เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5963 เพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงหนัง
หนอนอ้วน
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 20 ต.ค. 00, 12:00

ชาวต่างชาติเขาจะงงมากเมื่อมาดูหนังในเมืองไทย ทำให้อยากรู้สาเหตุของการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงหนัง และเริ่มขึ้นเมื่อไหร่คะ  
บันทึกการเข้า
โอ๊ท
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ก.ย. 00, 00:00

จริงด้วยครับ เมื่อก่อนก็อ๋อ เพราะพอเพลงจบก็จะได้ดูหนังจริง
แต่เดี๋ยวนี้เพลงจบก็ยังมีหนังตัวอย่าง อีกอันสองอัน โผล่มาแทรกซะอีกนี่
เอะ ยังไง?
บันทึกการเข้า
GSX
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 ก.ย. 00, 00:00

เคยได้ยินมา2อย่าง อย่างแรกคือสมัยก่อนเวลาจะมีมหรสพแสดงต้องบรรเลงเพลงสรรเสริญฯ ก่อนให้คนทำความเคารพและให้คนรู้ว่ามหรสพกำลังจะเริ่ม
อีกอย่างที่ได้ยินมาคือสมัยจอมพล ป. เป็นนายกแกจะฉายรูปแกก่อนหนังฉายเหมือนที่ มุโสลินี เผด็จการแห่งอิตาลีทำ หลังจากนั้นตอนหลังจึงเปลี่ยนเป็น พระบรมฉายาลักษณ์แทน รูปท่านจอมพล
อันนี้ไม่รู้อันไหนจริงอันไหนเท็จ รอผู้รู้มาตอบดีกว่าเดี๋ยวโดนหาว่ามั่ว
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ก.ย. 00, 00:00

รู้สึกว่าจะเป็นอย่างหลังที่คุณ GSX บอกมาครับ เพราะถ้าจำไม่ผิดในหนังสือสารคดีฉบับเรื่อง 100 ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ ก็มีบางตอนเขียนถึงอยู่เหมือนกัน แต่เท่าที่จำได้มีอยู่ช่วงนึงก่อนหน้านี้นานมากแล้วที่โรงหนังจะบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีพร้อมพระบรมฉายาลักษณ์หลังจากที่ภาพยนต์เลิกแล้วนะครับ ครั้งนั้นจำได้ว่าไปดูหนังเรื่อง "JAWS" ที่พาราเมาท์ ถนนเพชรบุรี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ก.ย. 00, 00:00

มาทวนความหลังค่ะ มั่วหน่อยก็คงไม่ถือสา
เมื่อตอนเด็กๆ จำได้ว่ามีเพลงและพระบรมฉายาลักษณ์ขึ้นตอนหนังจบ  ส่วนใหญ่จะยืนจนจบ  แต่น่าเกลียดมากคือเห็น ๒-๓ คน เดินออกจากโรงก่อนจบ หรือพอหนัง The End ก็ลุกเดินอ้าวออกไปเลย
ต่อมาถึงเปลี่ยนเป็นตอนต้นก่อนหนังฉาย
และเคยอ่านพบว่า มีอยู่สมัยหนึ่ง ตัดทอนเพลงสรรเสริญพระบารมีให้สั้นมาก (จำไม่ได้ว่าสมัยจอมพล ป. หรือเปล่า) คือพอเริ่ม ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน นบพระภูมิบาล บุญดิเรก
แล้วก็ผ่านไปถึงตอนจบ  ดุจะถวายชัย ชโย เลยค่ะ
บันทึกการเข้า
อรรถ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 ก.ย. 00, 00:00

สรุปว่าที่มีอยู่นี่ก็เพราะ มีกันมานานแล้ว เป็นประเพณีว่างั้นเถอะครับ
โรงไหนไม่มีก็ไม่ผิดกฏหมาย (เอ๋ หรือว่าผิด?) แต่จะโดนตำหนิได้
บันทึกการเข้า
หนอนอ้วน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 ก.ย. 00, 00:00

เอ แล้วยังไงเนี่ยะคะ สรุปว่าก็ยังไม่รู้ว่าทำไมถึงมีใช่หรือเปล่า รบกวนลุงแก่เข้ามาไขข้อข้องใจหลานๆ หน่อยค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ต.ค. 00, 00:00

เรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงหนัง ผมเกิดทันยุคมีตอนหนังจบครับ ไม่ใช่ตอนหนังจะเริ่มเหมือนสมัยนี้
ผมเข้าใจว่า สมัยก่อนที่ยังมีงานราตรีลีลาศ บอลรูม เต้นรำ เพลงสุดท้ายที่วงดนตรีจะบรรเลงปิดงานก็เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีเหมือนกัน (เคยได้ฟังเรื่องน่ารักของขี้เมารุ่นคุณปู่ ที่ว่า สมัยโน้นแม้แต่ขี้เมาที่กินเหล้าเข้าไปแล้วทำท่าจะอาละวาดชกต่อยกัน พอเพลง "ข่าวอร์" ขึ้น ก็สะง่อกสะแง่กยืนตรงเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีจนจบเพลง แล้วเลยต่างคนต่างกลับบ้าน ไม่ทันได้ชกกันจริงๆ)
ในโรงละครก็เข้าใจว่าเช่นเดียวกัน คือเป็นเพลงสุดท้ายเมื่อละครแสดงจบ
สมัยจอมพล ป. มีการฉายรูปท่านผู้นำในโรงมหรสพจริงๆ แต่ผมไม่แน่ใจว่า มีการฉายรูป "ท่านผู้นำ" ก่อน และต่อมาเปลี่ยนเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี หรือว่าที่จริงมีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในงานมหรสพมาก่อนยุคจอมพล ป. แล้ว
เรื่องประวัติการมีธรรมเนียมนี้ คงต้องรอท่านผู้รู้จริงมาอธิบายครับ
ยืนยันได้อีกอย่างว่าประกาศ รัฐนิยมฉบับหนึ่งในสมัยนั้น (ที่จริงผมควรจะเขียน "รัถนิยม") กำหนดเพลงสรรเสริญพระบารมีใหม่ ตัดตอนย่ยย่อลงไปจริงๆ ใครมีประกาศรัถนิยมอยู่ใกล้ตัวก็ลองตรวจสอบดูได้ครับ
ฝรั่งที่มาดูหนังเมืองไทย ถ้าเป็นฝรั่งดีๆ เขาก็ไม่น่าจะแปลกใจอะไรครับ เขาควรจะเข้าใจว่าธรรมเนียมแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ถ้าเขาเป็นฝรั่งอเมริกัน เขาน่าจะยิ่งเข้าใจ เพราะของเขาก็มีธรรมเนียมประหลาดที่ไม่มีที่ไหนอีกในโลกเหมือนกัน คือการร้องเพลงชาติของเขาทุกครั้งที่มีการแข่งกีฬา ทุกสนาม ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติลงไปถึงระดับโรงเรียนประถมเหมือนกัน เทียบกันได้ครับ เพลงชาติก่อนดูเกมกีฬา กับเพลงสรรเสริญฯ ในโรงหนัง ไม่แปลก
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ต.ค. 00, 00:00

อ้อ คำว่า ข่าวอร์ ที่เป็นคำเรียกเพลงสรรเสริญพระบารมีนี่ไม่ใช่ศัพท์ของผมนะครับ เป็นของครูอบ ไชยวสุ "ฮิวเมอริสต์"  เขียนไว้นานแล้ว ตามเสียงร้องเพลงนี้ 2 คำแรกน่ะครับ ผมคิดว่าครูอบท่านไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่อะไร เพียงแต่ล้อเลียนเสียงคนร้องเพลงนี้สมัยก่อนเท่านั้นเอง (เวอร์ชั่นสมัยนี้ร้องได้ถูกวรรณยุกต์ขึ้นแล้วเป็น "ข้า-" วรพุทธเจ้า ... แต่แต่ก่อนนี้ คำแรกเขาร้องกันลงเสียงเอกครับ)
บันทึกการเข้า
แก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 ต.ค. 00, 00:00

อันที่จริงเพลงข่าวอน่ะร้องเหน่อทั้งเพลงน่ะแหละ เช่น คำว่า"มโน" ก็ออกเสียงว่า"หมะ-โน" คำว่า "นบ"ซึ่งควรจะเป็นเสียงตรีก็ออกเป็นเสียงสามัญ คำว่า"ภูมิบาล"ก็ร้องว่า"พู-มิ-บ่าน" เหน่อไปจนจบเพลงเลย ตอนเด็กๆก็ไม่รู้สึกเท่าไหร่ ร้องไปปาวๆ แต่พอนึกได้แล้วก็ขำ โดยเฉพาะเมื่อร้องคำว่า"จักรินทร์"ว่า"จ๊าก-กริน" เดี๋ยวนี้เวลาถึงโอกาสร้องเพลงสรรเสริญแล้วไม่ค่อยอยากจะร้องเลย แค่งึมงัมตามไป เพราะว่ารักพระเจ้าอยู่หัวหรอก
บันทึกการเข้า
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ต.ค. 00, 00:00

"...อีกเรื่องหนึ่งขอเล่าจากปากคำของคุณครูแจ๋ว(สง่า อารัมภีร์) ท่านเล่าว่า ในสมัยของ
นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม)  เป็นนายกรัฐมนตรี มีการ
เรียกร้องดินแดนคืน แรกๆ สถานีวิทยุยังใช้เพลงมหาชัยบรรเลงอยู่ พอสงครามอินโดจีน
สงบไทยได้ชัยชนะเพราะญี่ปุ่นเข้าไกล่เกลี่ย ท่านนายกฯ ได้รับพระราชทานยศเป็นจอมพลป.
พิบูลสงคราม เพลงสดุดีพิบูลสงครามจึงเกิดขึ้น ท่านจอมพล ป. ไปปรากฏตัวที่ไหน
แม้จะพูดทางวิทยุกระจายเสียง เมื่อจบคำปราศรัย ทำนองเพลงสดุดีพิบูลสงครามจะดัง
กระหึ่มขึ้นเป็นสัญญลักษณ์ของท่านแต่ผู้เดียว(แทนที่จะใช้เพลงมหาชัย) จนศาลาเฉลิมกรุง
ก่อนฉายหนังถึงกับนำรูปจอมพล ป. และเพลงสดุดีฉายและบรรเลงให้ประชาชนทำความ
เคารพ แรกๆก็เชื่อฟังกันดี ต่อๆมาก็เกิดเรื่องเพราะนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไม่พอใจตะโกนเป่าปากกันครื้นเครงจนมีการขว้างปาจอหนัง ร้อนถึงตำรวจต้องเข้ามาจับกุม
ทางโรงหนังเห็นว่ายุ่งนักจึงยุติการกระทำดังกล่าว คงเหลือไว้เพียงเมื่อหนังเลิกก็ฉาย
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพลงสรรเสริญพระบารมีมาจนบัดนี้"

ที่มา : "มหาฤกษ์ - มหาชัย" , สมบัติ จำปาเงิน
 
บันทึกการเข้า
หนอนอ้วน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 ต.ค. 00, 00:00

ขอบคุณทุกท่านที่ไขข้อข้องใจค่ะ
บันทึกการเข้า
โอ๊ท
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ต.ค. 00, 00:00

ขอขอบคุณด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.035 วินาที กับ 19 คำสั่ง