เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 10932 คุยกันเรื่องสามก๊กกันหน่อยดีกว่า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 06 มี.ค. 02, 08:56

สาเหตุคือว่า ช่วงนี้ผมกำลังไปติดตามอ่านสามก๊กฉบับคนขายชาติ โดยคุณเรืองวิทยาคม
ไม่ทราบว่าทำไมแกตั้งชื่อดุเดือดขนาดนี้เหมือนกัน
สำหรับเรื่องสามก๊กนี่เป็นเรื่องจีนอิงประวัติศาสตร์ที่ผมอ่านมาแล้วหลายรอบอยู่แล้วก็อ่านมาหลายฉบับแล้ว ตั้งแต่ฉบับแปลต้นตำรับของท่านเจ้าพระยาพระคลัง, ฉบับวณิพกของยาขอบ, ฉบับนายทุนของอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์, ฉบับผู้บริหาร(จำไม่ได้ว่าของใคร), แล้วก็เนี่ยครับ ฉบับคนขายชาติของคุณเรืองวิทยา
ในความรู้สึกของผม สามก๊กยังเป็นงานเขียนอิงประวัติศาสตร์ ที่ยอดที่สุดสำหรับนักบริหารจะต้องอ่านแล้วก็เรียนรู้ กลยุทธการใช้คนของสามก๊กนี้เยี่ยมยอดมากและน่าศึกษามาก ตัวละครแต่ละตัวของสามก๊กนั้นเรียกว่าเหมือนบุคคลจริง ๆ ไม่ค่อยมีใครมีความเป็นฮีโร่หรือมนุษย์ในอุดมคติเลย
ผมเคยอ่านการเขียนที่วิจารณ์มุมมองเรื่องสามก๊ก โดยเฉพาะคุณยาขอบ กับ อาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์   เพราะคุณยาขอบนั้น แกอิงกับสามก๊กฉบับเดิม ที่เขียนให้ โจโฉ คือผู้ร้าย ส่วนเล่าปี่นั้นเป็นฝ่ายตัวดีฝ่ายพระเอก ส่วนซุนกวนนั้น เป็นตัวถ่วงดุลอำนาจ
แต่อาจารย์หม่อมท่านกลับมามองต่างมุมจากหนังสือสามก๊กเดิมไปคนละเรื่อง ท่านบอกว่าโจโฉเนี่ยแหละเป็นคนดี เป็นคนทำนุบำรุงพระเจ้าเหี้ยนเต้ คิดจะรวบอำนาจการปกครองในแผ่นดินคืนให้กับราชวงศ์ฮั่น เล่าปี่ กับซุนกวนนี่สิ เป็นพวกกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลกลาง คิดจะตั้งตัวเป็นใหญ่มาในมุมมองของผมหลังจากอ่านดูแล้ว ผมก็มองว่า มุมของอาจารย์หม่อมท่านก็ถูกเหมือนกัน คือโจโฉตอนนั้นคุมอำนาจรัฐบาลกลางอยู่ เล่าปี่ ที่อ้างตัวว่ามีแซ่เดียวกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ ทั้งที่เมื่อก่อนสานเสื่อขาย กลับกลายมาเป็นเชื้อพระวงศ์ แล้วก็มาตั้งตัวเป็นใหญ่ซะเฉย ๆโดยอ้างความเป็นเชื้อพระวงศ์ว่าจะสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นใหม่ แต่จริง ๆ ก็กะใหญ่เอง  ส่วนตระกูลของซุนกวนนั้นกะตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองกังตั๋งแต่แรกอยู่แล้ว ใครเป็นใครไม่สนใจ
ในความคิดผม สามก๊ก เป็นเรื่องของยุคที่เกิดมีผู้ปกครองและคนมีฝีมือ เกิดมาพร้อมกันในยุคเดียวกันมากเกินไป เรื่องขุนพลนั้นเป็นเรื่องรองลงไป แต่การที่ในยุคนั้น มีเล่าปี่ โจโฉ และซุนกวน เนี่ยจึงทำให้เมืองจีนต้องแตกเป็นสามก๊กอยู่นานมาก จริงเมืองจีนยุคปลายราชวงศ์ฮั่นนั้นแตกมากกว่าสามก๊กอีกครับช่วงแรก ๆ แตกกระจายเป็นเสี่ยง ๆ เลย มีหลายตระกูลมาก
สำหรับมุมมองของผม ผมยกให้โจโฉเป็นผู้ปกครองที่มีความรู้ความฉลาดมากที่สุด คือโจโฉมีกุนซือมากมายก็จริง แต่เป็นที่ปรึกษาจริงๆ  โจโฉเป็นคนกำหนดยุทธศาสตร์การรบเองเป็นส่วนใหญ่ แผนการต่าง ๆ โจโฉมักจะตัดสินใจเอง กุนซือเพียงชี้แนะ นี่แสดงว่าโจโฉมีความรู้ความสามารถทางการปกครอง ทางด้านพิชัยสงครามพอตัว ซึ่งก็จริง ๆ เพราะตระกูลโจ นั้นเป็นตระกูลขุนนาง โจโฉเองก็เป็นขุนนางมาก่อนเรียกว่าเรียนหนังสือหนังหามาเยอะน่ะครับ
ส่วนเล่าปี่ นั้นต้องถือว่าเป็นนักใช้คนที่เก่งที่สุด แต่เป็นผู้ปกครองที่มีความรู้น้อยที่สุด เล่าปี่เองนั้น พิชัยสงคราม ไม่ค่อยรู้นักกลศึกต่าง ๆ ให้รบกับใครจริง ๆ จัง ๆ คงไม่รอด ที่เล่าปี่ถนัดที่สุดคือการเจรจาความเมือง ต่อรอง และการหาคนมาใช้งาน เล่าปี่จึงได้ขงเบ้งมาเป็นแขนขวา และทำให้เล่าปี่ได้เป็นฮ่องเต้จนได้ ขงเบ้งก็ต้องได้นายแบบเล่าปี่นะครับ ไม่งั้นก็ไม่เปล่งประกายหรอก เพราะขงเบ้งเป็นคนเก่งมากเกินไปจนเรียกว่าถือดี ขงเบ้งเองเป็นผู้ปกครองคนไม่ได้ เพราะผูกน้ำใจคนไม่เป็น ถ้าไปอยู่กับโจโฉหรือ ซุนกวน คงไม่เด่น เพราะ
โจโฉนั้นคงไม่ปล่อยให้ขงเบ้งวางแผนทุกอย่างไปหมดหรอก โจโฉไม่ไว้ใจคนอื่นขนาดนั้น
 เล่าปี่นั้น รบเองก็ไม่เก่ง พิชัยสงครามกลศึกก็ไม่รุ่ง แต่มีดีที่ การพูด และการมองคน ผูกใจลูกน้องจะเห็นว่าสมัยเล่าปี่มีชีวิตอยู่ ได้ขุนศึกดี ๆ มาอยู่ใต้อำนาจเยอะมาก คือค่อย ๆ ได้มา ผิดกับซุนกวนที่มีขุนนางเก่าในเมืองอยู่แล้ว โจโฉก็ได้ขุนนางมาจากในขุมอำนาจตัวเอง แต่เล่าปี่นั้นเร่ร่อนไปเรื่อย ๆ ตั้งตัวได้ช้าที่สุด แต่เก็บตกขุนพลดี ๆ มาเรื่อย ๆ
ซุนกวนนี่ผมมองว่าแกเป็นตัวอย่างของนักปกครองรุ่นที่สองที่ดีที่สุด ที่ผมบอกว่ารุ่นที่สองเนี่ยเพราะว่า ซุนกวนรับสืบทอดอำนาจในเมืองกังตั๋งมาจากพ่อและพี่ชาย คือซุนกวนไม่ได้เป็นคนสร้างอำนาจเองเหมือนเล่าปี่หรือโจโฉ แต่ขึ้นมาปกครองตอนที่พ่อและพี่ชายสร้างเมืองไว้ให้แข็งแกร่งแล้ว ซุนกวนเพียงแต่รักษาไว้ไม่ให้เสียเมืองไป ซึ่งก็ต้องนับว่าเก่งมากแล้วในยุคที่มีโจโฉ และเล่าปี่ที่พยายามจะรวมแผ่นดินอยู่ในขณะนั้น ก๊กของซุนกวนนั้นไม่ค่อยได้ยกไปตีก๊กอื่นเท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่จะตั้งรับซะมากกว่า การศึกใหญ่ ๆ ที่สุดก็มีการรบกับโจโฉที่ จิวยี่เผากองทัพร้อยหมื่นของโจโฉซะเรียบร้อย กับอีกครั้งคือ ลกซุนเผากองทัพแปดสิบหมื่นของเล่าปี่ ซุนกวนนั้นใช้คนเป็น ดูลูกน้องออกและไว้ใจ ให้ลูกน้องทำงานสไตล์เดียวกับเล่าปี่  แต่ซุนกวนนั้นไม่ต้องลำบากไปงอนง้อหาที่ปรึกษาเหมือนเล่าปี่ เพราะซุนกวนขึ้นมาก็เป็นผู้นำอยู่แล้ว ขุนนางต่าง ๆ ก็มีอยู่ในมือเรียบร้อยแล้ว จึงเพียงแต่เลือกใช้ให้ถูกวิธี ผมจึงว่าซุนกวนเป็นรุ่นที่สองที่ดี เพราะสานต่อของที่พ่อกับพี่สร้างไว้ได้ไม่ทำลายไป
ตัวอย่างนักปกครองรุ่นที่สองที่แย่ที่สุด ก็คือ พระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ลูกของเล่าปี่ เมืองเสฉวนล่มสลายด้วยน้ำมือของเล่าเสี้ยนเพียงไม่กี่ปีหลังจากขงเบ้งตาย ทั้งที่มีทหารเข้มแข็ง อย่างเกียงอุย แต่พอเจ้านายห่วยเมืองก็แตกครับ
โอยยาวพอก่อนแล้ว เดี๋ยวจะไม่มีคนอ่านแหะแหะ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ก.พ. 02, 06:44

ขอร่วมวง นั่งฟังเซียนสามก็กทั้งหลายวิจารณ์ด้วยคนครับ ... แหะๆๆ
คุณพระนายเคยอ่านหนังสือของคุณทองแถม นาถจำนง ที่ชื่อว่า "ขุนพลสามก็ก" หรือเปล่าครับ
เป็นอีกมุมมองหนึ่งของเรื่องนี้ที่แตกต่างกับมุมมองของ ยาขอบ และท่านอื่นๆ
ผมค่อนข้างจะเห็นด้วยกับการวิเคราะห์ของ คุณทองแถมมากกว่ายาขอบเพราะดูเป็นจริงมากกว่า
โดยความคิดส่วนตัวของผมนั้นอย่างไรเสีย สามก็กก็คือนิยายที่ถูกแต่งและดัดแปลงเสียหลายครั้ง
จริงอยู่ว่ามีเค้าโครงของประวัติศาสตร์ แต่เนื้อเรื่องและบทบาทของตัวละครแต่ละตัวนั้นผมคิดว่า
จินตนาการเสียมากกว่า เพราะผู้แต่นิยายมักจะต้องเพิ่มสีสันให้กันนิยายอยู่แล้ว (ไม่อย่างนั้นใครจะอ่านละครับ)
แถมนิยายสามก็กยังมีอีกมากมายหลายเวอร์ชัน กลอุบายบางอย่างก็มีบันทึกไว้จริง บางอย่างก็แต่งขึ้น

ข้อมูลต่างๆในสามก็กบางครั้งอ่านแล้วให้สงสัยครับ อย่างเช่นคราวโจโฉแตกทัพเรือ
ทีบอกว่ามีทหารถึง หนึ่งร้อยหมื่น หรือล้านคนนั้น เทียบเท่ากับกองทัพเยอร์มันบุกรัสเซียเลยทีเดียว
จริงอยู่ว่าประชากรของจีนมีอยู่เป็นพันล้านคนในปัจจุบัน แต่ในสมัยสามก็กประชากรไม่ได้มีมากขนาดนี้
ประชากรทั้งโลกมีอยู่ไม่มาก การที่บอกว่ามีทหารเป็นล้านคนนั้น ผมว่าเป็นการอุปมาอุปมัยเสียมากกว่า
จริงๆแล้วอาจจะแค่ 1 แสนก็ได
บันทึกการเข้า
เมรี
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 ก.พ. 02, 10:32

มานั่งฟังอยู่มุมๆห้องค่ะ
สามก๊กฉบับจริงๆยังอ่านไม่จบเลยค่ะ อ่านแต่ฉบับวนิพก
ต้องหาเวลามาเอาจริงเสียทีแล้วมั้งเนี่ยคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 ก.พ. 02, 12:35

ไม่รู้เคยได้อ่านประวัติศาสตร์จีนยุคสามก๊กที่คุณ Linmou เรียบเรียงลงไว้ใน"ห้องสมุด"หรือเปล่าครับ อ่านแล้วจะเห็นจริงมากขึ้น เพราะสามก๊กฉบับนิยายนั้นดูบุคคลิกความสามารถเล่าปี่แล้วขัดความรู้สึกมาก นึกไม่ออกว่าคนเก่งๆไปอยู่ช่วยแกตั้งมากตั้งมายได้ยังไง อ่านของจริงจะรู้สึกว่าเล่าปี่นั้นมีบทบาทมากกว่าในนิยายเยอะเชียว ถ้าแม่นางหลินมาอ่านเจอ รบกวนเอาเรื่องนั้นมา post ที่นี่ก็จะขอบคุณมากเลยครับ
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 ก.พ. 02, 13:15

ผมเองไม่เคยอ่านสามก๊กฉบับที่เป็นประวัติศาสตร์จริง ๆ เท่าไหร่นัก แต่ถ้าจะให้ผมมองว่า เล่าปี่แกมีลักษณะอย่างไหร่ก็ต้องบอกว่าในความคิดผมเล่าปี่นั้นคล้าย กับพวกเจ้าสัวหลายคนที่มาจากเมืองจีนเสื่อผืนหมอนใบ คือในความรู้สึกผมคือ เล่าปี่นั้น ไม่ได้เรียนหนังสืออะไรมากมายนัก เพราะดูจากพื้นฐานประวัติแล้ว ค่อนข้างยากจน เคยเรียนหนังสือ กับ กองซุนจ้าน ในสมัยเด็ก แต่เล่าปี่ไม่ได้เล่าเรียนจนไปสอบเป็นขุนนางอะไร ผมมองแล้วก็น่าจะเรียกว่า จบระดับขั้นต้นซะมากกว่าไม่ได้เจนจบตำราพิชัยสงคราม หรือตำราอักษรศาสตร์อะไรแน่นอน เล่าปี่เริ่มต้นด้วยการอาสาปราบโจรโพกผ้าเหลือง แล้วก็ทำได้สำเร็จ เล่าปี่เคยเป็นนายอำเภอเมืองเล็ก ๆ ก็ทำงานได้ เล่าปี่นั้นไม่ใช่คนโง่แน่นอนครับ มีความรู้แน่อย่างน้อยก็อ่านออกเขียนภาษาจีนได้แน่ แต่อาจจะไม่เจนจบพิชัยยุทธ หรือตำราอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์จีนทุกเล่ม หรือรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ของจีนอย่างขงเบ้ง
ถ้าจะให้เปรียบเทียบว่า ผู้นำปัจจุบันใครที่จะคล้ายเล่าปี่มากที่สุด ผมก็ขอเปรียบว่า คุณชวน หลีกภัย น่ะครับที่มีบุคลิกผู้นำที่คล้ายเล่าปี่ที่สุด คุณชวนกับเล่าปี่เหมือนกันคือ มีความรู้ไม่น้อย แต่จะว่าสูงก็ไม่สูงนัก แต่มีประสบการณ์ทางการเมืองสูงเหมือนกัน คุณชวนเวลามาเป็นนายกฯ เราจะไม่ได้พูดถึงท่านในทำนองว่าเป็นคนเก่ง แต่จะบอกว่าเป็นดี ซื่อสัตย์ แล้วก็มีทีมงานที่ดี (ในสมัยนั้น) ไม่ว่าจะเป็นคุณศุภชัย หรือคุณธารินทร์
เล่าปี่เองก็ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นนักรบที่เก่ง หรือนักปกครองที่เยี่ยมยอด แต่เล่าปี่ เป็นผู้นำที่ลูกน้องรัก และสามารถเลือกใช้คนได้มากกว่าครับ
บันทึกการเข้า
เล่งฮู้ชง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ก.พ. 02, 14:06

ชวน=งักปุ้กคุ้ง
บันทึกการเข้า
Peking Man
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ก.พ. 02, 21:23

Hmmm... interesting kratoo... K.Pranai's comment about the different interpretations concerning the events and meanings of the Three Kingdoms period, I think that the past is always up to intrepretation and it is good that there is always a  critical revision of the past for only then can we be more aware of the different meanings and implications that the past has on our own modern times...



I personally have read the chinese versions "San Guo Yan Yi" and several seletions of "San Guo Zhi" but for the Thai translated version I have only read the Zhao Phraya Pra Klung Hon version.



I think that the only point that I would like to make about the Three Kingdoms period is the fact that though all three kingdoms have a lot of capable and distinguished people... but if you notice after the passing of a great statesman the events that soon follow is usually confusion and factionalism amongst the ruling elites which eventually will lead to the downfall of their rule.

We can see in the case of the "Shu" state with the passing of "Liu Bei" and later on the passing away of "Zhu Ge Liang" we see the "Shu" state's collapse within years later and "Liu Xian" brought as a hostage to the "Wei" court soon after. As for the case of the "Wei" kingdom, after the death of "Cao Cao" we also see this also happening with the "Wei" being swallowed up little by little and then eventually taken over by the "Jin" dynasty.



Thus I think that though during this period of great chaos, the emergence of so many brilliant and talented men did not facilitate the unification and revitalization of the empire, the failure to forge a stable and capable system of civil government and the stress on military rule and military expedition to as quickly as possible to unify the nation led to the decline in economic and agricaultural activities which has the most diastrous effects on those of the peasantry. These phenomenons; lack of a stable civil government system,  numerous military expeditions, mass migration & desertation of the land led to the decline of econ. and agri. activities, etc... are the very elements that accelerated the speed of the empire's disintergration and the reallignment of local and national powers forming a nutrient pool for future attempts to unification of future dynasty.



Therefore, the thing that I have gathered for myself from the reading of the Three Kingdoms is the fact that the establishment and maintenance of a capable and efficient system of governance is crucial in the survival of any ruling party or government. Another thing is that personality based factionalism is the leading cause of political confusion which directly to undermine its very existence.



But after all it is just a thought... only a thought.. if there are any comments it is most welcome...
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ก.พ. 02, 04:34

นานๆ ทีก็มีมนุษย์ปักกิ่งมาร่วมสนุกที มนุษย์ปักกิ่งหายไปเสียนานนะคราวนี้

ขอโม้ความเห็นส่วนตัวครับ ไม่มีตำราครับ ผมจำได้เลาๆ แต่ไม่ขอชี้แหล่งอ้างอิง เพราะจำไม่ได้ ว่า เคยมีใครสักคนวิเคราะห์ว่า ผู้นำที่ดีต้องมีคุณสมบัติ 3 อย่าง และเล่าปี่ ซุนกวน โจโฉ เด่นไปคนละทาง แต่รวมแล้วมีกันไม่ครบทั้งนั้นเลยไม่ได้เป็นใหญ่จริงสักคน คุณสมบัติ 3 ข้อนั้น ได้แก่ ความเมตตาปรานีหรือมนุษยสัมพันธ์ที่ทำให้คนรัก ความเฉลียวฉลาดสามารถส่วนตัวหรือความเก่ง และการกล้าตัดสินใจ หรือความเฉียบขาด รวมไปถึงแรงผลักดันให้กล้าตัดสินใจ คือความทะเยอทะยานด้วย

ถ้าว่าตามฉบับของหลอกว้านจงที่ให้โจโฉเป็นผู้ร้าย โดยส่วนตัวแล้วโจโฉเป็นคนเก่ง ฉลาด นอกจากนั้นยังเด็ดขาดเข็มแข็ง ตัดสินใจฉับพลัน กล้าได้กล้าเสีย มองสูง ทะเยอทะยาน แต่ไม่ค่อยมีเมตตา กล่าวได้ว่าใจเหี้ยมเลยเชียวแหละ (อย่างน้อยนิทานสามก๊กก็ระบายสีโจโฉไว้ยังงั้น ในความเป็นจริงมีคนวิเคราะห์ไว้แล้วว่า ไม่แน่ว่าโจโฉต้องเป็นผู้ร้ายจริงๆ)
เล่าปี่เด่นที่เป็นคนที่มีเมตตา สงสารประชาราษฎร์ ราษฎรรัก ใจอ่อน แต่พอถึงเวลาต้องตัดสินใจก็พอจะทำได้ บางทีมีละล้าละลังบ้าง แต่ความใฝ่สูงนั้นมีอยู่ประจำมั่นคงเสมอเพราะถือว่าตนแซ่เล่า มีภารกิจต้องกู้ราชวงศ์ฮั่น ตั้งตนเป็นจักรพรรดิจีน ความสามารถส่วนตัวก็พอมีอยู่แต่ไม่เท่าไหร่ แต่ความที่มีคนเก่งมาช่วยเล่าปี่แยะ เพราะคุณสมบัติข้อแรก จึงมีคนดีมีฝีมือมาช่วยคิด ช่วยตัดสินใจ และช่วยให้เล่าปี่ยืมความเก่งไปใช้ได้
ซุนกวนนั้นเป็นคนที่ท่าทางจะเป็นปึกแผ่นแน่นหนาสุด รวมน้ำใจประชาชนกังตั๋งไว้ก็ได้มั่นคงดี ไม่มีใครเกลียด สติปัญญาความสามารถก็ไม่น้อยเลย  แต่ซุนกวนขาดความทะเยอทะยานอันจะเป็นแรงผลักดันให้ก้าวสู่ความเป็นใหญ่ พอใจแต่จะเป็นเจ้ากังตั๋ง ไม่ต้องการจะเป็นจักรพรรดิรวบรวมแผ่นดินจีนทั้งหมด ดังนั้นซุนกวนก็ไปไม่ถึงดวงดาวเหมือนกัน

สรุปว่า ไม่มีใครไปถึงดวงดาวสักคนใน 3 คนนี้
ขอโทษที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงครับ (มนุษย์ปักกิ่งเคยได้ยินใครวิเคราะห์ทำนองนี้ที่เมืองจีนไหม? จำได้ไหมว่ามาจากหนังสืออะไร?) ใครไม่ชอบฟังผม "ยกเมฆ" ก็อ่านข้ามไปเสียเถอะครับ ถือสาอะไรมากมายกับผมเล่า ถ้ามีใครเกิดจะต้องเอาไปตอบข้อสอบก็ค้นตำราเอาเองแล้วกัน อย่ามาอ้างผม ผมเข้ามา "เล่น" เน็ต ไม่ใช่เข้ามาทำข้อสอบของใคร
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ก.พ. 02, 12:00

ขอมองแบบคนสายตาสั้นหน่อยนะครับ คือเห็นแบบเบลอๆไม่มีรายละเอียดอะไร เพราะถ้าไม่สนใจรายละเอียดอื่นใดแล้วผมมองว่าเล่าปี่นั้นเป็นคน"เก่ง"ที่สุด คำว่า"เก่ง"นี้คงต้องอาศัยคนสายตายาวช่วยดูหน่อยละว่าเก่งอย่างไร แต่ที่ผมคิดว่าเล่าปี่เก่งกว่าโจโฉและซุนกวนนั้น ผมมองที่ความสำเร็จครับ เพราะถ้ามองในแง่ของการขึ้นมาเป็นก๊กใหญ่เทียบเคียงกันของสามก๊กแล้ว(ก๊กโจโฉอาจจะพองกว่าเพื่อนเขาหน่อยหนึ่ง) มองในแง่พื้นฐานของท่านผู้นำแต่ละคน โจโฉเองมีฐานที่เป็นขุนนางอยู่แล้ว ซุนกวนเองเป็นผู้ปกครองรุ่นที่สาม ส่วนเล่าปี่นั้นไม่มีอะไรมาก่อนเลย นอกจากได้ชื่อว่าเป็นเชื้อพระวงศ์(หางแถว) ในเมื่อตอนปลายทางมาอยู่ที่เดียวกันได้ผมก็ขอฟันธงแบบ"มั่วๆ"ดังนี้แลว่า เล่าปี่เก่งที่สุด ถ้าใครคิดว่าพอรับฟังได้ รบกวนช่วยอภิปรายแบบ"สายตายาว"ต่อให้หน่อยนะครับ
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ก.พ. 02, 13:58

มองอย่างคุณ CrazyHorse ว่าก็น่าจะใช่ครับ เพราะถ้าไม่มีเล่าปี่แล้วโจโฉคงจะรวมแผ่นดินไปได้แล้ว โจโฉเนี่ยแกรวมแผ่นดินไปได้เกือบหมดแล้วนะครับ ติดอยู่แค่เล่าปี่กับซุนกวนเท่านั้นเอง
โจโฉนั้นรบมาตั้งแต่รบกับตั๋งโต๊ะ แต่ไม่ชนะ ต่อมามารบกับลิฉุย กุยกี คราวนี้รุ่ง กลายเป็นผู้กุมอำนาจรัฐบาลกลางขึ้นมาล่ะ หลังจากนั้นก็ไล่รบกับ อ้วนเสี้ยว ที่มีกำลังทหารมากกว่าโจโฉเพียบ แต่ไม่มีสมองจึงแพ้โจโฉไป แล้วก็ไล่รบกับอ้วนสุด ลิโป้ ม้าเฉียว ต่อไปอีก เรียกว่าโจโฉรวมแผ่นดินได้เกือบหมดแล้ว ตอนนั้นเหลือแต่ เกงจิ๋ว กังตั๋งแล้วก็เมืองเสฉวนเท่านั้น  ตอนที่โจโฉรบรวมแผ่นดินเนี่ย เล่าปี่ยังเร่ร่อนอยู่เลยครับ อยู่กับคนโน้นทีคนนี้ที มีกันอยู่สามคนพี่น้องเป็นหลัก คือเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย เล่าปี่ตอนนั้นครองเมืองเล็ก ๆ ไปเรื่อย แล้วก็ไม่รุ่งซะทีจนมาอาศัยเล่าเปียว แล้วได้ชีชี กุนซือคนแรกมาก็เริ่มจะดีขึ้น จนได้ขงเบ้งนี่แหละถึงมารุ่งที่สุด เล่าปี่เยี่ยมที่สุดก็คือการไปเชิญขงเบ้งมาได้นี่แหละครับ
ผมไม่แน่ใจว่าขงเบ้งในประวัติศาสตร์จริง ๆ กับในนิยายเนี่ย มีความสำคัญเท่ากันหรือเปล่า คือในนิยายเนี่ย ทำทุกอย่างให้เล่าปี่เลย ผมเองคิดว่าขงเบ้งแกมั่นใจตัวเองสูงอยากแสดงฝีมือเลยมาอยู่กับเล่าปี่ แต่สงสัยว่าถ้าให้ตั้งตัวเป็นใหญ่เอง ขงเบ้งจะเป็นได้หรือเปล่า ในความคิดผม คงเป็นไม่ได้แน่
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ก.พ. 02, 14:05

มาคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าจะมีเจ้านายสักคน อยากได้เจ้านายแบบไหนกันครับ
ผมเองถ้าเลือกได้ก็คงไปรับใช้เล่าปี่เป็นอันดับหนึ่ง เพราะว่าแกดูจะให้อิสระในการทำงานสูงทำให้เราทำได้อย่างที่เราคิด ไม่ต้องระวังตัวมากว่าเจ้านายจะเกลียดขี้หน้า เพราะแกไว้ใจและรักลูกน้อง แต่ทำกับเล่าปี่ก็คงเหนื่อยบางทีก็ต้องเหนื่อยใจด้วย เจ้านายไม่รู้เรื่องอะไรเลย เราต้องทำหมด
ซุนกวนเป็นคนที่สองที่ผมอยากทำด้วยรองลงมา แต่อาจจะทำแล้วดีที่สุด เพราะซุนกวนก็ค่อนข้างจะให้อิสระในการทำงาน ไว้ใจให้เกียรติ และก็ไม่ค่อยเข้ามากดดันการทำงานเราเท่าไหร่ และก็ท่าทางจะไม่โหดไม่ต้องระวังตัวมากถ้าทำกับซุนกวน แถมคงไม่เหนื่อยมากเพราะเจ้านายก็คงทำเองได้หลายอย่างและมีความรู้พอควร
ทำกับโจโฉเนี่ยสิครับ ถ้าจะลำบากใจที่สุด เจ้านายท่านเก่งอยู่แล้ว รู้มากแล้วก็คงไม่ชอบให้ลูกน้องมาทำอะไรข้ามหน้าข้ามตา ทำงานกับโจโฉนี่คงเครียดพอควร เราควรจะรอรับนโยบายและคำสั่งจากเจ้านายอย่างเดียว ไม่ต้องคิดเองมาก และอย่าพยายามแสดงความรู้เกินหน้าเจ้านายเป็นอันขาด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ก.พ. 02, 14:40

เลือกได้ขอเป็นลูกน้องเล่าปี่ค่ะ  ไม่ชอบเจ้านายที่จุ้นวุ่นวายและกำกับมากๆอย่างโจโฉ   อยากได้นายที่ให้อิสระเราเท่าที่จะให้ได้  แล้วจะทำให้นายสุดฝีมือ
ซุนกวนเป็นตัวเลือกอันดับสอง เพราะตัวแกดีจริงแต่ที่ปรึกษาไม่เอาไหนเลยทั้งกลุ่ม    เป็นลูกน้องแกก็ต้องเจอตอ คือที่ปรึกษาที่ห้อมล้อมแก   ปวดหัว  อีกอย่างแกก็ดูเรื่อยๆมาเรียงๆอยู่
อยู่กับแกคงได้หนึ่งขั้นตลอดจนเกษียณ
ส่วนโจโฉ บายเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
Peking Man
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ก.พ. 02, 20:43

If I had to choose, I would go into hiding.... and not work for anyone. For while all claim that they are working for a better future, the better future is only tailored for their own preferential preference and not for the greater good of the people....



There is a story in Zhuang zi's teaching telling how high ranking mandarins on the order of some king(can't remember the exact name of the kingdom) had came to persuade him to become a minister at court, to this invitation Zhuang zi asked the mandarins who were sent, if you were a turtle where would you rather be, in the ponds with the mud and water or in the temple of worship used as a ceremonial accessory? The mandarins in unison replied that they would prefer to stay in the pond. And then Zhunag zi turned his back and said to the mandarins that they should leave before they get wet and soiled by him.....
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ก.พ. 02, 21:12

ฮ่าๆ จวงจื๊อตอบได้เด็ด....
จวงจื๊อคนเดียวกันนี่หรือเปล่ามนุษย์ปักกิ่ง ที่ฝันว่าเป็นผีเสื้อน่ะ ตกลงแกจะเป็นทั้งเต่าทั้งผีเสื้อเลยเรอะ?

แต่จำได้ไหมว่า ขงเบ้งหะแรกก็ตั้งท่าจะเป็นคนสันโดษหมกตัวซ่อนกายในป่าเขาเหมือนกัน แล้วเป็นไง เจอน้ำตาเล่าปี่ที่มาหาสามหนก็ใจอ่อน ยอมลงไปเล่นการเมืองจนได้ ต้องไปเป็นนักการเมืองรับใช้เล่าปี่จนตาย แล้วก็ไม่ได้กลับมาถือสันโดษในไร่หม่อนในป่าเขาของตัวเองอีกเลย
บันทึกการเข้า
Peking Man
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 22 ก.พ. 02, 08:28

Yep...  the same person as the one who was asking himself after waking up from his afternoon nap whether did he dream himself into a butterfly or was it the other way around???
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง