เสภาเรื่à¸à¸‡à¸¨à¸£à¸µà¸˜à¸™à¸à¹„ชยเชียงเมี่ยง
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
(→) |
(→) |
||
(การแก้ไข 4 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 927: | แถว 927: | ||
==== ==== | ==== ==== | ||
<tpoem> | <tpoem> | ||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ดำรงเวียง ฟังเชียงเมี่ยงปรีดิ์เปรมเกษมสานต์ | ||
+ | ก็โปรดให้บรรพชาไม่ช้านาน บริขารไตรแพรแห่แหนไป | ||
+ | ให้เชียงเมี่ยงอาบน้ำด้วยขันทอง พิณพาทย์แตรสังข์ฆ้องประโคมให้ | ||
+ | ประทานชื่อว่าพระศรีธนญไชย ให้ถามไต่ธรรมขันธ์พนันเมือง | ||
+ | ฝ่ายว่าพระศรีธนญไชย ได้ยศศักดิ์ยิ่งใหญ่ชื่อฦาเลื่อง | ||
+ | เสมอเดชาคณะเดชะประเทือง รับพนันแขกเมืองทูตธานี | ||
+ | จึ่งให้แต่งอาศนไว้หกสถาน สูงตระหง่านเท่ากันเปนศักดิ์ศรี | ||
+ | ดาดเพดานห้อยบุบผาพวงมาลี มีมุลี่ม่านบังตั้งเครื่องยศ | ||
+ | ถึงวันนัดให้นิมนต์ราชาคณะ ทั้งสามองค์ที่จะไต่ถามบท | ||
+ | ข้อธรรมปัณหามาลองทด ครั้นมาหมดให้นั่งอาศน์ปูลาดไว้ | ||
+ | ขึ้นที่สูงสามแห่งแต่งไว้ท่า จึ่งสนทนาพูดพลางทางปราไส | ||
+ | ถามบ้านเมื่องเรื่องอื่นพอชื่นใจ แกล้งหน่วงให้ชักช้าเวลาเปลือง | ||
+ | ฝ่ายพระสงฆ์สามองค์เห็นนานนัก แต่ถามซักกันไปไมได้เรื่อง | ||
+ | เห็นที่ว่าสามแห่งแต่งรุ่งเรือง มีทั้งเครื่องยศประดับรับเถรา | ||
+ | ก็เข้าใจว่าที่ท่านจะมาถาม เห็นเนิ่นนานในความแก้ปฤษณา | ||
+ | จึ่งเตือนว่าสักเมื่อไรท่านจะมา จวนเวลาบ่ายเย็นไม่เห็นเลย | ||
+ | ฝ่ายพระศรีธนญไชยไวปัญญา ว่าจะมาเดี๋ยวนี้ไม่เชือนเฉย | ||
+ | พระผู้เปนเจ้าเจนอรรถสันทัดเคย ทั้งสามองค์จะเฉลยบทบาฬี | ||
+ | ท่านรู้ธรรมคัมภีร์ฦกซึ้ง ไม่มีคู่เทียมถึงทั้งกรุงศรี | ||
+ | ข้าพเจ้าเปนแต่เชานอกบุรี เข้ามาเรียนคัมภีร์ศึกษาธรรม | ||
+ | พึ่งบวชใหม่อายุได้ยี่สิบห้า มาศึกษาเปนศิษย์คิดเรียนร่ำ | ||
+ | ปัญญาเขลารู้น้อยในถ้อยคำ ท่านทั้งสามแม่นยำยิ่งเกรียงไกร | ||
+ | ขอนิมนต์สนทนากันเล่นก่อน พึ่งฝึกสอนจักถามตามสงไสย | ||
+ | พุทธบิดาและไอยกาไซ้ นามอย่างไรบิตุรงค์องค์ไอยกา | ||
+ | อีกทั้งต้นวงษ์พงษ์ศักราช ลำดับถึงจอมปราชญ์นารถนาถา | ||
+ | พระนครที่สถิตย์กระษัตรา นามภาราชื่อใดจงไขความ | ||
+ | ราชาคณะสามองค์ฟังปุจฉา วิสัชนาได้แต่กษัตริย์สาม | ||
+ | ตั้งแต่พุทธบิดาแสดงนาม สิ้นทั้งสามถึงภูมินทร์นรินทรา | ||
+ | ซึ่งเปนชนกแห่งไอยกานารถ ต่อขึ้นไปไม่อาจแก้ปัณหา | ||
+ | บอกว่าจำไม่ได้สิ้นปัญญา ก็นิ่งจนวาจาอยู่เพียงนั้น | ||
+ | ฝ่ายว่าพระศรีธนญไชย เห็นว่าไม่ไหวดูอัดอั้น | ||
+ | จึ่งว่าผู้เปนเจ้ามาติดตัน ถามกันยังค้างข้อไม่ต่อไป | ||
+ | นี่แต่ศิษย์รู้น้อยพลอยมาถาม ยังแก้ไม่สิ้นความที่สงไสย | ||
+ | ถ้าพระครูสามองค์อันทรงไตร ท่านถามมาแก้ไม่ได้จะอับอาย | ||
+ | จะนิ่งไม่พริบตาอ้าปากค้าง แมลงวันหยอดไข่ขางไว้มากหลาย | ||
+ | ไม่รู้ตนจนในปัณหาทาย ขอจงได้อธิบายบาฬีมา | ||
+ | ฝ่ายพระสงฆ์สามองค์ราชาคณะ ไม่อาจจะแก้ได้ในปัณหา | ||
+ | ได้อายแก่ข้าเฝ้าเหล่าเสนา ทั้งพระองค์ปิ่นประชาทวาลี | ||
+ | ปราไชยในสนามทั้งสามองค์ ก็เลื่อนลงจากอาศน์มณีศรี | ||
+ | ทูตถวายสินพนันอัญชลี ขอมาขึ้นบุรีตามสัญญา | ||
+ | ถวายทั้งนาวาสิ้นห้าร้อย ให้เคลื่อนคล้อยสำเภาเข้าสู่ท่า | ||
+ | ราชาคณะก็ถวายพระพรลา ทูตไปทูลกิจจาเจ้านายตน ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ชนทั้งหลายชมพระศรีธนญไชย ว่าว่องไวเจนจัดไม่ขัดสน | ||
+ | กู้บุรีมีไชยไม่อับจน พระจุมพลตรัสให้อวยไชยพร ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายพระศรีธนญไชยได้ชำนะ สึกจากพระมาอยู่เหมือนแต่ก่อน | ||
+ | เปนข้าเฝ้าจอมนรินทร์บดินทร คู่นครเพิ่มโพธิสมภาร ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นล่วงกาลนานมามีข้าศึก ทำโห่ฮึกยกมายั้งตั้งอยู่ด่าน | ||
+ | ได้ทีจะเข้าตีป้อมปราการ ชิงกราชฐานนคราทวาลี | ||
+ | ชาวด่านทำใบบอกแจ้งราชการ ให้กราบทูลภูบาลในกรุงศรี | ||
+ | ขุนนางในตำแหน่งแจ้งคดี เข้าเฝ้าพระภูมีทูลกิจจา ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ ฟังอำมาตย์อ่านบอกในเลขา | ||
+ | ว่าข้าศึกยกพลพหลมา จะตีพระภาราทวาลี | ||
+ | จึ่งสั่งให้เตรียมทัพไว้สรรพเสร็จ ตีสิบเอ็ดจะเสด็จจากกรุงศรี | ||
+ | อำมาตย์รับพระบัญชาเจ้าธานี จัดพวกพลโยธีคอยฤกษ์ไชย | ||
+ | รับสั่งให้ธนญไชยตามเสด็จ ธนญไชยรับโองการมาบ้านตน ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายพระองค์ทรงเดชเกษประชา ไม่เห็นธนญไชยมาก็ยกพหล | ||
+ | ให้ทันฤกษ์ยามดีกรีธาพล ทรงช้างต้นมีกำลังมาตังคพงษ์ | ||
+ | หกสิบปีจึ่งหย่อนอ่อนนำลัง สีคล้ายครั่งล่ำสันสูงรหง | ||
+ | ทั้งห้าวหาญฝึกชำนาญการณรงค์ ควรคู่จักรพรรดิทรงนำกองทัพ | ||
+ | เรียกมันชันหูดูข้าศึก โกญจนาทก้องกึกไม่ถอยกลับ | ||
+ | แต่ช้างเดียวอาจฝ่าโยธาทัพ ตะลุยไล่ให้ยับสักหมื่นพัน | ||
+ | ประดับชาภรณ์เรื่องแลเครื่องมั่น ล้วนสุวรรณเนาวรัตน์เลือกจัดสรร | ||
+ | ห้อยภู่จามรีทั้งสองกรรณ งามดังเอราวรรณอมรินทร์ | ||
+ | เหล่าช้างดั้งช้างกันเปนอันดับ ก็แข่งขับเคียงคู่ธนูศิลป์ | ||
+ | พลม้าควบขนานสท้านดิน ส เทื้อนด้าวดังจะภินท์พสุธา | ||
+ | เหล่าโยธีมีแรงกำแหงเหี้ยม ล้ำสั่นเทียมยักษ์มารล้วนหาญกล้า | ||
+ | เลือกตัวดีมีฝีมือถือสาสตรา สองหัตถาแกว่งดาบปลายเปนเงา | ||
+ | เหล็กถลุงปรุงยาตำราอ้าง อุส่าห์กรางคลุกน้ำตาลปนกับเข้า | ||
+ | ให้นกกินจนสิ้นที่กรางเอา มูลกนกกะเรียนใส่เบ้าสูบหลายไฟ | ||
+ | จึ่งชุบแช่แร่พลวงล่วงขวบมา ผสมยาว่านต่างต่างแลหางไหล | ||
+ | แล้วหลอมหุงปรุงกับเหล็กพระขรรค์ไชย มาตีได้เปนอาวุธสุดจะคม | ||
+ | ทหารทวนล้วนสกรรจ์มั่นตั้นเติบ ใจกำเริบรบรับล้วนทับถม | ||
+ | อาบว่านปรุงยาทั้งอาคม ปากก็อมเหล็กไหลได้อยู่คง | ||
+ | ทหารปืนกว่าหมื่นชำนาญหัตถ์ ทั้งยิงยัดคล่องไวดังใจประสงค์ | ||
+ | มีเลขยันต์กันศึกนึกทนง การณรงค์เคยมีไชยไม่เกรงกลัว | ||
+ | ทหารดั้งเสโลห์ทั้งโตมร ธนูศรแม่นดีมิใช่ชั่ว | ||
+ | หมายจะพุ่งยิงใครไม่ผิดตัว ข้าศึกเห็นสั่นหัวระอามือ | ||
+ | พลรถเทียมสินธล้วนต่างสี สารถีขึ้นขับม้าง่าแส้ถือ | ||
+ | มีนายรถกุมหอกซัดถนัดมือ ล้วนตัวฦาเรี่ยวแรงกำแหงทยาน | ||
+ | เหล่าจตุรงค์สี่หมู่พรั่งพรูพร้อม แห่แวดล้อมจอมนรินทร์ปิ่นสถาน | ||
+ | ถึงที่พักจักประทับคชาธาร มีโองการให้หยุดพลนิกาย | ||
+ | ทรงคอยศรีธนญไชยมิได้มา จนเวลาสุริฉันตวันบ่าย | ||
+ | ให้หยุดช้างพระที่นั่งพอยั้งสบาย โยธารายล้อมวงองค์ขัติยา ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายศรีธนญไชยกลับไปบ้าน จึงคิดอ่านจับไก่ไว้นักหนา | ||
+ | ใส่กรงขังสมดังจิตรจึ่งนิทรา ตื่นขึ้นกินโภชนาสบายใจ | ||
+ | แล้วเที่ยวเล่นกับเพื่อนเชือนแชเฉย จนล่วงเลยเวลาหามาไม่ | ||
+ | กลับไปบ้านนอนกลางวันไม่พรั่นใจ ตื่นขึ้นบ่ายแวให้ผูกช้างพลัน | ||
+ | เอาไก่ผูกท้ายช้างกับสัปคับ เสบียงอาหารเสร็จสรรพขนเลือกสรร | ||
+ | หีบผ้ากาน้ำของสำคัญ ขึ้นช้างไสไปให้ทันทัพหลวงจร | ||
+ | รีบขับช้างย่างยาวก้าวเหยียดเหยาะ หวังจำเภาะทัพใหญ่ไม่หยุดหย่อน | ||
+ | พอบ่ายเย็นเห็นพหลพลนิกร พักร้อนล้อมพลับพลาพนาวัน | ||
+ | รีบให้ถึงคชาเข้ามาเฝ้า ถวายบังคมก้มเกล้าขมีขมัน | ||
+ | ฝ่ายพระองค์ดำรงเมืองขุ่นเคืองครัน ตรัสว่าเฮ้ยอย่งไรนั่นจึงช้านาน | ||
+ | สั่งให้มาก่อนไก่ทำไมอยู่ ให้ตัวกูคอยจนบ่ายสุริยฉาน | ||
+ | ไม่ทำตามคำว่าต้องท่านาน จงให้การมาอย่าช้าว่ากระไร | ||
+ | ธนญไชยได้ฟังรับสั่งถาม จึงทูลความว่าหม่อมฉานมาก่อนไก่ | ||
+ | ผูกไว้ที่ท้ายช้างร้องอึกไป ขึ้นนั่งได้ก่อนไก่แล้วจึงมา | ||
+ | มิได้ทำล่วงเกินพระโองการ ควรมิควรขอปรทานซึ่งโทษา | ||
+ | เปนช้างเดียวเปลี่ยวใจจึงได้ช้า พระอาญาล้นเกล้าด้วยเบาความ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นธิบดินทร์นรินทร์ราช ฟังทูลว่าเห็นฉลาดไม่เข็ดขาม | ||
+ | จะให้ฆ่าเสียก็ได้ไม่ทำตาม ทรงตรองความเห็นจริงแล้วนิ่งไว้ | ||
+ | จึงดำรัสการรบกับเสนา ตามมหาพิไชยสงครามใหญ่ | ||
+ | จงตั้งจิตรรบตีให้มีไชย ทั้งนายไพร่อย่าย่อท้อต่อสงคราม | ||
+ | แล้วยกพลล่งไปใกล้วถึงด่าน พวกข้าศึกไม่ต่อต้านกลัวเข็ดขาม | ||
+ | เห็นรี้พลคร้นครึกให้นึกคร้าม ดูล้นหลามแน่นป่าไม่กล้ารบ | ||
+ | กำลังพลตนน้อยก็ถอยล่า ยกโยธารีบลี้เลี่ยงหนีหลบ | ||
+ | แพ้พ่ายไปแต่ไกลไม่ทันรบ พระจอมภพนคราทวาลี | ||
+ | เห็นข้าศึกสัตรูหมู่คิดร้าย แตกกระจัดกระจายกระเจิงหนี | ||
+ | ก็ยกทัพกลับคืนเข้าบุรี ทรงคอยที่จะเอาผิดธนญไชย ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครั้งหนึ่งพระองค์ทรภพทวาลี เสด็จประพาศสวนศรีอุทยานใหญ่ | ||
+ | ชมพฤกษาดอกผลที่ปลูกไว้ สำราญพระไทยรื่นเริงบรรเทิงครัน | ||
+ | ทอดพระเนตรผลพริสุกแดงฉาน เต็มทั้งต้นภูบาลเกษมสันต์ | ||
+ | ดำริห์ไว้ในพระไทยให้ผูกพัน จะเสวยพริกนนั้นสักเวลา | ||
+ | เสด็จกลับยังพระราชวังสถาน นฤบาลดำรัสตรัสให้หา | ||
+ | ธนญไชยตัวดีมีปัญญา รับสั่งว่าไปเก็บพริกมาไวไว | ||
+ | กูจะกินกับอาหารเวลานี้ รีบไปที่สวนอย่าช้าเก็บมาให้ | ||
+ | ธนญไชยรับโองการคลานออกไป ถึงอุทยานหมายใจจะเก็บพริก | ||
+ | เห็นสุกแดงเต็มต้นไม่หล่นร่วง ครั้นจะล่วงเกินเข้าเก็บด้วยเล็บหยิก | ||
+ | ไม่รับสั่งให้เด็ดให้เก็บพริก ลมไม่พัดให้ระดิกกระเด็นเลย | ||
+ | จะเด็ดเอาที่บนต้นก็เกินรับสั่ง ครั้นจะนั่งคอยดูอยู่เฉยเฉย | ||
+ | ก็ป่วยการจำจะผิวปากตามเคย ให้พระพายพัดรำเพยพยุมา | ||
+ | คิดแล้วจึ่งเข้านอนอยู่ใต้ต้น คอยท่าให้พริกหล่นตามปรารถนา | ||
+ | ฝ่ายพระองค์พงษ์กระษัตริย์ขัติยา คอยธนญไชยเห็นช้าเนินนานนัก | ||
+ | จึงตรัสใช้มหาดเล็กไปตามดู อย่างไรอยู่ถามไถ่ให้ประจักษ์ | ||
+ | เก็บพริกที่สวนควรฤาอยู่ช้านัก เที่ยวเชือนชักกาลให้เนินเกินเวลา | ||
+ | มหาดเล็กได้รับสั่งมายังสวน เที่ยวทบทวนเสาะแสดงทุกแห่งหา | ||
+ | ได้ยินเสียงผิวปากใกล้าพลับพลา ก็ตามไปไม่ช้าได้พบตัว | ||
+ | เห็นนอนอยู่ใต้ต้นพริกกะดิกนิ้ว กำลังผิวปากจึ่งเตือนว่าเจ้าอยู่หัว | ||
+ | สั่งให้เก็บพริกมานอนซุกซ่อนตัว เหมือนไม่กลัวรับสั่งใช้ให้มาดู | ||
+ | ธนญไชยตอบว่ามีโองการ ให้เก็บพริกในอุทยานก็จริงอยู่ | ||
+ | แต่ผลพริกมิได้หล่นก็คอยดู จะเด็ดบนต้นเปนสู่รู้ล่วงเกินไป | ||
+ | จะนั่งคอยพริกหล่นก็ป่วยการ จึ่งคิดอ่านเรียกชมพยุใหญ่ | ||
+ | ให้พัดผลพริกหล่นเหมือนอย่างใจ จะเก็บไปถวายองค์พระทรงธรรม | ||
+ | แม้นกริ้วกราดว่ามาช้าก็ควรการ ด้วยทรงคอยอยู่นานจึ่งหุนหัน | ||
+ | ถ้าจะเด็ดพริผลบนต้นนั้น สักสามหนก็จะทันไม่เนิ่นนาน | ||
+ | นายจงไปกราบทูลตามมูลเหตุ ให้ทรงเดชทราบตามที่คิดอ่าน | ||
+ | มหาดเล็กมาสนองพระโองการ ตามธนญไชยว่าขานให้กราบทูล ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ได้ทรงฟัง ที่แค้นคั่งค่อยคลายกริ้วหายสูญ | ||
+ | ทรงเห็นจริงด้วยได้สั่งตามเหตุมูล ที่อาดูรเดือดดาลสำราญไป ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายว่าธนญไชยไม่ได้พริก ด้วยทำพลิกแพลงให้ควรสำนวนใหญ่ | ||
+ | เห็นนานช้ากลับมาเฝ้าพระทรงไชย ทูลตามเหตุที่ไม่ได้จนสิ้นความ ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายพระจอมนครเรศประเทศสถาน ฟังธนญไชยทูลสารไม่เข็ดขาม | ||
+ | ทรงดำริห์ว่าอ้ายนี่มิใช่ทราม จะไล่ถามสักกี่หนไม่จนเลย | ||
+ | จึ่งดำรัสถาว่าปัญญนั้น เองขังคั่นไว้ในท้องคอยตรองเฉลย | ||
+ | ฤามีตัวปรากฎไม่หมดเลย จงเปิดเผยลอกมาอย่างอำพราง | ||
+ | ธนญไชยทูลว่าปัญญาหม่อมฉัน ในท้องนั้นไม่สู้มากก็มีบ้าง | ||
+ | มีตัวข้างนอกเลี้ยงไว้มิได้พราง ใส่ปล้องไม้หม่อมแนวางไว้ในเรือน | ||
+ | เพราะเปนตัวบินได้ต้องใส่กระบอก แม้นปล่อยออกก็จะหนีด้วยมีเพื่อน | ||
+ | จึ่งขังใส่ปล้องไม้มิให้เชือน ต้องเลี้ยงไว้ในเรือนให้มิดชิด | ||
+ | พระทรงฟังว่าซึ่งปัญญาได้ ใส่ปล้องไม้ซ่อนไว้ฦกผนึกปิด | ||
+ | ดำรัสว่าตัวปัญญาเจ้าความคิด ของเองมากหลายชนิดจงแบ่งปัน | ||
+ | กูจะแจกอีสาวสาวพวกชาวใน มันจะได้มีปัญญามากเข้มขัน | ||
+ | เหมือนตัวเองไม่มีคู่รู้เทียมทัน อย่างไรนั่นให้มิให้จงไขความ | ||
+ | ธนญไชยได้ฟังรับสั่งขอ นึกหัวร่ออยู่ในใจไม่เข็ดขาม | ||
+ | จึงทูลว่าสิ่งนี้มิใช่ทราม ที่พึงใจต้องห้ามหวงระวัง | ||
+ | แด่พระเดชพระคุณเปนที่ยิ่ง เปนความจริงไม่อยากให้ใครสมหวัง | ||
+ | ต้องถวายมิไคิดจะปิดบัง ด้วยใจตั้งพึ่งพระโพธิสมภาร | ||
+ | กราบทูลแล้วบังคมลามาสู่เรือน คิดจะใคร่ปิดเงื่อนไม่แผ่ซ่าน | ||
+ | ได้สิ่งไรหนอถวายพระภูบาล นึกรำคาญแล้วคิดได้ไวปัญญา | ||
+ | อย่าเลยนะจะถวายตัวต่อผึ้ง คิดแล้วจึ่งเที่ยวทุกแห่งแสวงหา | ||
+ | เปนห้าวันได้ตัวผึ้งต่อแตนมา ใส่กระบอกปิดฝาไว้เรือนตน ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ดำรงสถาน คอยธนญไชยไม่พบพานก็ทรงบ่น | ||
+ | รับสั่งให้หาพระสนมมาทุกคน ตรัสว่าปัญญาไม่จนธนญไชย | ||
+ | มันบอกว่ามีตัวเลี้ยงไว้มาก อีเหล่านี้ใครอยากจะใคร่ได้ | ||
+ | พระสนมทูลทุกคนอยากจะได้ไว้ ปัญญาเหมือนศรีธนญไชยจะใคร่มี | ||
+ | จึงตรัสว่าถ้าอยากได้ไปหามัน ขอแบ่งสรรปัญญาอ้ายขุนศรี | ||
+ | พระสนมบังคมอัญชลี ทูลลาพระภูมีออกจากวัง | ||
+ | ทั้งโขลนจ่าทนายเรือนกล่นเกลื่อนมา ตำรวจวังนำน่ากำกับหลัง | ||
+ | มาบ้านศรีธนญไชยไม่รอรั้ง กรมวังบอกว่ามีพระโองการ | ||
+ | รับสั่งใช้ให้มาขอตัวปัญญา พระสนมมาหาจนถึงบ้าน | ||
+ | จงแบ่งปันตัวปัญญาอย่าช้านาน ตามโองการพระภูมินทร์นรินทร | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
+ | |||
==== ==== | ==== ==== | ||
<tpoem> | <tpoem> | ||
+ | ๏ ฝ่ายขุนศรีธนญไชยครั้นได้ฟัง ทำเปนนั่งเศร้าทอดฤไทยถอน | ||
+ | ในอุบายเหมือนเสียดายต้องทุกข์ร้อน จึ่งตอบว่าแต่ก่อนรับสั่งมา | ||
+ | ให้ข้าพเจ้าเอาปัญญาไปถวาย ความเสียดายเพราะยังรักอยู่นักหนา | ||
+ | บัดนี้มีพระราชบัญชา ให้ท่านข้างในขอปัญญามาถึงเรือน | ||
+ | จะขืนขัดก็ไม่ได้ต้องให้ปัน แต่คนละตัวเท่านั้นเลี้ยงเปนเพื่อน | ||
+ | พอมีเชื้อต่อพันธุ์ให้เต็มเรือน ตัวเดียวเหมือนมากด้วยฬ่อต่อกันมา | ||
+ | ว่าแล้วหยิบกระบอกมาจากห้อง พระสนมต่างร้องขอบ้างหนา | ||
+ | เข้าเบียดเสียดแซกกันขอปัญญา ลางคนว่าอยากได้มากหลายหลากกัน | ||
+ | ธนญไชยว่าอยากได้ทำไมมาก แต่คนละตัวเถอะจะภาคส่วนแบ่งสรร | ||
+ | พอเปนเชื้อเลี้ยงในเรือนเหมือนกัน ข้าเจ้าจะทำพันธุ์ต่อต่อไป | ||
+ | ทั้งจะถวายพระองค์ดำรงราษฎร์ ตัวฉลาดเกิดปัญญาหาพอไม่ | ||
+ | จึ่งให้พระสนมนางข้างฝ่ายใน แบฝ่ามือว่าจะให้ตัวปัญญา | ||
+ | ฝ่ายนางในแบหัดถามาทุกคน ขุนธนญเปิดกระบอกขึ้นต่อหน้า | ||
+ | ตัวผึ้งต่อแตนแล่นออกมา ท่านข้างในต่างคว้าจะจับตัว | ||
+ | ตัวปัญญาสามชนิดมีพิศม์ร้าย ก็ต่อยกายแขนหน้าบ้างต่อยหัว | ||
+ | ทั้งปรางถันคันเจ็บไปทั้งตัว สัตว์ชาติชั่วเข้าร่มผ้าไม่ว่าใคร | ||
+ | ปะที่ไหนต่อยให้ทุกแห่งหน พระสนมเหลือทนบ้างร้องไห้ | ||
+ | เสียงกราดกรีดหวีดว่าธนญไชย แกล้งจะให้ล้มตายได้อายคน | ||
+ | ธนญไชยทำเปนห้ามตัวปัญญา ทำไมต่อยท่านเล่าหวาออกปี้ป่น | ||
+ | อย่าทำเช่นนั้นจงหยุดอย่าซุกซน ตัวปัญญาก็บินวนไล่ต่อยตอม | ||
+ | ธนญไชยว่าเพราะท่านทำให้วุ่น มาแย่งชิงชุลมุนไม่ค่อยถนอม | ||
+ | ตัวปัญญาขึ้งโกรธโลดไล่ตอม ข้าพเจ้าก็ต่อยงอมไปเหมือนกัน | ||
+ | โกรธขึ้นมามิได้ว่าเปนเจ้าของ แม้นจับต้องเข้าไม่ได้ใจหุนหัน | ||
+ | จะห้ามปรามอย่างไรก็ไม่ทัน สุดจะกั้นกางได้ว่องไวนัก | ||
+ | พรสนมต้องต่อแตนมันต่อย บวมผื่นยับย่อยเจ็บปวดหนัก | ||
+ | ต่างวิ่งหนีล้มคว่ำคะมำภักตร์ นอกชานหักตกเรือนเรียกเพื่อนอึง | ||
+ | บ้างหน้าแตกแขนหวะโลหิตไหล โดนกันเองวุ่นไปหนีต่อผึ้ง | ||
+ | ต่างต่างวิ่งย่างยาวก้าวตะบึง มาจนถึงที่เฝ้าเจ้าจุมพล ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายพระองค์ทรงนิเวศน์ครองเขตรขัณฑ์ เห็นพระสนมกำนัลวิ่งสับสน | ||
+ | แกล้งให้ได้อับอายไม่หายเลย มิได้เคยเจ็บกายแทบวายปราณ ฯ | ||
+ | กายาเหล่านารีล้วนพิกล บวมผื่นไปทุกคนแปลกไนยนา | ||
+ | จึ่งรับสั่งถามว่าเปนเหตุไฉน เออเมื่อไปแต่งกายงามสง่า | ||
+ | ครั้นเมื่อกลับมาบวมผิดในตา ทั้งกายาผิดผื่นบื่นโนนอ | ||
+ | พระสนมทูลว่าปัญญาต่อย มิใช่น้อยบินร่อนว่อนเปรียวปร๋อ | ||
+ | ตัวลายลายเหลืองเหลืองต่อยคางคอ เหมือนผึ้งต่อแตนมีพิศม์ไม่ผิดกัน | ||
+ | ต่อยที่ไหนร้อนดังไฟทั้งปวดเจ็บ ซ่านทั่วกายชาเหน็บไม่เศกสรร | ||
+ | เกล้าหม่อมฉานเหลือทนบ่นรำพรรณ ไม่เคยเปนเช่นนั้นอยู่ในเวียง | ||
+ | กราบทูลกล่าวโทษธนญไชย ร่ำพิไรโศกสอื้นครั้นครื้นเสียง | ||
+ | ว่าพระองค์ทรงเมตตาได้ชุบเลี้ยง ไม่ลำเอียงแนทาข้าทั้งปวง | ||
+ | มีพระคุณล้นเกล้าเหล่าหม่อมฉัน พระทรงธรรม์อาชญาก็ใหญ่หลวง | ||
+ | มิได้ทรงให้เจ็บช้ำระกำทรวง น้ำเนตรร่วงเหมือนครั้งนี้ไม่มีเลย | ||
+ | ธนญไชยทำแก่เกล้าหม่อมฉาน เหลือประมาณจะกราบทูลมูลเฉลย | ||
+ | ครานั้นพระองค์ดำรงโลกย์ เห็นสาวสรรค์เศร้าโศกแซ่เสียงประสาน | ||
+ | ทูลกล่าวโทษธนญไชยให้เดือดดาล พระภูบาลซักซ้ำให้คำยืน | ||
+ | ว่าตัวปัญญานั้นคล้ายผึ้งต่อแตนหรือ พระสนมประนมมือไม่ฝ่าฝืน | ||
+ | ทูลคงคำซ้ำประดังว่ายั่งยืน พระยิ่งตื้นตันแน่นแค้นพระไทย | ||
+ | ตรัสว่าจริงเหมือนอย่างว่าจะฆ่าเสีย เลี้ยงไว้ไยเปลืองเบี้ยหวัดที่ให้ | ||
+ | น้อยฤานั่นอ้ายขุนศรีธนญไชย มันทำได้ไม่เกรงกลัวหัวจะปลิว | ||
+ | จึ่งรับสั่งว่าให้หาตัวเข้ามา ตำรวจรับพระบัญชาวิ่งออกฉิว | ||
+ | ถึงบ้านศรีธนญไชยไม่บิดพลิ้ว พูดขึ้นนิ้วบอกสิ้นตามโองการ | ||
+ | ว่าบัดนี้พระสนมทูลกว่าวโทษ ในคำโจทย์ว่าท่านทำอาจหาญ | ||
+ | ทำงามหน้าแล้วครั้งนี้มีโองการ ให้หาท่านไปไวไวเข้าในวัง | ||
+ | ธนญไชยได้ฟังคำตำรวจว่า ก็รีบมาเฝ้าพระบาทต่อภายหลัง | ||
+ | ฝ่ายพระจอมนคเรศนิเวศน์วัง ให้แค้นคั่งมิได้ตรัสอัดอั้นเคือง | ||
+ | ทอดพระเนตรเห็นขุนศรีธนญไชย ด้วยนางในทูลยกโทษอยู่หลายเรื่อง | ||
+ | น้อยพระไทยไม่อยากได้ไว้ในเมือง จะใคร่ฆ่าแก้เคืองขัดฤไทย ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายขุนธนญคนบิดพลิ้วเห็นกริ้วกราด เพื่อนองอาจมิได้พรั่นไม่หวั่นไหว | ||
+ | จึ่งกราบทูลว่ามีรับสั่งไว้ พระโปรดให้นำตัวปัญญามา | ||
+ | หม่อมฉันก็จะจับมาถวาย ครั้นสนมทั้งหลายออกมาหา | ||
+ | ว่าโปรดให้มางอนง้อขอปัญญา ครั้นเปิดไขตัวปรีชาจากปล้องไม้ | ||
+ | ต่างคนต่างแย่งชิงกันจะจับ ตัวปัญญาหวนกลับมาต่อยให้ | ||
+ | ถึงเกล้ากระหม่อมผู้เจ้าของซึ่งเลี้ยงไว้ ก็ต่อยยับแล้วหนีไปจนสิ้นตัว | ||
+ | ครั้นจะว่าก็เกรงพระอาชญา ด้วยว่ามีบัญชาเจ้าอยู่หัว | ||
+ | ก็จนใจไม่ว่าขานหม่อนฉานกลัว ควรมิควรเปนคนชั่วไม่มีดี ฯ | ||
+ | ฝ่ายพระองค์ทรงฟังให้คั่งแค้น ด้วยห้ามแหนแสนสุรางค์มาป่นปี้ | ||
+ | ทั้งนางในกล่าวโทษยกคดี พระผุ้ผ่านทวาลีขุ่นเคืองนัก | ||
+ | ถอดพระแสงทรงง่าจะฆ่าขุนศรี แล้วกลับมีพระสติทรงหวนหัก | ||
+ | ความพิโรธให้หย่อนค่อยผ่อนพัก นึกถึงคำทรงศักดิ์พระบิตุรงค์ | ||
+ | ได้ฝากฝังครั้งประชวรจวนล่วงลับ ทรงกำชับไม่ให้ฆ่าตามประสงค์ | ||
+ | ถึงผิดพลั้งรั้งรอให้ชีพคง ครั้นฆ่าลงบ้านเมืองจะวุ่นวาย | ||
+ | หนึ่งพระบรมอัฐิจะติโทษ เกิดพิโรธร้าวรานไม่รู้หาย | ||
+ | ก็คืนพระแสงคงฝักจำหลักลาย ครั้นค่อยคลายขุ่นเคืองในเรื่องความ | ||
+ | ก็ทรงวางพระแสงดแล้วตรัสวตวาด เฮ้ยอ้ายชาติชั่วทำแต่หยาบหยาม | ||
+ | ตั้งแต่นี้อย่าเข้ามาวู่วาม ไม่ขอดูหน้าเองจะชามมาหลอกล้อ | ||
+ | ไปเสียเดี๋ยวนี้อ่ารีรอ เฮ้ยตำรวจไสคอเสียจากวัง ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นขุนศรีธนญไชย เห็นพระองค์เคืองฤไทยยังแค้นคั่ง | ||
+ | กราบถวายบังคมลาไม่รอรั้ง ในใจตั้งจะแก้แค้นพระทรงฤทธิ์ | ||
+ | ไม่สู้ทุกข์สู้ร้อนนอนสบาย ตรองไม่วายจะกลบเกลื่อนที่ความผิด | ||
+ | แก้ให้ได้สักครั้งตั้งใจคิด พอเจ็ดวันจอมอิศราประชา | ||
+ | เสด็จเลียบพระนครปทักษิณ ธนญไชยขุดดินไว้คอยท่า | ||
+ | ให้เปนหลุมฝังศีศะในพสุธา ชูแต่ก้นขึ้นมาขวางน่าขบวน | ||
+ | ครั้นเสด็จมาถึงประเทศนั้น ทอดพระเนตรเห็นขันก็ทรงพระสรวล | ||
+ | รับสั่งว่าใครทำดูไม่ควร ขวางขบวนชี้ก้นพิกลกาย | ||
+ | อำมาตย์ทูลมูลคดีว่าศรีธนญ ฝังศีศะชูแต่ก้นขึ้นถวาย | ||
+ | ไม่ให้ทอดพระเนตรหน้าเปนคนร้าย ทำอุบายซ่อนเศียรให้เมี้ยนมิด | ||
+ | รับสั่งไว้ว่าไม่ขอเห็นหน้า ฝังภักตราด้วยว่าตนเปนคนผิด | ||
+ | ให้ทอดพระเนตรแต่กาหายหัวมิด ถวายองค์ทรงฤทธิคิดชขอบกล ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ ฟังอำมาตย์กราบทูลได้เหตุผล | ||
+ | เคืองพระไทยด้วยได้เห็นศรีธนญ ชูแต่ก้นขึ้นถวาอายพระไทย | ||
+ | จึ่งรับสั่งให้กลับช้างที่นั่ง เข้าราชวังมณเฑียรอันสุกใส | ||
+ | ฝ่ายว่าเจ้าขุนศรีธนญไชย ขึ้นจากหลุมก็ไปยังบ้านต้น ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ถึงเดือนหกศกใหม่เขาไถนา ทั่วขอบเขตรภาราทุกแห่งหน | ||
+ | ราษฎรต่างไถไร่นาตน ศรีธนญครั้นเห็นเขาไถนา | ||
+ | นึกในใจว่าการไถไร่นานี้ ชื่อว่ากลับปัถพีทุแหล่งหล้า | ||
+ | ทำข้างบนกลับลงพสุธา จอมประชาตรัสวากลับพื้นแผ่นดิน | ||
+ | จึ่งให้เข้าเฝ้าเบื้องยุคลบาท แต่เราขาดเฝ้ามากว่าปีสิ้น | ||
+ | ครั้งนี้แลจะได้เฝ้าพระภูมินทร์ กับแผ่นดินตามโองการบรรหารมา ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ คิดแล้วจึ่งเข้าเฝ้าพระบาท จอมทวาลีราชารถนาถา | ||
+ | ถวายบังคมท่างามครบสามครา หมอบตามยศถาตำแหน่งขุนนาง ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระผู้ผ่านทวาลี เห็นขุนศรีธนญไชยให้ขัดขวาง | ||
+ | เคืองพระเนตรแล้วตรัสดำรัสพลาง กูห้ามไว้อย่างไรวางวิ่งเข้ามา | ||
+ | ได้สั่งแล้ว่าถ้าแผ่นดินกลับ สิ้นบังคับจึ่งเขัาในวังหนา | ||
+ | กูยังอยู่มิได้ผลัดกระษัตรา เองเข้ามาว่ากะไรไม่ทำตาม ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายว่าขุนศรีธนญไชย จึ่งทูลไปด้วยปัญญาไม่เข็ดขาม | ||
+ | ข้อซึ่งดำรัสตรัสห้ามปราม ไม่ลวนลามล่วงเกินพระโองการ | ||
+ | มีรับสั่งว่าแผ่นดินกลับจึ่งมา ก็บัดนี้พสุธาประเทศสถาน | ||
+ | กลับแล้วตามพระราชโองการ กระหม่อมฉานจึ่งมาเฝ้าเจ้าจุมพล | ||
+ | ไม่ทรงเชื่อโปรดให้มหาดชา เที่ยวดูนอกพาราทุกแห่งหน | ||
+ | จะเห็นจริงแจ้งใจในยุบล มิได้นำเล่ห์กลมากราบทูล ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ดำรงสถาน ฟังขุนศรีทูลสารนเรนทร์สูร | ||
+ | ทรงดำริห์ตริความตามเหตุมูล จอมประยูรยังให้สงไสยนัก | ||
+ | จึ่งตรัสใช้มหาดเล็กที่ปรีชา ไปเที่ยวรอบภาราให้เห็นประจักษ์ | ||
+ | มหาดเล็กคลานออกมาไม่หยุดพัก เที่ยวดูให้แน่กตระหนักทั่วนคร | ||
+ | ครั้นไปก็ได้เห็นเขาไถนา แล้วกลับมาทูลบพิตรอดิศร | ||
+ | ว่าเกล้ากระหม่อมไปได้เห็นราษฎร เขาไถนารอบนครทวาลี ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายพระจอมนคเรศระเทศสถาน ฟังทูลแล้วทรงวิจารณ์คำขุนศรี | ||
+ | อันธรรมดาว่าการไถนานี้ ชื่อว่ากลับปัถพีจริงของมัน | ||
+ | ก็ค่อยคลายหายเคืองที่เรื่องผิด ทรงยกโทษใช้สนิทไม่เดียดฉัน | ||
+ | ธนญไชยได้มาเฝ้าพระทรงธรรม์ เปนนิรันดรมาเหมือนก่อนกาล ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ จะกล่าวถึงกษัตราเบญจาละรา ร้ายกาจเรี่ยวแรงกำแหงหาญ | ||
+ | ครองกรุงเบญจามาช้านาน มีพลรบเชี่ยวชาญการณรงค์ | ||
+ | ทรงดำริห์จะใคร่ได้ทวาลี เปนบุรีขึ้นนครโดยประสงค์ | ||
+ | จึงยกนิกรพลพะลาข้ามป่าดง รถดุรงค์บทจรกุญชรไชย | ||
+ | มาตั้งค่ายรยรอบแดนต่อแดน ดูหนาแน่นเทียวธงดูไสว | ||
+ | ฝ่ายชาวด่านแจ้งการอรินไภย มาอยู่ใกล้ด่านแดนแน่นหนานัก | ||
+ | ก็ร่างคำทำหนั่งสือใมบบอกมา ให้คนรีบแจ้งกิจจาหมู่ปรปักษ์ | ||
+ | มาห้าวันเร่งร้อนไม่ผ่อนพัก แจ้งขุนนางให้ประจักษ์ข่าวดัษกร | ||
+ | ว่ามีทัพกรุงกระษัตริย์เธอยกมา ตั้งริมด่านชายป่าเชิงศิงขร | ||
+ | ขุนนางทูลข่าวศึกพระภูธร ตามใบบอกชาวดอนแดนต่อแดน ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายพระจอมนคเรศเกษประชา ทรงฟังบอกอักขราเห็นหนาแน่น | ||
+ | ว่ามีศึกกรุงกระษัตริย์มาติดแดน ยกหมู่แสนยากรจะรอนราญ | ||
+ | จึ่งรับสั่งให้หาธนญไชย เข้ามาแล้วสั่งให้ออกจากสถาน | ||
+ | เปนแม่ทัพพลขันธ์ประจัญบาน ให้ทวยหาญฟังบังคับธนญไชย | ||
+ | ด้วยศรีธนญคนดีมีปัญญา เพลงสาตราวุธก็คล่องควรรบได้ | ||
+ | แล้วความคิดบิดพลิ้วก็ว่องไว เองจงไปสู้ศึกอย่านึกกลัว | ||
+ | ธนญไชยรับพระราลชโองการ ไม่อาจขัดบรรหารเจ้าอยู่หัว | ||
+ | แต่ไม่สู้เต็มใจให้นึกกลัว มาถึงบ้านคลุมหัวรนอนรำพึง | ||
+ | ว่ารับสั่งครั้งนี้ให้ไปรบ พระจอมภพจะแกล้งให้ความตายถึง | ||
+ | แล้วนึกได้ใจกล้าไม่พรั่นพรึง คิดคำนึงได้อุบายให้ช้าการ | ||
+ | ลุกขึ้นได้ตัดไม้ไผ่มาผ่า จักตอกสานหับว่าจะใส่อาหาร | ||
+ | แต่ต้นจนล่วงสามทิวาวาร ก็นั่งสานหับใหญ่ไม่ไปทัพ | ||
+ | พวกพหลพลนิกายทั้งนายไพร่ คอยท่าศรีธนญไชยเตรียมเสร็จสรรพ | ||
+ | ทั้งลูกดินของกินเสบียงทัพ ธนญไชยสานหับไม่แล้วเลย | ||
+ | ฝ่ายพระองค์ดำรงเมืองทวาลี ทราบว่าศรีธนญไชยนอนใจเฉย | ||
+ | ยังไม่ไปไชยชิงนิ่งละเลย ให้ไปเตือนเพื่อนก็เฉยไม่รีบร้อน | ||
+ | จึ่งรับสั่งให้ถามธนญไชย ว่าอย่างไรเนิ่นช้าว่ามาก่อน | ||
+ | ธนญไชยให้กราบทูลพระภูธร ว่ายังสานหับจะคอนใส่เสบียง | ||
+ | ครั้นหลายวันก็รับสั่งให้เตือนซ้ำ บอกว่าทำหับไม่แล้วพูดหลีกเลี่ยง | ||
+ | ฝ่ายพระองค์ทราบว่าสานใส่เสบียง จะโตเพียงไหนมิใคร่จะแล้วลง | ||
+ | มันจะสานหับใหญ่ทำไมหนอ กระบวนทัพคอยรอไม่สมประสงค์ | ||
+ | อยู่เนิ่นนานมิได้การณรงค์ มันทนงไว้ ใจพวกไพรี | ||
+ | รับสั่งเตือนให้เร่งยกกองทัพ ก็พบอหับสานแวโตได้ที่ | ||
+ | ได้แปดอ้อมหาไม้ไผ่อันยาวรี ได้สามวาพอดีจะทำคาน | ||
+ | ปั้นเข้าสุกปั้นหนึ่งไส่ในหับ คอนขึ้นบ่านำทัพมาน่าฉาน | ||
+ | เปนแม่ทัพออกน่าถึงทวาร หับที่สานโตกว่าประตูเมือง | ||
+ | ออกไม่ได้ติดคับทัพก็คั่ง ค่อยรอรั่งนายทัพอยู่แน่นเนื่อง | ||
+ | ขุนนางเห็นหับคับประตูเมือง กราบทูลให้ทราบเรื่องนายทัพไชย | ||
+ | ว่าหับคับประตูเมืองฝืดเคืองนัก กองทัพต้องรอพักไปไม่ได้ | ||
+ | ฝ่ายพระองค์ทรงฟังคั่งแค้นฤไทย ตรัสให้ห้ามว่าอ่าไปเลยรำคาญ | ||
+ | ขุนนางรับพระโองการก็มาบอก ไม่ให้ออกไปรบตามบรรหาร | ||
+ | ธนญไชย ได้ฟังก็ชื่นบาน สมที่การคิดจะไม่ไปสงคราม | ||
+ | จึ่งแกล้งว่าข้าหมายจะไปทัพ ฉลองพระคุณตามตำหรับไม่เข็ดขาม | ||
+ | ทำไมจึ่งรับสั่งให้ห้ามปราม ขัดไม่ได้ต้องตามพระโองการ | ||
+ | ว่าแล้วก็กลับยังเคหา สมปราถนาบริโภคกระยาหาร | ||
+ | ครั้นอิ่มแล้วนอนเล่นให้สำราญ จับหนังสือโคลงมาอ่านสบายใจ ฯ | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
+ | |||
==== ==== | ==== ==== | ||
<tpoem> | <tpoem> | ||
+ | ๏ ฝ่ายว่าเสนาผู้นายทัพ ก็เร่งขับพลนิกายทั้งนายไพร่ | ||
+ | ถึงแดนต่อแดนตั้งแสนยากรไว้ บังคับให้ตั้งค่ายรายเรียงกัน ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นกรุงกษัตราปัญจาละราช เห็นพหลพลดาดดนมหันต์ | ||
+ | ล้วนทัพเมืองทวาลีมีมากครัน แน่นอนันต์ม้ารถคชไกร | ||
+ | ทั้งทหารบทจรศรกำซาบ ถือหอกดาบทวนธนูดูไสว | ||
+ | ทั้งโล่ห์เขนปืนยาแลน่าไม้ ดังน้ำไหลล้นหลามตามมรคา | ||
+ | นึกสดุ้งหวาดหวี่นพรั่นในศึก เสียงพิฦกโห่ลั่นสนั่นป่า | ||
+ | ก็ล่าทัพกลับคืนพระภารา ไม่อาจสู้เกรงเดชาพระทรงธรรม์ ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายว่ากองทัพทวาลี เห็นข้าศึกล่าหนีจากเขตรขัณฑ์ | ||
+ | บอกหนังสือมาแจ้งข่าวศึกนั้น ให้ทูลองค์ทรงธรรม์ จะถอยทัพ | ||
+ | ฝ่ายว่าพระผู้ผ่านมไหสวรรย์ เกษมสันต์ด้วยข้าศึกล่าหนีกลับ | ||
+ | สั่งมีตราให้หากระบวนทัพ คืนนครอยู่รับราชการ | ||
+ | ส่วนนายพลทราบยุบลว่าให้หา ก็ยกทัพกลับมายังราชฐาน | ||
+ | เข้าเฝ้าทูลกิจจาทุกประการ พระประทานรางวัลตามไพร่นาย ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ จะกล่าวถึงกรุงกษัตริย์อยู่เมืองเทศ เปนเจ้าเขตรแดนชวาสิ้นทั้งหลาย | ||
+ | มีแขกดำล่ำสันสกรรจ์กาย ดำชลสายทนนักในพักเดียว | ||
+ | กลั้นใจอยู่ได้ถึงเจ็ดวัน ไม่มีใครคู่ขันสั่นเศียรเสียว | ||
+ | ไม่ขอสู้ดำคงคากลัวหน้าเซียว ข่าวเกรียวเลื่องชื่อฦาขจร | ||
+ | ฝ่ายพระเจ้าเมืองเทศเขตรชวา ทรงนิทราเหนือที่บรรจฐรณ์ | ||
+ | ดำริห์ว่าจะพนันเอานคร ทวาลีรเขตรดอนแดนชาวไทย | ||
+ | จึ่งแต่งเรือสลุบมาห้าลำ กับราชสารเปนคำชวาวิไสย | ||
+ | ให้ราชทูกเชิญสารลงเรือไบ กับคนใหญ่ประดาน้ำกายดำนิล | ||
+ | ออกนาวาจากท่ามาไม่หยุด ให้รีบรุดแล่นฝ่าชลาสินธุ์ | ||
+ | มาลิบลิบไรไรไกลแผ่นดิน ห้าเดือนก็ถึงถิ่นทวาลี | ||
+ | ทอดสมอที่ชวากอ่าวปากน้ำ ยกธงดำตามประสากลาสี | ||
+ | ด่านปากน้ำรู้ความตามคดี ให้คนรีบมาบุรีแจ้งกิจจา | ||
+ | ฝ่ายเสนาผู้ว่าต่างประเทศ ได้ทราบเหตุแล้วทูลจอมนาถา | ||
+ | ว่าราชสารบ้านเมืองเขตรชวา มีเข้ามาถึงปากน้ำห้าลำจร | ||
+ | ได้ทรางทราบสั่งให้รับทูตชวา มีเข้ามาถึงปากน้ำห้าลำจร | ||
+ | ได้ทรงราบสั่งให้รับทูตชวา เหมือนเคยรับทูตมาแต่ก่อนก่อน | ||
+ | ขุนนางรับโองการพระภูธร ก็จัดเรือออกสลอนลงไปรับ | ||
+ | เรืองแห่แลเรือใส่ราชสาร พนักงวานตามตกแหน่งให้กำกับ | ||
+ | ขุนนางก็กระทำตามบังคับ พณหัวสั่งให้รับทูตชวา | ||
+ | เรือกระบวนถึงชวากอ่าวปากน้ำ ก็เรียงลำเรือแห่อยู่คอยท่า | ||
+ | รับทูตแลสารเสร็จแล้วมิช้า ก็แห่มายังนครทวาลี | ||
+ | ฝ่ายราชทูตก็เข้าเฝ้าพระบาท บรมนารถผู้ดำรงบุรีศรี | ||
+ | ขุนนางเฝ้าครบตำแน่งแห่งมนตรี อู่ตามทีตามยศดูงดงาม | ||
+ | ทูตชวาก็เชิญราชสาร ชูบานทองถวายเจ้าจอมสยาม | ||
+ | ก็ทรงรับให้อาลักษณ์อ่านข้อความ ให้แขกล่ามคอยแปลภาษาชวา | ||
+ | ในลักษณ์พระราชสารศรี เจ้าบุรีอัษฎงค์ทรงยศถา | ||
+ | ขอเจริญทางพระราชไมตรีมา ถึงพระองค์ทรงเดชาทวาลี | ||
+ | หวังพระไทยจะใคร่เล่นการพนัน ให้ดำน้ำสู้กันไม่ถอยหนี | ||
+ | ถ้าแพ้จะเสียพนันตามอันมี ให้เปนศรีพระนครขจรยศ | ||
+ | ประดาน้ำเมืองชวาที่มานี้ ดำวารีได้เจ็ดวนกลั้นใจอด | ||
+ | ถ้าในเมืองทวาลีมีอย่างด มาดำนู้ให้ปรากฎแก่ทูตมา | ||
+ | แม้นว่าประดาน้ำในเมืองเทศ แพ้แก่คนในเขตรจอมนาถา | ||
+ | ขอถวายสินพนันของนานา เงินทองผ้าแพรพรรณอันตระการ | ||
+ | ถ้าคนเมืองทวาลีปราไชย ของจงได้มอบสิ่งธะนะสาร | ||
+ | แก่ชาวเขตรอัษฎงค์จบปฏิญาณ ให้สัตย์ต่างสาบาลกันแลกัน | ||
+ | ขอพระองค์จงเห็นแก่ไมตรี หาคนดำวารีที่เข้มขัน | ||
+ | มาเปนคู่สู้ประดาน้ำพนัน พระทรงธรรม์อย่าขัดเคืองเรื่องสารา ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นอ่านเสร็จราชาารการพนัน พระทรงธรรม์ฟังความในเลขา | ||
+ | ให้ขัดเคืองเรื่องสาราแต่ไม่ตรัส ปฏิสันฐารสามนัดโดยประสงค์ | ||
+ | ตามเยี่ยงอย่างรัชทูตขัติยวงษ์ แล้วก็ทรงนัดพนันดำวารี | ||
+ | อิกเจ็ดวันจงให้ประดาน้ำ พนันดำกับคนสนกรุงศรี | ||
+ | ทูตถวายบังคมคัลอัญชลี ออกจากที่เฝ้าครรไลไปเรือตน ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ดำรงภพ ให้หาจบในแขวงทุกแห่งหน | ||
+ | ไม่มีใครเปนคู่สู้สักคน พระจุมพลจึ่งให้หาธนญไชย | ||
+ | ครั้นเข้ามาก็ทรงเล่าเรื่องสารา เมืองชวาเขตรแขกแปลกวิไสย | ||
+ | จบคดีแก่ขุนศรีธนญไชย รับสั่งว่าจะได้ ใครอาสาพนัน | ||
+ | กูวิตกกลัวจะแพ้เแก่แขกเทศ ให้หาทั่ววงนิเวศน์ในเขตรขัณฑ์ | ||
+ | ไม่มีใครจะอาสามาพนัน ดำน้ำกันกับชวาที่มาไกล | ||
+ | ธนญไชยฟังยุบลบรรหารตรัส เห็นจอมกษัตริย์เศร้าหมองไม่ผ่องใส | ||
+ | จึ่งทูลว่าข้าพเจ้าจะเอาไชย มิให้ได้อายเขาเหล่าแขกเมือง | ||
+ | จะขอสู้อาสาฝ่าพระบาท ให้แขกขยาดฝีมือเล่าฦาเลื่อง | ||
+ | ด้วยอุบายคิดได้ไม่ฝืดเคือง ให้รุ่งเรืองพระเกียรติยศปรกฎไป | ||
+ | ได้ทรงฟังธนญไชยรับอาสา พระปรีดาโสมนัศตรัสมอบให้ | ||
+ | เปนธุระขุนศรีธนญไชย จะต้องการสิ่งไรให้เรียกเอา | ||
+ | ธนญไชยก็ถวายบังคมลา คลานคล้อยถอยมาจากที่เฝ้า | ||
+ | สั่งเจ้าพนักงานให้เร่งเร้า หาเรือโกลนใหญ่เท่าเรือห้าวา | ||
+ | ไปคว่ำไว้มิให้ไกลจากฝั่งน้ำ มีเชือกผูกประจำล่ามมาหา | ||
+ | หลักที่ปักจะยึดคำคงคา ให้เตรียมทั้งโภชนาไว้จงพอ | ||
+ | ทำที่นอนที่นั่งใต้เรือคว่ำ เข้าน้ำของกินพร้อมเสร็จขอ | ||
+ | มาไว้ใต้เรือโกลนอย่ารีรอ จัดให้พออย่าให้ขาดสิ่งอันใด | ||
+ | พนักงานทราบสารผู้รับสั่ง ไม่รอรั้งจัดของมามอบให้ | ||
+ | ทำเสร็จตามยุบลธนญไชย เตรียมไว้ท่าฤกษ์ดำวารี | ||
+ | ครั้นถึงนัดครบเจ็ดวันเวลา ก็ไปเตือนไว้ท่าฤกษ์ดำวารี | ||
+ | ให้มาพร้อมคอยฤาษ์ริมชลธี หาโหราดูวิถีเทพาจร | ||
+ | ฆ้องไชยเตรียมไว้คอยเวลา ได้ฤกษ์พาให้ตีเอาไชยก่อน | ||
+ | ฝ่าพระองค์ผู้ดำรงพระนคร เสด็จประทับบรรจ์ฐรณ์พลับพลาไชย | ||
+ | พร้อมหมู่มาตยาพฤฒาจารย์ หมอบเฝ้าน่าพระลานอยู่ไสว | ||
+ | ขุนธนญกับแขกจับหลักไว้ พอดหรลั่นฆ้องหชยก็ดำน้ำ | ||
+ | แขกเทศไม่รู้เหตุว่าทำกล ก็จับหลักกลั้นทันหายใจร่ำ | ||
+ | ไปจนครบเจ็ดวันอยู่ในน้ำ ผุดขึ้นมาหน้าดำแทบขาดใจ | ||
+ | ทูตแขจกแปลกใจไทยไม่ผุด ประดาน้ำแขกพิรุธผุดก่อนได้ | ||
+ | เห็นการจะเสียทีไม่มีไชย คิดใในใจว่าของเราดำน้ำทน | ||
+ | เขายังดำกลั้นช้ากว่าอิกเล่า ก็หงอยเหงาไทมนัศให้ขัดสน | ||
+ | ครันสิบห้าราตรีศรีธนญ ก็ผุดจากวังวนชลธาร | ||
+ | ขึ้นจากวารีชลีหัดถ์ ถวายบังคมจอมกระษัตริย์มหาสาร | ||
+ | ทูตแขกแปลกใจไทยไม่ผุด ประดาน้ำแขกพิรุธผุดก่อนได้ | ||
+ | เห็นการจะเสียทีไม่มีไชย คิดในใจว่าของเราดำน้ำทน | ||
+ | เขายังดำกลั้นช้ากว่าอิกเล่า ก็หงอยเหงาโทมนัศให้ขัดสน | ||
+ | ครั้นสิบห้าราตรีศรีธนญ ก็ผุดจากวังวนชลธาร | ||
+ | ขึ้นจากวารีชลีหัดถ์ ถวายบังคมจอมกระษัตริย์มหาสาร | ||
+ | หมอบเฝ้าห้าประชาน่าพระลาน ทูตเห็นการปราไชยในวาร | ||
+ | ก็ถวายสินพนันตามสัญญา เงินทองแพผ้าต่างต่างสี | ||
+ | แล้วทูลลาลงเรือได้สมดี ก็แล่นไปยังบุรีแตรชา | ||
+ | เข้าเฝ้าแถลงแจ้งโดยเหตุ แก่พระจเาเมืองเทศทรงยศถา | ||
+ | ตามซึ่งได้พนันคำคงคส ปราไชยไทยมาสู่ธานี ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช เสด็จจากนัคเรศบุรีศรี | ||
+ | หวังพระไทยจะไปเล่นวารี เสด็จด้วยเรือที่นั่งศรีอร่ามงาม | ||
+ | พร้อมหมู่เสนาข้าราชการ โดยเสด็จแข่งขนานนาวสหลาม | ||
+ | ทั้งเรือดั้งคู่แห่แลเรือตามี สง่างามแน่นเลื่องในนที | ||
+ | นวลนางวิเศษเชิญเครื่องเสวย ตามเคยลงท้ายที่นั่งศรี | ||
+ | ครั้นพระจอมประชาเจ้าธานี เสด็จถึงที่ประทับสระสรงชล | ||
+ | ทรงผลัดภูษาแล้วสรงสนาน แสนสำราญเย็นซาบทุกขุนขน | ||
+ | เสร็จสรงคงคาในสาชล ประทับบนพลับพลาสง่างาม | ||
+ | หมู่ขุนนางเฝ้าพระบาทกลาดเกลื่อน ดังดาราล้อมเดือนเด่นสนาม | ||
+ | พรั่งพร้อมเกียรติยศดูงดงาม และหลามล้วนเหล่าข้าเฝ้าอนันต์ | ||
+ | ถึงเวลาเข้าที่ลงบังคน พระจุมพลก็เสด็จในม่านกั้น | ||
+ | ตรัสให้หาพนักงานชำระพลัน ทราบว่ามาไม่ทันกิจชำระ | ||
+ | จึงตรัสสั่งนางวิเศษให้ทำแทน ด้วยขาดแคลนคนเคยไม่พบปะ | ||
+ | วิเศษต้นก็ถวายน้ำชำระ ทำตามพระโองการบรรหารมา | ||
+ | ครั้นเวลาบ่ายแสงสุริยันต์ เสด็จกลับโห่ลั่นกลองนำน่า | ||
+ | เสียงส้าวเสียงโห่เปนโกลา กลับยังนคราพระธานี | ||
+ | จึ่งดำรัสอีวิเศษนั้น ี่ ถอดมันเสียเถิดออกจากที่ | ||
+ | มือมันล้างก้นกูเมื่อวันนี้ ให้คนอื่นว่าที่มันสืบไป ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นนางวิเศษครั้นได้ฟัง เสียใจดังจะคลั่งน้ำตาไหล | ||
+ | จึ่งรับมาหาขุนศรีธนญไชย อ้อนวอนไหว้ว่าท่านจงเมตตา | ||
+ | เล่าความตามมีพระโองการ ว่าช่วยฉานให้คืนที่หน่อยจ๋า | ||
+ | ช่วยวิ่งเต้นข้างในทูลกิจจา แม้นสมมาดปราถนาคืนที่ทาง | ||
+ | จะทูลหัวให้ท่านสิบตำลึง จนสลึงมิได้ลดอย่าหมองหมาง | ||
+ | ศรีธนญฟังวาจาแล้วว่าพลาง ข้าจะช่วยให้ร้างจากที่ตน | ||
+ | อยู่ที่นี่คอยข้าอย่าเพ่อไป จะช่วยทูลแก้ไขให้สักหน | ||
+ | ว่าแล้วก็รีบไปบัดดล เข้าข้างในวิ่งวนทำเวียนวก | ||
+ | แล้วเต้นไปเต้นมาทำหน้าตื่น เสียงครึกครื้นท้าวนางต่างวิตก | ||
+ | ด้วยเปนเวลาเข้าที่ก็กลัวงก ร้อนอกตกประหม่าแล้วว่าไป | ||
+ | นี่แน่นายขุนศรีผู้ปรีชา ทำอะไรโกลาสนั่นไหว | ||
+ | พระองค์เสด็จเข้าที่บรรธมใน อย่าอึงไปไม่ดีที่ไม่ควร ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ เลิศลบธานีดังอิศวร | ||
+ | บรรธมหลับสดุ้งฟื้นตื่นรัญจวน ให้ปั่นปว่นเคืองขุ่นฉุนฤไทย | ||
+ | ดำรัสถามว่าใครที่ไหนหนอ ข้ามาล้ออื้ออึงถึงนี่ได้ | ||
+ | เขากราบทูลว่าขุนศรีธนญไชย มาวิ่งไปวิ่งมาชาลาวัง | ||
+ | แล้วก็เต้นเล่นอยู่จนใกล้ที่ อึงมี่ทำตามน้ำใจหวัง | ||
+ | จะห้ามปรามเท่าไรก็ไม่ฟัง เดี๋ยวนี้ยังวิ่งเต้นไม่เว้นวาย ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูร ได้ฟังทูลเคืองพระไทยมิได้หาย | ||
+ | ทราบว่าธนญไชยทำหยาบคาย ให้ได้อายชาววังสิ้นทั้งมวญ | ||
+ | ครั้นจะลงราชทัณฑ์ถึงฟันฆ่า คิดถึงคำพระบิดาก็กลับหวน | ||
+ | จะเฆี่ยนจำทำมันก็ไม่ควร ภูมิศวรฝากฝังสวั่งกำชับ | ||
+ | ว่าโทษแม้นจะถึงประหารชีพ อย่าด่วนรีบฆ่าฟังบั่นสับ | ||
+ | ให้อดโทษยกไว้ได้กำชับ เสด็จลับล่วงสวรรคาไลย | ||
+ | ครั้นจะทำล่วงพระราชโองการ ให้สังหารเฆี่ยนจำทำไม่ได้ | ||
+ | ดำริห์แล้วทรงนิ่งในพระไทย ธนญไชยก็กลับมาเคหาตน | ||
+ | บอกกับนางวิเศษตามที่ทำ ได้วิ่งเต้นตามคำไม่ขัดสน | ||
+ | ยังแต่จะช่วยทูลมูลยุบล เดี๋ยวนี้สนธยาย่ำค่ำขัดคราว | ||
+ | ต่อพรุ่งนี้เจ้าไปเฝ้าด้วยกัน คอยทูลข้อสำคัญอย่าอื้อฉาว | ||
+ | พรุ่งนี้ขึ้นมาหาข้าแต่ช้าว ฟังข่าวคราวเรื่องความตามคดี ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายนางวิเศษครั้นถึงนัด ก็รีบรัดมาหาท่านขุนศรี | ||
+ | ครั้นได้เวลาเฝ้าจอมปัถพี ธนญไชยนารีพากันมา ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นจอมนราประชากร รวิวรส่องแสงสว่างหล้า | ||
+ | แซ่เสียงกาไก่สกุณา เสด็จตื่นนิทราสรงพระภักตร์ | ||
+ | ทรงสุคนธ์ปนสุวรรณจันทน์กระแจะ ทรงภูษาลายกะแหนะทองแล่งปัก | ||
+ | สวมมงกุฎกล่อมกลมสมพระภักตร์ ทองกรรักร้อยสายกุดั่นดวง | ||
+ | ทรงสังวาลเนาวรัตน์ประภัศร ทับทรวงลายมังกรดูรุ้งร่วง | ||
+ | ทรงพระแสงห้อยเพ็ชรอุบะพวง ออกพระโรงวิเชียรช่วงอันรูจี | ||
+ | พร้อมเหล่าข้าเฝ้าหมอบสพรั่ง คับคั่งโดยลำดับตำแหน่งที่ | ||
+ | กลาโหมมหาดไทยใหญ่น้อยมี ทั้งสี่จตุสดมภ์ประนมกร ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นขุนศรีธนญไชย พาวิเศษเขน้าไปเฝ้าอยู่ก่อน | ||
+ | ครั้นเห็นจอมนินทร์ ปิ่นนิกร เสด็จประทับบรรจฐรณ์แท่นสุวรรณ | ||
+ | จึ่งสั่งนางวิเศษให้คลานไป ข้างน่าเราจะได้ทำให้ขัน | ||
+ | นางวิเศษก็ทำตามคำนั้น ทั้งสองคนแข่งประชันคลานเข้าไป | ||
+ | ครั้นถึงน่าที่นั่งก็บังคม สามหนต่างก้มคล้านเข้าใกล้ | ||
+ | ฝ่ายเจ้าขุนศรีธนญไชย จับก้นวิเศษได้ใส่หัวตน | ||
+ | คลานพลางใส่พลางไม่วางมือ ทำให้ฦาเรื่องไปจะได้ฉงน | ||
+ | เข้าใกล้าน่าที่นั่งพระจุมพล จับก้นขวางหน้าเสนาใน ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ เห็นประหลาดอ้ายขจุนศรีนี่ไฉน | ||
+ | จับก้นอีวิเศษนี่ร่ำไป แล้วใส่หัวตนละลนละลาน | ||
+ | จึ่งดำรัสตรัสถามตามสงไสย มึงทำอไรอย่างนี้ดูอาจหาญ | ||
+ | จับก้นใส่หัวหูดูรำคาญ จงให้การโดยจริงอย่านิ่งช้า ฯ | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
+ | |||
==== ==== | ==== ==== | ||
<tpoem> | <tpoem> | ||
- | + | ๏ ฝ่ายขุนศรีธนญไชยครั้นได้ฟัง ถวายบังคมทูลพระนาถา | |
- | + | ว่าก้นวิเศษคนนี้มีศักดา เลิศกว่านารีมีในเมือง | |
- | + | จึ่งรับสั่งซักถามตามฉงน เองว่าก้นอีนี่ดีฦาเลื่อง | |
+ | เหตุไฉนจึ่งดีกว่าทั้งเมือง ตงบอกเรื่องราวมาอย่าช้าที | ||
+ | ธนญไชยจึ่งสนองพระโองการ เกล้าหม่อมฉานทราบว่านารีศรี | ||
+ | เดิมเปนวิเศษต้นตัวดี มือล้างคี่ก้นของตนก็พ้นไภย | ||
+ | ครั้นมาชำระพระบังคน ต้องร้อนรนถอดจากที่เดิมได้ | ||
+ | ก้นพระองค์เลิศลบภพไตร ก็สู้ก้นนี้ไม่ได้ดูชอบกล | ||
+ | ส่วนก้นนางนี้ล้างอยู่เปนนิจ ก็ไม่ผิดกลับชอบมีพักผล | ||
+ | ครั้นมาล้างชำระพระบังคน กลับปี้ป่นถอดถอนต้องร้อนใจ | ||
+ | คิดด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมยอมแพ้ ก้นแม่เจ้าประคุณมีบุญใหญ่ | ||
+ | จึ่งจับจบหัวตนพ้นจรรไร จงทราบใต้บาทาฝ่าธุลี ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ ฟังจบเห็นจริงด้วยขุนศรี | ||
+ | จึ่งประทานที่เก่าให้นารี เปนวิเศษคืนที่ตามก่อนมา ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ จะกล่าวถึงกระษัตริย์ประเทศราช มีกระบือสามารถองอาจกล้า | ||
+ | กำลังเจ็ดช้างสารมหิมา กหายาโตใหญ๋เขาไปล่กาง | ||
+ | ไม่มีคู่สู้ท้าสมาวิ่งกัน แต่วิ่งชนะนับพันแพ้ฝีย่าง | ||
+ | ไม่มีใครอาจมาท้าเข้าวาง ควายเขากางตัวนี้ฝีเท้าไว | ||
+ | กรุงกระษัตริย์เจ้าประเทศเขตรขัณฑ์ จะใคร่พนันวิ่งกระบยือให้ฦาใหญ | ||
+ | จึ่งจัดเครื่องบรรณาการสารคำไทย สั่งทูตให้นำสำเภาห้าร้อยมา | ||
+ | กับกระบือตัววสำคัญคู่ขันวิ่ง ครบทุกสิ่งจัดสรรทั้งล้าต้า | ||
+ | ต้นหนคนชำนาญในคงคา ทูตถวายบังคมลาใช้ไบจร | ||
+ | แล่นมาในมหาชลาสินธุ์ ไม่เห็นดินเห็นไม้ไพรสิงขร | ||
+ | เห็นแต่ฟ้ากับคงกาในสาคร เรือขย่อนคลื่นเข่าสำเภาโคลง | ||
+ | หมู่มัจฉาเหราก็คลาคล่ำ อยู่ในน้ำภูตพรายผีตายโหง | ||
+ | บ่นพึมพำร่ำเร้าขึ้นเสากระโดง ล้วนเก่งโกงคอยคล่ำทำอันตราย | ||
+ | จีนเท่าแก๋รู้แก้เผาขนไก่ ยิงปืนไล่เหม็นควันก็พลันหาย | ||
+ | ลูกเรือกลัวหน้าจ๋อยค่อยสบาย ก็แล่นฝ่าชลบสายมาหลายเดือน | ||
+ | เห็นทิวไม้รำไรยังไกลฝั่ง ดูสพรั่งเรียงสล้างเมหือนอย่างเขื่อน | ||
+ | รีบใช้ใบมาใได้แวะแชเชือน สิบเดือนถึงประเทศเข้าเขตรไทย | ||
+ | ถึงปากน้ำให้จอดทอดสมอ ตีม้าฬ่อรับกันสนั่นไหว | ||
+ | จอดเปนแถวแนวสลับอันดับไป ให้ม้นไบลดทุกลำเรือสำเภา | ||
+ | ฝ่ายคนทีมารักษาด่าน ฟังม้าฦ่อเสียงขานพวกเรือเข้า | ||
+ | ออกมาดูรู้ว่าเรือสำเภา และเห็นเสามากสพรั่งที่ฝั่งชล | ||
+ | ให้เรือเร็วรีบไปถามความแขกเมือง ก็รู้เรื่องเสร็จสิ้นอนุสนธิ์ | ||
+ | กรมการแจ้งใจในยุบล ก็เรียกคนเปนเสมียนเขียนบอกมา | ||
+ | แล้วรีบรัดลัดล่องไม่ข้องขัด มาถึงบุรีรัตน์ขึ้นจากท่า | ||
+ | นำใบบอกเข้าเรียนตามกิจจา ให้เจ้าพระยาอธิบดีทราบข้อความ | ||
+ | ครานั้นพณหัวมาตยา แจ้งในอักขราซักไซ้ถาม | ||
+ | ให้แน่นอนแม่นไว้ในข้อความ แล้วกราบทูลจอมสยามนรินทร ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายพระองค์ผู้ดำรงอาณาเขตร ทรงทราบเหตุแจ้งประจักษ์ในอักษร | ||
+ | สั่งให้รับทูตามานคร พระภูธรทราบสารการพนัน | ||
+ | ทรงดำริห์ว่าเราจะทำไฉน หากระบือให้มีไชยพนันขัน | ||
+ | แล้วทรงผัดนัดทูตสิบห้าวัน ทูตถวายบังคมคัลมาสำเภา | ||
+ | จึ่งรับสั่งให้หาธนญไชย ดำรัสเล่าสารให้ฟังคำเขา | ||
+ | จนจบสิ้นกระแสความตามสำเนา พระเปนเจ้านคเรศเกษประชา | ||
+ | จึ่งตรัสถามว่าเองจะทำไฉน จึ่งจะสู้เขาได้ให้เร่งว่า | ||
+ | เองเปนคนไม่จนในปัญญา จะอาสาวิ่งกระบือให้ฦายศ | ||
+ | จะได้ฤาไม่ได้ ให้คิดอ่าน อย่านั่งนานกูนัดวันกำหนด | ||
+ | สิบห้าวันจะพนันวิ่งลองทด กับทูตเมืองชนบทนายสำเภา ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นขุนศรีธนญไชย จึ่งโองการท้าวไทพระทรงเล่า | ||
+ | จึ่งทูลสนองพระบัญชาตามสำเนา ว่าข้าพระพุทธเจ้าจะจัดการ | ||
+ | ฉลองพระเดชพระคุณดูสักครั้ง ตามรับสั่งจะอาสาโดยกราชสาร | ||
+ | มิให้แพ้ทูตพนันประจัญบาน ด้วยปัญญากระหม่อมฉานให้มีไชย | ||
+ | ได้ทรงฟังปรีดิ์เปรมเกษมสานต์ ตรัสว่าเองต้องการสิ่งไรจะให้ | ||
+ | จงคิดอ่านเลือกเอาตามชอบใจ ให้ทันวันนัดไว้ในสัญญา | ||
+ | ธนญไชยได้ฟังรับสั่งประภาษ โปรดประสาทสั่งให้ตามปรารถนา | ||
+ | จึ่งกราบทูลบพิตรอิศรา เกล้ากระหม่อมจะเลือกหาลูกกระบือ | ||
+ | ที่ยังไม่หย่านมมาขังไว้ พอสู้ได้เกียรติยศปรากฎชื่อ | ||
+ | พระทรงฟังสั่งให้เลือกลูกกระบือ ตามแต่ใจจะได้ฦาวิ่งพนัน | ||
+ | ธนญไชยก็ถวายบังคมลา พระผู้ผ่านภาราเจ้าเขตรขัณฑ์ | ||
+ | ออกมาสั่งพนักงานการปัจจุบัน กรมนาเลือกสรรกระบือน้อย | ||
+ | ได้มาให้ทำคอกริมสนาม ขังให้อดกษิราจนหน้าจ๋อย | ||
+ | แต่งสนามทูลปราบราบเรียบร้อย ให้สิ้นรอยหลุมบ่อหลักตอเตียน | ||
+ | ถึงวันนัดก็ให้เตือนทูตมา สู่สนามที่ชาลาพื้นกวาดเลี่ยน | ||
+ | ทูตก็จูงกระบือมาไม่ผัดเพี้ยน ถึงที่เตียนผูกหลักปักเสาธง | ||
+ | ฝ่ายพระผู้ผ่านภพบโลกา เสด็จขึ้นพลับพลาสูงรหง | ||
+ | ขุนนางเฝ้าอยู่พร้อมหมอบล้อมวง เปนกรรกงเกลื่อนกลาดดาษดา | ||
+ | ราษฎรรู้ข่าวกราวเกรียวสนั่น ก็ชวนกันมาดูมากนักหนา | ||
+ | ทั้งเจ๊กมอญญวนลาวชาวประชา แขกชวามลายูมูรงิด | ||
+ | แขกเทศพุธเกศฝรั่งเก่า วิลันดามะเกาเชาอังกฤษ | ||
+ | เขมรไทยแขกไทรแขกมะริด มานั่งชิดแซกเสียดต่างเบียดกัน | ||
+ | ฝ่ายขุนศรีธนญไชยครั้นได้ฤกษ์ ให้ประโคมเอิกเกริกนี่สนั่น | ||
+ | ก็เบิกคอกลูกกระบือออกมาพลัน จูงมาวางพนันควายทูตที่มา | ||
+ | นายสำเภาก็แก้เชือกผูกปล่อย กระบือน้อยก็วิ่งเข้ามาหา | ||
+ | เที่ยวดูดดมหานมกษิรา คิดว่าควายมารดาเคยกินนม | ||
+ | กระบือใหญ่ให้รำคาญดาลเดือดแค้น ก็วิ่งแล่นหนีลูกกระบือประสม | ||
+ | ลูกกระบือกำลังอยากน้ำนม ก็วิ่งดมดูดไปมิได้วาง | ||
+ | กระบือใหญ่วิ่งหนีก็ยิ่งไล่ วนไปหลายรอบไม่เหินห่าง | ||
+ | ชนทั้งหลายโห่ร้องตบมือพลาง ก็วิ่งวางใหญ่ไปไม่หยุดลง | ||
+ | ฝ่ายทูตเห็นกระบือของตนหนี แพ้เสายทีไม่สมอารมณ์ประสงค์ | ||
+ | ก็ถวายสินพนันอันบรรจง แก่พระองค์อิศราเจ้าธานี ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายว่าพระผู้ผ่านมไหสวรรรย์ เกษมสันต์ได้ชะนะเพราะขุนศรี | ||
+ | ก็ทรงแบ่งสินพนันอันมากมี ให้ขุนศรีธนญไชยได้กึ่งทรัพย์ | ||
+ | ทูตเสียใจปราไชยกระบือน้อย ทูลลาแล้วเคลื่อนคล้อยสำเภากลับ | ||
+ | แล่นไปประเทศตนเสียป่นยับ ฉิบหายทรัพย์กลับไปทูลเจ้านายตน ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ จะกล่าวถึงเจ้าประเทศเขตรลังกา ครองภาราเปนใหญ่ในสิงหฬ | ||
+ | พร้อมอำมาตย์ราชครูมากหมู่ชน พระจุมพลทรงดำริห์ตริรำพัง | ||
+ | ในเมืองไทยฦามาว่ามีปราชญ์ เฉลียวฉลาดยากที่ผู้จะรู้ถึง | ||
+ | ทั้งแปลอรรถจัดเจนรู้ฦกซึ้ง ทรงคำนึ่งในพระไทยใคร่ทดลอง | ||
+ | เสด็จออกพระโรงรัตน์ตรัสประภาษ กับอำมาตย์หมอบเฝ้าอยู่ทั้งผอง | ||
+ | ว่านักปราชญ์เมืองไทยอยากใคร่ลอง จงตระเตรียมสิ่งของบรรณาการ | ||
+ | บรรทุกทั้งคัมภีร์ที่แปลยาก ปิดฉลากเปนสำคัญกับราชสาร | ||
+ | นิมนต์ประสังฆราชผู้เชี่ยวชาญ กับภิกษุบริวารลงเรือไป | ||
+ | จะไแจ้งข้อความตามฦาเล่า จะจริงอย่งคำเขาฤาไฉนร | ||
+ | ที่เล่าฦารบือข่าวชาวมืองไทย อำมาตย์ไปจัดการอย่านานวัน | ||
+ | |||
+ | มนตรีรับโองการคลบานออกมา จัดการตามบัญชาขมีขมัน | ||
+ | ขนตู้ใส่บาฬีคัมภีร์ธรรม์ เสร็จแต่ในสามวันตามโองการ | ||
+ | นิมนต์พระสังฆราชฉลาดอรรถ กับบริสัชภิกษุสงฆ์ทรงบริขาร | ||
+ | กับราชทูตเข้าใจในกิจการ เปนประธานกำปั่นใหญ่ใช้ใบจร | ||
+ | รีบแล่นนาวามาในสมุท ไม่หย่อนหยุดข้ามเกาะแก่งสิงขร | ||
+ | มาหกเดือนถึงเขตรขัณฑ์นอกสันดอน แดนนครสยามเวียงจอดเรียงลำ | ||
+ | ฝ่ายพวกเมืองสมุทอยุทธยา ทราบกิจจาไต่ถามเนื้อความขำ | ||
+ | แล้วเข้าแจ้งคดีตามถ้อยคำ ทูตลังกาซึ่งนำพระสงฆ์มา ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นขุนนางว่าต่างประเทศ ทราบเหตุก็กราบทูลจอมนาถา | ||
+ | ตามที่ทูตกับพระมืองลังกา จะเข้ามาแปลธรรมพระคัมภีร์ ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นพระองค์ได้ทรงฟัง ว่าทูตลังกามาสู่บุรีศรี | ||
+ | พาพระสงฆ์มาแปลพระบาฬี ให้หาศรีธนญไชยมาเฝ้าพลัน | ||
+ | จึ่งดำรัสตรัสว่าจำทำไฉน อันพระในเมืองเราไม่แขงขัน | ||
+ | คงจะแพ้ในการที่แปลธรรม์ เห็นไม่มีคู่ขันชาวลังกา | ||
+ | ธนญไชยได้ฟังรับสั่งถาม จึ่งทูลเจ้าจอมสยามขออาสา | ||
+ | ว่าเกล้ากระหม่อมขอถวายบังคมลา บรรพชาเปนสมเณรไป | ||
+ | จะคอยสู้ชาวลังกาไม่ล่าหนี แปลคัมภีร์ธรรมขันธ์กันจงได้ | ||
+ | จงลงไปรับที่ปากน้ำให้มีไชย ท้าวไททรงอนุญาตประสาทพร ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายว่าขุนศรีธนญไชย รับพระพรภูวไนยอดิศร | ||
+ | ใส่เกล้าแล้วทูลลานรินทร รีบจรออกมาสั่งพนักงาน | ||
+ | ให้นตูลายรดน้ำใส่คัมภีร์ พระบาฬีจารึกอักษรสาร | ||
+ | แล้วให้ช่างลงรักปิดทองลาน ไม่ให้จานอักษรทั้งคัมภีร์ | ||
+ | จับปูชุบหมึกมาลากลง ให้พิศวงเส้นยับรอยป่นปี้ | ||
+ | จะอ่นแปลเหลือรู้ดูเต็มที ด้วยไม่มีอักขระเกะกะครัน | ||
+ | ตั้งสมญาเรียกว่าพระไตรปู พิเคราะห์ดูเส้นเฝือเลอะเหลือขัน | ||
+ | แล้วห่อฝ้ามีชายสายรัดพัน ใส่ในตู้มีสำคัญฉลากราย | ||
+ | |||
+ | ให้ช่างจานลงลานอักคัมภีร์ อักษณมีผวนผันขันใจหาย | ||
+ | ให้ชื่อพระไตรคดปดภิปราย ห่อผ้าลายสายรัดมัดไว้ดี | ||
+ | ใส่ไว้ในตู้ลายรดน้ำ เหมือนพระธรรมพุทธพจน์พระชินศรี | ||
+ | ให้คนขนไปปากน้ำทำกุฎี สองห้องมีหลังคาฝาไม้ลาย | ||
+ | พนักงานจัดการตามที่สั่ง พร้อมพรั่งที่ริมฝั่งชลสาย | ||
+ | แทบเชิงเบนท่าลาดมีหาดทราย ธนญไชยก็กลัยกลายเพศเปนเณร | ||
+ | มีเครื่องยศสารพัดให้จัดสรร ทำยศศักดิ์ใหญ่มหันต์มหาเถร | ||
+ | ตั้งฉายาชื่อว่ามหาเลน สามเณรธนญไชยไปกุฎี | ||
+ | อยู่ในกุฏิผู้เดียวเปล่าเปลี่ยวใจ ไม่มีใครเป็นเพื่อนเณรขุนศรี | ||
+ | ฝ่ายสังฆราชลังกาชราชี ห้วงจะสืบข้อคดีปราชญเมืองไทย | ||
+ | ลงเรือโบตให้ตีกระเชียงมา ถึงกุฎีที่ท่าชลาไหล | ||
+ | เห็นสามเณรอยู่ผู้เดียวน่าเปลี่ยวใจ แวะเข้าไปจะถามตามสงกา | ||
+ | ถึงกุฎีเณรศรีธนญไชย จึ่งซักไซ้ข้อควมที่กังขา | ||
+ | ว่าตัวท่านมาอยู่ริมคงคง เหตุไฉนแจ้งกิจจาจะขอฟัง ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายว่าเณรขุนศรีธนญไชย จึ่งปดให้สังฆราชตามใจหวัง | ||
+ | ว่าข้าพเจ้าต้องขับมาจากวัง ให้มายังฝั่งน้ำทำโทษกรณ์ | ||
+ | เพราะรู้น้อยถอยปัญญาปรีชนาเขลา เอาข้าพเจ้ามาทรมานสอน | ||
+ | ให้อยู่ยังริมฝั่งชโลธร ไม่ให้หมู่ราษฎรดูเยี่ยงนี้ | ||
+ | ได้สมญาชนื่อว่ามหาเลน เปนสามเณรต้องพรากบุรีศรี | ||
+ | พระผู้เปนเจ้ามาทำไมในธานี ข้อคดีเปนไฉนอยากได้ความ ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นสังฆราชเมืองลังกา ฟังวาจามหาเนเจ้าเณรถาม | ||
+ | จึงบอกแจ้งแห่งกิจจาพยายาม สู้แล่นข้มมคงตคามานคร | ||
+ | หวังจะแปลคัมภีร์บาฬีอรรถ ให้แจ้งชัดกับปราชญ์ตามอักษร | ||
+ | ด้วยได้ข่าวออกชื่อฦาขจร ว่านครสยามมีคนปรีชา | ||
+ | อันตัวฉันนั้นเปนที่ประสังฆราช หวังมาแปลสู้กับปราชญ์คำสาสนา | ||
+ | อันตัวฉันนั้นเปนที่ประสังฆราช หวังมาแปลสู้กับปราชญ์คำสาสนา | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นเณรศรีธนญไชย ฟังสังฆราชแจ้งใจทุกสิ่งสรรพ์ | ||
+ | จึงตอบว่าเจ้าคุณจะแปลธรรม์ ดีขยันจะได้ดูรู้ปัญญา | ||
+ | จะขอลองให้อแปลพรบาฬี ว่าแล้วหยิบคัมภีร์ที่ห่อผ้า | ||
+ | เปนพระธรรมคำของพระศาสดา ให้พระสังฆราชาแปลให้ฟัง | ||
+ | พระสังฆราชแปลได้ ไม่ข้องขัด เจนชัดมิได้ติดต้องคิดคั่ง | ||
+ | แปลรวดเร็วคล่องจริงจริงไม่นิ่งยั้ง เณรธนญไชยได้ฟังว่าดีจริง | ||
+ | ซึ่งเจาคุณแปลธรรมในคัมภีร์ แคล่วคล่องดีมิได้ขัดชัดทุกสิ่ง | ||
+ | คำมคธเชี่ยวชาญชำนาญจริง แต่ผมกริ่งอิกคัมภีร์ขชื่อไตรปู | ||
+ | จะแปลได้ฤาไฉนยังไม่แจ้ง พระสังฆราชฟังแคลงตะแคงหู | ||
+ | จึงถามว่าเปนอย่างไรพระไตรปู เณรก็หยิบมาให้ดูทั้งคัมภีร์ | ||
+ | พระสังฆราชเห็นลานเปนรอยยับ ไม่ได้ศัพท์แต่สักนิดคิดถ้วนถี่ | ||
+ | ดูไปให้ฉงนจนในที ตอบว่าไตรปูนั้ไม่ได้ความ | ||
+ | พิศไปดูมิใช่ตัวอกักษร ยอกย้อนยุ่งยิ่งกริ่งเกรงขาม | ||
+ | จึงบอกกับศรีธนญว่าจนความ เหลือจะตามไต่แปลไม่แน่ใจ | ||
+ | เณรตอบว่าคัมร์พระไตรปู เจ้าคุณไม่เรียนรู้จะทำไฉน | ||
+ | แปลไม่ได้สักบทจงงดไว้ ยังพระไตรคดคัมภีร์ธรรม์ | ||
+ | ว่าแล้วหยิบคัมภีร์พระไตรคด มีอักษรปรากฎคำผวนผัน | ||
+ | มาให้พระสังฆราชดูฉับพลัน บทต้นนั้นอักขระปะปาปา | ||
+ | ที่สองจารึกเปนอักษร ไม่ยอกย้อนตรงตรงตามภาษา | ||
+ | อ่านได้พอรู้ปะลูลิดตา ที่สามว่าโกนถะกิปะมี | ||
+ | คำรบห้ากะลันทาโชแถลง พระสังฆรดูแคลงคำขุนศรี | ||
+ | คิดไม่ทันตันใจไนคัมภีร์ ด้วยไม่มีในพระไตรปิฎกธรรม์ | ||
+ | จึงบอกว่นคัมภรี์พระไตรคด แปลไม่ออกแต่สักบทให้อัดอั้น | ||
+ | คิดไม่เห็นเปนจนอนย่เท่าน้น ยิ่งตรองก็ยิ่งตันติดเต็มที | ||
+ | ฝ่ายว่าเณรขุนศรีธนญไชย จึงว่าแปลไตรคดอักษรศรี | ||
+ | ก็ไม่ออกคุณบอกว่าเต็มที แม้นไปแปลในบุรีจะได้อาย | ||
+ | ตัวผมงมคลำเพราะความเขลา แปลไม่ได้จึงเอามาชลสาย | ||
+ | ต้องบัพพาชนิยกรรมทำให้อาย มาอยู่ชายเลนเพราะโทษท่โฉดตึง | ||
+ | ผมได้อายต้องมาอยู่ที่ชายฝั่ง เจ้าคุณยังจะอดสูรู้ไม่ถีง | ||
+ | อันนักปราชญที่ครูรู้ฦกซ้ง ไม่พรันพรึงแปลอรรถสันทัดดี | ||
+ | ถ้าจะแปลธรรมสู้กับครูผม จะมิล้มลงท้งยืนในกรุงศรี | ||
+ | โปรดดำริห์ตริตรองให้คล่องดี ถ้าอย่างนี้แล้วคงแพ้การแปลธรรม์ | ||
+ | พระสังฆรมิได้รู้ว่าขู่ลวง นั่งง่วงนย่งคิดจิตรใจส่น | ||
+ | นึกเกรงกลัวจะอายขายหน้าครัน ก็ลาเณรลงกำปั่นรีบหนีไป ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ครานั้นมหาเลนเณรขุนศรี รู้ว่าสังฆราชหนีไม่อยู่ใกล้ | ||
+ | ก็ศึกจากสามเณรในทันใด เข้ามาเฝ้าท้าวไทยทูลกิจจา | ||
+ | ตามที่ตนได้ผจญพระสังฆราช บรมนารถแสนโสมนัศา | ||
+ | ดำรัสถามไตรปูอักขรา เปนอย่างไรเองว่าให้กูฟัง | ||
+ | ธนญไชยทูลความตามที่ทำ เอาปูชุบน้ำดำลากถอยหลัง | ||
+ | ปนรอยยุ่งไม่เปนตัวพัวรุงรัง มีชื่อต้งว่าไตรปูดูยากครัน | ||
+ | พระไตรคดในบทปถะมา ว่าปะปะปาปาว่าขันขัน | ||
+ | ปะลูลิดตาอันดับกัน กับกะลันทาโชอักษรมี | ||
+ | โกนถะกิปะอักขรา พระสังฆราชลังกาจนจึงหนี | ||
+ | กระหม่อมฉันทดลองสองคัมภีร์ จึงได้มีไชยชนะพระลังกา ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ ฝ่ายบรมนินทร์ชดินทร์สูร ได้ฟังทูลทรงมเปนนักหนา | ||
+ | ไม่เสียทืขุนศรีมีปัญญา บทปะปะปาปาว่ากะไร | ||
+ | ขุนธนญทูลว่าคนทาพ้อม เอามูลโคในปลอมดินเหลวไหล | ||
+ | ปะปาทาพ้อมทะตะล่อมไว้ คำแก้ไขอย่างนี้ว่าที่คิด | ||
+ | กะลันทาโชกะโล่ทาชัน โกนถะนั้นกะโถนมิได้ปด | ||
+ | ปละลูลิดตาคือขวานปะลูลด ลิดตาไม้ได้หมดทุกสิ่งอัน | ||
+ | กิปะอักขระว่าสากะปิ อุตริผูกผวนให้หวนหัน | ||
+ | กราบทูลแก่พระองค์ผู้ทรงธรรม์ ทรงสรวลสันต์ชมขุนศรีธนญไชย ฯ | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
รุ่นปัจจุบันของ 16:10, 1 กันยายน 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ ผู้แต่ง: ไม่ปรากฏ
บทประพันธ์
๏ จะกล่าวเรื่องขุนศรีธนญไชย | บุราณท่านเล่าไว้นานหนักหนา | ||
หวังให้แจ้งคนดีมีปัญญา | กู้ภาราด้วยความคิดบิดวาที | ||
ยังมีราชนิเวศน์เขตรสถาน | ป้อมปราการสูงใหญ่เปนศักดิศรี | ||
บริบูรณ์ภูลสมบัติสวัสดี | นามว่าเมืองทวาลีเลิศนคร | ||
ชนชาวภารากว่าห้าแสน | เนืองแน่นยคั่งคับสลับสลอน | ||
ตั้งเคหารายรอบขอบนคร | ราษฎรแสนศุขสนุกสบาย | ||
ฝ่ายจอมพระนครินทร์ปิ่นประชา | สมญาทวาละเลิศเฉิดฉาย | ||
ข้าศึกศัตรูหมู่คิดร้าย | ไม่กล้ำกรายสยองเกล้าทุกท้าวไท | ||
พระเกียรติยศปรากฎในใต้หล้า | ดังมหาจักรพรรดิกระษัตริย์ใหญ่ | ||
พร้อมจัตุรงค์มหาเสนาใน | ม้ารถคชไกรทหารเดิน | ||
สนมนางพ่วงเพียงอับศรสวรรค์ | หมื่นหกพันหน้านวลควรสรรเสริญ | ||
โฉมสำอางงามจริตต้องจิตรเพลิน | รุ่นจำเริญผิวผ่องดังทองทา | ||
ส่วนพระจอมเทพีศรีสมร | นามกรซื่อสุวรรณบุบผา | ||
ทรงโฉมประโลมใจไนยนา | เปนใหญ่กว่าแสนสุรางค์เหล่านางใน | ||
ได้ว่ากล่าวเถ้าแก่หลวงแม่เจ้า | โขลนจ่าหมอบเฝ้าเรียงไสว | ||
เธอสิทธิขาดราชการงานฝ่ายใน | บำเรอไทธิบดินทร์นรินทร ฯ | ||
๏ ในเมืองมีบ้านพราหมณ์รามราช | เปนครูฉลาดรอบรู้ธนูศร | ||
ทั้งชำนาญไตรเพทวิเศษขจร | อิกตำราพยากรณ์ฝันร้ายดี | ||
เปนทิศาปาโมกข์โฉลกฤกษ์ | เอิกเกริกฦาฟุ้งทั้งกรุงศรี | ||
ทั้งภรรยานงรามพราหมณี | รู้วิธีทายสุบินสิ้นทั้งมวญ ฯ | ||
๏ ยังมีสองสามีภิริยา | ตั้งเคหาอยู่ริมไร่ใกล้เขตรสวน | ||
หมู่ดั้นผู้ภัศดาเคหาซวน | เสาโย้จวนจะพังต้องรั้งโย้ | ||
ภรรยาซื่อยายปลีเมื่อมีครรภ์ | นิมิตรฝันแปลกเพื่อนเชือนโยโส | ||
ว่ากินหยากเยื่อลองจนท้องโต | ดังคนโซกวาดกินสิ้นทั้งเมือง | ||
ครั้นตื่นขึ้นคิดขันฝันเราหนอ | จะเกิดก่อทุกข์ไฉนไม่รู้เรื่อง | ||
ถามหมื่นดั้นจนใจให้ขุ่นเคือง | จึงย่างเยื้องไปหาพฤฒาจารย์ | ||
เมื่อวันนั้นท่านครูหาอยู่ไม่ | จึงวอนไหว้พราหมณีแถลงสาร | ||
เล่าฝันกับภรรยาท่านอาจารย์ | โปรดดีฉานช่วยทายร้ายฤาดี ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านภรรยาพฤฒาเถ้า | ได้ฟังเล่าในฝันนั้นถ้วนถี่ | ||
จึงทำนายทายฝันให้ยายปลี | ว่าจะมีบุตรชายปรีชาคำ | ||
พูดจาแคล่วคล่องว่องไวนัก | รู้หลักลอดคนข้อคำขำ | ||
เปนตลกหลวงดีมีคนยำ | ท่านจงจำไว้เถิดประเสริฐชาย | ||
ส่วนยายปลีได้ฟังทำนายฝัน | ก็อภิวันท์ลามาด้วยสมหมาย | ||
ประดับประคองท้องไว้ ไม่ระคาย | ค่อยสบายหายทุกข์เปนศุขใจ ฯ | ||
๏ ครานั้นท่านพราหมณ์พฤฒาจารย์ | กลับมายังสถานที่อาไศรย | ||
ฝ่ายภรรยาก็เล่าความตามทายไป | กลัวจะไม่ถูกตำราสามีตน | ||
พฤฒาเถ้าฟังเล่าทำนายฝัน | หุนหันว่าเจ้าทายไม่เปนผล | ||
บุตรเขาดีจะเปนที่เจ้านายคน | ทำนายผิดจะไม่พ้นอันตราย | ||
อิกเจ็ดวันฟ้าจะผ่าศีศะเจ้า | นางฟังเล่าร้อนตัวกลัวใจหาย | ||
ให้อัดอั้นสั่นระรัวทั่วทั้งกาย | ว่าท่านช่วยคิดอุบายให้พ้นไภย | ||
ฝ่ายว่าทิศาปาโมกข์เถ้า | ช่วยแบ่งเบาทำตามคัมภีร์ไสย | ||
ปั้นรูปพราหมณีใส่ชื่อใน | ไปตั้งไว้ห่างบ้านสถานตน | ||
แล้วเอาขันครอบศีศะที่รูปปั้น | พอเจ็ดวันมืดกลุ้มคลุ้มเมฆฝน | ||
ครั่นครื้นเสียงฟ้าคำรามรน | พอเม็ดฝนตกต้องลอองปราย | ||
อสนีฟาดเปรี้ยงเสียงสท้าน | ผ่ากระบานรูปปั้นขนสลาย | ||
พราหมณีก็รอดจากความตาย | ด้วยอุบายภัศดาพฤฒาจารย์ | ||
จึงมิให้ใช้ขันรองน้ำฝน | ทุกตัวคนทั่วประเทศเขตรสถาน | ||
กลัวฟ้าจะผ่าขันด้วยบันดาล | ตลอดกาลจนทุกวันท่านกล่าวมา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | เลิศลบแดนไตรในใต้หล้า | ||
ดำรงเมืองเรืองยศปรากฎมา | แสนสำราญโรคาไม่ยายี | ||
ร่วมภิรมย์สมสวาดินาฎนาเรศ | ซึ่งเปนเกษกำนัลนารีศรี | ||
นางทรงครรภ์สิบเดือนกำหนดมี | จวนจะคลอดเทพีรัญจวนใจ | ||
ให้ป่วนปวดรวดเร้าเศร้าโทมนัศ | พร้อมแพทย์แออัดอยู่ไสว | ||
หมอตำแยอยู่งานนางทรามไวย | เวลาได้ฤกษ์ประสูตรพระกุมาร ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมทวาลีบุรีราช | บรมนารถเห็นโอรสยอดสงสาร | ||
จึงให้โหราพฤฒาจารย์ | ดูลักษณกุมารดวงชตา | ||
คูณหารสอบสวนทบทวนไป | ก็แจ้งใจคืนวันพระชัณษา | ||
จึงกราบทูลว่าองค์กุมารา | มีบุญญาธิการกล้าหาญครัน | ||
มีเดชะอำนาจราชศักดิ | ปรปักษ์ทั่วทิศกลัวฤทธิพรั่น | ||
แต่เลี้ยงเธอยากนักหนักอกครัน | ถ้าได้กุมารร่วมวันทันเวลา | ||
เมื่อประสูตรโอรสยศไกร | หาให้ได้เหมือนกันกับชัณษา | ||
มาเลี้ยงด้วยกันกับราชบุตรา | กุมาราจึงเจริญไม่มีไภย ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงวัง | ได้ทรงฟังโหรแจ้งแถลงไข | ||
จึงเอื้อนอรรถตรัสสั่งเสนาใน | เอาฆ้องไปตีประกาศราษฎร | ||
ว่าผู้ใดคลอดบุตรเมื่อวันวาน | พระโองการต้องประสงค์อย่าเร้นซ่อน | ||
จะทรงเลี้ยงเคียงดไนยไม่อาทร | ทั่วนครใครมีบุตรบุรุษชาย | ||
จงบอกความตามจริงอย่านิ่งช้า | ข้าจะพาบุตรเจ้าเข้าถวาย | ||
อำมาตย์ตีฆ้องพลางทางภิปราย | ถึงบ้านยายปลีที่ฝันขันพิกล | ||
ความว่าเมื่อภรรยาพฤฒาเถ้า | ทำนายฝันตามเล่าซึ่งเหตุผล | ||
ยายปลีมีครรภ์ได้สิบเดือนดล | คลอดบุตรตนเปนชายโฉมโสภา | ||
ฤกษ์ยามเวลาก็พร้อมกัน | กับจอมขวัญประสูตรโอรสา | ||
เมื่ออำมาตย์ตีฆ้องร้องป่าวมา | ตกประหม่าไม่มีขวัญตัวสั่นงก | ||
ครั้นจะนิ่งปิดความว่าไม่มี | พระองค์ทราบคดีว่าโกหก | ||
จะลงโทษกายระบมตรมอกฟก | นึกแล้วอุ้มทารกมาบอกความ ฯ | ||
๏ ครานั้นเสนาข้าราชการ | ฟังว่าขานสอบไล่ซักไซ้ถาม | ||
รู้แน่ว่าเด็กนั้นพร้อมฤกษ์ยาม | กับโอรสจอมสยามทวาลี | ||
จึงรับเอากุมารามาถวาย | ทูลดังยายมารดาว่าถ้วนถี่ | ||
ฝ่ายพระจอมภาราทวาลี | ฟังวาทีเสวกาปรีดาครัน | ||
โปรดให้หานางนมแลพี่เลี้ยง | ประคองเคียงรักษาทารกนั่น | ||
ให้โอรสอย่างไรก็ให้ปัน | แก่กุมารคนนั้นเหมือนกันมา | ||
จนสองกุมารชัณษาสิบห้าปี | โปรดให้เรียนตระบองกระปิติศึกษา | ||
กระบวนรบครบอย่างขี่ช้างม้า | พุ่งสาตรายิงแทงแผลงธนู | ||
อิกให้เรียนไตรเพทเวทมนต์ขลัง | คงจังงังทรหดอดทนสู | ||
แคล้วคลาศสารพัดหัดให้รู้ | ทรงเอนดูสองราเมตตานัก | ||
ครั้นอยู่มาจอมประชาชราร่าง | โรคหลายอย่างก่อกวนประชวรหนัก | ||
ตรัสเรียกสองดไนยผู้ยอดรัก | มอบมไหไตรจักรใครอบครอง | ||
ประทานราโชวาทประสาทให้ | รักใคร่อย่าเดียดฉันกันทั้งสอง | ||
อย่าข่มเหงต่อยตีเหมือนพี่น้อง | เจ้าปรองดองสองรารักษาเมือง | ||
แม้นว่าน้องพ้องผิดโทษถึงฆ่า | ได้เมตตาปัดเป่าให้เบาเปลื้อง | ||
อย่าขุ่นแค้นฆ่าฟันเลยขวัญเมือง | ถ้าขัดเคืองอดออมถนอมกัน | ||
หนึ่งขุนนางข้าเฝ้าเหล่าทั้งหลาย | จงแจกจ่ายเบี้ยหวัดดูจัดสรร | ||
ผู้ใดมีความชอบตอบรางวัล | ให้แบ่งปันสนองคุณการุญรัก | ||
เงินตราผ้าพานทองคำให้ | เครื่องกาไหล่เครื่องถมแลสมปัก | ||
เสลี่ยงแคร่กระบี่สายสพายสพัก | สมยศศักดิความชอบจงตอบแทน | ||
ราษฎรทั่วประเทศในเขตรขัณฑ์ | อย่าเบียนมันให้ทุกข์ร้อนค่อนแค่น | ||
จงเมตตาคนจนขัดสนแกน | ทุกด้าวแดนให้เปนศุขสนุกใจ | ||
สมณะชีพราหมณ์อย่าหยามหยาบ | เกรงกลัวบาปละปลดอดจิตรให้ | ||
ควรบำรุงสงเคราะห์สักเพียงไร | ก็จงให้พองามตามศรัทธา | ||
หนึ่งข้าเฝ้าเหล่าขุนนางต่างตำแหน่ง | แม้นระแวงราชกิจผิดนักหนา | ||
จะลงโทษก็ให้ต้องตามอาชญา | ฤาหนึ่งถ้าทัณฑกรรมทำพอควร | ||
อย่ามากมูลโทษะมนะผิด | ควรคิดโดยระบอบสอบไต่สวน | ||
ควรเฆี่ยนควรขังเชือกหนังทวน | จำโซ่ตรวนขื่อคาอย่าทำเกิน | ||
พ่อจำคำบิดาสั่งตั้งความสัตย์ | แม้นปฏิบัติชื่อตรงคงสรรเสริญ | ||
ราชการภาราพ่อพย่าเมิน | อย่าหลงเพลินนางในไม่ได้การ | ||
พระโอรสฟังโองการประทานสอน | โอนอ่อนเศียรคำนับรับสั่งสาร | ||
ทั้งราชบุตรบุญธรรมก้มกราบกราน | รับโอวาทซึ่งประทานด้วยเศียรตน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์จอมเจิมเฉลิมโลก | ประชวรโรคแรงกล้าดังห่าฝน | ||
สิ้นกำลังลมปราณเหลือทานทน | สวรรคตอยู่บนพระแท่นทอง ฯ | ||
๏ ครานั้นเสวกามหามาตย์ | เกลื่อนกลาดแออัดจัดสิ่งของ | ||
เครื่องสูงแตรสังข์พระโกษฐทอง | จ่าปี่จ่ากลองเรียกร้องมา | ||
กลองชนะเบิงมางวางเตรียมไว้ | ชั้นแว่นฟ้ารีบไปยกคอยท่า | ||
คู่เคียงพระสเลี่ยงเทวดา | โปรยมาลาเข้าตอกบอกมาคอย | ||
พระสงฆ์นำน่าฉานอ่านหนังสือ | สังฆ์การีวิ่งปรื๋อไม่ล้าถอย | ||
เผดียงราชาคณะวัดพระลอย | ไวไวหน่อยเถิดเจ้าคุณวุ่นเต็มที | ||
ฝ่ายว่าราชาคณะพระญาณสิทธิ์ | ซึ่งสถิตย์วัดพระลอยก็เร็วรี่ | ||
รีบครองผ้าเรียกศิษย์ได้ตามมี | สังฆ์การีพามาพักคอยชักนำ ฯ | ||
๏ ครานั้นจึงพระราชกุมาร | เชิญพระศพสรงสนานจนจวนค่ำ | ||
มาลาภูษาถวายเครื่องทรงประจำ | เครื่องต้นล้วนทองคำลงยาดี | ||
ทรงเครื่องต้นเสร็จสรรพสำหรับกระษัตริย์ | เชิญเข้าโกษฐเนาวรัตน์มณีศรี | ||
ประโคมแตรสังข์สนั่นลั่นดนตรี | กลองชนะพร้อมตีเสียงมี่วัง | ||
ฝ่ายพวกกระบวนแห่เสียงแซ่ซ้อง | ตั้งกระบวนเปนกองคอยรับสั่ง | ||
ได้เวลาพระศพออกจากวัง | ดูสพรั่งกระบวนแห่แลหลามมา | ||
พวกตั้งชั้นแว่นฟ้าเสนาภิมุข | ชาดสีสุกทาซ่อมที่คร่ำคร่า | ||
ช่างรักปิดทองผ่องจับตา | ช่างกระจกประดับประดาที่ชำรุด | ||
เครื่องแก้วตั้งคลังพิมานอากาศจัด | ศุภรัตขนผ้าไตรอุตลุด | ||
รักษาองค์เติมน้ำมันฟันชุด | รายกันจุดอัจกลับสับสนครัน | ||
แห่พระศพถึงที่นั่งมังคลา | เชิญตั้งแท่นแว่นฟ้างามเฉิดฉัน | ||
เรียงรอบเครื่องสูงลายสุวรรณ | จามรทานตวันพัดโบกราย | ||
กลิ้งกลดบดบังพระสุริยนต์ | หักทองขวางห้าชั้นอิกชุมสาย | ||
แว่นทองปักกระเสตขันทองพราย | บุบผาพวงห้อยรายกลิ่นขจร | ||
ข้าราชการกราบราบศิโรตม์ | ถวายบังคมบรมโกษฐสท้อนถอน | ||
ฤไทยโทมนัศาให้อาวรณ์ | พิไรรักภูธรสิ้นทุกคน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระราชโอรสยศไกร | เสด็จมาโศกาไลยพิไรบ่น | ||
พระราชบุตรบุญธรรมก็ทุกข์ทน | น้ำสุชนไหลหลั่งนั่งโศกา | ||
ครั้นจัดแต่งตั้งพระศพครบครัน | สดัปกรณ์นับพันไตรสิบห้า | ||
พระสงฆ์เนื่องแน่นหลามตามชลา | พระราชาคณะได้ไตรทุกองค์ | ||
เสร็จทำกุศลกิจอุทิศไป | ถวายไทชนกนารถราชหงษ์ | ||
จึงสมเด็จโอรสยิ่งยศยง | เสด็จลงจากปราสาทลีลาศมา | ||
พวกร้องไห้นางในก็ส่งเสียง | เสนาะสำเนียงว่าพระพุทธเจ้าข้า | ||
พระร่มโพธิทองล่องสู่ฟ้า | เสด็จไปชั้นใดข้าจะตามไป | ||
โอ้พระร่มโพธิแก้วลับแล้วลิบ | เสวยทิพพิมานสถานไหน | ||
ข้าน้อยพยายามจะตามไป | ไม่ทิ้งไทนฤเบศร์เกษประชา ฯ | ||
๏ ครานั้นหมู่อำมาตย์ข้าราชการ | กับพระราชกุมารโอรสา | ||
พร้อมกันกะเกณฑ์การฌาปนา | ทำมหาเมรุปราค์ตามอย่างยศ | ||
สูงเส้นห้าวาสง่านาม | เมรุทิศงามสามสร้างต้องอย่างหมด | ||
เมรุทองในเครื่องชั้นเปนหลั่นลด | ต้องแบบตามบททุกสิ่งอัน | ||
ราชวัตรฉัตรทองฉัตรเงินนาก | แลหลากตั้งสลับลำดับคั่น | ||
ฉัตรเบญจรงค์รายออกนอกอิกชั้น | ตลอดกั้นราชวัตรขนัดแนว | ||
ราชวัตรฉัตรรายทางข้างถนน | ทางสถลที่จะแห่แลเปนแถว | ||
โรงการเล่นเต้นรำทำเสร็จแล้ว | ท้องสนามกวาดแผ้วสอาดเตียน | ||
โรงรำช่องระทาระดาดาษ | เอาแผงลาดหลังคาทาเครื่องเขียน | ||
กั้นฉากวาดดูงามเรื่องรามเกียรติ์ | ล้วนแนบเนียนนน่าสนุกทุกโรงงาน | ||
หกคเมนลอดบ่วงห่วงน้อยเสา | ติดต่อเข้าสามต่อสูงตะหง่าน | ||
รำแพนเสาไต่ลวดสูงลิ่วทยาน | ตามอย่างงานบรมศพมีครบครัน | ||
เตรียมการเสร็จทุกด้านงานกำหนด | เชิญพระโกษฐขึ้นรถแห่สนั่น | ||
เข้าพระเมรุสมโภชสิบห้าวัน | ถวายพระเพลิงทรงธรรม์กระษัตรา | ||
สมโภชพระอัฐิลอยอังคาร | เสร็จการเชิญอัฐิขั้นรัถา | ||
แห่เข้าสู่พระนครา | เหล่าเสวกาโศกเศร้าเฝ้าพิไร | ||
จึงประชุมมาตยามหาอำมาตย์ | จะยกราชโอรสครองกรุงใหญ่ | ||
เห็นพร้อมกันต่างอำนวยอวยไชย | จึงหมายให้จัดราชาภิเศกการ | ||
เกณฑ์กันทำการทุกด้านทาง | ตามอย่างขัติยามหาศาล | ||
อภิเศกพระราชกุมาร | ให้ขึ้นผานทวาลีบุรีรมย์ | ||
ถวายพระนามเหมือนพระราชบิดา | ว่าทวาลีราชองอาจสม | ||
พระเดชาปรากฎยศอุดม | ครองบรมธานีศรีโสภา | ||
จึงให้กุมารบุญธรรม์นั้นไปบวช | เล่าเรียนสวนพระคัมภีร์มีสิกขา | ||
เปนสามเฌรอู่กับพระครูบา | จันทสุบิงสมญาพระอาจารย์ ฯ | ||
๏ มาวันหนึ่งพระครูผู้ที่บวช | ท่านไปสวดในป่าช้ากลับสถาน | ||
ได้อ้อยมาถึงควั่นให้ขอทาน | สามเณรกุมารบุตรบุญธรรม์ | ||
ตัวท่านฉันกลางที่หว่างข้อ | สามเณรก็ไม่ขอกลางปล้องฉัน | ||
ตั้งแต่กินข้ออ้อยไปวันนั้น | มีปัญญามากครันแปลกกว่าคน | ||
จึงคิดทายปฤษณาพระอาจารย์ | ห้าข้อไม่วิตถารปัญญาต้น | ||
ลองความรู้พระครูอาจารย์ตน | มาทายชนเข้ากับรังดังพูดกัน | ||
ในบทปถมังดังเวหา | ที่สองว่าชาโตเนข้อขัน | ||
คูชลามิคาลำดับกัน | เปนที่สามด้นดั้นปัญหาเณร | ||
จัตวาติตานี้ที่สี่แถลง | แปะๆ ปะๆ มาแจ้งมหาเถร | ||
ถามว่าได้แก่อะไรให้ชัดเจน | พระฟังเณรตรองปัญหาปัญญาตัน | ||
ค้นคัมภีร์มีในตู้ดูไม่เห็น | ก็นิ่งเว้นมาสามทิวาคั่น | ||
นั่งคิดนอนคิดให้มิดตัน | ต่อได้ฉันแกงหมูจึงรู้ความ | ||
บอกแก่สามเณรว่าคิดได้ | ปัญญาที่แคะได้เอามาถาม | ||
ดังเวหาคืองาช้างงอนงาม | ชาโตตามบทมาว่าคางคก | ||
คูชลามิคาคือครุเก่า | ชันที่เขายาไว้ร่วงไหลตก | ||
รั่วร้ำคร่ำคร่ามาหลายยก | ถลอกถลกละลายเหลวเลอะเทอะ | ||
จัตวาตีตาตีรั้วบ้าน | ทั้งข้อตาตีปสานใส่ออกเปรอะ | ||
แปะๆ ปะ ปฤษณาว่าเคอะ | ควายกินหญ้าคี่เลอะหยดย้อยไป | ||
แต่แรกคิดว่าจะฦกลับนักหนา | มิรู้ว่าความตื้นอยู่ใกล้ใกล้ | ||
เจ้าสามเณรฟังทายถูกในใจ | ชมพระครูผู้ใหญ่ว่าดีจริง ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงพวกลาวชาวส่วยเมี่ยง | มาแต่เวียงหาบกระบอกกตุ้งกติ้ง | ||
ห้าร้อยบอกหนักบ่าในตาวิง | ถึงตลิ่งจะข้ามฝั่งนั่งหยุดพัก | ||
เมื่อวันนั้นสามเณรมาสรงน้ำ | เห็นพวกลาวพุงดำล้วนลายสัก | ||
กระบอกผูกพวงวางพลางถามทัก | กระบอกรักฤาอะไรไปไหนมา | ||
ฝ่ายว่าลาวชาวเวียงส่วยเมี่ยงหลวง | บอกว่าข้อยทั้งปวงอยู่เมืองป่า | ||
เปนชาวเวียงส่วยเมี่ยงจึงขนมา | พักที่ท่าหมายจะข้ามฝั่งนที | ||
อันแม่น้ำตื้นฤาฦกมาก | ข้อยทั้งปวงนี้อยากข้ามที่นี่ | ||
จะข้ามได้ฤามิได้ ในชลธี | แจ้งคดีมาหน่อยข้อยขอฟัง | ||
ฝ่ายเจ้าเณรฟังพวกส่วยเมี่ยงถาม | จึงบอกความว่าน้ำตื้นพอยืนหยั่ง | ||
แต่จะข้ามนั้นขัดสนพ้นกำลัง | แกจงรั้งรอก่อนผันผ่อนคิด | ||
ลาวเวียงไม่ทันตรองร้องว่าไป | จะข้ามให้ได้ถึงฝั่งสมดังจิตร | ||
ถ้าข้ามได้แล้วจั่วจะกลัวฤทธิ | ฤาพนันกันสักนิดก็เล่นกัน | ||
เณรถามว่าถ้าข้ามไปไม่ได้ | พี่จะเอาอะไรมาให้ฉัน | ||
พวกส่วยเมี่ยงว่าจะให้เมี่ยงทั้งนั้น | แม้นข้ามได้เณรจะปันให้อะไร | ||
สามเณรตอบว่าข้ามถึงฝั่ง | ข้าจะรังวัลสบงอังสะให้ | ||
แต่เมี่ยงหลวงมาให้ปันฉันตกใจ | จะมาไถ่สินพนันนั่นนึกกลัว | ||
ฝ่ายพวกส่วยตอบว่าถึงของหลวง | มิใช่ช่วงชิงแย่งเจ้าอยู่หัว | ||
ถึงมาเสียสินพนันไม่พันพัว | ให้พ่อจั่วแล้วจะใช้ให้อื่นแทน | ||
ครั้นพูดจานัดหมายกันแม่นมั่น | ชาวเวียงก็นุ่งพันผ้าให้แน่น | ||
แล้วหิ้วเมี่ยงท่องน้ำมาตามแกน | ถึงฝั่งแหงนเงยหน้าว่ากับเณร | ||
ข้อยข้ามมาถึงฝั่งดังพนัน | จะให้ปันสบงก็ให้เถิดพี่เถร | ||
อย่าช้าเลยจะไปส่งของส่วยเกณฑ์ | เร็วพ่อเณรข้อยจะลาเข้าธานี | ||
สามเณรตอบว่าข้าไม่ให้ | เดิมว่าไว้จะจะข้ามเล่นท่องหนี | ||
ซึ่งท่องน้ำลุยมาในวารี | ที่ตรงนี้ไม่ว่ากันในสัญญา | ||
แกเหล่านี้ลุยน้ำท่องมาฝั่ง | ไม่เหมือนดังพูดไวัที่ได้ว่า | ||
จะยึดเอาเมี่ยงทั้งหมดที่เอามา | ไม่ข้ามดังสัญญาที่พาที ฯ | ||
๏ ว่าแล้วเณรก็ริบเอาเมี่ยงหมด | พวกส่วยหน้าสลดไม่มีศรี | ||
จึงมาเรียนต่อท่านเสนาบดี | ให้ทูลใต้ฝ่าธุลีพระทรงธรรม์ ฯ | ||
๏ ครานั้นเจ้าพระยาอธิบดี | ฟังวาทีพวกลาวส่วยว่าแขงขัน | ||
แจ้งข้อความตามเรื่องเณรพนัน | เอาเมี่ยงส่วยกึ่งพันของชาวเวียง | ||
จึงกราบทูลพระองค์ผู้ทรงภพ | ไปจนจบตามเรื่องพนันเมี่ยง | ||
แล้วแต่จะโปรดโทษลาวเชียง | หมอบเมียงคอยฟังพระโองการ ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมนรินทร์ปิ่นประชา | ได้ฟังว่าเณรนั้นทำอาจหาญ | ||
เล่นพนันกันกับลาวฉาวสท้าน | อยากฟังคำให้การจะอย่างไร | ||
จึงดำรัสให้หาเณรเข้ามา | ตรัสถามว่าพนันเล่นเปนไฉน | ||
เณรถวายพรองค์พระทรงไชย | ทูลไปตั้งแต่ต้นจนจบปลาย | ||
ได้ทรงฟังก็ดำริห์ตริตรึกตาม | ข้อความโดยทำนองทั้งสองฝ่าย | ||
จึงดำรัสว่าไม่ควรจะวุ่นวาย | อย่าเสียดายคิดเงินให้กับเณร | ||
ตามีสักสี่ซ้าห้าบาท | เจ้ากูฉลาดคำคมคารมเถร | ||
ให้เปนเลิกอ่าเซ้าซี้จะมีเวร | เงินประเคนเจ้ากูอย่าสู้ความ ฯ | ||
๏ ฝ่ายสามเณรได้ฟังรับสั่งโปรด | ไม่มีโทษกลับจะได้เงินหลายย่าม | ||
ก็รีบมากุฎีที่อาราม | ยืมบาตรตามพระสงฆ์ลงบันได | ||
ถือบาตรห้าฝาสี่ขมีขมัน | เข้าวังพลันแล้ววางบาตรลงให | ||
ว่ามีพระโองการมาอย่างไร | ฉันมิได้ล่วงละพระบัญชา | ||
รับสั่งให้ใช้เงินแทนเมี่ยงส่วย | จึงไปฉวยฝามาสี่แต่บาตรห้า | ||
แน่พวกส่วยจงตวงเอาเงินมา | ให้เต็มบาตรเต็มฝาจะลาไป ฯ | ||
๏ พวกส่วยเห็นบาตรห้าฝาถึงสี่ | สุดคิดด้วยไม่มีเงินจะใËé | ||
ปฤกษากันต่างคนต่างจนใจ | เราจะได้เงินตราไหนมาพอ | ||
แม้นขายตัวลงทั้งหมดยังลดหย่อน | เหลือจะผ่อนแบ่งเบาแล้วเราหนอ | ||
สิ้นปัญญานิ่งนังดังหลักตอ | จึงทูลข้อขัดสนพ้นกำลัง ฯ | ||
๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูร | ทรงฟังทูลเรื่องเณรเหมือนบ้าหลัง | ||
จึงดำรัสโปรดให้ไขพระคลัง | ขนเงินใส่บาตรทั้งห้าบาตรพระ | ||
อิกสั่งให้ใส่ฝาครบทั้งสี่ | ใช้หนี้เณรแทนพวกเลี้ยงจะกละ | ||
พวกลาวถวายบังคมก้มคารวะ | ขอเดชะทูลยกพระเกียรติยศ | ||
แล้วทูลลากลับหลังยังบ้านตน | ฝ่ายพระจอมจุมพลให้รวมจด | ||
เปนเงินสี่ร้อยชั่งเศษยังลด | อิกสี่ชั่งคิดปะชดถ้วนห้าร้อย | ||
จึงทรงดำริห์ว่าเณรปัญญามาก | คนเช่นนี้หายากไม่ชั่วถ่อย | ||
ถ้าได้เลี้ยงเป็นมนตรีดีไม่น้อย | จะใช้สอยแคล่วคล่องเห็นว่องไว | ||
จึงโปรดให้เณรสึกทำราชการ | เณรไปลาอาจารย์ท่านผู้ใหญ่ | ||
รีบสึกออกมาข้าจะใช้ | เณรก็ไปลาสิขาสึกมาพลัน ฯ | ||
๏ คนทั้งหลายเรียกนามว่าเชียงเมี่ยง | ได้ชื่อเสียงตามเหตุพนันขัน | ||
เพราะชนะเรื่องเมี่ยงซึ่งเถียงกัน | ได้รางวัลเงินตราเกือบห้าร้อย ฯ | ||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงก็ได้มาเปนข้าเฝ้า | หมั่นเข้าวังให้ทรงใช้อย | ||
ไม่ไกลปาทจอมนราอุส่าห์คอย | ให้ใช้เล็กใช้น้อยข้างน่าใน | ||
ท้าวเธอไม่รังเกียจเดียดฉัน | แพรพรรณปูนบำนาญประทานให | ||
ทั้งเงินตราผ้าเสื้อจนเหลือใช้ | เข้าข้างในออกข้างน่าไม่ว่ากัน | ||
อยู่มาวันหนึ่งเจ้าจอมสถาน | เสวยพระกระยาหารให้อัดอั้น | ||
มิใคร่ได้มาหลายทิวาวัน | พระทรงธรรม์ให้หาเชียงเมี่ยงมา | ||
ดำรัสว่ากูกินเข้าไม่ค่อยได้ | ทำอย่างไรจึงจะค่อยมีรศหวา | ||
เชี่ยงเมี่ยงทูลมูลคดีว่ามียา | ให้เสวยโภชนามามีรศ | ||
ดำรัสว่าเองเอายามาให้กู | จะกินแก้ลองดูให้ปรากฎ | ||
เชียงเมี่ยงรับคารวะน้อมประนต | พระโอสถหม่อมฉันดีมีที่เรือน | ||
ทูลแล้วลีลามาสู่บ้าน | เที่ยวเล่นศุขสำราญกับพวกเพื่อน | ||
ไม่หายาทูลลามาแชเชือน | นอนอยู่เรือนจนสายสบายใจ ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | ผิดปลาดเชียงเมี่ยงหามาไม | ||
คอยอยู่จนเที่ยงสายก็หายไป | แสบอุทรสั่งให้เชิญเครื่องมา | ||
เสวยเวลานั้นมีรศมาก | เพราะหิวอยากเสวยได้เปนนักหนา | ||
ตวันบ่ายชายแสงพระสุริยา | เชียงเมี่ยงมาเข้าเฝ้าพระภูมี | ||
จึงประภาษตวาดรับสั่งขู่ | อ้ายเชียงเมี่ยงลวงกูไม่พอที่ | ||
ไปเอายาเนิ่นนานจนปานนี้ | ไหนยาดีขอกูดูอยากรู้รศ | ||
แต่คอยอยู่เห็นสายจวนบ่ายแล้ว | ไม่วี่แวดมาจนหิวพ้นกำหนด | ||
แสบอุทรกินเสียก่อนค่อยมีรศ | อาหารหมดชามมากกว่าทุกครั้ง ฯ | ||
๏ เชียงเมี่ยงว่านั่นและยาหม่อมฉันถวาย | เพราะเวลาเที่ยงสายโอสถขลัง | ||
อร่อยเมื่ออยากเสวยมากมีกำลัง | ไม่ต้องตั้งพระโอสถเข้าหมดชาม ฯ | ||
๏ จอมประชาตรัสว่าเจ้าหมอเอก | พูดโหยกเหยกโยกย้ายอ้ายส่ำสาม | ||
มันช่างว่าพลิกไพล่ได้ใจความ | ไม่เข็ดขามพูดเปนลิดไม่ติดเลย | ||
ให้ขุ่นเคืองในพระไทยแต่ไม่ตรัส | พระดำรัสทีหยอกเย้าเฉลย | ||
เกรงขุนนางรู้ความจะหยามเย้ย | ทรงชมเชยพระวาจาทำปรานี ฯ | ||
๏ ครั้งหนึ่งพระองค์ผู้ทรงเดช | สั่งให้เลือกช้างวิเศษมีศักดิศรี | ||
อันควรเปนพระที่นั่งกำลังดี | พ่วงพีกล้าหาญชาญณรงค์ | ||
กรมช้างผูกช้างพระที่นั่ง | ขับมานั่งน่าพระลานโดยประสงค์ | ||
เสด็จออกทอดพระเนตรจะลองทรง | มีพระองการถามเสนาใน | ||
ว่าช้างนี้ครบทุกสิ่งสรรพ์ | ฤาควรติรูปพรรณที่ไหนได้ | ||
อำมาตย์ทูลว่างามควรทรงใช้ | ติไม่ได้แต่สักอย่างจนย่างเดิน | ||
เวลานั้นเชียงเมี่ยงเฝ้าอยู่ด้วย | จึงว่าจะช่วยตีบ้างเห็นขัดเขิน | ||
ส่วนตัวโตไม่สมตาเล็กเกิน | สรรเสริญว่าดีพร้อมไม่ยอมตาม ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์ทรงฟังเชียงเมี่ยงว่า | เคืองฤไทยด้วยมาขัดหยาบหยาม | ||
แต่ทรงนิ่งไม่ตรัสให้แจ้งความ | มันลวนลามล้อเล่นเห็นไม่ควร | ||
จึงดำรัสความอื่นกับเสวกา | ทรงชวนไปเล่นสบ้าที่ปลายสวน | ||
พอเล่นแก้ไม่หยาบหายรัญจวน | ตั้งกระบวนแล้วเสด็จยาตราพลัน | ||
ถึงที่ประทับพลับพลาสนามเล่น | ขุนนางตั้งสบ้าเปนลำดับคั่น | ||
ตั้งสบ้าพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | เปนลดหลั่นรายเรียงเคียงกันไป | ||
สมเด็จพระเจ้าทวาลีมีอำนาจ | ทรงยิงสบ้าหมายมาดไม่ผิดไพล่ | ||
ทรงยิงก่อนถูกสุอันที่ตั้งไว้ | ขุนนางก็ยิงลำดับไปตามศักดินา | ||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงตบมือร้องเสียงหลง | ของพระองค์เลยทุกทีอึงมี่ว่า | ||
ครั้นพวกข้าเฝ้าเหล่าเสนา | ยิงสบ้าถูกหมายไม่สายซัด | ||
เชียงเมี่ยงร้องยิงผิดสิ้นทุกคน | พระจุมพลแลขุนนางต่างเคืองขัด | ||
ได้อับอายขายหน้าโทมนัศ | จอมกระษัตริย์ก็เสด็จกลับสู่วัง | ||
ครั้นนานมาพระครูเปนผู้เถ้า | โรคเร้าเกิดซุกทนทุกขัง | ||
จันทสุบิงสมญากาละกะตัง | ถึงมรณังมรณะชีพประไลย ฯ | ||
๏ พระครูนั้นไร้ญาติขาดพงษา | บุตรนัดดาจะมีก็หาไม่ | ||
พี่น้องมิตรสหายล้วนตายไป | เสนาในกราบทูลพระกรุณา | ||
ว่าพระครูผู้เถ้ามรณภาพ | อัประลาภไร้วงษ์เผ่าพงษา | ||
จงทรางทราบใต้ฝ่ามุลิกา | ศพไม่มีใครนำพาทำกิจการ | ||
จึงดำรัสตรัสให้หมู่เสนา | ช่วยกันทำฌาปนาในศพท่าน | ||
แล้วรับสั่งให้สนมบริพาร | ไปร้องไห้แทนหลานแลพี่น้อง ฯ | ||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงรู้ว่ารับสั่งใช้ | พวกนางในพระสนมสิ้นทั้งผอง | ||
ให้ร้องไห้ที่ศพแทนพี่น้อง | เดินตรึกตรองในอารมณ์ด้วยสมคิด | ||
จึงแตัดแหวะผ้านุ่งที่ตรงกั้น | เปนเล่ห์กลนุ่งโจงกระเบนปิด | ||
พานางสนมมาที่ศพสถิตย์ | นางตะบิดตะยอยจะคอยฟัง | ||
แล้วเตือนว่าพระกรุณารับสั่งใช้ | มาร้องไห้เหตุไฉนจึ่งนิ่งนั่ง | ||
สนมตอบว่าพระครูผู้มรณัง | มิได้ชังแต่ใช่ญาติข้าทั้งปวง | ||
จะร้องไห้ก็ไม่มีน้ำตามา | ตัวเปนศิษย์เปนหาของท่านหลวง | ||
เจ้าจงร้องไห้รักอย่าทักท้วง | ข้าทั้งปวงขัดไม่ได้จำใจมา ฯ | ||
๏ ครานั้นเชียงเมี่ยงเห็นได้ที | เข้าไปใกล้ศพพระชีแล้วปลดผ้า | ||
เสแสร้งแกล้งทำร่ำโศกา | ชลนาไหลนองสองแก้มคาง | ||
ว่าโอ้โอนิจาพระครูเอ๋ย | สิบปีพระไม่เคยพบเหล้าบ้าง | ||
เก้าปีมิได้พบสีกานาง | มาเริศร้างไม่ได้อุ่นพ่อลุ่นโตง | ||
เกิดมาทั้งชาติตายเสียเปล่า | ไม่พบเต่าหลังขนรำไรโหรง | ||
มานอนตายในกุฎีทีในโลง | พ่อลุ่นโตงของกูเอ๋ยเลยมอดม้วย | ||
ฝ่ายนายในได้ฟังคำร้องไห้ | กลั้นหัวเราไม่ได้ ใจเขินขวย | ||
ก็หัวเราะครึครื้นระรื่นรวย | เชียงเมี่ยงฉวยไม้ได้ ไล่ตีเอา | ||
ว่าครั้งนี้มีรับสั่งประทานมา | ให้โศการักศพพระครูเฒ่า | ||
อย่างไรชวนกันมาร่าเริงเร้า | ทำดูเบาขัดบัญชามาหัวเราะ | ||
ทำอย่างนี้ไม่ต้องอย่างนางฝ่ายใน | ตีไล่เขวียวขวับเสียงปับเปาะ | ||
สนมนางขึ้นเลียงเถียงเทลาะ | ที่ใจเสาะโศกาน้ำตานอง | ||
เข้าไปเฝ้าพระบาทนารถนาถา | ต่างวันทาอาดูรทูลฉลอง | ||
ว่าเชียงเมี่ยงข่มเหงข้าฝ่าลออง | ไล่ตีต้องรอยเรียวเขียวทั้งกาย ฯ | ||
๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูรย์ | ทรงฟังทูลนางในพระไทยหาย | ||
ร้อนดังต้องพิศม์ไฟไม่สบาย | สั่งให้นายเวรตำรวจไปหาตัว | ||
ฝ่ายตำรวจรับพระราชโองการ | ถอยคลานถวายบังคมกราบก้มหัว | ||
แล้วรีบมาร้องบอกแต่นอกรั้ว | รับสั่งให้มาเอาตัวท่านเข้าไป ฯ | ||
๏ ครานั้นเชียงเมี่ยงได้ฟังว่า | เห็นนายชาติวิ่งมาจนเหื่อไหล | |||
แจ้งว่าเหตุเพราะตีสนมใน | พระทรงไชยขัดเคืองเบื้องบาทา | |||
ก็รีบเร้ามาเฝ้านเรนทร์สูร | ทรงบัณฑูรตรัสถามถึงโทษา | |||
ว่าอีกเหล่านี้มีผิดอย่างไรมา | จึงไล่ตีกายาเปนริ้วรอย ฯ | |||
๏ เชียงเมี่ยงได้ฟังรับสั่งถาม | จึ่งทูลตามเหตุไปไม่ท้อถอย | |||
พระอาญาล้นเกษาแห่งข้าน้อย | นางในทำไม่ต้องรอยพระโองการ | |||
มีรับสั่งให้ไปร้องไห้ร่ำ | นั่งหัวเราะแทบค่ำครั้นหม่อมฉาน | |||
ร้องไห้รักพระครูผู้อาจารย์ | กลับชื่นานสรวลเสเสียงเฮฮา | |||
อยู่ที่นั่นหนุ่มหนุ่ม็มีมาก | คะนองปากเปนสนมไม่สมหน้า | |||
หม่อมแนเห็นไม่ดีตีไล่มา | ควรมิควรพระอาญาเปนล้นพ้น ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระองค์ดำรงภพฟังจบเรื่อง | ให้ขัดเคืองนางในได้เหตุผล | |||
จึ่งดำรัสตรัสด่าสิ้นทุกคน | ว่าไปทำลุกลนให้ได้อาย | |||
เชียงเมี่ยงตีแต่เพียงนี้ยังไม่สา | มันฆ่าเสียก็ต้องตามกฎหมาย | |||
ไปหัวเราะเยาะเย้าเจ้าผู้ชาย | โทษมึงถึงตายตามไอยการ ฯ | |||
๏ นางสนมได้ฟังพระกริ้วกราด | ก็ไม่อาจเถียงท้าต่อว่าขาน | |||
แค้นเชียงเมี่ยงมิได้เหือดคิดเดือดดาล | ก้มคลานบังคมลามาทุกคน ฯ | |||
๏ อยู่มาวันหนึ่งพระจอมเวียง | เสวยเมี่ยงองค์หนึ่งเปนคำต้น | |||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงอมเมี่ยงทำพิกล | สี่คำดูล้นแก้มตุ่ยพอง | |||
แล้วเอาน้ำมันทาแก้มไว้ | เลื่อมใสดุขันเปนมันย่อง | |||
พระทรงศักดิตรัสทักว่าแก้มพอง | เองอมเมี่ยงฤาดูป่องผิดในตา | |||
เชี่ยงเมี่ยงทูลว่าแก้มเกล้าหม่อมฉัน | ทาน้ำมันเลื่อมอยู่เองเป่งนักหนา | |||
กรุงกระษัตริย์เคองขัดหัทยา | แต่ไม่ว่านิ่งแค้นในพระไทย ฯ | |||
๏ ล่วงมานานชานพระที่นั่งซุด | พระประสงค์จะให้ขุดซ่อมแปลงใหมè | |||
สั่งให้หาเชียงเมี่ยงรับพระราชโองการ | ถอยคลานออกจากวังแล้วเที่ยวหา | |||
สืบทุกแห่งหาคนปากแหว่งมา | ว่ามีพระบัญชาจะต้องการ | |||
คนทั้งหลายจึ่งว่าเห็นผิดไป | จะทำไมคนปากแหว่งบอกทุกบ้าน | |||
เชียงเมี่ยงว่าเรารับพระโองการ | ต่อพระโอษฐบรรหารให้เลือกค้น | |||
ว่าแล้วจึ่งเที่ยวหาคนปากแหว่ง | หลายแแห่งบอกมาทุกถนน | |||
พอครบถ้วนจำนวนสิบแปดคน | พาเข้าเฝ้าจุมพลจอมประชา ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรคนปากแหว่งมานักหนา | |||
ดำรัสถามเชียงเมี่ยงมิได้ช้า | คนปากแหว่งนี้พามาทำไม | |||
เชียงเมี่ยงกราบทูลพระกรุณา | โปรดให้หาปากง่ามก็หาได | |||
๏ ฝ่ายพระจอมนครินทร์ยินเชียงเมี่ยง | กราบทูลเถียบอ้างรับสั่งดูอาจหาญ | |||
ทรงพระสรวลว่ากูจะต้องการ | คนปากไม้ทำชานที่ซุดพัง | |||
คนปากแหว่งเช่นนี้ไม่ประสงค์ | มึงใหลหลงพามาเหมือนบ้าหลัง | |||
แล้วทรงเล่าให้เสนาข้าเฝ้าฟัง | ขุนนางทั้งปวงก็พากันหัวเราะ | |||
พระทรงภพปรารภว่าอ้ายคนนี้ | มันอวดดีว่าปัญญามากมั่นเหมาะ | |||
อย่าเลยนะจะให้แกงแร้งจำเภาะ | ให้มันกินจะได้เย้าะเย้ยประจาน | |||
เพราะแร้งนันมนกินสุนักข์เน่า | ซากศพเก่าศพใหม่เปนอาหาร | |||
อ้ายเชียงเมี่ยงกินเนื้ออันสาธารณ์ | ความคิดอ่านปัญญาคงอับน้อย | |||
ทรงดำริห์แล้วสั่งวิเศษใน | หาแร้งแกงให้ ได้ ให้อร่อย | |||
ใส่พริกเกินตำราอย่าให้น้อย | ให้มันเผ็ดเหื่อย้อยถึงเครื่องร้อน | |||
วิเศษรับพระราชโองการ | ทำตามบรรหารไม่ย่อหย่อน | |||
เสร็จใส่สำรับถวายพระภูธร | เตรียมไว้ก่อนคอยเชียงเมี่ยงจะมา ฯ | |||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงครั้นถึงเวลาเฝ้า | ก็รีบเข้าบังคมบาทนารถนาถา | |||
ครั้นพระองค์อิศเรศเกษประชา | เห็นเชียงเมี่ยงเข้ามาดีพระไทย | |||
จึ่งรับสั่งให้ยกสำรับมา | รับสั่งว่าเองจงกินแกงไก่ใหญ | |||
กินเถิดอย่ากระดากลำบากใจ | กูสั่งให้ทำเลี้ยงเชียงเมี่ยงกิน ฯ | |||
๏ ครานั้นเชียงเมี่ยงได้รับสั่ง | ถวายบังคมแล้วไม่ผันผิน | |||
บริโภคแกงเผ็ดให้เข็ดลิ้น | เหม็นกลิ่นคาวมากแทบรากท้น | |||
เนื้อก็เหนียวเคี้ยวไปไม่ใครขาด | เกรงอาญาจอมราชจึ่งไม่บ่น | |||
แขงใจกินได้สามคำกล้าเหลือทน | ก็อิ่มเข้าร้อนรนเผ็ดเต็มท | |||
ฝ่ายพระจอมนคเรศเกษประชา | เห็นเชียงเมี่ยงดูระอาริบอิ่มหนี | |||
จึ่งรับสั่งถามพลันในทันที | อย่างไรนี่จึ่งไม่กินให้สิ้นชาม | |||
ทั้งเหม็นคาวเหม็นสาบหลาบครั่นคร้าม | ทนได้สามคำเท่านั้นให้ตันตอ | |||
พระภูบาลทรงพระสรวลสำรวลร่า | ว่าไก่ชราตัวใหญ่เนื้อเหนียวหนอ | |||
เพราะมันกินสุนักข์เน่าเข้าไว้พอ | เองจึ่งท้อเข็ดขยาดไม่อาจกิน | |||
เชียงเมี่ยงฟังรับสั่งรู้ว่าแร้ง | เอามาแกงลวงเล่นเหม็นไม่สิ้น | |||
แค้นใจโกรธในพระเจ้าแผ่นดิน | จะแก้เผ็ดนึกจินตนาปอง | |||
แล้วถวายบังคมลามาสู่บ้าน | ให้คลื่นเหียนซาบซ่านขนสยอง | |||
เอามาะกรูดส้มป่อยดินสอพอง | ชำระปากตอท้องสอิดสเอียน | |||
ถึงสามวันสี่วันเหม็นไม่หาย | ทั้งกลิ่นอายคาวขื่นให้คลื่นเหียน | |||
ท้องไส้ขย่อนเขย่าเฝ้าอาเจียน | สอิดสเอียนเปนไข้ไปหลายวัน | |||
พอคลายไข้อุส่าห์หาคี่แร้ง | ได้มาผสมแป้งสู้เพียรปั้น | |||
ทำดินสอแท่งงามงามได้สามอัน | เอาไปถวายทรงธรรม์มิได้แคลง ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระจอมนครามหาสถาน | เห็นเชียงเมี่ยงยกพานดินสอแท่ง | |||
มาถวายทรงรับไม่ระแวง | ทรงเขียนลองแห้งแห้งเส้นไม่มี | |||
แล้วทรงจิ้มลิ้มเขฬาเลขาใหม่ | ก็มิได้เห็นเส้นเหมือนเช่นกี้ | |||
ประหลาดฤไทยแต่ไม่ทรงพาที | ชวนเชียงเมี่ยงมาที่ทรงหมากรุก | |||
เล่นกับเชียงเมี่ยงเสียงโกกก้อง | เชียงเมี่ยงร้องพูดเล่นเปนสนุกนี้ | |||
ได้ทีเดินโดดโลดเข้ารุก | บ่ารุกเรือเม็ดเล็ดลอดกิน | |||
ร้องโปกฉาดข้าบาทได้กินตัว | พระอู่หัวเลิศลบภพทั้งสิ้น | |||
เปนปีนแขวงแต่พระแกงคูธริ้น | พระภูมินทร์ทราบเรื่องเคืองพระไทย | |||
ทรงดำริห์ว่าจะฆ่าผ่าอกแล่ | โทษมันแก้เผ็ดล้อเปนข้อใหญ่ | |||
แล้วหวนคิดปิตุรงค์ทรงฝากไว้ | ภูวไนยตรัสว่าอย่าฆ่าฟัน | |||
แต่เคืองขุ่นมุ่นฤไทยมิไใคร่หาย | เพราะพระองค์อับอายให้อัดอั้น | |||
เสด็จเข้าสู่พระแท่นแผ่นสุวรรณ | พระทรงธรรม์จะพาลผิดนิจกาล ฯ | |||
๏ ครั้นล่วงมาวันหนึ่งจอมประชา | ทรงจินตนาขะเสด็จสรงสนาน | |||
ที่หาดทรายชายท่าชลาธาร | ทรงคิดอ่านเห็นจะได้ความผิดมี | |||
จึ่งดำรัสแก่หมู่เสวกา | จงหาฟองไก่ไวอย่าอึงมี่ | |||
ปิดเชียงเมี่ยงอย่าให้รู้หมู่เสนี | ไปฝังไข่ไว้ที่ในหาดทราย | |||
พรุ่งนี้ให้ได้ไปแต่ช้าว | ข่าวคราวซ่อนไว้อย่าได้ขยาย | |||
๏ ครานั้นหมู่อำมาตย์มาตยา | รับพระราชบัญชาออกจากเฝ้า | |||
ให้ค้นหาไข่ไก่ไว้แต่เช้า | สั่งเบ่าให้ไปยังฝั่งชลา | |||
ได้เวลาจอมนรินทร์ปิ่นประเทศ | เสด็จจากพระนิเวศน์ด้วยยศถา | |||
ทรงเรือที่นั่งพร้อมหมู่เสวกา | เชียงเมี่ยงตามเสด็จมาในนัที | |||
ถึงที่เสด็จประทับบนพลับพลา | มีบัญชาให้เล่นน้ำสนั่นมี่ | |||
ดำรัสว่าให้กระตากคนละที | ให้ได้ไข่ทุกเสนีบรรดามา | |||
ถ้าไม่ได้ ไข่ชูให้กูเห็น | จะเอาเปนความผิดมีโทษา | |||
ฝ่ายอำมาตย์รับพระราชบัญชา | ลงสู่ท่าดำน้ำก็ทำตาม | |||
ผุดขึ้นนว่ากระตากมือชูไข่ | ต่างต่างได้คนละฟองร้องอึงสนาม | |||
เชียงเมี่ยงดำแล้วผุดขึ้นมาตาม | ร้องระตูแจ้งความว่าไม่มี | |||
เพราะเปนไก่ผู้หาฟองไม่ | แล้วก็ไล่จับพวกขุนนางขี่ | |||
เที่ยวไล่จับสัตว์ในนัที | หมู่เสนีสำลักน้ำดำหนีไป ฯ | |||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | หมายมาดจะเอาผิดก็ไม่ได้ | |||
เชียงเมี่ยงแก้คล่องด้วยว่องไว | พระทรงไชยกลับหลังยังนคร | |||
แล้วทรงคิดจะเอาผิดแก่เชียงเมี่ยง | อย่าให้เลี่ยงข้างข้างเหมือนอย่างก่อน | |||
จะให้ไปซื้อผ้าท้าวนคร | ทรงอนุสรแล้วเสด็จออกขุนนาง | |||
ดำรัสใช้ ให้เชียงเมี่ยงไปซื้อผ้า | ลายโสภาตีนแต้มให้ได้อย่าง | |||
เชียงเมี่ยงรับเงินตราออกมาพลาง | ถึงบ้านนอนไขว่ห้างเล่นสบาย | |||
ครบเจ็ดวันจึงเามาเผ้าพระบาท | บรมนารถทักว่าเองไปไหนหาย | |||
มามือเปล่ากูไม่เห็นได้ผ้าลาย | เที่ยวสบายเสียไม่หาฤาว่าไร | |||
เชียงเมี่ยงได้ฟังรับสั่งถาม | จึ่งทูลความว่าหม่อมแนหาไม่ได้ | |||
ผ้าตีนแต้มเช่นตรัสดำรัสใช้ | เกล้ากระหม่อมเที่ยวไปทั่วตำบล | |||
ถามผู้ใดก็ว่าแต้มแต่ด้วยมือ | ไม่อาจซื้อมาถวายเพราะขัดสน | |||
ไม่มีแต้มด้วยเท้าแต่สักคน | ก็เปนคนใจจะวงพระโองการ | |||
ฝ่ายพระจอมนครินทร์บดินทร์สูร | ได้ฟังทูลเชียงเมี่ยงดูอาจหาญ | |||
ทรงตรองไปก็เห็นจริงนิ่งรำคาญ | หมายจะพาลผิดก็ไม่ได้สักครา ฯ | |||
๏ ยังมีเจ้าอธิการสมภารใหญ่ | ปลูกต้นไม้มีผลมากนักหนา | |||
มะม่วงมะปรางมะทรางและพุดทรา | น้อยหน่าลำไยมะไฟมะเฟือง | |||
แต่ผู้ใดใครมาขอไม่อยากให้ | หวงไว้จนผลงอมหล่นเหลือง | |||
ถึงตัวท่านก็ไฉันกลัวจะเปลือง | ชาวบ้านเคืองคิดชังไปทั้งคาม | |||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงเดินมาเห็นมะม่วง | ดกเปนพวงสุกเหลืองเรืองอร่าม | |||
อยากใคร่ได้ไปถือเล่นงามงาม | แต่ครั่นคร้ามไม่ได้ขอนิ่งรอพลาง | |||
แล้วขึ้นไปบนกุฎีพระชีเฒ่า | คุกเข่าร้องขอส้มกินบ้าง | |||
เจ้าอธิการรู้เรื่องเคืองระคาง | เดินเข้ากุฎีกลางปิดประตู | |||
เชียงเมี่ยงเห็นอาการสมภารแก่ | วิ่งแร่หนีตัวซ่อนหัวหู | |||
คิดโกรธว่าขรัวนี้ทำไม่น่าดู | ให้ไม่ให้ก็ไม่รู้ ไม่พูดจา | |||
เปนไรมิดีแล้วได้เห็นกัน | คิดให้ขันถีบขว้ำคะมำหน้า | |||
ให้ได้แผลแก้แค้นด้วยปัญญา | ทำที่หน้าผากให้แตกได้แลกลำ | |||
คิดแล้วกลับไปบ้านสถานตน | หาหมากผลพลูซองลองขรัวคร่ำ | |||
ให้เมียทำไก่พะแนงแกงต้มยำ | แล้วใส่สำรับมาให้พระสมภาร | |||
ขึ้นกุฎีก้มกราบหมาอบราบพื้น | บอกว่าคืนนี้รับสั่งให้ดีฉาน | |||
มาเผดียงเจ้าคุณพระอาจารย์ | นิมนต์ท่านไปตั้งราชาคณะ | |||
ฝ่ายขรัวเฒ่าเขลาปัญญาว่าสาธุ | มาได้ที่เมื่ออายุมากนะจะ | |||
เชียงเมี่ยงตอบว่าเจ้าคุณบุญถึงละ | ดีฉันจะขอดูรู้ลายมือ | |||
ในตำราว่าไว้จะได้ที่ | ฤามั่งมียศศักดิ์คนนับถือ | |||
เปนที่เกรงหมอบเทาชื่อเล่าฦา | มีแจ้งในลายมือแลลายท้าว | |||
สมภารใหญ่ใหลหลงง่วงงงยศ | เชื่อเขาปดเชียงเมี่ยงไม่สืบสาว | |||
แบให้ดูลายมือพูดยืดยาว | ทั้งลายท้าวไม่ระแวงนึกแคลงใจ | |||
เชียงเมี่ยงเห็นท่านขรัวอยากตัวสั่น | ทำพูดกันให้สิ้นความสงไสย | |||
ว่าลายมือลายเท้าที่ทายไว้ | ไม่แน่ใจเหมือนลายก้นต้นตำรา | |||
จะดีชั่วแจ้งชัดเปนสัจจัง | ไม่พลาดพลั้งที่นั่งทับตำหรับว่า | |||
พระอธิการฟังสารเชียงเมี่ยงว่า | ไม่ระอานึกอยากยศไม่หาย | |||
ว่าจะดูก้นเห็นฦกข้านึกอาย | เชียงเมี่ยงว่าไม่แพร่งพรายจะอายใคร | |||
ดูแต่สองคนเท่านี้นี่ | ไปในที่ลับลี้ก็จะได้ | |||
พระสมภารไม่แหนงเคลือบแคลงใจ | ก็พาไปห้องน้ำตามคำชวน | |||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงสมจิตรที่คิดหมาย | จะทำให้ได้อายนึกยิ้มสรวล | |||
พอขรัวเฒ่าเข้าห้องต้องกระบวน | ทำทีด่วนว่าจะดูตามตำรา | |||
ให้ขรัวเฒ่าแก่โก้งโค้งจะดูก้น | ถีบตะโพกหัวชนเข้ากับฝา | |||
สมภารหน้าผากแตกเวทนา | ร้องด่าอ้ายขี้ครอกบอกกล่าวพลาง | |||
เชียงเมี่ยงก็ถีบซ้ำอีกสามที | แล้วจึงหนีลงบันไดไปข้างล่าง | |||
ท่านสมภารล้มกลิ้งก็ยิ่งคราง | โลหิตไหลเปนทางนองกระดาน | |||
กว่าจะนั่งขึ้นได้เปนนานช้า | เชียงเมี่ยงวิ่งหนีมาจนถึงบ้าน | |||
คิดว่าโทษเรามีตีสมภาร | กินยารุให้พิการซูบผอมกาย ฯ | |||
๏ ฝ่ายเจ้าอธิการเฒ่า | ปวดร้าวที่แผลหน้ามิใคร่หา | |||
อุส่าห์ประคบทาไพลค่อยได้สบาย | ครบเจ็ดวันจึงคอยคลายเจ็บกายา | |||
ครั้นความเจ็บบางเบาขรัวเฒ่าเถร | ฉันเพนแล้วห่มดองจึ่งครองผ้า | |||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรขรัวแก่ตรัสถามก่อน | |||
ว่าคุณประสงค์บาตรเภสัชฤาจีวร | เครื่องนั่งนอนอย่างไรจงไขความ ฯ | |||
พยุงเดินเข้าในวังเซซังมา | ถึงเข้าเฝ้าจอมนราประชากร ฯ | |||
๏ ครานั้นขรัวเฒ่าทูลเล่าเรื่อง | ที่ขัดเคืองมีผู้มาหยาบหยาม | |||
อุบาสกคนหนึ่งพึ่งรุ่นงาม | มาแจ้งความว่าพระองค์ผู้ทรงไชย | |||
ให้นิมนต์รูปมาตั้งราชาคณะ | แล้วทำรูปหน้าหวะโลหิตไหล | |||
ได้ความร้อนรนเปนพ้นไป | เห็นเปนข้าจอมไทนราบาล ฯ | |||
๏ ฝ่ายพระจอมนิเวศน์เกษประชา | ทรงฟังว่าข้าเฝ้าทำอาจหาญ | ||
นึกฉงนจนพระไทยให้รำคาญ | พระโองการดำรัสว่าผู้ใดไป | ||
ความที่ว่าฉันสั่งให้นิมนต์ | จะได้ใช้ใครสักคนก็หาไม่ | ||
ผู้เปนเจ้าว่าข้าเฝ้าที่เคยใช้ | แม้นว่าจำหน้าได้จงชี้มา | ||
เจ้าอธิการทูลว่าจำหน้าได้ | จึ่งโปรดให้ชี้ขุนนางอยู่พร้อมหน้า | ||
พระเถรพิศดูหมู่เสนา | แต่บรรดาหมอบเฝ้าเจ้าจุมพล | ||
จึ่งทูลว่าเสนาที่อยู่นี่ | มิใช่ที่คนทำรูปปี้ป่น | ||
แต่คนทำนั้นก็ยังรู้จักตน | ได้สั่งสนทนาอยู่เปนครู่นาน | ||
จึ่งดำรัสถามเหล่าเสนามาตย์ | ผู้ใดขาดไม่มาจงว่าขาน | ||
ขุนนางทูลว่าเชียงเมี่ยงไม่พบพาน | ขาดเผ้าพระภูบาลมาหลายวัน | ||
ได้ทรงฟังจึ่งรับสั่งให้หามา | เชียงเมี่ยงกินแต่ยาเพราะความพรั่น | ||
ครั้นมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ผิวพรรณผิดหน้าตาโหลกลวง | ||
ทั้งรูปกายผ่ายผอมดูพิกล | พระจุมพลจึ่งถามขรัวตาหลวง | ||
ว่าคนนี้ฤาที่ไปฬ่อลวง | ขอมะม่วงแล้วข่มแหงเก่งกอแก | ||
เจ้าอธิการทูลว่าคล้ายคนนี้ | แต่ท่วงทีผิดไปดูไม่แน่ | ||
คนที่ไปลวงฬ่ทำตอแย | ล่ำกว่านี้คนนี้แก่กว่าคนนั้น | ||
เชียงเมี่ยงจึงตอบว่าข้าพเจ้า | ขาดเฝ้าเพราะป่วยหลายวันคั่น | ||
ไปไหนไม่ได้มาหลายวัน | พระทรงธรรม์ให้หามาในวัง | ||
จึ่งค่อยแขงใจมาเฝ้าจอมราช | กลัวพระราชอาชญารักษาหลัง | ||
จิตรใจยังโผเผเดินเซซัง | สมภารฟังเห็นไม่แน่ทูลลาไป ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงกระษัตราเมืองธานี | ครองบุรีนคเรศประเทศใหญ่ | ||
พรั่งพร้อมรถอัศดรกุญชรไชย | ทหารเดินเนืองในพระภารา | ||
มหไสูรย์มูลมั่งคั่งสมบัติ | แออัดฝูงชนล้นแน่นหนา | ||
มีเรือเสาสำเภาเหล่านาวา | เรือลูกค้ามาจอดทอดเรียงราย | ||
ราษฎรเปนศุขทุกตัวคน | ไม่ยากจนตั้งห้างวางของขาย | ||
แสนสำราญมั่งคั่งทั้งหญิงชาย | ศุขสบายทั่วนครไม่ร้อนรน | ||
ปรปักษ์ข้าศึกไม่นึกร้าย | ชนทั้งหบายเกรงพระเดชแสยงขน | ||
ขอเปนข้าขอบขัณฑ์พรั่นทุกคน | บุบผาหิรญกาญจนามาคำนับ | ||
พระเจ้ากรุงธานีบุรีราช | มีชายชาติหัวแขงแข่งคู่ปรับ | ||
ศีศะล้านเลื่อมขันเปนมันรยับ | เที่ยวชนสู้มานับว่าหมื่นพัน | ||
ท้าชนใครไม่มีผู้โต้ทาน | มะพร้าวตาลชนต้นก่นสบั้น | ||
ศีศะแขงแรงคล้ายช้างน้ำมัน | เที่ยวพนันทุกเมืองเลื่องฦาชา | ||
ชนมีไชยได้มาขิ้นบุรี | ยิ่งกว่าสี่สิบเมืองมากนักหนา | ||
ทุกนครคลอนหัวกลัวระอา | ออกปากว่าหัวแขงเรี่ยวแรงครัน | ||
วันหนึ่งจอมบุรีธานีราช | สถิตย์อาศน์แท่นทองตรองกระสัน | ||
ว่าจะเอาศีศะล้านไปพนัน | ชนกันกับคนเมืองทวาลี | ||
ด้วยข่าวเล่าฦาชาว่ามั่นคั่ง | เปนเอกราชทั่วทั้งบุรีศรี | ||
มิได้ขึ้นเมืองใดในปัถพี | มั่งมีศฤงฆารโอฬารนัก | ||
จำจะเอาหัวล้านไปพนัน | แข่งขันสู้เล่นให้เห็นประจักษ์ | ||
ถ้าแพ้เราได้บุรีจะดีนัก | เปนศรีศักดิ์ฦาเลื่องกระเดื่องยศ | ||
ดำริห์แล้วจึ่งเสด็จออกข้างน่า | สั่งเสนาให้หมายวันกำหนด | ||
ที่จะไปพนันชนคนมีคต | ให้ปรากฎไว้ชื่อเลื่องฦาขจร | ||
แต่งสำเภาเภตราสักห้าร้อย | เครื่องใช้สอยเงินตราและผ้าผ่อน | ||
ของบรรณาการอย่างต่างนคร | บรรทุกตอนนาวาสารพัน | ||
จงให้คนศีศะแขงตกแต่งกาย | ลงในท้ายบาหลีขมีขมัน | ||
แต่งราชสารแจ้งการจะขอพนัน | ชนกันถ้าชนนะจะเอาเมือง | ||
ถ้าศีศะล้นนบุรีธานีราช | พลั้งพลาดพ่ายแพ้ ในบาทเบื้อง | ||
จะถวายสินพนันมิให้เคือง | อิกทั้งเมืองถวายขึ้นทวาลี | ||
สั่งให้แต่งราชสารโองการเสร็จ | ก็เสด็จคืนเข้าปราสาทศรี | ||
กรมวังหมายบอกสัสดี | จ่ายคนทุกน่าที่ลงสำเภา | ||
กรมท่าจัดล้าต้าต้นหน | ลูกเรือขนเพลาไบมาใส่เสา | ||
กว้านสมอช่อใช้ในสำเภา | เกลือเข้าของลำเลียงเสบียงทาง | ||
พวกคลังขนบรรณาการส่าโหมดตาด | โตกถาดแพรผ้าหักทองขวาง | ||
มอบให้นายใหญ่ใส่ระวาง | ฝ่ายขุนนางที่เปนทูตลงนาวา | ||
ครั้นได้ฤกษ์ให้ออกสำเภาใหญ่ | ทั้งห้าร้อยแล่นไปออกจากท่า | ||
มาในท้องทเลล้วนเภตรา | ตั้งหน้าต่อนครทวาลี | ||
มาได้สองคืนโดยประมาณ | ก็ถึงด่านปกน้ำบุรีศรี | ||
แจ้งความแก่นายด่านตามคดี | ว่าทูเมืองธานีมาคำนับ | ||
ทำใบบอกมาในกรุงหวังต้อนรับ | เสมียนกับกรมการรีบเข้าไป | ||
ถึงศาลาบอกนายเวรให้กราบเรียน | นำใบบอกที่เขียนมาส่งให้ | ||
ว่านายช่วยกราบเรียนโดยเร็วไว | ให้เจ้าคุณผู้ใหญ่ทราบเหตุการ ฯ | ||
๏ ครานั้นนายเวรในกรมท่า | ได้ฟังว่าเสร็จสิ้นในข่าวสาร | ||
รับใบบอกรีบไปมิได้นาน | เรียนต่อท่านอธิบดีให้ทราบความ ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าท่านเจ้าพระยาอธิบดี | ฟังวาทีนายเวรไม่เข็ดขาม | ||
คลี่ใบบอกออกดูรู้ข้อความ | แล้วซักถามกรมการด่านปากน้ำ | ||
ได้ความแน่ว่าทูตเมืองธานี | ถือพระราชสารศรีเปนข้อขำ | ||
กับสำเภาใหญ่น้อยห้าร้อยลำ | แล้วจึ่งนำใบบอกขึ้นกราบทูล | ||
ตามสำเนากรมการด่านเขื่อนขันธ์ | กราบทูลพระทรงธรรม์นเรนทร์สูร | ||
ให้ทราบใต้บงกชบทมูล | จอมประยูรขัติยาเจ้าธานี ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงภพ | ทรงฟังจบข่าวทูตมากรุงศรี | ||
ว่าจอมกระษัตริย์ครองสมบัติเมืองธานี | จะมาเจริญไมตรีใช้ทูตมา | ||
ทรงดำริห์ในพระไทยสงไสย | ความ จะลวนลามฤาไฉนให้กังขา | ||
ดีฤาร้ายเปนอย่างไรในสารา | ฤาจะท้ารบตีบุรีเรา | ||
ทรงดำริห์แล้วดำรัสให้นัดวัน | ราชทูตตัวสำคัญให้เข้าเฝ้า | ||
จงจัดการรับทูตนายสำเภา | อย่าให้เขาครหาด้วยมาไกล | ||
ดำรัสสั่งแล้วเสด็จสู่ปรางค์มาศ | พระที่นั่งบัลลังก็อาศน์อันสุกใส | ||
พระแท่นที่สุวรรณพรายข้างฝ่ายใน | สำราญฤไทยด้วยศฤงฆารผ่านบุรี ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าท่านมหาเสนามาตย | รับพระราชโองการคลานจากที่ | ||
สั่งให้หมายเกณฑ์คนสัสดี | เรือกระบี่วายุภักษ์ปักธงไชย | ||
ทั้งเรือเชิญราชสารม่านทองปัก | ที่นั่งฉลักลายประกอบดูสุกใส | ||
ดาดหลังคาลายแย่งแต่งลงไป | พิณพาทย์ให้ลงนาวานำน่ากระบวน | ||
ถึงวันนัดจัดการพร้อมตามหมาย | เรียกฝีพายลงเรือครบเสร็จถ้วน | ||
เรือแห่เตรียมเต็มตามจำนวน | เคลื่อนกระบวนลงไปรับทูตเข้ามา | ||
ฝ่ายว่าทูตานุทูตนั้น | ก็พร้อมกันเข้าเฝ้าจอมนาถา | ||
เชิญพานทองรองราชสารา | ถวายพระปิ่นขัติยาเจ้าธานี ฯ | ||
ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | ทอดพระเนตรเห็นราชสารศรี | ||
ทรงรับไว้มอบให้ศรีภูรี | ผู้ว่าที่พระอาลักษณ์มีศักดินา | ||
ฝ่ายพระศรีภูรีศรีสาลักษณ์ | ถวายบังคมจุลจักรนารถนาถา | ||
รับราชสารอ่านถวายตามสารา | ให้ทราบใต้บาทาฝ่าธุลี ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงภพ | ทรงจบในราชสารศรี | ||
แล้วตรัสปฏิสันฐารทูตธานี | โดยคดีสามนัดแบบบุราณ | ||
จึงดำรัสผัดว่าอีกเจ็ดวั | น จะเลือกสรรคนดูในราชฐาน | ||
ที่จะพนันชนคนหัวล้าน | พอจัดการเตรียมพนันขันสู้ชน | ||
ราชทูตก็ถวายบรรณาการ | แล้วทูลลาไปสถานให้ฝึกฝน | ||
ศีศะล้านที่มาว่าจะชน | อย่าให้แพ้ล้านคนทวาลี ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมนคเรศเจ้าเขตรขัณฑ์ | ทรงนัดวันแล้วเสด็จขึ้นเข้าที่ | ||
ทรงวิตกการกู้พระบุรี | ในเมืองจะมีสู้เขาฤาเปล่าดาย | ||
ทรงปรารมภ์พลางบรรธมบนแท่นรัตน์ | อัจกลับแสงจำรัสรุ่งเรืองฉาย | ||
ระย้าแก้วแพรวพราวดังดาวพราย | พนักงานขับถวายมโหรี | ||
แจ้วเจื้อยเฉื่อยฉ่ำยักลำส่ง | ฆ้องวงรนาดขลุ่ยตุ่ยต๋อยตี๋ | ||
โทนน่าทับรับรำมนาตี | ซอจับปี่ซอยซ้ำเลียนงน้ำนวล | ||
ลำพระทองร้องส่งประสานซอ | ขลุ่ยรับต่อกลมเกลี้ยงเสียงแหบหวน | ||
จะเข้ดีดเตร๋งเตร่งเต๋งเต่งครวญ | กลับทบทวนไล่เดี่ยวเคี่ยวขับกัน | ||
พระบรรธมบนพระแท่นแสนสบาย | น้ำค้างพรายจวนอุไทยเสียงไก่ขัน | ||
นกดุเหว่าเร้าเร่งพระสุริยัน | แซ่สนั่นสกุณาทิชากร | ||
หอมระรินกลิ่นผกาบุบผาเผย | แมลงภู่บินมาเชยวะหวี่ว่อน | ||
แมลงผึ้งหึ่งหึ่งเปนหมู่จร | เคล้าเกสรเกลือกกลิ่นแล้วบินไป | ||
พระองค์ฟื้นตื่นองค์สรงพระภักตร์ | ทรงเครื่องต้นสมศักดิ์ดูสุกใส | ||
เสด็จออกที่นั่งโถงพระโรงไชย | เสนาในเฝ้าพระบาทดาษดา | ||
จึ่งดำรัสว่ากษัตริย์เมืองธานี | ให้มีราชสารมานั้นขันนักหนา | ||
จะขอพนันคนแลกภารา | ชนคนจนเกษาว่าชอบกล | ||
แน่อำมาตย์ใหญ่น้อยจงเที่ยวหา | ศีศะล้านเอามาทุกถนน | ||
มาประชุมน่าพระลานเลือกคู่ชน | เที่ยวหาค้นตีฆ้องป่าวร้องไป ฯ | ||
๏ ฝ่ายอำมาตย์รับราชบรรหาร | ถวายบังคมก้มคลานหาช้าไม่ | ||
ออกจากเฝ้ามาศาลามหาดไทย | แจกหมายให้หาตัวพวกหัวล้าน | ||
ให้มาพร้อมที่ศาลามหาดไทย | จะถามดูผู้ใดจะอาจหาญ | ||
ชนสู้แขกเมืองเลื่องฦาสท้าน | ตามที่มีราชสารมาท้าพนัน | ||
ฝ่ายว่าพวกผมไร้ได้พึ่งหมาย | ต่างๆ มามากมายขมีขมัน | ||
ประชุมพร้อมที่ศาลามากกว่าพัน | ต่างคนพรั่นหนีตัวกลัวระอา | ||
ออกปากว่ากลัวนักพูดยักเยื้อง | แล้วเกรงเคืองเบื้องบาทนารถนาถา | ||
จึ่งวิงวอนต่อท่านมหาเสนา | บ้างก็ให้เงินตราขอบนบาน ฯ | ||
๏ ครานั้นจึ่งมหาเสนามาตย์ | เห็นเศียรล้านพานขลาดไม่อาจหาญ | ||
สู้ไม่ได้ก็อย่าชนอย่าบนบาน | จะกราบทูลภูบาลผ่านธานี | ||
ว่าหามาทั่วคนไม่ชนสู้ | แต่พอรู้ก็เกรงกลัวออกตัวหนี | ||
ไม่เปนไรดอกกราบทูลแต่โดยดี | ด้วยไม่มีผู้อาสากล้าเข้าชน | ||
ว่าแล้วก็เข้ากราบบังคมทูล | ตามมูลถามไถ่ได้เหตุผล | ||
ว่าศีศะล้านกลัวระอาไม่กล้าชน | จอมจุมพลจงทราบพระบาทา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | ฟังอำมาตย์ทูลโทมนัศา | ||
ทรงดำริห์เกรงจะเสียพระภารา | จึ่งให้หาเชียงเมี่ยงมาเฝ้าพลัน | ||
รับสั่งเล่าเรื่องจะชนคนผมน้อย | อมาตย์หากว่าร้อยแต่เลือกสรร | ||
ไม่มีใครรับสู้คู่พนัน | มีแต่พรั่นออกตัวกลัวทุกคน | ||
เองจะรับอาสาได้ฤาไม่ | กูร้อนใจเกรงจะอายขายหน้าป่น | ||
แขกเมืองจะตรีชาว่าอับจน | เองเปนคนมีปัญญาปรีชาไวย | ||
เชียงเมี่ยงได้ฟังรับสั่งถาม | จึงทูลตามปัญญาอาสาได้ | ||
แต่เพียงนี้ไม่สู้ยากลำบากใจ | หม่อมฉันนมิให้ขุ่นข้องลอองธุลี | ||
แม้นแขกเมืองมีกำลังเจ็ดช้างสาร | จะหักหาญด้วยปัญญาไม่ล่าหนี | ||
ฝ่ายพระจอมนคราทวาลี | ฟังวาทีเชียงเมี่ยงทรงโสมนัศ | ||
จึ่งตรัสว่าต้องการสิ่งอันใด | ชาวคลังจงจ่ายให้อย่าได้ขัด | ||
เลือกเอาตามใจให้ทันนัด | พระดำรัสแล้วเสด็จเข้าข้างใน ฯ | ||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงรับพระราชโองการ | ถวายบังคมถอยคลานหาช้าไม่ | ||
มาศาลาเวรหมายรายกันไป | ทุกนายไพร่ให้รู้พระโองการ | ||
แด่บรรดาคนศีศะไร้เกษา | ให้เข้ามาพร้อมในพระราชฐาน | ||
ราษฎรในนครที่หัวล้าน | รู้หมายรีบลนลานมาพร้อมกัน | ||
ทั้งผู้คนชนบทหัวเมืองนอก | มีท้องตราแจ้งบอกทั่วเขตรขัณฑ์ | ||
ทั้งนายไพร่เศียรโล่งโหม่งเปนมัน | ก็พากันมาหาเชียงเมี่ยงพร้อม | ||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงเห็นคนจนเกษา | ดูนานาหลากถ้วนทั้งอ้วนผอม | ||
บ้างฉอกหลงดงช้งข้ามเปนเขาค้อม | สามหย่อมเปียแหยมแกมปนคละ | ||
ผู้รับสั่งจึ่งประกาศตามโองการ | พระภูบาลให้เลือกคนชนศีศะ | ||
ใครจะอาสาได้ให้ชนะ | พระองค์จะพระราชทานเงินทองยศ | ||
ฝ่ายว่าพวกไร้เผ้าฟังเล่าหมาย | ทั้งไพร่นายอกตัวกลัวไปหมด | ||
บ้างว่าแรงฉันน้อยถอยลด | บ้างว่างดฉันเสียเถิดแต่เกิดมา | ||
ไม่เคยเห็นไม่เคยเล่นพนันชน | บ้างก็บนเงินทองสิ่งของผ้า | ||
ลางคนบนคู่สนิทให้ธิดา | ว่าท่านได้กรุณาอย่าให้ขน | ||
เชียงเมี่ยงพูดโลมเล้าเอาใจไว้ | จะเลือกแต่ได้ราชการอย่าพานบ่น | ||
แล้วออกมาเลือกคนดูในหมู่คน | ดูพิกลต่างๆ หลายอย่างพรรณ | ||
บ้างหัวล้านแต่รอบนอกมีผมกลาง | ตำราอ้างล้านน้ำเต้าเค้าดูขัน | ||
ชนิดนี้แรงน้อยถอยทุกวัน | บ้างฉอกฉินเลี่ยมมันจับแก้วตา | ||
เรียกว่าล้านเดือยไก่ใจคะนอง | พูดเล่นคล่องไม่ขัดจัดนักหนา | ||
ถ้าอายุแก่เข้าเฒ่าชรา | มักเกิดโรคนานามายายี | ||
บางคนล้านโขมนโกร๋นเกรียน | โล่งเลี่ยนแลเลื่อมเปนมันสี | ||
มักใจน้อยเจ้าโทโสโอ่อวดดี | ถ้อยคำมีสำนวนชวนก่อความ | ||
เชียงเมี่ยงเลือกคัดจัดคนใหม่ | อย่างที่ว่าใช้ไม่ได้สิ้นทั้งสาม | ||
เลือกได้คนหนึ่งพีรูปดีงาม | ล่ำสันไม่เข็ดขามควรเปรียบชน | ||
ศีศะพึ่งล้านใหม่ดูใสเศียร | ผมเกรียนเส้นเอียดพึ่งร่วงหล่น | ||
หน้าดุร้ายกายดำขำกว่าคน | เห็นควรชนเชียงเมี่ยงว่าได้การ | ||
จึ่งเบิกกระดาษมาฟันทำพวนหนัง | สำรับรั้งสี่เส้นทาหมึกประสาน | ||
ติดขนควายรายทุกเส้นเห็นได้การ | แม้นใคร ดูก็ปานกับหนังพวน | ||
แล้วจัดคนถือเชือกเส้นละร้อย | ล้วนแต่เกษาน้อยสี่ร้อยถ้วน | ||
บอกกลอุบายให้รู้ขบวน | ครั้นวันจวนก็แต่งตัวพวกหัวล้าน | ||
มีเรื่องแห่แตรสังข์พิณพาทย์ฆ้อง | ธงทองธงมังกรธงไชยฉาน | ||
ให้เตรียมเสร็จคอยฤกษ์เวลากาล | น่าพระลานขบวนแห่แลแน่นยัด | ||
แล้วให้เที่ยวตีฆ้องร้องประกาศ | จะอาบน้ำตัวราชสมบัติ | ||
ใครกลัวไภยให้รักษาตัวระมัด | ระวังบ้านเรือนถ้าพลัดเข้าบ้านใด | ||
เย่าเรือนจะทลายสลายหัก | จะฉุดชักไล่ห้ามปรามไม่ไหว | ||
ด้วยมีแรงแขงกล้าเปนพ้นไป | เข้าบ้านใดยับย่อยไม่น้อยเลย | ||
น่าต่างประตูดูปิดให้แน่นหนา | เมื่อเวลาลงน้ำอย่าเปิดเผย | ||
รู้ทั่วกันอย่าเผลอเลินเล่อเลย | ใครไม่เคยเห็นรู้มาดูตัว | ||
ราษฎรรู้ประกาศในมาดหมาย | ที่กลัวตายนอนซุ่มผ้าคลุมหัว | ||
บ้างหลบลี้หนีนอนซุกซ่อนตัว | ที่เรือกรั้วไม่แน่นหนาผ่าไม้แซม | ||
ชาวสำเภาโดยยินคำประกาศ | นึกขยาดคิดว่าจริงไม่รู้แต้ม | ||
ก็เก็บงำสินค้าที่ราแรม | ขยายแย้มไว้แต่ช่องคอยมองดู ฯ | ||
๏ ฝ่ายเชียงเมี่ยงเห็นแดดอ่อนหย่อนแสง | ก็ตกแต่งราชสมบัติหมายจะสู้ | ||
ผูกเชือกเองคู่ชนคนนอกครู | ทั้งสี่เส้นเกณฑ์หมู่คนมาชัก | ||
จ่ายให้คนถือเชือกเส้นละร้อย | ก็เคลื่อนคล้อยขบวนแห่เซงแซ่หนัก | ||
ทั้งซ้ายขวาน่าหลังเชือกรั้งชัก | แห่งมาพักท่าสำเภาเอาลงน้ำ | ||
ราชสมบัติแขงขึงตึงเชือกไว้ | คนสี่ร้อยฉุดไม่ไหวก็ล้มคว่ำ | ||
เชือกยวนขาดเปนท่อนซ้อนคะมำ | แล้วก็ทำอาละวาดอำนาจร้าย | ||
ใครจะเข้าจับตัวราชสมบัติ | ให้ข้องขัดด้วยกำลังนั้นมากหลาย | ||
ชาวเมืองชวนกันวิ่งทั้งหญิงชาย | มาดูนายราชสมบัติออกอัดแอ | ||
บ้างก็ขึ้นต้นไม่คอยมองดู | บ้างวิ่งกรูแซงสวนกระบวนแห่ | ||
ไม่เคยเห็นเล่นพนันชวนกันแล | เสียงเซงแซ่คนดูพรั่งพรูมา ฯ | ||
๏ ครานั้นราชทูตนายสำเภา | โฉดเขลาเห็นว่าแรงมากนักหนา | ||
แต่พวนหนังรั้งขาดประหลาดตา | จึ่งปฤกษาคู่ชนคนสำคัญ | ||
ว่าแรงเขามิใช่น้อยพวนย่อยยับ | ยังจะรับเปนคู่พนันขัน | ||
ฤาจะสู้เขาไม่ได้ ให้บอกกัน | อย่าอึ้งอั้นแจ้งคามแต่ตามจริง ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าล้านธานีบุรีราช | คิดขยาดกลัวใจให้เกรงกริ่ง | ||
จึ่งบอกว่าสู้ไม่ได้ ให้ประวิง | เขาแรงจริงสุดปัญญาจะท้าพนัน | ||
สู้ไม่ได้เปนแน่ตามแต่จะคิด | ไม่เบือนบิดดอกกลัวจนตัวสั่น | ||
ให้เกรงแต่จะแพ้แก้ไม่ทัน | จะดื้อดันเข้าชนไม่พ้นตาย ฯ | ||
๏ ฝ่ายราชทูตกับชขายนายสำเภา | เห็นเสียเค้าไม่ได้สมอารมณ์หมาย | ||
จึ่งปฤกษาตามใจทั้งไพร่นาย | ว่าจะถวายสินพนันกันนินทา | ||
ทูลว่าล้านมาด้วยป่วยเปนไข้ | ทูลลาไปไหนจะมีครหา | ||
เห็นพร้อมกันพลยันนำเครื่องบรรณา | เข้าเฝ้าถวายจอมนรานรินทร | ||
กราบทูลว่าคู่พนันนั้นเปนไข้ | ป่วยมาได้สามวันกำลังอ่อน | ||
ขอถวายสินพนันพระภูธร | จะลากลับยังนครนามธานี ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | ทรงฟังทูลเห็นประหลาดชั้นเชิงหนี | ||
ทรงปราไสตามได้มีไมตรี | ทูตก็ลาพระจรลีลงนาวา | ||
ให้ใช้ไปไปถึงพระบุรี | กราบทูลแจ้งคดีจอมนาถา | ||
ให้ทราบใต้ลอองบาทลาดหนีมา | เหลือปัญญาที่จะชนพ้นกำลัง ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์ดำรงเมืองธานี | ทรงฟังทูตทูลว่าหนีให้แค้นคั่ง | ||
ปรารภจะสู้มิได้หลีอีกสักครั้ง | พระไทยตั้งหมายมาดไม่ขาดวัน ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงเชียงญาณอยู่บ้านไร่ | ข่าวฦาไปว่าเชียงเมี่ยงปัญญาขยัน | ||
คิดหมายลองปรีชาจะสู้กัน | ฤาว่ามันแหลมฉลาดจะลองดู | ||
ตดใส่ปล้องไม้ไผ่แล้วอุดอัด | ออกจากบ้านลอดลัดมาหมายสู้ | ||
ได้แปดวันดั้นป่ามาสืบดู | แต่ไม่รู้ว่าเชียงเมี่ยงนั้นคนใด | ||
ครั้นเดินมาก็พบกับเชียงเมี่ยง | ถามชื่อเสียงโดยตัวว่าอยู่ไหน | ||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงถามว่าจะทำไม | มีธุระสิ่งใดถามหามัน | ||
เชียงญาณพาซื่อไม่รู้จัก | หมายว่าคนอื่นซักไม่บิดผัน | ||
จึงบอกว่าจะทดลงของสำคัญ | เชียงเมี่ยงจะรู้ทันฤางมงาย | ||
ข้าตดใส่ปล้องไม้จะให้ดม | ถ้าดีจะสมาคมเปนสหาย | ||
เชียงเมี่ยงว่าเจ้าอัดลมระบาย | มากี่วันกลิ่นจะคลายฤายังมี | ||
จงเปิดดมดูก่อนถ้าหย่อนกลิ่น | จวนจะสิ้นจะได้เติมให้เต็มที่ | ||
เชียงญาณฟังเห็นชอบว่าพูดดี | เปิดดมว่ายังมีกลิ่นมากนัก | ||
ฝ่ายเชียงเมี่ยงเห็นว่างมต้องดมตด | ว่าเองชาวชขนบทไม่รู้จัก | ||
กูและชื่อเชียงเมี่ยงซึ่งถามทัก | เองประจักษ์แล้วฤาไม่ไอ้โง่เคอะ | ||
มึงหมายมาว่าจะให้กูดมตด | มึงดมเองให้หมดกลับไปเถอะ | ||
กูชาวในลวงไม่ได้แล้วไอ้เซอะ | อ้ายบ้านนอกโล่เบอะน่าถองซ้ำ | ||
เชียงญาณครั้นรู้ว่าเชียงเมี่ยง | ไม่โต้เถียงวาจาก้มหน้าคว่ำ | ||
นึกน้อยใจเจ็บอกเหมือนฟกช้ำ | กลับไปบ้านจิตรระกำคลุมหัวนอน | ||
คิดคิดก็ยิ่งแค้นแสนอดสู | มาเสียรู้เชียงเมี่ยงให้ถอดถอน | ||
ถ้าแก้แค้นไม่ได้ ไม่อยู่นคร | จะเที่ยวซุกซอนนิ่งนอนตาย ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงระผู้ผ่านทวาลี | ประชวรโรคมากทวีมิใคร่หาย | ||
พระอาการพานมากลำบากกาย | แทบจะวายชีวาพิราไลย ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระอรรคเทพีศรีสมร | เธออาวรณ์เศร้าหมองไม่ผ่องใส | ||
สงสาองค์ภัศดาโศกาไลย | จึ่งสั่งให้โหรดูชาตาดวง | ||
โหรก็ลงเลขคำนวณทวนสอบไล่ | แจ้งใจว่าพระเคราะห์นั้นใหญ่หลวง | ||
พระชาตาก็ยังดีมีในดวง | แต่เข้าห่วงรุมเห็นไม่เปนไร | ||
จึ่งทูลสนองเสาวนีเทพีราช | พระชัณษาไม่ถึงฆาฏแต่โรคใหญ่ | ||
ด้วยราหูสู่ราษีจึ่งมีไภย | เสวยอายุแต่ใกล้จะออกจร | ||
ยังไม่ถึงอับจนพระชนมาน | เกล้าหม่อมฉานสอบดูตามครูสอน | ||
โหรสี่นายพร้อมถวายพยากรณ์ | ให้บังอรปิ่นสุรางค์ส่างโศกา | ||
ฝ่ายเชียงเมี่งหมอบอยู่กับโหรเฒ่า | ว่าข้าพเจ้าจะสอบพระชัณษา | ||
ทำลงเลขคุณหารตามตำรา | ทูลแก่อรรคชายาจอมนารี | ||
ว่าอันองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว | ค้นดูทั่วในตำราว่ายืนที่ | ||
คงสู่สวรรค์ในเจ็ดวันเจ็ดราตรี | พระภูมีไม่ตลอดเจ็ดวันไป ฯ | ||
๏ จอมอนงค์องค์มิ่งมเหษี | ฟังวาทีเชียงเมี่ยงไม่สงไสย | ||
สำคัญว่าพระองค์ผู้ทรงไชย | จะสวรรคาไลยในเจ็ดวัน | ||
ทรงกรรแสงคร่ำครวญรัญจวนจิตร ์ | ถึงพระองค์ทรงฤทธิ์เจ้าไอสวรรย | ||
ดำรัสสั่งชาวคลังสิ้นทั้งนั้น | จ่ายเงินทองแพรพรรณออกแจกทาน | ||
แก่ยาจกวรรณิพกคนชรา | จัดเอมโอชโภชนากระยาหาร | ||
เลี้ยงพระสงฆ์ทรงศีลทุกวันวาร | ประกอบการกุศลกิจเปนนิจรัน | ||
เจ็ดทิวาล่วงไปไม่สวรรคต | พระทรงยศคลายพระโรคเกษมสันต์ | ||
หายประชวรออกขุนนางได้ทุกวัน | พระทรงธรรม์ตรัสถามเชียงเมี่ยงดู | ||
เองทายไว้ว่าจะตายในเจ็ดวัน | ก็เกินแล้วไฉนนั่นกูยังอยู่ | ||
ฤาเองชังแช่งเล่นเปนสัตรู | ที่ไม่ดีเอามาดูจะให้ตาย | ||
เชียงเมี่ยงได้ฟังพระโองการ | บังคมทูลภูบาลขยับขยาย | ||
ว่าสารพัดสัตว์สิงทั้งหญิงชาย | ที่จะตายพ้นเจ็ดวันนั้นไม่มี | ||
นับแต่อาทิตย์นั้นถึงวันเสาร์ | แม้นพระเจ้าจอมมุนินทร์ชินศรี | ||
ก็นิพานในเจ็ดวันเจ็ดราตรี | ทั้งปัถพีไม่พ้นตายในเจ็ดวัน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมนครามหาสถาน | ฟังเชียงเมี่ยงว่าขานเห็นคมสัน | ||
คลายโกรธาด้วยว่าจริงอย่างนั้น | ไม่แปรผันผิดคำเชียงเมี่ยงเลย | ||
มันแก้ไขไวว่องไม่ข้องขัด | ช่างสันทัดจัดเจนจริงเจียวเหวย | ||
แต่มิได้ออกพระโอษฐโปรดภิเปรย | ทรงชมเชยในพระไทยไม่ตรัสดัง ฯ | ||
๏ จะกลับกล่าวกระษัตราเมืองธานี | แต่เสียทีพนันคนให้แค้นคั่ง | ||
ทรงดำริห์จะแก้ไขใหม่สักครั้ง | ทั้งเดินนั่งไสยาศน์ไม่ขาดคิด | ||
ดำริห์ว่าจะพนันสิ่งใดดี | นำบุรีมาขึ้นได้สมใจจิตร | ||
อย่าเลยนะจะนิมนต์บรรพชิต | ซึ่งสถิตย์ในยศถาราชาคณะ | ||
ที่รู้ธรรมคัมภีร์บาฬีอรรถ | เจนจัดแจ้งประจักษ์ในอักขระ | ||
ชำนาญไล่ถามช้ำข้อธัมมะ | เอาชนะกันที่จนพ้นปัญญา | ||
ทรงดำริห์แล้วมิทันนาน | เสด็จออกมีโองการสั่งให้หา | ||
สังฆ์การีธรรมการคลานเข้ามา | จึ่งมีพระบัญชาให้เผดียง | ||
พระราชาคณะผู้รอบรู้อรรถ | ที่สันทัดเล่าฦามีชื่อเสียง | ||
จะให้ไปถามปัณหาท่าไล่เลียง | โต้เถียงกันกับปราชญทวาลี | ||
พระผู้เปนเจ้าองค์ใดจะอาสา | ให้เข้ามาจะได้บอกให้ถ้วนถี่ | ||
อย่าให้แพ้แก้สู้กู้บุรี | สังฆ์การีธรรมการก็รีบไป | ||
เผดียงถามตามโองการบรรหารสั่ง | ทั่วทั้งธานีบุรีใหญ่ | ||
ในกรุงนั่นสังฆ์การีมีหมายไป | นอกกรุงให้ธรรมการส่งสารตรา | ||
เผดียงถามตามพระสงฆ์ดำรงยศ | ทั่วทั้งหมดน้อยใหญ่ให้ปฤษา | ||
ท่านผู้ทรงบันดาศักดิ์ทุกวัดวา | พระราชาคณะมีสามองค์ | ||
พระญาณกิจทั้งพระประสิทธิไตรย | พระวิไนยนายกเปนจอมสงฆ์ | ||
สังฆ์การีพามาเฝ้าทั้งสามองค์ | ทูลให้ทรงทราบว่าอาสาไป ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | แสนประสาทดสมนัศตรัสปราไส | ||
ว่าเจ้าคุณกู้บุรีให้มีไชย | โยมจะได้เกียรติยศปรากฎมี | ||
พระราชทานบาตรไตรบริขาร | เครื่องสักการสารพัดจัดตามที่ | ||
ให้อาลักษณ์แต่งสารเปนไมตรี | บรรณาการของดีดีให้จัดไป | ||
พระดำรัสให้ร่างราชสาร | อาลักษณ์จานจารึกงามผ่องใส | ||
ลงสุวรรณบัตรแผ่แผ่นอุไร | มอบราชทูตไปลงนาวา | ||
ฝ่ายพระสงฆ์สามองค์ผู้ทรงยศ | ก็มาหมดลงสำเภาทอดที่ท่า | ||
ได้ฤกษ์ให้ใช้ใบออกเภตรา | แล่นมาในท้องสมุทจนสุดแดน | ||
สำเภาทั้งห้าร้อยแล่นลอยล่อง | ฝ่าฟองชาคลื่นกว่าหมื่นแสน | ||
ได้ลมดีในนทีไม่ขาดแคลน | มาตามแผนที่ต้นหนดลบุรี | ||
ถึงด่านปากน้ำอ่าวบอกข่าวแจ้ง | เหมือนคราวก่อนที่แถลงเมื่องครั้งหนึ่ง | ||
ขุนนางในกรมท่าทราบคดี | กราบทูลว่าทูตธานีกลับเข้ามา | ||
ข่าวว่ามีราชสารการพนัน | ขอพระองค์ทรงธรรม์จอมนาถา | ||
จงทราบใต้ฝ่าธุลีในกิจจา | ควรมิควรพระบาทาปกเกล้าบัง ฯ | ||
๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูร | ทรงฟังทูลว่าทูตมาให้แค้นคั่ง | ||
เจ้าเซ้าซี้ของพนันกันอีกครั้ง | เนื้อความยังไม่รู้เรื่องเมืองธานี | ||
จึ่งสั่งเจ้าพนักงานจัดการรับ | ให้เสร็จสรรพเชิญราชสารศรี | ||
ตามธรรมเนียมเตรียมรับทูตธานี | เรือกระบี่เรือเห่แลหลามชล | ||
ถึงท่าวังตั้งแห่งราชสาร | ทูตเชิญพานทองพระราชอนุสนธิ์ | ||
ถึงพระโรงเข้าเฝ้าเจ้าจุมพล | ถวายบังคมสิ้นทุกคนฟังโองการ | ||
กรมท่าทูลเบิกทูกทั้งหลาย | พวกทูตก็ถวายราชสาร | ||
ทรงรับมอบพระอาลักษณ์พนักงาน | ให้คลี่อ่านสารศรีที่มีมา | ||
ในลักษณพระราชสาร | ของภูบาลธานีมียศถา | ||
ขอเจริญไม่ตรีพระพี่ยา | ยังภาราทวาลีบุรีรัตน์ | ||
ด้วยได้ข่าวเาฦาระบือเลื่อง | ว่าในเมืองมีปราชญ์รู้เจนจัด | ||
จึ่งให้ราชาคณะทั้งสามวัด | มาถามอรรถบาฬีคัมภีร์ธรรม | ||
พระเชษฐาถ้าได้ไชยชำนะ | ขอคารวะขึ้นบุรีอุปถัมภ์ | ||
ถวายหิรัญมาลาบาบุบผาคำ | ไม่เกินก้ำจะเปนข้ากว่าวายปราณ | ||
ถ้าปราชญ์เมืองธานีนี้ชำนะ | จงสละนิวาศราชฐาน | ||
มาขึ้นเมืองธานีตามบุราณ | มอบสักการรัชฎามาลาทอง | ||
แผ่เขตขัณฑ์ธานีบุรีราช | ให้อำนาจสิทธิการงานทั้งผอง | ||
เปนพื้นเดียวเนื่องแดนดังแผ่นทอง | จะได้ครองบุรีรัตน์กำจัดไภย ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์ทรงภพฟังจบสาร | ปฏิสัณฐารสามนัดตรัสปราไส | ||
ตามธรรมเนียมทูตาอันมาไกล | ดำรัสให้รออยู่พักสักสามวัน | ||
จะแต่งที่พระกระวี่ถามปัณหา | ให้งามตาเปนเกียรติยศใหญ่มหันต์ | ||
แต่นักปราชญ์ผู้ฉลาดรอบรู้ธรรม์ | จะจัดสรรมาถามสู้ดุสักครั้ง | ||
ราชทูตก็คำนับรับโองการ | ถวายบังคมภูบาลคลานถอยหลัง | ||
มาข้างนอกออกไปจากในวัง | ก็มายังท่าจอดทอดนาวา ฯ | ||
๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูร | ให้อาดูรทรงโทมนัศา | ||
ว่าเหลือปัญญาจะสู้กู้บูรี | ไม่รู้ที่วิสัชนาปัญญาสูญ | ||
ให้อ้นอั้นตันใจได้อนุกูล | ช่วยกราบทูลแก้ไขอย่าให้เคือง | ||
ว่ากระษัตริย์ธานีนี้พาลา | รบพันนครานี้ร่ำไป | ||
จึ่งดำรัสสั่งเจ้าพนักงาน | สังฆ์การีธรรมการหมอบไสว | ||
ให้ทำหมายรายแจกทุกวัดไป | ราชาคณะองค์ใดจะรับพนัน | ||
แปลอักขรกับพระเมืองธานี | กู้บุรีคุ้มประเทศทั่วเขตรขัณฑ์ | ||
ถามบรรดาที่ชำนาญการอรรถธรรม์ | กูนัดไว้สามวันแก่ทูตมา | ||
ในกรุงให้สังฆ์การีเผดียงถาม | ทุกอารามพระสงฆ์ทรงยศถา | ||
นอกกรุงให้ธรรมการแจ้งกิจจา | เที่ยวปฤกษาเผดียงถามความพนัน | ||
สังฆ์การีธรรมการคลานออกมา | ถามพระราชาคณะขมีขมัน | ||
แต่รู้บาฬีคัมภีร์ธรรม์ | ในสามวันบอกเข้ามาอย่าช้าการ | ||
ฝ่ายพระสงฆ์ทรงสิกขาราชาคณะ | แจ้งในพระประสงค์เจ้าจอมสถาน | ||
ต่างก็กลัวปราไชยใจรำคาญ | บอกสังฆ์การีธรรมการให้กราบทูล | ||
สังฆ์การีธรรมการทราบสารเสร็จ | ทูลว่าพระขามเข็ดแต่ทราบเรื่อง | ||
ไม่มีใครเป็นคู่สู้แขกเมือง | พูดปลดเปลื้องออกตัวกลัวเต็มที ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์ทรงฤทธิ์อดิศร | ฟังทูลให้อาวรณ์เศร้าหมองศรี | ||
เสียพระไทยเกรงจะแพ้ทูตธานี | จะได้ใครกู้บุรีให้ชนะ | ||
จึ่งดำรัสปฤกษากับเชียงเมี่ยง | เองจะเถียงถามธรรมได้ไหมหวะ | ||
เชียงเมี่ยงก้มเกษาคารวะ | ทูลว่าเกล้ากระหม่อมจะอาสาไป | ||
ถามปัญหาในคัมภีร์ยาฬีอรรถ | สู้สักนัดมิได้หนีคัมภีร์ไหน | ||
ลาบรรพชาจึ่งมีไชย | แม้นโปรดให้บวชเปนสงฆ์คงได้การ ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงเวียง | ฟังเชียงเมี่ยงปรีดิ์เปรมเกษมสานต์ | ||
ก็โปรดให้บรรพชาไม่ช้านาน | บริขารไตรแพรแห่แหนไป | ||
ให้เชียงเมี่ยงอาบน้ำด้วยขันทอง | พิณพาทย์แตรสังข์ฆ้องประโคมให้ | ||
ประทานชื่อว่าพระศรีธนญไชย | ให้ถามไต่ธรรมขันธ์พนันเมือง | ||
ฝ่ายว่าพระศรีธนญไชย | ได้ยศศักดิ์ยิ่งใหญ่ชื่อฦาเลื่อง | ||
เสมอเดชาคณะเดชะประเทือง | รับพนันแขกเมืองทูตธานี | ||
จึ่งให้แต่งอาศนไว้หกสถาน | สูงตระหง่านเท่ากันเปนศักดิ์ศรี | ||
ดาดเพดานห้อยบุบผาพวงมาลี | มีมุลี่ม่านบังตั้งเครื่องยศ | ||
ถึงวันนัดให้นิมนต์ราชาคณะ | ทั้งสามองค์ที่จะไต่ถามบท | ||
ข้อธรรมปัณหามาลองทด | ครั้นมาหมดให้นั่งอาศน์ปูลาดไว้ | ||
ขึ้นที่สูงสามแห่งแต่งไว้ท่า | จึ่งสนทนาพูดพลางทางปราไส | ||
ถามบ้านเมื่องเรื่องอื่นพอชื่นใจ | แกล้งหน่วงให้ชักช้าเวลาเปลือง | ||
ฝ่ายพระสงฆ์สามองค์เห็นนานนัก | แต่ถามซักกันไปไมได้เรื่อง | ||
เห็นที่ว่าสามแห่งแต่งรุ่งเรือง | มีทั้งเครื่องยศประดับรับเถรา | ||
ก็เข้าใจว่าที่ท่านจะมาถาม | เห็นเนิ่นนานในความแก้ปฤษณา | ||
จึ่งเตือนว่าสักเมื่อไรท่านจะมา | จวนเวลาบ่ายเย็นไม่เห็นเลย | ||
ฝ่ายพระศรีธนญไชยไวปัญญา | ว่าจะมาเดี๋ยวนี้ไม่เชือนเฉย | ||
พระผู้เปนเจ้าเจนอรรถสันทัดเคย | ทั้งสามองค์จะเฉลยบทบาฬี | ||
ท่านรู้ธรรมคัมภีร์ฦกซึ้ง | ไม่มีคู่เทียมถึงทั้งกรุงศรี | ||
ข้าพเจ้าเปนแต่เชานอกบุรี | เข้ามาเรียนคัมภีร์ศึกษาธรรม | ||
พึ่งบวชใหม่อายุได้ยี่สิบห้า | มาศึกษาเปนศิษย์คิดเรียนร่ำ | ||
ปัญญาเขลารู้น้อยในถ้อยคำ | ท่านทั้งสามแม่นยำยิ่งเกรียงไกร | ||
ขอนิมนต์สนทนากันเล่นก่อน | พึ่งฝึกสอนจักถามตามสงไสย | ||
พุทธบิดาและไอยกาไซ้ | นามอย่างไรบิตุรงค์องค์ไอยกา | ||
อีกทั้งต้นวงษ์พงษ์ศักราช | ลำดับถึงจอมปราชญ์นารถนาถา | ||
พระนครที่สถิตย์กระษัตรา | นามภาราชื่อใดจงไขความ | ||
ราชาคณะสามองค์ฟังปุจฉา | วิสัชนาได้แต่กษัตริย์สาม | ||
ตั้งแต่พุทธบิดาแสดงนาม | สิ้นทั้งสามถึงภูมินทร์นรินทรา | ||
ซึ่งเปนชนกแห่งไอยกานารถ | ต่อขึ้นไปไม่อาจแก้ปัณหา | ||
บอกว่าจำไม่ได้สิ้นปัญญา | ก็นิ่งจนวาจาอยู่เพียงนั้น | ||
ฝ่ายว่าพระศรีธนญไชย | เห็นว่าไม่ไหวดูอัดอั้น | ||
จึ่งว่าผู้เปนเจ้ามาติดตัน | ถามกันยังค้างข้อไม่ต่อไป | ||
นี่แต่ศิษย์รู้น้อยพลอยมาถาม | ยังแก้ไม่สิ้นความที่สงไสย | ||
ถ้าพระครูสามองค์อันทรงไตร | ท่านถามมาแก้ไม่ได้จะอับอาย | ||
จะนิ่งไม่พริบตาอ้าปากค้าง | แมลงวันหยอดไข่ขางไว้มากหลาย | ||
ไม่รู้ตนจนในปัณหาทาย | ขอจงได้อธิบายบาฬีมา | ||
ฝ่ายพระสงฆ์สามองค์ราชาคณะ | ไม่อาจจะแก้ได้ในปัณหา | ||
ได้อายแก่ข้าเฝ้าเหล่าเสนา | ทั้งพระองค์ปิ่นประชาทวาลี | ||
ปราไชยในสนามทั้งสามองค์ | ก็เลื่อนลงจากอาศน์มณีศรี | ||
ทูตถวายสินพนันอัญชลี | ขอมาขึ้นบุรีตามสัญญา | ||
ถวายทั้งนาวาสิ้นห้าร้อย | ให้เคลื่อนคล้อยสำเภาเข้าสู่ท่า | ||
ราชาคณะก็ถวายพระพรลา | ทูตไปทูลกิจจาเจ้านายตน ฯ | ||
๏ ชนทั้งหลายชมพระศรีธนญไชย | ว่าว่องไวเจนจัดไม่ขัดสน | ||
กู้บุรีมีไชยไม่อับจน | พระจุมพลตรัสให้อวยไชยพร ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระศรีธนญไชยได้ชำนะ | สึกจากพระมาอยู่เหมือนแต่ก่อน | ||
เปนข้าเฝ้าจอมนรินทร์บดินทร | คู่นครเพิ่มโพธิสมภาร ฯ | ||
๏ ครั้นล่วงกาลนานมามีข้าศึก | ทำโห่ฮึกยกมายั้งตั้งอยู่ด่าน | ||
ได้ทีจะเข้าตีป้อมปราการ | ชิงกราชฐานนคราทวาลี | ||
ชาวด่านทำใบบอกแจ้งราชการ | ให้กราบทูลภูบาลในกรุงศรี | ||
ขุนนางในตำแหน่งแจ้งคดี | เข้าเฝ้าพระภูมีทูลกิจจา ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | ฟังอำมาตย์อ่านบอกในเลขา | ||
ว่าข้าศึกยกพลพหลมา | จะตีพระภาราทวาลี | ||
จึ่งสั่งให้เตรียมทัพไว้สรรพเสร็จ | ตีสิบเอ็ดจะเสด็จจากกรุงศรี | ||
อำมาตย์รับพระบัญชาเจ้าธานี | จัดพวกพลโยธีคอยฤกษ์ไชย | ||
รับสั่งให้ธนญไชยตามเสด็จ | ธนญไชยรับโองการมาบ้านตน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์ทรงเดชเกษประชา | ไม่เห็นธนญไชยมาก็ยกพหล | ||
ให้ทันฤกษ์ยามดีกรีธาพล | ทรงช้างต้นมีกำลังมาตังคพงษ์ | ||
หกสิบปีจึ่งหย่อนอ่อนนำลัง | สีคล้ายครั่งล่ำสันสูงรหง | ||
ทั้งห้าวหาญฝึกชำนาญการณรงค์ | ควรคู่จักรพรรดิทรงนำกองทัพ | ||
เรียกมันชันหูดูข้าศึก | โกญจนาทก้องกึกไม่ถอยกลับ | ||
แต่ช้างเดียวอาจฝ่าโยธาทัพ | ตะลุยไล่ให้ยับสักหมื่นพัน | ||
ประดับชาภรณ์เรื่องแลเครื่องมั่น | ล้วนสุวรรณเนาวรัตน์เลือกจัดสรร | ||
ห้อยภู่จามรีทั้งสองกรรณ | งามดังเอราวรรณอมรินทร์ | ||
เหล่าช้างดั้งช้างกันเปนอันดับ | ก็แข่งขับเคียงคู่ธนูศิลป์ | ||
พลม้าควบขนานสท้านดิน ส | เทื้อนด้าวดังจะภินท์พสุธา | ||
เหล่าโยธีมีแรงกำแหงเหี้ยม | ล้ำสั่นเทียมยักษ์มารล้วนหาญกล้า | ||
เลือกตัวดีมีฝีมือถือสาสตรา | สองหัตถาแกว่งดาบปลายเปนเงา | ||
เหล็กถลุงปรุงยาตำราอ้าง | อุส่าห์กรางคลุกน้ำตาลปนกับเข้า | ||
ให้นกกินจนสิ้นที่กรางเอา | มูลกนกกะเรียนใส่เบ้าสูบหลายไฟ | ||
จึ่งชุบแช่แร่พลวงล่วงขวบมา | ผสมยาว่านต่างต่างแลหางไหล | ||
แล้วหลอมหุงปรุงกับเหล็กพระขรรค์ไชย | มาตีได้เปนอาวุธสุดจะคม | ||
ทหารทวนล้วนสกรรจ์มั่นตั้นเติบ | ใจกำเริบรบรับล้วนทับถม | ||
อาบว่านปรุงยาทั้งอาคม | ปากก็อมเหล็กไหลได้อยู่คง | ||
ทหารปืนกว่าหมื่นชำนาญหัตถ์ | ทั้งยิงยัดคล่องไวดังใจประสงค์ | ||
มีเลขยันต์กันศึกนึกทนง | การณรงค์เคยมีไชยไม่เกรงกลัว | ||
ทหารดั้งเสโลห์ทั้งโตมร | ธนูศรแม่นดีมิใช่ชั่ว | ||
หมายจะพุ่งยิงใครไม่ผิดตัว | ข้าศึกเห็นสั่นหัวระอามือ | ||
พลรถเทียมสินธล้วนต่างสี | สารถีขึ้นขับม้าง่าแส้ถือ | ||
มีนายรถกุมหอกซัดถนัดมือ | ล้วนตัวฦาเรี่ยวแรงกำแหงทยาน | ||
เหล่าจตุรงค์สี่หมู่พรั่งพรูพร้อม | แห่แวดล้อมจอมนรินทร์ปิ่นสถาน | ||
ถึงที่พักจักประทับคชาธาร | มีโองการให้หยุดพลนิกาย | ||
ทรงคอยศรีธนญไชยมิได้มา | จนเวลาสุริฉันตวันบ่าย | ||
ให้หยุดช้างพระที่นั่งพอยั้งสบาย | โยธารายล้อมวงองค์ขัติยา ฯ | ||
๏ ฝ่ายศรีธนญไชยกลับไปบ้าน | จึงคิดอ่านจับไก่ไว้นักหนา | ||
ใส่กรงขังสมดังจิตรจึ่งนิทรา | ตื่นขึ้นกินโภชนาสบายใจ | ||
แล้วเที่ยวเล่นกับเพื่อนเชือนแชเฉย | จนล่วงเลยเวลาหามาไม่ | ||
กลับไปบ้านนอนกลางวันไม่พรั่นใจ | ตื่นขึ้นบ่ายแวให้ผูกช้างพลัน | ||
เอาไก่ผูกท้ายช้างกับสัปคับ | เสบียงอาหารเสร็จสรรพขนเลือกสรร | ||
หีบผ้ากาน้ำของสำคัญ | ขึ้นช้างไสไปให้ทันทัพหลวงจร | ||
รีบขับช้างย่างยาวก้าวเหยียดเหยาะ | หวังจำเภาะทัพใหญ่ไม่หยุดหย่อน | ||
พอบ่ายเย็นเห็นพหลพลนิกร | พักร้อนล้อมพลับพลาพนาวัน | ||
รีบให้ถึงคชาเข้ามาเฝ้า | ถวายบังคมก้มเกล้าขมีขมัน | ||
ฝ่ายพระองค์ดำรงเมืองขุ่นเคืองครัน | ตรัสว่าเฮ้ยอย่งไรนั่นจึงช้านาน | ||
สั่งให้มาก่อนไก่ทำไมอยู่ | ให้ตัวกูคอยจนบ่ายสุริยฉาน | ||
ไม่ทำตามคำว่าต้องท่านาน | จงให้การมาอย่าช้าว่ากระไร | ||
ธนญไชยได้ฟังรับสั่งถาม | จึงทูลความว่าหม่อมฉานมาก่อนไก่ | ||
ผูกไว้ที่ท้ายช้างร้องอึกไป | ขึ้นนั่งได้ก่อนไก่แล้วจึงมา | ||
มิได้ทำล่วงเกินพระโองการ | ควรมิควรขอปรทานซึ่งโทษา | ||
เปนช้างเดียวเปลี่ยวใจจึงได้ช้า | พระอาญาล้นเกล้าด้วยเบาความ ฯ | ||
๏ ครานั้นธิบดินทร์นรินทร์ราช | ฟังทูลว่าเห็นฉลาดไม่เข็ดขาม | ||
จะให้ฆ่าเสียก็ได้ไม่ทำตาม | ทรงตรองความเห็นจริงแล้วนิ่งไว้ | ||
จึงดำรัสการรบกับเสนา | ตามมหาพิไชยสงครามใหญ่ | ||
จงตั้งจิตรรบตีให้มีไชย | ทั้งนายไพร่อย่าย่อท้อต่อสงคราม | ||
แล้วยกพลล่งไปใกล้วถึงด่าน | พวกข้าศึกไม่ต่อต้านกลัวเข็ดขาม | ||
เห็นรี้พลคร้นครึกให้นึกคร้าม | ดูล้นหลามแน่นป่าไม่กล้ารบ | ||
กำลังพลตนน้อยก็ถอยล่า | ยกโยธารีบลี้เลี่ยงหนีหลบ | ||
แพ้พ่ายไปแต่ไกลไม่ทันรบ | พระจอมภพนคราทวาลี | ||
เห็นข้าศึกสัตรูหมู่คิดร้าย | แตกกระจัดกระจายกระเจิงหนี | ||
ก็ยกทัพกลับคืนเข้าบุรี | ทรงคอยที่จะเอาผิดธนญไชย ฯ | ||
๏ ครั้งหนึ่งพระองค์ทรภพทวาลี | เสด็จประพาศสวนศรีอุทยานใหญ่ | ||
ชมพฤกษาดอกผลที่ปลูกไว้ | สำราญพระไทยรื่นเริงบรรเทิงครัน | ||
ทอดพระเนตรผลพริสุกแดงฉาน | เต็มทั้งต้นภูบาลเกษมสันต์ | ||
ดำริห์ไว้ในพระไทยให้ผูกพัน | จะเสวยพริกนนั้นสักเวลา | ||
เสด็จกลับยังพระราชวังสถาน | นฤบาลดำรัสตรัสให้หา | ||
ธนญไชยตัวดีมีปัญญา | รับสั่งว่าไปเก็บพริกมาไวไว | ||
กูจะกินกับอาหารเวลานี้ | รีบไปที่สวนอย่าช้าเก็บมาให้ | ||
ธนญไชยรับโองการคลานออกไป | ถึงอุทยานหมายใจจะเก็บพริก | ||
เห็นสุกแดงเต็มต้นไม่หล่นร่วง | ครั้นจะล่วงเกินเข้าเก็บด้วยเล็บหยิก | ||
ไม่รับสั่งให้เด็ดให้เก็บพริก | ลมไม่พัดให้ระดิกกระเด็นเลย | ||
จะเด็ดเอาที่บนต้นก็เกินรับสั่ง | ครั้นจะนั่งคอยดูอยู่เฉยเฉย | ||
ก็ป่วยการจำจะผิวปากตามเคย | ให้พระพายพัดรำเพยพยุมา | ||
คิดแล้วจึ่งเข้านอนอยู่ใต้ต้น | คอยท่าให้พริกหล่นตามปรารถนา | ||
ฝ่ายพระองค์พงษ์กระษัตริย์ขัติยา | คอยธนญไชยเห็นช้าเนินนานนัก | ||
จึงตรัสใช้มหาดเล็กไปตามดู | อย่างไรอยู่ถามไถ่ให้ประจักษ์ | ||
เก็บพริกที่สวนควรฤาอยู่ช้านัก | เที่ยวเชือนชักกาลให้เนินเกินเวลา | ||
มหาดเล็กได้รับสั่งมายังสวน | เที่ยวทบทวนเสาะแสดงทุกแห่งหา | ||
ได้ยินเสียงผิวปากใกล้าพลับพลา | ก็ตามไปไม่ช้าได้พบตัว | ||
เห็นนอนอยู่ใต้ต้นพริกกะดิกนิ้ว | กำลังผิวปากจึ่งเตือนว่าเจ้าอยู่หัว | ||
สั่งให้เก็บพริกมานอนซุกซ่อนตัว | เหมือนไม่กลัวรับสั่งใช้ให้มาดู | ||
ธนญไชยตอบว่ามีโองการ | ให้เก็บพริกในอุทยานก็จริงอยู่ | ||
แต่ผลพริกมิได้หล่นก็คอยดู | จะเด็ดบนต้นเปนสู่รู้ล่วงเกินไป | ||
จะนั่งคอยพริกหล่นก็ป่วยการ | จึ่งคิดอ่านเรียกชมพยุใหญ่ | ||
ให้พัดผลพริกหล่นเหมือนอย่างใจ | จะเก็บไปถวายองค์พระทรงธรรม | ||
แม้นกริ้วกราดว่ามาช้าก็ควรการ | ด้วยทรงคอยอยู่นานจึ่งหุนหัน | ||
ถ้าจะเด็ดพริผลบนต้นนั้น | สักสามหนก็จะทันไม่เนิ่นนาน | ||
นายจงไปกราบทูลตามมูลเหตุ | ให้ทรงเดชทราบตามที่คิดอ่าน | ||
มหาดเล็กมาสนองพระโองการ | ตามธนญไชยว่าขานให้กราบทูล ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ได้ทรงฟัง | ที่แค้นคั่งค่อยคลายกริ้วหายสูญ | ||
ทรงเห็นจริงด้วยได้สั่งตามเหตุมูล | ที่อาดูรเดือดดาลสำราญไป ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าธนญไชยไม่ได้พริก | ด้วยทำพลิกแพลงให้ควรสำนวนใหญ่ | ||
เห็นนานช้ากลับมาเฝ้าพระทรงไชย | ทูลตามเหตุที่ไม่ได้จนสิ้นความ ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมนครเรศประเทศสถาน | ฟังธนญไชยทูลสารไม่เข็ดขาม | ||
ทรงดำริห์ว่าอ้ายนี่มิใช่ทราม | จะไล่ถามสักกี่หนไม่จนเลย | ||
จึ่งดำรัสถาว่าปัญญนั้น | เองขังคั่นไว้ในท้องคอยตรองเฉลย | ||
ฤามีตัวปรากฎไม่หมดเลย | จงเปิดเผยลอกมาอย่างอำพราง | ||
ธนญไชยทูลว่าปัญญาหม่อมฉัน | ในท้องนั้นไม่สู้มากก็มีบ้าง | ||
มีตัวข้างนอกเลี้ยงไว้มิได้พราง | ใส่ปล้องไม้หม่อมแนวางไว้ในเรือน | ||
เพราะเปนตัวบินได้ต้องใส่กระบอก | แม้นปล่อยออกก็จะหนีด้วยมีเพื่อน | ||
จึ่งขังใส่ปล้องไม้มิให้เชือน | ต้องเลี้ยงไว้ในเรือนให้มิดชิด | ||
พระทรงฟังว่าซึ่งปัญญาได้ | ใส่ปล้องไม้ซ่อนไว้ฦกผนึกปิด | ||
ดำรัสว่าตัวปัญญาเจ้าความคิด | ของเองมากหลายชนิดจงแบ่งปัน | ||
กูจะแจกอีสาวสาวพวกชาวใน | มันจะได้มีปัญญามากเข้มขัน | ||
เหมือนตัวเองไม่มีคู่รู้เทียมทัน | อย่างไรนั่นให้มิให้จงไขความ | ||
ธนญไชยได้ฟังรับสั่งขอ | นึกหัวร่ออยู่ในใจไม่เข็ดขาม | ||
จึงทูลว่าสิ่งนี้มิใช่ทราม | ที่พึงใจต้องห้ามหวงระวัง | ||
แด่พระเดชพระคุณเปนที่ยิ่ง | เปนความจริงไม่อยากให้ใครสมหวัง | ||
ต้องถวายมิไคิดจะปิดบัง | ด้วยใจตั้งพึ่งพระโพธิสมภาร | ||
กราบทูลแล้วบังคมลามาสู่เรือน | คิดจะใคร่ปิดเงื่อนไม่แผ่ซ่าน | ||
ได้สิ่งไรหนอถวายพระภูบาล | นึกรำคาญแล้วคิดได้ไวปัญญา | ||
อย่าเลยนะจะถวายตัวต่อผึ้ง | คิดแล้วจึ่งเที่ยวทุกแห่งแสวงหา | ||
เปนห้าวันได้ตัวผึ้งต่อแตนมา | ใส่กระบอกปิดฝาไว้เรือนตน ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงสถาน | คอยธนญไชยไม่พบพานก็ทรงบ่น | ||
รับสั่งให้หาพระสนมมาทุกคน | ตรัสว่าปัญญาไม่จนธนญไชย | ||
มันบอกว่ามีตัวเลี้ยงไว้มาก | อีเหล่านี้ใครอยากจะใคร่ได้ | ||
พระสนมทูลทุกคนอยากจะได้ไว้ | ปัญญาเหมือนศรีธนญไชยจะใคร่มี | ||
จึงตรัสว่าถ้าอยากได้ไปหามัน | ขอแบ่งสรรปัญญาอ้ายขุนศรี | ||
พระสนมบังคมอัญชลี | ทูลลาพระภูมีออกจากวัง | ||
ทั้งโขลนจ่าทนายเรือนกล่นเกลื่อนมา | ตำรวจวังนำน่ากำกับหลัง | ||
มาบ้านศรีธนญไชยไม่รอรั้ง | กรมวังบอกว่ามีพระโองการ | ||
รับสั่งใช้ให้มาขอตัวปัญญา | พระสนมมาหาจนถึงบ้าน | ||
จงแบ่งปันตัวปัญญาอย่าช้านาน | ตามโองการพระภูมินทร์นรินทร | ||
๏ ฝ่ายขุนศรีธนญไชยครั้นได้ฟัง | ทำเปนนั่งเศร้าทอดฤไทยถอน | ||
ในอุบายเหมือนเสียดายต้องทุกข์ร้อน | จึ่งตอบว่าแต่ก่อนรับสั่งมา | ||
ให้ข้าพเจ้าเอาปัญญาไปถวาย | ความเสียดายเพราะยังรักอยู่นักหนา | ||
บัดนี้มีพระราชบัญชา | ให้ท่านข้างในขอปัญญามาถึงเรือน | ||
จะขืนขัดก็ไม่ได้ต้องให้ปัน | แต่คนละตัวเท่านั้นเลี้ยงเปนเพื่อน | ||
พอมีเชื้อต่อพันธุ์ให้เต็มเรือน | ตัวเดียวเหมือนมากด้วยฬ่อต่อกันมา | ||
ว่าแล้วหยิบกระบอกมาจากห้อง | พระสนมต่างร้องขอบ้างหนา | ||
เข้าเบียดเสียดแซกกันขอปัญญา | ลางคนว่าอยากได้มากหลายหลากกัน | ||
ธนญไชยว่าอยากได้ทำไมมาก | แต่คนละตัวเถอะจะภาคส่วนแบ่งสรร | ||
พอเปนเชื้อเลี้ยงในเรือนเหมือนกัน | ข้าเจ้าจะทำพันธุ์ต่อต่อไป | ||
ทั้งจะถวายพระองค์ดำรงราษฎร์ | ตัวฉลาดเกิดปัญญาหาพอไม่ | ||
จึ่งให้พระสนมนางข้างฝ่ายใน | แบฝ่ามือว่าจะให้ตัวปัญญา | ||
ฝ่ายนางในแบหัดถามาทุกคน | ขุนธนญเปิดกระบอกขึ้นต่อหน้า | ||
ตัวผึ้งต่อแตนแล่นออกมา | ท่านข้างในต่างคว้าจะจับตัว | ||
ตัวปัญญาสามชนิดมีพิศม์ร้าย | ก็ต่อยกายแขนหน้าบ้างต่อยหัว | ||
ทั้งปรางถันคันเจ็บไปทั้งตัว | สัตว์ชาติชั่วเข้าร่มผ้าไม่ว่าใคร | ||
ปะที่ไหนต่อยให้ทุกแห่งหน | พระสนมเหลือทนบ้างร้องไห้ | ||
เสียงกราดกรีดหวีดว่าธนญไชย | แกล้งจะให้ล้มตายได้อายคน | ||
ธนญไชยทำเปนห้ามตัวปัญญา | ทำไมต่อยท่านเล่าหวาออกปี้ป่น | ||
อย่าทำเช่นนั้นจงหยุดอย่าซุกซน | ตัวปัญญาก็บินวนไล่ต่อยตอม | ||
ธนญไชยว่าเพราะท่านทำให้วุ่น | มาแย่งชิงชุลมุนไม่ค่อยถนอม | ||
ตัวปัญญาขึ้งโกรธโลดไล่ตอม | ข้าพเจ้าก็ต่อยงอมไปเหมือนกัน | ||
โกรธขึ้นมามิได้ว่าเปนเจ้าของ | แม้นจับต้องเข้าไม่ได้ใจหุนหัน | ||
จะห้ามปรามอย่างไรก็ไม่ทัน | สุดจะกั้นกางได้ว่องไวนัก | ||
พรสนมต้องต่อแตนมันต่อย | บวมผื่นยับย่อยเจ็บปวดหนัก | ||
ต่างวิ่งหนีล้มคว่ำคะมำภักตร์ | นอกชานหักตกเรือนเรียกเพื่อนอึง | ||
บ้างหน้าแตกแขนหวะโลหิตไหล | โดนกันเองวุ่นไปหนีต่อผึ้ง | ||
ต่างต่างวิ่งย่างยาวก้าวตะบึง | มาจนถึงที่เฝ้าเจ้าจุมพล ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์ทรงนิเวศน์ครองเขตรขัณฑ์ | เห็นพระสนมกำนัลวิ่งสับสน | ||
แกล้งให้ได้อับอายไม่หายเลย | มิได้เคยเจ็บกายแทบวายปราณ ฯ | ||
กายาเหล่านารีล้วนพิกล | บวมผื่นไปทุกคนแปลกไนยนา | ||
จึ่งรับสั่งถามว่าเปนเหตุไฉน | เออเมื่อไปแต่งกายงามสง่า | ||
ครั้นเมื่อกลับมาบวมผิดในตา | ทั้งกายาผิดผื่นบื่นโนนอ | ||
พระสนมทูลว่าปัญญาต่อย | มิใช่น้อยบินร่อนว่อนเปรียวปร๋อ | ||
ตัวลายลายเหลืองเหลืองต่อยคางคอ | เหมือนผึ้งต่อแตนมีพิศม์ไม่ผิดกัน | ||
ต่อยที่ไหนร้อนดังไฟทั้งปวดเจ็บ | ซ่านทั่วกายชาเหน็บไม่เศกสรร | ||
เกล้าหม่อมฉานเหลือทนบ่นรำพรรณ | ไม่เคยเปนเช่นนั้นอยู่ในเวียง | ||
กราบทูลกล่าวโทษธนญไชย | ร่ำพิไรโศกสอื้นครั้นครื้นเสียง | ||
ว่าพระองค์ทรงเมตตาได้ชุบเลี้ยง | ไม่ลำเอียงแนทาข้าทั้งปวง | ||
มีพระคุณล้นเกล้าเหล่าหม่อมฉัน | พระทรงธรรม์อาชญาก็ใหญ่หลวง | ||
มิได้ทรงให้เจ็บช้ำระกำทรวง | น้ำเนตรร่วงเหมือนครั้งนี้ไม่มีเลย | ||
ธนญไชยทำแก่เกล้าหม่อมฉาน | เหลือประมาณจะกราบทูลมูลเฉลย | ||
ครานั้นพระองค์ดำรงโลกย์ | เห็นสาวสรรค์เศร้าโศกแซ่เสียงประสาน | ||
ทูลกล่าวโทษธนญไชยให้เดือดดาล | พระภูบาลซักซ้ำให้คำยืน | ||
ว่าตัวปัญญานั้นคล้ายผึ้งต่อแตนหรือ | พระสนมประนมมือไม่ฝ่าฝืน | ||
ทูลคงคำซ้ำประดังว่ายั่งยืน | พระยิ่งตื้นตันแน่นแค้นพระไทย | ||
ตรัสว่าจริงเหมือนอย่างว่าจะฆ่าเสีย | เลี้ยงไว้ไยเปลืองเบี้ยหวัดที่ให้ | ||
น้อยฤานั่นอ้ายขุนศรีธนญไชย | มันทำได้ไม่เกรงกลัวหัวจะปลิว | ||
จึ่งรับสั่งว่าให้หาตัวเข้ามา | ตำรวจรับพระบัญชาวิ่งออกฉิว | ||
ถึงบ้านศรีธนญไชยไม่บิดพลิ้ว | พูดขึ้นนิ้วบอกสิ้นตามโองการ | ||
ว่าบัดนี้พระสนมทูลกว่าวโทษ | ในคำโจทย์ว่าท่านทำอาจหาญ | ||
ทำงามหน้าแล้วครั้งนี้มีโองการ | ให้หาท่านไปไวไวเข้าในวัง | ||
ธนญไชยได้ฟังคำตำรวจว่า | ก็รีบมาเฝ้าพระบาทต่อภายหลัง | ||
ฝ่ายพระจอมนคเรศนิเวศน์วัง | ให้แค้นคั่งมิได้ตรัสอัดอั้นเคือง | ||
ทอดพระเนตรเห็นขุนศรีธนญไชย | ด้วยนางในทูลยกโทษอยู่หลายเรื่อง | ||
น้อยพระไทยไม่อยากได้ไว้ในเมือง | จะใคร่ฆ่าแก้เคืองขัดฤไทย ฯ | ||
๏ ฝ่ายขุนธนญคนบิดพลิ้วเห็นกริ้วกราด | เพื่อนองอาจมิได้พรั่นไม่หวั่นไหว | ||
จึ่งกราบทูลว่ามีรับสั่งไว้ | พระโปรดให้นำตัวปัญญามา | ||
หม่อมฉันก็จะจับมาถวาย | ครั้นสนมทั้งหลายออกมาหา | ||
ว่าโปรดให้มางอนง้อขอปัญญา | ครั้นเปิดไขตัวปรีชาจากปล้องไม้ | ||
ต่างคนต่างแย่งชิงกันจะจับ | ตัวปัญญาหวนกลับมาต่อยให้ | ||
ถึงเกล้ากระหม่อมผู้เจ้าของซึ่งเลี้ยงไว้ | ก็ต่อยยับแล้วหนีไปจนสิ้นตัว | ||
ครั้นจะว่าก็เกรงพระอาชญา | ด้วยว่ามีบัญชาเจ้าอยู่หัว | ||
ก็จนใจไม่ว่าขานหม่อนฉานกลัว | ควรมิควรเปนคนชั่วไม่มีดี ฯ | ||
ฝ่ายพระองค์ทรงฟังให้คั่งแค้น | ด้วยห้ามแหนแสนสุรางค์มาป่นปี้ | ||
ทั้งนางในกล่าวโทษยกคดี | พระผุ้ผ่านทวาลีขุ่นเคืองนัก | ||
ถอดพระแสงทรงง่าจะฆ่าขุนศรี | แล้วกลับมีพระสติทรงหวนหัก | ||
ความพิโรธให้หย่อนค่อยผ่อนพัก | นึกถึงคำทรงศักดิ์พระบิตุรงค์ | ||
ได้ฝากฝังครั้งประชวรจวนล่วงลับ | ทรงกำชับไม่ให้ฆ่าตามประสงค์ | ||
ถึงผิดพลั้งรั้งรอให้ชีพคง | ครั้นฆ่าลงบ้านเมืองจะวุ่นวาย | ||
หนึ่งพระบรมอัฐิจะติโทษ | เกิดพิโรธร้าวรานไม่รู้หาย | ||
ก็คืนพระแสงคงฝักจำหลักลาย | ครั้นค่อยคลายขุ่นเคืองในเรื่องความ | ||
ก็ทรงวางพระแสงดแล้วตรัสวตวาด | เฮ้ยอ้ายชาติชั่วทำแต่หยาบหยาม | ||
ตั้งแต่นี้อย่าเข้ามาวู่วาม | ไม่ขอดูหน้าเองจะชามมาหลอกล้อ | ||
ไปเสียเดี๋ยวนี้อ่ารีรอ | เฮ้ยตำรวจไสคอเสียจากวัง ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนศรีธนญไชย | เห็นพระองค์เคืองฤไทยยังแค้นคั่ง | ||
กราบถวายบังคมลาไม่รอรั้ง | ในใจตั้งจะแก้แค้นพระทรงฤทธิ์ | ||
ไม่สู้ทุกข์สู้ร้อนนอนสบาย | ตรองไม่วายจะกลบเกลื่อนที่ความผิด | ||
แก้ให้ได้สักครั้งตั้งใจคิด | พอเจ็ดวันจอมอิศราประชา | ||
เสด็จเลียบพระนครปทักษิณ | ธนญไชยขุดดินไว้คอยท่า | ||
ให้เปนหลุมฝังศีศะในพสุธา | ชูแต่ก้นขึ้นมาขวางน่าขบวน | ||
ครั้นเสด็จมาถึงประเทศนั้น | ทอดพระเนตรเห็นขันก็ทรงพระสรวล | ||
รับสั่งว่าใครทำดูไม่ควร | ขวางขบวนชี้ก้นพิกลกาย | ||
อำมาตย์ทูลมูลคดีว่าศรีธนญ | ฝังศีศะชูแต่ก้นขึ้นถวาย | ||
ไม่ให้ทอดพระเนตรหน้าเปนคนร้าย | ทำอุบายซ่อนเศียรให้เมี้ยนมิด | ||
รับสั่งไว้ว่าไม่ขอเห็นหน้า | ฝังภักตราด้วยว่าตนเปนคนผิด | ||
ให้ทอดพระเนตรแต่กาหายหัวมิด | ถวายองค์ทรงฤทธิคิดชขอบกล ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | ฟังอำมาตย์กราบทูลได้เหตุผล | ||
เคืองพระไทยด้วยได้เห็นศรีธนญ | ชูแต่ก้นขึ้นถวาอายพระไทย | ||
จึ่งรับสั่งให้กลับช้างที่นั่ง | เข้าราชวังมณเฑียรอันสุกใส | ||
ฝ่ายว่าเจ้าขุนศรีธนญไชย | ขึ้นจากหลุมก็ไปยังบ้านต้น ฯ | ||
๏ ถึงเดือนหกศกใหม่เขาไถนา | ทั่วขอบเขตรภาราทุกแห่งหน | ||
ราษฎรต่างไถไร่นาตน | ศรีธนญครั้นเห็นเขาไถนา | ||
นึกในใจว่าการไถไร่นานี้ | ชื่อว่ากลับปัถพีทุแหล่งหล้า | ||
ทำข้างบนกลับลงพสุธา | จอมประชาตรัสวากลับพื้นแผ่นดิน | ||
จึ่งให้เข้าเฝ้าเบื้องยุคลบาท | แต่เราขาดเฝ้ามากว่าปีสิ้น | ||
ครั้งนี้แลจะได้เฝ้าพระภูมินทร์ | กับแผ่นดินตามโองการบรรหารมา ฯ | ||
๏ คิดแล้วจึ่งเข้าเฝ้าพระบาท | จอมทวาลีราชารถนาถา | ||
ถวายบังคมท่างามครบสามครา | หมอบตามยศถาตำแหน่งขุนนาง ฯ | ||
๏ ครานั้นพระผู้ผ่านทวาลี | เห็นขุนศรีธนญไชยให้ขัดขวาง | ||
เคืองพระเนตรแล้วตรัสดำรัสพลาง | กูห้ามไว้อย่างไรวางวิ่งเข้ามา | ||
ได้สั่งแล้ว่าถ้าแผ่นดินกลับ | สิ้นบังคับจึ่งเขัาในวังหนา | ||
กูยังอยู่มิได้ผลัดกระษัตรา | เองเข้ามาว่ากะไรไม่ทำตาม ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าขุนศรีธนญไชย | จึ่งทูลไปด้วยปัญญาไม่เข็ดขาม | ||
ข้อซึ่งดำรัสตรัสห้ามปราม | ไม่ลวนลามล่วงเกินพระโองการ | ||
มีรับสั่งว่าแผ่นดินกลับจึ่งมา | ก็บัดนี้พสุธาประเทศสถาน | ||
กลับแล้วตามพระราชโองการ | กระหม่อมฉานจึ่งมาเฝ้าเจ้าจุมพล | ||
ไม่ทรงเชื่อโปรดให้มหาดชา | เที่ยวดูนอกพาราทุกแห่งหน | ||
จะเห็นจริงแจ้งใจในยุบล | มิได้นำเล่ห์กลมากราบทูล ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงสถาน | ฟังขุนศรีทูลสารนเรนทร์สูร | ||
ทรงดำริห์ตริความตามเหตุมูล | จอมประยูรยังให้สงไสยนัก | ||
จึ่งตรัสใช้มหาดเล็กที่ปรีชา | ไปเที่ยวรอบภาราให้เห็นประจักษ์ | ||
มหาดเล็กคลานออกมาไม่หยุดพัก | เที่ยวดูให้แน่กตระหนักทั่วนคร | ||
ครั้นไปก็ได้เห็นเขาไถนา | แล้วกลับมาทูลบพิตรอดิศร | ||
ว่าเกล้ากระหม่อมไปได้เห็นราษฎร | เขาไถนารอบนครทวาลี ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมนคเรศระเทศสถาน | ฟังทูลแล้วทรงวิจารณ์คำขุนศรี | ||
อันธรรมดาว่าการไถนานี้ | ชื่อว่ากลับปัถพีจริงของมัน | ||
ก็ค่อยคลายหายเคืองที่เรื่องผิด | ทรงยกโทษใช้สนิทไม่เดียดฉัน | ||
ธนญไชยได้มาเฝ้าพระทรงธรรม์ | เปนนิรันดรมาเหมือนก่อนกาล ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงกษัตราเบญจาละรา | ร้ายกาจเรี่ยวแรงกำแหงหาญ | ||
ครองกรุงเบญจามาช้านาน | มีพลรบเชี่ยวชาญการณรงค์ | ||
ทรงดำริห์จะใคร่ได้ทวาลี | เปนบุรีขึ้นนครโดยประสงค์ | ||
จึงยกนิกรพลพะลาข้ามป่าดง | รถดุรงค์บทจรกุญชรไชย | ||
มาตั้งค่ายรยรอบแดนต่อแดน | ดูหนาแน่นเทียวธงดูไสว | ||
ฝ่ายชาวด่านแจ้งการอรินไภย | มาอยู่ใกล้ด่านแดนแน่นหนานัก | ||
ก็ร่างคำทำหนั่งสือใมบบอกมา | ให้คนรีบแจ้งกิจจาหมู่ปรปักษ์ | ||
มาห้าวันเร่งร้อนไม่ผ่อนพัก | แจ้งขุนนางให้ประจักษ์ข่าวดัษกร | ||
ว่ามีทัพกรุงกระษัตริย์เธอยกมา | ตั้งริมด่านชายป่าเชิงศิงขร | ||
ขุนนางทูลข่าวศึกพระภูธร | ตามใบบอกชาวดอนแดนต่อแดน ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระจอมนคเรศเกษประชา | ทรงฟังบอกอักขราเห็นหนาแน่น | ||
ว่ามีศึกกรุงกระษัตริย์มาติดแดน | ยกหมู่แสนยากรจะรอนราญ | ||
จึ่งรับสั่งให้หาธนญไชย | เข้ามาแล้วสั่งให้ออกจากสถาน | ||
เปนแม่ทัพพลขันธ์ประจัญบาน | ให้ทวยหาญฟังบังคับธนญไชย | ||
ด้วยศรีธนญคนดีมีปัญญา | เพลงสาตราวุธก็คล่องควรรบได้ | ||
แล้วความคิดบิดพลิ้วก็ว่องไว | เองจงไปสู้ศึกอย่านึกกลัว | ||
ธนญไชยรับพระราลชโองการ | ไม่อาจขัดบรรหารเจ้าอยู่หัว | ||
แต่ไม่สู้เต็มใจให้นึกกลัว | มาถึงบ้านคลุมหัวรนอนรำพึง | ||
ว่ารับสั่งครั้งนี้ให้ไปรบ | พระจอมภพจะแกล้งให้ความตายถึง | ||
แล้วนึกได้ใจกล้าไม่พรั่นพรึง | คิดคำนึงได้อุบายให้ช้าการ | ||
ลุกขึ้นได้ตัดไม้ไผ่มาผ่า | จักตอกสานหับว่าจะใส่อาหาร | ||
แต่ต้นจนล่วงสามทิวาวาร | ก็นั่งสานหับใหญ่ไม่ไปทัพ | ||
พวกพหลพลนิกายทั้งนายไพร่ | คอยท่าศรีธนญไชยเตรียมเสร็จสรรพ | ||
ทั้งลูกดินของกินเสบียงทัพ | ธนญไชยสานหับไม่แล้วเลย | ||
ฝ่ายพระองค์ดำรงเมืองทวาลี | ทราบว่าศรีธนญไชยนอนใจเฉย | ||
ยังไม่ไปไชยชิงนิ่งละเลย | ให้ไปเตือนเพื่อนก็เฉยไม่รีบร้อน | ||
จึ่งรับสั่งให้ถามธนญไชย | ว่าอย่างไรเนิ่นช้าว่ามาก่อน | ||
ธนญไชยให้กราบทูลพระภูธร | ว่ายังสานหับจะคอนใส่เสบียง | ||
ครั้นหลายวันก็รับสั่งให้เตือนซ้ำ | บอกว่าทำหับไม่แล้วพูดหลีกเลี่ยง | ||
ฝ่ายพระองค์ทราบว่าสานใส่เสบียง | จะโตเพียงไหนมิใคร่จะแล้วลง | ||
มันจะสานหับใหญ่ทำไมหนอ | กระบวนทัพคอยรอไม่สมประสงค์ | ||
อยู่เนิ่นนานมิได้การณรงค์ | มันทนงไว้ ใจพวกไพรี | ||
รับสั่งเตือนให้เร่งยกกองทัพ | ก็พบอหับสานแวโตได้ที่ | ||
ได้แปดอ้อมหาไม้ไผ่อันยาวรี | ได้สามวาพอดีจะทำคาน | ||
ปั้นเข้าสุกปั้นหนึ่งไส่ในหับ | คอนขึ้นบ่านำทัพมาน่าฉาน | ||
เปนแม่ทัพออกน่าถึงทวาร | หับที่สานโตกว่าประตูเมือง | ||
ออกไม่ได้ติดคับทัพก็คั่ง | ค่อยรอรั่งนายทัพอยู่แน่นเนื่อง | ||
ขุนนางเห็นหับคับประตูเมือง | กราบทูลให้ทราบเรื่องนายทัพไชย | ||
ว่าหับคับประตูเมืองฝืดเคืองนัก | กองทัพต้องรอพักไปไม่ได้ | ||
ฝ่ายพระองค์ทรงฟังคั่งแค้นฤไทย | ตรัสให้ห้ามว่าอ่าไปเลยรำคาญ | ||
ขุนนางรับพระโองการก็มาบอก | ไม่ให้ออกไปรบตามบรรหาร | ||
ธนญไชย ได้ฟังก็ชื่นบาน | สมที่การคิดจะไม่ไปสงคราม | ||
จึ่งแกล้งว่าข้าหมายจะไปทัพ | ฉลองพระคุณตามตำหรับไม่เข็ดขาม | ||
ทำไมจึ่งรับสั่งให้ห้ามปราม | ขัดไม่ได้ต้องตามพระโองการ | ||
ว่าแล้วก็กลับยังเคหา | สมปราถนาบริโภคกระยาหาร | ||
ครั้นอิ่มแล้วนอนเล่นให้สำราญ | จับหนังสือโคลงมาอ่านสบายใจ ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าเสนาผู้นายทัพ | ก็เร่งขับพลนิกายทั้งนายไพร่ | ||
ถึงแดนต่อแดนตั้งแสนยากรไว้ | บังคับให้ตั้งค่ายรายเรียงกัน ฯ | ||
๏ ครานั้นกรุงกษัตราปัญจาละราช | เห็นพหลพลดาดดนมหันต์ | ||
ล้วนทัพเมืองทวาลีมีมากครัน | แน่นอนันต์ม้ารถคชไกร | ||
ทั้งทหารบทจรศรกำซาบ | ถือหอกดาบทวนธนูดูไสว | ||
ทั้งโล่ห์เขนปืนยาแลน่าไม้ | ดังน้ำไหลล้นหลามตามมรคา | ||
นึกสดุ้งหวาดหวี่นพรั่นในศึก | เสียงพิฦกโห่ลั่นสนั่นป่า | ||
ก็ล่าทัพกลับคืนพระภารา | ไม่อาจสู้เกรงเดชาพระทรงธรรม์ ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่ากองทัพทวาลี | เห็นข้าศึกล่าหนีจากเขตรขัณฑ์ | ||
บอกหนังสือมาแจ้งข่าวศึกนั้น | ให้ทูลองค์ทรงธรรม์ จะถอยทัพ | ||
ฝ่ายว่าพระผู้ผ่านมไหสวรรย์ | เกษมสันต์ด้วยข้าศึกล่าหนีกลับ | ||
สั่งมีตราให้หากระบวนทัพ | คืนนครอยู่รับราชการ | ||
ส่วนนายพลทราบยุบลว่าให้หา | ก็ยกทัพกลับมายังราชฐาน | ||
เข้าเฝ้าทูลกิจจาทุกประการ | พระประทานรางวัลตามไพร่นาย ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงกรุงกษัตริย์อยู่เมืองเทศ | เปนเจ้าเขตรแดนชวาสิ้นทั้งหลาย | ||
มีแขกดำล่ำสันสกรรจ์กาย | ดำชลสายทนนักในพักเดียว | ||
กลั้นใจอยู่ได้ถึงเจ็ดวัน | ไม่มีใครคู่ขันสั่นเศียรเสียว | ||
ไม่ขอสู้ดำคงคากลัวหน้าเซียว | ข่าวเกรียวเลื่องชื่อฦาขจร | ||
ฝ่ายพระเจ้าเมืองเทศเขตรชวา | ทรงนิทราเหนือที่บรรจฐรณ์ | ||
ดำริห์ว่าจะพนันเอานคร | ทวาลีรเขตรดอนแดนชาวไทย | ||
จึ่งแต่งเรือสลุบมาห้าลำ | กับราชสารเปนคำชวาวิไสย | ||
ให้ราชทูกเชิญสารลงเรือไบ | กับคนใหญ่ประดาน้ำกายดำนิล | ||
ออกนาวาจากท่ามาไม่หยุด | ให้รีบรุดแล่นฝ่าชลาสินธุ์ | ||
มาลิบลิบไรไรไกลแผ่นดิน | ห้าเดือนก็ถึงถิ่นทวาลี | ||
ทอดสมอที่ชวากอ่าวปากน้ำ | ยกธงดำตามประสากลาสี | ||
ด่านปากน้ำรู้ความตามคดี | ให้คนรีบมาบุรีแจ้งกิจจา | ||
ฝ่ายเสนาผู้ว่าต่างประเทศ | ได้ทราบเหตุแล้วทูลจอมนาถา | ||
ว่าราชสารบ้านเมืองเขตรชวา | มีเข้ามาถึงปากน้ำห้าลำจร | ||
ได้ทรางทราบสั่งให้รับทูตชวา | มีเข้ามาถึงปากน้ำห้าลำจร | ||
ได้ทรงราบสั่งให้รับทูตชวา | เหมือนเคยรับทูตมาแต่ก่อนก่อน | ||
ขุนนางรับโองการพระภูธร | ก็จัดเรือออกสลอนลงไปรับ | ||
เรืองแห่แลเรือใส่ราชสาร | พนักงวานตามตกแหน่งให้กำกับ | ||
ขุนนางก็กระทำตามบังคับ | พณหัวสั่งให้รับทูตชวา | ||
เรือกระบวนถึงชวากอ่าวปากน้ำ | ก็เรียงลำเรือแห่อยู่คอยท่า | ||
รับทูตแลสารเสร็จแล้วมิช้า | ก็แห่มายังนครทวาลี | ||
ฝ่ายราชทูตก็เข้าเฝ้าพระบาท | บรมนารถผู้ดำรงบุรีศรี | ||
ขุนนางเฝ้าครบตำแน่งแห่งมนตรี | อู่ตามทีตามยศดูงดงาม | ||
ทูตชวาก็เชิญราชสาร | ชูบานทองถวายเจ้าจอมสยาม | ||
ก็ทรงรับให้อาลักษณ์อ่านข้อความ | ให้แขกล่ามคอยแปลภาษาชวา | ||
ในลักษณ์พระราชสารศรี | เจ้าบุรีอัษฎงค์ทรงยศถา | ||
ขอเจริญทางพระราชไมตรีมา | ถึงพระองค์ทรงเดชาทวาลี | ||
หวังพระไทยจะใคร่เล่นการพนัน | ให้ดำน้ำสู้กันไม่ถอยหนี | ||
ถ้าแพ้จะเสียพนันตามอันมี | ให้เปนศรีพระนครขจรยศ | ||
ประดาน้ำเมืองชวาที่มานี้ | ดำวารีได้เจ็ดวนกลั้นใจอด | ||
ถ้าในเมืองทวาลีมีอย่างด | มาดำนู้ให้ปรากฎแก่ทูตมา | ||
แม้นว่าประดาน้ำในเมืองเทศ | แพ้แก่คนในเขตรจอมนาถา | ||
ขอถวายสินพนันของนานา | เงินทองผ้าแพรพรรณอันตระการ | ||
ถ้าคนเมืองทวาลีปราไชย | ของจงได้มอบสิ่งธะนะสาร | ||
แก่ชาวเขตรอัษฎงค์จบปฏิญาณ | ให้สัตย์ต่างสาบาลกันแลกัน | ||
ขอพระองค์จงเห็นแก่ไมตรี | หาคนดำวารีที่เข้มขัน | ||
มาเปนคู่สู้ประดาน้ำพนัน | พระทรงธรรม์อย่าขัดเคืองเรื่องสารา ฯ | ||
๏ ครั้นอ่านเสร็จราชาารการพนัน | พระทรงธรรม์ฟังความในเลขา | ||
ให้ขัดเคืองเรื่องสาราแต่ไม่ตรัส | ปฏิสันฐารสามนัดโดยประสงค์ | ||
ตามเยี่ยงอย่างรัชทูตขัติยวงษ์ | แล้วก็ทรงนัดพนันดำวารี | ||
อิกเจ็ดวันจงให้ประดาน้ำ | พนันดำกับคนสนกรุงศรี | ||
ทูตถวายบังคมคัลอัญชลี | ออกจากที่เฝ้าครรไลไปเรือตน ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงภพ | ให้หาจบในแขวงทุกแห่งหน | ||
ไม่มีใครเปนคู่สู้สักคน | พระจุมพลจึ่งให้หาธนญไชย | ||
ครั้นเข้ามาก็ทรงเล่าเรื่องสารา | เมืองชวาเขตรแขกแปลกวิไสย | ||
จบคดีแก่ขุนศรีธนญไชย | รับสั่งว่าจะได้ ใครอาสาพนัน | ||
กูวิตกกลัวจะแพ้เแก่แขกเทศ | ให้หาทั่ววงนิเวศน์ในเขตรขัณฑ์ | ||
ไม่มีใครจะอาสามาพนัน | ดำน้ำกันกับชวาที่มาไกล | ||
ธนญไชยฟังยุบลบรรหารตรัส | เห็นจอมกษัตริย์เศร้าหมองไม่ผ่องใส | ||
จึ่งทูลว่าข้าพเจ้าจะเอาไชย | มิให้ได้อายเขาเหล่าแขกเมือง | ||
จะขอสู้อาสาฝ่าพระบาท | ให้แขกขยาดฝีมือเล่าฦาเลื่อง | ||
ด้วยอุบายคิดได้ไม่ฝืดเคือง | ให้รุ่งเรืองพระเกียรติยศปรกฎไป | ||
ได้ทรงฟังธนญไชยรับอาสา | พระปรีดาโสมนัศตรัสมอบให้ | ||
เปนธุระขุนศรีธนญไชย | จะต้องการสิ่งไรให้เรียกเอา | ||
ธนญไชยก็ถวายบังคมลา | คลานคล้อยถอยมาจากที่เฝ้า | ||
สั่งเจ้าพนักงานให้เร่งเร้า | หาเรือโกลนใหญ่เท่าเรือห้าวา | ||
ไปคว่ำไว้มิให้ไกลจากฝั่งน้ำ | มีเชือกผูกประจำล่ามมาหา | ||
หลักที่ปักจะยึดคำคงคา | ให้เตรียมทั้งโภชนาไว้จงพอ | ||
ทำที่นอนที่นั่งใต้เรือคว่ำ | เข้าน้ำของกินพร้อมเสร็จขอ | ||
มาไว้ใต้เรือโกลนอย่ารีรอ | จัดให้พออย่าให้ขาดสิ่งอันใด | ||
พนักงานทราบสารผู้รับสั่ง | ไม่รอรั้งจัดของมามอบให้ | ||
ทำเสร็จตามยุบลธนญไชย | เตรียมไว้ท่าฤกษ์ดำวารี | ||
ครั้นถึงนัดครบเจ็ดวันเวลา | ก็ไปเตือนไว้ท่าฤกษ์ดำวารี | ||
ให้มาพร้อมคอยฤาษ์ริมชลธี | หาโหราดูวิถีเทพาจร | ||
ฆ้องไชยเตรียมไว้คอยเวลา | ได้ฤกษ์พาให้ตีเอาไชยก่อน | ||
ฝ่าพระองค์ผู้ดำรงพระนคร | เสด็จประทับบรรจ์ฐรณ์พลับพลาไชย | ||
พร้อมหมู่มาตยาพฤฒาจารย์ | หมอบเฝ้าน่าพระลานอยู่ไสว | ||
ขุนธนญกับแขกจับหลักไว้ | พอดหรลั่นฆ้องหชยก็ดำน้ำ | ||
แขกเทศไม่รู้เหตุว่าทำกล | ก็จับหลักกลั้นทันหายใจร่ำ | ||
ไปจนครบเจ็ดวันอยู่ในน้ำ | ผุดขึ้นมาหน้าดำแทบขาดใจ | ||
ทูตแขจกแปลกใจไทยไม่ผุด | ประดาน้ำแขกพิรุธผุดก่อนได้ | ||
เห็นการจะเสียทีไม่มีไชย | คิดใในใจว่าของเราดำน้ำทน | ||
เขายังดำกลั้นช้ากว่าอิกเล่า | ก็หงอยเหงาไทมนัศให้ขัดสน | ||
ครันสิบห้าราตรีศรีธนญ | ก็ผุดจากวังวนชลธาร | ||
ขึ้นจากวารีชลีหัดถ์ | ถวายบังคมจอมกระษัตริย์มหาสาร | ||
ทูตแขกแปลกใจไทยไม่ผุด | ประดาน้ำแขกพิรุธผุดก่อนได้ | ||
เห็นการจะเสียทีไม่มีไชย | คิดในใจว่าของเราดำน้ำทน | ||
เขายังดำกลั้นช้ากว่าอิกเล่า | ก็หงอยเหงาโทมนัศให้ขัดสน | ||
ครั้นสิบห้าราตรีศรีธนญ | ก็ผุดจากวังวนชลธาร | ||
ขึ้นจากวารีชลีหัดถ์ | ถวายบังคมจอมกระษัตริย์มหาสาร | ||
หมอบเฝ้าห้าประชาน่าพระลาน | ทูตเห็นการปราไชยในวาร | ||
ก็ถวายสินพนันตามสัญญา | เงินทองแพผ้าต่างต่างสี | ||
แล้วทูลลาลงเรือได้สมดี | ก็แล่นไปยังบุรีแตรชา | ||
เข้าเฝ้าแถลงแจ้งโดยเหตุ | แก่พระจเาเมืองเทศทรงยศถา | ||
ตามซึ่งได้พนันคำคงคส | ปราไชยไทยมาสู่ธานี ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช | เสด็จจากนัคเรศบุรีศรี | ||
หวังพระไทยจะไปเล่นวารี | เสด็จด้วยเรือที่นั่งศรีอร่ามงาม | ||
พร้อมหมู่เสนาข้าราชการ | โดยเสด็จแข่งขนานนาวสหลาม | ||
ทั้งเรือดั้งคู่แห่แลเรือตามี | สง่างามแน่นเลื่องในนที | ||
นวลนางวิเศษเชิญเครื่องเสวย | ตามเคยลงท้ายที่นั่งศรี | ||
ครั้นพระจอมประชาเจ้าธานี | เสด็จถึงที่ประทับสระสรงชล | ||
ทรงผลัดภูษาแล้วสรงสนาน | แสนสำราญเย็นซาบทุกขุนขน | ||
เสร็จสรงคงคาในสาชล | ประทับบนพลับพลาสง่างาม | ||
หมู่ขุนนางเฝ้าพระบาทกลาดเกลื่อน | ดังดาราล้อมเดือนเด่นสนาม | ||
พรั่งพร้อมเกียรติยศดูงดงาม | และหลามล้วนเหล่าข้าเฝ้าอนันต์ | ||
ถึงเวลาเข้าที่ลงบังคน | พระจุมพลก็เสด็จในม่านกั้น | ||
ตรัสให้หาพนักงานชำระพลัน | ทราบว่ามาไม่ทันกิจชำระ | ||
จึงตรัสสั่งนางวิเศษให้ทำแทน | ด้วยขาดแคลนคนเคยไม่พบปะ | ||
วิเศษต้นก็ถวายน้ำชำระ | ทำตามพระโองการบรรหารมา | ||
ครั้นเวลาบ่ายแสงสุริยันต์ | เสด็จกลับโห่ลั่นกลองนำน่า | ||
เสียงส้าวเสียงโห่เปนโกลา | กลับยังนคราพระธานี | ||
จึ่งดำรัสอีวิเศษนั้น ี่ | ถอดมันเสียเถิดออกจากที่ | ||
มือมันล้างก้นกูเมื่อวันนี้ | ให้คนอื่นว่าที่มันสืบไป ฯ | ||
๏ ครานั้นนางวิเศษครั้นได้ฟัง | เสียใจดังจะคลั่งน้ำตาไหล | ||
จึ่งรับมาหาขุนศรีธนญไชย | อ้อนวอนไหว้ว่าท่านจงเมตตา | ||
เล่าความตามมีพระโองการ | ว่าช่วยฉานให้คืนที่หน่อยจ๋า | ||
ช่วยวิ่งเต้นข้างในทูลกิจจา | แม้นสมมาดปราถนาคืนที่ทาง | ||
จะทูลหัวให้ท่านสิบตำลึง | จนสลึงมิได้ลดอย่าหมองหมาง | ||
ศรีธนญฟังวาจาแล้วว่าพลาง | ข้าจะช่วยให้ร้างจากที่ตน | ||
อยู่ที่นี่คอยข้าอย่าเพ่อไป | จะช่วยทูลแก้ไขให้สักหน | ||
ว่าแล้วก็รีบไปบัดดล | เข้าข้างในวิ่งวนทำเวียนวก | ||
แล้วเต้นไปเต้นมาทำหน้าตื่น | เสียงครึกครื้นท้าวนางต่างวิตก | ||
ด้วยเปนเวลาเข้าที่ก็กลัวงก | ร้อนอกตกประหม่าแล้วว่าไป | ||
นี่แน่นายขุนศรีผู้ปรีชา | ทำอะไรโกลาสนั่นไหว | ||
พระองค์เสด็จเข้าที่บรรธมใน | อย่าอึงไปไม่ดีที่ไม่ควร ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | เลิศลบธานีดังอิศวร | ||
บรรธมหลับสดุ้งฟื้นตื่นรัญจวน | ให้ปั่นปว่นเคืองขุ่นฉุนฤไทย | ||
ดำรัสถามว่าใครที่ไหนหนอ | ข้ามาล้ออื้ออึงถึงนี่ได้ | ||
เขากราบทูลว่าขุนศรีธนญไชย | มาวิ่งไปวิ่งมาชาลาวัง | ||
แล้วก็เต้นเล่นอยู่จนใกล้ที่ | อึงมี่ทำตามน้ำใจหวัง | ||
จะห้ามปรามเท่าไรก็ไม่ฟัง | เดี๋ยวนี้ยังวิ่งเต้นไม่เว้นวาย ฯ | ||
๏ ครานั้นจอมนรินทร์บดินทร์สูร | ได้ฟังทูลเคืองพระไทยมิได้หาย | ||
ทราบว่าธนญไชยทำหยาบคาย | ให้ได้อายชาววังสิ้นทั้งมวญ | ||
ครั้นจะลงราชทัณฑ์ถึงฟันฆ่า | คิดถึงคำพระบิดาก็กลับหวน | ||
จะเฆี่ยนจำทำมันก็ไม่ควร | ภูมิศวรฝากฝังสวั่งกำชับ | ||
ว่าโทษแม้นจะถึงประหารชีพ | อย่าด่วนรีบฆ่าฟังบั่นสับ | ||
ให้อดโทษยกไว้ได้กำชับ | เสด็จลับล่วงสวรรคาไลย | ||
ครั้นจะทำล่วงพระราชโองการ | ให้สังหารเฆี่ยนจำทำไม่ได้ | ||
ดำริห์แล้วทรงนิ่งในพระไทย | ธนญไชยก็กลับมาเคหาตน | ||
บอกกับนางวิเศษตามที่ทำ | ได้วิ่งเต้นตามคำไม่ขัดสน | ||
ยังแต่จะช่วยทูลมูลยุบล | เดี๋ยวนี้สนธยาย่ำค่ำขัดคราว | ||
ต่อพรุ่งนี้เจ้าไปเฝ้าด้วยกัน | คอยทูลข้อสำคัญอย่าอื้อฉาว | ||
พรุ่งนี้ขึ้นมาหาข้าแต่ช้าว | ฟังข่าวคราวเรื่องความตามคดี ฯ | ||
๏ ฝ่ายนางวิเศษครั้นถึงนัด | ก็รีบรัดมาหาท่านขุนศรี | ||
ครั้นได้เวลาเฝ้าจอมปัถพี | ธนญไชยนารีพากันมา ฯ | ||
๏ ครานั้นจอมนราประชากร | รวิวรส่องแสงสว่างหล้า | ||
แซ่เสียงกาไก่สกุณา | เสด็จตื่นนิทราสรงพระภักตร์ | ||
ทรงสุคนธ์ปนสุวรรณจันทน์กระแจะ | ทรงภูษาลายกะแหนะทองแล่งปัก | ||
สวมมงกุฎกล่อมกลมสมพระภักตร์ | ทองกรรักร้อยสายกุดั่นดวง | ||
ทรงสังวาลเนาวรัตน์ประภัศร | ทับทรวงลายมังกรดูรุ้งร่วง | ||
ทรงพระแสงห้อยเพ็ชรอุบะพวง | ออกพระโรงวิเชียรช่วงอันรูจี | ||
พร้อมเหล่าข้าเฝ้าหมอบสพรั่ง | คับคั่งโดยลำดับตำแหน่งที่ | ||
กลาโหมมหาดไทยใหญ่น้อยมี | ทั้งสี่จตุสดมภ์ประนมกร ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนศรีธนญไชย | พาวิเศษเขน้าไปเฝ้าอยู่ก่อน | ||
ครั้นเห็นจอมนินทร์ ปิ่นนิกร | เสด็จประทับบรรจฐรณ์แท่นสุวรรณ | ||
จึ่งสั่งนางวิเศษให้คลานไป | ข้างน่าเราจะได้ทำให้ขัน | ||
นางวิเศษก็ทำตามคำนั้น | ทั้งสองคนแข่งประชันคลานเข้าไป | ||
ครั้นถึงน่าที่นั่งก็บังคม | สามหนต่างก้มคล้านเข้าใกล้ | ||
ฝ่ายเจ้าขุนศรีธนญไชย | จับก้นวิเศษได้ใส่หัวตน | ||
คลานพลางใส่พลางไม่วางมือ | ทำให้ฦาเรื่องไปจะได้ฉงน | ||
เข้าใกล้าน่าที่นั่งพระจุมพล | จับก้นขวางหน้าเสนาใน ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ดำรงราษฎร์ | เห็นประหลาดอ้ายขจุนศรีนี่ไฉน | ||
จับก้นอีวิเศษนี่ร่ำไป | แล้วใส่หัวตนละลนละลาน | ||
จึ่งดำรัสตรัสถามตามสงไสย | มึงทำอไรอย่างนี้ดูอาจหาญ | ||
จับก้นใส่หัวหูดูรำคาญ | จงให้การโดยจริงอย่านิ่งช้า ฯ | ||
๏ ฝ่ายขุนศรีธนญไชยครั้นได้ฟัง | ถวายบังคมทูลพระนาถา | ||
ว่าก้นวิเศษคนนี้มีศักดา | เลิศกว่านารีมีในเมือง | ||
จึ่งรับสั่งซักถามตามฉงน | เองว่าก้นอีนี่ดีฦาเลื่อง | ||
เหตุไฉนจึ่งดีกว่าทั้งเมือง | ตงบอกเรื่องราวมาอย่าช้าที | ||
ธนญไชยจึ่งสนองพระโองการ | เกล้าหม่อมฉานทราบว่านารีศรี | ||
เดิมเปนวิเศษต้นตัวดี | มือล้างคี่ก้นของตนก็พ้นไภย | ||
ครั้นมาชำระพระบังคน | ต้องร้อนรนถอดจากที่เดิมได้ | ||
ก้นพระองค์เลิศลบภพไตร | ก็สู้ก้นนี้ไม่ได้ดูชอบกล | ||
ส่วนก้นนางนี้ล้างอยู่เปนนิจ | ก็ไม่ผิดกลับชอบมีพักผล | ||
ครั้นมาล้างชำระพระบังคน | กลับปี้ป่นถอดถอนต้องร้อนใจ | ||
คิดด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมยอมแพ้ | ก้นแม่เจ้าประคุณมีบุญใหญ่ | ||
จึ่งจับจบหัวตนพ้นจรรไร | จงทราบใต้บาทาฝ่าธุลี ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ | ฟังจบเห็นจริงด้วยขุนศรี | ||
จึ่งประทานที่เก่าให้นารี | เปนวิเศษคืนที่ตามก่อนมา ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงกระษัตริย์ประเทศราช | มีกระบือสามารถองอาจกล้า | ||
กำลังเจ็ดช้างสารมหิมา | กหายาโตใหญ๋เขาไปล่กาง | ||
ไม่มีคู่สู้ท้าสมาวิ่งกัน | แต่วิ่งชนะนับพันแพ้ฝีย่าง | ||
ไม่มีใครอาจมาท้าเข้าวาง | ควายเขากางตัวนี้ฝีเท้าไว | ||
กรุงกระษัตริย์เจ้าประเทศเขตรขัณฑ์ | จะใคร่พนันวิ่งกระบยือให้ฦาใหญ | ||
จึ่งจัดเครื่องบรรณาการสารคำไทย | สั่งทูตให้นำสำเภาห้าร้อยมา | ||
กับกระบือตัววสำคัญคู่ขันวิ่ง | ครบทุกสิ่งจัดสรรทั้งล้าต้า | ||
ต้นหนคนชำนาญในคงคา | ทูตถวายบังคมลาใช้ไบจร | ||
แล่นมาในมหาชลาสินธุ์ | ไม่เห็นดินเห็นไม้ไพรสิงขร | ||
เห็นแต่ฟ้ากับคงกาในสาคร | เรือขย่อนคลื่นเข่าสำเภาโคลง | ||
หมู่มัจฉาเหราก็คลาคล่ำ | อยู่ในน้ำภูตพรายผีตายโหง | ||
บ่นพึมพำร่ำเร้าขึ้นเสากระโดง | ล้วนเก่งโกงคอยคล่ำทำอันตราย | ||
จีนเท่าแก๋รู้แก้เผาขนไก่ | ยิงปืนไล่เหม็นควันก็พลันหาย | ||
ลูกเรือกลัวหน้าจ๋อยค่อยสบาย | ก็แล่นฝ่าชลบสายมาหลายเดือน | ||
เห็นทิวไม้รำไรยังไกลฝั่ง | ดูสพรั่งเรียงสล้างเมหือนอย่างเขื่อน | ||
รีบใช้ใบมาใได้แวะแชเชือน | สิบเดือนถึงประเทศเข้าเขตรไทย | ||
ถึงปากน้ำให้จอดทอดสมอ | ตีม้าฬ่อรับกันสนั่นไหว | ||
จอดเปนแถวแนวสลับอันดับไป | ให้ม้นไบลดทุกลำเรือสำเภา | ||
ฝ่ายคนทีมารักษาด่าน | ฟังม้าฦ่อเสียงขานพวกเรือเข้า | ||
ออกมาดูรู้ว่าเรือสำเภา | และเห็นเสามากสพรั่งที่ฝั่งชล | ||
ให้เรือเร็วรีบไปถามความแขกเมือง | ก็รู้เรื่องเสร็จสิ้นอนุสนธิ์ | ||
กรมการแจ้งใจในยุบล | ก็เรียกคนเปนเสมียนเขียนบอกมา | ||
แล้วรีบรัดลัดล่องไม่ข้องขัด | มาถึงบุรีรัตน์ขึ้นจากท่า | ||
นำใบบอกเข้าเรียนตามกิจจา | ให้เจ้าพระยาอธิบดีทราบข้อความ | ||
ครานั้นพณหัวมาตยา | แจ้งในอักขราซักไซ้ถาม | ||
ให้แน่นอนแม่นไว้ในข้อความ | แล้วกราบทูลจอมสยามนรินทร ฯ | ||
๏ ฝ่ายพระองค์ผู้ดำรงอาณาเขตร | ทรงทราบเหตุแจ้งประจักษ์ในอักษร | ||
สั่งให้รับทูตามานคร | พระภูธรทราบสารการพนัน | ||
ทรงดำริห์ว่าเราจะทำไฉน | หากระบือให้มีไชยพนันขัน | ||
แล้วทรงผัดนัดทูตสิบห้าวัน | ทูตถวายบังคมคัลมาสำเภา | ||
จึ่งรับสั่งให้หาธนญไชย | ดำรัสเล่าสารให้ฟังคำเขา | ||
จนจบสิ้นกระแสความตามสำเนา | พระเปนเจ้านคเรศเกษประชา | ||
จึ่งตรัสถามว่าเองจะทำไฉน | จึ่งจะสู้เขาได้ให้เร่งว่า | ||
เองเปนคนไม่จนในปัญญา | จะอาสาวิ่งกระบือให้ฦายศ | ||
จะได้ฤาไม่ได้ ให้คิดอ่าน | อย่านั่งนานกูนัดวันกำหนด | ||
สิบห้าวันจะพนันวิ่งลองทด | กับทูตเมืองชนบทนายสำเภา ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนศรีธนญไชย | จึ่งโองการท้าวไทพระทรงเล่า | ||
จึ่งทูลสนองพระบัญชาตามสำเนา | ว่าข้าพระพุทธเจ้าจะจัดการ | ||
ฉลองพระเดชพระคุณดูสักครั้ง | ตามรับสั่งจะอาสาโดยกราชสาร | ||
มิให้แพ้ทูตพนันประจัญบาน | ด้วยปัญญากระหม่อมฉานให้มีไชย | ||
ได้ทรงฟังปรีดิ์เปรมเกษมสานต์ | ตรัสว่าเองต้องการสิ่งไรจะให้ | ||
จงคิดอ่านเลือกเอาตามชอบใจ | ให้ทันวันนัดไว้ในสัญญา | ||
ธนญไชยได้ฟังรับสั่งประภาษ | โปรดประสาทสั่งให้ตามปรารถนา | ||
จึ่งกราบทูลบพิตรอิศรา | เกล้ากระหม่อมจะเลือกหาลูกกระบือ | ||
ที่ยังไม่หย่านมมาขังไว้ | พอสู้ได้เกียรติยศปรากฎชื่อ | ||
พระทรงฟังสั่งให้เลือกลูกกระบือ | ตามแต่ใจจะได้ฦาวิ่งพนัน | ||
ธนญไชยก็ถวายบังคมลา | พระผู้ผ่านภาราเจ้าเขตรขัณฑ์ | ||
ออกมาสั่งพนักงานการปัจจุบัน | กรมนาเลือกสรรกระบือน้อย | ||
ได้มาให้ทำคอกริมสนาม | ขังให้อดกษิราจนหน้าจ๋อย | ||
แต่งสนามทูลปราบราบเรียบร้อย | ให้สิ้นรอยหลุมบ่อหลักตอเตียน | ||
ถึงวันนัดก็ให้เตือนทูตมา | สู่สนามที่ชาลาพื้นกวาดเลี่ยน | ||
ทูตก็จูงกระบือมาไม่ผัดเพี้ยน | ถึงที่เตียนผูกหลักปักเสาธง | ||
ฝ่ายพระผู้ผ่านภพบโลกา | เสด็จขึ้นพลับพลาสูงรหง | ||
ขุนนางเฝ้าอยู่พร้อมหมอบล้อมวง | เปนกรรกงเกลื่อนกลาดดาษดา | ||
ราษฎรรู้ข่าวกราวเกรียวสนั่น | ก็ชวนกันมาดูมากนักหนา | ||
ทั้งเจ๊กมอญญวนลาวชาวประชา | แขกชวามลายูมูรงิด | ||
แขกเทศพุธเกศฝรั่งเก่า | วิลันดามะเกาเชาอังกฤษ | ||
เขมรไทยแขกไทรแขกมะริด | มานั่งชิดแซกเสียดต่างเบียดกัน | ||
ฝ่ายขุนศรีธนญไชยครั้นได้ฤกษ์ | ให้ประโคมเอิกเกริกนี่สนั่น | ||
ก็เบิกคอกลูกกระบือออกมาพลัน | จูงมาวางพนันควายทูตที่มา | ||
นายสำเภาก็แก้เชือกผูกปล่อย | กระบือน้อยก็วิ่งเข้ามาหา | ||
เที่ยวดูดดมหานมกษิรา | คิดว่าควายมารดาเคยกินนม | ||
กระบือใหญ่ให้รำคาญดาลเดือดแค้น | ก็วิ่งแล่นหนีลูกกระบือประสม | ||
ลูกกระบือกำลังอยากน้ำนม | ก็วิ่งดมดูดไปมิได้วาง | ||
กระบือใหญ่วิ่งหนีก็ยิ่งไล่ | วนไปหลายรอบไม่เหินห่าง | ||
ชนทั้งหลายโห่ร้องตบมือพลาง | ก็วิ่งวางใหญ่ไปไม่หยุดลง | ||
ฝ่ายทูตเห็นกระบือของตนหนี | แพ้เสายทีไม่สมอารมณ์ประสงค์ | ||
ก็ถวายสินพนันอันบรรจง | แก่พระองค์อิศราเจ้าธานี ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าพระผู้ผ่านมไหสวรรรย์ | เกษมสันต์ได้ชะนะเพราะขุนศรี | ||
ก็ทรงแบ่งสินพนันอันมากมี | ให้ขุนศรีธนญไชยได้กึ่งทรัพย์ | ||
ทูตเสียใจปราไชยกระบือน้อย | ทูลลาแล้วเคลื่อนคล้อยสำเภากลับ | ||
แล่นไปประเทศตนเสียป่นยับ | ฉิบหายทรัพย์กลับไปทูลเจ้านายตน ฯ | ||
๏ จะกล่าวถึงเจ้าประเทศเขตรลังกา | ครองภาราเปนใหญ่ในสิงหฬ | ||
พร้อมอำมาตย์ราชครูมากหมู่ชน | พระจุมพลทรงดำริห์ตริรำพัง | ||
ในเมืองไทยฦามาว่ามีปราชญ์ | เฉลียวฉลาดยากที่ผู้จะรู้ถึง | ||
ทั้งแปลอรรถจัดเจนรู้ฦกซึ้ง | ทรงคำนึ่งในพระไทยใคร่ทดลอง | ||
เสด็จออกพระโรงรัตน์ตรัสประภาษ | กับอำมาตย์หมอบเฝ้าอยู่ทั้งผอง | ||
ว่านักปราชญ์เมืองไทยอยากใคร่ลอง | จงตระเตรียมสิ่งของบรรณาการ | ||
บรรทุกทั้งคัมภีร์ที่แปลยาก | ปิดฉลากเปนสำคัญกับราชสาร | ||
นิมนต์ประสังฆราชผู้เชี่ยวชาญ | กับภิกษุบริวารลงเรือไป | ||
จะไแจ้งข้อความตามฦาเล่า | จะจริงอย่งคำเขาฤาไฉนร | ||
ที่เล่าฦารบือข่าวชาวมืองไทย | อำมาตย์ไปจัดการอย่านานวัน | ||
มนตรีรับโองการคลบานออกมา | จัดการตามบัญชาขมีขมัน | ||
ขนตู้ใส่บาฬีคัมภีร์ธรรม์ | เสร็จแต่ในสามวันตามโองการ | ||
นิมนต์พระสังฆราชฉลาดอรรถ | กับบริสัชภิกษุสงฆ์ทรงบริขาร | ||
กับราชทูตเข้าใจในกิจการ | เปนประธานกำปั่นใหญ่ใช้ใบจร | ||
รีบแล่นนาวามาในสมุท | ไม่หย่อนหยุดข้ามเกาะแก่งสิงขร | ||
มาหกเดือนถึงเขตรขัณฑ์นอกสันดอน | แดนนครสยามเวียงจอดเรียงลำ | ||
ฝ่ายพวกเมืองสมุทอยุทธยา | ทราบกิจจาไต่ถามเนื้อความขำ | ||
แล้วเข้าแจ้งคดีตามถ้อยคำ | ทูตลังกาซึ่งนำพระสงฆ์มา ฯ | ||
๏ ครานั้นขุนนางว่าต่างประเทศ | ทราบเหตุก็กราบทูลจอมนาถา | ||
ตามที่ทูตกับพระมืองลังกา | จะเข้ามาแปลธรรมพระคัมภีร์ ฯ | ||
๏ ครานั้นพระองค์ได้ทรงฟัง | ว่าทูตลังกามาสู่บุรีศรี | ||
พาพระสงฆ์มาแปลพระบาฬี | ให้หาศรีธนญไชยมาเฝ้าพลัน | ||
จึ่งดำรัสตรัสว่าจำทำไฉน | อันพระในเมืองเราไม่แขงขัน | ||
คงจะแพ้ในการที่แปลธรรม์ | เห็นไม่มีคู่ขันชาวลังกา | ||
ธนญไชยได้ฟังรับสั่งถาม | จึ่งทูลเจ้าจอมสยามขออาสา | ||
ว่าเกล้ากระหม่อมขอถวายบังคมลา | บรรพชาเปนสมเณรไป | ||
จะคอยสู้ชาวลังกาไม่ล่าหนี | แปลคัมภีร์ธรรมขันธ์กันจงได้ | ||
จงลงไปรับที่ปากน้ำให้มีไชย | ท้าวไททรงอนุญาตประสาทพร ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าขุนศรีธนญไชย | รับพระพรภูวไนยอดิศร | ||
ใส่เกล้าแล้วทูลลานรินทร | รีบจรออกมาสั่งพนักงาน | ||
ให้นตูลายรดน้ำใส่คัมภีร์ | พระบาฬีจารึกอักษรสาร | ||
แล้วให้ช่างลงรักปิดทองลาน | ไม่ให้จานอักษรทั้งคัมภีร์ | ||
จับปูชุบหมึกมาลากลง | ให้พิศวงเส้นยับรอยป่นปี้ | ||
จะอ่นแปลเหลือรู้ดูเต็มที | ด้วยไม่มีอักขระเกะกะครัน | ||
ตั้งสมญาเรียกว่าพระไตรปู | พิเคราะห์ดูเส้นเฝือเลอะเหลือขัน | ||
แล้วห่อฝ้ามีชายสายรัดพัน | ใส่ในตู้มีสำคัญฉลากราย | ||
ให้ช่างจานลงลานอักคัมภีร์ | อักษณมีผวนผันขันใจหาย | ||
ให้ชื่อพระไตรคดปดภิปราย | ห่อผ้าลายสายรัดมัดไว้ดี | ||
ใส่ไว้ในตู้ลายรดน้ำ | เหมือนพระธรรมพุทธพจน์พระชินศรี | ||
ให้คนขนไปปากน้ำทำกุฎี | สองห้องมีหลังคาฝาไม้ลาย | ||
พนักงานจัดการตามที่สั่ง | พร้อมพรั่งที่ริมฝั่งชลสาย | ||
แทบเชิงเบนท่าลาดมีหาดทราย | ธนญไชยก็กลัยกลายเพศเปนเณร | ||
มีเครื่องยศสารพัดให้จัดสรร | ทำยศศักดิ์ใหญ่มหันต์มหาเถร | ||
ตั้งฉายาชื่อว่ามหาเลน | สามเณรธนญไชยไปกุฎี | ||
อยู่ในกุฏิผู้เดียวเปล่าเปลี่ยวใจ | ไม่มีใครเป็นเพื่อนเณรขุนศรี | ||
ฝ่ายสังฆราชลังกาชราชี | ห้วงจะสืบข้อคดีปราชญเมืองไทย | ||
ลงเรือโบตให้ตีกระเชียงมา | ถึงกุฎีที่ท่าชลาไหล | ||
เห็นสามเณรอยู่ผู้เดียวน่าเปลี่ยวใจ | แวะเข้าไปจะถามตามสงกา | ||
ถึงกุฎีเณรศรีธนญไชย | จึ่งซักไซ้ข้อควมที่กังขา | ||
ว่าตัวท่านมาอยู่ริมคงคง | เหตุไฉนแจ้งกิจจาจะขอฟัง ฯ | ||
๏ ฝ่ายว่าเณรขุนศรีธนญไชย | จึ่งปดให้สังฆราชตามใจหวัง | ||
ว่าข้าพเจ้าต้องขับมาจากวัง | ให้มายังฝั่งน้ำทำโทษกรณ์ | ||
เพราะรู้น้อยถอยปัญญาปรีชนาเขลา | เอาข้าพเจ้ามาทรมานสอน | ||
ให้อยู่ยังริมฝั่งชโลธร | ไม่ให้หมู่ราษฎรดูเยี่ยงนี้ | ||
ได้สมญาชนื่อว่ามหาเลน | เปนสามเณรต้องพรากบุรีศรี | ||
พระผู้เปนเจ้ามาทำไมในธานี | ข้อคดีเปนไฉนอยากได้ความ ฯ | ||
๏ ครานั้นสังฆราชเมืองลังกา | ฟังวาจามหาเนเจ้าเณรถาม | ||
จึงบอกแจ้งแห่งกิจจาพยายาม | สู้แล่นข้มมคงตคามานคร | ||
หวังจะแปลคัมภีร์บาฬีอรรถ | ให้แจ้งชัดกับปราชญ์ตามอักษร | ||
ด้วยได้ข่าวออกชื่อฦาขจร | ว่านครสยามมีคนปรีชา | ||
อันตัวฉันนั้นเปนที่ประสังฆราช | หวังมาแปลสู้กับปราชญ์คำสาสนา | ||
อันตัวฉันนั้นเปนที่ประสังฆราช | หวังมาแปลสู้กับปราชญ์คำสาสนา | ||
๏ ครานั้นเณรศรีธนญไชย | ฟังสังฆราชแจ้งใจทุกสิ่งสรรพ์ | ||
จึงตอบว่าเจ้าคุณจะแปลธรรม์ | ดีขยันจะได้ดูรู้ปัญญา | ||
จะขอลองให้อแปลพรบาฬี | ว่าแล้วหยิบคัมภีร์ที่ห่อผ้า | ||
เปนพระธรรมคำของพระศาสดา | ให้พระสังฆราชาแปลให้ฟัง | ||
พระสังฆราชแปลได้ ไม่ข้องขัด | เจนชัดมิได้ติดต้องคิดคั่ง | ||
แปลรวดเร็วคล่องจริงจริงไม่นิ่งยั้ง | เณรธนญไชยได้ฟังว่าดีจริง | ||
ซึ่งเจาคุณแปลธรรมในคัมภีร์ | แคล่วคล่องดีมิได้ขัดชัดทุกสิ่ง | ||
คำมคธเชี่ยวชาญชำนาญจริง | แต่ผมกริ่งอิกคัมภีร์ขชื่อไตรปู | ||
จะแปลได้ฤาไฉนยังไม่แจ้ง | พระสังฆราชฟังแคลงตะแคงหู | ||
จึงถามว่าเปนอย่างไรพระไตรปู | เณรก็หยิบมาให้ดูทั้งคัมภีร์ | ||
พระสังฆราชเห็นลานเปนรอยยับ | ไม่ได้ศัพท์แต่สักนิดคิดถ้วนถี่ | ||
ดูไปให้ฉงนจนในที | ตอบว่าไตรปูนั้ไม่ได้ความ | ||
พิศไปดูมิใช่ตัวอกักษร | ยอกย้อนยุ่งยิ่งกริ่งเกรงขาม | ||
จึงบอกกับศรีธนญว่าจนความ | เหลือจะตามไต่แปลไม่แน่ใจ | ||
เณรตอบว่าคัมร์พระไตรปู | เจ้าคุณไม่เรียนรู้จะทำไฉน | ||
แปลไม่ได้สักบทจงงดไว้ | ยังพระไตรคดคัมภีร์ธรรม์ | ||
ว่าแล้วหยิบคัมภีร์พระไตรคด | มีอักษรปรากฎคำผวนผัน | ||
มาให้พระสังฆราชดูฉับพลัน | บทต้นนั้นอักขระปะปาปา | ||
ที่สองจารึกเปนอักษร | ไม่ยอกย้อนตรงตรงตามภาษา | ||
อ่านได้พอรู้ปะลูลิดตา | ที่สามว่าโกนถะกิปะมี | ||
คำรบห้ากะลันทาโชแถลง | พระสังฆรดูแคลงคำขุนศรี | ||
คิดไม่ทันตันใจไนคัมภีร์ | ด้วยไม่มีในพระไตรปิฎกธรรม์ | ||
จึงบอกว่นคัมภรี์พระไตรคด | แปลไม่ออกแต่สักบทให้อัดอั้น | ||
คิดไม่เห็นเปนจนอนย่เท่าน้น | ยิ่งตรองก็ยิ่งตันติดเต็มที | ||
ฝ่ายว่าเณรขุนศรีธนญไชย | จึงว่าแปลไตรคดอักษรศรี | ||
ก็ไม่ออกคุณบอกว่าเต็มที | แม้นไปแปลในบุรีจะได้อาย | ||
ตัวผมงมคลำเพราะความเขลา | แปลไม่ได้จึงเอามาชลสาย | ||
ต้องบัพพาชนิยกรรมทำให้อาย | มาอยู่ชายเลนเพราะโทษท่โฉดตึง | ||
ผมได้อายต้องมาอยู่ที่ชายฝั่ง | เจ้าคุณยังจะอดสูรู้ไม่ถีง | ||
อันนักปราชญที่ครูรู้ฦกซ้ง | ไม่พรันพรึงแปลอรรถสันทัดดี | ||
ถ้าจะแปลธรรมสู้กับครูผม | จะมิล้มลงท้งยืนในกรุงศรี | ||
โปรดดำริห์ตริตรองให้คล่องดี | ถ้าอย่างนี้แล้วคงแพ้การแปลธรรม์ | ||
พระสังฆรมิได้รู้ว่าขู่ลวง | นั่งง่วงนย่งคิดจิตรใจส่น | ||
นึกเกรงกลัวจะอายขายหน้าครัน | ก็ลาเณรลงกำปั่นรีบหนีไป ฯ | ||
๏ ครานั้นมหาเลนเณรขุนศรี | รู้ว่าสังฆราชหนีไม่อยู่ใกล้ | ||
ก็ศึกจากสามเณรในทันใด | เข้ามาเฝ้าท้าวไทยทูลกิจจา | ||
ตามที่ตนได้ผจญพระสังฆราช | บรมนารถแสนโสมนัศา | ||
ดำรัสถามไตรปูอักขรา | เปนอย่างไรเองว่าให้กูฟัง | ||
ธนญไชยทูลความตามที่ทำ | เอาปูชุบน้ำดำลากถอยหลัง | ||
ปนรอยยุ่งไม่เปนตัวพัวรุงรัง | มีชื่อต้งว่าไตรปูดูยากครัน | ||
พระไตรคดในบทปถะมา | ว่าปะปะปาปาว่าขันขัน | ||
ปะลูลิดตาอันดับกัน | กับกะลันทาโชอักษรมี | ||
โกนถะกิปะอักขรา | พระสังฆราชลังกาจนจึงหนี | ||
กระหม่อมฉันทดลองสองคัมภีร์ | จึงได้มีไชยชนะพระลังกา ฯ | ||
๏ ฝ่ายบรมนินทร์ชดินทร์สูร | ได้ฟังทูลทรงมเปนนักหนา | ||
ไม่เสียทืขุนศรีมีปัญญา | บทปะปะปาปาว่ากะไร | ||
ขุนธนญทูลว่าคนทาพ้อม | เอามูลโคในปลอมดินเหลวไหล | ||
ปะปาทาพ้อมทะตะล่อมไว้ | คำแก้ไขอย่างนี้ว่าที่คิด | ||
กะลันทาโชกะโล่ทาชัน | โกนถะนั้นกะโถนมิได้ปด | ||
ปละลูลิดตาคือขวานปะลูลด | ลิดตาไม้ได้หมดทุกสิ่งอัน | ||
กิปะอักขระว่าสากะปิ | อุตริผูกผวนให้หวนหัน | ||
กราบทูลแก่พระองค์ผู้ทรงธรรม์ | ทรงสรวลสันต์ชมขุนศรีธนญไชย ฯ | ||