บทละครนà¸à¸à¹€à¸£à¸·à¹ˆà¸à¸‡à¹„ชยเชษà¸à¹Œ
จาก ตู้หนังสือเรือนไทย
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ข้อมูลเบื้องต้น == {{เรียงลำดับ|บทละครนอกรเืองชไย…') |
(→ตอนที่ ๔ อภิเษกพระไชยเชษฐ์) |
||
(การแก้ไข 3 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 8: | แถว 8: | ||
== บทประพันธ์ == | == บทประพันธ์ == | ||
===ตอนที่ ๑ นางสุวิญชาถูกขับไล่=== | ===ตอนที่ ๑ นางสุวิญชาถูกขับไล่=== | ||
+ | ==== ==== | ||
<tpoem> | <tpoem> | ||
+ | <sup>ช้า</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น องค์พระไชยเชษฐ์เรืองศรี | ||
+ | แต่มาอยู่ป่าพนาลี ได้เจ็ดราตรีทิวาวัน | ||
+ | ให้หมอเฒ่าเอาช้างไปเที่ยวค้น ทุกตำบลโป่งป่าพนาสัณฑ์ | ||
+ | ไม่ประสบพบช้างตัวสำคัญ จนสิ้นแดนเหมันต์พารา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | <sup>ปีนตลิ่ง</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อพระมเหสีจะมีเหตุ ให้เขม่นนัยน์เนตรทั้งซ้ายขวา | ||
+ | พระทอดถอนหฤทัยไปมา หวนรำลึกตรึกตราถึงเวียงวัง | ||
+ | สงสารสุวิญชาโฉมศรี เทวีมีครรภ์อยู่ข้างหลัง | ||
+ | จะประสูติลูกแก้วแล้วหรือยัง ไม่มีที่หวังที่ไว้ใจ | ||
+ | นางก็ไร้สุริย์วงศ์พงศ์เผ่า ใครจะเอาใจดูหูใส่ | ||
+ | จำจะเลิกพหลพลไกร กลับคืนเข้าไปยังพารา | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | คิดพลางทางสั่งเสนี จงตระเตรียมโยธีทั้งซ้ายขวา | ||
+ | เร่งรัดผูกช้างผูกม้า จะคืนเข้าพาราเวลานี้ | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น เสนีรับสั่งใส่เกศี | ||
+ | ออกมาจัดกันทันที พร้อมเสร็จดังมีพระบัญชา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น องค์พระไชยเชษฐ์ก็หรรษา | ||
+ | จึงสระสรงทรงเครื่องสุคนธา ทรงมหาภูษิตพรายพรรณ | ||
+ | ครั้นเสร็จเสด็จบทจร ขึ้นทรงอัสดรผายผัน | ||
+ | ให้ยกพวกพลช้างดั้นกัน คืนเข้าเหมันต์ธานี | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา กราวนอก เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงประทับม้าทรง เสด็จลงเกยแก้วมณีศรี | ||
+ | พอสิ้นแสงสนธยาราตรี จรลีเข้ายังวังใน | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น เจ็ดนางนารีศรีใส | ||
+ | แจ้งเหตุว่าเสด็จมาแต่ไพร ดีใจเปรมปริ่มยิ้มพราย | ||
+ | ชวนกันอาบน้ำทาแป้ง จัดแจงแต่งตัวเฉิดฉาย | ||
+ | นุ่งยกห่มตาดนาดกราย ผันผายไปเฝ้าพระภูมี | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เพลงช้า | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น องค์พระไชยเชษฐ์เรืองศรี | ||
+ | เห็นนางสาวสรรค์มาอัญชลี จึงปราศรัยนารีทั้งเจ็ดคน | ||
+ | พี่จากน้องไปคล้องคชสาร ทรมานนอนป่าพนาสณฑ์ | ||
+ | เช้าค่ำรำลึกถึงนฤมล เจ้าทุกคนอยู่ดีหรือฉันใด | ||
+ | อันนางสุวิญชานงเยาว์ พี่ฝากฝังให้เจ้าเอาใจใส่ | ||
+ | ครรภ์นางก็แก่แต่วันไป เป็นกระไรคลอดลูกแล้วหรือยัง | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น เจ็ดนางทูลไปดังใจหวัง | ||
+ | ข้าทุกข์แทนนฤมลพ้นกำลัง เป็นธุระระวังนั่งรำพึง | ||
+ | พอวันหนึ่งนางคลอดโอรสา ก่อนหน้าพระเสด็จเข้ามาถึง | ||
+ | รูปร่างพริ้งพร้อมดั่งกล่อมกลึง งามแม้นเหมือนหนึ่งเทวดา | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ฟังคำที่ร่ำว่า | ||
+ | เห็นทั้งท่อนไม้ใส่พานมา ผ่านฟ้านิ่งอึ้งตะลึงตะไล | ||
+ | เสน่ห์นางเจ็ดคนเข้าดลจิต จะทันพิจารณาก็หาไม่ | ||
+ | ให้ชึงชังสุวิญชาแล้วว่าไป จะเลี้ยงไว้ทำไมในธานี | ||
+ | ว่าพลางทางขยับจับพระขรรค์ หมายจะไปห้ำหั่นบั่นเกศี | ||
+ | ลงจากแท่นแค้นใจจรลี เจ็ดนางนารีก็ตามไป | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงเห็นนางสุวิญชา ยิ่งโกรธาหุนหันมันไส้ | ||
+ | กระทืบบาทกึกก้องทั้งห้องใน ชี้หน้าว่าไปกับนงลักษณ์ | ||
+ | เสียแรงเราชุบเลี้ยงถึงเพียงนี้ ควรหรือมีลูกอ่อนเป็นท่อนสัก | ||
+ | ให้อับอายขายหน้านักหนานัก สิ้นรักใคร่กันแล้วหรือวันนี้ | ||
+ | แม้นเลี้ยงไว้ในเมืองจะเลื่องลือ ขึ้นชื่อว่าเป็นเมียเสียศักดิ์ศรี | ||
+ | ชอบแต่สังหารผลาญชีวี ภูมีฮึดฮัดขัดแค้นใจ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>โอ้</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาตัวสั่นหวั่นไหว | ||
+ | กันแสงพลางทางทูลภูวไนย เขาจะคิดอย่างไรเมียไม่รู้ | ||
+ | แต่แรกเจ็บท้องร้องครวญคราง เจ็ดนางมานั่งหนุนหลังอยู่ | ||
+ | แล้วขับไล่ข้าไทมิให้ดู เมียไม่รู้ทันเท่าเขาคิดคด | ||
+ | นางว่าข้าไม่เคยจะคลอดลูก เอาผ้าผูกพันตาเสียมืดหมด | ||
+ | เมื่อแรกประสูติพระโอรส เสียงร้องปรากฏเหมือนเสียงคน | ||
+ | บัดนี้ลูกอ่อนเป็นท่อนไม้ เพราะเขาปิดตาไว้ไม่เห็นหน | ||
+ | พระองค์จงคิดดูเล่ห์กล ลูกคนใครห่อนเป็นท่อนไม้ | ||
+ | เมื่อฟังคำข้างเดียวมาเกรี้ยวโกรธ จะลงโทษน้องรักให้ตักษัย | ||
+ | เมียจะผินพักตราไปหาใคร ร่ำพลางสะอื้นไห้ไปมา | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ฟังคำจึงซ้ำว่า | ||
+ | เหม่เหม่ดูดู๋สุวิญชา ยังขืนกลับมาว่าเขาพาโล | ||
+ | ยักเยื้องพูดจาสารพัด เจ้าสำบัดสำนวนกวนโมโห | ||
+ | เมื่อลูกเป็นท่อนไม้ไอ้กะโต ข้ามิใช่ชายโง่จะงงงวย | ||
+ | เจ็ดนางรักเจ้าเรารู้แจ้ง ว่าเขาแกล้งใส่ไคล้ไม่เห็นด้วย | ||
+ | อย่าพักทำกำสรดระทดระทวย จะมอดม้วยไม่ทันรุ่งพรุ่งนี้ | ||
+ | ว่าพลางทางเรียกเสนา ใครอยู่บ้างข้างหน้าเข้ามานี่ | ||
+ | จงเอาตัวสุวิญชากาลี ไปประหารชีวิตให้วายปราณ | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น เสนาคำนับรับบรรหาร | ||
+ | เข้าผูกรัดมัดมือเยาวมาลย์ ลนลานรีบพาออกมาพลัน | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาตระหนกอกสั่น | ||
+ | เหลียวดูภัสดาแล้วจาบัลย์ ครวญคร่ำรำพันวิงวอน | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>โอ้</sup> | ||
+ | ๏ โอ้ว่าพระองค์ทรงเดช โปรดเกศหยุดยั้งมั่งก่อน | ||
+ | พระจะให้ห้ำหั่นบั่นรอน โทษกรณ์น้องนี้ไม่มีเลย | ||
+ | ช่างเชื่อแต่เจ็ดนางไปข้างเดียว ไม่แลเหลียวดูมั่งนั่งนิ่งเฉย | ||
+ | แต่ก่อนร่อนชะไรก็ไม่เคย อกเอ๋ยน้องคิดเห็นผิดใจ | ||
+ | นางวิ่งเข้ากอดบาทภัสดา ขอโทษกรณ์วอนว่ากราบไหว้ | ||
+ | เสนาเข้าคร่าเอาตัวไป อรไทครวญคร่ำร่ำโศกา | ||
+ | ฯ ๖คำ ฯ โอด เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ ครั้นออกมานอกทวารวัง พอเห็นพี่เลี้ยงนั่งอยู่พร้อมหน้า | ||
+ | นางร้องเรียกไปมิได้ช้า เชษฐาโปรดด้วยช่วยน้องไว้ | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น สี่พี่เลี้ยงย่างเหย่าเข้ามาใกล้ | ||
+ | เห็นเขาจูงสุวิญชาพาไป ตกใจตัวสั่นเข้ากั้นกาง | ||
+ | พวกเสนาว่าหลีกไปให้พ้น ต่างคนฮึดฮัดขัดขวาง | ||
+ | พระพี่เลี้ยงชิงไว้ไม่ละวาง แล้วถามว่าโทษนางเป็นอย่างไร | ||
+ | ฯ ๔คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นรู้แน่ตระหนักประจักษ์ความ จึงห้ามเสนาว่าไม่ได้ | ||
+ | ถ้าแม้นขืนฆ่าฟันให้บรรลัย นานไปเราร่อยจะพลอยตาย | ||
+ | ท่านจงหยุดยั้งรั้งรอ ข้าจะไปทูลขอนางโฉมฉาย | ||
+ | มิให้ม้วยมอดวอดวาย ว่าแล้วสี่นายจรลี | ||
+ | ฯ ๔คำ ฯ เสมอ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงคลานเข้าไปเฝ้า ก้มเกล้าประณตบทศรี | ||
+ | กราบทูลไปพลันทันที พระภูมีเป็นไฉนจึงใจเบา | ||
+ | ธรรมดาลูกอ่อนเป็นท่อนไม้ มีมั่งหรือไม่แต่ก่อนเก่า | ||
+ | แต่เพียงนี้มิรู้ดูเอา ยิ่งกว่ามัวเมามึนตึง | ||
+ | ธรรมดาเมียหลวงกับเมียน้อย ย่อมคอยหยิบผิดคิดหวงหึง | ||
+ | ช่างไม่ตรองตรึกให้ลึกซึ้ง เหมือนไม่รู้ถึงทันเมีย | ||
+ | ล้วนเหล่าริษยาเป็นอารมณ์ มีแต่จะเรียกลมให้เรือเสีย | ||
+ | ทั้งเล่ห์กลกระทำยำเยีย จะให้เขาผัวเมียได้รำคาญ | ||
+ | ถึงว่านางจะเป็นเช่นนั้นไซร้ ก็ยังไม่ควรสั่งให้สังหาร | ||
+ | รู้ถึงสิงหลมิเป็นการ จะมาผลาญเสียสิ้นทั้งเหมันต์ | ||
+ | มนุษย์หรือจะสู้กับหมู่ยักษ์ จะเคี้ยวเล่นเป็นผักไม่พักหั่น | ||
+ | พระองค์จงโปรดยกโทษทัณฑ์ อย่าให้ชีวันนางมอดม้วย | ||
+ | ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>สามเส้า</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ได้ฟังก็เห็นด้วย | ||
+ | จริงอยู่พี่ว่าข้างงงวย เพราะใครใครไม่ช่วงห้ามปราม | ||
+ | มีแต่จะเติมเสริมซ้ำ จึงพลอยพล้ำเผลอไปไม่ไต่ถาม | ||
+ | น้องนี้โฉดเฉาเบาความ นี่หากว่าพี่ห้ามจึงได้คิด | ||
+ | ถ้าสิงหลรู้ไปที่ไหนนั่น จะพากันย่อยยับดับจิต | ||
+ | ใครจะออกต่อต้านทานฤทธิ์ น่าที่ชีวิตจะม้วยมรณ์ | ||
+ | ตายแล้วหรือยังอยู่สุวิญชา กลับไปให้หาเข้ามาก่อน | ||
+ | อย่าให้ห้ำหั่นบั่นรอน ทำโทษโรธกรณ์เยาวมาลย์ | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น เจ็ดนางนั่งฟังอยู่ในม่าน | ||
+ | ได้ยินสี่พี่เลี้ยงทูลทัดทาน ว่าขานเป็นแยบก็แปลบใจ | ||
+ | นิ่งอยู่ดูเห็นจะเป็นรอง ชวนกันเผยม่านทองสองไข | ||
+ | โกรธาชี้หน้าแล้วว่าไร นี่อะไรมากลุ้มรุมชิงชัง | ||
+ | ชิชะท่านสารพัดรู้ มาข่มขู่ตะคอกหลอกผู้หญิง | ||
+ | ลิ้นลมคมสันขยันจริง พูดแยบแอบอิงสอพลอพลอย | ||
+ | หรือทั้งสี่แจ้งใจว่าใครทำ จึงพิดทูลปรักปรำให้ยับย่อย | ||
+ | ช่างซื้อหน้ามาเฝ้าทูลตะบอย ข้าสิน่ากลัวน้องไปเมื่อไร | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น พระพี่เลี้ยงเคืองขัดอัชฌาสัย | ||
+ | จึงว่าข้าทูลขออรไท กลการอะไรมาโกรธฟุ้ง | ||
+ | ชาติวัวระวังสันหลังขาด เห็นแต่กาบินผาดก็สะดุ้ง | ||
+ | เรารู้อยู่เต็มใจในไส้พุง อย่าหยาบยุ่งกรุ่งกริ่งเจรจา | ||
+ | หากว่าภูวไนยไม่ให้ถาม นางรูปงามจึงออกมาลอยหน้า | ||
+ | แม้นทรงฤทธิ์ให้เราพิจารณา ที่ไหนเจ้าจะมาท้าทายอึง | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น เจ็ดนางพิโรธโกรธขึ้ง | ||
+ | จึงร้องว่าอย่าพักรำพึง ข้าไม่อยากพรั่นพรึงทั้งสี่นาย | ||
+ | จะถามไถ่อย่างไรก็ถามกัน ที่จะเป็นเช่นนั้นอย่านึกหมาย | ||
+ | มาช่วยกันแก้หน้าว่าไม่อาย เที่ยวเอาความร้ายมาบ้ายทา | ||
+ | ทั้งสี่นี้ดูเหมือนงูงอด จะคอยมองย่องตอดกระมังหนา | ||
+ | เมื่อลูกเป็นท่อนสักประจักษ์ตา ยังจะแค่นมีหน้าว่ากั้นกาง | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>สมิงทองไทย</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์นิ่งฟังทั้งสองข้าง | ||
+ | ผลกรรมจำให้เริดร้าง พระเคืองข้องหมองหมางในอารมณ์ | ||
+ | ฟังสี่พี่เลี้ยงก็เห็นชอบ ฟังเจ็ดนางตอบก็เห็นสม | ||
+ | เห็นชอบเป็นผิดคิดนิยม ด้วยว่าอาคมเข้าดลใจ | ||
+ | พระตรัสห้ามความเสียทั้งสองข้าง จะถากถางเถียงกันหาควรไม่ | ||
+ | อันนางสุวิญชานั้นไซร้ พี่ขอชีวิตไว้ก็ตามที | ||
+ | แต่ตัวมันนั้นอัปมังคล เร่งขับไปให้พ้นจากกรุงศรี | ||
+ | อย่าให้มานั่งเฝ้าเซ้าซี้ แม้นช้าชีวีจะบรรลัย | ||
+ | ฯ ๘คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาได้ฟังนั่งร้องไห้ | ||
+ | โศกศัลย์รันทดสลดใจ ทรามวัยไม่เป็นสมประดี | ||
+ | ดังหนึ่งจะพินาศขาดจิต สุดสิ้นชีวิตลงกับที่ | ||
+ | นางเข้ากอดบาทาพระสามี โศกีครวญคร่ำร่ำไร | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>โอ้</sup> | ||
+ | ๏ โอ้ว่าพระทูลกระหม่อมแก้ว จะขับเมียเสียแล้วหรือไฉน | ||
+ | พระเคืองข้องน้องผิดด้วยสิ่งไร ภูวไนยไม่ทรงพระเมตตา | ||
+ | ถึงกระไรไต่ถามความสักนิด ถ้าแม้นผิดแล้วก็ตามแต่โทษา | ||
+ | นี่ทรงฤทธิ์ไม่พิจารณา ชะรอยกรรมเวราของน้องนี้ | ||
+ | เมื่อเมียได้กุมภามาเลี้ยงไว้ ก็จากเวียงชัยไปในไพรศรี | ||
+ | มาเป็นบาทบริจาพระสามี พอประจบครบปีจะจำไกล | ||
+ | เที่ยงนางกลางคืนถึงเพียงนี้ จะเดินดงพงพีกระไรได้ | ||
+ | ตัวเป็นผู้หญิงจะวิ่งไป หนทางกลางไรพนาดร | ||
+ | โปรดให้เมียพักแต่สักคืน พออยู่ไฟอยู่ฟืนเสียหน่อยก่อน | ||
+ | ร่ำพลางนางคิดอาวรณ์ สองกรข้อนทรวงเข้าโศกา | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ฟังคำที่ร่ำว่า | ||
+ | ยิ่งมีโมโหโกรธา จึงร้องด่าสำทับขับไป | ||
+ | เหม่อีอัปรีย์ทรลักษณ์ มึงอย่างพักมานั่งร้องไห้ | ||
+ | ยังขืนขัดผัดวันขออยู่ไฟ หัวจะขาดปลิวไปไม่ทันรู้ | ||
+ | อย่าว่าแต่คืนหนึ่งถึงครู่เดียว พระอินทร์มาเขียวเขียวไม่ให้อยู่ | ||
+ | เร่งไปให้พ้นบ้านเมืองกู ค่ำมืดไม่รู้ไม่เข้าใจ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์ฟังว่าน่าหมั่นไส้ | ||
+ | เจ็บจิตสุดที่จะคิดไป น้อยใจเป็นพ้นคณนา | ||
+ | ถึงโศกีก็ไม่มีใครเอ็นดู ยังจะอยู่เอาอะไรให้เร่งว่า | ||
+ | จึงวิ่งเข้าแย่งยุดฉุดมือมา ไปพาราเราเถิดนะทรามวัย | ||
+ | เมื่อพลัดพรากจากเมืองมาคราวแล้ว แต่หม่อมแม่กับอีแมวยังมาได้ | ||
+ | ดึกดื่นคืนค่ำค่อยคลำไป ร้องไห้ไยให้เสียน้ำตา | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาตอบคำวิฬาร์ว่า | ||
+ | ข้าก็รู้อยู่สิ้นแล้ววิฬาร์ ท่านไม่เมตตาจึงขับไป | ||
+ | เมื่อความผิดนิดหนึ่งก็ไม่มี คิดแค้นเท่านี้จึงร้องไห้ | ||
+ | วิฬาร์อย่าเพ่อคลาไคล ทรามวัยวิ่งกลับคืนมา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>โอ้</sup> | ||
+ | ๏ ยอกรก้มกราบกับตีนผัว พ่อทูนหัวจงโปรดเกศา | ||
+ | ซึ่งว่าโทษตัวน้องชั่วช้า พระจงพิจารณาให้แจ้งใจ | ||
+ | นี่ไม่ถามความเลยมาเฉยเสีย พระจะดูหน้าเมียก็หาไม่ | ||
+ | ว่าพลางนางทรงโศกาลัย อรไทพ่างเพียงจะมรณา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์น้อยใจเป็นนักหนา | ||
+ | คิดแค้นแล่นไปด้วยโกรธา ฉุดมือนางมาแล้วว่าไป | ||
+ | คิดบ้างเป็นไรในสวนขวัญ หนียักษ์ตัวสั่นดังลูกไก่ | ||
+ | จักแหล่านชีวันจะบรรลัย ยังแต่ลมหายใจอยู่รวยรวย | ||
+ | ไม่พบเราบบ่าวนายก็ตายแล้ว พูดอ้อนวอนแมวให้ช่วยด้วย | ||
+ | ที่นี้แทนคุณให้ที่ไม่ม้วย ทั้งเจ้าข้ารื่นรวยบริบูรณ์ | ||
+ | เสียแรงรักภักดีสุจริต แทบจะเอาชีวิตมาสาบสูญ | ||
+ | อนิจจาอาภัพลับเหมือนปูน หม่อมเมียท่านทูลท่านเชื่อกัน | ||
+ | ว่าพลางพานางลีลาศ ลงจากปราสาทเฉิดฉัน | ||
+ | วิฬาร์นำหน้าจรจรัล นางโศกศัลย์ดำเนินเดินมา | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ ทยอย | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ผันแปรแลหา | ||
+ | เห็นโฉมงามเดินตามหลังวิฬาร์ ให้คืนคิดเมตตาอาลัย | ||
+ | ความรักหักห้ามโมโหหาย แสนเสียดายไม่กลั้นน้ำตาได้ | ||
+ | นี่เนื้อว่าเวรกรรมได้ทำไว้ จึงเกิดเข็ญเป็นไปถึงเพียงนี้ | ||
+ | เสียทีเพียรพากลำบากกาย ปิ้มจะตายเพราะมิ่งมารศรี | ||
+ | ได้สมสองครองกันพอครบปี จะมาจากอกพี่ไปทั้งรัก | ||
+ | นิจจาเอ๋ยเดินพลางร้องไห้พลาง สงสารนางนักหนาน่าอกหัก | ||
+ | จะเรียกกลับอับอายเสนานัก พระทรงศักดิ์อักอ่วนป่วนใจ | ||
+ | ไม่มีสุขผุดลุกผุดนั่ง ร้อนรุมคลุ้มคลั่งดังเพลิงไหม้ | ||
+ | แต่รัญจวนครวญคร่ำร่ำไร ภูวไนยโศกาจาบัลย์ | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชามิใคร่จะผายผัน | ||
+ | กันแสงพลางทางลงอัฒจันทร์ แว่วเสียงโศกศัลย์สะดุ้งใจ | ||
+ | จึงยืนยั้งฟังศัพท์สำเนียง ได้ยินเสียงผัวรักร้องไห้ | ||
+ | นางตีอกฟกช้ำร่ำไร ทรามวัยวิ่งกลับคืนมา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>โอ้</sup> | ||
+ | ๏ ยอกรกราบลงกับเบื้องบาท ใจจะขาดด้วยความเสน่หา | ||
+ | เป็นกรรมตามสนองทั้งสองรา พระจะทรงโศกาไปว่าไร | ||
+ | ธรรมดาจารีตเป็นกษัตริย์ โองการตรัสขาดแล้วไม่คืนได้ | ||
+ | น้องนี้จะขอลาคลาไคล สัญจรไปตามกรรมได้ทำมา | ||
+ | นางยกบาทผัวขึ้นทูลเกศ ชลเนตรไหลหลั่งทั้งซ้ายขวา | ||
+ | ตีอกชกเกล้าเข้าโศกา ซบกับบาทาพระสามี | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น เจ็ดนางร้อนใจดังไฟจี้ | ||
+ | เห็นนางสุวิญชามาโศกี กลัวว่าเขาจะดีกันผัวเมีย | ||
+ | คิดวิตกอกไหม้ไส้ขม ในอารมณ์นั้นจะใคร่ให้ขับเสีย | ||
+ | จึงชี้หน้าว่านางช่างทำเยีย มาอะลิ้มอะเหลี่ยภูวไนย | ||
+ | อีหน้าด้านมารยาพิรากวน ทำกระบวนชวนผัวให้ร้องไห้ | ||
+ | จะพะนึงพะเน้าเอาอะไร ไปไปแล้ววกหกกลับมา | ||
+ | คนกระลีกระลำส่ำเสีย ให้เพื่อนเมียพลอยอายขายหน้า | ||
+ | ไสหัวไปให้พ้นพารา มึงอย่ามายียวนกวนพระทัย | ||
+ | บ้างว่าน่าเกลียดเคียดค้อน ขอดค่อนงอนว่าไม่ปราศรัย | ||
+ | บ้างยั่วเย้าเฝ้าทูลตะบอยไป ปรานีมันไยอีใจคด | ||
+ | แต่เลือดร้ายในกายยังกอกเสีย มานั่งนับกับเมียที่อัปยศ | ||
+ | ชั่วชาติอุบาทว์ไม่เป็นรส เชิญเสด็จทรงยศเข้าห้องใน | ||
+ | ฯ ๑๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์ฟังว่าไม่อดได้ | ||
+ | ความโกรธกระโดดโลดเข้าไป แล้วจูงมืออรไทออกมา | ||
+ | ทำลอยหน้าลอยตาพาที ตัวเป็นทาสีแล้วมิสา | ||
+ | ทั้งโหดไร้ไม่มีปัญญา ขืนจะขึ้นแข่งหน้าว่าไม่ฟัง | ||
+ | รูปร่างของตัวก็ชั่วช้า แล้วหยูกยาอาคมก็ไม่ขลัง | ||
+ | สารพัดวิบัติให้ผัวชัง ถึงจะโปรดปรานมั่งก็เจ็บใจ | ||
+ | ช่างอาภัพอับจนหม่นหมอง จะผินพึ่งพี่น้องก็ไม่ได้ | ||
+ | จึงต้องจ้างช่างทำท่อนไม้ ไปซ่อนใส่สมหวังแล้วครั้งนี้ | ||
+ | เอออะไรที่ไหนมานั่งวอน ให้เขาค่อนแคะว่าน่าบัดสี | ||
+ | มิใช่แม่แก่เฒ่าเมื่อไรมี แต่เป็นม่ายเพียงนี้ไม่น้อยใจ | ||
+ | มันไม่ต้องอารมณ์สมประกอบ ผิดชอบชั่วดีมีผัวใหม่ | ||
+ | เที่ยงนางกลางคืนแม่มาไป กลัวอะไรมือค่ำกรรมของตัว | ||
+ | จะเที่ยวหาหมอยามนต์ดล ทำเสน่ห์กลซนหาผัว | ||
+ | ให้มันขลังทั้งรักทั้งกลัว ขึ้นนั่งซังตั้งตัวเป็นผู้ดี | ||
+ | ฯ ๑๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุริยาเคืองเคียดมันเสียดสี | ||
+ | จึงชี้หน้าว่าอีวิฬารี มึงพาทีเถียงแทนช่วยแค้นเคือง | ||
+ | กูจะตอบสำนวนไม่ควรคู่ เหมือนเอาทองไปถูรู่กระเบื้อง | ||
+ | ไสหัวมึงไปเสียจากเมือง จะยักเยื้องอย่างไรเขาไม่ฟัง | ||
+ | อีแมวอุบาทว์ชาติขี้ข้า มึงไม่รู้ว่าฟ้าจะเคืองหลัง | ||
+ | แม้นเจ้าข้ามิไปให้พ้นวัง กูจะสั่งให้เขาไสคอไป | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์ฟังว่าน่าหมั่นไส้ | ||
+ | จะออมอดลดละมันทำไม ตายไหนตายไปคงให้ลือ | ||
+ | จึงร้องว่าแน่คะหม่อมเมียเอก อภิเษกขึ้นใหม่เมื่อไรหรือ | ||
+ | บัญชาแทนรับสั่งนั่งชี้มือ มาออกหน้าค่าชื่อไม่อายใจ | ||
+ | เจ้าสิคนสบเสียนางเมียต้น จะฆ่าผู้ฟันคนก็ทำได้ | ||
+ | มานั่งขับเหนื่อยปากลำบากใจ เอาจับใส่หีบฝังเสียทั้งเป็น | ||
+ | อีพวกเหล่าเจ้าเสน่ห์เล่ห์กล แต่ละคนใจคอไม่พอเล่น | ||
+ | มันตาร้อนตาไฟมิใช่เย็น เอาคนฝังทั้งเป็นอีอัปรีย์ | ||
+ | แม้นเจ้าข้าพากันวายชนม์ ถ้ารู้ถึงสิงหลยักษี | ||
+ | เหมันต์ก็จะหมดทั้งธานี อสุรีเคี้ยวเล่นเป็นผักไป | ||
+ | ว่าพลางพานางจรลี ลงจากปราสาทศรีที่อาศัย | ||
+ | ออกนอกพระทวารวังใน เดินไปตามถนนธานี | ||
+ | ฯ ๑๒ คำ ฯ เพลง | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
+ | ==== ==== | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ ครั้นออกมานอกประตูเมือง พอเรื่อเรืองรุ่งแจ้งแสงสี | ||
+ | วิฬาร์ทูลความตามคดี เมื่อเทวีประสูติพระโอรส | ||
+ | ข้าระวังนั่งเฝ้าแฝงประตู แอบดูเห็นแน่แก่ตาหมด | ||
+ | อีทั้งเจ็ดทุจริตคิดคด ลักองค์โอรสใส่หีบมา | ||
+ | ข้าวิ่งแอบอ้อมด้อมตามไป พอถึงต้นไทรสาขา | ||
+ | มันยั้งหยุดขุดหลุมที่ฉายา แล้วฝังหีบรีบมาเสียทันที | ||
+ | ข้าไปดูที่ฝังสังเกตไว้ จำได้สันทัดสนัดสนี่ | ||
+ | ทูลพลางทางรีบจรลี นำนางเทวีไปทันใด | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงพระไทรสาขา วิฬาร์จึงแจ้งแถลงไข | ||
+ | มันฝังองค์พระโอรสไว้ อยู่ใต้ร่มไทรต้นนี้ | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น นางสุวิญชาโฉมศรี | ||
+ | ดีใจเป็นพ้นพันทวี ก็ขุดลงตรงที่ฝังไว้ | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ล่องเรือ</sup> | ||
+ | ๏ ขุดไปไม่พบพระโอรส นางกำสรดดิ้นโดยโหยไห้ | ||
+ | สะอื้นพลางทางถามวิฬาร์ไป เหตุไฉนไม่พบพระลูกยา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์หลากใจเป็นนักหนา | ||
+ | หรือผีสางบังหูบังตา มาหลอนหลอกหยอกข้าดอกกระมัง | ||
+ | คิดแล้วนางแมวยกมือไหว้ ขอให้ได้พระกุมารเหมือนใจหวัง | ||
+ | เทพไทองค์ใดที่กำบัง จะแต่งตั้งสังเวยที่ร่มไทร | ||
+ | ข้าจะรำฉุยฉายถวายมือ ให้เลื่องลือว่าแมวนี้รำได้ | ||
+ | บนพลางทางแลดูไป ก็เห็นหีบที่ในหลุมนั้น | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา ฉุยฉาย | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | ||
+ | เอาหีบมาเปิดฝาดูพลัน จึงเห็นโอรสนั้นเป็นชาย | ||
+ | ยกพระลูกน้อยขึ้นใส่ตัก พิศพักตร์ลักขณาเฉิดฉาย | ||
+ | ทรงศรพระขรรค์สำหรับกาย ทั้งม้ารถพรรณรายก็มีมา | ||
+ | นางแสนพิศวาสพระลูกรัก จูบพักตร์แล้วทูนเหนือเกศา | ||
+ | พ่อคุณทูนหัวของมารดา จะหาไหนได้เหมือนเช่นนี้ | ||
+ | แม่คิดว่าอาสัญบรรลัย ตามจากแม่ไปไม่เห็นผี | ||
+ | ร่ำพลางทางทรงโศกี มารศรีพ่างเพียงจะขาดใจ | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นสร่างโศกาปรึกษาแมว เราพบลูกแล้วจะไปไหน | ||
+ | หรือจะกลับหลังยังเวียงชัย ทูลให้ทราบเบื้องบาทา | ||
+ | เมียท่านทำการถึงเพียงนี้ จะดูพระสามีพิพากษา | ||
+ | เจ้าจะเห็นอย่างไรนางวิฬาร์ จงว่ามาให้แม่แจ้งใจ | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์เคืองขัดอัชฌาสัย | ||
+ | จึงตอบวาจาไปทันใด ช่างไม่อายแก่ใจหรือไรนา | ||
+ | เขาขับหนีตีด่าว่าตัวชั่ว ยังแค่นคิดถึงผัวจะไปหา | ||
+ | ไม่เจ็บจำน้ำคำอีสุริยา มันด่าว่านั้นน้อยไปเมื่อไร | ||
+ | ข้างผัวก็หลงงงงวย เมียว่าไรว่าด้วยไม่ถามไถ่ | ||
+ | จะขืนไปบอกเล่าเขาทำไม เขาจะเชื่อที่ไหนว่าลูกตน | ||
+ | เมื่อรักผัวไม่คิดถึงตัวแล้ว อีแมวก็จะในไพรสณฑ์ | ||
+ | จะอุตส่าห์สัญจรซอนซน กว่าจะถึงสิงหลเวียงชัย | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาฟังแจ้งแถลงไข | ||
+ | แต่วิฬาร์ยังว่าน่าอายใจ คิดมานะพระทัยขึ้นมา | ||
+ | จำจะผายผันสัญจร ไปนครสิงหลยักษา | ||
+ | แต่ขัดสนจนเสียด้วยมรคา ไม่รู้ว่าตำแหน่งแห่งใด | ||
+ | นางจึงยอกรขึ้นเพียงผม บังคมเทวาในป่าใหญ่ | ||
+ | เชิญช่วยนำข้าคลาไคล ไปถึงเวียงชัยฉับพลัน | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ยานี</sup> | ||
+ | ๏ มาจะกล่าวบทไป ถึงท้าวสหัสนัยน์รังสรรค์ | ||
+ | อาสน์อ่อนร้อนเร่าดังไฟกัลป์ เร่งคิดอัศจรรย์เป็นพ้นนัก | ||
+ | จึงเล็งทิพเนตรลงมา เห็นนางสุวิญชามีศักดิ์ | ||
+ | มาประสบพบองค์โอรสรัก จะไปสู่สำนักพระบิดา | ||
+ | จำกูจะให้นำไป ถึงกรุงไกรสิงหลยักษา | ||
+ | อย่าให้นางทนทุกข์ทรมา เวทนาแก่องค์พระกุมาร | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ จึงตรัสสั่งพระวิษณุกรรม์ จงจรจรัลไปในไพรสาณฑ์ | ||
+ | พานางสุวิญชานงคราญ ไปส่งถึงสถานธานี | ||
+ | ฯ ๒คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น พระวิษณุกรรม์เรืองศรี | ||
+ | รับสั่งท้าวสุชัมบดี บังคมลาจรลีลงมาพลัน | ||
+ | ฯ ๒คำ ฯ กลม | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงมีวาจา เจ้าอย่าวิโยคโศกศัลย์ | ||
+ | เราจะมาพานางจรจรัล ไปส่งยังเขตขัณฑ์เวียงชัย | ||
+ | ฯ ๒คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชานารีศรีใส | ||
+ | ชื่นชมเปรมปรีดิ์ดีใจ ยอกรบังคมไหว้เทวา | ||
+ | แล้วอุ้มองค์โอรสยศยง วางลงยังราชรถา | ||
+ | พระวิษณุกรรมขับมา วิฬาร์นำหน้าคลาไคล | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงหิมวันต์บรรพต ให้หยุดรถอยู่ริมภูเขาใหญ่ | ||
+ | เห็นน้ำพุจากผาชลาลัย อรไทยินดีปรีดา | ||
+ | จึงยกเอาลูกน้อยกลอยใจ ลงจากพิชัยรถา | ||
+ | พาไปสระสรงคงคา วิฬาร์ก็พาเสด็จไป | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ ลงสรง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นชำระสระสรงพระลูกแล้ว คลาดแคล้วจากเชิงเขาใหญ่ | ||
+ | นางเปลื้องภูษาผ้าสไบ ผูกเป็นเปลให้เจ้าไสยา | ||
+ | กอดจูบลูกแก้วแล้วเชยชม ค่อยวางลงบรรทมในเปลผ้า | ||
+ | นอนเสียเถิดพ่ออย่าโศกา ปลอบพลางกัลยาก็กล่อมไป | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>กล่อม</sup> | ||
+ | ๏ เจ้านอนไปเถิดแม่จะกล่อม เจ้างามละม่อมจะไกวให้ | ||
+ | ขวัญอ่อนอย่าอ้อนอาลัย หลับไปเถิดพ่ออย่าโศกา | ||
+ | แม่ลูกมีกรรมลำบาก ต้องตกยากนอนหลับกับเปลผ้า | ||
+ | แม้นอยู่เวียงวังพระบิดา จะไสยาอู่ทองรององค์ | ||
+ | ตื่นบรรทมนางนมจะแซ่ซ้อง ค่อยประคององค์วางในอ่างสรง | ||
+ | ครั้นเห็นลูกหลับไปดังใจจง บังอรเอนองค์ลงไสยา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ ตระ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ ครั้นพระสุริยันตะวันชาย แสงสายบ่ายบังพฤกษา | ||
+ | พระกุมารก็ฟื้นตื่นนิทรา กัลยาโอบอุ้มเอามาพลัน | ||
+ | โลมลูบจูบกอดให้กินนม เชยชมรับมิ่งสิ่งขวัญ | ||
+ | แล้ววางองค์ลงเหนือรถสุวรรณ วิษณุกรรม์นำหน้าพาจรลี | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ สุริยาสายัณห์ลงรอนรอน ก็ถึงพระนครท้าวยักษี | ||
+ | เทวาลากลับไปทันที เทวีอุ้มลูกคลาไคล | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เดินพลางทางทรงโศกา ชลนาแถวถั่งหลั่งไหล | ||
+ | ชวนนางวิฬาร์ผู้ร่วมใจ รีบไปเฝ้าองค์พระบิดา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงท้องพระโรงรูจี เทวีคิดเกรงท้าวยักษา | ||
+ | ยั้งหยุดยืนแฝงทวารา ตรึกตรองกิจจาจะเพ็ดทูล | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ช้า</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลราชนเรนทร์สูร | ||
+ | สถิตเหนือแท่นรัตน์เรืองจำรูญ พร้อมมูลข้าเฝ้าท้าวพระยา | ||
+ | ว่าขานกิจการนคเรศ ให้เขม่นนัยน์เนตรทั้งซ้ายขวา | ||
+ | พระยายักษ์นิ่งนึกตรึกตรา จะได้ลาภหรือว่าจะได้ทุกข์ | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ แต่ก่อนร่อนชะไรไม่เคยเป็น จะพูดเล่นเจรจาไม่ผาสุก | ||
+ | จึงตรัสเรียกกระดานหมากรุก มาทรงเล่นกับมุขมนตรี | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น นวลนางสุวิญชาโฉมศรี | ||
+ | แอบประตูดูองค์อสุรี เห็นท่วงทีเริงรื่นชื่นบาน | ||
+ | อุ้มองค์ลูกน้อยกลอยใจ ร้องไห้เข้าไปตรงหน้าฉาน | ||
+ | ก้มเกล้าประณตบทมาลย์ นงคราญซวนซบสลบลง | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลเร่งคิดพิศวง | ||
+ | แปลกนางสุวิญชาโฉมยง ด้วยพระองค์ชราหูตามัว | ||
+ | พิศดูเอ๊ะนี่มีธิดา เป็นไรมาสลบซบหัว | ||
+ | ท้าวค่อยประคองต้องตัว ลูบทั่วสรรพางค์นางเทวี | ||
+ | ตรัสเรียกเท่าไรก็ไม่ขาน พระยามารเรียกหมออึงมี่ | ||
+ | พลางทรงนวดฟั้นให้ทันที เสนีนิ่งได้ไม่ช่วยกู | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นนางค่อยฟื้นสมประดี เทวียังทรงกันแสงอยู่ | ||
+ | ประคอบปลอบเล้าโลมนางโฉมตรู จะใคร่รู้เนื้อความจึงถามไป | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ จอมเอยจอมขวัญ เหมันต์เกิดเข็ญเป็นไฉน | ||
+ | หรือผัวเจ้าเขาทำให้ช้ำใจ ได้ลำบากยากไร้อับจน | ||
+ | มีธุระอะไรนะบังอร จึงมายังนครสิงหล | ||
+ | เหตุไรไม่มีรี้พล มาแต่สองคนกับอีแมว | ||
+ | นี่ลูกเต้าของใครได้ไหนมา ดูหน้าตายิ้มยิ่งผ่องแผ้ว | ||
+ | ยังเล็กนักได้สักกี่เดือนแล้ว ลูกแก้วจงแถลงแจ้งกิจจา | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาบังคมก้มหน้า | ||
+ | นางคิดพิดทูลแต่อัชฌา ด้วยกลัวจะโกรธาพระสามี | ||
+ | เดิมยกลูกให้พระไชยเชษฐ์ ไปจากนคเรศยักษี | ||
+ | เธอร่วมเรียงเลี้ยงลูกไว้ดิบดี มิได้มีอาธรรม์อันใด | ||
+ | เมื่อจะเกิดเหตุนั้นลูกครรภ์แก่ เป็นกรรมแต่หนหลังมาซัดให้ | ||
+ | เขาบอกข่าวช้างเผือกที่ในไพร พระสามีดีใจไปคล้องช้าง | ||
+ | ข้าคลอดลูกชายภายหลัง เพื่อนเมียมานั่งอยู่รอบข้าง | ||
+ | สมคะเนเล่ห์กลอีเจ็ดนาง จะแกล้งล้างผลาญข้าให้บรรลัย | ||
+ | เอาลูกน้อยนี้ใส่ในหีบผ้า ให้ทาสาไปฝังนอกกรุงใหญ่ | ||
+ | พอผัวกลับมาถึงเวียงชัย มันเอาท่อนไม้ไปให้ดู | ||
+ | พระไชยเชษฐ์นั้นไม่ทันคิด จำจิตขับข้าด้วยอดสู | ||
+ | อันที่ฝังลูกยาวิฬาร์รู้ มาขุดดูได้ลูกที่ต้นไทร | ||
+ | เดชะสมภารพระหลานขวัญ เทวัญเอารถลงมาให้ | ||
+ | แล้วช่วยพามาส่งถึงกรุงไกร จงทราบใต้บาทบงสุ์พระทรงฤทธิ์ | ||
+ | ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลฟังเรื่องให้เคืองจิต | ||
+ | จึงว่าชะไชยเชษฐ์ช่างไม่คิด ถึงชอบผิดก็ควรจะบอกกู | ||
+ | น้อยหรือขับไล่ไม่ไว้หน้า ให้พ่อตาอัปยศอดสู | ||
+ | มันเชื่อฤทธิ์จะลองฝีมือดู เห็นว่ากูแก่เฒ่าจะเข้าโลง | ||
+ | เมื่อเมียมันพาลผิดริษยา เห็นตัวอยู่อิจฉาโต้งโต้ง | ||
+ | อ้ายคนหลับตาบ้าลำโพง โป้งโย้งพูดฮึกไม่ตรึกตรา | ||
+ | งมเงาแล้วมิหนำซ้ำจองหอง ถ้าอยู่ใกล้จะถองให้หนักหนา | ||
+ | จำจะหามาถามตามกิจจา มันจะว่าอย่างไรจะใคร่ฟัง | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์แค้นคิดถึงความหลัง | ||
+ | เห็นนางทูลปิดงำอำปลัง นี่เนื้อยังรักผัวกลัวจะเคือง | ||
+ | วิฬาร์ขัดใจเข้าไปทูล ว่านางเล่าเค้ามูลไม่สิ้นเรื่อง | ||
+ | พอผัวเขากลับมาถึงเมือง มันยักเยื้องยุยงให้โกรธา | ||
+ | หม่อมเมียว่าไรก็เป็นนั่น สารพันแคะไค้พิไรว่า | ||
+ | ไม่ไต่ถามความพิจารณา สั่งให้เข่นฆ่านางโฉมตรู | ||
+ | หากสี่พี่เลี้ยงมาขอไว้ ทั้งเจ้าข้าจึงได้รอดอยู่ | ||
+ | เธอว่ายับขับเสียไม่เลี้ยงดู นางผัดพอเช้าตรู่จะจรลี | ||
+ | เธอยิ่งกราดเกรี้ยวเคี่ยวเข็ญ ถ้าขืนอยู่ก็เห็นจะเป็นผี | ||
+ | ข้าจึงพานางมาในราตรี ปิ้มชีวีจะม้วยด้วยเจ็บใจ | ||
+ | ทั้งผัวเมียเขารุมกันด่าว่า หาเกรงใต้บาทาผ่านฟ้าไม่ | ||
+ | ขันศึกฮึกฮักเป็นพ้นไป ว่าจะสู้ภูวไนยไม่พรั่นพรึง | ||
+ | ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลพิโรธโกรธขึ้ง | ||
+ | ลุกขึ้นกระทืบบาทตวาดอึง สุวิญชาดูดู๋มึงไม่บอกกู | ||
+ | ช่างรักผัวกระไรกระนี้หนอ ให้หม่อมพ่อไชยเชษฐ์มาลบหลู่ | ||
+ | ความโตความใหญ่พ่อไม่รู้ หากวิฬาร์ลูกกูมันเจ็บอาย | ||
+ | อัปยศครั้งนี้เป็นที่สุด ถึงชีวิตม้วยมุดก็ไม่หาย | ||
+ | มันดูหมิ่นถิ่นแคลนกูมากมาย จะปล่อยแก่แก้อายไม่เกรงมัน | ||
+ | ชะอ้ายไชยเชษฐ์ลูกเขย คงได้เล่นกันเหวยอย่าคึกขัน | ||
+ | ขัดเขมรเป็นเกลียวเคี้ยวฟัน โจนจากแท่นสุวรรณทันที | ||
+ | เขี้ยวงอกออกข้างละสามวา นัยนาดังแสงพระสุริย์ศรี | ||
+ | สำแดงแผลงฤทธิ์อสุรี เพียงพื้นปัถพีจะโทรมทรุด | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ คุกพาทย์ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ จับศรสะพายแล่งแกว่งตระบอง ขึ้นฆาตกลองสำคัญชั้นสุด | ||
+ | แล้วให้เตรียมทัพสำหรับยุทธ์ กู้จะไปรบมนุษย์เมืองเหมันต์ | ||
+ | พระยามารมายังเกยลา ยืนท่าพหลพลขันธ์ | ||
+ | ร้องเรียกโยธีนี่นัน หุนหันฮึดฮัดขัดใจ | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นพร้อมเสร็จเสด็จขึ้นทรงรถ ยกอสุรจัตุรงค์ทัพใหญ่ | ||
+ | กระทืบบาทเร่งราชรถชัย ออกไปจากวังไม่รั้งรอ | ||
+ | ฯ ๒คำ ฯ กราว | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาขวัญหนีดีฝ่อ | ||
+ | วิ่งตะกายน้ำลายไม่ติดคอ กลัวพ่อจะไปฆ่าพระสามี | ||
+ | ตามยุดท้ายรถกำสรดพลาง นวลนางร้องทูลท้าวยักษี | ||
+ | จงผินพักตรามาพาที เทวีครวญคร่ำร่ำวิงวอน | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>โอ้ปี่</sup> | ||
+ | ๏ โอ้ว่าพระองค์ผู้ทรงเดช โปรดเกศลูกมั่งจงยั้งก่อน | ||
+ | พระจะยกพลมารไปราญรอน ทำโทษโรธกรณ์กับเขาไย | ||
+ | คิดเห็นเป็นกรรมลูกเที่ยงแท้ จึงได้แต่ทุกข์ทนหม่นไหม้ | ||
+ | พลัดพรากพ่อแม่มาเดินไพร นี่หากได้พึ่งบาทพระบิดา | ||
+ | ชีวิตจึงรอดไม่วอดวาย ทั้งกุมารหลานชายเป็นสุขา | ||
+ | ครั้งนี้มิทรงพระเมตตา ก็จะเป็นเวราแก่ข้านี้ | ||
+ | ประทานโทษเถิดทูลกระหม่อมเอ๋ย อย่าไปเลยจงคืนเข้ากรุงศรี | ||
+ | ให้เห็นแก่นัดดาของภูมี เทวีทูลพลางทางโศกา | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ บัดนั้น ท้าวสิงหลให้คิดเสนหา | ||
+ | เหลียวมาปลอบพระธิดา อย่าโศกาอาวรณ์ร้อนรน | ||
+ | จึงมีสิงหนาทประกาศร้อง ให้เลิกกองทัพกลับเข้าสิงหล | ||
+ | ง่าหัตถ์รับนางนฤมล ขึ้นนั่งบนรถาแล้วพาที | ||
+ | พ่อขัดใจไชยเชษฐ์มันดูแคลน เจ็บแค้นดังหัวอกเป็นฝี | ||
+ | หากสงสารหลานน้อยคนนี้ ดับโมโหเสียทีเอาบุญไว้ | ||
+ | ตรัสพลางทางเหลือบเห็นวิฬาร์ รื้อคิดโกรธาขึ้นมาใหม่ | ||
+ | ชังลูกชังหลานงุ่นง่านใจ แกว่งตระบองร้องให้กลับรถ | ||
+ | เสนาเร่งขับพลขันธ์ จะไปเหยียบเหมันต์ให้แหลกหมด | ||
+ | กูจะได้แก้แค้นแทนทด กระทืบบาทเร่งรถรีบไป | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาอกสั่นหวั่นไหว | ||
+ | วอนว่าพาทีรี้พิไร พระบิตุรงค์จงได้เมตตา | ||
+ | หลานน้อยนี้จะเป็นกำพร้าพ่อ ลูกขอประทานโทษา | ||
+ | ทูลพลางนางซบพักตรา กอดบาทพระบิดาโศกาลัย | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลกลับคิดพิสมัย | ||
+ | จึงโลมเล้าธิดายาใจ อย่าร้องได้ไปเลยนะลูกรัก | ||
+ | พ่อคิดแค้นขึ้นมาก็งุ่นง่าน จะใคร่ยกพลมารไปหาญหัก | ||
+ | อันโทษตัวผัวเจ้ามันฮึกฮัก จะยกให้หลานรักอย่าทุกข์ร้อน | ||
+ | แล้วดำรัสตรัสร้องเปรยไป ลูกหลานมันร้องไห้ไม่หยุดหย่อน | ||
+ | ให้กลับพหลพลนิกร คืนเข้าพระนครมิทันช้า | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงขึ้นบนปราสาท เสด็จนั่งเหนืออาสน์อันเลขา | ||
+ | เชยชมพระราชนัดดา เป็นที่เสน่หาพระยายักษ์ | ||
+ | ขนานนามประทานหลานชาย ชื่อนารายณ์ธิเบศร์สมศักดิ์ | ||
+ | ให้พี่เลี้ยงนางนมพร้อมพรัก บำรุงรักษ์พระกุมารสำราญใจ | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | |||
===ตอนที่ ๒ พระไชยเชษฐ์ตามนางสุวิญชา=== | ===ตอนที่ ๒ พระไชยเชษฐ์ตามนางสุวิญชา=== | ||
+ | ==== ==== | ||
<tpoem> | <tpoem> | ||
+ | <sup>ช้า</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น ฝ่ายท้าวธรรมึกเป็นใหญ่ | ||
+ | แต่ละห้อยคอยหาพระดนัย มิได้เป็นสุขสักเวลา | ||
+ | จึงตรัสกับมเหสีพี่ทุกข์นัก ลูกรักของเรานี้ไปป่า | ||
+ | จะคล้องช้างอยู่กลางพนาวา หรือกลับมายังไม่ถึงธานี | ||
+ | สงสารสุวิญชาทรงครรภ์ จะเป็นฉันใดอยู่ไม่รู้ที่ | ||
+ | จำจะไปเยี่ยมเยือนเทวี ให้แจ้งเหตุร้ายดีประการใด | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ จึงชวนพระมเหสีบังอร บทจรจากแท่นที่อาศัย | ||
+ | สองกษัตริย์ลีลาคลาไคล เสด็จไปปราสาทพระโอรส | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงแลดูประตูปิด ประหลาดจิตเงียบเชียบไปไหนหมด | ||
+ | พระดำเนินเดินเที่ยวเลี้ยวลด รอบปราสาทโอรสด้วยสงกา | ||
+ | จึงร้องเรียกสุวิญชานารี ชนนีบิตุรงค์ลงมาหา | ||
+ | หลับไปหรือไรไม่พูดจา แก้วตาเปิดรับพ่อฉับไว | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ทอดถอนใจใหญ่ | ||
+ | แว่วเสียงพระชนกก็ตกใจ พรั่นตัวกลัวภัยเป็นสุดคิด | ||
+ | ด้วยขับไล่สุวิญชาบังอร ไม่ทูลก่อนทำตามอำเภอจิต | ||
+ | กลัวความทั้งนี้จะมิมิด ทรงฤทธิ์อ้นอั้นตันใจ | ||
+ | จึงค่อยย่องมามองเมียงดู เปิดประตูมิใคร่จะออกได้ | ||
+ | จำเป็นก็จำออกไป บังคมไหว้ทั้งสองกษัตรา | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระบิตุรงค์เห็นองค์โอรสา | ||
+ | สะกิดบอกมเหสีโสภา หน้าตาลูกเราเศร้าโศกไป | ||
+ | ดูท่วงทีกิริยาไม่สบาย ดีร้ายชะรอยจะเจ็บไข้ | ||
+ | จึงตรัสถามไปพลันทันใด เจ้ามาถึงเมื่อไรนะลูกยา | ||
+ | ซึ่งว่าช้างเผือกพลายพัง ได้พบมั่งหรือไม่ที่ในป่า | ||
+ | จริงเหมือนหนังสือเขาถือมา หรือว่าเหตุผลประการใด | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ทูลแจ้งแถลงไข | ||
+ | ลูกอุตส่าห์จัดแจงเสียแรงไป เชือกบาศเชือกใช้ก็เตรียมครบ | ||
+ | หมายใจว่าจะได้ช้างสำคัญ ดันดั้นในป่าเที่ยวหาจบ | ||
+ | ชั้นแต่รอยเท้าก็ไม่พบ พอครบเจ็ดวันก็รีบมา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สองกษัตริย์สุริย์วงศ์นาถา | ||
+ | จึงตรัสแก่องค์พระลูกยา สงสารสุวิญชาทรามวัย | ||
+ | นางไกลชนนีบิตุรงค์ เจ้าจงเอาใจดูหูใส่ | ||
+ | จะคลอดลูกคลอดเต้าไม่เข้าใจ ให้นอนฟืนนอนไฟอย่าใจเบา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์บังคมก้มเกล้า | ||
+ | คิดเสียดายสุวิญชานงเยาว์ จึงทูลเล่าเนื้อความตามกิจจา | ||
+ | ลูกไปป่ามาถึงไม่ทันนั่ง เห็นท่อนไม้มาตั้งอยู่ตรงหน้า | ||
+ | เจ็ดนางว่าลูกสุวิญชา เกิดมาเป็นกลีไม่ดีจริง | ||
+ | สองพระองค์จงโปรดปรานี ลูกนี้อับอายชายหญิง | ||
+ | เขาว่าขานมีพยานอ้างอิง พิเคราะห์ความจริงข้างสุริยา | ||
+ | ให้เคืองขัดอัดอั้นตันจิต สุดคิดที่จะงดอดโทษา | ||
+ | จึงขับไล่นางไปกับวิฬาร์ ออกนอกทวาราแต่คืนนี้ | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระบิตุรงค์ธิราชเรืองศรี | ||
+ | ได้ฟังคั่งแค้นแสนทวี จึงว่าแก่มเหสีทรามวัย | ||
+ | ดูดู๋ไชยเชษฐ์ทะนงศักดิ์ ฮึกฮักไม่บอกเล่าเราผู้ใหญ่ | ||
+ | ที่ไหนมั่งลูกคนเป็นท่อนไม้ ผิดเพศวิสัยในแผ่นดิน | ||
+ | เราก็ได้มีเมียมาเสียหนัก จนฟันหักหัวหงอกไปหมดสิ้น | ||
+ | เกิดมาแก่จะตายพึ่งได้ยิน ช่างเชื่อลิ้นหลงกลคนมารยา | ||
+ | ชิชะขอบใจไชยเชษฐ์ ฤทธิ์เดชสุงสิงหยิ่งนักหนา | ||
+ | ทำตามลำพังอหังการ์ ไม่เกรงศักดาพระยามาร | ||
+ | ว่าแล้วสั่งสี่พี่เลี้ยงพลัน จงเกณฑ์กันพลเรือนแลทหาร | ||
+ | ไปติดตามสุวิญชานงคราญ เที่ยวค้นดูทุกบ้านแลดงดอน | ||
+ | แม้นประสบพบนางเทวี ว่าเรานี้ให้คืนเข้ามาก่อน | ||
+ | จะถามดูให้รู้โทษกรณ์ อ้อนวอนว่ากล่าวทั้งวิฬาร์ | ||
+ | ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น พระพี่เลี้ยงรับสั่งใส่เกศา | ||
+ | ต่างถวายบังคมแล้วไคลคลา ออกมาบอกเวรเกณฑ์กัน | ||
+ | เรียกหาบ่าวไพร่วุ่นวาย จัดแจงแต่งกายขมีขมัน | ||
+ | ครั้นเสร็จก็รีบจรจรัล แยกกันไปตามมรคา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ออกนอกพารามาถึง ทางหนึ่งจะเข้าประตูป่า | ||
+ | เที่ยวดูสำคัญสัญญา ก็พบรอยวิฬาร์จำปาทอง | ||
+ | ทั้งสี่ยินดีปรีดา หัวเราะร่ากระหยิ่มยิ้มย่อง | ||
+ | ให้บ่าวสนิทติดพี่น้อง เป็นนายกองเก็บดอกจำปาไป | ||
+ | แล้วรีบตามทรามวัยจะให้ทัน ดันดั้นเดินมาในป่าใหญ่ | ||
+ | สักครู่หนึ่งก็ถึงต้นไทร แลไปเห็นหีบก็สงกา | ||
+ | ต่างวุ่นวิ่งชิงกันเข้าเพ่งพิศ ประหลาดจิตเปิดดูเห็นภูษา | ||
+ | จำปาทองตกกลาดดาษดา พี่เลี้ยงพูดจาหารือกัน | ||
+ | แล้วแยกย้ายเดินไปด้อมมอง เที่ยวท่องตามไปในไพรสัณฑ์ | ||
+ | บ้างระวังนั่งเฝ้าของสำคัญ บ้างชวนกันขึ้นบนต้นไม้ดู | ||
+ | บ้างเที่ยวไปพบรอยอัสดร ซอกซอนเที่ยวหาเป็นหมู่หมู่ | ||
+ | ไม่ประสบพบนางโฉมตรู ต่างกู่บ่าวไพร่มาพร้อมกัน | ||
+ | ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ จงปรึกษาหารือกันทั้งสี่ เรานี้จำจะรีบผายผัน | ||
+ | ไปทูลความตามได้ของสำคัญ ทรงธรรม์จะโปรดประการใด | ||
+ | ครั้นจะเที่ยวหาองค์นงลักษณ์ ไม่ประจักษ์ว่าไปตำบลไหน | ||
+ | ว่าแล้วพากันคลาไคล บ่าวไพร่แบกหีบรีบตามมา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงตรงเข้าไปเฝ้า ก้มเกล้าบังคมเหนือเกศา | ||
+ | แล้วกราบทูลความตามกิจจา เดิมข้าไปถึงชายไพร | ||
+ | พบรอยเท้าแมวเป็นแถวถ้อง ดอกจำปาทองก็ใหม่ใหม่ | ||
+ | จึงตามรอยดำเนินเดินไป ถึงต้นไทรได้หีบกับผ้านี้ | ||
+ | ทั้งจำปาทองก็กองกลาด ผิดประหลาดไม่พบนางโฉมศรี | ||
+ | ข้าเที่ยวดูในดงพงพี พบแต่รอยพาชีรอยรถ | ||
+ | ครั้นดั้นดันค้นหาต่อไป รอยรถมโนมัยก็หายหมด | ||
+ | สุดที่จะเที่ยวเลี้ยวลด พระทรงยศจงทราบฝ่าธุลี | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท่านท้าวธรรมึกเรืองศรี | ||
+ | เห็นหีบกับสไบของเทวี ภูมีสงสัยในวิญญาณ์ | ||
+ | จึงตรัสแก่มเหสีทรามวัย พิเคราะห์ไปสมสิ้นดังเราว่า | ||
+ | เจ้าจะเห็นอย่างไรให้ว่ามา อันนางสุวิญชานงเยาว์ | ||
+ | อีเหล่านี้ริษยาสาธารณ์ เอาท่อนไม้ใส่พานว่าลูกเขา | ||
+ | เฝ้าตะบอยบอกผัวยั่วเย้า อนิจจาลูกเราช่างเบาความ | ||
+ | ถึงจะเป็นกาลีดีชั่ว เมียของตัวเป็นไรไม่ไต่ถาม | ||
+ | ผิดชอบก็ไม่รู้วู่วาม ขับไล่เล่นตามสบายใจ | ||
+ | นี่แน่ไชยเชษฐ์ลูกเอ๋ย กระไรเลยงวยงงหลงใหล | ||
+ | จงพินิจพิศดูผ้าสไบ เห็นเจ้าจะจำได้ดอกกระมัง | ||
+ | อันหีบใหญ่ใบนี้อยู่กลางดง มันคงจะใส่เอาไปฝัง | ||
+ | แต่จนใจว่าไปก็อำปลัง จะคอยฟังถ้อยคำสุวิญชา | ||
+ | เออสิ่งของร่องรอยก็พบสิ้น จะแทรกดินบินไปไหนหนักหนา | ||
+ | อ้ายทั้งสี่พี่เลี้ยงมึงกลับมา มุสาเปล่าเปล่าไม่เข้าการ | ||
+ | เสียแรงกู้ไว้เนื้อเชื่อใจ ช่างนิ่งได้มุดหัวอยู่กับบ้าน | ||
+ | ชอบแต่เฆี่ยนให้หลังเป็นทาลาน การงานหนักเบาไม่เข้าใจ | ||
+ | ฯ ๑๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น นางแก้วสัจจาอัชฌาสัย | ||
+ | เคืองแค้นลูกยาแล้วว่าไป นั่งดูอยู่ไยไม่พาที | ||
+ | ของนี้จำได้หรือไม่เล่า ลูกเต้าอะไรที่ไหนนี่ | ||
+ | พลอยเฟือนเปื้อนปนเจ้าคนดี ช่างไม่มีความคิดสักนิดเดียว | ||
+ | เชื่อลิ้นหลงกลคนโกหก มีแต่พกโมโหฉุนเฉียว | ||
+ | ใจคอพอดีกระนี้เจียว จะบอกแม่คำเดียวไม่น้อยใจ | ||
+ | นิจจาเอ๋ยสุวิญชาบังอร จะซอกซอนไปตำบลหนไหน | ||
+ | จะอดอยากลำบากประการใด ว่าพลางอรไทก็โศกี | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์สุริย์วงศ์เรืองศรี | ||
+ | เห็นองค์สมเด็จพระชนนี โศกีรำพันว่าไป | ||
+ | คิดถึงเมียเสียใจอาลัยนัก พระเมินพักตร์ผินผันกลั้นร้องไห้ | ||
+ | พลางหยิบดอกจำปาผ้าสไบ ภูวไนยแลเล็งเพ่งพิศ | ||
+ | แล้วทูลสองพระองค์ทรงเดช จงโปรดเกศเกศีลูกนี้ผิด | ||
+ | เพราะโมโหหุนหันไม่ทันคิด อกุศลดลจิตให้เป็นไป | ||
+ | หากสี่พี่เลี้ยงเข้ากั้นกาง ขอโทษนางอ้อนวอนเป็นไหนไหน | ||
+ | จึงมิได้ฆ่าฟันให้บรรลัย ขับไล่เสียจากพารา | ||
+ | เดชะบุญจางตลอดรอดฝั่ง อีคนชังคนคิดริษยา | ||
+ | จะเสี่ยงสับแล่เนื้อเอาเกลือทา แก้แค้นแสนสาแก่ใจมัน | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท่านท้าวธรรมึกนึกหุนหัน | ||
+ | จึงตรัสว่าไม่เห็นถึงเช่นนั้น น้อยหรือให้ฆ่าฟันกัลยา | ||
+ | นี่หากอ้ายทั้งสี่พี่เลี้ยง มันว่ากล่าวบ่ายเบี่ยงเป็นหนักหนา | ||
+ | ยังขับไล่เสียจากพารา งามหน้าแล้วคราวนี้ดีแท้ | ||
+ | จะพูดไปเหนื่อยเปล่าไม่เข้าข้อ ถึงเป็นพ่อก็ทำไมกับคนแก่ | ||
+ | นับวันแต่จะเฟือนเชือนแช ไม่รู้คุ้งรู้แควประตูไร | ||
+ | แต่คิดมาหรือหนึ่งจะต้องว่า จะพลอยพาความผิดถึงผู้ใหญ่ | ||
+ | หยาบหยามทำตามอำเภอใจ ยิ่งกว่าข้าสินไถ่ที่ได้มา | ||
+ | ถ้านางไปทูลท้าวกล่าวโทษ จะกริ้วโกรธขัดแค้นแสนสา | ||
+ | ก็จะยกพวกพลอสุรา รีบมาเคี้ยวกันสิ้นทั้งเมือง | ||
+ | จงเร่งคิดติดตามทรามวัย ไปแก้ไขทูลความตามเรื่อง | ||
+ | ชี้แจงบรรยายให้หายเคือง เร่งออกจากเมืองในวันนี้ | ||
+ | ว่าพลางชวนนางแก้วสัจจา ลีลาลงจากปราสาทศรี | ||
+ | พร้อมสนมกำนัลขันที ภูมีเสด็จคลาไคล | ||
+ | ฯ ๑๔ คำ ฯ เสมอ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ช้า</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์รัศมีศรีใส | ||
+ | ครวญคร่ำกำสรดระทดใจ อยู่ในแท่นที่ศรีไสยา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>พญาโศก</sup> | ||
+ | ๏ ทอดองค์ลงนอนเหนืออาสน์ กรก่ายพระนลาฏละห้อยหา | ||
+ | คิดคะนึงถึงโฉมสุวิญชา ให้มีความเมตตาอาลัยนัก | ||
+ | แต่เจ้าพลัดพรากจากบุรี พี่นี้วิตกเพียงอกหัก | ||
+ | จากเมียเสียทั้งพระลูกรัก ทรงศักดิ์รัญจวนครวญคราง | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>โอ้</sup> | ||
+ | ๏ โอ้ว่าสุวิญชาของผัวเอ๋ย บาปสิ่งไรเลยเราเคยสร้าง | ||
+ | บันดาลดลให้มีอีเจ็ดนาง มันเกิดมาตามล้างในชาตินี้ | ||
+ | จึงเผอิญให้ผัวมัวนิยม สมาคมคบพวกเดียรถีย์ | ||
+ | ไม่รู้กลคนกาลกิณี จึงเสียมิ่งมารศรีน่าน้อยใจ | ||
+ | สงสารปานนี้นางโฉมตรู จะไปอยู่แห่งหนตำบลไหน | ||
+ | หรือจะตายวายวางเสียกลางไพร หรือจะไปได้ถึงพระบิดร | ||
+ | ยิ่งคิดยิ่งแค้นแสนเทวษ ชลเนตรซึมซาบอาบหมอน | ||
+ | พระโศกศัลย์กันแสงถึงบังอร แน่นอนสะอื้นไห้ไปมา | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น นางศรีสุริยาเสน่หา | ||
+ | เห็นพระโฉมยงทรงโศกา สะอื้นถึงสุวิญชาก็พรั่นใจ | ||
+ | จึงเรียกนางอุบลวดี ครั้นนี้เราจะคิดเป็นไฉน | ||
+ | หยูกยาอาคมที่ทำไว้ ก็เสื่อมคลายหายไปทุกเวลา | ||
+ | พระรื้อครวญคร่ำรำพึง คิดถึงสุวิญชาเป็นหนักหนา | ||
+ | แม้นตามไปได้ตัวกลับมา เบื้องหน้าก็จะเกิดวุ่นวาย | ||
+ | จำเราจะพากันขึ้นไป เยาะเย้ยไยไพพระโฉมฉาย | ||
+ | ให้เธออัปยศอดอาย แล้วเดินกรายตรงไปไม่รั้งรอ | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เพลง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>เย้ย</sup> | ||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงเข้าผลักไส ทุกข์ร้อนถึงใครกระนี้หนอ | ||
+ | เฝ้าครวญคร่ำน้ำเนตรยังคลอคลอ เห็นต่อจะรำลึกถึงเมียรัก | ||
+ | นางสุวิญชาเป็นกาลี เผอิญมีลูกอ่อนเป็นท่อนสัก | ||
+ | ยังอาลัยในหญิงทรลักษณ์ ไม่อายพักตร์นักสนมกรมใน | ||
+ | เขาจะว่าพระองค์หลงเมีย ขับไล่ไปเสียแล้วร้องไห้ | ||
+ | นางอื่นหมื่นแสนแน่นไป มิใช่สตรีมีจำเพาะ | ||
+ | ไม่เหมือนนางหน้านวลไม่ควรคู่ แต่เจ้าสุวิญชาจะพาเหาะ | ||
+ | เดี๋ยวนี้พรากจากท้าวเป็นคราวเคราะห์ ไปสืบเสาะตามหาเอามาซิ | ||
+ | รักเมียสุดอย่างห่างไม่รอด เป็นไรไม่กอดกันไว้สิ | ||
+ | ขับเสียจากวังแล้วนั่งมิ สิ้นสติมึนตึงตะลึงตะไล | ||
+ | สมเพชเวทนาน่าหัวร่อ ทุกข์ร้อนงอนหง่อเหมือนจับไข้ | ||
+ | รู้กระนี้ขับเมียเสียทำไม แล้วจะมาอาลัยเมื่อปลายมือ | ||
+ | น้ำลายคายถ่มลงถึงดิน จะกลับคืนกลืนกินไม่เกลียดหรือ | ||
+ | ไพร่บ้านพลเมืองจะเลืองลือ อึงอื้อไปทั่วทั้งเหมันต์ | ||
+ | ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
+ | ==== ==== | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์เคืองแค้นแสนศัลย์ | ||
+ | งุ่นง่านดาลเดือดดุดัน ขบฟันเกรี้ยวกราดตวาดไป | ||
+ | เหม่อีขี้ข้าหน้าเป็น มาเยาะเย้ยกูเล่นหรือไฉน | ||
+ | กูขับเมียกูเสียก็เพราะใคร พวกมึงหรือมิใช่มายุยง | ||
+ | มึงอย่าพักชมชื่นรื่นรวย ชีวิตมึงจะม้วยเป็นผุยผง | ||
+ | แม้นตามไปได้สมดังใจจง จะปลดปลงทั้งโคตรอีเจ็ดคน | ||
+ | วันนั้นเสียความไม่ถามไถ่ กูหลงเชื่ออีใจอกุศล | ||
+ | ไม่ทันคิดพิเคราะห์ดูเล่ห์กล บันดาลดลจิตใจให้ขับน้อง | ||
+ | มึงทั้งเจ็ดคนอีชาติข้า เห็นกูไปมาก็จองหอง | ||
+ | ทำแก่เนื้อแก่ตัวหนังหัวพอง เหมือนกิ้งก่าได้ทองผูกคอไว้ | ||
+ | กูได้หีบมาเป็นสำคัญ จะได้เล่นเห็นกันให้จงได้ | ||
+ | ช่างพันผูกว่าลูกเป็นท่อนไม้ นั่นเล่ห์กลของใครอีมารยา | ||
+ | ฯ ๑๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น นางอุบลวดีเสน่หา | ||
+ | เคืองค้อนย้อนตอบพระวาจา ถึงหีบหีบได้มาไม่ตกใจ | ||
+ | ใครยั่งยืนว่าข้าทำร้าย อันจะคิดตัวตายอย่าสงสัย | ||
+ | ถึงจะดำน้ำลุยไฟ ไม่ย่อท้อต่อใครอย่าสงกา | ||
+ | สิได้หีบมาเห็นเป็นสำคัญ ก็เชิญไปตามกันที่ในป่า | ||
+ | เกลือกว่าจะพบพระลูกยา จะได้พามาให้พร้อมพรัก | ||
+ | ข้านี้ขี้ข้าอยู่ในเรือน มันไม่เหมือนหม่อมแม่เจ้าท่อนสัก | ||
+ | แต่ขับไล่ไปแล้วยังร่ำรัก จนพระพักตร์ดูดำดังหมึกทา | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์เคืองแค้นแสนสา | ||
+ | ดูดู๋ลิ้นลมเจรจา ต่อล้อเล่นหน้าคารมดี | ||
+ | อุตส่าห์เร่งขึ้นเสียงเถียงให้อึง หัวมึงจะขาดอยู่ที่นี่ | ||
+ | พระกริ้วโกรธนักดังอัคคี เหม่อีกาลีมึงเย้ยใคร | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ศัพท์ไทย</sup> | ||
+ | ๏ ว่าเอยว่าแล้ว ฉวยพระขรรค์แก้วเลี้ยวไล่ | ||
+ | ทุดอีจัญไร วิ่งไปไยนา | ||
+ | ปากกล้าสาหัส กูจะตัดเกศา | ||
+ | อีเจ้ามายา ขี้ข้าอาธรรม์ | ||
+ | พระยิ่งโกรธเกรี้ยว ไล่เลี้ยวห้ำหั่น | ||
+ | กระชิดติดพัน ฟาดฟันวุ่นไป | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>รื้อ</sup> | ||
+ | ๏ เจ็ดเอยเจ็ดนาง เถียงพลางวิ่งพลางไม่เข้าใกล้ | ||
+ | เขาว่าถูกใจ ออกไล่ฆ่าฟัน | ||
+ | คลั่งถึงเมียรัก ฮึกฮักหุนหัน | ||
+ | ว่าพลางพากัน พัลวันวิ่งไป | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>รื้อ</sup> | ||
+ | ๏ อีเอยอีเจ็ดคน ยังขึ้นเสียงเถียงลนทะเลาะได้ | ||
+ | กล้าดีหนีไย อีใจฉกรรจ์ | ||
+ | หัวมึงจะพับ ลงกับพระขรรค์ | ||
+ | ว่าพลางทรงธรรม์ ไล่ฟันกัลยา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ ครั้นเห็นเจ็ดนางหนีไป คั่งแค้นพระทัยเป็นหนักหนา | ||
+ | หวนรำลึกถึงสุวิญชา เสด็จมายังพระโรงรูจี | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ลดองค์ลงนั่งเหนืออาสน์ ประภาษสั่งพี่เลี้ยงทั้งสี่ | ||
+ | ให้ผูกม้าเตรียมพลมนตรี พรุ่งนี้น้องจะไปไพรวัน | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น พระพี่เลี้ยงรับสั่งแล้วผายผัน | ||
+ | มาจัดพลผูกม้าเครื่องสุวรรณ เตรียมท่าทรงธรรม์ที่เกยลา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ลือเดชทุกทิศา | ||
+ | ครั้นสว่างสร่างแสงพระสุริยา เสด็จมาสระสรงสาคร | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ทรงเครื่องประดับสรรพเสร็จ ขัดพระขรรค์ใจเพชรสะพักศร | ||
+ | แล้วลีลามาทรงอัศดร ให้เลิกพลนิกรไคลคลา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ชมดง</sup> | ||
+ | ๏ พระเสด็จเข้าในไพรไพฤกษ์ คะนึงนึกถึงเจ้ายอดเสน่หา | ||
+ | พลางชมรุกขชาติดาษดา บ้างทรงผลผกาอรชร | ||
+ | หอมหวนอวลอบมารวยริน กลั้วกลิ่นเหมือนกลิ่นดวงสมร | ||
+ | พระผันแปรแลเห็นทิชากร บ้างบินร่อนเรียกคู่บ้างจับคอย | ||
+ | เบญจวรรณจับวัลย์พ้นอุโลก ถวิลวันวิโยคที่โศกสร้อย | ||
+ | กระลิงจับไม้กระลิงลอย เหมือนขับไล่สาวน้อยให้คลาดแคล้ว | ||
+ | นกหว้าจับไม้ขานางนอน เหมือนน้องวอนว่าพี่อยู่แจ้วแจ้ว | ||
+ | นกกระเต็นเต้นไต่ต้นช้องแมว เหมือนน้องแก้วไต่เต้าตามวิฬาร์ | ||
+ | ชมพลางทางคะนึงถึงเมียรัก พระทรงศักดิ์เศร้าสร้อยละห้อยหา | ||
+ | ไม่แลดูหมู่ไม้สกุณา รีบเร่งอาชาจรลี | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ตะนาว</sup> | ||
+ | ๏ เดินพลางทางเห็นจำปาทอง เรี่ยรายก่ายกองตามวิถี | ||
+ | ทั้งรอยแมวขุดคุ้ยปัถพี จึงบอกสี่พี่เลี้ยงมิได้ช้า | ||
+ | อันนวลนางมาทางสิงหลได้ น้องนี้ดีใจเป็นหนักหนา | ||
+ | ชะรอยเจ้าเศร้าโศกไคลคลา ดอกจำปาจึงตกตามทางไป | ||
+ | แล้วสั่งบรรดาพวกพล ให้ดั้นด้นค้นคว้าในป่าใหญ่ | ||
+ | สั่งพลางทางขับมโนมัย ตามรอยดอกไม้ไปดู | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร้องเชิดฉิ่ง</sup> | ||
+ | ๏ เห็นจอมปลวกตอไม้หมายว่าน้อง พระก้มองค์ลงมองอยู่เป็นครู่ | ||
+ | ครั้นแลไปมิใช่นางโฉมตรู ให้คิดอายอดสูในพระทัย | ||
+ | เห็นเงาไวไวอยู่ในรก รื้อขับม้าหกมาดูใหม่ | ||
+ | เข้าใกล้มิใช่นางทรามวัย ชลนัยน์ไหลหลั่งลงหลังม้า | ||
+ | ได้ยินเสียงดุเหว่าเร่าร้อง เอ๊ะเสียงน้องโน่นแล้วกระมังหนา | ||
+ | ฟังไปมิใช่เสียงสุวิญชา พระทรงโศกาแล้วคลาไคล | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ ครั้นถึงปลายแดนเมืองสิงหล ให้พักพลหยุดอยู่ในป่าใหญ่ | ||
+ | พระตรัสแก่พี่เลี้ยงทันใด เราจะตั้งแรมไรอยู่ที่นี้ | ||
+ | จะได้ซับซาบดูให้รู้ข่าว ว่านางมาถึงท้าวยักษี | ||
+ | หรือเวียนวนหลงอยู่พนาลี จะได้ยกโยธีไปเที่ยวค้น | ||
+ | พี่ออกไปบอกเสนา ให้ตั้งพลับพลาพนาสณฑ์ | ||
+ | อย่าเกรียวกราวป่าวร้องจงทุกคน รู้ถึงสิงหลจะวุ่นวาย | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น พระพี่เลี้ยงรับสั่งแล้วผันผาย | ||
+ | จึงเรียกหาบรรดาตัวนาย แล้วบรรยายสั่งความตามบัญชา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น เสนาตำรวจในซ้ายขวา | ||
+ | ให้บ่าวไพร่ตัดไม้เกี่ยวคา มาปลูกพลับพลาฉับพลัน | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น องค์พระไชยเชษฐ์เฉิดฉัน | ||
+ | พอพระสุริยาสายัณห์ จรจรัลขึ้นสู่พลับพลาชัย | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ลดองค์ลงนั่นเหนืออาสน์ จะดำรัสตรัสประภาษก็หาไม่ | ||
+ | ให้คิดรำพึงคะนึงใน ถึงนางทรามวัยสุวิญชา | ||
+ | ครั้นเพลาพลบค่ำย่ำฆ้อง เสียงนกหกร้องก้องป่า | ||
+ | จึงเสด็จเข้าในที่ไสยา เอนองค์ลงนิทราไม่มีสบาย | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ ตระ ประทมไพร | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ช้าปี่</sup> | ||
+ | ๏ พระแน่นอนถอนทอดใจใหญ่ คิดใคร่ครวญไปฤทัยหาย | ||
+ | กูขับเมียเสียรู้อีแสนร้าย มันอุบายพูดพ้อล่อลวง | ||
+ | พอฉุกจิตคิดกลับสิขับแล้ว ดังดวงแก้วตกลงชเลหลวง | ||
+ | น้อยใจเจ็บช้ำระกำทรวง มันแกล้งเด็ดเอาดวงชีวิตไป | ||
+ | แต่จากมิ่งเมียขวัญจนวันนี้ ผัวจะมีความสุขก็หาไม่ | ||
+ | เจ้าคิดถึงพี่บ้างหรืออย่างไร หรือจะแค้นเคืองใจไม่ไยดี | ||
+ | นิจจาเอ๋ยป่านนี้สุวิญชา จะอยู่ป่าหรือจะอยู่ในกรุงศรี | ||
+ | พระรัญจวนครวญหาในราตรี จนม่อยหลับไปกับที่ไสยา | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ ตระ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ช้า</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา | ||
+ | อยู่ในสิงหลพารา จนชันษาอายุได้เจ็ดปี | ||
+ | รูปทรงละม่อมพร้อมพริ้ง งามยิ่งเทวาในราศี | ||
+ | เสวยรมย์สมบัติสวัสดี กับพระชนนีโฉมตรู | ||
+ | เมื่อวันจะพบพระบิตุเรศ ให้บังเหตุโอรสคิดอดสู | ||
+ | น่าเจ็บใจใครหนอเป็นพ่อกู จึงถามมารดาดูทันใด | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ อันพระบิตุเรศของลูกรัก ไม่รู้จักรูปทรงว่าองค์ไหน | ||
+ | เห็นแต่แม่ผู้เดียวเปลี่ยวใจ กับท้าวไทอัยกาเป็นสองคน | ||
+ | สุริย์วงศ์พงศ์ประยูรที่คุ้นเคย ช่างไม่มีบ้างเลยในสิงหล | ||
+ | โปรดเกล้าเล่าแถลงแจ้งยุบล เหตุผลเป็นไฉนพระชนนี | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น นวลนางสุวิญชามารศรี | ||
+ | ได้ฟังลูกยาพาที เทวีก็คิดสะดุ้งใจ | ||
+ | เหตุนี้ดีร้ายพระบิดา ตามมาแล้วลูกจึงนึกได้ | ||
+ | แสนสงสารลูกน้อยกลอยใจ ชลนัยน์ไหลหลั่งดังธารา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณธิเบศร์โอรสา | ||
+ | แลเห็นสมเด็จพระมารดา ชลนาไหลพรากก็หลากใจ | ||
+ | จึงทูลว่าข้าถามถึงบิตุรงค์ เป็นไฉนไยทรงกันแสงไห้ | ||
+ | เหตุผลต้นปลายประการใด จงบอกเล่าลูกไปตามสัจจา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชากล่าวแกล้งแสร้งว่า | ||
+ | เมื่อกี้แม่แหงนดูหลังคา ผงปลิวเข้าตาให้เคืองคาย | ||
+ | ชลเนตรไหลหลั่งลงพรั่งพรู เคืองอยู่เดี๋ยวนี้ยังมิหาย | ||
+ | ซึ่งถามถึงบิดาอย่าวุ่นวาย แม่จะบอกฤาสายอย่าร้อนรน | ||
+ | อันบิตุเรศเกิดเกศของเจ้านั้น คือพระองค์ทรงธรรม์ท้าวสิงหล | ||
+ | จงไปเฝ้าอัยกาเจ้าสากล ทูลถามเหตุผลให้แจ้งใจ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์สิ้นสงสัย | ||
+ | แล้วบังคมลาคลาไคล ไปเฝ้าท้าวไทอัยกา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงมหาปราสาท จึงลีลาสเข้าไปใกล้ยักษา | ||
+ | ลดองค์ลงกราบกับบาทา นั่งเฝ้าอัยกาพระยายักษ์ | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์บังคมไหว้ | ||
+ | แล้วกราบทูลความถามท้าวไท พ่อข้าคนไหนอัยกา | ||
+ | แต่หลานรักรู้คำจำความ ยังไม่รู้จักนามรู้จักหน้า | ||
+ | ครั้นทูลถามพระแม่สุวิญชา บอกว่าตาเป็นพ่อเห็นผิดนัก | ||
+ | มารดาข้ายังเป็นสาวแส้ ตาแก่โคร่งคร่างฟันฟางหัก | ||
+ | ไม่ร่วมแท่นบรรทมภิรมย์รัก สงสัยนักตาเล่าให้เข้าใจ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท่านท้าวสิงหลเป็นใหญ่ | ||
+ | ได้ฟังหลานสนองต้องพระทัย ยิ้มแย้มละไมแล้วว่ามา | ||
+ | เขาเห็นว่าตาชรานัก หลานรักจะอับอายขายหน้า | ||
+ | ไม่สมกันกับแม่สุวิญชา จึงให้เรียกพ่อตาแล้วเป็นไร | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์สิ้นสงสัย | ||
+ | สำคัญว่าพ่อจริงก็นิ่งไป จึงกราบทูลท้าวไทยอัยกา | ||
+ | หลานจะลาไปเล่นพนาลี จับหมู่มฤคีแลปักษา | ||
+ | ตะวันชายบ่ายคล้อยจะกลับมา พระอัยกาจงโปรดปรานี | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท่านท้าวสิงหลยักษี | ||
+ | แสนสวาทนัดดาพ้นทวี กอดจูบแล้วมีพระบัญชา | ||
+ | หลานจะใคร่ไปเที่ยวเล่นไพร ก็ตามแต่น้ำใจตาไม่ว่า | ||
+ | จึงเรียกสี่พี่เลี้ยงเข้ามา กำชับกำชาสารพัน | ||
+ | แล้วบัญชาการว่าหลานรัก พ่ออย่าอยู่ช้านักในไพรสัณฑ์ | ||
+ | พอบ่ายชายแสงสุริยัน จงรีบผายผันมาพารา | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา | ||
+ | ชื่นชมยินดีชลีลา มาทรงอาชาทันใด | ||
+ | พร้อมพระพี่เลี้ยงทั้งสี่ เสนีขี่ม้ามาไสว | ||
+ | ควบขับคับคั่งเวียงชัย เร่งอาชาไนยให้เคลื่อนคลาย | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงป่าใหญ่ไพรสาณฑ์ จึงสั่งพนักงานบ่วงข่าย | ||
+ | ให้เร่งลงหลักดักราย พวกม้าผันผายไปไล่มา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น เหล่าพวกพนักงานถ้วนหน้า | ||
+ | ผูกบ่วงถ่วงทิ้งโยทะกา ดักตามมรคาที่เนื้อจร | ||
+ | บ้างวงข่ายรายรอบปากชนาง ใส่สายรยางค์ชักหลอน | ||
+ | พวกม้าไล่ไปชายดงดอน หุ้มต้อนฝูงสัตว์สะพัดมา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เชิด เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บ้างจับได้สิงโตโคกระทิง สารพัดสัตว์สิงมหิงสา | ||
+ | บ้างได้เนื้อเบื้อนานา ต่างเอามาถวายพระกุมาร | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์เกษมศานต์ | ||
+ | ชมสัตว์จัตุบาทแสนสำราญ แล้วพระกุมารก็ปล่อยไป | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นเสร็จขึ้นสายธนูศิลป์ ฟ้าดินกัมปนาทหวาดไหว | ||
+ | ยิงต้นรังพลันทันใด เสียงสนั่นลั่นไปในอารัญ | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เชิดฉิ่ง เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ตระหนกอกสั่น | ||
+ | กับสี่พี่เลี้ยงทั้งนั้น พากันหวั่นหวาดประหลาดใจ | ||
+ | พี่เลี้ยงว่าเสียงเหมือนฟ้าผ่า บ้างว่าเขายิงปืนใหญ่ | ||
+ | จึงลงจากพลับพลาคลาไคล เที่ยวด้อมเดินไปจะใคร่รู้ | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เพลง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ค่อยแลลอดสอดเห็นพระกุมาร กับทวยหาญน้อยน้อยมาเล่นอยู่ | ||
+ | รูปทรงโสภาน่าเอ็นดู ถือธนูน้าวประลองคะนองนัก | ||
+ | พระจึงว่ากับสี่พี่เลี้ยงไป ลูกใครกระจิริดสิทธิศักดิ์ | ||
+ | งามทั้งรูปทรงวงพักตร์ น่ารักน่าชมภิรมย์ใจ | ||
+ | ครั้นเราจะเข้าไปพูดจา เด็กดูแปลกหน้าจะร้องไห้ | ||
+ | จะใคร่ชักชวนมาพลับพลาชัย จะเกลี้ยกล่อมฉันใดพี่ช่วยคิด | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น ทั้งสี่พี่เลี้ยงผู้ร่วมจิต | ||
+ | ต่างคนแลเล็งเพ่งพิศ แล้วทูลทรงฤทธิ์ไปทันใด | ||
+ | อันทรวดทรงองค์พระกุมารนี้ เหมือนภูมีจริงจังดังเถือใส่ | ||
+ | ทั้งท่วงทีกิริยาละม่อมละไม จะดูไหนไม่ผิดสักสิ่งอัน | ||
+ | อย่าสงสัยไปเลยพระทรงยศ โอรสของพระองค์เป็นแม่นมั่น | ||
+ | ชะรอยบุตรสุวิญชาลาวัณย์ พระทรงธรรม์อย่าแหนงแคลงใจ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์จึงตอบแถลงไข | ||
+ | พี่ว่าเห็นจริงทุกสิ่งไป จึงดลใจให้น้องนี้เมตตา | ||
+ | ถ้าแม้นเป็นลูกเต้าของเราจริง จะปรากฏยศยิ่งในใต้หล้า | ||
+ | ชาตินี้มีกรรมได้ทำมา พลัดพรากสุวิญชานงลักษณ์ | ||
+ | เผอิญเห็นเป็นไปเข้าใจดล หลงกลอีคนอัปลักษณ์ | ||
+ | จนจากเมียเสียองค์พระลูกรัก แสนวิตกอกจะหักสู้ตามมา | ||
+ | อนิจจาสุวิญชาของผัวเอ๋ย เมื่อไรเลยจะได้เห็นหน้า | ||
+ | เจ้าช่างวางใจไม่อัชฌา ละให้ลูกยามาเล่นไพร | ||
+ | พระคิดถึงเมียแก้วแล้วโศกศัลย์ ยิ่งกลืนกลั้นชลเนตรก็ยิ่งไหล | ||
+ | เสด็จออกไปนอกพุ่มไม้ ตั้งใจยืนดูพระกุมาร | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์ใจหาญ | ||
+ | เล่นอยู่กับหมู่บริวาร เห็นคนยืนหน้าฉานก็ขัดใจ | ||
+ | จึงชี้หัตถ์ตรัสว่าอ้ายเหล่านี้ ชีวีมึงจะม้วยหารู้ไม่ | ||
+ | ยืนเขม่นจะเล่นกูเท่าไร ตำรวจในเร่งออกไปถามดู | ||
+ | ว่ามายืนทำไมที่ไหนนั่น หรือชวนกันหลอกล้อจะต่อสู้ | ||
+ | จึงมิได้ยำเยงเกรงกู ไปถามดูแล้วกลับมาฉับพลัน | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | ==== ==== | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ บัดนั้น พวกตำรวจในคนขยัน | ||
+ | ก้มเกล้ารับสั่งบังคมคัล พากันวิ่งไปเก้กัง | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงว่าตานั่งลง ทำไมมายืนตรงหน้าที่นั่ง | ||
+ | ตาเหล่านี้นักหนาว่าไม่ฟัง จะเอาหวายลงหลังหรือว่าไร | ||
+ | แกล้งออกมาเผ่นเห็นถนัด รับสั่งตรัสให้เข้ามาถามไถ่ | ||
+ | ตัวยืนหน้าที่นั่งบังอาจใจ ไม่เห็นเจ้าหรือไรให้ว่ามา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น องค์พระไชยเชษฐ์ก็หรรษา | ||
+ | ได้ฟังเด็กเด็กมาพูดจา ยิ้มแย้มไปมาในพระทัย | ||
+ | จึงตรัสว่าน้อยน้อยเท่านี้ สำนวนถ้วนถี่ดังผู้ใหญ่ | ||
+ | ว่าพลางทางยื่นพระหัตถ์ไป จับเกศาเลือกไสไปมา | ||
+ | ทำไมจะให้กูกลัวเกรง เจ้าเอ็งเป็นอะไรมานักหนา | ||
+ | ยืนอยู่ไม่ได้หรือไรนา กูมิรู้ที่จะว่าให้การเป็น | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น เด็กเด็กโกรธใจมิใช่เล่น | ||
+ | พากันกลับมาน้ำตากระเด็น ร้องว่าจะได้เห็นกันเดี๋ยวนี้ | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ มาถึงจึงกราบบาทมูล สะอื้นพลางทางทูลถ้วนถี่ | ||
+ | ข้าถือรับสั่งพระภูมี ครั้งนี้สุดแค้นแสนเจ็บใจ | ||
+ | ไต่ถามตาแก่รังแกนัก จะให้หลักให้การก็หาไม่ | ||
+ | ตัวนายนั้นดื้อทั้งมือไว จับศีรษะข้าไว้จะให้กลัว | ||
+ | แล้วว่ากูยืนนดูไม่ได้หรือ พูดพลางเอามือสั่นหัว | ||
+ | เห็นว่าเป็นเด็กเล็กกว่าตัว มิได้กลัวพระราชอาญา | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา | ||
+ | ฟังคำอำมาตย์ทูลมา พระกริ้วโกรธาตละไฟ | ||
+ | น้อยหรือทำได้ไม่ยำเกรง ข่มเหงเสนาผู้ใหญ่ | ||
+ | กูกลับเข้าไปในเวียงชัย จะกราบทูลท้าวไทอัยกา | ||
+ | อุกอาจราชศักดิ์เป็นสุดคิด น้อยจิตน้อยใจหนักหนา | ||
+ | สิถามไถ่ไม่ให้การมา ไปผูกคอคร่ามาบัดนี้ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น เด็กเด็กรับสั่งใส่เกศี | ||
+ | บ้างบิดผ้าหาเชือกมาทันที เปรมปรีดิ์ดีใจแล้ววิ่งมา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงร้องว่าไป สาแก่ใจบาปกรรมที่ทำข้า | ||
+ | พระองค์ทรงกริ้วโกรธา ให้ผูกคอตาห้าคนไป | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ผู้มีอัชฌาสัย | ||
+ | แจ้งการว่ากุมารเคืองใจ ภูวไนยถวิลจินดา | ||
+ | จำจะไปเล้าโลมโฉมงาม จะได้ชมสมความปรารถนา | ||
+ | คิดพลางย่างเยื้องลีลา ไคลคลามากับพี่เลี้ยงพลัน | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงมีวาจา พ่ออย่าเคืองขุ่นหุนหัน | ||
+ | รักกันนั้นดีกว่าชังกัน จะทำน้ำใจสั้นไม่เข้ายา | ||
+ | ข้าเห็นเจ้าเล่นกับบ่าวไพร่ ให้มีใจจงรักเป็นหนักหนา | ||
+ | ขออุ้มเจ้าหน่อยเถิดรา พลางคว้าข้อมือยื้อยุดไว้ | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น นารายณ์ธิเบศร์โกรธหนักผลักไส | ||
+ | สะบัดมือเสียพลางทางว่าไป นี่รู้จักใครมายุดมือ | ||
+ | เมื่อกี้เราใช้ให้ไปว่า ควรทำเสนาเราได้หรือ | ||
+ | ยังกลับมาอุตลุดยุดยื้อ ทำบ่าวแล้วรื้อมาทำเรา | ||
+ | ตาเห็นเป็นเด็กไม่ยำเกรง แกล้งข่มเหงกันเล่นเปล่าเปล่า | ||
+ | เป็นผู้ใหญ่ทำได้ก็ทำเอา แล้วเดินหนีมิให้เข้าใกล้องค์ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น องค์พระไชยเชษฐ์สูงส่ง | ||
+ | จึงตรัสปลอบตอบคำจำนง เพราะใจตรงจงรักจึงหักมา | ||
+ | ข้าไม่หลอกล่อดอกพ่อเอ๋ย อย่าโกรธเลยรักกันเสียดีกว่า | ||
+ | เจ้าก็ตัดเยื่อใยไม่เมตตา อนิจจาเดินหนีหลีกลี้ไย | ||
+ | เมื่อกี้เจ้าใช้บ่าวออกไปห้าม ข้าพาลเขลาเบาความไม่ถามไถ่ | ||
+ | ไม่ทันรู้ว่าเสนาใน เกิดมายังไม่เห็นใครเป็น | ||
+ | เมื่อแต่ล้วนเล็กเล็กกระจิริด ข้ามีจิตคิดรักจึงหยอกเล่น | ||
+ | ลูกเท่าหัวเหาเต่าเล็น ไม่เคยพบเคยเห็นแต่บุราณ | ||
+ | ตรัสพลางทางสั่งพี่เลี้ยงไป เอาขนมมาให้แก่พระหลาน | ||
+ | แล้วโลมเล้าเอาใจพระกุมาร เชิญเสวยของหวานเถิดหลานชาย | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์ว่าอย่าพึงหมาย | ||
+ | ถึงจะแสบท้องให้แทบตาย ไม่มักง่ายกินอะไรของใครเป็น | ||
+ | มิใช่ฝีปีศาจที่เดินหน จะเสือกสนเที่ยวท่องกินของเซ่น | ||
+ | อย่าปลอบไปให้เลือดตากระเด็น พลางเดินเที่ยวเล่นไม่เจรจา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสน่หา | ||
+ | พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี | ||
+ | ข้ามิใช่ชายพาล ย่อมวงศ์วานกษัตริย์เรืองศรี | ||
+ | ครอบครองเหมันต์ธานี ไม่มีโอรสแลนัดดา | ||
+ | ไร้ทั้งสุริย์วงศ์พงศ์พันธุ์ ที่จะผ่านเหมันต์ไปวันหน้า | ||
+ | เป็นบุตรข้าเถิดนะพ่ออา บิดาจะให้ครองพระเวียงชัย | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์เคืองขัดอัชฌาสัย | ||
+ | พระกริ้วโกรธพลางว่าไป คนอะไรที่ไหนนี่หยาบช้า | ||
+ | อุเหม่ตาเฒ่านี้เจ้าเล่ห์ เฉโกโว้เว้นักหนา | ||
+ | และเลียมเทียมเล่นเจรจา จะเป็นผัวแม่ข้าหรือว่าไร | ||
+ | ถึงตัวเราเล็กก็เหล็กเพชร ไม่ขามเข็ดพวกตาอย่าสงสัย | ||
+ | ปั้นเจ๋อเย่อหยิ่งเป็นพ้นไป ผู้ใหญ่แสนรู้มาสู้กัน | ||
+ | ว่าพลางทางขึ้นธนูศิลป์ ฟ้าดินสะเทือนเลื่อนลั่น | ||
+ | พาดสายหมายล้างชีวัน ผาดแผลงไปพลันทันใด | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ศรทรงองค์พระกุมาร กลายเป็นมาลาแลไสว | ||
+ | ไม่สังหารผลาญชีพชีวาลัย พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น องค์พระไชยเชษฐ์เรืองศรี | ||
+ | เห็นศรกุมารชาญฤทธี กลับเป็นมาลีประหลาดใจ | ||
+ | วิปริตผิดเพศไม่เคยพบ พระปรารภพิศวงสงสัย | ||
+ | คิดพลางทางเสี่ยงศิลป์ชัย เดชะฤทธิไกรธนูนี้ | ||
+ | แม้นกุมารมิใช่โอรสา ของนางสุวิญชามารศรี | ||
+ | ขอให้ศรสิทธิ์ฤทธี สังหารกุมารนี้ให้วายปราณ | ||
+ | แม้นเป็นลูกน้อยนางโฉมฉาย ให้ศรกลายเป็นทิพย์อาหาร | ||
+ | เสี่ยงแล้วขึ้นศรรอนราญ แผลงไปให้ผลาญกุมารา | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ศรทรงองค์พระไชยเชษฐ์ อาเพศไม่พานโอรสา | ||
+ | กลับเป็นเอมโอชโภชนา เกลื่อนกลาดดาษดาพนาวัน | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ พระทิ้งศรทรงลงทันใด วิ่งไปกอดลูกแล้วรับขวัญ | ||
+ | พ่อลูกมาประสบพบกัน จะหักโหมโรมรันด้วยอันใด | ||
+ | ปลอบพลางทางเห็นธำมรงค์ ที่กุมารสอดทรงก็จำได้ | ||
+ | จึงว่าแหวนนี้ข้าให้ไว้ กับโฉมงามทรามวัยสุวิญชา | ||
+ | มิเชื่อเราเจ้าถามพี่เลี้ยงดู เขารู้จักอยู่ถ้วนหน้า | ||
+ | แม้นเขาว่าข้ามิใช่บิดา จึงค่อยว่าล่อลวงเจ้าดวงใจ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์ยังสงสัย | ||
+ | แล้วตริตรึกนึกแหนงแคลงพระทัย ด้วยออกนามทรามวัยสุวิญชา | ||
+ | พลางเรียกพี่เลี้ยงเข้ามาถาม จงแจ้งความตามสัตย์อย่าพรางข้า | ||
+ | จริงหรือเขาว่าเป็นบิดา ผัวแม่สุวิญชาชนนี | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น พระพี่เลี้ยงประณตบทศรี | ||
+ | จึงทูลว่าอัยกาธิบดี ห้ามปรามความนี้อยู่มากมาย | ||
+ | แม้นว่าบอกกล่าวเล่าพระองค์ จะลงอาญาข้าทั้งหลาย | ||
+ | ฉวยรู้ไปในวังสิหลังลาย พระเบี่ยงบ่ายอย่าให้ข้าถูกตี | ||
+ | มั่นคงองค์นี้แลบิตุเรศ ทรงนามไชยเชษฐ์เรืองศรี | ||
+ | ครองเมืองเหมันต์ธานี สามีพระเม่สุวิญชา | ||
+ | อันพระบิตุรงค์ทรงฤทธิ์ โทษผิดใหญ่หลวงนักหนา | ||
+ | พระยายักษ์เคืองขัดอัธยา ไม่ให้มาพานพบพระชนนี | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์เรืองศรี | ||
+ | ได้ฟังพี่เลี้ยงพาที มีความยินดีเป็นพ้นไป | ||
+ | จึงยอกรกราบบาทบิตุเรศ ชลเนตรแถวถั่งหลั่งไหล | ||
+ | สะอื้นพลางทางทูลถามไป เหตุผลกลใดพระทรงธรรม์ | ||
+ | บิตุรงค์กับองค์พระมารดร ไม่สมัครสโมสรเกษมสันต์ | ||
+ | หรือวิวาทบาดหมายอะไรกัน ทรงธรรม์จงเล่าให้เข้าใจ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์เศร้าสร้อยละห้อยไห้ | ||
+ | ฟังลูกทูลถามถึงความใน ชลเนตรหลั่งไหลฟูมฟาย | ||
+ | จึงว่าพ่อจะเล่าแก่ลูกแก้ว กรรมของพ่อแล้วนะโฉมฉาย | ||
+ | ข้างแม่เจ้าเล่าก็เคราะห์ร้าย จึงเผอิญวุ่นวายวิวาทกัน | ||
+ | เหตุผลต้นยนต์อีสุริยา มันทำกับบิดานี้แสนศัลย์ | ||
+ | ให้บอกกล่าวข่าวช้างสำคัญ พ่อต้องผายผันมาอยู่ไพร | ||
+ | ภายหลังแม่คลอดเจ้าออกมา สุริยาลอบลักเอาไปได้ | ||
+ | ครั้นบิดากลับมาถึงวังใน เห็นแต่ท่อนไม้ใส่พานมา | ||
+ | มันว่าลูกของนางโฉมยง พ่อหลงเชื่อฟังอีแพศยา | ||
+ | จึงขับแม่พลัดพรากจากพารา จนเจ้าชันษาถึงเพียงนี้ | ||
+ | กับท้าวสิงหลภูวไนย ขึ้งโกรธเป็นไฉนนะโฉมศรี | ||
+ | ด่าทอพ่อมั่งหรือไม่มี จะใคร่ไปอัญชลีพระเจ้าตา | ||
+ | ถ้าท่านแค้นขัดตัดรอนพ่อ ลูกรักช่วยทูลขอซึ่งโทษา | ||
+ | ถึงจะม้วยลงด้วยพระอาญา แต่พอให้มารดาเจ้าเห็นใจ | ||
+ | ฯ ๑๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์บังคมไหว้ | ||
+ | จึงทูลว่าพระอย่าทุกข์ฤทัย เกรงกลัวโพยภัยพระยามาร | ||
+ | ลูกจะทูลเบี่ยงบ่ายให้หายโกรธ ถึงพ่อต้องโทษก็โปรดหลาน | ||
+ | พอจะขอได้อยู่ดูอาการ เห็นจะคิดสงสารแก่นัดดา | ||
+ | ขอเชิญพระองค์คลาไคล เข้าไปกรุงไกรด้วยกับข้า | ||
+ | เกลือกทูลขอโทษโปรดลูกยา พระบิดาจะได้เฝ้าท้าวทันที | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น องค์พระไชยเชษฐ์เรืองศรี | ||
+ | ฟังลูกทูลความเห็นงามดี สมที่พระทัยนึกตรึกไตร | ||
+ | จะเข้าไปตรงตรงคงพรายแพร่ง จำจะแปลงปลอมองค์ให้สงสัย | ||
+ | คิดพลางเปลื้องเครื่องออกทันใด ให้พี่เลี้ยงซ่อนใส่ย่ามตะพาย | ||
+ | พระจึงจัดแจงแปลงองค์ แกล้งทรงผ้าตาเล็ดงาด้าย | ||
+ | ห่มแพรเพลาะดำเนินกราย มาชวนพระลูกชายไคลคลา | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์หัวเราะร่า | ||
+ | ชะงามพ้นคิดพระบิดา ขายหน้าขายตาชนนี | ||
+ | ว่าพลางทางทรงอาชาไนย ให้เลิกพลกลับไปกรุงศรี | ||
+ | พระบิดาเดินหลังรั้งโยธี กับสี่พี่เลี้ยงจรจรัล | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงที่ประตูเวียงชัย ลงจากมโนมัยผายผัน | ||
+ | มาบังคมบิตุรงค์ทรงธรรม์ พลางทูลไปพลันทันที | ||
+ | พระจงนั่งในทิมริมประตู อย่าให้ใครรู้ว่าอยู่นี่ | ||
+ | ลูกยาจะลาจรลี ไปเฝ้าชนนีกับเจ้าตา | ||
+ | ถ้าวันนี้เห็นทีจะทูลได้ ถึงมืดค่ำอย่างไรจะมาหา | ||
+ | แล้วกำชับนายประตูดูอัชฌา กูฝากตาห้าคนไว้ด้วยกัน | ||
+ | สั่งแล้วบังคมก้มเกศ ลาองค์บิตุเรศรังสรรค์ | ||
+ | รีบเสด็จลีลามาพลัน จรจรัลไปเฝ้าพระอัยกา | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | |||
===ตอนที่ ๓ พระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล=== | ===ตอนที่ ๓ พระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล=== | ||
<tpoem> | <tpoem> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลยักษา | ||
+ | อุ้มองค์พระราชนัดดา ลูบหลังลูบหน้าแล้วว่าไป | ||
+ | พ่อมาจนเย็นหลงเล่นอยู่ ต่อนกสีชมพูหรือต่อไก่ | ||
+ | ดูมอมแมมแก้มคางช่างกระไร เออนี่มิไปเที่ยวซอนซุก | ||
+ | เก็บบุปผามาบ้างหรือไม่เล่า ให้แม่เขาร้อยมาลัยใส่จุก | ||
+ | ตานั่งคอยเจ้าเฝ้าเป็นทุกข์ กลัวจะล้มลุกเจ็บป่วยไป | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์บังคมไหว้ | ||
+ | ทูลว่าลูกลาไปเล่นไพร ชมนกชมไม้ออกเพลิดเพลิน | ||
+ | น่ารักปักษีสารพัน บ้างชิงกันหากินบินเหิน | ||
+ | บ้างพาลูกเต้นไต่ร่ายเดิน บ้างร้องเกริ่นตามไล่กันไปมา | ||
+ | คิดจะดักปักษามาเลี้ยงเล่น กลัวจะเป็นเวรกรรมไปชาติหน้า | ||
+ | ลูกเมียพลัดกันเห็นทันตา เหมือนคนต้องโทษาพ่อตาเคือง | ||
+ | ข้าไปเห็นเป็นน่าสงสาร ทรมานทุกข์ตรอมจนผอมเหลือง | ||
+ | ลูกตั้งจิตคิดจะขออยู่เนืองเนือง แต่เกรงเคืองเบื้องบาทไม่อาจทูล | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลราชนเรนทร์สูร | ||
+ | ฟังหลานว่ากล่าวเป็นเค้ามูล ยิ่งเพิ่มพูนพิสมัยในนัดดา | ||
+ | สวมสอดกอดรัดแล้วตรัสพลาง น้อยหรือช่างออเซาะฉอเลาะว่า | ||
+ | รู้ราวกับผู้ใหญ่ไว้อัชฌา ให้พ่อตาจูบหน่อยเถิดกลอยใจ | ||
+ | นี่ใครพาสัญจรซอกซอนเล่น พ่อไปเห็นคนโทษเข้าที่ไหน | ||
+ | มันฉกชิงวิ่งราวเขาคราวไร หรือโทษไก่เบี้ยฝิ่นกินสุรา | ||
+ | พ่อจะถามไถ่ไล่เลียงดู จะได้รู้หนักเบาที่เจ้าว่า | ||
+ | ถ้าโทษทัณฑ์มันพอจะเมตตา บิดาไม่ขัดทัดทาน | ||
+ | ถึงโภไคยไอศูรย์ของพ่อเฒ่า ก็จะให้แก่เจ้าผู้ลูกหลาน | ||
+ | แต่พอเติบใหญ่เข้าใจการ จะเสกพ่อให้ผ่านพารา | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์สำรวลร่า | ||
+ | ทำชะอ้อนถอนหนวดให้พ่อตา พลางสนองบัญชาพระยายักษ์ | ||
+ | ซึ่งทรงพระเมตตาแก่ข้าไซร้ จะโปรดให้ครอบครองอาณาจักร | ||
+ | ท้าวตรัสโดยในพระทัยรัก พระคุณอยู่ลูกหนักเท่าฟ้าดิน | ||
+ | อันคนต้องโทษาที่ข้าขอ เขาผิดข้ออุกอาจประมาทหมิ่น | ||
+ | เป็นคนโฉดโหดไร้ใจทมิฬ โทษถึงสิ้นชีวันบรรลัย | ||
+ | เดี๋ยวนี้กลับรู้ตัวว่าชั่วช้า จะมาเฝ้าพระเจ้าตาก็ไม่ได้ | ||
+ | อันถิ่นฐานบ้านเมืองเขาอยู่ไกล มิใช่คนโทษที่เมืองนี้ | ||
+ | ความเกรงความกลัวตัวเป็นหนู มาปลอมคนปนอยู่ในกรุงศรี | ||
+ | พระองค์จงโปรดปรานี ขอประทานชีวีไว้สักครั้ง | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลหลากจิตคิดหวัง | ||
+ | ไขว่ห้างเอกเขนกนิ่งฟัง มาขอพ่อดอกกระมังอ้ายจังไร | ||
+ | มันแน่แล้วสินะชะลูกพ่อ โมโหแค้นแน่นคอมันไส้ | ||
+ | ลุกขึ้นกระทืบบาทตวาดไป ดูดู๋ไอ้ลูกเล็กเด็กน้อย | ||
+ | ควรหรือมาสาระแนแก้แทน กูคิดคิดแล้วก็แค้นแน่นคอหอย | ||
+ | ช่างเคลือบแฝงแต่งลิ้นมาสำออย ให้งวยงงหลงถ้อยพลอยพยัก | ||
+ | ไหนตัวตนคนโทษที่มึงว่า จงเร่งบอกออกมาให้รู้จัก | ||
+ | กูจะผ่าอกให้ไส้ทะลัก เคี้ยวเล่นเป็นผักสนุกใจ | ||
+ | ชิชะนารายณ์ธิเบศร์เอ๋ย กระไรเลยลวงตาต่อหน้าได้ | ||
+ | ใครสั่งสอนมึงมาจงว่าไป จะตัดหัวเสียบไว้ตะแลงแกง | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>โอ้</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์ไม่บอกแจ้ง | ||
+ | เห็นพ่อตาโกรธหนักพระพักตร์แดง ก็กันแสงโศกาจาบัลย์ | ||
+ | กอดบาทาไว้พิไรวอน ประทานโทษโปรดก่อนอย่าหุนหัน | ||
+ | จะเป็นเวราด้วยฆ่าฟัน จงอดกลั้นโทษาเสียเอาบุญ | ||
+ | เขาจะได้ว่าน้ำพระทัยดี ผิดทีสองทีไม่เคืองขุ่น | ||
+ | ขอพระพ่อตาจงการุญ ให้ลูกได้แทนคุณพระบิดา | ||
+ | ถ้าแม้นพ่อข้าตายวายชนม์ ไม่ขออยู่ให้คนเห็นหน้า | ||
+ | เขาจะล่วงดูถูกลูกกำพร้า ทูลพลางโศกาสะอื้นฮัก | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลเศร้าจิตคิดหน่วงหนัก | ||
+ | ฟังถ้อยคำหลานสงสารนัก พระยายักษ์ทรุดนั่งลงทั้งยืน | ||
+ | อุ้มพลางทางปลอบพระนัดดา นิ่งเถิดพ่ออาอย่าสะอื้น | ||
+ | เนตรจะฟกช้ำจงกล้ำกลืน ตาไม่ขัดขืนให้เคืองใจ | ||
+ | จงผินพักตร์มาตาจะถาม เหตุผลต้นความเป็นไฉน | ||
+ | ได้ประสบพบพ่อหรืออย่างไร หรือว่าใครบอกเล่าเจ้าจึงรู้ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระกุมารอิดเอื้อนเยื้อนอยู่ | ||
+ | จะลวงดอกกระมังชั่งใจดู เช็ดน้ำหูน้ำตาแล้วพาที | ||
+ | หลานยังคิดแคลงจะแกล้งล่อ แล้วจะมาฆ่าพ่อข้าเป็นผี | ||
+ | แม้นงดโทษโปรดประทานชิวี จึงจะทูลคดีให้แจ้งใจ | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลยิ่งคิดพิสมัย | ||
+ | ดำรัสตรัสตอบพระหลานไป มาสงสัยตั้งกระทู้เถิดดูเอา | ||
+ | อันไอ้ไชยเชษฐ์เฉโก ตาจะดับโมโหให้แก่เจ้า | ||
+ | ช่างฉลาดนี่กระไรไม่ใจเบา อย่าพะวงจงเล่าเถิดนัดดา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์ก็หรรษา | ||
+ | บังคมก้มกราบกับบาทา จึงทูลกิจจาแต่ต้นไป | ||
+ | เมื่อเช้าหลานลาองค์พระทรงธรรม์ กับเด็กเด็กด้วยกันไปป่าใหญ่ | ||
+ | พบชายห้าคนด้นเดินไพร เข้ามาใกล้หลานรักแล้วทักทาย | ||
+ | ข้าเดือดฟุ้งมุ่งแผลงธนูศิลป์ จะให้สิ้นชีวิตดังจิตหมาย | ||
+ | ลูกศรห่อนรื้อมากลับกลาย เป็นดอกไม้มากมายหลายพรรณ | ||
+ | พระบิดามาอุ้มเอาหลานไว้ กอดจูบลูบไล้แล้วรับขวัญ | ||
+ | ทั้งเห็นแหวนแม่นยำเป็นสำคัญ จึงรำพันเล่าความแต่ต้นมา | ||
+ | ว่าเป็นเคราะห์เพราะเชื่อคนชั่ว อันโทษตัวผิดนักผิดหนา | ||
+ | ครั้นจะมาเฝ้าพระเจ้าตา ก็กลัวจะโกรธาให้ฆ่าฟัน | ||
+ | เฝ้าบ่นออดทอดถอนฤทัยฮือ แต่ออกชื่อพ่อตาก็ตัวสั่น | ||
+ | ว่าพวกพ้องสุริย์วงศ์พงศ์พันธุ์ ชิวันอยู่ใต้บทมาลย์ | ||
+ | แม้นฆ่าก็ตายไม่หมายสู้ หลานดูพระบิดาน่าสงสาร | ||
+ | ครั้นคิดคิดไปให้รำคาญ ด้วยพ่อยังร้าวฉานกับมารดา | ||
+ | จงโปรดว่าชนนีให้ดีด้วย หลานจะช่วยอ้อนวอนให้นักหนา | ||
+ | ให้แม่ดีเสียกับพ่อเถิดหนอตา นัดดาก็จะได้สบายใจ | ||
+ | ฯ ๑๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลสรวลสันต์ไม่กลั้นได้ | ||
+ | จึงตรัสห้ามนัดดาว่าอย่าไป แม่เขาขัดใจจะตีรัน | ||
+ | อันโทษบิดาไซร้เจ้าได้ขอ ตาจะยกให้พ่อผู้หลานขวัญ | ||
+ | แต่ส่วนซึ่งจะให้ดีกัน ข้อนั้นมิรู้ที่จะว่าเลย | ||
+ | เอออะไรไชยเชษฐ์มันช่างชั่ว เมามัวขับเมียเสียเฉยเฉย | ||
+ | เกิดมาเพียงนี้แล้วมิเคย กระไรเลยเง่าโง่ย่าโมนัก | ||
+ | ข้างแม่เจ้าเขาแค้นไม่รู้หาย ได้อับอายไพร่ฟ้าอาณาจักร | ||
+ | มันให้เมียข่มเหงไม่เกรงพักตร์ หลานรักยังเยาว์ไม่เข้าใจ | ||
+ | ถึงตาก็แค้นแสนสาหัส นี่หากขัดนัดดาเจ้าไม่ได้ | ||
+ | อันจะดีมิดีกันนั้นไซร้ ก็สุดแท้แต่ใจของมารดา | ||
+ | นี่พ่อเจ้าเข้ามายังธานี หรือคอยฟังร้ายดีอยู่ในป่า | ||
+ | ตาจะใคร่พบเขาเจ้าพระยา ดูดู๋จะว่าประการใด | ||
+ | ฯ ๑๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์เฉลยไข | ||
+ | พระพ่อกับพี่เลี้ยงผู้ร่วมใจ ปลอมเป็นไพร่ติดตามข้าเข้ามา | ||
+ | หลานให้พระบิดาซ่อนอยู่ ที่ริมทิมประตูข้างหน้า | ||
+ | ยังเกรงพระราชอาชญา จะให้มาเฝ้าต่อพรุ่งนี้ | ||
+ | ทูลพลางทางประณตบทบงสุ์ ลาองค์อัยการเรืองศรี | ||
+ | พระพี่เลี้ยงรับเสด็จจรลี ไปปราสาทมณีที่สำนัก | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์แสนรู้แสนหลัก | ||
+ | แอบม่านฟังความที่ถามซัก แจ้งประจักษ์รีบร้นเดินบ่นมา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>รำสีนวล</sup> | ||
+ | ๏ ทีนี้สมคิดแล้วอีแมวเอ๋ย จะเยาะเย้ยถากถางให้หนักหนา | ||
+ | ให้คุ้มค่าแค้นแทนน้ำตา จะต้องตีต้องด่าก็ไม่คิด | ||
+ | เดินเขม้นเข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน กูจะร่ำรำพันให้เจ็บจิต | ||
+ | ทำชะแง้แลเล็งเพ่งพิศ แต่งจริตหยิบหย่งตรงมา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ สีนวล | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>เย้ย</sup> | ||
+ | ๏ ครั้นถึงแถวทิมริมประตู แกล้งหยุดอยู่ดูคนทั้งซ้ายขวา | ||
+ | พอแลสบพบพักตร์พระราชา นางวิฬาร์ร่ององัน | ||
+ | แล้วทำเสียงแห้งแทบแสบคอ พูดพ้อเปรียบเปรยเย้ยหยัน | ||
+ | นี่หรือภูมินทร์ปิ่นเหมันต์ โอ๊ยไม่ทันเห็นเลยประหลาดนัก | ||
+ | แต่แรกคิดว่าใครหาไหนหนอ เออมิรู้หม่อมพ่อเจ้าท่อนสัก | ||
+ | ข้าแปลกหน้าไปไม่ได้ทัก ยังมืดมนมัวนักมาทำไม | ||
+ | อันผู้หญิงสิงหลคนแสนร้าย มาติดตามความอายไปเสียไหน | ||
+ | หรือเอาอายขายฝากไว้กับใคร จึงอุตส่าห์มาได้จะใคร่รู้ | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์นิ่งฟังนั่งไขหู | ||
+ | แลดีพี่เลี้ยงก็ต่างดู พระอดสูสู้นิ่งอยู่ในใจ | ||
+ | เพราะกูหลงกลอีคนพาล เดียรฉานจึงกล้ามาว่าได้ | ||
+ | จะซ้ำรื้อถือจิตก็ผิดไป ภูวไนยคิดพลางทางบัญชา | ||
+ | อนิจจานิจจาวิฬาร์เอ๋ย มาเยาะเย้ยตัดพ้อพ่อหนักหนา | ||
+ | โทษผิดจึงติดตามมา เพราะชั่วช้าเหลือใจในวันนั้น | ||
+ | เผอิญให้เคลิ้มคลุ้มกลุ้มจิต โมโหมืดมิดไม่อดกลั้น | ||
+ | ถึงว่าไปอื่นอื่นสักหมื่นพัน ตัวชั่วทั้งนั้นจะโทษใคร | ||
+ | จึงตามมาวอนง้อขอษมา จะทิ้งขว้างร้างหย่านั้นหาไม่ | ||
+ | แม้นนางแค้นขัดตัดอาลัย จะสู้ตายไม่ไปเมืองเหมันต์ | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์ตบมือแล้วเย้ยหยัน | ||
+ | ชะช่างถ่อมตัวชั่ววันนั้น จะมาลุกะโทษทัณฑ์เมื่อวันนี้ | ||
+ | นี่เดชะท่านพระพี่เลี้ยงช่วย ถ้าหาไม่ก็จะม้วยเป็นผี | ||
+ | หม่อมเมียจะเกษมเปรมปรีดิ์ จะนั่งล้อมสามีเป็นวงกง | ||
+ | กว่าจะคิดคืนหลังถึงแม่ลูก พอกระดูกผุละเอียดจนเป็นผง | ||
+ | นี่หากว่าวิฬาร์พาดั้นดง จึงได้พบสบองค์เจ้าท่อนไม้ | ||
+ | แต่เจ็บอายเพียงนี้แล้วมิสา ยังจะมาลอยนวลชวนไปใหม่ | ||
+ | สบถเสียแล้วคะขี้คร้านไป เขาไม่ขอพอใจเห็นเหมันต์ | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ วิเอ๋ยวิฬาร์ ชะช่างพูดจาคมสัน | ||
+ | ทั้งสะบัดสะบิ้งทุ้งทิ้งครัน เชิงชั้นแสนงอนกระบอนกระบึง | ||
+ | แต่เป็นแมวแล้วยังฟังเป็นกรับ เป็นมนุษย์ก็จะนับว่าคนหนึ่ง | ||
+ | ทั้งเหน็บแนมแหลมหลักลึกซึ้ง ทีจะปึ่งปั้นล่ำก็ทำเป็น | ||
+ | เสียดายหนอนางเป็นวิฬารี การหัวใจไมตรีจึงไม่เห็น | ||
+ | ที่พลอยได้ลำบากยากเย็น ถ้าแม้นเป็นผู้คนจะถึงใจ | ||
+ | บุญคุณเจ้ามีกับลูกเมีย เป็นคนแล้วหาเสียเจ้าได้ไม่ | ||
+ | ถ้ายังมีชีวิตด้วยกันไป เจ้าจะได้ดูพวกอียุยง | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ น่าเอยน่าหัวร่อ ข้ามิใช่บ้ายออย่าเสริมส่ง | ||
+ | ถึงเป็นสัตว์เดียรฉานก็พานตรง ไม่รักคบคนหลงเมามัว | ||
+ | คิดมาน่าอายชายมุทะลุ แต่เขายุก็เชื่อว่าเมียชั่ว | ||
+ | นางเหล่านั้นทั้งรักทั้งกลัว ควรเป็นเมียเป็นผัวทั้งเจ็ดนาง | ||
+ | ที่จริงเล่าถึงเขาจะยุยง แม้นไม่หลงก็จะสงสัยบ้าง | ||
+ | นี่มืดมนกระไรไม่รุ่งราง ช่างเชื่อว่าลูกนางเป็นท่อนไม้ | ||
+ | แต่เด็กเด็กกระจิริดพินิจดู ก็จะรู้อยู่สิ้นว่าทำใส่ | ||
+ | เมื่อเห็นเป็นจริงแล้วก็แล้วไป แบกหน้ามาไยที่เพิงพล | ||
+ | ถ้าเป็นใจอีแมวแล้วสู้ตาย ไม่อยากง้อขอกรายเมืองสิงหล | ||
+ | จะมอดม้วยด้วยโฉมนางเจ็ดคน กว่ากระดูกจะป่นเป็นผลคลี | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ แสนเอยแสนรู้ ทั้งขู่ทั้งเคียดทั้งเสียดสี | ||
+ | สิตัวจัดสารพัดจะรู้ที ปัญญามีเคล่าคล่องก็ตรองดู | ||
+ | ข้าทำชั่วไม่กลัวจะม้วยมิด กล้าเอาชีวิตเข้ามาสู้ | ||
+ | จนเป็นไพร่อาศัยนายประตู จะว่าชังโฉมตรูสุวิญชา | ||
+ | หรือจะว่ารักหากมีกรรม ก็เร่งรำถึงก่อนจึงค่อนว่า | ||
+ | ข้ารับแพ้เจ้าแล้วนางวิฬาร์ เจ้าว่าไปเถิดไม่เถียงเลย | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ น่าเอยน่าอดสู ช่างดีจริงนิ่งสู้ดูตาเฉย | ||
+ | ทรหดอดทนเป็นคนเคย นิจจาเอ๋ยหลงใหลแล้วบ้ายพลอย | ||
+ | จะว่าไปก็เหนื่อยเมื่อยลูกคาง ถึงถากถางอย่างไรไม่ราถอย | ||
+ | จะกลับไปในวังนั่งคอย เยาะนายเล่นสักหน่อยหนึ่งเถิดรา | ||
+ | ขอกราบลาฝ่าเท้าท่านทั้งสี่ ซึ่งมีพระคุณแก่เจ้าข้า | ||
+ | แม้นชีวิตยังไม่มรณา จะอุตส่าห์แทนคุณท่านคนตรง | ||
+ | ทำเสแสร้งปากว่าตาค้อน แสนงอนแต่งจริตหยิบหย่ง | ||
+ | คืนเข้าในวังดังจำนง ไปปราสาทโฉมยงสุวิญชา | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ ชุบ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ช้าปี่</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์คิดถึงโอรสา | ||
+ | ลืมพ่อเสียแล้วหรือแก้วตา จนสิ้นแสงสนธยาไม่เยี่ยมดู | ||
+ | โอ้ว่าสุวิญชาผู้เพื่อนยาก พี่สู้แสนลำบากเข้ามาอยู่ | ||
+ | อนาถนอนในทิมริมประตู ลำแพนขาดลาดปูกับเสื่อเตย | ||
+ | พี่เลี้ยงช่วยปัดจัดที่นอน ทอดท่อนไม้วางต่างเขนย | ||
+ | ผัวเอนลงมิใคร่จะได้เลย นิจจาเอ๋ยเคยสุขมาทุกข์ทน | ||
+ | แม้นเจ้าตัดไมตรีพี่เสียแล้ว จะลาแก้วตาตายในสิงหล | ||
+ | แต่ตรึกตราอาวรณ์ร้อนรอน จนสุริยนเรื่อรางสว่างฟ้า | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ ตระ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ลมพัดชายเขา</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา | ||
+ | ครั้นฟื้นตื่นจากนิทรา เร่งถวิลจินดาถึงบิดร | ||
+ | จึงโสรจสรงทรงเครื่องเรืองศรี ไม่ขึ้นเฝ้าชนนีเหมือนแต่ก่อน | ||
+ | เด็กเด็กโดยเสด็จบทจร ไปประตูพระนครทันใด | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ ครั้นถึงสมเด็จพระบิตุเรศ ก้มเกศบังคมประนมไหว้ | ||
+ | แล้วว่าลูกไปเฝ้าท้าวไท ทูลขอโทษภัยพระบิตุรงค์ | ||
+ | อัยกากริ้วโกรธโกรธา ว่าจะฆ่าให้ม้วยเป็นผุยผง | ||
+ | ชมสี่พี่เลี้ยงว่าซื่อตรง ขอองค์ชนนีรอดชีวา | ||
+ | พ่อตากริ้วกราดตวาดเสียง แต่ละคำสำเนียงดังฟ้าผ่า | ||
+ | ลูกกลัวตัวสั่นดังตีปลา โศกากลิ้งเกลือกเสือกไป | ||
+ | อัยกามีจิตคิดสงสาร จึงปลอบข้าว่าหลานอย่าร้องไห้ | ||
+ | ให้บอกบิดาคลาไคล ไปเฝ้าท้าวไทอัยกา | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์เชยชมโอรสา | ||
+ | จูบกอดลูกแก้วแล้วบัญชา ดวงตาของพ่อเพื่อนชีวิต | ||
+ | เจ้าเมตตาบิดาค่อยผาสุก เสื่อมคลายวายทุกข์ออกไปหนิด | ||
+ | พ่อยังพรั่นแต่จะเข้าเฝ้าชิด จวนตัวกลัวฤทธิ์พระยายักษ์ | ||
+ | ตรัสสั่งพี่เลี้ยงแล้วคลาไคล รีรอท้อใจหน่วงหนัก | ||
+ | ฉวยฉุดยุดกรพระลูกรัก กลัวนักหักใจจรลี | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เพลง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงปราสาทราชวัง ถวิลหวังสุวิญชามารศรี | ||
+ | ดูไหนไม่เห็นนางเทวี ภูมีสร้อยเศร้าไปเฝ้าพลัน | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น ฝ่ายฝูงสุรางค์นางสาวสวรรค์ | ||
+ | แน่นนั่งคั่งคับนับพัน แทรกเสียดเบียดกันมาคอยดู | ||
+ | ครั้นเห็นพระไชยเชษฐ์เสด็จมา กัลยานบนอบแล้วหมอบอยู่ | ||
+ | สะกิดเพื่อนเตือนพิศพระโฉมตรู ต่างดูเห็นจริตผิดทำนอง | ||
+ | บ้างว่าแต่ก่อนร่อนชะไร ทรวดทรงดูไหนไม่บกพร่อง | ||
+ | ผิวเนื้อเรื่อเรืองเหลืองเป็นทอง เดี๋ยวนี้หมองมัวคล้ำดำไป | ||
+ | บ้างว่าข้าเห็นไม่เป็นสุข ฉุกละหุกทุกข์ตรอมผอมไผ่ | ||
+ | พลัดพรากจากเมียเสียน้ำใจ พระจริตผิดไปทุกสิ่งอัน | ||
+ | บ้างว่าเธอทำชั่วกลัวพ่อตา ไม่แกล้งว่าเดินก้าวจนเท้าสั่น | ||
+ | ต่างคนต่างพูดกับเพื่อนกัน เสียงกระซิบสนั่นปราสาทชัย | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาได้ยินยิ่งสงสัย | ||
+ | แซ่เสียงสาวสวรรค์ด้วยอันใด จึงแย้มแกลแลไปมิได้ช้า | ||
+ | นางเห็นพระราชสามี จูงลูกจรลีมาตรงหน้า | ||
+ | ให้สงสารสมเพชเวทนา กัลยาโศกศัลย์ตันใจ | ||
+ | แล้วแอบบานบัญชรซ่อนพักตร์ นงลักษณ์บังคมประนมไหว้ | ||
+ | พลางพินิจพิศดูพระภูวไนย ผิวพักตร์หมองไหม้โรยรา | ||
+ | โอ้ว่าอนิจจาเจ้าประคุณ ยังการุญรักเมียอยู่หนักหนา | ||
+ | อุตส่าห์สู้พยายามตามมา ทนทุกข์เวทนาถึงเพียงนี้ | ||
+ | พระบิดากริ้วโกรธคาดโทษทัณฑ์ พ่อไม่กลัวชีวันจะเป็นผี | ||
+ | เมื่อคิดมาก็น่าปรานี ครั้นคิดไปอีกทีก็สาใจ | ||
+ | เป็นไรเล่าไม่เฝ้าอยู่เชยโฉม เจ็ดนางช่างประโลมพิสมัย | ||
+ | กับเรานี้ไม่มีอาลัย ทำได้ร้อยตลบทบทวน | ||
+ | คิดรักคิดแค้นแน่นอุรา กัลยาโศกสร้อยละห้อยหวน | ||
+ | หับบัญชรทอดถอนฤทัยครวญ กันแสงศัลย์รัญจวนป่วนใจ | ||
+ | ฯ ๑๔คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์แอบม่านทองสองไข | ||
+ | แกล้งเยี่ยมยืนยื่นหน้าออกไป ทำใส่ไคล้พูดจาข้าคลางแคลง | ||
+ | ประหลาดใจเป็นไรหนอหม่อมแม่ เยี่ยมแกลแปรผันแล้วกันแสง | ||
+ | น่าใจหายจนสายพระเนตรแดง หรือผงแกล้งแสร้างปลิวมาเข้าตา | ||
+ | เที่ยวมองย่องยืนยื่นคอ อะไรหนอประหลาดหนักหนา | ||
+ | โอ๋ยอ้อพ่อเจ้าท่อนไม้มา กระนี้หรือมิน่าร่ำไร | ||
+ | แล้วถามว่าโศกาด้วยคิดแค้น หรือร้องไห้ด้วยแสนพิสมัย | ||
+ | เมื่อกระนี้จะคิดประการใด ดวงใจมาถึงธานี | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาฟังว่าน่าบัดสี | ||
+ | นางเคืองขัดฉวยพัชนีตี วิฬารีหลบเลี่ยงเมียงมอง | ||
+ | นางทำปากหยิบหยิบกระซิบด่า นี่เนื้อว่าอีแมวมันจองหอง | ||
+ | เพราะว่าได้ถาดเงินถาดทอง ทำแก่ตัวหัวพองมาพูดจา | ||
+ | กูจะรักจะแค้นจะร้องไห้ ก็กลการอะไรมาสอดว่า | ||
+ | มึงนี้ดีแต่ขึ้นหลังคา กับลักกินปลาในครัวไฟ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
+ | ==== ==== | ||
+ | <tpoem> | ||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์กล่าวแกล้งแถลงไข | ||
+ | ที่การลักผักปลาไม่พอใจ ขึ้นหลังคาของใครก็ไม่เป็น | ||
+ | ข้าดีแต่คอยดูรู้เท่าคน ใครแต่งกลอย่างไรในจะเห็น | ||
+ | ยิ่งไม่บอกอีแมวแล้วซ่อนเร้น จะค้นด้นดูเล่นให้เห็นใจ | ||
+ | ตอบพลางวิ่งออกนอกชาลา ทำร้องว่าใครนั่นมาแต่ไหน | ||
+ | นี่อ่อหม่อมพ่อเจ้าท่อนไม้ มาธุระอะไรที่ในวัง | ||
+ | ข้าดูดูเมื่อแรกก็แปลกหน้า เห็นงดงามลงกว่าหนหลัง | ||
+ | อนิจจาวิ่งมาแต่ลำพัง ละเมียไว้วังให้ว่างเชย | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์เมิดเมินเดินเฉย | ||
+ | ไม่ตอบวาจาวิฬาร์เลย มันเยาะเย้ยอดสูก็สู้ทน | ||
+ | ทำสงบเสงี่ยมเจียมตัว ด้วยกลัวอาญาท้าวสิงหล | ||
+ | หยุดหยุดยั้งยั้งระวังตน ปากบ่นภาวนาทุกหายใจ | ||
+ | ได้ยินท้าวดำรัสตรัสเสียงดัง ก็ตกใจลงนั่งบังคมไหว้ | ||
+ | พระกุมารยึดกรบิดรไว้ นี่กราบใครกลางถนนหนทาง | ||
+ | ครั้นคิดมาได้ให้ย่อท้อ จึงว่าพ่อกลัวเหลือยิ่งเสือสาง | ||
+ | ยุดมือลูกไว้ไม่ละวาง ให้พี่เลี้ยงเคียงข้างจรลี | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เพลง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ช้า</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท่านท้าวสิงหลยักษี | ||
+ | สถิตเหนือแท่นรัตน์รูจี พรั่งพร้อมนารีกำนัลใน | ||
+ | คอยองค์หลานน้อยเสน่หา จะชักนำบิดาเข้ามาไหว้ | ||
+ | แกล้งส่งสุรเสียงสนั่นไป ภูวไนยทำตึงบึ้งพักตร์ | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ เหวยเหวยกำนัลขันที ออกไปสั่งเสนีมีศักดิ์ | ||
+ | ให้ตำรวจตรวจเตรียมจงพร้อมพรัก กูจะซักไซ้ถามความผัวเมีย | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ตกประหม่าหน้าเสีย | ||
+ | ความกลัวพ่อตาแข้งขาเพลีย ยืนเงี่ยหูฟังระวังภัย | ||
+ | แต่ขยับลับล่ออยู่ช้านาน ตัวสั่นสะท้านเหงื่อกาฬไหล | ||
+ | เอาคุณพระเป็นที่พึ่งดึงเข้าไว้ อกสั่นหวั่นไหวอยู่ทึกทัก | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เพลง โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลลุกสะอึกขึ้นกึกกัก | ||
+ | ฉวยตระบองร้องเหวยอ้ายทรลักษณ์ กูจะหักคอกินให้สิ้นเนื้อ | ||
+ | เอออะไรไม่พอที่พอทาง มึงช่างชั่วชาติประหลาดเหลือ | ||
+ | ไม่รู้เท่าผู้หญิงริงเรือ ซานซมงมเชื่อนางเมียงาม | ||
+ | ลูกกูสุวิญชานั้นไซร้ มันผิดชอบอะไรข้าขอถาม | ||
+ | จะให้ฆ่าให้แกงแกล้งใส่ความ หยาบหยามข่มเหงไม่เกรงเรา | ||
+ | ขับไล่ไสเสียว่าเมียชั่ว มุดหัวตามมาทำไมเล่า | ||
+ | ช่างกระไรทำได้ก็ทำเอา จองหองเปล่าเปล่าเจ้าพระยา | ||
+ | มึงเย่อหยิ่งหาญฮึกคึกขัน วิฬาร์มันบอกเล่ากูหนักหนา | ||
+ | ชะเจ้าคนดีมีฤทธา จะสู้กับพ่อตาก็มาซิ | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ตัวสั่นสิ้นสติ | ||
+ | ก้มหน้าภาวนานั่งนิ่งมิ มิได้ปริปากทูลขอโทษทัณฑ์ | ||
+ | เห็นขุนมารโกรธาเข้ามาใกล้ สะดุ้งโดดโลดไปใจพรั่นพรั่น | ||
+ | จวนตัวกลัวพ่อตาจะฆ่าฟัน กอดลูกพัลวันไม่วางเลย | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลตั้งกระทู้ขู่เขย | ||
+ | เป็นไรนั่งก้มหน้านิ่งเฉยเมย ไม่เงยหน้าตาขึ้นว่ากัน | ||
+ | เร่งบอกออกมาอย่านิ่งอยู่ ข้อผิดลูกกูอย่างไรนั่น | ||
+ | หรือชั่วช้าจับได้ไล่ทัน ว่ากันเสียสิเองอย่าเกรงใจ | ||
+ | ทำเล่นแต่ตามอำเภอเจ้า เหมือนลูกเต้าพ่อแม่หามีไม่ | ||
+ | เสียแรงเราออกปากฝากฝังไว้ จะโกรธขึ้งถึงกระไรก็นานนาน | ||
+ | อยู่ด้วยกันก้นหม้อไม่ทันดำ หรือมาทำเฉินฉุกสนุกจ้าน | ||
+ | จะใคร่ถองสองศอกให้ออกคลาน จะว่าขานอย่างไรก็ว่ามา | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์บังคมก้มหน้า | ||
+ | ความกลัวตัวเย็นเป็นเหน็บชา จะรับผิดพ่อตาให้คร้ามใจ | ||
+ | เหงื่อไคลอาบหน้าเอาผ้าซับ แต่เวียนกราบเวียนกลับไม่นับได้ | ||
+ | คอแห้งสำลักกระอักกระไอ แข็งใจพิดทูลขอโทษทัณฑ์ | ||
+ | ลูกเบาจิตผิดนักผิดหนา อันที่ขอโทษาถึงอาสัญ | ||
+ | จงโปรดเพียงตีด่าอย่าฆ่าฟัน ไม่คุมแค้นแม่นมั่นได้เป็นพระ | ||
+ | ทูลพลางทางว่ากับตัวลูก ทูนหัวช่วยพ่อมั่งสิหนะ | ||
+ | นิ่งเสียได้ไม่เอาเป็นธุระ เห็นพ่อจะบรรลัยในวันนี้ | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์ก็หมองศรี | ||
+ | ทูลอัยกาพลางทางโศกี จงปรานีพ่อข้าอย่าขู่นัก | ||
+ | พรั่นตัวกลัวตาจะถองเล่น หัวอกเต้นทึกทึกตึกตัก | ||
+ | จะพิดทูลถ้อยคำละล่ำละลัก แต่ก้มพักตร์โศกาจนตาแดง | ||
+ | อันโทษทัณฑ์นั้นพ่อก็รับผิด ด้วยเคลิ้มจิตเบาไปมิได้แจ้ง | ||
+ | อดโมโหหันหุนได้บุญแรง อย่าต่อนัดต่อแนงแกล้งด่าทอ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลผินผันกลั้นหัวร่อ | ||
+ | นั่งลงแล้วมีบัญชาล้อ ลูกพ่อคนนี้มันดีจริง | ||
+ | รับเป็นดั้งหน้าเข้ามาแก้ เฝ้าแต่สำออยอ้อยอิ่ง | ||
+ | อันพ่อของนัดดาตาชังชิง ชอบแต่ถองให้กลิ้งมันหยิ่งดี | ||
+ | เอออะไรหม่คิดถึงตัวตน ได้รอดอยู่เป็นคนเพราะใครนี่ | ||
+ | พ่อเจ้าเขาเลี้ยงหรือชนนี ช่างไม่มีเจ็บแค้นแทนแม่เลย | ||
+ | ถ้าพี่เลี้ยงทั้งสี่มันมิช่วย ทั้งแม่ลูกก็จะม้วยเสียแล้วเหวย | ||
+ | จะส่งท่อนไม้มาให้ตาเชย ที่ไหนเลยจะได้จ้อขอพ่อไว้ | ||
+ | ขอบใจพี่เลี้ยงหนักหนา บุญคุณมันหาที่สุดไม่ | ||
+ | ว่าพลางทางผินพักตร์ไป ปราศรัยพี่เลี้ยงทั้งสี่คน | ||
+ | สุวิญชามายกความชอบเจ้า เอ็งเห็นแก่ตาเฒ่าสิงหล | ||
+ | ช่วยลูกเราไว้ไม่วายชนม์ บุญคุณเป็นพ้นคณนา | ||
+ | กูตั้งใจจัดแจงข้าวของ จะสนองคุณเจ้าให้นักหนา | ||
+ | สมเป็นผู้ใหญ่ไวปัญญา ไม่หลับหูหลับตาไปตามนาย | ||
+ | ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น พระพี่เลี้ยงพิดทูลขยับขยาย | ||
+ | ซึ่งทรงพระเมตตาข้ามากมาย พระคุณคล้ายชนกชนนี | ||
+ | อันพระไชยเชษฐ์สุริย์วงศ์ ใช่จะไม่เกรงองค์ท้าวยักษี | ||
+ | ซึ่งได้เคืองบาทาฝ่าธุลี โทษผิดครั้งนี้เป็นล้นพ้น | ||
+ | ราหูเข้าเสาร์แทรกชันษา ประจวบเป็นเวลาอกุศล | ||
+ | พระคลั่งคลุ้นกลุ้มจิตด้วยฤทธิ์มนต์ จึงงวยงงหลงกลอีคนเท็จ | ||
+ | ไม่ช้าพลันครั้นคิดขึ้นมาได้ ก็โศกาเพียงใจจะขาดเด็ด | ||
+ | สู้บุกป่าฝ่าดงลอดเล็ด เตร่เตร็ดมาตามนางเทวี | ||
+ | แม้นพระองค์มิทรงพระเมตตา ทั้งเจ้าข้าไม่คืนไปกรุงศรี | ||
+ | เห็นจะพากันตายาวายชีวี ที่ผิดพลั้งครั้งนี้ได้โปรดปราน | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลนิ่งนั่งฟังว่าขาน | ||
+ | ค่อยคลายหายเหือดเดือดดาล มิได้มีพจมานประการใด | ||
+ | ผินพักตร์ไปตรัสกับนัดดา อันโทษพ่อนั้นตาจะยกให้ | ||
+ | แต่ตัดขาดกับมันจนบรรลัย จะกรวดน้ำเสียไม่ขอพบเลย | ||
+ | ถึงแผ่ทองหุ้มตัวมายับยับ ก็ไม่ปรารถนานับว่าลูกเขย | ||
+ | อย่าไปมาหากันฉันคุ้นเคย ใครเกินเลยเถิดนะไม่ละกัน | ||
+ | นัดดาจะรักอยู่ข้างไหน จงว่าแต่จริงใจอย่าเดียดฉันท์ | ||
+ | จะอยู่ด้วยชนนีของเจ้านั้น หรือจะไปเหมันต์กับบิดา | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์ได้ฟังว่า | ||
+ | ก้มเกล้าทูลสนองพระบัญชา ซึ่งโปรดมาข้ายังไม่ชอบใจ | ||
+ | ที่จริงจิตรักตานั้นเหลือแหล่ รักพ่อรักแม่เท่าพ้อมใหญ่ | ||
+ | จะไปกับบิดาก็อาลัย ด้วยรักใคร่อัยกากับมารดร | ||
+ | แต่ที่จริงในจิตข้าคิดนั้น จะใคร่ให้ดีกันเหมือนแต่ก่อน | ||
+ | แม้นสมดังปรารถนาว่าวอน จะสิ้นทุกข์สิ้นร้อนสำราญใจ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลสรวลสันต์ไม่กลั้นได้ | ||
+ | แกล้งตรัสว่าน่าตีนี่กระไร ช่างแก้ไขพูดเลียบเปรียบเปรย | ||
+ | เจ้าจะให้ข้านี้ดีด้วยพ่อ เช่นนี้พอรู้เท่าเจ้าดอกเหวย | ||
+ | อันความแค้นของตาอย่าว่าเลย ไม่เลี้ยงเป็นลูกเขยคุ้งบรรลัย | ||
+ | แต่ข้างนางแม่ของเจ้านี้ จะดีด้วยพ่อเข้าหอใหม่ | ||
+ | หรือจะมิดีก็ตามใจ กำนัลในไปหามาบัดนี้ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น นางกำนัลรับสั่งใส่เกศี | ||
+ | ถวายบังคมคัลอัญชลี ไปปราสาทเทวีสุวิญชา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ ชุบ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงจึงทูลนางโฉมยง ว่าพระบิตุรงค์ให้หา | ||
+ | เชิญเสด็จรีบไปอย่าได้ช้า แล้วแจ้งกิจจาสารพัน | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาร้อนจิตคิดพรั่น | ||
+ | ซักไซ้ไต่ถามนางกำนัล ครั้นแจ้งความสำคัญก็คลายใจ | ||
+ | มาสระสรงทรงเครื่องสุคนธา นุ่งผ้ายกแย่งระกำไหม | ||
+ | ห่มริ้วทงระยับซับใน แล้วทรามวัยเสด็จจรจรัล | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เพลง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ครั้นถึงมนเทียรท้าวยักษี เห็นพระสามีหมอบอยู่นั่น | ||
+ | ดูผิดรูปซูบผอมลงไปครัน สารพัดผิวพรรณก็หมองมัว | ||
+ | ชะรอยพระคิดถึงน้องรัก จึงโศกนักนึกน่าสงสารผัว | ||
+ | ครั้นเห็นพ่อแลดูก็นึกกลัว ทำแก้ตัวคมค้อนให้สามี | ||
+ | คลานเข้าไปวันทาพระยายักษ์ แล้วนงลักษณ์ไหว้พี่เลี้ยงทั้งสี่ | ||
+ | มิได้พูดจาพาที เทวีนั่งก้มพักตรา | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ช้า</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท่านท้าวสิงหลยักษา | ||
+ | แกล้งชำเลืองแลดูสุวิญชา เห็นท่วงทีกิริยามึนตึง | ||
+ | จะโกรธผัวจริงจังกระมังหนอ หรือกลัวพ่อจะว่าทำหน้าบึ้ง | ||
+ | ลูกเราความคิดติดลึกซึ้ง ไม่รู้ถึงเล่ห์กลเป็นจนใจ | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ จึงว่าแน่แม่เจ้านารายณ์ธิเบศร์ ไชยเชษฐ์ผัวเจ้าเขาคิดได้ | ||
+ | มางอนง้อขอดีด้วยทรามวัย เจ้าจะว่าอย่างไรนะลูกรัก | ||
+ | ถึงจะดีกันไซร้พ่อไม่ห้าม จะมิดีก็ตามไม่หาญหัก | ||
+ | เมื่อครั้งก่อนพ่อคิดผิดนัก ไม่หน่วงหนักให้ไปเพราะในเบา | ||
+ | ประเดี๋ยวนี้เขามาหาสู่ ก็เป็นต้นยนต์อยู่ที่ลูกเจ้า | ||
+ | ไปพูดจาสำมะเลเทเมา แล้วพาเขาเข้ามาว่าวิงวอน | ||
+ | พ่อจึงให้หาเจ้าเพราะเท่านี้ เทวีชั่งจิตคิดดูก่น | ||
+ | เขาก็ได้มาของ้องอน จะผันผ่อนอย่างไรก็ตามที | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาสะเทินเมินหน้าหนี | ||
+ | ในจิตคิดรักพระสามี ครั้นจะดีง่ายง่ายก็อายใจ | ||
+ | จึงทูลสนองพระบัญชา อันความแค้นของข้าเลือดตาไหล | ||
+ | เขาว่าลูกเต้าเป็นท่อนไม้ ขับไล่ไสหัวเสียจากเมือง | ||
+ | ได้อับอายขายพักตร์หนักหนา ไพร่ฟ้าระบือลือเลื่อง | ||
+ | ท่านเชื่อเมียสารพัดเฝ้าขัดเคือง จะรื้อเรื่องร่ำไปทำไมมี | ||
+ | ว่าพลางทางเรียกลูกชาย เจ้านารายณ์ธิเบศร์มาเสียนี่ | ||
+ | เอออะไรด้านหน้าทั้งตาปี จะใคร่ตีให้ยับลงกับมือ | ||
+ | ช่างโง่งมซมซานหาญฮึก ยังจะรู้สึกนึกบ้างแล้วหรือ | ||
+ | ให้ร้องเรียกสองรื้อสามรื้อ ดูเถิดดื้อนี้กระไรยังไม่มา | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา | ||
+ | นิ่งเสียมิได้ไคลคลา วันทาแล้วทูลไปทันที | ||
+ | ลูกแข็งขัดพจมานประทานโทษ พระแม่จงโปรดเกศี | ||
+ | จะขอทูลความทุกข์ของลูกนี้ ถึงจะทุบจะตีจะสู้ทน | ||
+ | อกใครจะเหมือนอกข้า ได้อับอายไพร่ฟ้าทุกแห่งหน | ||
+ | กำเนิดเกิดมาไม่เทียมคน เพราะพ่อแม่หมองหม่นน้ำใจกัน | ||
+ | อันบิดาผิดพลั้งแต่ครั้งก่อน อุตส่าห์มาง้องอนได้ผ่อนผัน | ||
+ | ถ้าทีหลังยังมุดุดัน จะให้ตาตีรันไม่ฉันทา | ||
+ | จงงดโทษพระพ่อเสียสักหน ให้ทานบาดคาดบนไว้หนักหนา | ||
+ | เหมือนเมตตาปรานีแก่ลูกยา ดีด้วยบิดาเถิดมารดร | ||
+ | เฝ้าพิรี้พิไรไม่เขินขวย พระไชยเชษฐ์ช่วยกระซิบสอน | ||
+ | ทูลพลางทางแกล้งกันแสงวอน สะอื้นอ้อนร่ำไรไปมา | ||
+ | ฯ ๑๒ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น นางโฉมยงสงสารโอรสา | ||
+ | แต่มานะสตรีมีมารยา ทำโมโหโกรธาแล้วว่าไป | ||
+ | สู่รู้ดูดู๋เสียแรงเลี้ยง มาบ่ายเบี่ยงพาทีเช่นนี้ได้ | ||
+ | ไม่รำพึงถึงตัวเป็นท่อนไม้ เขาสิรักใคร่เจ้าอยู่นัก | ||
+ | แค้นใจใครหนอช่างชักพา จึงด้านหน้าด้านตาไปรู้จัก | ||
+ | แค่นเชื่อลิ้นลมไปสมรัก ทำฮึกฮักพูดจามันน่าตี | ||
+ | อันคนโฉดเช่นนี้แล้วลูกเอ๋ย อย่าว่าเลยถึงตายไม่ดูผี | ||
+ | อีกร้อยชาติก็ไม่ปรารถนาดี อย่าเซ้าซี้กวนใจมิใช่การ | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระนารายณ์ธิเบศร์จึงว่าขาน | ||
+ | แม้นพระชนนีมิโปรดปราน ลูกจะม้วยชนมานเสียมั่นคง | ||
+ | ไม่ควรจะหยิบยกเอาขึ้นว่า ด้วยพ่อข้าเคลิ้มไปจนใหลหลง | ||
+ | ความรักน้อยหรือเพราะซื่อตรง สู้บุกป่าฝ่าดงมาติดตาม | ||
+ | ถึงพ่อผิดคิดมั่งฟังลูกเถิด อย่าประเจิดเชิดชื่อให้คนหยาม | ||
+ | ไม่สงสารลูกเต้าเฝ้าถือความ จะขอลาตายตามพระพ่อไป | ||
+ | ทูลพลางทางทรงโศกา พระเจ้าตากระไรเลยช่างเฉยได้ | ||
+ | เอ็นดูด้วยช่วยว่าบ้างเป็นไร พลางกันแสงไห้วิงวอน | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ โอด เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลมิรู้ที่จะผันผ่อน | ||
+ | เห็นหลานน้อยสร้อยเศร้าเฝ้าทุกข์ร้อน พระทอดถอนใจใหญ่ไปมา | ||
+ | จึงว่านารายณ์ธิเบศร์เอ๋ย อย่าร้องไห้ไปเลยฟังตาว่า | ||
+ | เมื่อแม่เจ้าเขาไม่เมตตา มันก็สุดปัญญาอยู่แล้วละ | ||
+ | เจ้ารักพ่อตามแต่จะแก้ไข อ้อนวอนกันไปเถิดสินะ | ||
+ | ที่โทษทัณฑ์นั้นตาก็ลดละ จะให้รับธุระเห็นสุดรู้ | ||
+ | คำบุราณหลานยังหารู้ไม่ จะดับไฟหัวลมนั้นยากอยู่ | ||
+ | ทีนี้ใครอย่ามากวนกู จะนั่งดูเล่นตามสบายใจ | ||
+ | ฯ ๘ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ทุกข์ทนหม่นไหม้ | ||
+ | เห็นพ่อตาว่าเชือนแชไป เมียก็ตัดอาลัยสิ้นรัก | ||
+ | ครั้นจะพูดเล้าโลมนางโฉมยง ก็เกรงพระบิตุรงค์ทรงศักดิ์ | ||
+ | แต่นั่งทอดถอนใจใหญ่ฮัก ชลเนตรนองพักตร์พระภูมี | ||
+ | เฝ้ากระซิบสอนลูกให้ปลอบแม่ พลางแลดูเมียเห็นเบือนหนี | ||
+ | พระสิ้นสติสมประดี ก็ซบพักตร์โศกีเพียงขาดใจ | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น นวลนางสุวิญชาศรีใส | ||
+ | เห็นองค์ภัสดาโศกลัย ยิ่งเศร้าใจสงสารพระผ่านฟ้า | ||
+ | ในอกอัดอั้นสู้กลั้นกลืน แข็งขืนอารมณ์ก้มหน้า | ||
+ | ชลเนตรคลอคลองนัยนา ทำเป็นผงเข้าตาไม่พาที | ||
+ | สุดที่จะกลั้นรัญจวนจิต ทำม้วนมิดปิดป้องที่หมองศรี | ||
+ | จึงวันทาลาองค์อสุรี ไปปราสาทมณีมิได้ช้า | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท่านท้าวสิงหลยักษา | ||
+ | ตรองตรึกนึกในไปมา จะล้างอายขายหน้าให้เป็นธรรม์ | ||
+ | จำจะทำโกรธขึ้งขึงไว้ ดูใจไชยเชษฐ์เขยขวัญ | ||
+ | จะมานะกลับคืนไปเหมันต์ หรือจะอยู่รำพันพิไรวอน | ||
+ | ท้าวแสร้างเมินเสียไม่ดูหน้า ทำปึ่งชาเฉยนิ่งพิงหมอน | ||
+ | เฝ้าแต่ชำเลืองเคืองค้น แล้วบทจรเข้าที่บรรทมใน | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>โอ้</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์เศร้าสร้อยละห้อยไห้ | ||
+ | ลูบหลังลูกยาแล้วว่าไป เห็นพ่อจะบรรลัยนี้ไม่แคล้ว | ||
+ | เมื่อองค์พระอัยกาไม่ปรานี จะทำอย่างไรดีนะลูกแก้ว | ||
+ | แม่เจ้าเขาก็ตัดพ่อขาดแล้ว ไหนจะแคล้วมอดม้วยด้วยความรัก | ||
+ | ก็จะสู้มรณาไม่ว่าเล่น ให้มารดาเจ้าเห็นใจประจักษ์ | ||
+ | ชาติหน้าบุญมาช่วยนำชัก ขอให้ได้พบพักตร์ร่วมรักกัน | ||
+ | จงบอกแม่ว่าพ่อนี้ขอลา ตายไปคอยท่าอยู่เมืองสวรรค์ | ||
+ | ลูกเอ๋ยเป็นกรรมมาตามทัน จอมขวัญจำหน้าบิดาไว้ | ||
+ | ตรัสพลางทางทรงโศกี ปิ้มประหนึ่งชีวีจะตักษัย | ||
+ | ไม่ทันสั่งพี่เลี้ยงร่วมใจ ภูวไนยสลบลงทันที | ||
+ | ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด | ||
+ | |||
+ | |||
+ | <sup>ร่าย</sup> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระกุมารตกใจร้องไห้มี่ | ||
+ | พระพี่เลี้ยงเพียงจะวายชีวี นวดฟั้นคั้นตีทั่วกายา | ||
+ | พระโอรสวิ่งพลางร้องไห้พลาง พี่นางอยู่งานวานช่วยข้า | ||
+ | เร็วเร็วเร่งทูลพระเจ้าตา บัดนี้บิดาข้าวายปราณ | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท้าวสิงหลได้ฟังสำเนียงหลาน | ||
+ | ลุกจากแท่นที่ตะลีตะลาน วิ่งสะดุดเครื่องอานออกมาพลัน | ||
+ | เห็นลูกเขยซอนซบสลบไสล ก็ตกใจเรียกหมอปากคอสั่น | ||
+ | ไปหาลูกกูอีกำนัล พลางเข้านวดฟั้นสั่นเนื้อตัว | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาแจ้งเหตุสังเวชผัว | ||
+ | วิ่งวางตัวสั่นอยู่รัวรัว ตีอกชกหัวร้องไห้พลาง | ||
+ | ถึงปราสาทบิดาเห็นสามี ไม่ไหวติงอินทรีย์เหมือนผีสาง | ||
+ | ลืมองค์ลืมอายกำนัลนาง เข้านั่งหนุนปฤษฎางค์ภัสดา | ||
+ | แล้วเอาสุคนธ์โซมชโลมให้ นางร่ำไรเรียกร้องเป็นหนักหนา | ||
+ | สิ้นอายสิ้นกลัวพระอาญา ออกปากว่าข้าจะดีด้วยแล้ว | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น องค์พระไชยเชษฐ์ผ่องแผ้ว | ||
+ | ค่อยฟื้นองค์ลืมเนตรขึ้นแววแวว เห็นลูกแก้วกับเมียนั่งโศกี | ||
+ | พระขืนแข็งฤทัยดำรงองค์ กราบลงแทบบาทท้าวยักษี | ||
+ | สุวิญชานึกอายพระสามี ลุกหนีมานั่งหลังบิดา | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | </tpoem> | ||
+ | |||
===ตอนที่ ๔ อภิเษกพระไชยเชษฐ์=== | ===ตอนที่ ๔ อภิเษกพระไชยเชษฐ์=== | ||
+ | ==== ==== | ||
<tpoem> | <tpoem> | ||
+ | ๏ เมื่อนั้น ท่านท้าวสิงหลยักษา | ||
+ | เห็นลูกเขยหน้าจ๋อยไม่พูดจา ให้มีจิตเมตตาปรานี | ||
+ | จึงตรัสว่าโทษทัณฑ์นั้นไซร้ พ่อก็ไม่พอใจจู้จี้ | ||
+ | แต่ดูอยู่หน่อยหนึ่งครั้งนี้ จะจะเสียให้ดีด้วยกัน | ||
+ | ฝ่ายข้างสุวิญชายาใจ เขาก็ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ | ||
+ | แต่คิดอับอายชาวเหมันต์ จงผ่อนผันให้ดีนะลูกรัก | ||
+ | จะอยู่ด้วยกันไปพ่อไม่ห้าม อย่าให้เมียมีความอัปลักษณ์ | ||
+ | แม้นเจ้าทำตามจะงามพักตร์ ปรากฏยศศักดิ์ทั้งแดนไตร | ||
+ | จงให้ไปเชิญสองกษัตรา มาแต่งการวิวาห์กันเสียใหม่ | ||
+ | อันการเมื่อครั้งหลังนั้นอย่างไร คราวนี้ก็ให้เหมือนครั้งนั้น | ||
+ | ล้างอายขายหน้าพ่อตาเสีย ทั้งลูกเมียไม่มีใครเย้ยหยัน | ||
+ | ให้เสนีรีบกลับไปฉับพลัน กำหนดสิบห้าวันให้ยกมา | ||
+ | ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | ||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์รับคำท้าวยักษา | ||
+ | พลางชม้ายชายดูสุวิญชา เสน่หารัญจวนป่วนใจ | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ เมื่อนั้น สุวิญชาให้คิดพิสมัย | ||
+ | แลสบหลบเนตรภูวไนย อายใจก็ถวายบังคมลา | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ บัดนั้น วิฬาร์ลับปากไว้คอยท่า | ||
+ | ครั้นเห็นนางเสด็จกลับมา หัวร่อแล้วว่าเป็นแยบคาย | ||
+ | วันนี้แลดูแม่สุวิญชา พักตราผ่องเหมือนกับเดือนหงาย | ||
+ | คราวจะได้สุขสนุกสบาย กระไรไม่ทักทายอีวิฬาร์ | ||
+ | คิดบ้างเป็นไรเมื่อได้ทุกข์ อีขี้ข้าพาบุกมาในป่า | ||
+ | ลืมสิ้นแล้วกระมังแต่หลังมา อนิจจานิจจาเป็นน่าอาย | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ได้เอยได้ฟัง นางแค้นคั่งด่าว่าอีฉิบหาย | ||
+ | มึงมาพูดแอบเป็นแยบคาย กูไม่ดีง่ายง่ายอย่าเจรจา | ||
+ | พระบิดาจะให้แต่งขันหมากใหม่ มึงรู้มั่งหรือไม่อีชาติข้า | ||
+ | ดื้อดึงขืนขัดพระอัชฌา จะโกรธขึ้นมาเป็นฟืนไฟ | ||
+ | ทั้งลูกเต้าก็ร้องไห้งองอ จะให้ดีด้วยพ่อจงได้ | ||
+ | มึงอย่ามาเซ้าซี้พิรี้พิไร กูจะปิดหูไว้ไม่ขอฟัง | ||
+ | ฯ ๖ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ ไม่เอยไม่แจ้ง ว่าจะแต่งเข้าหอเหมือนหนหลัง | ||
+ | วิฬารีดีใจพ้นกำลัง แม่ข้าไหว้วานฟังให้ทุกคน | ||
+ | ถึงต้องทุกข์บุกไพรได้ความยาก แต่ได้กินขันหมากเป็นสองหน | ||
+ | วันนี้เห็นทีจะชอบกล หนีนอนเสียให้พ้นข้างไหนดี | ||
+ | ฯ ๔ คำ ฯ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ๏ อีเอยอีวิฬาร์ ปากบอนค่อนว่าน่าบัดสี | ||
+ | นางขัดใจฉวยไม้ไล่ตี วิฬารีหนีซุกซ่อนไป | ||
+ | ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | ||
</tpoem> | </tpoem> | ||
+ | |||
+ | '''(จบฉบับเพียงเท่านี้)''' | ||
+ | |||
== เชิงอรรถ == | == เชิงอรรถ == | ||
== ที่มา == | == ที่มา == |
รุ่นปัจจุบันของ 15:22, 27 สิงหาคม 2552
เนื้อหา |
ข้อมูลเบื้องต้น
แม่แบบ:เรียงลำดับ พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บทประพันธ์
ตอนที่ ๑ นางสุวิญชาถูกขับไล่
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระไชยเชษฐ์เรืองศรี | ||
แต่มาอยู่ป่าพนาลี | ได้เจ็ดราตรีทิวาวัน | ||
ให้หมอเฒ่าเอาช้างไปเที่ยวค้น | ทุกตำบลโป่งป่าพนาสัณฑ์ | ||
ไม่ประสบพบช้างตัวสำคัญ | จนสิ้นแดนเหมันต์พารา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ปีนตลิ่ง | |||
๏ เมื่อพระมเหสีจะมีเหตุ | ให้เขม่นนัยน์เนตรทั้งซ้ายขวา | ||
พระทอดถอนหฤทัยไปมา | หวนรำลึกตรึกตราถึงเวียงวัง | ||
สงสารสุวิญชาโฉมศรี | เทวีมีครรภ์อยู่ข้างหลัง | ||
จะประสูติลูกแก้วแล้วหรือยัง | ไม่มีที่หวังที่ไว้ใจ | ||
นางก็ไร้สุริย์วงศ์พงศ์เผ่า | ใครจะเอาใจดูหูใส่ | ||
จำจะเลิกพหลพลไกร | กลับคืนเข้าไปยังพารา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
คิดพลางทางสั่งเสนี | จงตระเตรียมโยธีทั้งซ้ายขวา | ||
เร่งรัดผูกช้างผูกม้า | จะคืนเข้าพาราเวลานี้ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนีรับสั่งใส่เกศี | ||
ออกมาจัดกันทันที | พร้อมเสร็จดังมีพระบัญชา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระไชยเชษฐ์ก็หรรษา | ||
จึงสระสรงทรงเครื่องสุคนธา | ทรงมหาภูษิตพรายพรรณ | ||
ครั้นเสร็จเสด็จบทจร | ขึ้นทรงอัสดรผายผัน | ||
ให้ยกพวกพลช้างดั้นกัน | คืนเข้าเหมันต์ธานี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา กราวนอก เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงประทับม้าทรง | เสด็จลงเกยแก้วมณีศรี | ||
พอสิ้นแสงสนธยาราตรี | จรลีเข้ายังวังใน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ็ดนางนารีศรีใส | ||
แจ้งเหตุว่าเสด็จมาแต่ไพร | ดีใจเปรมปริ่มยิ้มพราย | ||
ชวนกันอาบน้ำทาแป้ง | จัดแจงแต่งตัวเฉิดฉาย | ||
นุ่งยกห่มตาดนาดกราย | ผันผายไปเฝ้าพระภูมี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลงช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระไชยเชษฐ์เรืองศรี | ||
เห็นนางสาวสรรค์มาอัญชลี | จึงปราศรัยนารีทั้งเจ็ดคน | ||
พี่จากน้องไปคล้องคชสาร | ทรมานนอนป่าพนาสณฑ์ | ||
เช้าค่ำรำลึกถึงนฤมล | เจ้าทุกคนอยู่ดีหรือฉันใด | ||
อันนางสุวิญชานงเยาว์ | พี่ฝากฝังให้เจ้าเอาใจใส่ | ||
ครรภ์นางก็แก่แต่วันไป | เป็นกระไรคลอดลูกแล้วหรือยัง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ็ดนางทูลไปดังใจหวัง | ||
ข้าทุกข์แทนนฤมลพ้นกำลัง | เป็นธุระระวังนั่งรำพึง | ||
พอวันหนึ่งนางคลอดโอรสา | ก่อนหน้าพระเสด็จเข้ามาถึง | ||
รูปร่างพริ้งพร้อมดั่งกล่อมกลึง | งามแม้นเหมือนหนึ่งเทวดา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ฟังคำที่ร่ำว่า | ||
เห็นทั้งท่อนไม้ใส่พานมา | ผ่านฟ้านิ่งอึ้งตะลึงตะไล | ||
เสน่ห์นางเจ็ดคนเข้าดลจิต | จะทันพิจารณาก็หาไม่ | ||
ให้ชึงชังสุวิญชาแล้วว่าไป | จะเลี้ยงไว้ทำไมในธานี | ||
ว่าพลางทางขยับจับพระขรรค์ | หมายจะไปห้ำหั่นบั่นเกศี | ||
ลงจากแท่นแค้นใจจรลี | เจ็ดนางนารีก็ตามไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ครั้นถึงจึงเห็นนางสุวิญชา | ยิ่งโกรธาหุนหันมันไส้ | ||
กระทืบบาทกึกก้องทั้งห้องใน | ชี้หน้าว่าไปกับนงลักษณ์ | ||
เสียแรงเราชุบเลี้ยงถึงเพียงนี้ | ควรหรือมีลูกอ่อนเป็นท่อนสัก | ||
ให้อับอายขายหน้านักหนานัก | สิ้นรักใคร่กันแล้วหรือวันนี้ | ||
แม้นเลี้ยงไว้ในเมืองจะเลื่องลือ | ขึ้นชื่อว่าเป็นเมียเสียศักดิ์ศรี | ||
ชอบแต่สังหารผลาญชีวี | ภูมีฮึดฮัดขัดแค้นใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
โอ้ | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาตัวสั่นหวั่นไหว | ||
กันแสงพลางทางทูลภูวไนย | เขาจะคิดอย่างไรเมียไม่รู้ | ||
แต่แรกเจ็บท้องร้องครวญคราง | เจ็ดนางมานั่งหนุนหลังอยู่ | ||
แล้วขับไล่ข้าไทมิให้ดู | เมียไม่รู้ทันเท่าเขาคิดคด | ||
นางว่าข้าไม่เคยจะคลอดลูก | เอาผ้าผูกพันตาเสียมืดหมด | ||
เมื่อแรกประสูติพระโอรส | เสียงร้องปรากฏเหมือนเสียงคน | ||
บัดนี้ลูกอ่อนเป็นท่อนไม้ | เพราะเขาปิดตาไว้ไม่เห็นหน | ||
พระองค์จงคิดดูเล่ห์กล | ลูกคนใครห่อนเป็นท่อนไม้ | ||
เมื่อฟังคำข้างเดียวมาเกรี้ยวโกรธ | จะลงโทษน้องรักให้ตักษัย | ||
เมียจะผินพักตราไปหาใคร | ร่ำพลางสะอื้นไห้ไปมา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ฟังคำจึงซ้ำว่า | ||
เหม่เหม่ดูดู๋สุวิญชา | ยังขืนกลับมาว่าเขาพาโล | ||
ยักเยื้องพูดจาสารพัด | เจ้าสำบัดสำนวนกวนโมโห | ||
เมื่อลูกเป็นท่อนไม้ไอ้กะโต | ข้ามิใช่ชายโง่จะงงงวย | ||
เจ็ดนางรักเจ้าเรารู้แจ้ง | ว่าเขาแกล้งใส่ไคล้ไม่เห็นด้วย | ||
อย่าพักทำกำสรดระทดระทวย | จะมอดม้วยไม่ทันรุ่งพรุ่งนี้ | ||
ว่าพลางทางเรียกเสนา | ใครอยู่บ้างข้างหน้าเข้ามานี่ | ||
จงเอาตัวสุวิญชากาลี | ไปประหารชีวิตให้วายปราณ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาคำนับรับบรรหาร | ||
เข้าผูกรัดมัดมือเยาวมาลย์ | ลนลานรีบพาออกมาพลัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาตระหนกอกสั่น | ||
เหลียวดูภัสดาแล้วจาบัลย์ | ครวญคร่ำรำพันวิงวอน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
โอ้ | |||
๏ โอ้ว่าพระองค์ทรงเดช | โปรดเกศหยุดยั้งมั่งก่อน | ||
พระจะให้ห้ำหั่นบั่นรอน | โทษกรณ์น้องนี้ไม่มีเลย | ||
ช่างเชื่อแต่เจ็ดนางไปข้างเดียว | ไม่แลเหลียวดูมั่งนั่งนิ่งเฉย | ||
แต่ก่อนร่อนชะไรก็ไม่เคย | อกเอ๋ยน้องคิดเห็นผิดใจ | ||
นางวิ่งเข้ากอดบาทภัสดา | ขอโทษกรณ์วอนว่ากราบไหว้ | ||
เสนาเข้าคร่าเอาตัวไป | อรไทครวญคร่ำร่ำโศกา | ||
ฯ ๖คำ ฯ โอด เชิด | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นออกมานอกทวารวัง | พอเห็นพี่เลี้ยงนั่งอยู่พร้อมหน้า | ||
นางร้องเรียกไปมิได้ช้า | เชษฐาโปรดด้วยช่วยน้องไว้ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | สี่พี่เลี้ยงย่างเหย่าเข้ามาใกล้ | ||
เห็นเขาจูงสุวิญชาพาไป | ตกใจตัวสั่นเข้ากั้นกาง | ||
พวกเสนาว่าหลีกไปให้พ้น | ต่างคนฮึดฮัดขัดขวาง | ||
พระพี่เลี้ยงชิงไว้ไม่ละวาง | แล้วถามว่าโทษนางเป็นอย่างไร | ||
ฯ ๔คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ครั้นรู้แน่ตระหนักประจักษ์ความ | จึงห้ามเสนาว่าไม่ได้ | ||
ถ้าแม้นขืนฆ่าฟันให้บรรลัย | นานไปเราร่อยจะพลอยตาย | ||
ท่านจงหยุดยั้งรั้งรอ | ข้าจะไปทูลขอนางโฉมฉาย | ||
มิให้ม้วยมอดวอดวาย | ว่าแล้วสี่นายจรลี | ||
ฯ ๔คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ครั้นถึงจึงคลานเข้าไปเฝ้า | ก้มเกล้าประณตบทศรี | ||
กราบทูลไปพลันทันที | พระภูมีเป็นไฉนจึงใจเบา | ||
ธรรมดาลูกอ่อนเป็นท่อนไม้ | มีมั่งหรือไม่แต่ก่อนเก่า | ||
แต่เพียงนี้มิรู้ดูเอา | ยิ่งกว่ามัวเมามึนตึง | ||
ธรรมดาเมียหลวงกับเมียน้อย | ย่อมคอยหยิบผิดคิดหวงหึง | ||
ช่างไม่ตรองตรึกให้ลึกซึ้ง | เหมือนไม่รู้ถึงทันเมีย | ||
ล้วนเหล่าริษยาเป็นอารมณ์ | มีแต่จะเรียกลมให้เรือเสีย | ||
ทั้งเล่ห์กลกระทำยำเยีย | จะให้เขาผัวเมียได้รำคาญ | ||
ถึงว่านางจะเป็นเช่นนั้นไซร้ | ก็ยังไม่ควรสั่งให้สังหาร | ||
รู้ถึงสิงหลมิเป็นการ | จะมาผลาญเสียสิ้นทั้งเหมันต์ | ||
มนุษย์หรือจะสู้กับหมู่ยักษ์ | จะเคี้ยวเล่นเป็นผักไม่พักหั่น | ||
พระองค์จงโปรดยกโทษทัณฑ์ | อย่าให้ชีวันนางมอดม้วย | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
สามเส้า | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ได้ฟังก็เห็นด้วย | ||
จริงอยู่พี่ว่าข้างงงวย | เพราะใครใครไม่ช่วงห้ามปราม | ||
มีแต่จะเติมเสริมซ้ำ | จึงพลอยพล้ำเผลอไปไม่ไต่ถาม | ||
น้องนี้โฉดเฉาเบาความ | นี่หากว่าพี่ห้ามจึงได้คิด | ||
ถ้าสิงหลรู้ไปที่ไหนนั่น | จะพากันย่อยยับดับจิต | ||
ใครจะออกต่อต้านทานฤทธิ์ | น่าที่ชีวิตจะม้วยมรณ์ | ||
ตายแล้วหรือยังอยู่สุวิญชา | กลับไปให้หาเข้ามาก่อน | ||
อย่าให้ห้ำหั่นบั่นรอน | ทำโทษโรธกรณ์เยาวมาลย์ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ็ดนางนั่งฟังอยู่ในม่าน | ||
ได้ยินสี่พี่เลี้ยงทูลทัดทาน | ว่าขานเป็นแยบก็แปลบใจ | ||
นิ่งอยู่ดูเห็นจะเป็นรอง | ชวนกันเผยม่านทองสองไข | ||
โกรธาชี้หน้าแล้วว่าไร | นี่อะไรมากลุ้มรุมชิงชัง | ||
ชิชะท่านสารพัดรู้ | มาข่มขู่ตะคอกหลอกผู้หญิง | ||
ลิ้นลมคมสันขยันจริง | พูดแยบแอบอิงสอพลอพลอย | ||
หรือทั้งสี่แจ้งใจว่าใครทำ | จึงพิดทูลปรักปรำให้ยับย่อย | ||
ช่างซื้อหน้ามาเฝ้าทูลตะบอย | ข้าสิน่ากลัวน้องไปเมื่อไร | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | พระพี่เลี้ยงเคืองขัดอัชฌาสัย | ||
จึงว่าข้าทูลขออรไท | กลการอะไรมาโกรธฟุ้ง | ||
ชาติวัวระวังสันหลังขาด | เห็นแต่กาบินผาดก็สะดุ้ง | ||
เรารู้อยู่เต็มใจในไส้พุง | อย่าหยาบยุ่งกรุ่งกริ่งเจรจา | ||
หากว่าภูวไนยไม่ให้ถาม | นางรูปงามจึงออกมาลอยหน้า | ||
แม้นทรงฤทธิ์ให้เราพิจารณา | ที่ไหนเจ้าจะมาท้าทายอึง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ็ดนางพิโรธโกรธขึ้ง | ||
จึงร้องว่าอย่าพักรำพึง | ข้าไม่อยากพรั่นพรึงทั้งสี่นาย | ||
จะถามไถ่อย่างไรก็ถามกัน | ที่จะเป็นเช่นนั้นอย่านึกหมาย | ||
มาช่วยกันแก้หน้าว่าไม่อาย | เที่ยวเอาความร้ายมาบ้ายทา | ||
ทั้งสี่นี้ดูเหมือนงูงอด | จะคอยมองย่องตอดกระมังหนา | ||
เมื่อลูกเป็นท่อนสักประจักษ์ตา | ยังจะแค่นมีหน้าว่ากั้นกาง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
สมิงทองไทย | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์นิ่งฟังทั้งสองข้าง | ||
ผลกรรมจำให้เริดร้าง | พระเคืองข้องหมองหมางในอารมณ์ | ||
ฟังสี่พี่เลี้ยงก็เห็นชอบ | ฟังเจ็ดนางตอบก็เห็นสม | ||
เห็นชอบเป็นผิดคิดนิยม | ด้วยว่าอาคมเข้าดลใจ | ||
พระตรัสห้ามความเสียทั้งสองข้าง | จะถากถางเถียงกันหาควรไม่ | ||
อันนางสุวิญชานั้นไซร้ | พี่ขอชีวิตไว้ก็ตามที | ||
แต่ตัวมันนั้นอัปมังคล | เร่งขับไปให้พ้นจากกรุงศรี | ||
อย่าให้มานั่งเฝ้าเซ้าซี้ | แม้นช้าชีวีจะบรรลัย | ||
ฯ ๘คำ ฯ เจรจา | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาได้ฟังนั่งร้องไห้ | ||
โศกศัลย์รันทดสลดใจ | ทรามวัยไม่เป็นสมประดี | ||
ดังหนึ่งจะพินาศขาดจิต | สุดสิ้นชีวิตลงกับที่ | ||
นางเข้ากอดบาทาพระสามี | โศกีครวญคร่ำร่ำไร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
โอ้ | |||
๏ โอ้ว่าพระทูลกระหม่อมแก้ว | จะขับเมียเสียแล้วหรือไฉน | ||
พระเคืองข้องน้องผิดด้วยสิ่งไร | ภูวไนยไม่ทรงพระเมตตา | ||
ถึงกระไรไต่ถามความสักนิด | ถ้าแม้นผิดแล้วก็ตามแต่โทษา | ||
นี่ทรงฤทธิ์ไม่พิจารณา | ชะรอยกรรมเวราของน้องนี้ | ||
เมื่อเมียได้กุมภามาเลี้ยงไว้ | ก็จากเวียงชัยไปในไพรศรี | ||
มาเป็นบาทบริจาพระสามี | พอประจบครบปีจะจำไกล | ||
เที่ยงนางกลางคืนถึงเพียงนี้ | จะเดินดงพงพีกระไรได้ | ||
ตัวเป็นผู้หญิงจะวิ่งไป | หนทางกลางไรพนาดร | ||
โปรดให้เมียพักแต่สักคืน | พออยู่ไฟอยู่ฟืนเสียหน่อยก่อน | ||
ร่ำพลางนางคิดอาวรณ์ | สองกรข้อนทรวงเข้าโศกา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ฟังคำที่ร่ำว่า | ||
ยิ่งมีโมโหโกรธา | จึงร้องด่าสำทับขับไป | ||
เหม่อีอัปรีย์ทรลักษณ์ | มึงอย่างพักมานั่งร้องไห้ | ||
ยังขืนขัดผัดวันขออยู่ไฟ | หัวจะขาดปลิวไปไม่ทันรู้ | ||
อย่าว่าแต่คืนหนึ่งถึงครู่เดียว | พระอินทร์มาเขียวเขียวไม่ให้อยู่ | ||
เร่งไปให้พ้นบ้านเมืองกู | ค่ำมืดไม่รู้ไม่เข้าใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์ฟังว่าน่าหมั่นไส้ | ||
เจ็บจิตสุดที่จะคิดไป | น้อยใจเป็นพ้นคณนา | ||
ถึงโศกีก็ไม่มีใครเอ็นดู | ยังจะอยู่เอาอะไรให้เร่งว่า | ||
จึงวิ่งเข้าแย่งยุดฉุดมือมา | ไปพาราเราเถิดนะทรามวัย | ||
เมื่อพลัดพรากจากเมืองมาคราวแล้ว | แต่หม่อมแม่กับอีแมวยังมาได้ | ||
ดึกดื่นคืนค่ำค่อยคลำไป | ร้องไห้ไยให้เสียน้ำตา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาตอบคำวิฬาร์ว่า | ||
ข้าก็รู้อยู่สิ้นแล้ววิฬาร์ | ท่านไม่เมตตาจึงขับไป | ||
เมื่อความผิดนิดหนึ่งก็ไม่มี | คิดแค้นเท่านี้จึงร้องไห้ | ||
วิฬาร์อย่าเพ่อคลาไคล | ทรามวัยวิ่งกลับคืนมา | ||
โอ้ | |||
๏ ยอกรก้มกราบกับตีนผัว | พ่อทูนหัวจงโปรดเกศา | ||
ซึ่งว่าโทษตัวน้องชั่วช้า | พระจงพิจารณาให้แจ้งใจ | ||
นี่ไม่ถามความเลยมาเฉยเสีย | พระจะดูหน้าเมียก็หาไม่ | ||
ว่าพลางนางทรงโศกาลัย | อรไทพ่างเพียงจะมรณา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์น้อยใจเป็นนักหนา | ||
คิดแค้นแล่นไปด้วยโกรธา | ฉุดมือนางมาแล้วว่าไป | ||
คิดบ้างเป็นไรในสวนขวัญ | หนียักษ์ตัวสั่นดังลูกไก่ | ||
จักแหล่านชีวันจะบรรลัย | ยังแต่ลมหายใจอยู่รวยรวย | ||
ไม่พบเราบบ่าวนายก็ตายแล้ว | พูดอ้อนวอนแมวให้ช่วยด้วย | ||
ที่นี้แทนคุณให้ที่ไม่ม้วย | ทั้งเจ้าข้ารื่นรวยบริบูรณ์ | ||
เสียแรงรักภักดีสุจริต | แทบจะเอาชีวิตมาสาบสูญ | ||
อนิจจาอาภัพลับเหมือนปูน | หม่อมเมียท่านทูลท่านเชื่อกัน | ||
ว่าพลางพานางลีลาศ | ลงจากปราสาทเฉิดฉัน | ||
วิฬาร์นำหน้าจรจรัล | นางโศกศัลย์ดำเนินเดินมา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ ทยอย | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ผันแปรแลหา | ||
เห็นโฉมงามเดินตามหลังวิฬาร์ | ให้คืนคิดเมตตาอาลัย | ||
ความรักหักห้ามโมโหหาย | แสนเสียดายไม่กลั้นน้ำตาได้ | ||
นี่เนื้อว่าเวรกรรมได้ทำไว้ | จึงเกิดเข็ญเป็นไปถึงเพียงนี้ | ||
เสียทีเพียรพากลำบากกาย | ปิ้มจะตายเพราะมิ่งมารศรี | ||
ได้สมสองครองกันพอครบปี | จะมาจากอกพี่ไปทั้งรัก | ||
นิจจาเอ๋ยเดินพลางร้องไห้พลาง | สงสารนางนักหนาน่าอกหัก | ||
จะเรียกกลับอับอายเสนานัก | พระทรงศักดิ์อักอ่วนป่วนใจ | ||
ไม่มีสุขผุดลุกผุดนั่ง | ร้อนรุมคลุ้มคลั่งดังเพลิงไหม้ | ||
แต่รัญจวนครวญคร่ำร่ำไร | ภูวไนยโศกาจาบัลย์ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชามิใคร่จะผายผัน | ||
กันแสงพลางทางลงอัฒจันทร์ | แว่วเสียงโศกศัลย์สะดุ้งใจ | ||
จึงยืนยั้งฟังศัพท์สำเนียง | ได้ยินเสียงผัวรักร้องไห้ | ||
นางตีอกฟกช้ำร่ำไร | ทรามวัยวิ่งกลับคืนมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
โอ้ | |||
๏ ยอกรกราบลงกับเบื้องบาท | ใจจะขาดด้วยความเสน่หา | ||
เป็นกรรมตามสนองทั้งสองรา | พระจะทรงโศกาไปว่าไร | ||
ธรรมดาจารีตเป็นกษัตริย์ | โองการตรัสขาดแล้วไม่คืนได้ | ||
น้องนี้จะขอลาคลาไคล | สัญจรไปตามกรรมได้ทำมา | ||
นางยกบาทผัวขึ้นทูลเกศ | ชลเนตรไหลหลั่งทั้งซ้ายขวา | ||
ตีอกชกเกล้าเข้าโศกา | ซบกับบาทาพระสามี | ||
ฯ ๖ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | เจ็ดนางร้อนใจดังไฟจี้ | ||
เห็นนางสุวิญชามาโศกี | กลัวว่าเขาจะดีกันผัวเมีย | ||
คิดวิตกอกไหม้ไส้ขม | ในอารมณ์นั้นจะใคร่ให้ขับเสีย | ||
จึงชี้หน้าว่านางช่างทำเยีย | มาอะลิ้มอะเหลี่ยภูวไนย | ||
อีหน้าด้านมารยาพิรากวน | ทำกระบวนชวนผัวให้ร้องไห้ | ||
จะพะนึงพะเน้าเอาอะไร | ไปไปแล้ววกหกกลับมา | ||
คนกระลีกระลำส่ำเสีย | ให้เพื่อนเมียพลอยอายขายหน้า | ||
ไสหัวไปให้พ้นพารา | มึงอย่ามายียวนกวนพระทัย | ||
บ้างว่าน่าเกลียดเคียดค้อน | ขอดค่อนงอนว่าไม่ปราศรัย | ||
บ้างยั่วเย้าเฝ้าทูลตะบอยไป | ปรานีมันไยอีใจคด | ||
แต่เลือดร้ายในกายยังกอกเสีย | มานั่งนับกับเมียที่อัปยศ | ||
ชั่วชาติอุบาทว์ไม่เป็นรส | เชิญเสด็จทรงยศเข้าห้องใน | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์ฟังว่าไม่อดได้ | ||
ความโกรธกระโดดโลดเข้าไป | แล้วจูงมืออรไทออกมา | ||
ทำลอยหน้าลอยตาพาที | ตัวเป็นทาสีแล้วมิสา | ||
ทั้งโหดไร้ไม่มีปัญญา | ขืนจะขึ้นแข่งหน้าว่าไม่ฟัง | ||
รูปร่างของตัวก็ชั่วช้า | แล้วหยูกยาอาคมก็ไม่ขลัง | ||
สารพัดวิบัติให้ผัวชัง | ถึงจะโปรดปรานมั่งก็เจ็บใจ | ||
ช่างอาภัพอับจนหม่นหมอง | จะผินพึ่งพี่น้องก็ไม่ได้ | ||
จึงต้องจ้างช่างทำท่อนไม้ | ไปซ่อนใส่สมหวังแล้วครั้งนี้ | ||
เอออะไรที่ไหนมานั่งวอน | ให้เขาค่อนแคะว่าน่าบัดสี | ||
มิใช่แม่แก่เฒ่าเมื่อไรมี | แต่เป็นม่ายเพียงนี้ไม่น้อยใจ | ||
มันไม่ต้องอารมณ์สมประกอบ | ผิดชอบชั่วดีมีผัวใหม่ | ||
เที่ยงนางกลางคืนแม่มาไป | กลัวอะไรมือค่ำกรรมของตัว | ||
จะเที่ยวหาหมอยามนต์ดล | ทำเสน่ห์กลซนหาผัว | ||
ให้มันขลังทั้งรักทั้งกลัว | ขึ้นนั่งซังตั้งตัวเป็นผู้ดี | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สุริยาเคืองเคียดมันเสียดสี | ||
จึงชี้หน้าว่าอีวิฬารี | มึงพาทีเถียงแทนช่วยแค้นเคือง | ||
กูจะตอบสำนวนไม่ควรคู่ | เหมือนเอาทองไปถูรู่กระเบื้อง | ||
ไสหัวมึงไปเสียจากเมือง | จะยักเยื้องอย่างไรเขาไม่ฟัง | ||
อีแมวอุบาทว์ชาติขี้ข้า | มึงไม่รู้ว่าฟ้าจะเคืองหลัง | ||
แม้นเจ้าข้ามิไปให้พ้นวัง | กูจะสั่งให้เขาไสคอไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์ฟังว่าน่าหมั่นไส้ | ||
จะออมอดลดละมันทำไม | ตายไหนตายไปคงให้ลือ | ||
จึงร้องว่าแน่คะหม่อมเมียเอก | อภิเษกขึ้นใหม่เมื่อไรหรือ | ||
บัญชาแทนรับสั่งนั่งชี้มือ | มาออกหน้าค่าชื่อไม่อายใจ | ||
เจ้าสิคนสบเสียนางเมียต้น | จะฆ่าผู้ฟันคนก็ทำได้ | ||
มานั่งขับเหนื่อยปากลำบากใจ | เอาจับใส่หีบฝังเสียทั้งเป็น | ||
อีพวกเหล่าเจ้าเสน่ห์เล่ห์กล | แต่ละคนใจคอไม่พอเล่น | ||
มันตาร้อนตาไฟมิใช่เย็น | เอาคนฝังทั้งเป็นอีอัปรีย์ | ||
แม้นเจ้าข้าพากันวายชนม์ | ถ้ารู้ถึงสิงหลยักษี | ||
เหมันต์ก็จะหมดทั้งธานี | อสุรีเคี้ยวเล่นเป็นผักไป | ||
ว่าพลางพานางจรลี | ลงจากปราสาทศรีที่อาศัย | ||
ออกนอกพระทวารวังใน | เดินไปตามถนนธานี | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นออกมานอกประตูเมือง | พอเรื่อเรืองรุ่งแจ้งแสงสี | ||
วิฬาร์ทูลความตามคดี | เมื่อเทวีประสูติพระโอรส | ||
ข้าระวังนั่งเฝ้าแฝงประตู | แอบดูเห็นแน่แก่ตาหมด | ||
อีทั้งเจ็ดทุจริตคิดคด | ลักองค์โอรสใส่หีบมา | ||
ข้าวิ่งแอบอ้อมด้อมตามไป | พอถึงต้นไทรสาขา | ||
มันยั้งหยุดขุดหลุมที่ฉายา | แล้วฝังหีบรีบมาเสียทันที | ||
ข้าไปดูที่ฝังสังเกตไว้ | จำได้สันทัดสนัดสนี่ | ||
ทูลพลางทางรีบจรลี | นำนางเทวีไปทันใด | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงพระไทรสาขา | วิฬาร์จึงแจ้งแถลงไข | ||
มันฝังองค์พระโอรสไว้ | อยู่ใต้ร่มไทรต้นนี้ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางสุวิญชาโฉมศรี | ||
ดีใจเป็นพ้นพันทวี | ก็ขุดลงตรงที่ฝังไว้ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
ล่องเรือ | |||
๏ ขุดไปไม่พบพระโอรส | นางกำสรดดิ้นโดยโหยไห้ | ||
สะอื้นพลางทางถามวิฬาร์ไป | เหตุไฉนไม่พบพระลูกยา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์หลากใจเป็นนักหนา | ||
หรือผีสางบังหูบังตา | มาหลอนหลอกหยอกข้าดอกกระมัง | ||
คิดแล้วนางแมวยกมือไหว้ | ขอให้ได้พระกุมารเหมือนใจหวัง | ||
เทพไทองค์ใดที่กำบัง | จะแต่งตั้งสังเวยที่ร่มไทร | ||
ข้าจะรำฉุยฉายถวายมือ | ให้เลื่องลือว่าแมวนี้รำได้ | ||
บนพลางทางแลดูไป | ก็เห็นหีบที่ในหลุมนั้น | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา ฉุยฉาย | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ | ||
เอาหีบมาเปิดฝาดูพลัน | จึงเห็นโอรสนั้นเป็นชาย | ||
ยกพระลูกน้อยขึ้นใส่ตัก | พิศพักตร์ลักขณาเฉิดฉาย | ||
ทรงศรพระขรรค์สำหรับกาย | ทั้งม้ารถพรรณรายก็มีมา | ||
นางแสนพิศวาสพระลูกรัก | จูบพักตร์แล้วทูนเหนือเกศา | ||
พ่อคุณทูนหัวของมารดา | จะหาไหนได้เหมือนเช่นนี้ | ||
แม่คิดว่าอาสัญบรรลัย | ตามจากแม่ไปไม่เห็นผี | ||
ร่ำพลางทางทรงโศกี | มารศรีพ่างเพียงจะขาดใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
๏ ครั้นสร่างโศกาปรึกษาแมว | เราพบลูกแล้วจะไปไหน | ||
หรือจะกลับหลังยังเวียงชัย | ทูลให้ทราบเบื้องบาทา | ||
เมียท่านทำการถึงเพียงนี้ | จะดูพระสามีพิพากษา | ||
เจ้าจะเห็นอย่างไรนางวิฬาร์ | จงว่ามาให้แม่แจ้งใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์เคืองขัดอัชฌาสัย | ||
จึงตอบวาจาไปทันใด | ช่างไม่อายแก่ใจหรือไรนา | ||
เขาขับหนีตีด่าว่าตัวชั่ว | ยังแค่นคิดถึงผัวจะไปหา | ||
ไม่เจ็บจำน้ำคำอีสุริยา | มันด่าว่านั้นน้อยไปเมื่อไร | ||
ข้างผัวก็หลงงงงวย | เมียว่าไรว่าด้วยไม่ถามไถ่ | ||
จะขืนไปบอกเล่าเขาทำไม | เขาจะเชื่อที่ไหนว่าลูกตน | ||
เมื่อรักผัวไม่คิดถึงตัวแล้ว | อีแมวก็จะในไพรสณฑ์ | ||
จะอุตส่าห์สัญจรซอนซน | กว่าจะถึงสิงหลเวียงชัย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาฟังแจ้งแถลงไข | ||
แต่วิฬาร์ยังว่าน่าอายใจ | คิดมานะพระทัยขึ้นมา | ||
จำจะผายผันสัญจร | ไปนครสิงหลยักษา | ||
แต่ขัดสนจนเสียด้วยมรคา | ไม่รู้ว่าตำแหน่งแห่งใด | ||
นางจึงยอกรขึ้นเพียงผม | บังคมเทวาในป่าใหญ่ | ||
เชิญช่วยนำข้าคลาไคล | ไปถึงเวียงชัยฉับพลัน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ยานี | |||
๏ มาจะกล่าวบทไป | ถึงท้าวสหัสนัยน์รังสรรค์ | ||
อาสน์อ่อนร้อนเร่าดังไฟกัลป์ | เร่งคิดอัศจรรย์เป็นพ้นนัก | ||
จึงเล็งทิพเนตรลงมา | เห็นนางสุวิญชามีศักดิ์ | ||
มาประสบพบองค์โอรสรัก | จะไปสู่สำนักพระบิดา | ||
จำกูจะให้นำไป | ถึงกรุงไกรสิงหลยักษา | ||
อย่าให้นางทนทุกข์ทรมา | เวทนาแก่องค์พระกุมาร | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ จึงตรัสสั่งพระวิษณุกรรม์ | จงจรจรัลไปในไพรสาณฑ์ | ||
พานางสุวิญชานงคราญ | ไปส่งถึงสถานธานี | ||
ฯ ๒คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | พระวิษณุกรรม์เรืองศรี | ||
รับสั่งท้าวสุชัมบดี | บังคมลาจรลีลงมาพลัน | ||
ฯ ๒คำ ฯ กลม | |||
๏ ครั้นถึงจึงมีวาจา | เจ้าอย่าวิโยคโศกศัลย์ | ||
เราจะมาพานางจรจรัล | ไปส่งยังเขตขัณฑ์เวียงชัย | ||
ฯ ๒คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชานารีศรีใส | ||
ชื่นชมเปรมปรีดิ์ดีใจ | ยอกรบังคมไหว้เทวา | ||
แล้วอุ้มองค์โอรสยศยง | วางลงยังราชรถา | ||
พระวิษณุกรรมขับมา | วิฬาร์นำหน้าคลาไคล | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงหิมวันต์บรรพต | ให้หยุดรถอยู่ริมภูเขาใหญ่ | ||
เห็นน้ำพุจากผาชลาลัย | อรไทยินดีปรีดา | ||
จึงยกเอาลูกน้อยกลอยใจ | ลงจากพิชัยรถา | ||
พาไปสระสรงคงคา | วิฬาร์ก็พาเสด็จไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ ลงสรง | |||
๏ ครั้นชำระสระสรงพระลูกแล้ว | คลาดแคล้วจากเชิงเขาใหญ่ | ||
นางเปลื้องภูษาผ้าสไบ | ผูกเป็นเปลให้เจ้าไสยา | ||
กอดจูบลูกแก้วแล้วเชยชม | ค่อยวางลงบรรทมในเปลผ้า | ||
นอนเสียเถิดพ่ออย่าโศกา | ปลอบพลางกัลยาก็กล่อมไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
กล่อม | |||
๏ เจ้านอนไปเถิดแม่จะกล่อม | เจ้างามละม่อมจะไกวให้ | ||
ขวัญอ่อนอย่าอ้อนอาลัย | หลับไปเถิดพ่ออย่าโศกา | ||
แม่ลูกมีกรรมลำบาก | ต้องตกยากนอนหลับกับเปลผ้า | ||
แม้นอยู่เวียงวังพระบิดา | จะไสยาอู่ทองรององค์ | ||
ตื่นบรรทมนางนมจะแซ่ซ้อง | ค่อยประคององค์วางในอ่างสรง | ||
ครั้นเห็นลูกหลับไปดังใจจง | บังอรเอนองค์ลงไสยา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ ตระ | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นพระสุริยันตะวันชาย | แสงสายบ่ายบังพฤกษา | ||
พระกุมารก็ฟื้นตื่นนิทรา | กัลยาโอบอุ้มเอามาพลัน | ||
โลมลูบจูบกอดให้กินนม | เชยชมรับมิ่งสิ่งขวัญ | ||
แล้ววางองค์ลงเหนือรถสุวรรณ | วิษณุกรรม์นำหน้าพาจรลี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ สุริยาสายัณห์ลงรอนรอน | ก็ถึงพระนครท้าวยักษี | ||
เทวาลากลับไปทันที | เทวีอุ้มลูกคลาไคล | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เดินพลางทางทรงโศกา | ชลนาแถวถั่งหลั่งไหล | ||
ชวนนางวิฬาร์ผู้ร่วมใจ | รีบไปเฝ้าองค์พระบิดา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นถึงท้องพระโรงรูจี | เทวีคิดเกรงท้าวยักษา | ||
ยั้งหยุดยืนแฝงทวารา | ตรึกตรองกิจจาจะเพ็ดทูล | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลราชนเรนทร์สูร | ||
สถิตเหนือแท่นรัตน์เรืองจำรูญ | พร้อมมูลข้าเฝ้าท้าวพระยา | ||
ว่าขานกิจการนคเรศ | ให้เขม่นนัยน์เนตรทั้งซ้ายขวา | ||
พระยายักษ์นิ่งนึกตรึกตรา | จะได้ลาภหรือว่าจะได้ทุกข์ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ แต่ก่อนร่อนชะไรไม่เคยเป็น | จะพูดเล่นเจรจาไม่ผาสุก | ||
จึงตรัสเรียกกระดานหมากรุก | มาทรงเล่นกับมุขมนตรี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางสุวิญชาโฉมศรี | ||
แอบประตูดูองค์อสุรี | เห็นท่วงทีเริงรื่นชื่นบาน | ||
อุ้มองค์ลูกน้อยกลอยใจ | ร้องไห้เข้าไปตรงหน้าฉาน | ||
ก้มเกล้าประณตบทมาลย์ | นงคราญซวนซบสลบลง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลเร่งคิดพิศวง | ||
แปลกนางสุวิญชาโฉมยง | ด้วยพระองค์ชราหูตามัว | ||
พิศดูเอ๊ะนี่มีธิดา | เป็นไรมาสลบซบหัว | ||
ท้าวค่อยประคองต้องตัว | ลูบทั่วสรรพางค์นางเทวี | ||
ตรัสเรียกเท่าไรก็ไม่ขาน | พระยามารเรียกหมออึงมี่ | ||
พลางทรงนวดฟั้นให้ทันที | เสนีนิ่งได้ไม่ช่วยกู | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ครั้นนางค่อยฟื้นสมประดี | เทวียังทรงกันแสงอยู่ | ||
ประคอบปลอบเล้าโลมนางโฉมตรู | จะใคร่รู้เนื้อความจึงถามไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ จอมเอยจอมขวัญ | เหมันต์เกิดเข็ญเป็นไฉน | ||
หรือผัวเจ้าเขาทำให้ช้ำใจ | ได้ลำบากยากไร้อับจน | ||
มีธุระอะไรนะบังอร | จึงมายังนครสิงหล | ||
เหตุไรไม่มีรี้พล | มาแต่สองคนกับอีแมว | ||
นี่ลูกเต้าของใครได้ไหนมา | ดูหน้าตายิ้มยิ่งผ่องแผ้ว | ||
ยังเล็กนักได้สักกี่เดือนแล้ว | ลูกแก้วจงแถลงแจ้งกิจจา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาบังคมก้มหน้า | ||
นางคิดพิดทูลแต่อัชฌา | ด้วยกลัวจะโกรธาพระสามี | ||
เดิมยกลูกให้พระไชยเชษฐ์ | ไปจากนคเรศยักษี | ||
เธอร่วมเรียงเลี้ยงลูกไว้ดิบดี | มิได้มีอาธรรม์อันใด | ||
เมื่อจะเกิดเหตุนั้นลูกครรภ์แก่ | เป็นกรรมแต่หนหลังมาซัดให้ | ||
เขาบอกข่าวช้างเผือกที่ในไพร | พระสามีดีใจไปคล้องช้าง | ||
ข้าคลอดลูกชายภายหลัง | เพื่อนเมียมานั่งอยู่รอบข้าง | ||
สมคะเนเล่ห์กลอีเจ็ดนาง | จะแกล้งล้างผลาญข้าให้บรรลัย | ||
เอาลูกน้อยนี้ใส่ในหีบผ้า | ให้ทาสาไปฝังนอกกรุงใหญ่ | ||
พอผัวกลับมาถึงเวียงชัย | มันเอาท่อนไม้ไปให้ดู | ||
พระไชยเชษฐ์นั้นไม่ทันคิด | จำจิตขับข้าด้วยอดสู | ||
อันที่ฝังลูกยาวิฬาร์รู้ | มาขุดดูได้ลูกที่ต้นไทร | ||
เดชะสมภารพระหลานขวัญ | เทวัญเอารถลงมาให้ | ||
แล้วช่วยพามาส่งถึงกรุงไกร | จงทราบใต้บาทบงสุ์พระทรงฤทธิ์ | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลฟังเรื่องให้เคืองจิต | ||
จึงว่าชะไชยเชษฐ์ช่างไม่คิด | ถึงชอบผิดก็ควรจะบอกกู | ||
น้อยหรือขับไล่ไม่ไว้หน้า | ให้พ่อตาอัปยศอดสู | ||
มันเชื่อฤทธิ์จะลองฝีมือดู | เห็นว่ากูแก่เฒ่าจะเข้าโลง | ||
เมื่อเมียมันพาลผิดริษยา | เห็นตัวอยู่อิจฉาโต้งโต้ง | ||
อ้ายคนหลับตาบ้าลำโพง | โป้งโย้งพูดฮึกไม่ตรึกตรา | ||
งมเงาแล้วมิหนำซ้ำจองหอง | ถ้าอยู่ใกล้จะถองให้หนักหนา | ||
จำจะหามาถามตามกิจจา | มันจะว่าอย่างไรจะใคร่ฟัง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์แค้นคิดถึงความหลัง | ||
เห็นนางทูลปิดงำอำปลัง | นี่เนื้อยังรักผัวกลัวจะเคือง | ||
วิฬาร์ขัดใจเข้าไปทูล | ว่านางเล่าเค้ามูลไม่สิ้นเรื่อง | ||
พอผัวเขากลับมาถึงเมือง | มันยักเยื้องยุยงให้โกรธา | ||
หม่อมเมียว่าไรก็เป็นนั่น | สารพันแคะไค้พิไรว่า | ||
ไม่ไต่ถามความพิจารณา | สั่งให้เข่นฆ่านางโฉมตรู | ||
หากสี่พี่เลี้ยงมาขอไว้ | ทั้งเจ้าข้าจึงได้รอดอยู่ | ||
เธอว่ายับขับเสียไม่เลี้ยงดู | นางผัดพอเช้าตรู่จะจรลี | ||
เธอยิ่งกราดเกรี้ยวเคี่ยวเข็ญ | ถ้าขืนอยู่ก็เห็นจะเป็นผี | ||
ข้าจึงพานางมาในราตรี | ปิ้มชีวีจะม้วยด้วยเจ็บใจ | ||
ทั้งผัวเมียเขารุมกันด่าว่า | หาเกรงใต้บาทาผ่านฟ้าไม่ | ||
ขันศึกฮึกฮักเป็นพ้นไป | ว่าจะสู้ภูวไนยไม่พรั่นพรึง | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลพิโรธโกรธขึ้ง | ||
ลุกขึ้นกระทืบบาทตวาดอึง | สุวิญชาดูดู๋มึงไม่บอกกู | ||
ช่างรักผัวกระไรกระนี้หนอ | ให้หม่อมพ่อไชยเชษฐ์มาลบหลู่ | ||
ความโตความใหญ่พ่อไม่รู้ | หากวิฬาร์ลูกกูมันเจ็บอาย | ||
อัปยศครั้งนี้เป็นที่สุด | ถึงชีวิตม้วยมุดก็ไม่หาย | ||
มันดูหมิ่นถิ่นแคลนกูมากมาย | จะปล่อยแก่แก้อายไม่เกรงมัน | ||
ชะอ้ายไชยเชษฐ์ลูกเขย | คงได้เล่นกันเหวยอย่าคึกขัน | ||
ขัดเขมรเป็นเกลียวเคี้ยวฟัน | โจนจากแท่นสุวรรณทันที | ||
เขี้ยวงอกออกข้างละสามวา | นัยนาดังแสงพระสุริย์ศรี | ||
สำแดงแผลงฤทธิ์อสุรี | เพียงพื้นปัถพีจะโทรมทรุด | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ คุกพาทย์ | |||
๏ จับศรสะพายแล่งแกว่งตระบอง | ขึ้นฆาตกลองสำคัญชั้นสุด | ||
แล้วให้เตรียมทัพสำหรับยุทธ์ | กู้จะไปรบมนุษย์เมืองเหมันต์ | ||
พระยามารมายังเกยลา | ยืนท่าพหลพลขันธ์ | ||
ร้องเรียกโยธีนี่นัน | หุนหันฮึดฮัดขัดใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ ครั้นพร้อมเสร็จเสด็จขึ้นทรงรถ | ยกอสุรจัตุรงค์ทัพใหญ่ | ||
กระทืบบาทเร่งราชรถชัย | ออกไปจากวังไม่รั้งรอ | ||
ฯ ๒คำ ฯ กราว | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาขวัญหนีดีฝ่อ | ||
วิ่งตะกายน้ำลายไม่ติดคอ | กลัวพ่อจะไปฆ่าพระสามี | ||
ตามยุดท้ายรถกำสรดพลาง | นวลนางร้องทูลท้าวยักษี | ||
จงผินพักตรามาพาที | เทวีครวญคร่ำร่ำวิงวอน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
โอ้ปี่ | |||
๏ โอ้ว่าพระองค์ผู้ทรงเดช | โปรดเกศลูกมั่งจงยั้งก่อน | ||
พระจะยกพลมารไปราญรอน | ทำโทษโรธกรณ์กับเขาไย | ||
คิดเห็นเป็นกรรมลูกเที่ยงแท้ | จึงได้แต่ทุกข์ทนหม่นไหม้ | ||
พลัดพรากพ่อแม่มาเดินไพร | นี่หากได้พึ่งบาทพระบิดา | ||
ชีวิตจึงรอดไม่วอดวาย | ทั้งกุมารหลานชายเป็นสุขา | ||
ครั้งนี้มิทรงพระเมตตา | ก็จะเป็นเวราแก่ข้านี้ | ||
ประทานโทษเถิดทูลกระหม่อมเอ๋ย | อย่าไปเลยจงคืนเข้ากรุงศรี | ||
ให้เห็นแก่นัดดาของภูมี | เทวีทูลพลางทางโศกา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ บัดนั้น | ท้าวสิงหลให้คิดเสนหา | ||
เหลียวมาปลอบพระธิดา | อย่าโศกาอาวรณ์ร้อนรน | ||
จึงมีสิงหนาทประกาศร้อง | ให้เลิกกองทัพกลับเข้าสิงหล | ||
ง่าหัตถ์รับนางนฤมล | ขึ้นนั่งบนรถาแล้วพาที | ||
พ่อขัดใจไชยเชษฐ์มันดูแคลน | เจ็บแค้นดังหัวอกเป็นฝี | ||
หากสงสารหลานน้อยคนนี้ | ดับโมโหเสียทีเอาบุญไว้ | ||
ตรัสพลางทางเหลือบเห็นวิฬาร์ | รื้อคิดโกรธาขึ้นมาใหม่ | ||
ชังลูกชังหลานงุ่นง่านใจ | แกว่งตระบองร้องให้กลับรถ | ||
เสนาเร่งขับพลขันธ์ | จะไปเหยียบเหมันต์ให้แหลกหมด | ||
กูจะได้แก้แค้นแทนทด | กระทืบบาทเร่งรถรีบไป | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาอกสั่นหวั่นไหว | ||
วอนว่าพาทีรี้พิไร | พระบิตุรงค์จงได้เมตตา | ||
หลานน้อยนี้จะเป็นกำพร้าพ่อ | ลูกขอประทานโทษา | ||
ทูลพลางนางซบพักตรา | กอดบาทพระบิดาโศกาลัย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลกลับคิดพิสมัย | ||
จึงโลมเล้าธิดายาใจ | อย่าร้องได้ไปเลยนะลูกรัก | ||
พ่อคิดแค้นขึ้นมาก็งุ่นง่าน | จะใคร่ยกพลมารไปหาญหัก | ||
อันโทษตัวผัวเจ้ามันฮึกฮัก | จะยกให้หลานรักอย่าทุกข์ร้อน | ||
แล้วดำรัสตรัสร้องเปรยไป | ลูกหลานมันร้องไห้ไม่หยุดหย่อน | ||
ให้กลับพหลพลนิกร | คืนเข้าพระนครมิทันช้า | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงขึ้นบนปราสาท | เสด็จนั่งเหนืออาสน์อันเลขา | ||
เชยชมพระราชนัดดา | เป็นที่เสน่หาพระยายักษ์ | ||
ขนานนามประทานหลานชาย | ชื่อนารายณ์ธิเบศร์สมศักดิ์ | ||
ให้พี่เลี้ยงนางนมพร้อมพรัก | บำรุงรักษ์พระกุมารสำราญใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ตอนที่ ๒ พระไชยเชษฐ์ตามนางสุวิญชา
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | ฝ่ายท้าวธรรมึกเป็นใหญ่ | ||
แต่ละห้อยคอยหาพระดนัย | มิได้เป็นสุขสักเวลา | ||
จึงตรัสกับมเหสีพี่ทุกข์นัก | ลูกรักของเรานี้ไปป่า | ||
จะคล้องช้างอยู่กลางพนาวา | หรือกลับมายังไม่ถึงธานี | ||
สงสารสุวิญชาทรงครรภ์ | จะเป็นฉันใดอยู่ไม่รู้ที่ | ||
จำจะไปเยี่ยมเยือนเทวี | ให้แจ้งเหตุร้ายดีประการใด | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ จึงชวนพระมเหสีบังอร | บทจรจากแท่นที่อาศัย | ||
สองกษัตริย์ลีลาคลาไคล | เสด็จไปปราสาทพระโอรส | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นถึงแลดูประตูปิด | ประหลาดจิตเงียบเชียบไปไหนหมด | ||
พระดำเนินเดินเที่ยวเลี้ยวลด | รอบปราสาทโอรสด้วยสงกา | ||
จึงร้องเรียกสุวิญชานารี | ชนนีบิตุรงค์ลงมาหา | ||
หลับไปหรือไรไม่พูดจา | แก้วตาเปิดรับพ่อฉับไว | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ทอดถอนใจใหญ่ | ||
แว่วเสียงพระชนกก็ตกใจ | พรั่นตัวกลัวภัยเป็นสุดคิด | ||
ด้วยขับไล่สุวิญชาบังอร | ไม่ทูลก่อนทำตามอำเภอจิต | ||
กลัวความทั้งนี้จะมิมิด | ทรงฤทธิ์อ้นอั้นตันใจ | ||
จึงค่อยย่องมามองเมียงดู | เปิดประตูมิใคร่จะออกได้ | ||
จำเป็นก็จำออกไป | บังคมไหว้ทั้งสองกษัตรา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระบิตุรงค์เห็นองค์โอรสา | ||
สะกิดบอกมเหสีโสภา | หน้าตาลูกเราเศร้าโศกไป | ||
ดูท่วงทีกิริยาไม่สบาย | ดีร้ายชะรอยจะเจ็บไข้ | ||
จึงตรัสถามไปพลันทันใด | เจ้ามาถึงเมื่อไรนะลูกยา | ||
ซึ่งว่าช้างเผือกพลายพัง | ได้พบมั่งหรือไม่ที่ในป่า | ||
จริงเหมือนหนังสือเขาถือมา | หรือว่าเหตุผลประการใด | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ทูลแจ้งแถลงไข | ||
ลูกอุตส่าห์จัดแจงเสียแรงไป | เชือกบาศเชือกใช้ก็เตรียมครบ | ||
หมายใจว่าจะได้ช้างสำคัญ | ดันดั้นในป่าเที่ยวหาจบ | ||
ชั้นแต่รอยเท้าก็ไม่พบ | พอครบเจ็ดวันก็รีบมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สองกษัตริย์สุริย์วงศ์นาถา | ||
จึงตรัสแก่องค์พระลูกยา | สงสารสุวิญชาทรามวัย | ||
นางไกลชนนีบิตุรงค์ | เจ้าจงเอาใจดูหูใส่ | ||
จะคลอดลูกคลอดเต้าไม่เข้าใจ | ให้นอนฟืนนอนไฟอย่าใจเบา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์บังคมก้มเกล้า | ||
คิดเสียดายสุวิญชานงเยาว์ | จึงทูลเล่าเนื้อความตามกิจจา | ||
ลูกไปป่ามาถึงไม่ทันนั่ง | เห็นท่อนไม้มาตั้งอยู่ตรงหน้า | ||
เจ็ดนางว่าลูกสุวิญชา | เกิดมาเป็นกลีไม่ดีจริง | ||
สองพระองค์จงโปรดปรานี | ลูกนี้อับอายชายหญิง | ||
เขาว่าขานมีพยานอ้างอิง | พิเคราะห์ความจริงข้างสุริยา | ||
ให้เคืองขัดอัดอั้นตันจิต | สุดคิดที่จะงดอดโทษา | ||
จึงขับไล่นางไปกับวิฬาร์ | ออกนอกทวาราแต่คืนนี้ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระบิตุรงค์ธิราชเรืองศรี | ||
ได้ฟังคั่งแค้นแสนทวี | จึงว่าแก่มเหสีทรามวัย | ||
ดูดู๋ไชยเชษฐ์ทะนงศักดิ์ | ฮึกฮักไม่บอกเล่าเราผู้ใหญ่ | ||
ที่ไหนมั่งลูกคนเป็นท่อนไม้ | ผิดเพศวิสัยในแผ่นดิน | ||
เราก็ได้มีเมียมาเสียหนัก | จนฟันหักหัวหงอกไปหมดสิ้น | ||
เกิดมาแก่จะตายพึ่งได้ยิน | ช่างเชื่อลิ้นหลงกลคนมารยา | ||
ชิชะขอบใจไชยเชษฐ์ | ฤทธิ์เดชสุงสิงหยิ่งนักหนา | ||
ทำตามลำพังอหังการ์ | ไม่เกรงศักดาพระยามาร | ||
ว่าแล้วสั่งสี่พี่เลี้ยงพลัน | จงเกณฑ์กันพลเรือนแลทหาร | ||
ไปติดตามสุวิญชานงคราญ | เที่ยวค้นดูทุกบ้านแลดงดอน | ||
แม้นประสบพบนางเทวี | ว่าเรานี้ให้คืนเข้ามาก่อน | ||
จะถามดูให้รู้โทษกรณ์ | อ้อนวอนว่ากล่าวทั้งวิฬาร์ | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | พระพี่เลี้ยงรับสั่งใส่เกศา | ||
ต่างถวายบังคมแล้วไคลคลา | ออกมาบอกเวรเกณฑ์กัน | ||
เรียกหาบ่าวไพร่วุ่นวาย | จัดแจงแต่งกายขมีขมัน | ||
ครั้นเสร็จก็รีบจรจรัล | แยกกันไปตามมรคา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ออกนอกพารามาถึง | ทางหนึ่งจะเข้าประตูป่า | ||
เที่ยวดูสำคัญสัญญา | ก็พบรอยวิฬาร์จำปาทอง | ||
ทั้งสี่ยินดีปรีดา | หัวเราะร่ากระหยิ่มยิ้มย่อง | ||
ให้บ่าวสนิทติดพี่น้อง | เป็นนายกองเก็บดอกจำปาไป | ||
แล้วรีบตามทรามวัยจะให้ทัน | ดันดั้นเดินมาในป่าใหญ่ | ||
สักครู่หนึ่งก็ถึงต้นไทร | แลไปเห็นหีบก็สงกา | ||
ต่างวุ่นวิ่งชิงกันเข้าเพ่งพิศ | ประหลาดจิตเปิดดูเห็นภูษา | ||
จำปาทองตกกลาดดาษดา | พี่เลี้ยงพูดจาหารือกัน | ||
แล้วแยกย้ายเดินไปด้อมมอง | เที่ยวท่องตามไปในไพรสัณฑ์ | ||
บ้างระวังนั่งเฝ้าของสำคัญ | บ้างชวนกันขึ้นบนต้นไม้ดู | ||
บ้างเที่ยวไปพบรอยอัสดร | ซอกซอนเที่ยวหาเป็นหมู่หมู่ | ||
ไม่ประสบพบนางโฉมตรู | ต่างกู่บ่าวไพร่มาพร้อมกัน | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ จงปรึกษาหารือกันทั้งสี่ | เรานี้จำจะรีบผายผัน | ||
ไปทูลความตามได้ของสำคัญ | ทรงธรรม์จะโปรดประการใด | ||
ครั้นจะเที่ยวหาองค์นงลักษณ์ | ไม่ประจักษ์ว่าไปตำบลไหน | ||
ว่าแล้วพากันคลาไคล | บ่าวไพร่แบกหีบรีบตามมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงตรงเข้าไปเฝ้า | ก้มเกล้าบังคมเหนือเกศา | ||
แล้วกราบทูลความตามกิจจา | เดิมข้าไปถึงชายไพร | ||
พบรอยเท้าแมวเป็นแถวถ้อง | ดอกจำปาทองก็ใหม่ใหม่ | ||
จึงตามรอยดำเนินเดินไป | ถึงต้นไทรได้หีบกับผ้านี้ | ||
ทั้งจำปาทองก็กองกลาด | ผิดประหลาดไม่พบนางโฉมศรี | ||
ข้าเที่ยวดูในดงพงพี | พบแต่รอยพาชีรอยรถ | ||
ครั้นดั้นดันค้นหาต่อไป | รอยรถมโนมัยก็หายหมด | ||
สุดที่จะเที่ยวเลี้ยวลด | พระทรงยศจงทราบฝ่าธุลี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวธรรมึกเรืองศรี | ||
เห็นหีบกับสไบของเทวี | ภูมีสงสัยในวิญญาณ์ | ||
จึงตรัสแก่มเหสีทรามวัย | พิเคราะห์ไปสมสิ้นดังเราว่า | ||
เจ้าจะเห็นอย่างไรให้ว่ามา | อันนางสุวิญชานงเยาว์ | ||
อีเหล่านี้ริษยาสาธารณ์ | เอาท่อนไม้ใส่พานว่าลูกเขา | ||
เฝ้าตะบอยบอกผัวยั่วเย้า | อนิจจาลูกเราช่างเบาความ | ||
ถึงจะเป็นกาลีดีชั่ว | เมียของตัวเป็นไรไม่ไต่ถาม | ||
ผิดชอบก็ไม่รู้วู่วาม | ขับไล่เล่นตามสบายใจ | ||
นี่แน่ไชยเชษฐ์ลูกเอ๋ย | กระไรเลยงวยงงหลงใหล | ||
จงพินิจพิศดูผ้าสไบ | เห็นเจ้าจะจำได้ดอกกระมัง | ||
อันหีบใหญ่ใบนี้อยู่กลางดง | มันคงจะใส่เอาไปฝัง | ||
แต่จนใจว่าไปก็อำปลัง | จะคอยฟังถ้อยคำสุวิญชา | ||
เออสิ่งของร่องรอยก็พบสิ้น | จะแทรกดินบินไปไหนหนักหนา | ||
อ้ายทั้งสี่พี่เลี้ยงมึงกลับมา | มุสาเปล่าเปล่าไม่เข้าการ | ||
เสียแรงกู้ไว้เนื้อเชื่อใจ | ช่างนิ่งได้มุดหัวอยู่กับบ้าน | ||
ชอบแต่เฆี่ยนให้หลังเป็นทาลาน | การงานหนักเบาไม่เข้าใจ | ||
ฯ ๑๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | นางแก้วสัจจาอัชฌาสัย | ||
เคืองแค้นลูกยาแล้วว่าไป | นั่งดูอยู่ไยไม่พาที | ||
ของนี้จำได้หรือไม่เล่า | ลูกเต้าอะไรที่ไหนนี่ | ||
พลอยเฟือนเปื้อนปนเจ้าคนดี | ช่างไม่มีความคิดสักนิดเดียว | ||
เชื่อลิ้นหลงกลคนโกหก | มีแต่พกโมโหฉุนเฉียว | ||
ใจคอพอดีกระนี้เจียว | จะบอกแม่คำเดียวไม่น้อยใจ | ||
นิจจาเอ๋ยสุวิญชาบังอร | จะซอกซอนไปตำบลหนไหน | ||
จะอดอยากลำบากประการใด | ว่าพลางอรไทก็โศกี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์สุริย์วงศ์เรืองศรี | ||
เห็นองค์สมเด็จพระชนนี | โศกีรำพันว่าไป | ||
คิดถึงเมียเสียใจอาลัยนัก | พระเมินพักตร์ผินผันกลั้นร้องไห้ | ||
พลางหยิบดอกจำปาผ้าสไบ | ภูวไนยแลเล็งเพ่งพิศ | ||
แล้วทูลสองพระองค์ทรงเดช | จงโปรดเกศเกศีลูกนี้ผิด | ||
เพราะโมโหหุนหันไม่ทันคิด | อกุศลดลจิตให้เป็นไป | ||
หากสี่พี่เลี้ยงเข้ากั้นกาง | ขอโทษนางอ้อนวอนเป็นไหนไหน | ||
จึงมิได้ฆ่าฟันให้บรรลัย | ขับไล่เสียจากพารา | ||
เดชะบุญจางตลอดรอดฝั่ง | อีคนชังคนคิดริษยา | ||
จะเสี่ยงสับแล่เนื้อเอาเกลือทา | แก้แค้นแสนสาแก่ใจมัน | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวธรรมึกนึกหุนหัน | ||
จึงตรัสว่าไม่เห็นถึงเช่นนั้น | น้อยหรือให้ฆ่าฟันกัลยา | ||
นี่หากอ้ายทั้งสี่พี่เลี้ยง | มันว่ากล่าวบ่ายเบี่ยงเป็นหนักหนา | ||
ยังขับไล่เสียจากพารา | งามหน้าแล้วคราวนี้ดีแท้ | ||
จะพูดไปเหนื่อยเปล่าไม่เข้าข้อ | ถึงเป็นพ่อก็ทำไมกับคนแก่ | ||
นับวันแต่จะเฟือนเชือนแช | ไม่รู้คุ้งรู้แควประตูไร | ||
แต่คิดมาหรือหนึ่งจะต้องว่า | จะพลอยพาความผิดถึงผู้ใหญ่ | ||
หยาบหยามทำตามอำเภอใจ | ยิ่งกว่าข้าสินไถ่ที่ได้มา | ||
ถ้านางไปทูลท้าวกล่าวโทษ | จะกริ้วโกรธขัดแค้นแสนสา | ||
ก็จะยกพวกพลอสุรา | รีบมาเคี้ยวกันสิ้นทั้งเมือง | ||
จงเร่งคิดติดตามทรามวัย | ไปแก้ไขทูลความตามเรื่อง | ||
ชี้แจงบรรยายให้หายเคือง | เร่งออกจากเมืองในวันนี้ | ||
ว่าพลางชวนนางแก้วสัจจา | ลีลาลงจากปราสาทศรี | ||
พร้อมสนมกำนัลขันที | ภูมีเสด็จคลาไคล | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เสมอ | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์รัศมีศรีใส | ||
ครวญคร่ำกำสรดระทดใจ | อยู่ในแท่นที่ศรีไสยา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
พญาโศก | |||
๏ ทอดองค์ลงนอนเหนืออาสน์ | กรก่ายพระนลาฏละห้อยหา | ||
คิดคะนึงถึงโฉมสุวิญชา | ให้มีความเมตตาอาลัยนัก | ||
แต่เจ้าพลัดพรากจากบุรี | พี่นี้วิตกเพียงอกหัก | ||
จากเมียเสียทั้งพระลูกรัก | ทรงศักดิ์รัญจวนครวญคราง | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
โอ้ | |||
๏ โอ้ว่าสุวิญชาของผัวเอ๋ย | บาปสิ่งไรเลยเราเคยสร้าง | ||
บันดาลดลให้มีอีเจ็ดนาง | มันเกิดมาตามล้างในชาตินี้ | ||
จึงเผอิญให้ผัวมัวนิยม | สมาคมคบพวกเดียรถีย์ | ||
ไม่รู้กลคนกาลกิณี | จึงเสียมิ่งมารศรีน่าน้อยใจ | ||
สงสารปานนี้นางโฉมตรู | จะไปอยู่แห่งหนตำบลไหน | ||
หรือจะตายวายวางเสียกลางไพร | หรือจะไปได้ถึงพระบิดร | ||
ยิ่งคิดยิ่งแค้นแสนเทวษ | ชลเนตรซึมซาบอาบหมอน | ||
พระโศกศัลย์กันแสงถึงบังอร | แน่นอนสะอื้นไห้ไปมา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | นางศรีสุริยาเสน่หา | ||
เห็นพระโฉมยงทรงโศกา | สะอื้นถึงสุวิญชาก็พรั่นใจ | ||
จึงเรียกนางอุบลวดี | ครั้นนี้เราจะคิดเป็นไฉน | ||
หยูกยาอาคมที่ทำไว้ | ก็เสื่อมคลายหายไปทุกเวลา | ||
พระรื้อครวญคร่ำรำพึง | คิดถึงสุวิญชาเป็นหนักหนา | ||
แม้นตามไปได้ตัวกลับมา | เบื้องหน้าก็จะเกิดวุ่นวาย | ||
จำเราจะพากันขึ้นไป | เยาะเย้ยไยไพพระโฉมฉาย | ||
ให้เธออัปยศอดอาย | แล้วเดินกรายตรงไปไม่รั้งรอ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลง | |||
เย้ย | |||
๏ ครั้นถึงจึงเข้าผลักไส | ทุกข์ร้อนถึงใครกระนี้หนอ | ||
เฝ้าครวญคร่ำน้ำเนตรยังคลอคลอ | เห็นต่อจะรำลึกถึงเมียรัก | ||
นางสุวิญชาเป็นกาลี | เผอิญมีลูกอ่อนเป็นท่อนสัก | ||
ยังอาลัยในหญิงทรลักษณ์ | ไม่อายพักตร์นักสนมกรมใน | ||
เขาจะว่าพระองค์หลงเมีย | ขับไล่ไปเสียแล้วร้องไห้ | ||
นางอื่นหมื่นแสนแน่นไป | มิใช่สตรีมีจำเพาะ | ||
ไม่เหมือนนางหน้านวลไม่ควรคู่ | แต่เจ้าสุวิญชาจะพาเหาะ | ||
เดี๋ยวนี้พรากจากท้าวเป็นคราวเคราะห์ | ไปสืบเสาะตามหาเอามาซิ | ||
รักเมียสุดอย่างห่างไม่รอด | เป็นไรไม่กอดกันไว้สิ | ||
ขับเสียจากวังแล้วนั่งมิ | สิ้นสติมึนตึงตะลึงตะไล | ||
สมเพชเวทนาน่าหัวร่อ | ทุกข์ร้อนงอนหง่อเหมือนจับไข้ | ||
รู้กระนี้ขับเมียเสียทำไม | แล้วจะมาอาลัยเมื่อปลายมือ | ||
น้ำลายคายถ่มลงถึงดิน | จะกลับคืนกลืนกินไม่เกลียดหรือ | ||
ไพร่บ้านพลเมืองจะเลืองลือ | อึงอื้อไปทั่วทั้งเหมันต์ | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์เคืองแค้นแสนศัลย์ | ||
งุ่นง่านดาลเดือดดุดัน | ขบฟันเกรี้ยวกราดตวาดไป | ||
เหม่อีขี้ข้าหน้าเป็น | มาเยาะเย้ยกูเล่นหรือไฉน | ||
กูขับเมียกูเสียก็เพราะใคร | พวกมึงหรือมิใช่มายุยง | ||
มึงอย่าพักชมชื่นรื่นรวย | ชีวิตมึงจะม้วยเป็นผุยผง | ||
แม้นตามไปได้สมดังใจจง | จะปลดปลงทั้งโคตรอีเจ็ดคน | ||
วันนั้นเสียความไม่ถามไถ่ | กูหลงเชื่ออีใจอกุศล | ||
ไม่ทันคิดพิเคราะห์ดูเล่ห์กล | บันดาลดลจิตใจให้ขับน้อง | ||
มึงทั้งเจ็ดคนอีชาติข้า | เห็นกูไปมาก็จองหอง | ||
ทำแก่เนื้อแก่ตัวหนังหัวพอง | เหมือนกิ้งก่าได้ทองผูกคอไว้ | ||
กูได้หีบมาเป็นสำคัญ | จะได้เล่นเห็นกันให้จงได้ | ||
ช่างพันผูกว่าลูกเป็นท่อนไม้ | นั่นเล่ห์กลของใครอีมารยา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นางอุบลวดีเสน่หา | ||
เคืองค้อนย้อนตอบพระวาจา | ถึงหีบหีบได้มาไม่ตกใจ | ||
ใครยั่งยืนว่าข้าทำร้าย | อันจะคิดตัวตายอย่าสงสัย | ||
ถึงจะดำน้ำลุยไฟ | ไม่ย่อท้อต่อใครอย่าสงกา | ||
สิได้หีบมาเห็นเป็นสำคัญ | ก็เชิญไปตามกันที่ในป่า | ||
เกลือกว่าจะพบพระลูกยา | จะได้พามาให้พร้อมพรัก | ||
ข้านี้ขี้ข้าอยู่ในเรือน | มันไม่เหมือนหม่อมแม่เจ้าท่อนสัก | ||
แต่ขับไล่ไปแล้วยังร่ำรัก | จนพระพักตร์ดูดำดังหมึกทา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์เคืองแค้นแสนสา | ||
ดูดู๋ลิ้นลมเจรจา | ต่อล้อเล่นหน้าคารมดี | ||
อุตส่าห์เร่งขึ้นเสียงเถียงให้อึง | หัวมึงจะขาดอยู่ที่นี่ | ||
พระกริ้วโกรธนักดังอัคคี | เหม่อีกาลีมึงเย้ยใคร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
ศัพท์ไทย | |||
๏ ว่าเอยว่าแล้ว | ฉวยพระขรรค์แก้วเลี้ยวไล่ | ||
ทุดอีจัญไร | วิ่งไปไยนา | ||
ปากกล้าสาหัส | กูจะตัดเกศา | ||
อีเจ้ามายา | ขี้ข้าอาธรรม์ | ||
พระยิ่งโกรธเกรี้ยว | ไล่เลี้ยวห้ำหั่น | ||
กระชิดติดพัน | ฟาดฟันวุ่นไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
รื้อ | |||
๏ เจ็ดเอยเจ็ดนาง | เถียงพลางวิ่งพลางไม่เข้าใกล้ | ||
เขาว่าถูกใจ | ออกไล่ฆ่าฟัน | ||
คลั่งถึงเมียรัก | ฮึกฮักหุนหัน | ||
ว่าพลางพากัน | พัลวันวิ่งไป | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
รื้อ | |||
๏ อีเอยอีเจ็ดคน | ยังขึ้นเสียงเถียงลนทะเลาะได้ | ||
กล้าดีหนีไย | อีใจฉกรรจ์ | ||
หัวมึงจะพับ | ลงกับพระขรรค์ | ||
ว่าพลางทรงธรรม์ | ไล่ฟันกัลยา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นเห็นเจ็ดนางหนีไป | คั่งแค้นพระทัยเป็นหนักหนา | ||
หวนรำลึกถึงสุวิญชา | เสด็จมายังพระโรงรูจี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ลดองค์ลงนั่งเหนืออาสน์ | ประภาษสั่งพี่เลี้ยงทั้งสี่ | ||
ให้ผูกม้าเตรียมพลมนตรี | พรุ่งนี้น้องจะไปไพรวัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | พระพี่เลี้ยงรับสั่งแล้วผายผัน | ||
มาจัดพลผูกม้าเครื่องสุวรรณ | เตรียมท่าทรงธรรม์ที่เกยลา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ลือเดชทุกทิศา | ||
ครั้นสว่างสร่างแสงพระสุริยา | เสด็จมาสระสรงสาคร | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ ทรงเครื่องประดับสรรพเสร็จ | ขัดพระขรรค์ใจเพชรสะพักศร | ||
แล้วลีลามาทรงอัศดร | ให้เลิกพลนิกรไคลคลา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
ชมดง | |||
๏ พระเสด็จเข้าในไพรไพฤกษ์ | คะนึงนึกถึงเจ้ายอดเสน่หา | ||
พลางชมรุกขชาติดาษดา | บ้างทรงผลผกาอรชร | ||
หอมหวนอวลอบมารวยริน | กลั้วกลิ่นเหมือนกลิ่นดวงสมร | ||
พระผันแปรแลเห็นทิชากร | บ้างบินร่อนเรียกคู่บ้างจับคอย | ||
เบญจวรรณจับวัลย์พ้นอุโลก | ถวิลวันวิโยคที่โศกสร้อย | ||
กระลิงจับไม้กระลิงลอย | เหมือนขับไล่สาวน้อยให้คลาดแคล้ว | ||
นกหว้าจับไม้ขานางนอน | เหมือนน้องวอนว่าพี่อยู่แจ้วแจ้ว | ||
นกกระเต็นเต้นไต่ต้นช้องแมว | เหมือนน้องแก้วไต่เต้าตามวิฬาร์ | ||
ชมพลางทางคะนึงถึงเมียรัก | พระทรงศักดิ์เศร้าสร้อยละห้อยหา | ||
ไม่แลดูหมู่ไม้สกุณา | รีบเร่งอาชาจรลี | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด | |||
ตะนาว | |||
๏ เดินพลางทางเห็นจำปาทอง | เรี่ยรายก่ายกองตามวิถี | ||
ทั้งรอยแมวขุดคุ้ยปัถพี | จึงบอกสี่พี่เลี้ยงมิได้ช้า | ||
อันนวลนางมาทางสิงหลได้ | น้องนี้ดีใจเป็นหนักหนา | ||
ชะรอยเจ้าเศร้าโศกไคลคลา | ดอกจำปาจึงตกตามทางไป | ||
แล้วสั่งบรรดาพวกพล | ให้ดั้นด้นค้นคว้าในป่าใหญ่ | ||
สั่งพลางทางขับมโนมัย | ตามรอยดอกไม้ไปดู | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
ร้องเชิดฉิ่ง | |||
๏ เห็นจอมปลวกตอไม้หมายว่าน้อง | พระก้มองค์ลงมองอยู่เป็นครู่ | ||
ครั้นแลไปมิใช่นางโฉมตรู | ให้คิดอายอดสูในพระทัย | ||
เห็นเงาไวไวอยู่ในรก | รื้อขับม้าหกมาดูใหม่ | ||
เข้าใกล้มิใช่นางทรามวัย | ชลนัยน์ไหลหลั่งลงหลังม้า | ||
ได้ยินเสียงดุเหว่าเร่าร้อง | เอ๊ะเสียงน้องโน่นแล้วกระมังหนา | ||
ฟังไปมิใช่เสียงสุวิญชา | พระทรงโศกาแล้วคลาไคล | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นถึงปลายแดนเมืองสิงหล | ให้พักพลหยุดอยู่ในป่าใหญ่ | ||
พระตรัสแก่พี่เลี้ยงทันใด | เราจะตั้งแรมไรอยู่ที่นี้ | ||
จะได้ซับซาบดูให้รู้ข่าว | ว่านางมาถึงท้าวยักษี | ||
หรือเวียนวนหลงอยู่พนาลี | จะได้ยกโยธีไปเที่ยวค้น | ||
พี่ออกไปบอกเสนา | ให้ตั้งพลับพลาพนาสณฑ์ | ||
อย่าเกรียวกราวป่าวร้องจงทุกคน | รู้ถึงสิงหลจะวุ่นวาย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | พระพี่เลี้ยงรับสั่งแล้วผันผาย | ||
จึงเรียกหาบรรดาตัวนาย | แล้วบรรยายสั่งความตามบัญชา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | เสนาตำรวจในซ้ายขวา | ||
ให้บ่าวไพร่ตัดไม้เกี่ยวคา | มาปลูกพลับพลาฉับพลัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระไชยเชษฐ์เฉิดฉัน | ||
พอพระสุริยาสายัณห์ | จรจรัลขึ้นสู่พลับพลาชัย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ลดองค์ลงนั่นเหนืออาสน์ | จะดำรัสตรัสประภาษก็หาไม่ | ||
ให้คิดรำพึงคะนึงใน | ถึงนางทรามวัยสุวิญชา | ||
ครั้นเพลาพลบค่ำย่ำฆ้อง | เสียงนกหกร้องก้องป่า | ||
จึงเสด็จเข้าในที่ไสยา | เอนองค์ลงนิทราไม่มีสบาย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ ตระ ประทมไพร | |||
ช้าปี่ | |||
๏ พระแน่นอนถอนทอดใจใหญ่ | คิดใคร่ครวญไปฤทัยหาย | ||
กูขับเมียเสียรู้อีแสนร้าย | มันอุบายพูดพ้อล่อลวง | ||
พอฉุกจิตคิดกลับสิขับแล้ว | ดังดวงแก้วตกลงชเลหลวง | ||
น้อยใจเจ็บช้ำระกำทรวง | มันแกล้งเด็ดเอาดวงชีวิตไป | ||
แต่จากมิ่งเมียขวัญจนวันนี้ | ผัวจะมีความสุขก็หาไม่ | ||
เจ้าคิดถึงพี่บ้างหรืออย่างไร | หรือจะแค้นเคืองใจไม่ไยดี | ||
นิจจาเอ๋ยป่านนี้สุวิญชา | จะอยู่ป่าหรือจะอยู่ในกรุงศรี | ||
พระรัญจวนครวญหาในราตรี | จนม่อยหลับไปกับที่ไสยา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ ตระ | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา | ||
อยู่ในสิงหลพารา | จนชันษาอายุได้เจ็ดปี | ||
รูปทรงละม่อมพร้อมพริ้ง | งามยิ่งเทวาในราศี | ||
เสวยรมย์สมบัติสวัสดี | กับพระชนนีโฉมตรู | ||
เมื่อวันจะพบพระบิตุเรศ | ให้บังเหตุโอรสคิดอดสู | ||
น่าเจ็บใจใครหนอเป็นพ่อกู | จึงถามมารดาดูทันใด | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ อันพระบิตุเรศของลูกรัก | ไม่รู้จักรูปทรงว่าองค์ไหน | ||
เห็นแต่แม่ผู้เดียวเปลี่ยวใจ | กับท้าวไทอัยกาเป็นสองคน | ||
สุริย์วงศ์พงศ์ประยูรที่คุ้นเคย | ช่างไม่มีบ้างเลยในสิงหล | ||
โปรดเกล้าเล่าแถลงแจ้งยุบล | เหตุผลเป็นไฉนพระชนนี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางสุวิญชามารศรี | ||
ได้ฟังลูกยาพาที | เทวีก็คิดสะดุ้งใจ | ||
เหตุนี้ดีร้ายพระบิดา | ตามมาแล้วลูกจึงนึกได้ | ||
แสนสงสารลูกน้อยกลอยใจ | ชลนัยน์ไหลหลั่งดังธารา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณธิเบศร์โอรสา | ||
แลเห็นสมเด็จพระมารดา | ชลนาไหลพรากก็หลากใจ | ||
จึงทูลว่าข้าถามถึงบิตุรงค์ | เป็นไฉนไยทรงกันแสงไห้ | ||
เหตุผลต้นปลายประการใด | จงบอกเล่าลูกไปตามสัจจา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชากล่าวแกล้งแสร้งว่า | ||
เมื่อกี้แม่แหงนดูหลังคา | ผงปลิวเข้าตาให้เคืองคาย | ||
ชลเนตรไหลหลั่งลงพรั่งพรู | เคืองอยู่เดี๋ยวนี้ยังมิหาย | ||
ซึ่งถามถึงบิดาอย่าวุ่นวาย | แม่จะบอกฤาสายอย่าร้อนรน | ||
อันบิตุเรศเกิดเกศของเจ้านั้น | คือพระองค์ทรงธรรม์ท้าวสิงหล | ||
จงไปเฝ้าอัยกาเจ้าสากล | ทูลถามเหตุผลให้แจ้งใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์สิ้นสงสัย | ||
แล้วบังคมลาคลาไคล | ไปเฝ้าท้าวไทอัยกา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นถึงมหาปราสาท | จึงลีลาสเข้าไปใกล้ยักษา | ||
ลดองค์ลงกราบกับบาทา | นั่งเฝ้าอัยกาพระยายักษ์ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์บังคมไหว้ | ||
แล้วกราบทูลความถามท้าวไท | พ่อข้าคนไหนอัยกา | ||
แต่หลานรักรู้คำจำความ | ยังไม่รู้จักนามรู้จักหน้า | ||
ครั้นทูลถามพระแม่สุวิญชา | บอกว่าตาเป็นพ่อเห็นผิดนัก | ||
มารดาข้ายังเป็นสาวแส้ | ตาแก่โคร่งคร่างฟันฟางหัก | ||
ไม่ร่วมแท่นบรรทมภิรมย์รัก | สงสัยนักตาเล่าให้เข้าใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวสิงหลเป็นใหญ่ | ||
ได้ฟังหลานสนองต้องพระทัย | ยิ้มแย้มละไมแล้วว่ามา | ||
เขาเห็นว่าตาชรานัก | หลานรักจะอับอายขายหน้า | ||
ไม่สมกันกับแม่สุวิญชา | จึงให้เรียกพ่อตาแล้วเป็นไร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์สิ้นสงสัย | ||
สำคัญว่าพ่อจริงก็นิ่งไป | จึงกราบทูลท้าวไทยอัยกา | ||
หลานจะลาไปเล่นพนาลี | จับหมู่มฤคีแลปักษา | ||
ตะวันชายบ่ายคล้อยจะกลับมา | พระอัยกาจงโปรดปรานี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวสิงหลยักษี | ||
แสนสวาทนัดดาพ้นทวี | กอดจูบแล้วมีพระบัญชา | ||
หลานจะใคร่ไปเที่ยวเล่นไพร | ก็ตามแต่น้ำใจตาไม่ว่า | ||
จึงเรียกสี่พี่เลี้ยงเข้ามา | กำชับกำชาสารพัน | ||
แล้วบัญชาการว่าหลานรัก | พ่ออย่าอยู่ช้านักในไพรสัณฑ์ | ||
พอบ่ายชายแสงสุริยัน | จงรีบผายผันมาพารา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา | ||
ชื่นชมยินดีชลีลา | มาทรงอาชาทันใด | ||
พร้อมพระพี่เลี้ยงทั้งสี่ | เสนีขี่ม้ามาไสว | ||
ควบขับคับคั่งเวียงชัย | เร่งอาชาไนยให้เคลื่อนคลาย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงป่าใหญ่ไพรสาณฑ์ | จึงสั่งพนักงานบ่วงข่าย | ||
ให้เร่งลงหลักดักราย | พวกม้าผันผายไปไล่มา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เหล่าพวกพนักงานถ้วนหน้า | ||
ผูกบ่วงถ่วงทิ้งโยทะกา | ดักตามมรคาที่เนื้อจร | ||
บ้างวงข่ายรายรอบปากชนาง | ใส่สายรยางค์ชักหลอน | ||
พวกม้าไล่ไปชายดงดอน | หุ้มต้อนฝูงสัตว์สะพัดมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด เจรจา | |||
๏ บ้างจับได้สิงโตโคกระทิง | สารพัดสัตว์สิงมหิงสา | ||
บ้างได้เนื้อเบื้อนานา | ต่างเอามาถวายพระกุมาร | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์เกษมศานต์ | ||
ชมสัตว์จัตุบาทแสนสำราญ | แล้วพระกุมารก็ปล่อยไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ ครั้นเสร็จขึ้นสายธนูศิลป์ | ฟ้าดินกัมปนาทหวาดไหว | ||
ยิงต้นรังพลันทันใด | เสียงสนั่นลั่นไปในอารัญ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิดฉิ่ง เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ตระหนกอกสั่น | ||
กับสี่พี่เลี้ยงทั้งนั้น | พากันหวั่นหวาดประหลาดใจ | ||
พี่เลี้ยงว่าเสียงเหมือนฟ้าผ่า | บ้างว่าเขายิงปืนใหญ่ | ||
จึงลงจากพลับพลาคลาไคล | เที่ยวด้อมเดินไปจะใคร่รู้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | เพลง | ||
๏ ค่อยแลลอดสอดเห็นพระกุมาร | กับทวยหาญน้อยน้อยมาเล่นอยู่ | ||
รูปทรงโสภาน่าเอ็นดู | ถือธนูน้าวประลองคะนองนัก | ||
พระจึงว่ากับสี่พี่เลี้ยงไป | ลูกใครกระจิริดสิทธิศักดิ์ | ||
งามทั้งรูปทรงวงพักตร์ | น่ารักน่าชมภิรมย์ใจ | ||
ครั้นเราจะเข้าไปพูดจา | เด็กดูแปลกหน้าจะร้องไห้ | ||
จะใคร่ชักชวนมาพลับพลาชัย | จะเกลี้ยกล่อมฉันใดพี่ช่วยคิด | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ทั้งสี่พี่เลี้ยงผู้ร่วมจิต | ||
ต่างคนแลเล็งเพ่งพิศ | แล้วทูลทรงฤทธิ์ไปทันใด | ||
อันทรวดทรงองค์พระกุมารนี้ | เหมือนภูมีจริงจังดังเถือใส่ | ||
ทั้งท่วงทีกิริยาละม่อมละไม | จะดูไหนไม่ผิดสักสิ่งอัน | ||
อย่าสงสัยไปเลยพระทรงยศ | โอรสของพระองค์เป็นแม่นมั่น | ||
ชะรอยบุตรสุวิญชาลาวัณย์ | พระทรงธรรม์อย่าแหนงแคลงใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์จึงตอบแถลงไข | ||
พี่ว่าเห็นจริงทุกสิ่งไป | จึงดลใจให้น้องนี้เมตตา | ||
ถ้าแม้นเป็นลูกเต้าของเราจริง | จะปรากฏยศยิ่งในใต้หล้า | ||
ชาตินี้มีกรรมได้ทำมา | พลัดพรากสุวิญชานงลักษณ์ | ||
เผอิญเห็นเป็นไปเข้าใจดล | หลงกลอีคนอัปลักษณ์ | ||
จนจากเมียเสียองค์พระลูกรัก | แสนวิตกอกจะหักสู้ตามมา | ||
อนิจจาสุวิญชาของผัวเอ๋ย | เมื่อไรเลยจะได้เห็นหน้า | ||
เจ้าช่างวางใจไม่อัชฌา | ละให้ลูกยามาเล่นไพร | ||
พระคิดถึงเมียแก้วแล้วโศกศัลย์ | ยิ่งกลืนกลั้นชลเนตรก็ยิ่งไหล | ||
เสด็จออกไปนอกพุ่มไม้ | ตั้งใจยืนดูพระกุมาร | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์ใจหาญ | ||
เล่นอยู่กับหมู่บริวาร | เห็นคนยืนหน้าฉานก็ขัดใจ | ||
จึงชี้หัตถ์ตรัสว่าอ้ายเหล่านี้ | ชีวีมึงจะม้วยหารู้ไม่ | ||
ยืนเขม่นจะเล่นกูเท่าไร | ตำรวจในเร่งออกไปถามดู | ||
ว่ามายืนทำไมที่ไหนนั่น | หรือชวนกันหลอกล้อจะต่อสู้ | ||
จึงมิได้ยำเยงเกรงกู | ไปถามดูแล้วกลับมาฉับพลัน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | พวกตำรวจในคนขยัน | ||
ก้มเกล้ารับสั่งบังคมคัล | พากันวิ่งไปเก้กัง | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงว่าตานั่งลง | ทำไมมายืนตรงหน้าที่นั่ง | ||
ตาเหล่านี้นักหนาว่าไม่ฟัง | จะเอาหวายลงหลังหรือว่าไร | ||
แกล้งออกมาเผ่นเห็นถนัด | รับสั่งตรัสให้เข้ามาถามไถ่ | ||
ตัวยืนหน้าที่นั่งบังอาจใจ | ไม่เห็นเจ้าหรือไรให้ว่ามา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระไชยเชษฐ์ก็หรรษา | ||
ได้ฟังเด็กเด็กมาพูดจา | ยิ้มแย้มไปมาในพระทัย | ||
จึงตรัสว่าน้อยน้อยเท่านี้ | สำนวนถ้วนถี่ดังผู้ใหญ่ | ||
ว่าพลางทางยื่นพระหัตถ์ไป | จับเกศาเลือกไสไปมา | ||
ทำไมจะให้กูกลัวเกรง | เจ้าเอ็งเป็นอะไรมานักหนา | ||
ยืนอยู่ไม่ได้หรือไรนา | กูมิรู้ที่จะว่าให้การเป็น | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เด็กเด็กโกรธใจมิใช่เล่น | ||
พากันกลับมาน้ำตากระเด็น | ร้องว่าจะได้เห็นกันเดี๋ยวนี้ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ มาถึงจึงกราบบาทมูล | สะอื้นพลางทางทูลถ้วนถี่ | ||
ข้าถือรับสั่งพระภูมี | ครั้งนี้สุดแค้นแสนเจ็บใจ | ||
ไต่ถามตาแก่รังแกนัก | จะให้หลักให้การก็หาไม่ | ||
ตัวนายนั้นดื้อทั้งมือไว | จับศีรษะข้าไว้จะให้กลัว | ||
แล้วว่ากูยืนนดูไม่ได้หรือ | พูดพลางเอามือสั่นหัว | ||
เห็นว่าเป็นเด็กเล็กกว่าตัว | มิได้กลัวพระราชอาญา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา | ||
ฟังคำอำมาตย์ทูลมา | พระกริ้วโกรธาตละไฟ | ||
น้อยหรือทำได้ไม่ยำเกรง | ข่มเหงเสนาผู้ใหญ่ | ||
กูกลับเข้าไปในเวียงชัย | จะกราบทูลท้าวไทอัยกา | ||
อุกอาจราชศักดิ์เป็นสุดคิด | น้อยจิตน้อยใจหนักหนา | ||
สิถามไถ่ไม่ให้การมา | ไปผูกคอคร่ามาบัดนี้ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | เด็กเด็กรับสั่งใส่เกศี | ||
บ้างบิดผ้าหาเชือกมาทันที | เปรมปรีดิ์ดีใจแล้ววิ่งมา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงจึงร้องว่าไป | สาแก่ใจบาปกรรมที่ทำข้า | ||
พระองค์ทรงกริ้วโกรธา | ให้ผูกคอตาห้าคนไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ผู้มีอัชฌาสัย | ||
แจ้งการว่ากุมารเคืองใจ | ภูวไนยถวิลจินดา | ||
จำจะไปเล้าโลมโฉมงาม | จะได้ชมสมความปรารถนา | ||
คิดพลางย่างเยื้องลีลา | ไคลคลามากับพี่เลี้ยงพลัน | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ ครั้นถึงจึงมีวาจา | พ่ออย่าเคืองขุ่นหุนหัน | ||
รักกันนั้นดีกว่าชังกัน | จะทำน้ำใจสั้นไม่เข้ายา | ||
ข้าเห็นเจ้าเล่นกับบ่าวไพร่ | ให้มีใจจงรักเป็นหนักหนา | ||
ขออุ้มเจ้าหน่อยเถิดรา | พลางคว้าข้อมือยื้อยุดไว้ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | นารายณ์ธิเบศร์โกรธหนักผลักไส | ||
สะบัดมือเสียพลางทางว่าไป | นี่รู้จักใครมายุดมือ | ||
เมื่อกี้เราใช้ให้ไปว่า | ควรทำเสนาเราได้หรือ | ||
ยังกลับมาอุตลุดยุดยื้อ | ทำบ่าวแล้วรื้อมาทำเรา | ||
ตาเห็นเป็นเด็กไม่ยำเกรง | แกล้งข่มเหงกันเล่นเปล่าเปล่า | ||
เป็นผู้ใหญ่ทำได้ก็ทำเอา | แล้วเดินหนีมิให้เข้าใกล้องค์ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระไชยเชษฐ์สูงส่ง | ||
จึงตรัสปลอบตอบคำจำนง | เพราะใจตรงจงรักจึงหักมา | ||
ข้าไม่หลอกล่อดอกพ่อเอ๋ย | อย่าโกรธเลยรักกันเสียดีกว่า | ||
เจ้าก็ตัดเยื่อใยไม่เมตตา | อนิจจาเดินหนีหลีกลี้ไย | ||
เมื่อกี้เจ้าใช้บ่าวออกไปห้าม | ข้าพาลเขลาเบาความไม่ถามไถ่ | ||
ไม่ทันรู้ว่าเสนาใน | เกิดมายังไม่เห็นใครเป็น | ||
เมื่อแต่ล้วนเล็กเล็กกระจิริด | ข้ามีจิตคิดรักจึงหยอกเล่น | ||
ลูกเท่าหัวเหาเต่าเล็น | ไม่เคยพบเคยเห็นแต่บุราณ | ||
ตรัสพลางทางสั่งพี่เลี้ยงไป | เอาขนมมาให้แก่พระหลาน | ||
แล้วโลมเล้าเอาใจพระกุมาร | เชิญเสวยของหวานเถิดหลานชาย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์ว่าอย่าพึงหมาย | ||
ถึงจะแสบท้องให้แทบตาย | ไม่มักง่ายกินอะไรของใครเป็น | ||
มิใช่ฝีปีศาจที่เดินหน | จะเสือกสนเที่ยวท่องกินของเซ่น | ||
อย่าปลอบไปให้เลือดตากระเด็น | พลางเดินเที่ยวเล่นไม่เจรจา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ความแสนเสน่หา | ||
พยายามตามปลอบกุมารา | อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี | ||
ข้ามิใช่ชายพาล | ย่อมวงศ์วานกษัตริย์เรืองศรี | ||
ครอบครองเหมันต์ธานี | ไม่มีโอรสแลนัดดา | ||
ไร้ทั้งสุริย์วงศ์พงศ์พันธุ์ | ที่จะผ่านเหมันต์ไปวันหน้า | ||
เป็นบุตรข้าเถิดนะพ่ออา | บิดาจะให้ครองพระเวียงชัย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์เคืองขัดอัชฌาสัย | ||
พระกริ้วโกรธพลางว่าไป | คนอะไรที่ไหนนี่หยาบช้า | ||
อุเหม่ตาเฒ่านี้เจ้าเล่ห์ | เฉโกโว้เว้นักหนา | ||
และเลียมเทียมเล่นเจรจา | จะเป็นผัวแม่ข้าหรือว่าไร | ||
ถึงตัวเราเล็กก็เหล็กเพชร | ไม่ขามเข็ดพวกตาอย่าสงสัย | ||
ปั้นเจ๋อเย่อหยิ่งเป็นพ้นไป | ผู้ใหญ่แสนรู้มาสู้กัน | ||
ว่าพลางทางขึ้นธนูศิลป์ | ฟ้าดินสะเทือนเลื่อนลั่น | ||
พาดสายหมายล้างชีวัน | ผาดแผลงไปพลันทันใด | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
๏ ศรทรงองค์พระกุมาร | กลายเป็นมาลาแลไสว | ||
ไม่สังหารผลาญชีพชีวาลัย | พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระไชยเชษฐ์เรืองศรี | ||
เห็นศรกุมารชาญฤทธี | กลับเป็นมาลีประหลาดใจ | ||
วิปริตผิดเพศไม่เคยพบ | พระปรารภพิศวงสงสัย | ||
คิดพลางทางเสี่ยงศิลป์ชัย | เดชะฤทธิไกรธนูนี้ | ||
แม้นกุมารมิใช่โอรสา | ของนางสุวิญชามารศรี | ||
ขอให้ศรสิทธิ์ฤทธี | สังหารกุมารนี้ให้วายปราณ | ||
แม้นเป็นลูกน้อยนางโฉมฉาย | ให้ศรกลายเป็นทิพย์อาหาร | ||
เสี่ยงแล้วขึ้นศรรอนราญ | แผลงไปให้ผลาญกุมารา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | |||
๏ ศรทรงองค์พระไชยเชษฐ์ | อาเพศไม่พานโอรสา | ||
กลับเป็นเอมโอชโภชนา | เกลื่อนกลาดดาษดาพนาวัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ พระทิ้งศรทรงลงทันใด | วิ่งไปกอดลูกแล้วรับขวัญ | ||
พ่อลูกมาประสบพบกัน | จะหักโหมโรมรันด้วยอันใด | ||
ปลอบพลางทางเห็นธำมรงค์ | ที่กุมารสอดทรงก็จำได้ | ||
จึงว่าแหวนนี้ข้าให้ไว้ | กับโฉมงามทรามวัยสุวิญชา | ||
มิเชื่อเราเจ้าถามพี่เลี้ยงดู | เขารู้จักอยู่ถ้วนหน้า | ||
แม้นเขาว่าข้ามิใช่บิดา | จึงค่อยว่าล่อลวงเจ้าดวงใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์ยังสงสัย | ||
แล้วตริตรึกนึกแหนงแคลงพระทัย | ด้วยออกนามทรามวัยสุวิญชา | ||
พลางเรียกพี่เลี้ยงเข้ามาถาม | จงแจ้งความตามสัตย์อย่าพรางข้า | ||
จริงหรือเขาว่าเป็นบิดา | ผัวแม่สุวิญชาชนนี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | พระพี่เลี้ยงประณตบทศรี | ||
จึงทูลว่าอัยกาธิบดี | ห้ามปรามความนี้อยู่มากมาย | ||
แม้นว่าบอกกล่าวเล่าพระองค์ | จะลงอาญาข้าทั้งหลาย | ||
ฉวยรู้ไปในวังสิหลังลาย | พระเบี่ยงบ่ายอย่าให้ข้าถูกตี | ||
มั่นคงองค์นี้แลบิตุเรศ | ทรงนามไชยเชษฐ์เรืองศรี | ||
ครองเมืองเหมันต์ธานี | สามีพระเม่สุวิญชา | ||
อันพระบิตุรงค์ทรงฤทธิ์ | โทษผิดใหญ่หลวงนักหนา | ||
พระยายักษ์เคืองขัดอัธยา | ไม่ให้มาพานพบพระชนนี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์เรืองศรี | ||
ได้ฟังพี่เลี้ยงพาที | มีความยินดีเป็นพ้นไป | ||
จึงยอกรกราบบาทบิตุเรศ | ชลเนตรแถวถั่งหลั่งไหล | ||
สะอื้นพลางทางทูลถามไป | เหตุผลกลใดพระทรงธรรม์ | ||
บิตุรงค์กับองค์พระมารดร | ไม่สมัครสโมสรเกษมสันต์ | ||
หรือวิวาทบาดหมายอะไรกัน | ทรงธรรม์จงเล่าให้เข้าใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์เศร้าสร้อยละห้อยไห้ | ||
ฟังลูกทูลถามถึงความใน | ชลเนตรหลั่งไหลฟูมฟาย | ||
จึงว่าพ่อจะเล่าแก่ลูกแก้ว | กรรมของพ่อแล้วนะโฉมฉาย | ||
ข้างแม่เจ้าเล่าก็เคราะห์ร้าย | จึงเผอิญวุ่นวายวิวาทกัน | ||
เหตุผลต้นยนต์อีสุริยา | มันทำกับบิดานี้แสนศัลย์ | ||
ให้บอกกล่าวข่าวช้างสำคัญ | พ่อต้องผายผันมาอยู่ไพร | ||
ภายหลังแม่คลอดเจ้าออกมา | สุริยาลอบลักเอาไปได้ | ||
ครั้นบิดากลับมาถึงวังใน | เห็นแต่ท่อนไม้ใส่พานมา | ||
มันว่าลูกของนางโฉมยง | พ่อหลงเชื่อฟังอีแพศยา | ||
จึงขับแม่พลัดพรากจากพารา | จนเจ้าชันษาถึงเพียงนี้ | ||
กับท้าวสิงหลภูวไนย | ขึ้งโกรธเป็นไฉนนะโฉมศรี | ||
ด่าทอพ่อมั่งหรือไม่มี | จะใคร่ไปอัญชลีพระเจ้าตา | ||
ถ้าท่านแค้นขัดตัดรอนพ่อ | ลูกรักช่วยทูลขอซึ่งโทษา | ||
ถึงจะม้วยลงด้วยพระอาญา | แต่พอให้มารดาเจ้าเห็นใจ | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์บังคมไหว้ | ||
จึงทูลว่าพระอย่าทุกข์ฤทัย | เกรงกลัวโพยภัยพระยามาร | ||
ลูกจะทูลเบี่ยงบ่ายให้หายโกรธ | ถึงพ่อต้องโทษก็โปรดหลาน | ||
พอจะขอได้อยู่ดูอาการ | เห็นจะคิดสงสารแก่นัดดา | ||
ขอเชิญพระองค์คลาไคล | เข้าไปกรุงไกรด้วยกับข้า | ||
เกลือกทูลขอโทษโปรดลูกยา | พระบิดาจะได้เฝ้าท้าวทันที | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระไชยเชษฐ์เรืองศรี | ||
ฟังลูกทูลความเห็นงามดี | สมที่พระทัยนึกตรึกไตร | ||
จะเข้าไปตรงตรงคงพรายแพร่ง | จำจะแปลงปลอมองค์ให้สงสัย | ||
คิดพลางเปลื้องเครื่องออกทันใด | ให้พี่เลี้ยงซ่อนใส่ย่ามตะพาย | ||
พระจึงจัดแจงแปลงองค์ | แกล้งทรงผ้าตาเล็ดงาด้าย | ||
ห่มแพรเพลาะดำเนินกราย | มาชวนพระลูกชายไคลคลา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์หัวเราะร่า | ||
ชะงามพ้นคิดพระบิดา | ขายหน้าขายตาชนนี | ||
ว่าพลางทางทรงอาชาไนย | ให้เลิกพลกลับไปกรุงศรี | ||
พระบิดาเดินหลังรั้งโยธี | กับสี่พี่เลี้ยงจรจรัล | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
๏ ครั้นถึงที่ประตูเวียงชัย | ลงจากมโนมัยผายผัน | ||
มาบังคมบิตุรงค์ทรงธรรม์ | พลางทูลไปพลันทันที | ||
พระจงนั่งในทิมริมประตู | อย่าให้ใครรู้ว่าอยู่นี่ | ||
ลูกยาจะลาจรลี | ไปเฝ้าชนนีกับเจ้าตา | ||
ถ้าวันนี้เห็นทีจะทูลได้ | ถึงมืดค่ำอย่างไรจะมาหา | ||
แล้วกำชับนายประตูดูอัชฌา | กูฝากตาห้าคนไว้ด้วยกัน | ||
สั่งแล้วบังคมก้มเกศ | ลาองค์บิตุเรศรังสรรค์ | ||
รีบเสด็จลีลามาพลัน | จรจรัลไปเฝ้าพระอัยกา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | |||
ตอนที่ ๓ พระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลยักษา | ||
อุ้มองค์พระราชนัดดา | ลูบหลังลูบหน้าแล้วว่าไป | ||
พ่อมาจนเย็นหลงเล่นอยู่ | ต่อนกสีชมพูหรือต่อไก่ | ||
ดูมอมแมมแก้มคางช่างกระไร | เออนี่มิไปเที่ยวซอนซุก | ||
เก็บบุปผามาบ้างหรือไม่เล่า | ให้แม่เขาร้อยมาลัยใส่จุก | ||
ตานั่งคอยเจ้าเฝ้าเป็นทุกข์ | กลัวจะล้มลุกเจ็บป่วยไป | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์บังคมไหว้ | ||
ทูลว่าลูกลาไปเล่นไพร | ชมนกชมไม้ออกเพลิดเพลิน | ||
น่ารักปักษีสารพัน | บ้างชิงกันหากินบินเหิน | ||
บ้างพาลูกเต้นไต่ร่ายเดิน | บ้างร้องเกริ่นตามไล่กันไปมา | ||
คิดจะดักปักษามาเลี้ยงเล่น | กลัวจะเป็นเวรกรรมไปชาติหน้า | ||
ลูกเมียพลัดกันเห็นทันตา | เหมือนคนต้องโทษาพ่อตาเคือง | ||
ข้าไปเห็นเป็นน่าสงสาร | ทรมานทุกข์ตรอมจนผอมเหลือง | ||
ลูกตั้งจิตคิดจะขออยู่เนืองเนือง | แต่เกรงเคืองเบื้องบาทไม่อาจทูล | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลราชนเรนทร์สูร | ||
ฟังหลานว่ากล่าวเป็นเค้ามูล | ยิ่งเพิ่มพูนพิสมัยในนัดดา | ||
สวมสอดกอดรัดแล้วตรัสพลาง | น้อยหรือช่างออเซาะฉอเลาะว่า | ||
รู้ราวกับผู้ใหญ่ไว้อัชฌา | ให้พ่อตาจูบหน่อยเถิดกลอยใจ | ||
นี่ใครพาสัญจรซอกซอนเล่น | พ่อไปเห็นคนโทษเข้าที่ไหน | ||
มันฉกชิงวิ่งราวเขาคราวไร | หรือโทษไก่เบี้ยฝิ่นกินสุรา | ||
พ่อจะถามไถ่ไล่เลียงดู | จะได้รู้หนักเบาที่เจ้าว่า | ||
ถ้าโทษทัณฑ์มันพอจะเมตตา | บิดาไม่ขัดทัดทาน | ||
ถึงโภไคยไอศูรย์ของพ่อเฒ่า | ก็จะให้แก่เจ้าผู้ลูกหลาน | ||
แต่พอเติบใหญ่เข้าใจการ | จะเสกพ่อให้ผ่านพารา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์สำรวลร่า | ||
ทำชะอ้อนถอนหนวดให้พ่อตา | พลางสนองบัญชาพระยายักษ์ | ||
ซึ่งทรงพระเมตตาแก่ข้าไซร้ | จะโปรดให้ครอบครองอาณาจักร | ||
ท้าวตรัสโดยในพระทัยรัก | พระคุณอยู่ลูกหนักเท่าฟ้าดิน | ||
อันคนต้องโทษาที่ข้าขอ | เขาผิดข้ออุกอาจประมาทหมิ่น | ||
เป็นคนโฉดโหดไร้ใจทมิฬ | โทษถึงสิ้นชีวันบรรลัย | ||
เดี๋ยวนี้กลับรู้ตัวว่าชั่วช้า | จะมาเฝ้าพระเจ้าตาก็ไม่ได้ | ||
อันถิ่นฐานบ้านเมืองเขาอยู่ไกล | มิใช่คนโทษที่เมืองนี้ | ||
ความเกรงความกลัวตัวเป็นหนู | มาปลอมคนปนอยู่ในกรุงศรี | ||
พระองค์จงโปรดปรานี | ขอประทานชีวีไว้สักครั้ง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลหลากจิตคิดหวัง | ||
ไขว่ห้างเอกเขนกนิ่งฟัง | มาขอพ่อดอกกระมังอ้ายจังไร | ||
มันแน่แล้วสินะชะลูกพ่อ | โมโหแค้นแน่นคอมันไส้ | ||
ลุกขึ้นกระทืบบาทตวาดไป | ดูดู๋ไอ้ลูกเล็กเด็กน้อย | ||
ควรหรือมาสาระแนแก้แทน | กูคิดคิดแล้วก็แค้นแน่นคอหอย | ||
ช่างเคลือบแฝงแต่งลิ้นมาสำออย | ให้งวยงงหลงถ้อยพลอยพยัก | ||
ไหนตัวตนคนโทษที่มึงว่า | จงเร่งบอกออกมาให้รู้จัก | ||
กูจะผ่าอกให้ไส้ทะลัก | เคี้ยวเล่นเป็นผักสนุกใจ | ||
ชิชะนารายณ์ธิเบศร์เอ๋ย | กระไรเลยลวงตาต่อหน้าได้ | ||
ใครสั่งสอนมึงมาจงว่าไป | จะตัดหัวเสียบไว้ตะแลงแกง | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
โอ้ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์ไม่บอกแจ้ง | ||
เห็นพ่อตาโกรธหนักพระพักตร์แดง | ก็กันแสงโศกาจาบัลย์ | ||
กอดบาทาไว้พิไรวอน | ประทานโทษโปรดก่อนอย่าหุนหัน | ||
จะเป็นเวราด้วยฆ่าฟัน | จงอดกลั้นโทษาเสียเอาบุญ | ||
เขาจะได้ว่าน้ำพระทัยดี | ผิดทีสองทีไม่เคืองขุ่น | ||
ขอพระพ่อตาจงการุญ | ให้ลูกได้แทนคุณพระบิดา | ||
ถ้าแม้นพ่อข้าตายวายชนม์ | ไม่ขออยู่ให้คนเห็นหน้า | ||
เขาจะล่วงดูถูกลูกกำพร้า | ทูลพลางโศกาสะอื้นฮัก | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลเศร้าจิตคิดหน่วงหนัก | ||
ฟังถ้อยคำหลานสงสารนัก | พระยายักษ์ทรุดนั่งลงทั้งยืน | ||
อุ้มพลางทางปลอบพระนัดดา | นิ่งเถิดพ่ออาอย่าสะอื้น | ||
เนตรจะฟกช้ำจงกล้ำกลืน | ตาไม่ขัดขืนให้เคืองใจ | ||
จงผินพักตร์มาตาจะถาม | เหตุผลต้นความเป็นไฉน | ||
ได้ประสบพบพ่อหรืออย่างไร | หรือว่าใครบอกเล่าเจ้าจึงรู้ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระกุมารอิดเอื้อนเยื้อนอยู่ | ||
จะลวงดอกกระมังชั่งใจดู | เช็ดน้ำหูน้ำตาแล้วพาที | ||
หลานยังคิดแคลงจะแกล้งล่อ | แล้วจะมาฆ่าพ่อข้าเป็นผี | ||
แม้นงดโทษโปรดประทานชิวี | จึงจะทูลคดีให้แจ้งใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลยิ่งคิดพิสมัย | ||
ดำรัสตรัสตอบพระหลานไป | มาสงสัยตั้งกระทู้เถิดดูเอา | ||
อันไอ้ไชยเชษฐ์เฉโก | ตาจะดับโมโหให้แก่เจ้า | ||
ช่างฉลาดนี่กระไรไม่ใจเบา | อย่าพะวงจงเล่าเถิดนัดดา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์ก็หรรษา | ||
บังคมก้มกราบกับบาทา | จึงทูลกิจจาแต่ต้นไป | ||
เมื่อเช้าหลานลาองค์พระทรงธรรม์ | กับเด็กเด็กด้วยกันไปป่าใหญ่ | ||
พบชายห้าคนด้นเดินไพร | เข้ามาใกล้หลานรักแล้วทักทาย | ||
ข้าเดือดฟุ้งมุ่งแผลงธนูศิลป์ | จะให้สิ้นชีวิตดังจิตหมาย | ||
ลูกศรห่อนรื้อมากลับกลาย | เป็นดอกไม้มากมายหลายพรรณ | ||
พระบิดามาอุ้มเอาหลานไว้ | กอดจูบลูบไล้แล้วรับขวัญ | ||
ทั้งเห็นแหวนแม่นยำเป็นสำคัญ | จึงรำพันเล่าความแต่ต้นมา | ||
ว่าเป็นเคราะห์เพราะเชื่อคนชั่ว | อันโทษตัวผิดนักผิดหนา | ||
ครั้นจะมาเฝ้าพระเจ้าตา | ก็กลัวจะโกรธาให้ฆ่าฟัน | ||
เฝ้าบ่นออดทอดถอนฤทัยฮือ | แต่ออกชื่อพ่อตาก็ตัวสั่น | ||
ว่าพวกพ้องสุริย์วงศ์พงศ์พันธุ์ | ชิวันอยู่ใต้บทมาลย์ | ||
แม้นฆ่าก็ตายไม่หมายสู้ | หลานดูพระบิดาน่าสงสาร | ||
ครั้นคิดคิดไปให้รำคาญ | ด้วยพ่อยังร้าวฉานกับมารดา | ||
จงโปรดว่าชนนีให้ดีด้วย | หลานจะช่วยอ้อนวอนให้นักหนา | ||
ให้แม่ดีเสียกับพ่อเถิดหนอตา | นัดดาก็จะได้สบายใจ | ||
ฯ ๑๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลสรวลสันต์ไม่กลั้นได้ | ||
จึงตรัสห้ามนัดดาว่าอย่าไป | แม่เขาขัดใจจะตีรัน | ||
อันโทษบิดาไซร้เจ้าได้ขอ | ตาจะยกให้พ่อผู้หลานขวัญ | ||
แต่ส่วนซึ่งจะให้ดีกัน | ข้อนั้นมิรู้ที่จะว่าเลย | ||
เอออะไรไชยเชษฐ์มันช่างชั่ว | เมามัวขับเมียเสียเฉยเฉย | ||
เกิดมาเพียงนี้แล้วมิเคย | กระไรเลยเง่าโง่ย่าโมนัก | ||
ข้างแม่เจ้าเขาแค้นไม่รู้หาย | ได้อับอายไพร่ฟ้าอาณาจักร | ||
มันให้เมียข่มเหงไม่เกรงพักตร์ | หลานรักยังเยาว์ไม่เข้าใจ | ||
ถึงตาก็แค้นแสนสาหัส | นี่หากขัดนัดดาเจ้าไม่ได้ | ||
อันจะดีมิดีกันนั้นไซร้ | ก็สุดแท้แต่ใจของมารดา | ||
นี่พ่อเจ้าเข้ามายังธานี | หรือคอยฟังร้ายดีอยู่ในป่า | ||
ตาจะใคร่พบเขาเจ้าพระยา | ดูดู๋จะว่าประการใด | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์เฉลยไข | ||
พระพ่อกับพี่เลี้ยงผู้ร่วมใจ | ปลอมเป็นไพร่ติดตามข้าเข้ามา | ||
หลานให้พระบิดาซ่อนอยู่ | ที่ริมทิมประตูข้างหน้า | ||
ยังเกรงพระราชอาชญา | จะให้มาเฝ้าต่อพรุ่งนี้ | ||
ทูลพลางทางประณตบทบงสุ์ | ลาองค์อัยการเรืองศรี | ||
พระพี่เลี้ยงรับเสด็จจรลี | ไปปราสาทมณีที่สำนัก | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์แสนรู้แสนหลัก | ||
แอบม่านฟังความที่ถามซัก | แจ้งประจักษ์รีบร้นเดินบ่นมา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
รำสีนวล | |||
๏ ทีนี้สมคิดแล้วอีแมวเอ๋ย | จะเยาะเย้ยถากถางให้หนักหนา | ||
ให้คุ้มค่าแค้นแทนน้ำตา | จะต้องตีต้องด่าก็ไม่คิด | ||
เดินเขม้นเข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน | กูจะร่ำรำพันให้เจ็บจิต | ||
ทำชะแง้แลเล็งเพ่งพิศ | แต่งจริตหยิบหย่งตรงมา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ สีนวล | |||
เย้ย | |||
๏ ครั้นถึงแถวทิมริมประตู | แกล้งหยุดอยู่ดูคนทั้งซ้ายขวา | ||
พอแลสบพบพักตร์พระราชา | นางวิฬาร์ร่ององัน | ||
แล้วทำเสียงแห้งแทบแสบคอ | พูดพ้อเปรียบเปรยเย้ยหยัน | ||
นี่หรือภูมินทร์ปิ่นเหมันต์ | โอ๊ยไม่ทันเห็นเลยประหลาดนัก | ||
แต่แรกคิดว่าใครหาไหนหนอ | เออมิรู้หม่อมพ่อเจ้าท่อนสัก | ||
ข้าแปลกหน้าไปไม่ได้ทัก | ยังมืดมนมัวนักมาทำไม | ||
อันผู้หญิงสิงหลคนแสนร้าย | มาติดตามความอายไปเสียไหน | ||
หรือเอาอายขายฝากไว้กับใคร | จึงอุตส่าห์มาได้จะใคร่รู้ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์นิ่งฟังนั่งไขหู | ||
แลดีพี่เลี้ยงก็ต่างดู | พระอดสูสู้นิ่งอยู่ในใจ | ||
เพราะกูหลงกลอีคนพาล | เดียรฉานจึงกล้ามาว่าได้ | ||
จะซ้ำรื้อถือจิตก็ผิดไป | ภูวไนยคิดพลางทางบัญชา | ||
อนิจจานิจจาวิฬาร์เอ๋ย | มาเยาะเย้ยตัดพ้อพ่อหนักหนา | ||
โทษผิดจึงติดตามมา | เพราะชั่วช้าเหลือใจในวันนั้น | ||
เผอิญให้เคลิ้มคลุ้มกลุ้มจิต | โมโหมืดมิดไม่อดกลั้น | ||
ถึงว่าไปอื่นอื่นสักหมื่นพัน | ตัวชั่วทั้งนั้นจะโทษใคร | ||
จึงตามมาวอนง้อขอษมา | จะทิ้งขว้างร้างหย่านั้นหาไม่ | ||
แม้นนางแค้นขัดตัดอาลัย | จะสู้ตายไม่ไปเมืองเหมันต์ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์ตบมือแล้วเย้ยหยัน | ||
ชะช่างถ่อมตัวชั่ววันนั้น | จะมาลุกะโทษทัณฑ์เมื่อวันนี้ | ||
นี่เดชะท่านพระพี่เลี้ยงช่วย | ถ้าหาไม่ก็จะม้วยเป็นผี | ||
หม่อมเมียจะเกษมเปรมปรีดิ์ | จะนั่งล้อมสามีเป็นวงกง | ||
กว่าจะคิดคืนหลังถึงแม่ลูก | พอกระดูกผุละเอียดจนเป็นผง | ||
นี่หากว่าวิฬาร์พาดั้นดง | จึงได้พบสบองค์เจ้าท่อนไม้ | ||
แต่เจ็บอายเพียงนี้แล้วมิสา | ยังจะมาลอยนวลชวนไปใหม่ | ||
สบถเสียแล้วคะขี้คร้านไป | เขาไม่ขอพอใจเห็นเหมันต์ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ วิเอ๋ยวิฬาร์ | ชะช่างพูดจาคมสัน | ||
ทั้งสะบัดสะบิ้งทุ้งทิ้งครัน | เชิงชั้นแสนงอนกระบอนกระบึง | ||
แต่เป็นแมวแล้วยังฟังเป็นกรับ | เป็นมนุษย์ก็จะนับว่าคนหนึ่ง | ||
ทั้งเหน็บแนมแหลมหลักลึกซึ้ง | ทีจะปึ่งปั้นล่ำก็ทำเป็น | ||
เสียดายหนอนางเป็นวิฬารี | การหัวใจไมตรีจึงไม่เห็น | ||
ที่พลอยได้ลำบากยากเย็น | ถ้าแม้นเป็นผู้คนจะถึงใจ | ||
บุญคุณเจ้ามีกับลูกเมีย | เป็นคนแล้วหาเสียเจ้าได้ไม่ | ||
ถ้ายังมีชีวิตด้วยกันไป | เจ้าจะได้ดูพวกอียุยง | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ น่าเอยน่าหัวร่อ | ข้ามิใช่บ้ายออย่าเสริมส่ง | ||
ถึงเป็นสัตว์เดียรฉานก็พานตรง | ไม่รักคบคนหลงเมามัว | ||
คิดมาน่าอายชายมุทะลุ | แต่เขายุก็เชื่อว่าเมียชั่ว | ||
นางเหล่านั้นทั้งรักทั้งกลัว | ควรเป็นเมียเป็นผัวทั้งเจ็ดนาง | ||
ที่จริงเล่าถึงเขาจะยุยง | แม้นไม่หลงก็จะสงสัยบ้าง | ||
นี่มืดมนกระไรไม่รุ่งราง | ช่างเชื่อว่าลูกนางเป็นท่อนไม้ | ||
แต่เด็กเด็กกระจิริดพินิจดู | ก็จะรู้อยู่สิ้นว่าทำใส่ | ||
เมื่อเห็นเป็นจริงแล้วก็แล้วไป | แบกหน้ามาไยที่เพิงพล | ||
ถ้าเป็นใจอีแมวแล้วสู้ตาย | ไม่อยากง้อขอกรายเมืองสิงหล | ||
จะมอดม้วยด้วยโฉมนางเจ็ดคน | กว่ากระดูกจะป่นเป็นผลคลี | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ แสนเอยแสนรู้ | ทั้งขู่ทั้งเคียดทั้งเสียดสี | ||
สิตัวจัดสารพัดจะรู้ที | ปัญญามีเคล่าคล่องก็ตรองดู | ||
ข้าทำชั่วไม่กลัวจะม้วยมิด | กล้าเอาชีวิตเข้ามาสู้ | ||
จนเป็นไพร่อาศัยนายประตู | จะว่าชังโฉมตรูสุวิญชา | ||
หรือจะว่ารักหากมีกรรม | ก็เร่งรำถึงก่อนจึงค่อนว่า | ||
ข้ารับแพ้เจ้าแล้วนางวิฬาร์ | เจ้าว่าไปเถิดไม่เถียงเลย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ น่าเอยน่าอดสู | ช่างดีจริงนิ่งสู้ดูตาเฉย | ||
ทรหดอดทนเป็นคนเคย | นิจจาเอ๋ยหลงใหลแล้วบ้ายพลอย | ||
จะว่าไปก็เหนื่อยเมื่อยลูกคาง | ถึงถากถางอย่างไรไม่ราถอย | ||
จะกลับไปในวังนั่งคอย | เยาะนายเล่นสักหน่อยหนึ่งเถิดรา | ||
ขอกราบลาฝ่าเท้าท่านทั้งสี่ | ซึ่งมีพระคุณแก่เจ้าข้า | ||
แม้นชีวิตยังไม่มรณา | จะอุตส่าห์แทนคุณท่านคนตรง | ||
ทำเสแสร้งปากว่าตาค้อน | แสนงอนแต่งจริตหยิบหย่ง | ||
คืนเข้าในวังดังจำนง | ไปปราสาทโฉมยงสุวิญชา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ ชุบ | |||
ช้าปี่ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์คิดถึงโอรสา | ||
ลืมพ่อเสียแล้วหรือแก้วตา | จนสิ้นแสงสนธยาไม่เยี่ยมดู | ||
โอ้ว่าสุวิญชาผู้เพื่อนยาก | พี่สู้แสนลำบากเข้ามาอยู่ | ||
อนาถนอนในทิมริมประตู | ลำแพนขาดลาดปูกับเสื่อเตย | ||
พี่เลี้ยงช่วยปัดจัดที่นอน | ทอดท่อนไม้วางต่างเขนย | ||
ผัวเอนลงมิใคร่จะได้เลย | นิจจาเอ๋ยเคยสุขมาทุกข์ทน | ||
แม้นเจ้าตัดไมตรีพี่เสียแล้ว | จะลาแก้วตาตายในสิงหล | ||
แต่ตรึกตราอาวรณ์ร้อนรอน | จนสุริยนเรื่อรางสว่างฟ้า | ||
ฯ ๘ คำ ฯ ตระ | |||
ลมพัดชายเขา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา | ||
ครั้นฟื้นตื่นจากนิทรา | เร่งถวิลจินดาถึงบิดร | ||
จึงโสรจสรงทรงเครื่องเรืองศรี | ไม่ขึ้นเฝ้าชนนีเหมือนแต่ก่อน | ||
เด็กเด็กโดยเสด็จบทจร | ไปประตูพระนครทันใด | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | |||
ร่าย | |||
๏ ครั้นถึงสมเด็จพระบิตุเรศ | ก้มเกศบังคมประนมไหว้ | ||
แล้วว่าลูกไปเฝ้าท้าวไท | ทูลขอโทษภัยพระบิตุรงค์ | ||
อัยกากริ้วโกรธโกรธา | ว่าจะฆ่าให้ม้วยเป็นผุยผง | ||
ชมสี่พี่เลี้ยงว่าซื่อตรง | ขอองค์ชนนีรอดชีวา | ||
พ่อตากริ้วกราดตวาดเสียง | แต่ละคำสำเนียงดังฟ้าผ่า | ||
ลูกกลัวตัวสั่นดังตีปลา | โศกากลิ้งเกลือกเสือกไป | ||
อัยกามีจิตคิดสงสาร | จึงปลอบข้าว่าหลานอย่าร้องไห้ | ||
ให้บอกบิดาคลาไคล | ไปเฝ้าท้าวไทอัยกา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์เชยชมโอรสา | ||
จูบกอดลูกแก้วแล้วบัญชา | ดวงตาของพ่อเพื่อนชีวิต | ||
เจ้าเมตตาบิดาค่อยผาสุก | เสื่อมคลายวายทุกข์ออกไปหนิด | ||
พ่อยังพรั่นแต่จะเข้าเฝ้าชิด | จวนตัวกลัวฤทธิ์พระยายักษ์ | ||
ตรัสสั่งพี่เลี้ยงแล้วคลาไคล | รีรอท้อใจหน่วงหนัก | ||
ฉวยฉุดยุดกรพระลูกรัก | กลัวนักหักใจจรลี | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นถึงปราสาทราชวัง | ถวิลหวังสุวิญชามารศรี | ||
ดูไหนไม่เห็นนางเทวี | ภูมีสร้อยเศร้าไปเฝ้าพลัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | ฝ่ายฝูงสุรางค์นางสาวสวรรค์ | ||
แน่นนั่งคั่งคับนับพัน | แทรกเสียดเบียดกันมาคอยดู | ||
ครั้นเห็นพระไชยเชษฐ์เสด็จมา | กัลยานบนอบแล้วหมอบอยู่ | ||
สะกิดเพื่อนเตือนพิศพระโฉมตรู | ต่างดูเห็นจริตผิดทำนอง | ||
บ้างว่าแต่ก่อนร่อนชะไร | ทรวดทรงดูไหนไม่บกพร่อง | ||
ผิวเนื้อเรื่อเรืองเหลืองเป็นทอง | เดี๋ยวนี้หมองมัวคล้ำดำไป | ||
บ้างว่าข้าเห็นไม่เป็นสุข | ฉุกละหุกทุกข์ตรอมผอมไผ่ | ||
พลัดพรากจากเมียเสียน้ำใจ | พระจริตผิดไปทุกสิ่งอัน | ||
บ้างว่าเธอทำชั่วกลัวพ่อตา | ไม่แกล้งว่าเดินก้าวจนเท้าสั่น | ||
ต่างคนต่างพูดกับเพื่อนกัน | เสียงกระซิบสนั่นปราสาทชัย | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาได้ยินยิ่งสงสัย | ||
แซ่เสียงสาวสวรรค์ด้วยอันใด | จึงแย้มแกลแลไปมิได้ช้า | ||
นางเห็นพระราชสามี | จูงลูกจรลีมาตรงหน้า | ||
ให้สงสารสมเพชเวทนา | กัลยาโศกศัลย์ตันใจ | ||
แล้วแอบบานบัญชรซ่อนพักตร์ | นงลักษณ์บังคมประนมไหว้ | ||
พลางพินิจพิศดูพระภูวไนย | ผิวพักตร์หมองไหม้โรยรา | ||
โอ้ว่าอนิจจาเจ้าประคุณ | ยังการุญรักเมียอยู่หนักหนา | ||
อุตส่าห์สู้พยายามตามมา | ทนทุกข์เวทนาถึงเพียงนี้ | ||
พระบิดากริ้วโกรธคาดโทษทัณฑ์ | พ่อไม่กลัวชีวันจะเป็นผี | ||
เมื่อคิดมาก็น่าปรานี | ครั้นคิดไปอีกทีก็สาใจ | ||
เป็นไรเล่าไม่เฝ้าอยู่เชยโฉม | เจ็ดนางช่างประโลมพิสมัย | ||
กับเรานี้ไม่มีอาลัย | ทำได้ร้อยตลบทบทวน | ||
คิดรักคิดแค้นแน่นอุรา | กัลยาโศกสร้อยละห้อยหวน | ||
หับบัญชรทอดถอนฤทัยครวญ | กันแสงศัลย์รัญจวนป่วนใจ | ||
ฯ ๑๔คำ ฯ โอด | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์แอบม่านทองสองไข | ||
แกล้งเยี่ยมยืนยื่นหน้าออกไป | ทำใส่ไคล้พูดจาข้าคลางแคลง | ||
ประหลาดใจเป็นไรหนอหม่อมแม่ | เยี่ยมแกลแปรผันแล้วกันแสง | ||
น่าใจหายจนสายพระเนตรแดง | หรือผงแกล้งแสร้างปลิวมาเข้าตา | ||
เที่ยวมองย่องยืนยื่นคอ | อะไรหนอประหลาดหนักหนา | ||
โอ๋ยอ้อพ่อเจ้าท่อนไม้มา | กระนี้หรือมิน่าร่ำไร | ||
แล้วถามว่าโศกาด้วยคิดแค้น | หรือร้องไห้ด้วยแสนพิสมัย | ||
เมื่อกระนี้จะคิดประการใด | ดวงใจมาถึงธานี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาฟังว่าน่าบัดสี | ||
นางเคืองขัดฉวยพัชนีตี | วิฬารีหลบเลี่ยงเมียงมอง | ||
นางทำปากหยิบหยิบกระซิบด่า | นี่เนื้อว่าอีแมวมันจองหอง | ||
เพราะว่าได้ถาดเงินถาดทอง | ทำแก่ตัวหัวพองมาพูดจา | ||
กูจะรักจะแค้นจะร้องไห้ | ก็กลการอะไรมาสอดว่า | ||
มึงนี้ดีแต่ขึ้นหลังคา | กับลักกินปลาในครัวไฟ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์กล่าวแกล้งแถลงไข | ||
ที่การลักผักปลาไม่พอใจ | ขึ้นหลังคาของใครก็ไม่เป็น | ||
ข้าดีแต่คอยดูรู้เท่าคน | ใครแต่งกลอย่างไรในจะเห็น | ||
ยิ่งไม่บอกอีแมวแล้วซ่อนเร้น | จะค้นด้นดูเล่นให้เห็นใจ | ||
ตอบพลางวิ่งออกนอกชาลา | ทำร้องว่าใครนั่นมาแต่ไหน | ||
นี่อ่อหม่อมพ่อเจ้าท่อนไม้ | มาธุระอะไรที่ในวัง | ||
ข้าดูดูเมื่อแรกก็แปลกหน้า | เห็นงดงามลงกว่าหนหลัง | ||
อนิจจาวิ่งมาแต่ลำพัง | ละเมียไว้วังให้ว่างเชย | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์เมิดเมินเดินเฉย | ||
ไม่ตอบวาจาวิฬาร์เลย | มันเยาะเย้ยอดสูก็สู้ทน | ||
ทำสงบเสงี่ยมเจียมตัว | ด้วยกลัวอาญาท้าวสิงหล | ||
หยุดหยุดยั้งยั้งระวังตน | ปากบ่นภาวนาทุกหายใจ | ||
ได้ยินท้าวดำรัสตรัสเสียงดัง | ก็ตกใจลงนั่งบังคมไหว้ | ||
พระกุมารยึดกรบิดรไว้ | นี่กราบใครกลางถนนหนทาง | ||
ครั้นคิดมาได้ให้ย่อท้อ | จึงว่าพ่อกลัวเหลือยิ่งเสือสาง | ||
ยุดมือลูกไว้ไม่ละวาง | ให้พี่เลี้ยงเคียงข้างจรลี | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เพลง | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวสิงหลยักษี | ||
สถิตเหนือแท่นรัตน์รูจี | พรั่งพร้อมนารีกำนัลใน | ||
คอยองค์หลานน้อยเสน่หา | จะชักนำบิดาเข้ามาไหว้ | ||
แกล้งส่งสุรเสียงสนั่นไป | ภูวไนยทำตึงบึ้งพักตร์ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ เหวยเหวยกำนัลขันที | ออกไปสั่งเสนีมีศักดิ์ | ||
ให้ตำรวจตรวจเตรียมจงพร้อมพรัก | กูจะซักไซ้ถามความผัวเมีย | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ตกประหม่าหน้าเสีย | ||
ความกลัวพ่อตาแข้งขาเพลีย | ยืนเงี่ยหูฟังระวังภัย | ||
แต่ขยับลับล่ออยู่ช้านาน | ตัวสั่นสะท้านเหงื่อกาฬไหล | ||
เอาคุณพระเป็นที่พึ่งดึงเข้าไว้ | อกสั่นหวั่นไหวอยู่ทึกทัก | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลง โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลลุกสะอึกขึ้นกึกกัก | ||
ฉวยตระบองร้องเหวยอ้ายทรลักษณ์ | กูจะหักคอกินให้สิ้นเนื้อ | ||
เอออะไรไม่พอที่พอทาง | มึงช่างชั่วชาติประหลาดเหลือ | ||
ไม่รู้เท่าผู้หญิงริงเรือ | ซานซมงมเชื่อนางเมียงาม | ||
ลูกกูสุวิญชานั้นไซร้ | มันผิดชอบอะไรข้าขอถาม | ||
จะให้ฆ่าให้แกงแกล้งใส่ความ | หยาบหยามข่มเหงไม่เกรงเรา | ||
ขับไล่ไสเสียว่าเมียชั่ว | มุดหัวตามมาทำไมเล่า | ||
ช่างกระไรทำได้ก็ทำเอา | จองหองเปล่าเปล่าเจ้าพระยา | ||
มึงเย่อหยิ่งหาญฮึกคึกขัน | วิฬาร์มันบอกเล่ากูหนักหนา | ||
ชะเจ้าคนดีมีฤทธา | จะสู้กับพ่อตาก็มาซิ | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ตัวสั่นสิ้นสติ | ||
ก้มหน้าภาวนานั่งนิ่งมิ | มิได้ปริปากทูลขอโทษทัณฑ์ | ||
เห็นขุนมารโกรธาเข้ามาใกล้ | สะดุ้งโดดโลดไปใจพรั่นพรั่น | ||
จวนตัวกลัวพ่อตาจะฆ่าฟัน | กอดลูกพัลวันไม่วางเลย | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลตั้งกระทู้ขู่เขย | ||
เป็นไรนั่งก้มหน้านิ่งเฉยเมย | ไม่เงยหน้าตาขึ้นว่ากัน | ||
เร่งบอกออกมาอย่านิ่งอยู่ | ข้อผิดลูกกูอย่างไรนั่น | ||
หรือชั่วช้าจับได้ไล่ทัน | ว่ากันเสียสิเองอย่าเกรงใจ | ||
ทำเล่นแต่ตามอำเภอเจ้า | เหมือนลูกเต้าพ่อแม่หามีไม่ | ||
เสียแรงเราออกปากฝากฝังไว้ | จะโกรธขึ้งถึงกระไรก็นานนาน | ||
อยู่ด้วยกันก้นหม้อไม่ทันดำ | หรือมาทำเฉินฉุกสนุกจ้าน | ||
จะใคร่ถองสองศอกให้ออกคลาน | จะว่าขานอย่างไรก็ว่ามา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์บังคมก้มหน้า | ||
ความกลัวตัวเย็นเป็นเหน็บชา | จะรับผิดพ่อตาให้คร้ามใจ | ||
เหงื่อไคลอาบหน้าเอาผ้าซับ | แต่เวียนกราบเวียนกลับไม่นับได้ | ||
คอแห้งสำลักกระอักกระไอ | แข็งใจพิดทูลขอโทษทัณฑ์ | ||
ลูกเบาจิตผิดนักผิดหนา | อันที่ขอโทษาถึงอาสัญ | ||
จงโปรดเพียงตีด่าอย่าฆ่าฟัน | ไม่คุมแค้นแม่นมั่นได้เป็นพระ | ||
ทูลพลางทางว่ากับตัวลูก | ทูนหัวช่วยพ่อมั่งสิหนะ | ||
นิ่งเสียได้ไม่เอาเป็นธุระ | เห็นพ่อจะบรรลัยในวันนี้ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์ก็หมองศรี | ||
ทูลอัยกาพลางทางโศกี | จงปรานีพ่อข้าอย่าขู่นัก | ||
พรั่นตัวกลัวตาจะถองเล่น | หัวอกเต้นทึกทึกตึกตัก | ||
จะพิดทูลถ้อยคำละล่ำละลัก | แต่ก้มพักตร์โศกาจนตาแดง | ||
อันโทษทัณฑ์นั้นพ่อก็รับผิด | ด้วยเคลิ้มจิตเบาไปมิได้แจ้ง | ||
อดโมโหหันหุนได้บุญแรง | อย่าต่อนัดต่อแนงแกล้งด่าทอ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลผินผันกลั้นหัวร่อ | ||
นั่งลงแล้วมีบัญชาล้อ | ลูกพ่อคนนี้มันดีจริง | ||
รับเป็นดั้งหน้าเข้ามาแก้ | เฝ้าแต่สำออยอ้อยอิ่ง | ||
อันพ่อของนัดดาตาชังชิง | ชอบแต่ถองให้กลิ้งมันหยิ่งดี | ||
เอออะไรหม่คิดถึงตัวตน | ได้รอดอยู่เป็นคนเพราะใครนี่ | ||
พ่อเจ้าเขาเลี้ยงหรือชนนี | ช่างไม่มีเจ็บแค้นแทนแม่เลย | ||
ถ้าพี่เลี้ยงทั้งสี่มันมิช่วย | ทั้งแม่ลูกก็จะม้วยเสียแล้วเหวย | ||
จะส่งท่อนไม้มาให้ตาเชย | ที่ไหนเลยจะได้จ้อขอพ่อไว้ | ||
ขอบใจพี่เลี้ยงหนักหนา | บุญคุณมันหาที่สุดไม่ | ||
ว่าพลางทางผินพักตร์ไป | ปราศรัยพี่เลี้ยงทั้งสี่คน | ||
สุวิญชามายกความชอบเจ้า | เอ็งเห็นแก่ตาเฒ่าสิงหล | ||
ช่วยลูกเราไว้ไม่วายชนม์ | บุญคุณเป็นพ้นคณนา | ||
กูตั้งใจจัดแจงข้าวของ | จะสนองคุณเจ้าให้นักหนา | ||
สมเป็นผู้ใหญ่ไวปัญญา | ไม่หลับหูหลับตาไปตามนาย | ||
ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ บัดนั้น | พระพี่เลี้ยงพิดทูลขยับขยาย | ||
ซึ่งทรงพระเมตตาข้ามากมาย | พระคุณคล้ายชนกชนนี | ||
อันพระไชยเชษฐ์สุริย์วงศ์ | ใช่จะไม่เกรงองค์ท้าวยักษี | ||
ซึ่งได้เคืองบาทาฝ่าธุลี | โทษผิดครั้งนี้เป็นล้นพ้น | ||
ราหูเข้าเสาร์แทรกชันษา | ประจวบเป็นเวลาอกุศล | ||
พระคลั่งคลุ้นกลุ้มจิตด้วยฤทธิ์มนต์ | จึงงวยงงหลงกลอีคนเท็จ | ||
ไม่ช้าพลันครั้นคิดขึ้นมาได้ | ก็โศกาเพียงใจจะขาดเด็ด | ||
สู้บุกป่าฝ่าดงลอดเล็ด | เตร่เตร็ดมาตามนางเทวี | ||
แม้นพระองค์มิทรงพระเมตตา | ทั้งเจ้าข้าไม่คืนไปกรุงศรี | ||
เห็นจะพากันตายาวายชีวี | ที่ผิดพลั้งครั้งนี้ได้โปรดปราน | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลนิ่งนั่งฟังว่าขาน | ||
ค่อยคลายหายเหือดเดือดดาล | มิได้มีพจมานประการใด | ||
ผินพักตร์ไปตรัสกับนัดดา | อันโทษพ่อนั้นตาจะยกให้ | ||
แต่ตัดขาดกับมันจนบรรลัย | จะกรวดน้ำเสียไม่ขอพบเลย | ||
ถึงแผ่ทองหุ้มตัวมายับยับ | ก็ไม่ปรารถนานับว่าลูกเขย | ||
อย่าไปมาหากันฉันคุ้นเคย | ใครเกินเลยเถิดนะไม่ละกัน | ||
นัดดาจะรักอยู่ข้างไหน | จงว่าแต่จริงใจอย่าเดียดฉันท์ | ||
จะอยู่ด้วยชนนีของเจ้านั้น | หรือจะไปเหมันต์กับบิดา | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์ได้ฟังว่า | ||
ก้มเกล้าทูลสนองพระบัญชา | ซึ่งโปรดมาข้ายังไม่ชอบใจ | ||
ที่จริงจิตรักตานั้นเหลือแหล่ | รักพ่อรักแม่เท่าพ้อมใหญ่ | ||
จะไปกับบิดาก็อาลัย | ด้วยรักใคร่อัยกากับมารดร | ||
แต่ที่จริงในจิตข้าคิดนั้น | จะใคร่ให้ดีกันเหมือนแต่ก่อน | ||
แม้นสมดังปรารถนาว่าวอน | จะสิ้นทุกข์สิ้นร้อนสำราญใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลสรวลสันต์ไม่กลั้นได้ | ||
แกล้งตรัสว่าน่าตีนี่กระไร | ช่างแก้ไขพูดเลียบเปรียบเปรย | ||
เจ้าจะให้ข้านี้ดีด้วยพ่อ | เช่นนี้พอรู้เท่าเจ้าดอกเหวย | ||
อันความแค้นของตาอย่าว่าเลย | ไม่เลี้ยงเป็นลูกเขยคุ้งบรรลัย | ||
แต่ข้างนางแม่ของเจ้านี้ | จะดีด้วยพ่อเข้าหอใหม่ | ||
หรือจะมิดีก็ตามใจ | กำนัลในไปหามาบัดนี้ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ บัดนั้น | นางกำนัลรับสั่งใส่เกศี | ||
ถวายบังคมคัลอัญชลี | ไปปราสาทเทวีสุวิญชา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ ชุบ | |||
๏ ครั้นถึงจึงทูลนางโฉมยง | ว่าพระบิตุรงค์ให้หา | ||
เชิญเสด็จรีบไปอย่าได้ช้า | แล้วแจ้งกิจจาสารพัน | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาร้อนจิตคิดพรั่น | ||
ซักไซ้ไต่ถามนางกำนัล | ครั้นแจ้งความสำคัญก็คลายใจ | ||
มาสระสรงทรงเครื่องสุคนธา | นุ่งผ้ายกแย่งระกำไหม | ||
ห่มริ้วทงระยับซับใน | แล้วทรามวัยเสด็จจรจรัล | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เพลง | |||
๏ ครั้นถึงมนเทียรท้าวยักษี | เห็นพระสามีหมอบอยู่นั่น | ||
ดูผิดรูปซูบผอมลงไปครัน | สารพัดผิวพรรณก็หมองมัว | ||
ชะรอยพระคิดถึงน้องรัก | จึงโศกนักนึกน่าสงสารผัว | ||
ครั้นเห็นพ่อแลดูก็นึกกลัว | ทำแก้ตัวคมค้อนให้สามี | ||
คลานเข้าไปวันทาพระยายักษ์ | แล้วนงลักษณ์ไหว้พี่เลี้ยงทั้งสี่ | ||
มิได้พูดจาพาที | เทวีนั่งก้มพักตรา | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
ช้า | |||
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวสิงหลยักษา | ||
แกล้งชำเลืองแลดูสุวิญชา | เห็นท่วงทีกิริยามึนตึง | ||
จะโกรธผัวจริงจังกระมังหนอ | หรือกลัวพ่อจะว่าทำหน้าบึ้ง | ||
ลูกเราความคิดติดลึกซึ้ง | ไม่รู้ถึงเล่ห์กลเป็นจนใจ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ร่าย | |||
๏ จึงว่าแน่แม่เจ้านารายณ์ธิเบศร์ | ไชยเชษฐ์ผัวเจ้าเขาคิดได้ | ||
มางอนง้อขอดีด้วยทรามวัย | เจ้าจะว่าอย่างไรนะลูกรัก | ||
ถึงจะดีกันไซร้พ่อไม่ห้าม | จะมิดีก็ตามไม่หาญหัก | ||
เมื่อครั้งก่อนพ่อคิดผิดนัก | ไม่หน่วงหนักให้ไปเพราะในเบา | ||
ประเดี๋ยวนี้เขามาหาสู่ | ก็เป็นต้นยนต์อยู่ที่ลูกเจ้า | ||
ไปพูดจาสำมะเลเทเมา | แล้วพาเขาเข้ามาว่าวิงวอน | ||
พ่อจึงให้หาเจ้าเพราะเท่านี้ | เทวีชั่งจิตคิดดูก่น | ||
เขาก็ได้มาของ้องอน | จะผันผ่อนอย่างไรก็ตามที | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาสะเทินเมินหน้าหนี | ||
ในจิตคิดรักพระสามี | ครั้นจะดีง่ายง่ายก็อายใจ | ||
จึงทูลสนองพระบัญชา | อันความแค้นของข้าเลือดตาไหล | ||
เขาว่าลูกเต้าเป็นท่อนไม้ | ขับไล่ไสหัวเสียจากเมือง | ||
ได้อับอายขายพักตร์หนักหนา | ไพร่ฟ้าระบือลือเลื่อง | ||
ท่านเชื่อเมียสารพัดเฝ้าขัดเคือง | จะรื้อเรื่องร่ำไปทำไมมี | ||
ว่าพลางทางเรียกลูกชาย | เจ้านารายณ์ธิเบศร์มาเสียนี่ | ||
เอออะไรด้านหน้าทั้งตาปี | จะใคร่ตีให้ยับลงกับมือ | ||
ช่างโง่งมซมซานหาญฮึก | ยังจะรู้สึกนึกบ้างแล้วหรือ | ||
ให้ร้องเรียกสองรื้อสามรื้อ | ดูเถิดดื้อนี้กระไรยังไม่มา | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา | ||
นิ่งเสียมิได้ไคลคลา | วันทาแล้วทูลไปทันที | ||
ลูกแข็งขัดพจมานประทานโทษ | พระแม่จงโปรดเกศี | ||
จะขอทูลความทุกข์ของลูกนี้ | ถึงจะทุบจะตีจะสู้ทน | ||
อกใครจะเหมือนอกข้า | ได้อับอายไพร่ฟ้าทุกแห่งหน | ||
กำเนิดเกิดมาไม่เทียมคน | เพราะพ่อแม่หมองหม่นน้ำใจกัน | ||
อันบิดาผิดพลั้งแต่ครั้งก่อน | อุตส่าห์มาง้องอนได้ผ่อนผัน | ||
ถ้าทีหลังยังมุดุดัน | จะให้ตาตีรันไม่ฉันทา | ||
จงงดโทษพระพ่อเสียสักหน | ให้ทานบาดคาดบนไว้หนักหนา | ||
เหมือนเมตตาปรานีแก่ลูกยา | ดีด้วยบิดาเถิดมารดร | ||
เฝ้าพิรี้พิไรไม่เขินขวย | พระไชยเชษฐ์ช่วยกระซิบสอน | ||
ทูลพลางทางแกล้งกันแสงวอน | สะอื้นอ้อนร่ำไรไปมา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | นางโฉมยงสงสารโอรสา | ||
แต่มานะสตรีมีมารยา | ทำโมโหโกรธาแล้วว่าไป | ||
สู่รู้ดูดู๋เสียแรงเลี้ยง | มาบ่ายเบี่ยงพาทีเช่นนี้ได้ | ||
ไม่รำพึงถึงตัวเป็นท่อนไม้ | เขาสิรักใคร่เจ้าอยู่นัก | ||
แค้นใจใครหนอช่างชักพา | จึงด้านหน้าด้านตาไปรู้จัก | ||
แค่นเชื่อลิ้นลมไปสมรัก | ทำฮึกฮักพูดจามันน่าตี | ||
อันคนโฉดเช่นนี้แล้วลูกเอ๋ย | อย่าว่าเลยถึงตายไม่ดูผี | ||
อีกร้อยชาติก็ไม่ปรารถนาดี | อย่าเซ้าซี้กวนใจมิใช่การ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระนารายณ์ธิเบศร์จึงว่าขาน | ||
แม้นพระชนนีมิโปรดปราน | ลูกจะม้วยชนมานเสียมั่นคง | ||
ไม่ควรจะหยิบยกเอาขึ้นว่า | ด้วยพ่อข้าเคลิ้มไปจนใหลหลง | ||
ความรักน้อยหรือเพราะซื่อตรง | สู้บุกป่าฝ่าดงมาติดตาม | ||
ถึงพ่อผิดคิดมั่งฟังลูกเถิด | อย่าประเจิดเชิดชื่อให้คนหยาม | ||
ไม่สงสารลูกเต้าเฝ้าถือความ | จะขอลาตายตามพระพ่อไป | ||
ทูลพลางทางทรงโศกา | พระเจ้าตากระไรเลยช่างเฉยได้ | ||
เอ็นดูด้วยช่วยว่าบ้างเป็นไร | พลางกันแสงไห้วิงวอน | ||
ฯ ๘ คำ ฯ โอด เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลมิรู้ที่จะผันผ่อน | ||
เห็นหลานน้อยสร้อยเศร้าเฝ้าทุกข์ร้อน | พระทอดถอนใจใหญ่ไปมา | ||
จึงว่านารายณ์ธิเบศร์เอ๋ย | อย่าร้องไห้ไปเลยฟังตาว่า | ||
เมื่อแม่เจ้าเขาไม่เมตตา | มันก็สุดปัญญาอยู่แล้วละ | ||
เจ้ารักพ่อตามแต่จะแก้ไข | อ้อนวอนกันไปเถิดสินะ | ||
ที่โทษทัณฑ์นั้นตาก็ลดละ | จะให้รับธุระเห็นสุดรู้ | ||
คำบุราณหลานยังหารู้ไม่ | จะดับไฟหัวลมนั้นยากอยู่ | ||
ทีนี้ใครอย่ามากวนกู | จะนั่งดูเล่นตามสบายใจ | ||
ฯ ๘ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์ทุกข์ทนหม่นไหม้ | ||
เห็นพ่อตาว่าเชือนแชไป | เมียก็ตัดอาลัยสิ้นรัก | ||
ครั้นจะพูดเล้าโลมนางโฉมยง | ก็เกรงพระบิตุรงค์ทรงศักดิ์ | ||
แต่นั่งทอดถอนใจใหญ่ฮัก | ชลเนตรนองพักตร์พระภูมี | ||
เฝ้ากระซิบสอนลูกให้ปลอบแม่ | พลางแลดูเมียเห็นเบือนหนี | ||
พระสิ้นสติสมประดี | ก็ซบพักตร์โศกีเพียงขาดใจ | ||
ฯ ๖ คำ ฯ โอด | |||
๏ เมื่อนั้น | นวลนางสุวิญชาศรีใส | ||
เห็นองค์ภัสดาโศกลัย | ยิ่งเศร้าใจสงสารพระผ่านฟ้า | ||
ในอกอัดอั้นสู้กลั้นกลืน | แข็งขืนอารมณ์ก้มหน้า | ||
ชลเนตรคลอคลองนัยนา | ทำเป็นผงเข้าตาไม่พาที | ||
สุดที่จะกลั้นรัญจวนจิต | ทำม้วนมิดปิดป้องที่หมองศรี | ||
จึงวันทาลาองค์อสุรี | ไปปราสาทมณีมิได้ช้า | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวสิงหลยักษา | ||
ตรองตรึกนึกในไปมา | จะล้างอายขายหน้าให้เป็นธรรม์ | ||
จำจะทำโกรธขึ้งขึงไว้ | ดูใจไชยเชษฐ์เขยขวัญ | ||
จะมานะกลับคืนไปเหมันต์ | หรือจะอยู่รำพันพิไรวอน | ||
ท้าวแสร้างเมินเสียไม่ดูหน้า | ทำปึ่งชาเฉยนิ่งพิงหมอน | ||
เฝ้าแต่ชำเลืองเคืองค้น | แล้วบทจรเข้าที่บรรทมใน | ||
ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ | |||
โอ้ | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์เศร้าสร้อยละห้อยไห้ | ||
ลูบหลังลูกยาแล้วว่าไป | เห็นพ่อจะบรรลัยนี้ไม่แคล้ว | ||
เมื่อองค์พระอัยกาไม่ปรานี | จะทำอย่างไรดีนะลูกแก้ว | ||
แม่เจ้าเขาก็ตัดพ่อขาดแล้ว | ไหนจะแคล้วมอดม้วยด้วยความรัก | ||
ก็จะสู้มรณาไม่ว่าเล่น | ให้มารดาเจ้าเห็นใจประจักษ์ | ||
ชาติหน้าบุญมาช่วยนำชัก | ขอให้ได้พบพักตร์ร่วมรักกัน | ||
จงบอกแม่ว่าพ่อนี้ขอลา | ตายไปคอยท่าอยู่เมืองสวรรค์ | ||
ลูกเอ๋ยเป็นกรรมมาตามทัน | จอมขวัญจำหน้าบิดาไว้ | ||
ตรัสพลางทางทรงโศกี | ปิ้มประหนึ่งชีวีจะตักษัย | ||
ไม่ทันสั่งพี่เลี้ยงร่วมใจ | ภูวไนยสลบลงทันที | ||
ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด | |||
ร่าย | |||
๏ เมื่อนั้น | พระกุมารตกใจร้องไห้มี่ | ||
พระพี่เลี้ยงเพียงจะวายชีวี | นวดฟั้นคั้นตีทั่วกายา | ||
พระโอรสวิ่งพลางร้องไห้พลาง | พี่นางอยู่งานวานช่วยข้า | ||
เร็วเร็วเร่งทูลพระเจ้าตา | บัดนี้บิดาข้าวายปราณ | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | ท้าวสิงหลได้ฟังสำเนียงหลาน | ||
ลุกจากแท่นที่ตะลีตะลาน | วิ่งสะดุดเครื่องอานออกมาพลัน | ||
เห็นลูกเขยซอนซบสลบไสล | ก็ตกใจเรียกหมอปากคอสั่น | ||
ไปหาลูกกูอีกำนัล | พลางเข้านวดฟั้นสั่นเนื้อตัว | ||
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาแจ้งเหตุสังเวชผัว | ||
วิ่งวางตัวสั่นอยู่รัวรัว | ตีอกชกหัวร้องไห้พลาง | ||
ถึงปราสาทบิดาเห็นสามี | ไม่ไหวติงอินทรีย์เหมือนผีสาง | ||
ลืมองค์ลืมอายกำนัลนาง | เข้านั่งหนุนปฤษฎางค์ภัสดา | ||
แล้วเอาสุคนธ์โซมชโลมให้ | นางร่ำไรเรียกร้องเป็นหนักหนา | ||
สิ้นอายสิ้นกลัวพระอาญา | ออกปากว่าข้าจะดีด้วยแล้ว | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | องค์พระไชยเชษฐ์ผ่องแผ้ว | ||
ค่อยฟื้นองค์ลืมเนตรขึ้นแววแวว | เห็นลูกแก้วกับเมียนั่งโศกี | ||
พระขืนแข็งฤทัยดำรงองค์ | กราบลงแทบบาทท้าวยักษี | ||
สุวิญชานึกอายพระสามี | ลุกหนีมานั่งหลังบิดา | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
ตอนที่ ๔ อภิเษกพระไชยเชษฐ์
๏ เมื่อนั้น | ท่านท้าวสิงหลยักษา | ||
เห็นลูกเขยหน้าจ๋อยไม่พูดจา | ให้มีจิตเมตตาปรานี | ||
จึงตรัสว่าโทษทัณฑ์นั้นไซร้ | พ่อก็ไม่พอใจจู้จี้ | ||
แต่ดูอยู่หน่อยหนึ่งครั้งนี้ | จะจะเสียให้ดีด้วยกัน | ||
ฝ่ายข้างสุวิญชายาใจ | เขาก็ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ | ||
แต่คิดอับอายชาวเหมันต์ | จงผ่อนผันให้ดีนะลูกรัก | ||
จะอยู่ด้วยกันไปพ่อไม่ห้าม | อย่าให้เมียมีความอัปลักษณ์ | ||
แม้นเจ้าทำตามจะงามพักตร์ | ปรากฏยศศักดิ์ทั้งแดนไตร | ||
จงให้ไปเชิญสองกษัตรา | มาแต่งการวิวาห์กันเสียใหม่ | ||
อันการเมื่อครั้งหลังนั้นอย่างไร | คราวนี้ก็ให้เหมือนครั้งนั้น | ||
ล้างอายขายหน้าพ่อตาเสีย | ทั้งลูกเมียไม่มีใครเย้ยหยัน | ||
ให้เสนีรีบกลับไปฉับพลัน | กำหนดสิบห้าวันให้ยกมา | ||
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา | |||
๏ เมื่อนั้น | พระไชยเชษฐ์รับคำท้าวยักษา | ||
พลางชม้ายชายดูสุวิญชา | เสน่หารัญจวนป่วนใจ | ||
ฯ ๒ คำ ฯ | |||
๏ เมื่อนั้น | สุวิญชาให้คิดพิสมัย | ||
แลสบหลบเนตรภูวไนย | อายใจก็ถวายบังคมลา | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | |||
๏ บัดนั้น | วิฬาร์ลับปากไว้คอยท่า | ||
ครั้นเห็นนางเสด็จกลับมา | หัวร่อแล้วว่าเป็นแยบคาย | ||
วันนี้แลดูแม่สุวิญชา | พักตราผ่องเหมือนกับเดือนหงาย | ||
คราวจะได้สุขสนุกสบาย | กระไรไม่ทักทายอีวิฬาร์ | ||
คิดบ้างเป็นไรเมื่อได้ทุกข์ | อีขี้ข้าพาบุกมาในป่า | ||
ลืมสิ้นแล้วกระมังแต่หลังมา | อนิจจานิจจาเป็นน่าอาย | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ ได้เอยได้ฟัง | นางแค้นคั่งด่าว่าอีฉิบหาย | ||
มึงมาพูดแอบเป็นแยบคาย | กูไม่ดีง่ายง่ายอย่าเจรจา | ||
พระบิดาจะให้แต่งขันหมากใหม่ | มึงรู้มั่งหรือไม่อีชาติข้า | ||
ดื้อดึงขืนขัดพระอัชฌา | จะโกรธขึ้นมาเป็นฟืนไฟ | ||
ทั้งลูกเต้าก็ร้องไห้งองอ | จะให้ดีด้วยพ่อจงได้ | ||
มึงอย่ามาเซ้าซี้พิรี้พิไร | กูจะปิดหูไว้ไม่ขอฟัง | ||
ฯ ๖ คำ ฯ | |||
๏ ไม่เอยไม่แจ้ง | ว่าจะแต่งเข้าหอเหมือนหนหลัง | ||
วิฬารีดีใจพ้นกำลัง | แม่ข้าไหว้วานฟังให้ทุกคน | ||
ถึงต้องทุกข์บุกไพรได้ความยาก | แต่ได้กินขันหมากเป็นสองหน | ||
วันนี้เห็นทีจะชอบกล | หนีนอนเสียให้พ้นข้างไหนดี | ||
ฯ ๔ คำ ฯ | |||
๏ อีเอยอีวิฬาร์ | ปากบอนค่อนว่าน่าบัดสี | ||
นางขัดใจฉวยไม้ไล่ตี | วิฬารีหนีซุกซ่อนไป | ||
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด | |||
(จบฉบับเพียงเท่านี้)
เชิงอรรถ
ที่มา
บทละครนอกเรื่อง ไชยเชษฐ์ สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๓๘
(ขอขอบคุณ คุณ gignoi สมาชิก kaewkao.com ผู้พิมพ์เป็นวิทยาทาน)