กระทู้: เจิ้งเหอ กับ อยุธยา เริ่มกระทู้โดย: vilat ที่ 29 พ.ย. 24, 12:14 จากการอ่าน หนังสือ ประวัติศาสตร์ หลายเล่ม หลายภาษา ผมเชื่อว่า เจิ้งเหอ หมายถึงตัวท่าน ไม่เคยเดินทางเข้ามาถึง อยุธยา ท่านใดมีความเห็นแตกต่างไหมครับ ที่มานั้น เป็นกองเรือเล็ก และ ขุนนางท่่รอท่าน พร้อมล่าม
กระทู้: เจิ้งเหอ กับ อยุธยา เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ย. 24, 18:08 ต้องขอถามกลับไปว่า ทำไมคุณ Vilat ถึงสรุปว่าจิ้งเหอไม่เคยเดินทางเข้ามาถึง อยุธยา คะ
กระทู้: เจิ้งเหอ กับ อยุธยา เริ่มกระทู้โดย: vilat ที่ 30 พ.ย. 24, 07:30 เรียนตอบ ท่าน ความคิดที่1ครับ ตามที่ผมอ่านพบ ปูมการเดินทางของกองเรือมหาสมบัติ หมายถึงกองเรือหลัก ตัวเจิ้งเหอ ไม่ได้นำเรือธงใหญ่เข้ามา แม่น้ำเจ้าพระยา เรือใหญ่มากเข้าแม่น้ำไม่ได้ ที่มาถึงอยุธยา จนถึงชุมชนจีนเก่า อยุธยา บริเวณตรงข้ามป้อมเพชร คือเรือเล็กของกองเรือมหาสมบัติ ครับ นี้คือ บทสรุป ที่ผมอ่านมาหลายเล่ม ทั้งของฝรั่ง และของจีน และผมสรุป ตามหลักเหตุผลของการเดินเรือครับ
กระทู้: เจิ้งเหอ กับ อยุธยา เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร อมร ที่ 30 พ.ย. 24, 08:21 ถ้าหากกล่าวตามหนังสือ yingya shenglan (瀛涯胜览) ซึ่งเขียนโดย ม่า ฮ้วน ผู้ใด้เดินทางไปกับคณะเดินทางของเจิ้งเฮอด้วยแล้ว
คณะเดินทางในครั้งนี้ มิได้มีการออกเดินทางเพียงครั้งเดียว ในระยะเวลาหลายปี ในหนังสือนั้นก็ได้กล่าวว่ามีลูกเรือของเจิ้งเหอคนหนึ่ง ซื่อ นาย wang jinghong เดินทางไปถึงสยามในการออกเดินทางครั้งที่สาม ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1409 ส่วนตัวเจิ้งเหอนั้นได้เดินทางมาถึงสยามรึไม่ ไม่มีข้อมูลปรากฏ ผมเองจึงไม่กล้าตัดสรูปว่าได้มาหรือไม่ได้มา แต่เมื่อไม่มีการกล่าวถึงแล้ว การที่ว่าตัวเจิ้งเหอเองนั้นไม่เคยเดินทางมาถึงสยามก็เป็นไปได้ แต่ถึงตัวเจิ้งเฮอเองไม่ได้มา ลูกเรือในคณะนั้นได้มาถึงอย่างแน่นอน กระทู้: เจิ้งเหอ กับ อยุธยา เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร อมร ที่ 30 พ.ย. 24, 08:35 นาย jvg mills, ผู้เป็นข้าราชการชาวอังกฤษซึ่งวิจัยเรื่องนี้โดยเฉพาะ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในเชิงอรรถ ของหนังสือ yingya shenglan ฉบับแปลอังกฤษไว้ดังนี้
“ D. The second expedition, 1407-9 This was an unimportant expedition, presumably required for the solemn institution of the new king of Calicut, Ma-na Pieh-chia-la-man (Mana Vikraman); though Cheng Ho was the official chief of the expedition, he did not actually accompany it, and it was directed by his associates.} The order for the expedition was dated the thirteenth (probably) day of October 1407, and directed to the three eunuchs Cheng Ho, Wang Ching-hung, and Hou Hsien.* They commanded two hundred and forty-nine ships and an unknown number of troops. The expedition perhaps did not sail till January or February 1408; it visited Thailand, Java, Aru, Lambri, Coimbatore (Koyampadi), Kayal (on the Tambrapani delta), Cochin, and Calicut, also A-po-patan (Puttanapur ?), and perhaps Champa‘‘ แปลได้ความว่า สำหรับการออกเดินทางครั้งที่สามซึ่งได้มาถึงไทยนั้น ถึงแม้ว่าเจิ้งเฮอจะได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการอย่างเป็นทางการก็ตาม เจิ้งเหอก็มิได้ติดตามไปด้วย หากแต่ได้ให้ผู้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาติดตามไปแทน ที่มา: https://archive.org/details/ying-yai-sheng-lan-1433/page/18/mode/2up กระทู้: เจิ้งเหอ กับ อยุธยา เริ่มกระทู้โดย: ภศุสรร อมร ที่ 30 พ.ย. 24, 08:38 ขันที Wang Ching-hung ผู้นี้เป็นคนเดียวกันกับ “ wang jinghong” ผู้ซึ่งได้กล่าวไว้ข้างต้น หากแต่สะกดเป็นอังกฤษด้วยวิธีการสะกดคำจีนแบบเก่า
แท้จริงแล้วเป็นคนเดียวกัน กระทู้: เจิ้งเหอ กับ อยุธยา เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ธ.ค. 24, 08:32 เอารูปจิ้งเหอมาช่วยดึงกระทู้
กระทู้: เจิ้งเหอ กับ อยุธยา เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ธ.ค. 24, 08:38 เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เจ้าพ่อซำปอกง" (ซานเป่ากง).
วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกงที่วัดกัลยาณมิตรเป็นเพราะความเข้าใจผิด กล่าวคือ ชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า 'ซำปอฮุดกง' ซึ่งแปลว่าพระเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น 'ซำปอกง' จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา อีกทั้งยังพบหลักจำนวนมากที่เจิ้งเหอนับถือศาสนามาถือพุทธ คือการพบหลักฐานว่าเจิ้งเหอถวายพระสูตร 9 วัดและมีฉายาทางธรรมว่า "สุนันทะ" ทว่าการที่เจิ้งเหอทำฮัจญ์และมีสุสานแบบมุสลิมแสดงว่าเจิ้งเหอเป็นมุสลิมจนถึงแก่กรรม แม้ว่าเจิ้งเหอจะไม่มีลูก เพราะถูกตอนเป็นขันทีตั้งแต่เด็ก หากแต่หม่าเหวินหมิงพี่ชายได้ยกลูกชายหญิงให้กับเจิ้งเหอ ทายาทของเจิ้งเหอบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่ ได้ประทานให้ เจิ้งชงหลิ่ง ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เจิ้งชงหลิ่งอพยพเข้าเมืองไทยในปี 2448 คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรติเป็นมุสลิม เรื่องข้างบนนี้มาจาก wikipedia ไม่แน่ใจเรื่องหลักฐานความถูกต้อง ค่ะ ขอให้ชาวเรือนไทยตรวจสอบอีกที กระทู้: เจิ้งเหอ กับ อยุธยา เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 06 ธ.ค. 24, 13:37 .
|