เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 25430 ความเหมือน คล้ายและแตกต่างของ จูเหยียนจางปฐมจักรพรรดิ์ราชวงศ์หมิง กับพระเจ้าตากสินมหาร
BLUECOLOR
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 05 ก.พ. 09, 08:30

ด้วยฐานะที่เป็นขุนนางในตอนนั้น  สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ  น่าจะทรงประเมินสถานการณ์ และ เข้าใจระบบขุนนาง ในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
รวมทั้งจุดอ่อนของที่มีในขณะนั้นด้วย

การตัดสินใจออกจากกรุงศรีอยุธยาในตอนนั้น  อาจมีเหตุผล ประกอบหลายประการ  แต่ด้วยพื้นฐานความเข้าใจในระบบ การเมืองยุคนั้น
หากเป็นการมุ่งหนีเพื่อเอาตัวรอด อย่างเดียว   โดยมิได้มีเรื่องอื่น   ก็ไม่น่าจะไปตั้งตัวเป็นชุมนุมหรือก๊กหนึ่ง  เพื่อกลับมาต่อสู้ใหม่

หากมองว่า   การกลับมาต่อสู้ระหว่างก๊ก  เป็นเพื่ออำนาจหรือความยิ่งใหญ่  ก็ต้องมองกลับไปที่ความเข้าใจพื้นฐานของพระองค์ว่า
ควรที่จะทรงเห็นว่า   การมีอำนาจในหมู่ขุนนางไทย ที่เป็นเหมือนเจ้าของพื้นที่ในตอนนั้น   ไม่ง่ายนัก  และ ในสภาพที่ประเทศย่ำแย่
โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจในยุคหลังจากที่พม่าบุก  ทำลายบ้านเมืองแล้ว  จะต้องมีการฟื้นฟูบูรณะอีกมาก  เป็นงานหนัก   และ ไม่น่าอภิรมย์เท่าใด
แต่ก็ยังตัดสินพระทัยที่จะทำเช่นนั้น 

ดังนั้นในความเห็นส่วนตัวซึ่งไม่ได้เกิดและร่วมในเหตุการณ์ยุคนั้น   หากแต่ดูจากผลที่เกิดขึ้น  ก็ยังรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อยู่ดี   
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 28 ก.พ. 10, 23:08

หลังจากอ่านมาแล้ว
แม้พระเจ้าตากสินท่านจะมีผลท้ายปลายรัชกาลอย่างไร
ลองมองปลายรัชกาลของพระเจ้าจูหยวนจางกันบ้าง
ผลคือ ช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระมหาอุปราชแห่งวังตะวันออกเสด็จทิวงคต
พระองค์เลยตั้งพระเจ้าหลานเธอพระโอรสในพระมหาอุปราชนั้นเป็นพระมหาอุปราชแทน ภายหลังพระองค์สวรรคคต พระมหาอุปราชน้อยได้ขึ้นเสวยราชย์แทน
ยังผลให้เหล่าพระเจ้าลูกเธอพระองค์อื่นหมั่นไส้หมั่นเขี้ยวขนาดหนัก
โดยเฉพาะพระเจ้าลูกเธอพระองค์หนึ่งที่ครองเมืองต้าตู ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของราชวงศ์หยวน ทนไม่ด้าย...ย...ย ทนไม่ได้
แหมชิชะ ดูสิ เรารึสู้อุตส่าห์ต่อสู้ประดาปัจจามิตรมาแทบตาย
ทำไมถึงทำกับฉันได้ เล่นยกสุวรรณบัลลังค์ไห้กับเด็กอมมือ
ฮึ...อย่างกระนั้นเลย ไปบุกเลยดีกว่า โกรธ
หลังจากนั้นพระองค์จึงได้เสด็จยกทัพไปยังนครหลวงของจีนยุคนั้น
อันได้แก่เมืองนานกิง
ด้วยของอ้างว่า เพื่อไปป้องกันพระเจ้าหลานจากเหล่าขุนนางชั่ว
พระเจ้าหลานเห็นท่าจะไม่ค่อยเชื่อในข้ออ้างสมเด็จอา เลยเตรียมตัวรับศึกใหญ่
ผลคือ นานกิงวอดไปทั้งเมือง วังหลวงถูกเผา ตัวพระจักรพรรดิน้อยหาย หาศพไม่พบ
บางตำนานเล่าว่าหนีไปบวช บางตำนานเล่าว่าหนีไปไหนก็ไม่รู้
แต่ที่รู้ๆตำนานเหล่านี้ทำให้เกิดตำนานใหม่ว่า พระเจ้าอาด้วยความเกรงว่าพระเจ้าหลานจะกลับมาทวงบัลลังค์น
จึงส่งกองเรือไปตามหาทั่วโลก
ฟังแล้วคุ้นๆไหม...กองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอไง
นั้นแหละ คนที่ส่งไปคือพระจักรพรรดิหยงเล่อ สมเด็จอาของเรา ต้าตูนั้นก็คือเมืองปักกิ่ง
พอท่านยึดอำนาจได้แล้วท่านจึงย้ายกลับไปยังฐานอำนาจของท่าน และพระราชทานนานเมืองต้าตู (ที่แปลว่าเมืองใหญ่) เป็นปักกิ่ง หรือเป่ยจิง แปลว่าเมืองหลวงทางทิศเหนือ
แทนนานกิง หรือหนานจิง ที่แปลว่าเมืองหลวงทางทิศใต้
เรื่องทั้งหมดนี้คือเรื่องจริง กองเรือที่ส่งออกไปก็เรื่องจริง ย้ายเมืองก็เรื่องจริง
แต่สาเหตุจากการตามหาพระจักรพรรดิน้อยจริงหรือไม่ไม่รู้
แต่เอาเป็นว่า สรุปคือ สุดท้ายขุนนางไปแย่ง เจ้านายด้วยกันก็แย่งกันอยู่ดี
เชื้อพระวงศ์พระเจ้าตากสินอยู่กันไป อาจแย่งกันก็ได้...
ใครจะรู้
 ฮืม
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 23:01

เรื่องปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิง คุณแม่นางหลินเคยคุยไว้ แต่ผมจำไม่ได้เสียแล้วว่าคุยไว้ที่นี่หรือที่สโมสรมองอดีต ผมจำได้ว่าผมเป็นคนถามว่า ตามตำนาน (ที่เอามาทำเป็นหนัง) ขุนพลคู่พระทัยคนหนึ่งป่วยเป็นโรคอะไรไม่ทราบ แต่หมอซินแสห้ามกินเนื้อห่านเด็ดขาดเพราะแสลงโรคถึงตาย ฮ่องเต้ทรงทราบก็ทรงพระเมตตา โปรดเกล้าฯ พระราชทานอาหารเยี่ยมไช้ จากครัววังหลวง อาหารจานนั้นคือเนื้อห่านทั้งจาน ขุนพลคนนั้นเห็นเข้าก็สะอึก รู้เจตนาฮ่องเต้เลย ก็จำต้องกินด้วยความจงรักภักดีแล้วโรคก็กำเริบ ตายสมพระทัยฮ่องเต้ กระพี้ประวัติศาสตร์ตอนนี้มีมาทำเป็นหนัง ผมถามว่ามีเรื่องจริงๆ อย่างนี้ไหม ดูเหมือนคุณหลินจะอธิบายว่าประวัติศาตร์จริงไม่มีอะไร dramatic อย่างนี้หรอก แต่ที่ฮ่องเต้คิดกำจัดขุนพลนั้นจริง



ขุนศึกที่ว่าคือ สวี่ต้า หรือ ชื่อในนิยายมังกรหยกคือ ฉื่อตั๊ก ครับ

และเนื้อสัตว์ที่กินแล้วทำให้เกิดอาการแสลงต่อโรคของท่านขุนพลคือ บางความเชื่อก็ว่าเป็นเนื้อปลาหลีฮื้อครับ

ถ้าจำไม่ผิด สวี่ต้า ได้รับพระราชทานยศเป็น จงซานหวัง ครับ

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 23:18

ขอดักทางไว้ก่อน สำหรับผู้ที่อาจแย้งว่าการเปลี่ยนราชวงศ์ที่ตามมาซึ่งมีการประหารขุนศึกไปไม่น้อยนั้น ก็เป็นลักษณะเดียวกัน เพราะจะทำให้ขาดบุคคลากรไป ผมมองว่าหลังจากศึกอะแซหวุ่นกี้ ขุนศึกส่วนมากไม่มีกำลังเหลืออยู่ในมือเพราะเสียไปในศึกอะแซหวุ่นกี้ เปิดทางให้กับพระยาจักรีซึ่งมีอำนาจสะสม แล้วโดยจารีตไทย ไม่นิยมให้ยืมทหารกันหรอกครับ มันทำใจลำบากน่ะ เปิดทางให้พระยาจักรีได้โอกาสออกรบบ่อย (คนอื่นไม่มีทหารเหลือ) สะสมผลงาน สะสมทุนทรัพย์และกำลังคนเพิ่ม(ได้จากการศึก) สะสมบารมี เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นตามครรลองของอำนาจล่ะครับ


ผมขอมองต่างครับ พี่และน้องสองคนนี้(เจ้าพระยาจักรี กับ เจ้าพระยาสุรสีห์) แม้เป็นพี่น้องกัน แต่ก็ยังคิดเห็นต่างกันอยู่อย่างชัดเจนในหลาย ๆ ครั้ง ในศึกอะแซหวุ่นกี้ ที่ท่านหัวหน้าเผ่าบอกว่าขุนศึกที่เหลือไม่มีกำลังไพร่ในสังกัดเหลือมากแล้ว ตรงนี้ผมขอมองต่างครับ

เพราะอย่าลืมว่า เจ้าของถิ่นเดิมคือ เจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก(และกำกับดูแลหัวเมืองเหนือทั้งปวงกลาย ๆ ) ซึ่งมีเมืองบริวารอยู่มาก และค่อนข้างชัดเจนที่ยังจงรักภักดีต่อพระเจ้าตากสิน
เจ้าพระยาจักรี ย่อมไม่สามารถจะสร้างฐานอำนาจที่พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือได้ในระยะเวลาอันสั้นหรอกครับ ในมหายาสะวิน ก็บอกไว้ว่า ทัพหน้าของอะแซหวุ่นกี้เอง ก็โดนล้อมปราบจนแทบจะละลายทั้งกองทัพที่เพชรบูรณ์ นั่นก็แสดงว่ามีการแบ่งกำลังส่วนหนึ่งไปวางแผนซุ่มไว้แล้ว ซึ่งกำลังส่วนนี้ไม่น่าจะใช่ของเจ้าพระยาจักรีแน่นอนครับ ซึ่งก็น่าจะตรงกับทางพงศาวดารของทางสยาม เพราะหัวเมืองเหนืออื่น ๆ เช่น พิชัย,สวรรคโลก,สุโขทัย แทบจะไม่ได้รบกับอะแซหวุ่นกี้เลย เพราะได้รับคำสั่งให้ถอนลงมาสมทบกับทัพใหญ่ที่เมืองพิษณุโลกครับ 

นอกจากนี้ ความสัมพันธ์กับลานนาของเจ้ากาวิละ ที่สนินสนมกับทางเจ้าพระยาสุรสีห์มากกว่าอย่างชัดเจนจากการแต่งงานกับเจ้าสิริรจจา(เจ้าศรีอโนชา) ก็ยังทำให้เห็นเด่นชัดว่า เจ้าพระยาจักรี ก็ไม่ได้มีความได้เปรียบในเรื่องของไพร่ในสังกัดมากเท่าใดนัก

อีกประการ ขุนพลหลัก ๆ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ก็ถูกวางไว้ให้รับศึกพม่าทางด้านหัวเมืองเหนือเป็นหลักด้วย อย่าง พระยาพิชัย(ดาบหัก) ฯลฯ

เพราะฉะนั้น ถ้าจะเล่นประเด็นว่า ขุนศึกอื่น ๆ กำลังคนน้อย จนทำให้ไม่ได้ออกรบ ผมมองว่าไม่ถูกต้องนักครับ แต่ถ้าบอกว่า ข้าราชการที่เหลือในส่วนกลาง ไม่มีความสามารถในด้านการบัญชาทัพมากเท่ากับเจ้าพระยาจักรี ตรงนี้ผมเห็นว่าจะถูกต้องกว่าครับ

 
ส่วนเรื่องประเด็นครรลองของอำนาจ ตรงนี้ผมก็ยังไม่ใคร่จะเห็นด้วยนักกับกระแส "รัฐประหาร" เท่าใด เพราะก็มีหลาย ๆ อย่างที่ค่อนข้างจะดูขัด ๆ กัน อย่างน่าสงสัยครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 23:54

พึ่งจำได้ครับ ตอนผมเด็กๆเคยดูภาพยนต์ชุดทางไทยทีวีสีช่อง ๓ เป็นของฮ่องกง
เป็นเรื่องของจูเหยียนจางด้วย คิดว่า เหยินตะหัว แสดงเป็น จูเหยียนจาง
ส่วนคู่แข่งของจูเหยียนจาง(จำไม่ได้ว่าชื่ออะไร)แสดงโดย เลสลี่จาง
มีใครเคยชมภาพยนต์โทรทัศน์ชุดที่ว่าบ้างไหมครับ?

จำได้ว่าในหนังบรรยายตอนจบไว้ลูกชายของจูเหยียนจางที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากเขานั้น
จริงๆแล้วไม่ใช่ลูกของเขาแต่เป็นลูกของนางสนมที่ลอบเป็นชู้กับชายอื่น
(แต่เรื่องราวตามประวัติศาสตร์จีนจะเป็นอย่างไรนั้น ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ แหะๆๆ)
ถ้าเรื่องนี้เป็นจริงตามประวัติศาสตร์ ก็แสดงว่าราชวงค์หมิงสิ้นแค่จูเหยียนจางเหมือนกัน
เพราะฮ่องเต้องค์ต่อมาไม่ได้สืบสายโลหิตของจูเหยียนจาง ... จีโนมคนละสายกัน เหอะๆๆ


เรื่องนี้ เลสลี่จาง ไม่ได้เล่นแน่นอนครับ มีแต่ หลิวชิงหวิน กับ เยิ่นต๊ะหัว เท่านั้นที่พอจะดังหน่อย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง