เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 12235 ชื่อนักฟิสิกส์ที่ศึกษาหลุมดำ (ไม่ผิดห้องหรอกครับ)
นิลกังขา
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 11 ต.ค. 00, 12:00

เพิ่งตามไปอ่านบทความเรื่องหลุมดำใน V-Mag เห็นชื่อนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่ศึกษาเรื่องนี้ เป็นชาวอินเดีย (ดูจากชื่อต้น น่าจะเป็นอินเดียใต้ อาจจะเป็นชาวทมิฬ) ชื่อแกถ้าฝรั่งเรียก คงออกเสียงคล้ายๆ "ซูบรามานายาม จันดราเช้กร้า"  น่าเห็นใจนักวิทย์ของ V-Team เหมือนกัน ที่ไม่รู้จะถอดเป็นภาษาไทยยังไง
เลยต้องขอให้คุณเทาชมพูข้ามฟากไปบอกหน่อยครับ แบบสหวิทยาการไงครับ
ผมเองก็เด็กสายวิทย์ครับตอน มศ. 4-5 แต่เข้าเรียนรัฐศาสตร์ตอนโต ขอเดาแบบเด็กวิทย์ที่เคยไปจีบสาวอักษรฯ แต่จีบไม่ติด - ว่า ชื่อของนักฟิสิกส์ท่านนี้ น่าจะถอดเป็นไทยว่า " สุพราหมัณยัม จันทรเศขร" ใช่ไหมครับ คุณครู?
จันดราเชกร้า หรือจันทราเศขร หรือที่ V-mag ได้พยายามเต็มที่แล้ว- ถอดว่า จันทราสิขา นี้ ก็คือพระนามหนึ่งของพระศิวะนั้นเอง แปลว่า "ผู้ทัดจันทร์เป็นปิ่น" ใช่ไหมครับ คุณครู?
ฝากชมข้ามไปด้วยครับ ว่า V-Mag ทำได้ดี
บันทึกการเข้า
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

เข้าใจว่านายจันทราหรือจันดา แกเป็นนักดาราศาสตร์ชาวอินเดียที่ทำงานวิจัยอยู่ในสหรัฐฯ
หรืออาจเป็นชาวอินเดีย สัญชาติอเมริกัน
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

ใช่แล้วครับ จันทรเขศร หมายถึงผู้ทรงจันทร์ เป็นปิ่น นั่นคือ พระศิวะ หรือ พระอิศวรนั่นเอง เรื่องพระจันทร์ทำไมต้องกลายเป็นปิ่นประศิวะนั้น ผมเคยเล่าไปแล้วในพันทิพย์ น่าจะเคยอ่านกันแล้ว ใครมีเก็บไว้จะเอามาแปะให้อ่านกันอีกก็ดีนะครับ ส่วนผมเองไม่มีแหะ จะพิมพ์ใหม่ก็ยาวเหลือเกิน
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

ขอบคุณคุณนิลกังขาครับ ยิ้ม
ที่ผมถอดความว่า จันทราสิขา เพราะได้ยินฝรั่งออกเสียงว่า ชานดราเช้กร้า
อย่างที่เข้าใจแหละครับ เลยคิดว่าน่าจะมาจากจันทราสิขา  ขอบคุณที่ช่วยแนะนำครับ
--------------------------------------------------------------------------
เสริมคุณลุงแก่ครับ จันทราสิขา เกิดที่อินเดีย แล้วมาเรียนปริญญาเอกที่ มหาวิทยาลัย
เคมบริด ประเทศอังกฤษครับ ตอนหลังก็ย้ายไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐฯ
ส่วนเรื่องสัญชาตินั่นไม่แน่ใจครับ
--------------------------------------------------------------------------
ความจริงอินเดียเป็นชาตินักคิดแต่โบราณ ไทยก็ได้รับวัฒธนธรรมและแนวคิดมาจากอินเดีย
หลายอย่าง แต่รู้สึกว่าคนไทยจะมองอินเดียในลักษณะว่ายากจน หาว่าเป็นแขกทำนอกนั้น
 
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

ชื่อ "Subrahmanyan Chandrasekhar" ถ้าถอดแล้วจะเป็น "สุพราหฺมณฺยนฺ จนฺทฺรเศขรฺ" หรือสะกดอย่างไทยก็จะเป็น "สุพราหมัณยัน จันทรเศขร" อย่างที่คุณนิลกังขาว่าไว้

คำว่า "เศขร" [เส-ขะ-ระ] หรือ "ศิขร" [สิ-ขะ-ระ] (ไทยอ่านว่า สิ-ขอน) แปลว่า ผมที่ขมวดอยู่กลางกระหม่อม
ชื่อหนึ่งของพระศิวะคือ "จันทรศิขร" หรือบางทีก็เรียก "จันทรศีขร" นี้แปลว่า ผู้มีจุกผมประดับด้วยพระจันทร์ หรือ ผู้มีพระจันทร์เป็นปิ่น อย่างที่คุณพระนายว่าไว้

ขออนุญาตเสริมอีกนิดว่า มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดียอีกท่านหนึ่ง ชื่อ "จันทรศิขระ" เหมือนกัน
คือ Chandrasekhara Venkata Raman (จันทรศิขระ เวณกตะ รามัน)
ท่านรามันนี้ได้รับรางวัลโนเบลเช่นกัน ในสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ.1930 (ได้ก่อนท่านจันทรศิขรที่พูดถึงข้างบน 53 ปี) ในฐานะที่เป็นผู้ศึกษาการกระเจิงของแสงโดยอะตอมหรือโมเลกุล แสงที่กระเจิงออกไปแล้วจะมีความถี่ลดลง นั่นคือมีพลังงานลดลงด้วย [พลังงานที่หายไปนี้กลายไปเป็นพลังงานของโฟนอนแสง(optocal phonon)] การกระเจิงของแสงแบบนี้เรียกว่า "การกระเจิงแบบรามัน" (Raman scattering) เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านรามันผู้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ การกระเจิงแบบรามันปัจจุบันนำมาใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์เลเซอร์แบบรามัน และตัวขยายสัญญาณแสงแบบรามัน เป็นต้น
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

สะกดผิด ขออภัย...

แก้จาก optocal เป็น optical

---> โฟนอนแสง (optical phonon)

 
บันทึกการเข้า
หน่อย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

อยากฟังเรื่องของคุณพระนายค่ะ
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

พูดถึงเรื่องฝรั่งเรียกขานชื่อคนต่างชาติแบบผิดเพี้ยนไปจากภาษาเดิมของเขาแล้ว นึกถึงอีกชื่อหนึ่งที่ได้ยินออกเสียงผิดบ่อย ๆ เผอิญเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์การกระเจิงแบบรามันที่พูดถึงข้างบน เลยอดไม่ได้ที่จะพูดถึงชื่อปรากฏการณ์นี้ด้วย คือ "Brillouin scattering"  [เป็นปรากฏการณ์"คู่ห฿"กับ Raman scattering ต่างกันก็ตรงที่ปรากฏการณ์นี้ก่อให้เกิดโฟนอนเสียง(acoustic phonon) แทนที่จะเป็นโฟนอนแสง(optical phonon)]



ได้ยินฝรั่งออกเสียง "Brillouin" เป็น 'บริยูอิน' หรือ 'บริลลูอิน' กันทั้งนั้น

จริง ๆ แล้ว "Brillouin" นี้เป็นชื่อนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส (ซึ่งก็ได้รับรางวัลโนเบลเหมือนกัน) ออกเสียงว่า "บฺริย-ยวง" (ออกเสียง ย ตัวหน้าอย่างเสียงตัวสะกดแม่เกย)



ยังมีอีกหลายชื่อที่ได้ยินออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากภาษาเดิมของเขาเยอะ ขอยกตัวอย่างที่ตลกที่สุด คือเคยไปประชุมนานาชาติ ได้ยินผู้เสนอผลงานชาวเกาหลีคนหนึ่งออกชื่อท่าน Langmuir (ชาวฝรั่งเศส) ว่า "ลาง-ม๋อย" !!!



[ท่าน Langmuir (ลางมุยร์) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและสำคัญท่านหนึ่งของโลก และหนึ่งในผลงานของท่านที่บุคคลทั่วไปคงจะเคยได้ยินคือ ท่านเป็นผู้ที่ดำริเรียกสถานะที่ ๔ ของสสาร ว่า "plasma"]
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

ขออภัย...พิมพ์คำสำคัญผิดอีกแล้ว...

แก้ "คู่ห" เป็น "คู่หู"

---> Brillouin scattering เป็นปรากฏการณ์"คู่ห฿ู"กับ Raman scattering


ขอถือโอกาสนี้เสนอแนะทาง V-Team ว่า กระดานข่าวนี้น่าจะมีคำสั่ง Preview เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจทานข้อความก่อนส่ง และหากเป็นไปได้ อยากจะขอเสนอให้มีคำสั่งที่สามารถขีดเส้นใต้ข้อความ พิมพ์ตัวหนา พิมพ์ตัวเอียง ฯลฯ ได้ เหมือนอย่างในกระดานเสวนาของพันธุ์ทิพย์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

มีอาจารย์มาช่วยกันอธิบายกันแข็งขัน ละเอียดลอออย่างนี้
ครูบ้านนอกอย่างอิฉันรอดตัวไปค่ะ
ว่างๆเชิญหาชื่อพระเอกนางเอกหนังอินเดียหรือชื่อบุคคลสำคัญของอินเดียมาถอดกันเป็นไทยก็คงสนุกดีนะคะ  
จะรู้ว่าไม่ไกลกันเลย แต่เรามาออกเสียงเพี้ยนไป
จำได้ว่ามีนางเอกหนังชื่อ เฮม่า มาลินี
อาจารย์ดิฉันบอกว่า  เฮม่า  ก็เหมา (อ่านว่า เห-มา) คือ เหม  แปลว่า ทอง
นางอินทิรา คานธี  น่าจะเป็น คันธี  มาจาก คันธ  หมายถึงกลิ่นหอม   เราใช้คำว่า สุคนธ์

ีชื่อในตระกูลชวา-มาเลย์ที่มาจากสันสกฤตก็น่าสนใจค่ะ อย่างชื่อนางในเรื่องอิเหนา  ถอดออกมาจากภาษาแขก แปลงเป็นไทยอีกที ได้เหมือนกัน
อย่าง จินตะหราวาตี = จันทราวดี แปลว่านางซึ่งงามเหมือนดวงจันทร์ (วาตี ชวาแปลว่า lady ค่ะ)
สังคามาระตา = สังขามรรตะ  หอยสังข์ทิพย์

ท้ายสุด อยากให้คุณพระนายเล่าเรื่องปิ่นพระจันทร์ค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00

ฝรั่งเค้าอ่านไม่ผิดหรอกค่ะ  ไปถามคนอินเดียแล้วเค้าก็ยืนยันว่า  ตามสำเนียงฮินดีก็จะออกเสียงว่า  สุบรามันยัน  
ชานดราเส้กข่ะ (เอาตามเสียงพูดนะคะ)  ดิฉันก็ยำ้แล้วยำ้อีกหลายครั้ง  เค้าก็ออกเสียงให้ฟังอย่างนี้แหละค่ะ  
คนอินเดียคนนี้ยังพูดอังกฤษฟังไม่ค่อยจะออกเลยค่ะ  thick accent มาก  
เลยเชื่อได้ว่าสำเนียงของเค้าไม่ได้เพี้ยนเป็นฝรั่งไปแล้ว  ดิฉันก็บอกว่าอยากทราบจังเลยว่า  ตามสำเนียงสันสกฤตแล้ว  
ควรจะออกเสียงว่าอย่างไร  คือคิดไปว่า  คนฮินดีอาจจะออกเสียงเพี้ยนไปก็ได้  เค้าก็ว่าจะไปเช็คให้  
ไปถามภรรยาของเค้าซึ่งเอกสันสกฤตจากอินเดียมาก็ยังยืนยันเหมือนเดิมค่ะ  เค้าสัญญาว่าจะไปเช็คพ่อตาให้อีกที  
พ่อตาเค้าเป็นพราห์มอยู่อินเดียค่ะ  ยังไม่ได้ข่าวเลย  เขียนต้นฉบับฉบับหน้าเสร็จแล้วดิฉันจะตามไปทวงค่ะ

ในเรื่องตระกูลกล้องฯนี่  ต่อจากตอนหน้าดิฉันจะเขียนเรื่อง กล้องจันดรา ค่ะ  ถึงได้ค้นอยู่ว่าจะเรียกอย่างไรดี  
คิดไปคิดมาก็ตัดสินใจว่าจะเรียกว่า จันดรา น่ะค่ะ  จะใช้ว่า ชานดรา เกรงว่าจะฟังดูแปลกเกินไป  
เหตุผลที่จะเรียกอย่างนั้นก็คือ

๑ จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าตัว ฑ นี่  ที่จริงแล้วจะออกเสียงใกล้กับเสียงของตัว ด เด็ก มากกว่า  
อย่างที่เราเอามาใช้ในคำ มณฑป ให้อ่านว่า มนดป  ฟังคนอินเดียเค้าออกเสียงแล้ว  เค้าไม่ได้ออกเสียง ด เด็ก
อย่างเรา  มันติดกลำ้ๆเสียงตัว ต เต่า มานิดๆ  อธิบายไม่ถูกค่ะ  ที่พอจะจำได้ว่าเสียงออกมาจาก ปุ่มเหงือก  
ก็เข้าใจว่า  คงจะมาจากการแตะลิ้นบนเพดานหลังฟันหน้า  ที่เหงือกเพดานมันปูดออกมาหน่อยๆก็เป็นได้  เสียง ด เด็ก
จึงจะใกล้เคียงที่สุด

๒ คนอินเดียเจ้าของภาษาเค้าก็ออกเสียงอย่างนี้  ตัวท่านเองก็เรียกตัวเองว่า ชานดรา  คนทั่วโลกเค้าก็เรียกกันอย่างนี้  
เลยไม่อยากดัดให้มาเข้าแบบไทยๆน่ะค่ะ  เพราะเป็นชื่อเฉพาะของท่าน  และชื่อเฉพาะของกล้อง  
ไม่ใช่ศัพท์ทั่วๆไปในภาษาไทย  ที่เราเขียนว่า จันทรา นี่ก็คงจะนับได้ว่าเป็น คำไทย ไม่ใช่คำสันสกฤตแล้ว

ท่าน Chandrasekhar Ventara Ramen เป็นลุงแท้ๆของท่าน  Subramanyan ค่ะ  ท่านได้รับตำแหน่งเป็น Sir ด้วยค่ะ  
ดูเหมือนจะเป็นชาวต่างชาติคนแรก (ถ้าจำไม่ผิดนะคะ)  ที่ได้รับเกียรติเช่นนั้น

เห็นเค้าว่า คำว่า จันดรา นี่แปลรวมๆแล้วจะหมายความว่า Luminosity  คงจะเป็นทำนองว่า  ผู้ที่มีแสงส่องสว่าง  
อะไรทำนองนั้น  ก็เลยรวมหมายถึงพระจันทร์ไปด้วย  คุณ A กรุณาเช็คให้ด้วยได้มั้ยคะ :-)

ช่วยแนะนำให้หน่อยด้วยค่ะ  ว่าจะเรียกกล้องนี้ว่า  จันดรา  หรือ จันทรา ดี  ยังกำ้กึ่งตัดสินใจไม่ค่อยจะถูกเลยค่ะ  
ดีใจจริงๆที่คุณนิลกังขายกเรื่องนี้มาตั้งประเด็นด้วยค่ะ  

 
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00

อ้อ ท่าน Subrahmanyan Chandrasekhar ได้รับสัญชาติอเมริกันเมื่อปี 1953 ค่ะ  ส่วนลุงของท่าน
ไม่แน่ใจว่าได้มีสัญชาติอังกฤษหรือเปล่าค่ะ  
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00

โอ้โฮ มีคนรู้เยอะกว่าผมเข้ามาแจมเป็นสิบ
ขอแจมต่อครับ ตามประสาคนรู้น้อย
ผมเองมีความเห็นตามประสา... อาตมาภาพ ผู้มีสติปัญญาอันน้อย ... ว่า เรื่องการออกเสียงกับเรื่องการสะกดเป็นตัวเขียน ซึ่งที่จริงน่าจะเป็นเรื่องเดียวกันนั้น ในกรณีนี้เป็นคนละเรื่องกัน
ผมไม่สงสัยเลยที่คุณพวงร้อยว่า คนแขกเขาออกเสียงในภาษาฮินดีอย่างนั้นจริงๆ และปราชญ์แขกก็อาจจะยืนยันได้ด้วยว่า ภาษาสันสกฤตต้นเดิม ก็ออกเสียงยังงั้นด้วยจริงๆ (แต่เท่าที่ทราบ ภาษาสันสกฤตนี่ตายไปนานหลายร้อยปีแล้วนี่ครับ ท่านเมธีซึ่งเกิดไม่ทันภาษาสันสกฤตที่ยังเป็นอยู่ จะรู้ได้อย่างไรว่าสมัยโน้นเขาออกเสียงยังไง- ?)
แต่ไม่ว่าเขาจะออกเสียงอย่างไรก็ตาม อักขรวิธี ที่เขาใช้เขียน เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไทยเรารับอักขรวิธีมาแต่โบราณแล้ว (และออกเสียงเพี้ยนไปจากเดิมแต่โบราณด้วย) แต่ว่าการรักษาอักขรวิธีเป็นการรักษาความหมาย ถ้าถอดให้เคร่งครัดตามอักขระ แล้วให้ไทยออกเสียง แน่นอนว่าไม่เหมือนที่แขกสมัยนี้ออกเสียงแน่ๆ แต่ได้ความหมาย แต่ถ้าเขียนตามเสียงจริงที่ฝรั่งและแขกออกเสียงเป็นภาษาไทย ก็ได้เสียงที่ถูกต้อง แต่โยงเข้ากับองค์ความรู้ไทยเดิมที่รับมาจากอินเดียไม่ได้ กลายเป็นไม่มีความหมายในภาษาไทย ต้องเลือกแหละครับ ว่าจะเอาข้างไหน
เช่น ชื่อ Chandra ถอดเป็น จันทรา คนไทยเข้าใจความหมาย แต่ถ้ามีแขกที่อ่านภาษาไทยออกมาอ่านเข้า อาจท้วงว่าออกเสียงไม่ถูก (ก็ไทยออกเสียงไม่ถูกยังงี้มาแต่โบราณแล้วน่ะ) ถ้าถอดเป็น ชานดร้า แขกคงจะพอใจ ส่ายหน้าหงึกๆ (เวลาแขกเขาตอบรับเขาไม่พยักหน้าครับ) แต่คนไทยก็จะไม่นึกไปถึงพระจันทร์
นี่คงเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ไทยเรายังตกลงกันไม่ได้ว่าจะใช้ระบบใดระบบเดียวในการถอดชื่อไทยเป็นตัวอักษรโรมัน สำนัก ร.6 ท่านจะรักษาอักขรวิธีเดิมเคร่งครัด ไม่สนใจเสียงอ่านเลย ขณะที่ในปัจจุบัน มีหลายท่านรำคาญว่า ถ้าสะกดชื่อนามสกุลเป็นอักษรฝรั่งอย่างนั้น ออกเสียงแล้วมันไม่ใช่ชื่อของท่าน ก็เปลี่ยนใช้ตามเสียงอ่านในภาษาไทย
แม้ในวัด คำสวดหรือคาถาภาษาบาลี พระท่านก็ออกเสียงไม่เหมือนกัน พระบางวัดท่านออกเสียงสบายๆ ตามลิ้นคนไทย เช่น พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ก็ออกเสียงตามนั้น แต่บางวัด เช่นวัดบวรฯ พระท่านจะออกเสียงให้ใกล้สำเนียงแขกเดิมที่สุด เป็น บุดทัม สรนัม กาฉามิ โดยให้มีเสียงก้องด้วย ใครรู้จักพระวัดบวรฯ ลองให้ท่านออกเสียงให้ฟังก็ได้ครับ    
บันทึกการเข้า
นกข. - อีก
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00

ขอถาม นักวิทยาศาสตร์อินเดียที่พบปรากฏการณ์การกระเจิงแบบรามัน ทำไมชื่อไปเหมือนอดีตประธานาธิบดีอินเดียคนหนึ่งเข้าได้ล่ะครับ เป็นญาติกันรึเปล่า
นักดนตรีเครื่องสายอินเดียคนหนึ่ง ชื่อ รวิ ชังการ์ ก็สามารถถอดได้เป็น รวิ ศังกร ศังกรนี่เป็นชื่อเดียวกับศังกราจารย์ ที่เป็นปราชญ์ฮินดูที่ได้ปรับปรุงปฏิรูปศาสนาฮินดูยุคหลังโดยดูดกลืนหลักของพุทธศาสนาไปเยอะ จนพุทธในอินเดียละลายหายเข้าไปในฮินดูเลย  
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00

เท่าที่จำได้ ภาษาไทยของเราก็มีเอกลักษณ์ของเรา มีตัวสะกดอยู่ 8 มาตรา
พยัญชนะต้นหลาย ๆ ตัวที่เอามาจากภาษาแขก เราก็เอามาออกเสียงเหมือน
กัน เช่น ฎ ด ฏ ต ฐ ถ ซึ่งอัขระเหล่านี้ เจ้าของเขาคงออกเสียงไม่เหมือนกัน
แล้วอีกอย่าง คนไทยเราแต่ก่อน ถ้าออกเสียงอย่างเขาไม่ได้ เราก็ออกเสียง
เป็นไทยไปเสียเลย
เช่นหมอบลัดเลย์ ฯลฯ
เคยฟังคุณยายเรียกโทรเลขว่า ตะแล็บแก็บ พอโตขึ้นก็รู้ว่ามาจาก telegraph
ซึ่งสำหรับคนไทย ผมว่าออกเสียงอย่างฝรังยากมาก
อย่าว่าแต่ภาษาฝรังเลย เอาภาษาเพื่อนบ้านเมืองลาว เขาเรียกบ้านเขาว่า
เวียนเทียน แต่เราเรียกว่าเวียงจันทร์(ถูกหรือเปล่าเอ่ย ผู้รู้มากกว่าช่วยท้วงด้วย)
หรืออย่างมหานครปักกิ่ง ชาวจีนเองเขาก็เรียกว่า ไบจิง(ก็คงไม่ถูกเท่าไร แบบไทย
ๆ อีกนั่นแหละ)
ผมเคยพยายามคุยกับเพื่อนที่เป็นชาวอิเดียที่เป็นฮินดูเรื่องรามเกียรติ์ พอผมพูดชื่อ
ตัวละครเอกขึ้นมา เป็นงงมากเลย เขารู้จักรามยตณะแบบที่แตกต่างจากที่เรารู้
คุยกันไม่รู้เรื่อง

เข้าประเด็นหรือเปล่าไม่ทราบนะ คือว่าอยากคุยกับเรือนไทย คุณเทาชมพู
แล้วก็ Anonymous เขาไปชวนมาครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง