สายลม
บุคคลทั่วไป
|
. . . ประเทศไทยได้สูญเสียบุคคลสำคัญที่ทำประโยชน์แก่ประเทศไทยมายาวนานในตำแหน่งสูงสุดของประเทศถึงสามตำแหน่ง คือ ประธานศาลฎีกา นายกรัฐมนตรี และประธานองคมนตรี . . . ท่านได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างเต็มความสามารถและบริสุทธิ์ผุดผ่องยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน ท่านอยู่ในตำแหน่งอันสูงส่งแต่ทำตนอย่างคนธรรมดาสามัญด้วยความจริงใจ ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะที่บ้านเมืองสับสนวุ่นวายที่สุดสมัยหนึ่งของประวัติศาตร์ชาติไทย แต่ท่านก็สามารถนำประเทศไทยฟันฝ่าอุปสรรค์และปัญหานานัปการไปได้ด้วยดีอย่างมีคุณธรรม . . . นอกจากงานทางโลกดังกล่าวโดยสังเขปอย่างที่สุดแล้ว ท่านยังเป็นผู้นำในการประพฤติธรรม ท่านเป็นประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ท่านได้นำธรรมะในพระพุทธศาสนามาใช้ในการปฏิบัติราชการ และในชีวิตประจำวันของท่านอย่างถูกต้องตรงทางได้ผลดียิ่งเป็นที่ประจักษ์ . . . ท่านเป็นบุคลลตัวอย่างของไทยในทุกด้านที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญชั่วกาลนาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 06 ม.ค. 02, 23:46
|
|
A shocking news. My respectful condolence.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 07 ม.ค. 02, 05:10
|
|
ขอร่วมไว้อาลัยในการจากไปของท่านศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ และขอรำลึกถึงความดี และความมีคุณธรรมของท่านครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สุที
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 07 ม.ค. 02, 05:37
|
|
ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวธรรมศักดิ์ และขอแสดงความอาลัยต่อการสูญเสียบุคคลที่มีคุณธรรมเช่น อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ชาวบ้าน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 07 ม.ค. 02, 06:31
|
|
เมื่อคราวที่ท่านอาจารย์สัญญาฯ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค มีการเรียกร้องสิทธิต่างๆกันมากมาย จนน่าจะเกินขอบเขตและความพอดีไปมากในหลายๆเรื่อง ผมจึงได้มีหนังสือกราบเรียนท่านไปว่า สิทธิและหน้าที่นั้นควรต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน เมื่อมีสิทธิจะต้องมีหน้าที่ เมื่อมีหน้าที่ก็ควรมีสิทธิ และโดยแท้จริงแล้วหน้าที่ควรมาก่อนสิทธิ สังคมจึงจะอยู่ได้ด้วยดี ท่านอาจารย์สัญญาฯได้มีหนังสือตอบขอบคุณมา ผมยังประทับใจอยู่จนถึงทุกวันนี้ ท่านเป็นถึงนายกรัฐมนตรี อยู่ในฐานะอันสูงส่ง มีภาระหน้าที่มาก มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับแต่ท่านยังอุตส่าห์รับฟังความเห็นของชาวบ้าน แลยังมีน้ำใจตอบรับความเห็นนั้นมาด้วยความจริงใจ ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งในการจากไปของท่าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 07 ม.ค. 02, 06:52
|
|
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังครอบครัวของอาจารย์ และต่อสังคมไทยที่ได้สูญเสียบุคคลที่กล่าวได้ว่ามีความตั้งมั่นที่จะรับใช้ชาติบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 07 ม.ค. 02, 11:32
|
|
ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของท่าน ด้วยความอาลัยปูชนียบุคคลท่านนี้ด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
3งง-???
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 07 ม.ค. 02, 12:16
|
|
ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของท่านครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บัวบรรณ
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 07 ม.ค. 02, 12:47
|
|
ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของท่านค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พาฝัน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 07 ม.ค. 02, 13:57
|
|
แม้จะตระหนักว่าท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์จะต้องจากไปไม่วันใดก็วันหนึ่งตามธรรมดาโลก แต่ก็อดใจหายและเสียใจในการจากไปของท่านไม่ได้ ตามวิสัยของปุถุชน
ผมได้เคยมีโอกาศได้พบท่านที่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกซึ่งครั้งนั้นตั้งอยู่ที่ริมถนนสุขุมวิท ใกล้ปากชอยนานาเหนือ ตอนนั้นท่านเป็นประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ต่อจากหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ท่านจะไปร่วมงานทุกครั้งไม่เคยขาด ได้มีโอกาศสนทนาธรรมอย่างเป็นกันเองร่วมกับ พระเดชพระคุณพระราชวรมุนีขณะนั้น ปัจจุบันคือ พระเดชพระคุณพระธรรมปิฎก(ปยุต ปยุตโต) และท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ซึ่งท่านได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ครั้งนั้นท่านเป็นประธานองคมนตรี แต่ท่านทำตัวอย่างสามัญธรรมดาอย่างที่สุด เช่นเดียวกับผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไป ท่านกล่าวถ่อมตนเสมอว่าท่านมีความรู้น้อยและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความเคารพ ท่านเป็นผู้ที่มีความเมตตาสูง ทำตัวเสมอกับเพื่อนธรรมจารีย์อื่นๆ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด เมื่ออยู่ใกล้ท่านจะได้รับความรู้ ความสบายใจและความเย็นใจกลับไปทุกครั้ง
ผมหวังและมั่นใจว่า ด้วยอำนาจบุญบารมีอันเกิดจากคุณงามความดีของท่าน ที่บำเพ็ญไว้ดีแล้ว จะเป็นพลวปัจจัยให้ท่านไปสู่สุคติในสัมปรายภพเป็นแน่แท้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 07 ม.ค. 02, 18:23
|
|
ชีวะประวัติของท่านศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ (จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรีพระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี (ทองดี ธรรมศักดิ์) กับคุณหญิงชื้น ธรรมสารเวทย์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2450 ที่บ้านข้างวัดอรุณราชวราราม ตำบลบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี สมรสกับท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์ (เพ็ญชาติ) มีบุตรรวม 2 คน
สำหรับผลงานและเกียรติประวัติของศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เริ่มชีวิตราชการใน ตำแหน่งผู้พิพากษาฝึกหัด กระทรวงยุติธรรม จากนั้นมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ ราชการเป็นลำดับ และประสบความสำเร็จได้รับตำแหน่งสำคัญระดับชาติและนานาชาติหลายตำแหน่ง อาทิ ใน พ.ศ.2496 เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2506 เป็นประธานศาลฎีกา พ.ศ.2511 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี พ.ศ. 2516 ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกัน 2 สมัย ในช่วงวิกฤติของบ้านเมือง นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 12 และระหว่างนั้นได้จัดร่างรัฐธรรมนูญ ต่อมาใน พ.ศ. 2518 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี จนถึง พ.ศ.2541 จึงลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรง แต่ยังดำรงตำแหน่งองคมนตรีอยู่ต่อไป นอกจากนี้ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ยังได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกระหว่าง พ.ศ.2527-2540 และจากการเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมาย มีบทบาทสำคัญต่อแวดวงนิติศาสตร์ไทย
ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2514-2516 ได้รับปริญญา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรามคำแหงเมื่อ พ.ศ.2506, 2517 และ 2525 ตามลำดับ กระทั่งใน พ.ศ.2537 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พิจารณาลงมติให้ดำรงตำแหน่ง "ธรรมศาสตราจารย์"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดารา
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 08 ม.ค. 02, 16:03
|
|
คชสารแม้ม้วยมีงา โคกระบือมรณา เขาหนังเขาเห็นเป็นสำคัญ
บุคคลถึงการอาสัญ สูญสิ้นสารพัน คงไว้แต่ชั่วกับดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
มนัฌณิชย์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 08 ม.ค. 02, 20:56
|
|
ขอไว้อาลัย แด่ ท่านด้วย
( ขาดอีก 1 ตำแหน่ง ท่าน เคยเป็น อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์ด้วย )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|