เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 11004 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ สะเทือนกรุง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16065



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 21 พ.ค. 25, 14:35

Myanmar Fire Services Department ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูลการช่วยชีวิตและกู้ร่างของผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของเมียนมา ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๘ได้รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ซึ่งมีการสรุปล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า มีทั้งสิ้น ๓,๗๒๘ ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๕,๑๐๔ คน และมีผู้สูญหายที่ยังหาไม่พบอีก ๗๙ คน

แผ่นดินไหวครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายแก่ ๖ พื้นที่หลักของเมียนมา ได้แก่ ภาคสะกาย ภาคมัณฑะเลย์ ภาคมะกวย ภาคพะโค รัฐฉานภาคเหนือ และกรุงเนปิดอ

Myanmar Fire Services Department ยังรายงานว่า นับแต่เกิดเหตุแผ่นดินไหว ได้มีการช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ใต้อาคารหลายแห่งที่ถล่มลงมาได้ทั้งสิ้น ๖๕๓ คน กู้ร่างผู้เสียชีวิตที่ติดอยู่ภายใต้ซากอาคารเหล่านี้ขึ้นมาได้ทั้งสิ้น ๘๐๕ ราย

ข่าวจาก ผู้จัดการ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41305

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 26 พ.ค. 25, 11:43

ต้องถามว่าเรื่องนี้จริงไหม  5 ปรากฏการณ์ลึกลับหลังแผ่นดินไหว
https://www.facebook.com/watch/?v=635505899400252&rdid=YBL0JUhsql2KtjkB
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16065



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 26 พ.ค. 25, 13:35

๕ ปรากฏการณ์ลึกลับหลังแผ่นดินไหว จริงหรือไม่?



มีปรากฏการณ์บางอย่าง ในคำอธิบายของ กรมทรัพยากรธรณี ตรงกับ ปรากฏการณ์ลึกลับในคลิปข้างบน

๑. แผ่นดินไหวตาม (Aftershock)
แผ่นดินไหวตามเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ที่เกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวหลัก จากการปรับตัวของเปลือกโลกที่ได้รับแรงเครียดจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้ว่าจะมีขนาดเล็กลง แต่แผ่นดินไหวตามก็อาจก่อให้เกิดอันตรายและสร้างความเสียหายเพิ่มเติม โดยเฉพาะกับอาคารที่ได้รับความเสียหายจากแรงสั่นสะเทือนครั้งแรก

๒. หลุมยุบ (Sinkhole)
แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวอาจกระตุ้นให้โพรงใต้ดินยุบตัวลง จนเกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่บนพื้นผิวโลก ปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีชั้นดินหรือหินปูนที่ละลายน้ำได้ง่าย เช่นในบางพื้นที่ของภาคใต้ของประเทศไทย หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด ๙.๑ เมื่อปี ๒๕๔๗ ได้มีรายงานว่าหลุมยุบเกิดขึ้นจำนวนมาก สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม

๓. ทรายพุ (Liquefaction)
ปรากฏการณ์ทรายพุ หรือที่เรียกกันว่า "ทรายเดือด" เกิดขึ้นเมื่อดินที่มีน้ำแทรกซึมอยู่ได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจนสูญเสียความแข็งแรง ส่งผลให้ตะกอนทรายที่อยู่ใต้พื้นดินเคลื่อนตัวขึ้นมาสู่ผิวดินในลักษณะของโคลนเหลว ทำให้สิ่งปลูกสร้างหรือถนนที่อยู่ด้านบนทรุดตัวลง

๔. แผ่นดินถล่ม (Landslide)
แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภูเขาหรือเชิงเขา อาจทำให้ดินหรือหินที่ไม่มั่นคงเกิดการเคลื่อนตัว ส่งผลให้เกิดแผ่นดินถล่ม ปรากฏการณ์นี้สามารถทำลายบ้านเรือน เส้นทางสัญจร และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ด้านล่างได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมฉับพลันหากดินถล่มลงไปกั้นทางน้ำ

๕. น้ำใต้ดินเปลี่ยนสี (น้ำบาดาล น้ำพุร้อน น้ำผุด)
เกิดจากแรงสั่นสะเทือนในชั้นดินที่มีตะกอนโคลน และทรายอยู่ใต้ดินถูกพัดเข้ามาผสมกับน้ำใต้ดิน ทำให้น้ำมีสีขุ่นผิดปกติ และจะค่อย ๆ กลับสู่สภาพปกติได้เมื่อตะกอนตกตะกอนและชั้นน้ำใต้ดินกลับสู่สภาวะสมดุล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16065



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 28 พ.ค. 25, 12:35

ปรากฏการณ์หลังแผ่นดินไหวอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งกำลังเป็นข่าว คือ คอนโดมิเนียม ๒๑ ชั้น ซึ่งได้รับความเสียหายหลังแผ่นดินไหวใหญ่ ยังไม่ได้รับการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ผู้อยู่อาศัยไม่มีน้ำไฟใช้ ต้องเดินขึ้นลงบันไดมาตลอด ๒ เดือน



คอนโดอื่นที่ได้รับความเสียหายหลังแผ่นดินไหว น่าจะมีปัญหาทำนองนี้บ้าง แต่อาจจะเบากว่า จึงไม่เป็นข่าว ตกใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41305

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 28 พ.ค. 25, 13:00

  อ่านข่าวนี้เหมือนกัน แต่ไม่ทันคิดว่าควรนำมาลงในเรือนไทยให้อ่านกัน  ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูค่ะ
  ถ้าไม่มีน้ำไฟ (ยังไม่ต้องรวมลิฟต์ที่ใช้การไม่ได้)  คงอยู่กันไม่ได้ตั้งแต่ชั้น 1 แล้วมั้งคะ?
  นิติบุคคลทำอะไรอยู่หนอ?  น่าสงสารผู้อาศัยจริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41305

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 29 พ.ค. 25, 15:51

นำคลิปมาลง ไม่ใช่เพราะเชื่อหมอปลาย  แต่อยากรู้ว่าหลังเดือนกรกฎาคมไปแล้ว จะพบว่าเป็นนิทานหรือเปล่า
ได้ย้อนคลิปมาดูอีกครั้ง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16065



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 29 พ.ค. 25, 18:35

เรื่องแผ่นดินไหวใหญ่เดือนกรกฎาคม ปีนี้ น้องปลายน่าจะได้ข้อมูลมาจากนักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าจะปฏิเสธในนาทีที่ ๔.๑๐

เรื่องนี้คุณเทาชมพูก็เคยกล่าวถึงใน คคห.ที่ ๕๔

ทัตสึกิ เรียว ทำนายสึนามิ ๒๐๑๑ ล่วงหน้า ๑๕ ปี - วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๐๒๕ โลกทั้งใบต้องขนลุก

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41305

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 30 พ.ค. 25, 11:54

      คลิปการตูนญี่ปุ่นนั้นรู้แล้วค่ะ แต่เอาคำทำนายมาลงเพื่อจะดูว่าแม่นจริงไหม 
      ส่วนใหญ่ สื่อลงคำทำนายของหมอดู (หลายๆคนไม่ใช่คนเดียว) แต่ไม่ได้ติดตามผลว่าจริงหรือไม่    ถ้าไม่จริงก็ไม่ได้ลงข่าวว่าไม่จริง  คนอ่านก็มักจะจำได้แต่คำทำนาย แต่ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่
      ก็เลยโพสไว้  หลังเดือนกรกฎาคม จะมาดูกันอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16065



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 03 มิ.ย. 25, 13:35

วันนี้ (๓ มิถุนายน ๒๕๖๘) เกิดแผ่นดินไหวที่เมืองมาร์มาริส ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตุรกี แผ่นดินไหว ขนาด ๕.๘ ลึก ๖๘ กิโลเมตร มีศูนย์กลางอยู่ที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เวลา ๐๖.๑๗ น. ตามเวลาประเทศไทย (๐๒.๑๗ น. ตามเวลาท้องถิ่น) ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกรีบออกจากอาคาร บางรายกระโดดจากอาคารสูง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ๑ ราย เป็นเด็กหญิงวัย ๑๔ ปี ซึ่งเสียชีวิตจากอาการช็อกจากความตื่นตระหนก และบาดเจ็บอย่างน้อย ๗๐ คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บขณะพยายามหนีออกจากอาคารเพื่อเอาชีวิตรอด โดยแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้ รู้สึกได้ถึงกรีซและอียิปต์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16065



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 17 มิ.ย. 25, 09:35

เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๘ เวลา ๒๓.๓๕ น. ตามเวลาประเทศไทย (๑๑.๓๕ น. ตามเวลาท้องถิ่น) เกิดเหตุแผ่นดินไหวความรุนแรงขนาด ๕.๖ ตามรายงานของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ (USGS) (ตามรายงานของเปรู ความรุนแรงขนาด ๖.๑) ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองคัลเลาไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ๒๓ กิโลเมตร นอกชายฝั่งตอนกลางของเปรู ส่งผลให้เมืองหลวง กรุงลิมา และเมืองท่าคัลเลา ได้รับแรงสั่นสะเทือน มีผู้เสียชีวิต ๑ ราย และได้รับบาดเจ็บ ๕ ราย



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41305

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 23 มิ.ย. 25, 14:27

19 มิถุนายน 2568 ( 08:59 )

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.1 แมกนิจูด บริเวณนอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเนมุโระ (Nemuro Peninsula) ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2568
ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ที่พิกัดละติจูด 42.8 องศาเหนือ และลองจิจูด 146.4 องศาตะวันออก โดยเบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ และไม่มีการประกาศเตือนภัยสึนามิ

แม้จะไม่เกิดผลกระทบที่ชัดเจนในพื้นที่ใกล้เคียง แต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศของความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค เนื่องจากข่าวลือบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับ “ซูเปอร์แผ่นดินไหว” ที่อ้างว่าจะเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2568 ซึ่งแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านมังงะและโซเชียลมีเดีย จนทำให้สายการบิน Hong Kong Airlines ตัดสินใจลดจำนวนเที่ยวบินที่เดินทางไปยังญี่ปุ่นตอนใต้ชั่วคราว

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวสูง เนื่องจากตั้งอยู่บนแนววงแหวนไฟ (Ring of Fire) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกอย่างเข้มข้น โดยหน่วยงานท้องถิ่นยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเตือนให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือในกรณีที่มีแรงสั่นสะเทือนตามมา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16065



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 23 มิ.ย. 25, 15:35

ในรอบ ๗ วันที่ผ่านมา (๑๗-๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๘) ที่ประเทศญี่ปุ่น มีแผ่นดินไหวที่ค่อนข้างใหญ่อยู่ ๒ ครั้ง คือ

วันที่ ๑๙ มิ.ย. เวลาไทย ๖.๐๘ น. ความรุนแรง USGS ๕.๙ รายงานของญี่ปุ่น ๖.๑
วันที่ ๒๒ มิ.ย. เวลาไทย ๔.๒๓ น. ความรุนแรง USGS ๖.๐ รายงานของญี่ปุ่น ๕.๙

ความรุนแรงขนาดนี้ ถ้าเป็นในบางประเทศอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ แต่ในประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากมีการเตรียมในการก่อสร้างสำหรับการเกิดแผ่นดินไหวไว้แล้ว จึงไม่เกิดความเสียหายอันใด


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16065



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 25 มิ.ย. 25, 09:35

ในรอบ ๔ วันที่ผ่านมา ตั้งแต่เช้าตรู่ของวันที่ ๒๑ มิถุนายน จนถึงเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันที่ ๒๔ มิถุนายน เกิดแผ่นดินไหวซึ่งส่วนมากเป็นขนาดเล็กทั้งหมด ๓๒๗ ครั้ง ที่หมู่เกาะโทคาระ จังหวัดคาโกชิมา ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น

เด็กนักเรียนบนเกาะต้องสวมหมวกกันน็อกขณะเรียน เพราะไม่รู้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อใด ผู้อำนวยการโรงเรียนบอกว่า เด็กบางคนที่เคยร่าเริง เริ่มมีสีหน้าไม่สดใส หวังให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว ชาวบ้านว่า แรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นทั้งแนวตั้งและแนวนอน พร้อมเสียงดังคล้ายระเบิด

หน่วยงานท้องถิ่นยังคงอยู่ในโหมดเฝ้าระวังตลอด ๒๔ ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า บริเวณนี้เป็นแหล่งเกิดแผ่นดินไหวตามธรรมชาติ และหากแรงสั่นสะเทือนรุนแรง อาจทำให้เกิดดินถล่มใต้ทะเล ซึ่งมีโอกาสก่อให้เกิดสึนามิ กรมอุตุญี่ปุ่นเตือนประชาชนให้เตรียมพร้อมรับมือเหตุแผ่นดินไหวที่อาจเกิดต่อเนื่องในช่วงนี้

ข้อมูลแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น สามารถดูได้จาก สำนักอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่น

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16065



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 28 มิ.ย. 25, 09:35

ที่หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ประเทศอินเดีย ในทะเลอันดามัน ห่างจากจังหวัดพังงาประเทศไทย ๔๕๔ กิโลเมตร เกิดแผ่นดินไหว ขนาด ๓-๕ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๘ เวลา ๑๕.๑๖ น. จนถึงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๘ เวลา ๒๑.๕๘ น. จำนวน ๗๗ ครั้ง

ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นต่อปรากฏการณ์นี้ในเฟซบุ๊ก มิตรเอิร์ธ - mitrearth ว่า จากกรณีแผ่นดินไหวขนาด 3.x-5.x ที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งอันดามันของไทยในช่วง ๒-๓ วันที่ผ่านมา พบว่าบริเวณดังกล่าวมีภูเขาไฟซ่อนอยู่ใต้ทะเลหลายลูก เป็นภูเขาไฟที่มีพลัง ภูเขาไฟใต้น้ำชุดนี้มีพฤติกรรมเหมือนภูเขาไฟบนเกาะสุมาตรา รวมถึงภูเขาไฟกรากะตัว (Krakatoa) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการประทุแบบรุนแรงและให้ฝุ่นเถ้า มากกว่าให้ลาวาไหลหลากแบบเอื่อย ๆ

ภูเขาไฟให้เถ้า ถ้าประทุใต้น้ำสามารถทำให้เกิดสึนามิได้ เหมือนกับ การปะทุของภูเขาไฟกรากะตัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ที่ทำให้สึนามิสูง ๔๐ เมตร มีผู้เสียชีวิตถึง ๓๖,๐๐๐ ราย สึนามิจากภูเขาไฟจะมีความสูงมากกว่าสึนามิจากเรื่องแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ดังนั้น กลุ่มภูเขาไฟพวกนี้ มีโอกาสสร้างสึนามิซัดเข้าฝั่งอันดามันของไทยได้เช่นกัน และมีโอกาสเป็นสึนามิที่สูงกว่าสึนามิเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามหลักภูมิศาสตร์ หากเกิดสึนามิเกิดจากภูเขาไฟลูกใดลูกหนึ่งในกลุ่มนี้ เวลาในการเดินทางจะน้อย เหตุการณ์สึนามิในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งครั้งนั้นใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที กว่าน้ำจะถึงฝั่ง ดังนั้นหากภูเขาไฟชุดนี้ประทุจะใช้เวลาน้อยกว่านั้น (ประมาณ ๑ ชั่วโมงหรือสั้นกว่านั้น ขึ้นอยู่กับทิศทางการปะทุใต้ทะเล)

โดยธรรมชาติของภูเขาไฟทั่วโลก ก่อนที่จะปะทุมักเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือปานกลาง อันเนื่องมาจากความพยายามของแมกมา ที่จะแทรกดันขึ้นมา ดังนั้นกลุ่มแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจึงอาจเป็นสัญญาณเตือน (precursor) การประทุของภูเขาไฟ (แต่บอกไม่ได้ว่าต้องแผ่นดินไหวกี่ครั้ง ถึงจะปะทุ บางครั้งก็แผ่นดินไหวนิดหน่อยก่อนปะทุ เซนต์ เฮเลนส์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เกิดแผ่นดินไหวเป็นพันครั้งก่อนปะทุ) จากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต (รวม ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาจากฐานข้อมูล USGS) พบว่าพื้นที่โดยรอบกลุ่มภูเขาไฟใต้ทะเลอันดามันดังกล่าว เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กและปานกลางจำนวนมากกว่า ๑,๐๐๐ ครั้ง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ (Aswini และคณะ, ๒๐๒๐) สรุปจากการศึกษาในรายละเอียดแล้วว่าเกิดจากการแทรกดันของแมกมาจากที่ลึกสู่ที่ตื้นจริง ๆ เพียงแต่อาจจะยังไม่ถึงเวลาปะทุอย่างจริงจรัง

ดังนั้นโดยสรุป ภาคใต้ฝั่งอันดามันของไทย มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบด้านพิบัติภัยสึนามิ อันเนื่องมาจากภูเขาไฟชุดนี้ ในอนาคต

ข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทยและบริเวณใกล้เคียง สามารถดูได้จาก กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา



แนวภูเขาไฟใต้ทะเลและพื้นหลังหลากสี แสดงถึงความหนาแน่นของการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41305

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 28 มิ.ย. 25, 11:18

นึกถึงคำทำนายในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นขึ้นมาอีกแล้ว   คุณเพ็ญชมพูเห็นว่าจะมีโอกาสเป็นจริงไหมคะ


ทัตสึกิ เรียว ทำนายสึนามิ 2011 ล่วงหน้า 15 ปี – คำทำนายปี 2025 ที่โลกทั้งใบต้องขนลุก (16:35)(5/4/25)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง