เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 12233 ชื่อนักฟิสิกส์ที่ศึกษาหลุมดำ (ไม่ผิดห้องหรอกครับ)
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00

เรื่องภาษาลาว ผมก็ไม่ชำนาญ แต่ผมเข้าใจว่าจะตรงกันข้ามกับที่คุณนิรันดร์ว่ามาครับ
ทั้งไทยทั้งลาวออกเสียงชื่อเมืองหลวงของลาวได้ถูกต้องอยู่แล้ว ว่า เวียงจันทน์ (แต่ในภาษาลาว เขาใช้ เวียงจัน เฉยๆ )
คนออกเสียงผิดในกรณีนี้คือฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมต่างหากครับ ที่เป็นคนเพี้ยน ออกเสียงสำเนียงฝรั่งว่า เวียนเชียน แต่เขียนใช้ตัว ti เวลาออกเสียงเป็น ช. ครับ
ทางเมืองจีน ปักกิ่งเป็นภาษาไทยกลายครับ คนจีนสำเนียงจีนกลางออกเสียงว่า เป่ยจิง แปลว่า มหานครทางเหนือ (ผมเคยเขียนล้อๆ ไว้ว่า ปักกิ่งก็คือ อุดรธานี) สำเนียงแต้จิ๋วแท้ๆ ออกเสียงว่า ปักเกียครับ    
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00

ผมว่าลิ้นคนไทยนี่เลียนสำเนียงของภาษาต่างชาติได้ค่อนข้างง่ายกว่าชาติอื่นๆ นะครับ
เพราะเท่าที่รู้จักเพื่อนอยู่หลายประเทศทั้งที่พูดจีน (หลายสำเนียง) ญี่ปุ่น พูดแสปนนิช
หรือภาษาฮินดี แล้วก็พูดอังกฤษทั้งอเมริกัน  ออสเตรเลีย อ้อ..รัสเซีย กับ เช็ค ก็มี
เวลาเจอหน้าตั้งวงกิน วงคุยกันก็มักจะมีการถามการสอนภาษาของแต่ละที่กันทุกครั้ง
ผมสังเกตว่าลิ้นคนไทยมักจะไม่ค่อยมีปัญหาใรการดัดแปลงเลียนเสียงคำยากๆ
ซึ่งเท่าที่ฟังสำเนียง หรือคำที่ออกเสียงยากที่สุดคือภาษาจีนนี่แหละครับ สวีดิชก็ยาก
คนที่ออกเสียงเลียนสำเนียงภาษาอื่นได้ยากที่สุดเห็นจะเป็นญี่ปุ่น กับอเมริกันนี่แล
บันทึกการเข้า
ลูกมณี
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00

อ้าว..คุณหลวงนิลฯก็เคยไปจีบสาวอักษรฯเหมือนกันหรือเจ้าคะ
คิกคิก ^_^
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00

ก็คิดเหมือนกันน่ะค่ะ  ว่าคงไม่มีใครทราบจริงๆหรอกว่าการออกเสียงภาษาสันสกฤตแท้ๆนั้นเป็นอย่างไร  เพราะมันตายไปนานแล้วอย่างคุณนิลกังจาว่า  แต่คาดว่าเค้าก็คงมีการสืบทอดมาใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา  และก็คงนับได้ว่า  คนอินเดียเค้าใกล้ชิดกับภาษาสันสกฤตมากกว่าเรา  ความเพี้ยนที่จะมีก็คงมีน้อยกว่า

ก็ตัดสินใจยากน่ะค่ะ  ถึงได้มาขอความเห็น  จริงๆแล้วดิฉันก็ไม่ใช้ ชานดราแน่ๆค่ะ  คิดว่าจะใช้ จันดรา  เพื่อประนีประนอมทั้งสองฝ่าย  เพราะการใช้ในครั้งนี้  เป็นชื่อยานอวกาศที่ไม่ได้ใช้ในความหมายของคำทั่วๆไปที่หมายถึง พระจันทร์  ก็ใจชื้นขึ้นหน่อยว่า  แม้ในหมู่พระสงฆ์  ก็มีกลุ่มที่เห็นว่าควรกลับไปรักษาสำเนียงที่ใกล้เคียงของๆเค้ามากกว่า  การทำไปตามๆกันมันคงไม่ยุ่งยากอย่างนี้  แต่มันขัดๆกับความรู้สึกของดิฉันยังไงไม่ทราบน่ะค่ะ  

อย่างที่คุณทิดว่า  ดิฉันก็เห็นด้วยว่า  หากให้ออกเสียงเป็นคำๆเดี่ยวๆแล้ว  คนไทยสามารถออกเสียงได้ใกล้เคียงมาก  แต่การพูดภาษาต่างประเทศทั้งประโยคทั้งข้อความที่ประกอบกันด้วยหลายๆคำแล้ว  ใหม่ๆดิฉันก็งงว่าทำไมฝรั่งฟังเราไม่รู้เรื่อง  ใช้เวลานานทีเดียวกว่าจะเข้าใจว่า  ระบบการออกเสียงของเราค่อนข้างจะตายตัว  เป็น static ไม่มีการลื่นไหลต่อเนื่องของโทนเสียง  แต่ภาษาตะวันตกจะมีความลื่นไหลต่อเนื่องมาก  เสียงวรรณยุกต์ก็ต่างงกันไปตามตำแหน่งของคำในประโยค  ตรงนี้แหละค่ะที่ลิ้นเราแข็งกว่าเค้า  มันอธิบายลำบาก  ต้องออกเสียงกันใหได้ยินจึงจะยกตัวอย่างได้  

ปล เห็นด้วยค่ะว่าน่าจะทำให้ preview ได้  ตรวจทานที่เขียนไม่ได้เลยค่ะ  
บันทึกการเข้า
เด็กติดเกาะ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

ไม่ค่อยทราบหลักการแปลเป็นภาษาไทยหรอกค่ะ แต่อยากจะแนะว่าถ้าหากจะต้องการตรวจทานข้อความก่อนส่งก็ทำได้ค่ะแต่มันจะมี trick  นิดหนึ่ง ว่าให้เขียนข้อความก่อนโดยไม่ใส่ชื่อ แล้วพอเขียนเท่าที่อยากจะเขียนเสร็จแล้วก็กด post message แต่เพราะว่าไม่ได้ใส่ชื่อจะมีหน้าเตือนว่าให้กลับไปใส่เสีย เพราะฉะนั้นเราก็ถือโอกาสนี้อ่านตรวจทานไปเสียเลย เพราะข้อความจะมีขนาดใหญ่ขึ้นอ่านง่ายขึ้นค่ะ  อ่านเสร็จเราก็กด back แล้วก็กลับไปแก้และใส่ชื่อเสีย อาจจะไม่สะดวกสักนิดแต่ก็คงพอไหวน่ะค่ะ  
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

อ่านจนตาลาย...



ขอตอบคุณนิลกังขาเรื่องชื่อผู้ค้นพบการกระเจิงแบบรามันกับชื่ออดีตประธานาธิบดีอินเดียก่อนก็แล้วกัน... เมื่อกี้นี้โทรไปถามเพื่อนชาวอินเดียมาได้ความว่า... ท่านผู้ค้นพบการกระเจิงแบบรามันมีชื่อว่า Chandrasekhara Venkata Raman ส่วนท่านอดีตประธานาธิบดีนั้นชื่อ Venkata Raman เป็นคนละคนกัน ส่วนข้อที่ว่านามสกุลเดียวกัน..มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกันหรือไม่นั้น เพื่อนไม่ทราบ



สำหรับเรื่องการออกเสียงและสะกดคำในภาษาสันสกฤตนั้น ทั้งฝรั่งและทั้งไทยต่างก็ถอดมาจากอักษรเทวนาครีทั้งคู่ และก็มีเพี้ยนไปจากการออกเสียงในภาษาสันสกฤตแท้ ๆ ทั้งคู่  แม้แต่คนอินเดียในยุคก่อนเองก็คงจะออกเสียงอักษรเทวนาครีตัวหนึ่ง ๆ หรือคำหนึ่ง ๆ ไม่เหมือนกัน เพราะเป็นประเทศใหญ่ แต่ละถิ่นแต่ละภาคก็อาจจะมีสำเนียงเฉพาะถิ่น ไม่เหมือนกัน ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ๆ ก็คือภาษาจีนนั่นไง คำเดียวกันแต่ออกเสียงได้หลายอย่าง แล้วแต่ว่าเป็นสำเนียงจีนแต้จิ๋ว หรือจีนฮกเกี้ยน หรือจีนกวางตุ้ง ฯลฯ



เมื่อเป็นเช่นนี้นักปราชญ์ราชบัณฑิตฝรั่งและไทยจึงต่างก็ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับตนขึ้นมา อย่างเช่นอักษรเทวนาครีในภาษาสันสกฤตตัวหนึ่ง ฝรั่งอาจจะเห็นว่าออกเสียงตรงกับตัว j ของเขามากที่สุด จึงกำหนดให้ใช้ตัว j สำหรับอักษรเทวนาครีตัวนั้น ในขณะที่ไทยอาจจะเห็นว่าตรงกับตัว ช มากที่สุด จึงใช้ตัว ช ตัวอย่างเช่น คำในภาษาสันสกฤตที่แปลว่าพระเจ้าแผ่นดิน ไทยเห็นควรออกเสียงว่า "ราชา" แต่ฝรั่งเขียนเป็น "raja" แทนที่จะเป็น "racha" อย่างนี้เป็นต้น



ทั้ง "ราชา" ในภาษาไทย และ "raja" ในภาษาฝรั่ง ต่างก็หมายถึงพระเจ้าแผ่นดินในภาษาสันสกฤต หมายถึงสิ่งเดียวกัน เทียบมาตรฐานแล้วเข้าใจตรงกัน แต่ถ้าหากมีคนไทยสักคนบอกว่า "raja" ต้องออกเสียง(และสะกด)เป็น 'ราจา' ต่างหาก ฉันจะสะกดเป็น 'ราจา' เพราะลองออกเสียงฟังดูแล้วใกล้เคียงกับที่ฝรั่งออกเสียงคำว่า "raja" มากกว่า ถ้าสมมุติว่าเป็นเช่นนี้จริง แล้วคำว่า 'ราจา' ในภาษาไทยหมายความว่าอะไรล่ะ?...



ฉันใดก็ฉันนั้น... ถึงแม้ว่าคำที่สะกดว่า "chandra" ฝรั่งทั่ว ๆ ไปจะออกเสียงว่า 'ชานดร้า' หรือ 'แชนดร้า' หรืออะไรก็แล้วแต่ หากต้องการรักษาความหมายว่า "chandra" นี้หมายถึงดวงจันทร์ หากจะสะกดเป็นภาษาไทยก็ควรสะกดว่า "จันทรา" มากกว่า 'จันดรา'



ตอบคุณพวงร้อย...

คำว่า "จันทรา" มาจากคำสันสกฤตว่า "จนฺทฺร" [จัน-ทฺระ] ตรงกับคำบาลีว่า "จฺนท" [จัน-ทะ] ซึ่งมาจาก "จทิ" ธาตุในความ"ปรารถนา" "ชอบ" "ชอบใจ" "ทำให้เกิดสุข" "เป็นสุข" "สบาย" "รุ่งเรือง" "ส่องสว่าง" "สวยงาม" เมื่อนำมาปรุงเป็นคำนามด้วยวิภัติปัจจัยตามหลักไวยากรณ์สำเร็จเป็น "จนฺทร" หรือ "จนฺท" แล้ว แปลตามรูปวิเคราะห์ว่า "ผู้ให้ความสว่าง(ในยามราตรี)" แต่ศัพท์นี้ใช้หมายถึงพระจันทร์ [เหมือนกับคำว่า "ศศิธร" ซึ่งแปลตามรูปวิเคราะห์ว่า "ผู้ทรงไว้ซึ่งกระต่าย" แต่ศัพท์นี้ใช้หมายถึงดวงจันทร์]
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

วันหนึ่งได้ลองถามเพื่อนชาวอินเดียที่อยู่ในห้องทำงานเดียวกันและเห็นบอกว่าเคยเรียนภาษาสันสกฤตมาเหมือนกันว่า "How do you pronounce the name 'Dhrฺtarasฺtฺra' ?" ฟังเพื่อนออกเสียงให้ฟังตั้งหลายรอบแล้ว ก็ยังยากที่จะจับได้ว่าเป็น "ธฺฤตราษฺฏฺร" [ทฺริ-ตะ-ราด-สฺตฺระ] (สะกดอย่างไทย ๆ ก็คือ "ธฤตราษฎร์")
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

อ้อ...ชื่อข้างบนนี้มาจากตัวละครในเรื่องภควัทคีตา
ตัว dh = ธ
ตัว rฺ = ฤ
ตัว t = ต
ตัว a = เสียงสระอะ
ตัว r = ร
ตัว a มีขีด(bar)ข้างบน(ซึ่งเขียนไม่ได้ในที่นี้) = า
ตัว sฺ = ษ
ตัว tฺ = ฏ
การถอดอักษรเทวนาครีเป็นอักษรโรมันและอักษรไทยอย่างข้างบนนี้เป็นสัญนิยมที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก


รัชกาลที่ ๖ ท่านเป็นปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตชนิดหาตัวจับยากท่านหนึ่งของเมืองไทย จะสังเกตว่าชื่อหรือนามสกุลที่พระองค์ทรงพระราชทานให้แก่บุคคลต่าง ๆ นั้นมักจะเป็นคำสันสกฤต และการสะกดชื่อหรือนามสกุลเหล่านั้นเป็นภาษาอังกฤษพระองค์ท่านก็ยึดหลักสัญนิยมที่ว่านี้ อย่างเช่นใครชื่อ "สุคนธา" ท่านก็จะสะกดให้เป็น "Sugondha" หรือ "อภิรมย์" ท่านก็จะสะกดให้เป็น "Abhirom"  เพราะฉะนั้นใครที่เห็นชื่อหรือนามสกุลในลักษณะนี้ ก็ให้นึกถึงหลักการอ่านที่ว่าไว้ อย่าไปอ่านเป็น "สุกนทา" หรือ "อบิรม" ให้เจ้าของชื่อเขาไม่พอใจล่ะ  
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

เมื่อต้นเดือนที่แล้ว เพื่อนสนิทที่เมืองไทยคนหนึ่งขอให้ช่วยตั้งชื่อหลานชายที่กำลังจะเกิดให้หน่อย ก็ได้ตั้งให้ไปถูกตามหลักทักษา (รู้วันเกิดเพราะจะผ่าคลอด) ไพเราะ สวยหรู ความหมายดี (มีความหมายเหมือนชื่อคนตั้งเป๊ะเลย!) แล้วคิดเสร็จก็โทรศัพท์ไปบอก พร้อมแยกคำ-วิเคราะห์ศัพท์ให้ด้วย เพราะชื่อนี้ไม่มีในพจนานุกรม กลัวว่าทางเขตเขาจะไม่ยอม พอเพื่อนถามว่าแล้วชื่อนี้จะสะกดเป็นภาษาอังกฤษยังไงล่ะเนี่ยะ ก็ถามว่าจะสะกดแบบหลักนิยมอย่างรัชกาลที่ ๖ (อย่างที่พูดข้างบน) หรือจะเอาแบบการถ่ายเสียงตามหลักของราชบัณฑิตยสถานล่ะ เพื่อนก็ถามว่าทั้งสองแบบเป็นยังไงล่ะ  พอบอกตามหลักนิยมของรัชกาลที่ ๖ ไป เพื่อนรีบบอกเลยว่า "ไม่เอา ๆ... สะกดแบบนี้แปลกๆ ... งั้นเอาแบบราชบัณฑิตยสถานดีกว่า..."
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

ใครที่อ่านอักษรเทวนาครีไม่ออก และอยากได้อรรถรสของเรื่องนี้ (ซึ่งพากษ์ที่แปลเป็นภาษาไทยไม่มี) แนะนำให้อ่านพากย์ภาษาอังกฤษเล่มข้างล่างนี้ เล่มนี้ได้ชื่อว่าเป็นพากย์ภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด มีโศลกเป็นอักษรเทวนาครีอย่างต้นฉบับ มีการถ่ายเสียงอักษรเทวนาครีเป็นอักษรโรมัน(ภาษาอังกฤษ)ตามหลักสัทนิยม มีคำแปลโศลก และมีคำอธิบายเนื้อความอย่างละเอียด  
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai96x24.jpg'>
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

กระผมขอใช้สิทธิพาดพิงครับ .. ท่านประธาน ... คุณ Anonymous มาพูดถึงนามสกุลผม - ผมต้องโวย - ต้องโวยว่า - - ยังหาคนร่วมใช้นามสกุลไม่ได้เลยครับ แฮ่ะๆ ขอบคุณคุณ Anonymous ที่เปิดโอกาส แหะๆ
นามสกุลผมถอดเป็นอักษรโรมัน เป็นดังที่คุณ Anonymous ยกมาแหละครับ ซึ่งฝรั่งร้อยละทั้งร้อยเห็นแล้วก็มึน ออกเสียงไม่ถูก ไม่เหมือนเสียงในภาษาไทย เชื่อว่านามสกุลพระราชทานอีกหลายสกุลก็เช่นเดียวกัน แต่วิธีถอดของ ร. 6 ท่านเป็นไปตามหลักภาษาสันสกฤตเดิมครับ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

ดิฉันก็ขอประท้วงคุณ เอ อะนอนีมัส เหมือนกันค่ะ อิอิ

แหม ดิฉันไม่ได้ว่าจะออกเสียงเพื่อตาม "ฝรั่ง" ซักกะหน่อย  ไม่ได้ได้มีที่ไหนว่าไว้เลยว่าที่มาคิดถึงการสะกดว่า จันดรา  
เพราะฝรั่งเค้าว่ายังงั้นเลยนะค้า  ไม่ได้ไปถามฝรั่งนี่นา  คิดว่าบอกแล้วนี่คะว่าไปถามคนอินเดีย  แต่ทั้งนี้แหละทั้งนั้น  
ต้องการให้ใกล้เคียงการออกเสียงจากต้นภาษาสันสกฤตเสียมากกว่า  
ใช่ว่าจะทำไปตามใจชอบหรือหลับหูหลับตาตามฝรั่งก็หาไม่นะคะ

คุยกับเพื่อนชาวอินเดียบอกเค้าว่าคนไทยจะออกเสียงอย่างนี้  เค้าก็ทำหน้างงๆว่าทำไมถึงเจตนาที่จะออกเสียงให้ผิดไปเล่า  
ดิฉันมาตรองดูถึงได้แง่คิดน่ะค่ะ  ว่าจริงอยู่ ไม่มีใครทำได้ใกล้เคียงภาษาสันสกฤตที่สุด  แต่เรามาสะกดแบบนี้เพื่ออะไร  
ไม่ใช่ว่าจะค้านเพื่อ "จะค้าน" ของเก่าที่เราทำตามกันสืบๆมานะคะ  เพียงแต่ต้องการหาเหตุผล  หากเหตุผลของดิฉันอยู่ที่
"เคารพ" การออกเสียงของภาษาเดิม  แล้วมาพิจารณาว่า การปฏิบัติที่เราทำตามๆกันมานี้ตรงกับเหตุผลนั้นหรือไม่  
ถ้าไม่แล้วก็อยากทราบว่าเพราะอะไร  เป็นการถามเพื่อต้องการเข้าใจ  ไม่ใช่ถามเพื่อท้าทายไม่ยอมรับของเก่า

ข้อที่ว่า  คนที่ตั้งกฏแบบนี้เป็นคนที่มีความสามารถแล้ว  ให้เชื่อไปตามนั้น  ให้ทำตามไปตามนั้น  
ก็ยังไม่สามารถไขข้อข้องใจของดิฉันได้เลยค่ะ  ไม่ได้เป็นการหมิ่นนะคะ  แต่ดิฉันมองอะไรโดยใช้หลักกาลามสูตรเป็นที่ตั้ง  
ถ้ายังไม่เข้าใจในเหตุผลที่แท้  ที่ไม่ใช่ว่า  "ทำตามผู้ใหญ่" ไปเหอะ อะไรแบบนั้น  ก็ยังตะหงิดๆใจอยู่น่ะค่ะ  
มิได้มีใจลบหลู่ดูหมิ่นผู้ใหญ่  หรือมิได้เคารพมีใจไม่ยอมเชื่อว่า  ร๖ ท่านทรงมีพระปัญญาลึกล้ำ เลยแม้แต่น้อยนะคะ  
คิดว่าการที่เรากระทำเพื่อได้รับความรู้  มิใช่หลับหูหลับตาทำตามไป  ก็ใช่ว่าเป็นการกระทำที่ขาดความจงรักภักดี  
หรือเห็นฝรั่งดีกว่าคนไทยนะคะ  คิดว่าไม่เกี่ยวกันเลย  

 
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

ขอบคุณคุณ Anonymous มากค่ะ  ที่กรุณาไปค้นมาให้  และอธิบายให้กระจ่างแจ้งจริงๆ  
ชื่นชมกับการอธิบายให้อย่างละเอียดของคุณมานานแล้วค่ะ ;-)   แถม cross reference
วิธีการใช้คำแทนความหมายดังตัวอย่างของคำว่า ศศิธร มาด้วย อย่างนี้รู้ใจจริงๆค่ะ  
เพราะคิดว่าคงเป็นการมาจากให้ความนัย ไม่ใช่ศัพท์ตรงตัว  
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

ยังมีอีก ๒ ศัพท์ที่สำเร็จมาจาก "จทิ"ธาตุ เหมือนกัน (แต่ปรุงมาจากวิภัติปัจจัยคนละตัว) คือ

"จทิร" [จะ-ทิ-ระ] - จทิระ - ผู้ให้แสงสว่างสุกใส(ในยามราตรี) หมายถึงดวงจันทร์

"จนฺทิมนฺตุ" [จัน-ทิ-มัน-ตุ] - จันทิมันตุ์ - ผู้มีแสงสว่างเป็นปกติ(ในยามราตรี) หมายถึงดวงจันทร์ ศัพท์นี้มักใช้ในรูปปฐมาวิภัติว่า "จันทิมา"

รูปกริยาคือ "จนฺทติ" แปลว่า ย่อมส่องแสง ย่อมรุ่งเรือง ย่อมส่องสว่าง ย่อมสวยงาม ฯลฯ



ยังมีศัพท์อีกหลายสิบคำทั้งในภาษาบาลีสันสกฤตที่หมายถึงดวงจันทร์ เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อชาวเรือนไทย จึงจะขอนำไปตั้งเป็นกระทู้ใหม่
บันทึกการเข้า
Homeless UK
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

ผมเห็นด้วยกับคุณพวงร้อยครับ การไม่ปฎิบัติตามไม่ได้หมายความว่าลบหลู่หรือดูมิ่นของเดิม
การทำให้ถูกต้องตามหลักภาษานั้นสำคัญก็จริงอยู่ แต่ผมไม่เห็นว่าเป็นหลักตายตัวที่ทุกคนจะ
ต้องปฎิบัติเหมือนกันหมดและละเมิดไม่ได้  

การอนุรักษ์ภาษา และวัฒนธรรมไทยนั้นผมเห็นด้วย แต่ไม่เห็นด้วยที่ว่าเคยเป็นมาอย่างไร
จะต้องเป็นไปอย่างนั้นตลอดกาล ( แฮะๆๆ มันฟังดูเหมือนเผด็จการนะครับ )
สิ่งต่างๆ นั่นมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภาษาก็เหมือนกัน
คำๆ เดียวกันเมื่อก่อนมีความหมายหนึ่ง เดี๋ยวนี้มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง
ภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน ขนาดหลักไวยกรณ์บางหลักยังเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา
นับประสาอะไรกับภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาที่ยังไม่ตายเหมือนกัน โดยเฉพาะในเรื่องทาง
วิทยาศาสตร์นี่ มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา บางอย่างไม่มีบัญญัติในราชบัณฑิตยสถานด้วยซ้ำไป

ผมว่าอยู่ที่ผู้ใช้จะอ้างอิงสิ่งใด การอ้างอิงไม่เหมือนกันก็ไม่ได้หมายความว่าอีกฝ่ายจะผิด
ผมว่าเราควรเคารพในความคิด และเหตุผลของผู้อื่นครับ  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง