เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 10330 ถนนสู่ทำเนียบขาวพาดผ่านเพนซิลเวเนีย
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


 เมื่อ 09 ต.ค. 24, 09:24

เหลืออีกแค่เดือนเดียวก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41307

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ต.ค. 24, 10:20

มานั่งรอแถวหน้า
สังหรณ์ใจว่าเราจะได้ลุงเจ้าเก่ากลับมา ค่ะ ลังเล
ถ้าลุงแกกลับมาได้  อยากรู้อยู่เรื่องเดียวว่าแกจะจัดการกับเจ้าชายแฮรี่ เรื่องเข้าอเมริกาได้ทั้งๆมีประวัติเสพยา อย่างที่แกเคยพูด จริงหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ต.ค. 24, 10:44

เหลืออีกแค่เดือนเดียวก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41307

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ต.ค. 24, 11:48

คุณปัญจมาโพสข้อความไม่ได้ค่ะ  ส่งไลน์มาบอกว่ามันขึ้นบรรทัดเดียว
ระบบตอบมาตามนี้ค่ะ
ดิฉันส่งข้อความหลังไมค์ถึงแอดมินไม่ได้ค่ะ  มันไม่ไป เลยต้องมาแจ้งทางนี้


บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 ต.ค. 24, 12:30

เหลืออีกแค่เดือนเดียวก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ต.ค. 24, 12:33

เหลืออีกแค่เดือนเดียวก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดี
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ต.ค. 24, 12:34

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02hCXbLxwYWHxXUBfMMC7AzqjyXhg6cPCNTYaqLwS1GyCDVJPFipQcxaubrcMBak8Bl&id=61564539505812

บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 ต.ค. 24, 12:37

ลองกี่ทีก็ไม่ได้ค่ะ  ขนาดเช็ค preview แล้วดูเหมือนจะโอเค แต่พอกดส่งก็ไม่ไป  เลยเอา linkจากเพจมาแปะให้นะคะ  ใครที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับภูมิศาสตร์และประชากรศาสตร์ของการเลือกตั้งปธน.ในเพนซิลเวเนียมีรายละเอียดยาวๆ ให้อ่านที่ัเพจพร้อมภาพประกอบค่ะ
บันทึกการเข้า
admin
เทพารักษ์
มัจฉานุ
*****
ตอบ: 52


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ต.ค. 24, 13:26

ปกติกด send anyway จะส่งผ่านได้นะครับ เพราะ reurnthai ยังไม่ได้ใช้ https จะทำให้ browser บางตัวเตือนแบบนี้ครับ ผมจะลองดูครับว่าจะเปลี่ยนไปใช้ https ยังไงครับ

แต่กรณีนี้คุณปัญจมามีปัญหาเฉพาะส่งบางข้อความหรือครับ ใช้ brwoser ตัวเดียวกันบนเครื่องเดียวกัน แต่ส่งข้อความบางข้อความได้ แต่บาบอันไม่ได้อย่างนี้หรือครับ อันนี้ถือว่าแปลกครับ ถ้าใข่ น่าสงสัยว่าจะเป็น bug ของ app หรือ iOS ครับ
บันทึกการเข้า
ภศุสรร อมร
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ต.ค. 24, 17:15

คุณปัญจมาโพสข้อความไม่ได้ค่ะ  ส่งไลน์มาบอกว่ามันขึ้นบรรทัดเดียว
ระบบตอบมาตามนี้ค่ะ
ดิฉันส่งข้อความหลังไมค์ถึงแอดมินไม่ได้ค่ะ  มันไม่ไป เลยต้องมาแจ้งทางนี้

ผมเองตอนส่งข้อความเจอปัญหานี้เช่นเดียวกันครับ ขึ้นมาเป็นขอความแบบเดียวกัน
พึ่งเป็นมาในไม่กี่วันนี้ แต่ถ้ากด send anyway ก็ส่งได้เหมือนกันครับ
แอบแปลกใจนักว่ามันเป็นเช่นนี้เพราะเหตุอันใดกันนี่
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 ต.ค. 24, 09:51

ปกติกด send anyway จะส่งผ่านได้นะครับ เพราะ reurnthai ยังไม่ได้ใช้ https จะทำให้ browser บางตัวเตือนแบบนี้ครับ ผมจะลองดูครับว่าจะเปลี่ยนไปใช้ https ยังไงครับ

แต่กรณีนี้คุณปัญจมามีปัญหาเฉพาะส่งบางข้อความหรือครับ ใช้ brwoser ตัวเดียวกันบนเครื่องเดียวกัน แต่ส่งข้อความบางข้อความได้ แต่บาบอันไม่ได้อย่างนี้หรือครับ อันนี้ถือว่าแปลกครับ ถ้าใข่ น่าสงสัยว่าจะเป็น bug ของ app หรือ iOS ครับ

เป็นทั้งไอแพด ไอโฟน และ desktop ค่ะ จึงไม่น่าจะเป็นที่ iOS  แต่เป็นเฉพาะเวลา copy and paste ถ้าใช้คีย์บอร์ดพิมพ์ข้อความจะไม่มี send anyway box มาเตือน และพอกดส่งแล้วไม่มีข้อความไหนถูกตัดเหมือนเวลา copy and paste 
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ต.ค. 24, 09:56

เหลืออีกแค่เดือนเดียวก็จะถึงวันเลือกตั้งปธน.สหรัฐแล้ว  ถึงแม้ว่าการแข่งขันมันจะสูสีกันจนไม่มีใครกล้าฟันธงว่าโดนัลด์ ทรัมป์หรือคามาล่า แฮร์ริสกันแน่ที่จะได้รับชัยชนะ  แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนบอกได้ก็คือถ้าใครพ่ายแพ้ในรัฐเพนซิลเวเนีย  โอกาสที่เขาหรือเธอจะชนะเลือกตั้งก็น่าจะริบหรี่

เพราะอะไรเพนซิลเวเนียถึงเป็นสนามรบที่สำคัญที่สุดในการแข่งขันครั้งนี้  เราพยายามไปหาคำตอบมาให้ข้างล่าง
_ _ _ _

อันนี้เป็นการทดสอบด้วยการพิมพ์แทน copy and paste นะคะ
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 ต.ค. 24, 09:59

ปกติกด send anyway จะส่งผ่านได้นะครับ เพราะ reurnthai ยังไม่ได้ใช้ https จะทำให้ browser บางตัวเตือนแบบนี้ครับ ผมจะลองดูครับว่าจะเปลี่ยนไปใช้ https ยังไงครับ

แต่กรณีนี้คุณปัญจมามีปัญหาเฉพาะส่งบางข้อความหรือครับ ใช้ brwoser ตัวเดียวกันบนเครื่องเดียวกัน แต่ส่งข้อความบางข้อความได้ แต่บาบอันไม่ได้อย่างนี้หรือครับ อันนี้ถือว่าแปลกครับ ถ้าใข่ น่าสงสัยว่าจะเป็น bug ของ app หรือ iOS ครับ

ต่อไปนี้ลองตอบคอมเม้นท์ของท่านอื่นด้วยการ copy and paste

_ _ _ _

เหลืออีกแค่เดือนเดียวก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแล้ว ถึงแม้ว่าการแข่งขันมันจะยังสูสีจนไม่มีใครกล้าฟันธงว่าโดนัลด์ ทรัมป์หรือคามาล่า แฮร์ริสกันแน่ที่จะได้รับชัยชนะ แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนบอกได้ก็คือถ้าผู้สมัครคนไหนพ่ายแพ้ในรัฐเพนซิลเวเนีย โอกาสที่เขาหรือเธอจะชนะเลือกตั้งก็น่าจะริบหรี่

เพราะอะไรเพนซิลเวเนียถึงได้กลายเป็นสนามรบที่สำคัญที่สุดสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ เราพยายามไปค้นหาคำตอบมาให้ข้างล่าง
_ _ _ _

Swing States

ก่อนพี่ทรัมป์จะรุ่งเรืองนั้น การคาดเดาผลการเลือกตั้งปธน.สหรัฐฯ มันยังไม่ค่อยยากเท่าไหร่ เพราะมีประมาณ 20 รัฐที่เลือกแต่ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตและอีกประมาณ 20 รัฐที่เลือกแต่ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน ที่เหลืออีก 10 รัฐก็กลับไปกลับมา เป็นอย่างนี้ติดต่อกันมานานหลายทศวรรษแล้ว มันเลยง่ายต่อการคำนวณว่าใครมีคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง (electors) อยู่ในมือมากกว่าใคร และต้องหาเพิ่มอีกเท่าไหร่ถึงจะได้ 270

พอพี่ทรัมป์ลงแข่งในปี 2016 ก็ทำเอาช็อคซีเนม่ากันไปทั้งประเทศ เพราะรัฐที่เคยลงคะแนนให้พรรคเดโมแครตมา 6-7 ครั้งติดต่อกันอย่างมิชิแกน เพนซิลเวเนีย และวิสคอนซินพากันเฮโลไปเลือกเฮียทรัมป์กันหมด แต่พอเลือกตั้งครั้งถัดไปในปี 2020 อี 3 รัฐนี้ก็พลิกกลับไปเลือกโจ ไบเดน แถมคุณปู่โจยังชนะทรัมป์ในจอร์เจียกับแอริโซน่าซึ่งปกติแล้วจะเป็นรัฐที่เราเรียกกันว่า Red States อีกด้วย แกเลยเข้าวินฉลุยด้วยคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง 306 ต่อ 232 ของเฮียทรัมป์

นอกจาก 5 รัฐข้างบนที่เดโมแครตต้องหนีบไว้ให้แน่นและรีพับลิกันต้องช่วงชิงกลับมาให้ได้แล้ว ก็ยังมีเนวาด้ากับนอร์ธ แคโรไลน่าที่เคยมีประวัติกลับไปกลับมาระหว่างเดโมแครตกับรีพับลิกันอยู่บ้าง รอบนี้เลยมีรัฐสมรภูมิ 7 รัฐที่ทั้งสองฝ่ายต้องแข่งกันอย่างถึงพริกถึงขิง

ในการเลือกตั้งปธน. 2 ครั้งที่ผ่านมา ผู้ชนะในรัฐสมรภูมิบางรัฐมีคะแนนเฉือนคู่ต่อสู้ไปแค่ 10,000 กว่าๆ เท่านั้น เสียงทุกเสียงใน 7 รัฐดังกล่าวจึงมีความหมายมากถึงมากที่สุด คราวนี้เราเลยได้เห็นแต่ละพรรคใช้กลยุทธอัดโฆษณาหาเสียงไขว้กลุ่มเพื่อโน้มน้าวคนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจในแต่ละรัฐกันใหญ่ บางที่โฆษณาของเฮียทรัมป์ก็ไปปรากฎตามสื่อที่ผู้ติดตามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง คนผิวดำ หรือลาติโน่ บางทีโฆษณาของคุณกมลาก็ไปออกในรายการที่ผู้ติดตามส่วนใหญ่เป็นคนอนุรักษ์นิยมผิวขาว มีรายงานว่าอย่างน้อย 30% ของเงินบริจาคที่คุณกมลาได้รับถูกนำไปใช้กับการซื้อโฆษณา
_ _ _ _

ถนนสู่ทำเนียบขาวพาดผ่านเพนซิลเวเนีย

เพนซิลเวเนียตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา เป็นรัฐที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 และประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของอเมริกา (13 ล้านคน) มีค่ามัธยฐานของรายได้ครัวเรือนอยู่ที่ประมาณ $73,000 (เทียบกับ $80,000 ของประเทศ) เมืองที่ดังที่สุดของรัฐคือฟิลาเดลเฟีย พิตต์สเบิร์ก และอัลเลนทาวน์

ระบบเลือกตั้งของเพนซิลเวเนียเป็นระบบ Winner-Takes-All ใครได้คะแนนมากกว่าอีกฝ่ายก็ได้เสียงจากคณะผู้เลือกตั้งของรัฐทั้งหมด 19 เสียงไปเลย และด้วยเหตุที่คะแนนเสียงจาก Electoral College ของรัฐมันสูงที่สุดในบรรดา Swing States ทั้งหมด เพนซิลเวเนียจึงมีความสำคัญมากเป็นพิเศษต่อการเลือกตั้งปธน.ครั้งนี้

ระหว่างปี 1992-2012 เพนซิลเวเนี่ยนส่วนใหญ่ปักใจอยู่กับพรรคเดโมแครต พอถึงปี 2016 พี่ทรัมป์เกิดเอาชนะในรัฐนี้ได้ด้วยคะแนนมากกว่าคุณฮิลลารี่ คลินตันแค่ 68,000 คะแนน แต่ไปแพ้คุณปู่ไบเดน 81,000 คะแนนในปี 2020 ส่วนรอบนี้ในโพลต่างๆ ที่ทำมาตั้งแต่คุณกมลาเข้าสู่สนามแข่ง ทั้งสองฝ่ายก็ผลัดกันนำผลัดกันตาม

ถึงเราจะบอกไม่ได้ว่าใครจะเข้าวินในรัฐนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัวร์ไม่มั่วนิ่มก็คือพี่ทรัมป์ต้องชนะในเพนซิลเวเนีย จอร์เจีย และนอร์ธ แคโรไลน่าถึงจะกวาดคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งได้ครบ 270 ส่วนคุณกมลาก็ต้องได้เพนซิลเวเนีย มิชิแกน และวิสคอนซินถึงจะชนะ

ด้วยเหตุนี้เองผู้สมัครทั้งสองฝ่ายจึงทุ่มทุนสร้างกับเพนซิลเวเนียมาก ทั้งเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ของแต่ละทีมต่างก็แวะเวียนมาตั้งเวทีปราศรัยในรัฐนี้กันอาทิตย์ละหนก็ว่าได้ (ลองนึกดูละกันว่าถ้าพิธากับลุงตู่มาหาเสียงในจังหวัดเราอาทิตย์ละหนมันจะบอกอะไรเราได้บ้าง)

ตั้งแต่เดือนกย.จนถึงวันเลือกตั้ง ยอดเงินที่ทั้ง 2 พรรคทุ่มให้กับค่าโฆษณาตามสื่อต่างๆ ของรัฐรวมกันก็ปาเข้าไปตั้ง 140 ล้านเหรียญ คนในท้องถิ่นถึงกับบ่นว่าเปิดทีวีหรือวิทยุทีไรก็ได้ยินแต่โฆษณาโจมตีพี่ทรัมป์กับโฆษณาโจมตีคุณกมลา ส่วนคนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกใครนั้นก็กำลังโดนมะรุมมะตุ้มกันยกใหญ่โดยอาสาสมัครของแต่ละพรรค คนทำโพล และนักข่าว บางคนยอมให้สื่อสัมภาษณ์ได้แต่ไม่ยอมให้ลงชื่อนามสกุลจริงเพราะขี้เกียจจะรับโทรศัพท์กันไม่หวาดไม่ไหว 555

นอกจากจะเป็น Swing State ที่ถูกจับตามองมากที่สุดแล้ว เพนซิลเวเนียก็ยังกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา เพราะเป็นที่ตั้งของเมืองเล็กๆ ชื่อบัทเลอร์ - - เมืองที่พี่ทรัมป์ไปถูกมือปืนวัยละอ่อนลอบยิงระหว่างปราศรัยกลางทุ่งเมื่อเดือนกค.นั่นแหละค่ะ
_ _ _ _
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 10 ต.ค. 24, 10:01

ต่อไปนี้ลอง copy and paste ในการสร้างคำตอบใหม่  ไม่ใช่อ้างถึงคำตอบของท่านอื่น
_ _ _ _

กระจกเงาที่สะท้อนภาพของอเมริกา

สื่ออเมริกันบอกว่าเพนซิลเวเนียน่าจะเป็นรัฐที่เดาใจได้ยากที่สุดแล้วในบรรดา Swing States ทั้งหลาย แต่ผลการเลือกตั้งปธน.ในรัฐนี้ก็น่าจะเป็นตัวชี้วัดผลของทั้งประเทศได้ดีที่สุดเช่นเดียวกัน
ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะเพนซิลเวเนียคือภาพสะท้อนที่แจ่มชัดของอเมริกาในยุคปัจจุบัน ยุคที่ผู้คนแบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนแม้แต่คนในครอบครัวเดียวกันก็ยังมองหน้ากันไม่ติด เช่นเดียวกับอเมริกา เพนซิลเวเนียไม่ได้มีแต่เมืองใหญ่ที่รุ่มรวยวัฒนธรรมและเต็มไปด้วยตึกระฟ้า แต่ยังอุดมไปด้วยป่าเขาลำเนาไพร พื้นที่เกษตรกรรม และชนบท ประชากร 12% ของเพนซิลเวเนียมีรายได้ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน ประชากรในชนบทของรัฐมี 3.5 ล้านคน (มากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ) 22% ของแรงงานในรัฐเป็นแรงงานที่ไม่มีวุฒิการศึกษา

เพนซิลเวเนียเป็นรัฐที่มีผู้สูงอายุมากเป็นอันดับ 9 ของประเทศ (20% ของประชากรทั้งหมด) 74% ของเพนซิลเวเนี่ยนเป็นคนผิวขาว 12% เป็นคนผิวดำ 9% เป็นลาติโน่ กลุ่มหลังนี่เป็นกลุ่มประชากรที่มีอัตราขยายตัวสูงสุดใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา (80%) 51% ของประชากรเพนซิลเวเนียเป็นผู้หญิง

ในปีนี้เพนซิลเวเนียมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งประมาณ 9 ล้านคน 44% เป็นเดโมแครต 40.2% เป็นรีพับลิกัน ผู้ว่าการรัฐและวุฒิสมาชิก 2 คนในรัฐสภาสหรัฐฯ เป็นเดโมแครต. สส.ในรัฐสภาฯ 9 คนเป็นเดโมแครต ที่เหลือ 8 คนเป็นรีพับลิกัน

ถ้าดูแผนที่แสดงผลการเลือกตั้งปธน.ในปี 2016 และ 2020 เราจะเห็นสีฟ้าของพรรเดโมแครตอยู่หรอมแหรมท่ามกลางสีแดงเถือกของรีพับลิกัน อธิบายแบบเหมารวมได้ว่าเป็นการสะท้อนความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ระหว่างคนที่มีฐานะและการศึกษาสูงกับคนรายได้น้อยและการศึกษาต่ำ แต่การวิเคราะห์เจาะลึกของนสพ. Philadelphia Inquirer ชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างหลากหลายในรัฐนี้มันมีมากกว่าที่เห็นจากสถิติ นอกจากนั้น ในแต่ละกลุ่มประชากรก็ยังมีกลุ่มย่อยที่อาจจะมีพฤติกรรมขัดแย้งกับภาพรวมของกลุ่มด้วย

สิ่งหนึ่งที่เพนซิลเวเนี่ยนมีเหมือนๆ กันคือความกังวลเรื่องปากท้อง ปัญหาข้าวของแพง กำลังซื้อหดตัว ค่าเช่าบ้านแพงจนสู้ไม่ไหว ฯลฯ

การเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมออกนอกรัฐในปลายศตวรรษที่ 20 ส่งผลกระทบที่หนักหน่วงและยาวนานต่อผู้ใช้แรงงานผิวขาวซึ่งไม่มีวุฒิการศึกษา การปิดตัวของโรงงานและเหมืองแร่ทำให้เมืองที่เคยเป็นแหล่งผลิตอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องเสื่อมโทรมลง บางเมืองก็ฟื้นตัวได้ บางเมืองก็ไม่ได้ ประชากรจำนวนมากโยกย้ายออกจากเพนซิลเวเนียเพื่อไปเสาะหาโอกาสที่ดีกว่า ปัญหาเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ ในการตัดสินใจเลือกตั้งของคนในรัฐนี้
_ _ _ _
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 247


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 10 ต.ค. 24, 10:05

อันนี้ทดสอบการ copy and paste ในไอแพดนะคะ  (ข้างบนนั่นใช้ PC ค่ะ)

. . ..

เมื่อฐานคะแนนเสียงซึ่งเคยเป็นฐานที่มั่นคงในอดีตมีพฤติกรรมในการโหวตที่ไม่เหมือนเดิม  เพนซิลเวเนียจึงกลายเป็นมาตรวัดที่ดียิ่งสำหรับการเลือกตั้งของทั้งประเทศในรอบนี้   โพลล่าสุดชี้ว่า  คุณกมลามีคะแนนนำเฮียทรัมป์อยู่ไม่ถึง 1 จุด เรียกว่ายังหายใจรดต้นคอกันอยู่

สิ่งเดียวที่แต่ละฝ่ายจะทำได้คือต้องพยายามกระตุ้นให้ผู้สนับสนุนพรรคออกไปลงคะแนนกันให้มากที่สุด   และเก็บคะแนนจากประชากรแต่ละกลุ่มให้ได้มากที่สุด   ต่อให้แพ้ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็ขอให้ตัดคะแนนของคู่แข่งในกลุ่มนั้นลงได้บ้างก็ยังดี  เพราะเมื่อเอาคะแนนไปนับรวมกันทั้งรัฐแล้ว   ถึงผลที่ออกมาจะต่างกันแค่ไม่กี่หมื่นแต่ก็อาจพลิกสถานการณ์จากแพ้เป็นชนะได้   #เลือกตั้งสหรัฐ  #ข่าวต่างประเทศ #เพนซิลเวเนีย
_ _ _ _

ข้อมูลบางส่วนจาก Philadelphia Inquirer, The Economist, AP, Newsweek, Time

อ่านคำอธิยายจากสถานทูตสหรัฐฯ เรื่อง Electoral College และ electors ที่นี่: https://thaipublica.org/2020/10/us-election-how-american-elect-president/)

คำอธิบายสั้นๆ เรื่อง Blue States, Red States และ Swing States:
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=122116471514484650&id=61564539505812)

คำอธิบายเกี่ยวกับรัฐที่ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุคหลังอุตสาหกรรม หรือ Rust Belt State: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=122117041700484650&id=61564539505812)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง