ซันเต๋อ
บุคคลทั่วไป
|
ได้ไปเจอหนังสือ ที่บอกถึงที่มาของตัวละคร ในผู้ชนะสิบทิศ ไม่ได้ซื้อมาหรอกค่ะ แต่เปิด อ่านแว้บ ๆ จึงได้รู้ว่า ไม่มีตะละแม่กุสุมา ในความเป็นจริง และไม่มีนางทั้งหลายที่เป็นที่ เสน่หาของจะเด็ดเลย ไม่มีตัวตน เกิดจาก จินตนาการผู้แต่ง รู้แล้วก็รู้สึกทึ่งมาก ๆ เพราะ ตลอดมาคิดว่า กุสุมา มีตัวตน เอ๊ะ! แล้วทำไม เกิดศึกเมืองแปร ได้เนี่ย ต้องไปทบทวน เสียแล้วสิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 16 ม.ค. 02, 19:24
|
|
ท่านผู้แต่งคือ ยาขอบ เคยบอกไว้ในคำนำว่า เรื่องผู้ชนะสิบทิศทั้งเรื่องท่านได้เค้าจากพงศาวดารจริงๆ เพียง 8 บรรทัดเท่านั้นครับ (ผมพยายามหามานานแล้ว ไม่ทราบว่า 8 บรรทัดไหน) ท่านบอกว่า สภาพเมืองตองอูในเรื่องก็ตามก็ตาม แปร (ในเรื่อง) ก็ตาม กลศึกสารพัดก็ตาม รวมทั้งศึกเสน่ห์ที่เจ้าจะเด็ดต้องผจญกับแม่สาวมากหน้าหลายตาด้วย มาจากจินตนาการของท่านทั้งหมด อาศัยพงศาวดารเป็นแค่เค้าเท่านั้น ที่มาของจินตนาการท่านก็ยอมรับไว้เปิดเผยว่าเอาเค้ามาจากหลายแหล่ง ตั้งแต่ราชาธิราช สามก๊ก กระทั่งเรื่องของฝรั่งโบราณ อย่างลักษณะนิสัยใจคอคนเมืองตองอูที่เป็นเผ่านักรบนั้นท่านบอกว่าท่านได้แรงบันดาลใจมาจากชาวสปาร์ตา สมัยกรีกโบราณ
ตะละแม่กุสุมาจะมีตัวจริงหรือไม่ผมก็ไม่ทราบ ทราบแต่ว่านอกหนังสือนิยาย พม่าเขาเรียกเมืองแปร (ของจริง) ว่าเมืองโปรม ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 17 ม.ค. 02, 03:56
|
|
แล้วยังงี้ตะละแม่จันทรา เนี่ยมีตัวตนจริง ๆ หรือเปล่าครับ แต่น่าจะมีนะ เอ๊ะตกลง พระเจ้าบุเรงนอง กับพระเจ้าตะเบงชะเวตี้เกี่ยวดองกันหรือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 17 ม.ค. 02, 12:31
|
|
ผู้หญิงที่เป็นอัครมเหสีของบุเรงนองในพม่า มีแน่ แต่ไม่คิดว่าเป็นพี่สาวของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ มีนามว่ากุสุมา เรื่องเหล่านี้คิดว่ายาขอบผูกโครงเรื่องขึ้นมาเอง เพราะเมื่อเริ่มเขียนนั้น ยาขอบตั้งใจจะเขียนในแนวของเรื่องจีน ที่มีรบ รัก บู๊ คนติดกันงอมแงม ไม่ได้ตั้งใจจะเขียนพงศาวดาร ก็สร้างเรื่องราวของพม่าขึ้นมา เป็นโครงให้อิง แล้วตั้งใจว่าตอนจบจะให้บุเรงนองมาตีไทยสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเด็ดคือบุเรงนองตัวจริง) แต่ท่านถึงแก่กรรมไปเสียก่อนจะเขียนจบ
ดิฉันขอตั้งข้อสังเกตง่ายๆว่ายาขอบสมมุติชื่อเองทั้งหมด เพราะตัวละครในผู้ชนะสิบทิศ ดูจากภาษาแล้ว มีชื่ออยู่ในตระกูลภาษาคนละตระกูลกันค่ะ จะเด็ด มังตรา มังฉงาย สอพินยา เนงบา จะเลงกะโบ สีอ่อง เป็นภาษาที่คนไทยไม่รู้จัก จะเป็นชื่อพม่ามอญหรืออะไรก็ตาม คนไทยทั่วไปแปลไม่ออก ส่วนชื่อผู้หญิง ล้วนเป็นชื่อไทย(ที่รับมาจากแขก ออกสำเนียงไทย) กันทั้งนั้น ไม่ว่า จันทรา กุสุมา อเทตยา นันทวดี พม่าไม่ใช้ชื่อพวกนี้ในภาษาพม่า ถ้ามีชื่อที่มาจากฮินดูหรือสันสกฤต ก็จะออกเสียงไปตามภาษาของเขาค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 17 ม.ค. 02, 17:22
|
|
อาจจะยกเว้นแม่นางปอละเตียงกับนางเชงสอบูครับคุณเทา แต่ก็ยังเป็นภาษาที่คนไทยแปลไม่ออกอยู่ดีและมีเค้าๆ กลิ่นอายพม่าหน่อยๆ แต่เข้าใจว่าคงไม่ใช่ภาษาพม่าจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 17 ม.ค. 02, 20:40
|
|
เคยทราบมาว่า ที่เราเรียกกันว่าบุเรงนองในภาษาไทยนั้น พม่าจริงๆ เขาออกเสียง บ๊ะยินหน่อง เป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งในประวัติศาสตร์พม่า เผื่อไปเจอเพื่อนพม่าจะได้คุยกันได้รู้เรื่องครับ เพราะถ้าเรียกบุเรงนอง เชื่อว่าพม่าไม่เข้าใจว่าเราหมายถึงใคร อาจจะต้องอธิบายนานหน่อยกว่าเขาจะนึกออก
กรณีคล้ายๆ กันอย่างนี้เกิดขึ้นมาแล้วที่เมืองจีนนานมาแล้ว ผู้ใหญ่ในวงการเมืองไทยคนหนึ่ง แวะไปเยี่ยมเมืองจีนแล้วอยากจะแสดงความรู้ให้จีนเขาประทับใจว่าท่านรูเรื่องเมืองจีนดี ก็บอกว่าเราคนไทยรู้จักขงเบ้งจิวยี่เล่าปี่กวนอูเตียวหุยโจโฉดีมาก ตัวละครคนโน้นทำยังงี้คนนี้ทำยังงั้นคนนั้นรบกับคนนู้นเรารู้จักหมด (ตามที่เด็กไทยเคยเรียนสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง หน มา) ปรากฏว่าล่ามจีนแปลไม่ได้เลย แทนที่จะสร้างความประทับใจกับฝ่ายจีนกลับเสียอารมณ์ไปทั้งสองข้าง เพราะข้างไทยก็แปลกใจแกมรำคาญและเลยนึกดูถูกว่า อะไร ผู้ใหญ่จีนหรือล่ามจีนทำไมไม่รู้เรื่องวรรณคดีสำคัญของชาติตัวเองเลย ฝ่ายจีนก็รำคาญว่า คนไทยเอานิทานชื่อประหลาดๆ ฟังคล้ายเป็นภาษาต่างชาติมาเล่าแล้วเล่าอีกทำไม ฟังไม่รู้เรื่องไม่รู้จักเลยสักตัว
เพราะว่าชื่อในสามก๊กฉบับไทยนั้นเป็นสำเนียงฮกเกี้ยนบ้างแต้จิ๋วบ้าง ผสมสำเนียงไทยบ้าง คนจีนที่กรุงปักกิ่งฟังไม่ออกหรอกครับว่ากำลังพูดถึงใคร เพราะเขาเรียกตัวละครตัวเดียวกันนั้นเป็นสำเนียงจีนกลางหมด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 18 ม.ค. 02, 06:36
|
|
เรื่องนี้ผมก็เจอมากับตัวเลยครับ ผมมาที่นี่มีเพื่อนเป็นคนจีนเยอะ พยายามจะถามคุยเรื่องสามก๊ก ปรากฎว่าเพื่อนคนจีนไม่ค่อยรู้เรื่องเลย เพราะสำเนียงที่ใช้ไม่ตรงกันเลยอย่างชื่อจูเหยียนจาง เนี่ย ก็สงสัยจะไม่ใช่ภาษาจีนกลางเหมือนกัน เพราะเพื่อนคนจีนก็ไม่รู้จักเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นัทธ์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 18 ม.ค. 02, 22:54
|
|
เท่าที่รู้มา ตะเบงชะเวตี้และบุเรงนอง ในประวัติศาสตร์ เกี่ยวพันกันโดยเป็นพี่เขยกับน้องเมีย อย่างในนิยายนั่นแหล่ะ และชื่อตัว ของ บุเรงนอง คือ จะเด็ด จริงเช่นกัน เคยอ่านจากพงศาวดารพม่า (จำไม่ได้ว่าฉบับใครเขียน) กล่าวถึงไว้ค่ะ และชื่อตัวละครที่ยาขอบนำมาใช้ หลายชื่อเป็นชื่อที่ปรากฎในพงศาวดารพม่าด้วย เพียงแต่มาจากหลายๆ สมัยด้วยกัน ลองอ่าน "ผู้ชนะสิบทิศ ฉบับย่อ" ที่ดอกหญ้านำมาพิมพ์ซิค่ะ มีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่าและชื่อต่างๆ ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrze
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 20 ม.ค. 02, 14:21
|
|
บุเรงนองนั้นเป็นพี่เขยของมังตรา(ตะเบงชเวตี้)จริงๆ และพี่สาวของมังตรานั้นน่าจะเป็นอัครมเหสีของบุเรงนองจริงๆ เพราะบุเรงนองนั้นแปลว่าพระราชพี่เขยครับ(ภาษาผมเองได้โปรดอย่าจำเป็นเยี่ยงอย่าง)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|