เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 31277 อณาจักรทางภาคใต้ของประเทศไทย
หนู ลี nuu_ree@hotmail.com
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 06 ต.ค. 00, 12:00

อ่านเรื่องยุคก่อนอยุธยาของคุณถาวภักดิ์แล้วเกิดสงสัยต่อถึงอณาจักร์ทางภาคอื่นๆ
ของไทยคะ เช่น ทางภาคใต้   ซึ่งมีเอกลักษณ์ประจำภาคมากมาย ทั้งการละเล่น
และประเพณีต่างๆ

รู้สึกว่าจะเคยมีอณาจักรโบราณอยู่เหมือนกัน แต่ทำไมดูเหมือนไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไหร่
หรือเพราะว่าเป็นเพียงอณาจักรเล็กๆ คะ?
บันทึกการเข้า
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ก.ย. 00, 00:00

เคยได้ยินเรื่องอาณาจักร ตามพรลิงค์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่แถว ๆ นครศรีธรรมราช
(สมัยนั้นการแยกจังหวัดคงไม่ชัดเจนแบบนี้) ถ้าจำไม่ผิดบอกว่า
การอัญเชิญพระอัฐิของพระพุทธเจ้า โดยทางเรือแล้วมาจอดที่ท่าเรือที่นี่
เป็นครั้งแรก ก่อนที่จะทำการเผยแพร่พุทธศาสนาไปทั่วทั้งประเทศ
และได้สร้างพระธาตุเมืองนคร(ยอดทอง) ที่เป็นที่เคารพของชนแถบนั้น
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (คาดว่าเป็นที่มาของการตั้งชื่อเมือง นครศรีธรรมราช ด้วยเช่นกัน)
บันทึกการเข้า
Tethys
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ก.ย. 00, 00:00

มาแอบฟังหนูลีถาม
ตั้งใจฟังด้วยค่ะ
<<ยิ้มหวานแก้มปริ>>
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ก.ย. 00, 00:00

อาณาจักร สะกดยังงี้ครับ "อาณาจักร"
ก็เห็นมีหลายแห่งนี่ครับ อาณาจักรศรีวิชัยก็ยังเถียงกันอยู่ว่าอยู่ที่ไชยาหรืออินโดนีเซีย สุธรรมนครหรือนครศรีธรรมราชก็เป็นเมืองสำคัญมาแต่โบราณ ตั้งแต่ครั้งตามพรลิงค์นั่น มีบางท่านเสนอว่าพัทลุงเป็นที่ตั้งอาณาจักรไศเลนทร์ ซึ่งไปเกี่ยวๆ กันกับกรุงกัมพูชา (ยังไงผมก็ไม่แน่ชัด) ยังอาณาจักรมุสลิมอย่างปัตตานีอีกล่ะ สงขลาที่หัวเขาแดงก็เคยเป็นอาณาจักรภายใต้สุลต่านลุไลมานและผู้สืบเขื้อสายของท่าน (กินบริเวณไปถึงพัทลุง ตะกั่วทุ่งตะกั่วป่า ตรังด้วยมั้ง)  เพิ่งจะยอมรับอำนาจอยุธยาเมื่อสักสี่ร้อยปีมานี่เอง  
ใครรู้ดีกว่าผม เชิญให้วิทยาทานด้วยครับ  
บันทึกการเข้า
เจ้ากรรมนายเวร
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ต.ค. 00, 00:00

แล้วศาสนาพุทธ เข้ามาทางอาณาจักรทางภาคใต้ใช่หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
ศิษย์โง่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

ครับ ในแถบใต้ของเรามีอาณาจักรอยู่มากมาย ทั้งตามพรลิค์ หรือ ไชยาซึ่งมีร่องรอยของการเป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่ ซึ่ง ท่านจันทร์ ท่านธรรมทาส และอีกหลายท่านเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย ในขณะที่ความเชื่อเดิมคิดว่า เป็น ปาเล็มบัง ที่สุมาตรา ในแถบใต้ยังมีเมือง 12 นักษัตร และอีกมากมาย มีหลักฐานจากทางจีน ที่มีพูตทั้งจากลังกาสุกะ (หลั่งยะสิว) และ ศรีวิชัย (ซานฝอสี ท่านธรรมทาส สันนิษฐานว่า จะชื่อเมือง สัมโพธิ) ชวากะ (ซาบาค)

เรื่องของศาสนานั้น เชื่อว่าในยุคนั้นน่าจะมีเข้ามาทั้งลัทธิพราหมณ์ และ พุทธศาสนาลัทธิมหายาน ดูหลักฐานจากการค้นพบรูปพระโพธิสัตว์มากมาย อาทิ พระอวโลกิเตศวร องค์ที่กล่าวขานว่างามวิเศษ
(ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์) พระโพธิสัตว์วัชรปาณี ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาก ณ อาณาจักรแถบนี้
หลวงจีนฟาเหียน (ถ้าจำไม่ผิด) ได้หยุดพักที่นี่ (เมืองไหน จำไม่แน่ชัด)
เพื่อศึกษาภาษาสันสกฤต ประมาณ 2 ปี ก่อนจะเดินทางต่อไปยังแผ่นดินจีน
ความยิ่งใหญ่ และ รุ่งเรือง ของภาคใต้เรา น่าค้นหาครับ

เขียนจากความทรงจำ คลาดเคลื่อนไปบ้าง อย่าถือคนแก่นะครับ
บันทึกการเข้า
หนูลี
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

ปาเล็มบัง ที่สุมาตรา นี่คืออณาจักรเดียวกับที่สร้างเจดีย์พุทธศาสนาที่่องค์ใหญ่ๆ นั่น
หรือเปล่าค่ะ ( ขออภัยจำชื่อไม่ได้ค่ะ )

เคยดูสารคดีเขาบอกว่าอณาจักรที่ว่าอาจจะถูกทำลายเพราะภูเขาไฟระเบิด
เพราะว่าอยู่ดีๆ ก็หายไปจากประวัติศาสตร์ เจดีย์ที่ว่าก็พึ่งค้นพบเมื่อไม่นานนี้
บันทึกการเข้า
ศิษย์โง่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00

ที่คุณหนูลีว่า น่าจะหมายถึง บรมพุทธโธ ซึ่งก็อยู่ลึกเข้าไป ไม่ใช่ที่ปาเล็มบัง ฝ่ายที่คัดค้านปาเล็มบังจะยึดหลักฐานที่ว่าปาเล็มบังมีหลักฐานทางถาวรวัตถุน้อยมาก ผิดกับที่ไชยา มีวัดแก้ว วัดหลง ฯลฯ
ก็ต้องศึกษากันต่อครับ แต่ถ้าเรายึดหลักเรื่อง สหพันธรํฐ จะสบายใจมาก เพราะแปลว่า จะเป็นเมืองใดก็ได้ขึ้นอยู่กับเวลานั้นใครแข็งแรงขึ้นมา

อ้อ ส่วน เรื่องเมืองสะเทิม หรือ สุธรรมนคร ต้องขอติงว่า เป็นเมืองที่สันนิษฐานไว้ให้สำหรับ ทวารวดีครับ
บันทึกการเข้า
หนูลี
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00

ใช่แล้วค่ะ บรมพุทธโธ  ขอบคุณค่ะคุณศิษย์ฯ ยิ้ม


 
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 พ.ย. 05, 09:20

 เห็นว่า ยังไม่มีใครตอบ ก็ขอขุดมาตอบนะครับ  

ตอบเจ้าของกระทู้
เรื่องอาณาจักรทางภาคใต้นั้น "ข้อมูลปฐมภูมิ" (ได้แก่ศิลาจารึก บันทึกโบราณ) ยังมีน้อยอยู่ และที่มีอยู่ก็ให้ข้อมูลที่ชวนสับสนเหมือนกัน โดยเฉพาะจากเอกสารจีน เพราะว่าชื่ออาณาจักรต่างๆ พี่จีนเขียนเป็นสำเนียงจีน พอมาถึงรุ่นปัจจุบัน บางชื่อก็อ่านออก บางชื่อก็เดาๆ กันอยู่ บางชื่อก็มืดแปดด้าน ครับ อิอิ

ดังนั้นงานศึกษาเกี่ยวกับอาณาจักรทางภาคใต้จึงไม่ค่อยมีตีพิมพ์กันมากเท่าไหร่ และส่วนใหญ่ก็จะเป็นการเขียนความเห็นข้อผู้ศึกษา ซึ่งแต่ละคนก็มีมุมมองต่างกัน ถ้าอ่านทุกคนก็จะเห็นได้ว่าตีความประวัติศาสตร์ของทางภาคใต้แตกต่างกันไปบ้างครับ

ผมขอสรุปพัฒนาการคร่าวๆ ของอาณาจักรบนแหลมมาลายูตามนี้นะครับ

พุทธศตวรรษที่ ๑ - ๕  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินใหม่ ถึงยุคโลหะ

พุทธศตวรรษที่ ๖ - ๑๐ สมัยกึ่งประวัติศาสตร์ เมืองท่าค้าขาย เริ่มรับอารยธรรมอินเดีย (ศาสนา วัฒนธรรม) พบร่องรอยการติดต่อกับวัฒนธรรมตะวันตก (อินเดีย อาหรับ โรมัน) และตะวันออก (จีน)

พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ สมัยแคว้นตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) และ ลังกาสุกะ (ปัตตานี) แคว้นมาลายู (มาเลเซีย)

พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๖ สมัยอาณาจักรศรีวิชัย (ชวา สุมาตรา มาเลเซีย ปัตตานี นครศรีธรรมราช)

พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ สมัยแคว้นนครศรีธรรมราช (อิทธิพลเขมร และอาจเป็นไทเผ่าหนึ่งที่เริ่มเข้ามามีอำนาจในภูมิภาคนี้)

พุทธศตวรรษที่ ๑๙ สมัยประเทศราชของอาณาจักรสุโขทัย (เริ่มรับพุทธศาสนาจากศรีลังกา)

พุทธศตวรรษที่ ๒๐ สมัยประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา

ก็ประมาณนี้นะครับ กรอบของเวลา การศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ดี จะต้องมีกรอบของเวลาไว้ก่อนครับ จากนั้นก็หาข้อมูลมาปรับแก้ตามความเหมาะสม
----------------------------------------------------------------

ตอบความเห็นที่ ๑

เรื่อง "ตำนานพระธาตุ" ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นจริงครับ ปัจจุบัน หน่วยงานราชการมักจะเอาแต่ตำนาน มาเล่าสู่ให้ประชาชนฟัง โดยไม่มีการศึกษาที่มาที่ไปของตำนานให้ละเอียด ทำให้ประชาชนบางกลุ่มเชื่อถือว่าเป็นเรื่องจริง

ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชนี้ นำเอาโครงเรื่องมาจากตำนานพระเขี้ยวแก้วของลังกาครับ เชื่อว่าแต่งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือ ๒๐ ไม่น่าเก่ากว่านั้น ตอนท้ายเรื่องก็นำเอาตำนานท้องถิ่นเกี่ยวกับราชวงศ์ที่เข้ามาครองเมืองมาต่อเติม

ส่วนการตั้งชื่อเมืองว่า "นครศรีธรรมราช" นั้น ผมเข้าใจว่า กษัตริย์ของแคว้นนี้ ต้องการดำเนินตามแบบอย่างพระเจ้าอโศกมหาราช ครับ เพราะพระองค์ทรงมีอีกพระนามว่า ศรีอโศกธรรมราช ดังนั้น ตำนานเก่าๆ จึงมักแต่งแปลงชื่อนครศรีธรรมราชเป็น "ปาฏลีบุตร" ก็มีครับ เป็นการยกเทียบกันในทางตำนานที่มักอ้างอิงถึงพุทธประวัติและชื่อเมืองในชมพูทวีป
-------------------------------------------------------

ตอบความเห็นที่ ๓

สุธรรมนคร โดยทั่วไปจะหมายถึง เมืองสะเทิม ครับ (สะเทิม = สุธรรม) แต่สาเหตุที่บางท่านสันนิษฐานว่า สุธรรมนคร คือ นครศรีธรรมราช มาจากคัมภีร์ "ชินกาลมาลีปกรณ์" และ "ตำนานมูลศาสนา" ครับ ในนั้นกล่าวถึง สงครามระหว่าง ๓ อาณาจักร ที่มียุทธภูมิอยู่ที่เมืองละโว้ จริงเท็จอย่างไรไม่ทราบ แต่ว่า ๓ อาณาจักรนี้คือ

๑ หริภุญชัย(ลำพูน)
๒ ลวปุระ (ละโว้)
๓ สุธรรมนคร

เงื่อนงำมันอยู่ที่ว่า กษัตริย์ของสุธรรมนครชื่อว่า ชวก (ชะวะกะ) ก็เลยทำให้คิดกันไปว่าคือ พวกชวา ซึ่งหมายถึง ศรีวิชัย ครับ
ก็เป็นข้อคิดเห็นนะครับ อย่างจริงจัง อิอิ

ส่วนที่ตั้งของศรีวิชัยอยู่ที่ไหน อ่านสิบเล่มก็เขียนไม่เหมือนกันครับ ก็ต้องไปหาอ่านดูแล้วเลือกพิจารณาว่า "ศรีวิชัย" ควรจะอยู่ตรงไหน ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่า เดิมอยู่ที่ "ชวา" ที่มีโบโรพุทโธ นั่นแหละครับ จากนั้น จึงมาอยู่ที่บาเล็งบังบนเกาะสุมาตรา ส่วนมาเลเซียกับภาคใต้ของไทยเป็นประเทศราชครับ
-------------------------------------------------------------

ตอบความเห็นที่ ๔

เรื่องการเข้ามาของพุทธศาสนานี้ เข้ามาได้หลายทางครับ ยังสรุปไม่ได้ เพราะว่าเข้าทางพม่าผ่านด่านเจดีย์ ๓ องค์ก็ได้ หรือ ผ่านมาจากฟูนันที่บริเวณปากแม่น้ำโขง เข้ามาแม่มูน แม่ชี ก็ได้เช่นกัน

-------------------------------------------------------------

ตอบความเห็นที่ ๕

การพิจารณาเรื่องอาณาจักรต่างๆ ก่อนอื่นต้องวางกรอบเวลาให้ชัดเจนก่อนครับ เพื่อป้องกันการสับสนยุคสมัย

จุดอ่อนของทฤษฏีศรีวิชัยอยู่ที่ ไชยา ที่เห็นชัดๆ มี ๒ ประเด็นครับ
๑. พระธาตุไชยา เล็กเกินไป ไม่น่าที่จะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรที่ได้รับการบันทึกว่ายิ่งใหญ่ ทั้งจากจีน และอาหรับ ในขณะที่โบโรพุทโธบนเกาะชวานั้นยิ่งใหญ่กว่าเป็นร้อยเท่า

๒. หลักฐานทางโบราณคดีน้อยเกินไป โดยเฉพาะศิลาจารึก เมื่อเปรียบเทียบกับหลักฐานที่พบที่เมืองบาเล็มบัง

ส่วนเรื่องเมือง ๑๒ นักษัตร ปรากฏกล่าวถึงอยู่ใน "ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช" ครับ ซึ่งเป็นช่วงท้ายๆ เรื่องแล้ว เข้าใจว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครองหัวเมืองต่างๆ ของแคว้นนครศรีธรรมราช ซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙

ส่วนเรื่องหลวงจีนนั้น เท่าที่ผมทราบ มีภิกษุจีน ๒ รูป เป็นอย่างน้อยที่เดินทางผ่านศรีวิชัย คือ สมณะฟาเหียน กับ สมณะอี้จิง (ส่วนพระถังซำจั๋ง กล่าวถึงอาณาจักรในเอเชียอาคเนย์ แต่ไม่ได้เดินทางผ่านมา)

ถ้าผมจำไม่ผิด ท่านฟาเหียนจะออกเรือจากชวา เพื่อกลับสู่ประเทศจีน แต่ท่านอี้จิงได้เข้ามาเรียนภาษาสันสกฤตที่ศรีวิชัยก่อนมุ่งหน้าไปอินเดีย ซึ่งก็จะกลับมาประเด็นที่ "ศรีวิชัย" อยู่ที่ไหน

----------------------------------------------------------

ตอบความเห็นที่ ๖

อาณาจักร หลักๆ ของอินโดเนเซียโบราณจะมีอยู่ ๒ เกาะครับ คือ สุมาตรา กับ ชวา ข้อมูลจากศิลาจารึกภาษาชวาโบราณ ทำให้เชื่อได้ว่า ศูนย์กลางอำนาจเดิมน่าอยู่ที่ชวาก่อนครับ ต่อมาจึงขยายออกไปยังเกาะอื่นๆ แต่มาเติบโตเป็นศรีวิชัยที่บาเล็งบัง (เกาะสุมตรา) เพราะว่าเป็นพื้นที่ควบคุมการค้าระหว่างช่องแคบ

พุทธสถานขนาดใหญ่ชื่อว่า โบโรพุทโธ ครับ เป็นพุทธสถานเนื่องในนิกายมหายาน

--------------------------------------------------------

ตอบความเห็นที่ ๗

อันนี้ สลับกันผมครับ อิอิ

ผมได้ยินว่า ปาเล็งบัง พบหลักฐานมากกว่าที่ไชยา โดยเฉพาะมีการขุดพบพระราชวังด้วย (อันฟังมาจากอาจารย์นะครับ ยังไม่สามารถหาหนังสือหรือบทความที่เกี่ยวข้องได้)

ส่วนเรื่องสุธรรมนคร ผมไม่เคยได้ยินว่าหมายถึง ทวารวดี เคยได้ยินแต่ว่า โดยทั่วไปคือ เมืองสะเทิม ของพวกมอญครับ

----------------------------------------------------------------

ตอบความเห็นที่ ๘

ภาษาอังกฤษ สะกดตามภาษาอินโดเนเซีย ว่า BOROBUDUR
ภาษาชวา (ภาษาถิ่นของอินโดฯ) เขียนว่า BARABUDHUR

โดยทั่วไปผมจะเจอเขียนว่า "โบโรพุทโธ" ครับ
บางท่านก็อธิบายว่าเดิมตามคำแขกน่าจะเป็น Parabuddho - ปรพุทโธ หมายถึงพระพุทธเจ้ามากมาย (แต่ผมดูในพจนานุกรมแล้ว ปร- แปลว่า อื่น เช่น ปรโลก)

อย่างไรก็ตาม อย่างคุณหนูลีเขียนว่า "บรมพุทโธ" ก็น่าสนใจครับ (Parama Buddho)

โบราณสถานแห่งนี้เป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโกครับ
 http://whc.unesco.org/pg.cfm?cid=31&id_site=592

อันนี้เป็นข้อมูลจาก วิกีเพเดีย สารานุกรมฟรีสำหรับโลกออนไลน์
 http://en.wikipedia.org/wiki/Borobudur

-------------------------------------------------------------

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์นะครับ    
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 พ.ย. 05, 19:26


คุณ Hotacunus พอทราบไหมค่ะว่าฮินดูเริ่มเข้าไปในบาหลีสมัยใด  
ก่อนหรือหลังนครธม นครวัต มากไหมค่ะ  
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 พ.ย. 05, 01:07

 ตอบคุณ Nuchan ครับ

ศาสนาฮินดูเริ่มเข้าในบริเวณเมืองท่า และหมู่เกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๖ เป็นต้นมาครับ

ในช่วงนั้นมีศาสนาหลักๆ เข้ามา ๒ ศาสนาคือ พุทธศาสนา กับ ศาสนาพราหมณ์ (หรือ ฮินดู)

แต่ว่าร่องรอยจริงๆ ที่เป็นรูปธรรม เช่น เทวรูป และศาสนสถาน เริ่มมีให้เห็นราวพุทธตวรรษที่ ๑๑ เป็นต้นมาครับ

ส่วนนครวัดมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และนครธม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ครับ

ดังนั้นอาจตอบได้ว่า ศาสนาฮินดูเข้ามาตั้งมั่นในบาหลีมากว่า ๑๐๐๐ ปีมาแล้วครับ เป็นอย่างน้อย
บันทึกการเข้า
ครู...ชิต
อสุรผัด
*
ตอบ: 47

TEACHER IN SISAKET ,S AREA 2 EDUCATION OFFICE


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 พ.ย. 05, 16:45

 กล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ (Tambraling)

ในจดหมายเหตุของจีนเรียกว่า ตัน-มา-ลิง (Tan-ma-ling)ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อตั้งเมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 เคยตกเป็นเมืองขึ้นอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรศรีวิชัย และศรีวิชัยก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของโจฬะของอินเดียประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 รวมทั้งเขตภาคใต้ปัจจุบันของไทยด้วย จึงเป็นศูนย์กลางทางอำนาจของโจฬะด้วย ทำให้นครศรีธรรมราชมีอำนาจปกครองทั่วคาบสมุทรในขณะนั้นไปด้วยเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 พ.ย. 05, 20:09

 ขอบคุณ คุณ Hotacunus ค่ะ เคยอ่านข้อเขียนของคุณที่บอร์ด S. Anthro Center
คุณตอบได้ละเอียดดีจังเลย ขอถามอีกหน่อยค่ะ

1. ทำไมสถูปที่บาหลี ถึงมีเค้าเก๋งจีนหรือเก๋งญี่ปุ่นผสมล่ะคะ ดิฉันพยายาม link
อารยธรรมแต่มองไม่เห็นค่ะ

2. ดิฉันเคยดูสารคดีเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ของต่างชาติ เป็นเณรกำลังสาดน้ำ
พูดภาษาที่คล้ายภาษาไทยมาก ฟังพอรู้เรื่อง แต่ลืมไปแล้วค่ะว่าที่ไหน เอาเป็นว่าขณะนี้นอกประเทศไทย
ที่ใดยังมีกลุ่มชนที่พูดภาษาใกล้เคียงภาษาไทยคะ ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 พ.ย. 05, 21:59

 เห็นพี่ Nuchan เข้ามาถามแล้ว ผมเลยขออนุญาตถามพี่ Hotacunus เพิ่มอีกหน่อยด้วยแล้วกันครับ

เรื่องแรก จำได้ว่าเคยอ่านเรื่อง Spirit Boat ที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งมีผู้อ้างถึงวัฒนธรรมของหมู่เกาะในคาบสมุทรมลายูด้วย ว่าเป็นเรื่องเดียวกันแต่ก็มีผู้ไม่เห็นด้วย ถามความเห็นพี่ Hotacunus เรื่องนี้เรื่องแรกครับ

ส่วนเรื่องที่สอง ผมเคยเห็นผ้าทอจากแถบนี้จำนวนหนึ่งมีหน้าตาคล้ายกับผ้าที่มาจากเกาะไหหลำมาก ทั้งสี ลาย และวิธีนุ่ง อยากถามความเห็นพี่ในเรื่องนี้ด้วยครับว่าเป็นไปได้มั้ยครับ ที่วัฒนธรรมจากทั้ง2ที่จะมีเค้าโครงร่วมกันหนะครับ

เท่านี้แล้วกันครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง