|
|
(การแก้ไข 4 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) |
แถว 6: |
แถว 6: |
| [[หมวดหมู่:นิทาน]] | | [[หมวดหมู่:นิทาน]] |
| '''พระนิพนธ์:''' [[พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ]] | | '''พระนิพนธ์:''' [[พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ]] |
- | == บทประพันธ์ ==
| |
- | ===ต้นเรื่อง===
| |
- | พระราชาทรงนามวิกรมาทิตย์ ครองราชย์อยู่กรุง อุชชยินี นับเวลาถึงบัดนี้ได้เกือบ ๒,๐๐๐ ปี พระองค์เป็นกษัตริย์ทรงนามเลื่องลือ สามารถทั้งในทางศึกแลในทางปกครองไพร่ฟ้าประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข ทั้งเป็นผู้เอื้อเฟื้อต่อการเรียนรู้ มีปราชญ์ ๙ คน เรียกว่า เนาวรัตนกวีคือ กาลิทาส เป็นต้น แต่งกลอนยอพระเกียรติปรากฏจนเวลานี้ว่า รัชกาลพระวิกรมาทิตย์เป็นเวลาที่วิชารุ่งเรือง
| |
| | | |
| + | นิทานเวตาลนี้ มาจากวรรณคดีอินเดียเรื่อง เวตาลปัญจวิงศติ (นิทาน ๒๕ เรื่องของเวตาล) Sir Richard R. Burton เลือกเอา ๑๑ เรื่องจาก ๒๕ เรื่องมาแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Vikram and The Vampire |
| | | |
- | ประวัติของพระราชาองค์นี้ มีเรื่องจริงปะปนกับเรื่องซึ่งประดิษฐ์ขึ้น กล่าวตามความที่เป็นคำนำเรื่องนี้ว่า เมื่อพระวิกรมาทิตย์ทรงครองราชสมบัติรุ่งเรืองอยู่หลายปี จนพระชนมายุได้ ๓๐ พรรษา จึงทรงพระดำริว่า บ้านเมืองต่างประเทศที่ได้ทรงยินชื่อ แต่มิได้เคยเห็นนั้นมีมาก สมควรจะเสด็จไปดูให้เห็นเสียสักครั้งหนึ่ง ราชประสงค์คือจะเที่ยวสอดรู้การในบ้านเมืองเหล่านั้น หาช่องทางที่จะเอารวมเข้ามาเป็นเมืองขึ้นด้วยกำลังอาวุธหรือกำลังปัญญา ทรงคิดฉะนี้จึงมอบราชการบ้านเมืองให้พระอนุชา ทรงนามพระ ภรรตฤราช ปกครองแทนพระองค์ แล้วทรงเครื่องปลอมเป็นโยคี มีพระราชโอรสองค์ที่ ๒ ทรงนาม ธรรมธวัช ตามเสด็จ เที่ยวเตร็ดเตร่ไปในป่าแลเมืองต่างๆ
| + | พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงแปลนิทานเวตาลนี้ โดยทรงเลือก ๙ เรื่องมาจาก Vikram and The Vampire และทรงเลือกอีกเรื่องหนึ่ง (เรื่องที่ ๘) จาก King Vikram and The Ghost ของ C. H. Tawney รวมเป็นทั้งสิ้น ๑๐ เรื่องในฉบับนี้ |
| | | |
- | พระภรรตฤราชผู้อนุชาซึ่งปกครองสมบัติแลราชการเมืองแทนพระราชานั้นเป็นบุรุษ มีหฤทัยซึมเซาเป็นปกติ เพราะได้เสียนางผู้เป็นชายาไปด้วยเหตุประหลาด มีเรื่องตามที่กล่าวต่อกันมาว่า วันหนึ่งพระภรรตฤราชเสด็จออกล่าเนื้อในป่า พบหญิงแม่หม้ายเข้าสู่กองเพลิงซึ่งเผาศพพราหมณ์ผู้สามี หญิงนั้นแสดงความมั่นใจปราศจากความสะทกสะท้าน ครั้นพระภรรตฤราชเสด็จกลับถึงวัง จึงเล่าแก่นางผู้เป็นชายาแห่งพระองค์ว่า นางพราหมณีมีความสัตย์แลความกล้าฉันนั้น ๆ พระชายาทูลตอบว่า เมื่อผัวสิ้นชีพไปแล้วหญิงดีย่อมจะสิ้นชีวิตด้วยเพลิงแห่งความทุกข์ หาต้องตายในกองเพลิงซึ่งเผาสามีไม่ พระภรรตฤราชทรงฟังดังนั้นก็นิ่งตรึกตรอง มิได้ตรัสประการใด ครั้นวันรุ่งขึ้นเสด็จออกป่าล่าเนื้ออีกครั้งหนึ่ง ไม่ช้าตรัสให้มหาดเล็กเชิญเครื่องทรงซึ่งขาดแลเปื้อนเปรอะกลับไปทูลพระชายา ว่าเกิดเหตุวิบัติในป่า พระภรรตฤราชสิ้นพระชนม์เสียแล้ว พระชายาได้ยินดังนั้น ก็ล้มลงสิ้นชีวิตด้วยเพลิงแห่งความทุกข์ พระภรรตฤราชกลับจากป่าก็เสียพระหฤทัยหนักหนา มีอาการซึมเซากระเดียดไปข้างจะออกเป็นฤาษีอยู่ร่ำไป แม้มีชายาองค์อื่น ๆ จำนวนไม่น้อยก็ไม่ทำให้แช่มชื่นได้ (จนได้นางมาใหม่อีกองค์หนึ่ง)
| + | ลิงก์ไปยังต้นฉบับภาษาอังกฤษของทุกตอน (ยกเว้นตอนที่ ๘) ได้ใส่ไว้แล้วในตอนต้นของแต่ละตอน เพื่อผู้ที่สนใจจะได้อ่านเปรียบเทียบกัน |
| | | |
- | เมื่อได้รับตำแหน่งปกครองแทนองค์พระราชาแล้ว พระภรรตฤราชก็ปฎิบัติราชการโดยทางที่ชอบ แต่ไม่สนุกในงานที่กระทำจนกามเทพแผลงศรดอกไม้ทะลุหฤทัยอีกครั้งหนึ่ง
| + | == บทประพันธ์ == |
- | | + | [[ต้นเรื่องนิทานเวตาล|ต้นเรื่อง]] |
- | นางนั้นมีหน้าเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ มีผมดังเมฆสีนิลโลหิตซึ่งอุ้มฝนห้อยอยู่บนฟ้า มีผิวซึ่งเย้ยดอกมะลิให้ได้อาย มีตาเหมือนเนื้อทรายซึ่งระแวงภัย ริมฝีปากเหมือนดอกทับทิม คอเหมือนคอนกเขา มือเหมือนสีแห่งท้องสังข์ เอวเหมือนเอวเสือดาว บาทเหมือนดอกบัว พร้อมด้วยลักษณะนางงามอย่างแขก ซึ่งไทยเราแต่งกาพย์กลอนก็พลอยเอาอย่างมาเห็นงามไปด้วย พระชายาองค์ใหม่งามเช่นนี้ พระภรรตฤราชก็ลืมหลง แต่นางมิได้จงใจภักดีต่อพระสวามี กลับไปมีใจรักใคร่กับอำมาตย์หนุ่มคนหนึ่งชื่อมหิบาล มิช้าก็เกิดเหตุ
| + | |
- | | + | |
- | | + | |
- | ในที่ใกล้พระราชวัง มีพราหมณ์คนหนึ่งกับภริยาเป็นคนจนยากแค้นแสนเข็ญไม่รู้จะทำอะไรก็ทำตบะ คืออดข้าว แลทรมานตัวต่างๆ หน้าหนาวลงแช่น้ำ หน้าร้อนนั่งผิงไฟรอบตัว จนเทวดาเบ็ดเตล็ดพากันยำเกรงทั่วไป ในที่สุดเทวทูตลงมาจากสวรรค์ ยื่นผลไม้ให้ผลหนึ่ง บอกว่าเป็นผลไม้อำมฤต ถ้ากินแล้วจะยืนชีวิตอยู่ค้ำฟ้า
| + | |
- | | + | |
- | ครั้นเทวทูตอันตรธานไปแล้ว พราหมณ์ก็อ้าปากซึ่งฟันหมดไปแล้ว เพื่อจะกัดแลกินผลอำมฤต พอนางพราหมณีร้องห้ามว่า "ท่านเอย ท่านจงยั้งชั่งใจดูก่อน ความตายนั้นเป็นทุกข์ชั่วขณะเดียว ความมีชีวิตยากแค้นเช่นเรานี้เป็นทุกข์ยาวนาน ท่านอยากจะมีทุกข์เช่นนี้จนค้ำฟ้าหรือ ความยากจนนี้เป็นบาปที่เราทำไว้ในหนหลัง ท่านจะยึดทุกข์คือชีวิตไปทำไมเล่า ผลไม้นั้นท่านอย่ากินเลย"
| + | |
- | | + | |
- | พราหมณ์ได้ยินภริยาท้วงดังนั้นก็ลังเลในใจ นั่งนิ่งปากอ้าตาเพ่งอยู่สักครู่หนึ่ง จึงกล่าวแก่ภริยาว่า "ข้าได้รับผลไม้นี้ไว้จากเทวทูตด้วยหมายจะกิน เมื่อเจ้าคัดค้านฉะนี้ข้าก็สงสัยในใจ เจ้าผู้มีปัญญาจะเห็นควรให้ข้าทำอย่างไรต่อไปเล่า"
| + | |
- | | + | |
- | นางพราหมณีตอบว่า "ท่านกับข้าพเจ้าเวลานี้ก็แก่แล้ว ความชราย่อมกีดกันความสุขซึ่งมีในใจหนุ่มแลสาว คนแก่จะอยู่ปรัมปราอีกช้านานก็หาประโยชน์มิได้ ถ้าการกินผลไม้นี้กลับให้ความเป็นหนุ่มแก่ท่าน ข้าพเจ้าก็จะมิคัดค้านเลย"
| + | |
- | | + | |
- | พราหมณ์ได้ยินภริยากล่าวดังนั้น ก็สิ้นความลังเลในใจทิ้งผลไม้ลงยังพื้นดิน นางพราหมณีก็ยินดี แต่ซ่อนความอิ่มใจไว้มิแสดงให้สามีเห็น ความอิ่มใจนั้นเกิดแต่ความเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว คือนางพราหมณีเห็นว่า นางได้อยู่เป็นสามีภริยากับพราหมณ์มาก็ช้านานจนถึงความชราเห็นปานฉะนี้แล้ว ถ้าสามีกินผลอำมฤตยืนยงต่อไป ส่วนนางเองมิพ้นความตายได้ไซร้ ความเที่ยงธรรมจะมีก็หาไม่ ครั้นสามีทิ้งผลไม้อำมฤตลงบนพื้นดินฉะนั้นแล้ว นางก็กล่าวติเตียนความอายุยืนซ้ำเติมอีกจนสามีเห็นจริง กลับโกรธเทวดาว่านำผลอำมฤตมาให้ด้วยความปองร้าย หยิบผลไม้นั้นจะโยนเข้ากองไฟ ภริยาห้ามไว้แล้วกล่าวว่า"ท่านอย่าเพิ่งทำเร็วไปนัก ผลไม้นี้มิใช่ของหาง่าย เมื่อได้มาแล้วก็ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ ท่านจงไปเฝ้าพระภรรตฤราช ถวายผลไม้นี้ เธอคงจะประทานรางวัลให้สมแก่ราคาของ รางวัลนั้นแหละจะปลดทุกข์คือความจนของเรา ท่านทำตบะมาช้านานจนได้ผลเช่นนี้แล้ว ท่านจงกระทำตามคำข้า เพื่อให้ผลแห่งตบะนั้นเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสุขเถิด" พราหมณ์สามีได้ฟังภริยากล่าวดังนั้นก็เห็นด้วย จึงนำผลอำมฤตเข้าไปเฝ้าพระภรรตฤราช ทูลให้ทราบคุณแห่งผลไม้นั้น แล้วทูลว่า"พระองค์จงรับผลไม้นี้เป็นของซึ่งข้าพเจ้าถวายเถิด พระองค์ทรงพระชนมายุยืนนานจะได้เป็นที่พึ่งแก่ประชาราษฎร์ทั่วไป แลถ้าประทานรางวัลแก่ข้าพเจ้าให้สมแก่ค่าแห่งผลไม้นี้ ความเป็นที่พึ่งของพระองค์ก็ยิ่งแผ่กว้างทวีออกไป"
| + | |
- | | + | |
- | พระภรรตฤราชได้ฟังดังนั้นก็ทรงยินดี รับผลไม้จากพราหมณ์แล้วตรัสให้พราหมณ์ตามเสด็จเข้าไปในคลังทอง อันเป็นที่ซึ่งทองทรายกองอยู่หลายพ้อม แล้วตรัสให้พราหมณ์ขนเอาไปเต็มแรงที่จะขนได้ พราหมณ์ก็เปลื้องผ้าออกห่อทองทราบแลบรรจุในที่ต่างๆ ซึ่งจะบรรจุได้ รวมทั้งในปากอันพูดคล่องแลไม่มีฟันนั้นด้วย
| + | |
- | | + | |
- | ครั้นพราหมณ์ออกจากวังไปแล้ว พระภรรตฤราชก็เสด็จไปสู่ตำหนักแห่งพระชายาองค์ใหม่ ประทานผลไม้แก่นางแล้วตรัสว่า "เจ้าจงกินผลไม้อำมฤตนี้เถิด ความงามของเจ้าจะอยู่ให้ข้าชมไปชั่วกาลนาน" พระชายาซึ่งมีหน้าเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ มีผมดังเมฆสีนิลโลหิตซึ่งอุ้มฝนห้อยอยู่บนฟ้า มีผิวซึ่งเย้ยดอกมะลิให้ได้อาย ฯลฯ ทรงรับผลไม้อำมฤตจากพระภรรตฤราชแล้ววางพระหัตถ์บนอุระพระสวามี จุมพิตพระเนตรแลพระโอษฐ์ พลางทูลว่า "พระองค์จงเสวยผลไม้นี้เถิด หรือมิฉะนั้นแบ่งเสวยกับข้าพเจ้าองค์ละครึ่งผลเพื่อจะได้ยืนชนมายุไปด้วยกัน ความเป็นสาวอยู่เสมอนั้น ถ้ามิได้มีชายผู้เป็นที่รักอยู่ด้วยแล้วประโยชน์อันใดจะมีเล่า" พระภรรตฤราชทรงฟังดังนั้น ก็แช่มชื่นในพระหฤทัย แต่ตรัสแก่นางว่า ผลอำมฤตนั้นต้องกินคนเดียวหมดผลจึงจะมีคุณดังกล่าว ถ้าแบ่งกินคนละครึ่งก็ไม่มีประโยชน์เลย รับสั่งเท่านั้นแล้วก็เสด็จไปจากตำหนักนาง ทิ้งผลอำมฤตไว้ให้นางเสวยตามสบาย
| + | |
- | | + | |
- | ฝ่ายพระชายาผู้มีหน้าเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ มีผมเหมือนเมฆสีนิลโลหิตซึ่งอุ้มฝนห้อยอยู่บนฟ้าฯลฯ ครั้นพระสวามีเสด็จพ้นตำหนักไปแล้ว นางก็ตรัสให้คนสนิทไปตามอำมาตย์หนุ่มผู้เป็นที่พึ่งพระหฤทัยไปที่ตำหนัก แลประทานผลอำมฤตแก่อำมาตย์หนุ่มด้วยกิริยาแลวาจาซึ่งสำแดงเสน่หาอย่างน้อย เสมอกับที่ได้แสดงต่อพระภรรตฤราชผู้สวามี อำมาตย์หนุ่มรับผลอำมฤตด้วยกิริยาแลวาจาซึ่งสำแดงเสน่หาไม่หย่อนกว่าที่นาง สำแดง แล้วกลับจากตำหนักพระชายา พบนางสนมรูปงามคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่พิศวาสของอำมาตย์หนุ่ม อำมาตย์หนุ่มก็ให้ผลอำมฤตแก่นางนั้นด้วยกิริยาแลวาจาซึ่งสำแดงเสน่หาไม่ หย่อนกว่าที่ได้แสดงต่อพระชายา ประมาณ ๕ นาทีซึ่งพ้นมาแล้ว
| + | |
- | | + | |
- | นางสนมรูปงามได้รับผลไม้สำคัญ ไม่ทราบเรื่องแต่เดิมมา คิดจะหาความชอบต่อพระภรรตฤราชโดยความฝันว่าจะได้เป็นใหญ่ จึงนำผลไม้ไปถวาย ทูลว่าเป็นผลอำมฤตซึ่งถ้าเสวยให้หมดผลจะทรงพระชนม์ยืนยาวชั่วกัลปาวสาน พระภรรตฤราชทรงรับผลอำมฤตจากนางแล้วประทานทรัพย์เป็นรางวัลมากมาย ครั้นนางออกจากที่เฝ้าแล้ว ก็ทรงถือผลไม้ในพระหัตถ์ พิศพลางทรงรำพึงว่า " มายาคือความมั่งคั่ง แลมายาคือความรักนี้มีคุณดีที่ไหนบ้าง ความชื่นบานอันเกิดแต่มายาทั้งสองนี้อยู่ได้ครู่เดียวก็กลับเป็นความขมตลอดชาติ ศฤงคารนี้เหมือนเหล้าในถ้วยของนักเลงสุรา เมื่อจิบครั้งแรกมีรสดีเอิบอาบไปทั่วกาย ยิ่งดื่มบ่อยเข้ายิ่งหย่อนรส ในที่สุดเป็นทุกข์อันหนัก ชีวิตนี้มิใช่อื่นไกล คือความหมุนเวียนแห่งความชื่นบาน ซึ่งเป็นความหลงกับความเร่าร้อนซึ่งเป็นความจริงเท่านั้น วันที่จะตื่นจากชีวิตก็คือวันที่สิ้นสุดแห่งชีวิตนั้นเอง ทางที่สองรองความตื่นจากชีวิตนี้ก็คือความเป็นดาบสไว้ศรัทธาในตบะเพื่อพระผู้เป็นเจ้าจะได้ทรงกรุณาประทานในโลกหน้า ความสุขซึ่งไม่ประทานในโลกนี้" เราได้กล่าวมาในเบื้องต้นว่า พระภรรตฤราชเป็นผู้มีหฤทัยซึมเซาชวนจะเป็นฤษีอยู่เสมอ ๆ แล้ว ถ้อยคำที่ทรงรำพึงนี้เป็นคำของคนที่ใกล้จะออกป่าเป็นดาบส เราท่านฟังดูไม่เห็นได้ความเป็นเรื่องเป็นราวอะไร เพราะเรายังห่างไกลจากความเป็นดาบสมาก แลมิได้แสวงที่จะออกป่าเป็นฤษีเลย
| + | |
- | | + | |
- | ส่วนพระภรรตฤราชนั้นเมื่อทรงรำพึงเช่นกล่าวนั้นแล้ว ก็ตกลงในหฤทัยว่าจะออกป่าเป็นโยคี แต่ยังอยากจะสนทนากับพระชายาผู้มีหน้าเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ ฯลฯ อยู่ จึงเสด็จไปตำหนักนาง ซ่อนผลอำมฤตไปด้วย ครั้นเสด็จจึงตรัสถามว่าผลอำมฤตที่ประทานนั้น นางเสวยแล้วหรือ นางทูลตอบว่า "ไฉนพระองค์จึงตรัสถามเช่นนี้ ข้าพเจ้าได้รับประทานก็กินแล้วเป็นแน่ พระองค์ทรงเห็นข้าพเจ้าสวยน้อยไปกว่าเมื่อตะกี้นี้หรือ" พระภรรตฤราชทรงหยิบผลอำมฤตออกชูให้นางดูแล้วมีดำรัสแก่ราชบุรุษอำนวยวิธีตัด หัวนางอย่างละเอียด ส่วนผลอำมฤตนั้นมีรับสั่งให้ล้างจนสิ้นมลทินที่ติดจากมือคนต่าง ๆ แล้วก็เสวยหมดทั้งผลแล้วทิ้งราชสมบัติเข้าป่าเป็นโยคี คนบางพวกกล่าวว่าพระภรรตฤราชยังทรงโยคะอยู่ในแถบเขาหิมาลัย อันเป็นที่กว้างยากที่ใครจะไปตามพบ คนบางพวกกล่าวว่า เมื่อจำเริญตบะยิ่งๆ ขึ้น ก็ได้เข้ารวมอยู่ในภาวะแห่งพระผู้เป็นเจ้า อันเป็นที่ประมวลคนดีทั่วไป
| + | |
- | | + | |
- | ส่วนราชสมบัติกรุงอุชชยินี ซึ่งว่างผู้ปกครองนั้นก็ร้อนถึงพระอินทร์ตามเคย พระอินทร์ตรัสให้อสูรตนหนึ่งชื่อ ปัถพีบาล ลงมาป้องกันกรุงอุชชยินีมิให้มีภัยมาถึง ต่อเมื่อพระวิกรมาทิตย์กลับเข้ากรุงเมื่อใด จึงให้อสูรกลับไปที่อยู่ได้ ปัถพีบาลรับเทวบัญชาดังนั้นก็มาอยู่ประจำการที่กรุงอุชชยินี เฝ้ายามทั้งวันทั้งคืนมิให้ภัยมีมาได้ ฝายพระวิกรมาทิตย์ เมื่อเสด็จพาพระโอรสปลอมเป็นโยคีเที่ยวเตร็ดเตร่ตามเมืองแลป่าต่าง ๆ ประมาณปีหนึ่งก็บังเกิดเบื่อหน่าย เพราะเสื้อผ้าเครื่องทรงไม่สบายควรแก่ราชูปโภค บางคราวก็หิว บางคราวก็ต้องต่อสู้สัตว์ป่าที่นึกว่ากษัตริย์ ๒ องค์คือเนื้อ ๒ ก้อน อนึ่งพระราชาทิ้งราชสมบัติไปนานก็คิดเป็นห่วง เกิดวิตกต่างๆ ทั้งได้ยินลือกันว่าพระภรรตฤราชทิ้งเมืองเข้าป่าเป็นฤษีไปเสียแล้ว เหตุเหล่านี้รวมกันทำให้พระวิกรมาทิตย์พาพระโอรสหันพระพักตร์สู่นคร
| + | |
- | | + | |
- | สององค์ทรงด่วนดำเนินหลายวัน ถึงประตูนครเวลาเที่ยงคืน พอจะเสด็จเข้าเมืองก็มีผู้มีกายใหญ่ยืนขวางประตูร้องถามด้วยเสียงดังสนั่นว่า "ใครมา จะไปไหน จงหยุดอยู่กับที่แลบอกชื่อไปก่อน" พระวิกรมาทิตย์ทรงโกรธเป็นกำลัง ตรัสว่า "เราคือพระราชาวิกรมาทิตย์ จะกลับเข้าสู่นครของเรา เจ้าคือใครจึงกำเริบมาห้ามฉะนี้"
| + | |
- | | + | |
- | อสูรปัถพีบาลตอบว่า "ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เทพยดาให้มารักษาเมืองนี้ ถ้าท่านคือพระวิกรมาทิตย์จริง จงมาสู้ลองฤทธิ์ดูก่อน" พระราชาตรัสว่า"ตกลง" เพราะไม่โปรดจะทำอะไรยิ่งกว่ารบ ครั้นทรงเหน็บผ้าทรงมั่นคงแล้ว ก็ตรงเข้าต่อสู้กับอสูร อสูรนั้นกำหมัดเท่าผลแตงโม ลำแขนแข็งราวตะบองเหล็ก ฟาดลงมาแต่ละครั้งดังต้นไม้ใหญ่ซึ่งพายุพัดล้มฟาดลงมา ส่วนพระราชานั้นสูงเพียงสะดือยักษ์ ยักษ์ก้มลงฟาดกำหมัดคราวไรก็ตวาดด้วยเสียงอันดัง คนที่ไม่กล้าหาญมั่นคง อาจแพ้เพราะเสียงนั้นอย่างเดียว ต่อสู้กันอยู่ครู่หนึ่ง ยักษ์เหยียบพลาดล้มลง พระราชบุตรเข้าช่วยนั่งทับอยู่บนท้องยักษ์ พระราชาขึ้นขี่อยู่บนคอ สองพระหัตถ์จิกลงไปในกระบอกตา ตรัสว่า"ถ้ายักษ์ไม่ยอมแพ้จะควักดวงตาออกเสีย" ยักษ์ร้องทูลว่า "พระองค์ได้ทีแล้ว นับว่าทำให้ข้าพเจ้าล้มได้ ข้าพเจ้ายอมถวายชีวิตของพระองค์แก่พระองค์"
| + | |
- | | + | |
- | พระวิกรมาทิตย์ทรงสำรวลแลตรัสว่า "เจ้าจะเป็นบ้าดอกกระมัง เจ้าอยู่ในอำนาจของข้าแล้ว ข้าจะตัดลมหายใจของเจ้าเสียก็ได้ในบัดนี้ เจ้าจะกลับมาให้ชีวิตของข้าแก่ข้าอย่างไรเล่า เจ้าไม่ต้องให้ชีวิตข้า ข้าก็มีชีวิตต่อไปได้"
| + | |
- | | + | |
- | ยักษ์ตอบว่า "พระองค์อย่ากล่าวเย่อหยิ่งให้เกินไป พระองค์ตั้งอยู่ในความไม่รู้ พระองค์จะสิ้นชีวิตในเร็ววันนี้เอง ถ้าข้าพเจ้าช่วยให้พระองค์พ้นภัยถึงแก่ชีวิต ก็คือข้าพเจ้าถวายชีวิตแก่พระองค์ พระองค์จงฟังเรื่องซึ่งข้าพเจ้าจะเล่าถวาย แล้วทรงตรึกตรองดูเถิด ถ้าเชื่อข้าพเจ้าแลทำตามคำข้าพเจ้า พระองค์จะทรงชนมายุยืนยาวประกอบด้วยผาสุกสวัสดี เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์ไปชั่วกาลนาน แลเมื่อถึงคราวดับพระชนม์ ก็จะดับด้วยความไม่กระสับกระส่าย"
| + | |
- | | + | |
- | พระราชาแลพระราชบุตรเสด็จลงจากตัวยักษ์ยืนอยู่ยังดิน ยักษ์ลุกขึ้นนั่งแล้วเล่าเรื่องดังต่อไปนี้
| + | |
- | | + | |
- | | + | |
- | "ในกรุงอุชชยินีมีคนเกิดในวันเดือนปีเดียวกันแลฤกษ์เดียวกัน ๓ คน คนที่ ๑ คือพระองค์ผู้ทรงนามพระวิกรมาทิตย์ คนที่ ๒ เป็นบุตรคนค้าน้ำมัน คนที่ ๓ เป็นโยคีฆ่าคนที่ ๒ ตายเสียแล้ว โยคีนั้นฆ่าคนทั้งหลายที่มีโอกาสฆ่าได้เพื่อบูชานางทุรคา ครั้นฆ่าบุตรคนค้าน้ำมันแล้ว โยคีก็ไปทำตบะห้อยตัวเองเอาหัวลงอยู่บนต้นไม้ในป่าช้า มีความคิดจะฆ่าพระองค์ผู้เป็นพระราชา แลได้ฆ่าแล้วซึ่งบุตรของตน" พระราชาตรัสถามว่า "โยคีเหตุไรจึงมีบุตร" ยักษ์ตอบว่า"ข้าพเจ้ากำลังจะเล่าอยู่เดี๋ยวนี้
| + | |
- | | + | |
- | ในเวลาซึ่งพระราชบิดาของพระองค์ยังทรงพระชนม์ครองราชสมบัติอยู่นั้น วันหนึ่งเสด็จออกเที่ยวป่า ได้ทอดพระเนตรเห็นโยคีตนหนึ่งนั่งทำตบะอยู่ในป่า ฝูงปลวกพากันมาทำรังเกาะอยู่รอบตัวโยคี สัตว์เลื้อยคลานต่างๆ พากันไต่ตามกายแลหน้า หมาร่าทำรังห้อยอยู่บนผม แต่โยคีก็มิได้รู้สึกตัว นั่งนิ่งเหมือนคนไม่มีใจ ต่อพิจารณาละเอียดจึงเห็นได้ว่ามีชีวิต พระราชาทอดพระเนตรเห็นดังนั้นก็แปลกพระหฤทัย สักครู่หนึ่งก็เสด็จคืนพระนคร ทรงม้านิ่งตรึกตรองตลอดทาง ครั้นถึงพระนครก็รับสั่งถึงโยคีนั้นร่ำไป ยิ่งทรงนึกถึงแลรับสั่งถึงก็ยิ่งใคร่ทรงทราบเรื่องแลทดลองตบะแห่งโยคีนั้น ในที่สุดมีรับสั่งให้ป่าวร้องทั่วพระนครว่าถ้าผู้ใดทำให้โยคีเข้ามาในพระนคร ได้โดยลำพังความชักชวน จะประทานรางวัลมีจำนวน ๑๐๐ เหรียญสุวรรณ
| + | |
- | | + | |
- | "ยังมีนางเวศยาคนหนึ่งชื่อ นางวสันตเสนา มีชื่อเสียงชำนาญการร้องรำทำเพลงยิ่งกว่าสามารถสำรวมฤดี นางนั้นเข้าไปเฝ้าพระราชบิดาของพระองค์ อาสาจะนำโยคีเข้ามายังท้องพระโรง แลจะให้แบกทารกมาด้วย พระราชาทรงฟังก็สงสัยคำที่นางกล่าวว่าจะทำได้แต่ประทานใบพลูแก่นางใบหนึ่งเป็นสัญญา ตกลงให้ทำตามอาสาแล้วประทานอนุญาตให้ออกจากท้องพระโรงไป
| + | |
- | | + | |
- | "นางวสันตเสนาครั้นออกจากที่เฝ้าแล้วก็ไปยังป่าเที่ยวหาโยคี พบนั่งหิวแลกระหายน้ำอยู่แทบใกล้ต้นไม้ใหญ่ มีอาการเหมือนใกล้จะสิ้นชีวิตด้วยความร้อนแลความหนาว นางจึงทำอาหารน้ำอย่างหนึ่งซึ่งมีรสหวานแหลม ค่อยย่องเข้าไปใกล้แล้วค่อยๆ ป้ายอาหารนั้นที่ปากโยคี โยคีรู้สึกถึงความหวานก็เลียอาหารนั้นเข้าไป นางก็ป้ายเติมอีกเป็นหลายครั้ง ครั้นวันที่สามโยคีค่อยมีกำลัง พอรู้สึกนิ้วป้ายที่ปากก็ลืมตาขึ้นดู เห็นนางวสันตเสนาก็ถามว่า เจ้ามาที่นี่ทำไม"
| + | |
- | | + | |
- | นางวสันตเสนาเตรียมตอบไว้แล้ว ครั้นโยคีถามดังนั้นก็ตอบว่า "ข้าพเจ้าเป็นลูกสาวเทวดา ได้กระทำพรตอยู่ในสวรรค์ บัดนี้ข้าพเจ้าลงมาพักอยู่ในป่านี้เพื่อจะถือพรตต่อไป" "โยคีเห็นนางรูปร่างงาม ก็คิดว่าการทรงพรตอยู่ใกล้ ๆนางมีโฉมเช่นนี้สำราญกว่าอยู่คนเดียวมาก จึงถามว่าที่อยู่ของนางอยู่ที่ไหน นางวสันตเสนาก็ชี้ว่าอยู่ใกล้ ๆ นั้นเอง แล้วแกะดินปลวกให้หลุดจากกายโยคี ชักชวนให้อาบน้ำชำระกาย แล้วพาไปที่กระท่อมซึ่งได้จัดให้มีผู้มาสร้างขึ้นเตรียมไว้ในป่านั้น ครั้นถึงกระท่อมได้เห็นของดี ๆ ต่าง ๆ ซึ่งควรแก่ชาวนครล้วนเป็นสิ่งซึ่งโยคีไม่เคยพบเห็น โยคีก็พิศวงยิ่งนัก นางวสันตเสนาก็อธิบายว่า นางถือพรตชนิดที่ต้องใช้ของดีที่สุดซึ่งจะหาได้ ต้องแต่งตัวให้สวย ต้องกินอาหารประกอบด้วยรสทั้ง ๖ ทั้งต้องบำรุงความรื่นเริงต่าง ๆ (ชะรอยจะทำนองเดียวกันกับชนหมู่หนึ่งซึ่งนับถือคำสั่งสอนของวัลลภาจารย์ยัง มีอยู่ในอินเดียจนถึงทุกวันนี้)
| + | |
- | | + | |
- | ครั้นไปถึงกระท่อม นางวสันตเสนาก็เลี้ยงดูโยคีเป็นอันดี ฝ่ายโยคีเมื่อได้รู้รสทั้ง ๖ ก็ชอบใจ ละพรตอย่างเก่ามาถือพรตอย่างใหม่ ถือการกินแลดื่มแทนการอด มิช้าก็ได้อยู่กินกับนางวสันตเสนาตามวิธีคนธรรพ์วิวาหะ ครั้น ๑๐ เดือนล่วงแล้วไปก็มีบุตรคนหนึ่ง ดังนี้โยคีจึงมีบุตร
| + | |
- | | + | |
- | | + | |
- | "ฝ่ายนางวสันตเสนาครั้นมีบุตรแล้ว วันหนึ่งจึงชักชวนโยคีผู้สามีว่า ดูกรท่านผู้ทรงโยคะ เราได้ถือพรตมาในป่านี้ช้านานแล้ว มาเราไปยังท่าน้ำอันเป็นบุณยสถานต่างๆ เพื่อล้างกายให้หมดบาปเป็นที่จำเริญสุขต่อไป โยคีได้ฟังดังนั้นก็เห็นชอบจึงแบกทารกผู้บุตรขึ้นบ่าแล้วออกเดินตามนางผู้ภริยา นางก็นำตรงเข้ากรุงอุชชยินี เข้ายังท้องพระโรงในเวลาที่พระราชาประทับอยู่ท่ามกลางอำมาตย์มนตรี ทอดพระเนตรเห็นนางวสันตเสนานำโยคีแบกทารกเข้ามา ก็ทรงพระสรวลตรัสว่า "อโห หญิงเวศยาไปพาโยคีแบกทารกมาแล้ว" "พวกอำมาตย์มนตรีพร้อมกันทูลว่า พระองค์ตรัสถูกแท้ หญิงคนนี้เจียวรับจะไปพาโยคีมา นางรับจะทำอันใดก็ทำอันนั้นสำเร็จแล้วทุกประการ" "พระราชาได้ทรงฟังก็ทรงพระสรวล ผู้ที่เฝ้าอยู่ก็หัวเราะขึ้นพร้อมกัน ประหนึ่งโยคีเป็นเครื่องสนุกอย่างใหญ่
| + | |
- | | + | |
- | ฝ่ายโยคีเมื่อได้ยินพระราชาตรัสแลได้ยินคนอื่นๆ พูดแล้วหัวเราะเกรียวกราวดังนั้น ก็คิดว่าพวกนี้เจียวแต่งนางไปล่อเราให้เสียผลแห่งตบะที่ได้บำเพ็ญมา ครั้นรู้สึกเช่นนั้นแล้วก็แบกลูกขึ้นบ่า สาปคนทั้งหลายที่อยู่ในที่นั้น แล้วออกจากท้องพระโรงไป คำที่โยคีสาปนั้นไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะเสียตบะเสียแล้ว"
| + | |
- | | + | |
- | "ครั้นโยคีกลับไปถึงป่าก็ฆ่าบุตรของตนเสีย แล้วเริ่มทำตบะใหม่ มาดหมายจะแก้แค้นพระราชบิดาแห่งพระองค์ บัดนี้พระราชบิดาก็สิ้นพระชนม์ไปแล้ว โยคีตั้งหน้าจะทำร้ายพระองค์ต่อไป หวังจะเอาเลือดพระราชาแลพระราชบุตรเป็นเครื่องบูชานางทุรคา เพื่อได้รับความเป็นใหญ่ในโลกเป็นรางวัล" ปัถพีบาลเล่าเรื่องจบแล้ว ก็ทูลพระวิกรมาทิตย์ว่า "ข้าพเจ้าได้กล่าวสัญญาแล้วว่าจะช่วยชีวิตพระองค์ พระองค์จงฟังข้าพเจ้าเถิด ต่อไปนี้จงระวังพระองค์ อย่าเชื่อคำผู้มีสำนักในหมู่คนตาย แลทรงจำใส่พระหฤทัยไว้ว่า ผู้ใดมุ่งจะฆ่าชีวิตพระองค์ พระองค์อาจตัดหัวผู้นั้นเสียก่อนได้โดยครองธรรม ต่อนั้นไปจะทรงครอบครองสกลโลกด้วยความสุข ปรากฏพระนามไปชั่วกาลนาน"
| + | |
- | | + | |
- | | + | |
- | ปัถพีบาลทูลเท่านั้นแล้วก็อันตรธานไป พระวิกรมาทิตย์กับพระราชบุตรก็เสด็จเข้าไปในพระนคร ฝ่ายชาวเมือง ครั้นพระราชาเสด็จคืนครองราชสมบัติก็พากันยินดี รื่นเริง ต่างแต่งกายโอ่อ่าประกวดกัน บ้างก็ร้องรำทำเพลง บ้างก็ประโคมดนตรีกึกก้องไป เนาวรัตนกวีก็แต่งกลอนยอพระเกียรติเชิดชูเป็นเครื่องจำเริญพระยศ พระราชาก็ทรงสำราญ แวดล้อมด้วยพระราชวงศ์ อำมาตย์มนตรีแลจตุรงคินีเสนา เหมือนหนึ่งสุรเทพนิกร แวดล้อมศักราเทวราชครองราชัยอยู่ในกรุงอมราวดีจัดเป็นทิพยนครฉะนั้น
| + | |
- | | + | |
- | ฝ่ายพระวิกรมาทิตย์ ครั้นสงบความรื่นเริงในการเสด็จนครแล้ว ก็ทรงปกครองประชาราฎร์โดยเยี่ยงอย่างประเสริฐ คนทำผิดก็ลงราชทัณฑ์ตามโทษานุโทษ เป็นต้นว่า อำมาตย์คนหนึ่งขึ้นชื่อว่ารับสินบนก็โปรดให้ริบทรัพย์สมบัติของอำมาตย์นั้น ไปขึ้นท้องพระคลังเสียสิ้น คนชาติต่ำคนหนึ่งมีกลิ่นเหล้าออกจากปากก็โปรดให้สักหน้าเป็นเครื่องหมายโทษ ช่างทองคนหนึ่งประกอบการฉ้อโกง ก็โปรดให้เอามีดโกนขีดเนื้อเป็นรอยยาว ๆ เหมือนฉีกผ้า คนหนึ่งเป็นคนปากร้าย พูดจาให้โทษ ก็โปรดให้เจาะที่กะโหลกหลังศีรษะแล้วเอาคีมจับลิ้นลากย้อนรอยไปออกทางช่อง ซึ่งเจาะนั้น คนฆ่าคนตายสองสามคน ก็โปรดให้เอาขึ้นเผาทั้งเป็นบนตารางเหล็ก แลโปรดให้อ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าในขณะเดียวกันให้คนเหล่านั้นพ้นโทษซึ่งน่า กลัวจะได้รับในปรโลก ส่วนการรบแย่งเมืองของผู้อื่น ก็ได้ทรงทำด้วยความสามารถ มิช้าก็มีอาณาจักรไปในสกลโลก
| + | |
- | | + | |
- | | + | |
- | วันหนึ่งพระวิกรมาทิตย์เสด็จออกว่าราชการเมือง มีพ่อค้าคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าในท้องพระโรง พ่อค้าคนนี้มาจากเมืองไกลขึ้นชื่อว่ามั่งมีนัก ครั้นได้เข้าเฝ้าก็นำผลไม้ผลหนึ่งถวายแล้วทูลลาไป เมื่อพ่อค้าไปแล้ว พระวิกรมาทิตย์ทรงดำริว่า คนที่ยักษ์บอกให้เราระวังนั้นอาจเป็นคนนี้ก็ได้ ไม่ควรเราจะกินผลไม้นี้ ทรงดำริฉะนั้นแล้วก็ตรัสเรียกชาวคลังมารับผลไม้ไปรักษาไว้ รุ่งขึ้นพ่อค้าก็เข้าไปเฝ้าอีกแลถวายผลไม้อีกผลหนึ่ง พระราชาก็ตรัสให้ชาวคลังรับผลไม้นั้นไปเก็บไว้อีก เป็นดังนี้ทุกวัน จนผลไม้มีอยู่ในคลังกองใหญ่
| + | |
- | | + | |
- | วันหนึ่งพระวิกรมาทิตย์เสด็จลงไปทอดพระเนตรม้า ณ โรงม้าต้น ประสบเวลาที่พ่อค้าไปเฝ้า พ่อค้าก็ถวายผลไม้ที่โรงม้า พระราชาทรงรับแล้วก็ทรงเดาะผลไม้นั้นเล่นแลทรงนิ่งตรึกตรองอยู่ เผอิญผลไม้ตกจากพระหัตถ์ กลิ้งไปใกล้ลิงซึ่งผูกไว้ในโรงม้าต้น สำหรับคอยรับอุปัทวันตรายต่าง ๆ มิให้เกิดแก่ม้า ลิงเห็นผลไม้กลิ้งไปใกล้ก็ฉวยเอาไปฉีกกิน ทับทิมเม็ดใหญ่งามช่วงโชติก็ตกจากผลไม้นั้น พระราชาแลข้าราชการที่ตามเสด็จต่างก็พิศวง เพราะไม่มีใครเห็นทับทิมงามเช่นนี้เลย พระวิกรมาทิตย์ทอดพระเนตรทับทิมอยู่สักครู่หนึ่ง ก็ระแวงพระพระหฤทัย ตรัสถามพ่อค้าว่า "เหตุไรเจ้าจึงให้ทรัพย์แก่เราดังเช่นทับทิมเม็ดนี้" พ่อค้าทูลว่า " คัมภีร์โบราณสอนว่า เมื่อจะไปเฝ้าพระราชา ๑ ไปหาอุปัชฌาย์ ๑ ไปหาตุลาการ ๑ ไปหาหญิงสาว ๑ ไปหาหญิงแก่ผู้มีลูกสาวซึ่งเราใคร่ได้ ๑ อย่าให้ไปมือเปล่า ข้าพเจ้าได้ถวายทับทิมเช่นเดียวกันนี้แก่พระองค์มามากแล้ว เหตุใดจึงรับสั่งแต่เม็ดนี้เม็ดเดียวเล่า ผลไม้ที่ข้าพเจ้าถวายทุกๆ วันนั้น มีทับทิมอย่างเดียวกับเม็ดนี้ซ่อนอยู่ข้างในทุกผล"
| + | |
- | | + | |
- | พระราชาได้ฟังดังนั้นก็ตรัสเรียกนายคลังให้ไปขนผลไม้มาทั้งสิ้น ครั้นขนมาแล้วก็ตรัสให้ผ่าออกดูพบทับทิมผลละเม็ดขนาดใหญ่ แลน้ำงามเสมอกันทุก ๆ เม็ด พระวิกรมาทิตย์ทอดพระเนตรเห็นก็ทรงโสมนัส จึงตรัสให้ตามพ่อค้าพลอยเข้ามาแล้วตรัสว่า " มนุษย์เราเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว จะพาสิ่งใดจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้าได้นั้นไม่มี ความทรงธรรมเป็นคุณวิเศษยิ่งสิ่งอื่นในโลกนี้ เพราะฉะนั้นเจ้าจงบอกแก่เราว่า ทับทิมเหล่านี้เม็ดหนึ่งๆ มีค่าเท่าไร"
| + | |
- | | + | |
- | พ่อค้าพลอยทูลตอบว่า "พระราชารับสั่งถูกต้องทุกประการ ผู้ใดมีธรรมในใจ ผู้นั้นเป็นเจ้าของสิ่งทั้งปวงในโลกธรรมย่อมจะเป็นเพื่อนไปในที่ทั้งปวง มีประโยชน์ทั้งในโลกนี้แลโลกหน้า อันทับทิมเหล่านี้ถ้าข้าพเจ้าทูลว่า แต่ละเม็ดมีราคาถึงสิบล้านเหรียญสุวรรณ (๑๐,๐๐๐,๐๐๐) พระองค์ก็ยังไม่ทรงทราบราคาจริงของทับทิมเม็ดหนึ่ง อันที่จริงราคาทับทิมเหล่านี้แต่ละเม็ดอาจซื้อทวีปได้ทวีปหนึ่ง จากจำนวน ๗ ทวีป ซึ่งรวมกันเป็นโลกนี้" พระราชาได้ฟังก็ทรงสำราญพระหฤทัย ประทานรางวัลแก่พ่อค้าพลอย แล้วตรัสให้พ่อค้าผู้ถวายทับทิมตามเสด็จคืนเข้าท้องพระโรง รับสั่งให้นั่งในที่อันควรแล้วตรัสว่า"ราชัยไอศวรรย์ของเราทั้งหมดไม่มีราคา ครึ่งค่อนราคาแห่งทับทิมนี้เม็ดหนึ่งๆ ท่านเป็นคนหาประโยชน์ในการค้าขาย เหตุไรท่านจึงให้ทับทิมแก่เราถึงเท่านี้"
| + | |
- | | + | |
- | พ่อค้าทูลตอบว่า "ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ คัมภีร์โบราณกล่าวว่า ข้อความบางอย่างไม่ควรกล่าวในที่ชุมนุมคือ การขอพร ๑ การร่ายมนตร์ ๑ การวางยา ๑ การกล่าวคุณความดี ๑ การในเรือน ๑ การกินอาหารที่ห้าม ๑ การกล่าวลบหลู่เพื่อนบ้าน ๑ ถ้าข้าพเจ้าได้เฝ้าเฉพาะพระองค์ ข้าพเจ้าจะทูลความประสงค์ของข้าพเจ้า การอันใดในโลกนี้ถ้าได้ยินถึง ๖ หู ก็สิ้นเป็นความลับ ถ้าได้ยินเพียง ๔ หู บางทีจะไม่มีใครทราบต่อไป ถ้าได้ยินแต่ ๒ หู แม้พระพรหมก็ไม่ทราบได้" (ตรงนี้เราท่านสมัยนี้ควรเห็นว่า ถ้า ๒ หูนั้นเป็นหูพระพรหม พระพรหมก็อาจทราบได้บ้างกระมัง) พระวิกรมาทิตย์ทรงฟังดังนั้น ก็รับสั่งให้พ่อค้าเข้าไปเฝ้าในที่ลับ แล้วตรัสว่า "ท่านได้ให้ทับทิมแก่เรามากมายฉะนี้ เรายังมิได้ทำอันใดตอบแทนท่านเลย แม้จะได้เลี้ยงอาหารจนครั้งหนึ่งก็หามิได้ ท่านจะประสงค์สิ่งใดก็จงบอกเราเถิด"
| + | |
- | | + | |
- | พ่อค้าทูลตอบว่า "ข้าพเจ้ามิใช่พ่อค้า ข้าพเจ้าเป็นโยคีชื่อ ศานติศีล ข้าพเจ้ากำลังจะกระทำพิธีอันหนึ่งในป่าช้าริมฝั่งแม่น้ำโคทาวรี เมื่อข้าพเจ้าทำสำเร็จแล้วจะได้ความเป็นใหญ่ในโลก ข้าพเจ้าขอเชิญพระองค์และพระธรรมธวัชผู้พระราชบุตรช่วยข้าพเจ้าในการนี้ เชิญเสด็จไปที่ป่าช้าคืนหนึ่ง และกระทำการตามสั่งข้าพเจ้าทุกประการ ถ้าพระองค์โปรดข้าเจ้าเช่นนี้ การพิธีของข้าพเจ้าจะสำเร็จ"
| + | |
- | | + | |
- | พระวิกรมาทิตย์ได้ยินกล่าวถึงป่าช้าก็สะดุ้งพระหฤทัย ด้วยระลึกถึงคำที่ยักษ์ทูลไว้ แต่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ทรงราบวิธีซ่อนความรู้สึกมิให้ปรากฏในกิริยาอาการ โยคีศานติศีลจะได้ทราบว่าทรงระแวงนั้นหามิได้ พระวิกรมาทิตย์ทรงนิ่งตรึกตรองอยู่ครู่หนึ่ง ทรงดำริว่าได้ลั่นพระโอษฐ์แล้ว ถ้าไม่ทำตามจะเสียคำไป จึงตรัสว่า "เราจะไปยังป่าช้าแลช่วยท่านในพิธีที่กล่าวนั้น ท่านจงบอกกำหนดวันแลเวลาเถิด" โยคีทูลว่า "เชิญเสด็จไปที่ป่าช้าจำเพาะแต่พระองค์กับพระราชบุตร มิให้มีคนตามเสด็จ แต่ให้ทรงถืออาวุธไปด้วย กำหนดวันจันทร์แรม ๑๔ ค่ำเดือนนี้" พระราชาทรงรับแม่นมั่นแล้ว โยคีก็ทูลลาจากวังไปเตรียมการสำหรับพิธีที่กล่าวนั้น
| + | |
- | | + | |
- | | + | |
- | ฝ่ายพระวิกรมาทิตย์ ครั้นโยคีทูลลาไปแล้วก็เสด็จขึ้นข้างใน ทรงดำริข้อความซึ่งประทานคำมั่นแกโยคีไม่มีทางจะถอยได้ แต่การอันนี้เป็นเครื่องซึ่งอาจให้ได้อาย จึงมิได้รับสั่งแพร่งพรายแก่ใคร แม้อำมาตย์ที่สนิทก็มิได้ตรัสให้รู้เรื่อง
| + | |
- | | + | |
- | ครั้นถึงกำหนดกลางคืนแรม ๑๔ ค่ำ พระราชากับพระราชบุตรก็เตรียมพระองค์ ทรงผ้าโพกพันไปใต้คาง ทรงถือดาบอันเป็นอาวุธคู่พระหัตถ์ สามารถสู้อริทั้งที่เป็นมนุษย์แลอมนุษย์
| + | |
- | | + | |
- | สององค์พากันเสด็จออกจากวังดำเนินไปตามถนน บ่ายพระพักตร์สู่ป่าช้าซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโคทาวรี คืนนั้นมืดนัก พายุพัดฝนตกเยือกเย็น ผู้คนไม่มีเดินไปมาในถนน พระราชาแลพระราชบุตรตั้งพระพักตร์รีบดำเนินไปจนเห็นแสงไฟอยู่กลางป่าช้า ก็เสด็จตรงเข้าไปหาแสงไฟ เมื่อถึงขอบป่าช้า พระราชาหยุดชะงัก เพราะรังเกียจเหยียบพื้นดินโสโครกด้วยซากศพ ทรงเหลียวดูพระราชบุตรเห็นมิได้ครั้นคร้ามเลย
| + | |
| | | |
- | สององค์ก็ทรงดำเนินตรงเข้าไป สักครู่หนึ่งถึงกลางป่าช้า พระราชาทอดพระเนตรเห็นสิ่งที่น่าเป็นที่รังเกียจต่าง ๆ อยู่ล้อมกองไฟซึ่งได้เผาศพใหม่ ๆ ภูตผีปิศาจปรากฏแก่ตารอบข้าง เสือคำรามอยู่ก็มี ช้างฟาดงวงอยู่ก็มี หมาในซึ่งขนเรืองๆ อยู่ในที่มืดก็กินซากศพซึ่งกระจัดกระจายเป็นชิ้นเป็นท่อน หมาจิ้งจอกก็ต่อสู้กันแย่งอาหาร คือเนื้อแลกระดูกมนุษย์ หมีก็ยืนเคี้ยวกินตับแห่งทารก ในที่ใกล้กองไฟเห็นรูปผีนั่งยืนแลลอยอยู่เป็นอันมาก ทั้งมีเสียงลมแลฝน เสียงสุนัขเห่าหอน เสียงนกเค้าแมวร้องแลเสียงกระแสน้ำไหลกลบกันไป ในท่ามกลางสิ่งน่าเกลียดน่ากลัวเหล่านี้ โยคีศานติศีลนั่งอยู่ใกล้กองไฟ มีกะโหลกศีรษะวางอยู่บนเข่า มือถือกระดูกแข้งมือละท่อน เคาะกะโหลกเป็นเพลงให้ภูตต่างๆ รำแลโลดไปมาอยู่รอบข้าง
| + | [[นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑]] |
| | | |
- | พระวิกรมาทิตย์ทรงความกล้าอย่างที่สุด ดังจะเห็นได้ในเวลาที่รบยักษ์นั้นแล้ว แต่ความกล้านั้นประกอบด้วยความระมัดระวังพระองค์ ครั้นเห็นมนุษย์แวดล้อมด้วยผีดังนั้น ก็ซ้ำคิดถึงยักษ์ เห็นเป็นช่องอันดีที่จะทำลายศัตรูซึ่งมุ่งร้ายต่อพระองค์ ทรงคิดว่าในขณะนั้น ถ้าตรงเข้าไปฟันด้วยพระแสงดาบอันคมกล้า ให้หัวโยคีขาดไป ก็จะทำได้สำเร็จประสงค์โดยง่าย แต่ทรงรำลึกว่าได้ทรงสัญญาเสียแล้วว่าจะมารับใช้โยคีในคืนวันนั้น จำต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา แลระวังพระองค์คอยหาโอกาสในเวลาข้างหน้าต่อไป
| + | [[นิทานเวตาล เรื่องที่ ๒]] |
| | | |
- | พระราชาทรงดำริฉะนี้แล้ว จึงเสด็จทรงนำพระราชบุตรเข้าไปทำกิริยาเคารพโยคีเป็นอันดี แล้วทรงนั่งลงบนพื้นดินตามคำโยคีทูลเชิญ สักครู่หนึ่งพระราชาตรัสว่า "เรามาทั้งนี้โดยสัญญาจะปฏิบัติคำสั่งแห่งท่าน ท่านจะให้เราทำอันใดจงว่าไปเถิด" โยคีทูลตอบว่า "พระองค์เสด็จมาถึงแล้ว ก็จงปฏิบัติตามประสงค์ข้อหนึ่งของข้าพเจ้าก่อน คือในทิศใต้มีป่าช้าเช่นเดียวกันนี้อีกแห่งหนึ่ง ในป่าช้านั้นมีต้นอโศก บนต้นอโศกนั้นมีศพแขวนอยู่ศพหนึ่ง พระองค์จงไปพาศพนั้นมาให้ข้าพเจ้าโดยเร็ว"
| + | [[นิทานเวตาล เรื่องที่ ๓]] |
| | | |
- | พระราชาทรงฟังดังนั้น ก็จับพระหัตถ์พระราชบุตรพากันเดินไปในทิศใต้ ทรงทราบในพระทัยว่าศานติศีลกำลังตั้งพิธีจะทำร้ายพระองค์แลพระราชวงศ์ของ พระองค์ จำเป็นพระราชาต้องคิดอุบายป้องกันมิให้โยคีกระทำการเป็นภัยแก่พระองค์ได้ ทรงพระราชดำริเช่นนี้พลางดำเนินไป ได้ยินเสียงดนตรีของโยคีแลเสียงภูตผีปิศาจต่างๆ เต้นรำทำเพลงอื้ออึงในป่าช้า ทางที่เดินนั้นมืดถึงแก่จะเดินให้ตรงมิได้ ทั้งมีภูตตามล้อหลอกให้ตกใจ บ้างก็แกล้งขวางจะให้สะดุดล้ม บ้างก็เป็นงูมาพันพระชงฆ์ บ้างก็ทำแสงวูบวาบข้างๆ ทางเดิน บ้างก็ทำเสียงดังลั่นใกล้ๆ พระองค์ แม้คนที่กล้าก็น่าหวาดเสียว ไม่อาจดำเนินต่อไปได้
| + | [[นิทานเวตาล เรื่องที่ ๔]] |
| | | |
- | แต่พระราชากับพระราชบุตรก็มิได้ถอย พากันทรงดำเนินไปจนถึงป่าช้าซึ่งโยคีทูลนั้น สักครู่หนึ่งเห็นต้นอโศกต้นใหญ่ลุกเป็นไฟแดงไปทั้งต้น พระราชาไม่ทรงย่อท้อก็เดินตรงเข้าไปประเดี๋ยวได้ยินเสียงผีร้องบอกว่า "ฆ่าเสีย ฆ่าเสียทั้งสองคน จับตัวให้ได้ ช่วยกันจับตัวเผาในไฟบนต้นไม้ให้ไหม้เป็นจุณไป ทำให้รู้สึกพิษไฟแห่งบาดาล" พระราชาไม่ทรงครั่นคร้าม ก็ตรงเข้าไปถึงต้นไม้ แต่เปลวไฟบนต้นอโศกนั้นมิได้ร้อน เพราะเป็นไฟที่ปิศาจสำแดงหลอกเท่านั้น เมื่อเข้าไปถึงโคนต้นไม้พระราชาก็หยุดพิศดูศพซึ่งแขวนอยู่บนกิ่งอโศก ศพนั้นลืมตาโพลง ลูกตาสีเขียวเรือง ๆ ผมสีน้ำตาล หน้าสีน้ำตาล ตัวผอมเห็นซี่โครงเป็นซี่ ๆ ห้อยเอาหัวลงมาทำนองค้างคาว แต่เป็นค้างคาวตัวใหญ่ที่สุด เมื่อจับถูกตัวก็เย็นชืดเหนียว ๆ เหมือนงู ปรากฏเหมือนหนึ่งไม่มีชีวิต แต่หางซึ่งเหมือนหางแพะนั้นกระดิกได้ พระ วิกรมาทิตย์ทอดพระเนตรเห็นเช่นนี้ ก็ทรงคิดว่าศพนี้คือศพลูกชายของพ่อค้าน้ำมัน ซึ่งยักษ์ได้ทูลไว้ว่าโยคีเอาไปแขวนไว้ที่ต้นไม้ ครั้นเมื่อเห็นเป็นเวตาลเช่นนี้ก็ทรงพิศวง แต่ทรงดำริว่าชะรอยโยคีจะแกล้งเปลี่ยนศพลูกชายพ่อค้าน้ำมันให้มีรูปเป็น เวตาลเพื่อจะลวงให้สนิทดอกกระมัง ทรงคิดเช่นนี้แล้ว พระราชาก็ทรงปีนขึ้นไปบนต้นไม้ ตรัสให้พระราชบุตรยืนหลีกให้ห่างออกไป แล้วทรงพระแสงดาบฟันกิ่งไม้ซึ่งเวตาลห้อยอยู่นั้นขาดตกลงยังดินทั้งเวตาล ด้วย
| + | [[นิทานเวตาล เรื่องที่ ๕]] |
| | | |
| + | [[นิทานเวตาล เรื่องที่ ๖]] |
| | | |
- | ฝ่ายเวตาลเมื่อตกถึงพื้นดินก็กัดฟันร้องเสียงเหมือนทารกซึ่งได้รับความเจ็บ พระราชาตรัสว่า "อ้ายตัวนี้มีชีวิต" แล้วเสด็จโจนลงจากต้นไม้ ตรัสถามเวตาลว่า "เอ็งนี้อะไร" ตรัสแทบจะยังไม่ทันขาดคำ เวตาลหัวเราะด้วยเสียงอันดัง แล้วกลับขึ้นไปห้อยเกาะกิ่งไม้กิ่งอื่นอยู่บนต้นไม้อย่างเก่า ห้อยพลางหัวเราะจนตัวแกว่งไปมา
| + | [[นิทานเวตาล เรื่องที่ ๗]] |
| | | |
- | ฝ่ายพระราชาทรงคิดว่า เวตาลนี้คงจะเป็นบุตรพ่อค้าน้ำมันเป็นแน่ จำจะต้องปีนขึ้นไปตัดกิ่งไม้ลงมาอีกครั้งหนึ่ง จึงตรัสแก่พระราชบุตรว่า คราวหน้าเมื่อเวตาลตกลงมาถึงพื้นดิน ก็ให้จับไว้ให้จงได้ ตรัสสั่งแล้วพระราชาทรงปีนขึ้นบนต้นไม้ ตัดกิ่งตกลงมาอีกกิ่งหนึ่งพร้อมกับเวตาล พระราชบุตรคอยอยู่ข้างล่างก็ตรงเข้าจับเวตาลไว้แน่น พระราชาเสด็จรีบลงจากต้นไม้เข้าช่วยพระราชบุตรยึดแล้วตรัสถามว่า "เอ็งนี้คือใคร" ทันใดนั้น เวตาลก็หัวเราะด้วยเสียงอันดังแล้วลื่นหลุดลอยขึ้นไปเกาะอยู่บนต้นไม้อย่างเก่า ห้อยพลางหัวเราะเย้ยอยู่บนกิ่งไม้อันสูง
| + | [[นิทานเวตาล เรื่องที่ ๘]] |
| | | |
- | ฝ่ายพระราชาเมื่อเวตาลหลุดไปได้ถึงสองครั้งเช่นนี้ ก็ทรงพิโรธ ตรัสสั่งพระราชบุตรว่า เมื่อเวตาลตกลงมาถึงพื้นดินให้ฟันหัวให้ขาดออกไป แล้วทรงปีนขึ้นต้นไม้จับผมเวตาลกระชากจนหลุดจากกิ่งไม้เกาะแล้วทิ้งลงมาถึงพื้นดิน พระราชบุตรคอยอยู่ข้างล่างก็ฟันด้วยพระแสงดาบถูกหัวเวตาลดาบบิ่นไป ปรากฏเหมือนหนึ่งฟันหิน พอพระราชาเสด็จลงจากต้นไม้มาถึงดินตรัสถามว่า"เอ็งคือใคร" แทบจะยังไม่ทันสุดสำเนียง เวตาลก็หัวเราะไปเกาะอยู่บนต้นไม้อย่างเก่า พระวิกรมาทิตย์เสด็จปีนขึ้นไป แลลงหลายครั้งก็ไม่ย่อท้อ ปรากฏความเพียรเหมือนหนึ่งว่าจะยอมปีนขึ้นปีนลงอยู่จนสิ้นยุค แต่ไม่จำเป็นต้องเพียรนานถึงเท่านั้น เพราะเวตาลยอมให้จับในครั้งที่เจ็ด แลกล่าวว่า แม้เทวดาก็ขืนใจคนหัวดื้อไม่ได้ ฝ่ายพระราชาเมื่อจับเวตาลไว้แล้ว ก็ปลดผ้าผืนหนึ่งออกจากพระองค์ผูกเป็นย่ามจะใส่เวตาล เวตาลนิ่งดูอยู่ครู่หนึ่งแล้วถามว่า "ท่านนี้คือใคร ท่านจะทำอะไร" พระราชาตรัสตอบว่า "เอ็งจงรู้ว่าข้าคือพระวิกรมาทิตย์พระราชากรุงอุชชยินี ข้าจะจับตัวเอ็งไปให้คน ๆ หนึ่ง ซึ่งเห็นสนุกในการเคาะกะโหลกหัวผีเป็นเพลงให้ผีฟัง"
| + | [[นิทานเวตาล เรื่องที่ ๙]] |
| | | |
- | เวตาลทูลตอบว่า "พระองค์ผู้เป็นราชา จงจำภาษิตโบราณไว้ว่า ลิ้นคนนั้นตัดคอคนเสียมากต่อมากแล้ว ข้าพเจ้าจะยอมตามพระหฤทัยพระองค์ แลตามเสด็จไปหาบุรุษที่ทำดนตรีด้วยกะโหลกหัวผี พระองค์จะผูกข้าพเจ้าสะพายหลังเหมือนย่ามคนขอทานก็ตามพระประสงค์ แต่พระองค์จงฟังคำข้าพเจ้าใส่พระหฤทัยไปตลอดทาง คือข้าพเจ้าเป็นผู้ช่างพูด แลทางเดินตั้งแต่ที่นี้ไปถึงป่าช้า ซึ่งเพื่อนของพระองค์นั่งทำดนตรีอยู่นั้นกินเวลาชั่วโมงเศษ ในเวลาเดินทางข้าพเจ้าจะเล่านิทานเล่น เพราะ ปราชญ์ผู้มีความรู้ย่อมใช้เวลาของตนในเรื่องหนังสือมิใช่ใช้เวลาในการนอนแลการขี้เกียจอย่างคนโง่ ในเวลาเล่านิทานนั้นข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาถามพระองค์ แลพระองค์ต้องสัญญาข้อนี้เสียก่อน ข้าพเจ้าจึงจะยอมไปด้วย คือเมื่อข้าพเจ้าตั้งปัญหาถ้าพระองค์ตอบ จะเป็นด้วยกรรมในปางก่อนบันดาลให้ตอบหรือด้วยแพ้ความฉลาดของข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าล่อให้ทรงแสดงความเย่อหยิ่งว่ามีความรู้ก็ตาม ถ้าตรัสตอบปัญหาข้าพเจ้าเมื่อใด ข้าพเจ้าจะกลับไปที่อยู่ของข้าพเจ้า ต่อเมื่อพระองค์ไม่ตอบปัญหาเพราะได้สติหรือด้วยความโง่เขลาของพระองค์ก็ตาม ข้าพเจ้าจึงจะยอมไปด้วย ข้าพเจ้าขอทูลแนะนำเสียแต่ในบัดนี้ว่า พระองค์จงสงบความหยิ่งในพระหฤทัยว่าเป็นผู้มีความรู้ เมื่อเกิดมาเป็นคนโง่แล้วก็จงยอมโง่เสียเถิด มิฉะนั้นพระองค์จะไม่ได้ประโยชน์ซึ่งนอกจากข้าพเจ้าแล้วไม่มีใครจะอำนวยได้"
| + | [[นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐]] |
| | | |
- | พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังดังนั้นก็คิดขัดเคืองในพระหฤทัย เพราะ พระราชาไม่เคยฟังใครดูหมิ่นว่าโง่ แต่ครั้นจะไม่ยอมสัญญาตามคำเวตาลก็จะไม่ได้ตัวไปดังประสงค์ ทรงดำริเช่นนี้แล้วมิได้ตรัสตอบประการใด ทรงจับเวตาลใส่ลงในย่ามยกขึ้นสะพาย แล้วตรัสให้พระราชบุตรรีบตามให้ทัน พลางเสด็จออกรีบทรงดำเนินไป ฝ่ายเวตาลครั้นออกเดินได้สักครู่หนึ่ง ก็ทูลถามปัญหาสั้น ๆ กล่าวด้วยลมแลฝนแลโคลนในถนน พระราชามิได้ตรัสตอบประการใด เวตาลจึงทูลว่า "ข้าพเจ้าจะเล่านิทานซึ่งเป็นเรื่องจริงถวายในบัดนี้ พระองค์จงฟังเถิด"
| + | [[ปลายเรื่องนิทานเวตาล|ปลายเรื่อง]] |
| | | |
- | ===นิทานเวตาลเรื่องที่ ๑===
| |
- | ===นิทานเวตาลเรื่องที่ ๒===
| |
- | ===นิทานเวตาลเรื่องที่ ๓===
| |
- | ===นิทานเวตาลเรื่องที่ ๔===
| |
- | ===นิทานเวตาลเรื่องที่ ๕===
| |
- | ===นิทานเวตาลเรื่องที่ ๖===
| |
- | ===นิทานเวตาลเรื่องที่ ๗===
| |
- | ===นิทานเวตาลเรื่องที่ ๘===
| |
- | ===นิทานเวตาลเรื่องที่ ๙===
| |
- | ===นิทานเวตาลเรื่องที่ ๑๐===
| |
- | ===ปลายเรื่อง===
| |
| == เชิงอรรถ == | | == เชิงอรรถ == |
| == ที่มา == | | == ที่มา == |
นิทานเวตาลนี้ มาจากวรรณคดีอินเดียเรื่อง เวตาลปัญจวิงศติ (นิทาน ๒๕ เรื่องของเวตาล) Sir Richard R. Burton เลือกเอา ๑๑ เรื่องจาก ๒๕ เรื่องมาแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Vikram and The Vampire
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงแปลนิทานเวตาลนี้ โดยทรงเลือก ๙ เรื่องมาจาก Vikram and The Vampire และทรงเลือกอีกเรื่องหนึ่ง (เรื่องที่ ๘) จาก King Vikram and The Ghost ของ C. H. Tawney รวมเป็นทั้งสิ้น ๑๐ เรื่องในฉบับนี้
ลิงก์ไปยังต้นฉบับภาษาอังกฤษของทุกตอน (ยกเว้นตอนที่ ๘) ได้ใส่ไว้แล้วในตอนต้นของแต่ละตอน เพื่อผู้ที่สนใจจะได้อ่านเปรียบเทียบกัน