เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 5097 เห็นฝั่งเมืองไทยแล้ว ....
lilycu
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 ม.ค. 02, 20:29

มีอยู่ครั้งนึง ฟ้าเปิดมาก เครื่องบินบินให้เห็นตั้งแต่ หาดทะเลของเวียดนามเข้ามาจนถึงดอนเมือง มองดูอย่างมีความสุขมากเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 ม.ค. 02, 00:39

คุณสตาร์ ขา  เจํงมากเลยค่ะ ไม่เคยรู้เลยว่า เกาะเกร็ดอยู่ในรูปถ่ายด้วย อยากไปนานแล้วที่บ้านชวนบ่อยๆแต่กลับไปทีไรไม่ค่อยมีเวลาไปเลยค่ะ

คุณเทาขา ทริปล่องเรือดูหิ่งห้อยใต้ต้นลำภูนั้น เริ่มที่ไหนคะ ก็ต้องเริ่มมืดๆใช่ไหมคะ เคยไปแต่ตลาดน้ำดำเนินสะดวก(แถวเดียวกันไหมนี่)  อยากไปทริปดูหิ่งห้อยจังค่ะ พอจะมีลายละเอียดไหมคะ คงโรแมนติกน่าดู

ยังไงก็ยังอยากเห็นต้นลำภูค่ะ ใครมีภาพกรุณาสงเคราะห์ช่วยมาลงด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ม.ค. 02, 00:51

แก้คำผิดค่ะ  รายละเอียดค่ะ ไม่ใช่ลายละเอียด
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 ม.ค. 02, 09:13

มีคนเล่าให้ฟังว่า  บริเวณริมน้ำเจ้าพระยา ตรงพระที่นั่งสันติไชยปราการ(ไม่แน่ใจว่าสะกดผิดไหม) ถนนเลียบแนวแม่น้ำ  เลยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปทางบางลำพู มีเหลืออยู่ต้นหนึ่งค่ะ เท็จจริงประการใด ก็ไม่ยืนยันนะคะ เพราะไม่รู้จักต้นลำพูค่ะ ก็ได้ยินมาอีกแหละค่ะ เขาว่ากันว่า  หิ่งห้อย จะเป็นตัวช่วยวัดว่า อากาศบริเวณนั้น ยังดีอยู่หรือไม่ ถ้าอากาศแย่หิ่งห้อย ที่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก จะดำรงชีวิตอยู่ตรงนั้นก็ไม่ไหวค่ะ
บันทึกการเข้า
สายลม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 ม.ค. 02, 14:59

.   .   .สมัยก่อน ในกรุงเทพฯ บริเวณชานเมือง ไม่ต้องไปไกล แถวสุขุมวิทซอยต้นๆนี่เอง  พอตกค่ำจะเห็นหิ่งห้อยบินอยู่ทั่วไป  แลเห็นแสง แว้บๆตามจังหวะการกระพือปีก  เด็กๆมักชอบวิ่งไล่จับมันมาไว้ในอุ้งมือโดยที่มันไม่เป็นอันตราย เพราะไม่ได้ไปบี้มัน  จับได้แล้วก็ปล่อยให้บินต่อไป  ถ้าหิ่งห้อยตัวที่ต้องการจับบินอยู่สูงเกินกว่าจะเอื้อมจับถึง ก็จะพูดว่า ทิ้งถ่วงหนักๆ เพื่อให้มันบินต่ำลงมาจะได้จับถึง  ถ้ามันบินต่ำเรี่ยดินก็จะพูดว่า ทิ้งถ่วงเบาๆ เพื่อให้มันบินสูงขึ้นจะได้จับได้ง่ายในทำนองเดียวกัน
.   .   .ผมไม่ทราบว่าหิ่งห้อยได้หายไปจากกรุงเทพฯเมื่อใด  แต่เมื่อมีโอกาศไปพักแรมในป่าที่มีลำห้วยอยู่ก็ยังเห็นมีหิ่งห้อยอยู่ชุกชุม ซึ่งบริเวณนั้นไม่น่าจะมีต้นลำพูอยู่ เช่นป่าแถวเมืองกาญจนบุรี หรือสระบุรี  ไม่ใช่แถวสมุทรสาคร หรือสมุทรสงครามอย่างที่มีทัวร์ชมหิ่งห้อยที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
คนบนภู
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 13 ม.ค. 02, 12:18

เมื่อตอนสมัยยังเด็กอยู่ แถวบ้านซึ่งล้อมรอบไปด้วยภูเขา พอตกตอนค่ำจะยังพอมีหิ่งห้อยมาให้เห็นอยู่เสมอ และมักจะพากันหวาดกลัววิ่งหนีให้วุ่นวาย เพราะผู้ใหญ่มักจะบอกเสมอว่า ถ้าปล่อยให้เจ้าหิ่งห้อยเข้าไปในจมูกได้ล่ะก็ คนๆนั้นก็จะกลายเป็นผีกระสือไป  พวกเราเด็กๆ ก็เชื่อกันเป็นตุเป็นตะวิ่งหนีกับชุลมุนทีเดียว
เมื่อกลับไปที่บ้านบนภูอีกครั้ง กลับหาหิ่งห้อยไม่เจอแล้วคะ ความเจริญที่เข้ามา การตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น การใช้ยาฆ่าแมลงของชาวไร่ชาวสวนชาวนา ไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้หิ่งห้อยหายไปหรือก็ไม่ทราบ
บันทึกการเข้า
สายลม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 14 ม.ค. 02, 11:12

.   .   .น่าสนใจมากครับที่คุณคนบนภูบอกว่า แถวบ้านที่ล้อมรอบด้วยภูเขามีหิ่งห้อย เป็นการยืนยันว่าหิ่งห้อยมีอยู่ทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ที่ป่าชายเลนริมแม่น้ำ เช่นที่บางลำพู หรือริมทะเลเช่นที่ท่าจีน และแม่กลอง
.   .   .ที่คุณคนบนภูเขาบอกว่าสมัยนั้นกลัวหิ่งห้อยเพราะผู้ใหญ่บอกว่าเมื่อเข้าจมูกใครแล้วจะกลายเป็นผีกระสือ น่าจะมีที่มา เพราะเชื่อกันว่า ผีกระสือนั้นจะออกหากินในเวลากลางคืน มีลักษณะเป็นดวงไฟกลม ลอยไปในอากาศเรี่ยๆดิน
.   .   .จากประสบการณ์ของผมที่ซับปลาก้าง แก่งคอย นานมาแล้ว ผมไปกางเต้นท์นอนอยู่ริมห้วย ตื่นขึ้นมากลางดึก เห็นแสงวาบๆ มีลักษณะเป็นลูกไฟกลมใหญ่ประมาณผลส้มเขียวหวาน ลอยอยู่ริมห้วย ความจริงแล้วแสงนั้นอาจเป็นแสงหิ่งห้อย เนื่องจากขณะนั้นมืดสนิท ชนิดที่ยื่นมือออกไปสุดแขนแล้วมองไม่เห็นนิ้วมือตนเอง ประกอบกับเพิ่งตื่นนอนจึงแลเห็นว่าสว่างมาก และมีขนาดโตกว่าปกติ
.   .   .ผมไม่ได้ออกป่ามานานแล้ว จึงไม่ทราบว่าแม้ในป่าเขาในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ปัจจุบัน หิ่งห้อยได้หายไปหมดแล้ว น่าเสียดายจริงๆ
บันทึกการเข้า
สตาร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 14 ม.ค. 02, 22:53

มีภาพจากการนำไปชมหิ่งห้อย เข้าใจว่าน่าจะใช่ต้นลำพู สมัยก่อนบางลำพูอาจคล้ายๆ แบบนี้ เดาจ้า

http://www.natureandlife.com/eco/klung.htm' target='_blank'>http://www.natureandlife.com/eco/klung.htm

http://www.natureandlife.com/' target='_blank'>http://www.natureandlife.com/



เคยถ่ายภาพต้นลำพูหนึ่งเดียวที่สวนสันติชัยปราการ ในงานริมน้ำ จัดเมื่อต้นปีที่แล้วไว้หลายภาพ แต่ตอนนี้ยังหาไม่พบค่ะ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW912x022.jpg'>
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 ม.ค. 02, 00:09

ไม่ได้เจอหิ่งห้อยมาหลายปีแล้วครับ  เมื่อก่อนแถวบ้านผมก็มีค่อนข้างเยอะ ส่วนมากจะอยู่ตามต้นไม้แถบตลิ่งริมคลอง ในความรู้สึกตอนนั้นก็ไม่เห็นแปลก แต่ปัจจุบันหาดูหิ่งห้อยได้ยาก  มาอยู่แถวอีสานนี่ยิ่งไม่เคยเจอเลยครับ ถ้าได้กลับบ้านตอนนี้ก็ยังพอเห็นบ้าง..

เมื่อก่อนหิงห้อยเป็นของเล่นชั้นดีสำหรับเด็กๆ อย่างผมครับ บ้านผมไม่เรียกหิงห้อย จะเรียกว่า "ทิ้งถ่วง" ไม่ทราบว่าใครเป็นคนบัญญัติขึ้นมา  วันดีคืนดีก็มี  ทิ้งถ่วง บินเข้ามาในบ้าน พ่อก็สอนให้พวกเราเรียกมันว่า ถ่วงหนักๆๆๆ นัยว่าจะทำให้มันบินไม่ไหว แล้วพวกเราจะได้ไปจับกันง่าย ๆ แต่ความจริงแล้วการจับทิ้งถ่วงไม่ใช้เรื่องยาก  ไล่ตะครุบเดี๋ยวเดียวก็ได้  

สมัยเด็กๆ ผมทำบาปกับทิ้งถ่วงไว้เยอะครับ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่ามันมีแสงได้ยังไง ก็ไปเด็ดตูดมันดู มาพิจารณา  จักจั่นก็เหมือนกัน ผมอยากรู้ว่ามันร้องตรงไหนก็เด็ดมันทิ้งไปทีละส่วน เด็ดหัวก็ยังร้องอยู่ เด็ดปีกก็ยังร้องอยู่ เด็ดขาก็ยังมีเสียง เลยสันนิษฐานเอาว่า มันเปล่งเสียงร้องออกมาจากตัวนั่นเอง.

ทำบาปมากอย่างนี้ ชาติหน้าคงมีหวังได้เกิดเป็นหิ่งห้อย อยู่ตามต้นลำพูแน่ครับ
บันทึกการเข้า
เบิ้ม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 ก.พ. 02, 17:36

เคยมาเมืองไทยทางเรือ จุดแรกที่เห็นก็เกาะสีชังครับ เรือเดินทะเลส่วนใหญ่จะจอดถ่ายของที่สีชัง
จากนั้นพอเรือเข้าแม่น้ำมาคลองเตย จุดเด่นที่สองก็สะพานพระรามเก้าครับ
จากนั้นพอขึ้นบกจุดเด่นที่สามก็คือความร้อนและฝุ่นครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 01 ก.พ. 02, 18:00

เพิ่งไปล่องแม่น้ำนครไชยศรีมา เห็นต้นลำพูใหญ่ ๒ ต้นริมน้ำด้วยค่ะ
เป็นไม้ใหญ่มาก  ใบค่อนข้างเรียวเล็ก  ทำให้กิ่งก้านดูโปร่งไม่ทึบอย่างมะม่วง  ยอดจะอ่อน เอนไหวได้  ปีนขึ้นไปได้ไม่มากค่ะ

เวลากลับมาเมืองไทย มักจะได้กลับมาถึงช่วงกลางคืน   ไม่เห็นทิวทัศน์  เห็นแต่แสงไฟริบหรี่ไม่ค่อยสว่างมากนัก   เมื่อเทียบกับอเมริกาหรือเมืองใหญ่ๆในยุโรป
แต่ความรู้สึกแรกคือใจชื้นที่กลับมาถึงบ้านแล้ว  ดีใจทุกครั้งที่กลับมาถึงเมืองไทย แม้จะร้อนรถติดยังไงก็ตาม
บันทึกการเข้า
สายลม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 03 ก.พ. 02, 13:49

.   .   .   เวลาเดินทางโดยเครื่องบิน มักขอที่นั่งริมหน้าต่าง เพื่อจะได้ชมวิวข้างนอก แต่ก็ได้บ้างไม่ได้บ้างเอาแน่ไม่ได้นอกจากครั้งใดได้ไปชั้นธุรกิจและชั้น ๑ ก็จะไม่พลาด  นอกจากนั้นเวลาไปและเวลากลับในแต่ละทิศทาง แต่ละสายการบิน และแต่ละยุคสมัยก็อาจไม่เหมือนกัน ผมเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกด้วยเครื่องบินแบบใบพัดครับ
.   .   .   ในกรณีที่ราต้องการชมทัศนียภาพของแผ่นดินไทยจากเครื่องบินก็น่าจะมองได้สองแบบ แล้วแต่โอกาศจะอำนวย คือมองจากขาเข้ามา หรือมองจากขาออกไป เพราะหลายครั้งก็เป็นอย่างที่คุณเทาชมพูกล่าวไว้ในความเห็นที่ ๒๕ ว่ามักจะกลับมาเวลากลางคืน มองไม่เห็นอะไร เห็นแต่เพียงแสงไฟเท่านั้น และผมขอเพิ่มเติมว่า แม้จะเป็นเวลากลางวัน หลายครั้งก็มองไม่เห็นอะไร เพราะมีเมฆปกคลุมอยู่หนาแน่น
.   .   .   เมื่อเราเดินทางออกจากประเทศไทยตอนกลางวันและอากาศปลอดโปร่ง มุ่งหน้าไป ฮ่องกง ไทเป ปักกิ่ง โซล และโตเกียว เพื่อจะไปลงที่นั้นๆหรือเเพื่อที่จะต่อไปยัง สหรัฐฯ หรือ แคนาดา สมัยหนึ่งเราต้องบินอ้อมแหลมญวนก่อน แล้วจึงจะบินตรงไปยังจุดหมายปลายทาง ในกรณีนี้ เมื่อออกจากดอนเมืองแล้วไม่นาน  ก็จะออกสู่อ่าวไทย เราก็จะเห็นชายทะเลฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยพอสมควรก่อนที่จะเห็นแต่น้ำกับฟ้า
.   .   .   สมัยต่อมา เมื่อไม่มีข้อจำกัดในเรื่องการผ่านแดนของบางประเทศ ในเส้นทางดังกล่าวแล้วเราก็จะบินผ่านแผ่นดินไทยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเข้าสู่พื้นที่าคอิสาณ จะเห็นความแตกต่างของพื้นที่ภาคกลางกับภาคอิสาณได้ชัดเจน ถ้าเป็นเครื่องบินขนาดเล็กบินไม่สูงนัก จะมีความรู้สึกว่าแผ่นดินดูสูงขึ้น เพราะต้องบินข้ามภูเขาสูงหลายลูกที่มีความสูงมากกว่า ๑๐๐๐ เมตรขึ้นไป และเมื่อจะออกจากดินแดนไทยทางด้านนี้ก็จะรู้ได้โดยการบินข้ามแม่น้ำโขง ชึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจน
.   .   .   ถ้าไปทางด้านตะวันตก ไป พม่า อินเดีย รัสเซีย และประเทศในยุโรป เมื่อบินข้ามภูเขาตะนาวศรีก็รู้ว่ากำลังออกนอกประเทศไทยแล้ว ถ้าไปย่างกุ้ง เมื่อข้ามทิวเขาแล้วเห็นทะเลที่เป็นอ่าวอันดามันอยู่ทางซ้ายมือ
.   .   .   สำหรับด้านอื่นๆหรือรายละเอียดอื่นๆเอาไว้คราวหน้าครับ ขอฟังท่านอื่นบ้างเพื่อช่วยกันเติมให้เต็ม
บันทึกการเข้า
สตาร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 04 ก.พ. 02, 02:51

ขาเข้าถ้ามาถึงเป็นตอนสว่างแล้ว เข้าทางด้านเมียนม่าห์ กัปตันมักจะบอกให้ดูพระเจดีย์ชะเวดากองเสมอ มองเห็นเด่นในดงไม้เขียวๆ เดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่าสภาพเป็นอย่างไรแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 05 ก.พ. 02, 15:31

ผมเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกด้วยเครื่องบินแบบใบพัดครับ
เครื่องบินแบบใบพัด เป็นยังไงคะ ?
บันทึกการเข้า
สายลม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 05 ก.พ. 02, 16:51

.   .   . ผมคิดว่าคุณเทาชมพูน่าจะทันเห็นเครื่องบินแบบใช้ใบพัดนะครับ เครื่องบินไอพ่นเข้ามาแทนที่นานเท่าใดแล้วผมก็ไม่ทันได้จดจำเอาไว้
.   .   .  จากข้อมูลในเว็บไซต์หอมรดกไทย www.heritage.thaigov.net/ ในกลุ่มชาติ หัวข้อ สงครามมหาเอเซียบูรพา เครื่องบินขับไล่ และเครื่องบินทิ้งระเบิด ของฝ่ายสัมพันธมิตรที่มาทิ้งระเบิดในประเทศไทย ล้วนเป็นเครื่องบินใบพัดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น B-24 หรือ B-29 ในสงครามเกาหลีก็ยังใช้เครื่องบินแบบใบพัดอยู่ มาเป็นเครื่องบินแบบไอพ่นในสงครามเวียดนาม แต่ก็ยังมีแบบใบพัดผสมอยู่ เช่น C-123 และ C-130 แม้ปัจจุบัน  C-130  ก็ยังมีใช้กันอยู่
.   .   .  ตอนผมไปสหรัฐฯ ครั้งแรกเป็นครื่องบินสี่เตรื่องยนต์แบบใช้ใบพัด ออกจากประเทศไทยบินไปไม่ถึงสหรัฐฯ ต้องแวะที่เกาะกวมกลางมหาสมุทรแปซิฟิคก่อน แล้วจึงบินเข้า ซานฟรานซิสโก ตอนผ่านเส้นเขตวันกลางมหาสมุทรแปซิฟิค ยังมีการฉลองและแจกประกาศนียบัตรกันเป็นที่ครึกครื้น ผมยังเก็เอาไว้จนถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง