superboy
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 08 ส.ค. 16, 19:57
|
|
นักเขียนที่มีผลงานแปลในไทยเยอะแยะมากมาย หลายเรื่องถูกสร้างเป็นละครแต่แทบไม่มีใครจำชื่อเธอได้ อ่านแล้วเศร้าจัง เมื่อวานยังไม่เศร้าเลยนะ
เหมือนผมจะเคยดูภาพยนต์ดรรชนีนางนะครับ หวังว่าจะไม่จำสลับกับเรื่องอุกาฟ้าเหลืองซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกัน (คือเด็กมากจนแทบจำอะไรไม่ได้เลย)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 08 ส.ค. 16, 20:49
|
|
มารี คอเรลลี่ ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Jalito
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 01:10
|
|
คุณ ส.อาสนจินดา เคยรับบท เคานท์ฟาบีโอ โรมานี ในละคร ความพยาบาท ยุคแรกๆของละครโทรทัศน์ ที่ช่อง 4 บางขุนพรหม สยองมากๆ(อารมณ์เด็ก)ตอนที่ท่านเคานท์ฟื้นขึ้นมาในสุสาน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 09:18
|
|
หน้าปก "ค่าของคน" มาลัย ชูพินิจ ถอดความจากเรื่อง THE SORROW OF SATAN ของ แมรี่ คอเรลลิ สำนักพิมพ์ เกษมบรรณกิจ พิมพ์ครั้งที่ ๓ ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๔ น่าสนใจมาก เนื้อเรื่องเป็นอย่างไรคะ คุณเพ็ญชมพู เรื่องแปลน่าจะมีเนื้อเรื่องตรงกับต้นฉบับ เฉกเช่นเรื่อง "ขุนคลัง" ของอมราวดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 09:28
|
|
เคานท์ฟาบีโอ โรมานี ในละคร ความพยาบาท ความพยาบาท ฉบับภาษาอังกฤษหรือที่มีชื่อเต็มว่า Vendetta! Or the Story of One Forgotten (โปรดสังเกตว่า นักประพันธ์ได้ใส่เครื่องหมาย “อัศเจรีย์” ไว้หลังชื่อด้วย) นวนิยายที่แต่งโดยนักประพันธ์สตรีชื่อ มารี คอเรลลีนี้ วางตลาดในอังกฤษเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นนวนิยายเรื่องที่สองของเธอ และส่งชื่อเสียงของเธอให้โด่งดังขึ้น หลังจากนวนิยายเรื่องแรกคือ A Romance in Two Worlds ประสบผลสำเร็จในฐานะนวนิยายของนักเขียนหน้าใหม่มาแล้ว
สิบสี่ปีหลังจาก Vendetta! ออกวางตลาดเป็นครั้งแรก นักเรียนไทยคนหนึ่งซึ่งเคยไปเรียนที่อังกฤษ และมีความรู้ทางภาษาอังกฤษอย่างแตกฉาน ก็นำเรื่องนี้มาแปลเป็นไทยเป็นครั้งแรก นักเรียนไทยคนนั้นคือ พระยาสุรินทราชา หรือ “แม่วัน”
“แม่วัน” แปลเรื่องนี้ด้วยภาษาสมัยใหม่ ไพเราะ ได้อรรถรส ได้อารมณ์สะเทือนใจอย่างดีเยี่ยม แต่ว่าท่านไม่ได้แปลหมดทั้งเรื่อง คงแปลเฉพาะเนื้อเรื่องอันเป็นหัวใจสำคัญ การตัดรายละเอียดที่ท่านอาจจะเห็นว่าไม่จำเป็น หรือไม่เป็นที่เข้าใจของคนไทยในสมัยนั้นออกเสีย
ส่วนที่ท่านตัดออก คือเนื้อหาการสะท้อนสังคม และการวิจารณ์สังคมอังกฤษ-อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้......
เธอวิจารณ์ความเสื่อมศีลธรรมของผู้ดีชั้นสูงชาวอังกฤษ โดยเฉพาะเรื่องมากชู้หลายเมีย และตำหนิความเหลวแหลกของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ตลอดจนความบกพร่องของกฎหมายอังกฤษ ที่อนุญาตให้ภรรยาผู้นอกใจสามีได้หย่าร้างกับสามีง่ายๆ ไม่ได้รับโทษทัณฑ์อย่างใดมากกว่านั้น
เหตุผลที่ว่า “แม่วัน” ตัดบทวิพากษ์วิจารณ์ในส่วนนี้ออกไปหมด ผู้เขียนเห็นว่าคงจะเป็นเพราะว่าท่านเห็นว่าเป็นรายละเอียดปลีกย่อยของเรื่อง ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อเรื่องโดยตรง และอีกอย่างหนึ่งสังคมอังกฤษหรือสังคมฝรั่งใดๆในสมัยนั้นย่อมเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความเข้าใจของคนในสมัยที่ท่านแปลหนังสือออกมาให้อ่าน ในเมื่อสังคมไทยสมัยนั้นมีนักเรียนนอกที่รู้จักสังคมฝรั่งอยู่นับคนถ้วนและมีผู้อ่านที่อ่านหนังสืออย่าง “ลักวิทยา” หรือ “ทวีปัญญา” อยู่เพียงกลุ่มเล็กๆกลุ่มเดียว
ท่านจึงแปลเฉพาะเนื้อเรื่องส่วนที่เกี่ยวกับชีวิตของเคานต์ฟาบีโอ โรมานี ซึ่งก็ได้อรรถรสครบถ้วนในส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญของเรื่อง และเป็นวรรณกรรมร้อยแก้วที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์เรื่องหนึ่งจนกระทั่งถึงปัจจุบัน หากต้องการอ่าน "ความพยาบาท" ฉบับแปลที่ไม่มีการตัดทอน แนะนำให้อ่านของ ว.วินิจฉัยกุล 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 09:54
|
|
ใครคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 10:28
|
|
ว.วินิจฉัยกุล เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ ผลงานของมารี คอลเรลลี คนหนึ่ง ได้ทำวิจัยเรื่อง "อิทธิพลของมารี คอลเรลลีต่อวรรณกรรมไทย" ขณะเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้ย่อยเป็นบทความ ลงพิมพ์ในวารสารครบรอบ ๑๕ ปี ของคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 10:43
|
|
อ้อ อย่างนี้นี่เอง ขอบคุณค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 13:46
|
|
ป้ายหน้าบ้านของ มารี คอเรลลี ที่ Church Street เมือง Stratford upon Avon (เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณวิกกี้)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 14:03
|
|
ป้ายหน้าบ้านถูกเปลี่ยนใหม่แล้ว ใช้ถ้อยคำที่ให้เกียรติเธอมากขึ้นหน่อย สมัยที่ดิฉันไปถึงบ้านเธอ ยังเป็นป้ายอันเก่า ที่ดูไม่อินังขังขอบเจ้าของบ้านเดิมเท่าไหร่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 14:06
|
|
บ้านนี้ชื่อ Mason Croft (เมสัน ครอฟต์) เคยเป็นบ้านหลังงามที่สุดในเมือง ด้านหลังมีเนื้อที่สนามกว้างขวาง มีเรือนกระจก และหอคอยจำลองแบบยุคศตวรรษที่ 15 เรียกว่า Elizabethan tower มารีใช้เป็นที่เขียนหนังสือ ปัจจุบันก็ยังอยู่ แต่ปิดร้าง
ภาพนี้ถ่ายสมัยเธอยังเป็นเจ้าของบ้าน ตอนต้นศตวรรษที่ 20
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 14:08
|
|
ปัจจุบันเป็น Shakespeare Institute สถานศึกษาเรื่องราวบทละครของเชคสเปียร์ ประจำเมืองสแตรทฟอร์ด เข้าไปข้างใน บรรยากาศแห้งแล้งเหมือนโรงเรียนเก่าๆสักแห่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 14:10
|
|
หอคอยที่เธอใช้เป็นห้องเขียนหนังสือ อยู่ในสนามหลังบ้านค่ะ ทุกวันนี้ก็ยังอยู่ แต่ไม่มีไม้เลื้อย เป็นหอคอยเปล่าๆ แห้งแล้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 14:20
|
|
นี่คือหลุมฝังศพของมารี คอเรลลี่ในเมืองสแตรทฟอร์ด สร้างอย่างสวยงามโดยเพื่อนรักที่เป็นทายาทมรดกของเธอด้วย ประดับรูปสลักหินอ่อนทูตสวรรค์ ในท่าบ่งถึงชัยชนะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|