ปลาตะเพียนน้อย
บุคคลทั่วไป
|
แบบว่าไปดูหนังเรื่องผีสามบาทมา เห็นมีการสวมแหวนหมั้นที่นิ้วนางข้างซ้ายก็เลยอยากรู้น่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 02 ม.ค. 02, 00:40
|
|
Ancient Roman? I am not quite sure. Farangs have an old, old belief that there is a blood-vein from that finger directly to the heart. The ring which binds that finger therefore also binds the heart of the wearer.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 02 ม.ค. 02, 18:19
|
|
ครับ ขอแปลของตัวเองเป็นไทยอีกที เป็นความเชื่อฝรั่งโบราณครับ แต่โบราณขนาดไหนไม่แน่ใจ (ถึงสมัยโรมัน?) ว่า นิ้วนางข้างซ้ายมีเส้นเลือดที่วิ่งตรงถึงหัวใจเลย เพราะฉะนั้นแหวนที่สวมนิ้วนางข้างซ้ายก็เป็นพันธะผูกพันไปถึงหัวใจคนสวมแหวนด้วย
ว่าแต่ว่าเมื่อไหร่ผมจะหาแหวน เอ๊ย หานิ้วนางข้างซ้ายใครสักคนมาสวมแหวนให้ได้สักทีล่ะเนี่ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปลาตะเพียนน้อย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 02 ม.ค. 02, 21:20
|
|
เอ้อผมถามคลาดเคลื่อนไปนิดนึงน่ะครับ ตั้งใจจะถามว่าประเพณีนี้มีในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่น่ะครับ แต่ก็ต้องขอขอบคุณ คุณ นกข.มากเลยครับที่ได้ให้ความรู้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 03 ม.ค. 02, 10:17
|
|
ดิฉันยังหาหลักฐานไม่เจอว่าชาวไทยเราสวมแหวนนิ้วนางซ้ายหมั้นสาวตั้งแต่ยุคไหน แต่ถ้าเดา ก็คิดว่าเป็นในรัชกาลที่ ๖ ซึ่งคนชั้นสูงในเมืองหลวงรับวัฒนธรรมจากอังกฤษเข้ามาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกินน้ำชาตอนบ่าย เล่นเทนนิส แบดมินตัน และโครเกต์ ในรัชกาลที่ ๕ ก็มีตำแหน่ง พระคู่หมั้น คือพระวัลลภาเทวี แต่ทรงสวมแหวนให้หรือเปล่า ไม่ทราบรายละเอียดถึงขนาดนั้นค่ะ รู้แต่ว่าพอมาถึงรัชกาลที่ ๘ ผู้ชายไทยจะไปหมั้นผู้หญิง ก็สวมแหวนให้ที่นิ้วนางซ้ายในวันหมั้น แหวนหมั้น นิยมให้เป็นแหวนเพชรเม็ดเดี่ยว หลังจากหมั้น ก็ทิ้งระยะเวลาไปอีกพักหนึ่งจนปลูกเรือนหอเสร็จถึงกำหนดวันแต่งงาน ระหว่างนั้นผู้หญิงที่มีคู่หมั้นแล้วก็สวมแหวนหมั้นบนนิ้วนางซ้าย ประกาศให้รู้ทั่วกันว่าถูกจองแล้วจ้า หมายเหตุ:ใครสนใจหลังอ่านประกาศหาคนมาสวมแหวนข้างบนนี้ เชิญติดต่อกันเองตามอัธยาศัย ตกลงกันได้เมื่อไร เรือนไทยจัดงานให้ฟรีนะคะ รอถ่ายวีดิโอมานานแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วอแหวนลงยา
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 03 ม.ค. 02, 14:26
|
|
ไม่น่าเชื่อเนอะว่าคุณ นกข ยังหานิ้วนาง อุ๊บ....ไม่ใช่ หาคนมาสวมแหวนไม่ได้ เอาใจช่วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 03 ม.ค. 02, 19:50
|
|
ผมก็เชื่อว่าไทยเพิ่งรับธรรมเนียมสวมแหวนที่นิ้วนางข้างซ้ายมาในสมัยรัตนโกสินทร์ครับ
เข้าใจว่า แต่ก่อนนี้ถ้าชายจะแหวนไว้เป็นที่ระลึกให้หญิงที่รักก็ดูเหมือนจะเป็นแหวนประดับก้อย หรือถ้าใส่นิ้วนางก็ไม่จำเป็นต้องเป็นนิ้วนางข้างซ้ายแบบฝรั่ง ข้างขวาก็ได้ หรือบางทีอาจจะไม่ได้ให้แหวนเลยด้วยซ้ำแต่ให้เครื่องประดับอย่างอื่นแทน
เมื่อ ร.5 พระราชทานเครื่องประดับให้เจ้าจอมสดับ ท่านให้เป็นอะไรนะครับ ลืมแล้ว (กำไล?) ที่พระราชนิพนธ์บทกลอนให้ด้วย ลงท้ายว่า "แม้รักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย ต่อวันวายสวาทวอดจึงถอดเอย"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปลาตะเพียนน้อย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 03 ม.ค. 02, 20:42
|
|
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากเลยล่ะครับ ขอบคุณทุกๆคนมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 06 ม.ค. 02, 22:07
|
|
ไปค้นเจอมาค่ะ แต่เกี่ยวกับแหวนหมั้นในไทยยังไม่เจอนะคะ
ชาวอียิปต์ เป็นต้นตำรับธรรมเนียมของการมีแหวนหมั้น ...แหวนเป็นสัญลักษณ์ของความผูกพันระหว่างคนสองคน และ พวกเขาก็เชื่อว่าความรักที่เกิดขึ้นในหัวใจ จะส่งผลไปที่มือข้างซ้าย มือซ้ายจึงยังคงเป็นมือสำหรับใส่แหวนหมั้นมาจนถึงทุกวันนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แม่หญิงเรไร
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 15 ม.ค. 02, 16:33
|
|
ไปตามหาคำกลอนของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งคุณ นกข. กล่าวถึงในความเห็นที่ 6 มาให้ค่ะ บทเต็มมีดังนี้
กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นยั่งยืนศรี เหมือนใจตรงคงคำพร่ำวาที ของสิ่งนี้ขอให้เห็นเช่นเสี่ยงทาย ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรับไว้อย่าให้หาย แม้นรักร่วมสวมประชิดไว้ติดกาย ต่อเมื่อวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย
ทรงสวมกำไลทองพระราชทานนี้ให้แก่เจ้าจอม หม่อมราชวงศ์สดับ และบีบให้เข้ากัน ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|