เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8
  พิมพ์  
อ่าน: 21411 เปิดกรุดาราคลาสสิกของฮอลลีวู้ด (๔)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 01 ก.พ. 02, 10:48

เปียร์ได้เล่นหนังหลายเรื่อง  แต่ก็ไม่โดดเด่นมากนัก  เธอบินไปบินมาระหว่างอิตาลีกับฮอลลีวู้ด เพราะมีงานทั้งสองแห่ง

เธอเคยมีบทดีๆจากหนังคู่กับพอล นิวแมน เรื่อง Somebody Up There Likes Me ปี ๑๙๕๖ เมื่ออายุ ๒๔ ปี

แต่เรื่องอื่นๆก็งั้นๆ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW941x075.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 01 ก.พ. 02, 10:52

ชีวิตส่วนตัวของเปียร์ ล้มเหลว  

ว่ากันว่าเธอรักเจมส์ ดีนมาก แต่แม่ขัดขวางไม่ให้แต่ง   แล้วเจมส์ก็มาตายจากไปแต่ยังหนุ่ม

เธอเลยแต่งงานกับนักร้องดัง วิค ดาโมนตามความเห็นชอบของแม่    อยู่ได้ ๔ ปีก็หย่ากัน มีลูก ๑ คน

แต่งงานใหม่อีก ก็ไปไม่รอด หย่ากันอีก

ชีวิตคนสวย แต่เศร้า จบลงเมื่ออายุแค่ ๓๙ ปี

เธอตายด้วยการกินยาระงับประสาทเกินขนาดค่ะ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW941x076.jpg'>
บันทึกการเข้า
ภูวง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 01 ก.พ. 02, 11:03

ทันทีครับ ทิ้งทวน สัปดาห์หน้า ผมต้องไปมะงุมมะงาหราแย่งกับภังคีตามเดิมแล้ว

หยาดฟ้ามาหรือไร.................ผ่องอำไพไร้ราคิน
ใดเทียบเปรียบยุพิน...............ยุพาพี่ที่หวลหา
น้ำค้างดูจางเจื่อน...................ผ่องเพ็ญเดือนแลเลือนตา
ใฝ่ฝันขวัญสุดา.....................ตราบชีวาจะม้วยมรณ์
บันทึกการเข้า
ภูวง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 01 ก.พ. 02, 11:55

ภังคีเขาเลิกงอแงเรื่องโซเฟียแล้วครับ  ผมบอกว่าคุณเทาชมพเคยทำ ลิงค์ไว้ให้ทีกระทู้มารีลิน  เพราะเจ้าของเว้บเขาไม่ให้โหลดรูปมา
บันทึกการเข้า
ภาธร
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 01 ก.พ. 02, 12:12

ผมยกมือปิ๊งเปียร์ แอนเจลี่ด้วยครับ น่ารักจริง โดยเฉพาะรูปแรก  ไม่ชอบผู้หญิงกันคิ้วจนโก่งเลยดูไม่เป็นธรรมชาติ คนที่เครี่องหน้าสวยๆนี่ไม่ต้องใช้เครื่องสำอางค์พอกก็สวยมากแล้ว
บันทึกการเข้า
ยาตรา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 01 ก.พ. 02, 19:59

เรื่องเกี่ยวกับ เกรต้า การ์โบ (Greta Garbo) มาแล้วครับ...ต้องขอประทานโทษยิ่งครับที่มาช้ามากกกก... หวังว่าจะไม่ทำให้เสียอรรถรสในการสนทนากลางคันนะครับ



เท่าที่ผมค้นประวัติของเธอมา เกรต้า การ์โบ มีชื่อเดิมว่า 'เกรต้า โลวิซ่า กุสตาฟสัน' (Greta Lovisa Gustafson) เธอเกิดที่กรุงสต็อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๑๙๐๕ เป็นบุตรสาวคนที่สามของครอบครัวชนชั้นกรรมกร มีพี่สาวและพี่ชายอีก ๒ คน เมื่อเธออายุได้ ๑๔ ปี พ่อของเธอก็เสียชีวิตด้วยโรคไตวาย ต่อมาเธอก็สูญเสียพี่สาวไปอีกคนด้วยโรคมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองขณะที่เธออายุ ๒๑ ปี



เกรต้าเริ่มออกทำงานครั้งแรกด้วยการเป็นพนักงานล้างหน้าให้ลูกค้าในร้านตัดผม ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นทำงานในห้างสรรพสินค้า และมีโอกาสได้ถ่ายแบบโฆษณาให้กับห้างนี้เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๒๑ และได้ถ่ายแบบอีกหลายชิ้นรวมทั้งชุดว่ายน้ำด้วย จนมีผู้เห็นแววของเธอคนหนึ่งได้กระตุ้นให้เกรต้าไปสมัครรับทุกการศึกษาด้านการแสดงของโรงละคร The Royal Stockholm Theatre School ซึ่งทำให้เธอได้รู้จักกับนักแสดงชาย มอริทซ์ สติลเลอร์ (Mauritz Stiller) ซึ่งกำลังหาตัวผู้แสดงหญิงในหนังเรื่องหนึ่งอยู่พอดี เกรต้าจึงได้แสดงหนังเรื่องแรกในปี ๑๙๒๔ เรื่อง The Atonement of Gosta Berling ซึ่งถึงแม้จะไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก แต่ทั้งสองคนก็ได้แสดงหนังร่วมกันต่อมาอีกหลายเรื่อง



จุดพลิกผันในชีวิตของเกรต้า เกิดขึ้นเมื่อประธานสตูดิโอ หลุยส์ บี.เมเยอร์ (Louise B. Meyer) แห่ง MGM 'สิงโตคำราม' เดินทางมาทวีปยุโรปเพื่อเสาะหานักแสดงที่มีพรสวรรค์ แล้วเผอิญเขาได้ดูหนังเรื่อง The Atonement of Gosta Berling เข้าพอดี ก็เลยมีดำริว่าต้องการให้มอริทซ์ สติลเลอร์มาเป็นนักแสดงในสังกัดทันที แต่กลับไม่สนใจเกรต้าแม้แต่น้อยโดยติว่าเธออ้วนเกินไป ทว่าฝ่ายมอริทซ์ สติลเลอร์นั้น จะด้วยชะตาต้องกับเกรต้าหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ กลับยืนยันว่าเขาต้องการตัวผม ก็ต้องเอาเกรต้าไปด้วย ไม่งั้นก็ NO ลูกเดียว! ฝ่ายคุณเมเยอร์ก็เลยจำต้องยอมตกลง โดยเซ็ญสัญญากับเกรต้าอย่างเสียไม่ได้ ด้วยค่าตัวเพียงสัปดาห์ละ ๓๕๐ เหรียญฯ



เมื่อเดินทางมาฮอลลีวู้ด เกรต้ายังไม่มีงานทำเป็นชิ้นเป็นอันนัก เพราะรูปลักษณ์ของเธอนั้นยังดูด้อยเกินไปในสายตาของผู้บริหารสตูดิโอ ทั้งผมหยิกฟูฟ่องแถมแววตายังเหมือนคนง่วงนอนตลอดศกอีกต่างหาก งานที่เธอได้รับระยะแรกก็คืองานถ่ายโฆษณารถยนต์หรือไม่ก็โฆษณาสัตว์เลี้ยง อะไรพวกนี้แทน นอกจากนี้เธอยังโดนประทับตราว่าเป็น 'นอร์ม่า เชียร์เรอร์แห่งสวีเดน' เสียอีก (นอร์ม่า เชียร์เรอร์คือนักแสดงหญิงในยุคเดียวกันกับเกรต้า เคยคว้ารางวัลออสการ์จากเรื่อง The Dicorcee และ Their Own Desire ปีเดียวกับที่ได้เกรต้าก็ได้เข้าชิงเหมือนกัน)



และผู้ทำให้ดวงทางการแสดงของเกรต้าเริ่มส่งประกายโดดเด่นขึ้นมาก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือมอริทซ์ สติลเลอร์นั่นเอง ซึ่งวางแผนให้สตูดิโอมองหาช่องทางที่จะปั้นเธอให้เป็นดารา แถมยังไปพูดเรื่องค่าตัวของเธอให้เพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ละ ๕๐๐ อีกด้วย จนในที่สุดเกรต้าก็ได้แสดงหนังฮอลลีวู้ดเรื่องแรก ด้วยเหตุผลที่ว่าบทนางเอกในหนังเรื่องนี้ไม่ค่อยเหมาะกับนอร์ม่า เชียร์เรอร์ เกรต้าเลยได้รับแสดงแทนในบทหญิงสาวชาวชนบทที่สูญเสียคนรักตั้งแต่วัยเด็กไป เธอจึงพยายามคว้าตัวเขาคืนมาอีกครั้งหลังจากที่ตนได้เป็นนักร้องโอเปร่าในปารีสแล้ว จากเรื่อง The Torrent (1926) ซึ่งพอออกฉายปุ๊บก็ประสบความสำเร็จมหาศาล และทำให้สตูดิโอเริ่มมองเห็นค่าของเกรต้าขึ้นมาฉับพลัน ผลงานเรื่องต่อมาคือ The Temptress เกรต้าเลยได้รับการวางตัวให้แสดงคู่กับมอริทซ์ สติลเลอร์



แต่จะด้วยสติลเลอร์เป็นคนเจ้ากี้เจ้าการเกี่ยวกับเกรต้ามาไปหรือไงก็ไม่ทราบ ทางสตูดิโอเลยตัดสินใจถอดเขาออกจากการแสดงนำในหนังเรื่อง The Temptress เสียเลย (ต่อมาเขาย้ายไปแสดงหนังให้กับค่าย 'Paramount-ดาวภูเขา' อีก ๓ เรื่อง ก่อนจะเดินทางกลับไปสวีเดนบ้านเกินเมื่อปี ๑๙๒๘ และเสียชีวิตอย่างเงียบๆหลังจากนั้นไม่นาน) ขณะที่เกรต้ายังคงทำงานแสดงหนังในฮอลลีวู้ดอยู่ต่อไป และได้กลายเป็นดาราที่น่าจะถือว่า 'ใหญ่' ที่สุดของสตูดิโอ MGM ในยุคนั้นเลยทีเดียว ผลงานของเธอต่อจาก The Temptress คือ Flesh and the Devil (1927) ประสบความสำเร็จมากถึงขนาดทำให้เธอสามารถที่จะเลือกแสดงหรือไม่แสดงหนังได้ตามใจ แถมค่าตัวยังพุ่งพรวดจากสัปดาห์ละ ๖๐๐ เหรียญฯ ก็กระโดดไปเป็นสัปดาห์ละ ๕,๐๐๐ เหรียญฯ อย่างสบายๆ



ผลงานหนังเสียงเรื่องแรกของเกรต้า การ์โบคือ Anna Christie (1930) ประสบความสำเร็จล้มหลามโดยเฉพาะกับสโลแกนโฆษณาที่ว่า "GARBO TALKS!" ที่กลายวาทะคลาสสิคของฮอลลีวู้ดมาจนถึงปัจจุบันนี้ (นักวิจารณ์คนหนึ่งกล่าวไว้ในปี ๑๙๕๕ ว่า "...นี่คือข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า 'การ์โบพูด' สร้างมนตร์ขลังได้เสียยิ่งกว่า 'การ์โบเป็นใบ้' เสียอีก") และยังทำให้เธอได้รับการแสดงชื่อเข้าชิงออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากเรื่องนี้ด้วย (แต่พลาดให้แก่นอร์ม่า เชียร์เรอร์) นอกจากนี้ เรื่องนี้เองที่เกรต้า การ์โบได้เริ่มตั้งกฎเกณฑ์ส่วนตัวขึ้นมา คือการไม่ยอมให้นักข่าวเข้ามาจุ้นจ้านวุ่นวายในกองถ่ายหนังที่เธอร่วมแสดงอย่างเด็ดขาด และทำให้ชีวิตส่วนตัวของเธอกลายเป็นปริศนาสำหรับคนดูและสื่อมวลชนนับตั้งแต่นั้น หากจะมีข่าวใดหลุดรอดออกมาก็มักจะเป็นข่าวที่ว่าเธอชอบแยกตัวไปอยู่เพียงลำพังไม่ยุ่งกับผู้ใดนั่นเอง



ผลงานในปี ๑๙๓๑ ที่เธอแสดงร่วมกับคลาร์ค เกเบิ้ลเรื่อง Susan Lennox: Her Rise and Fall แม้จะยังคงเป็นบทเดิมๆที่เธอมักจะได้รับอยู่บ่อยๆ (คือบทหญิงสาวที่พยายามหารักแท้จากใครสักคนโดยมีอดีตอันมัวหมองของตนเป็นอุปสรรค) ก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงเช่นเคย ผลงานเรื่องต่อมาที่อาจกล่าวได้ว่าบทที่เธอได้รับค่อนข้างจะตรงกับชีวิตของเธอมากที่สุดคือบทดาราบัลเล่ต์ชื่อดังใน Grand Hotel ซึ่งเป็นหนังที่แหวกกฎเกณฑ์ของสมัยนั้นในข้อที่ว่า "ดาราดังหนึ่งคนคือหนังทั้งเรื่อง" ทว่าเรื่องนี้กลับมาดาราดังยุคนั้นมาแสดงร่วมกันถึง ๕ คน (นอกจากเกรต้า การ์โบแล้วยังมี จอห์น แบร์รี่มอร์, โจน ครอว์ฟอร์ด ฯลฯ)



ในปี ๑๙๓๒ อันเป็นปีที่เหมือนกับว่าเธอจะก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของอาชีพนักแสดงแล้ว ก็มีข่าวลือหนาหูแพร่สะพัดไปทั่วว่าเกรต้า การ์โบจะออกจากวงการ ทาง MGM หาทางออกด้วยการเพิ่มค่าตัวให้เธอเป็นสัปดาห์ละ ๗,๐๐๐ เหรียญฯ ในขณะที่การ์โบยื้อเข้าไปอีกจนกลายเป็น ๑๐,๐๐๐ เหรียญฯ แถมยังได้สิทธิพิเศษคือเดินทางไปพักผ่อนที่ยุโรปได้นานจนกว่าจะพอใจ เมื่อกลับมาเกรต้าก็ได้แสดงนำใน Queen Christina (1933) ตามมาด้วย The Paintes Veil (1934) ซึ่งพอดีกับที่มีการสัญญาใหม่ คราวนี้กลายเป็นว่าค่าตัวของเธอสูงถึง ๒๕๐,๐๐๐ เหรียญฯ ต่อเรื่องเลยทีเดียว



หนังเรื่องแรกภายใต้สัญญาใหม่คือ Anna Karenina (1935) (เธอเคยแสดงในฉบับหนังเงียบไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี ๑๙๒๗ ในชื่อเรื่องว่า Love) ซึ่งเธอเลือกแสดงเองแทนการยอมทำตามใจสตูดิโอที่ต้องการให้เธอแสดงใน Dark Victory (บทนำเรื่องนี้จึงตกเป็นของเบ็ตตี้ เดวิส) หลังจาก Anna Karennina เกรต้าเดินทางไปเที่ยวยุโรปก่อนจะมาแสดงใน Camille (1936) หนังที่ทำให้เธอได้เข้าชิงออสการ์อีกครั้ง (แต่พลาดให้แก่หลุยส์ เรนเนอร์ นักแสดงสองรางวัลออสการ์จาก The Great Zeigfeld และ The Good Earth)



แต่ดวงคนเราก็มีขึ้นมีตก ดวงของเกรต้าพุ่งสูงมาตลอดก็ถึงคราวตกบ้างเมื่อหนังเรื่อง Conquest (1937) ของเธอขาดทุนมากมาย แต่พลังดาราของเธอยังมีมากอยู่ ทางสตูดิโอก็เลยคิดหันเหให้เธอไปแสดงหนังแนวอื่นบ้าง ผลก็คือเรื่อง Ninotchka (1939) คือบทตลกครั้งแรกที่การ์โบแสดง และทำให้เธอเข้าชิงออสการ์อีกเป็นครั้งที่สาม (แต่ก็พลาดอีก...ให้กับวิเวียน ลีห์จาก Gone with the Wind) หลังจาก Ninotchka เกรต้า การ์โบมีผลงานอีกเพียงเรื่องเดียวคือ Two-Faced Woman (1941) ซึ่งเธอบอกว่าไม่ค่อยชอบพล็อตหนังเท่าไหร่นัก (บอกว่าอย่างกับเขียนมาเพื่อฆ่าเธอโดยเฉพาะ) เพราะต้องแสดงเป็นพี่น้องฝาแฝดที่พยายามเอาชนะใจสามีเจ้าชู้ให้ได้ แต่กระนั้นเธอก็ยินดีที่ได้ร่วมงานกับทีมงานที่เธอพอใจ และหลังจากเรื่องนี้แล้วเธอก็ไม่มีผลงานแสดงออกมาอีกเลย



แต่กระนั้นก็มีข่าวลือออกมาตลอดเวลาว่าเธอจะกลับมาแสดงหนังอีกครั้ง แต่ก็เป็นได้แค่ข่าวลือทุกที จนสามารถกล่าวได้ว่าเธอต่างหากที่ทิ้งฮอลลีวู้ด ไม่ใช่ฮอลลีวู้ดเป็นผู้ทิ้งเธอ ชีวิตส่วนตัวของเกรต้า การ์โบกลายเป็นความลับจากสื่อมวลชนตลอดมา จนในปี ๑๙๙๐ ที่เธอเขียนชีวิตประวัติของเธอเองออกมา ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เธอเสียชีวิตด้วยโรคนิวมอเนีย ในวันที่ ๑๕ เมษายน ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา



เกรต้า การ์โบเคยกล่าวไว้ว่า "ฉันไม่เคยพูดว่า 'ฉันอยากอยู่คนเดียว' ฉันพูดแค่ว่า 'ฉันขออยู่คนเดียว' ซึ่งความหมายของทั้งสองประโยคมันแตกต่างกันลิบโลกมากเลย" และ "ชีวิตคงเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก หากเราเพียงแต่ทราบว่าจะทำอย่างไรกับมันเท่านั้น"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 02 ก.พ. 02, 09:01

เคยดูละครเรื่อง Sunset Boulevard เป็นเรื่องดาราสาวยุคเก่าที่ออกจากวงการไปเก็บตัวในบ้านโบราณ  

แล้วฝังตัวอยู่ในอดีตสมัยเธอเป็นดาราดัง ไม่ออกมาพบปะผู้คน

ดูแล้วนึกถึงเกรตา การ์โบค่ะ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW941x081.jpg'>
บันทึกการเข้า
ยาตรา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 02 ก.พ. 02, 19:05

ดาราคนที่เล่นหนังเรื่อง Sunset Boulevard มีชื่อว่ากลอเรีย สวอนสันครับ เป็นดาราร่วมยุคเดียวกับเกรต้า การ์โบนี่แหละ พอมาสร้างเป็นละครเวทีโดยเซอร์แอนดรูว์ ลอยด์ เว็บเบอร์ ก็มีดาราดังๆอย่างเกล็นน์ โคลสมาร่วมแสดงด้วย แต่เท่าที่ผมเคยได้ยินได้ฟังจากคนที่เคยดูละครเรื่องนี้ เขาบอกว่าแพ็ตตี้ ลูปอง คนที่แสดงเป็นนอร์ม่า เดสมอนด์คนแรกนั้นเล่นและร้องเพลงได้ดีกว่าคนอื่นๆนะครับ ผมเคยซื้อเทปเพลงละครเรื่องนี้มาฟัง ทั้งฉบับที่แพ็ตตี้ ลูปองร้องกับฉบับที่เกล็นน์ โคลสร้อง ก็เห็นด้วยว่าแพ็ตตี้ร้องดีกว่า ไม่ทราบว่าคุณเทาชมพูได้ดูฉบับที่ใครแสดงครับ กรุณาเล่าให้คนที่อยากดูละครเรื่องนี้มากๆๆๆๆ ฟังด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 03 ก.พ. 02, 11:39

ขอสารภาพว่าจำไม่ได้ว่ารอบที่ดู ใครเล่นเป็นนอร์มา แต่ไม่ใช่เกล็น โคส  ส่วนอีกชื่อก็ไม่คุ้น
ดิฉันได้ดูที่ลอนดอนหลายปีแล้วค่ะ    ตอนดูมัวไปตื่นเต้นกับฉากเพราะชื่อดาราในรอบที่เล่น ไม่คุ้น  เป็นดาราอังกฤษ
ที่ไม่ตื่นเต้นเพราะไม่ชินกับ operetta ที่ร้องมันซะทุกคำ
แต่ไปตื่นเต้นกับฉาก  
โดยเฉพาะฉากแรก   ที่พระเอกถูกยิงตายนอนคว่ำหน้าลอยอยู่ในสระน้ำ
เขาทำไงไม่รู้ให้คนดูเห็นจากมุมทะแยงจากใต้น้ำ ขึ้นไปมองเห็นพระเอกลอยตุ๊บป่องคว่ำหน้าอยู่บนอากาศที่สมมุติว่าเป็นผิวน้ำ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 03 ก.พ. 02, 11:43

ไปค้นภาพจูดี้ การ์แลนด์มาให้ พร้อมประวัติย่อๆตามมีตามเกิด

รอคุณยาตราว่างกว่านี้หน่อยคงจะมาเติมให้เต็มได้ภายหลัง



จูดี้ การ์แลนด์(1922-1969) เป็นดารายิ่งใหญ่ จนเรียกได้ว่าเป็น "ตำนาน" หนึ่งของฮอลลีวู้ด

เธอเริ่มต้นเข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ  แล้วได้เซ็นสัญญาเป็นดาราในสังกัดของเมโทร โกลด์วิน เมเยอร์  

พออายุ ๑๓ ก็เริ่มเป็นที่กล่าวขวัญกันในหนัง BROADWAY MELODY  (1937) ดารานำคือคล้าก เกเบิล

เธอเล่นคู่กับดาราเด็กชายในสมัยนั้น คือมิกกี้ รูนีย์หลายเรื่องจนมาถึงเรื่องที่ทำให้เธอโด่งดังเป็นอมตะ

 Wizard of Oz (1939)
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW941x084.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 03 ก.พ. 02, 11:44

จูดี้อายุ ๑๗ แต่เล่นเป็นเด็กหญิงโดโรธีอายุ ๑๓   จนได้ตุ๊กตาทองพิเศษสำหรับดาราเด็ก
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW941x085.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 03 ก.พ. 02, 11:48

เรื่อง Wizard of Oz   มีเพลงอมตะ Over the rainbow  ที่ดังไปทั่วโลก  

เคยนำเอามาประกอบหนังความรักหวานแหววผ่านอินเตอร์เน็ต  You've Got Mail   ในตอนจบ  

ใครที่มีความฝันแล้วอยากสมหวังตามฝัน จะชอบเพลงนี้มาก

Over the Rainbow



music by Harold Arlen and lyrics by E.Y. Harburg



Somewhere over the rainbow

Way up high,

There's a land that I heard of

Once in a lullaby.

Somewhere over the rainbow

Skies are blue,

And the dreams that you dare to dream

Really do come true.



Someday I'll wish upon a star

And wake up where the clouds are far

Behind me.

Where troubles melt like lemon drops

Away above the chimney tops

That's where you'll find me.



Somewhere over the rainbow

Bluebirds fly.

Birds fly over the rainbow.

Why then, oh why can't I?



If happy little bluebirds fly

Beyond the rainbow

Why, oh why can't I?
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW941x086.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 03 ก.พ. 02, 11:50

จูดี้เริ่มติดยาตั้งแต่เป็นดาราดัง  ตั้งแต่ยาลดความอ้วน เพื่อรักษาหุ่นสาวน้อยเอาไว้ได้ยาวนาน

และยานอนหลับ  เพื่อจะได้หลับได้ง่าย ตื่นขึ้นมามีเรี่ยวแรงไว้ทำงานหนักสาหัสในกองถ่ายต่อไป
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW941x087.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 03 ก.พ. 02, 11:52

แต่ถ้าเรื่องอาชีพแล้วเธอไปได้ดีมาก  เป็นขวัญใจชาวอเมริกัน

ทั้งแสดง  ทั้งร้องเพลง เต้นรำ  เรียกว่าเก่งรอบตัว   ยากจะหาดาราหญิงคนใดเทียบได้
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW941x088.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 03 ก.พ. 02, 11:53

หนังที่เธอเล่นล้วนประสบความสำเร็จ

 MEET ME IN ST. LOUIS (1944) เธอร้องเพลงคริสต์มาสที่กลายมาเป็นเพลงอมตะอีกเพลง  "Have Yourself a Merry Little Christmas,"

 THE HARVEY GIRLS (1946),

EASTER PARADE   กับ เฟรด แอสแตร์ใน 1948,

SUMMER STOCK 1950 กับยีน เคลลี่

 A STAR IS BORN 1954,กับเจมส์ เมสัน

 JUDGMENT AT NUREMBERG 1961
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW941x089.jpg'>
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง