เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3292 ภาษาไทยเดี๋ยวนี้มันเป็นยังไงหนอ....
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
 เมื่อ 13 ก.พ. 02, 18:33

ผมเจอมาจากหลายๆเว็บ ที่ผู้ใช้วัยรุ่นเขียนแบบสมัยใหม่(?) แรกๆอ่านดูก็รู้ว่าเขียนแบบนั้นมันผิด แล้วก็คิดเสียว่า พวกนี้วัยรุ่นที่ต้องการความแปลกแหวกแนว ไม่ชอบซ้ำแบบใคร แกล้งสะกดผิดๆถูกๆ ให้มันแปลกๆเข้าไว้ จะได้ดูทันสมัย อันนี้ก็พอจะมองผ่านๆไปได้ แต่หลังๆชักจะเจอที่มันยิ่งไปกว่านั้น พวกผู้ใหญ่เอง เจ้าของเว็บไซต์ใหญ่ๆเองก็เริ่มเป็นกะเขาไปด้วย จนบางครั้งผมเองก็ชักไม่แน่ใจ ว่าไอ้ที่ผมเรียนๆมานี่ ผมจำได้หรือเปล่า เอ๊ะ หรือว่าเขาถูกแต่ผมผิด เริ่มสงสัยตัวเอง เอ.. มัน ล.ลิงนี่หว่า ทำไมกลายเป็น ร.ริง ไปได้หนอ.. สงสัยผมแก่แล้ว จำผิดๆถูกๆ

อีกอย่างคือพวกภาษาไทยปนภาษาอังกฤษง่ายๆ บางที่ผมก็นึกคำไทยไม่ออก หรือคำวิทยาศาสตร์ผมก็ใช้ภาษาอังกฤษไป อันนี้ผมก็ไม่รู้จะทำยังไง แต่พวกคำไทยง่ายๆ อังกฤษง่ายๆ มันก็เอาภาษาอังกฤษไปแทนซะ เอ่อ..

ข้างล่างนี้ผมจำๆมา จากเว็บดังๆและจากเว็บเพื่อนักเรียน
- มะเอาหรอก พี่มะชอบ talk กะพวกเดะๆ ยุน้อย
- มีของต้องการขาย ต้องที่นี่ tarad.com ตลาด.คอม  
- เว็บ ..จุดจุดจุด.. จัดประกวดหนูน้อยน่า love
- นู๋กะลางทามการบ้าน think ไม่ออก ช่วย think หน่อย
ฯลฯ
เอาแค่นี้ก่อน ข้างบนไม่ได้พิพม์ผิดหรือตกหล่นแต่อย่างใด แต่ยิ่งพิมพ์มานยิ่งเวียนหัว เลามะกร้าเขียนต่อแระนะ เด๋วมีคนมะชอบจัยเลา ปายดีก่า เอิ๊กส์ๆ
บันทึกการเข้า
เนยบิน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ม.ค. 02, 10:30

เขาเรียกว่า มนุษย์สายพันธุ์ใหม่ค่ะ
ซึ่งสายพันธุ์นี้ ควรสงวนไว้ ไม่ให้แพร่พันธุ์ต่อ
ไม่เช่นนั้น จะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของ
ชาติ และของโลก ความจริงภาษาเป็นสิ่งที่
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่อย่างนั้น เราก็คง
พูด ว่า อิฉัน ดีฉัน ขอรับ ฯลฯ  คงได้แต่ทำใจ
มั้งคะ ว่า โลกมันหมุนไป ไม่มีทางหมุนกลับ
อีกหน่อยก็จะมีวัน รำลึกภาษาไทยแห่งชาติ
วันอนุรักษ์อาหารแห่งชาติ เช่น รำลึกถึง
น้ำพริกปลาทู เป็นต้น เพราะในชีวิตประจำวัน
ทุกคนจะกินแต่ แซนวิช แฮมเบอร์เกอร์
ไก่ทอดลุงเคน   คิดแล้วเศร้า ขอตัวไปเก็บ
ผักตำลึงมาจิ้มน้ำพริกก่อนนะคะ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ม.ค. 02, 10:53

เห็นด้วย น่าปวดหัว
แต่ ชอบ talk
อาจหมายถึง ชอบใช้โปรแกรมtalk หรือเปล่า :-)
รุ่นคุณเปี้ยวน่าจะรู้จักนะ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ม.ค. 02, 10:55

อย่าว่าแต่ภาษาไทยเลยครับ ... ภาษาอังกฤษเดี๋ยวนี้ก็มีแปลกๆเยอะ
ที่แปลกมากที่สุดคือวัยรุ่นสมัยนี้นิยมส่ง Text Message ทาง Mobile Phone
เนื่องจากค่าส่งมันแพง บวกกับขี้เกียจอ่านยาวๆ เด็กวัยรุ่นอังกฤษเลยประดิษฐ
คำศัพท์ใหม่ๆขึ้นมา เป็นพวกตัวย่อ คำย่ออะไรทำนองนั้น
ทีนี้ไอ้คำพวกนี้มันเกิดฮิตติดปากกันขึ้นมา จนเริ่มใช้กันทั่วไปในหมู่วัยรุ่น (และวัยไม่รุ่น)

ผมดูโทรทัศน์บีบีซีตอนวันเสาร์อาทิตย์ รายการเด็กวัยรุ่นช่วงเช้าๆ
มีเกมส์สำหรับเด็ก เป็นเกมส์ให้ทายว่า Text Message นี้แปลว่าอะไร
บังเอิญผมไม่ใช่วัยรุ่นแล้วเลยจำศัพท์พวกนี้ไม่ได้ .... อุๆๆ

เมื่อปีที่แล้วมีข่าวออกมาว่าพจนานุกรมของอ็อกฟอร์ดฉบับใหม่
บรรจุคำศัพท์จาก Text Message เข้าไปด้วย ... อัพเดทกันน่าดู
บันทึกการเข้า
( ^_^ )
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 ม.ค. 02, 19:46

ผมว่ามันเป็นวิวัฒนาการของภาษามากกว่า ภาษาไทยเรายังไม่ตายจึงมีวิวัฒนาการ(กลายพันธุ์)ให้เหมาะกับวัยรุ่นไง  555...
บันทึกการเข้า
มนัฌณิชย์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 ม.ค. 02, 20:54

มาตรว่า ภาษาใด ดำรงด้วย ชีวี แล้ว ไซร้

นั่น แล เหตุ แห่งการเปลี่ยนไป

สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ล้วนอนิจจัง
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ม.ค. 02, 21:57

ครับก็เห็นด้วยที่ภาษาต้องการเปลี่ยนแปลง ถ้าถ้าเป็นเพราะว่า ภาษานั้นยังไม่มีคำบางคำใช้ บางคำออกเสียงยาก บางคำสะกดยาก มีคำอื่นในภาษาอื่นที่ใช้ได้ดีกว่า อย่างนี้จะไม่แปลกใจ ไม่เอะใจใดๆครับ แต่ถ้าบอกว่า ต๊าย ร.ริง ออกเสียงยากกว่า ล.เลือ ฟังดูก็ไม่น่า love เรย..... มันเหมือนมีอะไรมาสะกิดๆหูหน่ะครับ เมื่อสะกิดหูเลยเล่าสู่กันฟัง มิได้จะห้ามออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม เอ้ยยยย ห้ามใช้ผิดเพื้ยน
บันทึกการเข้า
สายลม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 ก.พ. 02, 06:33

.   .   .   เข้ามาดูเรื่องที่ผ่านไป ดูว่าเรื่องนี้มีสาระดีแต่มีผู้ให้ความเห็นน้อย ในขณะที่มีผู้เข้ามาอ่านพอสมควร ผมก็มีความเห็นทำนองเดียวกันกับหลายท่านที่ได้ออกความเห็นไปแล้ว  ดูเหมือนเรื่องนี้ได้เคยเห็นในกระทู้ที่อื่นๆอยู่อีก และก็ส่วนใหญ่ก็ปรารภ บ่น ปลง แล้วก็ใช้กันต่อไป
.   .   .   การพูดให้สั้นในภาษาพูด และการใช้คำย่อในภาษาเขียนคล้ายกันในแง่ของความย่นย่อและความรวดเร็วในการพูดและการเขียน อย่างนี้มีประโยชน์ ในบางวงการเขาจะกำหนดไว้เป็นแบบฉบับที่แน่นอนลงไปเลยว่า คำนี้ให้เขียนอย่างนี้ แต่เวลาอ่านให้อ่านเต็ม แต่เรามักไม่ทำกันเ ถือเอาความง่ายอ่านแบบตัวย่อไปเลย นานเข้าเลยไม่มีใครอ่านตัวเต็ม  ลักษณะอย่างนี้ไม่น่าห่วงเพราะมีแบบฉบับกำหนดกันไว้แน่นอน กลับมาสู่จุดเดิมได้ตลอดเวลา
.   .   .  ที่น่าห่วงคือที่ทำกันโดยไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่มีแบบฉบับ  แต่อาศัยที่มันติดตลาด เลยใช้กันเกร่อ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน บางคำก็พอฟังได้ แต่บางคำก็ถึงขั้นวิปริต
.   .   .   ทางออกทางหนึ่งในเรื่องนี้ก็คือ อย่าไปส่งเสริมด้วยการไปใช้กับเขาด้วยนั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง