Anonymous
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 02 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ต้นไม้ประจำถิ่นทวีปต่างๆ ๗ ชนิด คือ ปาตลี สิมฺพลี ชมฺพู ปาริฉตฺตก กทมฺพ กปฺปรุกฺข สิรีส นั้นเป็น "ทิพยพฤกษ์" (ต้นไม้ทิพย์)
ชื่อต้นไม้ทิพย์เหล่านี้พ้องกับชื่อต้นไม้ธรรมดาในโลกมนุษย์ด้วย--ซึ่งก็คือต้นแคฝอย ต้นงิ้ว ต้นหว้า ต้นทองหลาง ต้นกระทุ่ม ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นซึก(หรือจามจุรี) ตามลำดับ นั่นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แหวน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00
|
|
อยากทราบว่าพญาครุฑมีลูกมีเมียหรือเปล่าคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00
|
|
น่าจะมีครับ ครุฑตัวที่ไปลักนางกากี มีเมียเป็นนางกากีแน่ๆ คงไม่ลักมาดูเล่นเฉยๆ หรอก ตอนกระทำการเป็นผัวเมียกันบทอัศจรรย์ได้อารมณ์มากครับ ผมจำได้แค่ "ครุฑพะวงหลงลืมสระอโนดาต..." เท่านั้น เพราะเจอสระอื่นที่น่าเล่นกว่า (สระพระนุชเนื้อเกลี้ยง อาบโอ้ เอา... ใจ อ้าว - ผิดเรื่องครับ) คุณ Anonymous ว่า ครุฑตัวเมียเรียก ครุฑี หรือสุบรรณี ก็คงจะเป็นเมียครุฑตามปกติแหละครับ ที่จะได้นางมนุษย์อย่างกากีมาเป็นเมียคงเป็นเรื่องนานทีมีหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แหวน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 06 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ขอบคุณค่ะคุณนกข. พอจะทราบชื่อลูกเมียพญาครุฑนอกจากนางกากีบ้างไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฟ้า-เวอร์ริเดียน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ครุฑเป็นสัตว์ในตำนานทั้งของสันสกฤตและไทย (ซึ่งมาจากพุทธศาสนา) ครุฑในตำนานสันสกฤตมีเพียงตัวเดียวชื่อว่าเวนไตย แปลว่า เกิดแต่นางวินตา ครุฑเวนไตยเป็นลูกของพระกัศยปะกับนางวินตา ครุฑเวนไตยมีฤทธิ์มากถึงขนาดที่พระอัคนีเอ่ยปากว่ามีฤทธิ์มากเสมอพระองค์ เวนไตยได้รับชื่อใหม่ว่า "ครุฑ" เมื่อครั้งที่เดินทางไปนำน้ำอมฤตมาให้เหล่านาคเพื่อแลกกับความ เป็นไทของแม่ (วินตา) ตำนานเล่าว่าขณะเดินทางครุฑเวนไตยได้พบเต่ากับช้างกำลังต่อสู้กัน จึงใช้ตีนคีบสัตว์ทั้งสองแล้วบินมาเกาะบนต้นไม้ใหญ่ แต่น้ำหนักของสัตว์ทั้งสามมากเกินไปทำให้กิ่งไม้หัก บังเอิญกิ่งไม้ที่หักเป็นกิ่งที่มีพราหมณ์กำลังนั่งร่ายพระเวทอยู่ ครุฑเวนไตยเห็นดังนั้นจึงใช้จะงอยปากคาบกิ่งไม้และใช้ตีนคีบเต่าและช้าง แล้วค่อยๆวางกิ่งไม้ลงบนพื้นดิน จึงสามารถช่วยชีวิตพราหมณ์ไว้ได้ เมื่อช่วยพราหมณ์เรียบรร้อยแล้วครุฑจึงหันมากินเต่าและช้างเป็นอาหาร พราหมณ์พอใจในการกระทำของเวนไตยจึงเรียกเวนไตยว่า "ครุฑ" หมายถึง ผู้แบกรับภาระหนัก นอกจากนี้ ครุฑเวนไตยยังเคยต่อสู้กับพระนารายณ์แต่ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ในที่สุดพระนารายณ์ได้ประทานพรแก่ครุฑเวนไตย 2 ข้อ ข้อแรกครุฑเวนไตยขอให้ตนเป็นอมตะแม้จะไม่ได้ดื่มน้ำอมฤต ส่วนข้อสองขอให้ตนได้อยู่เหนือพระนารายณ์ ทั้งยังแสดงความอหังการโดยประกาศว่าตนจะถวายพรแด่พระนารายณ์ 1 ข้อ ซึ่งพระนารายณ์ขอว่าให้ครุฑเวนไตยเป็นพาหนะทรงของพระองค์ สุดท้ายก็ตกลงกันได้ว่าในเวลาปรกติพระนารายณ์ จะให้ครุฑเวนไตยอยู่บนยอดธงของพระองค์ ซึ่งครุฑเวนไตยก็จะได้อยู่สูงกว่าพระนารายณ์ตามที่ขอพร แต่ในเวลาที่พระนารายณ์จะเสด็จไปที่ใดก็ตามครุฑเวนไตยก็จะต้องมาเป็นพาหนะทรงของพระองค์ ดังนั้นรูปครุฑที่ปรากฏบนผืนธงสีเหลืองที่ประดับบริเวณที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็คือรูปครุฑเวนไตย ทั้งนี้เป็นไปตามคติที่ว่าในยามปรกติครุฑจะอยู่สูงกว่าพระนารายณ์ (ไทยมีความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นองค์นารายณ์อวตาร) ในทำนองเดียวกับรูปครุฑบนธงเหลืองที่ติดอยู่หน้ารถยนต์พระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ เป็นไปตามคติที่ว่าในยามพระนารายณ์เสด็จ ครุฑจะต้องมาเป็นพาหนะทรงนั่นเอง ส่วน รูปครุฑที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของทางราชการก็น่าจะหมายถึงครุฑเวนไตยตัวเดียวกันนี้เอง ครุฑในตำนานพุทธศาสนามิได้มีเพียงตัวเดียวเหมือนในตำนานสันสกฤต ครุฑในตำนานพุทธศาสนามีอยู่จำนวนมากดังที่ไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวไว้ชัดเจนว่าในดินแดนของครุฑ มีทั้งครุฑที่มีขนาดใหญ่อย่างธรรมดา (จำไม่ได้ว่ากว้างกี่โยชน์) และครุฑที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติซึ่งเรียกว่าพญาครุฑ นอกจากนี้ทั้งในไตรภูมิพระร่วงและในคัมภีร์โลกสันฐานและในชาดก (ชื่ออะไรนึกไม่ออกค่ะ) กล่าวถึงที่อยู่ของครุฑไว้ในทำนองเดียวกันคือ อยู่บริเวณป่างิ้วใต้เขาพระ สุเมรุในชาดกกล่าวไว้ชัดเจนว่าเขาพระสุเมรุมี 5 ขั้น ขั้นแรกซึ่งอยู่ติดทะเลเป็นที่อยู่ของพวกนาค ขั้นที่ 2 เป็นที่อยู่ของครุฑ 3 เป็นของกุมภัณฑ์ 4 เป็นของยักษ์ และ 5 เป็นสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิก ซึ่งเป็นที่อยู่ของจตุโลกบาล (ทั้งนี้เข้าใจว่านับเฉพาะส่วนที่ตำกว่ายอดเขา เพราะบริเวณยอดเขาพระสุเมรุก็เป็นที่ตั้งของสวรรค์ดาวดึงส์ของพระอินทร์และมีสวรรค์ชั้นต่างๆอยู่สูงขึ้นไปตามลำดับ) ดังนั้นจะเห็นว่าช่างไทยนิยมทำรูปครุฑแบกเขาพระสุเมรุ โดยมีนาคอยู่ใกล้ๆ พญาครุฑในเรื่องกากีน่าจะเป็นครุฑไทย เป็นคนละตัวกับครุฑบนผืนธง ที่สันนิษฐานเช่นนี้มีเหตุผล 2 ประการคือ 1. พญาครุฑในเรื่องกากีได้พานางมาหาความสุขในวิมานฉิมพลี หรือวิมานต้นงิ้ว ซึ่งเป็นที่อยู่ของครุฑไทย เพราะครุฑเวนไตย ไม่มีที่อยู่แน่นอน ต้องย้ายตามพระนารายณ์ 2.เรื่องกากีมาจากชาดกเรื่องกากาติชาดกซึ่งเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาสายบาลีไม่ใช่สายสันสกฤต เรื่องลูกเมียของครุฑนั้นก็จำเป็นต้องแยกกล่าวคือ ครุฑเวนไตยมีเมียชื่ออะไรจำไม่ได้ค่ะ แต่มีลูกชื่อคุ้นมากคือ นกสัมปาตี หรือสัมพาที หรือนกชฎายุ หรือสดายุ ส่วนครุฑไทยไม่ค่อยมีบทบาทนักและมีหลายตัวจึงไม่ทราบว่าแต่ละตัวมีลูกเมียชื่ออะไรกันบ้าง แต่เท่าที่ทราบก็มีชื่อกากีด้วยแน่ๆค่ะ
แหล่งอ้างดิง ครุฑ ของ ส.พลายน้อย สัตว์หิมพานต์ ของ ส.พลายน้อย บทความเรื่อง "เขาพระสุเมรุ" ของ ผ.ศ.ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฟ้า-เวอร์ริเดียน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ขอเพิ่มเติมอีกนิดค่ะ เพิ่งได้อ่านรายละเอียด ที่คุณเทาชมพูเขียนไว้ช่วงต้นๆว่าในเรื่องกากี พญาครุฑก็ชื่อเวนไตยด้วย ดิฉันขอสันนิษฐานว่าเป็นการนำชื่อครุฑ "เวนไตย" มาจากตำนานของสันสกฤต มาผสมกับลักษณะของครุฑตามแบบไทย ซึ่งสุดท้ายก็ทำให้ได้ครุฑแบบผสมผสาน คือ เป็นครุฑของไทยแต่ชื่อดันไปเปํนสันสกฤตค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ขอบคุณมากนะคะ คุณฟ้า-เวอร์ริเดียน ที่ช่วยอธิบายอย่างละเอียด อ่านเพลินไปเลย ขออีกข้อ ...อย่าเพิ่งว่ากันนะ ถ้าพอมีเวลาว่าง ช่วยไปตอบกระทู้ที่ ๘๗ เรื่องที่มาของมหาเวสสันดรชาดกให้คุณฟ้าใส (แบบย่อๆ) หน่อยค่ะ เธอรออยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ผมจำได้ว่าพญานกทั้งสองชื่อที่คุณฟ้าฯ เล่าว่าเป็นลูกของพญาครุฑ มีบทบาทอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ จำไม่ได้แล้วครับว่าเป็นนญาสัมพาที หรือนกสดายุ รู้สึกว่าจะเป็นตอนทศพักตร์ลักสีดาขึ้นรถทรงเหาะไปลงกา เจอพญานกตัวนี้เข้ามาขวาง เลยถูกทศกัณฑ์ขว้างด้วยแหวนของนางสีดา นอนเจ็บรอจนพระรามตามมาจึงได้ทูลแจ้งเรื่องราว ถวายแหวน ชี้ทางให้ แล้วก็ตาย เรื่องอื่นๆ ก็เข้าใจว่าอาจจะมีอีก เพราะชื่อคุ้นมากจริงๆ ปักษาวายุภักษ์ ที่เป็นตรากระทรวงการคลัง เป็นญาติทางไหนกับครุฑหรือเปล่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ขอบคุณคุณฟ้าฯมากค่ะ มาอ่านเพลินไปด้วยคน เคยคิดอยู่เหมือนกันค่ะ ว่าการเรียว่า พญาครุฑเวนไตย นี่ ดูเหมือนต้องการเจาะจงลงไปว่า เป็นครุฑตนนี้ไม่ใช่ตนไหน ถ้าอย่างนั้นก็คงต้องมีตนอื่นๆด้วยล่ะซี ไม่งั้นถ้ามีตนเดียว เรียก ครุฑ เฉยๆก็คงเป็นอันรู้กัน ย่อได้ใจความดีมากเลยค่ะ อ่านแล้วแจ้งใจไปเลย
เอ แล้วชื่อ สหัสดายุ นี่มีตัวตนหรือเปล่าคะ ไปเอามาจากไหนไม่ทราบ ขออภัยถ้านอกเรื่องไปนะคะ ดิฉันนี่ความจำชักแย่ :-)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00
|
|
เอาบทพรรณนาในกากีคำกลอนของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) มาฝากคุณ นกข. จากข้อ ๑๗ ค่ะ ดิฉันว่าเป็นการพรรณนา erotic love ที่ขึ้นถึงขั้นศิลปะ แสดงฝีมือเจ้าพระยาพระคลังไว้ชัดกว่าเรื่องอื่นๆของท่าน และยากจะหากวีคนไหนเล่นได้ทำนองนี้ ถ้าลองเทียบกับวรรณคดียุคเดียวกันอย่างรามเกียรติ์ จะเห็นว่ารามเกียรติ์จืดไปเลย
ครุฑลืมลงเล่นอโนดาต........วรนาฏลืมมิ่งมไหศวรรย์ ครุฑลืมลงเล่นสัตภัณฑ์.........สุดาจันทร์ลืมกษัตริย์ภัสดา ครุฑลืมร่อนเล่นพโยมบน......นฤมลลืมสนมสนิทหน้า ครุฑลืมไล่คาบนาคา.............กัลยาลืมเล่นอุทยาน ครุฑหลงชมทรงสมรชื่น......นางหลงรื่นรสทิพปักษาศาล ครุฑระเริงหลงเชิงยุพาพาล...เยาวมาลย์หลงเล่ห์ประหลาดโลม ครุฑหลงหลิ่นแก้วขจรรื่น......นางหลงชื่นรสทิพอันเฉิดโฉม ครุฑหลงกระบวนชวนตระโบม.....นางหลงโสมนัสในสกุณา
เสาร์อาทิตย์คุณฟ้าเวอร์ริเดียนเข้ามาเล่นไม่ได้ แต่ฝากข้อความให้ดิฉันมาตอบเรื่องชายาครุฑ และที่อยู่ของครุฑ ว่า ครุฑมีชายาชื่อ อุนนติ หรือวินายกา ข้อนี้มาจากวรรณคดีสันสกฤต ส่วนที่อยู่ของครุฑบรรยายไว้ใน "ไตรภูมิพระร่วง" เล่าว่าที่ตีนเขาพระสุเมรุ มีสระใหญ่ชื่อสิมพลีสระ กว้าง ๕๐๐ โยชน์ ล้อมรอบด้วยป่าไม้งิ้ว( ถึงได้ชื่อว่าสระสิมพลี ซึ่งแปลว่าไม้งิ้ว) ต้นงิ้วเหล่านี้สูงเท่ากันดังตั้งใจปลูก ไม้งิ้วเหล่านี้เป็นที่อยู่ของฝูงครุฑ สรุปแล้วก็คือครุฑมีหลายตัว อยู่กันเป็นฝูง เมื่อมีครุฑตัวผู้ มีครุฑี คือนางครุฑ ก็คงมีลูกครุฑเป็นธรรมดา แต่ชื่ออะไรไม่มีรายละเอียดบอกไว้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แหวน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ขอบคุณค่ะ ชายาครุฑชื่อเหมือนชายาพระคเณศเลย คนเดียวกันหรือเปล่าคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บอกไป
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 07 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ลูกของพญาครุฑที่เข้าไปขวางทศกัณฑ์ตอนที่กำลังลักพานางสีดาชื่อสดายุครับ เป็นน้องของสัมพาที
วายุภักษ์แค่มีเท้าเหมือนครุฑเพราะมีพ่อเป็นยักษ์มีแม่เป็นนก แต่ไม่ได้เป็นญาติกับครุฑครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 08 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ขอบคุณครับ จำได้ว่าเคยอ่าน ดูเหมือนจะเป็นอาจารย์คึกฤทธิ์ หรือใครก็ลืมไปแล้ว ที่ตั้งข้อสังเกตว่าการกำหนดให้ปักษาวายุภักษ์เป็นตราประจำกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ หรือต่อมาเป็นกระทรวงการคลัง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสมบัติของราชการนั้น เหมาะสมมาก เพราะนกชนิดนี้ "กินแต่ลม" ครับ รับรองไม่มีโกงกินอย่างอื่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฟ้า-เวอร์ริเดียน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 10 ต.ค. 00, 00:00
|
|
จากข้อ 25 ค่ะ ไม่แน่ใจว่าอ่านคนละตำนานรึเปล่านะคะ ดิฉันยังไม่เคยทราบเรื่องที่พระคเณศมีชายาชื่ออุนนติมาก่อนเลยค่ะ ที่คุณแหวนเขียนมาเล่าจึงเป็นความรู้ใหม่มาก ส่วนชื่อวินายกานั้นน่าสนใจเพราะพระคเณศเองก็มีชื่อมากมาย ชื่อหนึ่งก็คือพระวินายก แต่เอาเป็นว่าขอเล่าที่ดิฉันได้อ่านและทราบแน่ๆก็คือ พระคเณศมีชายา 2 องค์ชื่อว่าพุทธิ (ความรู้แจ้ง ปัญญา) และสิทธิ (ความสำเร็จ) และมีลูก 2 องค์เช่นกันชื่อว่า เกษมและลาภ เพราะฉะนั้นเราจึงนับถือกันว่าพระคเณศเป็นเทพเจ้าแห่งวิทยาการทั้งปวง และเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ทั้งนี้ก็คงจะเป็นเพราะทรงเป็นพระสวามี (แปลว่าผู้เป็นใหญ่) ของนางพุทธิกับสิทธินั่นเองค่ะ
ดิฉันจะพยายามไปหาที่คุณแหวนบอกค่ะ หาเจอเมื่อไหร่จะรีบเขียนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แหวน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 10 ต.ค. 00, 00:00
|
|
เคยอ่านเจอว่าชายาพระคเณศชื่อวินายิกาค่ะ วินายิกาคงเป็นคำเรียกชายาทั่ว ๆ ไปของพระวินายกหรือพระคเณศกระมังคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|