เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 41873 นาค กะ มังกร
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 04 ต.ค. 00, 00:00

1. Khun นิลกังขา, Makara is the "emblem" of Kamadeva, NOT his vehicle.

2. Khun ทิด, capricorn is also called "sea goat", so it might look like what you described above.

3. Khun รัตนพันธุ์, (again) I cannot read your font, either.
บันทึกการเข้า
รัตนพันธุ์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 04 ต.ค. 00, 00:00

แล้วกิเลนกับ Griffinล่ะคะ?
 
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 04 ต.ค. 00, 00:00

I think I'd better make a clarification that...



Makara is NOT the same being as capricorn.



Makara looks like a crocodile, while capricorn looks half-goat and half-fish; the are not the same being.



But when the Thai scholars of the old time translated the name "January" into Thai language, the used the word "makara" [+ "agama" (อาคม), which means "arrival"] because they envisaged that "makara" looked alike the capricorn (although not quite), and the capricorn itself is the sign of the zodiac "Capricornus".  In the ancient Greek time, the month of January begins when the sun apparently arrives at the sign of Capricornus, and hence the month of January is named "มกราคม" in Thai -- the word "มกราคม" exactly means "arrival at the sign of Makara" (the word "Makara" in this case is used to refer to the Capricorn, although they in fact are not the same being.)



So, please do not confound the makara with the capricorn or the dragon.
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

นั่นคือปัญหาการแปลอีก ที่ผมเคยยกประเด็นไว้แล้วนั่นเอง เหมือนกับที่ฝรั่งใช้คำว่า dragon แปล หลงหรือเล้ง ของจีน ทั้งๆ ที่เป็นคนละตัว
ถ้า มกร เป็นสัญลักษณ์ประจำองค์พระกามเทพ (ฮินดู ไม่ใช่คิวปิดฝรั่ง) ก็ยิ่งหนักเข้าไปอีก แค่ที่ผมเข้าใจผิดว่าเป็นพาหนะก็ไม่ค่อยจะเข้ากับความรักอยู่แล้ว คนอินเดียโบราณคิดยังไงนะครับถึงเห็นความรักหน้าตาเหมือนจระเข้ไปได้???
ตัวกริฟฟิน นี่สัญชาติฝรั่งใช่ไหมครับ ใครรู้จักบ้าง ผมเข้าใจว่าเป็นสัตว์สี่เท้าเหมือนกิเลน แต่ดูเหมือนกริฟฟินจะมีปีก?
ตัวพิลึกๆ อย่างในกระทู้นี้ ส่วนมากเป็นจินตนาการของคนโบราณ แต่ที่เกิดในสมัยปัจจุบันนี้เองก็มี เช่น Merlion ของประเทศสิงคโปร์ เป็น "สิงห์เงือก"  ครึ่งบนเป็นสิงโต ครึ่งล่างเป็นปลา
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

เป็นอันว่ามังกรกัณฐ์ ไม่เกี่ยวกับมังกรแต่อย่างใด ดูรูปก็ไม่เห็นว่ามีคอมังกรที่ตรงไหน (แต่สวมมงกุฏนาค?- แล้วก็ตาจระเข้?)
อ้อ ผมไม่ได้บอกว่าตามังกรจีนเป็นของมังกรเอง หรือว่าตามังกรมาจากลูกลำไยนะครับ เพราะจำได้ว่ามังกรเป็นสารพัดสัตว์อย่างว่า เป็นแต่ขอเรียนว่า คำว่า ลูกลำไย ในภาษาจีนกลาง แปลว่าลูกนัยน์ตามังกร เท่านั้น
คนจีนที่เรียกลำไยว่า หลงเหยี่ยน คนแรก คงจะเห็นว่าเป็นผลไม้กลมๆ มีเม็ดสีดำอยู่ตรงกลางเนื้อสีขาว คล้ายๆ ตาของมังกรที่โปนออกมาในรูปเขียน เลยเรียกยังงั้น
มีเรื่องเล่าของจีนเกี่ยวกับการเติมตาให้รูปเขียนมังกร ซึ่งผมจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว
เรื่องเล่าอีกเรื่องเกี่ยวกับตับมังกร อยู่ในสามก๊ก ตอนผู้วิเศษโจจู๋ลองดี "ท่านผู้นำ" โจโฉ ผู้วิเศษแกมีเวทมนต์ สามารถล้วงมือเข้าไปในรูปมังกรบนฝนัง ควักเอาตับมังกรสดๆ ออกมาให้โจโฉกินแกล้มเหล้าได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

กามเทพ มีธงตรามังกร แต่พาหนะคือนกแก้วค่ะ
griffin เป็นสัตว์ครึ้งสิงโตครึ่งนกอินทรี   มีหัวและปีกเป็นอินทรี ตัวเป็นสิงห์    มีอยู่ในตราตระกูลเก่าๆของอังกฤษ  และในบางราชวงศ์ก็ดูเหมือนจะมี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

ตอบคุณรัตนพันธ์
กิเลน หาดูได้จากเครื่องหมายการค้า ของห้างขายยาตรากิเลน  ดิฉันเคยดูๆแล้วรู้สึกเหมือนม้ามังกรของสุดสาคร  คิดว่าสุดสาครน่าจะได้แรงบันดาลใจมาจากิเลน ตัวคล้ายม้า มีสี่ขา เป็นเกล็ด แต่หัวเป็นมังกร
ชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ ค่อนข้างจะแปลยาก เพราะไทยไม่ได้รับมาจากรามายณะของอินเดียโดยตรง แต่มาจากฉบับลังกาหรือสิงหล   ขื่อก็เลยฟังแปลกๆไปบ้างค่ะ อย่างอสุรผัด ดูแต่ศัพท์ แปลยากว่าหมายถึงอะไร เพราะคำหลังไม่ใช่ทั้งบาลีและสันสกฤต
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

ขอบคุณคุณ Anonymous  ครับที่ช่วยเข้ามาแก้ข้อผิดพลาดให้ ผมหลงเข้าใจอย่างนั้นมานาน^_^

........................

เพลง "เหราเล่นน้ำ" ใช้บทร้องจากวรรณคดีอิเหนาครับ ตอนที่ระเด่นมนตรีล่องเรือในทะเลไปไหนก็ไม่ทราบ

แล้วชี้ชวนให้พระขนิษฐาดูเหราเล่นน้ำในทะเล ขึ้นต้นว่า "ลมดีพระก็ใช้ใบไป..." ที่เหลือจำไม่ได้แล้วครับ -_-!

..............................

มีเรื่องแล้วก็รูปของ "กิเลน" สองสัญชาติทั้งสัญชาติจีน แล้วก็สัญชาติญี่ปุ่น มาฝากนะครับ

ตำราเขาบอกไว้ว่า "กิเลน" เป็นเทพสัตว์ที่ดีหาที่ติไม่ได้เชียวนะครับ รักสงบ ซื่อใส บริสุทธิ์ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

เป็นสัญลักษณ์ของความเฉลียวฉลาด ความยุติธรรม ปกติกิเลนจะอาศัยอยู่แต่บนสวรรค์เท่านั้น

จะปรากฏตัวให้ใครต่อใครได้เห็นเฉพาะเวลาที่นักปราชญ์ มหาบุรุษ เกิดหรือตายเท่านั้นครับ

หน้าตาของกิเลนก็ตามรูปข้างล่างนี้นะครับ ลำตัวกวาง หัวมังกรแต่มีเขาเดียว หางวัว มีแผงคออย่างสิงโต

กีบเท้าอย่างม้า มีเกล็ดเหมือนปลาคลุมตลอดทั้งลำตัว นอกจากนี้ตามความเชื่อของจีนในสมัยโบราณ

กิเลนยังเป็นสัญลักษณ์วิญญาณศักดิ์สิทธ์แห่งทิศตะวันตก (บางตำราก็ว่าเป็นพยัคฆ์ขาว )ด้วยนะครับ

ร่วมกับอีกสามชนิดคือ หงส์แดง (ที่ไม่ใช่ลิเวอร์พูล) : ทิศใต้, เต่ามังกร : ทิศเหนือ, มังกรเขียว : ทิศตะวันออก

..........................

รูปนี้มาจาก http://webhome.idirect.com/~donlong/monsters/Html/Kilin.htm' target='_blank'>http://webhome.idirect.com/~donlong/monsters/Html/Kilin.htm    
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai90x37.jpg'>
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

อีกรูปหนึ่งของกิเลน แต่คราวนี้เป็นกิเลนสัญชาติญี่ปุ่น หึหึ หน้าตาตลกดีแฮะ

รูปมาจาก http://webhome.idirect.com/~donlong/monsters/Html/Kirin.htm' target='_blank'>http://webhome.idirect.com/~donlong/monsters/Html/Kirin.htm
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

ขอโทษทีครับ มือไวไปหน่อย
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai90x39.jpg'>
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

มาเพิ่มเติมเรื่องมังกรจีนอีกสักหน่อยครับ
วันนี้ไปมหาวิทยาลัยแล้วไปเปิดดูหนังสือในห้องสมุด
เจอเรื่องมังกรจีนและองค์ประกอบสัตว์ชนิดต่างๆ
เพิ่มเติมแก้ไขจากของเดิมที่แปะไว้แล้วนะครับ
1. ลำตัวงู
2. เกล็ดปลาหลีฮื้อ
3. หัวอูฐ
4. เขากวาง
5. นัยน์ตากระต่าย (ทำไมกระต่ายตาดุนักหว่า)
6. หูวัว
7. แผงคอสิงโต
8. คอกิ้งก่า
9. พุง และส่วนท้องเหมือนกบ
10. อุ้งเท้าเสือ
11. กรงเล็บอินทรี
....................................
เพิ่มเติมอีกเรื่องครับ เมื่อกี้ตอนที่แปะก่อนหน้านี้ลืมไป
สี่วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่ทำหน้าที่เหมือนจตุโลกบาล
มีสัญลักษณ์อยู่สองนัยนะครับ คือ เป็นสัญลักษณ์แห่งธาตุ
และเป็นสัญลักษณ์แห่งนัยความหมาย และปรากฏการณ์

ทิศเหนือ...เต่ามังกร - ธาตุน้ำ หมายถึง ความสุข อายุวัฒนะ
ทิศใต้...หงส์ - ธาตุไฟ หมายถึง นิมิตหมายที่เป็นมงคล โชค
ทิศตะวันออก...มังกร - ธาตุลม หมายถึง อำนาจที่ยิ่งใหญ่
ทิศตะวันตก...กิเลน - ธาตุดิน หมายถึง ปัญญา ความยุติธรรม
....................................
การปรากฏตัวของกิเลนอีกครั้งนึงก็คือเมื่อมหาจักรพรรดิ
ที่ทรงทศพิธราชธรรมขึ้นเถลิงราชย์นะครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

กิเลน ภาษาญี่ปุ่นเรียก คิริน ครับ เป็นยี่ห้อเบียร์ด้วย
ผมว่า ที่ว่ามังกรจีนเอาตามาจากกระต่าย คงเพราะกระต่ายตากลมโตใสแจ๋วมั้งครับ
กิเลนมีเขาเดียว น่าจะพอเทียบกับ unicorn ของฝรั่งได้
เรื่องนาคเลยหายไปจากกระทู้เลย นอกจากนาคในนิทานอินเดียเดิมแล้ว ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีตำนานเรื่องนาคของตัวเองเยอะนะครับ ชนชาติขอมก็ดูเหมือนจะเชื่อว่าเขาสืบเชื้อสายมาจากนางนาค ยังตำนานนาคแม่น้ำโขง นิทานนาคถล่มเมืองทางอีสาน (คือตำนานที่มาของหนองหานหรือเปล่า- ไม่แน่ใจ) แถมเรื่องแม่นาคพระโขนงอีก - เอ - อันหลังนี่คงไม่เกี่ยว ;-)
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

แถมให้ว่า เกาลูน ที่ฮ่องกง เป็นภาษากวางตุ้งแปลว่า เก้ามังกรครับ (จิ่วหลง- จีนกลาง)
และ - วัดเล่งเน่ยยี่ ที่กรุงเทพฯ ถอดชื่อออกมาได้เหมาะสมมาก ว่า มังกรกมลาวาส เพราะ เล่ง/เล้ง แต็จิ่วแปลว่า มังกร เน่ย/เน้ย - ดอกบัว ยี่ - วัด ครับ
ซุปมังกรพยัคฆ์ ที่คนกวางตุ้งถือว่าเป็นอาหารชั้นเลิศ นั้นคือ ซุปเนื้องูกับเนื้อแมวครับ (อี๋!!!!)
บันทึกการเข้า
ศิษย์โง่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

น่าสังเกตุนะครับ ว่านาค หรือ สัตว์ในเทพนิยายที่อยู่ใต้บาดาลชนิดนี้
มักมีบทบาทอย่างมากกับการก่อกำเนิดของแผ่นดินในแถบอุษาคเณย์นี้ ไม่ว่าจะในตำนานอุรังคธาตุ เรื่อง พระทองกับนางนาค
ตำนานของพระยานาคที่เลื้อยควักแผ่นไปทางนั้น ทางนี้ จนเป็นลำน้ำโขง ชี มูล ฯลฯ หรือราชประเพณีของกษัตริย์ขอมที่ต้องบรรทมกับนางนาค หรือแม้กระทั่งเรื่องของ นาค ที่เตรียมเข้าบรรพชาอุปสมบท
ที่มีสยามนี้เท่านั้นที่มีคำเรียกขานนี้
เรื่องนี้น่าจะสอบค้นกันนะครับว่า
สัตว์ในเทพนิยายผู้ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่แผ่นดินนี้ มีอิทธิพลต่ออุษาคเณย์แต่เมื่อใด อย่างไร
บันทึกการเข้า
Anonymous
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

ขอบคุณคุณเทาชมพูที่ช่วยอธิบายขยายความให้อีกแรง เพราะทีแรกกำลังจะเขียนแก้ไขการตีความหรือความเข้าใจของคุณนิลกังขาพอดีว่า ที่ว่ามกรเป็นสัญลักษณ์ของกามเทวะนั้น ไม่ได้หมายถึงว่ามกรเป็นตัวแทนแห่งความรักความใคร่แต่อย่างใด แต่มกรเป็นรูปสัญลักษณ์ที่อยู่บนธงประจำตัวกามเทวะ ธงสัญลักษณ์ของกามเทวะนี้เรียกว่า "มกรเกตน" [มะ-กะ-ระ-เก-ตะ-นะ] -- เกตน แปลว่า ธง -- "มกรเกตน" หรือ "มกรเกตน์" [มะ-กอน-เกด] แปลว่า ธงรูปมกร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง