||
๏ วันทองกอดพระไวยร้องไห้กลิ้ง | ความทั้งนี้ก็จริงเหมือนเจ้าว่า | |||
เมื่อขุนช้างฆ่าพ่อแทบมรณา | มารดาก็แจ้งอยู่เต็มใจ | |||
อุตส่าห์พาพ่อไปฝากวัด | เอาผ้าตัดทำธงแก้สงสัย | |||
แม่ไม่เห็นเจ้าสักวันปิ้มบรรลัย | นอนร้องไห้รักร่ำทุกค่ำคืน | |||
อันผัวรักก็หาหนักกว่าลูกไม่ | ลงบันไดสามขั้นเป็นคนอื่น | |||
ถึงว่ารักจริงจังดังจะกลืน | ก็ไม่เหมือนพ่อหมื่นของแม่เลย | |||
ซึ่งเคืองขุ่นขุนช้างที่ล้างผลาญ | ก็นมนานมาแล้วนะลูกเอ๋ย | |||
เอาบุญอย่าอาฆาตจองเวรเลย | ถ้าพ่อเฉยแล้วไม่ช้าท่านฆ่าแท้ | |||
เหมือนปล่อยปลาปล่อยเต่าเอากุศล | ให้พ้นจากความเข็ญเห็นกับแม่ | |||
สู้อุตส่าห์เลี้ยงเจ้าเฝ้าดูแล | ตั้งแต่พ่อยังอยู่ในอุทร | |||
เจ้าเกิดมามารดาถนอมเจ้า | บดข้าวสามเวลาอุตส่าห์ป้อน | |||
อาบน้ำใส่เปลเห่ให้นอน | แต่อ่อนอ่อนจนได้วัฒนามา | |||
ขุนช้างอุตส่าห์หาข้าน้อยน้อย | ให้พ่อไวยใช้สอยเป็นหนักหนา | |||
เอาทองคำทำกำไลสร้อยเสมา | ตะกรุดโทนถายาล้วนอย่างดี | |||
ยามตรุษสงกรานต์ไปลานวัด | สารพัดใส่กายให้ถ้วนถี่ | |||
บ่าวเล็กเล็กเหลือหลามตามมากมี | ให้นางศรีแม่นมนั้นอุ้มไป | |||
ยามขุนช้างรักใคร่ใครจะเหมือน | ชั่วแต่ดาวกับเดือนไม่ให้ได้ | |||
แต่ของมีในสุพรรณสิ่งอันใด | ถ้าชอบใจแล้วไม่ขัดให้ขุ่นมัว | |||
ที่ร้ายนั้นก็มีดีก็มาก | พ่อหากเป็นทารกไม่รู้ทั่ว | |||
อย่าคุมโทษโปรดเถิดให้เป็นตัว | เหมือนทูนหัวแทนคุณของมารดา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระไวยก็ใจอ่อน | ได้ฟังมารดาอ้อนวอนว่า | |||
ครั้นจะนิ่งให้ขุนช้างวางชีวา | ก็สงสารมารดานั้นสุดใจ | |||
ถ้าบรรลัยไหนจะมีซึ่งความสุข | จะทุกข์ทุกข์เข็ญเข็ญจนเป็นไข้ | |||
ผูกคอล้มก้มคอตายวุ่นวายไป | บาปกรรมก็จะได้กับเราแท้ | |||
ถึงขุนช้างชั่วช้าเหมือนหมาหมู | เขาก็รู้อยู่ทั่วว่าผัวแม่ | |||
จะนิ่งเสียทีเดียวไม่เหลียวแล | ก็ตั้งแต่คนเขาจะนินทา | |||
คิดแล้วจึงว่าแก่แม่ไป | เป็นจนใจด้วยพระเกิดเกศา | |||
ครั้นจะขัดเหมือนไม่คิดถึงมารดา | จะแกล้งให้เวทนากับลูกชาย | |||
แม่จงกลั้นน้ำตาอย่าร้องไห้ | ลูกจะไปเพ็ดทูลขยับขยาย | |||
ถ้าท่านโปรดก็จะปลอดไม่วอดวาย | ถึงเวรตายแล้วก็จนพ้นกำลัง ฯ | |||
๏ เออพ่อคุณการุญให้จงได้ | แม่จะให้ค่าทูลสักสองชั่ง | |||
แม้นพ่อช่วยเห็นไม่ม้วยไปจริงจัง | คงประทังคลายโทษเพราะโปรดปราน ฯ | |||
๏ ชะน้อยหรือมารดาช่างว่าได้ | นึกว่าไก่แล้วจะล่อด้วยข้าวสาร | |||
เห็นว่าลูกนี้จนอ้างบนบาน | เหตุว่าท่านเศรษฐีมีเงินทอง | |||
เพราะได้เงินสองชั่งจึงตั้งบ้าน | ปลูกเรือนฝากระดานขึ้นห้าห้อง | |||
เลี้ยงเมียเลี้ยงข้ามาเป็นกอง | เพราะเงินทองสินบนของมารดา ฯ | |||
๏ เจ้าประคุณทูนหัวของแม่เอ๋ย | อย่าถือเลยแม่นี้เหมือนคนบ้า | |||
ใจไม่อยู่กับตัวชั่วช้า | พูดออกมาไม่ทันคิดแม่ผิดครัน | |||
อย่าช้าเชิญพ่อไปขอโทษ | เหมือนหนึ่งโปรดแม่ให้ไปสวรรค์ | |||
จะได้บุญนั้นนับตั้งกัปกัลป์ | พ่อจอมขวัญรีบจรอย่านอนใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นพระไวยชัยชาญ | ความสงสารมารดาน้ำตาไหล | |||
จึงปลอบแม่อย่าละเหี่ยเสียน้ำใจ | ลูกจะไปทูลขอดูตามบุญ | |||
ร้องสั่งศรีมาลาหาล่วมหมาก | ทั้งห่อผ้ากานากร่มญี่ปุ่น | |||
กล้องยาแดงหุ้มปลายนพคุณ | บ่าวใส่ยาฉุนทั้งอุดเตา | |||
แล้วพระไวยอาบน้ำชำระกาย | กรายเข้าเคหาผลัดผ้าเก่า | |||
นุ่งม่วงสีไพลไหมตะเภา | ห่มหนังไก่เปล่าปักเถาแท้ | |||
พลางยิ้มหยอกหยิกแก้มศรีมาลา | แล้วรีบมาหอนั่งสั่งท่านแม่ | |||
ก็รีบออกจากเรือนไม่เชือนแช | ข้าไทอัดแอตามติดมา | |||
ประเดี๋ยวหนึ่งถึงในพระราชฐาน | ทั้งข้าราชการก็พร้อมหน้า | |||
ครั้นแสงสุริโยทัยได้เวลา | ก็เข้ามาคอยเฝ้าพระทรงธรรม์ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระจอมจักรพรรดิ | ผ่านสมบัติอยุธยามหาสวรรค์ | |||
สถิตเหนือแท่นแก้วแพรวพรรณ | สะพรั่งพร้อมพระกำนัลนารี | |||
ล้วนแรกรุ่นรูปร่างเหมือนอย่างวาด | เอี่ยมสะอาดนวลละอองผ่องศรี | |||
บำเรอบาทมุลิกาเจ้าธานี | บรรทมอยู่ในที่แท่นทองทรง | |||
ครั้นอรุณรุ่งรางสว่างฟ้า | พระตื่นจากนิทรามาที่สรง | |||
เย็นฉ่ำน้ำกุหลาบอาบพระองค์ | เสด็จทรงภูษาอันอำไพ | |||
พระหัตถ์ซ้ายกรายจับพระแสงเพชร | จึงเสด็จออกท้องพระโรงใหญ่ | |||
ประทับเหนือแท่นแก้วอันแววไว | พร้อมไปด้วยอำมาตย์ราชกระวี | |||
เจ้าพระยาแลพระยาพระหลวง | ทุกกระทรวงเฝ้าประณตบทศรี | |||
คอยฟังรับสั่งพระพันปี | เงียบสงัดอยู่ในที่พระโรงชัย | |||
พระองค์มีสีหนาทประภาษถาม | ความฎีการาษฎรเรื่องน้อยใหญ่ | |||
ต้องตำแหน่งขุนนางข้างกรมใด | ก็ทูลความตามในตำแหน่งตน ฯ | |||
๏ ครานั้นจมื่นไวยวรนาถ | เห็นว่างราชการกราบลงสามหน | |||
ขอเดชะฝ่าละอองบาทยุคล | พระเดชพระคุณเป็นพ้นคณนา | |||
ควรมิควรกระหม่อมฉานประทานโทษ | ขอพระองค์จงโปรดซึ่งเกศา | |||
ด้วยขุนช้างโทษถึงมรณา | ต้องพระราชอาญาอยู่คุกใน | |||
บัดนี้มารดาข้าพระพุทธเจ้า | โศกเศร้าแทบชีวิตจะตักษัย | |||
เฝ้าวิงวอนเช้าค่ำร่ำไรไป | มิได้รับประทานซึ่งข้าวปลา | |||
ถ้าไม่รับกราบทูลฝ่าธุลี | เห็นท่วงทีมิตายก็เป็นบ้า | |||
ก็สุดแสนสงสารด้วยมารดา | กระหม่อมฉันเกิดมาจนบัดนี้ | |||
แต่เจ็ดขวบก็พรากจากกันไป | ยังมิได้แทนคุณเท่าเกศี | |||
ขอประทานโทษขุนช้างไว้สักที | เหมือนหนึ่งช่วยชีวีของมารดา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์พงศ์กษัตริย์ | ทราบรหัสแห่งคำหมื่นไวยว่า | |||
พระนิ่งนึกตรึกไตรอยู่ไปมา | ครั้นมิไว้ชีวาอ้ายขุนช้าง | |||
อีวันทองผ่ายผอมตรอมใจตาย | อ้ายลูกชายก็จะต้องหมองหมาง | |||
ครั้นระคายอายหน้าเพื่อนขุนนาง | จะสะเทิ้นเหินห่างไปทุกวัน | |||
นึกว่าเอาใจไว้ใช้สอย | แต่น้อยน้อยมือศึกมันแข็งขัน | |||
เป็นหน่อเนื้อเชื้อทหารชาญฉกรรจ์ | อย่าให้มันละห้อยน้อยวิญญาณ์ | |||
จึงตรัสว่าฮ้าเฮ้ยอ้ายหมื่นไวย | อีแม่มึงนั้นกูให้ชังน้ำหน้า | |||
เอาอ้ายช้างเป็นผัวแสนชั่วช้า | ช่างไม่คิดถึงหน้าอ้ายหมื่นไวย | |||
โดยอ้ายช้างล้มตายไปเป็นผี | จะไปดีเสียกับพ่อมึงก็ได้ | |||
มาเฝ้าซ้าซี้พิรี้พิไร | ให้โปรดไอ้ใจบาปคนหยาบช้า | |||
แต่ลูกเลี้ยงมันยังพาไปฆ่าตี | มึงไม่มีใจโกรธดอกหรือหวา | |||
มาขอไว้ให้หนักพสุธา | ชอบแต่ฆ่าอย่าให้ดูเยี่ยงกัน ฯ | |||
๏ ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท | องค์อิศราธิราชรังสรรค์ | |||
ซึ่งข้อนายขุนช้างล้างชีวัน | กระหม่อมฉันก็แสนจะแค้นใจ | |||
ก็มั่นหมายแก้แค้นแทนขุนช้าง | แต่มารดามาขวางเป็นข้อใหญ่ | |||
จะทิ้งให้โศกศัลย์บรรลัย | ก็เหมือนไม่คิดถึงคุณของมารดา | |||
จึงกลั้นโกรธกราบทูลบทมาลย์ | ขอรับพระราชทานซึ่งโทษา | |||
ขอพระองค์ทรงพระกรุณา | แก่ข้าพระพุทธเจ้าผู้ภักดี ฯ | |||
๏ จึงตรัสว่าดูราอ้ายหมื่นไวย | โทษอ้ายช้างนั้นไซร้ถึงเป็นผี | |||
จะยกให้ไม่ประหารผลาญชีวี | ทั้งนี้เพราะกูเอ็นดูมึง | |||
อีแม่จะได้หายคลายโศกเศร้า | เพราะลูกเต้าได้ดีเป็นที่พึ่ง | |||
อันคนโทษทุจริตผิดลึกซึ้ง | โทษถึงชีวันจะบรรลัย | |||
กูนี้ไม่พอใจให้ใครแก้ | มึงจะแทนคุณแม่จึงยกให้ | |||
ตรัสแล้วสั่งราชรองเมืองไป | เร่งถอดอ้ายขุนช้างในฉับพลัน | |||
แล้วจงส่งตัวให้จมื่นไวย | อย่าให้ใครคิดเอาค่าลดหลั่น | |||
พระสั่งเสร็จเสด็จจากพระโรงคัล | กรายพระกรจรจรัลเข้าวังใน ฯ | |||
๏ พระรองเมืองรับพระราชโองการ | ลนลานออกมาหาช้าไม่ | |||
บ่าวตามเป็นพรวนชวนพระไวย | ตรงไปประทับหับเผยพลัน | |||
ใช้ทนายวุ่นวิ่งเป็นสิงคลี | รีบไปเรียกพัศดีขมีขมัน | |||
ให้ทำมะรงไปถอดขุนช้างนั้น | เข้าช่วยกันอึดอัดตัดตรวนพลาง | |||
บ้างถอดคาหาไม้มาต่อยขื่อ | อึงอื้อโปกโป้งเสียงโกร่งกร่าง | |||
ประเดี๋ยวหลุดล่อนกายนายขุนช้าง | พยุงย่างย่องแย่งแข้งขาพัน | |||
ทำมะรงนำมาหน้าหับเผย | เงยหน้าเห็นพระรองเมืองนั่น | |||
กับพระหมื่นไวยนั่งใกล้กัน | งกงันหมอบกรานคลานเข้าไป | |||
ทั้งรักทั้งกลัวหมอบตัวราบ | กราบจนหัวคะมำตำต้นขา | |||
พระนายอายใจไม่เจรจา | ก็อำลาท่าราชรองเมืองพลัน | |||
ขุนช้างงกเงินเดินไม่ได้ | พระไวยให้ทำเปลขมีขมัน | |||
ให้พวกบ่าวเข้าหามมาตามกัน | ขุนช้างนั่งมาในนั้นหนวดพรุมพราม | |||
เหมือนตุ๊กตากวางตุ้งดูพุงพลุ้ย | หัวทุยผมเถิกเป็นถ่อง่าม | |||
แดดส่องต้องแสงดูแดงวาม | ผู้คนดูหลามตลอดมา ฯ | |||
๏ ครู่หนึ่งถึงจวนพระหมื่นไวย | วันทองเห็นดีใจเป็นหนักหนา | |||
เข้าพยุงจูงผัวให้ไคลคลา | ขุนช้างกอดภรรยาเข้าร่ำไร | |||
วันทองเจรจาว่ากับผัว | เจ้ารอดตัวเพราะพ่อหรือมิใช่ | |||
เออแม่ชีวันไม่บรรลัย | เพราะพ่อคุณโปรดให้รอดชีวิต | |||
ตั้งแต่วันนี้ไปในเบื้องหน้า | จะมอบตัวเป็นข้าจนดับจิต | |||
ไปศึกเสือเหนือใต้ลูกไม่คิด | จะตามติดไปทุกอย่างไม่ห่างกัน | |||
พระไวยสั่งสร้อยฟ้าศรีมาลา | จัดสำรับข้าวปลาประจงสรร | |||
บัดเดี๋ยวใจได้มาสารพัน | แล้วเชิญวันทองรับประทาน | |||
สำรับคาวของเคียงเรียงวาง | ก็เชื้อเชิญขุนช้างกินอาหาร | |||
บริโภคอิ่มหนำสำราญ | ยกสำรับของหวานมาวางพลัน | |||
ทั้งผัวเมียอิ่มหนำสำราญใจ | เข้าไปหาพระไวยในเรือนนั่น | |||
ว่าพ่อจงเป็นสุขทุกนิรันดร์ | นับวันคงจะได้เป็นใหญ่โต | |||
จงผ่องแผ้วแคล้วคลาดราชภัย | ขอให้เป็นบรมสุโข | |||
ลือเลื่องกระเดื่องดินภิญโญ | จะได้พึ่งร่มโพธิ์พ่อสืบไป ฯ | |||
๏ พระไวยน้อมคำนับรับพรพลาง | ขุนช้างเอาเงินทองออกกองให้ | |||
ยี่สิบชั่งหวังจะแทนคุณพระไวย | พ่อเอาซื้อข้าวใหม่ไว้เลี้ยงกัน | |||
พระไวยสั่งว่าอย่าเอาไว้ | เดี๋ยวนี้มีใช้อยู่ดอกทั่น | |||
เอาเงินให้อย่างนี้ไม่ดีครัน | เหมือนหนึ่งฉันเอาสินบนกับมารดา ฯ | |||
๏ วันทองรู้กิริยาอัชฌาสัย | กอบเงินใส่กระทายส่งให้ข้า | |||
ครั้นตะวันจวนค่ำก็อำลา | ลงนั่งในนาวาข้าเต็มลำ | |||
ทั้งหญิงชายพายตะเบ็งเร่งตะบึง | กระทั่งถึงสุพรรณไม่ทันค่ำ | |||
ยายเทพทองมองเห็นแกเต้นรำ | ลูกรอดจำมาได้ดีใจแท้ | |||
รีบร้อนต้อนรับขึ้นบนเรือน | บรรดาเพื่อนเคหามาเยี่ยมแซ่ | |||
บนหอนั่งเยียดยัดออกอัดแอ | พูดกันแต่เย็นเยี่ยมเข้ายามปลาย | |||
ขุนช้างสั่งศรพระยาหาน้ำมนตร์ | มารดตนเสียให้จัญไรหาย | |||
นิมนต์สงฆ์สวดสะเดาะที่เคราะห์ร้าย | ซัดน้ำชำระกายถ้วนสามวัน ฯ | |||
ตอนที่ ๓๕ ขุนช้างถวายฎีกา
๏ จะกล่าวถึงโฉมเจ้าพลายงาม | เมื่อเป็นความชนะขุนช้างนั่น | |||
กลับมาอยู่บ้านสำราญครัน | เกษมสันต์สองสมภิรมย์ยวน | |||
พร้อมญาติขาดอยู่แต่มารกา | นึกนึกตรึกตราละห้อยหวน | |||
โอ้ว่าแม่วันทองช่างหมองนวล | ไม่สมควรเคียงคู่กับขุนช้าง | |||
เออนี่เนื้อเคราะห์กรรมนำมาผิด | น่าอายมิตรหมองใจไม่หายหมาง | |||
ฝ่ายพ่อมีบุญเป็นขุนนาง | แต่แม่ไปแนบข้างคนจังไร | |||
รูปร่างวิปริตผิดกว่าคน | ทรพลอัปรีย์ไม่ดีได้ | |||
ทั้งใจคอชั่วโฉดโหดไร้ | ช่างไปหลงรักใคร่ได้เป็นดี | |||
วันนั้นแพ้กูเมื่อดำน้ำ | ก็กริ้วซ้ำจะฆ่าให้เป็นผี | |||
แสนแค้นด้วยมารดายังปรานี | ให้ไปขอชีวีขุนช้างไว้ | |||
แค้นแม่จำจะแก้ให้หายแค้น | ไม่ทดแทนอ้ายขุนช้างบ้างไม่ได้ | |||
หมายจิตคิดจะให้มันบรรลัย | ไม่สมใจจำเพาะเคราะห์มันดี | |||
อย่าเลยจะรับแม่กลับมา | ให้อยู่ด้วยบิดาเกษมศรี | |||
พรากให้พ้นคนอุบาทว์ชาติอัปรีย์ | ยิ่งคิดยิ่งมีความโกรธา | |||
อัดอึดฮึดฮัดด้วยขัดใจ | เมื่อไรตะวันจะลับหล้า | |||
เข้าห้องหวนละห้อยคอยเวลา | จวนสุริยาเลี้ยวลับเมรุไกร | |||
เงียบสัตว์จัตุบททวิบาท | ดาวดาษเดือนสว่างกระจ่างไข | |||
น้ำค้างตกกระเซ็นเย็นเยือกใจ | สงัดเสียงคนใครไม่พูดจา | |||
ได้ยินเสียงฆ้องย่ำประจำวัง | ลอยลมล่องดังถึงเคหา | |||
คะเนนับยามได้สามครา | ดูเวลาปลอดห่วงทักทิน | |||
ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง | จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดเมฆสิ้น | |||
จึงเซ่นเหล้าข้าวปลาให้พรายกิน | เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว | |||
ลงยันต์ราชะเอาปะอก | หยิบยกมงคลขึ้นหัว | |||
เป่ามนตร์เบื้องบนชอุ่มมัว | พรายยั่วยวนใจให้ไคลคลา | |||
จับดาบเคยปราบณรงค์รบ | เสร็จครบบริกรรมพระคาถา | |||
ลงจากเรือนไปมิได้ช้า | รีบมาถึงบ้านขุนช้างพลัน ฯ | |||
๏ เห็นคนนอนล้อมอ้อมเป็นวง | ประตูลั่นมั่นคงขอบรั้วกั้น | |||
กองไฟสว่างดังกลางวัน | หมายสำคัญตรงมาหน้าประตู | |||
จึงร่ายนมตรามหาสะกด | เสื่อมหมดอาถรรพ์ที่ฝังอยู่ | |||
ภูตพรายนายขุนช้างวางวิ่งพรู | คนผู้ในบ้านก็ซานเซอะ | |||
ทั้งชายหญิงง่วงงมล้มหลับ | นอนทับคว่ำหงายก่ายกันเปอะ | |||
จี่ปลาคาไฟมันไหลเลอะ | โงกเงอะงุยงมไม่สมประดี | |||
ใช้พรายถอดกลอนถอนลิ่ม | รอยทิ่มถอดหลุดไปจากที่ | |||
ย่างเท้าก้าวไปในทันที | มิได้มีใครทักแต่สักคน | |||
มีแต่หลับเพ้อละเมอฝัน | ทั้งไฟกองป้องกันทุกแห่งหน | |||
ผู้คนเงียบสำเนียงเสียงแต่กรน | มาจนถึงเรือนเจ้าขุนช้าง | |||
จุดเทียนสะกดข้าวสารปราย | ภูตพรายกระโดดเรือนสะเทือนผาง | |||
สะเดาะดาลบานเปิดหน้าต่างกาง | ย่างเท้าก้าวขึ้นร้านดอกไม้ | |||
หอมหวนอวลอบบุปผชาติ | เบิกบานก้านกลาดกิ่งไสว | |||
เรณูฟูร่อนขจรใจ | ย่างเท้าก้าวไปไม่โครมคราม | |||
ข้าไทนอนหลับลงทับกัน | สะเดาะกลอนถอนลั่นถึงชั้นสาม | |||
กระจกฉากหลากสลับวับแวมวาม | อร่ามแสงโคมแก้วแววจับตา | |||
ม่านมู่ลี่มีแกประจำกั้น | อัฒจันทร์เครื่องแก้วก็หนักหนา | |||
ชมพลางย่างเยื้องชำเลืองมา | เปิดมุ้งเห็นหน้าแม่วันทอง | |||
นิ่งนอนอยู่บนเตียงเคียงขุนช้าง | มันแนบข้างกอดกลมประสมสอง | |||
เจ็บใจดังหัวใจจะพังพอง | ขยับจ้องดาบง่าอยากฆ่าฟัน | |||
จะใคร่ถีบขุนช้างที่กลางตัว | นึกกลัวจะถูกแม่วันทองนั่น | |||
พลางนั่งลงนบนอบอภิวันท์ | สะอื้นอั้นอกแค้นน้ำตาคลอ | |||
โอ้แม่เจ้าประคุณของลูกเอ๋ย | ไม่ควรเลยจะพรากจากคุณพ่อ | |||
เวรกรรมนำไปไม่รั้งรอ | มิพอที่จะต้องพรากก็จากมา | |||
มันไปฉุดมารดาเอามาไว้ | อ้ายหัวใสข่มเหงไม่แกรงหน้า | |||
ที่ทำแค้นกูแทนให้ทันตา | ขอสมาแม่แล้วก็ขับพราย | |||
เป่าลงด้วยพระเวทวิทยา | มารดาก็ฟื้นตื่นโดยง่าย | |||
ดาบใส่ฝักไว้ไม่เคลื่อนคลาย | วันทองรู้สึกกายก็ลืมตา ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าวันทอง | ต้องมนตร์มัวหมองเป็นหนักหนา | |||
ตื่นพลางชำเลืองนัยน์ตามา | เห็นลูกยานั้นยืนอยู่ริมเตียง | |||
สำคัญคิดว่าผู้ร้ายให้นึกกลัว | กอดผัวร้องดันจนสิ้นเสียง | |||
ซวนซบหลบลงมาหมอบเมียง | พระหมื่นไวยเข้าเคียงห้ามมารดา | |||
อะไรแม่แซ่ร้องทั้งห้องนอน | ลูกร้อนรำคาญใจจึงมาหา | |||
จะร้องไยใช่โจรผู้ร้ายมา | สนทนาด้วยลูกอย่าตกใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นวันทองผ่องโสภา | ครั้นรู้ว่าลูกยาหากลัวไม่ | |||
ลุกออกมาพลันด้วยทันใด | พระหมื่นไวยเข้ากอดเอาบาทา | |||
วันทองประคองสอดกอดลูกรัก | ซบพักตร์ร้องไห้ไม่เงยหน้า | |||
เจ้ามาไยป่านนี้นี่ลูกอา | เขารักษาอยู่ทุกแห่งตำแหน่งใน | |||
ใส่ดาลบ้านช่องกองไฟรอบ | พ่อช่างลอบเข้ามากระไรได้ | |||
อาจองทะนงตัวไม่กลัวภัย | นี่พ่อใช้หรือว่าเจ้ามาเอง | |||
ขุนช้างตื่นขึ้นมิเป็นการ | เขาจะรุกรานพาลข่มเหง | |||
จะเกิดผิดแม่คิดคะนึงเกรง | ฉวยสบเพลงพลาดพล้ำมิเป็นการ | |||
มีธุระสิ่งใดในใจเจ้า | พ่อจงเล่าแก่แม่แล้วกลับบ้าน | |||
มิควรทำเจ้าอย่าทำให้รำคาญ | อย่าหาญเหมือนพ่อนักคะนองใจ ฯ | |||
๏ จมื่นไวยสารภาพกราบบาทา | ลูกมาผิดจริงหาเถียงไม่ | |||
รักตัวกลัวผิดแต่คิดไป | ก็หักใจเพราะรักแม่วันทอง | |||
ทุกวันนี้ลูกชายสบายยศ | พร้อมหมดเมียมิ่งก็มีสอง | |||
มีบ่าวไพร่ใช้สอยทั้งเงินทอง | พี่น้องข้างพ่อก็บริบูรณ์ | |||
ยังขาดแต่แม่คุณไม่แลเห็น | เป็นอยู่ก็เหมือนตายไปหายสูญ | |||
ข้อนี้ที่ทุกข์ยังเพิ่มพูน | ถ้าพร้อมมูลแม่ด้วยจะสำราญ | |||
ลูกมาหมายว่าจะมารับ | เชิญแม่วันทองกลับไปคืนบ้าน | |||
แม้จะบังเกิดเหตุเภทพาล | ประการใดก็ตามแต่เวรา | |||
มาอยู่ไยกับอ้ายหินชาติ | แสนอุบาทว์ใจจิตริษยา | |||
ดังทองคำทำเลี่ยมปากกะลา | หน้าตาดำเหมือนมินหม้อมอม | |||
เหมือนแมลงวันว่อนเคล้าที่เน่าชั่ว | มาเกลือกกลั้วปทุมมาลย์ที่หวานหอม | |||
ดอกมะเดื่อหรือจะเจือดอกพะยอม | ว่านักแม่จะตรอมระกำใจ | |||
แม่เลี้ยงลูกมาถึงเจ็ดขวบ | เคราะห์ประจวบจากแม่หาเห็นไม่ | |||
จะคิดถึงลูกบ้างหรืออย่างไร | หรือหาไม่ใจแม่ไม่คิดเลย | |||
ถ้าคิดเห็นเอ็นดูว่าลูกเต้า | แม่ทูนเกล้าไปเรือนอย่าเชือนเฉย | |||
ให้ลูกคลายอารมณ์ได้ชมเชย | เหมือนเมื่อครั้งแม่เคยเลี้ยงลูกมา ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าวันทอง | เศร้าหมองด้วยลูกเป็นหนักหนา | |||
พ่อพลายงามทรามสวาทของแม่อา | แม่โศกาเกือบเจียนจะบรรลัย | |||
ใช่จะอิ่มเอิบอาบด้วยเงินทอง | มิใช่ของตัวทำมาแต่ไหน | |||
ทั้งผู้คนช้างม้าแลข้าไท | ไม่รักใคร่เหมือนกับพ่อพลายงาม | |||
ทุกวันนี้ใช่แม่จะผาสุก | มีแต่ทุกข์ใจเจ็บดังเหน็บหนาม | |||
ต้องจำจนทนกรรมที่ติดตาม | จะขืนความคิดไปก็ใช่ที | |||
เมื่อพ่อเจ้าเข้าคุกแม่ท้องแก่ | เขาฉุดแม่ใช่จะแกล้งแหนงหนี | |||
ถึงพ่อเจ้าเล่าไม่รู้ว่าร้ายดี | เป็นหลายปีแม่มาอยู่กับขุนช้าง | |||
เมื่อพ่อเจ้ากลับมาแต่เชียงใหม่ | ไม่เพ็ดทูลสิ่งไรแต่สักอย่าง | |||
เมื่อคราวตัวแม่เป็นคนกลาง | ท่านก็วางบทคืนให้บิดา | |||
เจ้าเป็นถึงหัวหมื่นมหาดเล็ก | มิใช่เด็กดอกจงฟังคำแม่ว่า | |||
จงเร่งกลับไปคิดกับบิดา | ฟ้องหากราบทูลพระทรงธรรม์ | |||
พระองค์คงจะโปรดประทานให้ | จะปรากฏยศไกรเฉิดฉัน | |||
อันจะมาลักพาไม่ว่ากัน | เช่นนั้นใจแม่มิเต็มใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม | ฟังความเห็นว่าแม่หาไปไม่ | |||
คิดบ่ายเบี่ยงเลี่ยงเลี้ยวเบี้ยวบิดไป | เพราะรักไอ้ขุนช้างกว่าบิดา | |||
จึงว่าอนิจจาลูกมารับ | แม่ยังกลับทัดทานเป็นหนักหนา | |||
เหมือนไม่มีรักใคร่ในลูกยา | อุตส่าห์มารับแล้วยังมิไป | |||
เสียแรงเป็นลูกผู้ชายไม่อายเพื่อน | จะพาแม่ไปเรือนให้จงได้ | |||
แม้นมิไปให้งามก็ตามใจ | จะบาปกรรมอย่างไรก็ตามที | |||
จะตัดเอาศีรษะของแม่ไป | ทิ้งแต่ตัวไว้ให้อยู่นี่ | |||
แม่อย่าเจรจาให้ช้าที | จวนแจ้งแสงสีจะรีบไป ฯ | |||
๏ ...................... | ............................ | |||
ครานั้นวันทองผ่องโสภา | ตกใจกลัวว่าจะฆ่าฟัน | |||
จึงปลอบว่าพลายงามพ่อทรามรัก | อย่าฮึกฮักว้าวุ่นทำหุนหัน | |||
จงครวญใคร่ให้เห็นข้อสำคัญ | แม่นี้พรั่นกลัวแต่จะเกิดความ | |||
ด้วยเป็นข้าลักไปไทลักมา | เห็นเบื้องหน้าจะอึงแม่จึงห้าม | |||
ถ้าเห็นเจ้าเป็นสุขไม่ลุกลาม | ก็ตามเถิดมารดาจะคลาไคล | |||
ว่าพลางนางลุกออกจากห้อง | เศร้าหมองโศกาน้ำตาไหล | |||
พระหมื่นไวยก็พามารดาไป | พอรุ่งแจ้งแสงใสก็ถึงเรือน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงเจ้าจอมหม่อมขุนช้าง | นอนครางหลับกรนอยู่ป่นเปื้อน | |||
อัศจรรย์ฝันแปรแชเชือน | ว่าขี้เรื้อนขึ้นตัวทั่วทั้งนั้น | |||
หาหมอมารักษายาเข้าปรอท | มันกินปอดตับไตออกไหลหลั่น | |||
ทั้งไส้น้อยไส้ใหญ่แลไส้ตัน | ฟันฟางก็หักจากปากตัว | |||
ตกใจตื่นผวาคว้าวันทอง | ร้องว่าแม่คุณแม่ช่วยผัว | |||
ลุกขึ้นงกงันตัวสั่นรัว | ให้นึกกลัวปรอทจะตอดตาย | |||
ลืมตาเหลียวหาเจ้าวันทอง | ไม่เห็นน้องห้องสว่างตะวันสาย | |||
ผ้าผ่อนล่อนแก่นไม่ติดกาย | เห็นม่านขาดเรี่ยรายประหลาดใจ | |||
ตะโกนเรียกในห้องวันทองเอ๋ย | หาขานรับเช่นเคยสักคำไม่ | |||
ทั้งข้าวของมากมายก็หายไป | ปากประตูเปิดไว้ไม่ใส่กลอน | |||
พลางเรียกหาข้าไทอยู่ว้าวุ่น | อีอุ่นอีอิ่มอีฉิมอีสอน | |||
อีมีอีมาอีสาคร | นิ่งนอนไยหวามาหากู | |||
บ่าวผู้หญิงวิ่งไปอยู่งกงัน | เห็นนายนั้นแก้ผ้ากางขาอยู่ | |||
ต่างคนทรุดนั่งบังประตู | ตกตะลึงแลดูไม่เข้ามา | |||
ขุนช้างเห็นข้าไม่มาใกล้ | ขัดใจลุกขึ้นทั้งแก้ผ้า | |||
แหงนเถ่อเป้อปังยืนจังกา | ย่างเท้าก้าวมาไม่รู้ตัว | |||
ยายจันงันงกยกมือไหว้ | นั่นพ่อจะไปไหนพ่อทูนหัว | |||
ไม่นุ่งผ่อนนุ่งผ้าดูน่ากลัว | ขุนช้างมองดูตัวก็ตกใจ | |||
สองมือปิดขาเหมือนท่าเปรต | ใครมาเทศน์เอาผ้ากูไปไหน | |||
ให้นึกอดสูหมู่ข้าไท | ยายจันไปเอาผ้าให้ข้าที | |||
ยายจันตกใจเต็มประดา | เข้าไปฉวยผ้าเอามาคลี่ | |||
หยิบยื่นส่งให้ไปทันที | เมินหนีอดสูไม่ดูนาย | |||
ขุนช้างตัวสั่นบอกบ่าวไพร่ | วันทองไปไหนอย่างไรหาย | |||
เอ็งไปดูให้รู้ซึ่งแยบคาย | พบแล้วอย่าวุ่นวายให้เชิญมา ฯ | |||
๏ ข้าไทได้ฟังขุนช้างใช้ | ต่างเที่ยวค้นด้นไปจะเอาหน้า | |||
ทั้งห้องนอกห้องในไม่พบพา | ทั่วเคหาแล้วไปค้นจนแผ่นดิน | |||
เห็นประตูรั้วบ้านบานเปิดกว้าง | ผู้คนนอนสล้างไม่ตื่นสิ้น | |||
เสาแรกแตกต้นเป็นมลทิน | กินใจกลับมาหาขุนช้าง | |||
บอกว่าได้ค้นคว้าหาพบไม่ | แล้วเล่าแจ้งเหตุไปสิ้นทุกอย่าง | |||
ข้าเห็นวิปริตผิดท่าทาง | ที่นวลนางวันทองนั้นหายไป ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนช้างฟังบ่าวบอก | เหงื่อออกโซมล้านกบาลใส | |||
คิดคิดให้แค้นแสนเจ็บใจ | ช่างทำได้ต่างต่างทุกอย่างจริง | |||
สองหนสามหนก่นแต่หนี | พลั้งทีลงไม่รอดนางยอดหญิง | |||
คราวนั้นอ้ายขุนแผนมันแง้นชิง | นี่คราวนี้หนีวิ่งไปตามใคร | |||
ไม่คิดว่าจะเป็นเห็นว่าแก่ | ยังสาระแนหลบลี้หนีไปไหน | |||
เอาเถิดเป็นไรก็เป็นไป | ไม่เอากลับมาได้มิใช่กู ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงโฉมเจ้าพลายงาม | เกรงเนื้อความนั่งนึกตรึกตรองอยู่ | |||
อ้ายขุนช้างสารพัดเป็นศัตรู | ถ้ามันรู้ว่าลักเอาแม่มา | |||
มันจะสอดแนมแกมเท็จ | ไปกราบทูลสมเด็จพระพันวษา | |||
ดูจะระแวงผิดในกิจจา | มารดาก็จะต้องซึ่งโทษภัย | |||
คิดแล้วเรียกหมื่นวิเศษผล | เอ็งเป็นคนเคยชอบอัชฌาสัย | |||
จงไปบ้านขุนช้างด้วยทันใด | ไกล่เกลี่ยเสียอย่าให้มันโกรธา | |||
บอกว่าเราจับไข้มาหลายวัน | เกรงแม่จะไม่ทันมาเห็นหน้า | |||
เมื่อคืนนี้ซ้ำมีอันเป็นมา | เราใช้คนไปหาแม่วันทอง | |||
พอขณะมารดามาส่งทุกข์ | ร้องปลุกเข้าไปถึงในห้อง | |||
จึงรีบมาเร็วไวดังใจปอง | รักษาจนแสงทองสว่างฟ้า | |||
ไม่ตายคลายฟื้นขึ้นมาได้ | กูขอแม่ไว้พอเห็นหน้า | |||
แต่พอให้เคลื่อนคลายหลายเวลา | จึงจะส่งมารดานั้นคืนไป ฯ | |||
๏ หมื่นวิเศษรับคำแล้วอำลา | รีบมาบ้านขุนช้างงหาช้าไม่ | |||
ครั้นถึงแอบดูอยู่แต่ไกล | เห็นผู้คนขวักไขว่ทั้งเรือนชาน | |||
ขุนช้างนั่งเยี่ยมหน้าต่างเรือน | ดูหน้าเฝื่อนทีโกรธอยู่งุ่นง่าน | |||
จะดื้อเดินเข้าไปไม่เป็นการ | คิดแล้วลงคลานเข้าประตู ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าจอมหม่อมขุนช้าง | นั่งคาหน้าต่างเยี่ยมหน้าอยู่ | |||
เห็นคนคลานเข้ามาเหลือบตาดู | นี่มาล้อหลอกกูหรือย่างไร | |||
อะไรพอสว่างวางเข้ามา | เด็กหวาจับถองให้จงได้ | |||
ลุกขึ้นถกเขมรร้องเกณฑ์ไป | ทุดอ้ายไพร่ขี้ครอกหลอกผู้ดี ฯ | |||
๏ ครานั้นวิเศษผลคนว่องไว | ยกมือขึ้นไหว้ไม่วิ่งหนี | |||
ร้องตอบไปพลันในทันที | คนดีดอกข้าไหว้ใช่คนพาล | |||
ข้าพเจ้าเป็นบ่าวพระหมื่นไวย | เป็นขุนหมื่นรับใช้อยู่ในบ้าน | |||
ท่านใช้ให้กระผมมากราบกราน | ขอประทานคืนนี้พระหมื่นไวย | |||
เจ็บจุกปัจจุบันมีอันเป็น | แก้ไขก็เห็นหาหายไม่ | |||
ร้องโอดโดดดิ้นเพียงสิ้นใจ | จึงใช้ให้ตัวข้ามาแจ้งการ | |||
พอพบท่านมารดามาส่งทุกข์ | ข้าพเจ้าร้องปลุกไปในบ้าน | |||
จะกลับขึ้นเคหาเห็นช้านาน | ท่านจึงรีบไปในกลางงคืน | |||
พยาบาลคุณพระนายพอคลายไข้ | คุณอย่าสงสัยว่าปอื่น | |||
ให้คำมั่นสั่งมาว่ายั่งยืน | พอหายเจ็บแล้วจะคืนไม่นอนใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนช้างได้ฟังว่า | แค้นดังเลือดตาจะหลั่งไหล | |||
ดับโมโหโกรธทำว่าไป | เราก็ไม่ว่าไรสุดแต่ดี | |||
การไข้เจ็บล้มตายไม่วายเว้น | ปัจจุบันอันเป็นทั้งกรุงศรี | |||
ถ้าขัดสนสิ่งไรที่ไม่มี | ก็มาเอาที่นี่อย่าเกรงใจ | |||
ว่าแล้วปิดบานหน้าต่างผาง | ขุนช้างเดือดดาลทะยานไส้ | |||
ทอดตัวลงกับหมอนถอนฤทัย | ดูดู๋เป็นได้เจียววันทอง | |||
เพราะกูแพ้ความจมื่นไวย | มันจึงเหิมใจทำจองหอง | |||
พ่อลูกแม่ลูกถูกทำนอง | ถึงสองครั้งแล้วเป็นแต่เช่นนี้ | |||
อ้ายพ่อไปเชียงใหม่มีชัยมา | ตั้งตัวดังพระยาราชสีห์ | |||
อ้ายลูกเป็นหมื่นไวยทำไมมี | เห็นกูนี้ผิดติดโทษทัณฑ์ | |||
มันจึงข่มเหงไม่เกรงใจ | จะพึ่งพาใครได้ที่ไหนนั่น | |||
ขุนนางน้อยใหญ่เกรงใจกัน | ถึงฟ้องมันก็จะปิดให้มิดไป | |||
ตามบุญตามกรรมได้ทำมา | จะเฆี่ยนฆ่าหาชีวิตคิดไม่ | |||
ยิ่งคิดเดือดดาลทะยานใจ | ฉวยได้กระดานชนวนมา | |||
ร่างฟ้องท่องเทียบให้เรียบร้อย | ถ้อยคำถี่ถ้วนเป็นหนักหนา | |||
ลงกระดาษทับไว้มิได้ช้า | อาบน้ำผลัดผ้าแล้วคลาไคล | |||
วันนั้นพอพระปิ่นนรินทร์ราช | เสด็จประพาสบัวยังหากลับไม่ | |||
ขุนช้างมาถึงซึ่งวังใน | ก็คอยจ้องที่ใต้ตำหนักน้ำ ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงเดช | เสด็จคืนนิเวศน์พอจวบค่ำ | |||
ฝีพายรายเล่มมาเต็มลำ | เรือประจำแหนแห่เซ็งแซ่มา | |||
พอเรือพระที่นั่งประทับที่ | ขุนช้างก็รี่ลงตีนท่า | |||
ลอยคอชูหนังสือดื้อเข้ามา | ผุดโผล่ดงหน้ายึดแคมเรือ | |||
เข้าตรงโทนอ้นต้นกัญญา | เพื่อนโขกลงด้วยกะลาว่าผีเสื้อ | |||
มหาดเล็กอยู่งานพัดพลัดตกเรือ | ร้องว่าเสือตัวใหญ่ว่ายน้ำมา | |||
ขุนช้างดึงดื้อมือยึดเรือ | มิใช่เสือระหม่อมฉานล้านเกศา | |||
สู้ตายขอถวายซึ่งฎีกา | แค้นเหลือปัญญาจะทานทน ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | ทรงพระโกรธาโกลาหล | ||
ทุดอ้ายจัญไรมิใช่คน | บนบกบนฝั่งดังไม่มี | ||
ใช่ที่ใช่ทางวางเข้ามา | หรืออ้ายช้างเป็นบ้ากระมังนี่ | ||
เฮ้ยใครรับฟ้องของมันที | ตีเสียสามสิบจึงปล่อยไป | ||
มหาดเล็กก็รับเอาฟ้องมา | ตำรวจคว้าขุนช้างหาวางไม่ | ||
ลงพระราชอาญาตามว่าไว้ | พระจึงให้ตั้งกฎษฎีกา | ||
ว่าตั้งแต่วันนี้สืบต่อไป | หน้าที่ของผู้ใดให้รักษา | ||
ถ้าประมาทราชการไม่นำพา | ปล่อยให้ใครเข้ามาในล้อมวง | ||
ระวางโทษเบ็ดเสด็จเจ็ดสถาน | ถึงประหารชีวิตเป็นผุยผง | ||
ตามกฤษฎีการักษาพระองค์ | แล้วลงจากพระที่นั่งเข้าวังใน ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงขุนแผนแสนสนิท | เรืองฤทธิ์ลือจบพิภพไหว | ||
อยู่บ้านสุขเกษมเปรมใจ | สมสนิทพิสมัยด้วยสองนาง | ||
ลาวทองกับเจ้าแก้วกิริยา | ปรนนิบัติวัตถาไม่ห่างข่าง | ||
เพลิดเพลินจำเริญใจไม่เว้นวาง | คืนนั้นในกลางซึ่งราตรี | ||
นางแก้วลาวทองทั้งสองหลับ | ขุนแผนกลับผวาตื่นฟื้นจากที่ | ||
พระจันทรจรแจ่มกระจ่างดี | พระพายพัดมาลีตลบไป | ||
คิดคะนึงถึงมิตรแต่ก่อนเก่า | นิจจาเจ้าเหินห่างร้างพิสมัย | ||
ถึงสองครั้งตั้งแต่พรากจากพี่ไป | ดังเด็ดใจจากร่างก็ราวกัน | ||
กูก็ชั่วมัวรักแต่สองนาง | ละวางให้วันทองน้องโศกศัลย์ | ||
เมื่อตีได้เชียงใหม่ก็โปรดครัน | จะเพ็ดทูลคราวนั้นก็คล่องใจ | ||
สารพัดที่จะว่าได้ทุกอย่าง | อ้ายขุนช้างไหนจะโต้จะตอบได้ | ||
ไม่ควรเลยเฉยมาไม่อาลัย | บัดนี้เล่าเจ้าไวยไปรับมา | ||
จำกูจะไปสู่สวาทน้อง | เจ้าวันทองจะคอยละห้อยหา | ||
คิดพลางจัดแจงแต่งกายา | น้ำอบทาหอมฟุ้งจรุงใจ | ||
ออกจากห้องย่องเดินดำเนินมา | ถึงเรือนลูกยาหาช้าไม่ | ||
เข้าห้องวันทองในทันใด | เห็นนางหลับใหลนิ่งนิทรา | ||
ลดตัวลงนั่งข้างวันทอง | เตือนต้องด้วยความเสน่หา | ||
สั่นปลุกลุกขึ้นเถิดน้องอา | พี่มาหาแล้วอย่านอนเลย ฯ | ||
๏ นางวันทองตื่นอยู่รู้สึกตัว | หมายใจว่าผัวก็ทำเฉย | ||
นิ่งดูอารมณ์ที่ชมเชย | จะรักจริงหรือจะเปรยเป็นจำใจ | ||
แต่นิ่งดูกิริยาเป็นช้านาน | หาว่าขานโต้ตอบอย่างไรไม่ | ||
ทั้งรักทั้งแค้นแน่นฤทัย | ความอาลัยปั่นป่วนยวนวิญญาณ์ ฯ | ||
๏ โอ้เจ้าแก้วแววตาของพี่เอ๋ย | เจ้าหลับใหลกระไรเลยเป็นหนักหนา | ||
ดังนิ่มน้องหมองใจไม่นำพา | หรือขัดเคืองคิดว่าพี่ทอดทิ้ง | ||
ความรักหนักหน่วงทรวงสวาท | พี่ไม่คลาดคลายรักแต่สักสิ่ง | ||
เผอิญเป็นวิปริตที่ผิดจริง | จะนอนนิ่งถือโทษโกรธอยู่ไย | ||
ว่าพลางเอนแอบลงแนบข้าง | จูบพลางชวนชิดพิสมัย | ||
ลูบไล้พิไรปลอบให้ชอบใจ | เป็นไรจึงไม่ฟื้นตื่นนิทรา ฯ | ||
๏ เจ้าวันทองน้องตื่นจากที่นอน | โอนอ่อนวอนไหว้พิไรว่า | ||
หม่อมน้อยใจหรือที่ไม่เจรจา | ใช่ตัวข้านี้จะงอนค่อนพิไร | ||
ชอบผิดพ่อจงคิดคะนึงตอง | อันตัวน้องมลทินหาสิ้นไม่ | ||
ประหนึ่งว่าวันทองนี้สองใจ | พบไหนก็เป็นแต่เช่นนั้น | ||
ที่จริงใจเห็นไปอยู่เรือนอื่น | คงคิดคืนที่หม่อมเป็นแม่นมั่น | ||
ด้วยรักลูกกรักผัวยังพัวพัน | คราวนั้นก็ไปอยู่เพราะจำใจ | ||
แค้นคิดด้วยมิตรไม่รักเลย | ยามมีที่เชยเฉยเสียได้ | ||
เสียแรงร่วมทุกข์ยากกันกลางไพร | กินผลไม้ต่างข้าวทุกเพรางาย | ||
พอได้ดีมีสุขลืมทุกข์ยาก | ก็เพราะหากหม่อมมีซึ่งที่หมาย | ||
ว่านักก็เครื่องเคืองระคาย | เอ็นดูน้องอย่าให้อายเขาอีกเลย ฯ | ||
๏ พี่ผิดจริงแล้วเจ้าวันทอง | เหมือนลืมน้องหลงเลือนทำเชือนเฉย | ||
ใช่จะเพลิดเพลินชื่นเพราะอื่นเชย | เงยหน้าเถิดจะเล่าอย่าเฝ้าแค้น | ||
เมื่อติดคุกทุกข์ถึงเจ้าทุกเช้าค่ำ | ต้องกลืนกกล้ำโศกเศร้านั้นเหลือแสน | ||
ซ้ำขุนช้างคิดคดทำทดแทน | มันดูแคลนว่าพี่นี้ยากยับ | ||
อาลัยเจ้าเท่ากับดวงชีวีพี่ | คิดจะหนีไปตามเอาเจ้ากลับ | ||
เกรงจะพากันผิดเข้าติดทับ | แต่ขยับอยู่จนได้ไปเชียงอินทร์ | ||
กลับมาหมายว่าจะไปตาม | พอเจ้าไวยเป็นความก็ค้างสิ้น | ||
หัวอกใครได้แค้นในแผ่นดิน | ไม่เดือดดิ้นเท่าพี่กับวันทอง | ||
คิดอยู่ว่าจะทูลพระพันวษา | เห็นช้ากว่าจะได้มาร่วมห้อง | ||
จะเป็นความอีกก็ตามแต่ทำนอง | จึงให้ลูกรับน้องมาร่วมเรือน | ||
จะเป็นตายง่ายยากไม่ยากรัก | จะฟูมฟักเหมือนเมื่ออยู่ในกกลางเถื่อน | ||
ขอโทษที่พี่ผิดอย่าบิดเบือน | เจ้าเพื่อนเสนหาจงอาลัย | ||
พี่ผิดพี่ก็มาลุแก่โทษ | จะคุมโกรธคุมแค้นไปถึงไหน | ||
ความรักพี่ยังรักระงมใจ | อย่าตัดไมตรีตรึงให้ตรอมตาย | ||
ว่าพลางทางแอบเข้าแนบอก | ประคองยกของสำคัญมั่นหมาย | ||
เจ้าเนื้อทิพย์หยิบชื่นอารมณ์ชาย | ขอสบายสักหน่อยอย่าโกรธา ฯ | ||
๏ ใจน้องมิได้หมองอารมณ์หม่อม | ไม่ตัดใจให้ตรอมเสนหา | ||
ถ้าตัดรักหักใจแล้วไม่มา | หม่อมอย่าว่าเลยฉันไม่คืนคิด | ||
ถึงตัวไปใจยังนับอยู่ว่าผัว | น้องนี้กลัวบาปทับเมื่อดับจิต | ||
หญิงเดียวชายครองเป็นสองมิตร | ถ้ามิปลิดเสียให้เปลื้องไม่ตามใจ | ||
คราวนั้นเมื่อตามไปกลางป่า | หน้าดำเหมือนหนึ่งทามินหม้อไหม้ | ||
ชนะความงามหน้าดังเทียนชัย | เขาฉุดไปเหมือนลงทะเลลึก | ||
เจ้าพลายงามตามรับเอากลับมา | ทีนี้หน้าจะดำเป็นน้ำหมึก | ||
กำเริบใจด้วยเจ้าไวยกำลังฮึก | จะพาแม่ตกลึกให้จำตาย | ||
มิใช่หนุ่มดอกอย่ากลุ้มกำเริบรัก | เอาความผิดคิดหักให้เหือดหาย | ||
ถ้ารักน้องป้องปิดให้มิดอาย | ฉันกลับกลายแล้วหม่อมจงฟาดฟัน | ||
ไปเพ็ดทูลเสียให้ทูลกระหม่อมแจ้ง | น้องจะแต่งบายศรีไว้เชิญขวัญ | ||
ไม่พักวอนดอกจะนอนอยู่ด้วยกัน | ไม่เช่นนั้นฉันไม่เลยจะเคยตัว ฯ | ||
๏ นิจจาใจเจ้าจะให้พี่เจ็บจิต | ดังเอากริชแกะกรีดในอกผัว | ||
เกรงผิดคิดบาปจึงหลาบกลัว | พี่นี้ชั่วเพราะหมิ่นประมาทความ | ||
อื่นไกลไหนพี่จะละเล่า | นี่เจ้าว่าดอกจะยั้งไว้ฟังห้าม | ||
เสียแรงมาว่าวอนจงผ่อนตาม | อย่าหวงห้ามเสนหาให้ช้าวัน | ||
ว่าพลางคลึงเคล้าเข้าแนบข้าง | จูบพลางทางปลอบประโลมขวัญ | ||
ก่ายกอดสอดเกี่ยวพัลวัน | วันทองนั้นกั้นกีดไว้ไม่ตามใจ | ||
พลิกผลักชักชวนให้ชื่นชิด | เบือนบิดแบ่งรักหาร่วมไม่ | ||
สยดสยองพองเสียวแสยงใจ | พระพายพัดมาลัยตลบลอย | ||
แมลงภู่เฝ้าเคล้าไม่ในไพรชัฎ | ไม่เบิกบานก้านกลัดเกสรสร้อย | ||
บันดาลคงคาทิพย์กะปริบกะปรอย | พรมพร้อยท้องฟ้านภาลัย | ||
อสนีครื้นครั่นสนั่นก้อง | น้ำฟ้าหาต้องดอกไม้ไม่ | ||
กระเซ็นรอบขอบสระสมุทรไท | หวิวใจแล้วก็หลับกับเตียงนอน ฯ | ||
๏ ครั้นเวลาดึกกำดัดสงัดเงียบ | ใบไม้แห้งแกร่งเกรียบระบุบร่อน | ||
พระพายพัดเสาวรสขจายขจร | พระจันทรแจ่มแจ้งกระจ่างดวง | ||
ดุเหว่าเร้าเสียงสำเนียงก้อง | ระฆังฆ้องขานแข่งในวังหลวง | ||
วันทองน้องนอนนอนสนิทรวง | จิตง่วงระงับสู่ภวังค์ | ||
ฝันว่าพลัดไปในไพรเถื่อน | เลื่อนเปื้อนไม่รู้ที่จะกลับหลัง | ||
ลดเลี้ยงเที่ยงหลงในดงรัง | ยังมีพยัคฆ์ร้ายมาราวี | ||
ทั้งสองมองหมอบอยู่ริมทาง | พอนางดั้นป่ามาถึงที่ | ||
โดดตะครุบคาดคั้นในทันที | แล้วฉุดคร่าพารี่ไปในไพร | ||
สิ้นฝันครั้นตื่นตกประหม่า | หวีดผวากอดผัวสะอื้นไห้ | ||
เล่าความบอกผัวด้วยกลัวภัย | ประหลาดใจน้องฝันพรั่นอุรา | ||
ใต้เตียงเสียงหนูก็กุกกก | แมลงมุมทุ่มอกที่ริมฝา | ||
ยิ่งหวาดหวั่นพรั่นตัวกลัวมรณา | ดังวิญญาณ์นางจะพรากไปจากกาย ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | ฟังความตามนิมิตก็ใจหาย | ||
ครั้งนี้น่าจะมีอันตราย | ฝันร้ายสาหัสตัดตำรา | ||
พิเคราะห์ดูทั้งยามอัฐกาล | ก็บันดาลฤกษ์แรงเป็นหนักหนา | ||
มิรู้ที่จะแถลงแจ้งกิจจา | กอดเมียเมินหน้าน้ำตากระเด็น | ||
จึงแกล้งเพทุบายทำนายไป | ฝันอย่างนี้มิใช่จะเกิดเข็ญ | ||
เพราะวิตกหมกไหม้จึงได้เป็น | เนื้อเย็นอยู่กับผัวอย่ากลัวทุกข์ | ||
พรุ่งนี้พี่จะแก้เสนียดฝัน | แล้วทำมิ่งสิ่งขวัญให้เป็นสุข | ||
มิให้เกิดราคีกลียุค | อย่าเป็นทุกข์เลยเจ้าจงเบาใจ ฯ | ||
๏ ครั้นว่ารุ่งสางสว่างฟ้า | สุริยาแย้มเยี่ยมเหลี่ยมไศล | ||
จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงชัย | เนาในพระที่นั่งบัลลังก์รัตน์ | ||
พร้อมด้วยพระกำนัลนักสนม | หมอบประนมเฝ้าแหนแน่นขนัด | ||
ประจำตั้งเครื่องอานอยู่งานพัด | ทรงเคืองขัดขุนช้างแต่กลางคืน | ||
แสนถ่อยใครจะถ่อยเหมือนมันบ้าง | ทุกอย่างที่จะชั่วอ้ายหัวลื่น | ||
เวียนแต่เป็นถ้อยความไม่ข้ามคืน | น้ำยืนหยั่งไม่ถึงยังดึงมา | ||
คราวนั้นฟ้องกันด้วยวันทอง | นี่มันฟ้องใครอีกอ้ายชาติข้า | ||
ดำริพลางทางเสด็จยาตรา | ออกมาพระที่นั่งจักรพรรดิ | ||
พระสูตรรูดกร่างกระจ่างองค์ | ขุนนางกราบลงเป็นขนัด | ||
ทั้งหน้าหลังเบียดเสียดเยียดยัด | หมอบอัดถัดกันเป็นหลั่นไป | ||
ทอดพระเนตรมาเห็นขุนช้างเฝ้า | เออใครเอาฟ้องมันไปไว้ไหน | ||
พระหมื่นศรีถวายพลันในทันใด | รับไว้คลี่ทอดพระเนตรพลัน | ||
พอทรงจบแจ้งพระทัยในข้อหา | ก็โกรธาเคืองขุ่นหุนหัน | ||
มันเคี่ยวเข็ญทำเป็นอย่างไรกัน | อีวันทองคนเดียวไม่รู้แล้ว | ||
ราวกับไม่มีหญิงเฝ้าชิงกัน | หรืออีวันทองนั้นมันมีแก้ว | ||
รูปอ้ายช้างชั่วช้าตาบ้องแบ๊ว | ไม่เห็นแววที่ว่ามันจะรัก | ||
ใครจะเอาเป็นผัวเขากลัวอาย | หัวหูดูเหมือนควายที่ตกปลัก | ||
คราวนั้นเป็นความกูถามซัก | ตกหนักอยู่กับเฒ่าศรีประจัน | ||
วันทองกูสิให้กับอ้ายแผน | ไยแล่นมาอยู่กับอ้ายช้างนั่น | ||
จมื่นศรีไปเอาตัวมันมาพลัน | ทั้งวันทองขุนแผนอ้ายหมื่นไวย ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระหมื่นศรีได้รับสั่ง | ถอยหลังออกมาไม่ช้าได้ | ||
สั่งเวรกรมวังในทันใด | ตำราวจในวิ่งตะบึงมาถึงพลัน | ||
ขึ้นไปบนเรือนพระหมื่นไวย | แจ้งข้อรับสั่งไปขมีขมัน | ||
ขุนช้างฟ้องร้องฎีกาพระทรงธรรม์ | ให้หาทั้งสามทั่นนั้นเข้าไป ฯ | ||
๏ ครานั้นวันทองเจ้าพลายงาม | ได้ฟังความคร้ามครั่นหวั่นไหว | ||
ขุนแผนเรียกวันทองเข้าห้องใน | ไม่ไว้ใจจึงเสกด้วยเวทมนตร์ | ||
สีขี้ผึ้งสีปากกินหมากเวท | ซึ่งวิเศษสารพัดแก้ขัดสน | ||
น้ำมันพรายน้ำมันจันทน์สรรเสกปน | เคยคุ้มขลังบังตนแต่ไรมา | ||
แล้วทำผงอิทธิเจเข้าเจิมพักตร์ | คนเห็นคนทักรักทุกหน้า | ||
เสกกระแจะจวงจันทน์น้ำมันทา | เสร็จแล้วก็พาวันทองไป ฯ | ||
๏ ครานั้นทองประศรีผู้มารดา | ครั้นได้แจ้งกิจจาไม่นิ่งได้ | ||
เด็กเอ๋ยวิ่งตามมาไวไว | ลงบันไดงันงกตกนอกกชาน | ||
พลายชุมพลกอดก้นทองประศรี | กูมิใช่ช้างขี่ดอกลูกหลาน | ||
ลุกขึ้นโขย่งโก้งโค้งคลาน | ซมซานโฮกฮากอ้าปากไป | ||
ครั้นถึงยั้งอยู่ประตูวัง | ผู้รับสั่งเร่งรุดไม่หยุดได้ | ||
ขุนแผนวันทองพระหมื่นไวย | เข้าไปเฝ้าองค์พระภูมี ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ปิ่นปักนคเรศเรืองศรี | ||
เห็นสามราเข้ามาอัญชลี | พระปรานีเหมือนลูกในอุทร | ||
ด้วยเดชะพระเวทวิเศษประสิทธิ์ | เผอิญคิดรักใคร่พระทัยอ่อน | ||
ตรัสถามอย่างความราษฎร | ฮ้าเฮ้ยดูก่อนอีวันทอง | ||
เมื่อมึงกลับมาแต่ป่าใหญ่ | กูสิให้อ้ายแผนประสมสอง | ||
ครั้นกูขัดใจให้จำจอง | ตัวของมึงไปอยู่แห่งไร | ||
ทำไมไม่อยู่กับอ้ายแผน | แล่นไปอยู่กับอ้ายช้างใหม่ | ||
เดิมมึงรักอ้ายแผนแล่นตามไป | ครั้นยกให้เต้นกลับเล่นตัว | ||
อยู่กับอ้ายช้างไม่อยู่ได้ | เกิดรังเกียจเกลียดใจด้วยชังหัว | ||
ดูยักใหม่ย้ายเก่าเฝ้าเปลี่ยนตัว | ตกว่าชั่วแล้วมึงไม่ไยดี ฯ | ||
๏ ครานั้นวันทองได้รับสั่ง | ละล้าละลังประนมก้มเกศี | ||
หัวสยองพองพรั่นทันที | ทูลคดีพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ||
ขอเดชะละอองธุลีพระบาท | องค์หริรักษ์ราชรังสรรค์ | ||
เมื่อกระหม่อมฉันมาแต่อรัญ | ครั้งนั้นโปรดประทานขุนแผนไป | ||
ครั้นอยู่มาขุนแผนต้องจำจอง | กระหม่อมฉันมีท้องนั้นเติบใหญ่ | ||
อยู่ที่เคหาหน้าวัดตะไกร | ขุนช้างไปบอกว่าพระโองการ | ||
มีรับสั่งโปรดประทานให้ | กระหม่อมฉันไม่ไปก็หักหาญ | ||
ยื้อยุดแดคร่าทำสามานย์ | เพื่อนบ้านจะช่วยก็สุดคิด | ||
ด้วยขุนช้างอ้างว่ารับสั่งให้ | ใครจะขัดขืนไว้ก็กลัวผิด | ||
จนใจมิไปก็สุดฤทธิ์ | ชีวิตอยู่ใต้พระบาทา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังจบกริ้วขุนช้างเป็นหนักหนา | ||
มีพระสิงหนาทตวาดมา | อ้ายบ้าเย่อหยิ่งอ้ายลิงโลน | ||
ตกว่ากูหาเป็นเจ้าชีวิตไม่ | มึงถือใจว่าเป็นเจ้าที่โรงโขน | ||
เป็นไม่มีอาชญาสิทธิ์คิดถึงโดน | เที่ยวทำโจรใจคะนองจองหองครัน | ||
เลี้ยงมึงไม่ได้อ้ายใจร้าย | ชอบแต่เฆี่ยนสองหวายตลอดสัน | ||
แล้วกลับความถามข้างวันทองพลัน | เออเมื่อมันฉุดคร่าพามึงไป | ||
ก็ช้านานประมาณได้สิบแปดปี | ครั้งนี้ทำไมมึงจึงมาได้ | ||
นี่มึงหนีมันมาหรือว่าไร | หรือว่าใครไปรับเอามึงมา ฯ | ||
๏ วันทองฟังถามให้คร้ามครั่น | บังคมคัลประนมก้มเกศา | ||
ขอเดชะพระองค์ทรงศักดา | พระอาญาเป็นพ้นล้นเกล้าไป | ||
ครั้งนี้จมื่นไวยนั้นไปรับ | กระหม่อมฉันจึงกลับคืนมาได้ | ||
มิใช่ย้อนยอกทำนอกใจ | ขุนแผนก็มิได้ประเวณี | ||
แต่มานั้นเวลาสักสองยาม | ขุนช้างจึงหาความว่าหลบหนี | ||
ขอพระองค์จงทรงพระปรานี | ชีวีอยู่ใต้พระบาทา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ฟังเหตุขุ่นเคืองเป็นหนักหนา | ||
อ้ายหมื่นไวยทำใจอหังการ์ | ตกว่าบ้านเมืองไม่มีนาย | ||
จะปรึกษาตราสินให้ไม่ได้ | จึงทำตามน้ำใจเอาง่ายง่าย | ||
ถ้าฉวยเกิดห่าฟันกันล้มตาย | อันตรายไพร่เมืองก็เคืองกู | ||
อีวันทองกูให้อ้ายแผนไป | อ้ายช้างบังอาจใจทำจู่ลู่ | ||
ฉุดมันขึ้นช้างอ้างถึงกู | ตะคอกขู่อีวันทองให้ตกใจ | ||
ชอบตบให้สลบลงกับที่ | เฆี่ยนตีเสียให้ยับไม่นับได้ | ||
มะพร้าวห้าวยัดปากให้สาใจ | อ้ายหมื่นไวยก็โทษถึงฉกรรจ์ | ||
มึงถือว่าอีวันทองเป็นแม่ตัว | ไม่เกรงกลัวเว้โว้ทำโมหันธ์ | ||
ไปรับไยไม่ไปในกลางวัน | อ้ายแผนพ่อนั้นก็เป็นใจ | ||
มันเหมือนวัวเคยขาม้าเคยขี่ | ถึงบอกกูว่าดีหาเชื่อไม่ | ||
อ้ายช้างมันก็ฟ้องเป็นสองนัย | ว่าอ้ายไวยลักแม่ให้บิดา | ||
เป็นราคีข้อผิดมีติดตัว | หมองมัวมลทินอยู่หนักหนา | ||
ถ้าอ้ายไวยอยากจะใคร่ได้แม่มา | ชวนพ่อฟ้องหาเอาเป็นไร | ||
อัยการศาลโรงก็มีอยู่ | หรือว่ากูตัดสินให้ไม่ได้ | ||
ชอบทวนด้วยลวดให้ปวดไป | ปรับไหมให้เท่ากับชายชู้ | ||
มันเกิดเหตุทั้งนี้ก็เพราะหญิง | จึงหึงหวงช่วงชิงยุ่งยิ่งอยู่ | ||
จำจะตัดรากใหญ่ให้หล่นพรู | ให้ลูกดอกดกอยู่แต่กิ่งเดียว | ||
อีวันทองตัวมันเหมือนรากแก้ว | ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว | ||
ใครจะควรสู่สมอยู่กลมเกลียว | ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันแต่วันนี้ | ||
เฮ้ยอีวันทองว่ากระไร | มึงตั้งใจปลดปลงให้ตรงที่ | ||
อย่าภวังค์กังขาเป็นราคี | เพราะมึงมีผัวสองกูต้องแค้น | ||
ถ้ารักใหม่ก็ไปอยู่กับอ้ายช้าง | ถ้ารักเก่าเข้าข้างอ้ายขุนแผน | ||
อย่าเวียนวนไปให้คนมันหมิ่นแคลน | ถ้าแม้นมึงรักไหนให้ว่ามา ฯ | ||
๏ ครานั้นวันทองฟังรับสั่ง | ให้ละล้าละลังเป็นหนักหนา | ||
ครั้นจะทูลกลัวพระราชอาญา | ขุนช้างแลดูตายักคิ้วลน | ||
พระหมื่นไวยใช้ใบ้ให้แม่ว่า | บุ้ยปากตรงบิดาเป็นหลายหน | ||
วันทองหมองจิตคิดเวียนวน | เป็นจนใจนิ่งอยู่ไม่ทูลไป ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ทรงธรณินทร์ | หาได้ยินวันทองทูลขึ้นไม่ | ||
พระตรัสความถามซักไปทันใด | หรือมึงไม่รักใครให้ว่ามา | ||
จะรักชู้ชังผัวมึงกลัวอาย | จะอยู่ด้วยลูกชายก็ไม่ว่า | ||
ตามใจกูจะให้ดังวาจา | แต่นี้เบื้องหน้าขาดเด็ดไป ฯ | ||
๏ นางวันทองรับพระราชโองการ | ให้บันดาลบังจิตหาคิดไม่ | ||
อกุศลดลมัวให้ชั่วใจ | ด้วยสิ้นในอายุที่เกิดมา | ||
คิดคะนึงตะลึงตะลานอก | ดังตัวตกพระสุเมรุภูผา | ||
ให้อุทัจอัดอั้นตันอุรา | เกรงผิดภายหน้าก็สุดคิด | ||
จะว่ารักขุนช้างกระไรได้ | ที่จริงใจมิได้รักแต่สักหนิด | ||
รักพ่อลูกห่วงดังดวงชีวิต | แม้นทูลผิดจะพิโรธไม่โปรดปราน | ||
อย่าเลยจะทูลเป็นกลางไว้ | ตามพระทัยท้าวจะแยกให้แตกฉาน | ||
คิดแล้วเท่านั้นมิทันนาน | นางก้มกรานแล้วก็ทูลไปฉับพลัน | ||
ความรักขุนแผนก็แสนรัก | ด้วยร่วมยากมานักไม่เดียดฉันท์ | ||
สู้ลำบากบุกป่ามาด้วยกัน | สารพันอดออมถนอมใจ | ||
ขุนช้างแต่อยู่ด้วยกันมา | คำหนักหาได้ว่าให้เคืองไม่ | ||
เงินทองกองไว้มิให้ใคร | ข้าไทใช้สอยเหมือนของตัว | ||
จมื่นไวยเล่าก็เลือดที่ในอก | ก็หยิบยกรักเท่ากันกับผัว | ||
ทูลพลางตัวนางระเริ่มรัว | ความกลัวอาญาเป็นพ้นไป ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังจบแค้นคลั่งดังเพลิงไหม้ | ||
เหมือนดินประสิวปลิวติดกับเปลวไฟ | ดูดู๋เป็นได้อีวันทอง | ||
จะว่ารักข้างไหนไม่ว่าได้ | น้ำใจจะประดังเข้าทั้งสอง | ||
ออกนั่นเข้านี่มีสำรอง | ยิ่งกว่าท้องทะเลอันล้ำลึก | ||
จอกแหนแพเสาสำเภาใหญ่ | จะทอดถมเท่าไรไม่รู้สึก | ||
เหมือนมหาสมุทรสุดซึ้งซึก | น้ำลึกเหลือจะหยั่งกระทั่งดิน | ||
อิฐผาหาหาบมาทุ่มถม | ก็จ่อมจมสูญหายไปหมดสิ้น | ||
อีแสนถ่อยจัญไรใจทมิฬ | ดังเพชรนิลเกิดขึ้นในอาจม | ||
รูปงามนามเพราะน้อยไปหรือ | ใจไม่ซื่อสมศักดิ์เท่าเส้นผม | ||
แต่ใจสัตว์มันยังมีที่นิยม | สมาคมก็แต่ถึงฤดูมัน | ||
มึงนี่ถ่อยยิ่งกว่าถ่อยอีท้ายเมือง | จะเอาเรื่องไม่ได้สักสิ่งสรรพ์ | ||
ละโมบมากตัณหาตาเป็นมัน | สักร้อยพันให้มึงไม่ถึงใจ | ||
ว่าหญิงชั่วผัวยังคราวละคนเดียว | หาตามตอมกันเกรียวเหมือนมึงไม่ | ||
หนักแผ่นดินกูจะอยู่ไย | อ้ายไวยมึงอย่านับว่ามารดา | ||
กูเลี้ยงมึงถึงให้เป็นหัวหมื่น | คนอื่นรู้ว่าแม่ก็ขายหน้า | ||
อ้ายขุนช้างขุนแผนทั้งสองรา | กูจะหาเมียให้อย่าอาลัย | ||
หญิงกาลกิณีอีแพศยา | มันไม่น่าเชยชิดพิสมัย | ||
ที่รูปรวยสวยสมมีถมไป | มึงตัดใจเสียเถิดอีคนนี้ | ||
เร่งเร็วเหวยพระยายมราช | ไปฟันฟาดเสียให้มันเป็นผี | ||
อกเอาขวานผ่าอย่าปรานี | อย่าให้มีโลหิตติดดินกู | ||
เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน | ตกดินจะอัปรีย์กาลีอยู่ | ||
ฟันให้หญิงชายทั้งหลายดู | สั่งเสร็จเสด็จสู่ปราสาทชัย ฯ | ||
ตอนที่ ๓๖ ฆ่านางวันทอง (ยังไม่สมบูรณ์)
๏ ครานั้นวันทองสยองหัว | ความกลัวตัวสั่นอยู่หวั่นไหว | ||
ขุนช้างขุนแผนพระหมื่นไวย | ก็ตระหนกตกใจไปทุกคน | ||
บรรดาข้าราชการที่หมอบเฝ้า | ต่างสร้อยเศร้าหัวพองสยองขน | ||
จะเพ็ดทูลอย่างไรไม่ชอบกล | จำจนด้วยกลัวพระอาญา | ||
พระยายมราชก็สั่งพลัน | ให้คุมวันทองจูงไปข้างหน้า | ||
พระหมื่นไวยขุนแผนแล่นตามา | พ่อลูกคลอน้ำตาด้วยอาลัย | ||
ขุนช้างลุกถลาหน้าคว่ำ | ล้มคะมำตำเสา***ไถล | ||
ลุกได้จากเสาเหย่าเหย่าไป | ร้องไห้งุ่มงามมาตามเมีย | ||
ทองประศรีคอยอยู่รู้กิจจา | ตีอกตกประหม่าหน้าเสีย | ||
ลุกรีบตามมาแข้งขาเพลีย | น้ำตาไหลเรี่ยตัวสั่นงก | ||
ให้ไปบอกลาวทองแก้วกิริยา | สร้อยฟ้าศรีมาลาทั้งห้าหก | ||
น้ำตาน้ำมูกตะละลูกนก | ตีอกตกใจต่างไคลคลา ฯ | ||
๏ ขุนช้างสะดุดอิฐตีนขวิดไป | หัวไถลล้มคว่ำตำขี้หมา | ||
ลุกขึ้นไม่เช็ดระเห็จมา | แมลงฉ่าตอมฉู่เหม็นอู้ไป | ||
อ้ายบ่าวร้องว้ายขุนนายขา | เช็ดขี้หมาเสียก่อนเถิดข้าไหว้ | ||
ขุนช้างเหลียวหลังอ้ายจังไร | ขี้หมาที่ไหนมาติดกู | ||
อ้ายบ่าวมันชี้ว่าขี้หมา | ตั้งแต่หน้าตลอดขวัญแมลงวันฉู่ | ||
ขุนช้างไม่ฟังว่าชั่งกู | ผู้คนตามพรูร้องเหม็นจริง ฯ | ||
๏ ครั้นถึงที่หัวตะแลงแกง | คนผู้ดูแดงทั้งชายหญิง | ||
วันทองสิ้นกำลังลงนั่งพิง | พระไวยวิ่งเข้าประคองวันทองไว้ | ||
ขุนแผนสุดแสนสงสารน้อง | นั่งลงข้างวันทองน้ำตาไหล | ||
อัดอั้นนิ่งอึงตะลึงตะไล | สะอื้นไห้ไม่ออกซึ่งวาจา | ||
นางแก้วกิริยาเจ้าลาวทอง | ทั้งสองโศกเศร้าเป็นหนักหนา | ||
ทั้งนางสร้อยฟ้าศรีมากลา | ต่างคนจะสมาหาดอกไม้ | ||
คนดูล้อมพร้อมพรั่งดังกำแพง | ตะแลงแกงจนหามีที่ยืนไม่ | ||
ขุนช้างแหวกคนด้นเข้าไป | ว่าอีพ่อข้าไหว้เอาแต่บุญ | ||
ฝูงคนหลีกวิ่งทั้งหญิงชาย | เหม็นขี้หมาออกจะตายแล้วพี่ขุน | ||
อ้ายหนุ่มหนุ่มเหม็นนักมันผลักรุน | เซซุนเข้าไปถึงวันทอง | ||
พระไวยแลไปเห็นขุนช้าง | ความโกรธโดดผางตรงเข้าถอง | ||
แล้วกดหัวลงไว้ฉวยไม้พลอง | ทั้งสองมือเปื้อนขี้ตีผลุงลง | ||
พระยายมห้ามว่าอย่าพระไวย | จะทุบตีมันไยอ้ายคนหลง | ||
ฉวยขุนช้างคร่าออกมานอกวง | นั่งลงเหม็นมือก็โกรธา | ||
ถ้ารู้กูหาไปห้ามไม่ | อ้ายจัญไรมือกูล้วนขี้หมา | ||
ลุกขึ้นเตะส่งตรงออกมา | ขุนช้างว่าลูกตายแล้วคราวนี้ | ||
ฝ่ายขุนแผนแล่นไล่ไปชกซ้ำ | ขุนช้างล้มหัวตำทองประศรี | ||
แกโกรธาด่าทอใช่พอดี | ขุนช้างลุกจากที่หนีออกไป ฯ | ||
ครานั้นจึงโฉมเจ้าวันทอง | เศร้าหมองสะอึกสะอื้นไห้ | ||
สวมกอดลูกยาด้วยอาลัย | น้ำตาหลั่งไหลลงรินริน | ||
วันนี้แม่จะลาพ่อพลายแล้ว | จะจำจากลูกแก้วไปสูญสิ้น | ||
พอบ่ายก็จะตายลงถมดิน | ผินหน้ามาแม่จะขอชม | ||
เกิดมาไม่เหมือนกับเขาอื่น | มิได้ชื่นเชยชิดสนิทสนม | ||
แต่น้อยน้อยลอยลิ่วไปตามลม | ต้องตรอมตรมพรากแม่แต่เก้าปี | ||
ให้แต่เฝ้าทุกข์ถึงคนึงหา | นึกว่าแม่จะไม่ได้เห็นผี | ||
เจ้าก็ไม่ศูนย์หายวายชีวี | กลับมาได้เผาผีของมารดา | ||
มิเสียแรงฟักฟูมอุ้มท้อง | ข้ามหนองแนวเขาลำเนาป่า | ||
อยู่ในท้องก็เหมือนเพื่อนมารดา | ทนทุกข์เวทนาในป่าชัฏ | ||
ผ่าแดดแผดฝนทนลำบาก | ปลิงทากร่านริ้นมันกินกัด | ||
หนามไหน่ไขว่เกี่ยวเที่ยวเลี้ยวลัด | แม่คอยปัดระวังให้แต่ในครรภ์ | ||
พ่อพาขี่ม้าไม่ขับควบ | ขยับยวบกลัวเจ้าจะหวาดหวั่น | ||
พอแดดเผาเข้าร่มพนาวัน | เห็นจะอ่อนผ่อนผันลงกินน้ำ | ||
ค่อยกลืนแต่พอชื่นไม่กลืนหนัก | กลัวลูกจะสำลักทุกเช้าค่ำ | ||
เมื่อเขาส่งลงมาต้องจองจำ | แสนระกำก็ระวังจะนั่งนอน | ||
ด้วยเป็นห่วงบ่วงใยในลูกรัก | จะเดินหนักเกรงท้องขยักขย่อน | ||
จะนั่งนักเจ้าจักอนาทร | ครั้นนอนนักกลัวจะเหนื่อยอนาถตัว | ||
เจ้าคลอดรอดแล้วจึงคลายใจ | เฝ้าถนอมกล่อมไกวพ่อทูลหัว | ||
เก้าปีแม่ประคองไม่หมองมัว | ชุนช้างชั่วลักลูกไปลับตา | ||
เขาตีต่อยปล่อยหลงในดงชัฏ | กุศลซัดให้เจ้าคืนมาเห็นหน้า | ||
พอเห็นแล้วก็ต้องพรากจากมารดา | แต่นั้นมาช้านานจึงพานพบ | ||
กุศลหนหลังยังค้ำจุน | ให้ลูกแก้วมีบุญประจวบจบ | ||
เที่ยวติดตามแม่พ่อพอพร้อมครบ | กลับต้องมาทำศพของมารดา | ||
เหมือนอุตส่าห์ดั้นด้นพ้นป่าชัฏ | พอเห็นแสงจันทร์จำรัสพระเวหา | ||
สำคัญคิดว่าจะสุขทุกเวลา | พอสายฟ้าฟาดล้มจมดินดาน | ||
พ่อจะเห็นมารดาสักครึ่งวัน | พ้นนั้นศูนย์เปล่าเป็นเถ้าถ่าน | ||
จะได้แต่คิดถึงคะนึงนาน | กลับไปบ้านเถิดลูกอย่ารอเย็น | ||
เมื่อเวลาเขาฆ่าแม่คอขาด | จะอนาถไม่น่าจะแลเห็น | ||
เจ้าดูหน้าเสียแต่แม่ยังเป็น | นึกถึงจะได้เห็นหน้ามารดา ฯ | ||
ร่ำพลางนางกอดพระหมื่นไวย | น้ำตกไหลซบเซาไม่เงยหน้า | ||
ง่วงหงุบฟุบลงกับพสุธา | กอดลูกยาแน่นิ่งไม่ติงกาย ฯ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
โอ้เจ้าประคุณของลูกเอ๋ย | แม่เคยเลี้ยงลูกแล้วสั่งสอน | ||
ผูกเปลเห่ช้าให้ลูกนอน | ป้อนข้าวอาบน้ำให้กินนม | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ขอตายแทนตัวของมารดา | อย่าให้แม่ข้านี้บรรไลย | ||
เป็นเพราะกูรับแม่กลับมา | ท่านจึงลงอาญาเป็นข้อใหญ่ | ||
ว่าพลางกลิ้งเกลือกเสือกไป | สะอื้นไห้อยู่ที่ตีนของมารดา | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ขุนแผนแสนโศกสงสารน้อง | นิ่งนั่งฟังวันทองให้อัดอั้น | ||
นางหันมากอดเท้าเข้าจาบัลย์ | ขุนแผนนั้นซบหน้ากับหลังเมีย | ||
สะท้อนสะทึกสะอึกสะอื้นให้ | ออกปากน้ำตาไหลลงราดเรี่ย | ||
เสียแรงทรมานตัวทั้งผัวเมีย | เขี่ยดินเลี้ยงกันเหมือนหนึ่งนก | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ถึงสุดแสนลำบากยากไร้ | เจ้าสู้ทนได้ไปกับผัว | ||
จนพฤกษาหายากกินรากบัว | ชั้นชั่วข้าวสักเม็ดไม่พานพบ | ||
แปดเดือนเรือนชานมิได้เห็น | แสนเข็ญพาน้องวันทองหลบ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
เหมือนเจ้าตายจากพี่ทีหนึ่งแล้ว | ต้องคลาดแคล้วพี่ตั้งแต่เศร้าหมอง | ||
อยู่ในคุกทุกข์ถึงคะนึงตรอง | สองทุกข์สามทุกข์เข้าทับใจ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ได้พบผัวพูดกันแต่กลางคืน | พอนอนตื่นไม่ทันตะวันสาย | ||
ก็เกิดความลามวุ่นขุ่นระคาย | ลงปลายน้องรักจักวายชนม์ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
คนอื่นหมื่นแสนก็คุ้มรอด | ยอดรักคนเดียวไม่คุ้มได้ | ||
จำเพาะเด็ดดวงจิตปลิดเอาไป | ช่างกระไรพ้นที่จะป้องกัน | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ขุนแผนฟังคำที่ร่ำว่า | ไม่ออกปากพูดจาต่อไปได้ | ||
สุดคิดอัดอั้นให้ตันใจ | สุดอาลัยล้มผางลงกลางดิน | ||
. | |||
. | |||
. | |||
นางวันทองน้องเรียกเอาดอกไม้ | คลานเข้าไปไหว้กราบทองประศรี | ||
ลูกจะลามารดาในวันนี้ | ขออภัยอย่าให้มีซึ่งโทษทัณฑ์ | ||
แต่ลูกอยู่กับพ่อขุนแผน | ให้แม่แค้นอย่างไรที่ไหนนั่น | ||
จนถึงเวลาเขาฆ่าฟัน | สิ้นเวรกรรมกันเถิดแม่คุณ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ฝ่ายขุนช้างนั่งเหงาไม่เข้าใกล้ | ร้องไห้หน้าขาวราวกับผี | ||
เสียใจใหลเล่อเพ้อพาที | คราวนี้ตายแน่แล้วแม่คุณ | ||
พุทโท่อยู่หลัดหลัดมาพลัดกัน | โอ้แม่วันทองตายเพราะอ้ายขุน | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ครานั้นขุนแผนแสนสะท้าน | ฟังลูกคิดอ่านก็เห็นได้ | ||
แต่ครั้นจับยามดูรู้แจ้งใจ | จึงว่ากับพระไวยพ่อพลายงาม | ||
อัฐกาลพาลขัดอยู่หนักหนา | พ่อว่าประหนึ่งจะชิงห้าม | ||
เจ้าจะไปทูลขอดูก็ตาม | ในยามว่าองค์พระทรงชัย | ||
เจ้าไปทูลขอโทษคงโปรดแน่ | แต่แม่เจ้าหาพ้นจากตายไม่ | ||
ดูหน้าหน้าก็นวลจวนบรรลัย | จะใกล้ในเวลานี้เข้าสี่โมง | ||
ขีดชาตาลงดูกับแผ่นดิน | ก็ขาดสิ้นเคราะห์ร้ายเห็นตายโหง | ||
เสาร์ทับลัคนากาจับโลง | ยามลิงล้วงโพรงจรเข้กิน | ||
ใครต้องยามนี้มิได้รอด | พระไวยเห็นตลอดอยู่เสร็จสิ้น | ||
น้ำตาอาบหน้าลงรินริน | ผินหน้าว่ากับพ่อว่าตามกรรม | ||
เคราะห์ร้ายตายเป็นก็เห็นหมด | ลูกจะทดแทนคุณอุปถัมภ์ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
นี่มารดาอุ้มท้องทรมาน | ได้เกิดมาเป็นนานเพราะมารดา | ||
สารพัดพระคุณไม่นับได้ | จะทิ้งไว้ไม่ควรเป็นหนักหนา | ||
อนึ่งตั้งแต่กำเนิดเกิดมา | ยังมิได้พยาบาลประการใด | ||
ครั้งนี้ที่สุดถึงชีวิต | ขอพระองค์จงประสิทธิ์ประสาทให้ | ||
ให้เลื่องลือชื่อเสียงปรากฏไป | ว่าหมื่นไวยได้แทนคุณมารดา | ||
. | |||
. | |||
. | |||
เพชฌฆาตดาบยาวก้าวย่างมา | ขุนแผนโถมถาคร่อมเมียไว้ | ||
ฉุดคร่าคว้ากันอยู่ดันดึง | ฟันผึงถูกขุนแผนหาเข้าไม่ | ||
ดาบยู่บู้พับยับเยินไป | เข้ากลุ้มรุมฉุดได้ขุนแผนมา | ||
ขุนแผนฮึดฮัดกัดฟันเกรี้ยว | บิดตัวเป็นเกลียววางกูหวา | ||
เพชฌฆาตแกว่งดาบวาบวาบมา | ย่างเท้าก้าวง่าแล้วฟันลง | ||
ต้องคอนางวันทองขาดสะบั้น | ชีวิตวับดับพลันเป็นผุยผง | ||
พอพระไวยถึงโผนโจนม้าลง | ตรงเข้ากอดตีนแม่แน่นิ่งไป | ||
ขุนแผนก็ล้มลงทั้งยืน | ปิ้มจะไม่คงคืนชีวิตได้ | ||
ขุนช้างล้มนิ่งกลิ้งอยู่ไกล | บ่าวไพร่น้อยใหญ่ก็วุ่นวาย | ||
ทองประศรีกลิ้งเกลือกเสือกกายา | สร้อยฟ้าศรีมาลาล้มคว่ำหงาย | ||
นางแก้วลงกลิ้งทิ้งลูกชาย | ใครจะรู้สึกกายก็ไม่มี | ||
. | |||
. | |||
. | |||
พ่อก็เรืองเวทวิทยา | ลาวหมื่นแสนมายังไม่พรั่น | ||
ทั้งมนต์จังงังก็ขลังครัน | ถึงคนร้อยพันก็ซวนซุด | ||
ทำไมกับอ้ายเพชฌฆาต | พ่อเป่าจังงังปราดมันก็หยุด | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ที่สัญญาว่าไว้อย่างไรเล่า | ควรฤาฟันแม่เราให้คอขาด | ||
กลัวเรามาทันรีบฟันฟาด | พยาบาทเราด้วยเหตุอันใด | ||
. | |||
. | |||
. | |||
เราพยาบาทท่านจนวันตาย | ความแค้นไม่วายที่หมายมั่น | ||
. | |||
. | |||
. | |||
โอ้ว่าเจ้าประคุณของลูกแก้ว | ลับแล้วทีนี้ไม่เห็นหน้า | ||
ลูกนี้มิได้คิดกับชีวา | ขืนพระราชอาชญาเข้ากราบทูล | ||
พระองค์ทรงโปรดประทานให้ | ดีใจว่าแม่ไม่ดับสูญ | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ร่ำพลางทางกอดเอาศพแม่ | นิ่งแน่ไม่สมประดีได้ | ||
ยังรึกรึกสะทึกสะท้อนใจ | ล้มซบสลบไสลไม่เจรจา | ||
. | |||
. | |||
. | |||
เอาผ้าขาวมาให้ดังใจหวัง | จึงตราสังห่อศพหาช้าไม่ | ||
ตัดกระดานต่อโลงด้วยทันใด | ก้านตองรองในเข้าฉับพลัน | ||
ครั้นแล้วยกศพขึ้นใส่ไม้ | ให้หามไปฝังที่ป่าช้านั่น | ||
เกณฑ์คนเฝ้าศพได้ครบครัน | แล้วพากันร้องไห้กลับไปเรือน | ||
. | |||
. | |||
. | |||
ตอนที่ ๓๗ นางสร้อยฟ้าทำเสน่ห์
๏ จะกล่าวถึงโฉมเจ้าหมื่นไวย | อิ่มเอิบกำเริบใจใครจะเหมือน | |||
ปราโมทย์โชติช่วงดังดวงเดือน | มิได้เคลื่อนรสรักสักวันคืน | |||
แต่โฉมเจ้าสร้อยฟ้าพานจะงอน | หย่อนแต้มลงไม่ได้ให้สะอื้น | |||
ผัวมานอนตะละช้อนใส่ปากกลืน | ถ้าผัวคลาดขาดคืนก็ขุ่นมัว | |||
อันชายหนุ่มเมียสองมักพร่องแรง | หม่อมเมียพานจะแข่งแย่งหม่อมผัว | |||
จึงเกิดเป็นเชิงชั้นกั้นในตัว | ยิ่งใครเย้าตะละยั่วให้หนักไป | |||
ข้างศรีมาลาผัวรักมักยิ้มเย้ย | ข้างสร้อยฟ้าก็เลยทะยานใหญ่ | |||
เกรงอยู่แต่ท่านย่าระอาใจ | ใครใครแกไม่ละทั้งลูกเมีย | |||
ราวกับเสือซ่อนเล็บเจ็บไม่รู้สึก | ถ้าได้ฮึกแล้วรุ่งก็รุ่งเสีย | |||
ถ้าใครเถียงเอาใหญ่ดังไฟเลีย | เขานิ่งเสียแกก็โลดโดดตะกาย ฯ | |||
๏ วันเมื่อจะก่อเกิดกำเนิดเข็ญ | พระหมื่นไวยนั่งเล่นตะวันบ่าย | |||
ที่หอนั่งลมเย็นเห็นสบาย | กับเจ้าพลายชายชุมพลผู้น้องยา | |||
ชุมพลหยิบกระดานคลานมาพลัน | เล่นหมากรุกพนันกันหรือขา | |||
แพ้พี่ไวยฉันจะให้ถอนขนตา | ถ้าหากพี่แพ้ข้าจะว่าไร | |||
พระไวยว่าถ้าพี่นี้แพ้เจ้า | จะให้เขาทำขนมมาเสียให้ | |||
ขนมเบื้องแผ่นน้อยน้อยอร่อยใจ | ว่าแล้วสั่งไปในทันที | |||
สร้อยฟ้าศรีมาลาว่าเจ้าคะ | ตั้งกระทะก่อไฟอยู่อึงมี่ | |||
ต่อยไข่ใส่น้ำตาลที่หวานดี | แป้งมีเอามาปรุงกุ้งสับไป | |||
ศรีมาลาละเลงแผ่นบางบาง | แซะใส่จานวางออกไปให้ | |||
สร้อยฟ้าไม่สันทัดอึดอัดใจ | ปามแป้งใส่ไล้หนาสิ้นดี | |||
พลายชุมพลจึงว่าพี่สร้อยฟ้า | ทำขนมเบื้องหนาเหมือนแป้งจี่ | |||
พระไวยตอบว่าหนาหนาดี | ทองประศรีว่ากูไม่เคยพบ | |||
ลาวทำขนมเบื้องผิดเมืองไทย | แผ่นผ้อยมันกระไรดังต้มกบ | |||
แซะม้วนเข้ามาเท่าขาทบ | พลายชุมพลดิ้นหลบหัวร่อไป | |||
ฝ่ายนางศรีมาลาชายตาดู | ทั้งข้าไทยิ้มอยู่ไม่นิ่งได้ | |||
อีไหมร้องว้ายข้อยอายใจ | ลืมไปคิดว่าทำขนมครก | |||
ชุมพลร้องแซ่แก่ไม่รู้สิ้น | นานไปก็จะปลิ้นเป็นห่อหมก | |||
สร้อยฟ้าตัวสั่นอยู่งันงก | หกแป้งต่อยกระทะผละเข้าเรือน | |||
ทองประศรีร้องว่าอีห่าลาว | ทำฉาวเจียวอีหมาขี้เรื้อนเปื้อน | |||
เทแป้งแกล้งให้เปรอะเลอะทั้งเรือน | กระทะกะท่อยต่อยเกลื่อนลาวจัญไร | |||
นางสร้อยฟ้าได้ยินท่านย่าด่า | ขัดใจแทบน้ำตาจะเล็ดไหล | |||
ศรีมาลาเลิกเตาเข้าข้างใน | ชุมพลไปเรือนย่ามิได้ช้า ฯ | |||
๏ พอค่ำลงลมรวยมาชวยชื่น | เริงรื่นจิตพระไวยให้หวนหา | |||
เดือนสว่างกระจ่างลิ่วปลิวเมฆา | คิดถึงศรีมาลาละลานใจ | |||
หอมดอกพุทธชาดสะอาดกลิ่น | ใส่กระถางวางประทิ่นสดไสว | |||
วาบหวามทรวงซาบอาบอาลัย | เดินไปเข้าห้องศรีมาลา | |||
นั่งแนบแอบน้องประคองนวล | ยียวนด้วยความเสน่หา | |||
แสงประทีปส่องสว่างกระจ่างตา | ชวาลาดับเสียชวนเมียนอน | |||
ศรีมาลาจึงว่าช่างน่าอาย | ผู้คนทั้งหลายยังตื่นว่อน | |||
พระไวยตอบว่าเจ้าอย่างอน | ความรักพี่นี้ร้อนดังไฟเรือง | |||
ศรีมาลาว่าชะช่างร้อนจิต | พระอาทิตย์ยังไม่ลับดังแสงเหลือง | |||
เด็กเด็กมันยังตื่นครื้นทั้งเมือง | ขนมเบื้องทำด้วยปากยากกระไร ฯ | |||
๏ ฝ่ายสร้อยฟ้าแว่วว่าขนมเบื้อง | ให้แค้นเคืองปวดปอดตลอดไส้ | |||
วับดังดินประสิวปลิวถูกไฟ | เข้าใจว่าศรีมาลานินทาตัว | |||
จึงร้องไปว่านางช่างขนมเบื้อง | ช่างยกเรื่องอวดหม่อมเจ้าจอมผัว | |||
หม่อมนางช่างละเลงข้าเกรงกลัว | เมื่อหยุดแล้วยังยั่วกันไปเจียว | |||
อุแม่เอ๋ยข้าไมเคยบำรุงรส | มันจึงเปรอะเลอะหมดไม่มันเขี้ยว | |||
แซะม้วนเท่าแขนได้แผ่นเดียว | ผัวจึงไม่กระเสียวกระซิกเลย ฯ | |||
๏ ศรีมาลาว่าโอพุทโธ่เจ้า | โดนเอาเปล่าเปล่าเจ้าแม่เอ๋ย | |||
ที่เคยคันมันก็คันไปตามเคย | สัญชาติเตยถึงจะงามก็หนามมี | |||
เกิดกอเป็นคออยู่ริมคลอง | เรือขึ้นเรือล่องต้องเสียดสี | |||
อนิจจาข้าได้ว่าอะไรมี | ไม่พอที่หุนหันจะคั้นคอ | |||
เขาก็รู้อยู่ว่าต่อมันรานไฟ | ข้าไม่พอใจที่รังต่อ | |||
ทั้งคารี้คารมเขาชมปรอ | เหมือนคออกมาขวางที่ทางเรือ | |||
เป็นตระพังวังวนก้นกระทะ | สวะสะว่อยลอยปะออกฟั่นเฝือ | |||
เที่ยวแทรกไปทุกทางอย่างดีแกลือ | ข้านี้เบื่อพูดมากน้ำหมากพรู ฯ | |||
๏ จริงคะข้าแหละมันเตยหนาม | ใครพายเรือซุ่มซ่ามสำหรับถู | |||
สมน้ำหน้าที่ตาไม่แลดู | เหียงเพียงจะแตกแหกกระจาย | |||
จริงแล้วข้าดีเหลือเจอทุกขนาน | ถึงท้องยุ้งพุงมานก็รู้หาย | |||
ถ้าไม่แทรกสักนิดจะปิดตาย | ไข้หนักก็จะคลายเพราะดีเกลือ | |||
ตำราข้าไม่ถึงขี้ผึ้งฝรั่ง | เปื่อยพังน้ำฝาดแลดีเหลือ | |||
เข้าลูกเบญกานีสีเสียดเจือ | เรียกเนื้อให้ชิดติดกระชับ | |||
ถึงจะเป็นปรวดปวดอยู่ใน | ก็ดูดสำรอกออกได้จนในตับ | |||
หนองไหน่ไหลคันเป็นมันยับ | ถ้ากระชับแล้วก็แน่นดังแผ่นดิน ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมพระหมื่นไวย | ฟังตอบชอบใจหัวเราะดิ้น | |||
เออเอาให้ระงมเพราะขนมกิน | จนสุดสินถึงลูกเบญกานี | |||
ตำราหมอฝรั่งชั่งสัปดน | ของเขาฝนไว้ทาเป็นยาฝี | |||
ถ้าแลแผลพุพองเป็นหนองดี | หรือจะลองดูสักทีเจ้าสร้อยฟ้า | |||
สร้อยฟ้าร้อยเย่อเออหม่อมไวย | ข้อยบ่ฮุ้จักใส่อีสังว่า | |||
บาดแผลข้อยนี้บ่มีมา | บ่อยากเรียนตำราไม่ต้องการ | |||
แม้นหม่อมพุพองเป็นหนองใน | เอายาศรีมาลาใส่จะหายจ้าน | |||
ยาของเขาดีมีมานาน | ข้อยนี้ย่านหนักหนาตำราไทย ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านยายทองประศรี | ได้ยินเสียงอึงมี่ไม่นิ่งได้ | |||
แกเปิดหน้าต่างมองร้องว่าไป | ตำรายาอะไรออสร้อยฟ้า | |||
เหวยลาวเลยลาวไปแล้วเหวย | แง่งอนกระไรเลยเป็นหนักหนา | |||
ซอกซอนรู้สิ้นลิ้นอีลังกา | หยูกยาข้างไหนกูไม่เคย | |||
คนฟังเขานั่งอยู่ตาโหล | ยิ่งกว่ากรับเจ้าโตเสียอีกเหวย | |||
ผัวก็นั่งฟังได้กระไรเลย | เฉยเมยจริงจริงช่างนิ่งมิ | |||
อย่าเป็นจมื่นไวยเลยหลานเอ๋ย | ไปไสเคยแม่กลองร้องขายกะปิ | |||
ช่างไม่อายเพื่อนบ้านอ้ายซานซิ | ริมีเมียสองอ้ายหนองกรม ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าฟังย่าชักหน้าม่อย | ว่าคุณย่าละก็คอยพลอยประสม | |||
คนนั้นว่าคนนี้ว่ามาระดม | ลมพัดไม่มีไปข้างไหนเลย | |||
น้ำไหลไยไม่ไหลไปที่ลุ่ม | ช่างไหลชุ่มไปบนเขาเจ้าแม่เอ๋ย | |||
ท่านย่าว่าเหม่มาเปรียบเปรย | เหวยอีลาวปากคอมันหนักนัก | |||
ก็เพราะมึงอึงฉาวอีลาวโลน | ร้องตะโกนก้องบ้านอีคานหัก | |||
อีเจ็ดร้อยหมาเบื่อมันเหลือรัก | ทำฮึกฮักมี่ฉาวอีลาวดอน | |||
สร้อยฟ้าได้ฟังท่านย่าด่า | ม้วนหน้าล้มทับลงกับหมอน | |||
ทองประศรีร้องแปร้นอีแสนงอน | ด่าเหนื่อยแล้วก็นอนกรนโครกไป ฯ | |||
๏ ครั้นอรุณรุ่งรางกระจ่างภพ | แจ้งจบทั่วทวีปน้อยใหญ่ | |||
พระอาทิตย์เร่งรถมาไรไร | สกุณไก่กู่ก้องตะโกนกัน | |||
กระจิบกระจาบจอแจแกกา | บินถลาร่าร้องก้องสนั่น | |||
ศรีมาลาตื่นตาล้างหน้าพลัน | แล้วจัดสรรของไว้ให้สามี | |||
ตั้งขันล้างหน้าไว้ท่าผัว | เครื่องแป้งแต่งตัวกระจกหวี | |||
ทั้งพานผ้านุ่งผลัดจัดดิบดี | แล้วลุกรี่ออกมาเรียกข้าไท | |||
สายสว่างตื่นบ้างเถิดเด็กเอ๋ย | กระไรเลยช่างนอนนิ่งเสียได้ | |||
บ่าวลุกล้างหน้ามาทันใด | เข้าครัวไฟข้าวปลาหาครันครบ | |||
อีเม้ยลุกขึ้นมองร้องตามนาย | เฮ้ยมึงอย่านอนสายจะถูกตบ | |||
ศรีมาลาว่าไฮ้อีบัดซบ | ไม่เคยพบเป็นบ่าวเอาอย่างนาย | |||
พระไวยฟื้นตื่นลุกจากเตียงพลัน | จับขันล้างหน้าให้เฝ้าหาย | |||
หวีหัวทาแป้งแล้วแต่งกาย | เยื้องกรายออกมาข้างหน้าเรือน | |||
สำรับตั้งนั่งลงกินอาหาร | สาวใช้หมอบคลานอยู่กลาดเกลื่อน | |||
ศรีมาลาใช้สอยคอยตักเตือน | เจ้าสร้อยฟ้าหน้าเฝื่อนไม่พูดจา | |||
ครั้นถึงเวลาเช้าจะเข้าวัง | พระไวยก็สั่งให้หยิบผ้า | |||
ผลัดผ้านุ่งพลันมิทันช้า | แล้วออกจากบ้านมายังวังใน | |||
บ่าวไพร่เดินตามหลามถนน | ผู้คนหลีกเลี่ยงอยู่ขวักไขว่ | |||
ด้วยยำเยงเกรงบุญพระหมื่นไวย | จนเข้าในพระที่นั่งจักรพรรดิ ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระจักรกฤษณ์วิษณุวงศ์ | ผู้ดำรงอยุธเยศเกศกษัตริย์ | |||
ครั้นแสงทองส่องสว่างในปรางรัตน์ | กระจ่างจัดทั่วหล้าสาธาร | |||
เสด็จออกสู่ท้องพระโรงมาศ | ดังเทวราชในทิพย์พิมานสถาน | |||
พร้อมด้วยเทพกัลยาสุดามาลย์ | ให้ชักม่านไขกว่างกระจ่างองค์ | |||
เสด็จนั่งยังเท่นมณีรัตน์ | ภายใต้เศวตฉัตรลอยระหง | |||
สังข์แตรแซ่ซ้องทั้งฆ้องวง | ซอส่งประสานเสียงเสนาะใน | |||
ขุนนางต่างประนมบังคมกราบ | หมอบราบคอยรับสั่งสนองไข | |||
พระจึงมีสีหนาทประภาษไป | ว่ากระไรจีนทองร้องฎีกา ฯ | |||
๏ พระยารักษ์รับสั่งทูลสนอง | ขอเดชะจีนทองให้การว่า | |||
เดิมได้สุ่ขอต่อมารดา | ยกให้แล้วก็พาไปเรือนชาน | |||
จีนทองเข้าหาเป็นห้าครั้ง | อำแดงสังไม่ยอมทำหักหาญ | |||
ครั้นเข้าปล้ำร่ำว่าด่าประจาน | อายกับเพื่อนบ้านเป็นพ้นคิด | |||
จึงเข้ามาฟ้องร้องฎีกา | ให้ปรึกษาให้เห็นชอบแลผิด | |||
ถึงไม่สัตย์ขอถวายซึ่งชีวิต | ขอพระองค์ทรงฤทธิ์ได้เมตตา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังจบทรงพระสรวลสำรวลร่า | |||
เจ๊กอัปรีย์สิ้นที่จะเจรจา | แต่เมียด่าก็มาฟ้องไม่ต้องการ | |||
หรือเมืองจีนมันจะร้องฟ้องกันได้ | ถองส่งออกไปเสียจากศาล | |||
แล้วดำรัสถามทั่วถึงรั้วงาน | ไม่กริ้วกราดราชการสิ่งอันใด | |||
ครั้นเสร็จพระเสด็จลีลา | จากพระโรงรัตนาอันผ่องใส | |||
คืนเข้าพระที่นั่งข้างฝ่ายใน | สำราญราชหฤทัยพระภูมี ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าเจ้าพระยาพระหลวง | ทุกกระทรวงต่างลุกมาเร็วรี่ | |||
บ้างไปนั่งโรงศาลงานธานี | ที่ใครว่างหน้าที่ก็กกลับมา | |||
ฝ่ายว่าพระไวยวรนาถ | เสร็จราชการพลันก็หรรษา | |||
ออกจากวังในแล้วไคลคลา | ตรงมาเคหาด้วยทันใด ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงโฉมเจ้าสร้อยฟ้า | เมื่อสุริยาแจ่มแจ้งกระจ่างไข | |||
ตื่นนอนร้อนจิตคิดเคืองใจ | ดังฟืนไฟสุมอกสักหกกอง | |||
พลุ่งพล่านดาลเดือดไม่เหือดหาย | เหมือนเสือร้ายรังควานจับขยับจ้อง | |||
คอยเวลาตาลอดสอดเมียงมอง | ตามช่องเห็นพระไวยไปจากเรือน | |||
นางลงเท้าผึงผึงถึงนอกชาน | ส่งเสียงฉานเรียกข้าด่าเลื่อนเปื้อน | |||
ช่างมุดหัวอยู่ในห้องต้องให้เตือน | อีไหมเชือนอยู่ไหนจึงไม่มา | |||
แต่หัวค่ำร่ำกกไปจนสาย | ไม่มีอายสอพลอยอตัณหา | |||
มันน่าสับให้ระยำดังทำปลา | ช่างลอยหน้าเล่นทรงเป็นหงส์รำ | |||
ลุกบ้างก็เป็นไรที่ในเรือน | เมื่อคืนนี้ขันเชื่อนออกหกคว่ำ | |||
ถาดโถโอแตกแหลกระยำ | แมวดำที่ไหนไล่กัดกัน | |||
เฝืองฝาหลังคาก็ยับป่น | จากหล่นกลอนเลื่อนสะเทือนลั่น | |||
ช่างนอนนิ่งเสียได้ไม่ไล่มัน | อ้ายวีจันทร์ม้าลาก็ปล่อยไว้ | |||
มันไล่กันรันวิ่งมาโดนเสา | เรือนเหย้าแทบจะพังกระทั่งไหว | |||
พรึงรอดออดอ่อนกระแอนไป | น้ำท่าโอ่งไหไหวโครมครืน | |||
สายตามึงไม่ดูหูไม่ฟัง | อีสองชั่งนั่งเคล้าเฝ้าสะอื้น | |||
ยามโปรดดังจะโดดชึ้นทั้งยืน | พวกอีตื่นตัณหาตาเป็นมัน ฯ | |||
๏ อีไหมฟังนายด่ากระทบ | ช่วยประจบเหน็บแนมแกมขยัน | |||
ลิ้นลมประสมว่าสารพัน | ฉันนอนฝันมัวสบายจึงสายไป | |||
ฝันว่าพระราหูดูเท่าแขน | ฉวยพระจันทร์รันแง้มอมไว้ได้ | |||
ลืมตาดูก็ไม่รู้ว่าอะไร | ลุกโพลงราวกับได้เสม็ดตาม | |||
จนหม่อมเรียกหาผวาตื่น | ยังสะอื้นด้วยสงสารจันทร์อร่าม | |||
จะขี้คายอย่างไรไม่แจ้งความ | หรือจะปามไปจนค่ำทำท่วงที ฯ | |||
๏ อีเม้ยรับได้ฟังคำอีไหม | ร้อนอกราวกับไฟเข้าจุดจี้ | |||
พลอยเจ็บด้วยกับนายอายสิ้นที | ช่างกาลีค่อนว่าสารพัน | |||
จึงร้องว่าฮ้าเฮ้ยเหวยอีไหม | พระราหูที่ไหนเท่าแขนนั่น | |||
นายด่าข้าพลอยประสมกัน | ฝันอะไรกลางวันไม่เคยพบ ฯ | |||
๏ ศรีมาลาร้องเฮ้ยนางเม้ยรับ | มิใช่การวานอย่างับจับประจบ | |||
ทำปากกล้าร่าร้องก้องกระทบ | สั่งหลบไปเจียวเจ้าเสาโพงพาง | |||
จะด่าว่าสักเท่าไรทำไมเขา | การของเจ้าหรือจึงร่าเข้ามาขวาง | |||
อีส่ำสามราวกับหนามเที่ยวสะทาง | มิใช่การวานอย่าขวางให้เกิดความฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าฟังเรื่องให้เคืองขุ่น | เตือนกระตุ้นใจเจ็บดังเหน็บหนาม | |||
ลุกออกมาจากห้องร้องคำราม | ข้าแหละหนามสะรั้วตัวโปรดปราน | |||
อย่าไปว่าเลยเจ้าเขาก็เห็น | สั่นรัวเป็นตัวเต้นเจจัดจ้าน | |||
จะว่าไรขึ้นไม่ได้เที่ยวไล่พาล | เสาวิหารก็ไม่แน่นแม้นเสานาง | |||
ข้าคางคกตกบ่อลงล่อน้ำ | ทิ่มตำเอาเถิดเจ้าไม่ขัดขวาง | |||
ยามคล่องก็จงล่องไปพลางพลาง | เชิญครองปรางค์ผัดหน้าให้นวลลอย | |||
จริงแล้วเจ้านี่แลเสาโพงพางปัก | จะเยื้องยักก็ไม่พ้นจึงโดนบ่อย | |||
ช่างชะอ้อนวอนร่ำทั้งสำออย | จึงปรอดปร้อยไม่รู้แห้งจุ๊บแจงเอย ฯ | |||
๏ ศรีมาลานิ่งนั่งได้ฟังคำ | ดูหรือกรรมมาตามเอาเฉยเฉย | |||
ว่าข้างนี้ไม่พอที่จะเป็นเลย | เมื่อเจ้าเคยแล้วก็ทำไปตามที | |||
อนิจจาข้าได้ว่าไรสักหน่อย | มาคอยพาลเอาผิดไม่พอที่ | |||
จริงละทั่นข้ามันสั่นแต่วานนี้ | ถ้าไม่แก้เสียทีไม่หายคัน | |||
เสาโบสถ์เสาวัดมายัดใส่ | เลือกเล่นตามใจทำไมนั่น | |||
หม่อมมาก็มาคร่าเอาตัวทัน | ไปแก้คันไว้ในห้องสักสองคืน | |||
เกิดเหตุเพราะขนมเมื่อเย็นวาน | จึงพลุ่งพล่านอึกทึกจนดึกดื่น | |||
ม้าลาว้าวุ่นจนดุ้นฟืน | น้ำน้อยพลอยเป็นคลื่นช่างยืนยัด | |||
เออใจของใครจะไม่เจ็บ | ช่างแนมเหน็บด่าว่านี่สาหัส | |||
ยิ่งนิ่งก็ยิ่งว่าสารพัด | นี่จะซัดเสียให้หมดเจียวหรือเรา | |||
ทำไมไม่เป็นเจ้าขึ้นในบ้าน | ใครขัดสนจะได้คลานมาพึ่งเจ้า | |||
อย่าเพ่อเหยียบเสียให้ยับจนสับเงา | มิได้ตีเมืองเรามาเป็นน้อย ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าได้ฟังให้คลั่งจิต | ดังเอากริชมาตำที่คอหอย | |||
เหมือนไฟลุกฟืนซุก***ตะบอย | ครั้นเอาฝอยเข้ามาปามก็ลามโพลง | |||
ตบมือยักคอหัวร่อร่า | หลกผ้าเกาก้นกระโดดโหยง | |||
ตัวสั่นเทาเทาก้าวตะโกรง | ขึ้นเสียงโผงชี้หน้าร้องว่าไป | |||
เฮ้ยข้านี้แลมันสั่นทั้งตัว | หม่อมผัวจึงไม่พรากจากห้องได้ | |||
ข้าไม่ฉุดเธอให้หลุดมาทำไม | จงกำกุมเอาไว้ให้ได้คราว | |||
จริงอยู่คะข้ามันเชลยเมือง | อย่ายกเรื่องเลยเขาลือออกอื้อฉาว | |||
พอกองทัพไปถึงอึงเกรียวกราว | ค่ำลงเขาจับฉาวที่ในเรือน | |||
ทัพกลับก็เลยจับเฉลยซ้ำ | ช่างปิดงำความร้ายให้หายเงื่อน | |||
สงวนพรหมจารีมิต้องเตือน | พอดึกหน่อยก็ค่อยเคลื่อนเข้าไปเอง ฯ | |||
๏ ศรีมาลาได้ฟังให้คลั่งใจ | ดังเอาไม้มาต่อยสักร้อยเผง | |||
ช่างลอยหน้าว่าเล่นออกครื้นเครง | ขึ้นกูขึ้นเอ็งไม่เกรงใจ | |||
ปากบอนค่อนขอดลอดนินทา | ตบหน้าตา***เสียให้ได้ | |||
เมื่อผัวไม่เลี้ยงก็แล้วไป | จะเฆี่ยนตีสักเท่าไรก็ตามบุญ ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าโผงผางวางเข้ามา | ชักผ้าคาดนมกระโจมมุ่น | |||
ชุมพลวิ่งเข้ายุดแล้วฉุดรุน | สร้อยฟ้าผลักหมุนตกร่องลง | |||
พลายชุมพลชักขาทำหน้าซีด | ศรีมาลาร้องกรีดหวีดเสียงหลง | |||
ทองประศรีวิ่งถลันมางันงง | แกด่าส่งวุ่นวายตายแล้วกู | |||
เข้ามาใกล้ไต่ถามศรีมาลา | ขามันหักหรือหวาหาอ้ายหนู | |||
พลายชุมพลร้องไห้เลือดไหลพรู | สร้อยฟ้ายืนอยู่ไม่พูดจา | |||
ทองประศรีชี้หน้าแกด่าโผง | อีตายโหงข่มเหงกูหนักหนา | |||
ทำหลานกูด้วยดังช่วยมา | ยังลอยหน้าหัวร่อคอเป็นเอ็น | |||
ดูราวกับตำแยเที่ยวแหย่เพื่อน | ด่าเปื้อนไปทีเดียวเที่ยวเคี่ยวเข็ญ | |||
ยกหัวเป็นกิ้งก่าอีหน้าเป็น | เต้นเจ้าเซ็นมาแต่วานจนป่านนี้ | |||
ราวกับช้างงาบ้าน้ำมัน | เสยกำแพงแทงตะบันจนป่นปี้ | |||
งาหักงวงยับจนอัปรีย์ | อีกาลีกูจะตบให้ซบไป ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าได้ฟังคุณย่าด่า | โมโหโกรธาหาเหือดไม่ | |||
คันปากอยากจะว่าให้สาใจ | บ่นพิไรร่ำว่าน้ำตานอง | |||
จริงคะข้านี้ช้างน้ำมัน | ช่วยกันด่าเล่นเถิดคล่องคล่อง | |||
หัวเดียวไม่มีทั้งพี่น้อง | ทุบถองเล่นให้สบายใจ | |||
หลานทั่นวิ่งพลันมายุดมือ | ชุกยื้อฉุดคร่าไม่ปราศรัย | |||
เมื่อตกร่องแล้วจะร้องเอากับใคร | หรือข้าวานข้าไหว้ให้วิ่งมา ฯ | |||
๏ ทองประศรีด่าฉาวอีลาวดง | มาแผดส่งเสียงร้องเอาจ้าจ้า | |||
ผลักเด็กจนกระเด็นเห็นแก่ตา | เป็นหนึ่งว่ากูแกล้งพาโลเอา | |||
***เอ๋ย***ถึงดีเสียจริงจริง | เต้นเหยงเป็นเพลงฉิ่งไปเจียวเจ้า | |||
ดังคนทรงผีลงอยู่เทาเทา | นี่พ่อหลวงหรือเข้าเจ้าปากคลอง ฯ | |||
๏ พอพระไวยเข้าไปถึงในบ้าน | เสียงฉานทะเลาะกันสนั่นก้อง | |||
ได้ยินเสียงสร้อยฟ้าออกร่าร้อง | ย่างเท้าก้าวย่องถึงหอกลาง | |||
สร้อยฟ้ามัวเถียงกับท่านย่า | เหลียวมาค้างปากกระดากขวาง | |||
ความกลัวตัวผิดคิดระคาง | แข็งกระด้างไปทั้งกายก็คลายฤทธิ์ | |||
พระไวยยืนเพ่งเขม็งตา | แลดูสร้อยฟ้าให้กลุ้มจิต | |||
ยิ่งกลั้นยิ่งแค้นดังเพลิงพิษ | ยิ่งคิดยิ่งเคืองกระเดื่องใจ | |||
ถามคุณย่าว่านี่ทำไมกัน | เสียงสนั่นไปทั้งเรือนสะเทือนไหว | |||
เดิมทีวิวาทกันอย่างไร | ตัวใครก่อเกิดเป็นโกลี ฯ | |||
๏ ท่านย่าร้องเบื่อกูเหลือเล่า | เจ้าเข้ามันออกแล้วหรือนี่ | |||
เต้นหยอยลอยหน้าท่ามันดี | ถ้าเอ็งมาเป่าปี่กูจะตีโทน | |||
มันเต้นผึงตึงตังดังสนั่น | ราวกับตาบุญจันแกออกโขน | |||
ใครใครไม่ละปะเป็นโดน | เป็นเรือโกลนออกขวางอยู่กลางคลอง | |||
เดิมทีวิวาทกับศรีมาลา | มันวิ่งร่ามาจนถึงประตูห้อง | |||
ชุมพลห้ามมันปามเอาจนร้อง | ตกร่องลงไปคาขา*** | |||
เป็นเหตุพระไชยเชษฐ์อยากขนม | สุวิชญาตากลมจึงด่าพร่ำ | |||
กูก้อยพลอยสับยับระยำ | มันทิ่มตำเต้นออกมานอกชาน | |||
เดิมว่ากระไรกันไม่ทันรู้ | ถามศรีมาลาดูเถิดนะหลาน | |||
ของเอ็งมันเหลือเบื่อรำคาญ | นานไปเอ็งอ้อยก็เหมือนกัน ฯ | |||
๏ พระไวยถามพลันมิทันช้า | เดิมทีศรีมาลาอย่างไรนั่น | |||
จึงฉาวไปทั้งเรือนเลื่อนเปื้อนครัน | ทะเลาะกันเรื่องราวเป็นอย่างไร | |||
ใจคอกระไรหนอช่างไม่คิด | ความอายสักนิดหามีไม่ | |||
ครั้นไม่ว่าชะล่าชะเลยใจ | ใครผิดก็จะได้ดูสักที ฯ | |||
๏ ศรีมาลาบอกความที่ถามไถ่ | พอหม่อมลงเรือนไปก็อึงมี่ | |||
ออกจากห้องร้องด่าเป็นโกลี | ฉันนี้ยังนั่งอยู่ในเรือน | |||
สารพัดที่จะด่าว่าประจาน | เหลือจะทานทนได้ไม่มีเหมือน | |||
แมวหมาด่าเปรอะออกเลอะเลือน | ว่าเชี่ยนขันเกลื่อนแตกทำลาย | |||
เสาโบสถ์เสาวัดมายัดให้ | ***ซ้ำตำใส่เอาง่ายง่าย | |||
อีข้าก็พลอยระดมประสมนาย | จันทร์อังคารพาดปรายป่ายประชด | |||
ว่าไปทัพจับเชลยในเรือนนอน | ขอดค่อนประจานทุกอย่างหมด | |||
เห็นหม่อมมาจึงราหยุดพยศ | เหลือจะอดอยู่แล้วคารมนาง ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าฟังความดังหนามยอก | ชะหม่อมเมียช่างบอกเล่นต่างต่าง | |||
จริงแล้วทั่นฉันนี้มันจืดจาง | ได้ทีนางแล้วก็ว่าให้สาใจ | |||
ตัวข้าหัวเดียวกระเทียมเน่า | ทีว่าเราใครหาได้ยินไม่ | |||
ช่วยกันถมให้จมทุกด้านไป | ครั้นถียงบ้างก็จะไล่เข้าตบตี | |||
เป็นข้าว่าอีไหมที่ในเรือน | ช่างกระเทือนถึงได้ไม่พอที่ | |||
เคราะห์ร้ายหมอทายมากว่าปี | อยู่ดีดีก็มาโดนเอาโดยเดา ฯ | |||
๏ อุเหม่อุแหม่อีแสนงอน | ช่างมาร่อนเสียงร้องออกเร่าเร่า | |||
เขาถามกันก็ถลันเข้ารับเอา | กูรู้เท่ามึงอยู่สิ้นทุกสิ่งอัน | |||
แต่ต่อหน้ายังกล้ามาขึ้นเสียง | ลับหลังใครจะเถียงได้หรือนั่น | |||
อีแสนงอนค่อนว่าสารพัน | ใครจะทันมึงเล่าเจ้ามายา | |||
แต่เด็กห้ามก็ยังปามเอาจนเจ็บ | แนมเหน็บเอาผู้ใหญ่ไม่คิดหน้า | |||
ใจคอเหี้ยมโหดโฉดปัญญา | ปากกล้าด่าคนไม่เกรงใจ | |||
ศรีมาลาช่วยมากี่ตำลึง | กูมึงชี้หน้าว่าเล่นได้ | |||
มันเหลือเลี้ยงจะเลี้ยงเอาไว้ไย | ฉวยกระชากไม้ได้ไล่ตีมา | |||
ขวับขวับยับตลอดไปทั้งหลัง | ลายกระทั่งทั่วตัวตลอดบ่า | |||
สร้อยฟ้ากลัวเต็มทีวิ่งหนีมา | ประทานโทษเมียราแต่ครั้งเดียว | |||
ศรีมาลาสงสารก็สิ้นแค้น | วิ่งแล่นเข้ายุดฉุดไม้เหนี่ยว | |||
หม่อมตีนี่กระไรเป็นริ้วเรียว | สร้อยฟ้าตลบเลี้ยวเข้าเรือนใน | |||
ปิดประตูใส่กลอนด้วยความกลัว | กลิ้งเกลือกเสือกตัวลงร้องไห้ | |||
เจ็บระบมตรมทั่วทั้งตัวไป | นางพิไรร่ำพลางเพียงวางวาย ฯ | |||
๏ โอ้ว่าอนิจจาตัวกูเอ๋ย | ไม่คิดเลยเมื่อพ่อพามาถวาย | |||
จะถูกกทั้งตีด่าประดาตาย | แสนอายสุดอย่างแล้วครั้งนี้ | |||
พ่อแม่อยู่ไกลไม่เหลียวเห็น | จะได้ใครผ่อนเข็ญให้กูนี่ | |||
จะพึ่งผัวดังเอาตัวทุ่มอัคคี | เขาขยี้เหยียบยับดังสับปลา | |||
โอ้พ่อร่มโพธิ์ทองของน้องแก้ว | ร่มแล้วหล่นแดดออกแผดจ้า | |||
กิ่งก้านเขารานเสียโรยรา | ยังแต่ฆ่าตายเปล่าเจ้าประคุณ | |||
เมื่อแรกเห็นจะเป็นจิรังกาล | มิรู้พาลพวกพกกระเชอนุ่น | |||
ฌอ้ชีวิตเห็นจะปลิดลงเป็นจุณ | จะสิ้นบุญปลดปลงลงม้วยมุด | |||
เหมือนลอยคว้างอยู่กลางทะเลไหล | จะว่ายไปพึ่งพิงตลิ่งสุด | |||
จะพึ่งตอตอหลักก็หักทรุด | จะต้องมุดตัวเร้นเป็นเรือดไร | |||
โอ้พ่อตราชูทองของน้องเอ๋ย | กระไรเลยเอนเอียงหาเที่ยงไม่ | |||
ยามร้อนเมียจะผ่อนไปพึ่งใคร | ทั้งญาติวงศ์อยู่ไกลกันต่างเมือง | |||
ทำไฉนจะให้รู้ไปถึงบ้าง | เห็นสิ้นอย่างสุดหล้าฟ้าเหลือง | |||
ครั้งนี้เห็นทีจะฝืดเคือง | ใครเลยจะกระเตื้องให้คืนตรง | |||
มีแต่พวกพาพาพากันซ้ำ | เห็นจะจมมันก็ตำแล้วค้ำส่ง | |||
กระเดือกดิ้นกว่าจะสิ้นชีวิตลง | อันจะคงคืนรอดเห็นเต็มที | |||
๏ ดังเพชรนิลบี่นหลุดออกจากเรือน | ทลายแหลกแตกเปื้อนลงป่นปี้ | |||
จะมืดคล้ำดำไปไม่มีดี | สักกี่ปีจะได้คืนขึ้นเรือนรอง | |||
คะนึงครวญป่วนจิตคิดระคาย | ไม่เหือดหายหันหุนยิ่งขุ่นข้อง | |||
ให้คิดแค้นศรีมาลาน้ำตานอง | แต่ตรึกตรองตรอมใจไม่ไสยา | |||
พอดึกนึกได้ในทันที | ขรัวครูของเรามีดีหนักหนา | |||
นานแล้วมิได้จะไปมา | จะยังอยู่หรือว่าเที่ยวเชือนแช | |||
จำจะเสาะแสวงให้แจ้งความ | ว่าไปอยู่อารามแห่งไหนแน่ | |||
ได้เถรขวาดเป็นสมอารมณ์แท้ | ถ้าพบแกครั้งนี้มิเป็นไร | |||
คะนึงครวญจนจวนเข้ายามสาม | ให้วาบหวามจิตปลงพะวงไหว | |||
มือซ้ายก่ายหน้าตรึกตราไป | จนหลับใหลสิ้นสมประฤดี ฯ | |||
๏ ครั้นแสงทองส่องสว่างกระจ่างฟ้า | พระสุริยาแจ่มจำรัสรัศมี | |||
เจ้าสร้อยฟ้าตื่นพลันทันที | ยิ่งคิดยิ่งมีความโกรธา | |||
กลุ้มกลัดขัดแค้นให้เคืองใจ | ด้วยพระไวยผัวรักเป็นหนักหนา | |||
ไปเชื่อฟังถ้อยคำศรีมาลา | มันยุยงเจียนฆ่าให้ม้วยมุด | |||
แค้นคำที่สน่ำเสนอผัว | ยกยอเนื้อตัวเป็นที่สุด | |||
ถ้านิ่งให้คงกระหน่ำซ้ำจนทรุด | เอาจนหลุดลอยลิ่วปลิวตามลม | |||
กูก็ชาติเรือกุไลใบสลัด | ถึงลมพัดก็คงเลียดเสียดประสม | |||
จะฝ่าฝืนคลื่นไว้มิให้จม | ถึงใบบ้อยจะระทมก็ตามที | |||
เต็มจนก็จะทนลองทอดสู้ | เมื่อจะอยู่หรือมิอยู่ให้รู้ที่ | |||
จำจะหาต้นหนที่คนดี | มาช่วยชี้ทิศให้ในสายชล | |||
เถรขวาดเธอฉลาดล้ำมนุษย์ | พอจะยุดเหนี่ยวเถรเป็นต้นหน | |||
มันทำแค้นกูก่อนให้ร้อนรน | จะแก้แค้นแทนทนในครั้งนี้ | |||
คิดแล้วจึงเรียกอีไหมเหวย | อย่าช้าเลยออเจ้าเข้ามานี่ | |||
กูเจ็บช้ำนี่กระไรใช่พอดี | หรือจะโจทย์เจ้าหนีก็ตามใจ | |||
นี่เจ้าคิดอย่างไรในใจเจ้า | เห็นว่าเราเสียทีหรืออีไหม | |||
จะเป็นพวกศรีมาลาหรือว่าไร | จงบอกไปจริงจริงอย่านิ่งฟัง ฯ | |||
๏ อีไหมฟังว่าน้ำตาย้อย | ข้าน้อยเป็นข้ามาแต่หลัง | |||
พระแม่เจ้าเลี้ยงไว้ที่ในวัง | ตั้งแต่แม่ยังเป็นข้าไท | |||
เจ้ายากจากเวียงเชียงใหม่มา | ยังอุตส่าห์สู้ยากหาจากไม่ | |||
มาเห็นเขาข่มเหงไม่เกรงใจ | ลูกนี้ไม่วายแค้นสักเวลา | |||
ถ้าวานนี้ช่วยได้ก็ไม่ฟัง | จะเฆี่ยนหลังเสียให้ตายก็ไม่ว่า | |||
แม่จะคิดฉันใดในปัญญา | แก้แค้นศรีมาลาให้แหลกลง ฯ | |||
๏ ข้าคิดแล้วนางไหมอย่าได้พรั่น | ขยี้มันให้เป็นแป้งระแนงผง | |||
ครูเราเจ้าหัวนี้ตัวยง | เพียงดังองค์ปู่เจ้าสมิงพราย | |||
แม้นว่าใครดีผีก็อยู่ | สู่ใครให้พบก็พบง่าย | |||
ให้เป็นก็เป็นสะดวกดาย | ถ้าให้ตายก็ตายลงทันตา | |||
ชำนิชำนาญการเสน่ห์ก็ถนัด | เอ็งเร่งรัดเร็วรีบออกไปหา | |||
เล่าความตามเข็ญที่เป็นมา | แม้นเถรขวาดนับหน้าอย่านอนใจ | |||
จงเห็นแก่พระปิ่นเชียงอินทร์นั้น | ผ่อนผันแก้แค้นให้จงได้ | |||
จะให้ทองห้าตำลึงให้ถึงใจ | ตัวเอ็งก็จะให้ถึงส่วนกัน ฯ | |||
๏ อีไหมว่าไฮ้อย่าว่าเจ้า | ข้อยบ่เอาสินจ้างเป็นอย่างซั่น | |||
จริงแล้วเจ้าหัวตัวสำคัญ | ตัวของฉันจะลาไม่ช้าที | |||
ว่าแล้วเท่านั้นมิทันช้า | วันทาลุกออกไปจากที่ | |||
ลูบตัวหัวใส่น้ำมันตะนี | ห่มสีนกกาลิงดุพริ้งเพรา | |||
ผ้านุ่งพุ่งไหมตาตาราง | สอดซับในบางชมพูเข้า | |||
ส้มสูกเลือกสรรแต่กลั่นเกลา | กินข้าวเช้าอิ่มพลันก็ครรไล ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงเถรขวาดราชครู | แต่เดิมอยู่วัดเวียงที่เชียงใหม่ | |||
รู้วิชาสารพัดจัดเจนใจ | ทั้งเวียงชัยขึ้นชื่อระบือฤทธิ์ | |||
เมื่อทัพไทยไปประชิดติดเชียงใหม่ | ไปอยู่ป่าหาเหล็กไหลกายสิทธิ์ | |||
พอรู้จะมาสู้ปัจจามิตร | ไม่สมคิดเพราะไทยได้พารา | |||
เจ้าเชียงใหม่ให้สัตย์เสียเสร็จสิ้น | เถรเสียดายดังจะดิ้นดับสังขาร์ | |||
ครั้นเมื่อต้อนลาวลงอยุธยา | เจ้าเชียงใหม่ให้มาเป็นเพื่อนตน | |||
ด้วยเชื่อถือความรู้พระครูเฒ่า | ไว้ปัดเป่าแก้ววิบัติเมื่อขัดสน | |||
เอากำลังอุปเล่ห์เวทมนตร์ | ช่วยให้พ้นภัยรอดปลอดกลับไป | |||
ครั้นว่าเจ้าเชียงใหม่ได้คืนหลัง | แต่สร้อยฟ้านั้นยังต้องอยู่ใต้ | |||
เธอห่วงลูกอาวรณ์ร้อนฤทัย | จึงสั่งให้ราชครูอยู่เพื่อนนาง | |||
เผื่อจะเกิดขุกเข็ญเป็นอย่างไร | ให้เถรคอยแก้ไขเพื่อขัดขวาง | |||
อย่าให้ใครล่วงรู้ดูลู่ทาง | ให้เป็นอย่างพระธุดงค์ที่ลงมา | |||
เถรขวาดรับคำแล้วทำตาม | ไปอยู่วัดพระรามเกือบพรรษา | |||
แกไม่ทิ้งเพศลาวชาวลานนา | ฉันสุราข้าวค่ำอยู่ร่ำไป | |||
ไปลงโบสถ์เมามายทำวายวุ่น | จนเจ้าคุณพระพิมลไม่ทนได้ | |||
ว่าเถรตู้ขี้เมาไม่เอาไว้ | จึงขับไล่จากคณะวัดพระราม | |||
เถรก็เที่ยวซัดเซระเหระหน | กับเณรจิ๋วสองคนเที่ยวด้นถาม | |||
จะหาวัดลับลี้หนีถ้อยความ | พยายามมาถึงวัดพระยาแมน | |||
เห็นกุฎีร้างข้างป่าช้า | ทั้งพระเณรศิษย์หาไม่หนาแน่น | |||
ก็เข้าอยู่อาศัยไปตามแกน | เที่ยวบิณฑบาตขาดแคลนพอเลี้ยงตัว | |||
แต่เณรจิ๋วนั้นดีมีปัญญา | เที่ยวบอกเล่าข่าววิชาของท่านขรัว | |||
ว่าศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์ภูตผีกลัว | รักษาใครหายทั่วทุกแห่งมา | |||
พวกชายหญิงชาวบ้านร้านตลาด | ก็เกลื่อนกลาดติดตามมาถามหา | |||
บ้างมาขอเครื่องรางบ้างขอยา | บ้างขอผ้าประเจียดลงเป็นองค์พระ | |||
ที่บ้างถูกคุณไสยมาไหว้บน | ให้ปัดเป่าเอาน้ำมนตร์รดศีรษะ | |||
เขาถวายข้าวปลาธารณะ | ค่อยเปลื้องปละอดอยากลำบากใจ | |||
แต่ลางวันพ้นเพลตาเถรเฒ่า | ยังกินเหล้าข้าวค่ำหาทิ้งไม่ | |||
จะต้องเลี้ยงหมาไว้เห่าเฝ้าบันได | ใครจู่มาหมาไล่ให้รู้ตัว | |||
สบเพลากินเหล้ายังเมามาย | เณรก็ช่วยเพทุบายให้ท่านขรัว | |||
ว่าท่านอาพาธไปให้มึนมัว | พอยังชั่วจะไปบอกให้ออกมา | |||
เพราะเณรจิ๋วรู้เช่นเห็นความชั่ว | ก็ไม่กลัวขรัวครูจะด่าว่า | |||
อยู่ด้วยเพราะสมัครรักวิชา | จึงได้เป็นศิษย์หาต่างตาใจ ฯ | |||
๏ วันนั้นนางไหมไปตอนเช้า | ถึงเข้าถามพระครูอยู่หรือไม่ | |||
พอหมาเห็นเห่าโฮกกระโชกไป | ลอมนางไหมไล่กระชั้นอยู่พันพัว | |||
เณรจิ๋วร้องเฉดไอ้เปรตหมา | นั่นใครมาหาข้าหรือหาขรัว | |||
นางไหมหนีหมาประหม่ากลัว | ร้องเจ้าหัวจงช่วยข้อยด้วยรา | |||
เณรจิ๋วไล่หมาคว้าข้อมือ | ลากรื้อขึ้นข้างบนให้พ้นหมา | |||
เคยรู้จักทำยักคิ้วหลิ่วตา | ฉวยชายผ้าข้าขอเถิดเป็นไร | |||
นางไหมปัดมือว่าฮือเจ้า | ปลาขอดแล้วยังกระดิกได้ | |||
เณรจิ๋วว่าปลาหมอบ่ท้อใคร | ถึงเกล็ดลอกปอกไปใจยังดี | |||
นางไหมว่าไฮ้เจ้าเณรจิ๋ว | ฉังจ้าปลาซิวตามตอดขี้ | |||
ว่าพลางย่างเท้าเข้ากุฎี | เห็นตาชีเถรขวาดขัดสมาธิเอน | |||
ก็ทรุดนั่งวางกระทายไหว้ท่านขรัว | ว่าเจ้าตัวใช้ข้ามาหาเถร | |||
ยกส้มสูกลูกไม้ไปประเคน | เจ้าเณรรับถ่ายกระทายคืน ฯ | |||
๏ เถรขวาดทักว่าสีกาไหม | ช่างนานมานานไปเหมือนคนอื่น | |||
ให้รูปคอยน้อยหรือทุกวันคืน | ไม่มีชื่นจนจะหง่อมลงงอมแงม | |||
สีกาลงมาแต่เชียงใหม่ | ค่อยสบายหรือไรดูเห็นแจ่ม | |||
ห่มสอดรับสีสลับแกม | สองแก้มเป็นกระติกน่าเอ็นดู | |||
ถ้าอยู่เวียงเชียงใหม่ที่ไหนเล่า | จะใส่ต่างวางเข้าจนกบหู | |||
ลงมาอยู่เมืองใต้ไทยเป็นครู | รูหูแคบเชือนเหมือนกับไทย | |||
เจ้านายใช้มาเป็นหยังหั้น | อยู่ดีด้วยกันหรือไฉน | |||
หรือว่าเกิดทุกข์โศกมีโรคภัย | นางไหมมีผัวแล้วหรือยัง ฯ | |||
๏ นางไหมไหว้ตอบหลวงตาขวาด | ไร้ญาติบ่เห็นจะเป็นฉัง | |||
แสนลำบากยากจนพ้นกำลัง | อยู่ลำพังบ่าวนายไม่คลายใจ | |||
อันลูกผัวตัวข้อยนี้แสนขลาด | แต่ตลาดก็บ่ออกไปเบิ่งได้ | |||
นับเบี้ยก็บ่เป็นเหมือนเช่นไทย | นี่เจ้าใช้มาดอกจึงออกมา | |||
ด้วยว่าหม่อมไวยผัวตัวนาง | เริดร้างแรมรักเสียหนักหนา | |||
ไปเชื่อถ้อยฟังคำศรีมาลา | เขายุให้ตีด่าดังข้าไท | |||
เจ้าหัวโปรดด้วยไปช่วยกัน | เชิญขวัญหม่อมามาให้จงได้ | |||
ให้นอนด้วยองค์นางพอสร่างใจ | ท่านจะให้ทองมาห้าตำลึง ฯ | |||
๏ เถรขวาดหัวร่ออ่อเท่านั้น | ให้เชิญขวัญหม่อมไวยมาให้ถึง | |||
นอนกับนายของเจ้าไดเคล้าคลึง | ความขึ้งเคียดนั้นจะพลันคลาย | |||
ข้อธุระสีกามาหาเรา | จะช่วยเจ้าอย่าวิตกให้โศกหาย | |||
แต่ความทุกข์ของหลวงตาประดาตาย | เจ้านายโปรดบ้างจะบางเบา | |||
ว่ากันตัวต่อตัวแต่หัวที | ถ้าสิ้นทุกข์โศกดีจะขอเจ้า | |||
เอาไว้อยู่คู่ชีวิตแทนศิษย์เรา | พอหุงข้าวกลางวันให้ฉันเพล ฯ | |||
๏ นางไหมว่าไฮ้ขรัวตาขวาด | ข้าบ่ปรารถนาเว้าเอาผัวเถร | |||
ตาจนเป็นน้ำข้าวมาเว้าเกน | เดนแร้งถามข่าวทุกคราววัน | |||
หาคิดถึงตัวไม่อยากได้สาว | จะสึกห่อผ้าขาวหรือไรนั่น | |||
อายุเก้าสิบปีบ่มีฟัน | แมลงวันตัวเมียบ่บินตอม ฯ | |||
เถรว่าตัวเราถึงเฒ่าแก่ | ก็ชอบชมสาวแส้แก้มหอมหอม | |||
นี่คนแก่ดอกมิใช่ลูกไม้งอม | ถึงนกหกตามตอมไม่หล่นไป | |||
อันมนุษย์นี้มันสุดที่ไหนเจ้า | ถึงแก่เฒ่าก็เผยอเอออวยได้ | |||
ยังไม่เหม็นคาวปลาอย่าว่าไป | การงานทำได้เรี่ยวแรงมี | |||
เป็นแต่ว่าเหนื่อยนักขี้มักหอบ | ต้องวางจอบนั่งพูดดูดบุหรี่ | |||
น้ำท่าหากินไปตามที | พอแรงมีลุกขึ้นจ้ำจนค่ำลง | |||
กระถดเข้ามานี่สีกาไหม | วานเข้ามาให้ใกล้หยิบผ้าส่ง | |||
จริงหนาว่ากันให้มั่นคง | ดูสบงบ้างเป็นไรสุดใจจริง ฯ | |||
๏ เณรจิ๋วเยี่ยมหน้าคาประตู | ว่าขรัวครูอย่าไปเว้าเอาผู้หญิง | |||
ข้าบอกให้มิใช่จะช่วงชิง | เห็นนอนนิ่งอยู่แต่วัดมาอัตรา | |||
จะเข้าเนื้อเข้าใจอันใดนั่น | คอยเว้าเอาแต่ฝันเถิดดีกว่า | |||
วันนั้นไปบิณฑบาตยาจนา | เกี้ยวสีกามันยังก้มถ่มน้ำลาย | |||
เถรขวาดร้องว่าฮ้าอ้ายจิ๋ว | อ้ายอัปรีย์ขี้ริ้วพูดง่ายง่าย | |||
เพ้อเจ้อเซ้าซี้ไม่มีอาย | ตะวันบ่ายหาเพลเถิดเณรเคอะ | |||
เณรจิ๋วขัดใจไพล่ลุกมา | หลวงตานั่งเกี้ยวคนเดียวเถอะ | |||
ไม่กลัวบาปกลัวกรรมทำหยำเหยอะ | เถรด่าว่าอ้ายเตอะจะต้องตี | |||
อย่าว่าให้ยืดยาวเลยสาวไหม | เจ้าเชิญให้สร้อยฟ้าออกมานี่ | |||
พรุ่งนี้ฤกษ์งามยามดี | จงลอบหนีออกมาอย่าวุ่นวาย ฯ | |||
๏ นางไหมรับคำแล้วอำลา | พรุ่งนี้ข้อยจะมามิให้สาย | |||
ออกจากวัดลัดทางย่างเยื้องกราย | แลเห็นนายนั่งเยี่ยมหน้าต่างมอง | |||
สร้อยฟ้าเห็นหน้าพยักยิ้ม | อีไหมกริ่มเข้าห้องย่องค่อยค่อย | |||
กระซิบเล่าความออกบอกตะบอย | ข้าน้อยไปหาขรัวตาครู | |||
ท่านขรัวเห็นแน่ว่าแก้ได้ | อย่าให้เสียน้ำใจจะช่วยอยู่ | |||
พรุ่งนี้ให้ไปหาว่ากันดู | เจ้ากูจะทำให้สำคัญ ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าสร้อยฟ้า | ฟังว่าปรีดิ์เปรมเกษมสันติ์ | |||
นอนตรึกนึกสมอารมณ์ครัน | ครั้นรุ่งแสงสุริยันขึ้นทันใด | |||
ไปอาบน้ำชำระราคี | ขัดสีนวลละอองให้ผ่องใส | |||
เห็นรอยตีที่แขนยังแค้นใจ | หลังไหล่ลูบช้ำระกำกาย | |||
เจ็บแผลแต่ไม่ถึงที่เจ็บใจ | ไม่แก้แค้น***ได้ก็ไม่หาย | |||
ถึงรอยไม้หายแล้วก็ไม่วาย | ยังไม่ตายแล้วจะแก้ไม่แพ้มัน | |||
ผลัดผ้าลุกมาเข้าห้องนอน | ข้อนข้อนอกใจให้หวั่นหวั่น | |||
หวีหัวผัดหน้าสียาฟัน | ห่มสไบสองชั้นเข้าทันที | |||
หยิบหีบหมากส่งให้อีไหมรับ | พลางขยับลุกเลื่อนออกจากที่ | |||
ข้าวของสมควรล้วนดีดี | ส่งให้ทาสีที่ไว้ใจ | |||
พอพระไวยไปเฝ้าเจ้าก็มา | ใครหาทันสงกาสังเกตไม่ | |||
ถึงวัดพระยาแมนเข้าทันใด | ขึ้นไปบนกุฎีด้วยปรีดา | |||
นั่งราบกราบกรานอาจารย์เจ้า | ของข้าวประเคนให้หนักหนา | |||
บ่าวไพร่ให้ไปพักอยู่ศาลา | สร้อยฟ้ากับอีไหมอยู่ในนั้น | |||
สร้อยฟ้าวอนว่าพระอาจารย์ | ความทุกข์ของหลานนี้สุดกลั้น | |||
ด้วยหม่อมผัวทำโพยโบยรัน | ให้น้อยน้ำหน้ามันศรีมาลา | |||
ยุยงแสร้งส่อทุกสิ่งไป | พระไวยเชื่อฟังที่มันว่า | |||
ละร้างห่างเหทุกเวลา | ปะตามีแต่ค้อนให้เคืองใจ | |||
ทั้งท่านทองประศรีที่เป็นย่า | ระดมด่าเคี่ยวเข็ญหาเว้นไม่ | |||
ขรัวปู่เอ็นดูให้พ้นภัย | ให้พระไวยนั้นกลับมาหลับนอน | |||
ว่าพลางทางแก้ซึ่งถุงทรัพย์ | นับให้ขวัญข้าวเจ้าหัวก่อน | |||
ถ้าหม่อมไวยเธอมาอย่าอาวรณ์ | จะขนคอนมาให้ทุกสิ่งอัน ฯ | |||
๏ เถรขวาดนิ่งนั่งฟังสร้อยฟ้า | แล้วตอบว่าทุกข์ไปทำไมนั่น | |||
ถ้ารูปทำลงให้ไม่ถึงวัน | พระไวยก็จะหันมาคืนดี | |||
ว่าแล้วเท่านั้นมิทันช้า | จุดธูปเทียนบูชาเข้านั่งที่ | |||
หยิบขันสัมฤทธิ์ประสิที | ฤกษ์ดีตักน้ำมาเสกพลัน | |||
อึดใจเป่าไปก็พล่านพลุ่ง | เป็นฝอยฟุ้งฟองฟูขึ้นท่วมขัน | |||
ส่งให้เจ้าสร้อยฟ้านั้น | อธิษฐานเสียให้ทันที่ฤกษ์ดี ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าสร้อยฟ้า | รับทูลเกศาเกษมศรี | |||
ขอพระเวทวิเศษประสิทธี | ให้สูญสิ้นราคีที่ร้ายรอง | |||
จงเข้าดลใจพระไวยผัว | ให้มืดมัวลุ่มหลงมาลงห้อง | |||
แล้วชิงชังศรีมาลาอย่านึกปอง | ต้องมนตร์พันพัวให้มัวใจ | |||
ครั้นอธิษฐานเสร็จแล้วสระผม | ที่เกรียมตรมขุ่นหมองค่อยผ่องใส | |||
นวลหน้าฝ้าจับกระจายไป | สบายใจพูดจากับอาจารย์ ฯ | |||
๏ ครานั้นเถรขวาดราชครู | พิเคราะห์ดูปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ | |||
หยิบขี้ผึ้งปากผีมามินาน | เอาเถ้าพรายมาประสานประสมพลัน | |||
ลงอักษรเสกซ้อมแล้วย้อมผม | เป่าด้วยอาคมแล้วจึงปั้น | |||
เป็นสองรูปวางเรียงไว้เคียงกัน | ชักยันต์ลงชื่อศรีมาลา | |||
อีกรูปหนึ่งลงชื่อคือพระไวย | เอาหลังติดกันไว้ให้ห่างหน้า | |||
ปักหนามแทงตัวทั่วกายา | แล้วผูกตราสังมั่นขนันไว้ | |||
ซ้ำลงยันต์พันด้วยใบเต่ารั้ง | ให้เณรจิ๋วไปฝังป่าช้าใหญ่ | |||
แล้วปั้นรูปสร้อยฟ้ากับพระไวย | เอาใบรักซ้อนใส่กับเลขยันต์ | |||
เถรนั่งบริกรรมแล้วซ้ำเป่า | พอต้องสองรูปเข้าก็พลิกผัน | |||
หันหน้าคว้ากอดกันพัลวัน | เอาสายสิญจน์เข้ากระสันไว้ตรึงตรา | |||
รูปนี้จงฝังไว้ใต้ที่นอน | ไม่ข้ามวันก็จะร่อนลงมาหา | |||
แล้วเสกแป้งน้ำมันจันทน์ทา | ประสมด้วยว่านยาน้ำมันพราย | |||
ครั้นเสร็จส่งให้เจ้าสร้อยฟ้า | ไปเถิดสีกาตะวันสาย | |||
พรุ่งนี้ถ้ากระไรได้แยบคาย | ให้นางไหมขยายมาส่งเพล ฯ | |||
๏ เจ้าสร้อยฟ้าตอบว่าอย่าร้อนใจ | ขอแต่ให้สมคิดเถอะคะเถร | |||
ว่าแล้วอำลาทั้งเถรเณร | ออกบริเวณวงวัดลัดกลับมา | |||
พอถึงเคหาพยายาม | ทำตามเถรสั่งหาช้าไม่ | |||
ครั้นพลบค่ะร่ำคอยละห้อยใจ | ทอดตัวลงในที่นอนครวญ ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าหมื่นไวย | นอนอยู่ในห้องฝันให้ปั่นป่วน | |||
ว่าสาวน้อยสร้อยฟ้ามาเชิญชวน | ให้ไปนอนแนบนวลที่ห้องนาง | |||
หลงพูดพึมเพ้อละเมอหา | ตื่นขึ้นเห็นศรีมาลาอยู่เคียงข้าง | |||
ให้ร้อนวาบปลาบใจดังไฟฟาง | พลิกกระด้างกระเดื่องดูไม่เต็มตา | |||
สว่างแสงอัจกลับวะวับห้อง | ละเมอมองเงาฉงนชะโงกหา | |||
พระพายพัดเกสรขจรมา | หวั่นวาบวิญญาณ์สยองใจ | |||
พระจันทร์แจ่มกระจ่างสว่างดวง | โชติช่วงดาวอร่ามสามไสว | |||
เที่ยวค้นหาน้องในห้องใน | ต่อเข้าใกล้จึงรู้ว่าผิดคน | |||
คิดว่าเจ้ามิรู้เงาพฤกษชาติ | ให้หวั่นหวาดหนังพองสยองขน | |||
หรือผีร้ายมันลองคะนองตน | แต่เพ้อพกมาจนถึงเรือนนาง | |||
เข้าแอบฟังข้างฝาสงัดเงียบ | ไม่ไหวเกรียบปะทีปไฟไสวสว่าง | |||
ผลักบานดาลดึงอยู่กึ่งกลาง | เคาะเคาะคอยพลางจะดูที ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าสร้อยฟ้า | ไม่พูดจาจามไอให้อึงมี่ | |||
เห็นเดชะพระเวทวิเศษดี | ด้วยเถรชีสั่งไว้ทุกสิ่งพร้อม | |||
ถ้าแม้นผัวมาหาอย่ากลัวผิด | ให้ลองฤทธิ์พระครูดูใจหม่อม | |||
จะเกรี้ยวกราดเหมือนแต่ก่อนหรือหย่อนยอม | ใครมาด้อมอยู่นี่ผีหรือคน | |||
ช่างไม่เกรงน้ำใจพระไวยผัว | ตัวข้อยสร้อยฟ้านี้ยับป่น | |||
ต้องโบยตีเหลือที่จะทานทน | หรือผีปู่สู่ตนจะบนบวง | |||
ยังอุตส่าห์มาเยียนต้องเฆี่ยนตี | พรุ่งนี้จะเชิญไปกินขวง | |||
คงจะให้แก่เจ้าบ่เว้าลวง | อย่าเป็นห่วงมาห้องน้องจะนอน ฯ | |||
๏ โอ้ว่าสร้อยฟ้าแก้วตาพี่ | มิใช่ผีสางดอกมาหลอกหลอน | |||
ดวงจิตเจ้าอย่าคิดอนาทร | ขวัญอ่อนเจ้าอย่าอาลัยครวญ | |||
เจ้าหวาดหวั่นวันตีเมื่อต้องโทษ | ขวัญแม่โลดผาดผันจึงปั่นป่วน | |||
มาจะรับขวัญน้องประคองควร | ให้คืนเข้าร่างนวลสนิทกาย | |||
งามแช่มแม่จงแย้มใบดาลรับ | อย่าหวนหับห้องเมินเชิญขยาย | |||
จงคลายโศกเสื่อมทุกข์สุขสบาย | เหือดหายที่โทษบรรเทาใจ ฯ | |||
๏ หม่อมดอกหรือฉันไม่ทันรู้ | ฉันคิดอยู่ว่าจะมาไม่ได้ | |||
นี่หม่อมมาได้ลาแล้วหรือไร | ไม่เกรงใจแม่ศรีมาลาเลย | |||
ถ้าหล่อนฟื้นตื่นขึ้นไม่พานพบ | จะเต้นหรบอยู่แล้วแก้วแม่เอ๋ย | |||
จะตามหาท่านผู้ชายร้อยวายเวย | นิจจาเอ๋ยก็จะชวดที่ชมกัน | |||
เชิญกลับไปห้องอย่าหมองมัว | ฉันคนชั่วดอกมิใช่สาวสวรรค์ | |||
สารพัดชั่วช้าทุกสิ่งอัน | เถิดเท่านั้นเมื่อแล้วก็แล้วไป | |||
หลังน้องพองพังไปทั้งกาย | หารู้ที่จะสบายด้วยหม่อมไม่ | |||
รอยไม้ลายทั่วทั้งตัวไป | เจ็บทั้งในนอกเนื้อก็เหลือทน | |||
ยังจะมาก่อกรรมให้ซ้ำเสีย | หน่อยหม่อมเมียจะมาด่าเล่นจ้นจ้น | |||
แต่กระนี้ยังไม่วายจะอายคน | จะก่อกวนให้เขาก่นกระไรไป ฯ | |||
๏ โอ้ว่าแก้วแววตาของพี่เอ๋ย | อย่านึกเลยพี่หาเป็นเช่นนั้นไม่ | |||
พี่รักเจ้าเทียมเท่ากับดวงใจ | มิได้วายรักสักเวลา | |||
ผิดพลั้งมั่งก็ตีกันซีเจ้า | หรือเปล่าเปล่าผัวพาลพาโลว่า | |||
เจ้าขึ้นเสียงเปรี้ยงชี้ไม่พริบตา | โกรธาดอกจึงถึงทุบตี | |||
เป็นเหตุเพราะเจ้าห้าวหาญนัก | ฮึกฮักไม่เกรงน้ำใจพี่ | |||
คลายแค้นก็ยังแสนจะปรานี | เจ้าถือโทษประหนึ่งพี่จะเด็ดไป | |||
ผัวผิดคิดมั่งเมื่อครั้งรัก | จะหาญหักเคียดขึ้งไปถึงไหน | |||
จงเสื่อมโศกสร่างเศร้าให้เบาใจ | อย่าตัดไมตรีพี่นี่จริงจริง | |||
อย่าพักวอนให้อ่อนให้หายแค้น | เหลือแสนฝังใจไว้ทุกสิ่ง | |||
ยามดีมีแต่จะชังชิง | คุณหญิงยิ่งยั่วให้หยามใจ | |||
หม่อมด่าสารพัดจะตัดรอน | แคะค่อนขอดว่าไม่ปราศรัย | |||
รอดด้วยพ่อชุมพลจึงพ้นภัย | ไม่หลบเข้าห้องได้ก็วายปราณ | |||
แต่กระนั้นยังขยับจับกระบี่ | หม่อมศรีมาลาซ้ำเอาฉานฉาน | |||
ด่าให้เมียฟังตั้งประจาน | เพื่อนบ้านเบื่อฟังกำลังมัว | |||
ไม่หนำใจไล่ความว่าทะเลาะ | ฉวยดาบมาจะเฉาะกะลาหัว | |||
ว่าเล่นว่าได้จะให้กลัว | เพราะหม่อมหญิงหล่อนยั่วให้ยวนใจ | |||
เออเมื่อกอดจูบกันทำหยันเย้ย | หัวอกใครไหนเลยจะอดได้ | |||
มากล่าวแต่ลมลวงให้ลืมไป | ฉันเข้าใจไม่มีเปล่าทุกเช้าเย็น | |||
ถึงกรางทองทองให้กินไม่ยินดี | ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่ขอเห็น | |||
ผู้ชายปราบปรามเมียก็ไม่เป็น | เอ็นลิ้นสิ้นดีแต่เล่ห์กล ฯ | |||
๏ เออน่าฟังน้อยหรือถ้อยคำ | ช่างจะร่ำไรเรื่องแต่เบื้องต้น | |||
เมื่อขึ้นเสียงย่อนย่อนไม่ผ่อนปรน | เจ้าก่อก่อนแล้วมาบ่นเอากับใคร | |||
ผัวห้ามเจ้าจะยั้งมั่งแล้วหรือ | กลับดึงดื้อเอาเสียอีกหาหลีกไม่ | |||
กระทบกระเทียบเปรียบปรายมากมายไป | คือว่าใครได้สลัดถึงตัดรอน | |||
ผัวห้ามก็ยิ่งพกโมโหฮึก | กลับสะอึกเข้ามาเถียงเอาย่อนย่อน | |||
ผัวมาหากลับว่าเป็นแง่งอน | ความที่ร้อนรักนุชนี้สุดทน | |||
พี่เรียกหาแก้วตาไม่เปิดรับ | ยังมากลับว่าพี่จนปี้ป่น | |||
ว่าพลางทางร่ายพระเวทมนตร์ | สะเดาะกลอนถอนหล่นลงทันที ฯ | |||
สร้อยฟ้าผลักรานใบดาลเปิด | ดูเอาเถิดหม่อมไวยอะไรนี่ | |||
แกล้งกวนโมโหเป็นโกลี | ประเดี๋ยวนี้เป็นอะไรก็เป็นไป ฯ | |||
๏ ชิต้าแต้เจ้าแม่เอ๋ย | คารี้คารมกระไรเลยหาเหือดไม่ | |||
คันมือเถิดหรือให้สมใจ | ทำเป็นคว้าไม้จะตีเอา ฯ | |||
กล้าดีตีซิไม่ฟังกัน | หุนหันหดมือไปไหนเล่า | |||
มิข่วนให้เลือดพรูก็ดูเอา | ทำผลักไสไม่ให้เข้ามาไยดี | |||
ชะกระไรใจน้องดื้อจริงหนอ | สะพ้านคอเอนเอียงลงกับที่ | |||
อุ้มขึ้นที่นอนวอนพาที | ผัวไม่ตีให้เจ้าช้ำระกำใจ | |||
น้องเอ๋ยเลิกทีที่ขุ่นเคือง | จะกระเดื่องกระดากดิ้นผินไปไหน | |||
ว่าพลางสอดคล้องทำนองใน | สำราญใจจนหลับไปกับนาง ฯ | |||
๏ ครั้นแสงทองส่องฟ้าเวหาเหลือง | อร่ามเรืองเหนือใต้ไสวสว่าง | |||
แดดส่องเข้าช่องหน้าต่างกลาง | พระไวยนางสร้อยฟ้าก็ตื่นพลัน | |||
ลูกจากเตียงชวนกันบ้วนปาก | อีไหมคลานเอาพานหมากมาตั้งนั่น | |||
ปะตาสร้อยฟ้าให้ตากัน | ฝ่ายพระไวยผายผันจะเข้าวัง | |||
ผลัดผ้าคว้าร่มลงจากเรือน | ทนายหนุ่มกลุ้มเกลื่อนมาตามหลัง | |||
คิดถึงสร้อยฟ้าพะว้าพะวัง | จนกระทั่งท้องพระโรงเข้าทันใด | |||
เจ้าพระยาหลวงแลหมื่นขุน | ว้าวุ่นเข้าเฝ้าอยู่ไสว | |||
ปางพระองค์ผู้ดำรงภพไทร | สำราญราชหฤทัยเปรมปรีดิ์ | |||
พระจึงมีสีหนาทประภาษถาม | อ้ายพลายงามเป็นกระไรจึงหมองศรี | |||
ดูหน้าตาฝ้าคล้ำไม่มีดดี | เอ็งนี้ไม่สบายด้วยอันใด | |||
หรือเมียมึงหึงหวงจ้วงจาบ | หยามหยาบเกินเลยหรือไฉน | |||
ใครมีเมียสองมักหมองใจ | จะหาความสบายได้มิใคร่มี | |||
ถ้าแม้นมีสามสี่เสียดีกว่า | ต้องตำราว่าเป็นสุขเกษมศรี | |||
แน่ะกูว่าแล้วเอ็งตรองดูให้ดี | มันจะเป็นราศีข้างหน้าไป ฯ | |||
๏ พระหมื่นไวยบังคมก้มเกล้า | ให้มัวเมาหมกมุ่นไม่ทูลได้ | |||
ไม่สว่างสร่างมนตร์ที่ดลใจ | จึงมิได้กราบทูลพระกรุณา ฯ | |||
ตอนที่ ๓๘ พระไวยถูกเสน่ห์
๏ จะกลับกล่าวถึงลาวนางสาวไหม | พอพระไวยเดินออกนอกเคหา | |||
กรุ้มกริ่มยิ้มละไมอยู่ไปมา | กระซิบถามสร้อยฟ้าไปทันใด | |||
วันนี้เห็นทีค่อยแช่มชื่น | มาเมื่อคืนยังว่าหรือหาไม่ | |||
หรือดีแล้วเหมือนแต่ก่อนร่อนชะไร | ฉันนอนหวั่นพรั่นใจไม่หลับเลย ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้ายิ้มเมินสะเทิ้นอาย | ที่ดุร้ายหายแล้วละเอ็งเอ๋ย | |||
กูปรักปรำหลายคำไม่เถียงเลย | มีแต่ปลอบชอบเชยให้ชื่นใจ | |||
คุณท่านขรัวดับเข็ญเห็นทันตา | จะหักอีศรีมาลาให้จงได้ | |||
จะพาโลเอาต่อหน้าพระหมื่นไวย | ยุให้ผัวเฆี่ยนให้เจียนตาย | |||
อีไหมหัวเราะว่าเหมาะจริง | ทีนี้เจ้าจอมหญิงหยิ่งจะหาย | |||
กำลังลมชักใบให้สบาย | แต่หมายหมายมาก็สมได้ลมดี ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงพระไวยวรนาถ | เสด็จขึ้นอภิวาทลุกจากที่ | |||
ให้คิดถึงสร้อยฟ้านารี | ทุกนาทีรำพึงถึงแต่นาง | |||
ให้ขุ่นเคียดเกลียดชังศรรีมาลา | มันจะคิดริษยาอย่างไรบ้าง | |||
กลับถึงเคหามาหอกลาง | สองนางออกนั่งอยู่พร้อมกัน | |||
ศรีมาลากำลังยกพานผ้า | สร้อยฟ้าแกล้งเสียดเบียดถลัน | |||
ทำเซซวนม้วนล้มลงฉับพลัน | เออกระนั้นสิหม่อมขาเจ้าจอมดู | |||
เอาแขนกั้นไว้ไม่ให้เข้า | ถ่มน้ำลายรดเอาเปื้อนหัวหู | |||
กระซิบด่าอ้าปากน้ำหมากพรู | ถีบให้ผัวดูเล่นดูตามที | |||
พระไวยเมินไปพลันไม่ทันดู | ได้ยินเสียงร้องอยู่ออกอึงมี่ | |||
เหลือบเห็นสร้อยฟ้านารี | ล้มอยู่เคียงที่ศรีมาลานั้น | |||
ให้พิโรธโกรธใจดังไฟวับ | ยืนขยับระรัวตัวสั่น | |||
ดูดู๋ทำได้ใจฉกรรจ์ | ถีบยันเขาเล่นเช่นข้าไท | |||
ช่วยมากี่ชั่งตั้งข่มเหง | จะกลัวเกรงสักนิดก็หาไม่ | |||
ถ่มถุยทิ่มตำเอาตามใจ | ยิ่งกว่าเจ้าได้เชลยมา | |||
ศรีมาลาว่าฉันไม่ได้ทำ | ฟ้าผ่าเถิดวิบากกรรมเป็นหนักหนา | |||
เสแสร้งแกล้งพาลมารยา | ทำล้มลงแล้วก็ว่าข้าถีบทำ | |||
เอะเถียงอีกเล่าอีเจ้าเล่ห์ | เมื่อถีบสร้อยฟ้าเซคะมำคว่ำ | |||
ยังพาโลโกหกไม่ตกคำ | อีมุสาม***สบถลน | |||
เห็นอยู่กับตาว่าไม่รับ | สบปลับไม่น้อยนางสร้อยสน | |||
จับเช่นได้สิ้นลิ้นกะลาวน | แต่ต้นก็หมายว่ามึงดี | |||
วันเมื่อวิวาทกับสร้อยฟ้า | สารพัดจะว่าเป็นถ้วนถี่ | |||
ยุแยงแกล้งร้องจนต้องตี | แต่เพียงนั้นยังไม่มีจะหนำใจ | |||
วันนี้ยังมาพาโลอีก | จะให้แกแล่เนื้อไปถึงไหน | |||
แม้นมิทำบ้างเลยจะเคยใจ | ฉวยไม้ตีต้อนตลบมา | |||
ขวับขวับยับแตกตลอดหลัง | ศรีมาลาแอบบังข้างคุณย่า | |||
ทองประศรีร้องอึงมึงอย่ามา | ปากกล้าไม่กลัวจนผัวตี | |||
แปรดแปร้นแสนถ่อยน้อยไปหรือ | น่ามัดมือโยงเฆี่ยนให้เป็นผี | |||
ผัวว่ากลับเถียงเปรี้ยงเปรี้ยงดี | ถีบทำย่ำยีออสร้อยฟ้า | |||
แกผลักไสว่าออไวยเอาอีกเหวย | ชุมพลว่าอย่าเลยคุณพี่ขา | |||
ลุกถลันกั้นพี่ศรีมาลา | พระไวยไล่หวดมาจนย่อยยับ | |||
ตีถูกศรีมาลาก็หลายหน | ถูกชุมพลน้องชายก็หลายขวับ | |||
ศรีมาลาวิ่งร้องเข้าห้องลับ | ทองประศรีเต้นหรับระงมไป | |||
พลางอุ้มชุมพลมาด่าอึงบ้าน | มาตีหลานหลานกูทำไมให้ | |||
เมียมึงหึงกันสนั่นไป | ไยไม่ตีกันอ้ายจันเคอะ | |||
อ้ายชาติชั่วกลัวเมียเสียน้ำหน้า | อ้ายบ้าโสมมอ้ายจมเปรอะ | |||
หลับหูหลับตาอ้ายบ้าเฟอะ | งมเงอะเปล่าเปล่าอ้ายเมาเมีย | |||
ฟักฟูมอุ้มหลานมาอาบน้ำ | ช่างระยำหลังไหล่ดังไก่เขี่ย | |||
อ้ายจองหองตีน้องประชดเมีย | น้ำตาเรี่ยบ่นพร่ำแกร่ำไร | |||
อุ้มหลานเข้าห้องยิ่งหมองช้ำ | ดูชุมพลระยำทั้งหลังไหล่ | |||
แกปลอบเช็ดน้ำตาพลางทาไพล | แล้วพาขึ้นเตียงใหญ่เข้านิทรา ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าพลายชายชุมพล | ขึ้นบนเตียงนอนกับท่านย่า | |||
พอพลบค่ำย่ำแสงสนะยา | นิ่งนึกตรึกตราให้ตรอมใจ | |||
โอ้ว่าพี่ไวยของน้องเอ๋ย | ไม่เห็นเลยว่าจะเป็นเช่นนี้ได้ | |||
เข้ากับพี่สร้อยฟ้าพาเชือนไป | เขาใส่ไคล้กล่าวเท็จทุกสิ่งอัน | |||
ไม่ถามไถ่ไปเชื่อแต่คนผิด | น้องนี้คิดสงสัยให้นึกพรั่น | |||
เห็นจะถูกเสน่ห์เล่ห์กลมัน | ดูหน้าฝ้านั้นออกมอมมัว | |||
อนึ่งพี่ศรีมาลายาใจ | พี่ไวยรักใคร่มิใช่ชั่ว | |||
ยังถูกหวายออกลายไปทั้งตัว | คุณย่าก็ยังยั่วให้ตีรัน | |||
แต่เมียรักเขายังสักเอาด้วยหวาย | เป็นน้องหรือจะไม่ลายตลอดสัน | |||
แล้วก็ใช่พี่น้องท้องเดียวกัน | เขาจะรักเรานั้นสักเพียงไร | |||
ถ้าขืนอยู่คงเป็นหมูสำหรับแล่ | จะไปหาพ่อแม่ให้จงได้ | |||
สองคนกับกุมารจะซานไป | คงเดินไพรไปถึงกาญจน์บุรี | |||
คิดพลางทางกั้นซึงโศกไว้ | ทำกอดจูบลูบไล้ทองประศรี | |||
เนื้อคุณย่าอ่อนละมุนดังสำลี | วันนี้หลานรักจักไสยา | |||
ดูน่าชมสมบุญขึ้นล้ำเลิศ | เล่านิยายไปเถิดคุณย่าขา | |||
ทองประศรีหัวร่อพ่อนี่นา | นอนเถิดย่าจะเล่าให้เจ้าฟัง | |||
เอาเรื่องไชยเชษฐ์เถิดหรือเหวย | เป็นกระไรมิรู้เลยลืมไปมั่ง | |||
กูจำได้แต่เมื่อไปอยู่ป่ารัง | เมียออกลูกข้างหลังกลายเป็นแมว | |||
เอ๊ะผิดแล้วพ่อต่อจะมิใช่ | กูหลงเล่อเพ้อไปแล้วหลานแก้ว | |||
ไม่ได้ดูเขาเล่นงานมานานแล้ว | จะเป็นแมวหรือท่อนไม้ไม่รู้เลย | |||
พลายชุมพลหัวร่อยอคุณย่า | เพราะหนักหนาย่าเล่าเจ้าแม่เอ๋ย | |||
ทองประศรีกอดจูบลูบชมเชย | แล้วก็เลยหลับกรนอยู่บนเตียง ฯ | |||
๏ เจ้าพลายน้อยนอนระวังฟังสดับ | เห็นย่าหลับเงียบเชียบสงัดเสียง | |||
ค่อยเขยื้อนเลื่อนลุกออกจากเตียง | แสงตะเกียงแก้วกระจ้างสว่างตา | |||
ให้โศกแสนเสียใจจะไปจาก | น้ำตาพรากพร่างพรายทั้งซ้ายขวา | |||
ถอดปะหล่ำกำไลสร้อยเสมา | ที่คุณย่าจัดแจงให้แต่งตัว | |||
กำไลเท้าสองข้างง้างเสียสิ้น | แล้วถอดปิ่นปักจุกออกจากหัว | |||
พิศดูสิ่งของยิ่งหมองมัว | แม้นติดตัวไปเดี๋ยวนี้จะมีภัย | |||
เอาสิ่งของกองกับปลายตีนย่า | ซบหน้าลงแล้วก็ร้องไห้ | |||
โอ้มีกรรมจำเป็นจะจากไป | ด้วยเจ็บใจเหลือที่จะทนทาน | |||
จะพึ่งบุญคุณย่าอยู่ที่นี่ | พี่ไวยโบยตีข่มเหงหลาน | |||
จึงจำจากดั้นเดินดงกันดาร | ขึ้นไปกาญจน์บุรีบอกบิดา | |||
๏ เจ้าประคุณทูนหัวของหลานแก้ว | ตื่นขึ้นแล้วจะหลงร้องเรียกหา | |||
ไม่เห็นหายก็จะฟายฟูมน้ำตา | เจ้าก็กอดตีนย่าสะอื้นไป | |||
จนแซ่เสียงไก่ขันกลั้นสะอื้น | กลับจะรู้สึกตื่นไม่หนีได้ | |||
ลงจากเตียงเมียงมองมาห้องใน | ประจงใส่เสื้อสีกางเกงแดง | |||
กระหมวดจุกผูกผ้าประเจียดรัด | คาดเข็มขัดผูกเครื่องดูเข้มแข็ง | |||
ถือกริชน้อยค่อยย่องไม่เหยียบแรง | แอบแฝงย่องออกมานอกชาน | |||
เข้าในเรือนพี่ศรีมาลา | เห็นนิทราหลับใหลให้สงสาร | |||
จะปลุกขึ้นอำลาจะช้าการ | ค่อยแหวกม่านนั่งเคียงบนเตียงนอน | |||
เจ้ากราบตีนศรีมาลาน้ำตาตก | ระกำอกสะอึกสะอื้นอ้อน | |||
โอ้มีกรรมจำใจจะจากจร | ค่อยอยู่ก่อนเถิดหนาจะลาไป | |||
สงสารพี่อยู่เดียวจะเปลี่ยวจิต | เขาจะพาลผิดตีด่าไม่ปราศรัย | |||
จะซูบผอมตรอมตรมระกำใจ | น้องจะไปลับพี่วันนี้แล้ว | |||
โอ้รู้สึกสะอึกสะอื้นหา | ด้วยได้เคยเห็นหน้าแต่น้องแก้ว | |||
เขาโบยตีพี่น้องยังป็นแนว | น้องคิดแล้วแสนแค้นแน่นอุรา | |||
๏ ถึงอยู่ด้วยช่วยพี่ก็มิได้ | จะรีบไปบอกพ่อลงมาหา | |||
แล้วอัดอั้นกลั้นสะอื้นกลืนน้ำตา | ลุกออกมาห้องกลางสว่างไฟ | |||
เห็นขนมนมเนยในพานน้อย | ชะรอยพี่ศรีมาลาหาไว้ให้ | |||
จะได้กินกลางทางในกลางไพร | แล้วหยิบใสไถ้ออกมานอกเรือน | |||
ฝ่ายผีที่ชื่อกุมารทอง | เดินเรียงเคียงน้องไปเป็นเพื่อน | |||
ฟ้ากระจ่างแจ่มแจ้งด้วยแสงเดือน | ลงจากเรือนรีบรัดเดินลัดแลง | |||
มาถึงหนทางที่กลางทุ่ง | พอย่ำรุ่งพระอุทัยเธอไขแสง | |||
ต้องละอองน้ำค้างที่กลางแปลง | ค่อยมีแรงรีบเดินดำเนินไป | |||
กุมารทองนำน้องเข้าในป่า | ร่มพฤกษายางยูงสูงไสว | |||
เจ้าพลายน้อยค่อยคลายสบายใจ | ก็หมายไปยังบ้านกาญจน์บุรี ฯ | |||
๏ ขอเงือดงดบทพลายชุมพลก่อน | จะกล่าวกลอนถึงท่านย่าทองประศรี | |||
หลับสนิทนิทราในราตรี | พอไก่ตีปีกขันสนั่นดัง | |||
แกฝันว่าเสือใหญ่ไล่กระโชก | มันโดดโฮกเข้าขบตบเอาหลัง | |||
สะดุ้งดิ้นโดนเตียงเสียงดังตัง | ร้องโอยดังขึ้นทั้งหลับกลับฟื้นกาย | |||
แกลืมตาขึ้นดูรู้ว่าฝัน | ยังนึกกลัวตัวสั่นมิใคร่หาย | |||
เหลียวซ้ายแลขวาหาหลานชาย | ไม่เห็นพลายน้อยนึกอนาถใจ | |||
ลุกขึ้นมาร้องเรียกพลายชุมพล | นี่มันลุกซุกซนไปข้างไหน | |||
แกบ่นพลางทางแลเห็นกำไล | กับใบไม้ปิ่นสนสร้อยเสมา | |||
เห็นข้าวของกองกับปลายตีนเตียง | ตกใจพ่างเพียงจะสังขาร์ | |||
ชะรอยหลบหนีไปพ่อไม่ลา | โอ้พ่อทูนหัวย่านี่อย่างไร | |||
๏ แล้วแกเที่ยวค้นคว้าหาไม่เห็น | หรือตื่นนอนซ่อนเร้นอยู่ที่ไหน | |||
แกลุกลงจากเตียงเสียงโผงไป | ร้องเรียกข้าไทอยู่วุ่นวาย | |||
เหวยอีมีอีเม้าอีเฒ่าโต | ทั้งอ้ายโพแม่มึงช่างนอนสาย | |||
เอามาเฆี่ยนเสียมั่งให้หลังลาย | อ้ายฉิบหายตายโหงโก้งโค้งนอน | |||
พวกข้าไทได้ยินเสียงท่านย่า | ตื่นตกใจคว้าหาผ้าผ่อน | |||
ลุกขึ้นกึกกักชักลิ่มกลอน | ยังมัวนอนเยี่ยมหน้าออกมาดู | |||
ทองประศรีชี้หน้าด่าเสียงแซ่ | ชกโคตรแม่มึงยังออกมายืนอยู่ | |||
พลายชุมพลหนีไปก็ไม่รู้ | ไปเที่ยวหาหลานกูเร็วเร็วมา | |||
ข้าคนอลหม่านทั้งบ้านช่อง | บ้างก็ร้องตะโงนตะโกนหา | |||
บ้างวิ่งไปไต่ถามตามวัดวา | ไม่พบแล้วกลับมาบอกกับนาย | |||
ทองประศรีตีอกสะอื้นไห้ | แกเสียใจเป็นลมจนล้มหงาย | |||
ข้าไทชายหญิงวิ่งวุ่นวาย | เข้าแก้ไขให้คลายฟื้นกายมา ฯ | |||
๏ ฝ่ายสร้อยฟ้าพระไวยนอนในห้อง | เสียงคนร้องกรีดกราดหวาดผวา | |||
คิดว่าไฟไหม้ชิดติดหลังคา | ลุกขึ้นคว้าข้าวของร้องอึงไป | |||
พัลวันกันออกนอกประตู | แลดูหาเห็นไฟไหม้ไม่ | |||
เห็นคนบนนอกชานวิ่งพล่านไป | ถามว่าใครเป็นไรวิ่งวุ่นวาย ฯ | |||
๏ ทองประศรีชี้หน้าด่าพระไวย | อ้ายอัปรีย์อีจัญไรนอนจนสาย | |||
เพราะเมียมึงหึงหวงกันวุ่นวาย | พลอยออพลายต้องตีจึงหนีไป | |||
ยังจะแค่นมีหน้าออกมาถาม | โคตรแม่มึงไปตามมาให้ได้ | |||
ไม่ได้หลานกูมาอย่านึกไป | กูจะต่อยหัวให้ลงเป็นเบือ | |||
ว่าแล้วบ่นด่าหลานสะใภ้พิไรร่ำ | มันก่อกรรมเพราะอีลาวอีชาวเหนือ | |||
ทั้งคารมแปร้นเปรี้ยงจนเสียงเครือ | ล้วนหน้าเนื้อใจเสือไม่เชื่อเลย | |||
แล้วครวญคร่ำร่ำไห้พิไรบ่น | โอ้พ่อพลายชุมพลของย่าเอ๋ย | |||
พ่ออยู่บ้านป่านฉะนี้ได้ชมเชย | กลางวันเคยวานไหว้ให้ปั้นวัว | |||
เคยวิ่งเล่นเย็นเช้าเสียงแจ้วแจ้ว | วันนี้เงียบเสียงแล้วพ่อทูนหัว | |||
ย่าจะอยู่ไปไยให้หมองมัว | แกทอดตัวกลิ้งเกลือกกลางนอกชาน ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมพระหมื่นไวย | เห็นย่าร้องไห้ก็สงสาร | |||
จึงจับยามตามตำราพระอาจารย์ | วันอังคารเศษเสาร์เข้ายามจันทร์ | |||
จะไปดีมาดีมิเป็นไร | จะพานพบผู้ใหญ่เกษมสันต์ | |||
จึงเข้าไปไหว้ย่าแล้วว่าพลัน | พ่อพลายนั้นหลานเห็นไม่เป็นไร | |||
พิเคราะห์ดูฤกษ์ยามตามตำรา | ในฝอยว่าจะไปอยู่กับผู้ใหญ่ | |||
หล่อนรำลึกถึงแม่นั้นแน่ใจ | เห็นจะไปยังบ้านกาญจน์บุรี | |||
สิบห้าวันแลจะรู้ข่าว | จะอื้อฉาวไปไยไม่พอที่ | |||
ใครจะทำอะไรนั้นไม่มี | ไม่ช้าทีหน่อยหนึ่งก็กลับมา ฯ | |||
๏ ทองประศรีนิ่งนั่งฟังพระไวย | ค่อยคลายใจเห็นจริงแล้วจึงว่า | |||
เอ็งสิรู้ดูยามตามตำรา | แม้นเหมือนว่าจะค่อยหายวายทำวล | |||
ถ้าสับปลับลับกูดูไม่แน่ | โคตรแม่มึงจะลงเป็นห่าฝน | |||
หลานกูยังเด็กเล็กกว่าคน | ไปดั้นด้นเดินดงสันโดษเดี่ยว | |||
เสือสางกลางดงมันปีบป๊าบ | จะหวั่นวาบวังเวงไม่วายเสียว | |||
ที่ทุ่งนาหญ้าดงออกรกเรี้ยว | ทั้งงูเงี้ยวชุมชุกทุกประการ | |||
แกบ่นพลางทางกลับเข้าห้องใน | เห็นข้าวของก็ยิ่งให้อาลัยหลาน | |||
เอาเชือกน้อยร้อยเบี้ยเข้าบนบาน | ทุกโรงศาลผีสางสิ้นทั้งปวง | |||
จงพิทักษ์รักษาหลานข้าเจ้า | ทั้งเป็ดไก่เหล้าขาวจะบวงสรวง | |||
ศีรษะหมูคู่หนึ่งไม่ล่อลวง | แล้วทำบ่วงห้อยเบี้ยไว้หัวนอน | |||
เช้าเย็นเป็นทุกข์ถึงหลานน้อย | ยิ่งเศร้าสร้อยสวมสอดกอดแต่หมอน | |||
พระสุริยาสายัณห์ลงรอนรอน | แกอาวรณ์ร้องไห้ไม่วายวัน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงเจ้าพลายชายชุมพล | ดั้นด้นเดินป่าพนาสัณฑ์ | |||
พอเข้าเขตบุรีศรีสุพรรณ | กุมารนั้นก็กลายเป็นเด็กน้อย | |||
ชวนพูดเล่นเป็นเพื่อนพลายชุมพล | ทั้งสองคนเดินตามกันร่อยร่อย | |||
พระสุริย์ฉายบ่ายแสงลงอ่อนคล้อย | เจ้าพลายสร้อยเศร้าโศกแสนคะนึง | |||
โอ้สงสารท่านย่านิจจาเอ๋ย | จะวายเวยร้องไห้อาลัยถึง | |||
ที่ในบ้านป่านนี้จะมี่อึง | โกรธขึ้งถุ้งเถียงกันทั้งเรือน | |||
โอ้เอ็นดูแต่พี่ศรีมาลา | น้องจากมาแล้วจะได้ใครเป็นเพื่อน | |||
ชาวบ้านป่านฉะนี้จะเยี่ยมเยือน | พี่เคยเตือนเกล้าจุกทุกเวลา | |||
เคยอาบน้ำทาขมิ้นให้กินอยู่ | ความเอ็นดูน้องรักเป็นหนักหนา | |||
ถึงเป็นพี่สะใภ้ไม่ฉันทา | เหมือนมารดาเลี้ยงน้องถนอมใจ | |||
กรรมเอ๋ยกรรมจำพรากให้จากพี่ | ขณะนี้เห็นจะนั่งน้ำตาไหล | |||
จะแลลับนับวันจากกันไป | เดินร้องไห้ครวญครางมากลางดง ฯ | |||
๏ กุมารทองเห็นน้องโศกสะอื้น | แกล้งชวนชื่นชมไม้ไพรระหง | |||
ต้นตุมกากาฝากฝูงกาลง | กาหลงหลงกามองร้องกากา | |||
โน่นไม้คางข้างเขาล้วนเหล่าค่าง | บ้างเกาคางห่มคางบ้างถ่างขา | |||
ตะลิงปลิงลิงวิ่งไล่ลิงมา | ลิงถลาโลดไต่ไม้ลางลิง | |||
หมู่ไม้ใหญ่ยางสูงระดะ | ดูเกะกะเถาวัลย์ขึ้นพันกิ่ง | |||
บ้างกลมเกลียวเกี่ยวกันขันจริงจริง | บ้างเป็นชิงช้าป่าน่าแกว่งไกว | |||
กุมารทองชวนน้องขึ้นนั่งเล่น | ลมพัดเย็นเย็นร่มไม้ใหญ่ | |||
กินขนมนมเนยเลยชื่นใจ | แล้วรีบไปจากนั่นตะวันเย็น | |||
เห็นไก่ป่าพากันสกัดวิ่ง | เอาดินทิ้งไล่ทุบตะครุบเล่น | |||
พอพลบค่ำน้ำค้างพร่างกระเซ็น | เดือนเด่นดวงสว่างกระจ่างตา | |||
๏ ดาวกระจายรายรอบเรืองระยับ | ดาดประดับในละแวกพระเวหา | |||
กุมารทองนำน้องดำเนินมา | แล้วพูดจาชวนชี้ให้ชมเดือน | |||
ดูพระจันทร์นั่นแน่น้องเธอทรงกลด | ดูเหมาะหมดไม่มีสิ่งใดเหมือน | |||
พ่อโตใหญ่ไปข้างหน้าหาแม่เรือน | ให้ดวงหน้าเหมือนอย่างเดือนแล้วดีจริง | |||
เจ้าพลายว่าข้าจะเป็นสังฆราช | ไม่อยากปรารถนาหาผู้หญิง | |||
มีเมียงามแล้วผู้ชายมันหมายชิง | ต้องยุ่งยิ่งหยุกหยิกไม่อยากมี | |||
ต่างหัวร่อต่อกันทั้งสองข้าง | ค่อยเสื่อมสร่างโศกเศร้าที่หมองศรี | |||
ครั้นจะร่ำพรรณนาจะช้าที | มาถึงบ้านกาญจน์บุรีพอรุ่งราง | |||
กุมารนำน้องมาตามถนน | เห็นผู้คนบ้านช่องทั้งสองข้าง | |||
เห็นจวนท่านกาญจน์บุรีชี้บอกพลาง | ที่เรือนใหญ่ไม้กระถางตั้งอ่างปลา | |||
เรือนแม่แก้วกิริยาพ่อขุนแผน | จำได้แม่นมั่นคงตรงไปหา | |||
บอกแล้วหายไปมิได้ช้า | พลายชุมพลเดินมาตามหนทาง | |||
ตรงขึ้นเรือนใหญ่มิได้ยั้ง | เห็นพ่อแม่ออกนั่งอยู่หอขวาง | |||
วิ่งเข้ากราบไหว้ร้องไห้พลาง | ช่างทิ้งขว้างลูกไว้ให้ได้อาย ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | กับนางแก้วกิริยาก็ใจหาย | |||
พลางเข้าสวมสอดกอดลูกชาย | ดูพ่อพลายบุกป่ามาทำไม | |||
คุณย่าขอพ่อไว้ในกรุงศรี | เออนี่มิเคืองเข็ญเป็นไฉน | |||
จึงแกล้วกล้าสามารถมาเดินไพร | อย่าร้องไห้บอกพ่อจะขอฟัง ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าพลายชายชุมพล | เล่าความแต่ต้นจนหนหลัง | |||
คุณย่าเลี้ยงลูกไว้ไม่ชิงชัง | ท่านรักดังดวงตาไม่อาธรรม์ | |||
มาเป็นเหตุเพราะนางลาวเจ้าเสน่ห์ | ทำโว้เว้ว้าวุ่นให้หุนหัน | |||
ที่สร้อยฟ้าศรีมาลาทะเลาะกัน | พี่ไวยนั้นไปเข้าข้างเมียน้อย | |||
โบยตีศรีมาลาถึงสาหัส | สารพัดหลังไหล่ก็ยับย่อย | |||
ลูกขอโทษศรีมาลาเขาว่าพลอย | หวดเอาหลังยังเป็นรอยอยู่นี่แน | |||
ลูกสุดแสนแค้นใจในเท่านี้ | จึงด้นหนีขึ้นมาหาพ่อแม่ | |||
เพราะพี่ไวยคุณย่าพากันแช | ไม่มีใครจะแก้ให้คลายมนตร์ | |||
อันเกิดเหตุเภทภัยนั้นใหญ่อยู่ | กุมารทองเขารู้ซึ่งเหตุผล | |||
เอาไว้ช้าข้าเห็นไม่เป็นคน | มันเป็นต้นเพราะอีลาวทั้งบ่าวนาย ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสงคราม | ได้ฟังความแค้นใจมิใคร่หาย | |||
ทุดอ้ายหมื่นไวยมิใช่ชาย | ช่างงมงายโง่เง่าเหมือนเต่านา | |||
ความรู้กูก็ให้ไว้ทุกสิ่ง | ยังแพ้รู้ผู้หญิงให้ขายหน้า | |||
แล้วยังซ้ำโบยตีศรีมาลา | พระพิจิตรบิดาจะน้อยใจ | |||
เมื่อกูจะมาจากได้ฝากฝัง | น้อยหรือยังมาเป็นเช่นนี้ได้ | |||
อีสร้อยฟ้าเจ้ากรรมทำอย่างไร | กุมารทองไปไหนไม่บอกกู ฯ | |||
๏ ผีกุมารทองได้ฟังขุนแผนถาม | เข้ากระซิบบอกความที่ริมหู | |||
สร้อยฟ้าให้อรไหมไปหาครู | เป็นเถรอยู่ที่วัดพระยาแมน | |||
ชื่อเถรขวาดอาคมของเขาขลัง | มันปั้นรูปรอยฝังทำเหลือแสน | |||
จึงเกิดเข็ญเป็นเรื่องให้เคืองแค้น | ขอเชิญพ่อขุนแผนรีบลงไป ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสะท้าน | ให้สงสารศรีมาลาน้ำตาไหล | |||
ออไวยไม่พอที่นี่อย่างไร | ประมาทใจให้มันทำจนเมามัว | |||
จำจะลงไปหาว่ากล่าวเสีย | แก้กระทำยำเยียให้ยังชั่ว | |||
จะจับอ้ายคนร้ายให้ได้ตัว | ทูลให้ไปตัดหัวตะแลงแกง | |||
แต่ตรองตรึกนึกสะท้อนถอนจิต | พระอาทิตย์ส่องฉานขึ้นฉายแสง | |||
แต่บรรดาข้าไทก็จัดแจง | ต้มแกงแต่งสำรับแล้วยกมา | |||
ขุนแผนชวนเมียกับลูกแก้ว | กินข้าวปลาเสร็จแล้วก็หรรษา | |||
ลุกลงไปนั่งยังศาลา | กรมการพร้อมหน้าปรึกษาความ | |||
อ้ายพวกขโมยควายผู้ร้ายซัด | ไม่ได้สัตย์ผูกเข้าแล้วเฆี่ยนถาม | |||
ที่หลบลี้หนีหายให้ติดตาม | ปรึกษาความสารพัดเป็นสัตย์ธรรม์ ฯ | |||
๏ ครานั้นนางแก้วกิริยา | เห็นหน้าตาพลายน้อยก็โศกศัลย์ | |||
ทั้งจุกไรก็มิได้ทาน้ำมัน | นางรับขวัญลูกแก้วแล้วเชยชม | |||
ให้อาบน้ำทาขมิ้นกินข้าวของ | พาเข้าไปในห้องแล้วเกล้าผม | |||
เจ้ามาแม่สบายคลายอารมณ์ | จะได้ชมลูกชายสบายใจ | |||
เมื่อแรกย่าว่าขอเจ้าไปเลี้ยง | แม่เกี่ยงอยู่หาใคร่จะให้ไม่ | |||
แต่พ่อเจ้าเขาให้ก็จนใจ | ต้องจำใจจึงพรากจากเจ้ามา ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมเจ้าชุมพล | เห็นได้ช่องชอบกลแล้วจึงว่า | |||
อันพี่น้องพวกพ้องของบิดา | อยู่กรุงศรีอยุธยายังเต็มไป | |||
อันญาติพวกพ้องของคุณแม่ | ไม่มีแต่สักคนนี่เป็นไฉน | |||
หรืออยู่ต่างถิ่นฐานบ้านเมืองไกล | หรือว่าไม่มีแล้วแต่สักคน ฯ | |||
๏ โอ้ลูกเอ๋ยยังอุตส่าห์มาไต่ถาม | เพราะไม่แจ้งเนื้อความตามเหตุผล | |||
แม่นี้ลำบากด้วยยากจน | จะเล่าเรื่องเบื้องต้นให้เจ้าฟัง | |||
คุณตาเป็นพระยาสุโขทัย | ต้องเร่งเงินพินัยห้าสิบชั่ง | |||
เขาจำไว้ในทิมที่ริมคลัง | ได้ส่งไปแล้วยังสิบห้าตำลึง | |||
เอามารดามาขายขุนช้างไว้ | ต้องลำบากยากไร้อยู่ปีครึ่ง | |||
เขาช่วงใช้ตรากตรำทำสะดึง | พ่อเจ้าจึงช่วยไถ่ได้แม่มา | |||
อันพี่น้องของแม่เป็นไหนไหน | แต่อยู่เมืองสุโขทัยไกลหนักหนา | |||
แม่รำลึกนึกถึงทุกเวลา | ถึงคุณยายคุณตาของพ่อพลายฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าพลายชายชุมพล | ฟังแม่เล่าความต้นก็ใจหาย | |||
นิจจาเอ๋ยตกยากมามากมาย | ต้องแยกย้ายจากญาติอนาถนัก | |||
ค่ำวันนี้จะหนีขึ้นไปหา | ให้คุณยายคุณตาท่านรู้จัก | |||
แล้วแกล้งทำพูดจาให้น่ารัก | ขึ้นนั่งตักพร่ำพรอดฉอดฉอเลาะ | |||
ทำชะอ้อนวอนว่าลูกเปรี้ยวปาก | ช่วยเคี้ยวหมากให้สักคำทำปะเหลาะ | |||
ฉันจะขับเสภาว่าให้เพราะ | ต่างหัวเราะชอบใจกันไปมา | |||
ครั้นพระสุริยงลงลับไม้ | พระจันทร์ไขแสงสว่างกลางเวหา | |||
นอนบนเตียงเคียงกันกับมารดา | ทำหลับตานิ่งไปไม่กระพริบ | |||
จนดึกดื่นเดือนเที่ยงเสียงไก่ขัน | คนทั้งนั้นหลับเงียบไม่เกรียบกริบ | |||
เรียกกุมารมาพูดกันซุบซิบ | ขยับหยิบกริชน้อยมาเหน็บไว้ | |||
แล้วกราบเท้ามารดาน้ำตาพราก | ลูกจะจากแม่แล้วยังหลับใหล | |||
จะบอกแม่กลัวแต่จะขืนใจ | จึงจำเป็นหนีไปไม่ทันลา | |||
โอ้ว่าเจ้าประคุณของลูกแก้ว | ตื่นแล้วจะโศกเศร้าเฝ้าโหยหา | |||
ลูกไม่ไปไหนจะพบคุณยายตา | ก็หักใจไคลคลามาจากเตียง | |||
ชวนกุมารร่วมใจมาไปเถิด | ค่อยเปิดประตูย่างออกทางเฉลียง | |||
ลงมากลางบ้านกุมารเคียง | ค่อยหลีกเลี่ยงลอดออกมานอกรั้ว | |||
เดินลัดตัดทางถึงกลางทุ่ง | พอย่ำรุ่งเช้ามืดขมุกขมัว | |||
อันสิงห์เสือเนื้อถึกไม่นึกกลัว | เย้ายั่วหยอกกับกุมารไป ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าท่านผู้หญิงแก้วกิริยา | ครั้นเวลารุ่งแจ้งขึ้นแสงใส | |||
เสียงนกร้องพร้องเรียกสนั่นไพร | วิเวกใจแว่วหวาดในวิญญาณ์ | |||
กอดแต่หมอนอ่อนอุ่นอกประทับ | กำลังหลับคิดว่าลูกเสนหา | |||
พอตื่นขึ้นแลเหลียวเปลี่ยวอุรา | ไม่เห็นหน้าพลายน้อยอนาถใจ | |||
หายทั้งเสื้อผ้าสาตรากริช | เอ๊ะผิดแล้วพ่อพลายหายไปไหน | |||
นางลุกเดินออกมาถามข้าไท | ใครใครไม่รู้ทุกผู้คน | |||
กลับเข้าห้องในใจคอหาย | ไปปลุกท่านผู้ชายแจ้งเหตุผล | |||
คืนนี้ลูกชายพลายชุมพล | นอนอยู่บนเตียงแล้วหายไป ฯ | |||
๏ ขุนแผนฟังเมียให้หวาดจิต | เอ๊ะนี่ผิดแล้วหล่อนจะไปไหน | |||
จึงจับยามตามเคยสังเกตใจ | คืนนี้ไปยามจันทร์วันอังคาร | |||
ในตำราว่าอมฤตโชค | ไม่มีโศกจะเป็นสุขสนุกสนาน | |||
จะพานพบท่านผู้ใหญ่ในวงศ์วาน | ไม่ช้านานก็จะมาเห็นหน้ากัน | |||
พิเคราะห์พลางทางบอกกับเมียแก้ว | พี่จับยามดูแล้วอย่าโศกศัลย์ | |||
กุมารทองให้ไว้ไปด้วยกัน | สารพันเภทภัยไม่แผ้วพาน | |||
บุราณว่าชาติเชื้อเนื้อแถว | คงเป็นแนวน้ำเนื้อเชื้อทหาร | |||
เติบใหญ่เห็นจะได้ราชการ | อย่าเป็นภารธุระทุกข์ถึงลูกเรา | |||
พี่คะเนในใจเห็นไม่ช้า | ก็จะพาลูกสะใภ้มาให้เจ้า | |||
พลางหัวเราะเยาะหยอกยั่วเย้า | ให้นางแก้วสร่างเศร้าถึงลูกยา ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงเจ้าพลายชายชุมพล | สองคนกับกุมารมาในป่า | |||
แสนระลึกนึกถึงบ้านกับมารดา | เดินน้ำตาคลอคลอให้ท้อใจ | |||
ในทางมาป่าไม้ล้วนไพรชัฎ | กิ่งก้านแกว่งกวัดกระหวัดไหว | |||
เจ้าเดินพลางวังเวงวิเวกใจ | ขืนอารมณ์ชมไม้มาตามทาง | |||
ชะลูดเลี้ยวเกี้ยวกอดกิ่งอุโลก | ซึกซากโศกสนสร้อยแคฝอยฝาง | |||
ต้นยูงสูงใหญ่ไทรมะทราง | ต้นยางโยนเยนอยู่ยวบโย้ | |||
นกหกบินสล้างในกลางเถื่อน | บ้างพาเพื่อนเที่ยวคะนองบ้างร้องโต้ | |||
นกแก้วป้อนลูกบนต้นชงโค | แล้วบินโผพูดจ้ออยู่จอแจ | |||
ดูแม่นกแล้วคะนึงถึงคุณย่า | เคยพูดเล่นเจรจาประจ๋อประแจ๋ | |||
ฝูงนกเอี้ยงเรียงจับต้นแกแล | เหมือนหม่อมแม่เคียงเราเฝ้าชมเชย | |||
เห็นนกเปล้าจับเจ่าเปล่าเปลี่ยวอก | โอ้โอ๋นกเหมือนข้านิจจาเอ๋ย | |||
ต้องเดินเดียวเปลี่ยวใจไม่เสบย | ทุกสิ่งเคยผาสุกมาทุกข์ตรอม | |||
กุมารทองเข้าประคองปลอบน้องรัก | อย่าโศกนักเลยพ่อพลายจะผ่ายผอม | |||
โน่นลูกจันทน์ดกจริงจนกิ่งค้อม | ชวนน้องน้อมเด็ดดมชมมาพลาง | |||
ครั้นจะร่ำไปนักก็ชักช้า | ด้วยผีพารีบรัดไม่ขัดขวาง | |||
ครั้นสายัณห์หยุดหย่อนลงนอนค้าง | ในกลางทางเภทภัยไม่แผ้วพาน | |||
สามวันครั้นถึงเมืองสุโขทัย | เสียงชาวเหนือเกื๋อไก๋ไปทุกบ้าน | |||
แลเห็นจวนเจ้าพระยาฝากระดาน | ผีกุมารบอกพลายชุมพลพลัน | |||
เรือนที่แขวนกรงนกหกเจ็ดหลัง | ลับแลตั้งปิดประตูดูขึงขัน | |||
เรือนคุณตาคุณยายพ่อพลายนั้น | ไปหากันเถิดสิพ่ออย่ารอรั้ง | |||
บอกแล้วหายไปมิให้เห็น | กลับเป็นแต่เงาเข้าตามหลัง | |||
เจ้าพลายขึ้นนอกชานกุมารบัง | คนที่นั่งแลไปไม่เห็นกาย | |||
เห็นยายตานั่งอยู่บนหอขวาง | ขยับร่างรีรอใจคอหาย | |||
ผีที่มาเป็นเพื่อนเตือนเจ้าพลาย | คลานเข้าไปไหว้คุณยายกับคุณตา ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านผู้รั้งสุโขทัย | คิดว่าลูกความใครลอบมาหา | |||
จะดูให้แน่ใจใส่แว่นตา | มองเขม้นเห็นหน้าพลายชุมพล | |||
ไม่เห็นของกำนัลทำหันหุน | ฉวยไม้หมุนหวดเข้าไปเอาสองหน | |||
ทุดอ้ายลูกหัวจุกนี้ซุกซน | ขึ้นมาจนบนเรือนกูทำไม | |||
ท่านผู้หญิงวิ่งไปยึดไม้ห้าม | ตาถามดูให้แน่มาแต่ไหน | |||
ผิดกับเด็กเมืองเราชาวสุโขทัย | มันชื่อเรียงเสียงไรไล่เรียงดู | |||
ท่านตาเฒ่าคุกคามถามเสียงอึง | พ่อแม่มึงชื่อไรเฮ้ยอ้ายหนู | |||
บ้านช่องอยู่ไหนจะใคร่รู้ | ไม่บอกกูจะให้เขาใส่คา ฯ | |||
๏ เจ้าพลายกลัวตัวงอร้องขอโทษ | เจ้าคุณโปรดเถิดจะเล่าไม่มุสา | |||
หม่อมแม่ฉันท่านชื่อแก้วกิริยา | ที่ยายตาไปขายขุนช้างไว้ | |||
เดี๋ยวนี้พ่อขุนแผนแสนณรงค์ | ให้เงินส่งพ้นข้าเขามาได้ | |||
จึงเกิดหลานอยู่ที่บ้านวัดตะไกร | หม่อมแม่ให้ฉันชื่อพลายชุมพล | |||
ด้วยบิดาได้กินเมืองกาญจน์บุรี | หลานจึงถามความนี้แจ้งเหตุผล | |||
ว่าคุณตาเป็นพระยาอยู่เมืองบน | หลานจึงด้นเดินดงสันโดษมา | |||
ไม่รู้จักมักจี่อยู่ที่ไหน | เห็นเรือนชานโตใหญ่เข้ามาหา | |||
แม้นเจ้าคุณมิใช่เป็นยายตา | อย่าโกรธาหลานเลยขอโทษตัว ฯ | |||
๏ ท่านพระยาสุโขทัยยายเพ็ญจันทร์ | รับขวัญว่าอ่อพ่อทูนหัว | |||
นี่แหละเรือนยายตาพ่ออย่ากลัว | อนิจจาตานี้ชั่วจริงจริงแล้ว | |||
ไม่ซักไซ้ไต่ถามให้ถ้วนถี่ | มาทำโพยโบยตีเอาหลานแก้ว | |||
น้อยหรือหลังยังเห็นอยู่เป็นแนว | รับขวัญแล้วอุ้มพาเข้ามาเรือน | |||
ร้องรียกหาข้าไททั้งชายหญิง | อีมิ่งอีมีแล้วอ้ายเหมือน | |||
ไปข้างไหนไม่เห็นหน้าพากันเชือน | พวกผู้คนกล่นเกลื่อนมาพร้อมกัน | |||
จึงใช้ให้ข้าไทเย็บบายศรี | ลูกหลานมาถึงนี่จะทำขวัญ | |||
บรรดากรมการในบ้านนั้น | มาพร้อมกันถามข่าวทุกคนไป ฯ | |||
๏ ครั้นพระสุริยนสนธยา | พอโพล้เพล้เพลาจะเข้าไต้ | |||
ท่านผู้เฒ่าเจ้าเมืองสุโขทัย | กับญาติวงศ์น้อยใหญ่อยู่พร้อมเพรียง | |||
ทำขวัญหลานชายพลายชุมพล | พวกผู้คนโห่ลั่นสนั่นเสียง | |||
ท่านยายสุกยายสากับยายเชียง | เข้านั่งเคียงเรียกขวัญรำพันไป | |||
ขวัญเอ๋ยขวัญพ่อพลายชายชุพล | ที่อยู่ต้นไม้ยูงสูงไม้ใหญ่ | |||
จะอ้างว้างวังเวงวิเวกใจ | ขวัญอย่าไปอยู่เขาลำเนาเนิน | |||
แต่ล้วนผีโป่งป่าคาแขมรก | ทั้งนกหกหงส์ห่านทะยานเหิน | |||
ขวัญมาอยู่เรือนเถิดให้เพลิดเพลิน | ขออัญเชิญขวัญพ่อชมเงินทอง | |||
อายุยืนหมื่นปีหนาพ่อหนา | จงอยู่ด้วยยายตาอย่าเศร้าหมอง | |||
เป็นสังฆราชบาตรแก้วจีวรกรอง | ถือไม้เท้ายอดทองเที่ยวเทศน์ธรรม | |||
แล้วพี่น้องพ้องญาติสิ้นทั้งหลาย | เอาเงินตราผ้าลายมาทำขวัญ | |||
ค่อยอยู่เย็นเป็นสุขทุกคืนวัน | ตายายนั้นรักใคร่กระไรเลย | |||
ค่อยซักไซ้ไต่ถามถึงความหลัง | รู้หนังสือหรือยังพ่อพลายเอ๋ย | |||
เจ้าพลายว่าย่าสอนพอถึงเกย | เพียงละเลยเสียก็เฟือนออกเปื้อนไป | |||
ท่านยายว่าตาช่วยไปฝากวัด | จะให้หัดอ่านเขียนเรียนไปใหม่ | |||
แล้วสอบถามหลานรักเฝ้าซักไซ้ | เจ้าอยู่วัดยังจะได้หรือพ่อคุณ | |||
เจ้าพลายว่ากระนั้นขยันยิ่ง | เป็นความจริงฉันคิดอยู่ครุ่นครุ่น | |||
ฉันจะใคร่ไปบวชเอาส่วนบุญ | มาเทศนาให้เจ้าคุณฟังทุกวัน | |||
ท่านยายตาว่าจงเป็นสังฆราช | ได้โปรดญาติให้ไปสวรรค์ | |||
ตาจะให้อ้ายพุกลูกตาจัน | ไปอยู่วัดด้วยกันกับพ่อพลาย | |||
ให้หาธูปเทียนข้าวตอกดอกไม้ | กับหมากพลูจะได้ไปถวาย | |||
แล้วอาบน้ำทาแป้งแต่งหลานชาย | ให้นุ่งลายห่มแพรม่วงดวงพุดตาน | |||
ยายเพ็ญจันทร์นั้นนุ่งตารางไหม | ห่มปักตะนาวใหม่สมภูมิฐาน | |||
เจ้าขรัวตานุ่งผ้าปูมประทาน | แล้วหยิบส่านมาห่มสมตัวครัน | |||
ชวนหลานพลายน้อยออกเดินทาง | ต่างกางร่มปีกค้างคาวกั้น | |||
บ่าวถือพานทองรองตะบัน | ตามกันออกไปวัดตระพังทอง | |||
ถึงกุฎีที่ท่านสังฆราชา | ถามเจ้าเณรบอกว่าอยู่ในห้อง | |||
ท่านยายตาพาหลานถือพานทอง | ค่อยย่างย่องเข้าไปไหว้กราบลง ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านสังฆราชา | แลมามั่นจิตว่าศิษย์สงฆ์ | |||
จึงร้องถามไปด้วยใจจง | ชีต้นคงหรือเป็นไรไม่เข้ามา | |||
ท่านผู้รั้งฟังถามหัวเราะคัก | ไม่รู้จักผมหรือเจ้าคุณขา | |||
ท่านสมภารตกใจใส่แว่นตา | อ่อโยมพระยาดอกหรือคิดว่าใคร | |||
ข้างหลังนั่นท่านผู้หญิงแล้วสินะ | กินหมากคะโยมขยดมาให้ใกล้ | |||
อาตมาขาแข้งมันขัดไป | จึงมิได้บิณฑบาตยาจนา | |||
ท่านทั้งสองผ่องแผ้วไม่เจ็บป่วย | ดูกระชุ่มกระชวยอยู่หนักหนา | |||
รูปพิศดูโฉมโยมพระยา | เหมือนจะหาได้อีกสักสองคน ฯ | |||
๏ ท่านสุโขทัยได้ฟังนั่งหัวร่อ | จะหาอีกนั้นก็พอไม่ขัดสน | |||
แต่ท่านยายหึงไม่หยุดเป็นสุดทน | ทั้งสามคนหัวร่ององอไป | |||
แล้วผินหน้ามาเรียกให้เจ้าพลาย | ธูปเทียนไปถวายแล้วกราบไหว้ | |||
ฉันจะเอาหลานยามาฝากไว้ | จงโปรดให้เรียนธรรมให้ชำนาญ | |||
เออนี่ลูกใครที่ไหนเล่า | จึงโยมเจ้าพระยาว่าเป็นหลาน | |||
ท่านสุโขทัยไหว้กราบแล้วแจ้งการ | ขอประทานลูกแก้วกิริยา | |||
เมื่อโยมต้องเร่งเงินพินัยนั้น | ไปยากอยู่เมืองสุพรรณเป็นหนักหนา | |||
ขุนแผนเพื่อนรักใคร่ให้เงินตรา | พากันมาอยู่บ้านวัดตะไกร | |||
จึงเกิดพลายชุมพลคนนี้ | เมื่ออาสาไปตีเมืองเชียงใหม่ | |||
เดี๋ยวนี้เจ้าขุนแผนผู้แว่นไว | โปรดให้กินเมืองกาญจน์บุรี | |||
ท่านสมภารว่าอ่อออทองแก้ว | มันมีลูกผัวแล้วเจียวหรือนี่ | |||
เมื่อกระนั้นท่านพามากุฎี | ใส่ตุ้มปี่ลงไม่รอดมันทอดทิ้ง | |||
เมื่อรูปไปบ้านท่านคราวแล้ว | เห็นออแก้วมันยังผูกกระจับปิ้ง | |||
ดูคืนวันมันกระชั้นเข้าจริงจริง | ช่างโตเร็วเจียวยิ่งทั้งหญิงชาย | |||
นี่หรือโฉมพระยากับข้าเจ้า | มันจะมิแก่เฒ่าน่าใจหาย | |||
แล้วลูบหลังลูบหน้าว่าออพลาย | ลูกผู้ชายหน้าตาน่าเอ็นดู | |||
เอ็งอุตส่าห์ร่ำเรียนทั้งเขียนอ่าน | เป็นทหารเหมือนพ่อเถิดออหนู | |||
จะให้นอนห้องในใกล้กับกู | จะได้ดูมันด้วยช่วยระวัง ฯ | |||
๏ ท่านพระยาสุโขทัยยายเพ็ญจันทร์ | ต่างรำพันพูดจาแล้วฝากฝัง | |||
จนจวนสวดมนตร์ค่ำย่ำระฆัง | ก็อำลามายังที่บ้านเรือน ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงนารีศรีมาลา | นางโศกาตรอมใจใครจะเหมือน | |||
แต่พลายน้อยจากไปไม่ถึงเดือน | เจ้าอยู่เรือนอกร้อนเหมือนนอนไฟ | |||
เพราะพระไวยไปอยู่กับเมียน้อย | ย่าก็พลอยด่าว่าไม่ปราศรัย | |||
จนซูบผอมตรอมตรมระทมใจ | ร้องไห้ถึงเจ้าพลายชายชุมพล | |||
โอ้น้องเอ๋ยเคยอยู่เป็นเพื่อนพี่ | จะร้ายดีพ่อก็แจ้งซึ่งเหตุผล | |||
เห็นเขาตีพี่แล้วเป็นทำวล | ช่วยฝนไพลให้ทาน้ำตาคลอ | |||
ความรักพี่นี้แสนสุดสวาท | จึงสามารถบุกป่าไปหาพ่อ | |||
จะแจ้งความตามที่เขาด่าทอ | พี่ห้ามเจ้าไม่รออารมณ์เลย | |||
น่าสงสารป่านฉะนี้เจ้าพลายน้อย | จะเศร้าสร้อยมัวหมองแล้วน้องเอ๋ย | |||
ไปเดินทางกลางป่าเจ้าไม่เคย | น้ำค้างเปรยตกต้องจะหมองมอม | |||
ทั้งจุกไรใครเล่าจะเกล้าสาง | ที่สำอางกลิ่นอายจะหายหอม | |||
จะเปลี่ยวอกไปตระกรกตระกรำตรอม | ถึงบ้านพ่อก็จะผอมลงผิดตา | |||
โอ้พ่อคุณขุนแผนของลูกแก้ว | รู้แล้วน่าจะรีบลงมาหา | |||
นี่คอยหายหลายวันไม่เห็นมา | หรือพ่อลืมศรีมาลาแล้วกระมัง | |||
อยู่เดียวเหลียวหาใครไม่แลเห็น | เขาเคี่ยวเข็ญตีโบยระบมหลัง | |||
ทั้งเรือนนี้มีแต่เขาชิงชัง | ทุกวันยังแต่ชีวิตจะวางวาย | |||
ทั้งแม่พ่อเล่าก็อยู่ถึงพิจิตร | โอ้คิดคิดขึ้นมาน่าใจหาย | |||
สะอื้นอ้อนอ่อนทอดระทวยกาย | ไม่เว้นวายวันทุกข์ทรมาน ฯ | |||
๏ จำจะให้ไปบอกถึงแม่พ่อ | ลงมาต่อว่ากันให้แตกฉาน | |||
แม้นหม่อมไวยไม่รักทำหักราน | จะก้มหน้าไปบ้านบวชเป็นชี | |||
นางจึงเรียกข้าเก่าชาวพิจิตร | อ้ายทิดเอ๋ยอยู่ไหนเข้ามานี่ | |||
อ้ายทิดขานเจ้าขามาทันที | หม่อมแม่ศรีมาลาเรียกฉันทำไม | |||
ศรีมาลาว่ากระถดมาให้ชิด | กระซิบบอกอ้ายทิดแล้วร้องไห้ | |||
เอ็งเอ็นดูข้าด้วยช่วยขึ้นไป | บอกพ่อแม่แก้ไขตามปัญญา | |||
ว่าข้านี้เจ็บไข้ใจจะขาด | ที่วิวาทตีรันนั้นอย่าว่า | |||
ช่วยลวงพ่อแม่ให้ลงมา | เนื้อความใหญ่ไว้ข้าจะบอกเอง ฯ | |||
๏ อ้ายทิดสงสารนายร้องไห้ด้วย | หม่อมแม่เหมือนเขาช่วยมาข่มเหง | |||
ทั้งตีด่าสารพัดไม่ยำเกรง | ดีฉันเองกับเมียพลอยเสียใจ | |||
ลูกจะรอดขึ้นไปมิให้วุ่น | บอกเจ้าคุณสองรามาให้ได้ | |||
แล้วเดินมาข้างนอกไม่บอกใคร | จับถุงย่ามใหญ่ใส่ข้าวปลา | |||
ทั้งหมากพลูบุหรี่มีทุกอย่าง | ลายฉลางคาดพุงหม้อตุ้งก่า | |||
ครั้นเสร็จสรรพแล้วจับหอกละว้า | เอาย่ามใหญ่ใส่บ่ารีบคลาไคล | |||
ขัดเขมรจังกาตามุ่งหมาย | หนทางขโมยควายมันจำได้ | |||
ออกทุ่งโพธิ์สามต้นด้นป่าไป | ค่ำนอนบนต้นไม้ไหว้คุณครู | |||
ครั้นเช้ากลับลงมาหาห้วยหนอง | เอาฟืนกองไฟก่อตั้งหม้อหนู | |||
แต่พอปลงหม้อข้าวเผาปลาทู | กินอยู่แล้วก็ไปไม่รั้งรอ | |||
ครั้นแดดร้อนผ่อนพักชักตุ้งก่า | เมากัญชางกเงิ่นเดินหัวร่อ | |||
เสียงแกรกกรากก็กลัวจนตัวงอ | ใบไม้สวบควบห้อตะบึงไป | |||
เดินสามวันครึ่งถึงพิจิตร | เพื่อนทักว่าอ้ายทิดจะไปไหน | |||
มันแกล้งทำไขหูไม่ดูใคร | ตรงขึ้นเรือนใหญ่ไม่รอรั้ง | |||
พระพิจิตรนั่งชิดกับบุษบา | เห็นพูดจากันจ้อที่หอนั่ง | |||
เข้าไปทั้งย่ามถุงพะรุงพะรัง | กราบแล้วนั่งก้มหน้าทำตาปรอย ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงท่านพระพิจิตร | เห็นอ้ายทิดขึ้นมาทำหน้าจ๋อย | |||
แกด่าว่าน่าเฆี่ยนสักแปดร้อย | ดูโคลนคล่อยช่างพาขึ้นมาเลอะ | |||
นี่อะไรในถุงอ้าวตุ้งก่า | อ้ายทิดสูบกัญชาจนตาเปรอะ | |||
มันช่างเมายังค่ำทำหยำเยอะ | นี่เที่ยวเซอะมาทำไมอ้ายขี้คุก | |||
ทำไมมึงจึงไม่อยู่กับมุลนาย | เสือกมาเที่ยวขโมยควายหมายสนุก | |||
เขาจับได้หวือหวานำหน้าทุกข์ | ให้เขาเอาเข้าคุกสาแก่ใจ ฯ | |||
๏ อ้ายทิดนิ่งนั่งฟังนายด่า | ทำเกาหัวขยี้ตาแล้วร้องไห้ | |||
อันวัวควายฉันไม่หมายขโมยใคร | นายผู้หญิงท่านใช้มากราบเท้า | |||
ด้วยเดี๋ยวนี้แม่ศรีมาลาเจ็บ | เนื้อเย็นเป็นเหน็บสะท้านหนาว | |||
ไม่มีสุขจุกเสียดเป็นคราวคราว | ให้ลงมดลงท้าวว่าถูกคุณ | |||
หมอหลวงหมอราษฎร์ออกกลาดเกลื่อน | มาแน่นเรือนรักษากันว้าวุ่น | |||
ข้าวปลาไม่กินเห็นสิ้นบุญ | เชิญฝ่าเท้าเจ้าคุณรีบลงไป ฯ | |||
๏ พระพิจิตรบุษบาน้ำตาไหล | ตีอกผางผางพลางร้องไห้ | |||
พ่อทิดเอ๋ยพ่อทิดแม่ผิดใจ | เป็นอะไรจึงมาเป็นถึงเช่นนี้ | |||
แล้วเรียกหาข้าคนอลหม่าน | เหวยอ้ายปานอ้ายเป้าอ้ายเฒ่าศรี | |||
ไปถอยเรือกัญญาออกมาที | จะลงไปกรุงศรีอยุธยา | |||
ผู้คนอลหม่านทั้งบ้านช่อง | ที่ไม่อยู่กู่ก้องตะโกนหา | |||
บ้างฉวยได้พายถ่อวิ่งสอมา | ลงถอยเรือกัญญาอยู่วุ่นวาย | |||
มาจอดท่าหน้าบ้านสะพานใหญ่ | เอาแคร่ใส่ผูกพนักจักตอกหวาย | |||
ล้วนชาวเหนือเรือแพไม่เคยพาย | เกี่ยงกันถือท้ายเอะอะไป | |||
พวกผู้หญิงริงเรือหอบเสื่อสาด | ทั้งโต๊ะถาดถ้วยชามรามไห | |||
ข้าวสุกข้าวสารเชิงกรานไฟ | ขนส่งลงไปใส่ข้างท้าย | |||
พระพิจิตรบุษบาละล้าละลัง | กำชับสั่งบ่าวไพร่สิ้นทั้งหลาย | |||
อยู่รักษาเรือนเหย้าเฝ้าวัวควาย | ทั้งหญิงชายชวนกันหมั่นระวัง | |||
สั่งพลางทางลงจากเรือนใหญ่ | อ้ายทิดถือชุดไฟเดินตามหลัง | |||
ครั้นถึงท่าลงเรือไม่รอรั้ง | ท่านพระพิจิตรนั่งเอกเขนกไป | |||
อ้ายทิดโบกมือบอกให้ออกเรือ | พลพายชาวเหนือเสียงเกื๋อไก๋ | |||
ยังไม่เคยเลยพ่อพายอย่างไร | ทำขวักไขว่เกะกะกีดกันเอง | |||
คนหนึ่งยาวคนหนึ่งไล่ไม่ถนัด | ข้างหัววาดท้ายคัดตุหนัดตุเหน่ง | |||
น้ำเพรื่อเรือโคลงอยู่โงงเงง | ไม่เป็นบทเป็นเพลงโก้งเก้งมา | |||
อ้ายทิดนั่งยองยองร้องเกนเกน | พลพายเหลือเถรเจ้าคุณขา | |||
พระพิจิตรถือหวายกรายหวดมา | อ้ายลูกหมามึงไม่วาดหัวลงไว้ | |||
พวกบ่าวเห็นนายถือหวายจ้อง | ลุกขึ้นนั่งยองยองขยุ้มใหญ่ | |||
อ้ายทิดลุกชะเง้อเออนั่นเป็นไร | ประเดี๋ยวโดนกอไผ่เข้าต้ำตึง | |||
โขนพนักหักพับกัญญาย่น | พระพิจิตรล้มก้นกระแทกผึง | |||
ลุกขึ้นนิ่วหน้าด่าเสียงอึง | อ้ายทิดลุกทะลึ่งไปถือท้าย | |||
แล้วเปลี่ยนผลัดหัดกันมากลางน้ำ | กว่าจะพร้อมทั้งลำจนเที่ยงสาย | |||
รีบเร่งเร็วรุดไม่หยุดพาย | ล่องน้ำตามสบายมากรุงไกร ฯ | |||
ตอนที่ ๓๙ ขุนแผนส่องกระจก
๏ จะกล่าวถึงขุนแผนแสนสนิท | เรืองฤทธิ์ลือจบพิภพไหว | |||
ได้กินเมืองกาญจน์บุรีไม่มีภัย | สมสนิทพิสมัยด้วยสองนาง | |||
ลาวทองกับเจ้าแก้วกิริยา | ปฏิบัติวัตถาไม่ห่างข้าง | |||
คลึงเคล้าเช้าเย็นไม่เว้นวาง | แต่ระคางขุ่นข้องให้หมองใจ | |||
ด้วยอีสร้อยฟ้ามาทำเข็ญ | คบเถรทำให้ลูกกูหลงใหล | |||
นิ่งฉะนี้น่าที่ออหมื่นไวย | จะเสียคนป่นไปเป็นชาติกา | |||
คิดแล้วจึงเรียกเจ้าลาวทอง | สั่งน้องเจ้าจงอยู่เคหา | |||
แต่งตัวแล้วเรียกแก้วกิริยา | มาขึ้นช้างงาสง่างาม | |||
สัปคับประดับกูบละไม | บ่าวไพรพรั่งพร้อมล้อมหลาม | |||
ออกจากบ้านบากตรงเข้าดงราม | ข้ามทุ่งธารแถวแนวลำเนา | |||
สามวันครึ่งก็ถึงอยุธยา | พอพระพิจิตรบุษบามาถึงเข้า | |||
แลไปใครหนอคุณพ่อเรา | ปลงช้างวางเข้าไปวันทา | |||
จึงถามความพลันในทันใด | มีธุระสิ่งไรนะเจ้าขา | |||
ทั้งคุณพ่อคุณแม่บุษบา | ลงมาจะประสงค์สิ่งอันใด ฯ | |||
๏ ครานั้นพระพิจิตรบุษบา | บอกว่าศรีมาลาเจ้าเป็นไข้ | |||
เจ็บหนักเจียนจักจะบรรลัย | ใช้ไอ้ทิดขึ้นไปจึงได้มา | |||
ขุนแผนบอกว่ามิใช่ไข้ | เชิญคุณพ่อขึ้นไปบนเคหา | |||
จะได้รู้ร้ายดีศรีมาลา | ว่าแล้วก็พากันขึ้นไป | |||
ทั้งพระพิจิตรบุษบาทั้งข้าคน | สับสนอยู่ที่หอนั่งใหญ่ | |||
พระไวยเห็นพ่อมาระอาใจ | ออกไปไหว้บิดาแลมารดา ฯ | |||
๏ ครานั้นศรีมาลานารี | หมองศรีเศร้าสร้อยละห้อยหา | |||
รู้ว่าพ่อแม่ทั้งสองมา | ก็ไคลคลาจากห้องด้วยหมองใจ | |||
กราบเท้าบิดาแลมารดา | นางโศกาสะอึกสะอื้นไห้ | |||
เล่าความตามจริงทุกสิ่งไป | เหลือใจแล้วที่ลูกจะทานทน | |||
ดูเถิดหลังพังแล้วล้วนแนวไม้ | เป็นริ้วรอยลายไปทุกแห่งหน | |||
ว่าเป็นชู้กับน้องชายพลายชุมพล | พระไวยเชื่อคำคนเขาเจรจา | |||
แม้นเขาว่าแก้วเกิดขึ้นในท้อง | ก็จะต้องแหวะออกเหมือนเขาว่า | |||
อย่างนี้น่าที่จะมรณา | ว่าพลางโศกาสะอื้นไป ฯ | |||
๏ พระพิจิตรบุษบาได้แจ้งการ | แสนสงสารไม่กลั้นน้ำตาได้ | |||
น้ำตาคลอตาพลางว่าไป | เป็นไฉนฉะนี้นะลูกอา | |||
เพราะข้ารักขุนแผนแว่นไว | จึงยินยอมยกให้เสนหา | |||
แต่แรกเริ่มเดิมนั้นได้สัญญา | ว่าลูกข้ามันไม่สู้รู้อะไร | |||
ด้วยเป็นชาวบ้านนอกคอกนา | กิริยาพาทีหาดีไม่ | |||
ถึงจะผิดพลั้งบ้างเป็นอย่างไร | เจ้าก็ไม่ด่าตีศรีมาลา | |||
ด้วยคำมั่นสัญญาดังว่านี้ | ไยจึงตีด่าเล่นเป็นหนักหนา | |||
ดังเชลยตีทัพจับได้มา | เสียแรงข้ารักเจ้าเป็นเท่าใด | |||
ส่วนพ่อแม่ของเจ้าเมื่อเราเลี้ยง | กล่อมเกลี้ยงมิให้หมองน้ำใจได้ | |||
ลูกข้าข้าก็รักเพียงดวงใจ | แต่ริ้นไรก็มิให้ได้ตอมตัว | |||
จะถึงโบยตีมิให้หนัก | จนลูกรักเติบใหญ่ได้มีผัว | |||
ยกให้หมายใจจะฝากตัว | กลับมาชั่วช้าได้ให้อายคน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระหมื่นไวยพลายงาม | ฟังความคั่งแค้นทุกขุมขน | |||
กระทบกระแทกแดกดันในบัดดล | ฉันนี้จนไม่รู้ที่จะเจรจา | |||
อันมีเมียสองก็ต้องห้าม | ตามคำโบราณท่านย่อมว่า | |||
มันเกาะแกะเกินก้ำเป็นธรรมดา | ใช่ว่าจะไม่เลี้ยงให้เที่ยงธรรม | |||
ศรีมาลาข้าก็ให้เป็นเมียหลวง | ข้าไททั้งปวงไม่เกินก้ำ | |||
ถึงสร้อยฟ้าหล่อนก็ว่าอยู่ในคำ | ทั้งให้ถือน้ำทุกปีมา | |||
เงินทองของข้าวเท่าใดใด | ก็มอบไว้ให้หมดทั้งเคหา | |||
ครั้นว่าเห็นสิ่งไรไม่ชอบตา | ฉันว่าหล่อนก็เถียงขึ้นเสียงดัง | |||
ทำเป็นโกรธบ่าวข้าด่าประชด | เหลือจะอดลูกนี้จึงตีมั่ง | |||
ทำแต่พอให้หลาบปราบพอฟัง | ใช่จะตั้งเคี่ยวเข็ญดังเจรจา | |||
เจ้าชีวิตชุบเลี้ยงถึงเพียงนี้ | มีเมียไม่ดีก็ขายหน้า | |||
เพื่อนขุนนางทั้งสิ้นจะนินทา | ใช่ว่าจะไม่รักหล่อนเมื่อไร | |||
หรือคุณพ่อกับคุณแม่บุษบา | หารู้ทะเลาะตีด่ากันบ้างไม่ | |||
ประเพณีมีมาแต่ก่อนไร | มิใช่ใครจะลุถึงโสดา | |||
ธรรมดาว่ามนุษย์ปุถุชน | ยังมักหมิ่นมืดมนด้วยโมหา | |||
จะให้หมดโมโหโกรธา | สุดปัญญาที่ลูกจะผ่อนปรน | |||
คุณพ่อดูแต่ลิ้นอยู่กับฟัน | กระทบกันก็ไม่รู้ว่ากี่หน | |||
จะไม่ให้ตีรันฉันก็จน | พ่อแม่ก็จะป่นเป็นหว่านไป ฯ | |||
๏ ครานั้นพระยากาญจน์บุรีศรีสงคราม | ได้ฟังความลูกว่าไม่นิ่งได้ | |||
อย่าพักพูดเลยเจ้าพอเข้าใจ | สารพัดที่จะได้มารู้ความ | |||
เพราะรักดอกจึงรีบลงมาหา | จะได้เห็นประจักษ์ตาว่าเสี้ยนหนาม | |||
พ่อดูหน้าเจ้าเป็นฝ้าเหมือนทาคราม | มีเมียสองต้องห้ามแต่ไรมา | |||
เหมือนนิทานท่านท้าวยศวิมล | มเหสีสองคนเป็นซ้ายขวา | |||
ชื่อว่าจันทร์เวีกับจันทา | ทั้งสองรานั้นร่วมมารดากัน | |||
แต่พี่น้องท้องเดียวยังทำได้ | คบอีเฒ่าจัญไรโกหกนั่น | |||
ทำเสน่ห์เล่ห์กลทุกสิ่งอัน | จนท้าวนั่นลุ่มหลงปลงฤทัย | |||
นางจันทร์เทวีไม่มีผิด | มันเสียดส่อข้อคิดให้ขับไล่ | |||
อันเรื่องนี้เจ้าก็รู้อยู่แก่ใจ | เป็นไฉนจึงประมาทนะลูกอา | |||
คนดีอยุธยาหาสิ้นไม่ | เจ้าอย่าถือตัวไปฟังพ่อว่า | |||
พ่อรู้แน่แล้วว่าลูกนี้ถูกยา | เจ้าไม่เชื่อบิดาจะเสียคน ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้ากับอีไหมอยู่ในห้อง | ได้ฟังหัวพองสยองขน | |||
เปิดหน้าต่างลอยหน้าว่าลนลน | ใครทำเวทมนตร์เอาตัวมา | |||
ข้างนี้รู้อยู่แล้วว่าพระไวย | ต้องยาแฝดแปดไปจนมืดหน้า | |||
ทุกเช้าค่ำร่ำละห้อยคอยบิดา | เมื่อไรจะลงมาได้จับมัน | |||
บัดนี้คุณพ่อมาน่าดีใจ | จะได้จับไอ้คนมนตร์ขยัน | |||
รูปร่างอย่างไรได้เห็นกัน | อย่าช้าเลยตะวันจะค่ำไป ฯ | |||
๏ พระกาญจน์บุรีชี้หน้าร้องด่าอึง | อุเหม่มึงอย่าท้าอีหน้าไพร่ | |||
อีมัยเฮ้ยอย่าช้าเอ็งจงไป | หยิบกระจกที่ออไวยเขาส่องมา | |||
อีเม้ยรับกลับเข้าในห้องใน | หยิบกระจกบานใหญ่กะหลาป๋า | |||
เทศแท้เที่ยงดีมีราคา | เอาออกมาให้ขุนแผนผู้แว่นไว | |||
ขุนแผนผินรับจับกระจก | พลางหยิบยกระดานชนวนใหญ่ | |||
มาขีดเขียนเลขยันตร์ลงทันใด | แล้วลบผงลงใส่กระจกพลัน | |||
โอมอ่านมนตร์ครบจบศีรษะ | ขอเดชะพระเวทวิเศษขยัน | |||
ถ้าใครทำมนตร์ยาใจอาธรรม์ | จงปรากฏเห็นกันให้ทันตา | |||
ก็เกิดเป็นรูปนิมิติดกระจก | อกต่ออกอิงแอบเข้าแนบหน้า | |||
ใบรักรัดกระสันกันสองรา | ขุนแผนฮาดังลั่นนั่นเป็นไร | |||
พระพิจิตรบุษบากับข้าคน | ต่างเห็นมนตร์สัจจังทั้งเรือนใหญ่ | |||
ขุนแผนหยิบยื่นให้หมื่นไวย | เอ็งดูดู๋นี่อะไรให้ว่ามา ฯ | |||
๏ พระหมื่นไวยเมินหน้าหาดูไม่ | ข้าเข้าใจอยู่นักไม่พักว่า | |||
ถ้าทำมั่งก็เป็นเช่นบิดา | ใช่ตัวข้าโง่เง่าไม่เท่าทัน | |||
แม้นไม่ดีที่ไหนจะพ้นโทษ | เมื่อทรงโปรดให้ไปตีเชียงใหม่นั่น | |||
จึงได้มีความสุขทุกคืนวัน | เพราะพ่อนั้นรักที่ศรีมาลา | |||
ถึงจะทำความผิดสักเท่าไร | พ่อก็เข้ากันไปมิได้ว่า | |||
ข้าทำไม่ได้เช่นใจของบิดา | ใครผิดก็ต้องว่าไปตามจริง ฯ | |||
๏ ขุนแผนชี้หน้าด่าอึง | อุเหม่มึงลำเลิกพ่อเล่นได้ | |||
ลุกฉวยดุ้นแสมแร่เข้าไป | พระหมื่นไวยวิ่งหาย่าช่วยที ฯ | |||
๏ ทองประศีแกโกรธกระโดดโหยง | ทุดอ้ายบ้าลำโพงตายโหงผี | |||
ข่มเหงหลานกูไยไอ้อัปรีย์ | มึงอวดว่าตัวดีมีวิชา | |||
จองหองว่าส่องกระจกได้ | เข้าใจว่ายิ่งยวดพูดอวดหมา | |||
มึงทำเป็นกูเห็นอยู่อัตรา | กูไม่ปรารถนาจะเชื่อใคร | |||
ทำไมกับเล่นกลให้คนดู | อ้ายแขกตรังกานูก็เล่นได้ | |||
มันโยนลูกทองคลีเป็นสี่ใบ | อมฟืนอมไฟได้แดงแดง ฯ | |||
๏ พระพิจิตรบุษบาก็ตกใจ | ร้องห้ามลูกไปจนเสียงแห้ง | |||
ฉุดชายกระเบนรั้งกำลังแรง | บุษบาคร่าแย่งเอาไม้ไป | |||
ขุนแผนยั้งหยุดให้สุดคิด | ด้วยเกรงพระพิจิตรผู้เป็นใหญ่ | |||
บุษบาจึงว่ากับพระไวย | จะขอลาลูกไปเสียสักปี | |||
อลักเอลื่อเหลือทนด้วยท้องไส้ | เมื่อคลอดลูกแล้วจะให้มาอยู่นี่ | |||
จะตั้งเคี่ยวเข็ญกันรันตี | น่าที่ศรีมาลาจะบรรลัย ฯ | |||
๏ ครานั้นหมื่นไวยพลายงาม | ฟังความแค้นคลั่งดังเพลิงไหม้ | |||
กระทบกระแทกแดกดันให้ทันใด | ช้าอยู่ไยเล่าหม่อมศรีมาลา | |||
จัดแจงเงินทองของเจ้า | เร็วเข้าขนลงไปตีนท่า | |||
ไปอยู่เมืองพิจิตรกับบิดา | ต่อคลอดลูกออกมาสักห้าคน | |||
จึงมาอยู่กับเราเหมือนเก่าก่อน | หม่อมแม่ท่านจะสอนให้เป็นผล | |||
ไปเถิดแก้วตาแม่หน้ามน | ขนของลงบรรทุกเรือกัญญา ฯ | |||
๏ บุษบาว่าหม่อมเจ้าจอมเขย | ช่างแง่งอนกระไรเลยเป็นหนักหนา | |||
กระทบกระแทกแดกดันให้มารดา | มิให้ไปก็ว่ากันโดยดี | |||
ใช่เรานี้จะลงมาว่าขาน | ห้าวหาญฮึกฮักให้อึงมี่ | |||
อีเฒ่าเข้าใจเป็นไรมี | ลำเลิกว่าข้านี้ก็เข้าใจ | |||
เจ้าเป็นพระนายแม่ยายจน | ทิ่มตำร่ำประดนแดกดันให้ | |||
คิดมั่งแต่หลังก็เป็นไร | เว้นไว้แต่ไม่คลอดเจ้าออกมา | |||
ถึงจะไม่คิดคุณอีเฒ่ามั่ง | เหลียวดูข้างข้างนี่เถิดหนา | |||
หัวหงอกออกอร่ามตามกันมา | เพราะอีศรีมาลาจึงเจ็บใจ | |||
บ้านเมืองของกูกูก็อยู่ | ใครมาข่มเหงกูเช่นนี้ไม่ | |||
มึงแกล้งใช้ให้ไอ้ทิดนั้นขึ้นไป | บอกว่าเป็นไข้จึงลงมา | |||
ถ้ากูรู้ว่าวิวาทกันกับผัว | เคืองหัวแม่ตีนกูไม่ดูหน้า | |||
ตั้งแต่วันนี้ไปกูไม่มา | ตามแต่วาสนาเถิดขาดกัน | |||
เจ็บไข้ก็อย่าให้ไปบอกกู | ผีสางกูไม่ดูเป็นแม่นมั่น | |||
ถึงมึงจะอยู่ตึกให้ครึกครัน | กูจนก็จะดั้นไปตามจน | |||
เสียแรงหมายใจจะได้พึ่ง | แต่มึงก็ไม่เห็นจะเป็นผล | |||
มันกลับเป็นไพรีเข้าตีตน | จะกังวลด้วยมึงไปทำไม | |||
แต่เลือดในตัวมันชั่วช้า | ยังควักออกเสียหาอาลัยไม่ | |||
กูนึกว่าอ้ายพม่ามันพาไป | สิ้นอาลัยลืมกันจนวันตาย ฯ | |||
๏ เออก็ดูเอาเถิดเจ้าจอมแม่ | เซ็งแซ่นี่กระไรน่าใจหาย | |||
ใครเล่าเขาไม่นับว่าแม่ยาย | จึงว่าเปรียบเทียบทายทุกอันไป | |||
ดีชั่วผัวเมียเขาตีกัน | เขาหาฆ่าฟันกันเสียไม่ | |||
หายโกรธก็จะดีด้วยกันไป | เป็นผู้ใหญ่ควรแต่จะปรองดอง | |||
นี่กลับหาเป็นเช่นนั้นไม่ | จะกระชากลากไปเสียจากห้อง | |||
แกล้งมายุเด็กให้ใจคะนอง | แล้วมาร้องแปร้นแปร้นแสนรำคาญ | |||
นิ่งอยู่ไยเล่าเจ้าศรีมาลา | ไม่ส่งเสียงเถียงว่าให้ฉานฉาน | |||
หม่อมแม่ท่านอยู่เป็นกระทู้การ | ไม่เหมือนน้ำใจท่านจึงโกรธา | |||
ข้ากลัวเจ้าแล้วแต่นี้ไป | ถึงล่วงเกินอย่างไรก็ไม่ว่า | |||
จะเป็นเครื่องเคืองในใต้บาทา | มารดาแค้นขัดจะตัดรอน | |||
เมียกลัวผัวอยู่ไม่ดูแคลน | หม่อมแม่เถียงแทนอยู่ย่อนย่อน | |||
ลูกสาวนิ่งเฉยไม่เคยงอน | ท่านแม่มาสอนให้งอนงด | |||
กระทบกระแทกแดกดันทุกอันไป | ก็ใครใจโสดาจะได้อด | |||
มันน่าตอบแทนดูให้รู้รส | หากอดด้วยว่าเห็นเป็นแม่ยาย | |||
คุณพ่อเป็นไรไม่ว่าขาน | ช่างกระไรไล่พาลกันง่ายง่าย | |||
ด่าลูกสาวกระทบกระเทียบเปรียบปราย | ป่ายถึงอ้ายพม่ารามัญ | |||
สู่ขอพ่อแม่ก็ยกให้ | แต่แรกเป็นไรไม่เลือกสรร | |||
โกรธแล้วค่อนว่าสารพัน | แดกดันร่ำว่าให้สาใจ | |||
ข้าเจ้านี้แลเผ่าพวกพม่า | แต่แรกทั่นนั้นหารู้จักไม่ | |||
ด้วยว่าข้าตัดผมเสียเป็นไทย | จึงหลงยกให้ลูกสาวมา | |||
เดี๋ยวนี้รู้ว่ามิใช่ไทย | จะกระชากลากไปเสียต่อหน้า | |||
เขาไม่ให้ไปจึงโกรธา | อย่าว่าแต่มาสักเพียงนี้ | |||
ถึงจะยกกันมาสักห้าพัน | เคี่ยวเข็ญเล่นกันให้ป่นปี้ | |||
สู้กันจนตายวายชีวี | ใครดีก็มาพาไปดู ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | แค้นคิดตาเพ่งเขม็งอยู่ | |||
เอ๊ะอ้ายไวยกระไรต่อหน้ากู | ข่มขู่ขยี้เล่นเป็นผักยำ | |||
ชี้ข้ามหัวพ่อเป็นตอไม้ | แคะไค้ว่าเล่นไม่เป็นส่ำ | |||
นับมึงไม่ได้ไอ้ใจดำ | ถ้อยคำหยาบช้าสามานย์ | |||
ทั้งนี้มึงเห็นว่ายากทรัพย์ | จึงไม่นับน้ำหน้าว่าขาน | |||
ข่มเหงแม่ยายขายประจาน | ท่านก็พ่อแม่ของกูมา | |||
มึงไซร้ก็ได้แจ้งเนื้อความหลัง | กูได้เล่าให้ฟังเป็นหนักหนา | |||
เมื่อลักแม่มึงหนีขุนช้างมา | ไม่พึ่งพาท่านได้ก็ดูเอา | |||
จะพากันฉิบหายตายโหงเสีย | มึงจะได้มีเมียที่ไหนเล่า | |||
มึงกลับมาขู่รู่ทำดูเบา | อ้ายขี้เค้าคนอกตัญญู | |||
เป็นแต่จมื่นไวยยังเพียงนี้ | ถ้านานไปได้ดีจะครันอยู่ | |||
เป็นไรเป็นไปจะได้ดู | กูก็เป็นถึงพระกาญจน์บุรี | |||
พ่อตาก็เป็นพระพิจิตร | จะชอบผิดอย่างไรให้ดูที่ | |||
อ้ายจองหองจะถองดูสักที | ว่าแล้วลุกรี่ตรงเข้ามาฯ | |||
๏ ทองประศรีกั้นกางขวางไว้ | แกขัดใจฉวยสากตำหมากง่า | |||
อ้ายหน้าด้านทะยานใจไม่เข้ายา | เขาว่ากันลูกเขยกับแม่ยาย | |||
งุ่นง่านการงานอะไรของตัว | ประสมหัวพลอยเห่าเอาง่ายง่าย | |||
จองหองจะถองไม่มีอาย | ร้องด่าท้าทายแต่หลานกู | |||
กูถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงไว้ | แต่อายุออไวยยังเด็กอยู่ | |||
อ้ายชาติข้าสองตามึงไม่ดู | มุดหัวคุดคู้อยู่ในคุก | |||
ออไวยไปขอจึงออกได้ | ขึ้นไปตีเชียงใหม่ได้เป็นสุข | |||
ไปกินกาญจน์บุรีไม่มีทุกข์ | กลับมาหาญรานรุกผู้มีคุณ | |||
มึงจะเป็นผู้ดีสักกี่ชั้น | เมื่อกระนั้นเขาก็เรียกว่าอ้ายขุน | |||
เป็นเจ้าเมืองกาญจน์บุรีพอมีคุณ | ลืมคุณออไวยไปขอมา | |||
มึงไม่ไปเสียให้พ้นเรือน | กูมิต่อยให้เปื้อนก็จงว่า | |||
มือเหน็บชายกระเบนร้องเกนมา | กล้าดีก็มาอย่ารั้งรอ ฯ | |||
๏ พระไวยแอบย่าร้องว่าไป | ไม่พอที่เลยอะไรนี่คุณพ่อ | |||
เกรี้ยวโกรธโกรธาด่าทอ | ให้เพื่อนบ้านเขาหัวร่อเล่นเกรียวเกรียว | |||
เมียผัวชั่วดีก็ตีกัน | แม่ยายมาเถียงดันอยู่เกรี้ยวเกรี้ยว | |||
จะเอาแต่ใจตนไปคนเดียว | เคี่ยวเข็ญให้อยู่ในถ้อยคำ | |||
ลูกสาวชั่วช้าไม่ว่าเลย | มาว่าแต่ลูกเขยเล่นพร่ำพร่ำ | |||
สารพัดดันแดกกระแทกตำ | ใจใครไม่ช้ำก็ใช่คน | |||
ด่าลูกสาวเปรียบแล้วมิหนำ | ยังซ้ำลำเลิกเล่นออกปี้ป่น | |||
สุดที่จะด้านทานทน | ถึงเลกชาวทรพลไม่เช่นนี้ | |||
ถ้าแม้นช่วยมายกเป็นลูกเขย | ก็หาเถียงไม่เลยให้จู้จี้ | |||
จะทนทานด้านหน้าทั้งตาปี | ถึงด่าแม่ออกกมี่ไม่เจ็บใจ | |||
นี่ก็หาได้ช่วยมาไม่ดอก | ข้าหาเป็นลูกครอกของใครไม่ | |||
จะขึ้นเสียงเปรี้ยงด่าดังข้าไท | อันจะละเลยให้อย่าพึงคิด | |||
แต่ศึกเสือเหนือใต้ยังไปรบ | มิได้หลบลูกปืนแต่สักหนิด | |||
คนอื่นหมื่นแสนจะแทนฤทธิ์ | เว้นแต่เจ้าชีวิตแลจนใจ ฯ | |||
๏ ขุนแผนร้องแปร้นเจ้าลูกชาย | พ่อตาแม่ยายหากลัวไม่ | |||
อวดอิทธิฤทธาว่ามากไป | ใครใครไม่กลัวทั้งแผ่นดิน | |||
จะสู้ทนจนยับไม่กลับถอย | กูก้อยไม่กลัวเสียหมดสิ้น | |||
ว่าไม่งอนง้อขอใครกิน | ดูหมิ่นกันเล่นแต่ปานนี้ | |||
เป็นขุนนางโตใหญ่ที่ไหนเล่า | จะเหยียบหัวอ้ายเฒ่าเสียป่นปี้ | |||
คุณย่ายิ่งตามใจยิ่งได้ที | ตั้งแต่นี้ขาดกันจนวันตาย | |||
ถ้ากูบรรลัยอย่าไปเผา | ถึงชีวิตออเจ้าจะสูญหาย | |||
ผีมึงกูก็ไม่ไปกล้ำกราย | หมายแต่จะเอาชีวิตกัน | |||
ฟ้าฟื้นของกูที่เอาไว้ | เร่งเอามาให้ขมีขมัน | |||
มีศึกเมื่อไรได้เล่นกัน | ถ้าไม่ให้จะไล่ฟันเอาเดี๋ยวนี้ ฯ | |||
๏ พระไวยวิ่งกลับเข้าในห้อง | ร้องว่าคุณพ่อไม่พอที่ | |||
มาพลอยโมโหเป็นโกลี | ถึงจะตีตบต่อยไม่น้อยใจ | |||
ราวกับคนอื่นมาขืนค่อน | มาสลัดตัดรอนอย่างนี้ได้ | |||
จับดาบทูนหัวกลัวสุดใจ | ออกไปกลัวพ่อจะฟาดฟัน | |||
คุณย่าเจ้าขาเข้ามานี่ | ทองประศรีรับเอาขมีขมัน | |||
ถือดาบกระดกงกงัน | ร้องด่าตาชันอื้ออึงไป | |||
กูคิดว่าคนดีอ้ายผีเปรต | ให้แล้วกลับเพศมาคืนได้ | |||
ฟันหักหัวหงอกกลับกลอกไป | ใครจะเจรจาได้เหมือนเช่นมัน | |||
ไหนกระไรหนักหนาค่ากี่เฟื้อง | ราวกับค่าควรเมืองเจียวหรือนั่น | |||
ทุดไสหัวไปให้เห็นตะวัน | ฟันปลาก็ไม่เข้ามึงเอาไป | |||
อ้ายคนบัดสีไม่มีจริง | ว่าแล้วก็ทิ้งฟ้าฟื้นให้ | |||
อ้ายขี้ตรวนกวนได้แต่ออไวย | เข้าด้วยลูกสะใภ้เป็นตัวดี ฯ | |||
๏ ขุนแผนแค้นหยิบเอาดาบมา | จบทูนเกศาลุกจากที่ | |||
นางแก้วกิริยาตามสามี | ศรีมาลาบุษบาก็คลาไคล | |||
พระพิจิตรก็ตามขุนแผนมา | อาลัยศรีมาลาน้ำตาไหล | |||
ถึงท่ารเอจอดพลันทันใด | พูดจาปราศรัยกันไปมา | |||
พระพิจิตรบุษฐษจึงว่าไป | พ่ออาลัยห่วงหลังเป็นหนักหนา | |||
ส่วนเจ้าก็จะไปเสียไกลตา | ไม่รู้ว่าศรีมาลาจะอย่างไร | |||
พระไวยเห็นหน้าก็ชิงชัง | หาเหมือนแต่หลังมาแล้วไม่ | |||
เชื่อถือสร้อยฟ้าทึกตาไป | มันจะยุยงให้แต่ด่าตี | |||
จะได้พึ่งคุณย่าก็หาไม่ | พลอยซ้ำเสือกไสไปถ้วนถี่ | |||
จะหันหน้าพึ่งใครก็ไม่มี | พ่อนี้อาลัยด้วยไกลตา | |||
ขุนแผนกราบเท้าว่าเจ้าคุณ | อย่าหมกมุ่นไปเลยฟังลูกว่า | |||
จะเป็นไรมีกับศรีมาลา | ดังดวงชีวาของลูกชาย | |||
กลับไปใช่ลูกจะเลยละ | คงจะแก้ไขให้จนหาย | |||
มิให้นางอยู่เปลี่ยวผู้เดียวดาย | จะให้พรายทั้งสองอยู่ป้องกัน | |||
อ้ายไวยมัวหมองต้องยาแฝด | แปดเปื้อนไปทั้งคุณย่านั่น | |||
จึงหลงเชื่อฟังไปข้างมัน | สิบห้าวันแล้วลูกจะกลับมา | |||
ที่เคืองใจนั้นไว้ธุระลูก | ไม่แก้ไขให้ถูกแล้วจึงว่า | |||
จะจับทั้งอ้ายคนทำมนตร์ยา | แก้หน้าเจ้าคุณให้คืนดี ฯ | |||
๏ พระพิจิตรบุษบาจึงว่าไป | ข้าเห็นใจเจ้ามาแต่ก่อนกี้ | |||
ซื่อตรงคงคดเจ้าไม่มี | นับปีมาแล้วแต่เชื่อใจ | |||
ค่อยอยู่จงดีศรีมาลา | ฟังคำพ่อว่าอย่าร้องไห้ | |||
มิใช่ไม่รักเจ้าเมื่อไร | อยู่ได้ก็จะอยู่ด้วยลูกยา | |||
ครั้นปลอบลูกแล้วก็ลงเรือ | ยังอาลัยลูกเหลือละห้อยหา | |||
ศรีมาลาฟูมฟายฝ่ายน้ำตา | พระพิจิตรบุษบาก็คลาไคล ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | พระพิจิตรลับตาหาช้าไม่ | |||
ถอดดาบฟ้าฟื้นยืนแกว่งไกว | กลับเข้าไปในบ้านด้วยทันที | |||
พวกบ่าวพระไวยตกใจวิ่ง | ทั้งผู้ชายผู้หญิงหลบหน้าหนี | |||
ขุนแผนแค้นใจใช่พอดี | เฮ้ยอ้ายไวยมานี่มาเล่นกัน | |||
เด็ดขาดกันไปใช่พ่อแม่ | ถึงกูเฒ่ากูแก่ก็ไม่พรั่น | |||
เป็นตายร้ายดีกูคงฟัน | เมียม่อยมึงด้วยกันก็ดูเอา | |||
หลบหัวไปไหนไม่ลงมา | ฉวยก้อนอิฐปาหัวนอนเข้า | |||
เป้งเป้งหลายทีไม่มีเบา | พระไวยเข้าเรือนเงียบไม่เกรียบเลย | |||
ทองประศรีเยี่ยมหน้านัยน์ตาชัน | ขโมยปล้นกลางวันเจ้าข้าเอ๋ย | |||
แต่น้อยคุ้มใหญ่กูไม่เคย | เด็กเหวยไปบอกกรมเมืองมา | |||
ขุนแผนแค้นแม่ไม่นิ่งได้ | เอาอิฐแพ่นเข้าไปที่ริมฝา | |||
ทองประศรีร้องว้ายกูตายวา | ปิดประตูร้องด่าอื้ออึงไป ฯ | |||
๏ ครานั้นนางแก้วกิริยา | เห็นวุ่นวายหนักหนาไม่นิ่งได้ | |||
ปลอบผัวโลมเล้าเอาใจ | ใกล้ค่ำแล้วอย่าช้าน่ารำคาญ | |||
ขุนแผนฟังว่าก็คลาไคล | ศรีมาลาตามไปจนนอกบ้าน | |||
ถึงป่าช้าพลันมิทันนาน | กราบกรานขุนแผนผู้บิดา | |||
เจ้าประคุณทูนหัวของลูกเอ๋ย | จะละเลยลูกไว้ไม่เห็นห้า | |||
ลูกจะพึ่งบุญใครด้วยไกลตา | สร้อยฟ้าเสียดแสร้งสารพัน | |||
พระไวยเหมือนไฟกำเริบแรง | มันคอยเฝ้าเข้าแยงอยู่เจียวนั่น | |||
เอาฟืนฝอยใส่ซ้ำทั้งน้ำมัน | นับวันจะไหม้เป็นจุณไป | |||
ตัวลูกคนเดียวเฝ้าเกรี้ยวกราด | ไหนจะมีชีวาตม์อยู่ไปได้ | |||
ร่ำพลางข้อนอุราโศกาลัย | กลิ้งเกลือกเสือกไปกับบาทา ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนอาลัย | เอาใจปลอบลูกเสนหา | |||
พ่อจะให้นางพรายทั้งสองรา | อยู่รักษาลูกแก้วอย่ากลัวภัย | |||
ขึ้นไปจะยกกระบวนทัพ | ลงมาจับอ้ายไวยให้จงได้ | |||
จึงจะได้แก้แค้นที่แน่นใจ | ซักไซ้เอาจริงอีสร้อยฟ้า | |||
มันทำเจ้าเท่าไรจะทดแทน | ให้หายแค้นแสนสมกับน้ำหน้า | |||
จะฉีกแล่แผ่เนื้อเอาเกลือทา | เวลานี้ก็จวนจะค่ำแล้ว | |||
เจ้าจะเที่ยวอยู่ในป่าช้าผี | คนเดียวไม่ดีนะลูกแก้ว | |||
ปีศาจกราดคะนองว่องแวว | ลูกแก้วฟังพ่อจงคืนไป | |||
ศรีมาลาวันทาแล้วลาพ่อ | น้ำตาคลอคลอสะอื้นไห้ | |||
เดินเดียวเหลียวหลังยังอาลัย | ขุนแผนทอดถอนใจมาขึ้นช้าง | |||
กับนางแก้วกิริยาคลาไคล | บ่าวไพร่ตามพรูดูสล้าง | |||
ร้องเพลงไก่ป่ามาตามทาง | ขุนแผนขี่พลายกางขับช้างมา | |||
สามวันครึ่งถึงเมืองกาญจน์บุรี | ช้างประทับกับที่ขึ้นเคหา | |||
บ่าวไพร่พร้อมกันไม่ทันช้า | นางแก้วกิริยาเข้าห้องใน | |||
ฝ่ายพระกาญจน์บุรีอยู่ที่จวน | ปั่นป่วนหาหายโมโหไม่ | |||
แค้นด้วยลูกชายพระนายไวย | ให้ร้อนรุ่มกลุ้มใจดังไฟลุก | |||
แต่ฮึดฮัดขัดใจเจียนจะคลั่ง | นอนนั่งเช้าเย็นไม่เป็นสุข | |||
เฝ้าแต่ตรอมตรมระทมทุกข์ | คิดจะผลาญรานรุกอยู่ทุกวัน ฯ | |||
๏ จะกลับกล่าวถึงเจ้าพลายชุมพล | ที่ดั้นด้นไปอยู่สุโขทัยนั่น | |||
ตายายรักใคร่ใครจะทัน | ตัวนั้นบวชเข้าเป็นเณรนาน | |||
เล่าเรียนขอมไทยว่องไวดี | แปลคัมภีร์เปรื่องปราดออกฉาดฉาน | |||
เช้าเย็นเณรเกราดดไปกวาดลาน | แสนสำราญเป็นสุขทุกเวลา | |||
วันหนึ่งเณรเอากราดกวาดมลทิน | ยังมีขอมดดำดินเมืองหงสา | |||
มือถือลานทองของวิชา | หมายจะถามปริศนาของรามัญ | |||
ผุดขึ้นระหว่างกลางบริเวณ | ถามปริศนาเณรชุมพลนั่น | |||
ชุมพลแก้ไขได้ฉับพลัน | ลานนั้นขอมให้ก็ได้มา | |||
เรียนวิชาในลานชำนาญใจ | ล่องหนหายตัวได้ดังปรารถนา | |||
อยู่คงสารพัดศัสตรา | ดำพสุธาก็ได้ดังใจปอง | |||
กำลังรุ่นหนุ่มน้อยแน่งสนิท | อิทธิฤทธิ์ลือดีไม่มีสอง | |||
อายุสิบห้าปีเปี่ยมคะนอง | สุโขทัยสยองแสยงฤทธิ์ ฯ | |||
๏ คืนหนึ่งเณรตื่นขึ้นแต่ดึก | อกสะทึกให้สะท้อนถอนจิต | |||
พลิกกลับก็ไม่หลับลงสักนิด | เณรนองนิ่งคิดรำพึงตรอง | |||
หวนจิตคิดคะนึงถึงท่านย่า | ทั้งบิดามารดายิ่งหม่นหมอง | |||
เราหลบลี้หนีมาน้ำตานอง | แต่คราวต้องโพยภัยพี่ไวยตี | |||
นานแล้วแต่พรากจากพ่อแม่ | จะแก่เฒ่าลงอย่างไรไม่รู้ที่ | |||
คุณย่าน่าจะหง่อมลงเต็มที | แปดปีเศษแล้วแต่เรามา | |||
ครั้นจะไปเยี่ยมเยือนก็ทางไกล | แต่อาลัยครุ่นจิตคิดหนักหนา | |||
ให้ตื้นตื้นตันใจไปทุกตา | จนสุริยาเยี่ยมยอดยุคันธร | |||
อดิเรกแอร่มแจ่มศรี | ปัถพีแจ้งจำรัสประภัสสร | |||
แซ่เสียงปักษาทิชากร | เณรลุกจากที่นอนล้างหน้าพลัน | |||
ลงจากกุฎีแล้วเดินมา | มัดหญ้าเป็นยักษ์โตถงั่น | |||
แข้งขาข้อลำกำยำครัน | ปากปั้นเขี้ยวขบเข้าติดไว้ | |||
แล้วมัดไม้เป็นตะบอง | สอดใส่ในสองมือยักษ์ใหญ่ | |||
ครั้นสำเร็จเสร็จสรรพด้วยฉับไว | ขึ้นบันได้หยิบกระดาษเข้ากุฎี | |||
ดินสอดำซ้ำเขียนเป็นอักษร | ถึงบิดรไต่ถามความถ้วนถี่ | |||
พับผนึกมิดชิดสนิทดี | รีบรี่เดินออกมานอกชาน | |||
จัดแจงสารพัดบัตรพลี | ลุกลงจากกุฎีมาปลูกศาล | |||
วงด้ายสายสิญจน์วิชาการ | แล้วเสกซ้ำปลุกมารด้วยมนตรา | |||
ถ้วนคำรบจบคาบซัดข้าวสาร | ยักษ์ทะยานสูงเยี่ยมเทียมภูผา | |||
ทะลึ่งโลดโดดสำแดงแผลงศักดา | ตวาดว่าให้นั่งลงทันใด | |||
เอาหนังสือผูกคอกระชับมั่น | ซ้ำสั่งหุ่นนั้นหาช้าไม่ | |||
เอ็งจงรีบถือหนังสือไป | ให้พ่อกูที่กาญจน์บุรี ฯ | |||
๏ ยักษ์รับกราบลาทะลึ่งโลด | ข้ามโขดเขาเขินคิรีศรี | |||
ยูงยางหักระเนนเป็นธุลี | เหยียบเสือช้างบี้ด้วยบาทา | |||
วิ่งกลมดังลมเพชรหึง | ตึงตึงตีนเตะเข้ายอดผา | |||
พังครืนครื้นครั่นสนั่นมา | พสุธาสะท้านสะเทื้อนดง | |||
ข้ามละหานธารท่าป่าทุ่ง | หมายมุ่งทิวไม้ไพรระหง | |||
ตะวันรอนอ่อนแสงพระสุริยง | ยักษ์ก็ตรงเข้าเมืองกาญจน์บุรี | |||
ชาวเมืองรู้ทั่วต่างกลัวยักษ์ | พรั่นนักจะพาลูกเมียหนี | |||
ตกใจไม่เป็นสมประดี | ทั้งพระกาญจน์บุรีก็ตกใจ | |||
เสียงอะไรตึงตังดังหนักหนา | ลงจากจวนมาหาช้าไม่ | |||
แลเห็นยักษ์พลันในทันใด | ก็แจ้งใจว่ายักษ์วิชาการ | |||
จึงเสกผ้าขาวบางแล้วขว้างไป | เป็นลิงใหญ่ไล่โลดดโดดสังหาร | |||
ยักษ์กับลิงวิ่งเข้าประจัญบาน | คนผู้ดูพล่านทั้งพารา | |||
ลิงล่อยักษ์ไล่ทะลึ่งโลด | ลิงโดดยักษ์เงื้อตะบองง่า | |||
ยักษ์ตีลิงไล่ตะบองมา | ลิงกัดยักษ์คว้าต้นคอคั้น | |||
ลิงผลักยักษ์เซพอเหห่าง | ลิงง้างตะบองยักษ์หักสะบั้น | |||
ยักษ์เตะลิงรับจับตีนทัน | ยักษ์ล้มลิงถลันคั้นไม่วาง | |||
ยักษ์มนตร์ตนน้อยศักดาเดช | ลิงเวทมัดซ้ำด้วยลำหาง | |||
ยักษ์ร้ายกลายกลับเป็นหญ้าฟาง | ลิงก็หายกลายร่างเป็นผ้าไป ฯ | |||
๏ ขุนแผนแลเห็นแผ่นกระดาษ | เอ๊ะประหลาดคลี่ดูหาช้าไม่ | |||
อักษรบวรลักษณ์วิไล | ของลูกแต่สุโขทัยธานี | |||
แต่พลัดพรากพ่อแม่ไม่แลเห็น | จะอยู่เป็นสุขทุกข์ไม่รู้ที่ | |||
อนึ่งองค์ทรงธรรม์พระพันปี | ยังดีหรือกริ้วบ้างเป็นอย่างไร | |||
ยังสำราญราชการพระเป็นเจ้า | โรคภัยเบาบางหรือไฉน | |||
อนึ่งพี่ศรีมาลากับพี่ไวย | ดีร้ายกันอย่างไรไม่แจ้งการ | |||
คุณย่าอยู่หลังยังเป็นสุข | หรือเจ็บไข้ได้ทุกข์ถึงตัวท่าน | |||
แต่ลูกพรากจากมาก็ช้านาน | จะคลายทุกข์ถึงหลานบ้างหรือไร | |||
แม่แก้วกิริยาแม่ลาวทอง | ทั้งสองอยู่ดีหรือไฉน | |||
ลูกนี้ให้เป็นห่วงบ่วงใย | อยู่ที่ในแม่แก้วกิริยา | |||
อันตัวลูกอยู่ดีศรีสวัสดิ์ | ไม่เคืองขัดทุกวันก็หรรษา | |||
ได้พึ่งบุญคุณยายกับคุณตา | ลูกศรัทธาบวชเข้าเป็นเณรใน | |||
พ่อแม่พี่ย่าบรรดาญาติ | ขอประสาทแผ่ส่วนกุศลให้ | |||
ครั้นอ่านทราบเสร็จพลันในทันใด | พับไว้กลับคืนขึ้นบนจวน ฯ | |||
๏ ขุนแผนเฝ้าคะนึงถึงสารา | เข้าเคหาห้องน้อยละห้อยหวน | |||
คิดถึงลูกผูกใจอาลัยครวญ | ปั่นป่วนเปี่ยมปิ้มปริ่มน้ำตา | |||
โอ้ตัวกูนี้มีลูกชาย | ที่มั่นหมายก็ไม่สมปรารถนา | |||
อ้ายไวยรักใคร่ดังแก้วตา | มันกลับมาลบหลู่เอากูนี้ | |||
เพราะเย่อหยิ่งยศศักดิ์เสียเหลือแสน | กลัวอ้ายแผนนี้จะพึ่งให้เผาผี | |||
ชุมพลพ่อเห็นต่อจะเต็มดี | ฝากผีได้แล้วเจ้าแก้วตา | |||
แต่เล็กเล็กเท่านี้ยังมีใจ | เห็นจะพอพึ่งได้ไปภายหน้า | |||
จึงเขียนหนังสือพลันมิทันช้า | มาผูกคอยักษ์หญ้าในทันใด | |||
เอาสายเชือกกระหวัดรัดมั่น | ผูกพันสะพายแล่งที่หัวไหล่ | |||
กลับปลุกยักษ์ลุกทะลึ่งไป | ลุยไม้ไหล้ล้มระทมเตียน | |||
แต่ละก้าวยาวโยชน์โดดปลิว | แล่นลิ่วลมพัดฉวัดเฉวียน | |||
ลุยน้ำข้ามป่าท่าเตียน | เร็วเจียนจะเหาะระเห็จไป ฯ | |||
๏ ครู่หนึ่งถึงสุโขทัยพลัน | ยักษ์นั้นเข้าวัดหาช้าไม่ | |||
เณรเห็นยักษ์หญ้ามาแต่ไกล | ดีใจแก้ยักษ์ในทันที | |||
เห็นกระดาษที่สายตะพายบ่า | ก็รู้ว่าพ่อตอบอักษรศรี | |||
จะได้ข่าวพ่อแผนแสนยินดี | หยิบหนังสือมาคลี่ออกอ่านพลัน | |||
อักษรบวรลักษณ์มงคล | ถึงพ่อเณรชุมพลคนขยัน | |||
ซึ่งเจ้าให้ยักษ์มนตร์ด้นอรัญ | ถือหนังสือสำคัญถึงบิดา | |||
ได้ทราบข่าวลูกยาว่าสุขสวัสดิ์ | ทั้งพ่อแม่โสมนัสเป็นหนักหนา | |||
ทั้งยินดีที่เจ้าบรรพชา | โมทนาคำนับรับส่วนบุญ | |||
แต่ซึ่งเจ้าไต่ถามความทุกข์สุข | พ่อนี้มีแต่ทุกข์ให้หมกมุ่น | |||
เพราะอ้ายไวยหยาบช้าทารุณ | มันลืมคุณพ่อแล้วนะแก้วตา | |||
เจ้าก็รู้อยู่เรื่องมันถูกเสน่ห์ | พ่อจะแก้เล่ห์กระเท่ห์จึงอุตส่าห์ | |||
เข้าไปในกรุงอยะยา | พระพิจิตรบุษบามาพร้อมกัน | |||
ว่ากล่าวเตือนมันฉันผู้ใหญ่ | ส่องกระจกชี้ให้เห็นข้อขัน | |||
มันกลับโกรธขึ้งยิ่งดึงดัน | ขึ้นเสียงเถียงสนั่นไม่เกรงใคร | |||
ลำเลิกเบิกชาว่าเอาพ่อ | ว่ามันขอจึงพ้นจากคุกได้ | |||
ประจานให้คนฟังนั่งเต็มไป | จึงสุดแสนแค้นใจในครั้งนี้ | |||
ถ้าวันนั้นท่านย่าไม่มาขวาง | ก็คงล้างอ้ายไวยให้เป็นผี | |||
เพราะย่าย่อยพลอยหลงไม่มีดี | อ้ายไวยได้ทีจึงแรงร้าย | |||
พ่อกลับมากาญจน์บุรีไม่มีสุข | ระทมทุกข์เช้าเย็นไม่เห็นหาย | |||
ไม่แก้แค้นสมประสงค์ก็คงตาย | เป็นลูกชายช่วยพ่อบ้างเป็นไร | |||
เจ้าก็เรืองฤทธาวิชาการ | ถึงผูกหุ่นยักษ์มารใช้มาได้ | |||
จงคิดผูกหุ่นพลสกลไกร | ปลอมเป็นมอญใหม่ยกลงมา | |||
กรากตรงเข้าประชิดติดเดิมบาง | ไม่สู้ห่างสุพรรณนั้นหนักหนา | |||
ให้เลื่องลืออื้ออึงถึงอยุธยา | พระพันวษาคงจะใช้ไอ้ไวยรบ | |||
คงเกณฑ์พ่อไปด้วยให้ช่วยมัน | เราช่วยกันให้ดีตีประจบ | |||
ห้ำหั่นมันเสียให้บัดซบ | แล้วตัวเจ้าจึงหลบไปเมืองบน | |||
แต่ผู้อื่นมิใช่ไอ้ไวยนั้น | อย่าฆ่าฟันผู้ใดให้ปี้ป่น | |||
เห็นกับพ่อขอให้พลายชุมพล | เจ้ารีบผูกหุ่นยนตร์ยกลงมา ฯ | |||
๏ สิ้นสารอ่านเสร็จสำเร็จเรื่อง | ชุมพลเคืองแค้นใจเป็นหนักหนา | |||
คิดคิดสงสารพ่อคลอน้ำตา | ชะต้าพี่ไวยใช่พอดี | |||
ลบหลู่ดูถูกถึงบิดา | สาอะไรกับเราเท่าแมงหวี่ | |||
เมื่อหน้าหาไหนจะไยดี | จะนับพี่น้องกันไปทำไม | |||
เราก็เรืองพระเวทวิทยา | จะแทนคุณบิดาให้จงได้ | |||
เสียดายหนอทุ่งกว้างหนทางไกล | ถ้าเหาะได้ก็จะไปในเดี๋ยวนี้ | |||
ให้เคืองขุ่นมุ่นหมกในอกช้ำ | จนพลบค่ำแสงพระสุริย์ศรี | |||
เข้าห้องหับก็ไม่หลับสนิทดี | เฝ้าตรองตรึกนึกที่ทุกข์บิดา ฯ | |||
๏ ครั้นรุ่งเช้าเจ้าเณรพลายชุมพล | ร้อนรนรำคาญใจเป็นหนักหนา | |||
ห่มดองครองรักกับกายา | เข้ามาบ้านพลันด้วยทันใด | |||
จึงแจ้งกิจจากับตายาย | ว่าหลานชายนี้หาสบาย | |||
ไม่บิดามารดาข้าอยู่ไกล | รำลึกถึงสุดใจจะขอลา | |||
เจ้าขรัวผัวเมียก็ตามใจ | ลาอาจารย์สึกให้เหมือนหลานว่า | |||
ผัดหลานให้รอพอแล้วนา | ตาจะจัดบ่าวข้าให้เจ้าไป | |||
ชุมพลตอบคำเจ้าขรัวตา | หลานมาคนเดียวก็มาได้ | |||
จะขอแต่ม้าดีพอขี่ไป | ที่ว่องไวเคล่าคล่องทำนองดี ฯ | |||
ตาเห็นว่าได้แต่ไอ้กะเลียว | มันประเปรียวหนักหนาไอ้ม้าผี | |||
ต้องผูกกกราดทอดหญ้าทั้งตาปี | ใครขึ้นขี่หันหกชกสุดใจ | |||
กัดลูกอีแป้นแทบแขนขาด | ยังเป็นคุดระราดหาหายไม่ | |||
เจ้าสิประสิทธิ์ฤทธิไกร | จะขี่ได้ก็ดูเอาเถิดรา ฯ | |||
๏ ชุมพลฟังตาก็ลาไป | ถอนหญ้าเสกใส่ด้วยคาถา | |||
ถึงโรงกะเลียวเลี้ยวเข้ามา | ยื่นหญ้าแล้วก็เสกด้วยเวทมนตร์ | |||
ลูบหลังอาชาแล้วว่าไป | น้องรักจักให้พี่เป็นผล | |||
พี่ต้องตรากตรำจำทน | พ้นทุกข์เสียเถิดในวันนี้ | |||
กะเลียวหลังเหล็กได้ฟังว่า | รับหญ้ายืนร้องอยู่ก้องมี่ | |||
ชุมพลแก้ม้าไม่ช้าที | วางเบาะอานดีแล้วผูกพัน | |||
โกลนแผงแต่งพร้อมละม่อมละมุน | โจนผลุนขึ้นม้าขมีขมัน | |||
กระทืบส่งลงแส้เป็นสำคัญ | ม้าผันผกผยองทำนองทวน | |||
แคล่วคล่องว่องไวดังใจนึก | สะอึกไล่เรี่ยวแรงคำแหงหวน | |||
ถูกน้อยร้อยเรียบระเบียบกระบวน | มาถึงจวนคุณตาฮาก้องไป | |||
ดีใจเต้นหรบปรบมือ | ลูกเสือแล้วหรือจะไม่ได้ | |||
เรียกหลานขึ้นมาตาชอบใจ | หยิบดาบยื่นให้ในทันที | |||
ดาบนี้แต่ครั้งเจ้าคุณปู่ | ท่านฟันหมู่มอญพม่าพากันหนี | |||
จึงให้ชื่อว่าชนะไพรี | เป็นของดีสืบมาจนตายาย | |||
ตานี้แก่เฒ่าเฝ้าห่วงใย | กลัวว่าสิ้นบุญไปจะสูญหาย | |||
ทุกวันนี้ก็ไม่มีลูกผู้ชาย | พ่อพลายเอาไว้ให้จงดี ฯ | |||
๏ ชุมพลรับดาบแล้วกราบลา | ให้บ่าวเอาม้าไปไว้ที่ | |||
ครั้นสิ้นแสงสุริยาในราตรี | จัดแจงบายศรีพลีการ | |||
กับบ่าวไพร่ยกไปที่ป่าช้า | ผ่าไม้ไผ่ปักเป็นเสาศาล | |||
จัดธูปเทียนชัยขึ้นใส่พาน | ชักสายสิญจน์โยงผ่านป่าช้าชัฏ | |||
ได้ฤกษ์แล้วเบิกโขลนทวาร | โอมอ่านพระเวทวิเศษจัด | |||
แล้วหยิบเอาข้าวสารมาหว่านซัด | เร่งรัดเรียกผีทุกตำบล | |||
บรรดาภูตผีที่ถ้ำหนอง | ห้วยคลองป่าไม้ไพรสณฑ์ | |||
ต่างกู่ก้องร้องเรียกกันอลวน | ด้วยกลัวมนตร์รีบมาไม่ช้าที | |||
ต่างรับเครื่องเซ่นไม่เว้นตน | ชุมพลเซ่นเสร็จแล้วเลือกผี | |||
เอาแต่โหงพรายร้ายราวี | พรุ่งนี้กูจะไปยังสุพรรณ | |||
พวกออเจ้ามาเข้ากระบวนทัพ | ไปกำกับหุ่นมนตร์พลขันธ์ | |||
โหงพรายต่างรับด้วยฉับพลัน | ชุมพลนั้นกลับบ้านสำราญใจ ฯ | |||
๏ ครั้นพวยพุ่งรุ่งแสงสุริย์ฉาย | เจ้าพลายเข้าไปในเรือนใหญ่ | |||
กราบลาเจ้าขรัวสุโขทัย | ทั้งตายายอวยชัยประสิทธี | |||
แล้วอาบน้ำชำระกายา | นุ่งผ้าใส่เสื้อสำอางศรี | |||
เข็มขัดรัดแน่นสนิทดี | สอดสวมเครื่องมีฤทธิไกร | |||
ประจงจบจับดาบของคุณตา | แล้วเผ่นขึ้นอาชาหาช้าไม่ | |||
ฤกษ์ดีขี่ควบอาชาไนย | ออกจากสุโขทัยด้วยทันที | |||
ฝูงพรายรายล้อมพร้อมมา | ยกทัพโยธาแต่ล้วนผี | |||
กำลังม้าร่าแรงราวี | ขับขี่ดังจะปลิวไปตามลม ฯ | |||
๏ ครั้นถึงกึ่งกลางมรรคา | หยุดม้าเข้านั่งที่บังร่ม | |||
ลงยันต์เท้าม้าด้วยอาคม | พรมน้ำมันพระเวทวิเศษดี | |||
ครั้นแล้วเกี่ยวหญ้ามาฉับพลัน | ผูกหุ่นถ้วนพันไว้กับที่ | |||
ซัดข้าวสารเสกประสิทธี | หุ่นก็มีชีวิตขึ้นเป็นคน | |||
สองมือถือเครื่องสาตราวุธ | อุตลุดอึงป่าโกลาหล | |||
ต่างนบนอบหมอบไหว้พลายชุมพล | เจ้าขึ้นนั่งยังบนหลังกะเลียว | |||
แล้วสั่งหุ่นมนตร์พลไพร่ | จะยกไปเป็นทัพขับเคี่ยว | |||
ให้โห่เสียงมอญใหม่ให้กราวเกรียว | กำชับสั่งคำเดียวเป็นสำคัญ | |||
อันพวกเหล่าชาวประชาราษฎร | เพียงตีต้อนอย่าฆ่าให้อาสัญ | |||
สั่งแล้วเสร็จสรรพฉับพลัน | ขับม้าผายผันผยองไป | |||
ข้ามารทางท่าป่าทุ่ง | ฝุ่นฟุ้งโห่โหมกระโจมไล่ | |||
ชาวบ้านตื่นแตกแหกเข้าไพร | ตกใจกองทัพรับไม่ทัน | |||
บ้างอุ้มลูกจูงหลานคลานเข้ารก | ผ้าผ่อนล่อนหลกไปตัวสั่น | |||
งันงกหกล้มลงจมกัน | พวกชาวบ้านป่วนปั่นทุกแห่งไป | |||
ถึงเดิมบางพลันมิทันช้า | ให้ตั้งค่ายในป่าไว้กว้างใหญ่ | |||
สงบทัพยับยั้งระวังระไว | ด้วยใกล้สุพรรณพารา ฯ | |||
๏ ครานั้นผู้รั้งเมืองสุพรรณ | ได้ทราบข่าวหวาดหวั่นเป็นหนักหนา | |||
เกณฑ์คนขึ้นประจำใบเสมา | รักษาป้อมค่ายไว้มั่นคง | |||
รั้วขวากลากมาสนามเพลาะ | มั่นเหมาะค่ายคูดูระหง | |||
ด่านทางวางรอบเป็นขอบวง | ให้ม้าใช้สืบส่งคดีมา | |||
แล้วรีบจัดแจงแต่งใบบอก | ขุนแพ่งออกควบม้ามาในป่า | |||
พอรุ่งถึงกรุงอยะยา | ตรงเข้าไปศาลาลูกขุนใน | |||
วางบอกนายชำนาญด้วยการทัพ | นายเวรรับต่อยตราหาช้าไม่ | |||
นำความเรียนเจ้าคุณมหาดไทย | แล้วคัดเขียนความในใบบอกมา ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านเจ้าคุณมหาดไทย | ร้อนใจตรองตรึกแล้วปรึกษา | |||
ลูกขุนเห็นพร้อมกันมิทันช้า | เข้ามาเฝ้าองค์พระทรงธรรม์ ฯ | |||
ตอนที่ ๔๐ พระไวยแตกทัพ
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | ปิ่นปักนัคเรศเขตขัณฑ์ | |||
สถิตเหนือแท่นแก้วแพรวพรรณ | พระกำนัลแน่นหน้าสนมใน | |||
ขับกล่อมซ้อมเสียงประสานซอ | ล้วนลออนวลละอองผ่องใส | |||
เบิกบานสำราญราชหฤทัย | ครั้นพระสุริย์ใสสว่างฟ้า | |||
สระสรงทรงเครื่องเรืองบวร | เสด็จออกพระบัญชรข้างฝ่ายหน้า | |||
ข้าเฝ้าเจ้าพระยาแลพระยา | หมอบกลาดดาษดาอยู่พร้อมกัน ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านเจ้าคุณมหาดไทย | บังคมไหว้ทูลคดีขมีขมัน | |||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ชีวันอยู่ใต้พระบาทา | |||
บัดนี้มีบอกพระสุพรรณ | กรมการพร้อมกันถ้วนหน้า | |||
ว่ายังมีโจรบกยกมา | โยธาประมาณสักพันปลาย | |||
ตีไล่ไพร่บ้านพลเมือง | แตกวุ่นขุ่นเคืองมากหลาย | |||
ให้ไปสืบดูรู้แยบคาย | ว่าตั้งค่ายเดิมบางอยู่กลางไพร | |||
ผู้รั้งตั้งรับอยู่พารา | แต่หายกเข้ามาประชิดไม่ | |||
พระสุพรรณครั้นจะออกไปชิงชัย | เห็นยังไม่ได้ทราบพระบาทา | |||
ถ้าฉวยเสียนายไพร่ในสงคราม | ก็เกรงความผิดชอบเป็นหนักหนา | |||
ใคร่ครวญดูกระบวนที่ยกมา | จะว่าเป็นกองทัพก็ผิดไป | |||
ด้วยยกมาแต่ตัวหัวเดียว | จะรบรับขับเคี่ยวก็มิใช่ | |||
ครั้นจะว่าเหล่าโลนพวกโจรไพร | เห็นพลไพร่มากอยู่ดูไม่ควร ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ดำริเหตุพระองค์ทรงพระสรวล | |||
ใบบอกอึ้งอ้ำเป็นสำนวน | เดิมบางทางก็จวนถึงสุพรรณ | |||
ถ้าทัพศึกอื่นไกลหาไหนมา | ทำไมตั้งรั้งราอยู่ที่นั่น | |||
ได้ทีก็จะตีเข้าติดพัน | ตั้งค่ายรายมั่นเอาพารา | |||
นี่อ้ายพระสุพรรณไม่ออกรบ | ก็นิ่งหลบซ่อนตัวอยู่แต่ป่า | |||
ครั้นจะว่าโจรไพรไพล่เข้ามา | กล้านักเห็นผิดจริตไป | |||
อ้ายผู้รั้งเมืองสุพรรณมันขี้ขลาด | จึงหาอาจจะออกไปรบไม่ | |||
ทำบอกแก้ตัวด้วยกลังภัย | กูเข้าใจอยู่สิ้นอ้ายลิ้นทอง | |||
จงสั่งให้อ้ายแผนออกไปดู | ครู่เดียวก็จะจับเอาคล่องคล่อง | |||
อ้ายสุพรรณนั้นให้เป็นลูกกอง | สั่งสรรพหับห้องพระแกลชัย ฯ | |||
๏ ท่านเจ้าคุณผู้ใหญ่ได้รับสั่ง | ออกมาจากวังหาช้าไม่ | |||
ให้แต่งตราพลันในทันใด | กระบอกหนึ่งส่งไปให้สุพรรณ | |||
กระบอกหนึ่งพันเภาเอ็งเอาไป | ให้พระกาญจน์บุรีขมีขมัน | |||
พันเภารับกระบอกออกเรือพลัน | สามวันถึงเมืองกาญจน์บุรี ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | รับรองท้องตราพระราชสีห์ | |||
กรมการพร้อมกันทันที | เปิดคลี่แล้วอ่านซึ่งสารตรา | |||
ทราบความตามเรื่องก็เข้าใจ | ขุนแผนยิ้มละไมอยู่ในหน้า | |||
บอกพันเภาไปมิได้ช้า | ทำไมกับโจรป่ามาเท่านี้ | |||
จะสู้รบตบมือได้ถึงไหน | กลัวแต่เราไปจะไพล่หนี | |||
ถ้ามันกล้ารั้งรออยู่ต่อตี | ทำไมมีเสร็จศึกนึกว่ารวย | |||
จับเชลยมาใช้ให้หนักหนา | ทั้งช้างม้าเงินทองของมันด้วย | |||
จะหาสาวมอญใหม่ไว้ผมมวย | ที่สวยสวยเผื่อนายให้หลายคน | |||
ว่าพลางทางสั่งหลวงปลัด | ยกกระบัตรสัสดีนั้นเป็นต้น | |||
ให้พร้อมกันรีบรัดจัดพล | จะยกไปประจญในพรุ่งนี้ ฯ | |||
๏ หลวงปลัดยกกระบัตรกรมการ | อลหม่านตระเตรียมกันอึงมี่ | |||
ตารางเกณฑ์กะลงบัญชี | สัสดีเรียกเร่งมิได้ช้า | |||
ที่ใครหลบเลี่ยงหลีกหนี | เฆี่ยนตีมี่ไปไม่เลือกหน้า | |||
ให้รวบรวมวัวต่างช้างม้า | ทั้งสาตราอาวุธทุกสิ่งอัน ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่านางแก้วกิริยา | รู้ว่ามีศึกก็จัดสรร | |||
เสบียงเรียงแต่งไว้ครบครัน | ขุนแผนผายผันเข้าห้องใน | |||
เรียกแก้วกิริยากับลาวทอง | ทั้งสองเข้ามาแล้วปราศรัย | |||
เจ้าทั้งคู่อยู่หลังอย่าตกใจ | ไปทัพครั้งนี้จะนานมา | |||
ชุมพลลูกเราดอกเจ้าแก้ว | เจ้ารู้เรื่องอยู่แล้วเป็นหนักหนา | |||
แค้นใจจึงแกล้งให้แปลงมา | หวังจะลวงเข่นฆ่าอ้ายหมื่นไวย ฯ | |||
๏ ครานั้นนางแก้วกิริยา | ฟังว่าหน้าเสียไม่นิ่งได้ | |||
โกรธลูกผูกเจ็บมาจองภัย | เลือดเนื้อในไส้หาไหนมา | |||
ชั่วดีตีต่อยเอาความผิด | ไม่คิดถึงชีวิตจะเข่นฆ่า | |||
จงเห็นกับวันทองผ่องโสภา | วันเมื่อมรณานางฝากไว้ | |||
กำพร้าแม่ได้แต่จะพึ่งพ่อ | ยังจะต่อตามทำไปถึงไหน | |||
บอกชุมพลให้กลับซึ่งทัพชัย | อย่าได้เคืองขุ่นให้วุ่นวาย ฯ | |||
๏ ขุนแผนฮึดฮัดกัดฟัน | กูนี้กี่ร้อยวันมันจะหาย | |||
ร้อนใจอะไรกับท่านยาย | ห้ามหวงลูกชายด้วยเมตตา | |||
เห็นอ้ายแผนมันแก่แต่จะตาย | จะเอาคุณพระนายไว้ดูหน้า | |||
ใจเจ้าแต่ไหนแต่ไรมา | เจ้ารักหนักหนานางวันทอง | |||
เฝ้าเตือนมาแต่ไรให้ดีด้วย | จึงเอออวยรับพามาไว้ห้อง | |||
เลยหลงรักลูกเต้าเข้าประคอง | ถึงจองหองว่ากระไรไม่ได้ยิน | |||
อย่าห้ามเลยข้าหาฟังไม่ | กูกับอ้ายไวยนี้สูญสิ้น | |||
ถ้าหากข้าตายล้มลงจมดิน | เจ้าจงปลิ้นไปพึ่งเจ้าจอมไวย ฯ | |||
๏ นางแก้วตอบไปไฮ้คุณตา | อย่ามาพูดใส่หน้าให้หมั่นไส้ | |||
ห้ามด้วยสงสารรำคาญใจ | เมื่อไม่ฟังแล้วก็ตามที | |||
มิไปฆ่าฟันกันเสียไย | อย่ามาพักพ้อใส่ให้จู้จี้ | |||
จะว่าไรใส่ร้ายทั้งตาปี | อย่าเซ้าซี้ขี้คร้านจะเจรจา | |||
กลัวปากแล้วไม่อยากจะทะเลาะ | รีบเหาะไปเถิดไม่อยากว่า | |||
เสบียงเรียงพร้อมทั้งข้าวปลา | ไปเข่นฆ่ากันให้เล่นสนุกใจ ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนศักดา | สะบัดหน้าลุกเข้าในเรือนใหญ่ | |||
แต่งตัวคาดเครื่องเยื้องย่างไป | ขึ้นสีหมอกพอได้เวลาดี | |||
กรมการตามหลังสะพรั่งมา | โยธาอัดอึงคะนึงมี่ | |||
โห่สนั่นลั่นฆ้องกระแตตี | ออกจากกาญจ์บุรีรีบยกไป ฯ | |||
๏ ฝ่ายผู้รั้งสุพรรณครั้นแจ้งตรา | ก็ตระเตรียมยาทั้งนายไพร่ | |||
คอยท่านขุนแผนผู้แว่นไว | ยกทัพขับไปประจบกัน | |||
ครั้นถึงนางบวชก็โบกธง | ทั้งค่ายรายลงเป็นหล่าหลั่น | |||
สนามเพลาะพูนรอบเป็นขอบคัน | แล้วจัดสรรกองตั้งระวังระไว ฯ | |||
๏ ครานั้นชุมพลรณรงค์ | เห็นตั้งค่ายรายลงไม่หวาดไหว | |||
กำเริบฤทธิ์เชี่ยวชาญชำนาญใจ | จัดหุ่นรายไว้ให้ป้องกัน | |||
จึงให้พลายเพชรกุมารทอง | เข้าอยู่ในท้องสองหุ่นนั้น | |||
ปลอมเป็นชาวบ้านเมืองสุพรรณ | รีบไปค่ายนั้นในทันใด | |||
กำชับสั่งกิริยาจะว่าขาน | ทำให้เหมือนชาวบ้านที่จับได้ | |||
ว่าเราให้ถือหนังสือไป | ให้แก่นายใหญ่ที่ยกมา | |||
ถ้าเขาสืบสาวราวเรื่องไซร้ | บอกว่าทัพมอญใหม่เมืองหงสา | |||
แล้วสืบว่าผู้ใดใครยกมา | กุมารลารีบถือหนังสือไป | |||
ครั้นถึงหน้าค่ายพระกาญจน์บุรี | ทำทีเป็นกลัวไม่เข้าใกล้ | |||
พวกพลเห็นคนมาแต่ไกล | ประหลาดใจก็กรูกันออกมา ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าพลายเพชรกุมารทอง | ทรุดนั่งยองยองแล้วร้องว่า | |||
ชาวบ้านดอกใช่หาไหนมา | กองทัพจับพาเอาตัวไป | |||
เขาใช้ให้ถือหนังสือนี้ | มาที่ตัวท่านแม่ทัพใหญ่ | |||
ต้องมาสองคนด้วยจนใจ | ข้าไหว้ช่วยพาข้าไปที | |||
อ้ายพวกกองทัพจับสองแขน | มัดแน่นไม่รู้ว่าหุ่นผี | |||
พาเข้าไปแถลงแจ้งคดี | พระกาญจน์บุรีถามมาว่านั่นใคร | |||
พวกไพร่เรียนพลันมิทันช้า | จับได้ว่ามาแต่มอญใหม่ | |||
ครั้นถามพูดจาภาษาไทย | ได้ทั้งหนังสือที่ถือมา | |||
พันเภาผู้รั้งเมืองสุพรรณ | ช่วยกันขู่ซักเป็นหนักหนา | |||
มึงอยู่บ้านไหนมันได้มา | รี้พลโยธามันเท่าใด ฯ | |||
๏ ครานั้นหุ่นมนตร์คนผี | ทำเป็นกลัวตียกมือไหว้ | |||
ว่าลูกอยู่บ้านป่าท่าต้นไทร | หนีไปไม่ทันมันจับมา | |||
อันพวกพหลสกลไกร | ประมาณได้สักพันหนึ่งกว่ากว่า | |||
มันพูดกันฟังดูรู้กิจจา | ว่าเป็นชาวหงสามาแต่ไกล | |||
บัดนี้ให้ถือหนังสือมา | ว่าแล้วก็ส่งหนังสือให้ | |||
ขุนแผนใส่แว่นเข้าทันใด | คลี่สารอ่านไปตามคดี ฯ | |||
๏ ตัวกูผู้จอมโยธา | ชื่อสมิงมัตราเรืองศรี | |||
อยู่แว่นแคว้นหงสาธานี | มิได้เป็นข้าราชการ | |||
เป็นเจ้าโยธาประสาตัว | คนกลัวฤทธากล้าหาญ | |||
กูก็ไม่หยาบช้าสามานย์ | ตั้งมั่นอยู่ในการเมตตาคน | |||
รู้ข่าวว่าชาวอยะยา | หยาบช้าห่าตีกันปี้ป่น | |||
สร้างกรรมทำชั่วทุกตัวคน | เมืองเชียงใหม่อยู่บนก็รุกราน | |||
เห็นทำผิดคิดไปให้เวทนา | จะหลับตาจมลงในสงสาร | |||
จึงยกมาหวังว่าจะทรมาน | ถ้ารู้การงอนง้อไม่ต่อกร | |||
กูก็ไม่ฆ่าฟันให้บรรลัย | หมายใจแต่จะตั้งสั่งสอน | |||
ถ้าแม้นไม่ยอมแพ้ทำแง่งอน | กูจะต้อนคนกลุ้มเข้ารุมฟัน | |||
อันพวกท่านนี้ยกมาตั้งอยู่ | มาจะสู้ก็ว่าให้แม่นมั่น | |||
หรือจะยอมก็ว่าออกมาพลัน | อย่ามานะจะฟันไม่เหลือเลย ฯ | |||
๏ ขุนแผนทำแค้นทิ้งหนังสือ | ตบมือว่าชิอ้ายมอญเอ๋ย | |||
นี่มันอยู่เมืองไกลมันไม่เคย | มันจึงพูดเฉลยชะล่าใจ | |||
หมาน้อยไม่เคยได้กลิ่นเสือ | ใครบอกมันจะเชื่อเขาที่ไหน | |||
อวดดีว่ามีฤทธิไกร | เหมือนแมลงเม่าเข้าไฟไม่รู้ตัว | |||
จึงตอบไปให้ยกมาแต่เช้า | มัวขี้เซาจะไปสับกะลาหัว | |||
ให้แปดพันกูจะฟันไม่เว้นตัว | อย่าเมามัวว่าจะปลอดรอดชีวา ฯ | |||
๏ หุ่นมนตร์คำนับรับหนังสือ | ชูถือลาแล่นเข้าในป่า | |||
ถึงชุมพลพลันมิทันช้า | หุ่นหญ้าล้มลงด้วยทันใด | |||
ฝ่ายว่าพลายเพชรกุมารทอง | ทั้งสองจึงส่งหนังสือให้ | |||
บอกว่าพ่อแผนผู้แว่นไว | เป็นแม่ทัพใหญ่ยกออกมา ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าพลายชายชุมพล | จึงสั่งพวกหุ่นมนตร์ไว้ถ้วนหน้า | |||
ค่ำวันนี้กูจะตีค่ายบิดา | เอ็งอย่าฆ่าใครให้บรรลัย | |||
กันเอาแต่ท่านกาญจน์บุรี | มาส่งกูนี้ให้จงได้ | |||
สั่งแล้วเตรียมกันทันใด | พอพระสุริย์ใสพลบลง | |||
สองทัพกำชับพลขันธ์ | ลั่นฆ้องกลองสนั่นไพรระหง | |||
จันทรร่อนกระจ่างสว่างดง | เรไรร้องก้องส่งสำเนียงครวญ | |||
อาการประมาณสักสี่ทุ่ม | ลมกลุ้มพัดกลับพยับหวน | |||
ชุมพลเห็นฤกษ์พาเวลาควร | จัดกระบวนหุ่นพลันในทันใด | |||
และผูกกะเลียวลงยันต์ | ผาดผันขึ้นม้าหาช้าไม่ | |||
ดั้นดัดลัดพงตรงเข้าไป | ครั้นใกล้ให้สงบซึ่งโยธา | |||
ย่องเหยียบมิให้เกรียบกรอบดัง | กระทั่งค่ายขุนแผนเข้าด้านหน้า | |||
โห่เกรียวฟันค่ายทลายมา | พวกกองทัพก็พากันตกใจ | |||
หลับอยู่ไม่รู้สึกตน | แต่สักคนไม่คว้าอะไรได้ | |||
ลุกขึ้นชุลมุนวุ่นกันไป | พวกหุ่นหมุนไล่ตะลุมบอน | |||
เอาด้ามหอกหวดปวดร้องโอย | แบนดาบลงโบยเอาไม้ค่อน | |||
วิ่งหนีล้มลุกเที่ยวซุกซอน | เตะค่อยคอยผ่อนมิให้ตาย ฯ | |||
๏ ผู้รั้งสุพรรณตัวสั่นงก | พลัดตกทับร่อนลงนอนหงาย | |||
เรียกคุณปู่ย่าคุณตายาย | คุณเจ้าคุณนายมาช่วยกู | |||
ผ้าล่อนล่อนโล่งโก้งโค้งคลาน | เข้ามุดในใต้ร้านคุดคู้อยู่ | |||
พันเภายองยองขึ้นมองดู | พวกหุ่นหมุนกรูเข้าในทัพ | |||
พันเภาเอาหอกกรอกแทง | หุ่นแย่งหะเหะปะเตะจับ | |||
ลูกตายแล้วหนอล้มคอพับ | ขุนแผนร้องว่ารับอย่าหนีไป | |||
ใครขี้ขลาดขยาดถอยถด | กูจะฟันให้หมดหาไว้ไม่ | |||
ขับม้าผ่านพพลสกลไกกร | พวกพลก็ได้สติมา | |||
โห่กลับจับดาบกระหนาบรัน | ยิงแย้งแทงฟันกันหนักหนา | |||
ปืนเปรี้ยงเสียงโห่เป็นโกลา | เฮฮาโหมฮึกครึกโครมไป | |||
ฟันฟาดฉาดเปล่าไม่เข้าหุ่น | มันกลับหมุนโลดโผนกระโจนไล่ | |||
หม้อดินใส่ชุดเอาจุดไฟ | ทิ้งไปหุ่นฮือกระพือมา | |||
ขุนแผนขับม้าเข้าฝ่าฟัน | พวกหุ่นหนุนกันมาหนักหนา | |||
ถลันไล่ไปกระทั่งถึงลูกยา | เห็นหน้ากันเข้าก็ดีใจ | |||
ฝูงชนย่นแยกแตกมา | มิใช่คนหวาสู้ไม่ได้ | |||
วิ่งหนีกลับหลังพังไป | พระสุพรรณอยู่ใกล้กับพันเภา | |||
กูตาฟางนักพยักเพยิด | ให้กูขี่ไปเถิดอ้ายพ่อเจ้า | |||
พันเภาฮึดฮัดวัดเหวี่ยงเอา | ตาเฒ่าจะมาพากูตาย | |||
ต่างคนต่างกลัวเอาตัวรอด | มุดลอดป่าไม้ไปสูญหาย | |||
ขุนแผนแสนสะท้านกับลูกชาย | เรียกภูตผีพรายกับหุ่นมา | |||
เซ็งแซ่แห่ห้อมพร้อมสะพรั่ง | โห่ดังเกรียวกราวฉาวป่า | |||
ออกทุ่งมุ่งตรงอยุธยา | ล่วงสุพรรณพารามาทันใด | |||
ชาวบ้านร้านช่องอยู่ใกล้ทาง | ละเหย้าเรือนร้างไม่อยู่ได้ | |||
แตกตื่นทุกบ้านซานซมไป | ตกใจไม่เป็นสมประดี | |||
ขุนแผนลูกชายพลายชุมพล | ยกพวกหุ่นมนตร์กับฝูงผี | |||
ถึงตาลานพลันด้วยทันที | ตั้งค่ายไว้ที่ริมชายไพร | |||
พวกชาวตาลานทิ้งบ้านเรือน | สะเทือนหนีเข้าป่าไม่อยู่ได้ | |||
ขุนแผนกับลูกชายสบายใจ | ทีนี้อ้ายไวยได้เห็นกัน ฯ | |||
๏ ครานั้นพันเภาผู้ทัพแตก | วิ่งแหกป่ากลัวจนตัวสั่น | |||
เซซุดมุดรกอยู่งกงัน | เสียงแกรกกรากพรั่นไม่ไว้ใจ | |||
มีบ่าวสองคนติดก้นมา | พักเดียวดั้นป่าหาหยุดไม่ | |||
ล้าเลื่อยเหนื่อยบอบหอบหายใจ | ใกล้รุ่งก็ถึงอยุธยา | |||
ครั้นถึงเรือนพลันทันใด | เรียกเมียแต่ไกลรับด้วยหวา | |||
นางเมียตกใจจุดไต้มา | พันเภาร้องว่าอย่าจุดเลย | |||
นางเมียส่องไต้มาให้ผัว | น่ากลัวจริงจริงพ่อคุณเอ๋ย | |||
ผ้านุ่งแต่สักนิดไม่ติดเลย | พันเภาร้องเฮ้ยกูแทบตาย | |||
ฉวยผ้าพันพุงพอรุ่งเช้า | ตรงเข้าศาลามิให้สาย | |||
เรียนความเจ้าขุนมุลนาย | ตกใจวุ่นวายเป็นโกลา | |||
เสด็จออกบอกกันเข้าไปเฝ้า | พันเภาเก้กังเหมือนดังบ้า | |||
ฝ่ายว่าพระองค์ทรงศักดา | เห็นพันเภาเข้ามาก็ถามไป | |||
อย่างไรเฮ้ยอ้ายพันเภากลับ | อ้ายแผนจับโจรได้หรือหาไม่ | |||
หน้าตาซีดอยู่ดูอย่างไร | ทำไมอ้ายแผนจึงไม่มาฯ | |||
๏ พันเภาได้ฟังรับสั่งถาม | ถวายบังคมงามสามท่า | |||
ขอเดชะพระองค์ทรงศักดา | ข้าพระพุทธเจ้าเชิญตราไป | |||
พระกาญจน์บุรีพระสุพรรณ | ยกพลประจบกันเป็นทัพใหญ่ | |||
ถึงนางบวชพลันทันใด | พอตั้งมั่นมันให้หนังสือมา | |||
บอกว่าเป็นสมิงอยู่เมืองมอญ | แว่นแคว้นแดนนครเมืองหงสา | |||
ชื่อว่าสมิงมัตรา | ยกมาจะกำราบปราบพวกไทย | |||
พระกาญจน์บุรีตอบท้าให้มารบ | วันนั้นพอพลบจะเข้าไต้ | |||
งดทัพยับยั้งระวังระไว | ครั้นใกล้รุ่งสงัดลงบัดดล | |||
มันลอบเข้ามาไม่ทันรู้ | กรูเข้าแหกค่ายทลายปล้น | |||
แล่นไล่ห้ำหั่นฟันผู้คน | แตกป่นทุกค่ายกระจายไป | |||
พระกาญจน์บุรีออกรบรับ | คุมไพร่พลกลับเข้าได้ใหม่ | |||
ฟาดฟันกันลงในพงไพร | มันมีฤทธิไกรมหึมา | |||
ล้วนคงกระพันฟันไม่เข้า | ไพร่เราเสียลงเป็นหนักหนา | |||
แต่พระกาญจน์บุรีมีฤทธา | ขับม้าไล่ฟันถลันไป | |||
มันกลุ้มรุมจับไม่กลับมา | จะฆ่าหรือมิฆ่าหาทราบไม่ | |||
จงทราบบาทบงสุ์พระทรงชัย | ชีวิตอยู่ใต้พระบาทา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ได้ทรงฟัง | กริ้วสุรเสียงดังเป็นฟ้าผ่า | |||
กระทืบบาทตวาดก้องโกลา | ฟังว่าดูเป็นไม่เจนทัพ | |||
จนแลเห็นค่ายอยู่ใกล้กัน | ยังมัวไว้ใจมันมุดหัวหลับ | |||
มันย่องมาฆ่าฟันไม่ทันรับ | ดับหมดคบไฟไม่ส่องดู | |||
แต่ก่อนไรไม่เห็นเหมือนเช่นนี้ | ดูเป็นทีนอนใจไม่คิดสู้ | |||
นานไปก็จะพลัดเป็นศัตรู | คิดกันเล่นกูให้วุ่นวาย | |||
ตัวอ้ายพันเภาเข้ามาก่อน | ชอบแต่ค่อนเฆี่ยนซ้ำสักสองหวาย | |||
ไม่พอที่โตใหญ่ไปมากมาย | มันได้ใจจะหมายมากรุงไกร | |||
คิดคิดขึ้นมาก็น่าแค้น | ที่มันจับอ้ายแผนกูไปได้ | |||
กูเสียดายทหารชาญชัย | หาไหนไม่มีจะเหมือนมัน | |||
เสียทีอ้ายนี่มันแก่เฒ่า | ถ้าเหมือนแต่ก่อนเก่าที่ไหนนั่น | |||
ทุดอ้ายขี้ปิ้งจะยิงฟัน | เราเสียทีให้มันกำเริบใจ | |||
มันคงตามติดประชิดมา | ด้วยคิดว่าคนดีหามีไม่ | |||
เรียกอ้ายไวยมาจะช้าไย | กูจะให้ไปจับอ้ายรามัญ ฯ | |||
๏ ฝ่ายตำรวจในได้รับสั่ง | วิ่งออกจากวังขมีขมัน | |||
ครั้นถึงจึงบอกพระไวยพลัน | รับสั่งทรงธรรม์ให้เข้าไป | |||
พระไวยได้ฟังเป็นการเร็ว | ฉวยผ้าพันเอวหาช้าไม่ | |||
รู้ข่าวการทัพขยับใจ | บ่าวไพร่ตามหลังเข้าวังพลัน | |||
นุ่งสมปักลนลานคลานเข้าไป | บังคมไหว้ก้มหน้าอยู่ที่นั่น | |||
ฝ่ายว่าพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ผันพระพักตร์ดำรัสไปบัดดล | |||
คิดคิดขึ้นมากูน่าแค้น | ผิดด้วยอ้ายแผนนั้นเป็นต้น | |||
ให้เป็นแม่ทัพบังคับพล | เลินเล่อลืมตนจนเสียการ | |||
เสียทีให้มันจับเอาไปได้ | เสียนายเสียไพร่เสียทหาร | |||
อ้ายมอญต้อนเข้ามาจนตาลาน | จะได้ใครไปต้านไปตอบแทน | |||
พระองค์เห็นพระไวยอาลัยพ่อ | น้ำพระเนตรคลอคลอถึงขุนแผน | |||
ยอดทหารผลาญย่อยมาร้อยแดน | กริ้วแค้นตรัสสั่งพระไวยพลัน | |||
บัดนี้อ้ายสมิงมัตรา | ฆ่าอ้ายแผนพ่อมึงอาสัญ | |||
เร่งเกณฑ์กองทัพไปจับมัน | รุ่งวันพรุ่งนี้เอ็งยกไป ฯ | |||
๏ พระไวยรับราชบัญชา | ตรึกตราแล้วทูลเฉลยไข | |||
กระหม่อมฉันคิดคิดให้ผิดใจ | มอญมีฤทธิไกรกระไรมา | |||
ถึงชนะคนอื่นก็ตามที | ที่ตรงพระกาญจน์บุรีเห็นเกินหน้า | |||
ไม่ควรที่ย่อยยับอัปรา | ด้วยพระเวทวิทยานั้นเจนใจ | |||
ถึงสิ้นสุดกำลังจะรั้งรบ | คงจะหายตัวหลบเข้ามาได้ | |||
บิดามรณาจะอยู่ไย | กระหม่อมฉันจะไปประจัญบาน | |||
ทูลแล้วเท่านั้นมิทันช้า | ถวายบังคมลากลับมาบ้าน | |||
ให้เตรียมทัพสรรพเสร็จสำเร็จการ | ล้วนทหารที่เคยไปเชียงอินทร์ | |||
สั่งเสบียงจัดวางทั้งช้างม้า | แล้วไปเล่ากิจจาแก่ย่าสิ้น | |||
ว่าบัดนี้มอญใหม่ใจทมิฬ | ฆ่าพ่อแผนเสียสิ้นชีวาลัย ฯ | |||
๏ ทองประศรีตีอกเข้าต้ำผาง | ตกจากหอกลางไม่ลุกได้ | |||
กลิ้งอยู่เหมือนตายไม่หายใจ | แก้ไขช้านานจึงฟื้นตัว | |||
โอ้พ่อขุนแผนของแม่เอ๋ย | ละเลยแม่แล้วพ่อทูนหัว | |||
จิตใจแม่ให้ระริกรัว | สิ้นตัวทองประศรีแต่นี้ไป | |||
กำพร้าบิดามาแต่เล็ก | เด็กอยู่แม่เลี้ยงเจ้าจนใหญ่ | |||
ไปกินเมืองกาญจน์บุรีแม่ดีใจ | หมายจะได้ฝากผีของมารดา | |||
กลับหนีแม่ไปเสียอีกเล่า | ถึงกระไรได้เผาก็ไม่ว่า | |||
มาตายด้วยมอญใหม่ไกลตา | เสียสง่าราศีทุกสิ่งไป | |||
ลูกตายหลายหายไม่เห็นหน้า | ยังแต่ย่านี้จะอยู่ไปถึงไหน | |||
เช้าเย็นเห็นหน้าแต่ออไวย | จะยกไปไม่รู้ว่าร้ายดี | |||
โอ้สงสารออไวยน่าใจหาย | น้องชายก็มัวเอาแต่หนี | |||
จะหันหน้าหาใครก็ไม่มี | ย่านี้ไปได้ก็จะไป | |||
บิดามมอญฆ่าเสียมอดม้วย | หามีใครจะช่วยเจ้ารบไม่ | |||
ยังเป็นเด็กเล็กอ่อนจะสอนไว้ | ท่านขุนไกรตัวปู่เป็นครูบา | |||
ถ้ายกออกไปให้สืบก่อน | จะหยุดนอนระวังให้หนักหนา | |||
ถึงทัพจงพิจารณา | พอจะเข้าไล่ฆ่าก็เข้าไป | |||
ถ้าเห็นกำลังศึกนั้นฮึกหาญ | ดากระดานรับไว้ให้จงได้ | |||
กระบวนรบครบตั้งระวังภัย | ถ้าล้อมได้ก็อ้อมล้อมไพรี | |||
ถ้าเห็นหนักชักช่องให้ออกไป | ถ้าไพร่เราแตกตายกระจายหนี | |||
เอาดาบบั่นฟันต้อนเข้าราวี | ดูทีก่อนจะล่าอย่าตกใจ | |||
ด้วยว่าขุนไกรปู่เป็นครูเฒ่า | ขวัญข้าวจงจบกระหม่อมไล่ | |||
พ่อจงไปสวัสดีให้มีชัย | พระไวยกราบแล้วก็ลุกมา | |||
เข้าห้องสั่งสองสายสวาท | อย่าเกรี้ยวกราดฟังคำพี่ร่ำว่า | |||
เป็นผู้ใหญ่ให้ดีศรีมาลา | เจ้าสร้อยฟ้ามิใช่คนแง่งอน | |||
ผิดมั่งพลั้งนิดอย่าด่าว่า | ให้พี่กลับมาถึงบ้านก่อน | |||
สร้อยฟ้าเป็นลาวชาวดงดอน | ช่วยสั่งสอนงามปลื้มอย่าลืมความ ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าศรีมาลายกมือไหว้ | ไปเถิดน้องมิให้เป็นเสี้ยนหนาม | |||
จะถนอมกล่อมใจกันให้งาม | คร้ามแต่หม่อมจะเข้ารณรงค์ | |||
แต่พ่อขุนแผนยังแพ้เขา | พ่อเจ้าระวังระไวอย่าให้หลง | |||
สังเกตพระเวทที่ทนคง | ปลงอารมณ์ข่มไว้ให้จงดี ฯ | |||
๏ พระไวยเสร็จสั่งทั้งสองนาง | ยังชำเลืองเยื้องย่างออกจากที่ | |||
จับดาบเคยปราบซึ่งไพรี | ขึ้นที่หอพระนมัสการ | |||
แล้วอ่านพระเวทวิเศษประสิทธิ์ | ขันสัมฤทธิ์น้ำหอมย้อมว่าน | |||
เอาโสรจสรงองค์นารายณ์อวตาร | แล้วโอมอ่าคาถาเรียกภูตพราย | |||
เป่าสังข์บูชาวราฤทธิ์ | เสร็จกิจนุ่งห่มดูเฉิดฉาย | |||
รดน้ำมนต์ที่สรงองค์นารายณ์ | แล้วเยื้องกรายเดินมาน่าเอ็นดู ฯ | |||
๏ ศรีมาลาสงสารรำคาญใจ | นี่ศึกใครผัวรักจักไปสู้ | |||
พ่อแผนแค้นขัดเป็นศัตรู | น่าจะรู้จะเห็นเป็นอุบาย | |||
พระไวยให้หลงเจ้าสร้อยฟ้า | ยังมึนเมามนตร์ยาไม่เหือดหาย | |||
ถ้าหลงไปรบบิดาจะห่าตาย | พ่อพลายของเมียไม่รู้ตัว | |||
ขอเดชะความสัตย์บริสุทธิ์ | จงชักพาอาวุธให้พ้นผัว | |||
ร่ำพลางใจนางระริกรัว | ให้กลัวท่านบิดาจะฆ่าฟัน ฯ | |||
๏ พระไวยได้ฤกษ์ให้เลิกทัพ | พวกพลโห่รับเสียงสนั่น | |||
ช้างม้าอัดแอแจจัน | พระไวยแสนกระสันถึงสร้อยฟ้า | |||
โอ้เพื่อนพิสมัยมาไกลอก | จะวิตกเศร้าสร้อยละห้อยหา | |||
กริ่งใจทางนี้ศรีมาลา | จะทำแก้วแววตาประการใด | |||
ผัวอยู่คอยดูทุกเช้าค่ำ | เขายังทำเจ้าถึงอย่างนั้นได้ | |||
ทีนี้อยู่เดียวเปลี่ยวเปล่าใจ | ข้าไทมันจะกลุ้มรุมกันตี | |||
แม้นมิกลัวพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | จะเลิกทัพกลับหันเข้ากรุงศรี | |||
แล้วหวนคิดกลับแค้นแสนทวี | อันมอญใหม่ฆ่าตีบิดากู | |||
มันดีละจะเล่นให้เห็นกัน | ฮึดฮัดกัดฟันจะต่อสู้ | |||
ชักสีนวลเร่งไปให้พรั่งพรู | ถึงวัดลาดหยุดหมู่พลไกร ฯ | |||
๏ ให้พวกไพร่หุงข้าวเผาปลา | กินแล้วเวลาจะเข้าไต้ | |||
ผูกหุ่นครบพลันทันใด | พระไวยเสกซัดข้าวสารมนตร์ | |||
หุ่นพลิกกระดิกดิ้นอยู่ไม่ลุก | ต้องเสกปลุกข้าวปลายเป็นหลายหน | |||
จึงขยับกลับลุกขึ้นเป็นคน | ซ้ำพิกลอาวุธก็ไม่มี | |||
พระไวยหวาดไหวให้ใจหาย | กูจะตายด้วยมอญหรือไรนี่ | |||
จับยามดูพลันในทันที | วันนี้วันพุธเป็นอุตใน | |||
ยามจันทร์ถลันเข้าอยู่กลาง | เศษเสาร์เข้าขวางเป็นศึกใหญ่ | |||
ในตำราว่ามิใช่คนอื่นไกล | เนื้อไขเขม้นจะเล่นกัน | |||
บริกรรมซ้ำซัดข้าวสารไป | หุ่นก็ได้อาวุธครบมือนั่น | |||
พอแสงเดือนเด่นฉายพรายพรรณ | ให้ยกเลิกพลขันธ์สนั่นมา ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงวันทองที่ต้องโทษ | พระองค์ทรงโปรดให้เข่นฆ่า | |||
เมื่อขาดใจอาลัยถึงลูกยา | เวราพาเป็นอสุรกาย | |||
วันนั้นพระไวยจะไปศึก | นางนึกสำคัญมั่นหมาย | |||
เกรงฤทธิ์บิดาจะฆ่าตาย | กลับกลายเพศเพี้ยนเป็นนารี | |||
ผิวผ่องละอองพักตร์ปลั่งเปล่ง | ดังดวงจันทร์วันเพ็งประไพศรี | |||
ประมาณชันษาสิบห้าปี | ท่วงทีมารยาทดังนางใน | |||
ผ้ายกตานีนุ่งพุ่งทอง | สอดสองซับสีดูสดใส | |||
กรองนอกดอกฉลุดดวงละไม | เส้นไหมย้อมม่วงเป็นมันยับ | |||
ก้านแย่งโคมเพชรเจ็ดเหลี่ยม | กรวยเชิงช่อเอี่ยมดังแบบจับ | |||
ซัดแสดสอดสีทับทิมทับ | นางแกล้งแต่งประดับประดิษฐ์กาย | |||
เฉิดโฉมประโลมลานสวาท | ชะอ้อนอ่อนเอวสะอาดสะอิ้งสาย | |||
สร้อยสังวาลสุวรรณพรรณราย | แต่ละเม็ดเพชรกระจายกระจ่างดวง | |||
สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด | ดอกไม้ทัดทั้งห่อผ้าห่มหวง | |||
กรองร้อยสร้อยสนกระสันทรวง | ร่ำร้องเสียงร่วงรำพันไป | |||
พัดชาข้าลูกหลวงหวนละห้อย | น้ำค้างย้อยตะวันตกนกไห้ | |||
สักวาดอกสร้อยละห้อยใจ | เสียงหวนวิเวกในพนาลี ฯ | |||
๏ พระไวยขับม้ามาถึงนั่น | พอพระจันทร์เพ็ญผ่องละอองศรี | |||
เสียงเสนาะเพราะชัดเป็นสัตรี | ก็หยุดยั้งยีอยู่กลางทาง | |||
ลงจากม้าพลันในทันใด | เยื้องยุรยาตรไปไม่เกรียบกร่าง | |||
แฝงไม้แลไปเห็นโฉมนาง | ทรงบางตะละหล่อออกจากพิมพ์ | |||
ผิวปลั่งดังทองทาระทวย | มือสวยสิบนิ้วดูนุ่มนิ่ม | |||
งามระบอบรอบไรเจ้าเรียมริม | พร้อมพร้อมเพราทั่วทั้งกายา | |||
หวานอ่อนร่อนเสียงเสนาะดง | ดังเสียงหงส์เหาะเหินในเวหา | |||
แสนสวาทนาฎน้องไม่พริบตา | แฝงพฤกษาสอดแลตะลึงไป ฯ | |||
๏ ครานั้นนางเปรตอสุรกาย | แยบคายทำหาเห็นพระไวยไม่ | |||
แช่มช้อยร้อยกรองพวงมาลัย | สำราญร้องเรื่อยในพนาวัน | |||
ทำเดินเก็บดอกไม้ไม่สงกา | ถอยหลังละเลิงมาไม่ผินผัน | |||
กระทั่งถึงต้นไม้พระไวยพลัน | สะดุ้งหวีดหวาดหวั่นผวาไป | |||
ทิ้งพวงดอกไม้กรองร้องตระหนก | ประคองอกอ่อนวิ่งมิใคร่ไหว | |||
แอบพุ่มพฤกษาประหม่าใจ | แกล้งใส่เล่ห์ล่อให้ละลานตา ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมพระหมื่นไวย | แสนสำราญบานใจเป็นหนักหนา | |||
กระหยิ่มยิ้มยุรยาตรนาดมา | ชะอ้อนเอื้อโอภารำพันไป | |||
แก้วตาอย่าประหม่ากมลหมอง | จะหวีดร้องจรดลไปหนไหน | |||
เสียดายผิวจะเผือดอย่าเดือดใจ | ขวัญจะโบยบินไกลกำลังกลัว | |||
มานี่เถิดพี่จะรับขวัญ | ซึ่งผาดผันโผไปในไพรทั่ว | |||
ให้คืนเข้าร่างน้องประคองตัว | เจ้าอย่าประหม่ามัวให้หมองใจ | |||
อยู่เดียวเปลี่ยวอกในอารัญ | เพื่อนพูดจาสารพันหามีไม่ | |||
ยามหนาวเจ้าจะนอนในกลางไพร | ไม่มีใครโอบอุ้มให้อุ่นดี | |||
กุศลส่งพี่ตรงมาพบน้อง | ขอประคองเคียงกายไม่หน่ายหนี | |||
จะอยู่ด้วยน้องน้อยสักร้อยปี | แก้วพี่อย่าสะทกสะเทินใจ | |||
ปลอบพลางทางย่างขยับเยื้อง | ชายชำเลืองโลมเลียเข้าไปใกล้ | |||
ขยับมือมาแม่อย่าเมินไป | ขอดอกไม้สักหน่อยที่ร้อยกรอง ฯ | |||
๏ ครานั้นนางเปรตอสุรกาย | แยบคายเชิงดีไม่มีสอง | |||
เห็นลูกชายและเลียมเทียมคะนอง | ก็โผดผาดแผดร้องระงมไพร | |||
ตวาดมาว่าเหวยพลายงามลูก | มาดูถูกข่มเหงหาเกรงไม่ | |||
ลุ่มหลงโลภว่าประสาใจ | กูไซร้สาธารณ์คือมารดา | |||
ชื่อว่าวันทองที่ต้องโทษ | พระกริ้วโกรธสั่งให้ไปเข่นฆ่า | |||
ตายไปใจผูกด้วยลูกยา | ตามมาจะบอกซึ่งร้ายดี | |||
ตัวเจ้าจะยกออกไปทัพ | น่าจะยับเยินย่อยถอยหนี | |||
ศึกนี้หนักหนาสง่ามี | ไพรีเรี่ยวแรงจะรุกราน | |||
รอรั้งระวังให้จงดี | จะเสียทีอย่าโหมเข้าหักหาญ | |||
ว่าแล้วเผ่นโผนโจนทะยาน | เสียงสะท้านทั่วท้องพนาวัน | |||
สูญหายกลับกลายไปตามเพศ | เป็นเปรตสูงเยี่ยมเทียมสวรรค์ | |||
ไม่มีหัวตัวทะมึนยืนยัน | เหียนหันหายวับไปกับตา ฯ | |||
๏ พระไวยหวั่นหวาดอนาถนัก | เห็นประจักษ์ว่าแม่แน่หนักหนา | |||
สยดสยองพองหัวกลัวมารดา | น้ำตาพรากพรากลงพร่างพราย | |||
โอ้แม่เจ้าประคุณของลูกแก้ว | สิ้นซากศพแล้วไม่สูญหาย | |||
ลูกทำบุญส่งให้ไปมากมาย | ยังไม่วายความชั่วที่ตัวทำ | |||
เอาเพศเป็นเปรตอสุรกาย | กลับกลายตามมาเวลาค่ำ | |||
สั่งสอนวอนบอกให้ลูกจำ | มีพระคุณเช้าค่ำแต่เป็นคน | |||
แม่ตายหายลับมาหลายปี | พึ่งมาเห็นวันนี้ในไพรสณฑ์ | |||
ห้ามลูกมิให้ไปประจญ | จะเสียตนตายด้วยฝีมือมอญ | |||
ท่านขุนแผนพ่อก็ตายแล้ว | สุดที่ลูกแก้วจะผันผ่อน | |||
ถึงคืนทัพกลับเข้าพระนคร | พระทรงธรรม์บั่นรอนก็บรรลัย | |||
ชาติชายเป็นตายไม่ย่อท้อ | จะแก้แค้นแทนพ่อให้จงได้ | |||
แม่อย่าเป็นห่วงบ่วงใย | พลางกราบไหว้สะอื้นกลืนน้ำตา | |||
แล้วมาขึ้นม้าพาพวกพล | ดั้นด้นตัดทุ่งมุ่งป่า | |||
พอแสงเดือนเลื่อนดับลงลับฟ้า | ยกมาถึงบางกระทิงพลัน | |||
ตัดไม้ตั้งค่ายสนามเพลาะ | หอรบครบเหมาะทุกสิ่งสรรพ์ | |||
รั้วขวากปักช่องป้องกัน | ใช้ม้าใช้ไปพลันเอาเหตุมา ฯ | |||
๏ ครานั้นชุมพลรณรงค์ | เสียงโห่ร้องก้องดงสนั่นป่า | |||
ตรึกตรองสองคนกับบิดา | จะรบราพระไวยให้ได้ที | |||
สืบรู้ว่ามาตั้งบางกระทิง | ด้วยเกรงล่วงช่วงชิงเอาชัยศรี | |||
ขุนแผนแสนฤทธิราวี | แต่งเครื่องบัตรพลีพลีการ | |||
ธงกระดาษราชวัติเฉวียนปัก | จับสายสิญจน์ชักทุกเสาศาล | |||
ธูปเทียนจุดจรัสชัชวาล | เครื่องอานดาบประจุประจงดี | |||
ขุนแผนเสกซัดข้าวสารส่ง | ชุมนุมองค์เทวาทุกราศี | |||
อสุรยักษ์ครุฑาวาสุกรี | ฝูงผีภูตโขมดมารยา | |||
ทั้งฤาษีสิทธิ์วิทยาธร | ทวยเทพนิกรถ้วนหน้า | |||
เชิญรับเครื่องสังเวยวัฒนา | แล้วปลุกเครื่องศัสตราในทันใด | |||
เครื่องอานบันดาลสะดุ้งโดด | ดาบกระดิกพลิกโลดดังลูกไก่ | |||
แกว่งฉวัดเฉวียนเวียนระไว | แล้วติดไฟชุบย้อมให้ลูกยา | |||
ไฟดับกลับพรมด้วยน้ำว่าน | กายแข็งทนทานขึ้นหนักหนา | |||
อยู่คงสารพัดศัสตรา | มิ่งม้าก็ลงให้คงทน | |||
เสร็จแล้วจึงแต่งแปลงเจ้าพลาย | ให้ดูคล้ายมอญใหม่ให้ฉงน | |||
เป่าซ้ำด้วยพระเวทวิเศษมนตร์ | แล้วเตรียมตนจะไปช่วยยุทธนา ฯ | |||
๏ ครั้นฟ้าขาวดาวประกายพรึกขึ้น | สองทัพโห่ครื้นสนั่นป่า | |||
ออกจากค่ายพลันทันเวลา | โยธาทั้งสองคะนองฤทธิ์ | |||
พระไวยขับม้าพาทหาร | โอมอ่านคาถาประกาศิต | |||
ชุมพลชักม้ามาประชิด | ขุนแผนแอบมิดจะดูที | |||
พอทัพต่อทัพเข้าถึงกัน | ยิงแย้งแทงฟันกันอึงมี่ | |||
สองข้างต่างมุ่งเข้าราวี | มิได้มีย่อท้อต่อณรงค์ | |||
พลหุ่นหมุนมุ่งเข้าสู้กัน | แทงฟันตอบโต้แล้วโห่ส่ง | |||
ทะลวงโลดโดดประจญทนคง | ตีต่อยตะบันลงไม่ละกัน | |||
พวกทหารสามสิบห้าไม่ราถอย | หอกสอยดาบร่ำเข้าห้ำหั่น | |||
พวกหุ่นหมุนร่าเข้าฝ่าฟัน | คนขยั้นย่นย่อรอระอา | |||
ฮึดฮัดขัดใจไล่พิฆาต | ไม่ไหวหวาดอ้ายมอญนี่หนักหนา | |||
พระไวยเห็นพลร่นลงมา | มือขวาคว้าซัดข้าวสารไป | |||
พอข้าวมนตร์หล่นต้องหุ่นชุมพล | กลายเป็นหญ้ายับป่นไม่ทนได้ | |||
ชุมพลชักม้าผ่าพลไกร | เป่าไปด้วยพระเวทวิทยา | |||
ต้องพวกหุ่นมนตร์พลพระไวย | ก็ย่อยยับกลับไปเป็นฟ่อนหญ้า | |||
สองนายบ่ายห้ามโยธา | ก็รั้งราหยุดรบประจัญบาน ฯ | |||
๏ พระไวยเพ่งไปเห็นมอญน้อย | กระจ้อยร่อยเอวกลมสมทหาร | |||
แปลกน้องต้องมนตร์ให้บันดาล | พึ่งรุ่นพานยังไม่พบฝีมือกู | |||
เย่อหยิ่งยกตัวไม่กลัวใคร | ทะนงใจจองหองจะปองสู้ | |||
จะฟังคำทำนองมันลองดู | ความรู้มันจะมีสักเพียงใด | |||
จึงร้องมาว่าเหวยอ้ายมอญน้อย | กระจ้อยร่อยใจกำเริบเติบใหญ่ | |||
ตัวเด็กเล็กน้อยไม่สมใจ | ชื่อไรบอกความไปตามจริง | |||
พระสงฆ์องค์ใดเป็นครูบา | สอนวิชามาให้สักกี่สิ่ง | |||
เข้าสู้รบกับเราเข้าจริงจริง | แล้วจะวิ่งวุ่นหลบไม่พบตัว | |||
บิดามารดาเอ็งชื่อไร | อยู่เมืองไหนบอกกูให้รู้ทั่ว | |||
องอาจประมาทใจช่างไม่กลัว | ใครยั่วให้มึงยกมาทำไม | |||
มึงมาฆ่าฟันท่านขุนแผน | ขัดแค้นท่านทำอะไรให้ | |||
หรือกวนมึงถึงเมืองให้เคืองใจ | ไปไล่จับพ่อแม่ของมึงมา ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าพลายชายชุมพล | แยบยลพูดเพี้ยนเป็นหงสา | ||
กูหรือชื่อสมิงมัตรา | บิดากูผู้เรืองฤทธิไกร | ||
ชื่อสมิงแมงตะยะกะละออน | ในเมืองมอญใครไม่รอต่อได้ | ||
เลื่องลือชื่อฟุ้งทั้งกรุงไกร | แม่ไซร้ชื่อเม้ยแมงตะยา | ||
พระครูกูเรืองฤทธิเวท | พระสุเมธกะละดงเมืองหงสา | ||
จะมาลองฝีมือไทยให้ระอา | ถ้าใครกล้ากูจะฟันให้บรรลัย | ||
อันสมบัติในศรีอยุธยา | กูหาปรารถนาสิ่งใดไม่ | ||
ขุนแผนยกพลมาชิงชัย | กูจับได้จึงฟันหั่นประจาน | ||
เอ็งนี้มีนามกรใด | เจ้าไทยเลี้ยงเป็นยอดทหาร | ||
พระองค์ใดได้เป็นพระอาจารย์ | อนึ่งท่านบิดานั้นชื่อไร | ||
ทั้งมารดาก็อย่าพราง | บอกบ้างให้กูสิ้นสงสัย | ||
ฤทธากล้าหาญประการใด | อาจใจออกมาต่อฝีมือกู ฯ | ||
๏ เฮ้ยอ้ายมอญสมิงมัตรา | กูกล้าจึงยกมาต่อสู้ | ||
ฤทธิเดชอย่างไรคงไม่รู้ | ซึ่งสูถามถึงพระอาจารย์ | ||
อันความรู้กูมิได้เป็นศิษย์สงฆ์ | เพราะพ่อกูเชื้อวงศ์พงศ์ทหาร | ||
ชื่อว่าขุนแผนแสนสะท้าน | ท่านให้ความรู้แก่กูมา | ||
แม่กูชื่อว่านางวันทอง | ชื่อของกูนี้ไม่มุสา | ||
ชื่อว่าพลายงามแต่เดิมมา | ชื่อตั้งนั้นว่าจมื่นไวย | ||
มึงอย่าทะนงองอาจ | ประมาทว่าจับขุนแผนได้ | ||
หากแก่เฒ่าแรงน้อยถอยไป | กูไม่กลัวมึงเท่าเล็บมือ ฯ | ||
๏ ชุมพลตบขาแล้วว่าไป | มึงพูดนี้ไซร้ไม่สัตย์ซื่อ | ||
กูเข้าใจมิใช่คนอื่นลือ | คือท่านขุนแผนแกบอกมา | ||
กูไต่ถามได้ความมาแต่หลัง | ต่อแกเล่าให้ฟังแล้วจึงฆ่า | ||
ว่าลูกชายคนหนึ่งพึ่งรุ่นมา | เป็นลูกแก้วกิริยาชื่อชุมพล | ||
หนีไปแห่งไหนมิได้รู้ | แกบอกกล่าวเล่ากูมาแต่ต้น | ||
ว่าลูกเลี้ยงยังมีอยู่อีกคน | เจ้าตนตั้งให้เป็นหมื่นไวย | ||
มารดาชื่อว่านางวันทอง | จะเป็นลูกของแกนั้นมิใช่ | ||
เป็นลูกอ้ายขุนช้างจังไร | พ่อมึงนั้นไซร้อยู่สุพรรณ | ||
ขนอกรุงรังกระทั่งคาง | กระหม่อมบางผีขอดตลอดขวัญ | ||
เอ็งหากอายใจไม่บอกกัน | พันพึ่งขุนแผนว่าบิดา ฯ | ||
๏ พระไวยขัดใจดังไฟฟอน | เหม่อ้ายมอญค่อนแคะมุสาว่า | ||
โมโหฮัดฮึดมืดมัวตา | ไม่ทันอ่านคาถาพระเวทมนตร์ | ||
แกว่งดาบตัวสั่นถลันโลด | กำลังโกรธขับม้าโกลาหล | ||
เข้าห้ำหั่นฟันฟาดพลายชุมพล | ฉาดฉับรับประจญประจัญบาน | ||
เสียงดาบต่อดาบฟันกันฉับฉาด | ม้าต่อม้าผ่าผงาดเข้าต่อต้าน | ||
พวกหุ่นหมุนโลดโดดทะยาน | เข้าไล่รานรุกพหลพลไกร | ||
หุ่นต่อหุ่นทิ่มแทงแย้งยุทธ์ | กระชากฉุดชิงหอกกลอกไล่ | ||
ปล้ำรัดฟัดกันสนั่นไป | พวกไพร่สามสิบห้าระอาตัว | ||
สู้หุ่นสิ้นแรงลงแพลงพลิก | พวกหุ่นหมุนขยิกเข้าจิกกหัว | ||
เอาสันหอกตอกรันตัวสั่นรัว | ดิ้นหลุดมุดตัวเข้าแฝงรก | ||
ชุมพลกับพระไวยไล่พิฆาต | แพลงพลาดกอดชิดเข้าติดอก | ||
พัลวันปล้ำกันอยู่งันงก | ดาบตกกอดติดกันพัวพัน ฯ | ||
๏ ขุนแผนแค้นใจดังไฟฟ้า | ขับม้าวิ่งวางดังกางหัน | ||
กู่ก้องร้องไปแต่ไกลกัน | ชุมพลจับให้มั่นพ่อฟันเอง | ||
พระไวยแลไปพอเห็นพ่อ | ผละคอน้องโลดกระโดดเหยง | ||
ขับม้าวิ่งวางกำลังเกรง | เสียเพลงทวนท่าชุมพลแทง | ||
ถูกอักหอกหักหาเข้าไม่ | พระไวยขับม้าออกจากแหล่ง | ||
ขุนแผนแค้นใจไล่ทแยง | พวกหุ่นหมุนแทงที่ไพร่พล | ||
พวกไพร่สามสิบห้าผ้าผ่อนหลุด | มุดแฝกแหวกป่าโกลาหล | ||
ความกลัวหนีซุกไปทุกคน | หนามเหนี่ยวเกี่ยวป่นไปทั้งตัว | ||
เสียงแกรกเข้าไม่ได้ไปปะเลง | ร้องขอโทษตัวเองพ่อทูนหัว | ||
พลบค่ำย่ำคลุ้มชอุ่มมัว | รอดตัวแล้วอ้ายพ่อแล่นต่อไป ฯ | ||
๏ พระไวยขับม้าผ่าท้องทุ่ง | หมายมุ่งตรงมาหาช้าไม่ | ||
หน้านิ่วหิวบอบหอบหายใจ | ตรงไปข้ามวัดธรรมา | ||
คนเห็นพระไวยตกใจวิ่ง | ฉิบหายตายจริงเจียวสิหว่า | ||
พระไวยแตกทัพยับเยินมา | ชาวพาราตื่นทั่วทั้งเวียงชัย | ||
มิได้รู้ศัพท์สัญญา | ว่าศึกเสือนั้นมาแต่ข้างไหน | ||
ผู้คนอลหม่านวิ่งพล่านไป | พระไวยมาถึงประตูวัง ฯ | ||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | เสด็จออกเสนาอยู่คับคั่ง | ||
ได้ยินเสียงชาวบ้านสะท้านดัง | ทรงฟังไม่แจ้งว่าเหตุใด | ||
เอ๊ะอะไรอื้ออึงกันหนักหนา | อ้ายไวยแตกทัพมาหรือไฉน | ||
เฮ้ยใครไปดูให้แจ้งใจ | พอพระไวยลงม้าเข้ามาพลัน | ||
ครั้นถึงประนมก้มกราบกราน | สะทกสะท้านความกลัวจนตัวสั่น | ||
หน้านิ่วหิวหอบบอบครัน | นิ่งอั้นอยู่ไม่ว่าประการใด ฯ | ||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | เห็นพระไวยเข้ามาหาทูลไม่ | ||
พระจึงมีสีหนาทประภาษไป | มึงได้การอย่างไรจึงกลับมา ฯ | ||
๏ ครานั้นจมื่นไวยวรนาถ | ครั่นคร้ามขามขยาดเป็นหนักหนา | ||
จวนตัวด้วยกลัวพระอาญา | เงยหน้าขึ้นทูลพระทรงธรรม์ | ||
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท | องค์หริรักษ์ราชรังสรรค์ | ||
ขอประทานชีวิตโทษผิดครัน | ชีวันอยู่ใต้พระบาทา | ||
ยกไปหมายว่าข้าศึกมอญ | เข้ารบรอต่อกรเป็นหนักหนา | ||
ครั้นห้ำหั่นมันตายกลายกายา | เป็นหุ่นหญ้าจึงแจ้งว่าแต่งกล | ||
แม่ทัพกับหม่อมฉันตัวต่อตัว | ก็พันพัวฟาดฟันกันหลายหน | ||
ไม่ทราบว่าน้องชายพลายชุมพล | จนเห็นท่านขุนแผนแล่นออกมา | ||
ร้องกระชับให้จับกระหม่อมฉัน | บิดาหมายมั่นจะฟันฆ่า | ||
หนีได้จึงไม่มรณา | พระราชอาญาไม่พ้นไป | ||
อันเจ้าพลายชุมพลคนนี้ | มิใช่เป็นน้องร่วมท้องไส้ | ||
เป็นบุตรแก้วกิริยายาใจ | ท่านขุนแผนก็ได้เป็นบิดา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ฟังเหตุตามคำพระไวยว่า | ||
ทรงดำริตริไตรอยู่ไปมา | แล้วมีพระบัญชาไปทันใด | ||
อ้ายแผนมันทำมาทั้งนี้ | หารู้ที่จะว่าอย่างไรไม่ | ||
มันก็ถือสัตย์ธรรม์เป็นมั่นใจ | ไม่เห็นที่จะเป็นกบฏกู | ||
มาตรแม้นทุจริตคิดเช่นนั้น | ทองประศรีแม่มันก็ยังอยู่ | ||
ไฉนตัวมันจะพลัดเป็นศัตรู | กูคิดดูเห็นผิดจริตไป | ||
อันตัวกูเป็นหลักปัถพี | ถึงใครมีฤทธิ์เดชไม่สู้ได้ | ||
เทวดารักษาซึ่งราชัย | ก็แจ้งใจกันทั่วทั้งพารา | ||
มันเป็นแต่ข้าฝ่าละออง | ไหนจะปองพิภพนาถา | ||
ถ้าเขม้นจะเล่นอยุธยา | ป่านนี้ก็จะมาถึงกรุงไกร | ||
ชะรอยอ้ายนี่คงมีแค้น | อ้ายแผนมันหาเป็นกบฏไม่ | ||
หรือมึงโวหารประการใด | มันแค้นใจจึงทำเป็นกลมา | ||
แม้นมันทุจริตคิดเป็นพาล | ไพร่บ้านพลเมืองคงเข่นฆ่า | ||
นี่ใครใครก็ไม่มรณา | อ้ายพ่อลูกไล่ฆ่ามึงคนเดียว ฯ | ||
๏ ครานั้นจมื่นไวยวรนาถ | อภิวาทนิ่งนึกตรึกเฉลียว | ||
พระเคลือบแคลงแหนงจริงทุกสิ่งเจียว | จะเลี่ยงเลี้ยวไม่ทูลก็ใช่ที | ||
คิดแล้วบังคมบรมนาถ | ขอเดชะพระบาทปกเกศี | ||
เมื่อแรกเริ่มเดิมเหตุจะเกิดมี | กระหม่อมฉันนั้นตีศรีมาลา | ||
ตีกันอลวนชุมพลห้าม | ความโกรธไม่ทันจะดูหน้า | ||
ตีต้องชุมพลก็โกรธา | ดั้นป่าหนีไปกาญจน์บุรี | ||
บอกท่านขุนแผนผู้บิดา | ลงมาว่ากล่าวอึงมี่ | ||
ว่าสร้อยฟ้าทำเล่ห์เสน่ห์ดี | กระหม่อมฉันยังมีความแคลงใจ | ||
บิดาโกรธาว่าไม่เชื่อ | เงือดเงื้อฟ้าฟื้นทะลึ่งไล่ | ||
หากวันนั้นหนีทันไม่บรรลัย | ขัดใจจึงทำเป็นกลมา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ได้ฟังเหตุตามพระหมื่นไวยว่า | ||
กูดูมึงมัวหมองเหมือนต้องยา | พ่อมึงบ้าหลังไปเมื่อไรมี | ||
ถ้าแม้นถุ้งเถียงกันเพียงนั้น | จะเกิดรบพุ่งกันนั้นใช่ที่ | ||
ไม่สมควรที่จะฆ่าราวี | ความจริงยังจะมีอยู่มากมาย | ||
จะให้ไปรับมันเข้ามา | ปรึกษาตัดสินเสียให้หาย | ||
จะให้ใครไปรับเกลือกกลับกลาย | เอ็งคิดเพทุบายให้จงดี ฯ | ||
๏ ครานั้นพระไวยวรนาถ | รับพระราชบัญชาเหนือเกศี | ||
กราบทูลไปพลันในทันที | เห็นไม่มีผู้ใดจะออกไป | ||
แต่ครั้งเมื่อขุนเพชรกับขุนราม | ออกไปตามยังเกิดเป็นศึกใหญ่ | ||
ครั้งนี้หาคนที่ชอบใจ | จึงจะได้พ่อลูกนั้นเข้ามา | ||
เห็นแต่ศรีมาลาลูกสะใภ้ | ผิดชอบอย่างไรท่านไม่ว่า | ||
ขอพระองค์ทรงพระกรุณา | โปรดหามาใช้ให้ออกไป | ||
พระองค์ทรงสดับก็ตรับสั่ง | ตำรวจวังเรียกมาอย่าช้าได้ | ||
นายจงวิ่งตรงไปทันใด | ได้ตัวศรีมาลาเข้ามาพลัน | ||
นางนบหมอบเฝ้าพระภูธร | เห็นพระไวยเคืองค้อนอยู่คมสัน | ||
ถอยกระถดลดเลื่อนให้ห่างกัน | ผินผันหลบเลี่ยงไม่แลมา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรผันแปรทั้งซ้ายขวา | ||
เห็นพระไวยเป็นทีกับศรีมาลา | จึงตรัสเรียกเข้ามาให้ใกล้กัน | ||
ท่วงทีดูอย่างไรไม่ปกติ | ดำริแล้วก็ทรงพระสรวลสันต์ | ||
อีนี่ท่วงทีมันดีครัน | กับอีสร้อยฟ้านั้นเป็นกระไร | ||
เอ็งเร่งไปรับอ้ายสองคน | ทั้งอ้ายแผนกับชุมพลมาให้ได้ | ||
เล่าให้มันฟังกูสั่งไป | กูไม่เอาโทษให้ถึงตาย ฯ | ||
๏ ศรีมาลาประนมก้มเกศา | ซึ่งทรงพระกรุณาให้ผันผาย | ||
ขอพระเดชป้องกันอันตราย | ให้พ่อแผนลูกชายคลายโกรธา | ||
เกล้ากระหม่อมก็ประหวั่นพรั่นใจ | แต่พระไวยยังวิ่งตลอดป่า | ||
อันสตรีนี้ไม่มีวิทยา | แข็งใจอาสาด้วยทรงใช้ | ||
ทูลพลางก็ถวายบังคมลา | พระไวยออกหน้าหาช้าไม่ | ||
เดินพลางนางสะเทิ้นเขินใจ | พอถึงบ้านพระไวยเข้าทันที | ||
ย่างเท้าก้าวขึ้นบนเคหา | ฝ่ายว่าท่านย่าทองประศรี | ||
แลไปไม่รู้ว่าร้ายดี | ออไวยไยหนีตาทัพมา ฯ | ||
๏ พระไวยบอกย่าน้ำตาไหล | คิดว่าศึกใครเล่าคุณย่า | ||
แค้นน้ำตาถั่งลงหลั่งตา | บิดาควรหรือเป็นได้เช่นนี้ | ||
กับลูกชายพลายชุมพลคนคะนอง | หมายปองจะฆ่าให้เป็นผี | ||
หนีได้จึงไม่ม้วยชีวี | รับสั่งให้ศรีมาลาไป | ||
รับพ่อขุนแผนกับชุมพล | สองคนเข้ามาให้จงได้ | ||
ว่าพลางขัดแค้นแน่นใจ | อัดอั้นกลั้นไว้ไม่เจรจา ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านย่าทองประศรี | ได้ฟังคดีหลานชายว่า | ||
เต้นหรบขบเหงือกเหลือกตา | แปร้นด่าเสียงอึงคะนึงไป | ||
คิดว่ามอญใหม่ที่ไหนมา | มิรู้ฆ่ากันเองก็เป็นได้ | ||
ลูกหลานเป็นหอกแหลนน่าแค้นใจ | เมื่อออไวยคนเดียวไม่เอ็นดู | ||
หากว่าหนีทันไม่บรรลัย | เขากลุ้มรุมกันไล่อ้ายหมาหมู่ | ||
ชวนกันข่มเหงไม่เกรงกู | ถ้าไปได้ไม่อยู่กูจะไป | ||
จะต่อยหัวให้ยับเป็นสับปลา | โคตรแม่มึงน่าน้ำตาไหล | ||
เหวยนางศรีมาลาว่าอย่างไร | ไปไหนไม่เห็นซึ่งหน้าตา | ||
นางสร้อยสุดสวาทของพ่อผัว | เล่นเนื้อเล่นตัวขึ้นหนักหนา | ||
ยุยงส่งก้นพ้นปัญญา | ได้หน้าสักแขนแล่นไปรับ | ||
รู้เห็นเป็นใจด้วยกับมัน | หากออไวยหนีทันจึงได้กลับ | ||
ถ้าหนีไม่ทันมันฟันยับ | นางลูกพ่อก็ขยับจะดีใจ | ||
ไปรับเจ้าจอมมาพร้อมเพรียง | หัวมิเสี่ยงเพราะกูก็มิใช่ | ||
น้ำลายฟูมปากตำหมากไป | ยกสากถลากไถลลืมใส่ปูน ฯ | ||
ตอนที่ ๔๑ พลายชุมพลจับเสน่ห์
๏ ครานั้นสร้อยฟ้านารี | รู้ว่าคดีไม่หายสูญ | |||
นางวิตกอกใจดังไฟฟูน | ให้อาดูรหวาดหวั่นพรั่นฤทัย | |||
โอ้ว่ากรรมทำไว้ไฉนหนอ | ไม่พอที่จะมาเป็นเช่นนี้ได้ | |||
ว่าศึกมอญหรือมาย้อนเป็นศึกไทย | มิใช่ใครคือกาลกิณี | |||
ถ้าปล่อยอีศรีมาลาลูกสะใภ้ | ไปรับกันมาได้จะอึงมี่ | |||
ด้วยมันรู้แยบคายว่าร้ายดี | ท่วงทีเห็นจะเกิดจลาจล | |||
คิดพลางนางเรียกขนานอ้าย | มาบรรยายเรื่องความตามเหตุผล | |||
เอ็งเร่งหาข้าเราสักสิบคน | เตรียมตนให้พร้อมด้อมออกไป | |||
คอยดักอีศรีมาลาไปรับทัพ | เอ็งจับฆ่าเสียให้จงได้ | |||
หยิบเงินห้าชั่งได้ดังใจ | เอ็งอย่าให้มันรับกันกลับมา ฯ | |||
๏ ขนานอ้ายรับว่าอย่าวิตก | แล้วลงเรือรีบยกออกจากท่า | |||
ได้เพื่อนคู่ใจแต่ไรมา | อาวุธครบมือไม่อื้ออึง | |||
ออกหัวแหลมเลี้ยวไปข้างขวา | ผ่านวัดท่ารีบไปจะให้ถึง | |||
พอเพลาพลบค่ำน้ำตึง | จึงเข้าแอบเกาะมหาพราหมณ์ ฯ | |||
๏ ฝ่ายพรายรักษาศรีมาลา | รู้ว่าอ้ายลาวอยู่ปากง่าม | |||
ก็ช่วยกันปล้ำปลุกคุกคำราม | มัดศอกกติดตามกันเต็มไป | |||
เรือนายพายมาเวลาค่ำ | ผีทำร้องว่าอย่าเข้าใกล้ | |||
ฝีพายไล่ขยุ่มสุ่มลงไป | ร้องเพลงปรบไก่เรียดทางมา | |||
ล่วงลัดตัดทางบางโผงเผง | บ่าวไพร่ครื้นเครงอยู่ฉาวฉ่า | |||
ถึงบางกระทิงใกล้รุ่งมุ่งพายมา | พอสว่างถึงท่าตาลานพลัน ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระกาญจน์บุรีกับลูกชาย | กำลังออกเลียบค่ายเกษมสันต์ | |||
แลเห็นเรือกัญญาปรึกษากัน | พระทรงธรรม์ทีจะใช้ให้ใครมา | |||
ที่นั่งกลางมองเขม้นเป็นผู้หญิง | ประหลาดจริงเมียใครนี้ใจกล้า | |||
เห็นเม้ยรับพับเพียบหน้ากัญญา | ศรีมาลาแน่แล้วลงมาเรือ | |||
ครั้นถึงจึงถามเนื้อความไป | ออกมาไยท้องไส้อลักเอลื่อ | |||
เวทนาร้อยชั่งมานั่งเรือ | เนื้อความเป็นอย่างไรจึงออกมา ฯ | |||
๏ ศรีมาลากกราบลงกับตีนพ่อ | บอกข้อความไปไม่มุสา | |||
บัดนี้พระองค์ทรงศักดา | โปรดให้ข้ามารับพ่อเข้าไป | |||
พระไวยแตกทัพกกลับไปทูล | เค้ามูลว่าพ่อนี้ล้อมไล่ | |||
กับน้องชายหมายจะฟันให้บรรลัย | ทรงซักไซ้เรื่องเริ่มแต่เดิมมา | |||
พระไวยทูลว่าวิวาทกัน | พระทรงธรรม์ไม่เชื่อจึงสั่งข้า | |||
ให้รับพ่อกับน้องทั้งสองรา | ซึ่งโทษานุโทษนั้นโปรดปราน ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านพระกาญจน์บุรี | ฟังคดีเคืองขุ่นงุ่นง่าน | |||
ชิชะอ้ายไวยอ้ายใจพาล | ช่างคิดอ่านเพ็ดทูลเอาแต่ดี | |||
มารบหลบหนีหาที่พึ่ง | เล่ากันซึ่งซึ่งเป็นไรนี่ | |||
จองหองฟ้องหาเอากูนี้ | เป็นทีว่าอ้ายแก่นั้นยอกย้อน | |||
พระก็ยังไม่ประหารผลาญล้าง | คงจะถามกูบ้างสักคำก่อน | |||
จริงเท็จคงจะเห็นเป็นแน่นอน | พระภูธรไม่เลี้ยงก็จนใจ | |||
ว่าแล้วขุนแผนแสนศักดา | สั่งลูกชายมาหาช้าไม่ | |||
ให้แก้มนตร์พลหุ่นสียทันใด | แล้วชวนลูกลงในเรือกัญญา | |||
ศรีมาลาก็มาในลำเรือ | พลพายพายเฝือมาฉาวฉ่า | |||
พอถึงกรุงไกรได้เวลา | ตรงมายังท้องพระโรงพลัน | |||
จวนเวลาเฝ้าองค์พระทรงชัย | ขุนนางน้อยใหญ่ก็อยู่นั่น | |||
พระไวยไพล่แอบเอาเสากัน | หวาดหวั่นไหว้บิดานัยน์ตาดู | |||
พอเห็นพ่อพลิกกลับขยับลุก | พระไวยโดดปุกดังลูกหนู | |||
พระกาญจน์บุรีชี้หน้าว่าหลอกกู | พระไวยว่าไม่สู้ขอโทษตัว ฯ | |||
๏ ครั้นว่าตะวันบ่ายชายลง | ฝ่ายพระองค์ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | |||
เสด็จออกเสนาประหม่ากลัว | สะท้านทั่วทั้งขุนแผนพลายชุมพล | |||
ทรงเห็นพ่อลูกมาหมอบเฝ้า | พระเป็นเจ้าเพ่งพิศคิดเหตุผล | |||
ดูทีพี่น้องทั้งสองคน | ชอบกลละม้ายคล้ายคลึงกัน | |||
อ้ายพลายชุมพลคนน้องชาย | ก็แยบคายท่วงทีดีขยัน | |||
ทั้งสองนี้หน้าตาสง่าครัน | ละม้ายเหมือนพ่อมันทั้งสองคน | |||
จึงตรัสขู่ดูก่อนอ้ายกาญจน์บุรี | บังอาจยกโยธีมาเกลื่อนกล่น | |||
เที่ยวไล่ฟันฝ่าประชาชน | ด้วยถือว่าเวทมนตร์ของมึงดี | |||
มึงนี้คิดเห็นเป็นไฉน | หมายจะชิงกรุงไกรได้หรือนี่ | |||
ลืมละพระพิพัฒน์วารี | กูนี้หลงรักสักเท่าใด | |||
ว่าอ้ายมอญจับมึงเอาไปฆ่า | กูเป็นกลั้นน้ำตามิใคร่ได้ | |||
อ้ายไวยจะแก้แค้นแล่นออกไป | อ้ายพ่อลูกกลับไล่ตะลุมบอน | |||
กูหมายว่าจะยกพลไกร | ก็เข้าใจเสียว่ามึงคงเร้นซ่อน | |||
จึงหามายังพระนคร | จะถามก่อนมึงแก้ให้จงดี | |||
เป็นกระไรบอกความไปตามจริง | ถ้าสับปลับกลับกลิ้งจะเป็นผี | |||
จนเลี้ยงให้กินกาญจน์บุรี | ถึงเพียงนี้หรือยังคิดขบถกู ฯ | |||
๏ ครานั้นขุนแผนแสนสะท้าน | กราบกรานก้มหน้าภาวนาอยู่ | |||
เชื่อเวทวิเศษด้วยคุณครู | โน้มน้อมจิตสู่พระทรงธรรม์ | |||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงเดช | ปิ่นปักนัคเรศทุกเขตขัณฑ์ | |||
จะกราบทูลความจริงทุกสิ่งอัน | ชีวันถวายไว้ใต้บาท | |||
ทุกเย็นเช้าเอาพระคุณไว้เหนือเกล้า | ข้าพระพุทธเจ้าไม่มุสา | |||
มิได้กบฏทดโท่พระกรุณา | อันสัจจาถือมั่นมาแต่ไร | |||
เมื่อครั้งต้องจองจำเป็นสาหัส | ก็ยังหาละสัตย์ให้เสียไม่ | |||
ครั้งนี้ที่ทำเป็นกลใน | เพราะความแค้นจมื่นไวยนั้นเหลือทน | |||
เดิมพิโรธโกรธขึ้งศรีมาลา | ทั้งด่าทั้งตีจนปี้ป่น | |||
ซ้ำตีน้องชายพลายชุมพล | หนีด้นป่าไปกาญจน์บุรี | |||
กระหม่อมฉันพระพิจิตรบิดา | ลงมาว่ากลับฮึกเอาอึงมี่ | |||
หยาบช้าท้าทายใช่พอดี | มิได้มียั้งจิตว่าบิดา | |||
กระหม่อมเห็นผิดจริตอยู่ | พิเคราะห์ดูหน้าคล้ำดำเป็นฝ้า | |||
ก็แจ้งใจว่าออไวยต้องมนตร์ยา | ครั้นบอกกลับว่าไม่เชื่อใคร | |||
ลำเลิกสบประมาทประกาศว่า | ว่าขอมาจากคุกจึงออกได้ | |||
กระหม่อมฉันเหลือแค้นแสนเจ็บใจ | จะใคร่ฟันเสียแต่วันนั้น | |||
แต่หากมารดามาขวางไว้ | จึงจำใจเงือดงดอดกลั้น | |||
สองคนกับชุมพลจึงคิดกัน | ผูกหุ่นครบพันแล้วยกมา | |||
ด้วยคาดว่าออไวยคงไปรบ | พอได้สบสมใจจึงไล่ฆ่า | |||
ออไวยตายหมายรับพระอาญา | ถ้าเบื้องหน้าเกิดศึกมาทางใด | |||
ข้าพระพุทธเจ้าจะอาสา | เอาชุมพลลูกยาถวายให้ | |||
อันวิชากล้าหาญชาญชัย | กับออไวยพอเล่นกันเต็มที ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ฟังเหตุใคร่ครวญถ้วนถี่ | |||
จึงตรัสไปเฮ้ยอ้ายกาญจน์บุรี | กูนี้เชื่อมึงแต่ไรมา | |||
ซึ่งมึงทำเป็นกระบวนทัพ | ก็หาจับผู้คนเข่าฆ่าไม่ | |||
กูเห็นความจริงไม่กริ่งใจ | อ้ายไวยองอาจอหังการ์ | |||
หุนหันดันดุเอาผู้ใหญ่ | อาจใจจองหองเป็นหนักหนา | |||
ว่าเล่นมันก็เป็นถึงบิดา | คุณของมันมีมาเป็นเท่าไร | |||
ไม่ควรจะลำเลิกเบิกความ | หาเกรงขามคิดกลัวผู้ใหญ่ไม่ | |||
ดูซมเซอะเคอะครันทุกวันไป | ช่างไม่ส่องกระจกดูหน้าตา | |||
นี่มันถูกน้อยแต่เพียงนี้ | นานไปไอ้นี่จะเป็นบ้า | |||
เฮ้ยอ้ายขุนแผนแสนศักดา | มึงอย่าเคืองแค้นอ้ายหมื่นไวย | |||
ดูมันถูกยาแฝดแปดเปื้อน | หาเหมือนแต่ก่อนแต่ไรไม่ | |||
มันก็ถือว่าวิชามันเกรียงไกร | ที่ไหนมันจะต้องซึ่งคุณยา | |||
ถึงถามมันเดี๋ยวนี้ก็คงเถียง | จงทำให้เห็นเที่ยงกันต่อหน้า | |||
คิดให้ได้ตัวคนทำมนตร์มา | รูปรอยให้รู้ว่าอยู่แห่งไร | |||
ถ้าหากจับได้ไอ้คนคด | ความก็จะปรากฏหมดสงสัย | |||
ใครผิดกูจะทำให้หนำใจ | มิให้เป็นสินไหมพินัยกรรม์ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าพลายชายชุมพล | ฟังยุบลทูลไปมิได้พรั่น | |||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | กระหม่อมฉันขอรับไปจับมา | |||
ขอพระราชทานพยานไป | พอเป็นสักขีไว้ให้แน่นหนา | |||
จะให้ได้ตัวคนทำมนตร์ยา | ทั้งรูปรอยนำมาไม่ช้าการ ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ทรงพระสรวล | อ้ายนี่ถี่ถ้วนควรเป็นทหาร | |||
จะได้ใครไปเป็นสักขีพยาน | ที่ว่องไวชัยชาญฉลาดดี | |||
จะต้องให้เป็นกลางหว่างพี่น้อง | ดูทำนองเหมาะแต่จมื่นศรี | |||
เอ็งออกไปหวาอย่าช้าที | ช่วยจับอ้ายคนดีมีวิชา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระหมื่นศรีพลายชุมพล | สองคนประนมก้มเกศา | |||
รับสั่งแล้วถวายบังคมลา | กลับมาเคหาด้วยทันใด | |||
ก็คิดกันจัดแจงแต่งตน | สองคนเป็นแขกน้อยใหญ่ | |||
ทำทีแขกชวามาอยู่ไทย | สอดใส่สนับเพลาดูเพราตา | |||
นุ่งยกพอปรกลงถึงเข้า | เจียระบาดคาดเข้างามหนักหนา | |||
เหน็บกริชดูดีทีชวา | เสื้อสวมกายาอินทรธนู | |||
ไม่เพี้ยนเพศแขกชวามลายู | บ่าวไพร่ตามพรูสะพรั่งมา | |||
แต่ล้วนแกล้งแต่งตัวปลอมเป็นแขก | ด้วยฤทธิ์มนตร์คนแปลกไปทั่วหน้า | |||
ทำทีกะลาสีเข้าพารา | ทั้งน้ำตาลกัญชาพาเอาไป | |||
พร้อมสิ้นกล้องฝิ่นแลเหล้าเข้ม | ใส่เต็มขวดเหลี่ยมเปี่ยมใส | |||
ไม่พูดไม่จาภาษาไทย | เข้าในตลาดเดินนาดมา | |||
พวกสาวสาวชาวตลาดผาดเห็น | เขม้นแปลกใจเป็นหนักหนา | |||
สะสวยท่วงทีกิริยา | สองตาสอดส่ายคล้ายกับไทย | |||
อยู่ไหนไม่เห็นเลยสักวัน | มากำปั่นหรือว่ามาแต่ไหน | |||
บ้างถามเป็นแยบคายขายสิ่งใด | หัศรีมีอะไรมาให้เรา | |||
เอออะไรเป็นแขกช่างแปลกเพศ | ค้าเครื่องเทศแต่มือถือขวดเหล้า | |||
หรือของตกมาใหม่ในสำเภา | ชาวตลาดหยอกเย้าเฝ้าพูดจา | |||
ครั้นมาถึงวัดพระยาแมน | พรายกุมารวิ่งแล่นไปข้างหน้า | |||
บอกชุมพลพลันมิทันช้า | นั่นกุฎีขรัวตาที่ทำมนตร์ | |||
มีเณรศิษย์ติดมาแต่เมืองลาว | คนออกชื่อลือฉาวทุกแห่งหน | |||
วิชาแคล่วคล่องทั้งสองคน | คิดอ่านผ่อนปรนให้จงดี ฯ | |||
๏ เจ้าพลายชุมพลได้ฟังพราย | บ่ายหน้ามากระซิบพระหมื่นศรี | |||
ตัวสำคัญมันอยู่กุฎีนี้ | ไม่ได้ท่วงทีจะเสียการ | |||
ว่าแล้วก็อ่านพระคาถา | ขับพรายของขรัวตาให้หนีพล่าน | |||
ผีเณรเถรเลี้ยงไว้เชี่ยวชาญ | อลหม่านโดดกุฎีรับหนีไป | |||
แขกปลอมก็พากันเดินมา | หมาเห็นเห่าโฮกกระโชกไล่ | |||
หัศรีเรียกเณรร้องเกนไป | เจ้าเณรอยู่ไหนดูหมาที | |||
เณรจิ๋วเยี่ยมหน้ามาเห็นแขก | เอาอิฐปาหมาแตกไปจากที่ | |||
เปิดประตูรับแขกขึ้นกุฎี | วันนี้ได้กินอินทะผาลำ ฯ | |||
๏ สองแขกเข้าไปนั่งไหว้เถร | ยกของประเคนว่ามะหะหร่ำ | |||
เถรขวาดว่ากูไม่รู้คำ | จะเอารำมาให้กูไม่เอา | |||
แขกว่าวันนี้ขึ้นปีใหม่ | ฉันหาของมาให้ขรัวตาเจ้า | |||
เป็นของแขกแปลกมาในสำเภา | ได้ยินเขาโจษกันว่าท่านดี | |||
ถ้าใครเจ็บไข้ไม่สบาย | มาหารักษาหายไม่เป็นผี | |||
เถรว่าอย่าพูดให้เซ้าซี้ | เอ็งมีอะไรมาให้เรา | |||
สองแขกขยับจับตุ้งก่า | จ้าหลิ่มยัดกัญชาไฟจุดเข้า | |||
สูบคนละจ้าหลิ่มทำยิ้มเมา | เถรเฒ่าว่าอะไรข้างในดัง | |||
สองแขกว่าข้างในนั้นใส่น้ำ | เถรขวาดว่ามันทำเป็นอีฉัง | |||
กูจะขอลองรสหมดหรือยัง | หยิบไฟเก้กังมาทันใด | |||
สองแขกก็ยัดกัญชาส่ง | เถรซัดคอก่งไม่ทนได้ | |||
แสบคอเป็นจะตายหงายหน้าไป | กูไม่เอาแล้วอย่าส่งมา | |||
สองแขกรับตุ้งก่าเอามาไว้ | เอากล้องฝิ่นส่งให้หัวเราะร่า | |||
เถรขวาดแลเพ่งเขม็งตา | ร้องว่านั่นอะไรมาให้กู | |||
จุดไฟใส่ดูดเสียงดังเผลาะ | เลียปากเจาะเจาะว่าขมอยู่ | |||
ลุกขึ้นวุ่นวายน้ำลายพรู | แลดูนั่นไหอะไรวา | |||
สองแขกบอกว่าอีนี่ดี | แก้เชื่อมเมื่อตะกี้หลวงตาขา | |||
เปรี้ยวเปรี้ยวหวานหวานน้ำตาลยา | เอาโอคว้าตักลงส่งเข้าไป | |||
เถรขวาดดื่มเฮือกเสือกโอมา | อีกสักห้าหกโอหาพอไม่ | |||
ส่งมาใส่เข้าเมาสุดใจ | ในขวดนั่นอะไรเอามาดู | |||
สองแขกรินเหล้าเอาส่งให้ | ถูกเข้าไปเต็มจอกลมออกหู | |||
เวียนหัวใจหายน้ำลายพรู | แลดูหลังคาเป็นปลาวาฬ | |||
จับตุ้งก่ามาชักเข้าอีกที | มือปัดฝาละมีอยู่งุ่นง่าน | |||
หยิบสากตำหมากลากลนลาน | ทะยานเหยียบเณรจิ๋วว่ารบกัน | |||
เณรว่าเมามายจะตายโหง | เถรว่ากูนายโรงถือพระขรรค์ | |||
นั่งลงเจรจาลูกตาชัน | ทศกัณฐ์ลักนางอุทุมพร | |||
สองแขกสรวลเสอยู่เฮฮา | เถรขวาดยกขาท่าแผลงศร | |||
กูจำได้หัวละมานเมื่อราญรอน | จะเป็นโขนหรือละครก็ไม่รู้ | |||
ถือไม้คนละอันยืนหันง่า | ร้องอีหลัดถัดทากูเห็นอยู่ | |||
โปงมางโปงคลุ่มเป็นกลุ่มพรู | อ้ายพ่อกูวันนี้สนุกใจ | |||
กูขอบใจอ้ายแขกแปลกภาษา | รู้จักหาของดีมีมาให้ | |||
แต่กูมาอยู่ในเมืองไทย | ยังไม่ได้หวานมันเหมือนวันนี้ | |||
มึงเจ็บไข้เป็นไรหรืออ้ายหนู | จึงได้มาหากูถึงที่นี่ | |||
ทางนอกกูก็ได้ในก็ดี | บอกไปอย่าได้มีความเกรงใจ ฯ | |||
๏ แขกว่าข้าพเจ้านี้มาหา | ด้วยร้อนรนหนักหนาไม่ทนได้ | |||
ทิ้งพ่อแม่เสียมีเมียไทย | ให้เงินมันกินสิ้นสำเภา | |||
อยู่ด้วยกันไม่ทันจะถึงปี | มันกลับไล่รุมตีเอาอีกเล่า | |||
แม่ยายพ่อตาพาดลเอา | อีเมียก็พลอยเข้าไปด้วยกัน | |||
รุมด่าว่าอ้ายแขกหัวกะลา | อ้ายนอกศาสนามากำปั่น | |||
เข้าเรือนไม่ได้ไล่ตีรัน | ทุกวันนี้แสนยากลำบากใจ | |||
จึงชวนกันมาหาหลวงปู่ | เอ็นดูฉันด้วยช่วยแก้ไข | |||
ให้กลับโอนอ่อนเหมือนก่อนไร | ได้แล้วเงินทองจะกองมา | |||
ทำกุฎีเก้าห้องท้องกระดาน | เผืองฝานอกชานให้แน่นหนา | |||
ส่งเพลงส่งเช้าทั้งข้าวปลา | ถวายตัวเป็นข้าทั้งสองคน ฯ | |||
๏ เถรขวาดหัวร่ออ้อเท่านั้น | มันราวกับขี้ฟันของกูหล่น | |||
ได้บากหน้าว่าวอนอย่าร้อนรน | แก้จนกันสิเสียแรงมา | |||
กูให้โกรธกันไปแปดปี | ถ้าไม่กลับคืนดีแล้วจึงว่า | |||
จมื่นไวยสร้อยฟ้าศรีมาลา | ทำไม่ทันพริบตาก็เป็นไป | |||
กูทำให้เฆี่ยนตีศรีมาลา | ทองประศรีอีย่าก็หลงใหล | |||
สร้อยฟ้าสำราญบานใจ | กับอ้ายไวยเป็นสุขทุกเวลา | |||
เณรจิ๋วได้ยินก็ตกใจ | ทำไถลร้องเตือนขรัวตาขา | |||
จวนเพลนิมนต์ฉันข้าวปลา | พูดจาอื่นเกลื่อนให้เชือนไป | |||
เถรขวาดตวาดว่าอ้ายหมา | สอดปากมาว่ากับผู้ใหญ่ | |||
เพลผอกมาบอกกูทำไม | ไสหัวมึงไปในกุฎี ฯ | |||
๏ ครานั้นชุมพลคนขยัน | เห็นถ้วนถี่สารพันทั้งหัวผี | |||
พยักหน้าบอกไพร่ไปทันที | บ่าวกรูขึ้นกุฎีไปพร้อมกัน | |||
บ้างฉวยได้ไม้ค้อนก้อนอิฐ | กระโดดผลับจับผิดสะบัดหัน | |||
เร็วหวาคว้าตัวมันให้ทัน | บ้างยืนกั้นประตูกรูเข้าไป | |||
เถรขวาดเห็นผิดปิดประตู | ทุดอ้ายบ้ายี่หนู่เชือดคอไก่ | |||
ขึ้นมาพัลวันด้วยอันใด | ปิดประตูเข้าไว้ทำไมกู | |||
ตักน้ำใส่ขันมิทันช้า | เสกปาหัวเณรลงซู่ซู่ | |||
อ้ายจิ๋วมึงอย่ากลัวอ้ายศัตรู | กอดบั้นเอวกูหายตัวไป | |||
พวกไพร่เข้าไปในกุฎี | หาเห็นมีตาเถรเจ้าเณรไม่ | |||
ชุมพลร้องว่าอย่าตกใจ | ปิดประตูเข้าไว้ให้แน่นวา | |||
กองไฟใส่เข้าที่ใต้ถุน | เผาพริกควันกรุ่นขึ้นหนักหนา | |||
เถรทนไม่ได้ไพล่ออกมา | เอาหวานั่นแน่แลเห็นตัว | |||
เถรขวาดตวาดดังฟ้าผ่า | เฝืองฝาเลื่อนลั่นสนั่นทั่ว | |||
พวกไพร่งกงันตัวสั่นรัว | ความกลัวโดดกุฎีรีบหนีลง | |||
ครั้นว่าพวกไพร่นั้นไพล่หนี | ได้ทีเถรขวาดตวาดส่ง | |||
ยืนยักบั้นเอวเล่นอยู่เป็นกง | ข้าวสารหว่านวงกุฎีไว้ | |||
เหวยเหวยอ้ายแขกแหกฝามอง | อ้ายหัวกะลาพองทำใครได้ | |||
มึงมาทำจู่ลู่รู้อะไร | ดีแต่จะฆ่าไก่กินทุกวัน | |||
อีหล่าต้าหล่าบ้ายี่หนู | น้ำตาลมึงยังอยู่ขออีกขัน | |||
อ้ายจองหองลองฤทธิ์ทศกัณฐ์ | อ้ายชาติชั่วหัวควั่นจะพลันตายฯ | |||
๏ ชุมพลร้องตวาดอ้ายชาติข้า | เอาให้ตาปริบปริบอ้ายฉิบหาย | |||
ซัดซ้ำข้าวสารหว่านปราย | เรียกพรายมาล้อมเข้าพร้อมพรู | |||
เสกจังงังซ้ำเข้าเป่าตวาด | เถรขวาดแข็งขึงตะลึงอยู่ | |||
ทุดอ้ายขี้ครอกมาหลอกกู | กรูขึ้นไปเถิดหวาจะช้าไย | |||
เถรเมาเหลือกำลังลงนั่งราก | อ้าปากไม่อ่านอาคมได้ | |||
พวกไพร่พรั่งพรูกรูเข้าไป | รวบไหล่ถองทุบตะครุบคอ | |||
เถรขวาดถูกถองร้องตาปลิ้น | เอาเหล้าให้กินข่มเหงพ่อ | |||
จับเถรเณรได้ไม่รั้งรอ | เอาเชือกปอผูกรัดมัดด้วยกัน | |||
เถรถูกผูกคอแล้วรัดศอก | หายใจไม่ออกจนตัวสั่น | |||
ชุมพลซักถามเนื้อความพลัน | มึงฝังรูปเลขยันต์ไว้แห่งใด | |||
ทำพระไวยอย่างไรเร่งบอกมา | มึงเดินหน้านำขุดมาให้ได้ | |||
เถรขวาดตาแดงดังแสงไฟ | ร้องว่าจะทำไมกูไม่พา | |||
ชุมพลโกรธนักชักกระบี่ | ฟันลงตรงที่หว่างแสกหน้า | |||
เลือดไหลปรีปรี่รี่ลงมา | ขรัวตาเจ็บช้ำก็นำไป | |||
ถึงป่าช้าวัดพระยาแมน | ขุดลงสักแขนก็พอได้ | |||
พบรูปศรีมาลากับพระไวย | หนามไหน่เสียบสะพรั่งไปทั้งตัว | |||
พวกทนายขัดใจว่าอ้ายถ่อย | เอาก้อนอิฐต่อยกะลาหัว | |||
อิฐป่นหล่นแล่งแดงทั้งตัว | หัวเหนียวนี่กระไรไอ้ขี้เค้า | |||
คุมมาบ้านพระไวยมิได้ช้า | ไหนรูปรอยสร้อยฟ้าพระไวยเล่า | |||
โหงพรายบอกนายแต่เบาเบา | ให้ขุดเข้าตรงใต้ที่นอนพลัน | |||
ได้รูปพระไวยกับสร้อยฟ้า | หันหน้ากอดกลิ้งอยู่ที่นั่น | |||
ขุนแผนท่านย่าพร้อมหน้ากัน | พระไวยนั้นก็เห็นอยู่เต็มตา | |||
อีเม้ยรับเห็ยจับรูปปรอยได้ | ดีเนื้อดีใจหัวร่อร่า | |||
หูตากลับกลอกบอกศรีมาลา | นายขาเขาได้ทั้งรูปรอย | |||
สร้อยฟ้าตระหนกอกสั่น | เห็นได้รูปเลขยันต์ทำหน้าม่อย | |||
หลบเข้าเคหานัยน์ตาปรอย | เถรถ่อยชาติข้ามันพาตาย | |||
อีไหมปลอบว่าอย่ากลัวแม่ | ไม่ยักยอมแพ้มันง่ายง่าย | |||
ยังหลีกเลี่ยงเถียงมันได้มากมาย | เบี่ยงบ่ายบานบนให้พ้นตัว ฯ | |||
๏ ครานั้นทองประศรีผู้เป็นย่า | เสื่อมคลายคุณยาค่อยยังชั่ว | |||
หมดมลทินสิ้นร้ายหายตามัว | แกลุกเต้นรัวหรบหรบไป | |||
ทุดอีสร้อยฟ้าออกมานี่ | อีลาวกาลีเลี้ยงไม่ได้ | |||
ทำรูปทำรอยน้อยเมื่อไร | ให้ออไวยหลงงมออกซมซาน | |||
จนพ่อลูกจะไม่ได้ดูผี | ออชุมพลก็หนีไปจากบ้าน | |||
มันทำศรีมาลาจนหน้าม้าน | กูจะเสี่ยงกบาลไม่ไว้มัน | |||
พระไวยห้ามคุณย่าอย่าเพ่อก่อน | จะอึงมี่ตีต้อนเขาไยนั่น | |||
เนื้อความข้างหน้าจะว่ากัน | ผิดจริงแล้วจะฟันเสียให้ตาย | |||
พระกาญจน์บุรีหัวร่ออ่อพระไวย | มันช่างหลงนี่กระไรน่าใจหาย | |||
จนรู้แน่ในระแบบแยบคาย | ยังสอดส่ายจะสงวนแม่สร้อยฟ้า ฯ | |||
๏ พระหมื่นศรีฟังไปไม่ได้การ | มันจะเกิดรำคาญขึ้นต่อหน้า | |||
ก็ลาไปโดยด่วนจวนเวลา | บ่าวข้ามัดมือเถรเณรไป | |||
พอเพลาพลบค่ำย่ำลง | เอาส่งไว้ที่ทิมตำรวจใหญ่ | |||
แจ้งข้อความเล่าให้เข้าใจ | รับสั่งใช้ให้เราไปจับมา | |||
สร้อยฟ้าให้ทำเอาพระไวย | รูปรอยก็ได้มาหนักหนา | |||
ครั้นจะทูลมิควรจวนเวลา | หมายมาส่งฝากตำรวจไว้ ฯ | |||
๏ ครานั้นนายเวรพระตำรวจ | เร็วรวดสั่งผู้คุมหาช้าไม่ | |||
เอาโซ่ตรวนขื่อคามาทันใด | ประทุกเถรเณรใส่ไว้เพียงคอ | |||
จำครบห้าประการแล้วล่ามแหล่ง | กว่าจะแจ้งอย่าไว้ใจนะอ้ายพ่อ | |||
ตำรวจฟังนายว่าไม่รารอ | ก่อไฟจุดตะเกียงเสียงอึงไป ฯ | |||
๏ ครานั้นฝ่ายว่าเจ้าเณรจิ๋ว | หน้านิ่วไหวตัวไม่ใคร่ได้ | |||
เขาจำห้าประการรำคาญใจ | บ่นไปกูห้ามไม่ฟังกู | |||
น้ำตาลกัญชาปาเข้าไป | สมคะเนมันใส่เอากบหู | |||
เมาเปรอะพูดเลอะไม่แลดู | กูว่ากลับด่ากูอึงไป | |||
อวดดีบอกเขาว่าเจ้าเสน่ห์ | ทำโลเลฟังเฆี่ยนเล่นไม่ไหว | |||
เขาเฆี่ยนแต่ตัวขรัวเมื่อไร | กูจะเสียเบี้ยใบ้ไปพลอยตาย | |||
เถรขวาดเจาะเจาะกระเดาะปาก | ลำบากเข้าไม่ได้ไอ้ฉิบหาย | |||
กูเมาน้ำตาลส้มเสียงมงาย | ถ้าดีแล้วอย่าหมายจะได้กู ฯ | |||
๏ ครั้นถึงเวลาดึกกำดัด | เงียบสงัดแสงไต้ริบหรี่อยู่ | |||
เถรขวาดรำพึงถึงคุณครู | ระงับจิตลงสู้ให้แน่นอน | |||
โอมอ่านคาถามหาสะกด | ผู้คนหลับหมดดังไม้ท่อน | |||
พิเคราะห์ใคร่ครวญดูราหูจร | ปลอดเปลาะสะเดาะกลอนถอดโซ่ตรวน | |||
ก็บันดาลขื่อคาสารพัด | หลุดพลัดจากที่ลงถี่ถ้วน | |||
แล้วสะเดาะโซ่กุญแจแปรปรวน | ตรวนเณรจิ๋วร่วงลงฉับพลัน | |||
จึงเสกปูนพลูด้วยรู้แม่น | เป็นเณรเถรนอนแทนอยู่ที่นั่น | |||
ย่องเหยียบเกรียบกริบไปตามกัน | ล่องหนด้นดั้นประตูไป | |||
จะเป็นคนด้นหนีไปบนบก | นึกวิตกกลัวเขาจะจับได้ | |||
ลงน้ำเป็นจระเข้ว่ายเร่ไป | เณรนั้นให้เป็นลูกเกาะหลังมา ฯ | |||
๏ ครั้นพวยพุ่งรุ่งสางสว่างพลัน | ผู้คุมตื่นจับขันขึ้นล้างหน้า | |||
เห็นเถรเณรนอนนิ่งทั้งสองรา | เฮ้ยฮ้าลุกขึ้นบ้างเป็นไร | |||
เขาตื่นออกกลุ้มยังคลุมโปง | อ้ายตายโหงมึงจะนอนไปถึงไหน | |||
มือฉวยได้หวายป่ายลงไป | ช่างทนได้ไม่พลิกกระดิกตัว | |||
เตะสีข้างซ้ำเข้าต้ำผึง | เอ๊ะอย่างไรนอนขึงยังคลุมหัว | |||
นั่งลงเลิกผ้าเห็นน่ากลัว | ร้องบอกกันทั่วให้มาดู | |||
พร้อมทั้งนายเวรปลัดเวร | เห็นเถรเณรนอนหงายตายกลิ้งคู่ | |||
ต่างคนตกใจไปพรั่งพรู | ร่ำเรียนให้รู้ทั้งศาลา ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงภพ | ครั้นรุ่งสางสว่างจบทุกทิศา | |||
ชะระสระสรงพระคงคา | เสด็จออกข้างหน้าด้วยทันใด | |||
ข้าเฝ้านอบน้อมยู่พร้อมหน้า | ทุกกระทรวงเสนาทั้งน้อยใหญ่ | |||
ดาษดาในหน้าพระลานชัย | สำราญราชหฤทัยพระภูมี ฯ | |||
๏ ครานั้นจมื่นศรีเสาวรักษ์ราช | อภิวาททูลความไปตามที่ | |||
ขอเดชะพระองค์ทรงธรณี | เมื่อวานนี้กระหม่อมฉันชุมพลไป | |||
ได้ตัวเถรขวาดเณรจิ๋วนั้น | รูปรอยเลขยันต์ก็จับได้ | |||
เถรขวาดบอกว่าสร้อยฟ้าใช้ | ได้ทำเอาพระไวยจึงจับมา | |||
ขุดรูปฝังไว้ได้สองแห่ง | ตกแต่งเลขยันต์ไว้หนักหนา | |||
จะกราบทูลอนุสรธิ์พ้นเวลา | จึงปรึกษากันส่งตำรวจใน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังจบชอบพระอัชฌาสัย | |||
เออช่างได้เร็วพลันทันอกใจ | เหวยตำรวจเร็วไวเอาตัวมา ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านจางวางตำรวจใน | จนใจบังคมก้มเกศา | |||
ขอเดชะพระองค์ทรงพระกรุณา | พระอาญาเป็นพ้นล้นเกล้าไป | |||
ด้วยพระนายศรีกับพลายชุมพล | เอาเถรเณรสองคนมาส่งให้ | |||
รูปรอยเลขยันตร์ทั้งนั้นไซร้ | ให้ผู้คุมจำไว้อย่างตรึงตรา | |||
เมื่อคืนนี้ทั้งเถรและเณรนั้น | เกิดเป็นปัจจุบันดับสังขาร์ | |||
ได้แจ้งด้วยกันทั้งศาลา | จงทราบบาทาพระทรงชัย ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | ตบพระเพลาตรัสมาหาช้าไม่ | |||
ชะอ้ายเถรเณรนี้ดีกระไร | รู้ตัวกลัวกลัวภัยจะเฆี่ยนตี | |||
ชิงตายเสียก่อนไม่ทันผูก | อ้ายลูกรู้หนีหน้าไปเป็นผี | |||
ยังแต่อีสร้อยฟ้าอีกาลี | ครั้งนี้จะได้เห็นเท็จจริงกัน | |||
จึงดำรัสตรัสสังจมื่นศรี | เอาอีสร้อยฟ้ามาให้มั่น | |||
กูจะได้ไต่ถามความสำคัญ | ถ้าจริงแล้วจะให้ฟันเสียวันนี้ ฯ | |||
๏ ครานั้นจมื่นศรีได้รับสั่ง | บังคมแล้วถอยหลังออกจากที่ | |||
สั่งตำรวจพลันในทันที | ไปแจ้งคดีสร้อยฟ้าจงเร็วไว | |||
ว่าพระองค์ทรงธรรม์นั้นให้หา | ถ้าขืนขัดฉุดคร่ามาให้ได้ | |||
จงเลือกตัวกลั่นสรรออกไป | ให้ทันรับสั่งอย่านั่งช้า ฯ | |||
๏ ตำรวจในได้ฟังขัดรั้งวิ่ง | เร็วจริงรีบตะบึงถึงเคหา | |||
ขึ้นเรือนให้เรียกนางสร้อยฟ้า | ออกมาเล่าแจ้งแถลงการณ์ | |||
ว่าทั้งเถรเณรนั้นกลั้นใจตาย | ประเดี่ยวนี้วุ่นวายอยู่อลหม่าน | |||
รับสั่งให้หาอย่าได้นาน | เชิญท่านไวไวไปเดี๋ยวนี้ ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าได้ฟังตำรวจใน | เร่าร้อนอกใจดังไฟจี้ | |||
รีบผลัดผ้าพลันในทันที | มานี่อีไหมไปกับกู | |||
ตำรวจในนำหน้ามาจากบ้าน | ลนลานเร่งรุดไม่หยุดอยู่ | |||
ผู้คนเห็นหน้าพากันดู | มาถึงผู้รับสั่งนั่งไหว้พลัน | |||
พระหมื่นศรีจึงพาสร้อยฟ้าเฝ้า | ก้มเกล้าทูลไปทันใดนั่น | |||
พระโองการให้หาสร้อยฟ้านั้น | บัดนี้มาอภิวันท์พระบาทา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรให้นึกชังน้ำหน้า | |||
จึงมีสีหนาทประภาษมา | ไฉนอีสร้อยฟ้าจึงกาลี | |||
กูก็ชุบเลี้ยงมึงถึงขนาด | ทั้งสกุลรุนชาติก็ส่งศรี | |||
ทำเสน่ห์เล่ห์กลซนอัปรีย์ | มึงโลภประเวณีนี่เหลือใจ | |||
ไปลอบคบเถรเณรจนถึงวัด | สารพัดเลขยันต์เขาจับได้ | |||
ฝังรูปฝังรอยน้อยเมื่อไร | เขาเอามาให้อยู่ครบครัน | |||
ขุดได้จนในใต้ถุนมึง | ปั้นรูปขี้ผึ้งกอดกันมั่น | |||
ใส่ใบรักสักด้ายแล้วผูกพัน | ให้สมัครรักกันแต่ข้างตัว | |||
ส่วนรูปอีศรีมาลากับอ้ายไวย | เอาหนามไหน่ใส่แต่ตีนตลอดหัว | |||
ฝังกับผีป่าช้าดูน่ากลัว | จนอ้ายผัวสมมมออกซมซาน | |||
โบยตีศรีมาลาพลายชุมพล | หนีด้นซนซุกไปจากบ้าน | |||
ให้เขาผิดพี่น้องพ้องพาน | เป็นเหตุการณ์เพราะมึงทำมลทิน | |||
จึงเกิดศึกฮึกฮักมาทั้งนี้ | ผู้คนแตกหนีไปทุกถิ่น | |||
ข้นขุ่นวุ่นวายทั้งแผ่นดิน | อ้ายไวยปิ้มจะสิ้นถึงชีวา | |||
อ้ายแผนกับลูกชายพลายชุมพล | ไล่ประจญโรมรันฟันฆ่า | |||
เอาอ้ายไวยแตกทัพยับเยินมา | สาเหตุกูเพิ่งรู้เมื่อวานนี้ | |||
ต่อหาอ้ายพ่อลูกมาซักถาม | มันบอกความจึงรู้เป็นถ้วนถี่ | |||
กูให้เขาจับได้ไอ้คนดี | หัวผีโหงพรายก็ได้มา | |||
ให้เถรเณรที่มันทำนำไปจับ | ให้ตำรับรูปรอยเป็นหนักหนา | |||
แต่มึงทำอย่างนี้กี่ปีมา | อีสร้อยฟ้ามึงบอกแต่จริงไป ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าได้ฟังรับสั่งถาม | ใคร่ครวญข้อความหาคร้ามไม่ | |||
เถรเณรสิ้นชีวีไม่มีใคร | คิดได้แล้วประนมบังคมทูล | |||
ขอเดชะข้าแต่ละอองบาท | องค์หริรักษ์ราชนเรนทร์สูร | |||
ทรงธรรม์มหันต์ไพบูลย์ | จะขอทูลตามจริงทุกสิ่งมา | |||
ความสัตย์หาเป็นเช่นนั้นไม่ | เขาชวนกันเสกใส่มุสาว่า | |||
เดิมชุมพลคนนี้กับศรีมาลา | ลอบลักคบหาเป็นชู้กัน | |||
หม่อมฉันรู้เหตุผลชุมพลหนี | ไปบอกท่านกาญจน์บุรีแกล้งเสกสรร | |||
ว่าเอายาแฝดใส่พระไวยนั้น | ให้ตีรีศรีมาลาว่าวุ่นไป | |||
ฝ่ายพระกาญจน์บุรีมิทันคิด | ปลงจิตเชื่อลูกจึงสงสัย | |||
เข้ามาด่าทอเป็นเท่าไร | ว่าจะจับให้ได้ให้ดูเอา | |||
กระหม่อมฉันก็ท้าว่าให้ทำ | ชอบผิดจะปิดงำไว้ไยเล่า | |||
ท่านก็ส่องกระจกยกดูเงา | ว่าเห็นรูปข้าพเจ้ากับพระไวย | |||
ท่านย่ามาดูว่าไม่เห็น | ก็กลับเต้นเข่นเคี่ยวเอาผู้ใหญ่ | |||
กระทืบเท้าโผงผางวางกลับไป | นัดให้พลายชุมพลยกทัพมา | |||
ใก้พ่อแผนไปรบก็สบเพลง | พ่อลูกกันเองไม่เข่นฆ่า | |||
ตีแต่ไพร่พลแตกร่นมา | แกล้งทำมายาว่าศึกมอญ | |||
ครั้นโปปรดให้พระไวยออกไปรบ | ช่วยกันตีกระทบจนแตกว่อน | |||
จะฆ่าพระไวยให้ม้วยมรณ์ | นี่หนีบุกซุกซ่อนจึงรอดตัว | |||
ทำอุบายถ่ายเททุกอย่างไป | แปลงเป็นมอญใหม่มิใช่ชั่ว | |||
แล้วมาแก้ความผิดไม่คิดกลัว | ไปจับเณรเถรขรัวที่ไหนมา | |||
พระหมื่นศรีผู้กำกับเป็นพ่อเกลอ | จึงทูลซ้ำสน่ำเสนอให้หนักหนา | |||
ชะรอยเอาหัวผีที่ป่าช้า | กับเลขยันต์เขียนมาเข้ากราบทูล | |||
ครั้นจะสอบเถรเณรให้เห็นจริง | ว่าล้มตายหายกลิ้งเป็นเสร็จสูญ | |||
เห็นเป็นลาวชาวป่าพากันทู, | ขอทรงพระอนุกูลในทางความ ฯ | |||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | ตรัสว่าอีสร้อยฟ้าว่าเข้าง่าม | |||
ช่างประจบต้นปลายขยายความ | เหมือนลากหนามสะจุกทุกช่องไป | |||
มิเสียทีเป็นลูกพระยาลาว | เหน็บแนมแกมกล่าวเอาจนได้ | |||
ยกโทษโจทย์จับได้ฉับไว | ติดใจทั้งตำรวจตระลาการ | |||
แต่พื้นผู้ใหญ่เคยใช้สอย | ช่างตะบอยท้วงติงเอาจริงจ้าน | |||
เพราะเหตุไม่มีสักขีพยาน | จึงว่าขานแก้เกี้ยวเลี้ยวลดไป | |||
จะให้มันรับว่าจริงยิ่งยากนัก | จะซ้ำซักข้างเดียวก็ไม่ได้ | |||
มาจับงูข้างหางผิดอย่างไป | มันจึงว่าได้ทุกสิ่งอัน | |||
ต้องให้แพ้ทัณฑ์บนจนพยาน | จึงจะว่าขานได้แม่นมั่น | |||
ต้องเรียกศรีมาลาวมาว่ากัน | ให้เห็นว่าสัตย์ธรรม์ข้างผู้ใด | |||
เหวยตำรวจจงรีบออกไปหา | เรียกอีศรีมาลามาให้ได้ | |||
ครั้นได้ตัวศรีมาลามาทันใด | ก็เข้าไปบังคมก้มกราบกราน ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงโลก | ชะโงกตรัสคดีอยู่มี่ฉาน | |||
ถามศรีมาลาพลันมิทันนาน | อีสร้อยฟ้าว่าขานกล่าวโทษมึง | |||
ว่าทำชู้กับอ้ายพลายชุมพล | อีสร้อยฟ้ารู้กลมึงโกรธขึ้ง | |||
เป็นสาเหตุเรื่องราวที่ฉาวอึง | จนถึงจะฆ่าอ้ายหมื่นไวย | |||
เนื้อความข้ออื่นกูไม่ว่า | ที่ทำชู้สู่หาเป็นข้อใหญ่ | |||
จะสมคำมันหาหรือว่าไร | จริงหรือหาไม่ให้ว่ามา ฯ | |||
๏ นางศรีมาลากราบทูลไป | จะจริงหามิได้พระเจ้าข้า | |||
เมื่อชุมพลด้นไปหาบิดา | ยังเด็กนักชันษาพียงเจ็ดปี | |||
ใครห่อนจะสอนซึ่งเด็กได้ | มาใส่ไคล้เจรจาน่าบัดสี | |||
ข้างลาวเคยทำบ้างหรืออย่างนี้ | สอนเด็กให้กาลีดังเจรจา | |||
แกล้งเอาความร้ายมาป้ายเขา | ทีตัวเจ้าชั่วเองกลับไม่ว่า | |||
ถ้าจริงแล้วเลี้ยงไว้ขายบาทา | ควรโปรดให้ฆ่าให้บรรลัย | |||
จะนิ่งไว้ใครเลยจะเล็งเห็น | ทั้งผัวเล่าก็เป็นที่สงสัย | |||
ขอให้หมดมลทินสิ้นภัย | ชีวิตอยู่ใต้พระบาทา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | เป็นปิ่นปักหลักโลกนาถา | |||
ทรงฟังคำทูลเป็นมูลมา | จึงตรัสปรึกษาไปฉับพลัน | |||
ดูก่อนเจ้าพระยาเสนามาตย์ | กูฟังเรื่องประหลาดเป็นความขัน | |||
ถ้อยคำแก้เกี้ยวเลี้ยวติดพัน | กฎหมายก่อนนั้นเป็นอย่างไร | |||
ความใครไม่มีซึ่งพยาน | ตระลาการเอาจริงยังไม่ได้ | |||
จะพิจารณาว่าฉันใด | ที่จะให้เห็นจริงทุกสิ่งอัน ฯ | |||
๏ ครานั้นข้าเฝ้าเจ้าพระยา | ปรึกษากันแล้วทูลทันใดนั่น | |||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | อันชีวันอยู่ใต้พระบาทา | |||
เมื่อครั้งความขุนช้างบังอาจใจ | พาพระหมื่นไวยไปเข่นฆ่า | |||
เป็นเหตุกลางไพรในพนา | ก็ไม่มีใครมาจะรู้ความ | |||
ทั้งสองฝ่ายมีคำสำนวนพูด | ให้ปรึกษาได้พิสูจน์รูดลองถาม | |||
จึงดำน้ำถวายกับพลายงาม | ครั้งนี้ตามแต่จะทรงพระปรานี ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังจบเค้ามวลเป็นถ้วนถี่ | ||
พระจึงถามศรีมาลาไม่ช้าที | เฮ้ยมึงนี้จะว่าประการใด | ||
จะต้องหาความจริงด้วยสิ่งสัตย์ | หรือจะขัดว่าพิสูจน์นั้นไม่ได้ | ||
กูเห็นดีแต่ที่น้ำกับไฟ | นั่นแลจะได้เห็นจริงจัง ฯ | ||
๏ ครานั้นนารีศรีมาลา | ก้มกราบทูลมาด้วยใจหวัง | ||
ข้าแต่พระองค์ดำรงวัง | หม่อมฉันหวังตั้งจิตคิดลุยไฟ | ||
แม้นแพ้แก่ข้างนางสร้อยฟ้า | จงประหารชีวาให้ตักษัย | ||
ทำชั่วแล้วตัวจะอยู่ไย | ขอลุยไฟให้เห็นประจักษ์ตา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ได้ทรงฟัง | ทรงพระสรวลดังอยู่เริงร่า | ||
ได้ยินหรือไม่อีสร้อยฟ้า | อีศรีมาลาขันรับจะลุยไฟ | ||
ถ้าจริงของมึงมึงจึงสู้ | เท็จแล้วบอกกูจะผ่อนให้ | ||
มึงจะก้มหน้าอยู่ว่าไร | จะสู้มันหรือไรให้ว่ามา ฯ | ||
๏ นางสร้อยฟ้าฟังพระโองการ | สะทกสะท้านหัวพองสยองฉ่า | ||
จะรับผิดคิดกลัวพระอาญา | แข็งใจเงยหน้าทูลไป | ||
ซึ่งว่าทำเสน่ห์เล่ห์กล | มนตร์ดลจนผัวนั้นหลงใหล | ||
คบเถรเณรทำเอาพระไวย | จะลุยไฟให้เห็นเป็นสัจจา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | ปิ่นปักหลักโลกนาถา | ||
ครั้นสองนางต่างทูลเป็นมูลมา | พระผ่านฟ้าทรงฟังเห็นบังควร | ||
จึงสั่งให้ขุดรางหน้าที่นั่ง | ตำรวจในรีบสั่งเป็นการด่วน | ||
เกณฑ์เจ้าพนักงานการทั้งมวล | ถี่ถ้วนเร่งรัดจัดแจงพลัน | ||
พระสั่งเสร็จเสด็จขึ้นข้างใน | พวกขุนนางต่างออกไปเป็นเหล่าหลั่น | ||
ผู้คุมคุมคู่ความไปตามกัน | มาถึงทิมดาบนั้นเข้ามณฑล | ||
พวกตำรวจเข้าพิทักษ์รักษา | มิให้ใครไปมาเดินสับสน | ||
ให้นุ่งขาวห่มขาวทั้งสองคน | เครื่องมณฑลจัดวางอย่างบุราณ | ||
ข่าตะไคร้พริกขิงทุกสิ่งเสร็จ | ไก่เป็ดหมากมะพร้าวข้าวสาร | ||
หม้อข้าวหม้อแกงแลเชิงกราน | จัดการเสร็จสิ้นทุกสิ่งอัน | ||
รางไฟตำรวจก็เร่งขุด | บ้างตรวจตราอุตลุดอยู่ตัวสั่น | ||
บ้างขนฟืนแบกหามมาตามกัน | ดินนั้นมอมแมมเปื้อนแก้มคาง | ||
บ้างถกเขมรแบกงันตัวสั่นงก | บ้างอ้าปากตาประหลกหกล้มผาง | ||
ลุกขึ้นลุกลนขนดินพลาง | ขุนรางแล้วเสร็จสำเร็จพลัน ฯ | ||
ตอนที่ ๔๒ นางสร้อยฟ้าศรีมาลาลุยไฟ
๏ จะกล่าวถึงพระจอมจักรพรรดิ | ครองสมบัติอยุธยามหาศวรรย์ | ||
เนาในปราสาทแก้วแพรวพรรณ | พระกำนัลกราบก้มประนมกร | ||
ทรงรำพึงถึงเมียจมื่นไวย | ได้สั่งให้ลุยไฟไว้วันก่อน | ||
กูจะต้องดูแลให้แน่นอน | เสด็จออกพระบัญชรด้วยทันใด | ||
พรั่งพร้อมข้าเฝ้าเจ้าพระยา | เสนาอำมาตย์ผู้น้อยใหญ่ | ||
พระกาญจน์บุรีชุมพลจมื่นไวย | ก็หมอบเฝ้าอยู่ในหน้าพระลาน ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าท่านย่าทองประศรี | แจ้งคดีโกรธวุ่นอยู่งุ่นง่าน | ||
ทุดอีลาวเจ้ากรรมทำจัณฑาล | แกลนลานลงบันไดรีบไคลคลา | ||
งกเงิ่นเดินมาตามถนน | ผู้คนกล่นเกลื่อนเป็นหนักหนา | ||
โจษกันระเบ็งเซ็งแซ่มา | ไปดูเล่นเถิดหวาเขาลุยไฟ | ||
ทั้งเจ๊กจีนแขกฝรั่งมังค่า | รู้เข้าต่างมาไม่ช้าได้ | ||
ผู้คนล้นหลามสนามใน | ทองประศรีเข้าไปกราบบังคม | ||
พระองค์ทรงเห็นก็ตรัสทัก | มันแก้มตอบฟันหักเป็นสองผม | ||
เมื่อยังสาวไหล่ผายท้ายกลม | น่าสงสารซานซมไปคลับคล้าย | ||
เมื่อกระนั้นมันเป็นข้าหลวงเก่า | กูนึกขึ้นมาเล่าก็ใจหาย | ||
คิดถึงอ้ายขุนไกรให้เสียดาย | ต้องรับอาญาตายแต่ก่อนมา | ||
แล้วพระองค์ทรงตรัสไปบัดดล | อ้ายขุนแผนชุมพลหมื่นไวยหวา | ||
อย่าให้เขาสงสัยในวิญญาณ์ | สาบานเสียต่อหน้าอย่าเข้าใคร | ||
ขุนแผนพระไวยพลายชุมพล | ทั้งสามคนสาบานถวายให้ | ||
ถ้าแม้นว่าข้าพเจ้าเข้าข้างใด | ให้ตกนรกหมกไหม้ในโลกันตร์ | ||
จะตั้งจิตให้ตรงจงแท้เที่ยง | ไม่ลำเอียงนึกร้ายหมายมั่น | ||
ทั้งสร้อยฟ้าศรีมาลาไม่อาธรรม์ | พูดแล้วบังคมคัลลงบัดดล ฯ | ||
๏ พราหมณ์ตรวจบาดแผลที่เท้านาง | ทั้งสองข้างบริสุทธิ์ไม่ขัดสน | ||
ให้นั่งข้างรางไฟทั้งสองคน | พฤฒาจารย์อ่านมนตร์กันกระทำ | ||
ส่งข้าวตอกดอกไม้ให้สองนาง | พราหมณ์ทั้งสองข้างบูชาร่ำ | ||
บายศรีพัดพลีพลีกรรม | เสกซ้ำสังเวยซึ่งเทวา | ||
โอมองค์พระสยมภูวญาณ | องค์บรมพรหมนาถนาถา | ||
พระจักรกฤษณ์ฤทธิรงค์ทรงศักดา | พระคงคาพระเพลิงเถลิงฤทธิ์ | ||
พระคเณศร์พระขันธกุมาร | มัฆวานทั้งพระพายกายสิทธิ์ | ||
โลกบาลบริหารทั้งสี่ทิศ | ขอเชิญมาสถิตทัศนา | ||
ทั้งเทวารักษากำภูฉัตร | ปฏิบัติบำรุงพระศาสนา | ||
เสื้อเมืองทรงเมืองเรืองฤทธา | พระหลักเมืองอยุธยาวราฤทธิ์ | ||
เชิญมารับกระยาสังเวย | อย่าเข้าด้วยโจทก์จำเลยอันคนผิด | ||
ถ้าใครเท็จให้ไฟไหม้เป็นพิษ | จงประจักษ์ศักดิ์สิทธิ์แก่ตาตน | ||
แล้วให้สองนางตั้งอธิษฐาน | ศรีมาลาชูพานดอกไม้บ่น | ||
ถ้าร่วมรู้ทำชู้กับชุมพล | ขอเพลิงไหม้ให้ลนจนพังพอง | ||
ถ้าตัวข้าสัตย์ซื่อต่อสามี | อย่าให้พิษอัคคีนั้นถูกต้อง | ||
ขอเชิญเทวามาคุ้มครอง | ให้เหยียบย่องอย่างน้ำเย็นฉ่ำไป | ||
เทวาจงรักษาซึ่งความสัตย์ | ถ้าวิบัติให้ม้วยด้วยเพลิงไหม้ | ||
นางมิได้ครั่นคร้ามขามใจ | หน้าตาผ่องใสดังบัวบาน | ||
ฝ่ายนางสร้อยฟ้านั้นหน้าดำ | ชูพานพึมพำอธิษฐาน | ||
ไหลเล่อเพ้อพกอยู่ลนลาน | เออผีสางปะรางควานมาช่วยดอม | ||
พวกพราหมณ์หัวเราะฮาดูน่าขัน | อธิษฐานอย่างนั้นหรือขาหม่อม | ||
ทองประศรีร้องด่าอีหน้ามอม | อธิษฐานลอมปอมให้เห็นตัว | ||
นางสร้อยฟ้าจึงอธิษฐานใหม่ | ถ้าข้าทำคุณไสยกับเถรขรัว | ||
ทำให้พระไวยหลงใหลมัว | ไปฝังรูปสระหัวกับเถรลาว | ||
ข้อหนึ่งพลายชุมพลกับศรีมาลา | ไม่ทำชู้สู่หาเหมือนข้ากล่าว | ||
ขอให้ไฟไหม้พองทั้งสองเท้า | ตัวสั่นตาขาวให้หนาวใจ ฯ | ||
๏ ขุนแผนหมื่นไวยทองประศรี | พลายชุมพลนั่งที่ริมรางใหญ่ | ||
จตุสดมภ์กรมเมืองนั่งเนื่องไป | พวกตำรวจนอกในก็ครบครัน | ||
ฝูงชนยัดเยียดเบียดเสียดเถียง | บ้างวัดเหวี่ยงผลักรุนกันหุนหัน | ||
เอะอะปะทะล้มลงจมกัน | บ้างผลักไสพัลวันตัวสั่นรัว | ||
อ้ายข้างนอกไม่เห็นเต้นเข้ามา | จนฝุ่นฝาฟุ้งฟูมขึ้นกลุ้มหัว | ||
ลูกกระจอมอมาติดแม่พัว | บ้างขี่บ่าจิกหัวชะโงกดู | ||
อ้ายเจ๊กขายขนมล้มปั้นเป๋ | อ้ายพวกโลนเสเพลเหนี่ยวหางหนู | ||
ไอ๊ย่าเจ๊กร้องเจี๊ยวอย่าเหนี่ยวกู | ลงหมอบมุดคุดคู้ไม่เข้าไป | ||
อีมอญเจ้าข้าวเกรียบเหยียบเอาขา | อ้ายเจ๊กร้องไอ๊ย่าลุกขึ้นได้ | ||
อีมอญด่าต๊อกย่ายอ้ายจัญไร | จะดูเขาลุยไฟมาเบียดเคียง | ||
ตำรวจในรายรอบขอบสนาม | คอยห้ามปรามมิให้ใครถุ้งถียง | ||
ผู้คนสะพรั่งนั่งพร้อมเพรียง | สงัดเสียงแซ่กันลงทันใด | ||
จึงองค์สมเด็จพระพันวษา | ตรัสสั่งลงมาห้าช้าไม่ | ||
เรียกสร้อยฟ้าศรีมาลามาไวไว | ลุยไฟให้เห็นเป็นสัจจา | ||
ฝ่ายว่าพระสนมนางกำนัล | พากันเยี่ยมพระแกลแลหา | ||
สอดตาตามซี่มู่ลี่มา | ดูสร้อยฟ้าศรีมาลาจะลุยไฟ ฯ | ||
๏ ครานั้นสร้อยฟ้าศรีมาลา | ได้ยินตรัสสั่งมาไม่ช้าได้ | ||
เข้คนละข้าหัวรางไฟ | ถวายบังคมไปมิได้ช้า | ||
เข้าโบกปัดพัดไฟให้ถ่านแดง | นางสร้อยฟ้าแสยงเป็นหนักหนา | ||
ศรีมาลาเพราพริ้มยิ้มแย้มมา | บังคมแล้วไคลคลาเข้ารางไฟ | ||
ลีลาศดังราชเหมหงส์ | เยื้องย่างเหยียบลงหาร้อนไม่ | ||
นางมิได้หวาดหวั่นพรั่นฤทัย | ลุยไปลุยมาได้สามที | ||
เทวดารักษาด้วยความสัตย์ | พระพายชายพัดอยู่เรื่อยรี่ | ||
ต้องน่างอย่างทิพวารี | เสียงคนชมมี่ไปทั้งกอง ฯ | ||
๏ สร้อยฟ้ากระดากอยู่ปากราง | เปลวไฟร้อนนางยืนจดจ้อง | ||
ให้ครั่นคร้ามกลัวไฟจะไหม้พอง | แข็งใจเยื้องย่องซมซานมา | ||
เหยียบไฟลงได้สองสามก้าว | ตัวสั่นท้าวท้าวไหม้ตีนฉ่า | ||
โจนจากรางไฟมิได้ช้า | อีสังเอ๋ยร้อนหวาจะขาดใจ | ||
อีไหมเข้าคร่าพาลากถู | ตีนแดงเป็นลูกหนูเจียวข้าไหว้ | ||
ผู้คนฉาวฉ่าฮาก้องไป | พระหมื่นไวยขบฟันตัวสั่นมา | ||
เอาเท้าป่ายสีข้าลงดังผลุง | ขุนนางห้ามยุ่งว่าอย่าอย่า | ||
พระไวยว่าไว้ทำไมนา | เอาไปฆ่าเสียหัวตะแลงแกง ฯ | ||
๏ ขุนแผนแสนสงสารศรีมาลา | ไม่ควรเลยสร้อยฟ้ามันกลั่นแกล้ง | ||
มันเฝ้าแต่เบียนเบียดเสียดแทง | พ่อแจ้งอยู่แล้วแต่ไรมา | ||
เพราะคนอื่นเขาไม่รู้จึงสงสัย | เจ็บช้ำน้ำใจเป็นหนักหนา | ||
ทีนี้แลจะสิ้นที่นินทา | ประจักษ์หน้าพระที่นั่งพรั่งพร้อมกัน | ||
ทองประศรีความแค้นนางสร้อยฟ้า | แกขบเหงือกเหลือกตาด่าตัวสั่น | ||
ฉวยได้ดุ้นแสมแล่มาพลัน | กูจะต่อยหัวมันให้พอใจ | ||
ทุดอีเจ้ายาแฝดแปดยาช้าง | มานอนอ้าขากางครางอยู่ได้ | ||
ร้อนหรือเอาพิษเสนแก้พิษไฟ | ให้สาใจเจ้าเสน่ห์เล่ห์กลดี | ||
ทำผัวตัวแล้วยังมิหนำ | ซ้ำว่าชุมพลนั้นเอาพี่ | ||
คบเถรเณรอุบาทว์ชาติอัปรีย์ | ร้องอี๋อี๋ชี้ขาอยู่ว่าไร | ||
ชุมพลวิ่งพวยฉวยชายผ้า | อย่าทำวุ่นคุณย่าเถิดข้าไหว้ | ||
ทองประศรีโกรธหนักผลักมือไป | จะต่อยให้หัวฟกถกเขมรมา | ||
เป็นไรเป็นไปกูไม่ฟัง | พวกผู้คุมรุมรั้งทั้งหลังหน้า | ||
เหมือนเขาเล่นซักส้าวคนฉาวฮา | ลงทรุดนั่งยังด่าตาเป็นมัน | ||
ชุมพลกราบตีนพี่ศรีมาลา | มือเช็ดน้ำตาแล้วหุนหัน | ||
มาถึงสร้อยฟ้าร้องด่าพลัน | อีช้อนตะแกรงแกล้งกันให้ได้อาย | ||
พี่ศรีมาลาเขารักกูเหมือนลูก | มาดูถูกมุสาว่าง่ายง่าย | ||
อีลาวป่าหน้ามึงไม่มีอาย | มานอนหงายครางร่นคนดูอึง | ||
แล้วกดคออีไหมใส่ศอกถอง | มึงคู่คิดปิดป้องกูรู้ถึง | ||
ฉวยมือสร้อยฟ้าแล้วคร่าดึง | จะฟันมึงเสียที่หัวตะแลงแกง | ||
พระหมื่นศรีจูงมือชุมพลมา | เจ้าฟังพ่อว่าอย่าใจแข็ง | ||
ฝูงคนพรั่งพร้อมล้อมดูแดง | ด่าแช่งสร้อยฟ้าทุกหน้าไป ฯ | ||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | กริ้วนางสร้อยฟ้าดังเพลิงไหม้ | ||
คราวนี้รู้เช่นได้เห็นใจ | อีจัญไรเจ้ากลมารยา | ||
ทำยาแฝดใส่อ้ายไวยผัว | ให้เมามัวหลงเล่ห์เสนหา | ||
จนเสื่อมเวทเสื่อมฤทธิ์วิทยา | จะเป็นบ้าแล้วยังไม่พอใจ | ||
ยังยุให้ลูกพ่อก่อวิวาท | ดูบังอาจกำเริบเติบใหญ่ | ||
จะให้ล้างผลาญกันให้บรรลัย | พ่อมันนั้นจะได้มาเล่นกู | ||
แล้วคิดร้ายอ้ายชุมพลศรีมาลา | แกล้งใส่ไคล้จะให้ฆ่าอีกทั้งคู่ | ||
คิดอ่านสารพัดเป็นศัตรู | ดูเป็นกบฏแท้เห็นแน่ใจ | ||
ฮ้าเฮ้ยเหวยพระยายมราช | จงเอาไปฟันฟาดให้ตักษัย | ||
ผ่าอกด้วยขวานประจานไว้ | อย่าให้คนผู้ดูเยี่ยงมัน ฯ | ||
๏ พระยายมรับพระราชบัญชา | เรียกทะลวงฟันมาขมีขมัน | ||
ฉุดมือสร้อยฟ้าคร่าขบฟัน | นางวอนว่าท่านได้เมตตา | ||
ดิฉันจะบรรลัยไปเป็นผี | จะขอลาสามีกับท่านย่า | ||
จะต้องสมาลาโทษศรีมาลา | อย่าให้เป็นเวราเมื่อบรรลัย | ||
ทะลวงฟันเข้าปีกทั้งสองข้าง | พานางแวะมาหาช้าไม่ | ||
กราบย่ากราบผัวกราบทั่วไป | แล้วร้องไห้ไปที่ศรีมาลา | ||
ยกเอาเท้านางขึ้นทูนหัว | กลิ้งเกลือกเสือกตัวไม่เงยหน้า | ||
แม่คุณทูนหัวลูกชั่วช้า | แม่จงรับสมาอย่าจองภัย | ||
ให้สิ้นเวรสิ้นกรรมทำบุญเถิด | ลูกจะได้ไปเกิดในชาติใหม่ | ||
ถึงบาปกรรมทำชั่วติดตัวไป | พอจะได้คลายร้อนด้วยผ่อนเวร | ||
เพราะว่ากรรมนำไปให้ใจชั่ว | จึงเมามัวคบหากับเณรเถร | ||
เอาอิจฉาพยาบาทมาเป็นเกณฑ์ | ไม่แลเห็นโทษผิดช่างปิดบัง | ||
แล้วมิหนำซ้ำว่าแม่เป็นชู้ | ร่วมรู้กับชุมพลแต่หนหลัง | ||
ใส่ไคล้จะให้เจ้านายชัง | โกหกโอหังด้วยเมามัว | ||
ลูกนี้หินชาติอุบาทว์เมือง | จนฟุ้งเฟื่องคนผู้เขารู้ทั่ว | ||
อัปยศอดอายขายหน้าตัว | รู้ว่าชั่วสิเป็นถึงเช่นนี้ | ||
เทวดาอารักษ์ท่านเล็งเห็น | ว่าทำเข็ญจึงให้ไปเป็นผี | ||
ควรท่านประหารผลาญชีวี | มาปรานีแต่ลูกที่ในครรภ์ | ||
ไม่มีผิดจะติดตายไปด้วย | ได้เจ็ดเดือนมาม้วยพลอยอาสัญ | ||
ยังไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวัน | ไม่ทันรู้ว่าชายหญิงจะชิงม้วย | ||
โอ้แม่เจ้าประคุณของลูกเอ๋ย | อย่าผูกเวรลูกเลยช่วยขอด้วย | ||
เอาไว้ใช้เป็นข้ากว่าจะม้วย | นึกว่าช่วยลูกน้อยที่ในครรภ์ ฯ | ||
๏ ทองประศรีฟังว่าน้ำตาตก | อียาจกใครทำให้มึงนั่น | ||
ต่อฟ้าเคืองสันหลังจึงรำพัน | กูนี้กลั้นน้ำตามิได้เลย | ||
กูสั่งสอนเท่าไรไม่ใส่หู | เอาคารมข่มกูเสียอีกเหวย | ||
ช่างเย่อหยิ่งนี่กระไรกูไม่เคย | มากอดเกยตีนว่าน่าปรานี | ||
เห็นกับย่าเถิดศรีมาลาเอ๋ย | เจ้าละเลยเสียก็เห็นจะเป็นผี | ||
มันทำเจ้ากับผัวถึงชั่วดี | จงปรานีลูกน้อยในอุทร ฯ | ||
๏ ศรีมาลาฟังคำที่ร่ำว่า | น้ำตาหลั่งไหลด้วยใจอ่อน | ||
เห็นสารภาพผิดคิดอาวรณ์ | จะผันผ่อนทูลขอดูตามบุญ | ||
เกลือกว่าวาสนามิเคยม้วย | กุศลส่งคงจะช่วยมาอุดหนุน | ||
ไม่หมายเอาตอบแรนแทนคุณ | จะเอาบุญช่วยกู้ชีวิตไว้ | ||
อย่านึกเลยว่าข้าพยาบาท | อย่าประมาทภาวนาเอาใจใส่ | ||
นางตั้งอธิษฐานด้วยทันใด | ขอเดชะข้าได้ทำบุญมา | ||
ปรารถนาจะให้พ้นจากสงสาร | เอาทางพระนิพพานภายภาคหน้า | ||
จะช่วยสัตว์ให้พ้นมรณา | นางตั้งสัจจาแล้วคลาไคล | ||
ถึงหน้าพระที่นั่งก็บังคม | ประนมกรกราบทูลเฉลยไข | ||
จะควรมิควรประการใด | ชีวิตอยู่ใต้พระบทมาลย์ | ||
บัดนี้สร้อยฟ้าซึ่งต้องโทษ | รับสั่งโปรดเกล้าให้ไปประหาร | ||
จะพาบุตรพระไวยไปวายปราณ | ด้วยมีครรภ์ประมาณเจ็ดเดือนมา | ||
กระหม่อมฉันมีจิตคิดสงสาร | จะติดมารดาม้วยด้วยเข่นฆ่า | ||
ขอพระราชทานโทษโปรดสร้อยฟ้า | กับบุตรที่มีมาได้รอดตาย ฯ | ||
๏ ครานั้นจึงองค์นเรนทร์สูร | ฟังศรีมาลาทูลพระทัยหาย | ||
ไม่รู้ว่ามันจะมาพาลูกตาย | เสื่อมคลายกริ้งลงด้วยทรงธรรม์ | ||
วาสนาสร้อยฟ้าจะไม่ม้วย | กุศลศรีมาลาช่วยค้ำชูนั่น | ||
ทั้งบุญบุตรในท้องนั้นป้องกัน | บันดาลให้ไภยันต์นั้นพ้นไป | ||
จึงตรัสว่าขอบใจอีศรีมาลา | มึงนี้หาอาฆาตจองเวรไม่ | ||
อยู่ในสัตยะรรมล้ำเหลือใจ | หากว่าอีจัญไรมันใจพาล | ||
มึงขอโทษก็จะโปรดชีวิตให้ | แต่จะเลี้ยงมันไว้อุบาทว์บ้าน | ||
นานไปมันจะทำให้รำคาญ | กูขี้คร้านจะดูมึงลุยไฟ | ||
ตรัสพลางสั่งพระยายมราช | อีสร้อยฟ้าอุบาทว์ไม่เลี้ยงได้ | ||
ศรีมาลามาขอชีวิตไว้ | ก็ขับไปให้พ้นจากพารา ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านเจ้ากรมยมราช | อภิวาทถอยหลังมาสั่งว่า | ||
โปรดประทานชีวิตนางสร้อยฟ้า | ให้ขับพ้นพาราในสามวัน ฯ | ||
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา | ปรานีศรีมาลาจะทำขวัญ | ||
ดำรัสไปให้สั่งคลังในพลัน | ให้จัดสรรเงินทองของนานา | ||
เงินสองชั่งทั้งผ้าสองสำรับ | แหวนก้อยพลอยประดับขันล้างหน้า | ||
หีบหมากลายเทพประนมถมยา | พระราชทานศรีมาลาเป็นรางวัล | ||
อีกทั้งปะวะหล่ำกำไลทอง | ประทานลูกในท้องเป็นของขวัญ | ||
อีศรีมาลาครั้งนี้มึงดีครัน | ความชอบมึงนั้นกูตอบแทน | ||
ที่ได้อ้ายแผนชุมพลมา | เพราะมึงไปพูดจากับอ้ายแผน | ||
หาไม่ไหนอ้ายเฒ่าจะหายแค้น | ผิดนักก็จะแล่นเตลิดไป | ||
แล้วจึงดำรัสตรัสกำชับ | อ้ายแผนกับอ้ายชุมพลอย่าเขวไขว | ||
เลิกวิวาทบาดทะเลาะกับอ้ายไวย | ที่แล้วแล้วกันไปกูขอที | ||
พระกาญจน์บุรีพระไวยพลายชุมพล | ทั้งสามคนรับสั่งใส่เกศี | ||
เสด็จขึ้นออกมาไม่ช้าที | ตามกันจรลีจากวังใน | ||
๏ อีเม้ยรับว่ากับนางสร้อยฟ้า | คิดถึงคุณนายข้าอย่าลืมได้ | ||
ศรีมาลาเคืองข้องร้องด่าไป | ทุดอีมอญจัญไรอย่าเจรจา | ||
ชาวบ้านร้านตลาดต่างชมเชย | แม่ศรีมาลาเอ๋ยดีหนักหนา | ||
ไม่ผูกกรรมซ้ำทูลขอสร้อยฟ้า | จะหาเหมือนแม่นี้นี่ยากครัน | ||
ลางคนว่าถ้ากูแล้วที่ไหน | จะให้ตัดหัวเสียบเสียที่นั่น | ||
นางสร้อยฟ้าเจ็บเท้าค่อยก้าวยัน | นิ่วหน้าพากันมาถึงเรือน | ||
เกาะหลังอีไหมเข้าในห้อง | พิษไฟปวดพองร้องป่นเปื้อน | ||
ค่อยอยู่เถิดหนาจะลาเฮือน | ข้าวของกองเกลื่อนต้องทิ้งไว้ ฯ | ||
๏ ครั้นรุ่งเช้าสร้อยฟ้านารี | เข้าไปหาสามีแล้วร้องไห้ | ||
กราบกรานขอประทานซึ่งโทษภัย | ลูกได้ทำชั่วใส่ตัวเอง | ||
งดโทษเถิดหนาจะลาแล้ว | จะคลาดแคล้วห่างไกลไปเท้งเต้ง | ||
ได้พึ่งบุญอุ่นอกจะวังเวง | เจ้าประคุณคุ้มเกรงแต่ลงมา | ||
ทั้งพ่อแม่ได้พึ่งเมื่อตกไร้ | พ่อกราบทูลแก้ไขให้หนักหนา | ||
หาไม่เชียงใหม่ทั้งพารา | ก็จะมาเป็นจุณวิจุณไป | ||
จนโปรดให้ลูกมาเคียงคู่ | ถึงผิดชอบก็เอ็นดูหาว่าไม่ | ||
เป็นกรรมหนหลังมาบังไว้ | จึงให้คิดผิดเผอิญเป็น | ||
จากเมืองพึ่งพ่อพอเห็นหน้า | กลับคืนพาราจะห่างเห็น | ||
เช้าค่ำร่ำไห้อกใจเย็น | แสนเข็ญบุกป่าไปแต่ตัว | ||
เมื่อลงมาข้าคนก็มากมาย | จะกลับเดียวเปลี่ยวดายแล้วทูนหัว | ||
ป่ากว้างช้างเสือก็น่ากลัว | แรดร้ายควายวัวคะนองทาง | ||
ไหนห้วยเหวเปลวปล่องต้องเลาะไป | หนามไหน่รกชัฏอยู่รอบข้าง | ||
เมื่อลงมาบิดาให้ขี่ช้าง | นี่จะต้องเดินทางด้วยเท้าไป | ||
ข้าวของใครจะต้องมาหาบถือ | ต้องซัดเซตัวหรือก็ท้องไส้ | ||
แดดลมจะระทมให้ตรมใจ | แสนห่วงใยแต่ลูกที่ในครรภ์ | ||
จะต้องทนลำบากตรากตรำ | ทั้งข้าวน้ำวิปริตผิดผัน | ||
จะเป็นหญิงหรือชายอย่างไรนั้น | จะตายเป็นไม่เห็นกันกับบิดา | ||
ค่ำลงจะต้องนั่งบังร่มไม้ | ฟืนไฟใครเลยจะช่วยหา | ||
ต้องหนุนขอนนอนแนบพสุธา | ภาวนากลัวสัตว์ที่พงไพร | ||
จะฟังแต่เนื้อนกวิหคโหย | ชะนีโวยหวีดร้องก้องป่าใหญ่ | ||
ไหนจะคิดถึงตัวด้วยกลัวภัย | ไหนจะเฝ้าเศร้าใจถึงพ่อคุณ | ||
นางยกเท้าผัวทูนหัวไว้ | ความอาลัยตันอกให้หมกมุ่น | ||
ร้องไห้ใจจะขาดลงเป็นจุณ | จนตาขุ่นแดงเดือดเป็นเลือดไป | ||
อนิจจาเวรกรรมจำวิบาก | เมียจะจากพ่อไปอย่างไรได้ | ||
ถึงจะต้องตกลำบากยากไร้ | ถ้าอยู่ได้แล้วไม่จากพระคุณเลย | ||
พ่อเจ้าดูเมียเสียยังแล้ว | พ่อทูลกระหม่อมแก้วของเมียเอ๋ย | ||
ตั้งแต่นี้มิได้เห็นดังเช่นเคย | จะลับเลยสุดสิ้นชีวาลัย ฯ | ||
๏ ครานั้นพระไวยเจ้าพลายงาม | ได้ฟังความสะท้อนถอนใจใหญ่ | |||
คิดแสนสงสารเมียเสียน้ำใจ | น้ำตาไหลรีบเช็ดด้วยความอาย | |||
แข็งใจปลอบโยนนางสร้อยฟ้า | จงดับความโศกาให้เหือดหาย | |||
อันทุกข์สุขมีทั่วทุกหญิงชาย | ยามเคราะห์ร้ายก็ต้องยากลำบากตัว | |||
เจ้าจงรักษาอย่าให้ครรภ์อันตราย | ถ้าสืบไปไม่ตายคงพบผัว | |||
อย่าตีตนก่อนไข้ให้หมองมัว | รักษาตัวไว้เถิดคงพบกัน ฯ | |||
๏ นางสร้อยฟ้าได้ฟังคำพระไวย | ค่อยคลายใจที่วิโยคโศกศัลย์ | |||
คำพ่อสอนสั่งสิ้นทั้งนั้น | จะจำไว้ให้มั่นจนวันตาย | |||
แต่น้ำใจอาลัยด้วยความรัก | ยิ่งหักก็ยิ่งพรั่นยิ่งขวัญหาย | |||
น้ำตาไหลนองสองมือฟาย | สยายผมลงเช็ดกับบาทา | |||
พ่อเจ้าประคุณของเมียแก้ว | จะจากวันนี้แล้วไม่เห็นหน้า | |||
พ่ออยู่ดีอย่ามีซึ่งโรคา | ให้ชันษาอายุพ่อพันปี | |||
ลาแล้วครวญคร่ำร่ำร้องไห้ | เข้าไปกราบไหว้ทองประศรี | |||
เจ้าประคุณคุณย่าได้ปรานี | ชั่วดีไม่ทิ้งให้หลานตาย | |||
ให้แม่ศรีมาลามาขอไว้ | หลานรักจึงไม่ม้วยฉิบหาย | |||
จะใคร่อยู่แทนคุณจนวอดวาย | ไม่เหมือนหมายรับสั่งให้ขับไป | |||
ค่อยอยู่เถิดใจบุญเจ้าประคุณเอ๋ย | ที่ไหนเลยจะได้กลับมาเมืองใต้ | |||
เหมือนตายจากคุณย่าจะลาไป | ทางไกลตายเป็นไม่เห็นกัน ฯ | |||
๏ ทองประศรีได้ฟังนางสร้อยฟ้า | น้ำตาไหลรัวอยู่ตัวสั่น | |||
กูก้อยพลอยรำคาญสงสารครัน | มึงหุนหันทำได้ช่างไม่คิด | |||
ยิ่งว่ายิ่งเป็นเล่นยาแฝด | ร้อยแปดปากคอไม่ต่อติด | |||
จนความตายจะถึงจึงได้คิด | เป็นสุดฤทธิ์ที่กูจะช่วยมึง | |||
กูอยู่กับผัวจนตัวเฒ่า | ยาแฝดยาเมาไม่คิดถึง | |||
มีรักแล้วไปไม่พรั่นพรึง | เป็นมึงกูไม่ทำให้รำคาญ ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าประนมก้มกราบไหว้ | คุณย่าหวังจะให้เป็นแก่นสาร | |||
หลานนี้ชั่วจนตัวปิ้มวายปราณ | กรรมของหลานเองแล้วจะโทษใคร | |||
ยกเอาเท้าย่าขึ้นทูนหัว | ตัวสั่นรัวรัวร่ำร้องไห้ | |||
ขอสมาลาโทษโปรดอภัย | กราบไหว้ย่าแล้วก็ลามา | |||
ไปกราบขุนแผนผู้แว่นไว | คุณพ่อได้งดโทษโปรดเกศา | |||
ลูกทำชั่วจนตัวจะมรณา | ให้บิดาเดือดร้อนอย่าผูกเวร | |||
ลูกนี้โง่เง่าเฉาโฉด | อารามโกรธไปฟังถ้อยคำเถร | |||
เอาอิจฉาพยาบาทมาเป็นเกณฑ์ | กรรมเวรลูกสร้างมาล้างตัว | |||
ทั้งพ่อพลายชุมพลจงอยู่ดี | วันนี้พี่จะลาพ่อทูนหัว | |||
ให้มีสุขสมปองอย่าหมองมัว | พี่ชั่วแล้วจะลาไปตามกรรม ฯ | |||
๏ ฝ่ายว่าขุนแผนพลายชุมพล | ได้ฟังยุบลก็บ่นพร่ำ | |||
เอ็นดูอยู่ดีดีมิฟังคำ | มาทำกรรมใส่ตัวกลั้วมลทิน | |||
จนเลื่องลือทั้งบ้านสะท้านเมือง | ฟุ้งเฟือ่งเขาตำหนิติฉิน | |||
ไม่พอที่อึงมี่ทั้งแผ่นดิน | ไม่คิ่นวินชาอุลามก | |||
จะผูกเวรกันไยไปเถิดเจ้า | อันความเก่าเจ้าอย่าได้วิตก | |||
เหมือนหนึ่งสัตว์พลัดตกลงนรก | เรายกให้แล้วเจ้าอย่ากลัว | |||
นางสร้อยฟ้าได้ฟังทั้งสองว่า | สมควรแล้วเจ้าข้าพ่อทูนหัว | |||
กราบขุนแผนพลันตัวสั่นรัว | แล้วลาน้องผัวมาทันใด ฯ | |||
๏ จึงเข้าในห้องศรีมาลา | กอดเอาบาทาร่ำร้องไห้ | |||
ครั้งนี้มีกรรมจะจำไกล | แม่ข้าไหว้ค่อยอยู่ให้จงดี | |||
แม่เจ้ามีคุณทูลขอไว้ | หาไม่จะบรรลัยไปเป็นผี | |||
คุณของแม่หนอในข้อนี้ | จะใส่ในเกศีคุ้มวันตาย | |||
วันนี้แล้วแม่จะแลลับ | ไปแล้วหรือจะกลับมาได้ง่าย | |||
ข้าวของน้องนี้มิเสียดาย | ช่วยถวายพระสงฆ์ส่งส่วนบุญ | |||
ถ้ารออดไปได้ถึงเมืองเชียงใหม่ | พี่น้องก็จะได้ช่วยอุดหนุน | |||
มาคิดอยู่แต่แม่มีคุณ | ได้พึ่งบุญแล้วมิได้จะทดแทน | |||
แม้นว่ามิตายไปภายหน้า | คงจะกลับลงมาเป็นมั่นแม่น | |||
ลูกจะได้ก้มหน้ามาทดแทน | อย่าคุมแค้นลูกเลยจะลาไป ฯ | |||
๏ ครานั้นฝ่ายนางศรีมาลา | ตอบคำสร้อยฟ้าหาช้าไม่ | |||
แม้นข้าคุมแค้นแน่นใจ | ที่ไหนจะไปทูลขอมา | |||
จะแทนบุญคุณไปทำไมมี | ข้านี้มิได้ปรารถนา | |||
สงสารลูกในท้องของสร้อยฟ้า | ข้าจะเอาแต่บุญไม่ขุ่นเคือง | |||
ข้าวของที่อุทิศจะทำให้ | ผ้าขาวนั้นไซร้จะย้อมเหลือง | |||
จอกขันข้าวของอยู่นองเนือง | จะเป็นเครื่องบริขารเจือจานไป | |||
สร้อยฟ้าฟังนางศรีมาลา | ยกมือโมทนาแล้วกราบไหว้ | |||
พระคุณแม่เป็นล้นพ้นไป | ไม่ผูกภัยก่อกรรมที่ทำมา | |||
ถ้าแม้นทำได้ให้ส่วนบุญ | ครึ่งหนึ่งอุดหนุนแทนตัวข้า | |||
อภัยโทษโปรดเถิดจะขอลา | ผิดพลั้งแต่หลังมาอย่าเป็นเวร | |||
ที่ลูกทำวุ่นให้ขุ่นเคือง | เป็นเรื่องลงมาจนตาเถร | |||
แต่วันนี้จงระงับดับเวร | นางประเคนพานข้าวตอกดอกไม้ | |||
ศรีมาลารับแล้วขอสมา | ส่งให้สร้อยฟ้าหาช้าไม่ | |||
สร้อยฟ้ารับสมาแล้วว่าไป | แม่ปลงใจเถิดหนาอย่าแคลงคลาง ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมนางสร้อยฟ้า | สมานางศรีมาลาแล้วเยื้องย่าง | |||
ครวญคร่ำร่ำไรไปเรือนนาง | ทอดตัวลงกลางที่นอนพลัน | |||
เรือนเจ้าเอ๋ยเคยอยู่มาหลายปี | ล้วนของดีสารพัดให้จัดสรร | |||
เครื่องแป้งแต่งตั้งไว้ครบครัน | ฉากกั้นเตียงที่นอนอ่อนละไม | |||
คิดถึงผัวคิดถึงตัวจะตกยาก | จะจำจากเปลี่ยวจิตคิดหวั่นไหว | |||
คิดถึงเคยเชยชื่นกับหมื่นไวย | ยิ่งคิดไปเยงจะดิ้นสิ้นชีวิต | |||
นางแข็งขืนกลืนโศกกำสรดไว้ | จะอยู่ช้าไม่ได้ด้วยกลัวผิด | |||
เพราะโทษทัณฑ์ตัวนั้นถึงชีวิต | ต้องจำจิตจำจากจะพรากไป | |||
จึงจัดแจงเงินทองของดีดี | เอาลงใส่ในที่กระทายใหญ่ | |||
อีกทั้งผ้าผ่อนท่อนสไบ | ที่เต็มรักจึงได้เลือกเอามา | |||
จัดแล้วออกมาสั่งข้าไท | ไปถอยเรือมาไว้ที่หน้าท่า | |||
ขนานอ้ายรับคำแล้วอำลา | เอาเรือประทุนสามวามาจอดไว้ | |||
อีไหมขนของขลุกบรรทุกเรือ | พริกเกลือเชิงกรานข้าวสารใส่ | |||
เครื่องครัวสิ่งของสำรองไป | สร้อยฟ้าคลาไคลลงเรือพลัน ฯ | |||
๏ พระไวยเปิดหน้าต่างข้างตีนท่า | แลเห็นสร้อยฟ้าเจ้าโศกศัลย์ | |||
ขนานอ้ายกับอีไหมไปด้วยกัน | ถอยหัวเรือหันออกแจวไป | |||
รื้อคิดความหลังด้วยยังรัก | สงสารนักนางน้องเจ้าท้องไส้ | |||
จะลำบากยากเย็นเข็ญใจ | ต้องเดินดงพงไพรไกลกันดาร | |||
ได้ยินเสียงร้องไห้ไปแจ้วแจ้ว | สนั่นแนวคงคาน่าสงสาร | |||
โอ้ว่ากรรมเราทำแต่ก่อนกาล | มาประหารให้กำจัดจึงพลัดพราย | |||
แม้นไม่เกรงอาญาฝ่าธุลี | ไหนแก้วพี่จะจากไปง่ายง่าย | |||
ถึงเจ้าผิดก็คิดแสนเสียดาย | โอ้ว่าสายสุดสงวนไม่ควรเป็น | |||
เหลียวชะแง้แลตามเจ้าทรามเชย | จนเรือเลยลับแหลมแลไม่เห็น | |||
น้ำตาตกอาบซาบกระเซ็น | ตั้งแต่นี้จะไม่เว้นวายคะนึง | |||
หับหน้าต่างย่างเข้ามาในห้อง | ลงนอนตรองตรมจิตเฝ้าคิดถึง | |||
ให้อัดอั้นตันใจดังใครกรึง | แต่รำพึงจนม่อยผล็อยหลับไป ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงสร้อยฟ้าขนานอ้าย | บ่าวนายสามคนกับอีไหม | |||
รีบแจวมาตามแนวชลาลัย | เลยบ้านป้อมไปหัวสะพาน | |||
อยู่อ่างทองสองคนกับสองวัน | แล้วพากันผ่านพ้นตำบลบ้าน | |||
ถึงบางแก้วแจวมาไม่ช้านาน | พอสุริย์ฉานเย็นยั้งอยู่บางแมว | |||
ชาวเรือเหนือใต้ครั้นใกล้ค่ำ | ก็จอดเรียงเคียงลำเป็นทิวแถว | |||
หุงข้าวต้มแกงแสงไฟแวว | ครั้นสุกสิ้นกินแล้วเล่ากันอึง | |||
ว่ามีจระเข้ยาวราวเส้นเศษ | สำแดงเดชลอยขวางกลางน้ำขึง | |||
เมื่อจะขึ้นคลื่นลมระดมตึง | อีกตัวหนึ่งนั้นยาวสักเก้าวา | |||
แม้นเรือใครพลบค่ำไปลำเดียว | ปะที่เปลี่ยวแล้วเข้าไล่เอาซึ่งหน้า | |||
กัดตะกูดแจวหักเสียหนักมา | แต่มิได้เห็นว่ากินผู้คน ฯ | |||
นางสร้อยฟ้าจอดเรืออยู่ริมเขา | ได้ยินเล่าหัวพองสยองขน | |||
ร้องไห้โฮว่าโอ้ข้อยนี้จน | ไหนจะพ้นจระเข้จะขบตาย | |||
เรือที่ขี่มาก็เล็กนัก | แต่คลื่นหนักก็จะล่มลงจมหาย | |||
โอ้ครั้งนี้น่าที่จะวอดวาย | นางกลิ้งเกลือกเสือกกายไม่สมประดี ฯ | |||
๏ ครานั้นเจ้าเณรกับเถรขวาด | องอาจล่องหนเที่ยวด้นหนี | |||
เป็นจระเข้เที่ยวเร่ในวารี | อยู่ที่หัวย่านบ้านนางแมว | |||
ครั้นค่ำก็ทำสีหนาท | ขึ้นผุดผาดลอยล่องเล่นคล่องแคล่ว | |||
นัยน์ตาลุกเป็นไฟอยู่ไวแวว | เรือแจวออกกลาดไม่อาจไป | |||
คับคั่งจอดดูอยู่ท้ายคุ้ง | เห็นเรือมุงแกก็เมียงเข้ามาใกล้ | |||
จะฟังข่าวสร้อยฟ้าว่าอย่างไร | พอได้ยินร้องไห้เข้าไปฟัง | |||
ก็รู้เที่ยงว่าเสียงเจ้าสร้อยฟ้า | แกว่ายมาดำด้นขึ้นบนฝั่ง | |||
แล้วกลายเพศจระเข้เดินเซซัง | เจ้าเณรจิ๋วตามหลังตรงลงมา | |||
จึงร้องเรียกไปนางไหมเอ๋ย | อย่าช้าเลยถอยเรือรับเร็วหวา | |||
กูคือเถรกับเณรทั้งสองรา | หนีมาได้รอดไม่วอดวาย ฯ | |||
๏ นางไหมแลไปบนตลิ่ง | เห็นจริงจำได้ด้วยเดือนหงาย | |||
ลุกขึ้นถอนหลักแล้วชักพาย | วาดท้ายเข้ารับด้วยฉับไว | |||
เถรเณรย่างลงในเรือพลัน | เห็นนางสร้อยฟ้านั้นนั่งร้องไห้ | |||
จึงเล่าความแต่ต้นจนปลายไป | รูปรอดมาได้ด้วยวิชา | |||
ล่องหนออกพ้นที่จองจำ | ลงน้ำเป็นจระเข้มาคอยท่า | |||
ฟังข่าวราวเรื่องเจ้าสร้อยฟ้า | จะมรณาหรือรอดตลอดไป | |||
เสียงร้องไห้จำได้ขึ้นมาหา | เหตุไฉนจึงมาถึงนี่ได้ | |||
ต้องเป็นโทษนี่โปรดประการใด | จะไปไหนสามคนซุกซนมา ฯ | |||
๏ สร้อยฟ้าได้ฟังเถรขวาดถาม | ก็เล่าความตามสัตย์ไม่มุสา | |||
ว่าเดิมพระภูมินทร์ปิ่นประชา | ให้หาไปถามเอาความจริง | |||
ว่าข้าคบกับเณรเถรเฒ่า | ทำให้ผัวมัวเมาต้องยุ่งยิ่ง | |||
ข้าให้การแก้เกี้ยวเลี้ยวท้วงติง | ว่าความจริงชุมพลกับศรีมาลา | |||
ร่วมรักทำชู้ข้ารู้แน่ | จึงไปยุพ่อแม่มากล่าวหา | |||
ไม่มีพยานด้วยกันทั้งสองรา | พระพันวษาจึงสั่งให้ลุยไฟ | |||
เพราะเราทำชั่วจึงแพ้เขา | พระปิ่นเกล้าสั่งให้ฆ่าให้ตักษัย | |||
ดีเพราะลูกในครรภ์ไม่บรรลัย | จึงโปรดให้ไล่เสียจากพารา | |||
ก็ตั้งจิตคิดจะขึ้นไปเชียงใหม่ | ดีใจพบพระคุณบุญหนักหนา | |||
ได้เป็นเพื่อนเหมือนช่วยซึ่งชีวา | เจ็บไข้จะได้มาเห็นหน้ากัน | |||
ว่าพลางทางสั่งขนานอ้าย | ให้คัดท้ายถอยเรือมาจากนั่น | |||
เถรเณรก็ไปในเรือนั้น | ช่วยกันแจวถ่อต่อขึ้นไป | |||
๏ เถรขวาดหวาดหวั่นพรั่นวิญญาณ์ | เห็นเรือตำรวจตรวจตราขึ้นล่องไขว่ | |||
อีกทั้งพวกด่านทางวางร้านไฟ | เขาจับได้ครั้งนี้มิเป็นการ | |||
จึงไปชักหักกิ่งหิงหายผี | เสกด้วยเวทฤาษีปลอมแปลงสาร | |||
ปักหัวเรือไปมิได้นาน | ให้ชาวด่านเห็นเป็นคนอื่นไป | |||
ผ่านปางน้ำบางพุทราคลาเคลื่อน | เลยเลื่อนข้ามย่านบ้านน้อยใหญ่ | |||
ไม่มีใครทักทายสบายใจ | ค่ำหยุดเช้าไปไม่รั้งรา | |||
เดือนหนึ่งมาถึงเมืองระแหง | เอาเรือจอดเกยแห้งไว้หน้าท่า | |||
ขึ้นเดินบกต่อไปในพนา | น่าสงสารสร้อยฟ้านั้นสุดใจ | |||
นางไม่เคยยาตราในป่ากว้าง | ค่อยค่อยย่างเยื้องย่องด้วยท้องไส้ | |||
ต้องแดดแผดลมระงมไป | เจ้าหวั่นไหววิเวกอยู่วังเวง | |||
สนั่นเสียงสิงห์เสือเนื้อกวาง | ฝูงช้างหักพงอยู่โผงเผง | |||
ชะนีบ่างค่างลิงวิ่งปะเลง | โดดแหยงลงดินดิ้นงักงัก | |||
เสียงผาโผนผกตกภูเขา | น้ำลายเลียเข้าก็หายหัก | |||
หมาในวิ่งไล่ตามพยัคฆ์ | หมายจักกินเนื้อที่เหลือเดน | |||
ถึงช่องแคบพอตะวันนั้นเย็นลง | อัสดงฟ้าแดงดังแสงเสน | |||
เอาใบไม้มาซ้อนแล้วอ่อนเอน | ตาเถรภาวนาพากันนอน | |||
พระจันทร์กระจ่างกลางอากาศ | ดูโอภาสจำรัสประภัสสร | |||
รอบเดือนเกลื่อนกลาดดารากร | น้ำค้างปรายรายร่อนอ่อนลออ | |||
ต้องพรรณดอกไม้ที่ในป่า | กลีบผกาเบิกบานตะการช่อ | |||
หอมระรื่นลมชายค่อยหายท้อ | แต่ใจคอห่วงหลังยังตรอมตรม | |||
คิดถึงพระไวยอาลัยนัก | เสียดายรักร่วมจิตสนิทสนม | |||
ถนอมน้องมิให้หมองในอารมณ์ | ไม่พอที่จะนิยมให้ยากกาย | |||
น้อยใจใจชั่วนี้เหลือแสน | มาผูกแค้นทำเขาเฝ้ามั่นหมาย | |||
เพราะตัวผิดแทบชีวิตจะวางวาย | ให้กลัดกลุ้มฟูมฟายฝ่ายน้ำตา | |||
แต่ร้องไห้ไม่หลับจนรุ่งเช้า | เถรเฒ่าตื่นลุกขึ้นล้างหน้า | |||
กับเณรจิ๋วหิ้วบาตรไปยาจนา | ตามบ้านป่าได้ข้าวเหนียวมาเจียวท้อง | |||
มาก็นานข้าวสารเสบียงสิ้น | ต้องหากินตามยากจากบ้านช่อง | |||
แต่พากันเดินไปด้วยใจปอง | พอได้สองเดือนครึ่งถึงพารา ฯ | |||
๏ มาช้าจะกล่าวบทไป | ถึงศรีมาลายาใจเสนหา | |||
ท้องแก่จะคลอดซึ่งลูกยา | ญาติกาห้อมล้อมอยู่พร้อมกัน | |||
ท่านย่าทองประศรีบนผีสาง | ได้ยินศรีมาลาครางแกตัวสั่น | |||
เรียกหาข้าไทอยู่งกงัน | อ้ายนั่นออนี่อึงมี่ไป | |||
เร็วเข้าเขาจะคลอดมึงอย่าช้า | ฟืนตองซื้อมาเอาไว้ไหน | |||
เด็กเอ๋ยตั้งหม้อก่อเตาไฟ | น้ำร้อนต้มไว้อย่าได้ช้า | |||
ขมิ้นส้มมะขามน้ำมันดิบ | สูหยิบมาตำขยำหวา | |||
ออไวยไปไหนไม่เห็นมา | อย่าช้าเสกน้ำสะเดาะที ฯ | |||
๏ พระไวยเสกน้ำให้เมียกิน | แล้วเอารินรดใส่เกศี | |||
เดชะพระเวทวิเศษดี | ลูกที่ในครรภ์ก็คลอดมา | |||
เป็นชายเฉิดโฉมประโลมลักษณ์ | อวบอ้วนน่ารักเป็นหนักหนา | |||
ย่าทวดทองประศรีรับรี่มา | อาบน้ำแล้วทาขมิ้นพลัน | |||
เรียกบ่าวเอาผ้าที่เนื้อดี | ทำกระโจมทันทีขมีขมัน | |||
เบาะเมาะวางรองป้องกัน | ใส่กระด้งลงพลันกล่อมให้นอน | |||
ส่วนข้างนางศรีมาลาแม่ | ท่านย่าแกก็ให้เข้าไปก่อน | |||
ขมิ้นแห้งฝนทากินยาร้อน | ให้ลูกอ่อนกินนมแล้วชมไป | |||
สามเดือนโกนหัวให้ลูกชาย | ญาติกาทั้งหลายทำขวัญให้ | |||
เสมาปะวะหล่ำกำไล | ขุนแผนเอามาให้แก่หลานยา | |||
พระไวยว่ากับพระกาญจน์บุรี | จะให้ชื่อไรดีคุณพ่อขา | |||
ให้สมกับเค้ามูลตระกูลมา | ท่านทวดว่าชื่อแก้วแลแววไว | |||
ขุนแผนจึงให้ชื่อว่าพลายเพชร | เอาเคล็ดนามปู่เป็นผู้ใหญ่ | |||
ญาติวงศ์ยินยอมพร้อมใจ | ก็อยู่ได้เป็นสุขสนุกสบาย ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงฝ่ายข้างนางสร้อยฟ้า | ท้องแก่หนักหนาเจ็บใจหาย | |||
ญาติวงศ์พร้อมหน้ามารอบกาย | คลอดง่ายเป็นชายงามโสภา | |||
ประพิมพ์ประพายคล้ายกับพระหมื่นไวย | พระเจ้าตารักใคร่เป็นหนักหนา | |||
นางนมพี่เลี้ยงประทานมา | ให้พิทักษ์รักษาทุกราตรี | |||
แล้วจัดแจงแต่ของจะทำขวัญ | เครื่องกระยาสารพันทั้งบายศรี | |||
ให้ประโคมดุริยางคดนตรี | พราหมณ์ชีพฤฒามาอวยชัย | |||
จึงสั่งให้โหราพฤฒาจารย์ | เร่งคูณหารดวงชะตาหาฤกษ์ให้ | |||
จะตั้งนามตามวงศ์ตระกูลไทย | ฤกษ์ดีวันไรให้บอกมา | |||
ครั้นถึงวันดีเป็นศรีวัน | พระญาติวงศ์พร้อมกันมาถ้วนหน้า | |||
เจ้าเชียงใหม่ให้นามแก่นัดดา | ให้ชื่อว่าพลายยงพงศ์นพรัฐ | |||
แล้วประทานข้าไทให้ใช้สอย | เพชรพลอยเครื่องประดับสำหรับกษัตริย์ | |||
ทั้งเงินทองของเล่นสารพัด | ชมเชยเสวยสวัสดิ์ทุกวันไป ฯ | |||
ตอนที่ ๔๓ จระเข้เถรขวาด
๏ จะกล่าวถึงเถรขวาดฉลาดเวท | กระเดื่องเดชเชียงอินทร์แผ่นดินไหว | |||
แต่รับนางสร้อยฟ้ามาเวียงชัย | เปรียบดังไกรสรราชที่อาจอง | |||
ด้วยเจ้าลาวยกย่องสนองคุณ | มีบุญยิ่งกว่าบรรดาสงฆ์ | |||
เป็นที่สังฆราชามลาว์วงศ์ | ดำรงวัดพระธาตุราชอาราม | |||
ถวายเครื่องยศอย่างสังฆราช | ตลกบาตรตาละปัตรพัดย่าม | |||
ล้วนปักหักทองขวางสำอางงาม | ขี่เรือม่านคานหามกั้นสัปทน | |||
เจ้าเชียงใหม่ให้ลาวเป็นเลกวัด | เปลี่ยนผลัดเข้าเดือนอยู่เกลื่อนกล่น | |||
สานุศิษย์ใหญ่น้อยสักร้อยคน | แต่เณรจิ๋วนั้นเป็นต้นต่างหูตา | |||
อยู่กุฎีสี่หลังดังตำหนัก | ตะละตึกคึกคักแน่นหนา | |||
อัฒจันทร์ชั้นตั้งเครื่องบูชา | ล้วนเครื่องแก้วกะหลาป๋าปากเลี่ยมทอง | |||
กระจกใหญ่ใส่เสาเข้าทุกทิศ | หน้าต่างติดกระจกซุ้มคันฉ่อง | |||
เตียงจีนตีนตั้งสิงโตทอง | เครื่องประดับสำหรับห้องก็พร้อมเพรียง ฯ | |||
๏ วันหนึ่งจึงพระสังฆราชเถร | ฉันเพลแล้วออกไปในเฉลียง | |||
สานุศิษย์หมอบกลาดดาดระเบียง | เอนตนลงบนเตียงพนักทอง | |||
ยกหมอนขวานอิงพิงกับอก | หยิบกระจกกะหลาป๋าเอามาส่อง | |||
เลือดฝาดขึ้นหน้าเป็นนวลละออง | ผิวผ่องเปล่งปลั่งกำลังดี | |||
เหลือบแลเห็นแผลหน้าผากยับ | รอยเมื่อชุมพลจับสับด้วยกระบี่ | |||
ฉุนโกรธขึ้นมาพลันในทันที | ***ดีละจะเล่นให้เห็นกัน | |||
จะลงไปกรุงศรีอยุธยา | จับมันเข่นฆ่าให้อาสัญ | |||
ผลุดลุกจากเตียงเหวี่ยงหมอนพลัน | งกงันเข้าไปในกุฎี | |||
จับจีวรห่มดองแล้วครองผ้า | ร้องเรียกศิษย์หาอยู่อึงมี่ | |||
เณรพรมฉวยร่มกับพัชนี | เณรสีตะพายย่ามตามอาจารย์ | |||
พวกเลกวัดจัดวอมารอท่า | เถรขวาดยาตรามางุ่นง่าน | |||
ขึ้นวอหลังคาสีตะลีตะลาน | หามลัดตัดบ้านเข้าวังใน | |||
ถึงประตูหูช้างที่ข้างหน้า | ลงจากวอเดินมาหาช้าไม่ | |||
ขึ้นบนตำหนักพลันด้วยทันใด | แล้วสั่งให้ไปทูลเจ้าสร้อยฟ้าฯ | |||
๏ ครานั้นสร้อยฟ้ายาใจ | อยู่ในตำหนักจันทน์หรรษา | |||
เลี้ยงบุตรสุดสวาทไม่คลาดคลา | จนลูกยาพลายยงเจริญวัย | |||
พอสาวใช้ไปแถลงแจ้งคดี | พระครูมาที่ตำหนักใหญ่ | |||
ก็จูงลูกพลายยงตรงออกไป | นิมนต์ให้สังฆราชนั่งอาสนะ | |||
ถวายเภสัชตะบันแล้ววันทา | เจ้าคุณอุตส่าห์มาสาธุสะ | |||
มานี่ด้วยมีกิจธุระ | หรือว่าจะประโยชน์สิ่งอันใด ฯ | |||
๏ เถรขวาดถอนใจถวายพร | ว่าทุกข์ร้อนรูปนี้มีข้อใหญ่ | |||
ทุกวันนี้ภายนอกดอกเป็นใย | แต่ภายในชอกช้ำทุกค่ำเช้า | |||
จะขบฉันอันใดก็เต็มกลืน | ผวาตื่นอกใจให้ร้อนเร่า | |||
ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่บรรเทา | เห็นจะเข้าอติสารอาการตาย | |||
รูปมาหมายจะลาองค์เจ้าแม่ | ไปคิดแก้ทุกข์ร้อนพอผ่อนหาย | |||
อย่าห้ามไว้ให้ชีวันอันตราย | โฉมฉายได้เมตตาแก่อาจารย์ ฯ | |||
๏ ครานั้นจึงโฉมนางสร้อยฟ้า | ได้ฟังเถรขวาดว่าน่าสงสาร | |||
ฉันถวายตัวมาก็ช้านาน | มีเหตุการณ์จงเล่าให้เข้าใจ | |||
ที่ห้ามปรามแต่หลังเคยรั้งเหนี่ยว | ก็ครั้งเดียวเมื่อจะลงไปเมืองใต้ | |||
จะแก้แค้นขุนแผนกับพระไวย | ห้ามไว้เพราะสงสารเจ้าพลายยง | |||
ด้วยกลัวลูกชายกำพร้าพ่อ | จึงได้ขอร้องห้ามความประสงค์ | |||
ถ้ามิให้พระไวยนั้นปลดปลง | จะลงไปก็ตามแต่ความคิด ฯ | |||
๏ ครานั้นท่านสังฆราชา | ได้ฟํงนางว่าก็สมจิต | |||
ค่อยกระถดเข้าไปให้ใกล้ชิด | กระซิบว่าข้านี้คิดอยู่ค่ำเช้า | |||
ยังแค้นใจอ้ายชุมพลมิรู้สิ้น | มันดูหมิ่นมากมายให้อายเขา | |||
แต่เกิดมายังมิให้ใครดูเบา | จะให้มันทำเปล่าก็เต็มที | |||
ถ้ามิได้ทดแทนให้แค้นหาย | จะชอกช้ำจำตายไปเป็นผี | |||
จึงหมายว่าจะแกล้งแปลงอินทรีย์ | เป็นกุมภีร์ลงไปในอยุธยา | |||
จะทำเสียให้วุ่นขุ่นทั้งกรุง | เอาให้ยุ่งถึงสมเด็จพระพันวษา | |||
อันคนดีที่ไหนใครจะมา | คงอาสาแต่อ้ายพลายชุมพล | |||
จะล่อมันลงน้ำทำให้ถนัด | ขบกัดตามสบายให้ตายป่น | |||
ถ้าได้เสร็จสมหมายวายกังวล | จะได้อยู่เมืองบนสบายใจ | |||
อันตรงที่พระนายของพลายยง | รูปหาคิดปลิดปลงชีวิตไม่ | |||
เข้ามาหวังว่าจะลาไป | จงอวยชัยให้สำเร็จเจตนาฯ | |||
๏ ครานั้นสร้อยฟ้านารี | ฟังเถรยินดีหัวร่อร่า | |||
ด้วยอาฆาตชุมพลแต่ไรมา | พอเถรว่าก็เหมือนเกาเข้าที่คัน | |||
ถ้าคุณห่าอ้ายชุมพลคนนี้ได้ | จะขอบคุณเหมือนให้ไปสวรรค์ | |||
คุณจะเอาสิ่งใดจะให้ปัน | เว้นแต่ดาวเดือนตะวันแลจนใจ | |||
แล้วตัวคุณนั้นชราอย่าประมาท | อ้ายชุมพลเก่งกาจเป็นไหนไหน | |||
ครั้งมันแกล้งแปลงมารบพระไวย | มันยังไล่บุกป่ามาแต่ตัว | |||
เจ้าอุบายถ่ายเทก็ไม่เล่น | เคยเห็นมันปลอมล้อมท่านขรัว | |||
หากคุณเป็นอย่างยอดจึงรอดตัว | ถ้าชั่วก็คงยับไม่กลับมา ฯ | |||
๏ เถรขวาดตอบว่าแม่อย่าพรั่น | มิให้มันทำร้ายให้ขายหน้า | |||
ถึงตัวแก่อย่างนี้แลสีกา | แต่ฝ่ายข้างทางวิชายังว่องไว | |||
คราวนั้นไม่รู้ตัวมัวกินเหล้า | มันจึงเข้ามาตะครุบเอาไปได้ | |||
ถ้าคนอื่นหมื่นพันก็บรรลัย | ถึงรูปพลาดพลั้งไปไม่เสียที | |||
ได้เล่นกันซึ่งหน้าแล้วอย่าพรั่น | ต่อให้มันขี่คอทั้งพ่อพี่ | |||
จะทำเสียให้เห็นเป็นภัสม์ธุลี | ถ้าไม่ดีแม่อย่ารับเอากลับมา | |||
พรุ่งนี้อาตมาจะลาไป | ด้วยว่าได้ฤกษ์เก้าเป็นเสาร์ห้า | |||
จะรีบตรงลงไปอยุธยา | สำเร็จกิจกลับมาอย่าช้านาน ฯ | |||
๏ เถรขวาดรับคำแล้วอำลา | ค่อยอยู่เถิดสีกากับพลายหลาน | |||
ผุดลุกจากที่ตะลีตะลาน | ออกทวารขึ้นวอจรจรัล | |||
ศิษย์ถือร่มย่ามตามมาปร๋อ | เลกวัดหามวอขมีขมัน | |||
ครู่หนึ่งมาถึงกุฎีพลัน | ขึ้นอัฒจันทร์เยื้องย่องเข้าห้องใน | |||
ผลัดผ้าไตรกองครองผ้าเก่า | ร้องเรียกเจ้าเณรจิ๋วเข้ามาใกล้ | |||
เอ็งคอยดูศิษย์หาอย่าตกใจ | กูจะไปอยุธยาธานี | |||
ไปแก้แค้นแทนทดอ้ายพลายชุมพล | จะทำเสียให้ป่นจนเป็นผี | |||
สมคิดแล้วจะมาไม่ช้าที | ในสิบห้าราตรีจะกลับมา | |||
อยู่หลังกูจะสั่งให้เสร็จสรรพ | คอยระวังนั่งนับวันไว้ท่า | |||
ถ้าเห็นการนานเนิ่นเกินสัญญา | อย่าช้าตามไปให้ทันที ฯ | |||
๏ ครานั้นเณรจิ๋วคนฉลาด | ฟังเถรขวาดนึกพรั่นขวัญหนี | |||
นี่อย่างไรพระครูอยู่ดีดี | จะวิ่งรี่ตั้งหน้าไปหาภัย | |||
คิดพลางทางตอบพระอาจารย์ | จะฮึกหาญไปอย่างนี้หาดีไม่ | |||
อ้ายชุมพลคนคะนองว่องไว | เราเคยได้เห็นชัดถนัดตา | |||
ฤทธิ์เดชเวทมนตร์กลใดใด | ที่พระครูทำได้มันไวกว่า | |||
คนดีไม่สิ้นอยุธยา | อย่าชะล่าใจนักจักเสียที | |||
เมื่อแก่เฒ่าเข้าเรือนแปดสิบปลาย | แสนสบายยศศักดิ์ก็ถึงที่ | |||
อยู่ไปได้อีกสักกี่ปี | ถึงเพียงนี้ไม่รู้จักรักสบาย | |||
นั่งกินนอนกินจนสิ้นชีวิต | ใครควรคิดพยาบาทมาดหมาย | |||
จะไปไยให้ยากลำบากกาย | อยู่ตายในเชียงใหม่ได้เข้าเมรุ ฯ | |||
๏ เถรขวาดฟังว่านั่งหน้านิ่ว | ทุดอ้ายจิ๋วขี้ขลาดประมาทเถร | |||
ถืออ้ายพลายฝ่ายเดียวเจียวเจ้าเณร | กูไม่จัดชัดเจนหรือออย่างไร | |||
ถึงมีฤทธิ์เรี่ยวแรงแข็งเป็นเหล็ก | มันก็เด็กเล็กลูกกระหำใส | |||
มันจะรู้ลุกซึ้งถึงเพียงใด | ปากไอยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม | |||
เพราะมึงขลาดพลาดให้มันจับตัว | เลยหดหัวกลัวมันเป็นกุ้งต้ม | |||
หากกูเมางัวเงียเสียอารมณ์ | ว่าคาถาอาคมจึงฟั่นเฟือน | |||
ถ้าดีอยู่อย่านี้แล้วที่ไหน | จะฟันให้คอขาดอยู่กลาดเกลื่อน | |||
เอ็งอยู่ดูกุฎีสักครึ่งเดือน | ถ้าเห็นช้าอย่าเชือนรีบตามไป ฯ | |||
๏ เณรจิ๋วขนพองสยองหัว | นึกกลัวเถรขวาดไม่อาจห้าม | |||
ประนมมืออวยพรอ่อนตาม | ให้สมความคิดไว้ไปเถิดซิ | |||
ไชยะให้ชนะพลายชุมพล | ให้เล่ห์กลสมหวังดังดำริ | |||
ให้ฟุ้งเฟื่อเรืองฤทธิ์ประสิทธิ | ฉันจะอยู่กุฎิต่างหูตา ฯ | |||
๏ พระครูเถรฟังเณรอนุญาต | ถูกใจสังฆราชหัวร่อร่า | |||
ด้วยคราวนั้นเถรขวาดขาดชะตา | ให้นึกว่าได้ทีไม่มีแพ้ | |||
จึงหยิบเครื่องรณรงค์ยงยุทธ์ | สายตะกรุดประคำทองของเก่าแก่ | |||
มงคลคุ้มเสนียดประเจียดแพร | ปรอทแร่เครื่องรางอย่างสำคัญ | |||
ยัดใส่ย่ามน้อยห้อยหัวไหล่ | ผลัดสบงทรงสไบเข้าให้มั่น | |||
ห่มดองแล้วคาดราตคดพัน | ตรงเข้าที่อัฒจันร์วันทาลา | |||
จับไม้เท้าก้าวเยื้องขยับกาย | เห็นจิ้งจกตกตายลงต่อหน้า | |||
นกแสกแถกเสียดศีรษะมา | หลวงตานิ่งขึงตะลึงคิด | |||
เอ๊ะอย่างไรท่าทางเป็นลางร้าย | ระงับกายกลับนั่งลงตั้งจิต | |||
หลับตาร่ายคาถาแก้นิมิต | ขยับยืนยักทิศไปอุดร | |||
ก้าวลงอัฒจันทร์ถึงชั้นล่าง | งูเห่าลางเลื่อยฟู่ชูหัวร่อน | |||
แผ่แม่เบี้ยขวางทางหนทางจร | เถรเห็นสังหรณ์เป็นลางร้าย | |||
กอดอกยกเมฆดูนิมิต | ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย | |||
จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย | เถรสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา | |||
ครั้นจะถอยสร้อยฟ้าจะว่าขลาด | เป็นชาติลูกผู้ชายตายดาบหน้า | |||
กัดฟันกลั้นใจแล้วไคลคลา | ตรงเข้าป่าช้าด้วยทันที | |||
ขัดสมาธิ์สมาธิตั้งมั่น | ปลุกเสกเลขยันต์น้ำมันผี | |||
ครั้นสำเร็จเสร็จแสร้งแปลงอินทรีย์ | รูปตาชีก็หายกลายเป็นแร้ง | |||
สองเท้าถีบดินบินกระโชก | หางโบกหัวเกลี้ยงเหนียงแกว่ง | |||
ปากมุ้มมู่ทู่สองหูแดง | ลมแรงร่อนมุ่งกรุงอยุธยา ฯ | |||
๏ โผลงตรงเหนือเมืองอ่างทอง | พอเยื้องคลองบางแมวเป็นแนวป่า | |||
แร้งหายกลายรูปเป็นหลวงตา | ลงนั่งนิ่งภาวนาร้อยแปดที | |||
เสกไม้เท้าต่อหางที่กลางหัว | แล้วเอาบาตรสวมหัวเข้าเร็วรี่ | |||
เผ่นโผนโจนผางกลางนที | ก็กลายเป็นกุมภีร์มหิมา | |||
เขี้ยวขาวยาวออกนอกปากโง้ง | ฟาดโผงร้องเพียงเสียงฟ้าผ่า | |||
โตใหญ่ตัวยาวสักเก้าวา | ขึ้นวิ่งร่าหลังน้ำด้วยลำพอง | |||
ท่านผู้ฟังถ้วนหน้าอย่าสงสัย | เดิมจะได้ตั้งย่านเป็นบ้านช่อง | |||
เพราะเถรขวาดแปลงกายร้ายคะนอง | จึงเรียกบ้านจระเข้ร้องแต่นั้นมา | |||
เดี๋ยวนี้มีหลักแหล่งแขวงอ่างทอง | บ้านช่องเป็นปึกแผ่นยังแน่นหนา | |||
ตั้งนามตามนิทานเพราะขรัวตา | จึงได้ปรากฏตำบลจนทุกวัน ฯ | |||
๏ ครานั้นกุมภาหลวงตาขวาด | เอาหางฟาดเอยฝังดังสนั่น | |||
ใหญ่ยาวราวพระยาชาละวัน | ครื้นครั่นสนั่นก้องลำพองกาย | |||
เหล่าจระเข้าเก่าเป็นเจ้าถิ่น | บ้างมุดดินซ่อนตัวซุกหัวหาย | |||
บ้างลงหนองหนีตัวด้วยกลัวตาย | บ้างตะกายขึ้นบกมุดรกไป | |||
พ้นบ้านตลาดกรวดรวดเร็วมา | ควายช้างขวางหน้าเข้าไม่ได้ | |||
ฟาดฟันกัดตายก่ายกันไป | เลยไล่ร่องน้ำลงมา | |||
ครู่หนึ่งถึงหน้าเมืองอ่างทอง | โบกหางครางร้องคะนองร่า | |||
พอชาวบ้านลงตะพานมาล้างปลา | เข้าคาบคร่าลงน้ำแล้วดำทวน | |||
โบกหางวางทะลึ่งขึ้นครึ่งกาย | ชูศพขึ้นถวายพระอิศวร | |||
คาบผีรี่มาที่หน้าจวน | ฟัดฟาดขาดด้วนกระเด็นไป | |||
รั้วแขวงกรมการชาวบ้านช่อง | วิ่งร้องตัวสั่นอยู่หวั่นไหว | |||
เห็นจระเข้คาบคนบนบันได | เอาออกไปฟาดผางกลางคงคา | |||
ฝูงคนบนตลิ่งวิ่งสอสอ | มดหมออยู่ไหนก็ไปหา | |||
หมอที่มีมีครูงูงูปลาปลา | นึกจะมาแทงเล่นอย่างเช่นเคย | |||
ที่หมอเก่าเข้าใจไปห้ามกลุ้ม | เมินเสียเถิดเจ้าหนุ่มเหล่านี้เอ๋ย | |||
จระเข้นี้ใหญ่อย่าไปเลย | เอาคางเกยก็จะล่มจมน้ำไป | |||
เหมือนอย่างคำบุราณท่านย่อมว่า | ถ้าสามวาแล้วมีฤทธิ์นิมิตให้ | |||
นี่มันเกินสามวากว่าขึ้นไป | เวทมนตร์เห็นจะไม่ถึงใจมัน | |||
อ้ายลางคนเห็นจริงวิ่งกลับมา | ได้ยินว่านึกกลัวจนตัวสั่น | |||
ลางคนเชื่อฝีมือยังดื้อดัน | ถึงชาละวันก็เล่นจะเป็นไร | |||
ถือขนักหยักรั้งนั่งหัวเรือ | คนข้างท้ายพายเรือหาหยุดไม่ | |||
จระเข้ท่องฟ่องฟูคอยดูใจ | พอเข้าใกล้เพื่อนก็พุ่งผลุงกระท้อน | |||
ซ้ำใส่เข้าอีกเล่มให้เต็มแรง | จระเข้แว้งเอาชนักหักสองท่อน | |||
สิ้นชนักชักหอกตอกกะดอน | จระเข้ย้อนกลับมาอ้าปากแดง | |||
เรือหมอพายมาสามวาปลาย | กับคนพายห้าเล่มล้วนเข้มแข็ง | |||
จระเข้งับปับเดียวด้วยเรี่ยวแรง | ทั้งเรือคนป่นเป็นแป้งเข้าปากไป | |||
เรือคนหกนายพายห้าเล่ม | ยังไม่เต็มแก้มดีกุมภีล์ใหญ่ | |||
เอาไปดำสำรอกเสียทันใด | กดลงไว้ใต้น้ำดำเลยมา | |||
ผู้คนบนตลิ่งวิ่งสอสอ | เห็นจระเข้กินหมอเสียหนักหนา | |||
ต่างคนย่นย่อไม่รอรา | ฉาวฉ่าไปทุกแห่งแขวงอ่างทอง | |||
เขมรมอญลาวชาวป่าดอน | ลือกระแอนไปทั้งหมดสยดสยอง | |||
ไม่อาจลงอาบน้ำในลำคลอง | จระเข้ล่องเลยมาในสาคร ฯ | |||
๏ ถึงที่เปลี่ยวเหลียวดูไม่เห็นเรือน | ค่อยค่อยเลื่อนลอยไปเหมือนไม้ขอน | |||
ถ้าเห็นบ้านเรือนคนที่บนดอน | ก็ทำอิทธิฤทธิ์รอนเข้ารุกราน | |||
พอจวนรุ่งเที่ยวมาหาที่เปลี่ยว | เถรเที่ยวบิณฑบาตที่บนบ้าน | |||
ได้จังหันฉันแล้วตะลีตะลาน | โจนลงชลธารเป็นกุมภา | |||
ถ้าบ้านไหนเถรได้บิณฑบาต | บ้านนั้นเป็นอันขาดไม่เข่นฆ่า | |||
ไม่รีบค่อยค่อยลอยล่องมา | ปรารถนาจะให้เรื่องนั้นเลื่องลือ | |||
ถึงบ้านแหแร่ร้องก้องกระหึ่ม | รางควานพึมพูดกันสนั่นอื้อ | |||
ครั้นมาถึงย่านบ้านสะตือ | ก็มุดน้ำดำทื่ออยู่ใต้น้ำ | |||
พอชาวบ้านเลิกนากลับมาเรือน | ลงล้างเปื้อนที่ตีนท่าอยู่คลาคล่ำ | |||
เถรก็ผุดผลุดโผล่ขึ้นจากน้ำ | ตะกายย่ำขึ้นบนโคลนโจนกระโจม | |||
เข้าไล่คนปากกัดหางฟัดฟาด | ทำอำนาจราชศักดิ์เข้าหักโหม | |||
ได้สามคนคาบตรงลงน้ำโครม | ถาโถมถีบดำล่องน้ำไป | |||
ทำอำนาจฟาดฟัดกัดขบ | ซ่อนศพเสียทั้งสิ้นหากินไม่ | |||
ขบกัดขัดเสียที่รากไร | แล้วเลยไล่ล่องน้ำร่ำตะบึง | |||
เที่ยวท่องล่องโร่มาโพธิ์สระ | ปะหลวงตาบิณฑบาตฟาดดังผึง | |||
ขบกัดสะบัดเถรขึ้นเลนตึง | บนตลิ่งวิ่งอึงทั้งหญิงชาย | |||
เรือแพใหญ่น้อยถอยเข้าคลอง | ไม่อาจล่องลอยน้ำระส่ำระสาย | |||
พ่วงกันพันพัวด้วยกลัวตาย | จระเข้ร้ายถึงย่านบ้านระกำ | |||
มาถึงนั่นตะวันพอตกบ่าย | เข้าไล่ควายลงท่าออกคลาคล่ำ | |||
จระเข้ท่องล่องลอบมาใต้น้ำ | ดำลอดไปทะลึ่งขึ้นกึ่งกลาง | |||
ควายเปลี่ยวเลี้ยวขวิดด้วยเขาขวับ | จระเข้งับคอขาดฟาดด้วยหาง | |||
คาบควายว่ายวู่ชูลูกคาง | สะบัดขว้างขึ้นบกตกลงโคลน | |||
คนบนบกหกล้มลงจมเลน | จระเข้ขึ้นบกทำผกโผน | |||
เข้าไล่คนบนตลิ่งวิ่งออกโชน | ถึงท้ายคุ้งพุ่งโจนลงน้ำครืน | |||
ทำอำนาจฟาดหางอยู่กลางน้ำ | โผมุดผุดดำน้ำเป็นคลื่น | |||
คนบนบกหกล้มลงทั้งยืน | กำลังตื่นวิ่งทะลึ่งออกตึงตัง ฯ | |||
๏ มาถึงบางเทวาท้ายป่าโมก | จระเข้โบกหางหันเข้าแฝงฝั่ง | |||
ที่นั่นน้ำลึกนักตระพักพัง | เข้าเฟือยฟังแยบคายอยู่ท้ายวัด | |||
เป็นเทศกาลชาวบ้านมาไหว้พระ | เสียงเอะอะเรือแพออกแออัด | |||
แข่งกันไปมาอยู่หน้าวัด | บ้างซัดเพลงปรบไก่ใส่เพลงเรือ | |||
นางสาวสาวโอ่อวดประกวดกัน | ห่มสีสันม่วงไหมล้วนใส่เสื้อ | |||
เอาโตกตั้งทั้งคู่อยู่ท้ายเรือ | บ้างปูเสื่อปูหนังตั้งหมอนอิง | |||
เจ้าหนุ่มหนุ่มรักสนุกมาทุกบ้าน | ดาดเพดานโลดลำทำสุงสิง | |||
ปูเสื่ออ่อนหมอนขวางมาตั้งอิง | พายเที่ยวเกี้ยวผู้หญิงรอบรอบไป | |||
เรือเจ้าพวกขี้เมาขวดเหล้าวาง | โต๊ะจีนตั้งกลางเอาแกล้มใส่ | |||
เอาดอกดาวเรืองร้อยห้อยหูไว้ | ล้วนแต่ตัดผมใหม่ใส่ขาวม้า | |||
เจ้าเณรพระสงฆ์ลงเรือดขน | ยาวโกรนเกรียวกราวอยู่ฉาวฉ่า | |||
ยังพวกนางสาวสาวชาวแม่ค้า | ผัดหน้ากันไรใส่เสื้อแพร | |||
ขายกล้วยทอดส้มขนมจีน | เอาโตกตีนช้างตั้งไว้แต่งแง่ | |||
ผู้คนบนวัดก็อัดแอ | เรือพ่วงกันเป็นแพออกแซ่เซ็ง | |||
พวกหัวไม่ลอยชายออกกกรายกรีด | เหน็บมีดขวานคร่ำทำก๋าเก่ง | |||
เข้าในวัดยัดเยียดเบียดตะเบ็ง | สาวสาวกลัวนักเลงลงนาวา ฯ | |||
๏ ครานั้นกุมภาขรัวตาขวาด | เห็นเรือดาดไปทั้งแดนออกแน่นหนา | ||
ออกจากเฟือยเลื้อยดำใต้น้ำมา | ทะลุถลาโลดโผงผางขึ้นกลางคน | ||
ตื่นตะกายปากกัดหางฟัดฟาด | ตัวขาดคอพับลงยับย่น | ||
เกรียวกรัดหวีดวิ่งออกอลวน | โจนประจญเรือล่มจมระเนน | ||
ปะแม้ค้าขนมจีนฉวยตีนลาก | มันเคยปากร้องว้ายควายตาเถร | ||
โดดขึ้นบนตลิ่งวิ่งร้องเกน | ลุยเลนผ้าหลุดฉุดแต่ชาย | ||
จระเข้ตรงเข้าในวงเพลงครึ่งท่อน | ผู้หญิงทิ้งผ้าผ่อนล้มนอนหงาย | ||
สิ้นสติลืมตัวด้วยกลัวตาย | เวยวายวิ่งเม้าเป็นเต่านา | ||
พวกเจ้าเพลงผู้ชายก็วายวุ่น | โดดผลุนวิ่งแต้ทั้งแก้ผ้า | ||
อารามกลัวโทงเทงปุเลงมา | โดนเอานางเต่านาเข้าต้ำปึง | ||
หญิงล้มชายคะมำคว่ำลงไป | ผลักไสเหวี่ยงวางอยู่ผางผึง | ||
หญิงดิ้นชายดันกันตะบึง | รู้สึกกายอายทะลึ่งไปจากกัน | ||
จระเข้คาบได้นางแม่ค้า | ทำศักดาโดดดำแม่น้ำลั่น | ||
อมแต่หัวตัวออกไว้นอกฟัน | คนบนบกอกสั่นทุกคนไป | ||
จระเข้คาบผู้หญิงวิ่งแหวกว่าย | ชูถวายพระอิศวรทวนน้ำไหล | ||
เห็นแต่คนก้นขาวเท้าแกว่งไกว | จนใจไม่อาจแก้แต่สักคน ฯ | ||
๏ จระเข้ล่องมาทางบางโผงเผง | เห็นฝูงเป็ดฟาดเป้งลงตายป่น | ||
ผุดดำร่ำมาในสาชล | จนกระทั่งบ้านกุ่มซุ่มในรก | ||
นางสาวสาวชาวบ้านมาอาบน้ำ | ขรัวตาดำเข้าไปโผล่โผผงก | ||
หวีดผวาผ้าหลุดมุดเข้ารก | เอามือปกเป็นจับปิ้งวิ่งขึ้นตะพาน | ||
จระเข้ไม่ทำดำต่อมา | คนระอาออกชื่อลือทุกบ้าน | ||
ล่องเลยลงมาหน้าบางบาน | ตรงเข้าบ้านผีมดกดเอากระบือ | ||
อ้ายมะเดื่อเงื้อถ่อขึ้นแทงปราด | จระเข้ฟาดหัวเด็ดกระเด็นปรื๋อ | ||
อีเม้ยโดดดิ้นแหยวแจวหลุดมือ | ร้องอึงอื้ออุยย่ายตะกายกะกุย | ||
ถึงหัวตะพานกบเจาเข้าบ้านตึก | ไล่สะอึกเอาผู้หญิงวิ่งผ้าลุ่ย | ||
ลงลุยเลนเบนว่ายกระจายกระจุย | โคลนมันดูดปรุกปรุยเปรอะทั้งกาย | ||
ความกลัวกุมภาประดาเสีย | ปลกเปลี้ยตีนอ่อนลงนอนหงาย | ||
ข้างเจ้าผัวกลัวเมียจะล้มตาย | มือตะกายเสือกก้นขึ้นบนดอน ฯ | ||
๏ ตั้งแต่อ่างทองสองฟากท่า | กลัวกุมภาทั่วหมดสยดสยอน | ||
เรือแพก็ขยาดไม่อาจจร | ลือกระฉ่อนชาวบ้านสะท้านใจ | ||
มดหมอมาดูก็สั่นหัว | ด้วยเห็นตัวกุมภานั้นโตใหญ่ | ||
แต่ชั่วปู่ชั่วย่ามาแต่ไร | ก็ยังไม่เคยเห็นเหมือนเช่นนี้ | ||
โจษกันจอแจออกแซ่ซ้อง | เถรก็ล่องมากระทั่งถึงกรุงศรี | ||
ฟาดฟันกัดคนเป็นภัสม์ธุลี | ชาวบุรีเล่าลืออื้ออึงไป | ||
แล้วเลยลงมาหน้าบ้านป้อม | แกคอยด้อมดอดฉวยเอาคนได้ | ||
ขบกัดขัดเสียที่รากไทร | แล้วเลยไล่เรือมาภูเขาทอง | ||
คนเห็นกุมภานั้นกล้าหาญ | ชายหญิงวิ่งพล่านทุกบ้านช่อง | ||
ถึงแพเจ๊กจอดหน้าท่าการ้อง | ขึ้นคาบเมียเจ๊กจ๋องเจ้าน้ำมัน | ||
อ้ายผัวร้องไอ๊หยาวิ่งมาช่วย | จระเข้ฉุดเจ๊กฉวยบั้นเอวมั่น | ||
จนผ้าผ่อนล่อนลุ่ยจากพุงพัน | อ้ายผัวหันหน้าจ้องร้องไห้งอ | ||
จระเข้เถรเห็นเจ๊กมันร้องไห้ | นึกขันกลั้นไม่ได้ก็หัวร่อ | ||
พอปากอ้าเจ๊กคร่าไม่รารอ | เมียก็พอหลุดได้ไม่ถึงตาย | ||
จระเข้ลงจากแพแร่เร็วมา | พบแม่ค้าคอนของมาร้องขาย | ||
พอร้องเหนอผุดเถ่อขึ้นข้างท้าย | ตีนตะกายปากกัดฟัดระยำ | ||
เรือนางญวณยืนแจวแหยวแหยวมา | จระเข้คว้าแจวปับงับขย้ำ | ||
แว้งผางหางฟาดลงกลางลำ | ญวณคะมำล้มอักคร่อมหลักแจว | ||
ทะลุมิดติดหลังชักไม่ไหว | เลือดไหลรินรินลงดิ้นแด่ว | ||
อ้ายเจ้าผัวตกประหม่าตาแบ้งแบว | ร้องแต่แจ๊วกำจุ่นหมุนในเรือ | ||
ชาวเรือแพชุลมุนวุ่นวาย | จระเข้ฉิบหายร้ายกว่าเสือ | ||
ใครไม่อาจค้าขายลงพายเรือ | เรือเหนือใหญ่น้อยถอยเข้าคลอง | ||
จระเข้เถรเห็นคนพากันกลัว | ขึ้นลอยตัวผ่านมาหน้าบ้านช่อง | ||
แว้งหางกลางน้ำทำคะนอง | ลอยล่องเลยมาหน้าตำหนักแพ | ||
พวกข้าราชการสะท้านใจ | เจ๊กลาวแขกไทยก็เซ็งแซ่ | ||
ริมตลิ่งเยียดยัดอยู่อัดแอ | ตำรวจแร่วิ่งเหย่าเข้าวังใน | ||
บ้างตรงมาที่ศาลาลูกขุน | ไปกราบเรียนเจ้าคุณท่านผู้ใหญ่ | ||
ว่ามีกุมภีล์กล้าเหลือใจ | มาเที่ยวไล่นาวาหน้าโรงเรือ | ||
มันยาวใหญ่ได้ประมาณสักสิบวา | ลือข่าวเล่าว่ามาแต่เหนือ | ||
เที่ยวกินสัตว์กัดคนจนเป็นเบือ | เห็นโตเหลือเกินขนาดชาติกุมภา ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านเจ้าคุณอธิบดี | ได้ยินว่ากุมภีล์นั้นเหลือกล้า | ||
กระทำฤทธิ์กินคนจนพารา | ต้องกราบทูลพระกรุณาฝ่าธุลี | ||
คิดพลางทางนุ่งผ้าสมปัก | ชักผ้ากราบพลันขมันขมี | ||
เข้าท้องพระโรงพลันอัญชลี | กราบทูลพระภูมีมิได้ช้า | ||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงเดช | ปิ่นปักนัคเรศนาถา | ||
บัดนี้เกิดมีซึ่งกุมภา | ลงมาแต่เหนือว่าเหลือร้าย | ||
แต่ศีรษะยาวกว่าห้าศอกเศษ | ทำฤทธิ์เดชกินคนเสียมากหลาย | ||
เข้ามาลอยล่องลำพองกาย | ขึ้นว่ายทวนคงคาหน้าโรงเรือ ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ | สำคัญคิดว่ากุมภามาแต่เหนือ | ||
เที่ยวกินสัตว์กัดคนป่นเป็นเบือ | มันใหญ่เหลือขนาดชาติกุมภีล์ | ||
ละไว้ไพร่บ้านพลเมือง | จะขุ่นเคืองยับยุ่งทั้งกรุงศรี | ||
จึงดำรัสตรัสสั่งอธิบดี | ให้หาหมอกุมภีล์ที่สำคัญ | ||
ทั้งหมอหลวงเชลยศักดิ์ให้หนักหนา | ช่วยกันจับกุมภามาห้ำหั่น | ||
ใครจับได้กูจะให้ซึ่งรางวัล | อย่าให้มันหนีได้ไปเดี๋ยวนี้ ฯ | ||
๏ ท่านเจ้าคุณผู้ใหญ่ได้รับสั่ง | บังคมคล้อยถอยหลังออกจากที่ | ||
สั่งกรมเมืองพลันในทันที | ให้หาหมอกุมภีล์ที่สำคัญ | ||
กรมเมืองรีบมาเที่ยวหาหมอ | สอสอหมอมาขมีขมัน | ||
ดีใจอยากได้ซึ่งรางวัล | สำคัญว่ากุมภีล์ที่เคยแทง | ||
เอาเครื่องคาดพุงนุ่งสนับเพลา | ราตคตคาดเข้าให้เข้มแข็ง | ||
มงคลสวมศีรษะทะมัดทะแมง | ถือชนักกวัดแกว่งลงนาวา | ||
พร้อมกันทันทียี่สิบลำ | เหนือน้ำใต้น้ำขนานหน้า | ||
ประนมมือถือชนักนั่งจังกา | ภาวนาสาดน้ำร่ำเข้าไป ฯ | ||
๏ ครานั้นกุมภาหลวงตาขวาด | ไม่ขยาดอาคมหาจมไม่ | ||
ดูหมอมันจะมาทำท่าอย่างไร | แกล้งลอยฟูดูใจไม่ไหวตัว | ||
พวกหมอออกขยาดไม่อาจใกล้ | เห็นยาวใหญ่ให้ขยั้นสั่นหัว | ||
เขี้ยวงอกกลอกตาดูน่ากลัว | บ้างโย้ตัวเยื้องพุ่งแต่ไกลไกล | ||
กูพุ่งเอ็งพุ่งเสียงผลุงผลัง | กระทบหนังกระท้อนเปล่าหาเข้าไม่ | ||
เปลี่ยนลำพุ่งซ้ำกระหน่ำไป | เถรแกล้งนิ่งไว้ให้สิ้นชนัก | ||
หมอเห็นจระเข้นิ่งยิ่งเข้าใกล้ | ชักหอกแทงไปจนกั่นหัก | ||
ไม่เข้าหนังสักนิดผิดใจนัก | ราวกับพุ่งซุงสักสิ้นกำลัง ฯ | ||
๏ ครานั้นกุมภาหลวงตาเวท | สำแดงเดชโดดปราดฟาดปั๋งปั๋ง | ||
แว้งวัดฟัดขย้ำด้วยกำลัง | เรือแตกพังระทมล่มทุกลำ | ||
ชุลมุนหมุนกลมดังลมกรด | พวกหมอมดทั้งหลายลงว่ายคล่ำ | ||
แว้งผางหาวฟาดขาดระยำ | ตายระทมจมน้ำสิ้นทุกคน | ||
ฝูงคนบนตลิ่งทั้งหญิงชาย | เห็นพวกหมอทั้งหลายตายเกลือนกล่น | ||
สยดสยองพองหัวทุกตัวคน | จระเข้ไม่ฟังมนตร์เห็นพ้นคิด | ||
พวกขุนนางน้อยใหญ่ที่ไปดู | ก็เต้นอยู่บนตะพานสะท้านจิต | ||
บ้างก็วิ่งมาเฝ้าเจ้าชีวิต | กราบทูลมูลกิจพระโองการ ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทราบเหตุว่ากุมภานั้นกล้าหาญ | ||
มดหมอมากมายก็วายปราณ | ดูอาการวิปริตผิดท่วงที | ||
จระเข้อะไรใหญ่หนักหนา | อาจองลงมาจนถึงนี่ | ||
สิ้นมือหมอมดหมดธานี | ไม่เคยเห็นเช่นนี้แต่ก่อนมา | ||
กวักพระหัตถ์ตรัสเรียกจมื่นไวย | เฮ้ยอย่างไรกุมภีล์นี้เหลือกล้า | ||
เอ็งสิเป็นคนดีมีวิชา | จะคิดอ่านเข่นฆ่ามันอย่างไร ฯ | ||
๏ ครานั้นพระไวยวรนาถ | ชาญฉลาดตรึกตราหาช้าไม่ | ||
จระเข้นี้มีฤทธิ์เห็นผิดใจ | จะมิใช่กุมภาที่สามัญ | ||
อย่าเลยจะกราบทูลแลอง | เปิดช่องให้ชุมพลคนขยัน | ||
ให้ได้มีความชอบประกอบครัน | ติดแล้วเท่านั้นก็ทูลไป | ||
ขอเดชะพระองค์ทรงธรณี | จระเข้จริงเช่นนี้หามีไม่ | ||
ทำศักดากล้าหาญชาญชัย | ทั้งโตใหญ่เกินขนาดชาติกุมภา | ||
จะเป็นจระเข้มนตร์ของคนร้าย | จึงฆ่าหมอล้มตายเสียหนักหนา | ||
จะให้พลายชุมพลผู้น้องยา | ไปพิเคราะห์กุมภาดูสักที ฯ | ||
๏ ได้ทรงฟังสั่งซ้ำมาบัดดล | เอออ้ายพลายชุมพลเข้ามานี่ | ||
แต่ถวายตัวมาก็หลายปี | ยังไม่มีธุระจะได้ใช้ | ||
มึงก็เป็นพงศ์เผ่าเหล่าทหาร | ดูลาดเลาเอาการจะใช้ได้ | ||
คราวจับเถรทดลองก็ว่องไว | เมื่อพ่อให้ก็บอกว่ามึงดี | ||
อ้ายกุมภากล้าคนพ้นประมาณ | ไล่สังหารผู้คนเสียป่นปี้ | ||
อย่านอนใจลงไปดูสักที | ว่ามันเป็นกุมภีล์ชนิดไร ฯ | ||
๏ ชุมพลรับโองการคลานถอยหลัง | รีบออกจากวังหาช้าไม่ | ||
มาถึงตำหนักแพแลลงไป | เห็นจระเข้าโตใหญ่มหิมา | ||
ฟูฟ่องล่องลอยอยู่หลังน้ำ | ทำทีอาการเห็นหาญกล้า | ||
เจ้าพลายเพ่งพินิจพิจารณา | เห็นผิดเพศกุมภาตามธรรมเนียม | ||
เหมือนชาติไก่กับงูดูตีนเห็น | เป็นจระเข้วิชาการจึงหาญเหี้ยม | ||
เข้าใจว่าใครไม่รู้เทียม | ทีเลียมมาจะเล่นอยุธยา | ||
ครั้นแจ้งประจักษ์ตระหนักใจ | ก็รีบไปทูลองค์พระพันวษา | ||
ขอเดชะพระองค์ทรงฤทธา | เห็นมิใช่กุมภาในวารี | ||
มันเป็นจระเข้มนตร์คนมารยา | แปลงมาลองทหารในกรุงศรี | ||
จึงมิได้ย่อท้อหมอกุมภีล์ | เห็นจะเป็นคนดีมามั่นคง | ||
ถ้าทรงพระกรุณาข้าพระบาท | อนุญาตโปรดตามความประสงค์ | ||
จะขอรับอาสาฝ่าบาทบงสุ์ | ลงไปรบรับจับมันมา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ได้ทรงฟัง | ทรงพระสรวลร่วนดังอยู่เริงร่า | ||
กระนั้นสิอ้ายชุมพลคนวิชา | ต้องอาสาทำชอบน่าขอบใจ | ||
ถ้าจับได้ไอ้จระเข้ตัวสำคัญ | กูจะให้รางวัลเป็นไหนไหน | ||
อ้ายพี่ชายอย่าช้าพากันไป | พ่อมันนั้นไซร้ก็อยู่กรุง | ||
ช่วยกันเตรียมเครื่องอานการสู้รบ | ไปคอยกูที่แพแต่ย่ำรุ่ง | ||
เล่นมันให้ลือเลื่องเฟื่องฟุ้ง | พรุ่งนี้กูจะลงไปดู ฯ | ||
๏ ครานั้นพี่น้องทั้งสองนาย | กราบถวายบังคมลามาทั้งคู่ | ||
บ่าวไพร่ตามหลังมาพรั่งพรู | ออกประตูไปบ้านพระกาญจน์บุรี | ||
ครั้นถึงจึงแจ้งข้อรับสั่ง | เล่าให้พ่อฟังเป็นถ้วนถี่ | ||
เดี๋ยวนี้มีกุมภากล้าฤทธี | มาไล่คนจนที่หน้าโรงเรือ | ||
มดหมอเท่าไรที่ไปทำ | มันฟาดล่มจมน้ำไม่มีแหลือ | ||
แล้วขบกัดฟัดตายเสียเป็นเบือ | ชุมพลดูรู้เชื่อว่าคนแปลง | ||
ได้ช่องน้องชุมพลจึงอาสา | รับจะจับกุมภาที่กล้าแข็ง | ||
โปรดให้บอกคุณพ่อช่วยขอแรง | ตกแต่งชุมพลไปราวี ฯ | ||
ครานั้นขุนแผนแสนสนิท | ทราบรับสั่งนิ่งคิดเป็นถ้วนถี่ | ||
แล้วชวนลูกว่าอย่าช้าที | มาไปที่บ้านพระไวยไปด้วยกัน | ||
ครั้นถึงจึงสั่งศรีมาลา | ให้จัดหาบัตรพลีทุกสิ่งสรรพ์ | ||
เครื่องอานเรียกหาเอามาพลัน | แป้งน้ำมันกระแจะเจิมเฉลิมพักตร์ | ||
ที่ในห้องหอจมื่นไวย | ให้จัดธูปเทียนไว้ดอกไม้ปัก | ||
มีดหมอเปลี่ยนปลอกหอกชนัก | พร้อมพรักเรียบเรียงไว้เคียงกัน | ||
ให้ชุมพลชำระสระสนาน | ขุนแผนอ่านคาถาเสกอาถรรพ์ | ||
ลูบไล้ว่านยาทาน้ำมัน | คงกระพันเขี้ยวงาสารพัด | ||
พอแสงทองพวยพุ่งจะรุ่งเช้า | ชุมพลเข้าหอพระที่สงัด | ||
นิ่งนั่งบริกรรมทำอาพัด | อัดใจเป่าปลุกเครื่องสาตรา | ||
เดชะพระเวทวิทยาการ | สะเทื้อนสะท้านด้วยฤทธิ์พระคาถา | ||
ชุมพลเห็นประสิทธีก็ปรีดา | จึงแต่งตัวลงมาที่หน้าเรือน | ||
ขุนแผนพระไวยพลายชุมพล | ทั้งสามคนรีบมาข้าตามเกลื่อน | ||
ตรงมาตำหนักแพไม่แชเชือน | อยู่ริมเขื่อนคอยองค์พระทรงธรรม์ ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ | ปัจจามิตรเกรงเดชทุกเขตขัณฑ์ | ||
สถิตแท่นแม้นมหาเวชายันต์ | เสมอชั้นบัณฑุกัมพล์อมรินทร์ | ||
สาวสุรางค์นางบำเรอเสนอนาถ | บำรุงราชรู้เชิงบันเทิงถวิล | ||
นางสำรับขับเพลงบรรเลงพิณ | บำเรอปิ่นปถพีให้ปรีดา | ||
ครั้นรุ่งเช้าเสร็จทรงสรงสนาน | นางอยู่งานตั้งเครื่องกันพร้อมหน้า | ||
ทรงระลึกนึกถึงเรื่องกุมภา | ดำรัสว่าวันนี้จะลงแพ | ||
ดูชุมพลมันประจญจับกุมภีล์ | นางพวกนี้จะไปอย่าให้แซ่ | ||
พระสั่งเสร็จเสด็จลงสู่แพ | ตำรวจแห่สองข้างทางกระบวน | ||
ถึงประทับกับเกยเลยลีลาศ | ขึ้นสู่อาสน์พระองค์ทรงพระสรวล | ||
ขุนนางราบกราบก้มบังคมควร | ทุกถ้วนล้วนเหล่าท้าวพระยา | ||
พวกท้าวนางต่างพากันลงไป | พวกนางในพร้อมหมดไม่ขาดหน้า | ||
พระวงศาข้าละอองรองบาทา | ทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในไปพร้อมกัน | ||
จึงตรัสว่าฮ้าเฮ้ยจมื่นไวย | อ้ายชุมพลอยู่ไหนอย่างไรนั่น | ||
พระไวยให้เรียกชุมพลพลัน | คลานมาอภิวันท์ข้างพระไวย | ||
รับสั่งถามเป็นกระไรอ้ายชุมพล | จะจับจระเข้มนตร์ได้หรือไม่ | ||
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงชัย | ถ้าไม่ได้เกล้ากระหม่อมก็ยอมตาย | ||
เออกระนั้นสิว่าให้น่าฟัง | มึงทำให้ได้ดังที่มาดหมาย | ||
ถ้าแม้นมึงฆ่ากุมภาตาย | อ้ายพลายเป็นรวยด้วยรางวัล ฯ | ||
๏ พลายชุมพลคำนับรับสั่ง | ถอยหลังลุกมาขมีขมัน | ||
ให้ถอยแพเข้ามาที่ท่าพลัน | อภิวันท์กราบงามลงสามรา | ||
อธิษฐานนมัสการพระเป็นเจ้า | จงปกเกล้าคุ้มภัยให้แก่ข้า | ||
คุณพระรณีพระคงคา | คุณบิดามารดาจงคุ้มภัย | ||
ก้าวลงแพคนแลละลานจิต | ต่างคิดกลัวหมดสยดสยอง | ||
ที่ผู้ใหญ่ให้พรออกแซ่ซ้อง | ที่สาวแส้แลจ้องไม่วางตา ฯ | ||
๏ ครานั้นโฉมเจ้าพลายชุมพล | ฤทธิรณเหลือดีมีสง่า | ||
โหงพรายรายรอบทั้งกายา | ให้ปล่อยแพออกมาที่กลางชล | ||
อ่านคาถาพระสยมภูวนาถ | ลำเลิกชาติกุมภามาแต่ต้น | ||
โปรดกำหราบสาปให้อยู่เมืองคน | และประทานพระมนตร์ปราบกุมภา | ||
โอมอ้ายนักกระผุดอย่านิ่งนาน | กูหรือคือพระกาฬจะมาฆ่า | ||
พระอิศวรท่านใช้ให้กูมา | ผลาญเอาชีวามึงขึ้นไป | ||
โอมอ้ายนักระผุดตัวไหนกล้า | จงเร่งผุดขึ้นมาอย่าช้าได้ | ||
เสกข้าวสารปะรางควานแล้วซัดไป | มึงกบดานอยู่ทำไมไอ้กุมภีล์ | ||
พรายใดที่ได้อยู่รักษา | อย่าช้าถอยไปให้พ้นที่ | ||
เสกน้ำซ้ำสาดไปทันที | พรายเถรต่างหนีลี้หลีกไป ฯ | ||
๏ ครานั้นกุมภาขรัวตาขวาด | แกไม่อาจกบดานนิ่งอยู่ได้ | ||
เห็นชุมพลบนแพแลขึ้นไป | จริงเหมือนนึกตรึกไว้ก็ยินดี | ||
อ้ายชุมพลมาให้ดังใจคิด | กูจะเอาชีวิตให้เป็นผี | ||
แกผุดฟ่องล่องลอยหลังนที | พระพันปีแลตะลึงเป็นช้านาน | ||
ผู้คนบนแพห้ามไม่หยุด | มันถอยรุดลงมาจนหน้าฉาน | ||
ที่ข้างในโขลนไล่ตะลีตะลาน | ช่างหน้าด้านนี่กระไรไม่มีฟัง | ||
เมื่ออยากดูแล้วก็นั่งจงฟังห้าม | รูปงามงามสันจะลายเสียดายหลัง | ||
ดูยิ่งห้ามยิ่งกล้าว่าไม่ฟัง | นางชาววังเหล่านี้ไม่มีอาย ฯ | ||
๏ ครานั้นชุมพลคนกล้า | เห็นกุมภาผุดขึ้นดังใจหมาย | ||
ผุดเหนือน้ำมันจะทำอันตราย | อันแสนร้ายนี่มันรู้ว่ากูมา | ||
จึงเสกด้ายสายสิญจน์เข้าสามเส้น | ขะมักเขม้นพันมือไว้คอยท่า | ||
มีดหมอเหน็บมั่นกับกายา | ถือชนักตั้งท่าจะชิงชัย ฯ | ||
๏ ครานั้นขรัวตาวิชาดี | ได้ทีโถมมาหาช้าไม่ | ||
แพชุมพลดังจะล่มลงจมไป | ระลอกใหญ่แต่ละลูกถูกกระเด็น | ||
เสียงซ่าคนแซ่แพแทบหัก | คึกคักตั้งตาคอยเขม้น | ||
พวกจ่าโขลนร้องด่าอีหน้าเป็น | ช่างทะเล้นนี่กระไรไม่ลื้นเลย | ||
ชาวประชามาดูอยู่สลอน | เขมรมอญพวกพม่าเสียงหวาเหวย | ||
ญวณกะเหรี่ยงเจ๊กฝรั่งยังไม่เคย | ไหนว่าเฮ้ยมึงกล้าก็มาดู | ||
นางเทวดาอายเอียงเสียงแปร่งแปร่ง | แมงขะแวงเฉมะราฉามะหลู | ||
เจ้าบอญว่าอาละกูลทิ้งปูนพรู | ลาวบ่ฮู้หันข้อยยั่นจริง | ||
ผู้คนมากมายหลายภาษา | บ้างยืนนั่งตั้งตาริมตลิ่ง | ||
เจ๊กกับแขกมันทะเลาะกันเพราะพริ้ง | เสียงหนุงหนิงเหนอหนาน่าเอ็นดู | ||
เจ้าแขกว่าเมาะโมหะโยเปาะ | เจ๊กทำเลาะอั๊วละไหม่ไอ้มู่ทู่ | ||
พอจระเข้ขึ้นก็ตื่นพรู | ยัดเยียดเบียดดูริมวารี ฯ | ||
๏ ครานั้นเจ้าพลายชายชุมพล | ฤทธิรณสามารถดังราชสีห์ | ||
เห็นกุมภามาใกล้ก็ได้ที | แทงกุมภีล์ดังฉาดเลือดสาดไป | ||
จระเข้เถรถูกแทงก็แว้งหาง | เสียงโผงผางแพป่นไม่ทนได้ | ||
ชุมพลตกจากแพคนแซ่ไป | พระทรงภพตกพระทัยพันทวี | ||
ดำรัสร้องว่าอ้ายไวยอย่างไรหวา | อ้ายกุมภาทับชุมพลลงกับที่ | ||
พวกขุนนางตกใจใช่พอดี | พระไวยกราบสามทีแล้วทูลไป | ||
ชุมพลไม่แพ้แก่กุมภา | สักประเดี๋ยวคงคร่าขึ้นมาได้ | ||
พวกขุนนางต่างนึกไม่ไว้ใจ | พวกข้างในเสียงแซ่แลตะลึง | ||
สงสารสาวคราวรักชุมพลนั้น | ให้พรั่นพรั่นหวั่นไหวอาลัยถึง | ||
บ้างซ่อนหน้าร้องไห้ใจคะนึง | พ่อพลายเมื่อไรจึงจะขึ้นมา ฯ | ||
๏ ครานั้นโฉมเจ้าพลายชุมพล | มุดน้ำดำทนด้วยคาถา | ||
ชักมีดหมอต่อสู้กับกุมภา | ข้างขรัวตาหักโหมโจมประจัญ | ||
เอาหางฟาดฉาดรับด้วยมีดหมอ | แกแว้งขบหลบล่อแล้วห้ำหั่น | ||
เถรกดชุมพลกอดต้นคอพลัน | เถรผุดชุมพลรันขึ้นขี่คอ | ||
พระทรงภพตบพระเพลาเอาสิหวา | ให้มันกล้าอย่างนี้สิลูกพ่อ | ||
เอาให้มันสัจจังอย่ารั้งรอ | พวกขุนนางต่างหัวร่อพลายชุมพล | ||
ขุนแผนนั่งตั้งตากับพระไวย | พวกข้างในวิ่งดูอยู่สับสน | ||
เสียงคนฮาลั่นสนั่นชล | ผู้ดีปนขี้ข้าไม่ว่าไร | ||
พวกข้าหลวงต่างมองแล้วร้องมี่ | พ่อชุมพลหล่อนช่างขี่จระเข้ได้ | ||
บ้างก็ว่าน่ากลัวมันสุดใจ | ทั้งยาวใหญ่ดูราวสักเก้าวา | ||
ฝ่ายโขลนจ่ามาห้ามมิให้แซ่ | นี่แม่แม่อึงไปเขาจะด่า | ||
ดูอะไรเขาให้ดูแต่ตา | อย่ามาฮาอยู่ที่นี่รีบหนีไป ฯ | ||
๏ ครานั้นเถรขวาดชาติกุมภีล์ | ชุมพลขี่อยู่บนหลังหาลงไม่ | ||
แกแว้งเหวี่ยงเบี่ยงสะบัดด้วยขัดใจ | ชุมพลได้ทีแทงด้วยแรงฤทธิ์ | ||
ฉับฉับยับย่อยล้วนรอยแทง | จนน้ำแดงดาดไปด้วยโลหิต | ||
จระเข้เถรเหลือทนก็พ้นคิด | พลางนิมิตด้วยพระเวทวิทยา | ||
อ่านคาถาถ้วนคำรบร้อยแปดที | เพศกุมภีล์ก็กลับเป็นมัจฉา | ||
ชุมพลหายกลายเป็นสกุณา | เที่ยวดำด้นค้นปลาในวารี | ||
คนที่ดูพรูตื่นยืนสะพรั่ง | ตำหนักแพเจียนจะพังลงกับที่ | ||
พระสนมกำนัลพวกขันที | อึงมี่แซ่ซ้องริมท้องชล ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | รับสั่งซักพระนายเป็นหลายหน | ||
อย่างไรนั่นมันหายทั้งสองคน | อ้ายชุมพลแพ้ชนะประการใด | ||
พระไวยตาจ้องดูน้องชาย | รู้แยบคายไม่พะวงสงสัย | ||
จึงทูลว่าไพรีแปลงหนีไป | ชุมพลนั้นแปลงไล่ไปติดตัว | ||
พอขาดคำก็เห็นเถรแปลงใหม่ | เป็นช้างงาตัวใหญ่มิใช่ชั่ว | ||
ขึ้นไล่คนแตกมาดูน่ากลัว | ฝ่ายชุมพลแปลงตัวเป็นเสือพลัน | ||
ตามขึ้นบนตลิ่งวิ่งไล่ช้าง | โดดผางเกาะงวงเข้าไว้มั่น | ||
ช้างสะบัดเสือกระเด็นเผ่นมาทัน | พอช้างหันเสือปุบตะครุบคอ | ||
พวกคนดูบ้างกลัวมัวจะหนี | บ้างยืนอยู่กับที่ไม่ย่นย่อ | ||
เสือเกาะได้ถนัดกัดที่คอ | จนช้างงองวงร้องออกก้องไป | ||
พวกขุนนางต่างพากันฮาลั่น | พระทรงธรรม์ยังพะวงสงสัย | ||
เสือหรือช้างข้างเราหาออไวย | ขอรับใส่เกล้ากระหม่อมพยัคฆา | ||
เสือกัดช้างป่นจนยืนนิ่ง | ช้างหายกลายเป็นลิงไปต่อหน้า | ||
ชุมพลก็แกล้งแปลงกายา | กลายเป็นงูเง่ากล้าเข้าราวี | ||
ฝ่ายพวกคนดูรู้ว่าแปลง | ต่างแทรกแซงจะดูอยู่ไม่หนี | ||
ใครหนอแปลงเป็นลิงทำสิงคลี | ถ้ามันดีก็ไม่พ้นชุมพลงู | ||
ลิงสู้งูขบทบกระหวัด | งูรัดเอาลิงลงกลิ้งอยู่ | ||
ลิงก็หายกลายเป็นขรัวตาครู | ชุมพลหายจากงูเป็นคนไป | ||
สองมือรวบรัดมัดเถรขวาด | อ้ายอุบาทว์นึกว่ามาแต่ไหน | ||
แล้วพามาหน้าที่นั่งในทันใด | บังคมไหว้คอยสดับรับโองการ ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงศักดิ์ | ปิ่นปักอยุธยามหาสถาน | ||
เห็นได้ตัวเถรมาหน้าพระลาน | ตบพระหัตถ์ฉัดฉานประภาษมา | ||
เออมันน่าขอบใจอ้ายชุมพล | ช่างกล้าหาญทานทนเป็นหนักหนา | ||
ความชอบครั้งนี้มีเต็มประดา | เอาเถิดหวาจะให้มึงให้ถึงใจ | ||
แล้วทรงขัดเคืองชำเลืองแล | ทุดอ้ายแก่โกโรกโหยกเหยกใหญ่ | ||
นี่มันเป็นชีบาประสาไร | เที่ยวกัดกินคนได้ผิดมนุษย์ | ||
ตั้งหน้ามาเล่นเอากรุงไกร | ดูกำเริบเติบใหญ่เป็นที่สุด | ||
คงเป็นพวกทรยศคดประทุษฐ์ | อุดหนุนกันให้แกล้งจำแลงมา | ||
ฮ้าเฮ้ยจมื่นศรีเสาวรักษ์ | เอาอ้ายเถรไปซักให้หนักหนา | ||
อย่ากลัวบาปติดไม้ใส่ขื่อคา | เอาให้ได้ความว่ามาทำไม | ||
จะมีใครใช้สอยมันมาแน่ | บ้านช่องช่องแขวมันอยู่ไหน | ||
ตัวของมันชื่อเรียงเสียงไร | เหตุใดจึงแกล้งแปลงอินทรีย์ | ||
สั่งแล้วเบือนพระพักตร์มาทักว่า | ดูราพระกาญจน์บุรีศรี | ||
อ้ายลูกชายพลายชุมพลคนนี้ | ไม่เสียทีเลี้ยงไว้ให้กับกู | ||
มันรู้เท่าเจ้าเล่ห์ที่แปลงมา | แล้วอาสากล้ารับไปต่อสู้ | ||
ได้เห็นฤทธิ์ด้วยกันมันพอดู | พอเป็นคู่กับอ้ายไวยใช้การงาน | ||
ตรัสเสร็จพระเสด็จลีลาศ | จากอาสน์คืนเข้าพระราชฐาน | ||
พวกนางในเสนาข้าราชการ | ก็เข้าวังกลับบ้านสำราญใจ ฯ | ||
๏ ฝ่ายเหล่าชาวประชาพากันกลับ | คับคั่งโจษกันสนั่นไหว | ||
ชมชุมพลคนดีออกมี่ไป | ช่างกระไรฤทธิ์เดชวิเศษครัน | ||
อ้ายเถรเฒ่าที่แกล้งจำแลงมา | มันก็ตัวครูบาที่กล้ากลั่น | ||
เอามดหมอถ่อพายตายตั้งพัน | เขาขยันมัดกลิ้งเป็นลิงทโมน | ||
งว่ากูดูเพลินจนลืมลุก | ช่างสนุกจริงจริงยิ่งกว่าโขน | ||
บ้างว่าเห็นงูกูเกือบโจน | มันเพนโพนมาใกล้ไม่ถึงวา | ||
ฝ่ายพวกแขกฝรั่งทั้งจีนจาม | ก็เดินชมกันตามเพศภาษา | ||
ไม่เคยเห็นที่ไหนแต่ไรมา | แต่เจ๊กกว่าเมืองจีนนั้นเคยมี | ||
เมื่อครั้งเจียงกูแหยแก้กลศึก | ก็รบกันครั่นครึกกระบวนผี | ||
แต่เป็นการนานช้ากว่าพันปี | เราได้เห็นครั้งนี้เป็นบุญตา | ||
ฝ่ายข้างผู้หญิงริงเรือ | บ่นว่าเบื่อรบพุ่งยุ่งหนักหนา | ||
ให้สียวไส้ไม่ดูได้เต็มตา | เวทนาแต่เจ้าพลายชายชุมพล | ||
รูปทรงบอบบางเหมือนอย่างเหลา | กลัวอ้ายเฒ่าเจ้ากรรมจะทำป่น | ||
บ้างก็ว่าเป็นห่วงถึงบวงบน | ให้หล่อนพ้นไภยันอันตราย | ||
ที่สาวสาวนิ่งให้ผู้ใหญ่ว่า | เดินก้มหน้ากรุ้มกริ่มยิ้มไม่หาย | ||
จะพลอยพูดจาด้วยก็ขวยอาย | ใจคะนึงถึงเจ้าพลายจนมาเรือน ฯ | ||
๏ ครานั้นจมื่นศรีเสาวรักษ์ราช | ชาญฉลาดว่องไวใครจะเหมือน | ||
มาจากตำหนักแพไม่แชเชือน | ร้องเตือนหลายชายพลายชุมพล | ||
จงระวังเถรเฒ่าเจ้ามารยา | คุมมาอย่าให้ใครสับสน | ||
แล้วสั่งตำรวจในให้ไล่คน | มาจนที่นั่งหลังโรงเรือ | ||
ให้เอาตัวขรัวตาเข้ามาถาม | มึงบอกความตามจริงอย่าฟั่นเฝือ | ||
ไยจึงมาฆ่าคนจนเป็นเบือ | ใครไว้เนื้อเชื่อใจใช้มึงมา ฯ | ||
๏ ครานั้นขรัวตานั่งหน้าเศร้า | แถลงเล่าเสกแสร้งแกล้งมุสา | ||
ไม่มีใครใช้สอยอาตมา | นึกอยากดูอยุธยาก็มาเอง | ||
พระหมื่นศรีว่าอ้ายนี่ไม่บอกจริง | มันกลอกกลิ้งพูดโกงทำโฉงเฉง | ||
ดูพาราฆ่าคนออกครื้นเครง | อ้ายแสนเพลงไยไม่ตรงมาดีดี | ||
คงจะมีผู้ใดใช้ลงมา | ตำรวจเอาหลักคาเข้ามานี่ | ||
ตำรวจหน้าพากันวิ่งเป็นสิงคลี | ปักหลักลงตรงที่โรงเรือพลัน | ||
ทั้งโซ่ตรวนขื่อคาเอามาครบ | พวกตำรวจเต้นหรบอยู่ตัวสั่น | ||
ผูกเถรขวาดเข้าไว้เร่งไม้พลัน | ห้อมล้อมหลายชั้นทั้งนอกใน ฯ | ||
๏ จึงพระหมื่นศรีผู้ปรีชา | ตั้งกระทู้ถามมาหาช้าไม่ | ||
จงแจ้งความตามจริงอย่านิ่งไว้ | มึงอยู่ไหนใครใช้ให้มึงมา | ||
เถรเจ็บแจ้งจริงทุกสิ่งสิ้น | ข้าอยู่เมืองเชียงอินทร์พระเจ้าข้า | ||
เดิมเป็นบ่าวสาวน้อยเจ้าสร้อยฟ้า | ชื่อว่าเถรขวาดจงแจ้งใจ | ||
ครั้นลงมาอยู่วัดพระยาแมน | ชุมพลลูกขุนแผนจับมาได้ | ||
เขาจะฆ่าฟันให้บรรลัย | จึงหนีไปเชียงอินทร์ถิ่นอาตมา | ||
จะมีใครใช้มาหามิได้ | แค้นใจพลายชุมพลคนจับข้า | ||
จึงได้แกล้งแปลงตัวเป็นกุมภา | มากรุงศรีอยุธยาในครานี้ | ||
ด้วยคาดว่าถ้าใครไม่ต่อสู้ | ชุมพลรู้คงอาสามาเร็วรี่ | ||
ถ้าหลงกลล่อลวงได้ท่วงที | จะกดจมวารีให้บรรลัย | ||
อันที่พระองค์ผู้ทรงยศ | ข้าหาได้คิดคดกบฏไม่ | ||
เป็นความสัตย์ทุกสิ่งจริงในใจ | อันโทษทัณฑ์ฉันใดได้เมตตา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระหมื่นศรีมีศักดิ์ | หัวร่อคักว่าอ้ายแก่แก้หนักหนา | ||
มึงโกรธแค้นชุมพลคนวิชา | ก็กินคนป่นมาด้วยเหตุใด | ||
มิรู้หรือกำหนดบทพระอัยการ | ฆ่าคนท่านประหารให้ตักษัย | ||
มึงบังอาจทรยศกบฏใจ | แก้ไขป่วยการล้วนมารยา | ||
แล้วสั่งให้เสมียนเขียนคำเถร | พอจวนเพลก็เข้าพระโรงหน้า | ||
เสด็จออกกราบทูลพระกรุณา | ให้ทราบตามวาจาของตาชี ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทราบเหตุใคร่ครวญเป็นถ้วนถี่ | ||
อ้ายนี่ไหนว่าตายเสียหลายปี | เออเดี๋ยวนี้ทำไมไพล่กลับมา | ||
ฮ้าเฮ้ยพระยาอนุชิต | ช่างปกปิดปดกูได้ต่อหน้า | ||
ว่าเถรเณรครั้งนั้นมรณา | เดี๋ยวนี้กลับเป็นมาจะว่าไร | ||
ท่านจางวางตำรวจไม่เงยหน้า | เกรงพระราชอาญาจนเหงื่อไหล | ||
กระหม่อมฉันโฉดเขลาเบาใจ | ด้วยผู้คุมยามในว่าวอดวาย | ||
ก็วางใจไม่พินิจพิจารณา | ให้ไปทิ้งป่าช้าด้วยมักง่าย | ||
ถ้ามิโปรดโทษมีถึงที่ตาย | ทูลแล้วก็ถวายบังคมคัล ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังจบตรัสไปทันใดนั่น | ||
แต่นี้ไปให้ตั้งเป็นแบบบรรพ์ | ถ้าหากคนโทษนั้นจะบรรลัย | ||
ให้หมายบอกมหาดเล็กแลตำรวจ | ออกไปตรวจเสียก่อนอย่าขาดได้ | ||
พร้อมกับกลาโหมมหาดไทย | แล้วจึงให้เอาศพไปป่าช้า | ||
แล้วจึงตรัสสั่งเจ้ากระทรวง | ทั้งลูกขุนศาลหลวงจงพร้อมหน้า | ||
ปรึกษาโทษเถรเฒ่าเจ้ามารยา | ว่ามาตามกำหนดบทพระอัยการ | ||
ฝ่ายลูกขุนศาลาแลศาลหลวง | ทุกกระทรงปรึกษาว่าขาน | ||
เถรขวาดโทษมหันต์อันธพาล | ควรประหารให้สิ้นชีวาลัย | ||
พระองค์ทรงฟังคำปรึกษา | พระโองการสั่งมาหาช้าไม่ | ||
อ้ายนี่เจ้ามารยาอย่าไว้ใจ | จงมอบให้อ้ายชุมพลเอาไปฟัน | ||
สั่งเสร็จพระเสด็จขึ้นข้างใน | นครบาลรีบไปขมีขมัน | ||
หมายบอกรับสั่งพระทรงธรรม์ | เถรนั้นมอบให้พลายชุมพล ฯ | ||
๏ ครานั้นพระไวยวรนาถ | พยาบาทขรัวตามาแต่ต้น | ||
อ้ายเถรเฒ่านี้ขลังทั้งเวทมนตร์ | แน่ะชุมพลอย่าได้วางใจมัน | ||
ขุนแผนส่งฟ้าฟื้นให้ลูกชาย | ทั้งสองนายสั่งกำชับคับขัน | ||
เจ้าจงเป็นเพชฌฆาตฟาดฟัน | แล้วหัวนั้นเอาไว้ให้จงดี | ||
เมื่อเสียบไว้ให้ผู้คุมคอยรักษา | ทุกเวลาอย่าประมาทคลาดจากที่ | ||
ให้ระวังนั่งยามตามอัคคี | พวกมันมีมันจะมาพากันไป | ||
ชุมพลรับสั่งไม่ยั้งหยุด | รีบรุดลามาหาช้าไม่ | ||
นำหน้าพาเถรตระเวนไป | นครบาลนายไพร่ก็คุมตาม | ||
ผู้คนพลเมืองนั้นดาษดื่น | แตกตื่นกันดูอยู่ล้นหลาม | ||
ตำรวจตรวจตราว่าห้ามปราม | คอยห้ามมิให้เข้าใกล้เคียง | ||
ครั้นถึงตะแลงแกงก็ยั้งหยุด | อุตลุดผู้คนไม่ขาดเสียง | ||
ปักหลักมัดเถรนั่งเอนเอียง | ชุมพลเหวี่ยงดาบฉาดขาดไป | ||
พวกคนผู้มาดูเขาเข่นฆ่า | จะมีใครเวทนาก็หาไม่ | ||
บ้างว่าสมน้ำหน้าสาแก่ใจ | พระเถรอะไรมันกินคน | ||
ที่เป็นญาติพี่น้องของคนตาย | ก็ด่าว่าวุ่นวายอยู่เกลื่อนกล่น | ||
แล้วต่างคนคืนสถานบ้านเรือนตน | ฝ่ายชุมพลสั่งผู้คุมคอยระวัง | ||
ศีรษะเสียบรักษาอย่าประมาท | เผื่อคนดีมันจะอาจเข้ามามั่ง | ||
จงพิทักษ์รักษาอย่าได้พลั้ง | กำชับสั่งเสร็จสรรพแล้วกลับมา ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ | ทศทิศกลัวแสยงทั้งแหล่งหล้า | ||
สถิตในแท่นที่ศรีไสยา | พระสนมดาษดาดังดาวราย | ||
บ้างโบกปัดพัดถวายให้สำราญ | บ้างอยู่งานนวดเคล้นพระเส้นสาย | ||
บ้างร้องรับขับเสียงจำเรียงราย | ทรงสบายเบิกบานสำราญฟัง | ||
ครั้นรุ่งแสงสุริยาภาณุมาศ | สกุณชาติแซ่ซ้องดังเสียงสังข์ | ||
เสด็จจากที่สุวรรณบัลลังก์ | พระสนมหมอบสะพรั่งประนมกร | ||
ทรงชำระสระสรงแล้วทรงเครื่อง | อร่ามเรืองเนาวรัตน์ประภัสสร | ||
ออกข้างหน้าว่าขานการนคร | ประทับที่บรรจถรณ์บัลลังก์ทรง | ||
พวกขุนนางต่างกราบอยู่พร้อมหน้า | งามสง่าดังท้าวครรไลหงส์ | ||
พร้อมเสนาอำมาตย์พระญาติวงศ์ | พระองค์ทรงรำพึงถึงชุมพล | ||
ดัวยมันปราบกุมภีล์มีความชอบ | ควรประกอบยศศักด์เป็นพักผล | ||
จะเอาไว้ใช้สอยอีกสักคน | แยบยลมันก็คล้ายกับอ้ายไวย | ||
ดำริพลางทางมีสีหนาท | ตรัสประภาษสั่งมาหาช้าไม่ | ||
อ้ายชุมพลทำชอบกูขอบใจ | อาสาไปไม่เห็นแก่ชีวิต | ||
ความชอบครั้งนี้มีหนักหนา | ถ้าไม่ได้กุมภาก็จะผิด | ||
ให้มันเป็นที่หลวงนายฤทธิ์ | จะเอาไว้ใช้ชิดอยู่กับกู | ||
กรมเมืองทหารในไปจัดการ | หาที่บ้านปลูกเรือนให้มันอยู่ | ||
อ้ายไวยเอ็งไปช่วยแลดู | มันหนุ่มนักจักไม่รู้เรื่องเรือนชาน | ||
แล้วจึงตรัสสั่งชาวคลังใน | จัดผ้าสมปักไหมสไบส่าน | ||
ทั้งเงินตราห้าชั่งตั้งใส่พาน | พระราชทานแล้วเสด็จขึ้นข้างใน ฯ | ||
๏ ครานั้นหลวงนายได้ประทาน | แสนสำราญยิ้มย่องผ่องใส | ||
ให้ข้าคนขนของไปทันใด | พระนายไวยนำหน้าออกมาพลัน | ||
ถึงบ้านบอกบิดาหาช้าไม่ | ต่างดีใจปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | ||
ทั้งวงศ์ญาติชื่นบานสำราญครัน | อยู่เป็นสุขทั่วกันแต่นั้นมา ฯ | ||