นิทานอีสป

จาก ตู้หนังสือเรือนไทย

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
แถว 45: แถว 45:
===นิทานที่ ๘ เรื่องมดง่ามกับจักจั่น===
===นิทานที่ ๘ เรื่องมดง่ามกับจักจั่น===
 +
: เช้าวันหนึ่งในฤดูฝน แต่แดดออกจัดดี มดง่ามพวกหนึ่งจึงช่วยกันขนเมล็ดข้าวที่หาไว้ในฤดูร้อนออกตากแดด ขณะนั้นมีจักจั่นผอมเดินโซเซมาเห็นเข้าจึงแวะเข้าไปหามดแล้วพูดว่า “ข้าพเจ้าอดอาหารมาหลายวันแล้ว หิวเต็มทน ขอทานข้าวให้ข้าพเจ้ากินสักเมล็ดสองเมล็ดพอรอดตายจะได้หรือไม่”
 +
มดถามว่า “ก็ในฤดูร้อนเป็นหน้าเกี่ยวข้าว มีอาหารอุดม ท่านไปทำอะไรเสีย จึงไม่หาอาหารเก็บเอาไว้เล่า”
 +
จักจั่นตอบว่า “ข้าพเจ้าหาเวลาว่างไม่ได้ เพราะฤดูแล้งเที่ยวร้องเพลงเล่นเพลินไปวันยังค่ำๆ จนสิ้นฤดู ครั้นถึงฤดูฝน ข้าวก็งอกเสียหมดแล้ว”
 +
มดจึงเย้ยให้ว่า “อ้าวดีแล้วละเป็นไร ถ้าท่านร้องเพลงเพลินไปในฤดูร้อน ทำไมจึงไม่หัดรำในฤดูฝนเล่า”
 +
 +
*เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ขณะที่ยังดีๆอยู่ ถ้าเราไม่อุตส่าห์ทำการงานหาสมบัติเอาไว้แล้ว ในเมื่อถึงเวลาเจ็บไข้ได้ยาก เราก็จะได้ความลำบากยากแค้นเป็นอย่างยิ่ง
 +
===นิทานที่ ๙ เรื่องไก่กับพลอย===
===นิทานที่ ๙ เรื่องไก่กับพลอย===
===นิทานที่ ๑๐ เรื่องกระต่ายกับเต่า===
===นิทานที่ ๑๐ เรื่องกระต่ายกับเต่า===

การปรับปรุง เมื่อ 15:30, 3 เมษายน 2554

เนื้อหา

ข้อมูลเบื้องต้น

ผู้แต่ง: พระจรัสชวนะพันธ์ (สาตร์)

ไฟล์:หน้าปกนิทานอีสป.jpg
หน้าปกนิทานอีสป

คำนำ

หนังสือนิทานอีสปเล่มนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระยาดำรงราชานุภาพ เริ่มเป็นผู้ทรงแนะนำให้ข้าพเจ้าแต่งขึ้น ให้ใช้ภาษาง่าย ๆ และประโยคสั้น ๆ สำหรับเด็กในชั้นมูลศึกษาจะได้ใช้เป็นแบบสอนอ่านในเมื่อเรียนแบบเรียนมูลศึกษาจบเล่มแล้ว ธรรมเนียมหนังสือที่เป็นแบบสอนอ่านอย่างดีไม่ว่าจะแต่งขึ้นในภาษาใด ๆ ย่อมเพ่งประโยชน์อยู่สองอย่าง อย่างหนึ่งเพื่อให้มีความรู้ในวิชาหนังสือดีขึ้น เช่นให้อ่านหนังสือคล่อง ให้อ่านถูกระยะวรรคตอน ให้ทั้งผู้อ่านและผู้ฟังเข้าใจความได้ชัดเจน กับให้จำตัวสะกดการันต์และถ้อยคำสำนวนที่ดีได้เป็นต้น อีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นข้อสำคัญยิ่งและซึ่งครูมักจะละเลยกันเสียมากก็คือเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ปัญญาความคิดที่จะตริตรองตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่านแล้วให้เห็นประจักษ์ขึ้นในใจตนเอง ว่าภาษิตที่ท่านกล่าวไว้ล้วนเป็นของดี และถ้าตนประพฤติตามก็จะได้รับประโยชน์ด้วยกันทุกคนไม่เลือกหน้าว่าผู้ใด ความเพ่งประโยชน์ในข้อสองนี้ ถ้าครูจะปฏิบัติให้สำเร็จได้ดังประสงค์ ก็มีข้อที่จะแนะนำอยู่บ้างคือ เมื่อนักเรียนอ่านบทใดไปแล้ว อย่าให้ครูถือว่าเป็นเสร็จธุระของตนแต่เพียงเท่านั้น จงอุตส่าห์ซักถามสะกัดสะแกงให้นักเรียนคิดตอบตามเนื้อเรื่องได้โดยอนุมัติของตนเอง เช่นเรื่องราชสีห์กับหนู เมื่อปันให้นักเรียนในชั้นอ่านเป็นตอน ๆ จนจบแล้ว ครูควรให้นักเรียนคนหนึ่งลุกขึ้นเล่าให้ฟังจนตลอดเรื่อง แล้วถามนักเรียนเป็นคน ๆไปว่า ราชสีห์ที่ในรูปนั้น หน้าตาเป็นอย่างไร เขี้ยวเล็บเป็นอย่างไร ถ้าเด็กไปพบเข้าตามทางสักตัวหนึ่งจะทำอย่างไร ส่วนหนูนั้นใคร ๆ ก็รู้จัก ที่บ้านใครมีหนูชุมบ้าง หีบไม้หนา ๆ และพื้นกระดานแข็ง ๆ ทำไมหนูจึงทะลุลอดเข้าไปได้ ฟันหนูเป็นอย่างไร ราชสีห์โกรธหนูเมื่อตะครุบหนูไว้ได้แล้วทำไมจึงปล่อยตัวไปเสีย ใจคอราชสีห์เป็นอย่างไร ถ้าราชสีห์ฆ่าหนูเสียในเวลาโกรธ เมื่อมาถึงคราวที่ราชสีห์ติดบ่วงแร้วต้องอับจนเข้าดังนี้ราชสีห์จะเป็นอย่างไร ใจคอหนูเป็นอย่างไร ดังนี้เป็นต้น
ในที่สุดนี้ข้าพเจ้าถือเป็นโอกาสขอแจ้งว่าพระเดชพระคุณสมเด็จในกรมพระที่ได้ออกพระนามมาแล้ว ได้ทรงพระกรุณาแก่ข้าเจ้าเป็นพิเศษ คือได้ทรงเป็นธุระช่วยแนะนำตรวจแก้และตัดเติมแบบสอนอ่านเล่มนี้ โดยพระองค์เองทุก ๆ บท ทุก ๆ ตอนจนตลอดเล่ม พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้า ฯ หาที่สุดไม่ได้
พระจรัสชวนะพันธ์ ( สาตร์ )
วันที่ ๒๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๓๐

บทประพันธ์

นิทานที่ ๑ เรื่องราชสีห์กับหนู


นิทานที่ ๒ เรื่องพ่อกับลูก

นิทานที่ ๓ เรื่องลากับจิ้งหรีด

นิทานที่ ๔ เรื่องหมาจิ้งจอกกับนกกระสา

นิทานที่ ๕ เรื่องหมาจิ้งจอกกับแพะ

หมาจิ้งจอกตัวหนึ่งตกลงไปในบ่อลึกจะพยายามตะเกียกตะกายสักเท่าใด ก็ขึ้นไม่ได้ เมื่อจนปัญญาก็เกาะขอบบ่อนิ่งอยู่ แต่พอไม่ให้จมน้ำตาย ขณะนั้นมีแพะตัวหนึ่งกระหายน้ำเดินมาที่ปากบ่อ เห็นหมาจิ้งจอกลงไปอยู่ในบ่อนั้น จึงร้องถามหมาจิ้งจอกออกไป “น้ำลึกหรือตื้น จืดสนิทหรือกร่อยเค็มเป็นอย่างไร” หมาจิ้งจอกได้ฟังดังนั้นก็ดีใจ หมายจะลวงแพะเอาตัวรอด จึงร้องตอบขึ้นมาว่า “ลงมาเถิดเว้ย น้ำในนี้จืดเย็นดีนัก ลงมากิน อาบเล่นด้วยกันให้สบายใจเถิด” แพะไม่รู้เท่าหมาจิ้งจอก ก็กระโจนลงไปทันที หาได้ตริตรองเสียก่อนไม่ หมาจิ้งจอกได้ช่อง ก็เหยียบเขาแพะ กระโดดขึ้นฝั่งได้ แล้วชะโงกลงไปพูดแก่แพะว่า “ถ้าเจ้ามีความคิดมากกับเส้นเคราใต้คางของเจ้าแล้วไหนเลยเจ้าจะใจเร็วด่วนได้ เสียท่วงทีแก่เราถึงเพียงนี้ ที่ถูกเจ้าจะต้องคิดให้ดีเสียก่อนแล้วจึงค่อยกระโดดลงไปไม่ใช่หรือ”
  • นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การงานใดๆถ้าเราใจเร็วด่วนได้ ไม่คิดให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงทำลงไป ฉวยพลาดท่า ก็จะเสียหายและได้ความอับอายมาก

นิทานที่ ๖ เรื่องกากับนกยูง

นิทานที่ ๒๕ เรื่องลูกปูกับแม่ปู

นิทานที่ ๒๘ เรื่องชาวสวนกับลูก

นิทานที่ ๔๔ เรื่องคนเลี้ยงแพะกับลูกเสือ

กาตัวหนึ่งนึกอยากจะให้วิเศษยิ่งกว่าเพื่อนกาด้วยกัน จึงไปเที่ยวเก็บเอาขนหางและขนหงอนนกยูง ที่ร่วงหล่นอยู่ตามป่ามาแทรกแซมขนของตัว แล้วละฝูงกาไปทำเดินกรีดกรายและเล็มอยู่ข้างๆฝูงนกยูง เมื่อนกยูงเห็นจำได้ว่า ไม่ใช่พวกของตนก็ช่วยกันจิกตีขับไล่ให้อกไปเสียจากฝูง กาได้รับความเจ็บปวดเป็นอันมาก จะทนอยู่ต่อไปอีกมิได้ จึงบินหนีเล็ดลอดไปแอบถอนขนนกยูงทิ้งเสียในป่า แล้วกลับไปเข้าฝูงของตัวอย่างเดิม ฝ่ายเพื่อนกาที่เคยเห็นเพื่อนกาตัวนั้นติดขนนกยูง เมื่อได้เห็นกาเย่อหยิ่งตัวนั้น กลับคืนมาอยู่ในฝูงอีก ก็ช่วยกันจิกตีขับไล่ไม่ให้เข้าพวก แล้วกาตัวหนึ่งจึงร้องว่า “ถ้าเจ้าไม่ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์และชาติกำเนิดของเจ้าแล้ว ไหนเลยเจ้าจะได้รับทั้งความลำบากจากผู้ที่สูงกว่าเจ้าและทั้งความเกลียดชังจากพวกเราผู้เสมอกับตัวเจ้า”


  • เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การเย่อหยิ่งจองหองและอวดดี เป็นโทษไม่ว่าที่ไหน

นิทานที่ ๗ เรื่องเด็กจับตั๊กแตน

เด็กคนหนึ่งเที่ยวจับตั๊กแตนเล่นอยู่ตามสนามหญ้าแต่เช้าเมื่อเวลาน้ำค้างยังไม่ทันแห้ง จับมาสักชั่วโมงเศษๆ ก็ได้ตั๊กแตนเป็นอันมาก ครั้นสายขึ้น แมงป่องตัวหนึ่งออกหากิน เด็กเห็นสำคัญว่าเป็นตั๊กแตน จึงเอื้อมมือออกไปจะจับ แมงป่องเห็นดังนั้นก็ขยายเหล็กในออกแล้วร้องว่า “เฮ้ยอย่าซุกซนเจ้าเด็กน้อย ถ้าถูกตัวข้าเข้า มิใช่เจ้าจะได้ตัวข้าเมื่อไร ถึงตั๊กแตนที่เจ้าได้ไว้มากแล้วนั้น ก็จะพลอยศูนย์ไปด้วย”


  • เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ทำสิ่งใด อย่าได้ระรานนัก จงเห็นแก่หน้าผู้อื่นเขาบ้าง ถ้าระรานมากไป ก็อาจจะเสียประโยชน์

นิทานที่ ๘ เรื่องมดง่ามกับจักจั่น

เช้าวันหนึ่งในฤดูฝน แต่แดดออกจัดดี มดง่ามพวกหนึ่งจึงช่วยกันขนเมล็ดข้าวที่หาไว้ในฤดูร้อนออกตากแดด ขณะนั้นมีจักจั่นผอมเดินโซเซมาเห็นเข้าจึงแวะเข้าไปหามดแล้วพูดว่า “ข้าพเจ้าอดอาหารมาหลายวันแล้ว หิวเต็มทน ขอทานข้าวให้ข้าพเจ้ากินสักเมล็ดสองเมล็ดพอรอดตายจะได้หรือไม่”

มดถามว่า “ก็ในฤดูร้อนเป็นหน้าเกี่ยวข้าว มีอาหารอุดม ท่านไปทำอะไรเสีย จึงไม่หาอาหารเก็บเอาไว้เล่า” จักจั่นตอบว่า “ข้าพเจ้าหาเวลาว่างไม่ได้ เพราะฤดูแล้งเที่ยวร้องเพลงเล่นเพลินไปวันยังค่ำๆ จนสิ้นฤดู ครั้นถึงฤดูฝน ข้าวก็งอกเสียหมดแล้ว” มดจึงเย้ยให้ว่า “อ้าวดีแล้วละเป็นไร ถ้าท่านร้องเพลงเพลินไปในฤดูร้อน ทำไมจึงไม่หัดรำในฤดูฝนเล่า”

  • เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ขณะที่ยังดีๆอยู่ ถ้าเราไม่อุตส่าห์ทำการงานหาสมบัติเอาไว้แล้ว ในเมื่อถึงเวลาเจ็บไข้ได้ยาก เราก็จะได้ความลำบากยากแค้นเป็นอย่างยิ่ง

นิทานที่ ๙ เรื่องไก่กับพลอย

นิทานที่ ๑๐ เรื่องกระต่ายกับเต่า

นิทานที่ ๑๑ เรื่องเทวดากับคนขับเกวียน

นิทานที่ ๒๕ เรื่องลูกปูกับแม่ปู

วันหนึ่งเวลาน้ำงวดลง ปูสองตัวแม่ลูกพากันไต่ลงไปหากินตาชายเลน ขณะเมื่อไต่ไปนั้น ลูกเดินหน้า แม่เดินหลัง ตาแม่จับอยู่ที่ลูก พอไต่ไปได้สักหน่อย แม่ก็ร้องบอกไปแก่ลูกว่า “นั่นทำไมเจ้าจึงเดินงุ่มง่ามซัดไปซัดมาดังนั้น จะเดินตรงๆทางไม่ได้หรือ จะได้ไปถึงที่หากินเสียเร็วๆ มัวเดินคดไปคดมาเช่นนี้ น้ำก็จะขึ้นมาเสียก่อนเราไปถึงที่” ลูกปูจึงย้อนถามมาว่า “แม่จะให้เดินให้ตรงทางนั้น เดินอย่างไรฉันไม่รู้ แม่ลองเดินให้ฉันดูสักที” แม่ปูก็เดินตรงไม่ได้ ด้วยวิสัยปูย่อมเดินคดไปคดมาเป็นธรรมดา แต่หากแม่ปูไม่รู้สึกตัวเอง


  • เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การที่จะสั่งสอนผู้อื่นให้ทำอย่างใดนั้น เราทำอย่างนั้นได้เองจึงควรสอนผู้อื่น

นิทานที่ ๒๘ เรื่องชาวสวนกับลูก

ชาวสวนผู้หนึ่ง เมื่อจวนจะตาม อยากจะสอนลูกของตนให้รู้จักการทำสวน จะได้ดำรงวงศ์ตระกูลของตนต่อไป จึงเรียกลูกเข้ามานั่งพร้อมหน้ากัน แล้วสั่งว่า “นี่แน่ะเจ้าทั้งหลาย พ่อก็จวนจะสิ้นลมหายใจอยู่แล้ว ทรัพย์สมบัติที่พ่อจะให้เจ้านั้น อยู่ในสวนหลังบ้านเราทั้งสิ้น” พอสั่งดังนั้นแล้ว ชาวสวนก็สิ้นใจ ครั้นปลงศพพ่อเสร็จสิ้นลง พวกลูกจำคำที่พ่อสั่งได้ สำคัญว่าพ่อเอาทรัพย์ฝังไว้ในสวน จึงเอาจอบเสียมเที่ยวไปขุดพรวนดินค้นหาทรัพย์จนทั่วก็ไม่พบทรัพย์ ครั้นอยู่มาต้นไม้ที่อยู่ในสวนเมื่อดินซุยขึ้น และได้เลนซึ่งเขาโกยขึ้นมาจากท้องร่องเป็นปุ๋ยอันดี ก็แตกกิ่งก้านสาขางอกงามขึ้นโดยเร็ว เมื่อถึงฤดูก็มีลูกดก เหล่าลูกเจ้าของสวนก็ขายได้เงินทวีขึ้นกว่าปีก่อนๆ อีกหลายเท่า


  • เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถึงคนโง่ ถ้ามีความเพียรก็ย่อมได้รับผลอันดี

นิทานที่ ๔๔ เรื่องคนเลี้ยงแพะกับลูกเสือ

ชายคนหนึ่งเป็นพ่อค้าขายแพะ เลี้ยงแพะไว้ที่ริมสถานีรถไฟฝูงหนึ่ง วันหนึ่งชายนั้นเข้าป่าจะไปตัดไม้ไผ่มาทำคอกแพะ ขณะเมื่อเดินไปถึงเชิงเขา ชายผุ้นั้นพบลูกเสือหลงแม่ตัวหนึ่งเดินอยู่ตามลำพัง จึงจับเอามาเลี้ยงไว้ แล้วหัดให้ลูกเสือเที่ยวขโมยลูกแพะของชาวบ้านใกล้เคียง ส่วนลูกเสือนั้น ถ้าวันไหนขโมยลุกแพะของชาวบ้านได้สองตัว จะกัดกินเสียหนึ่งตัว เหลือเอาไปให้เจ้าของแต่ตัวเดียว ถ้าวันไหนขโมยแพะของคนอื่นไม่ได้ พอตกกลางคืนลงก็ขโมยแพะของเจ้าของเสียทุกวัน


  • เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การคิดหาประโยชน์ใส่ตัวในทางมิชอบ ลงปลายมักจะเสียประโยชน์ตนเอง
เครื่องมือส่วนตัว