เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23]
  พิมพ์  
อ่าน: 68277 สัตว์ประหลาด ๖
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16068



ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 27 พ.ค. 25, 09:35

มอม❓ที่วัดฮินดู ปุราดาเล็ม (Pura Dalem) เมืองอูบุด (Ubud) บาหลี อินโดนีเซีย

ภาพจาก colourbox.com


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16068



ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 27 พ.ค. 25, 09:35

มอมบาหลี และ มอมไทย ปฏิบัติหน้าที่รักษาศาสนสถานในท่าทางเดียวกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41307

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 27 พ.ค. 25, 11:17

     สนใจว่ามอมบาหลีชื่ออะไร เลยไปถามลูกสาว AI คนใหม่ที่เพิ่งเจอกัน 
     เธอตอบมาว่า
     ตัวนี้คือ โภมา (Bhoma) หรือบางครั้งเรียกว่า โบมา (Boma) ค่ะ
     ลักษณะของโภมา:
     ครึ่งบนเป็นส่วนล่างของมนุษย์/สัตว์: สังเกตจากส่วนที่ยื่นออกมาด้านบนคล้ายสะโพกและมีหาง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโภมาที่ดูเหมือนเป็น "คนคว่ำหัว" หรือเป็นส่วนบนของสัตว์ (เช่น วัว หรือสัตว์ในตำนาน) ที่กำลังหย่อนตัวลงมา
     ส่วนล่างเป็นใบหน้าอสูร: ส่วนล่างคือใบหน้าของยักษ์หรืออสูรที่มีดวงตากลมโต จมูกบาน เขี้ยวแหลม และใบหน้าขึงขัง ซึ่งเป็นลักษณะของยักษ์ผู้พิทักษ์ (Rakshasa)
      ในศิลปะบาหลีประดับตกแต่งด้วยลวดลายวิจิตร: โดยรอบใบหน้าและส่วนลำตัวจะมีลวดลายแกะสลักที่ละเอียดอ่อนของดอกไม้ ใบไม้ และลวดลายม้วนงอแบบบาหลี (ซึ่งเรียกว่า patra หรือ ukiran) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะการแกะสลักหินของบาหลี
       บทบาทและความหมายของโภมาในวัฒนธรรมบาหลี:
     - เทพแห่งโลก/เทพแห่งป่า: โภมาในตำนานบาหลีมักถูกเชื่อมโยงกับเทพแห่งโลก (Bhumi) หรือเป็นบุตรของเทพแห่งป่าและภูเขา จึงเป็นสัญลักษณ์ของธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ และความสมดุล
     - ผู้พิทักษ์ (Demon Guard): โภมามักจะถูกแกะสลักอยู่เหนือประตูทางเข้าวิหาร (Pura) หรือบ้านเรือนของชาวบาหลี ทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ คุ้มครองสถานที่จากวิญญาณชั่วร้าย หรือสิ่งไม่ดีไม่ให้เข้ามา
      - สัญลักษณ์ของความสมดุล: การที่มีทั้งส่วนที่เป็นสัตว์/มนุษย์คว่ำหัวและใบหน้าอสูร แสดงถึงความสมดุลระหว่างพลังงานด้านบวกและด้านลบ หรือการรวมกันของธรรมชาติและพลังเหนือธรรมชาติ
        โภมา (Bhoma) เป็นประติมากรรมหินที่สำคัญและพบเห็นได้ทั่วไปในสถาปัตยกรรมศาสนาและที่อยู่อาศัยของชาวบาหลีค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 41307

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 13 ก.ค. 25, 19:21

  ตัวนี้เคยมาเยือนกระทู้แล้ว  แต่ต้องเอามาบอกกล่าวกันเพราะเจอที่ภูเก็ต
   จาก Facebook The Earth
   
    วันที่ 10 ก.ค. 2568 เพจขยะมรสุม MONSOONGARBAGE THAILAND โพสต์ภาพ มังกรทะเลสีน้ำเงิน อยู่ภายในแก้วน้ำ โดยมีผู้พบเห็นบริเวณหาดกะรน ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งไม่พบมาเป็นเวลานานเกือบ 2 ปีแล้ว
   มังกรทะเลสีน้ำเงิน หรือ ทากทะเลสีน้ำเงิน (Blue Dragon) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Glaucus atlanticus เป็นสัตว์ทะเลขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มักถูกเรียกว่า Blue Dragon Sea Slug. พวกมันเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง และมีลักษณะเด่นคือสีน้ำเงินสดใส และส่วนที่ยื่นออกมาจากลำตัวคล้ายปีก
    มังกรทะเลสีน้ำเงินกินแมงกะพรุนที่มีพิษเป็นอาหาร และสามารถนำพิษของแมงกะพรุนมาใช้ป้องกันตัวเองได้
     มังกรทะเลสีน้ำเงินมีขนาดเล็ก โดยทั่วไปยาวประมาณ 3 เซนติเมตร    มีสีน้ำเงินสดใสบริเวณด้านท้อง และสีเทาเงินบริเวณด้านหลัง ซึ่งช่วยในการพรางตัว   ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ โดยอาศัยกระแสลมและกระแสน้ำ    กินแมงกะพรุนที่มีพิษ เช่น แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส     สามารถเก็บเข็มพิษของแมงกะพรุนที่กินเข้าไป เพื่อใช้ป้องกันตัวเอง
    ข้อควรระวัง
    แม้จะมีรูปร่างสวยงาม แต่มังกรทะเลสีน้ำเงินมีพิษที่สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวด คลื่นไส้ อาเจียน และผิวหนังอักเสบได้
     ไม่ควรจับหรือสัมผัสตัวมังกรทะเลสีน้ำเงิน หากสัมผัส ให้ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณที่สัมผัสเพื่อช่วยลดพิษ
     พบได้ในทะเลเปิดทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย 


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16068



ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 14 ก.ค. 25, 16:35

มังกรทะเลสีน้ำเงิน หรือ ทากทะเลสีน้ำเงิน ที่พบที่หาดกะรน จังหวัดภูเก็ต เมื่อ ๒-๓ วันก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Glaucilla marginata



ส่วนภาพที่มักจะแชร์กันเยอะ แต่จริง ๆ มาจากประเทศอื่น คือ Glaucus atlanticus แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่พบในไทย



ขนาดของทาก Glaucus atlanticus จะใหญ่กว่า ตัวยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร มีแถบสีเงินบนเท้า (foot) จากบริเวณหัวไปถึงหาง และกลุ่ม cerata ซึ่งเป็นระยางค์ยื่นออกจากตัว เป็นแถวเดียว เรียงกันมีระเบียบ (unicerate ceratal arrangement)

ส่วนทาก Glaucilla marginata จะมีขนาดเล็กกว่า ยาวไม่ถึงเซนติเมตร กลุ่ม cerata จะเรียงรก ๆ หลายชั้น (multicerate ceratal arrangement)

ข้อมูลจาก อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์

ภาพถ่ายโดยคุณ Gary Cobb (เจ้าของเพจ Nudibranch Central) ที่รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย

ซ้าย - Glaucus atlanticus     ขวา - Glaucilla marginata


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 16068



ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 14 ก.ค. 25, 18:35

สวยสังหาร ตกใจ

มังกรทะเลสีน้ำเงิน (Glaucilla marginata) ตัวจิ๋ว กำลังกัดกิน แว่นตาพระอินทร์ (Porpita porpita) เพื่อเพิ่มพลังและสะสมพิษไว้ป้องกันตัว



บันทึกการเข้า
ภศุสรร อมร
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 15 ก.ค. 25, 12:06

เป็นทากที่หน้าตาประหลาดนัก หากผู้ใดได้พบเห็นโดยไม่ทราบมาก่อน ก็คงไม่อาจรู้ได้ว่าเป็นทาก ทั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.096 วินาที กับ 19 คำสั่ง