เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5287 ต้มยำทำแกง - ภาษาบาลีเรียกซุปว่า ...?
นกข.
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 18 มี.ค. 02, 02:21

ที่หน้าพักผ่อนหย่อนใจ คุณพวงร้อยเอาวิธีทำสตูว์ วิธีต้มซุป ไปเผยแพร่ไว้หลายตำรับ ล้วนแต่อ่านแล้วหิวทั้งนั้น

เพื่อเป็นปฏิคมนาการขอบคุณและตอบแทนวิทยาทานที่คุณพวงร้อยเอามาลงยั่วน้ำลาย ผมขอปุจฉาถามคุณพวงร้อยว่า รู้มั้ยครับว่าคำว่า soup พระบาลีท่านเรียกว่าอะไร?

วิสัชนา เรียกว่า สูปะ ครับ จริงๆ ครับ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 มี.ค. 02, 00:43

ภาษาสเปญ(หรืออิตาเลียนด้วยก็ไม่ทราบ๗เรียกซุปว่า sopa ค่ะ  ดูแล้วเดาว่าอาจจะมาจากรากศัพท์เดียวกันนะคะ

เมื่อวานลองทำสตูว์หมูขี่ลิมูซีนตามสูตรกระทู้สตูว์เป็นครั้งแรก  ออกมาอร่อยมาก  หอมไปทั้งบ้าน  แต่เวลากินมันไม่สะใจดี  เลยหั่นหมูจิ้มกับซอสพริก  อร่อยถึงใจไปเลยค่ะ  ซอสพริกศรีราชาออกหวานไปหน่อย  เลยผสมกับ ซอสทาบาสโกซึ่งออกเปรี้ยวๆฉุนๆ  และ ซอสพริกจากหลุยเซียน่าซึ่งออกเผ็ดกับเค็ม  สามอย่างๆละเท่ากัน  ออกมาเริ่ดมากเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 มี.ค. 02, 00:52

มาต่อกระทู้ครับ
กับข้าวของกินที่เป็นน้ำ เช่นแกงต่างๆ ต้มต่างๆ บาลีเรียกว่า สูปะ กับข้าวที่ไม่ใช่ของน้ำ เรียกว่า พยัญชนะ ครับ สำนวนพระบาลีว่า สูปะพยัญชนะ นั้น จึงแปลความว่า ของกินทั้งหลาย เหมือนไทยเราเรียกข้าวปลาอาหาร วิสัชนาว่าดังนี้

ขอมหาเปรียญ ถ้ามีอยู่แถวนี้ ช่วยเมตตาแก้ไขความเห็นของผมให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยเทอญ

คำว่าสูปะ ถ้าเราจะเห็นขันหรือทึ่งว่าทำไมไปตรงกับคำว่า ซุป ของฝรั่งก็อาจจะทึ่งได้ แต่ที่จริงแล้วภาษาบาลีก็เป็นหนึ่งในภาษาตระกูลอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับภาษาฝรั่งต่างๆ หลายภาษานั่นเอง

คำว่า พยัญชนะ ท่านแปลไว้หลายความหมาย ความหมายหนึ่งคือ ของกินหรือกับข้าวที่ไม่ใช่ของน้ำๆ อีกความหมายหนึ่งก็คือ ตัวหนังสือที่ไม่ใช่สระ เห็นทีปราชญ์แขกโบราณท่านจะเทียบหรืออุปมาว่า สระเทียบได้เป็นน้ำแกงในภาษา และพยัญชนะเป็นส่วนที่เป็นเนื้อ เป็นของแห้งในภาษา ละมั้ง...

แฮ่ะๆ ที่นี้ผมก็เลยเกิดขอทะลึ่งตั้งปุจฉาถามมหาเปรียญ (ถ้ามีอยู่แถวนี้) ว่า แล้ว alphabetical soup ล่ะครับ จะจัดเป็นของกินประเภทสูปะ หรือ พยัญชนะ?ฮืมฮืม

สำหรับผม ผมว่าเป็นทั้งสองอย่างพร้อมกันเลยครับ ฮี่ๆๆๆ
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 มี.ค. 02, 00:54

ภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤตนี่เก่าแก่สักกี่พันปีครับ ?
แล้วภาษาอะไรที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดียครับ เดือนก่อนผมดูสารคดีอารยธรรมโบราณที่จมอยู่ใต้ทะเลหลังยุคน้ำแข็ง ซึ่งอาจจะเก่าแก่ถีง 9000-11000 ปี (พบร่องรอยซากเมืองหักพักเป็นกิโลเมตร - ไม่ใช่แค่ชุมชนเล็กๆ) แถวๆประเทศอินเดีย โดนน้ำท่วมหลังหมดยุคน้ำแข็งพอดี (และเวลาก็ตรงกับเมืองแอตแลนติส - 9000 ปี) เขากล่าวถีงภาษาหนึ่งของอินเดียที่เก่าแก่มาก .... ตอนนั้นผมก็ฟังไม่ออกว่าชื่อภาษาอะไร
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 มี.ค. 02, 01:10

เอาล่ะสิ....
ไม่รู้จริงๆ ครับคุณเปี้ยว คืนนี้จะลองค้นตำราดูเท่าที่มี ใน "ภารตวิทยา" ของอาจารย์กรุณา -เรืองอุไร เล่มที่ผมมีอยู่จะพูดเรื่องภาษาโบราณของอินเดียไว้หรือเปล่าก็ไม่รู้ คลับคล้ายคลับคลาว่ามีอยุ่บทหนึ่ง
ในกระทู้เก่าๆ ในเรือนไทยเราเคยคุยกันเรื่องภาษากุโบ๊ส เชื่อกันว่าเป็นภาษาเทพ คือเป็นภาษาโบราณของอินเดียที่เก่ามากๆ จนคนอินเดียรุ่นนั้นตายไปเป็นเทพหมดแล้ว ...
อารยธรรมโบราณในอินเดียที่คุณเปี้ยวว่า คืออารยธรรมโมเฮนโจดาโรหรือเปล่าครับ คงจะต้องเชิญผู้รู้จากเว็บเพื่อนบ้าน โบราณคดี มาตอบ

ว่าด้วยเรื่องสระ เอ๊ย สูปะพยัญชนะต่อ
ผมจำกลอนของท่านสุนทรภู่ตอนหนึ่งได้ จากเรื่องอะไรก็ลืมแล้ว แต่รู้ว่าท่านแต่งตอนกำลังบวชพระ มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
...เหมือนแม่ครัวคั่วแกงพะแนงผัด
สารพัดเพียญชนัง เครื่องมังสา
อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา
ต้องโรยหน้าเสียสักหน่อยอร่อยใจ ...

"เพียญชนัง" ก็คือ พยัญชนะ หรือคือ ของกินอย่างแห้ง นั่นเอง
ความหมายในกลอนคือว่า ท่านสุนทรภู่แต่งกลอนเรื่องนี้ตอนที่เป็นพระ แต่ในกลอนก็มีการพูดถึงสาวๆ ตามประสาชาติชายนักเลงกลอน ซึ่งอาจจะมีคนมองได้ว่าไม่สำรวม ท่านจึงออกตัวไว้ตอนท้ายทำนองว่า เขียนไปยังงั้นแหละ แต่งกลอนมันก็ต้องมีพูดถึงหญิงบ้าง พอชูรสกลอน เหมือนคนทำกับข้าว ต้องเหยาะพริกไทยใบผักชีหน่อย แต่ท่านไม่ได้คิดจะละเมิดศิลหรือความเป็นพระอย่างจริงจังจริงๆ หรอก

ดังนั้น ในกระทู้ผมหรือความเห็นผมในเรือนไทย ถ้ามีการเผลอแซวสาวๆ หนักไปหน่อยก็ขอแอบหลังครูสุนทรภู่ว่า สาวๆ อย่าถือเลย ....อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา ต้องโรยหน้าเสียซักนี้ดจะติดใจ...
(ถ้าผมโชคดีได้แต่งงาน แล้วยังมาเล่นเน็ตอยู่ แล้วแซวสาวในเน็ตหนักไปนิด อาจจะต้องแก้ตัวกับศรีภริยาว่า แค่กระเซ้าน้องๆ ในเว็บเล่นนิดเดียวจ้ะ - จริงๆ ยังรักเธอคนเดียวจ้ะ "...อันพริกไทยใบผักชี ฯ..."  จ้ะ...)

ออกนอกเรื่องในกระทู้ของตัวเองก็ได้ด้วยวุ้ย
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 มี.ค. 02, 01:32

เอ่อ... ชื่ออารายธรรมผมก็จำไม่ได้ครับ ข้อแก้ตัวก็คือผมฟังแขกพูดภาษาอังกฤษออกครับแต่ฟังคนอังกฤษพูดชื่อแขกไม่ออก เดี๋ยวต้องไปยืนอ่านในร้านหนังสือซะแล้ว คนที่เขาทำสารคดีเขียนหนังสือออกมาด้วย

เท่าที่จะพอโม้ได้ตอนนี้ก็คือ ยุคน้ำแข็งของโลกจะมีมาเป็นประจำๆ (เนื่องจากวงโคจรและแกนการหมุนของโลกที่ไม่คงที่) ครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ 14000 - 11000 ปีมาแล้ว เมื่อน้ำในมหาสมุทรกลายเป็นน้ำแข้งซะมาก ระดับน้ำตอนนั้นก็จะต่ำว่าปัจจุบันมาก ตรงบริเวณรอบๆอินเดีย หรือทางใต้ของอิตาลี่จะมีแผ่นดินโผล่เยอะกว่านี้ (หรือของไทยก็ยื่นไปติดกับเกาะบอร์เนียวในตอนนั้น) แล้วน้ำแข็งก็เริ่มละลาย แผ่นดินรอบๆทวีปจมหายไปเยอะ

เขาค้นพบพวกเมืองโบราณพวกนี้ใต้ทะเล ศึกษาขั้นต้นแล้วพบว่ามากกว่า 7000 ปีแน่ๆ และบางแห่งอาจจะถีง 9000 ปี ตรงกับยุคน้ำแข็งละลายพอดี

ที่เชื่อมโยงก็อารยธรรมเก่าแก่ของอินเดียก็คือ ความเชื่อของชาวอินเดียบางพื้นที่ ที่เชื่อว่าอารยธรรมโบราณถูกน้ำทำลายประมาณ 8-9 พันปีที่แล้ว เนื่องจากสร้างบ้านเรือนได้สวยงามจนพระเจ้าอิจฉา ส่งเทพเจ้าน้ำลงมาทำลายบ้านเมือง คนที่รอดก็ไปอพยบไปอาศัยแถบตีนเขาหิมาลัย และเป็นเจ้าของภาษาที่เก่าแก่ที่ว่านั้นครับ......... มั่วได้เท่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 มี.ค. 02, 01:39

อย่างไรก็ดี เขาว่าพวกซากปรักหักพักที่ว่าก็เพิ่งค้นพบ นักโบราณคดีคงยังต้องถกเถียงกันอีกมาก บางคนก็บอกว่าเป็นเพียงแค่ก้อนหินตามธรรมชาติที่ดันไปมีรูปร่างคล้ายสภาพบ้านเมืองเข้า (แต่ผมดูแล้วไม่น่าใช่เกิดจากธรรมชาติ) ไว้รอนักโบราณคดีมาเล่าต่อแล้วกัน

เดี๋ยวผมจดประโยคในวงเล็บในความเห็นที่ 4 ของคุณนกข.ไว้หน่อย เผื่อจำเป็นจะต้องใช้ ฮะๆๆ ^_^
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 มี.ค. 02, 01:41

อิจฉาบังนิลฯจังครับ ผมเองไม่โสด อยากแซวสาวพอสนุกบ้างก็ไม่กล้า เกรง(ไม่ได้กลัว ฮี่ฮี่)เธอจะเข้าใจผิด ถึงเธอจะไม่ใช่สมาชิกที่นี่ แต่ท่านว่า (ไม่ทราบท่านไหนเหมือนกัน) จงโปร่งใสทั้งในที่ลับและที่แจ้ง บกพร่องโดยสุจริตใช้อ้างไม่ได้ครับ

เรื่องเมืองหลังยุคน้ำแข็งนั้น มีเรื่องที่ใกล้ตัวกว่าที่คิดครับ เพิ่งจะเห็นแผนที่ฉบับหนึ่งจากหนังสือ "อยุธยายศยิ่งฟ้าฯ" ของคุณสุจิตต์ วงศ์เทศ ว่าเมื่อราวหลายพันถึงหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว แนวชายฝั่งของอ่าวไทยอยู่สูงกว่าปัจจุบันมาก ที่น่าสนใจคือเมืองเก่าๆหลายเมืองอยู่เคยเป็นเมืองชายทะเลเก่ามาก่อน เช่นละโว้ ราชบุรี อู่ทอง สุพรรณบุรี นครนายก ศรีมโหสถ(อยู่ในปราจีนบุรี) และบางเมืองก็มีตำนานทำนองว่าเคยมีสำเภามาจอดหน้าเมือง น่าสงสัยว่าเมืองพวกนี้เก่าแค่ไหน และตำนานเก่าแค่ไหน อาจเป็นได้ว่าชุมชนเหล่านี้ี่ตั้งหลักแหล่งกันมาตั้งแต่อยู่ในสภาพชุมชนชายทะเล (ซึ่งมีแหล่งอาหารจากทะเลเป็นพิเศษ) ถือว่าน่าสนใจทีเดียวครับ

เหลือบดูหัวข้ออีกที พูดเรื่องซุปหรือครับเนี่ย ขออภัย ออกทะเลจนได้ครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 มี.ค. 02, 10:24

ซุปกับทะเลก็บูยาเบสซิครับ^_^
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 มี.ค. 02, 01:50

โป๊ะแตกอร่อยกว่า  ;-)
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 มี.ค. 02, 05:20

คำว่าไป๊ะนี่หมายถีงอุปกรณ์การประมงอย่างหนึ่งใช่เปล่าครับ
แต่ไงก็แซ่บหลายๆๆ ยิ้ม~
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 มี.ค. 02, 10:30

ซาละเปา ล่ะคะ มีที่ไหน อร่อยๆบ้าง จิบชาจีนร้อนๆไปด้วย คงอร่อยนะคะ
บันทึกการเข้า
ทองรัก
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 มี.ค. 02, 20:57

ในซอยโชคชัย 4 ลาดพร้าว มีร้านซาลาเปา อยู่ร้นหนึ่งอร่อยมากค่ะ  โดยเฉพาะใส้ผัก ที่เป็นกะหล่ำปลีหั่นฝอยๆ
ผัดกับเห็ดหอมใส่ซอสปรุงรส ออกรสเค็ม ๆ หวาน ๆ
 แป้งซาละเปาก็นุ่มมาก เสียดายที่ทองรักจำชื่อร้านไม่ได้
จำได้แต่ว่าข้างกล่องซาลาเปาเขียนว่าซาลาเปาอ่องเต้
เอาไว้ถ้ามีโอกาสพบกันคราวหน้า ทองรักจะซื้อไปฝากคุณฝอยฝนนะคะ ว่าแต่ว่าฮ่องเต้นี่เสวยซาลาเปาจริง ๆ หรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 18 มี.ค. 02, 14:21

ขอบคุณนะคะ คุณทองรัก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง