นกข. (หลานคุณปุ เอ๊ย คุณปู่)
บุคคลทั่วไป
|
วันวานนี้นั่งอ่าน ภารตวิทยา ของอาจารย์กรุณา/เรืองอุไร ที่ได้ไปจากสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ฟื้นความรู้เก่าที่ลืมไปแล้วและรับความรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้ได้อีกหลายเรื่อง
มีบทความหนึ่งในนั้นพูดถึงภาษาสันสกฤตอันเป็นภาษาของชนชั้นสูงในอินเดีย อันเป็นภาษาสืบมาจากภาษาพระเวท แต่ภาษาพระเวทที่เป็นภาษาโบราณเก่ายิ่งไปกว่าสันสกฤตนั้น เมื่อพูดหรือใช้กันมานานๆ หลายร้อยปีก็มีผิดแปลกแผกเพี้ยนบ้าง อีกประการหนึ่งภาษาในคัมภีร์พระเวทเก่านั้นเป็นภาษาค่อนข้างง่ายๆ ไม่มีระเบียบแบบแผนไวยากรณ์มากนัก ตกมาถึงสมัยหลังจึงมีนักปราชญ์อินเดียโบราณท่านหนึ่ง ทำการรวบรวม ชำระสะสาง จัดวางกำหนดระเบียบของภาษาในคัมภีร์พระเวทให้เป็นเรื่องเป็นราว การจัดระเบียบหรือการชำระสะสางให้เป็นระเบียบไม่ยุ่งเหยิงนี้ เรียกว่า สํสการ สังสการ สิ่งที่ได้รับการจัดไว้เป็นระเบียบแล้ว เรียกว่า - ใช่แล้วครับ สันสกฤต หรือสํสกฤต กลายเป็นชื่อของภาษษใหม่ (ใหม่ตอนนั้น มาถึงตอนนี้เป็นภาษาเก่าไปแล้ว)
ดังนั้นสิ่งที่ท่านปุระชัยกำลังทำอยู่คงจะเรียกได้เหมือนกันว่าเป็น "สังคมสังสการ" การจัดระเบียบสังคม และสมมติว่าท่านทำได้สำเร็จ (เอาใจช่วยท่านอยู่ครับ แต่ไม่รู้ท่านจะมีแรงทำไปได้อีกถึงไหน คนขวางท่านแยะ...) สังคมที่ได้รับการจัดดีและเป็นระเบียบเรียบร้อยนี้ จะผูกเป็นศัพท์เรียกว่า สิงคโปร์ เอ๊ย "สันสกฤตสังคม" ได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 26 ธ.ค. 01, 23:40
|
|
ในวิชาสังคมวิทยา มีศัพท์คำว่า Socialization มาจาก to socialize แต่ความหมายไม่เหมือนกับคำว่าโซเชียลไลซ์ปกติ เพราะปกติคำนี้แปลว่าคบค้าสมาคมหรือเข้าวงสังคมด้วยกัน แต่นักสังคมวิทยาให้ความหมายใหม่ว่า Socialization เป็นคำนามแปลว่ากระบวนการอันหนึ่งที่สังคมใช้ในการทำให้สมาชิกใหม่ของสังคมกลายเป็นสมาชิกของสังคมหรือชุมชนนั้นๆ มีความคิดความอ่าน ความเชื่อ ค่านิยมเหมือนๆ คล้ายๆ กับคนอื่นๆ ในสังคมนั้นๆ จะได้อยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้ ถ้าคิดไม่เหมือนกันเชื่อไม่ตรงกันก็คงอยู่รวมกันเป็นสังคมเดียวกันลำบาก ที่สำคัญก็คือการใช้กับเด็ก ซึ่งจะโตขึ้นมาเป็นสมาชิกของสังคม โดยผ่านการศึกษา การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน การร้องเพลงกล่อมเด็ก ฯลฯ อะไรก็แล้วแต่ กระบวนการโซชะไลเซเชิ่นนี้ เห็นตำราสังคมวิทยาภาษาไทยท่านแปลไว้หลายแบบ บางเล่มท่านว่า สังคมประกฤต หรือสังคมประกิต บางเล่มท่านว่า สังคมกรณ์ (ทั้งสองคำแปลนี้ แปลได้ทำนองว่า "การทำให้เป็นสังคม" ก็คืออิงกับ Social + ization ในภาษาฝรั่ง) บางเล่มที่ผมชอบมากกว่าเพราะฟังรู้เรื่องดี แต่ก็ยาวหน่อย ท่านแปลไว้ว่า (กระบวน) การอบรมกล่อมเกลาทางสังคม ไม่ทราบว่าศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานท่านกำหนดไว้ว่าอย่างไร ยังไม่ได้ไปพลิกดูครับ
ผมมีความเห็นว่า กระบวนการสังคมสังสการ (ตามศัพท์ที่ผมมั่วขึ้นมาเอง) หรือการจัดระเบียบสังคมของท่าน มท. 1 นั้น จะสำเร็จไปไม่ได้ถ้าไม่จัดระเบียบลงให้ลึกถึงรากฐาน คือกระบวนการสังคมกรณ์ (ตามศัพท์บัญญัติของตำราสังคมวิทยาบางเล่ม) คือ การสั่งสอนเลี้ยงดูอบรมกล่อมเกลาเด็ก ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และวงสังคมอื่นๆ ครับ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ใหญ่มากๆ และน่าเห็นใจท่าน มท. 1 ที่ท่านมารับปัญหาตรงที่ค่อนข้างจะเป็นปลายเหตุแล้ว แต่ก็ยังดีที่มีคนที่ตั้งใจจริงพยายามแก้ปัญหาในส่วนของตัวเองอยู่คนหนึ่ง ซึ่งคนอื่นก็ต้องพยายามแก้ปัญหาในส่วนของตัวด้วยเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 27 ธ.ค. 01, 02:00
|
|
ผมเป็นคนชอบคิดโยงเรื่องโน้นไปต่อเรื่องนี้เรื่อยเปื่อยไปได้เรื่อยๆ ครับ ใครที่เคยรู้จักผมคงจะทราบความเรื่อยเปื่อยข้อนี้ของผมได้ดี
คราวนี้ก็อีก มานั่งนึกถึงคำว่า สังคมสังสการ การจัดระเบียบสังคม แล้ว เสียงคำว่า สังสการนี้ชวนใจให้นึกถึงโคลงของเก่าบทหนึ่งที่ว่า
"เอาสินสกางสอดจ้าง แข็งดั่งเหล็กเงินง้าง อ่อนได้ดังใจ แลนาฯ"
กลัวว่านโยบายสังสการของท่าน มท. 1 พอลงไปถึงระดับผู้ปฏิบัติล่างๆ จะไปแพ้ "สินสกางสอดจ้าง" หรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 27 ธ.ค. 01, 12:23
|
|
ผมเห็นด้วยกับปัญหาสังคมในเวลานี้นะครับ แต่การจัดระเบียบลักษณะนี้ดูจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเกินไป ปัญหาหลายอย่างที่เราเจออยู่ทุกวันนี้มีต้นตอจากคุณภาพของคน ซึ่งต้นเรื่องก็คือการจัดการการศึกษานั่นเอง ซึ่งคงต้องแก้กันในระยะยาว ได้แต่หวังว่าจะมีรัฐบาลไหนจริงจังกับการแก้ปัญหานี้สักที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อ้อยขวั้น
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 27 ธ.ค. 01, 15:57
|
|
มีใคร "สงฆ์สังสการ" มั่งก็ดีนะคะ ทุกวันนี้กราบสงฆ์ได้ไม่สนิทใจเท่าไรเลย (จะบาปไหมหนอ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 27 ธ.ค. 01, 18:16
|
|
เอ้อ... แหะๆ คำว่า สังคมสังสการ ของผม คงใช่ไม่ได้เสียแล้วครับ ไปเปิดพจนานุกรมดู คำว่า สังสการ นี้คนไทยโบราณท่านก็รับมาใช้ไว้ก่อนแล้วเหมือนกัน ความหมายเดิมดังที่ผมเรียนแล้ว แปลว่า ชำระให้บริสุทธิ์ สะสารให้หมดจด จัดวางให้เป็นระเบียบ แต่ใน Usage ของคนไทยโบราณ ท่านใช้คำว่า สังสการ ในนัยความหมายว่าทำให้บริสุทธิ์ และใช้เรียกพิธีปลงศพครับ แหะๆ...
ทางพระท่านมีอีกคำ ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือ สังคายนา ใช้กับพระไตรปิฎก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลูกนวมินทร
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 27 ธ.ค. 01, 18:38
|
|
อืม........อันนี้ต้องพิจารนาครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
มนัฌณิชย์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 30 ธ.ค. 01, 02:29
|
|
แต่ เรื่องที่ ห้ามเด็กอายุตํ่ากว่า 18 ปี ออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม นี่ ฌิชย์ ว่า มันออกจะเว่อร์เกินไปนะฮะ ดูจะเป็น พวกเผด็จการจัง (สงสัย ตอดเชื้อมาจากในสภา ก็ฝ่ายรัฐบาลอยู่แล้วนี่นะ -- เผด็จการรัฐสภา )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
มนัฌณิชย์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 30 ธ.ค. 01, 02:33
|
|
แต่ เรื่องที่ ห้ามเด็กอายุตํ่ากว่า 18 ปี ออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม นี่ ฌิชย์ ว่า มันออกจะเว่อร์เกินไปนะฮะ ดูจะเป็น พวกเผด็จการจัง (สงสัย ตอดเชื้อมาจากในสภา ก็ฝ่ายรัฐบาลอยู่แล้วนี่นะ -- เผด็จการรัฐสภา )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ด.เด็ก
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 30 ธ.ค. 01, 18:50
|
|
ภาษาพระเวทกับภาษาเทวดานี่ใครเก่ากว่าครับ หลานคุณปุ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 30 ธ.ค. 01, 20:04
|
|
มีธุระจำเป็นอะไรบ้างล่ะคะที่คนอายุต่ำกว่า ๑๘ ต้องออกจากบ้านหรืออยู่นอกบ้านหลัง ๔ ทุ่ม ตามลำพังกับเพื่อนวัยเดียวกัน เอากรณีจำเป็นจริงๆมาแสดงให้เห็นดีกว่า อย่าเพิ่งว่ามท. ๑ เป็นเผด็จการเลย นศ.มหาวิทยาลัยที่ทำกิจกรรมอยู่จนดึกในบางคณะ ก็อายุเกิน ๑๘ แล้ว ถ้าเป็นเหตุด่วนกะทันหัน หรือมีผู้ใหญ่ไปด้วย ตำรวจไม่ว่าอะไรค่ะ เรื่องนี้เขามุ่งสะกัดวัยรุ่นขายตัวหรือพวกมั่วสุมกันตามผับมากกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 30 ธ.ค. 01, 20:21
|
|
สนับสนุนการจัดระเบียบสังคมของท่าน มท.๑ ครับ อายุช่วงนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ยังชาดประสบการณ์ในการตัดสินใจ ตามกฎหมายถ้าทำนิติกรรมใดๆเค้ายังต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมเลยครับ
รอให้อายุเยอะอีกหน่อย ทำงานหาเงินได้แล้ว จะเที่ยวจะพักผ่อนบ้างก็คงไม่มีใครว่า เพราะมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะเลือกตัดสินใจได้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ชาวบ้าน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 31 ธ.ค. 01, 03:27
|
|
เรื่องนี้ผมเชื่อในความหวังดีและความบริสุทธิใจของ มท. 1 โดยไม่มีข้อสงสัยเลย และผมก็ไม่เห็นเหตุผลในแง่ของความเป็นเผด็จการ
แต่คนไทยไม่ใช่มีอยู่เพียงที่กรุงเทพฯ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่สถานเริงรมย์ในทัศนะของ มท.๑ และไม่ได้อยู่ที่มหาวิทยาลัย หรือที่ไหนๆที่อาจจะจะยกมาเป็นตัวอย่าง
ชีวิตของคนไทยกว่า ๖๐ ล้านคน ( เป็นคนอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ประมาณ ๒๐ ล้านคน ) มีวิถีชีวิตที่หลากหลายกว่านั้นอีกหลายร้อยหลายพันเท่านัก ซึ่งหลายฝ่ายลืมนึกถีง มองไม่เห็น ไม่เคยรู้ ไม่รับรู้ เพราะไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน นั่นคือการต่อสู้ชีวิตเพื่อความอยู่รอดของครอบครัว พ่อแม่ที่แก่เฒ่า เจ็บป่วย ยากจน ทุพพลภาพ ตกงาน ฯลฯ เด็กเหล่านี้ต้องออกมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพที่สุจริตในรูปแบบต่างๆ ที่ตนกำหนดเวลาทำงานเองไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมจะอำนวย ผู้รับผิดชอบในบ้านเมือง นักวิชาการหลายคนไม่เคยรู้รสชาดเช่นนี้มาก่อน เพราะไม่เคยจน ไม่เคยลำบาก ไม่คยมีชีวิตที่ยากไร้ในหลายๆด้าน
ขอความกรุณาอย่าเอามาตรฐานของตนเองมาเป็นเครื่องวัดเลยครับ ได้โปรดเถิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 31 ธ.ค. 01, 10:10
|
|
ไม่ได้หลงลืมหรือมองข้ามแรงงานเด็กเหล่านั้นหรอกค่ะ แต่เชื่อว่ามท. ๑ และผู้เกี่ยวข้องเช่นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ย่อมแยกออกว่าคนไหนเป็นเด็กวัยรุ่นมั่วสุมเที่ยวเตร่เฮฮา คนไหนเป็นเด็กขายพวงมาลัย เด็กล้างจานในร้านอาหาร ที่ต้องทำงานดึกเกิน ๔ ทุ่ม หน้าตาผิวพรรณและการแต่งกายไม่ซ้ำกันหรอก ถ้าหากว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นจริงๆ จากตำรวจตาฟางดูไม่ออกหรืออะไรก็ตาม สื่อมวลชนนั่นแหละจะประโคมข่าวออกมาเอง อาจจะหนักกว่าลูกหลานของคุณหรือดิฉันโดนเข้าเสียอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ชาวบ้าน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 01 ม.ค. 02, 00:56
|
|
คุณเทาชมพูคงจะจำเรื่องที่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆไม่กี่วันมานี้ที่ศาลตัดสินยกฟ้องนิสิตจุฬาฯ คนหนึ่งที่ถูกตำรวจจับในข้อหาว่ามียาบ้า ๑ เม็ด แล้วยังแถมเพิ่มข้อหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน กรณีเช่นนี้ยังมีอีกมากมายแต่ไม่เป็นช่าว เพราะเป็นลูกชาวบ้าน แล้วก็ติดคุกไปไม่น้อย แล้วใครรับผิดชอบต่อความผิดพลาดอันนี้ ไม่ทราบว่าหน้าตาผิวพรรณและการแต่งกายของนิสิตจุฬาฯ คนนี้แสดงออกอย่างไรตำรวจจึงมองเห็นว่าเป็นผู้ร้าย
คนสุจริตที่ได้รับโทษอันเนื่องจากขบวนการยุติธรรมมีอยู่มากมายและตรงกันข้าม คนทุจริตแต่ไม่ได้รับโทษก็มีอยู่มากมายเช่นกัน จึงไม่ควรมีมาตรการใดๆที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว
ผมได้แสดงตัวเลขให้เห็นว่า เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีปัจุบันมีอยู่ประมาณ ๒๐ ล้ายคน จะอยู่ในข่ายของมาตรการนี้ถ้าออกมาบังคับใช้บังคับ ด้วยความมุ่งหมายเพียงเพื่อจะปราบวัยรุ่นเพียงไม่กี่พันคนมันคุ้มแล้วหรือ ภาษิตไทยเปรียบไว้ว่า เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน หรือใช้มีดพร้าไปหั่นพริก หรือรำคาญเสียงจิ้งจกเลยเผาบ้านเพื่อขจัดจิ้งจก
ผมอยากให้มีมาตรการควบคุมวัยรุ่นที่ก่อปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังโดยที่ไม่ไปกระทบกระเทือนคนดีให้ต้องเดือดร้อนไปด้วย ซึ่งมีวิธีการอื่นอีกมากมาย และคิดว่า มท.๑ ก็คงมองเห็นอยู่แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|