เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 25694 วันสารทจีนคือวันอะไรคะ
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 ส.ค. 19, 10:31

            เดือนนี้ที่ญี่ปุ่นก็มีประเพณี Shoro Nagashi Lantern Floating ปีนี้ตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม

https://japancheapo.com/events/shoro-nagashi-lantern-floating-ceremony/

เชิญเพ็ญซัง ขยายความ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 16 ส.ค. 19, 14:23

โชโรนะกะชิ (精霊流し) แปลตามตัวอักษรคือการลอยวิญญาณ เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลโอะบง (お盆) ของญี่ปุ่น  เป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงของเมืองนะงะซะกิ จัดขึ้นในวันที่ ๑๕ สิงหาคมของทุกปี ผู้ร่วมงานจะสร้างเรือส่งดวงวิญญาณของบรรพบุรุษไปสู่แดนสุขาวดี แล้วลากเรือนั้นไปทั่วเมือง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 ส.ค. 19, 14:27

ประเพณีที่คล้าย ๆ กันเรียกว่า โทโรนะกะชิ (灯籠流し) คือการลอยโคมไปตามแม่น้ำเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นกิจกรรมซึ่งคล้ายกับการลอยกระทงของเราแต่จุดประสงค์ต่างกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 16 ส.ค. 19, 14:29

เทศกาลโอะบง (お盆) นี้อาจจะเรียกแบบไทย ๆ ว่า สารทญี่ปุ่น มีจุดประสงค์ทำนองเดียวกับสารทจีน เทศกาลโอบ้ง ส่วนใหญ่มักจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๖ สิงหาคม บางภูมิภาคก็อาจจะต่างไปบ้าง ชาวญี่ปุ่นมักลาหยุดยาวในช่วงนี้เพื่อกลับไปไหว้บรรพบุรุษ ด้วยความเชื่อที่ว่าช่วงนี้โลกวิญญาณกับโลกมนุษย์เชื่อมโยงถึงกัน บรรพบุรุษผู้ล่วงลับจะกลับมาพบลูกหลาน มารับของไหว้ที่บ้าน

เทศกาลโอะบงในญี่ปุ่น เป็นความเชื่อในพระพุทธศาสนา ตำนานหนึ่งกล่าวว่า ชาวญี่ปุ่นทำตามพระมหาโมคคัลลานะ (โมะกุเร็น - 目犍連) เล่ากันว่ามารดาของพระมหาโมคคัลลานะทำกรรมหนัก เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดเป็นเปรต พระมหาโมคคัลลานะหยั่งรู้ด้วยทิพยญาณ จึงจัดงานทำบุญครั้งใหญ่อุทิศส่วนกุศลช่วยเหลือมารดาของท่านให้พ้นเคราะห์กรรมจากเปรตภูมิ ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศรีศากยมุนี (お釈迦様 - โอะชะกะสะมะ)

เรื่องนี้มีบันทึกใน อุลลัมพนสูตร ของพุทธจีนมหายาน จึงคิดว่าเทศกาลโอะบงน่าจะเป็นพิธีที่ผสมผสานระหว่างความเชื่อแบบพุทธกับขงจื๊อ ซึ่งญี่ปุ่นรับมาจากจีน แล้วเอามาปน ๆ กันกับชินโตอีกที เป็นพุทธพิธีทำนองเดียวกับการสักอนิจจาในบุญเดือนห้า (สงกรานต์) ทางภาคอีสานของไทย ที่ผสมผสานความเชื่อแบบพุทธ พราหมณ์ และผีเข้าไว้ด้วยกัน

ความเชื่อที่ว่าโลกวิญญาณติดต่อกับโลกมนุษย์ได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี ดูเหมือนจะมีกระจัดกระจายอยู่ทั้งโลกตะวันออก (สารทจีน โอะบง บุญเดือนห้า) และโลกตะวันตก (ฮาโลวีน) แต่อาจจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละพื้นที่

นอกจากพิธีไหว้บรรพบุรุษแล้ว คนญี่ปุ่นยังมีพิธีเต้นรำที่เรียกว่า บงโอะโดะริ (盆踊り) หมายถึง การเต้นรำในเทศกาลบง เชื่อกันว่าการเต้นรำนี้มีแบบแผนสืบทอดมาจากพระมหาโมคคัลลานะในพิธีทำบุญใหญ่ครั้งกระโน้น มองด้วยสายตาแบบพุทธเถรวาทว่า น่าจะเป็นพิธีของชินโตที่ถูกจับบวชให้เป็นพุทธเสียมากกว่า บางภูมิภาคจัดงานใหญ่โต มีขบวนแห่ มีปะรำพิธี แขวนโคมสว่างไสวกันทั่วไปหมด

ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/JapanNutshell/photos/a.514361938718018/527176950769850?type=3&sfns=mo



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 16 ส.ค. 19, 16:05

       ที่เม็กซิโก ก็มีวันบรรพชนผู้ล่วงลับ Day of the Dead (Día de Muertos)
       บรรดาญาติมิตรจะมารวมกันเพื่อรำลึกและสวดให้ผู้ตายที่เดินทางไปในโลกหน้า ในบรรยากาศของ
การเฉลิมฉลองเพราะพวกเขาเชื่อว่าช่วงเวลานี้ผู้ตายจะกลับคืนมาร่วมฉลองด้วยกัน
        ในช่วงศตววรษที่ 14 – 16, ชาว Aztec ที่มีอำนาจเหนือดินแดนแถบนี้ได้จัดให้มีงานนี้เป็นระยะ
เวลา 1 เดือนเต็มใน เดือนสิงหาคม
        จนกระทั่งงศตวรรษที่ 16 เมื่อสเปนมาถึง เทศกาลนี้จึงถูกผสมผสานเข้ากับความเชื่อของคริสต์ศาสนา
แล้วเปลี่ยนมาฉลองกันในคืนวันที่ 31 ตุลาคม - 1, 2 พฤศจิกายนแทน

ภาพจากอนิเมชั่น Coco (2017)


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 18 ส.ค. 19, 09:27



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 18 ส.ค. 19, 09:41

^^

http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5046
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 18 ส.ค. 19, 17:04


สรุปว่า​ ลอยกระทง​ จีนรับไปจากอินเดีย
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 20 ส.ค. 19, 09:07

แปล 佛說盂蘭盆經
.
พระสูตรฝ่ายอาจริยวาท
.
ว่าด้วยอานิสงส์ของการถวายภัตตาหาร และเครื่องไทยธรรมในวันออกพรรษา ( ฝ่ายอาจริยวาทเป็นเพ็ญเดือนเจ็ดจันทรคติจีน )
.
ต้นกำเนิดเทศกาลงานบุญวันเพ็ญเดือนเจ็ด
.
ที่สงฆ์จีนในประเทศไทยละเว้นไม่เทศน์ (แปลความ)
ให้พุทธบริษัทฝ่ายจีนนิกายให้ได้เข้าใจ กระทั่งเกิดความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนไปจับประเด็นผิด
กลายเป็นเรื่อง (นิยาย) การเปิดประตูนรกในเดือนเจ็ด...
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 20 ส.ค. 19, 09:14

ขอโทษครับ admin ผมโพสต์แล้ว แต่ระบบนำข้อความขึ้นมาแสดงไม่ครบ

พอแก้ไข ระบบก็ไปตั้งเป็นอีก คห. หนึ่ง ( นี้ ) แยกออกมา ครับ

ผมตั้งใจแสดงข้อความที่คัดจาก

https://web.facebook.com/plu.danai/posts/2093929180856886?hc_location=ufi
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 20 ส.ค. 19, 09:22

เทพจงหยวน ( 中元 )

จง 中 แปลว่า กลาง

หยวน 元 แปลว่า ต้นกำเนิด

จงหยวน เป็นหนึ่งในคณะเทพ เรียก ซานหยวน ( 三元 ) อันหมายถึงเทพต้นกำเนิดทั้งสาม
คนจีนโบราณท่านหมายถึง “ เทพต้นกำเนิดแห่งการกสิกรรม ”

อันประกอบด้วย

1. ซั่งหยวน ( 上元 ) อันหมายถึง ภูมิอากาศ
คนโบราณไหว้ซั่งหยวน อันหมายถึงฟ้า หรือ เทียน ( 天 ) เพื่อขอให้มีสภาพอากาศเหมาะกับการเพาะปลูก ในวันเพ็ญเดือนอ้าย

2. จงหยวน ( 中元 ) อันหมายถึง ผืนแผ่นดิน
ที่โอบอุ้ม ให้พืชผลได้หยั่งราก เจริญเติบโตให้ดอกผลเป็นอาหารของคน หรือที่บทความที่แอดมินคัดลอกมา เรียก เทพแห่งท้องนา
คนจีนโบราณบูชาแผ่นดินเพื่อเป็นการขอบคุณใน วันเพ็ญเดือนเจ็ด ที่คนจีนแต้จิ๋วในบ้านเราเรียก ‘ ชิกหง่วยปั้ว ’

3. เซี่ยหยวน ( 下元 ) อันหมายถึง น้ำ
ที่หล่อเลี้ยง ให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร เจริญเติบโต ให้ดอกผล
คนจีนโบราณไหว้ขอบคุณท้องน้ำ ในวันเพ็ญเดือนสิบ
การไหว้ซันหยวนของชาวจีน มีมาก่อนยุคฮั่น หรือมีอยู่ก่อนเข้ามาของพุทธศาสนา ที่นำความเชื่อเรื่องภูติผี และความเชื่อเรื่องนรกเข้ามาจงหยวน หรือประเทศจีน...


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 22 ส.ค. 21, 10:24

สุขสันต์วันสารทจีน ๒๕๖๔  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 12 ส.ค. 22, 10:35

สุขสันต์วันสารทจีน ๒๕๖๕  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 13 ส.ค. 22, 08:22

มอบให้ท่านผู้อ่านเรือนไทยทุกท่านค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง