เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 25441 ความเหมือน คล้ายและแตกต่างของ จูเหยียนจางปฐมจักรพรรดิ์ราชวงศ์หมิง กับพระเจ้าตากสินมหาร
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 ม.ค. 02, 20:02

สี่ยอดหญิงงามมีหลายตำรา แต่ตำราที่เชื่อถือหรือว่าแพร่หลายกันมากที่สุดก็สี่คนชุดนี้แหละครับ ส่วนหงอกียังไม่ใช่ หรือถ้าใช่ก็ไม่ได้อยู่ในชุดนี้ อีกคนหนึ่งที่เคยได้ยินชื่อเหมือนกันก็คือเอี้ยนเฟย ก็เป็นหญิงงามมาก แบงตำราจัดเป็น 1 ใน 4 สุดยอดหญิงเหมือนกัน แต่ก็เป็นคนละชุด ไม่ใช่ชุดนี้ ชุดนี้มี ไซซี หวังเจาจวิน หยางกุ้ยเฟย และเตียวเสี้ยนครับ
บันทึกการเข้า
จอมยุทธก๊วย แห่ง ท้อฮวยเต้า
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 ม.ค. 02, 21:26

สำหรับในนิยายจีนนะครับ
เกี่ยวกับ จูหยวนจาง
- ดาบมังกรหยก ( กระบี่อิงฟ้า ดาบฆ่ามังกร)...โดยกิมย้ง แปลโดย น.นพรัตน์
- ฤทธิ์หมัดสะท้านบู้ลิ้ม ภาค 1 , 2 ...โดย โกวเล้ง แปลโดย น.นพรัตน์

เกี่ยวกับปลายหมิง - ต้นชิง
- ศึกสองนางพญา
- อุ้ยเสี่ยวป้อ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ม.ค. 02, 06:47

อ้าวหรือครับผมเขียนเพลินไปครับ ขออภัยด้วยสำนวนจีน
ข้าน้อยผิดไปแล้ว ข้าน้อยสมควรตายหมื่นๆครั้ง ไว้ชีวิตข้าน้อยด้วย
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 ม.ค. 02, 19:18

สำนวน สมควรตายหมื่นครั้งนี่ ผมเคยคิดเล่นๆ ว่า ถ้าฮ่องเต้เกิดพระทัยดี ลดโทษให้ 9999 ครั้ง ให้ตายหนเดียวก็พอแล้วนี่ คนที่เป็น ข้าน้อย จะเอาไหม?ฮืม? อิอิ

"ข้าผู้น้อยสมควรตาย" ภาษาจีนกลางว่า หนูไฉไกสื่อ ครับ
บันทึกการเข้า
กระบี่อิงฟ้า
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 12 ม.ค. 02, 16:00

เคยดูละครจีนทางทีวีช่องที่ซื้อลิขสิทธิ์เอฟเอคัพอังกฤษมาเก็บไว้เฉยๆ แล้วให้ชาวบ้านดูละครที่เป็นแหล่งกำเนิดยุง เขาใช้คำว่า
      "ทรงพระเจริญหมื่นๆปี"
      "ขอทรงมีพระชนมายุหมื่นปี"
       หรือเรียกฮ่องเต้ว่า พระหมื่นปี
       คำว่าหมื่นเป็นหน่วยเลขมากสุดของจีน ดังนั้นมันจึงมีความหมายว่ามากๆด้วย เวลาแปลเป็นไทย ผมว่าเขาแปลทับศัพท์เกินไปหน่อย ว่ามั้ยครับ
บันทึกการเข้า
ม่ายรุ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 13 ม.ค. 02, 12:44

หัวข้อกระทู้กะ คห.ต่างๆทำข้าพเจ้างงเป็นยิ่งคะ
แต่ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมคะเรื่องนางงามทั้ง 4 เพราะปกติอ่านเอาสนุกไม่ได้จำซักที อ่านความเร็วสูงนะคะเอาแค่ประเด็นว่าอะไรเกิดขึ้น ที่ไหนอย่างไร แต่ไม่ค่อยจำว่าใครสักที
จนทำให้หยิบนิยายเรื่องที่เคยอ่านมาแล้วมาอ่านซ้ำประจำ
อ่านไปครึ่งเล่มก็เริ่มรู้สึกว่าคุ้นๆ กะพล็อต กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เกือบจบเล่มแล้วคะ
ความใจร้อนในการอ่านท่าจะแก้ยากแล้วคะ
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 03 ม.ค. 05, 12:46

 จู เหยียน จาง ในวัยเด็กต้องเสียบิดาตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ หลังจากนั้นไม่นาน มารดาก็เสียชีวิตตามไป ทำให้ชีวิตในวัยเด็กลำบากมาก จึงต้องไปบวชเป็นสามเณรในพุทธศาสนา (แบบมหายาน)ที่วัดหววง เจว๋ และเนื่องจากได้คุ้ยเคยกับวัดและพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น จึงได้เห็นข้อเสียต่างๆ ของวัดในสมัยนั้น (ขอเน้นว่าในสมัยนั้น) เช่น มีที่ดินเป็นของตนเองมากมาย มีผู้มาบวชเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก มีพระปลอมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากวัดและพระ ไม่ต้องเสียภาษี ต่อมาเมื่อจู เหยียน จาง ได้ครองราชย์เป็นปฐมกบัตริย์ของราชวงศ์หมิง จึงได้หน่วยงานราชการขึ้นมาหน่วยงานหนึ่งในปี ค.ศ. 1368 เพื่อใช้เป็นสถาบันปกครองสงฆ์ มีหน้าที่ดูแลช่วยเหลือ และควบคุมคณะสงฆ์ โดยในยุคแรกได้นิมนต์พระอาจารย์หุ้ย หวิน มาทำหน้าที่เช่นพระสังฆราช
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ม.ค. 05, 21:40


ซีซือ
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ม.ค. 05, 21:42


หวางเจาจวิน
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ม.ค. 05, 21:46


เตียวฉาน
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ม.ค. 05, 21:56


หยางกุ้ยเฟย
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 03 ต.ค. 06, 17:54

 พอดีช่วงนี้บ้าหนังจีนชุด อิอิ

เลยตามมาขุดกระทู้นี้ ด้วยพอดีกับที่ช่อง ๓ นำหนังจีนชุดเรื่อง

"ดาบมังกรหยก" (ศ-ส 22.30 น. - 24.00 น.)

เทิดทูนเหนือหล้า ดาบฆ่ามังกร
ประกาศิตทุกชีวิต มิกล้าฝ่าฝืน
อิงฟ้าไม่มา ใครหาญกล้าต่อกร

กับ "ไท้เก๊กจางซานฟง" (ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม) ( จันทร์ - เสาร์ เวลา  03.00 น. - 03.30 น.)

มาฉายครับผม
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
BLUECOLOR
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 03 ก.พ. 09, 08:23

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  แม้จะทรงเป็นสามัญชน มิได้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์   แต่ในสมัยที่กู้อิสรภาพ ทรงปฏิบัติการในฐานะที่เป็นขุนนาง 
ดังนั้นหากเปรียบว่าเหมือนกันกับจูหยวนจางในแง่ของการเป็นสามัญชน   คงจะไม่ตรงเสียทีเดียว   

สิ่งที่สำคัญที่ เราคนไทยสมัยนี้ควรพิจารณา  นอกจากรายละเอียดปลีกย่อยในประวัติศาสตร์  ที่เขาเขียน และ บอกเล่าให้เราทราบก็คือ
การปฏิบัติการกู้เอกราชในสมัยนั้น  เกิดจากการตัดสินพระทัยของพระเจ้าตากสิน  ในขณะที่ทรงเป็นขุนนาง   ตีฝ่าข้าศึกออกจากพระนครไปตั้งหลัก
ด้วยทรงพิจารณาเห็นว่า    หากทำเช่นนั้นจึงพอมีโอกาสในการที่จะกู้เอกราชคืนมา     การตัดสินพระทัยเช่นนั้น  มีความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง  เนื่องจาก
หากพระราชภารกิจนั้นไม่สำเร็จ   จะกลายเป็นกบฎในทันที   และมีโทษถึงแก่ชีวิต

ต้องบอกว่านั่นคือการเสียสละ อย่างแท้จริง   เพราะเป็นการปฏิบัติการจากขุนนางที่เป็นลูกไทย-จีน   ซึ่งอยู่ท่ามกลางข้าราชการที่เป็นคนในพื้นที่ คือ ไทยแท้ๆ  ในขณะนั้น   

สิ่งที่พระเจ้าตากทรงปฏิบัติตลอดรัชสมัย สิบห้าปี ก็คือ  การสู้รบเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นให้ประเทศชาติ   และ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา   
เพื่อให้ ประชาชนคนไทยได้อยู่อย่างผาสุขในแผ่นดินของพระองค์    หากทรงปฏิบัติการแบบประเพณีนิยมของผู้ขึ้นครองอำนาจแล้ว ก็เห็นทีว่าระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติอาจยาวนานกว่านี้ ก็เป็นได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 03 ก.พ. 09, 08:59

หลังกรุงศรีอยุธยาแตกในปี 2310 แล้ว  ก็สิ้นกษัตริย์อยุธยา    เพราะราชวงศ์บ้านพลูหลวงถูกโค่นโดยกษัตริย์พม่าไปแล้ว
พระยาตากจะถูกมองว่าเป็นกบฎไม่ได้  เพราะไม่มีเจ้านายเหนือหัวให้ท่านถูกตราหน้าได้ว่าเป็นกบฎ
เหมือนพระยาพิษณุโลก(เรือง) ก็ไม่มีใครมากล่าวหาว่าท่านเป็นกบฎ   เจ้าพระฝางก็เช่นกัน กรมหมื่นเทพพิพิธก็อีกเหมือนกัน

ส่วนคำว่า กู้เอกราช ที่ใช้ในหนังสือแบบเรียนต่อๆกันมา     ดิฉันเรียกว่า  "ต้องการเป็นไทแก่ตัว ไม่ขึ้นกับพม่า"
ตอนนั้นมีถึง ๖ ก๊กด้วยกัน ที่คิดแบบนี้

เนื่องจากการแตกของอยุธยา เป็นการแตกที่หัวใจของอำนาจ คือที่กรุงศรีอยุธยา   แต่รอบๆ คือเมืองใหญ่อื่นๆ เปรียบได้กับแขนขา ยังมีเรี่ยวแรงอยู่ เช่นเมืองพิษณุโลก  เมืองฝาง
พวกนี้ก็รวบรวมคน ฟื้นฟูกำลังของตัวเองขึ้นมา  ไม่ยอมขึ้นกับพม่า  เพราะถือว่ายังมีช่องทางให้ลุกขึ้นมาได้ 
คนละอย่างกับการเสียกรุงครั้งแรก   ที่พระมหาธรรมราชายอมอ่อนน้อม อยู่ในอำนาจของบุเรงนอง  แบบผู้น้อยพึ่งผู้ใหญ่ 
ตอนนั้นจะเห็นได้ว่าหัวเมืองใหญ่น้อย ไม่ได้หืออือขึ้นมาเลย  ยอมอ่อนน้อมตามไปหมด
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 04 ก.พ. 09, 11:06

พระยาตากหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาก่อนกรุงแตกราว ๓ เดือนครับ และก่อนจะออกมาก็อยู่ในภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้คุ้มครองแนวแม่น้ำป่าสักช่วงที่เป็นคูเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา เพื่อไม่ให้กองทัพพม่าจากทางเหนือและทางใต้สามารถเชื่อมต่อกันได้

ช่วงนั้นเป็นช่วงเดือน ๑๒ น้ำหลากเต็มที่แล้ว และกองทัพพม่าก็เริ่มคืบรุกเข้าประชิดเกาะเมือง เหตุการณ์สำคัญที่เกิดก่อนหน้านั้นคือการปะทะกันของกองกำลังของพระยาเพชรบุรีกับทัพพม่าแถบวัดโปรดสัตว์ในลำน้ำทางตอนใต้บางกะจะลงมา จนทำให้พระยาเพชรบุรีเสียชีวิตในที่รบ

นัยว่าพระยาตากประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาไม่สามารถต้านทานทัพพม่าซึ่งจะยิ่งทำการสะดวกขึ้นเมื่อน้ำลดลงแล้ว จึงละทิ้งหน้าที่ หนีออกจากกรุงศรีอยุธยาครับ

การละทิ้งหน้าที่ในยามศึกเช่นนี้ โทษกบฎสถานเดียวครับ เพียงแต่ว่าราชสำนักอยุธยาในเวลานั้นไม่มีความสามารถที่จะดำเนินการเอาโทษใดๆได้ ลำพังต้านทานทัพพม่าก็เป็นงานที่หนักหนาสาหัสมากแล้ว แนวคูเมืองฝั่งตะวันออกที่เป็นพื้นที่รับผิดชอบของพระยาตากถูกพม่าเข้ายึดครองได้หลังจากนั้นไม่นาน และบริเวณหัวรอจุดที่โดนพม่าเผารากกำแพงจนพังทลายลงมาเป็นเหตุให้กรุงแตกก็เป็นพื้นที่ตอนเหนือสุดของพื้นที่รับผิดชอบของพระยาตากครับ

ดังนั้นจะบอกว่านี่คือการปฏิบัติการที่เสียสละเพื่อกู้เอกราช คงไม่ถูกต้องนัก เพราะเวลานั้นกรุงยังไม่แตก เอกราชยังไม่ได้เสีย การละทิ้งกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นตีความได้อย่างเดียวคือ เป็นการหนีเพื่อเอาชีวิตรอดครับ

หลังกรุงแตก โทษกบฎจะมีอยู่หรือไม่ก็ไม่สำคัญแล้ว เพราะราชสำนักอยุธยาถูกล้มล้างลงอย่างสิ้นเชิง และเห็นได้ชัดว่าในเหล่าชุมนุมต่างๆ มีชุมนุมพระยาตากที่เป็นชุมนุมที่เข้มแข็งที่สุดที่มีอุดมการณ์ในการรวมแผ่นดินขึ้นมาเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง และก็ทำได้สำเร็จ

ภารกิจของพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นต่างจากจูหยวนจาง

จูหยวนจางรวมแผ่นดินได้เป็นปึกแผ่นแล้ว งานสำคัญต่อมาคือการวางรากฐานการปกครอง และพระองค์เลือกล้างบางขุนศึกข้างตัว เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาการเมือง และสามารถเดินหน้าในการปกครองได้อย่างสบายใจ (ถูก ผิด ไม่ขอวิจารณ์นะครับ)

แต่พระเจ้ากรุงธนบุรี นอกจากการรวมแผ่นดินโดยการปราบปรามชุมนุมอื่นๆแล้ว ยังทำอะไรทัพพม่าศัตรูสำคัญไม่ได้ ค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้นที่ตีแตกไปนั้นเป็นเพียงค่ายเล็กที่พม่าที่ไว้ริบทรัพย์จับเชลย ตลอดรัชกาลยังต้องรับศึกพม่าอีกหลายครั้ง ช่วงต้นรัชกาลยังมีปัญหาขาดแคลนข้าวรุนแรง จนถึงกับต้องแปลงพื้นที่สวนผลไม้เป็นไร่นาเพื่อผลิตข้าว นอกจากนี้ปัญหาประชากรที่เบาบางลงไปในช่วงสงคราม บางส่วนโดนพม่ากวาดต้อนไป และบางส่วนหลบหนีไปกระจัดกระจายไปซ่อนในป่าในดง เป็นเหตุให้ทรงส่งขุนทหารคนสนิททั้งหลายขึ้นไปตั้งรวบรวมคนในหัวเมืองเหนือให้เป็นปึกแผ่น ผมมองว่าการตี พม่า ลาว เขมร และหัวเมืองปัตตานีในช่วงต่อ ธนบุรี-รัตนโกสินทร์ ส่วนหนึ่งก็เพื่อสะสมกำลังคนและยุทธปัจจัยเพื่อเสริมความแข็งแกร่งเตรรียมทำศึกกับพม่าด้วยครับ

ดูเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบรัชกาล ยังนึกไม่ออกว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีจะมีโอกาสไหนให้กำจัดขุนทหารอย่างจูหยวนจางเลยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง