เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 8140 ใช้ฉัตรชนิดใดแสดงพระอิสริยยศของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปลาตะเพียนน้อย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 ก.พ. 02, 10:20

หนังสือเจ้าชีวิตนี่ผมมีครับ แต่ได้อ่านแค่ผ่านๆ ผมจะลองไปอ่านละเอียดๆอีกทีครับ ขอบคุณคุณพวงร้อยมากครับ
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ก.พ. 02, 13:36

อ่านความเห็นของคุณสายลมแล้ว น่าสนใจค่ะ
เพราะเพิ่งถูกหนุ่มน้อยรุ่นมัธยมถามมาเร็วๆ นี้ว่า
เราจะเรียนประวัติศาสตร์ไปทำไม
ซึ่งอิฉันก็ตอบว่า เพื่อจะได้เรียนรู้ที่มาของเรานะสิ
หนุ่มน้อย : แล้วจะรู้ไปทำไม มันน่าสนใจกว่าที่จะเรียนรู้ว่า
เราจะก้าวต่อไปยังไง มากกว่าจะรู้ว่าเรามาได้ยังไง
อิฉัน : อ้าว ก็เราจะได้เรียนสิ่งผิดพลาดในอดีตไว้เป็นบทเรียนในภายหน้าไง
หนุ่มน้อย : ไม่มีอะไรจะหมุนมาทับเงาเดิมได้เหมือนกันขนาดนั้นหรอกครับ
แล้วถึงเรียนรู้ลงลึกไป ก็เสียเวลาเพราะเราเอามาใช้ไม่ได้ ถึงจะประยุกต์ก็เถอะ
อิฉัน :  ฮืมฮืม??

เห็นชัดได้ว่า การเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์นั้น เป็นสิ่งที่บังคับกันไม่ได้จริงๆ
ถ้าเราจะบังคับให้เด็กสมัยนี้มาอ่าน มาเรียนรู้ประวัติศาสตร์กัน โดยที่เจ้าตัวไม่สนใจ
ผลก็คือ เด็กจะเกลียดประวัติศาสตร์เอามากๆ อีกทั้ง วิธีการสอนประวัติศาสตร์ในไทย
ก็เป็นอะไรที่น่าเบื่อ เพราะทำเหมือนกับว่า เป็นอะไรที่ต้องท่องจำ
หากเราจะนำเสนอประวัติศาสตร์ให้เหมือนกับการเล่านิทาน นิยายอะไรสักเรื่อง
อิฉันว่า เด็กจะชอบ และจำได้มากกว่านี้ สิ่งหนึ่งที่น่าเบื่อ (อิฉันเองก็เห็นด้วย)
คือการใช้ราชาศัพท์ในประวัติศาสตร์ไทย เราต้องการสอนเด็กให้รู้ประวัติศาสตร์
หรือให้เด็กเรียนราชาศัพท์กันล่ะคะ? อิฉันเคยสังเกตุว่า (เพราะลองทำมาแล้ว)
หากเรานั่งเล่าการเสียกรุงฯ ครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง เป็นเรื่องราวธรรมดาๆ
เสนอความเห็นแบบกำลังชื่นชม หรือติเตียนทั่วไป พร้อมกับร่างผังความสัมพันธ์
ระหว่างกษัตริย์องค์ต่างๆ เหมือนกับการนำเสนอตัวละคร เด็กจำได้แม่นเลยค่ะ
อิฉันว่า การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ไม่ควรทำเป็นเรื่องซีเรียส
จริงจังจนเกินไปค่ะ

อิฉันคุยนอกประเด็นไปหรือเปล่าคะนี่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ก.พ. 02, 18:21

ดิฉันก็เคยเจอคำถามอย่างหนุ่มน้อยของคุณนวลเหมือนกันค่ะ จากหนุ่มมากและสาวมากบางคน
แล้วเท่าที่ตอบไปก็คือ
ถ้าเราไม่รู้ว่าเราเดินมาจากที่ไหน  เราจะรู้ได้ยังไงว่าต่อไปเราควรจะเดินไปสู่ที่ไหน
เส้นทางย่อมมีต้นทาง กลางทางและปลายทาง

ถ้าคุณไม่รู้เลยว่ากว่าจะมาเป็นประเทศไทยได้อย่างทุกวันนี้  บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์สิ่งดีงามใดๆไว้บ้าง
แล้วยังค้างอยู่  รอการสืบสานต่อไปในชั่วลูกหลาน
หรือมีข้อบกพร่องที่รอให้คนรุ่นลูกหลานแก้ไขให้ดีขึ้น
ถ้าไม่รู้  คุณก็ทำไม่ถูก  
ต้องเริ่มต้นใหม่อยู่เรื่อยไป
แล้วจะไปได้สักกี่ก้าวกัน   ดีไม่ดีก็ต้องไปก๊อปปี้มาจากประเทศอื่น แล้วร้ายกว่านั้นคือก๊อปปี้มาแต่เปลือกไม่ใช่แก่น   ได้เปลือกพร้อมปัญหาแถมมาด้วย

ประวัติศาสตร์ไทยไม่ใช่เรื่องของการท่องจำว่ากษัตริย์องค์ไหนครองราชย์พ.ศ.อะไร   หรือพม่ายกมาทางด่านไหนในครั้งไหน  กองทัพใหญ่หรือเล็ก

แต่ควรเป็นเรื่องของการปกครองที่มีจุดแข็งจุดอ่อนตรงไหนในอดีต     เศรษฐกิจที่รุ่งเรืองและซบเซาเป็นผลจากองค์ประกอบแวดล้อมอะไร
นโยบายการทหารและการต่างประเทศของไทยแต่เดิมมา มีเส้นทางเป็นมาอย่างไรบ้าง
อย่างนี้ถ้ามีข้อมูลมากก็คุยกันสนุก

ดิฉันว่าเด็กเบื่อเพราะท่องจำอย่างหนึ่งละค่ะ
อย่างที่สองไม่ได้ใช้สอบตอนเอ็นท์
อย่างที่สามคือเอาไปทำมาหากินไม่ได้อย่างวิชาชีพอื่นๆ  

ไม่บ่นละนะคะ
ในฐานะที่ตัวเองก็เป็นแค่ประชาชนคนหนึ่ง
ดิฉันว่าเราเริ่มต้นทำอะไรเล็กๆสักอย่างเช่นคุยกันบนเรือนไทยมาปีกว่านี่แล้ว   ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนประวัติศาสตร์นอกห้องเรียนที่ไม่เลวนักนะคะ  
หรือคุณนวลว่าไงคะ?

อยากให้เข้ามาคุยบ่อยๆค่ะ  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแบบนี้ ดิฉันว่าคึกคักดีนะคะ
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 ก.พ. 02, 11:31

สวัสดีค่ะคุณเทาชมพู

เรื่องประวัติศาสตร์นี่ เป็นเรื่องที่ต้องคุยกันยาว
ถ้ายิ่งคุยถูกวง ยิ่งขยายกว้างขึ้นไปเรื่อย

เห็นด้วยอย่างมาก (ถึงมากที่สุด) กับความเห็นใน
วรรคที่ 3 และ 4 ของคุณเทาชมพูค่ะ แต่เราจะทำอย่างไรล่ะ
เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษานั้น รวมถึงการปฏิรูปแนวทางการสอน
ประวัติศาสตร์ด้วยว่า หัวใจของวิชานี้ไม่ใช่อยู่ที่ใครขึ้นครองราชย์
ปีไหนถึงปีไหน สมัยอยุธยามีกี่ราชวงศ์ แต่ละราชวงศ์มีกษัตริย์กี่องค์
ในระหว่างรัชสมัยของ ร. 1 ต้องทำศึกกับพม่ากี่ครั้ง ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
คุณเทาชมพูคิดว่า เราจะทำอะไรได้บ้างล่ะคะ ในฐานะคนชอบประวัติศาสตร์
เหมือนกัน?ฮืม ทำอย่างไรถึงจะให้คนยุคใหม่ยอมรับทั้งสิ่งดีและสิ่งไม่ดี
ที่ได้เกิดขึ้น ไม่ใช่รับรู้แต่สิ่งดีๆ เพียงอย่างเดียว (ในเรื่องนี้ อิฉันเคย
เขียนตอบกระทู้ให้รายละเอียดเรื่องสงครามครูเสตยาววววววว...
ในเวปๆ หนึ่ง ปรากฎว่าอีกไม่กี่วันต่อมา มีคนตั้งกระทู้หาว่าอิฉันใส่ความ
กรุงโรม พยายามทำลายศาสนาค่ะ ต้องยอมรับว่า อิฉันอึ้งไปเลย
ไม่ใช่เพราะถูกต่อว่าในกระทู้นั้น แต่เพราะอึ้่งกับการไม่มีระบบแยกแยะ
เรื่องราวต่างๆ ในอดีตของผู้ตั้งกระทู้นั้น แล้วต้องมานั่งคิดว่า ยังมีอีก
กี่คนที่คิดอย่างนี้กับประวัติศาสตร์ แล้วนี่คือผลจากวิธีการสอนประวัติศาสตร์
ในบ้านเราหรือเปล่า?)

ขอบ่นด้วยอีกคนนะคะ หุ หุ หุ

อยากเข้ามาแจมด้วยบ่อยๆ แต่บางครา เป็นกระทู้เกี่ยวกับเรื่องที่
ไม่ถนัดค่ะ เลยได้แต่อ่านเฉยๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 04 ก.พ. 02, 11:55

เอาทีละหัวข้อนะคะคุณนวล
คือเวลาเสนออะไรที่เกี่ยวกับความคิดเห็น  หรือแม้แต่เป็นข้อมูลที่ทำให้มีฝ่ายได้ฝ่ายเสีย    ก็จะมีฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายโจมตีทั้งนั้นละค่ะ
ขนาดครูเสดผ่านมาตั้งหลายร้อยปี  ยังมีคนปัจจุบันไปยึดมั่นถือมั่นอยู่เลย   เราก็ต้องทำใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเจอ
ดิฉันเองถ้าหากว่าสรรเสริญบุคคลสำคัญท่านใดท่านหนึ่งบ่อยเข้า ก็ถูกโจมตีเหมือนกันละค่ะจากคนที่ไม่ชอบ  
เรื่องถกเถียงกันในเว็บบอร์ดเป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย ถ้ายังอยู่ในประเด็น  แต่ถ้าเปลี่ยนมาโจมตีคนพูดแทนประเด็น ดิฉันถือว่านอกขอบเขตแล้วค่ะ ก็ต้องปรามกันบ้าง
เรื่องประวัติศาสตร์ที่ว่าน่าเบื่อ เราคงจะไปเปลี่ยนแปลงความน่าเบื่อที่สะสมกันมายาวนานไม่ได้ในข้ามคืน   แต่เราอาจจะชุมนุมคนที่ไม่เบื่อประวัติศาสตร์มาคุยกันได้  ให้คนที่กำลังเบื่อเห็นว่ามันไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด  ทีละเล็กละน้อยก็ดีกว่าไม่มีจุดเริ่มต้นจุดนี้

ถ้าคุณนวลถนัดจะชวนคุยเรื่องอะไรลองตั้งหัวข้อดูซิคะ  ดิฉันจะเข้าไปคุยด้วย  ถึงดิฉันไม่มีความรู้   ดิฉันก็จะถามให้คุยต่อได้ยาวๆค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 04 ก.พ. 02, 13:35

มาชูแขนนั่งรอคุณครูนวลด้วยคนค่า  เรื่องประวัติศาสตร์จริงๆไม่ค่อยถนัด  ถนัดแต่ประเภทมั่วๆ อิๆๆ  

อย่างนิวตั้นเคยกล่าวว่า  ท่านยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์  คือหมายความว่า  ท่านไม่ได้เก่งหรอก  ผลงานของท่าน  เป็นการตกตะกอนความรู้ที่เราสั่งสมกันมาตลอดประวัติศาสตร์นั่นแหละค่ะ  ชั่วชีวิตคนเรามันสั้นค่ะ  มานั่งประดิษฐ์คิดค้นอะไรใหม่หมดกันทุกๆชั่วคนคงไม่ได้ไปไหนกะเค้าหรอก  ถ้าไม่รู้จักศึกษาประวัติศาสตร์  แล้วจะมีปัญญาเอาของดีของคนรุ่นเก่ามาทำประโยชน์ได้อย่างไร

การนั่งท่องปีที่เกิดเหตุการณ์ ชื่อคนสำคัญในประวัติศาสตร์ทั้งปีเกิดปีตาย  ก็ไม่ใช่ว่าเสียหลาย  แต่การท่องแบบนกแก้วนกขุนทองนั่นสิ่ที่เสียหาย  เพราะอย่างน้อยๆ  มันก็ทำให้เด็กเกลียดวิชาประวัติศาสตร์ไปเลย

ถ้าเราได้รู้จักว่าใครเป็นใคร  มีบทบาทสำคัญอย่างไร ไปทำอะไรมาบ้าง  ก็มีส่วนช่วยวิเคราะห์เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้พอสมควร  เช่น พวกเชื้อสายวงศ์ตระกูลของราชวงศ์อังกฤษ(เอาที่ไกลๆตัวหน่อยค่ะ)  นั้นมีมากจนน่าปวดหัวไปหมด  แต่การได้รู้สิ่งเหล่านี้  ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ภาพรวมได้ดีมากกว่า  อย่างสมมติว่าเราจะมองการคานอำนาจกันระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง  เราก็ต้องรู้ใช่มั้ยคะ  ว่าตระกูลขุนนางนั้นี้เกี่ยวพันใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์มากกว่าหรือกับพวกขุนนางมากกว่า  การวิเคราะห์ว่าฐานอำนาจอยู่กับใคร  ก็ต้องดูจากการที่เรารู้ว่าใครเป็นใครเป็นลูกหลานเชื้อสายวงศ์อสัญแดหวา หรือแค่เป็นคนหวือหวาเฉยๆ  แล้วจึงจะหาความเป็นไป แนวโน้ม และ ทิศทางของสังคมนั้นๆได้

แม้แต่เรื่องทางวิทยาศาสตร์  ที่บ้านเราส่วนมากนักเรียนวิทย์จะมองวิชาประสัติศาสตร์ว่าไม่จำเป็นต้องรู้  แต่การได้เรียนรู้เรื่องราวในอดีต  ก็ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องราวต่างๆได้มาก  ตัวอย่างที่ว่ากันง่ายๆก็คือ  ตำแหน่งของดาวฤกษ์ต่างๆ  ในชั่วชีวิตคนๆหนึ่งก็ดูเหมือนมันไม่เคลื่อนที่  แต่หากค้นประวัติที่จดบันทึกกันมานาน  ก็จะสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของดวงดาวที่ต้องสังเกตกันเป็นร้อยๆพันๆปีมาได้

ประมาณ ค.ศ. ๑๐๔๐ สมัยนั้นชาวยุโรปที่เขียนหนังสือเป็นก็มีแต่พวกพระที่สนใจแต่เรื่องคัมภีร์ไบเบิล  ไม่มีการจดบันทึกสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติเลย  แต่บันทึกของชาวจีนโบราณ  บอกให้ทราบว่า  ได้เกิดดวงดาวสุกสว่างจนกลบแสงดาวประจำเมือง (คือดาวศุกร์)  ในประวัติศาสตร์ของชาวยุโรปกลับไม่มีการบันทึกเรื่องนี้เลย  มีก็แต่ชาวอินเดียนแดงพื้นเมืองในทวีปอเมริกา  ที่ทิ้งรูปเขียนบนหิน  ที่แสดงดวงดาวเจิดจ้าท้าแสงจันทร์  ปรากฏว่านักดาราศาสตร์ได้คำนวนแสงสว่าง และการเคลื่อนตัวของ เนบิวล่าปู (crab nebula) มาประมาณสามสิบปี  แล้วเอาเนกาทีฟภาพที่ถ่ายไว้ห่างกันสามสิบปีมาเทียบ  ก็เห็นว่ามันเคลื่อนตัวออกกว้างขึ้น  เมื่อคำนวณอย่างละเอียด  วัดหาความเร็ว ฯลฯ แล้ว  ก็สรุปได้ว่า  เป็นการระเบิดซุปเป้อร์โนวา  เมื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่มากๆ  ถึงกาลสิ้นอายุขัย  แล้วระเบิดทำลายตัวเอง  ส่งแสงสว่างกว่าดวงดาวทั้งกาแล้กซี่รวมกันเสียอีก  แล้วคำนวณกลับไปได้ว่า  การระเบิดซุปเป้อร์โนวานั้น  ตรงกับ ค.ศ. ๑๐๔๐  นักดาราศาสตร์จึงได้ไปค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์  จนในที่สุด  นักดาราศาสตร์ชาวจีนก็ได้พบบันทึกที่กล่าวมาข้างต้น  นักดาราศาสตร์ปัจจุบัน  ให้ความสำคัญกับความรู้ทางประวัติศาสตร์  หรือแม้แต่โบราณคดีมากค่ะ  มีตัวอย่างมาเล่ากันได้ไม่หมด

ถ้าเราไม่เรียนประวัติศาสตร์  โลกเราก็คงไม่ได้วิวัฒนาการมาถึงขั้นนี้กันได้หรอกค่ะ
บันทึกการเข้า
สาโท
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 ก.พ. 02, 16:19

ในทัศนะของผมเห็นว่า ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่ชอบหรือไม่ชอบประวัติศาสตร์หรอกครับ แต่ปัญหาของเราคือเด็กไทยไม่ชอบ และไม่อ่านหนังสือ เมื่อไม่รักการอ่านก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ที่ว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของการท่องจำนั้น ผมว่าเป็นการกล่าวหาประวัติศาสตร์มากเกินไปมั้งครับ ผมเคยเรียนเคมี และชีววิทยา ผมว่าผมต้องท่องจำมากกว่าประวัติศาสตร์เสียอีก แถมวิทยาศาสตร์เป็นการท่องจำที่บังคับให้เชื่อเสียด้วยสิเออ แล้วเห็นไหมว่าความเชื่อผิดๆ บางอย่างทางวิทยาศาสตร์ถูกบังคับให้เชื่อผิดๆ กันมาตั้งหลายร้อยปี แม้แต่ในปัจจุบันนี้มีวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง ที่นักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันยังพิสูจน์ไม่ได้ และกำลังคลางแคลงสงสัยกับสิ่งที่เชื่อๆ กันมา ที่กล่าวมาเสียนานก็ต้องการบอกให้รู้ว่า ศาสตร์ทุกศาสตร์มีพื้นฐานที่เหมือนกันคือต้องอ่านต้องจำ เป็นพื้นฐาน ยังดีหน่อยที่ประวัติศาสตร์เปิดโอกาสให้เราไม่เชื่อเปิดโอกาสให้เราแย้ง ถ้าเรามีเหตุผลมีหลักฐานที่ดีกว่า และที่ผมมองต่อไปคือศาสตร์ทุกศาสตร์ก็ต้องเกี่ยวข้องกับอดีต ประวัติศาสตร์สอนให้เราคิดอย่างมีเหตุมีผล รู้จัก และคงจริงดังที่อีเอช คาร์กล่าวไว้ว่า ประวัติศาสตร์คือ บทสนทนาที่ไม่มีวันสิ้นสุดระหว่างอดีตกับปัจจุบัน มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกที่จะจำ เลือกที่จะรับรู้อะไร   ผมว่าว่างๆ เรามานั่งกินสิ่งที่ตัวเองชอบแล้วคุยกัน (บางคนชอบกาแฟ บางคนชอบน้ำอัดลม บางคนชอบน้ำเปล่า ส่วนผมชอบสาโท) อีกอย่างหนึ่งผมว่าผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายหรือทิศทางในการพัฒนาประเทศยังไม่เข้าใจว่าประเทศเราควรจะเป็นอย่างไในอนาคต (เรื่องนี้ผมว่าเราต้องมาทำความเข้าใจของคำว่าการพัฒนาว่ามันคืออะไร หรือต้องเข้าใจว่า ความเจริญ หรือศิวิไลซ์ มันคืออะไร มีเป้าหมายหรือจุดหมายอย่างไร) จริงหรือที่ทุกหมู่บ้านทุกตำบลมีคอมพิวเตอร์ใช้ มีอินเตอร์เน็ตใช้แล้วบ้านเมืองจะเจริญ คนไทยจะมีปัญญาขึ้น หรือในที่สุดคนไทยก็เป็นเพียงเหยื่อในการบริโภคนิยม หรือการมีมือถือใช้อย่างแพร่หลายมีความหมายหรือประโยชน์อะไรแก่สังคมบ้าง หรือเป็นเพียงแค่วัตถุฟุ่มเฟื่อยเท่านั้น ผมลองดูโฆษณษาโทรศัพท์มือถือที่ใช้ดาราสามหนุ่มสามมุม ผมมีความคิดหลายอย่างเข้ามาในสมอง สังคมไทยกำลังจะก้าวสู่สังคมบริโภคนิยมอย่างเต็มรูปแบบ เป็นสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารที่คนส่วนใหญ่เป็นได้แค่เพียงผู้บริโภคที่ขาดปัญญา  และถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกครอบงำจากนายทุน รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ
บันทึกการเข้า
สายลม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 04 ก.พ. 02, 16:56

.   .   .   ผมเห็นด้วยที่ควรจะมีการให้ความเห็นกันในเรื่องประวัติศาสตร์ ขณะนี้เราก็มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ อยู่ในกระทู้ Rw 299 เรื่องชัยภูมิของกรุงศรีอยุธยาฯ เรามีเรื่องเหล่านี้แฝงอยู่ในกระทู้ต่างๆที่มีการแตกประเด็นออกไปอยู่ไม่น้อย
.   .   .    ความจริงเรายังมีประเด็นต่างๆที่เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อีกมากหลายที่ถูกมองข้ามไป หรือถูกชักนำไปในทางที่ไม่เป็นประโยชน์และไม่เป็นผลดีต่อบรรพบุรุษไทยที่ท่านได้เสียสละแม้ชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดินนี้ไว้ให้เราได้อยู่กันอย่างภาคภูมิและสุขสบายในทุกวันนี้
.   .   .   ผมไม่คิดว่าวิชาประวัติศาสตร์จะเป็นวิชาที่น่าเบื่อน่าย สมัยที่ผมเรียนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชั้นประถมที่เรียนประวัติาสตร์ไทยและชั้นมัธยมที่มีประวัติศาสตร์สากลเพิ่มเข้ามา ก็เรียนด้วยความสนุก และคะแนนของวิชานี้ในครั้งนั้นก็สูงมาก จำได้ว่าวิชาภูมิศาสตร์ - ประวัติศาสตร์ มีคะแนนสูงสุด ถึง ๘๐ คะแนน สูงว่าเลขคณิตที่มีคะแนนรองลงมา คือ ๖๐ คะแนน ส่วนวิชาอื่นๆนอกนั้นมีคะแนนอย่างสูงเพียง ๔๐ คะแนนและต่ำสุด ๑๐ คะแนน
ผมเองก็มีความสนุกกับวิชานี้มาโดยตลอด และก็ยังสนุกอยู่จนถึงปัจจุบัน
.   .   .   คุณเทาชมพูจะไม่ลองตั้งกระทู้ทำนองนี้บ้างหรือครับ คิดว่าคงจะมีผู้เข้ามาร่วมวงไม่น้อยนะครับ อย่างต่ำก็มีอยู่แล้วจากท่านที่เขียนให้ความเห็นมาในกระทู้นี้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 05 ก.พ. 02, 10:59

ปัญหาของการเรียนการสอนวิชานี้มันอยู่ที่ว่าประวัติศาสตร์คือบทสนทนาที่ไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างอดีตและปัจจุบันนี่แหละ เวลาเด็กสอบ โดยเฉพาะข้อสอบแบบปรนัยมันจะต้องหาข้อสิ้นสุดให้ได้ ก็เลยกลายเป็นเรื่องว่าเรามีจุดมุ่งหมายอย่างไรในการสอนประวัติศาสตร์ ถ้ายังยืนยันหลักการปัจจุบันคือเสริมสร้างลัทธิชาตินิยม ก็คงต้องยอมรับว่าสำหรับผู้จะศึกษาประวัติศาสตร์ในวงสนทนาอย่างนี้(คงไม่ต้องถึงกับไปเรียนเอาปริญญา) จำเป็นต้องมีการปรับฐานความรู้ ปรับข้อมูล ปรับทัศนคติกันยกใหญ่เลยล่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 05 ก.พ. 02, 11:28

ตั้งกระทู้ใหม่ให้แล้ว

เชิญขึ้นไปล้อมวงคุยกันได้ค่ะ

http://www.vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn5&ID=RW952' target='_blank'>http://www.vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn5&ID=RW952
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง