บทละครนà¸à¸à¹€à¸£à¸·à¹ˆà¸à¸‡à¹„à¸à¸£à¸—à¸à¸‡
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
(→) |
(→ที่มา) |
||
แถว 1,315: | แถว 1,315: | ||
== ที่มา == | == ที่มา == | ||
บทละครนอกเรื่องไกรทอง สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๐ | บทละครนอกเรื่องไกรทอง สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๐ | ||
+ | |||
+ | (ขอขอบคุณ คุณพิกุลแก้ว สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน) |
รุ่นปัจจุบันของ 10:14, 1 กันยายน 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บทประพันธ์
ตอนที่ ๑ นางวิมาลาตามไกรทองมาจากถ้ำ
ช้าปี่ | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมเจ้าไกรทองพงศา | ||
สมสู่อยู่ด้วยวิมาลา | สุขาสำราญบานใจ | ||
ลืมสังเกตเวทมนตร์ที่ร่ำเรียน | แต่เวียนนอนนั่งเจ็บหลังไหล่ | ||
ลืมสองภรรยาแลข้าไท | อิ่มไปด้วยทิพโอชา | ||
ร่วมภิรมย์ชมรสสาวศรี | กุมภีล์ผิดอย่างต่างภาษา | ||
อยู่เย็นเป็นสุขทุกเวลา | ถึงได้เป็นเจ้าพระยาก็ไม่ปาน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ปีนตลิ่ง | |||
๏ วันเอยวันหนึ่ง | ให้คิดคำนึงถึงบ้าน | ||
แต่กูมาอยู่ก็ช้านาน | สักกี่วันสารไม่แจ้งใจ | ||
ด้วยคุหาสว่างอยู่อย่างนั้น | จะสำคัญวันคืนก็ไม่ได้ | ||
แต่คิดคะเนตึกตรึกไตร | เห็นจะได้สักเจ็ดวันมา | ||
ป่านนี้น้องสองคนจะบ่นถึง | วันนี้จึงสำลักเป้นหนักหนา | ||
ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา | จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้ | ||
อย่าเลยจะขวนนางขึ้นไป | เลี้ยงเป็นเมียไว้จะดีอยู่ | ||
ให้คืนลือชื่อเราว่าเจ้าชู้ | จะมีผู้สรรเสริญสืบไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ คิดพลางทางเรียกวิมาลา | เข้ามาแล้วแจ้งเถลงไข | ||
พี่รักนางพ่างเพียงจะกลืนไว้ | หมายจะไม่จากกันคุ้งวันตาย | ||
แต่จนใจที่จะอยู่ในคูหา | เวทมนตร์เรียนมาจะเสื่อมหาย | ||
จำเป็นจำไปใจเสียดาย | ไม่เคยขาดคลาดคลายสักเวลา | ||
ขอเชิญดวงใจไปด้วยพี่ | เป็นที่สนิทเสน่หา | ||
พี่จะเลี้ยงเจ้าเป็นภรรยา | แก้วตาอย่าละห้อยน้อยใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลานารีศรีใส | ||
ได้ฟังคั่งแค้นขัดใจ | จึงตอบคำไปด้วยโกรธา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ แต่เอยแต่เดิม | ช่างแต้มเติมต่อติดประดิษฐ์ว่า | ||
ล้วนจะรักจะใคร่ให้สัญญา | มีสับปลับกับข้าหรือหม่อมไกร | ||
สารพัดพูดคล่องเหมือนล่องน้ำ | จะมีจริงสักคำก็หาไม่ | ||
ลืมแล้วหรือขาที่ว่าไว้ | จะอยู่ด้วยน้องได้ในถ้ำทอง | ||
ถ้อยยำคำมั่นเจ้าพาที | มิให้อายกุมภีล์สิ้นทั้งผอง | ||
ครั้นสมใจได้ชิมลิ้มลอง | จะทิ้งน้องเสียได้ไม่เอ็นดู | ||
มิหนำซ้ำจะพาเอาขึ้นไป | จะให้อัปยศอดสู | ||
จะมาล่อลวงเล่นเหมือนเช่นชู้ | สุดรู้ที่น้องจะตามไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ปีนตลิ่ง | |||
๏ เจ้าเอยเจ้าพี่ | ไม่พอที่จะพะวงสงสัย | ||
ใช่จะกล่าวแกล้งแสร้งใส่ไคล้ | สิ่งไรมิจริงไม่เจรจา | ||
พี่เป็นมนุษย์สุดวิสัย | จะอยู่ในนทีคูหา | ||
นี่มาได้ด้วยฤทธิ์วิทยา | แม้นประมาทไม่ช้าจะบรรลัย | ||
ถ้าอยู่ได้ไม่ร้างห่างห้อง | จริงจริงนะน้องอย่าสงสัย | ||
จะลดเลี้ยวเบี้ยวบิดตะกูดไป | เหมือนเจ้าไม่เมตตาปรานี | ||
น้อยหรือรักเจ้าสักเท่าพ้อม | ยังไม่ยอมพร้อมใจไปด้วยพี่ | ||
จะเฝ้าวอนงอนง้อไปไยมี | ค่อยอยู่จงดีพี่ขอลา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ สุดเอยสุดใจ | น้องไม่เบี่ยงบิดประดิษฐ์ว่า | ||
เจ้าอย่าพะวงสงการ | ตัวข้าได้บอกแต่เดิมที | ||
ว่าฝูงกุมภาสิ้นทั้งผอง | อยู่ในถ้ำทองเกษมศรี | ||
เดชะด้วยฤทธิ์แก้วมณี | กุมภีล์จีงเป็นมนุษย์ไป | ||
มีธุระจะออกไปนอกถ้ำ | ถึงน้ำกลับเพศตามวิสัย | ||
นี่แหละเป็นความจนใจ | ไปได้หรือจะไม่ไปตาม | ||
ข้าก็ได้บอกแล้วแต่หนหลัง | เจ้าก็ไม่หยุดยั้งฟังห้าม | ||
ก่นแต่เฝ้าเย้ายวนลวนลาม | มันเป็นความงามหน้าแล้วครานี้ | ||
เมื่อผิดอย่างต่างชาติต่างวิสัย | จะอยู่ด้วยกันได้ก็ใช่ที่ | ||
ไม่ช้าไม่พลันกี่วันมี | จะมาหนีน้องไปให้ได้อาย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
โอ้โลมนอก | |||
๏ น้องเอยน้องรัก | เจ้าอย่าพักก้าวเฉียงเบี่ยงบ่าย | ||
เห็นแล้วว่าสมัครรักพี่ชาย | จึงอุบายบิดเบือนเชือนแช | ||
น้อยหรือนั่นชั้นเชิงมิดชิด | ป้องปิดมิดเม้นไม่เห็นแผล | ||
แสนงอนอ่อนคอทำท้อแท้ | เรรวนปรวนแปรไม่ปรองดอง | ||
ถ้าเจ้าจะเอออวยไปด้วยพี่ | จะเสียทีไม่ถนัดขัดข้อง | ||
เสมือนหนึ่งรักพี่เสียดายน้อง | ถ้ำทองเป็นสุขสนุกสบาย | ||
ด้วยกุมภีล์หนุ่มหนุ่มประชุมพร้อม | บริวารแวดล้อมเหลือหลาย | ||
แต่ล้วนรูปนิมิตบิดเบือนกาย | จึงเสียดายเต็มทีอยู่มิไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ น้ำเอยน้ำคำ | เจ็บอกปิ้มป้ำน้ำตาไหล | ||
แม้นมิว่าบ้างเลยจะเคยใจ | นางจึงตอบคำไปด้วยโกรธา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เจ้าเอยเจ้าไกรทอง | ขอโทษเถิดใช่นอ้งจะแกล้งว่า | ||
เจ้าอุตส่าห์ประดาน้ำดำลงมา | ค้นคว้าหาน้องที่ห้องใน | ||
เจ้าก็จุดธูปเทียนเวียนส่องทั่ว | หม่อมผัวจะงมมาก็หาไม่ | ||
ก็ย่อมเห็นย่อมรู้อยู่แก่ใจ | ที่ในชั่วดีวิมาลา | ||
ไม่เห็นหรือหนุ่มหนุ่มในห้องน้อง | มันออกซ้องเสียนักอย่าพักว่า | ||
ชั่วจริงเจ้าเอ๋ยชาติกุมภา | ใครเข้ามาก็พลอยพุดสะรุด | ||
ถึงเจ้าก็เป็นคนไม่พ้นชั่ว | มาเกลือกกลั้วสตรีไม่บริสุทธิ์ | ||
เสียชาติญาติวงศ์พงศ์มนุษย์ | เป็นบุรุษโหดไร้น้ำใจพาล | ||
มางงงวยด้วยหญิงแพศยา | จนหน้าตาหมองคล้ำดำด้าน | ||
เจ้าเป็นคนมนตร์เวทเชี่ยวชาญ | วิชาการมิเสื่อมก็จำคลาย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เจ้าเอยเจ้าคารม | ปากคอพอสมกับเป็นม่าย | ||
แสนรู้ร้อยอย่างช่างอุบาย | ยักย้ายหลายทำนองว่องไว | ||
มิเสียทีที่เป็นเมียชาลวัน | น้อยหรือนั่นบุญหนักศักดิ์ใหญ่ | ||
น่าหัวผัวตายประเดี๋ยวใจ | ไม่ทันไรหรือมาเป็นเช่นนี้ | ||
หญิงร้ายแพศยาสามานย์ | เขาขี้คร้านคบหาให้เสียศรี | ||
เจ้าเอ๋ยแพศยากุมภามี | อย่างนี้เจียวสิหว่าจะตราไว้ | ||
ถ้ารู้เหตุผลแต่ต้นมา | ที่จะไว้ชีวาอย่าสงสัย | ||
อันน้ำใจสตรีนี้ไซร้ | ยากที่จะหยั่งได้ดังจินดา | ||
พระมหาสมุทรสุดลึกซึ้ง | ถ้าจะหยั่งให้ถึงก็ง่ายกว่า | ||
หญิงสามร้อยกลมารยา | สุดที่จะศึกษาให้แจ้งใจ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ น่าเอยน่าหัว | จริงแล้วคะข้าชั่วหาเถียงไม่ | ||
อายแก่ผีสางบ้างเป็นไร | นี่ใครใช้ให้เจ้ามาคบค้า | ||
ข้าเจียมตัวกลัวความหนามเสี้ยน | มุดเมื้ยนอยู่หานี่ประสีประสา | ||
เมื่อเจ้าซานซนงมงายมา | มิลืมตาขึ้นดูเสียก่อนเลย | ||
คิดมาก็น่าสมเพชผัว | มาพลอยชั่วด้วยข้านิจจาเอ๋ย | ||
เหมือนพระยาราชหงส์เข้าดงเตย | จะก้มเงยหนามเหนี่ยวเกี่ยวยับ | ||
ขนข้างหางปีกไม่เหลือหลอ | เขาคั้นคอสิ้นเสียงใส่เขียงสับ | ||
ไม่พอที่จะกล้าเข้ามารับ | เอาอาภัพอัปรีย์ใส่ตัว | ||
เท่านั้นเถิดเป็นไรเจ้าไกรทอง | ได้หม่นหมองแปดปนกับคนชั่ว | ||
เสียเดชเวทมนตร์จนมืดมัว | เชิญไปชำระตัวเสียเป็นไร | ||
ถึงมิอยู่จะไปก็ให้งาม | อย่าเอาความอัปรีย์มาใส่ให้ | ||
รู้ว่าเจ้าอย่าว่าให้หนักไป | อัชฌาอาศัยแต่พอควร | ||
อย่าเพ่อสาวไส้ให้กาทิ้ง | อื้ออึงลือเลื่องเครื่องคนสรวล | ||
เหนื่อยปากขี้คร้านต้านสำนวน | อันกระบวนของเจ้าข้าเข้าใจ | ||
ซึ่งกว่าสามร้อยกลสตรี | มากมีเสียเปล่าไม่เอาได้ | ||
ไม่เหมือนบุรุษนี้สุดใจ | ว่าไว้สามสินสองกล | ||
ทำโกหกพกลมล่อลวง | หึงหวงด่าว่าเหมือนบ้าบ่น | ||
สารพัดตัดพ้อล่อชน | เถิดข้าเสียกลเจ้าคนคต | ||
ฯ ๑๘ คำ ฯ | |||
๏ น้อยเอยน้อยหรือ | นางคนซื่อสารพันขยันหมด | ||
ก่นแต่ติเตียนเวียนประชด | จริงแล้วคะข้าคดไม่งดงาม | ||
มันจะเหมือนผัวเก่าของเจ้าหรือ | สุดซื่อแล้วเจ้าเอ๋ยอย่าเย้ยหยาม | ||
แต่ออกชื่อชาลวันก็ครั่นคร้าม | สุดคิดจะติดตามให้ต้องใจ | ||
ไหนนั่นความชั่วตัวอัปรีย์ | ว่าพี่มาปรำซ้ำใส่ให้ | ||
เมื่ออื้ออึงไปเองไม่อายใจ | กลับว่าสาวไส้ให้กาทึ้ง | ||
เจ้าสินสนักสำบัดสำนวน | ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง | ||
ดังหนองน้ำลำธารอันเซาะซึ้ง | เป็นที่พึ่งสารพัดไม่ขัดใคร | ||
เลื่องลืออื้ออึงพี่จึงมา | หวังจะพาไปชมคารมใหญ่ | ||
ให้ฟุ้งเฟื่องทั้งเมืองพิจิตรไว้ | เขาจะได้ชมรสวาจา | ||
จะชมทั้งกิริยามารยาท | เชื้อชาติโฉมนางต่างภาษา | ||
เจ้าจะได้เห็นหัวผัวกุมภา | อยู่ที่ศาลเทวาอารักษ์บน | ||
รำลึกถึงเมื่อไรจะไปเยือน | ก็พอเคลื่อนคลายได้ไม่ขัดสน | ||
ล้วนหนุ่มหนุ่มประชุมชอบกล | เขาเคยไปบวงบนบูชา | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ | |||
๏ เจ็บเอยเจ็บใจ | ช่างพิไรเสกสรรรำพันว่า | ||
สารพัดจัดให้วิมาลา | สมน้ำหน้าแล้วสิสนัดใจ | ||
อันศาลเจ้าที่หัวผัวเก่าอยู่ | ข้าไม่รู้แห่งหนตำบลไหน | ||
ทำตีอกยกมือขออภัย | เห็นแต่หัวผัวใหม่ที่งมมา | ||
อะไรไม่หยุดหย่อนเฝ้าค่อนแคะ | นั่นแหละพอสมกับแพศยา | ||
แต่กุมภีล์เท่านั้นไม่คัณนา | ยังซ้ำมนุสสาจึงสมใจ | ||
เขาจะได้เชิดชื่อลือทั่ว | ว่าหญิงชั่วตัวเจ้ามารักใคร่ | ||
จะปรากฏยศศักดิ์ของหม่อมไกร | สืบไปชั่ววงศ์พงศ์พันธุ์ | ||
ถ้าเห็นงามตามแต่จะเมตตา | ฝ่ายข้าไม่รังเกียจเดียดฉันท์ | ||
จะชูราศีหม่อมขึ้นทุกวัน | เหมือนเอาจันทน์เฉลิมเจิมจุณ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ ลมเอยลมเติบ | อย่ากำเริบนักนะมักจะวุ่น | ||
สัญชาติจระเข้เนรคุณ | ทำบุญไม่ขอพบสบใจ | ||
ชะนางตัวขยนกลั่นกล้า | ราคาสองสลึงหาถึงไม่ | ||
ถึงจะเสียมีดหมอก็เสียไป | หาด้ามทำใหม่ประเดี๋ยวเดียว | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ น่าเอยน่ากลัว | หม่อมผัวโกรธาจนตาเขียว | ||
ส่วนว่าเขานั้นขยันเจียว | เขาว่าบ้างเข่นเขี้ยวจะฆ่าตี | ||
เหตุว่าเจ้าดีมีฝีมือ | เอาเถิดให้เขาลืออึงมี่ | ||
เขาจะได้ว่าเจ้าห้าวหาญดี | ฆ่าฟันสตรีให้บรรลัย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เหลือเอยเหลืออด | ยังประชดประชันน่าหมั่นไส้ | ||
อย่าพักท้าทายมากมายไป | เขาจะเกรงอะไรกับนินทา | ||
หญิงร้ายปากกล้าไม่น่าเลี้ยง | คนผู้จะดูเยี่ยงไปภายหน้า | ||
ฉวยชักมีดหมอที่เหน็บมา | ทำเป็นโกรธาจะฆ่าตี | ||
จะไปไหนเล่าเจ้าคนคม | เอาคารมตั้งหน้าแล้วอย่าหนี | ||
น้ำตาคลอตาน่าปรานี | ชะช่างทำทีให้อ่อนใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ ได้เอยได้ฟัง | ยิ่งคั่งแค้นอกหมกไหม้ | ||
กระทีบเท้าเกาหัวแล้วว่าไป | ช่างกระไรไม่คิดเวทนา | ||
เห็นตัวน้องเป็นชาติกุมภีล์ | ล้วนมีแต่ขู่เข็ญจะเข่นฆ่า | ||
เหน็บแนมเต้มเติมเต็มประดา | หยาบช้าลิ้นลมไม่สมตัว | ||
เป็นเคราะห์เพราะหลงด้วยถ้อยคำ | จึงกระหน่ำซ้ำว่าจนหน้าชั่ว | ||
เจ้าได้ร่วมรักก็เพรากลัว | ข้าจึงได้มีผัวถึงสองคน | ||
รู้แล้วว่าหม่อมไม่เมตตา | จะทิ้งขว้างร้างหย่าไว้กลางหน | ||
เจ้าอย่าพักเคลือบไคล้ใส่กล | เห็นว่าจนอยู่ที่จะตามไป | ||
ถึงน้องจะรักใคร่ให้ใจขาด | ไนจะอาจเอออวยไปด้วยได้ | ||
จะเอาทีว่าชวนแล้วมิไป | แจ้งใจอยู่แล้วอย่าเจรจา | ||
ว่าพลางนางร่ำร้องไห้ | น้ำตาไหลโซมซาบอาบหน้า | ||
โอ้แต่นี้ไปนะอกอา | จะบ่ายหน้าไปพึ่งผู้ใด | ||
ทั้งนี้เป็นต้นเพราะผลกรรม | ชักนำทำชั่วมีผัวใหม่ | ||
คิดแค้นขึ้นมาไม่ว่ากระไร | เข้าหยิกข่วนเจ้าไกรแล้วโศกา | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ โอด | |||
ชาตรี | |||
๏ ยอดเอยยอดมิ่ง | ความจริงพี่ก็รักเจ้าหนักหนา | ||
พี่ขู่หยอกดอกเจ้าอย่าโกรธา | ไม่ทิ้งขว้างร้างหย่าจะพาไป | ||
ซึ่งกลัวว่าจะกลายเป็นกุมภีล์ | ไม่อาจออกจากที่ถ้ำได้ | ||
พี่จะลงเลขยันต์กันไว้ | มิให้รูปกลับเป็นกุมภีล์ | ||
อย่านิ่งนั่งไถลทำไขหู | จะไปหรือจะอยู่ให้รู้ที่ | ||
รำคาญขี้คร้านเซ้าซี้ | เมื่อมิไปแล้วก็แล้วไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ได้เอยได้แจ้ง | มิรู้แห่งจะทำกระไรได้ | ||
ทั้งรักทั้งแค้นแน่นใจ | แค้นใครไม่เท่าเจ้าไกรทอง | ||
คิดถึงความรักก็ชักแช | จะใคร่แร่รวยตามไปคล่องคล่อง | ||
แล้วถอยหลังดำริตริตรอง | เกลือกพวกพ้องลูกเมียของเขามี | ||
คิดพลางทางว่าแก่เจ้าไกร | ไฮ้อะไรรำคาญหูจู้จี้ | ||
เจ้าจะพาน้องไปด้วยนี้ | ก็ตามทีมิขัดจะไปตาม | ||
แต่เกรงเกลือกเจ้าจอมหม่อมเมียหลวง | จะหึงหวงจ้วงจาบหยาบหยาม | ||
จะว่าน้องโฉดเขลาเบาความ | ไม่ไต่ถามตามผัวเขาขึ้นไป | ||
น้องจะได้อัปยศอดสู | จะแลดูหน้าคนกระไรได้ | ||
จะซ้ำร้ายอายยิ่งกว่าทิ้งไว้ | เจ้าจงตรึกไตรดูให้ดี | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ แสนเอยแสนแขนง | ช่างกล่าวแกล้งบิดเบือนเชือนหนี | ||
ประเดี๋ยวใจไพล่ยักไปอย่างนี้ | ร้อยสี่ร้อยอย่างช่างว่าไป | ||
เดิมทีทำกระบวนรวนเร | กลัจะเป็นจระเข้ไม่ไปได้ | ||
พี่รับจะลงยันต์กันไว้ | มิให้กลับเพศเป็นกุมภา | ||
ก็ขัดสนจนอยู่ที่ข้อนั้น | กลับหันว่าลูกเมียจะด่าว่า | ||
นี่หรือว่ารักแกล้งชักช้า | แต่แย้มมาก็เห็นว่าล่อลวง | ||
ลูกเมียของพี่ก็มีอยู่ | แต่เขาไม่รู้หึงหวง | ||
พี่จะปราบปรามความทั้งปวง | มิให้จาบจ้วงล่วงเกินน้อง | ||
อย่าสงสัยว่าจะได้เคืองระคาย | อับอายเพื่อนบ้านร้านช่อง | ||
ถ้าสมัครรักจริงจงปรองดอง | เร่งแต่งตัวเถิดน้องจะด่วนไป | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลานารีศรีใส | ||
ความรักกลัดกลุ้มคลุ้มใจ | กลัวเจ้าไกรทองจะหมองมัว | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
โอ้ร่าย | |||
๏ จึงลุกเข้าไปในห้อง | จัดแจงสิ่งของจะตามผัว | ||
ผ้าผ่อนเงินทองของแต่งตัว | แหวนหัวแหวนมณฑปครบครัน | ||
แล้วเลือกของรักใคร่ใส่กระทาย | มากมายสารพัดจัดสรร | ||
พลางพิศดูห้องแก้วแพรวพรรณ | เตียงสุวรรณเคยนอนแต่ก่อนมา | ||
เสียดายของต่างต่างอย่างดี | เสียดายดวงมณีในคูหา | ||
มีคุณแก่ฝูงกุมภา | จะปรารถนาสิ่งใดก็สมคิด | ||
ให้อิ่มไปด้วยทิพอาหาร | ไม่มีความรำคาญแต่สักหนิด | ||
โอ้แต่นี้ไปจะมืดมิด | เร่งคิดสร้อยเศร้าโศกา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
สามเส้า | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมเจ้าไกรทองพงศา | ||
ค่อยย่องตามนางวิมาลา | เข้ามายังที่ห้องใน | ||
เห็นนางโศกศัลย์เศร้าหมอง | เป็นห่วงด้วยข้างของไม่ไปได้ | ||
จึงร่ายเทพรำจวนป่วนใจ | เป่าไปให้ต้องนางกุมภีล์ | ||
แล้วแกล้งแสร้งว่านี่แน่น้อง | เจ้าสิยังขัดข้องหมองศรี | ||
เป็นห่วงบ่วงใยอยู่เต็มที | จะมิไปด้วยพี่ก็ตามใจ | ||
เจ้าค่อยอยู่จงดีพี่ขอลา | จะคอยท่าช้านักนั้นไม่ได้ | ||
ว่าพลางทางเดินออกไป | ทำนองลองใจวิมาลา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาโศกศัลย์หนักหนา | ||
ต้องเทพรำจวนป่วนวิญญาณ์ | ให้แสนเสน่หาเป็นสุดคิด | ||
ซึ่งอาลัยในของทั้งหลาย | ไม่มีความเสียดายแต่สักหนิด | ||
นึกแต่จะภิรมย์ชมชิด | นางจึงลุกติดตามไป | ||
ฉวยฉุดชายผ้าเจ้าไกรทอง | จะทิ้งน้องเสียแล้วหรือไฉน | ||
น้องได้ว่าหรือจะมิไป | จึงมาตัดอาลัยไคลคลา | ||
พ่อเจ้าไปไหนจะไปด้วย | ถึงชีวิตจะม้วยก็ไม่ว่า | ||
ว่าพลางนางจูงมือมา | คืนเข้าคูหาห้องทอง | ||
เมียจัดไว้สำเร็จเสร็จสรรพ | สินทรัพย์สารพันข้าวของ | ||
อีกทั้งแก้วแหวนเงินทอง | เจ้าจงท่าน้องบัดเดี๋ยวใจ | ||
จะอาบน้ำทาแป้งแต่งตัว | หวีหัวผัดหน้านุ่งผ้าใหม่ | ||
ว่าแล้วกลับคืนเข้าห้องใน | ลูบไล้กระแจะแป้งแต่งกายา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมเจ้าไกรทองพงศา | ||
เปรมปริ่มยิ้มย่องต้องวิญญาณ์ | ด้วยนางวิมาลาจะคลาไคล | ||
ครั้นเห็นนางแต่งตัวสรรพเสร็จ | จึงถอดแหวนเพชรที่นิ้วใส่ | ||
เสกด้วยวิทยาเรืองชัย | เอาใส่ในมวยผมกัลยา | ||
แล้วลงยันต์เลขเสกซ้ำ | ปิดประจำท่ามกลางเกศา | ||
มิให้นวลนางวิมาลา | กลับคืนกายาเป็นกุมภีล์ | ||
แล้วจุดเทียนระเบิดเลิศล้ำ | ออกจากถ้ำนำนางสาวศรี | ||
มาตามเปลวปล่องช่องนที | วารีแหวกกว้างเป็นทางไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ขึ้นจากฟากฝั่งมหาสมุทร | จะยั้งหยุดอยู่ช้าก็หาไม่ | ||
พานางย่างเยื้องคลาไคล | เข้าในเมืองพิจิตรพารา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นถึงซึ่งสวนเศรษฐี | ไม่ใกล้ไกลกับที่เคหา | ||
จึงแวะนั่งยั้งหยุดในศาลา | มีฝายกพื้นอยู่ห้องใน | ||
แล้วเล้าโลมโฉมนางกุมภีล์ | เจ้าพี่อย่าร้อนรนหม่นไหม้ | ||
จงอยู่คนเดียวประเดี๋ยวใจ | พี่จะไปบอกสองภรรยา | ||
ว่ากล่างน้าวโน้มเสียให้ดี | มิให้มีเคียดขึ้งหึงสา | ||
พี่ไปสักครู่ไม่อยู่ช้า | จะกลับมารับเจ้าเข้าไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมนางวิมาลาศรีใส | ||
ค้อนให้แล้วตอบว่าขอบใจ | เจ้าจะทิ้งน้องไว้เอกา | ||
เกลือกว่าศัตรูรู้แยบคาย | มันจะมาทำร้ายริษยา | ||
ด้วยข้าเป็นชาติกุมภา | ใครเลยจะมาปรานีน้อง | ||
แม้นหม่อมไปไหนจะไปด้วย | บุญเจ้าจะได้ช่วยปกป้อง | ||
ว่าพลางนางยุดเจ้าไกรทอง | ชิงปิดประตูห้องศาลา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | ฝ่ายว่าตาเฒ่าทาสา | ||
กับยายทาสีภริยา | สำหรับรักษาสวนดอกไม้ | ||
เห็นเจ้าไกรทองพาชู้ | มาหยุดอยู่ศาลาอาศัย | ||
สองเฒ่าทุรังจังไร | คิดจะไปบอกนายเอาหน้าตา | ||
ไม่ทันเก็บดอกไม้ใส่กระจาด | ฉวยผ้าขาวขาดขึ้นพาดบ่า | ||
ปิดประตูเข็นกระไดมิได้ช้า | ยายตางกงันมาทันที | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ มาเอยมาถึง | จึงเขาไปบ้านท่านเศรษฐี | ||
เห็นสองกัลยานารี | อยู่ที่หอกลางวางเข้าไป | ||
บอกนางตะเภาทองตะเภาแก้ว | ที่นี้งามแล้วทั้งห้าไร่ | ||
ไหนหม่อมผู้ชายว่าหายไป | บัดนี้มาอยู่ในศาลา | ||
พาผู้หญิงคนหนึ่งมาด้วย | รูปรวยสวยสมผมประบ่า | ||
งามประหลาดเหลือล้นพ้นปัญญา | พี่น้องสองราจงแจ้งใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | โฉมนางตะเภาทองผ่องใส | ||
ทั้งนางตะเภาแก้วแววไว | ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็นเกลียว | ||
จึงว่าดูเอาหรือเจ้าไกร | ว่าจะไปหาครูสักประเดี๋ยว | ||
มิรู้ช่างโป้ปดลดเลี้ยว | ไปเที่ยวเกี้ยวชู้แล้วพามา | ||
น้อยหรือทำได้เป็นไรมี | แม้นมิอึงคะนึงก็จึงว่า | ||
อีคนไรรูปงามที่ตามมา | จะออกไปดูหน้ามันกล้าดี | ||
ว่าพลางทางเรียกหาข้าไท | ไม่ทันใจโกรธขึ้งอึงมี่ | ||
ลงจากเรือนพลันทันที | ทาสีพี่เลี้ยงก็ตามไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นถึงสวนก็ชวนกันหยุดอยู่ | ยังประตูศาลาอาศัย | ||
ค่อยย่องมองดูเข้าไป | เห็นคนไวไวอยู่ในนั้น | ||
นางยิ่งกริ้วโกรธโกรธา | นุ่งผ้าโจงกระเบนเหน็บมั่น | ||
โมโหหวงหึงดึงดัน | สองพี่เลี้ยงนั้นยิ่งให้ใจ | ||
จึงเข้าคึกคักผลักประตู | เห็นมั่นคงอยู่ไม่หวาดไหว | ||
พี่น้องจึงร้องว่าไป | ใครอยู่ข้างในจงเปิดรับ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองเอนหลังยังไม่หลับ | ||
ได้ยินเรียกเข้าไปตกใจวับ | ลุกขยับสับสนลนลาน | ||
จึงร้องทักออกไปว่าใครนั่น | ไม่เกรงใจกันทำหักหาญ | ||
ครั้นแจ้งว่าสองนงคราญ | ออกมาดันบานประตูไว้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สองนางหุนหันหมั่นไส้ | ||
จึงว่าอุแหม่แน่เจ้าไกร | หนีไปแทบถึงสักกึ่งเดือน | ||
แต่คอยคอยนั่นน้อยไปหรือนี่ | โหยกเหยกอย่างนี้ไม่มีเหมือน | ||
มาแล้วทำไมไม่ไปเรือน | ยังแชเชือนชักช้าอยู่ว่าไร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองฟังคำทำไถล | ||
พูดจากุกกักกระอักกระไอ | เก้อเก้อแก้ไขไปตามจน | ||
พี่จะเข้าไปบ้านเดี๋ยวนี้ | พอเดินมาถึงนี่ก็ปะฝน | ||
เห็นศาลาฝารอบชอบกล | จึงแวะนั่งหนีฝนอยู่บนนี้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาอกสั่นขวัญหนี | ||
จึงถามเจ้าไกรไปทันที | ใครนี่องอาจประหลาดนัก | ||
จะเป็นเมียของเจ้าหรือเขาอื่น | เข้ามายืนเรียกอยู่ดังรู้จัก | ||
หรือพี่ป้าย่ายายมาทายทัก | จงบอกเมียรักให้แจ้งใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองยิ้มแห้งแถลงไข | ||
ซึ่งมาเรียกพี่บัดนี้ไซร้ | โฉมงามทรามวัยตะเภาทอง | ||
ทั้งนางตะเภาแก้วแววตา | ภรรยาของพี่ทั้งสอง | ||
เจ้าอย่าตกใจไปเลยน้อง | พี่มิให้ขัดข้องเคีองกัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สองนางโกรธผัวจนตัวสั่น | ||
เรียกหาข้าไทให้ช่วยกัน | เข้าผลักดันประตูดูลอง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ลิ่มสลักหักโค่นไม่ทนได้ | สองนางวางเข้าไปในห้อง | ||
ชี้หน้าว่าชะเจ้าไกรทอง | ช่างปดเล่นคล่องคล่องสบายใจ | ||
ไหนว่าจะไปหาพระอาจารย์ | เป็นที่นมัสการอันโตใหญ่ | ||
คือเธอองค์นี้แล้วหรือไร | ซึ่งนิมนต์มาไว้ในศาลา | ||
เป็นไรไม่เอาเครื่องบริขาร | มาถวายพระอาจารย์ให้หนักหนา | ||
จะพลอยพกโมโหโมทนา | สาธุศรัทธาเต็มที | ||
หม่อมลูกศิษย์คิดอ่านไปหาเพล | ยกประเคนให้ฉันเสียที่นี่ | ||
มานั่งขึงเขินค้างอยู่อย่างนี้ | เป็นไรมิมัสการท่านครูมา | ||
ว่าแล้วนวบลนางตะเภาทอง | บอกน้องตะเภาแก้วเสน่หา | ||
อีคนนี้มันชื่อวิมาลา | เป็นเมียชาลวันที่บรรลัย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองเมียงเมินเดินเข้าใกล้ | ||
ทำแก้ขวยฉวยมืออย่าอื้อไป | จะบอกควาในใจให้เจ้ารู้ | ||
เดิมทีพี่ไปหาพระอาจารย์ | คิดอ่านว่าจะบวชให้ชวดอยู่ | ||
เพราะโลกีย์เจ้ากรรมมันทำพู | สุดรู้ที่จะทนพ้นปัญญา | ||
เป็นห่วงด้วยชู้เมียเสียไม่ได้ | ให้อักอ่วนป่วนใจเป็นนักหนา | ||
ตะวันชายบ่ายหน่อยพี่กลับมา | คิดถึงวิมาลานารี | ||
พี่จึงไปพาเอามาไว้ | หวังจะให้เป็นเพื่อนน้องสองศรี | ||
ครั้นจะบอกเจ้าแต่เดิมที | ไหนนางนารีจะผ่อนตาม | ||
บุราณท่านว่าไว้กระไรน้อง | ชายมีเมียสองนั้นต้องห้าม | ||
มักเกิดกลียุคลุกลาม | จึงหาให้เป้นสามตามตำรา | ||
ขอเสียเถิดแม่คุณอย่าหุนหัน | จงสมัครรักกันดีกว่า | ||
เพื่อนบ้านร้านช่องจะลือชา | ว่าพี่น้องสองราเจ้าใจดี | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางพี่น้องสองศรี | ||
ได้ฟังวาจาสามี | ชำเลืองแลดูทีวิมาลา | ||
ยิ่งคิดยิ่งแค้นถึงความหลัง | มิได้ฟังเจ้าไกรทองว่า | ||
จึงตอบไปด้วยใจรามา | เจ้าช่างไปคบหาแต่ที่ดี | ||
ถ้าเป็นคนอื่นไกลน้องไม่ว่า | จะร่วมเรียงเคียงหน้าก็ควรที่ | ||
นี่มันชาติทรชนคนไพรี | เห็นดีหรือเจ้าเอามาไว้ | ||
ว่าแล้วพี่น้องจึงร้องถาม | ชะนางรูปงามได้ผัวใหม่ | ||
ทำเจ๋อเจ๊อะสะเออะหน้าหม่อมไกร | ช่างติดตามมาได้ไม่มีอาย | ||
เอาผัวกูไปไว้ถึงเจ็ดคืน | ยังไม่หายรวยรื่นหรือโฉมฉาย | ||
หรือว่าชาลวันที่อันตราย | แยบคายไม่เหมือนเจ้าไกรทอง | ||
แต่ผัวกุมภีล์แล้วมิหนำ | ยังแถมซ้ำมนุษย์เข้าเป็นสอง | ||
ไสหัวลงไปเสียท้องคลอง | เดียรฉานจองหองไม่เจียมตัว | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาได้ฟังนั่งเกาหัว | ||
ครั้นจะว่าบ้างนางก็กลัว | เจ้าไกรทองผู้ผัวจะโกรธา | ||
แต่อดอดก็เหลือที่อดกลั้น | ปากคันยิบยิบกระซิบด่า | ||
โมโหหันหุนหมุนออกมา | เคืองขัดสะบัดหน้าแล้วว่าไป | ||
นี่แม่นางพี่น้องสองคน | เจ้ามาบ่นมาว่าเหมือนบ้าใบ้ | ||
เขาจูงจมูกหม่อมไปหรือไร | หม่อมผัวเจ้าลงไปทำวุ่นวาย | ||
เพราะจวนตัวกลัวตายวายชีวิต | ใช่จะปลงลงจิตด้วยง่ายง่าย | ||
เจ้าอย่าเพ่อติฉินยินร้าย | เป็นหญิงย่อมอายอยู่เหมือนกัน | ||
เจ้าก็เคยรู้เช่นเป็นอยู่บ้าง | คิดดูก่อนนางอย่าหุนหัน | ||
อันเจ้าไกรทองกับชาลวัน | จะเป็นกระไรกันก็แจ้งใจ | ||
ซึ่งข้าตามผัวเจ้าขึ้นมา | ด้วยกลัววิทยาไม่ขัดได้ | ||
เมื่อเจ้าตามผัวข้าลงไป | เป็นไรไม่ยั้งหยุดคิด | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ ได้เอยได้ฟัง | ตะเภาทองแค้นคั่งเคืองจิต | ||
เจ็บแสบแปลบใจดังไฟพิษ | ด้วยว่าถูกที่คิดก็โกรธา | ||
กระทืบเท้าก้าวเดินเข้าไปใกล้ | ถ่มน้ำลายรดให้แล้วร้องว่า | ||
เดิมทีผัวมึงอ้ายกุมภา | ขึ้นมาคร่าคาบกูลงไป | ||
แล้วจำแลงแปลงตัวเป็นมนุษย์ | ฉวยฉุดยุดมือถือไหล่ | ||
จำเป็นเสียตัวด้วยกลัวภัย | กูมิได้จงจิตไปติดตาม | ||
ไม่เหมือนอีอุบาทว์ชาติกุมภีล์ | ตัวกะลีกะลำส่ำสาม | ||
ลอยหน้าลอยตาว่าข้างาม | แต่งจริตติดตามผัวกูมา | ||
กูจะว่าให้สาสมใจ | อีจัญไรร้อยแปดแพศยา | ||
แม้นไม่เข็ดหลาบยังหยาบช้า | จะให้ข้ากูตบไสคอไป | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ แค้นเอยแค้นนัก | สุดที่จะห้ามหักโมโหได้ | ||
จะเป็นไรก็ให้เป็นไป | กูหากลัวมึงไม่อีพี่น้อง | ||
ชะช่างขึ้นหน้าว่าเมียหลวง | หึงหวงจ้วงจาบจองหอง | ||
ไม่รู้จักหรือเจ้านางตะเภาทอง | ไหนไหนมันก็สองเหมือนกัน | ||
จริงแล้วคะร้อยแปดแพศยา | จึงลอยหน้าทะเลาะผัวจนตัวสั่น | ||
เป็นไรเจ้ามิประจบให้ครบพัน | จะได้สมใจมันอีมนุษย์ | ||
เออน้อยไปหรือนั่นท่านผู้หญิง | ขยันยิ่งโมโหโยไม่หยุด | ||
สารพัดบัดสีอีมนุษย์ | เมื่อมึงมุดไปเอาผัวกูนั้น | ||
กูก็ว่าบ้างไว้บ้าง | ไม่สิ้นชาติสิ้นยางพอเต็มกลั้น | ||
แล้วแล้วก็ดีไปด้วยกัน | คุณของกูนั้นมึงคิดดู | ||
ครั้นผัวมึงไปพากูขึ้นมา | จะให้ข้าต่อยตบทำลบหลู่ | ||
กล้าดีมึงเข้ามาลองดู | อันกูจะถอยอย่าสงกา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ตะเภาแก้วโกรธขึ้งหึงสา | ||
เจ็บช้ำด้วยคำวิมาลา | หยาบช้าสาหัสยิ่งขัดใจ | ||
อันนางตะเภาทองผู้พี่ | จะว่ากล่าวข่มขี่มันไม่ได้ | ||
ด้วยเนื้อความทั้งสองข้างไซร้ | ก็กระไรกระไรอยู่เหมือนกัน | ||
คิดพลางนางออกสกัดว่า | เหวยอีกุมภาตัวขยัน | ||
ปากกล้าหน้าด้านดึงดัน | จะประชันให้ชนะไม่ละลด | ||
ชอบแต่จิกหัวมาตบเล่น | ให้เพื่อนบ้านเข้าเห็นเสียให้หมด | ||
จึงจะสมที่มึงมีพยศ | ให้รู้รสรู้จักฝีมือไว้ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ น่าเอยน่าหัว | ช่างเปลี่ยนตัวเปลี่ยนหน้าเข้ามาใหม่ | ||
มันสะเทือนไปถึงมึงหรือไร | ใครช่างให้พี่สาวลำเลิกกู | ||
ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม | อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้ | ||
นางตัวกล้ามาค้าคารมดู | ทำกูดูเล่นก็เป็นไร | ||
ขึ้นหน้าว่าเป็นเจ้าผัว | อันจะให้กูกลัวอย่าสงสัย | ||
ถึงกูเป็นชาติกุมภีล์ไซร้ | ก็ไม่โฉดโหดไร้เหมือนมึงนี้ | ||
อีมนุษย์อุบาทว์ชาติชั่ว | พี่น้องร่วมผัวน่าบัดสี | ||
ขาดสามสี่วันไม่ทันที | เป็นกุลำกุลีทะยานใจ | ||
เมื่อและเจ้าขาดลงมิรอด | เป็นไรไม่กอดไว้ให้ได้ | ||
เย้ายวนชวนชมภิรมย์ใจ | อย่าให้ว่างเว้นสักเวลา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ อีเอยอีหัวพลัด | สารพัดรู้ตลอดสอดว่า | ||
ก็กูร่วมผัวกันมา | บิดายกให้จึงได้ครอง | ||
กูไม่เหมือนมึงอีหน้าเป็น | ลักเล่นผัวเขาทำจองหอง | ||
มึงอวดกล้าท้าดีจะตบลอง | จะร้องฟ้องโรงศาลก็เร่งไป | ||
ทำให้สมน้ำหน้าสาหัส | เอาฟันเล่นกำตัดเสียให้ได้ | ||
ถึงจะเสียสินไหมพินัย | มากน้อยเท่าไรก็ตามที | ||
ว่าพลางนางเรียกปลื้มอาลัย | กับข้าไทถ้วนหน้าทาสี | ||
นั่งนิ่งอยู่ไยอีเหล่านี้ | ช่วยกันตบตีให้หนำใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | สาวสาวบ่าวหญิงไม่นิ่งได้ | ||
คาดอกถกเขมรวางเข้าไป | หมายใจจะตบตีวิมาลา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เห็นเจ้าไกรทองออกกางกั้น | ความกลัวตัวสั่นล้มถลา | ||
วิ่งปะทะกันอยู่ไปมา | ทาสาขัดสนจนใจ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาแค้นขัดอัชฌาสัย | ||
โมโหหุนหันกลั้นกลืนไว้ | นางมิได้ครั่นคร้ามกลัวเกรง | ||
จึงว่าเอออะไรเจ้าไกรทอง | ช่างพาน้องมาให้เขาข่มเหง | ||
สารพัดตัดพ้อครื้นเครง | แต่เมียเจ้าเองไม่น้อยใจ | ||
นี่ใช้ให้ขี้ข้าทาสี | มาหยาบช้าด่าตีหาควรไม่ | ||
ไหนว่าจะปราบปรามเมียไว้ | มิให้หึงหวงวุ่นวาย | ||
ครั้นจนเข้าจริงก็นิ่งเสีย | ให้หม่อมเมียมาด่าเล่นง่ายง่าย | ||
เจ้าก็เป็นคนฉลาดชาติชาย | ไม่เสียดายวงศ์วานว่านเครือ | ||
ดีจริงนิ่งเฉยไม่เงยหน้า | ดูเหมือนกลัวภรรยายิ่งกว่าเสือ | ||
คิดว่ามีเหล่ากอหน่อเนื้อ | จึงงวยงงหลงเชื่อตามมา | ||
แม้นรู้ว่าจะเป็นเช่นนี้ | จะสู้ตายอยู่ที่คูหา | ||
ถึงจะฟันฟอนรอนรา | จะก้มหน้าให้ทำไม่กลัวตาย | ||
ทั้งนี้เป็นต้นเพราะคนคด | จะจำจดจารึกด้วยหมึกหมาย | ||
คิดโมโหหวงแหนแสนร้าย | เข้าหยิกข่วนตะกายเอาเจ้าไกร | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองบ่นออดทอดใจใหญ่ | ||
จะห้ามปรามผ่อนปรนก็จนใจ | เอออะไรกระนี้มันดีจริง | ||
นางพี่น้องสองก็ล้นเหลือ | บ้าโลหิตขวิดเฝือเหมือนมหิงส์ | ||
นางวิมาลาเล่าก็เพราพริ้ง | น้อยหรือนั่นท่านผู้หญิงทั้งสามคน | ||
เจ้าคารี้สีคารมไม่สมหน้า | เหมือนอีแม่ค้าปลาที่หัวถนน | ||
ขึ้นเสียงเถียงทะเลาะลนลน | จะกรวดน้ำคว่ำคะนนเสียเดี๋ยวนี้ | ||
จะเขียนหนังสือหย่าสักห้าใบ | ขีดแกงไตให้ดูอย่าจู้จี้ | ||
ทำประหนึ่งขึ้งโกรธเต็มที | เดินหนีออกไปเสียให้พ้น | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาตามไปพิไรบ่น | ||
เจ้าพาน้องขึ้นมาถึงเมืองคน | คิดว่าจะเป็นผลสืบไป | ||
มิรู้กลับอับอายขายหน้า | สุดปัญญาที่จะงดอดได้ | ||
ว่าพลางทางกอดเจ้าไกร | สะอึกสะอื้นไห้ไปมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองปลอบนางพลางว่า | ||
พี่รักเจ้าจริงจริงจึงพามา | ใช่ว่าจะให้เป็นเช่นนี้ | ||
อันโมโหผู้หญิงนี้ยิ่งยวด | จะชวดสวดเสียเปล่าเฝ้าจู้จี้ | ||
มาถึงจะไปบอกแต่เต็มที | เจ้าฉุดชายผ้าพี่มิให้ไป | ||
จึงเกิดเหตุเภทภัยขึ้นทั้งนี้ | สุดที่จะดับไฟหัวลมได้ | ||
เจ้าอย่าละห้อยน้อยใจ | มิใช่จะให้เสียสัญญา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สองนางแค้นคิดอิจฉา | ||
แลไปเห็นนางวิมาลา | ฟูมฟายน้ำตาก็ขัดใจ | ||
ร้องว่าเหวยเหวยอีกุมภีล์ | เล่ห์กลมึงดีทำร้องไห้ | ||
แกล้งชะอ้อนวอนชู้หรือไร | จะให้มาทำไมกับกู | ||
กลับมาขึ้นเสียงเถียงเจ้าผัว | แต่ล้วนไม่กลัวจะต่อสู้ | ||
ทำไมเล่าจึงเข้าแฝงชู้ | อันจะพ้นมือกูอย่าสงกา | ||
ว่าแล้วรุกรานเข้าไปใกล้ | เลี้ยวไล่จะจิกเอาเกศา | ||
พี่เลี้ยงทาสีก็มี่มา | อุตลุดฉุกคร่าจะตบตี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลายับย่อยไม่ถอยหนี | ||
ร้ายกาจด้วยเป็นชาติกุมภีล์ | ต่อดีมีกำลังเรี่ยวแรง | ||
จะเข้าจิกศีรษะนางไม่ได้ | ปัดป้องว่องไวเข้มแข็ง | ||
หยิกข่วนกอดกัดวัดแว้ง | พลิกแพลงผลักไสไปมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สองนางขัดแค้นแสนสา | ||
ไม่ย้อท้อต่อสู้วิมาลา | จนหน้าตาคางคิ้วเป็นริ้วยับ | ||
พวกผู้หญิงสาวสาวบ่าวไพร่ | หลงใหลไล่ทุบกันตุบตับ | ||
ปากจมูกถูกเล็บจนเลือดซับ | บ้างล้มทับพวกเพื่อนพัลวัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองเข้าขวางกางกั้น | ||
จึงห้ามน้องสองนางให้วางกัน | อย่าตีรันหันหุนวุ่นไป | ||
จะขืนทำล้ำเหลือไม่เชื่อพี่ | น่าที่จะเกิดเหตุใหญ่ | ||
อันนางวิมาลานี้ไซร้ | พี่เอายันต์ปิดไว้ตรึงตรา | ||
แม้นนางเลิกเลขยันต์ออกเสียได้ | จะเป็นกุมภีล์ใหญ่ใจกล้า | ||
จะขบกัดฟัดฟาดเอาสองรา | อย่าเต้นแร้งเต้นกาหนักไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สองนางจะเชื่อก็หาไม่ | ||
ร้องว่าอุแหม่แน่เจ้าไกร | จะเขียนเสือไว้ให้วัวกลัว | ||
เจ้ารักชู้ของเจ้าเข้ากับชู้ | แกล้งจะขู่ข่มใครน่าใคร่หัว | ||
เมื่อมันเป็นมนุษย์อยู่เห็นตัว | จะหลอกข้าให้กลัวหรือว่าไร | ||
เกิดวิวาททะเลาะเพราะใครนั่น | เพราะหม่อมผัวตัวขยันหรือมิใช่ | ||
ทำเหลาะแหละแนะนำให้ใจ | มันจึงทำได้ถึงเพียงนี้ | ||
ว่าพลางทางรุกเข้าไป | มิได้ย่อท้อถอยหนี | ||
บ่าวไพร่พร้อมกันทันที | เข้ากลุ้มรุมตีนางกุมภา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาแค้นขัดสหัสสา | ||
จะแก้แหวนเลิกยันต์แล้วรั้งรา | ด้วยแสนเสน่หาเจ้าไกรทอง | ||
ความรักรุมรึงตะลึงหลง | นางนั่งลงกอดเข่าเศร้าหมอง | ||
หน่วงหนักรักพี่เสียดายน้อง | ฟูมฟองน้ำตาแล้วว่าไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
โอ้ปี่ | |||
๏ พ่อเจ้าประคุณของเมียเอ๋ย | กรรมสิ่งใดเลยมาซัดให้ | ||
เจ้าพาเมียมาไม่ทันไร | จะจำใจจำจากพรากกัน | ||
สุดรักสุดรู้ไม่อยู่ได้ | สุดใจเหลือที่จะอดกลั้น | ||
ถึงเสือสางกลางป่าพนาวัน | ไม่ดุดันร้ายกาจเหมือนเช่นนี้ | ||
จะฉีกเนื้อเถือหนังเสียทั้งเป็น | ไม่เคยพบเคยเห็นน่าบัดสี | ||
ไหนเล่าเจ้าชมว่าเมียดี | ทีนี้รู้เช่นได้เห็นตัว | ||
จะขอลาลงไปอยู่ในถ้ำ | ตามบุญตามกรรมที่ทำชั่ว | ||
นางคิดขัดข้องหมองมัว | ตีอกชกหัวร่ำไร | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ คิดเอยคิดพลาง | นวลนางหุนหันหมั่นไส้ | ||
ลุกขึ้นเคืองขัดสะบัดสไบ | ชี้หน้าว่าไปมิได้กลัว | ||
เหวยอีตะเภาแก้วตะเภาทอง | พี่น้องอุบาทว์ชาติชั่ว | ||
หฤโหดโฉดเขลาเมามัว | มึงมาเอาผัวของมึงไป | ||
ทีนี้กอดไว้มึงอย่าวาง | มึงเข้าคนละข้างอย่าห่างได้ | ||
ผลัดกันรึงรัดให้ถนัดใจ | อีหน้าไพร่สันดานมารยา | ||
ว่าพลางนางหวนเข้าในห้อง | แก้แหวนในช้องเกศา | ||
แล้วลอบเลิกยันต์มิทันช้า | โจนจากศาลาด้วยขัดใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
๏ ครั้นลงถึงพื้นพสุธา | ก็กลายเป็นกุมภาเติบใหญ่ | ||
ฟาดหางวัดแว้งว่องไว | เข้าไล่สองนางนารี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ รัว เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | พี่น้องอกสั่นขวัญหนี | ||
ร้องกรีดหวีดวิ่งไม่สมประดี | ทาสีพี่เลี้ยงก็วุ่นวาย | ||
วิ่งปะทะปะกันอลหม่าน | ลนลานลื่นล้มผ้าห่มหาย | ||
บ้างขึ้นต้นไม้มือตะกาย | ปืนป่ายไม่สันทัดพลัดลงมา | ||
บ้างเรียกพวกพ้องร้องให้ช่วย | เจ็บป่วยลำบากลากขา | ||
สิ้นกำลังลงนั่งภาวนา | กอข้อกอกาว่าเปื้อนไป | ||
สองนางวางวิ่งเข้ากอดผัว | ความกลัวตัวสั่นหวั่นไหว | ||
เอ็นดูด้วยช่วยเอาชีวิตไว้ | นางกุมภีล์ใหญ่ไล่ขบเมีย | ||
ลูกได้ผิดแล้วอย่าถือโทษ | พ่อโปรดช่วยขับให้ไปเสีย | ||
ร้อนอกหมกไหม้เหมือนไฟเลีย | ทิ้งเมียเสียได้ไม่เอ็นดู | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองได้ฟังนั่งไขหู | ||
ทำเฉยเชือนเหมือนหนึ่งไม่รู้ | เป็นครู่จึงตอบวาจา | ||
พี่ก็ได้บอกแล้วแต่หนหลัง | โกรธขึ้งตึงตังไม่ฟังว่า | ||
ไหนเล่าเจ้าไม่กลัววิมาลา | ทั้งเจ้าทั้งข้าเข้ารุมรัน | ||
เป็นไรมิทำให้หนำใจ | วิ่งขึ้นมาไยจนตัวสั่น | ||
เรียกหาข้าไทให้ช่วยกัน | ตีรันเล่นตามสบายใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ตะนาว | |||
๏ ว่าแล้วลุกเดินออกมา | จากที่ศาลาอาศัย | ||
แล้วมีวาจาว่าไป | วิมาลาอย่าได้โกรธา | ||
เป็นกรรมเราแล้วทั้งสองข้าง | ใช่พี่จะทิ้งขว้างร้างหย่า | ||
อย่าละห้อยน้อยใจจงไคลคลา | กลับไปคูหาห้องทอง | ||
ด้วยเจ้ากลับรูปเป็นกุมภีล์ | เคยอยู่นทีเที่ยวท่อง | ||
มาอยู่ปัถพีเช่นนี้น้อง | จะร้อนรนหม่นหมองด้วยแดดลม | ||
เจ้ากลับไปก่อนเถิดวิมาลา | ไม่ช้าพี่จะตามไปสู่สม | ||
ความรักพี่สมัครสมาคม | ยังนิยมชมชิดติดใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | นางกุมภีล์เศร้าสร้อยละห้อยไห้ | ||
อาวรณ์ร้อนรุ่มกลุ้มใจ | ดังถ่านไฟฟืนสุมทุ่มทับ | ||
จนอยู่มิรู้ที่จะเจรจา | แค่พริบตาอ้าปากหงุบหงับ | ||
ลาผัวซบหัวลงคำนับ | คลานตะกุบตะกับกลับไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ แผละ | |||
๏ ครั้นถึงฝั่งคงคาก็ถาโถม | โดดโครมลงในแม่น้ำใหญ่ | ||
โบกหางวางว่ายว่องไว | ตรงไปสู่ที่ถ้ำทอง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ รูปร่างนางกลายเป็นมนุษย์ | โฉมงานบริสุทธิ์ผุดผ่อง | ||
เดินพลางครวญคร่ำร่ำร้อง | เข้าไปในห้องแล้วโศกี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ โอด | |||
ตอนที่ ๒ ไกรทองตามนางวิมาลากลับไปถ้ำ
๏ เมื่อนั้น | โฉมเจ้าไกรทองหมองศรี | ||
ครั้นนางวิมาลานารี | กลายเป็นภุมภีล์กลับไป | ||
ทั้งเสียดายทั้งรักเป็นหนักหนา | คิดติดขึ้นมาน้ำตาไหล | ||
ให้ละห้อยละเหี่ยเสียน้ำใจ | เหมือนบ้าใบ้ไม่เป็นสมประดี | ||
ภรรยามาเตือนให้ไปบ้าน | ยิ่งเดือดดาลดุดันหันหน้าหนี | ||
ชะนางตัวขยันขันสิ้นที | ช่างชวนกันด่าตีวิมาลา | ||
เหมือนแกล้งตีปลาหน้าไซ | เอออะไรมาคิดริษยา | ||
หวงแหนแสนร้ายรามา | จะปิดประตูค้าแต่ข้างเดียว | ||
เมื่อกี้พิ่มิห้ามนางกุมภา | ที่ไหนจะคณนาคาเขี้ยว | ||
ทั้งบ่าวไพร่ไม่ชั่วตัวเป็นเกลียว | นี่หากคิดนิดเดียวดอกกระมัง | ||
ว่าพลางทางเดินออกจากสวน | หุนหันปั่นป่วนคลุ้มคลั่ง | ||
เมียงามตามไปไม่อินัง | มายังบ้านพลันทันใด | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นถึงจึงขึ้นบนเคหา | จะอาบน้ำผลัดผ้าก็หาไม่ | ||
โมโหฮึดฮัดขัดใจ | เดินตรงเข้าไปในที่นอน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
ช้า | |||
๏ ทุ่มทอดตัวตนลงบนเตียง | เอนเอียงแอบอิงพิงหมอน | ||
คิดถึงวิมาลายิ่งอาวรณ์ | ทุกข์ร้อนร่ำไรไปมา | ||
ให้ผุดลุกผุดนั่งคลั่งเคลิ้มจิต | สำคัญคิดว่าอยู่ในคูหา | ||
งวยงงหลงเรียกวิมาลา | ขึ้นมานั่งนี่ด้วยพี่ชาย | ||
สัพยอกหยอกยุดฉุดหมอบข้าง | นึกว่านางพลางพลอดกอดก่าย | ||
ประคองขึ้นอุ้มแอบเป็นแยบคาย | แย้มยิ้มพริ้มพรายสบายใจ | ||
นั่งพินิจพิศดูรู้ว่าหมอน | ก็กลับกลิ้งนิ่งนอนถอนใจใหญ่ | ||
เอาผ้าห่มคลี่คลุมตัวไว้ | เหมือนป่วยเจ็บจับไข้ครวญคราง | ||
ได้ยินเสียงแมวไล่ตะครุบหนู | ชะเง้อชะแง้แลดูตามหน้าต่าง | ||
เหลือบแลเห็นเงาเสาหอกลาง | นึกว่านางวิมาลายาใจ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ จึงลุกจากเตียงเมียงออกมา | แย้มยิ้มพยักหน้าแล้วปราศัย | ||
พูดพลางทางหลงลูบไล้ | กอดเสาเข้าไว้ทั้งสองมือ | ||
ครั้นรู้ว่ามิใช่ก็ได้คิด | เอ๊ะผิดแล้วเราเสาดอกหรือ | ||
ทำแก้ขวยฉวยผ้ามากระพือ | แลดูขื่อว่าจะผูกคอตาย | ||
เห็นเมียมาฉุดชิงยิ่งขึ้งโกรธ | แกล้งโขยดยกตีนขึ้นปืนป่าย | ||
เคืองขัดวัดเหวี่ยงวุ่นวาย | เดินชายเชือนออกมานอกชาน | ||
แว่วเสียงไก่ขันสำคัญว่า | วิมาลามาเรียกก็ร้องขาน | ||
แลหาแห่งใดไม่พบพาน | งุ่นง่านอยู่คนเดียวเที่ยวมอง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลง | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางภรรยาทั้งสอง | ||
เห็นเจ้าไกรวิปริตผิดทำนอง | ค่อยย่องตามมาแล้วว่าไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
เย้ย | |||
๏ ชิชะหม่อมผัวตัวขยัน | เป็นไรนั่นกิริยาเหมือนบ้าใบ้ | ||
เมื่อกี้กอดเสาเข้าทำไม | พูดอะไรเลื่อนเปื้อนเหมือนละเมอ | ||
แล้วฉวยผ้ามาจะผูกคอตาย | ทำตะเกียกตะกายเก้อเก้อ | ||
ไม่อดสูผู้คนบ่นเพ้อ | คลั่งไคล้ไหลเล่อลืมตน | ||
อย่าสงสัยไม่ผิดปากว่า | จะเป็นบ้าเที่ยวเดินกลางถนน | ||
เสียแรงเรืองฤทธิ์เดชเวทมนตร์ | ฝูงคนเขาจะกลุ้มรุมล้อ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
(บทจำอวดแทรก) | |||
๏ ครั้นถึงจึงพังพาบกราบไหว้ | เอาอ้อยควั่นมาให้ห้าหกข้อ | ||
(บทนาง) | |||
จงออกไปวัดวาหาท่านขรัว | รักษาตัวรดน้ำมนต์เสียสักหม้อ | ||
จับมงคลใส่สวมกรวมคอ | แต่พอสร่างสระปะทะปะทัง | ||
(บทจำอวดแทรก) | |||
ลองกินดูสักทีแม้นมิพอ | จะต้องเล่นมะละกอกับแกงฟัก | ||
(บทนาง) | |||
หรือไปอยู่สู่สมนางจระเข้ | ถูกเสน่ห์ยาแฝดของเขาขลัง | ||
น่าจะเป็นเช่นนั้นดอกกระมัง | หรือกลัดกลุ้มคลุ้มคลั่งประรังควาน | ||
(บทจำอวดแทรก) | |||
หรือลงไปในท้องคลองเล่นจ้องเต | ให้เมียจระเข้ขึ้นขี่หลัง | ||
(บทนาง) | |||
ชะรอยฝีท้องเลวในเหวถ้ำ | เข้าประจำผัวข้ามาถึงบ้าน | ||
จะเสียผีพลีบัตรปัดกบาล | กวาดข้าวเปลือกข้าวสารส่งไป | ||
(บทจำอวดแทรก) | |||
ชะรอยผีพระประแดงแขวงปากน้ำ | เข้าประจำเจ้าประคุณจึงงุ่นง่าน | ||
(บทนาง) | |||
ว่าพลางทางหัวเราะเยาะเย้ย | ยังหาเคยพบเห็นเช่นนี้ไม่ | ||
เอามือตีอกทำตกใจ | ยั่วเย้าเจ้าไกรไปมา | ||
(บทจำอวดแทรก) | |||
แกงหมูปูทะเลเทเสียสิ้น | มางมกินกบเขียดไม่เกลียดหรือ | ||
ช่างไม่อายพวกลาวชาวอัตปือ | ตบมือหัวเราะเฮฮา | ||
ฯ ๑๘ คำ ฯ เจรจา | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองยิ้มถลางทางว่า | ||
รับแพ้แล้วนางแม่ค้าปลา | จะขีนขัดอัธยาไปไยมี | ||
น่าจะจริงของน้องต้องเสน่ห์ | เจ้าเคยคบจระเข้มาก่อนพี่ | ||
รู้ระแบบแยบยลกลกุมภีล์ | เห็นทีจะเป็นบ้าเหมือนว่าจริง | ||
พี่ไปอยู่คูหาห้าหกวัน | ผีบ้าอะไรนั่นมันเข้าสิง | ||
ให้หลงใหลแต่จะใคร่แอบอิง | ถึงผู้หญิงผู้ชายก็คล้ายกัน | ||
จริงหรือหาไม่เจ้าตะเภาแก้ว | หม่อมพี่สาวคราวแล้วอย่างไรนั่น | ||
เสียจริตติดใจชาลวัล | ป่วนปั่นเป็นบ้ายิ่งกว่านี้ | ||
ใครเล่าเจ้าเอ๋ยช่วยรักษา | จนหายบ้าได้เสียเป็นเมียพี่ | ||
กลับมาเยาะเย้ยหยันขันสิ้นที | ร้อยสีร้อยอย่างช่างเจรจา | ||
เอออะไรใส่ความว่าผีเข้า | ผีห่าไหนใครเล่ามาเข้าข้า | ||
ผีชาลวันผัวตัวหยาบช้า | ตามมาหาเจ้าตะเภาทอง | ||
อย่าเย้ยเยาะทะเลาะเล่นเช่นนั้น | ชาลวันขัดใจจะไล่ถอง | ||
จงมาต้อนรับประคับประคอง | ชวนชมสมสองให้ต้องใจ | ||
ว่าพลางฉวยฉุดยุดหยอก | ผัวเก่าเจ้าดอกอย่าผลักไส | ||
นางน้องสาวก็อย่าอื้อฉาวไป | เจ้ามิใช่ภรรยาชาลวัน | ||
จำเพาะพี่กับเจ้าตะเภาทอง | เคยรับรองคล่องอยู่เป็นคู่ขัน | ||
ต่อเมื่อไรผีออกจะบอกกัน | จึงกระนั้นกระนี้กับพี่ชาย | ||
ฯ ๑๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สองนางตาลเดือดไม่เหือดหาย | ||
จึงว่าผีเจ้าเล่ห์เพทุบาย | แยบคายของเจ้าข้าเข้าใจ | ||
เกิดขี้คร้านรำคาญหูจู้จี้ | ไม่พอที่จะต่อยามความไถ | ||
ทำเคียดแค้นแสนค้อนเจ้าไกร | แล้วแกล้งเดินเข้าไปเสียในเรือน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองว่องไวใครจะเหมือน | ||
เห็นเมียแสร้งใส่จริตบิดเบือน | เดินหนีเข้าเรือนก็รู้ใจ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
ปีนตลิ่ง | |||
๏ จึงค่อยย่างย่องมองเมียง | มานั่งลงบนเตียงเคียงไหล่ | ||
ทำเป็นโกรธาว่าไป | เอออะไรพี่น้องสองนาง | ||
ค้าคารมเปรี้ยงเปรี้ยงเสียงแปร้น | ขัดใจจะใคร่แพ่นลงสักผาง | ||
มีแต่จะจัณฑาลรานทาง | ถากถางทะเลาะเพราะสิ้นที | ||
เที่ยงนางกลางคืนก็ครื้นเครง | นี่หากเกรงใบบุญท่านเศรษฐี | ||
หาไม่ที่ไหนนั่นวันนี้ | ฟ้าผี่เถิดนะไม่ละกัน | ||
ทีนี้ก็แล้วไปเถิดไม่ว่า | เวทนาจะเงือดดงดอดกลั้น | ||
ถ้าคราวหลังยังเป็นอยู่เช่นนั้น | จะวิวาทขาดกันเสียมั่นคง | ||
ว่าพลางร่ายมนต์มหาละลวย | เป่าไปให้งงงวยลุ่มหลง | ||
แล้วหยิบพัดไล่ยุงเอามุ้งลง | ชวนน้องสองอนงค์ให้หลับนอน | ||
สัพยอกหยอกหยิกซิกซี้ | ถ้อยทีดีกันเหมือนแต่ก่อน | ||
อุตส่าห์แก้ตัวตนพ้นโทษกรณ์ | สโมสรเป็นสุขทุกนิรันดร์ | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ โลม | |||
ช้า | |||
๏ วันเอยวันหนึ่ง | คิดถึงวิมาลาสาวสรรค์ | ||
ป่านนี้จะครวญคร่ำรำพัน | ทุกข์ร้อนนอนฝันถึงพี่ชาย | ||
จำกูจะตามลงไป | โลมเล้าเอาใจให้เหือดหาย | ||
นึกคะนึงถึงเมียยังเสียดาย | จะทิ้งให้เป็นม่ายเสียทำไม | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ คิดพลางทางมีวาจา | เรียกสองภรรยาเข้ามาใกล้ | ||
ลูบหลังโลมเล้าเอาใจ | พูดไถลหว่านล้อมอ้อมวง | ||
แต่พี่นึกนึกจะปรึกษา | กลัวจะว่าใจหนุ่มลุ่มหลง | ||
ที่จริงเป้นความตามตรง | เจ้าจงคิดดูให้จงดี | ||
ชวนกันตบตีวิมาลา | ด่าว่าร้อยอย่างจนนางหนี | ||
เกลือกว่าพวกพ้องกุมภีล์ | จะผูกไพรีมนุษย์ไป | ||
พี่คิดว่าจะไปไกล่เกลี่ย | ให้นางหายโกรธเสียจึงจะได้ | ||
หาบุญพี่ไม่เบื้องหน้าไป | มนุษย์ก็จะได้อยู่สบาย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พี่น้องสองนางโฉมฉาย | ||
ได้ฟังนั่งยิ้มพริ้มพราย | น้อยหรือนั่นแยบคายขยันจริง | ||
สารพัดผันผ่อนย้อนยอก | ลวงหลอกเลี้ยวลดปดผู้หญิง | ||
นี่แน่ะคะหม่อมไกรมิใช่ลิง | จะลวงให้กินขิงกับเกลือ | ||
ชะช่างพูดจาว่าขาน | ดังน้ำอ้อยน้ำตาลหวานเหลือ | ||
ยังไม่มันคั้นกะทิใส่เจือ | คงจะเชื่อถ้อยคำของเจ้าคุณ | ||
ไปไหนไปเถิดไปขืนขัด | จะทานทัดก็เครื่องจะเคืองขุ่น | ||
เหมือนปล่อยปลาปล่อยเตาเสียเอาบุญ | จะช่วยรุนไสส่งลงไป | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองข้องขัดอัชฌาสัย | ||
ได้ฟังภรรยาว่าถูกใจ | ยิ้มแห้งแกล้งไถลไปตามจน | ||
ปลาเต่าเอาอะไรมาบ่นบ้า | ไม่เลือกหน้าเลยนางสร้างกุศล | ||
จริงหรือจะเสือกไสเสียให้พ้น | แล้วจะชวดสวดมนต์ดอกกระมัง | ||
ถึงพี่ไปก็ไม่อยู่ช้า | จะกลับมาให้ทันทีข้างนี้มั่ง | ||
อย่าเสียดสีทีทำแต่ลำพัง | เหลือกำลังหนักนักจะยักตาม | ||
ว่าพลางลูบหลังแล้วสั่งเสีย | ดีใจด้วยเมียไม่หวงห้าม | ||
ฉวยชักผ้าห่มชมว่างาม | ลวนลามเลี้ยวลอดสอดคว้า | ||
นี่อะไรค้อนควักผลักพี่ | ไม่พอที่กันเองก็อิจฉา | ||
แต่เวียนเฝ้าเย้าหยอกภรรยา | จนเวลาจวนแจ้งแสงทอง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ จีงลุกขึ้นเปิดมุ้งยุงขบ | เดินตบไหล่พลางย่องย่อง | ||
มาอาบน้ำในระเบียงเตียงรอง | แล้วกลับคืนเข้าห้องแต่งตัว | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นเสร็จสั่งสองนารี | เปรมปรีดิ์กระหยิ่มยิ้มหัว | ||
ลงบันไดเดินออกนอกรั้ว | เช้ามืดขมุกขมัวรีบมา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
สามเส้า | |||
๏ ครั้นถึงฝั่งวังวนชลธาร | จึงโอมอ่านอาคมคาถา | ||
แล้วจุดเทียนชัยมิได้ช้า | คงคาแหวกช่องเป็นปล่องเปลว | ||
เจ้าไกรทองด่วนเดินมาตามทาง | น้ำแห้งแข็งกระด้างไม่ไหลเหลว | ||
มีดหมอเหน็บมั่นกับบั้นเอว | ตรงไปปากเหวถ้ำทอง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
ร่าย | |||
๏ ค่อยย่องเข้าไปดังใจจง | สำคัญมั่นคงไม่หลงห้อง | ||
หยุดยืนแฝงม่านเมียงมอง | ดูทำนองวิมาลาจะว่าไร | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
โอ้ปี่ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาเศร้าสร้อยละห้อยไห้ | ||
กอดเข่าเจ่าจุกเป็นทุกข์ใจ | เหมือนบ้าใบ้นั่งบ่นอยู่คนเดียว | ||
ยังเจ็บใจด้วยอีพี่น้อง | ให้ขัดข้องเคืองขุ่นฉุนเฉียว | ||
แค้นนักดังอัคคีจี้เจียว | มันไส้จะใคร่เคี้ยวเนื้อกิน | ||
เหตุผลเป็นต้นเพราะผัวใหม่ | พาไปให้เมียดูหมิ่น | ||
ช่างโป้ปดลดเลี้ยวเล่นลิ้น | ไม่มีชิ้นชาติชายเท่าใยยอง | ||
เพี้ยงเอ๋ยผีสางเทวดา | ที่รักษาถ้ำเหวเปลวงปล่อง | ||
จงดลจิตดลใจเจ้าไกรทอง | ให้หลงลงมาลองอีกสักคราว | ||
จะตัดพ้อต่อว่าประดาเสีย | ให้สมที่อีเมียมันรังหยาว | ||
จะหยิกข่วนให้เจ็บด้วยเล็บยาว | เลือดมิชาวโซมอยู่ก็ดูเอา | ||
แล้วขุกคิดขึ้นมาถึงชาลวัน | ยิ่งวิโยคโศกศัลย์สร้อยเศร้า | ||
เมื่อยามยังอยู่เป็นคู่เคล้า | ไม่อาทรนอนเปล่าเปลี่ยวใจ | ||
ไหนอีตะเภาแก้วตะเภาทอง | จะจาบจ้วงจองหองกับน้องได้ | ||
ทุกข์ร้อนรำพึงตะลึงตะไล | ครวญคร่ำร่ำไรไปมา | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองแฝงม่านเมียงหน้า | ||
เข้าใจในทีวิมาลา | ยิ้มพลางทางว่าไปทันใด | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
ยานี | |||
๏ พี่คือเทวาสุราฤทธิ์ | ซึ่งสถิตในถ้ำต่ำใต้ | ||
เห็นนางโศกีพิรี้พิไร | คิดพะวงสงสัยจะใคร่รู้ | ||
เดิมสิตามไปกับไกรทอง | ทำไมกลับมาร้องไห้อยู่ | ||
หรือเขาขู่เข็ญไม่เอ็นดู | อุปถัมภ์ค้ำชูไม่ถึงที่ | ||
จึงมานั่งบ่นหาชาลวัน | ต้องการอะไรนั่นกับผัวผี | ||
ถึงจะเข้มแข็งขันขยันดี | ไหนจะรอดชีวีคืนมา | ||
จงอุตส่าห์ฝากตัวผัวใหม่ | รักใคร่ข้างนี้จะดีกว่า | ||
ถ้าเชื่อคำทำตามเทวดา | จะดลใจให้มาประเดี๋ยวนี้ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาสะดุ้งจิตคิดบัดสี | ||
รู้ว่าหม่อมผัวตัวดี | ลงมาเมื่อไรนี่ไม่ทันรู้ | ||
สาละวนินทาว่าร้าย | ให้สะเทินเขินอายอดสู | ||
แก้เก้อนั่งกัดปูนพลู | ก้มแกะเล็บอยู่ไม่เจรจา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองย่องเดินเข้าไปหา | ||
ทำเป็นไม่เห็นวิมาลา | แหงนเงยเฉยหน้าแล้วว่าไป | ||
ใครนินทาว่าร้ายเราเมื่อกี้ | ประเดี๋ยวใจไพล่หนีไปข้างไหน | ||
ถ้าแม้นพบปะไม่ละไว้ | จะทำให้คุ้มค่านินทากัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ปีนตลิ่ง | |||
๏ อ่อนั่งอยู่นี่เจียวสิหว่า | หน้าตาคนเก้อนี้ดูขัน | ||
ก้มแกะเล็บเล่นอยู่เช่นนั้น | จะหักลันเสียเปล่าไม่เข้าการ | ||
พี่รักเจ้านักหนาลงมาใหม่ | จะเกลี่ยไกล่ว่ากล่าวที่ร้าวฉาน | ||
มิให้ร้างค้างเขินเนิ่นนาน | จะสมัครสมานไมตรี | ||
เจ้าอย่าแค้นขัดสบัดสะบิ้ง | นั่งนิ่งเสียมั่งจงฟังพี่ | ||
เหมือนถ่านไฟเก่าเถ้ายังมี | เป่าขึ้นคงอัคคีจะติดเชื้อ | ||
ไหนไหนก็รู้เช่นได้เห็นฤทธิ์ | กระบวนกระบิดอย่าทำให้ล้ำเหลือ | ||
น้อยหรือนั่นยังไม่ทันจะถูกเนื้อ | สะดุ้งเผื่อไปก่อนแสนงอนจริง | ||
ทั้งระแบบแยบคายก็หลายอย่าง | สมที่สมทางท่านผู้หญิง | ||
ว่าพลางผินหลังเข้านั่งอิง | สะบัดสะบิ้งวิ่งหนีพี่ไย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาหุนหันหมั่นไส้ | ||
เคืองขัดสะบัดผ้าแล้วว่าไป | น้อยหรือนี่มาได้ช่างไม่กลัว | ||
เมื่อจะมาได้ลาแล้วหรือยัง | หม่อมเมียจะคลั่งถึงหม่อมผัว | ||
ข้างบ้านปานนี้จะสั่นรัว | แต่ละคนไม่ชั่วข้ากลัวใจ | ||
ขยันยิ่งจริงเจ้าตะเภาหลวง | หึงหวงสารพัดผลัดกันได้ | ||
มิเสียแรงแกล้งกลั่นสรรไว้ | ชอบใจหม่อมผัวล้วนตัวเป็น | ||
ทีนี้หรือขึ้นชื่อว่ามนุษย์ | จนสิ้นสุดเหล่ากอไม่ขอเห็น | ||
อย่าปลิ้นปลอกหลอกลวงด้วยน้ำเย็น | ได้รู้เช่นเห็นหมดที่คดตรง | ||
จริงแล้วคะกะได้ถ่านไฟเก่า | อย่าพักเป่าเฝ้าก่อจนคอก่ง | ||
มันมอดหมดไม่ติดดังจิตจง | จะซานซมงมหลงลงมาไย | ||
เชิญไปเสียเถิดให้พ้นห้อง | จะลวงน้องได้อีกอย่าสงสัย | ||
เถิดเท่านั้นแล้วก็แล้วไป | ข้ากลัวใจเจ้าจอมหม่อมเมีย | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ กัลเอยกัลยา | ช่างตัดพ้อต่อว่าประดาเสีย | ||
พี่มิใช่ชายชั่วที่กลัวเมีย | จะลงมาไกล่เกลี่ยเสียให้ดี | ||
พี่น้องสองราก็สารภาพ | เข็ดหลาบแล้วเจ้าไม่จู้จี้ | ||
ยังกระเดื่องกระด้างแต่ข้างนี้ | ด้วยท่วงทีจริตนั้นติดงอน | ||
ถึงยังกำลังเดือดไม่เหือดไห้ | จะโลมเล้าเจ้าไปกว่าจะอ่อน | ||
อย่าสะบิ้งสะบัดตัดรอน | หย่อนหย่อนเสียมั่งฟังพี่ชาย | ||
อันธรรมดาสตรีมีผัว | ค่อยยังชั่วกว่าเช่นที่เป็นม่าย | ||
ไม่มีคนข่มเหงคะเนงร้าย | ไปไหนไปง่ายสบายใจ | ||
จงถอยหลังคิดดูอย่าจู้จี้ | ผัวร้างอย่างนี้หาดีไม่ | ||
ย่อมเป็นที่ติฉินกินใจ | บุราณว่าไว้ล้วนความจริง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ ลิ้นเอยลิ้นลม | น่านิยมย้อนยอกกลอกกลิ้ง | ||
สารพัดไพเราะเพราะพริ้ง | สมเป็นผัวท่านผู้หญิงบ้านบน | ||
ไวว่องคล่องขยันสันทัด | หลบหลีกมือหมัดไม่ขัดสน | ||
เคยชนะคะคานเพราะทานทน | เล่ห์กลของเจ้าข้าเข้าใจ | ||
จริงแล้วแกล้วกล้าประดาเสีย | ปราบเมียมิให้หือขึ้นได้ | ||
กระนั้นสิเมื่อเจ้าพาข้าขึ้นไป | เห็นเมียกลัวกระไรจนสั่นรัว | ||
เขาจึงตีจึงด่าข้าคนเดียว | วิ่งเลี้ยวไล่ตามข้ามคอผัว | ||
มาสับปลับกลับอ้างอวดตัว | ว่าเขากลัวสารภาพราบไป | ||
ได้อายเท่านั้นแล้วมิหนำ | ยังมาซ้ำเลี้ยวลดปดไปใหม่ | ||
ขี้คร้านตอบให้เหนื่อยเมื่อยขาตะไกร | จะปิดหูเสียไม่ขอได้ยิน | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ แสนเอยแสนงอน | ช่างแคะค่อนอุตริติฉิน | ||
ใส่จริตบิดเบือนเหมือนจะบิน | ล้วนหยิบชิ้นเชิงชั้นขยันดี | ||
พี่ไม่กลัวภรรยาเช่นว่าดอก | ใช่จะเหลือกตาหลอกได้เหมือนผี | ||
แต่เขาคิดเวทนาไม่ด่าตี | เท่านี้แลฮึกนึกว่ากลัว | ||
ถึงข้างเขาข้างเราก็เล่าแหละ | มันเกาะแกะกวนใจมิใช่ชั่ว | ||
โมโหมากปากคอพอตัว | ไม่จืดเจ้าเมามัวอยู่เหมือนกัน | ||
จะมากลับขึ้งโกรธโทษใคร | ข้าใช้ให้หึงหวงกันหรือนั่น | ||
พี่ก็ว่าชี้แจงเป็นแพ่งธรรม์ | แต่ละคนดึงดันไม่เงือดงด | ||
จึงนิ่งดูทีใครจะดีกว่า | ล้วนเหล็กกล้าขยันเหมือนกันหมด | ||
ยังไม่หนำซ้ำมาเปรียบประชด | ว่าข้าปดก็ตกนรกเอง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ น่าเอยน่าหัว | อย่าปลิ้นปลอกออกตัวไม่เหมาะเหมง | ||
เกิดวิวาทบาดทะเลาะครื้นเครง | เพราะหม่อมผัวชั่วเองหรือเพราะใคร | ||
จะขว้างงูดูถูกอสรพิษ | มันจะผิดพ้นคอไปข้างไหน | ||
แยบคายของเจ้าข้าเข้าใจ | จูงมาจูงไปเป็นคนกลาง | ||
เมื่อข้ากลับกลายรูปเป็นกุมภีล์ | เจ้าขับเหมือนขับผีขับสาง | ||
เข้าประคับประคองแต่สองนาง | กอดไว้คนละข้างไม่ห่างไกล | ||
ยอดรักของเจ้าตะเภาทอง | ดังจะล่องลอยฟ้าไม่หาได้ | ||
สาวพรหมจารีดีสุดใจ | ไม่มีใครถูกต้องพ้องพาน | ||
หม่อมไกรได้ชมสมสอง | เหมือนได้นางรูปทองไว้ที่บ้าน | ||
จะคุ้มโทษโทษาห้าประการ | อัปรีย์สีกบาลไม่มีเลย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เอวเอยเอวบาง | ชะช่างชูเชิดเปิดเผย | ||
สารพัดผ่อนปรนเป็นคนเคย | ไม่ลืมเลยลิ้นลมคมชิด | ||
เจนจัดหัดมาแต่ชาลวัน | หลายชั้นเชิงชวนกระบวนกระบิด | ||
มิใช่ชายเจ้าชู้รู้ฤทธิ์ | จะสิ้นคิดติดกุกอยู่ทุกคน | ||
นี่หากพี่เองรู้เพลงน้อง | จึงตามรอยคล้อยคล่องไม่ขัดสน | ||
อันนางตะเภาทองทำนองคน | แยบยลไม่เท่ากุมภีล์ใน | ||
เจ้าสิกลับกลายได้หลายอย่าง | รู้ทางจะหนีทีจะไล่ | ||
สันทัดจัดเจนอยู่ในใจ | มนุษย์หรือจะได้เหมือนเช่นนี้ | ||
พี่ก็ยังต้องจิตติดใจอยู่ | อุตส่าห์สู้ซังตายมาถึงนี่ | ||
เจ้าตัดรอนค่อนได้ไม่ไยดี | เพราะผิดที่ทำนองไม่ต้องใจ | ||
ถ้าพี่เป็นเทวาสุราฤทธื | จะนิมิตชาลวันขึ้นให้ใหม่ | ||
จะปิดทองทั้งตัวให้ทั่วไป | นั่นแหละจะชอบใจวิมาลา | ||
จะสาปสรรเสียบ้างเหมือนอย่างนี้ | กุมภีล์ร้ายกาจไม่ปรารถนา | ||
เจ้ากระบิดกระบวนมารยา | แต่เล็กมาจนใหญ่พึ่งได้พบ | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ | |||
๏ หม่อมเอยหม่อมผัว | มิใช่เช่นชายชั่วหัวประจบ | ||
รู้วิชาเชี่ยวชาญชำนาญครบ | ใครใช้ให้มาคบกับกุมภา | ||
ใครอวดว่าข้าชาวสวรรค์หรือ | จึงซมซานด้านดื้อลงมาหา | ||
ใครชักใครจูงจมูกมา | ใครเรียกใครหาใครแนะนัด | ||
ไม่รู้หรือว่าชาติเดียรฉาน | มาสมานสมาคมสมสัตว์ | ||
ทำให้เสียเสื่อมเวทมนตร์ชะงัด | สารพัดอัปรีย์ก็มีมา | ||
เจ้าช่างคิดนิมิตชาลวัน | จะเอาไว้ไยนั่นในคูหา | ||
เอาไปฝากนวลน้องทั้งสองรา | ขอทยาของเจ้าตะเภาทอง | ||
นี่เอาไปฝากเจ้าตะเภาแก้ว | ดีแล้วช่วยทำฉล่ำฉลอง | ||
เสียแรงหม่อมผัวนิมิตปิดทอง | ทั้งสองจะได้ไม่เร่งรัด | ||
ทำไมมิให้คิดถึงผัวเก่า | ถึงโฉดเฉาก็ตรงคงในสัตย์ | ||
ไม่โกหกพกลมเลี้ยวลัด | ชั่วช้าสารพัดเหมือนมนุษย์ | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ น้อยเอยน้อยหรือ | ยังจะรื้อกวนใจมิให้หยุด | ||
จริงแล้วเจ้าเฝ้าติผัวมนษย์ | ไม่เหมือนหม่อมนักกะผุดผัวนาง | ||
ทั้งซื่อทั้งสัตย์สารพัดดี | ไม่มีคดคอดตลอดทาง | ||
ถึงเมื่อวันจะตายวายวาง | ก็ไม่ว่างเว้นสวาทขาดแคลน | ||
กระนั้นสิจึงร่านรนบ่นหา | เพราะดีกว่าชายอื่นสักหมื่นแสน | ||
ทั้งบกเรือเหนือใต้ในแว่นแคว้น | จะหาแทนผัวเก่าไม่เท่าทัน | ||
อันตัวพี่นี้สักแต่ว่าชาย | แยบคายคลายอยู่ไม่สู้ขยัน | ||
พึ่งจะได้พบพานงานประชัน | ชั่วกว่าชาลวันทุกสิ่งไป | ||
เจ้าจึงตัดขาดไม่ปรารถนา | จะนัดแนะให้มาก็หาไม่ | ||
แต่ข้างพี่ยังมีเยื่อใย | ติดใจอยู่มั่งจึงซังตาย | ||
ไม่เห็นเลยว่าจะเฉยเสียเช่นนี้ | ทำให้พี่แสบท้องอยู่จนสาย | ||
น่าจะมีสักสิ่งเป็นลิงลาย | รักซ้อนซ่อนร้ายไว้ภายใน | ||
หนุ่มหนุ่มกุมภีก็มีตรึก | มันจะเป็นเช่นนึกหาผิดไม่ | ||
เดิมทีพี่มาพาขึ้นไป | สำคัญใจว่ารักกันจริงจริง | ||
ไม่นึกแหนงว่าจะแกล้งไปเอาเหตุ | ไม่สังเกตสังกามารยาหญิง | ||
ทำกระบวนรวนเรประเว่ประวิง | ดีจริงแล้วจะได้เห็นกัน | ||
กุมภาผัวเจ้าเล่าลือชื่อ | ตายเพราะฝีมือของใครนั่น | ||
เถิดหรือให้ไปตามชาลวัน | ทำขบฟันแล้วเดินเมินออกมา | ||
ฯ ๑๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาฉวยฉุดยุดคร่า | ||
ทำกระบวนข่วนหยิกด้วยมารยา | นี่ร่ำลาใครแล้วหรือจะไป | ||
เอออะไรอกเอ๋ยไม่เคยเห็น | เชิงเช่นเจ้าจอมหม่อมผัวใหม่ | ||
มาพาโลโพคลุมกลุ้มใจ | สารพัดเสกใส่วิมาลา | ||
ไหนจะพาขึ้นไปให้เมียสับ | ยังมิหนำซ้ำกลับมาด่าว่า | ||
เดิมทีที่วิวาทวาทา | เพราะข้าพาลทะเลาะหรือเพราะใคร | ||
เมียหม่อมมาชี้หน้าด่าทอ | ไสคอข้าก่อนจริงหรือไม่ | ||
หยาบหยามข้ามหัวหม่อมผัวไป | หูหางช่างกระไรไม่ได้ยิน | ||
เขารุมกันตีด่าข้าอึงอื้อ | ตาเจ้าบอดไปหรือไม่เห็นสิ้น | ||
เหตุว่ารักแล้วก็พาบิน | ขังแล้วถมดินให้โทรมทรุด | ||
ได้เอียงแล้วกระไรให้จนล่ม | ได้ชมแล้วกระไรให้สูงสุด | ||
จับได้ไหนนั่นข้อพิรุธ | ที่ทุจริตคิดนอกใจ | ||
จะไว้ใยกับอีวิมาลา | ทำตามโทษาอย่าปราศรัย | ||
ว่าเล่นเปล่าเปล่าแล้วจะไป | ข้ายังไม่ให้ไคลคลา | ||
เชิญชี้ชายชู้ข้าดูก่อน | ได้แล้วจะนอนลงให้ฆ่า | ||
แกล้งพาลพาโลโกรธา | นี่หม่อมเมียสอนมาข้าเข้าใจ | ||
มิห้ำหั่นฟันข้าให้ย่อยยับ | อันตะให้เจ้ากลับอย่าสงสัย | ||
ว่าพลางครวญคร่ำร่ำไร | ฉุดชายผ้าไว้ไม่วางมือ | ||
ฯ ๑๘ คำ ฯ | |||
๏ งอนเอยงอนชล | เอ๊ะอ่อนหย่อนพยศลงแล้วหรือ | ||
เจ้าสิแสนคมคารมลือ | ทำไมมายุดยื้อข้าไว้ไย | ||
ข้าเป็นคนพาทีไม่มีสัตย์ | ไม่จัดเอาจริงสักสิ่งได้ | ||
จะมาบีบน้ำตาเอาข้าไย | ข้าทำสิ่งไรให้เคืองตา | ||
เป็นไรมิโลดเต้นเล่นตัว | เย้ายั่วเยื้องยักให้หนักหนา | ||
จนออกเข็ดคารมระอมระอา | มันไม่น่าแล้วคะข้าจะไป | ||
ทั้งสองเมียสามเมียมิเสียแรง | ปากกล้าหน้าแข็งคารมใหญ่ | ||
เจ้ากระบิดกระบวนกวนใจ | เอาไว้ไยหย่าเสียนางเมียงาม | ||
จะหาใหม่ให้ดุขึ้นกว่านี้ | อีกสักสี่ห้าคนให้พ้นสาม | ||
แน่เจ้าจะมีใหม่มั่งก็ตาม | แต่ให้งามสมหน้าเหมือนชาลวัน | ||
นิ่งอยู่ไยเล่าเจ้าคนคม | มิค้าคารมอมอะไรไว้นั่น | ||
ทำหน้าบูดบี้งเห็นขึงครัน | ใครบอกบุญสุนธรรม์ไม่ศรัทธา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | นางเลื่อมลายวรรณอยู่ในคูหา | ||
ได้ยินไกรทองวิมาลา | วิวาททากันอื้ออึง | ||
คารมข้างนางเมียก็ไม่ชั่ว | ข้างเจ้าผัวก็ไปไม้หนึ่ง | ||
ถ้อยทีดีขยันดันดึง | นางจึงลุกเดินออกไปดู | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลง | |||
๏ เยี่ยมเยี่ยมมองมองแล้วร้องว่า | อะไรนี่บ่นบ้าน่าหนวกหู | ||
ทั้งหม่อมเมียหม่อมผัวล้วนตัวรู้ | ไม่อดสูผีสางบ้างเลย | ||
จะสาวไส้ให้การแย่งแร้งทึ้ง | อื้ออึงมันไม่ดีนะพี่เอ๋ย | ||
ใช่จะแกล้งแสร้งซ้ำปรำเปรียบเปรย | พี่ก็เป็นคนเคยคนเข้าใจ | ||
จะมายืนฟื้นฝอยหาตะเข็บ | หยิกเล็บจะเจ็บเนื้อหรือหาไม่ | ||
เมื่อกินอยู่ที่ลับแล้วเป็นไร | จะมาไขกลางแจ้งให้แพร่งพราย | ||
จะพลอยให้เพื่อนเมียเสียรังวัด | ถ้าฉวยพลัดขาดลอยสิคอยหาย | ||
ยิ่งจะลือระยำซ้ำร้าย | เป็นสองม่ายสามม่ายน่าอายใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาตอบพลางทางค้อนให้ | ||
อุแม่เอ๋ยเจ้าจอมเมียหม่อมไกร | ออกมาได้สอนสั่งตั้งกระทู้ | ||
น้อยหรือห้ามปรามเหมือนหนามเหน็บ | มันปวดเจ็บเหลือแล้วถึงแก้วหู | ||
นางไม่มีที่ชั่วผัวเอ็นดู | นี่เจ้ารู้อะไรมาเจรจา | ||
ชอบจะช่วยกันเจ็บเก็บใส่ใจ | นานไปเผื่อจะเป็นเหมือนเช่นข้า | ||
จะได้จดจารึกไว้ตรึกตรา | ไหนไหนก็ราคาเดียวกัน | ||
จริงแล้วหรือคะข้าเป็นคนโฉดเขลา | ไม่เหมือนเจ้าดีหมดช่างอดกลั้น | ||
อย่าพักพูดร้อยบทประชดประชัน | แต่เพลาเพลาเท่านั้นเถิดเป็นไร | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองร้องว่าอัชฌาสัย | ||
วิมาลาเมียข้าแล้วเหลือใจ | เหมือนหนามไหน่เกะกะระรั้ว | ||
พบปะหน้าไหนใส่เอาหมด | ไม่ละลดทะเลาะคนเสียจนทั่ว | ||
ตะกิ่งตะกายเงี่ยงงารอบตัว | ความวัวยังไม่หายความควายมา | ||
เถิดซิตามถนัดไม่ขัดขวาง | ทั้งสองข้างวางกันให้หนักหนา | ||
ใครคารมสมควรราคา | จะเปลื้องผ้าคาดพุงออกรางวัล | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาตอบไปขมีขมัน | ||
เอออะไรเขาว่าประสากัน | หม่อมผัวตัวสั่นออกเถียงแทน | ||
สาระวอนค่อนว่าประดาเสีย | ให้หม่อมเมียได้หน้าขึ้นกว่าแขน | ||
เจ็บใจใครมั่งจะไม่แค้น | นี่แหละแม่นแท้ว่าเป็นตราชู | ||
จริงแล้วข้าหมอความเหมือนหนามใหม่ | แต่กระนั้นเกี่ยวไว้ยังไม่อยู่ | ||
พูดจาพล่อยพล่อยร้อยประตู | เหมือนใครไม่รู้ไม่เข้าใจ | ||
ถึงคราวจะหยิบผิดไม่คิดหน้า | เงี่ยงงาสารพัดพูดได้ | ||
เจ้าเอ๋ยจงถนอมหม่อมเมียไว้ | อย่าให้ใกล้เคียงกับเงี่ยงงา | ||
ชะนางคนดีไม่มีชั่ว | เอาหม่อมผัวออกตั้งเป็นตั้งหน้า | ||
นานไปจะขึ้นถึงหลังคา | หน้าตาตละชาดเลือดฝาดแดง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางเลื่อมลายวรรณเถียงเสียงแข็ง | ||
ช่างไม่ขันดันแดกแหกกระแชง | มาตะแคงแว้งวัดเอากันเอง | ||
เห็นอื้ออึงจึงออกมาห้ามปราม | กลับใส่ถ้อยร้อยความไม่เหมาะเหม็ง | ||
ข้าเป็นคนเจียมตัวกลัวเกรง | ไม่เป็นโตงเป็นเตงน่าอายใจ | ||
เออจะเอาอะไรมาขึ้นหน้า | เป็นแขนเป็นวาช่างว่าได้ | ||
ทำคุณบูชาโทษโหดไร้ | สารพันสรรใส่ไม่ไว้วาง | ||
มาดูหน้าข้าเถิดท่านผู้หญิง | มันแดงจริงยิ่งกว่าย้อมน้ำฝาง | ||
สำคัญว่าผัวรักยักลูกคาง | สาระดิ้งวิ่งวางไปตามลม | ||
ทำไมเล่าจึงมิเอาให้ขาดเด็ด | หรือไปปะบอระเพ็ดเข็ดขม | ||
กลับลงมาครางครืดผะอืดผะอม | ก็พอสมน้ำหน้าสาแก่ใจ | ||
เถิดคะรำคาญขี้คร้านทะเลาะ | นี่เนื้อเคราะห์มาเหยียบหนามใหม่ | ||
กระทืบเท้าลงส้นเดินบ่นไป | เข้าในห้องหับฉับพลัน | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
ปีนตลิ่ง | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองลิ้นลมคมสัน | ||
จึงว่านี่แน่เจ้าแต่เท่านั้น | อย่าป่วนปั่นหันหุนวุ่นวาย | ||
เขาก็เข็ดปากคอไม่ต่อสู้ | หนวกหูเต็มทีจนหนีหาย | ||
ยังตะบอยบ่นว่าบ้าน้ำลาย | เคียดแค้นแสนร้ายรามา | ||
จนเหงื่อย้อยเหงื่อไหลก็ไม่คิด | แป้งปูนแต่สักนิดไม่ติดหน้า | ||
มันงามเหลือแล้วเจ้าวิมาลา | หน้าตามอมแมมเหมือนแมวคราว | ||
อะไรเล่าเฝ้าชำเลืองเคืองค้อน | ทำแสนงอนทุ้งทิ้งยิ่งกว่าสาว | ||
ข่วนคนเจ็บเจ็บเจ้าเล็บยาว | น่าชังรังหยาวสุดใจ | ||
ไปเอนหลังเอนไหล่เล่นดีกว่า | นึกว่าสู่ขอเข้าหอใหม่ | ||
ว่าพลางจูงนางเข้าห้องใน | นั่งบนเตียงเคียงไหล่ไขว่คว้า | ||
อย่าฮึดฮัดวัดแว้งเครื่องแป้งจะหก | หยิบกระจกมาให้น้องส่องดูหน้า | ||
ช่วยตกแต่งแป้งกระแจะละลายทา | วิมาลาเคืองขัดปัดมือ | ||
นี่จะหยิกจะทึ้งไปถึงไหน | จะทำให้พี่ป่วยไปเสียหรือ | ||
ชักชายผ้าห่มหลุดยุดยื้อ | ถูกถือตามธรรมเนียมเลียมลอง | ||
คลื่นซัดอัศจรรย์ลั่นเลื่อน | สะท้านสะเทือนถ้ำเหวเปลวปล่อง | ||
เล้าโลมเลี้ยวลอดสอดคล้อง | ทั้งสองถ้อยทีปรีดา | ||
ฯ ๑๖ คำ ฯ โลม | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาสรวลเสเสน่หา | ||
คลึงเคล้าเย้ายวนชวนภัสดา | ให้พูดจาเรื่องราวเล่านิทาน | ||
ได้ยินข่าวเล่าลือมาจะแจ้ง | ว่านายแฟงกับนายฉิมอยู่ริมบ้าน | ||
หม่อมได้ฟังมั่งหรือไม่เขาไปงาน | โปรดประทานเล่าไปให้ฉันฟัง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองตรองตรึกนึกความหลัง | ||
เมื่อวันพระประนายฉิมที่ริมวัง | เข้าแฝงฟังพอเขาเล่าก็เข้าใจ | ||
จำเขาได้ดอกนะน้องสองสามมุก | พอแก้ทุกข์ขุกเข็ญเห็นจะได้ | ||
แล้วบ้วนปากคายหมากกระแอมไอ | เอาหมอนใส่หลังพิงแล้วอิงเอน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ พี่จะกล่าวราวเรื่องเนื่องมา | อารามร้างกลางนามีตาเถน | ||
อยู่สองคนในกุฏีไม่มีเณร | บิณฑบาตเช้าฉันเพลทุกวันไป | ||
องค์หนึ่งเที่ยวบิณฑบาตยาจนา | พอสีกาเขาแกงจุ๊บแจงใส่ | ||
จังหันหลายทารพีก็ดีใจ | กลับไปยังที่กุฏีพลัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ ครั้นถึงหอกลางก็วางบาตร | เชิงฉลาดจะหลีกหลยขบฉัน | ||
แม้นอยู่ให้หลวงตานั้นมาทัน | จะต้องปันแกงหอยนั้นน้อยไป | ||
พอแลเห็นตุ่มวางกลางกุฏี | เห็นท่วงทีจะลงฉันในนั้นได้ | ||
จึงหย่อนองค์ลงในตุ่มสุโขทัย | เอาแผ่นอิฐปิดไว้มิได้ช้า | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ จะกล่าวถึงเถนองค์หนึ่งนั้น | ได้จังหันนิดเดียวเที่ยวหนักหนา | ||
แหงนดูสุริย์ฉายสายเต็มประดา | ก็กลับมาถึงที่กุฏีพลัน | ||
คิดว่าเพื่อนยังไม่มาก็ด่าโผง | อ้ายตายโหงเที่ยวไปถึงไหนนั่น | ||
กูแสบท้องนักหนาไม่ท่ามัน | ขัดสมาธิ์สองชั้นเอาช้อนโพง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ ส่วนเถนในตุ่มนั้นฉันตะบอย | ทำปากตูดดูดหอยดังจุ๊บโจ่ง | ||
ตาเถนอยู่ข้างบนเห็นทะนนโคลง | มาเปิดอิฐปิดโอ่งเพ่งพิศ | ||
ส่วนเถนอยู่ในทะนนพ่นแกงเอา | ถูกเข้าที่หน้านัยน์ตาปิด | ||
เถนคงร้อนดิ้นแทบสิ้นชีวิต | เอ๊ะอะไรพ่นพิษแสบสุดใจ | ||
เถนองค์นั้นจึงถลันลุกออกมา | แล้วว่าข้าจะช่วยดับพิษให้ | ||
จึงเอาโอตักน้ำมาทันใด | รดลงไปที่หน้าตาเถนคง | ||
เห็นเพื่อนกันหายปวดซ้ำอวดรู้ | นี่ว่ากูได้คาถาตาบุญสง | ||
จึงแก้เอ็งไว้ไดไม่ปลดปลง | ที่นี้จงอุตส่าห์รักษาตัว | ||
เอ็งอย่าได้ไปมองที่ปากโอ่ง | อ้ายจุ๊บโจ่งมันร้ายมิใช่ชั่ว | ||
ตาเถนคงแจ้งจิตก็คิดกลัว | รักษาตัวอยู่ด้วยกันทุกวันเอย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | วิมาลาปรีด์เปรมเกษมสันต์ | ||
ชมว่าเพราะนักหนาน่ารางวัล | แต่กระนี้ดีครันขยันจริง | ||
ถ้าปะเขาหางานการของราษฎร์ | ส่งพิณพาทย์นายมีจะดียิ่ง | ||
ใช่ว่าเล่นเช่นหม่อนเธอพร้อมพริ้ง | ไปงานไหนได้ผู้หญิงวิ่งตามมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ้าไกรทองยิ้มพลางทางว่า | ||
ผู้หญิงหาไหนเฝ้าตามมา | คือผู้หญิงกุมภาที่ตามไป | ||
ไหนเล่าเจ้าจะตกรางวัลพี่ | หันหน้ามานี่จะบอกให้ | ||
สะกิดแก้มแนมนมชมสไบ | คว้าไขว่ยวนเย้าเฝ้าตอแย | ||
อัศจรรย์บันดาลอยู่บ่อยบ่อย | รสอร่อยมิได้จืดให้ชืดแช่ | ||
พิรุณร่วงตวงไว้จนเต็มแล้ | รักกันคุ้มแก่ไม่แชเชือน | ||
การสัมผัสเย้ายวนชวนชื่น | จะหาอื่นมาให้ไม่มีเหมือน | ||
หยุดสวาทขาดเพลาเข้ามาเตือน | มิได้เคลื่อนคลาดคลารารอ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
เชิงอรรถ
ที่มา
บทละครนอกเรื่องไกรทอง สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๐
(ขอขอบคุณ คุณพิกุลแก้ว สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน)