เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 10518 อะไรกำลังเกิดขึ้นในวงการพระสงฆ์ไทย
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 ต.ค. 01, 23:58

ผมขออนุญาตแย้งคุณพุ่มครับว่า องค์การปกครองคณะสงฆ์ของเราเดี๋ยวนี้ท่านก็ไม่สู้จะแข็งแรงจริงๆ เสียด้วย ในทางอุดมคติพระท่านควรปกครองกันเอง ก็ใช่อยู่ แต่ในทางปฏิบัติขณะนี้ มหาเถรสมาคมที่ท่านเป็นองค์การบริหารคณะสงฆ์ (กรมการศาสนาเป็นแต่เลขาถวายให้ท่าน) กรรมการ มส. หลายรูปก็ชราภาพมากแล้ว ปัญหาหลายอย่างท่านแก้ไม่ไหว ไม่มีแรงวิ่งตามไล่แก้ไขแล้ว

สมัย ตุลา 16 - ตุลา 19 เคยมีพระภิกษุสงฆ์กลุ่มหนุ่มกลุ่มหนึ่งออกมายกประเด็นเรื่องนี้ มีกลุ่มยุวสงฆ์ กลุ่มอะไรต่ออะไร ไม่ทราบว่าตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ระบบใหม่ที่รัฐบาลกำลังคิดจะตั้งเรื่องการปฏิรูปกระทรวงศึกษา มีหน่วยงานทางวัฒนธรรม เยาวชนและการบริหารศาสนาใหม่ อะไรนั่น ผมก็ไม่รู้ว่าในที่สุดจะออกมาเป็นอย่างไร

พระพุทธศาสนาเป็นสมบัติกลางที่มีค่า เพราะฉะนั้นถ้าดูๆ แล้ว พระด้วยกันในระบบที่เป็นอยู่ ท่านต้องมีคนเข้าไปช่วยท่านจัดระบบแล้ว ผมก็เห็นด้วยความเคารพว่า ฆราวาสคงต้องเข้าไปช่วยท่านได้ครับ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 18 ต.ค. 01, 00:03

เป็นกระทู้น่าคิดดีค่ะ  ขอตั้งข้อสังเกตนะคะ  ไม่ถนัดเรื่องศาสนาเท่าไหร่  ขอมองในทางสังคมนะคะ  ไม่ได้มีความคิดดูหมิ่นอะไรแต่อย่างใด

การบวชในศาสนาพุทธ เชื่อว่า  แต่แรกเริ่มเดิมทีนั้น   เป็นการเอาคนเข้ามาใกล้ชิดศาสนาไว้ก่อน  เมื่อได้ตัวมาแล้วจึงค่อยๆให้ศึกษาร่ำเรียนธรรมไป  ไม่ใช่ว่านุ่งผ้าเหลืองแล้วจะบรรลุธรรมไปแล้ว  ก็เป็นความชาญฉลาดของพระพุทธเจ้า  ที่การเผยแพร่ศาสนาที่ยังไม่มีใครรู้จัก  ในที่ที่มีศาสนาอื่นครองอิทธิพลอย่างเหนียวแน่น(คือศาสนาฮินดู)นั้นก็ต้องเข้าถึงตัว  เมื่อคนได้มีโอกาสฟังธรรมก็จะเป็นว่า  เป็นคำสอนที่ดีกว่า  การอนุญาติให้คนครองผ้าเหลือง  จึงเป็นยุทธวิธีที่นำคำสอนฝ่ากรอบอย่างอื่นให้เข้าถึงตัวคนได้อย่างดีที่สุด

แต่เมื่อศาสนาเป็นที่ยอมรับแล้ว  คนก็มีความศรัทธาสูงขึ้น  การยอมรับก็เป็นไปแทบจะโดยอัตโนมัติ  ก็เลือนไปว่า  คนที่นุ่งผ้าเหลืองแล้ว  ยังต้องผ่านการศึกษา การเข้าถึงพระธรรมอีกระยะหนึ่ง  กว่าจะได้เป็น "พระสงฆ์" จริงๆ  แต่คนที่มีเปลือกหนา  เมื่อได้รับความเชื่อถือศรัทธาก่อนที่จะเห็นธรรม  ก็หลงไหลได้ปลื้ม  จนลืมเลือนไปเลยว่า  ตัวมานุ่งผ้าเหลืองทำไม

ประเพณีการนุ่งผ้าเหลือง  ก็เลือนไป  คนก็ยึดติดกับผ้าเหลืองว่า  เป็นเครื่องบ่งชี้การเข้าถึงธรรมของคนนุ่ง  หาใช่ว่า  เป็นการให้คนนุ่งได้เข้าใกล้ไปซึมซับพระธรรมไม่  ก็เกิดการสับสนไป  ยิ่งเมื่อไม่มีฐานรองรับในการตรวจสอบความสมควรของผู้บวช  ก็ทำให้จุดประสงค์เดิมกร่อนลงไปได้  และเมื่อสังคมขาดการตรวจสอบควบคุมกันเอง  ในสังคมสมัยใหม่ที่ความละโมภ  กลับให้ผลต่อผู้กระทำให้ประสบความสำเร็จทางวัตถุมากขึ้น  ก็ยิ่งทำให้มาตรญานต่ำลง

ดิฉันว่า จะเคร่งครัดกับสงฆ์แต่ถ่ายเดียวคงจะไม่บังเกิดผลเต็มที่  สังคมไทยเรา คงต้องหันมาสำรวจตัวของเราเองด้วยว่า  ตัวเราเองแต่ละคนนั้น  ส่งผลให้เกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาเช่นนี้ด้วยได้อย่างไร  วัฒนธรรมของเรายังอ่อนเรื่องการหันมามองตัวเองอยู่สักหน่อย  เพราะแต่ไหนแต่ไรมา  เราฝากให้ผู้หลักผู้ใหญ่ชี้ถูกชี้ผิดให้เรา  แต่พอละเลยไม่ทำกันไปนานๆเข้า  ก็ไม่มีใครยอมรับการชี้ถูกชี้ผิดกันเท่าไหร่แล้ว  คนรุ่นหลังๆกลับมองการชี้ถูกชี้ผิดของคนในระดับเดียวกัน  ว่าเป็นการหมิ่นประมาทไป  สายใยสังคมดูจะรุ่ยๆไปมากแล้วน่ะค่ะ

ทีนี้มาดูเป็นการเปรียบเทียบนะคะ  ไม่ได้เสนอว่าศาสนาใดดีกว่าใคร  

ในหมู่พระคาทอลิคนั้น  กว่าจะได้เป้นพระ  ก็ต้องผ่านการร่ำเรียน ฝึกฝนเคี่ยนวเข๊ยกันลำบากลำบน  แล้วยังต้องผ่านด่านการตรวจสอบต่างๆมากมาย  กว่าจะได้รับเป็นพระ  เพราะคาทอลิครุ่งเรืองมีอไนาจมากมายมหาศาลในยุคกลางของยุโรป  จึงได้ผ่านการกลั่นกรองเพื่อกันไม่ให้คนที่ไม่มีวุฒิเพียงพอเข้ามามีอำนาจทางธรรม  แต่ก็ยังมีพระที่ละเมิดศีลกาเมกันบ่อยๆ  แต่ก็มีเป็นส่วนน้อยมาก  เกิดเรื่องมาทีก็เป็นเรื่องใหญ่  แต่เขาก็มีการป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเช่นนี้อย่างเฉียบขาดมากกว่าของเรามาก

ที่เป็นได้เช่นนี้  ก็เพราะเขามีอำนาจทางสังคมมากกว่ามาก  และก็ยังวืบทอดมาจากยุคเก่าที่อำนาจของพระนั้น  แผ่ไปในทางเศรษฐกิจด้วย  คือองค์กรทางศาสนาของเขาแข็งแกร่งมีบทบาททางสังคมมาก

แต่มาดูวิวัฒนาการขององค์กรศาสนาบ้านเรา  ไม่เคยมีอำนาจเป็นอิสระของตัวเองมาก่อน  ก็ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการผนึกกำลังการจัดองค์กรให้แน่นหนาขึ้นน่ะค่ะ  

ปัญหาต่างๆที่เห็นๆกันอยู่  เป็นเครื่องชี้ว่า  หากจะให้องค์กรนี้รอดอยู่ได้  ก็ต้องมีการปฏิรูปกันแล้วน่ะค่ะ  แต่เราจะทำได้หรือเปล่าก็ไม่ทราบ  เพราะเมื่อเกิดผูกพันกับธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำกันมาช้านาน  การเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช้เรื่อง่ายเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 18 ต.ค. 01, 00:06

อุ๊ย เข้ามาจ๊ะกับหลายๆคนพอดี  เลยมีความเห็นไปตรงกันหลายๆอย่าง  โทษทีค่ะ
บันทึกการเข้า
คุณพุ่ม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 18 ต.ค. 01, 13:09

ยินดีรับฟังความคิดเห็นของคุณ นกข. ค่ะ ดิฉันคิดว่าทุกคนที่เข้ามาคุยกันภายใต้กระทู้นี้ ต่างมีความปรารถนาดีต่อสถาบันศาสนาด้วยกันทุกคน แน่นอนคงมีพระสงฆ์อยู่หลายรูปเหมือนกันที่มีความปรารถนาอยากจะปรับปรุงสภาพมหาเถรสมาคม ซึ่งดูเหมือนจะไม่ใช่ปัญหาใหม่ ขอถามแบบทื่อๆ นะคะ ว่าทำไมกรรมการมส. ที่ไม่มีแรงทำงานแล้ว ถึงไม่ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาทำคะ ไม่เข้าใจ
ขอฉีกประเด็นลงมาพูดถึงเรื่องของฆราวาสนะคะ เห็นคุณพวงร้อยพูดถึงเรื่องศาสนาอื่นด้วย ดิฉันพอจะมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติอยู่บ้าง และเคยได้คุยเรื่องศาสนากับเขาบ้าง (ความจริงเขาบอกเรื่องศาสนา กับเรื่องการเมืองเป็นเรื่องไม่ควรคุย แต่ถ้าไม่ถามเจ้าตัว ก็ไม่รู้ใช่ไหมคะ) เพื่อนที่เป็นแคธอริกนี่คนที่เขายังเคร่ง เขาก็เคร่งจริงๆ นะคะ ส่วนคนที่ไม่ชอบก็มีอยู่ สิ่งหนึ่งที่เขาวิจารณ์อย่างมากคือ โป๊บกับวาติกันนั่นแหละค่ะ แล้วก็ฝรั่งมีกฏหมายต้องจ่ายภาษีให้โบสถ์ ดิฉันแสดงความคิดเห็นไปตรงๆ ว่าแปลก แล้วบอกว่าของเราใช้วิธีให้บริจาค ไม่ใช่เชิงบังคับกลายๆ แต่เราก็ชอบบริจาคเงินกันนะ เพื่อนที่เป็นโปรแตสก็ดูเขาศรัทธาในศาสนาของเขาดี แต่เพื่อนคนนี้ประหลาด เธอแอบกระซิบดิฉันว่า เธอเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ มีเพื่อนอีกหลายคน ขอเป็นพวกไม่มีศาสนาดีกว่า ไม่ต้องจ่ายภาษี ไม่ต้องไปโบสถ์ สบายใจดี ดูคนเหล่านี้ก็ไม่เดือดร้อนกับการไม่มีศาสนา มีอยู่คนหนึ่งเคยพูดขึ้นมาในกลุ่มว่า ถ้าเพื่อนดิฉันที่เป็นแคธอลิก ตาย ก็คงมีเทวดาเป่าแตรรับ ส่วนดิฉันก็คงนุ่งน้อยห่มน้อยเหาะไปเหาะมาบนสวรรค์ ดิฉันก็ถามกลับว่าแล้วเขาล่ะ เขาบอกเขาก็คงเน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยก็แค่นั้นเอง ดิฉันก็ถามว่า แล้วเธอเชื่อถือในอะไร คนเราจะอยู่โดยไม่เชื่ออะไรเลยไม่ได้หรอก เขาก็บอกว่า เขาเชื่อว่า เขาจะต้องดื่มแก้วต่อไป พูดเป็นตลกเลียนแบบหนังเรื่องหนึ่งไปซะอย่างนั้น
มีคนเคยพูดถึงเหตุผลที่เธอนับถือพระเจ้า ทั้งที่เธอเกิดในครอบครัวที่นับถือศาสนาพุทธไว้อย่างน่าสนใจ ดิฉันจะพยายามคัดลอกข้อความนั้นมาให้อ่านอีกทีนะคะ ขอพักสักนิด ตอนนี้ตาลายแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 18 ต.ค. 01, 14:49

คุณพุ่มคะ   ใครว่าพระเล่นอินเตอร์เน็ตไม่ได้   มีหลายเว็บค่ะ  ดิฉันยังเคยได้รับเมล์จากพระเลยนะคะ แต่ด้วยเรื่องธุระไม่ใช่เรื่องส่วนตัว
แวะเข้าไปดูในห้องสมุดของพันทิพย์ก็ได้นะคะ  ถึงไม่ได้เปิดเผยตัวก็ดูออกค่ะว่าห่มเหลืองกันเยอะแยะ

ดิฉันว่าองค์การทางสงฆ์ของเราอ่อนแอจริงๆด้วยค่ะ  ใช้คำตรงๆยังงี้แหละ   พระที่ดีก็มีไม่ใช่ไม่มี  แต่ท่านไม่สามารถคานอำนาจพระที่ตามทางโลกไม่ทัน-พระที่มีพรรคพวกมาก-พระที่แสวงหาอำนาจและผลประโยชน์     แล้วฆราวาสที่มีหน้าที่ปกป้อง ในหลายยุคก็ไม่ทำหน้าที่อย่างเด็ดขาดตรงไปตรงมา  เกรงใจกันอยู่ตลอดเวลา

ดิฉันว่าชาวบ้านตาดำๆที่อึดอัดใจก็เยอะ แต่เราเองก็ไม่มีกำลังจะไปคานเหมือนกัน   อย่างตัวดิฉันนี่แหละ   จะทำอะไรได้นอกจากถอยห่างจากวัดที่เราไม่ศรัทธา เท่านั้น
บันทึกการเข้า
คุณพุ่ม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 ต.ค. 01, 19:33

คุณเทาชมพูคะ เคยคิดว่าน่าจะมีเหมือนกันค่ะ พวกพระที่เล่นอินเตอร์เน็ต เคยคาดว่าน่าจะเป็นพระรุ่นๆ ที่ยังคะนอง แต่ไม่น่าจะเล่นได้เป็นกิจจะลักษณะ ยกเว้นว่าจะมีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวอยู่ในกุฏิ ถ้ามีจริงอันนี้ดิฉันว่าน่าจะเกินไปหน่อยละค่ะ ดิฉันไม่เคยบุกเข้าไปถึงกุฏิพระ ได้แต่วาดภาพในใจตลอดมาว่า กุฏิของพระคงมีแค่ เสื่อ กลด และเครื่องอัฐบริขาร เกินกว่านั้นนึกไม่ออกค่ะ ขอยอมรับว่าเริ่มสับสนกับบทบาทของพระสงฆ์ค่ะ อาจจะฟังดูใจแคบ แต่ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะให้พระมานั่งเล่นอินเตอร์เน็ต มีเวลาก็เอาไปปฏิบัติธรรมดีกว่า แต่ถ้าท่านอ้างว่าเพื่อเผยแผ่ธรรมะ แล้วถ้าไม่จับเสียบ้างก็ตามทางโลกไม่ทัน
เอ ! ดิฉันขอเวลารวบรวมสติกับความคิดก่อนนะคะ
ข้างล่างเป็นข้อความที่ดิฉันคัดลอกมาจากหนังสือเล่มหนึ่ง ถ้าไม่อ่านพบก็คงไม่รู้ว่ามีคนคิดแบบนี้ เพราะดิฉันเองไม่เคยคิดแบบผู้เขียน เลยรู้สึกแปลกดี
Though she had made me feel that I was not totally lovabe, she kept on assuring me, over the years, that God olves me…anyway. It was her anyway that opened the way for me God became less and less foreign. As the time went by,  He was no longer a Westerner with thick, curly hair and beard who would only allow the Catholics or the Christians into his Heaven and throw the rest of us, good or bad, into hell.

By the end of third grade I decided that Sister Ondine‘s God was different: He was definitely kinder, definitely loving and forgiving. I came to feel that His love was unconditional, like that of my own father‘s. It was a great relief for a child whe seemed always to be breaking the school‘s rules and regulations.

When I was about ten and found out that having reached nirvana mean Buddha was no longer with us in any form- not even in Heaven looking after us- I was sisheartened. All Buddha seemed to have left us was his teaching. Father tried to tell me that as long as I follow Buddha‘s teaching I would be all right. Easier said than done. Who was I to turn to in case of an emergency? Who do I pray to or tell my troubles to if Father or Mother or people who loved me were not around? Who was going to give me strength at the times I need it fast?

Many Buddhists – at least Thai Buddhists – must feel lost the way I felt then. Perhaps that is why they refuse to accept the true meaning of nirvana. They keep on praying to Buddha, pretending he is in Heaven, listening to their prayers. There were also plenty of people who had accepted the Hindu or Brahman way of worshipping many different ‘little‘ gods of all kinds.

I did not want to be like the Buddhists who ignored the true meaning of nirvana. At the same time I did not want to worship coutless little gods: I did not believe in and did not trust these ‘Mr. And Mrs. In Betweens.‘  They were too numanlike: temperamental, demanding, always wanting to be pleased. It was not possible for me to worship or even feel comfortable with someone or something that I had to fear.

Sister Ondine would never have guessed it, bt I decided then that her Gof was what I needed. I would try to live by Buddha‘s teaching like Father had advised and, at the same time, put my faith in the loving, one and only God. I found the whole arrangement so comforting at ten and still feel the same now, nearly forty years later.
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 ต.ค. 01, 22:22

ก็ต้องปล่อยไปครับ เรื่องของศรัทธาเป็นเรื่องเฉพาะตัวของใครของมัน คุณอดีตผู้ที่นึกว่าตนถือพุทธคนนั้นเข้าใจพุทธผิด แต่เป็นสิทธิของเขาที่จะเปรียบเทียบแล้วก็เลือกได้  ไม่มีใครว่า It is exactly an arrangement, something "arranged"  - a "comforting" one at that. If you are happy and peaceful embracing such arrangement, by all means do so. Countless others may as well find truth, wisdom and peace in other arrangements. And we all can still be friends.

ทางพระ (พุทธ) ท่านถึงได้บอกว่าต้องดูจริตหรือความโน้มเอียงของคนด้วย คำสอนบางอย่างเหมาะกับจริตของบางคน ไม่เหมาะกับบางคน

ด้วยความเคารพในศรัทธาของเพื่อนต่างศาสนาที่อาจจะเข้ามาอ่าน ผมว่าผมเจอแล้วครับว่าศาสนาที่ถูกจริตผมคืออะไร คือศาสนาที่ผมถืออยู่เดี๋ยวนี้แหละ ทั้งโดยทะเบียนและโดยความเชื่อส่วนตัวจากการพยายามศึกษา ถ้ามีใครถามผมอย่างที่ถามๆ กันในอินเดียโบราณ (ยุคโน้นก็มีผู้แสวงหาเยอะเหมือนกัน) ว่า ท่านชอบใจธรรมของใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ผมก็ยังชี้เลือกเอาพระพุทธเจ้านี่แหละ แต่คนอื่นจะเลือกธรรมของศาสดาอื่นก็ไม่ว่าอะไรนี่
ผมคงเป็นคาทอลิกที่ดีไม่ได้ เพราะพื้นฐานจริตของผมขี้กังขาเกินไป (เหมือนนักบุญโทมัสอัครสาวก ของทางคริสต์เองนั่นแหละ - ผมว่าท่านโทมัสน่านับถือ ยังกับท่านเคยอ่านกาลามสูตรยังงั้นแหละ) แต่ในขณะเดียวกันผมก็ไม่ว่า ถ้ามีคนที่เขาพบสิ่งที่ทำให้เขาสงบใจได้ มีความรัก และเป็นคนดี - เรียกเป็นภาษาของเขาว่าพบสันติสุขในพระเจ้า ก็เป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างเขากับพระเจ้าของเขา ใครจะไปว่าอะไรเล่า (ถ้าไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนเพราะศรัทธาของเขาไปด้วย)

ผมว่า สิ่งที่แย่กว่าการมีศาสนาต่างกัน คือการไม่มีศาสนาหรือหลักคุณธรรมใดๆ ควบคุมความประพฤติ ปล่อยกิเลสพาไปท่าเดียว (หลักธรรมคุมกิเลสอาจจะเป็นอุดมการณ์ก็ได้ ไม่ต้องมีรูปแบบเป็นศาสนาเสมอไป) อีกอันที่แย่คือการที่มีการบิดเบือนใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือรับใช้กิเลศทางโลก เช่น อ้างเพื่อทำการก่อการร้าย หรืออ้างเพื่อแสวงอาณานิคมเป็นต้น ถึงคนเรามีศาสนาต่างกัน ก็ยังอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเบียดเบียนกันเพียงเพราะถือศาสนาต่างกันครับ

อาจจะหลุดนอกประเด็นกระทู้นะครับ กลับมาคุยกันเรื่องของพวกเราชาวพุทธกันเอง ดีไหม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 ต.ค. 01, 09:26

เดาว่าคุณพุ่มอยู่ต่างประเทศ  เลยไม่ค่อยทันกับความทันสมัยของพระ
พูดไปก็เหมือนบ่น เอ้า   บ่นก็บ่นค่ะ
กุฏิพระที่ดิฉันเคยเข้าไปถวายของ  มีทีวีสี มีแอร์ค่ะ เป็นเรื่องค่อนข้างปกติไม่ว่าในกรุงหรือต่างจังหวัด    ส่วนแบบเรียบง่ายแบบที่คุณว่าเหลือน้อยมาก
ท่านที่เพิ่งสึกเพราะข่าวสีกา ในกุฏิที่เห็นทางทีวี มีทีวีสีเครื่องใหญ่ด้วย  และท่านมีดาวเทียมกับเครื่องรังสีอินฟราเรดอีกต่างหาก

ส่วนเรื่องเน็ต   เล่นกันในวัดค่ะ   เพราะจะมานั่งเล่นในเน็ตคาเฟ่คงไม่ได้    ไม่ได้คะนองค่ะ   และไม่ใช่วัยรุ่น   บางท่านบอกว่ามีไว้ศึกษาพระปริยัติผ่านทางเว็บต่างๆ   เรียนรู้ความเป็นไปของโลกจะได้ตามทัน  แต่บางท่านก็ chat  บางท่านก็ถามไถ่ความรู้กัน บางทีก็ถกเถียงกันในเว็บบอร์ด
สิ่งเหล่านี้จะผิดหรือเปล่าขอให้คิดเอาเอง   เพราะแค่ถือศีลแปด ก็ดูทีวีไม่ได้แล้วนะคะ  
ดิฉันว่าถ้ามีกฎห้ามมีทีวี และเน็ตในวัดทั่วประเทศ    คงเป็นเรื่องใหญ่แน่   อาจจะถกเถียงกันทางเว็บบอร์ดกันอีกได้หลายวัน
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 19 ต.ค. 01, 09:55

I'm so glad to see Khun Taochompoo back to Ruen Thai.  Welcome back again ka.  Are you better now?  I hope you feel much better.



I wonder if the social current that's moving towards the shell, away from the core of religion is result from the weakness of our religious institution we discussed above.  It seems people don't have enough spiritual leader these days naka.  Those in positions have more worldy concern, too much more.



My comcuter got virus ka. :-(  I'm using someone else's itty bitty laptop(just for nighttime only) that I am not comfortable typing with at all.  It'd be several days until I can fix it.  I'll have to completely reinstall WINDOWS which I don't have CD for.  My computer was preinstalled with it so I am stuck ka.  I have to wait til next week when a friend of mine can come to help.  See you later na ka.
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 19 ต.ค. 01, 10:06

อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงสื่ออย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับโทรศัพท์ หรือโทรทัศน์ การใช้สื่อนั้น มีได้หลายวัตถุประสงค์ ผมไม่คิดว่าผู้ปวารณาตัวบวชเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะต้องปิดหูปิดตาตัวเอง ไม่รับรู้อะไรอีกต่อไป การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาความรู้ ไม่มีอะไรให้ผิด และไม่มีข้อบัญญัติในวินัยสงฆ์(โดยส่วนตัวผมไม่เห็นว่าเข้าข่ายโลกวัชชะ) แต่ถ้าเพื่อการบันเทิงก็คงไม่ต้องพูดถึง เพียงศีลแปดที่ฆราวาสบางคนถืออยู่ก็ขาดเสียแล้ว
ถ้าเราพยายามมองว่าสงฆ์คืออรหันต์ เราก็จะผิดหวังและคิดไปผิดทิศผิดทางไปหมด ต้องมองว่าเป็นผู้สือทอดศาสนา กฏเกณฑ์ต่างๆพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้อย่างลงตัวและป็นอกาลิโกคือทันสมัยอยู่เสมอ เพียงใช้ให้ถูกต้องเท่านั้นเอง
ผมคิดเสมอว่าแก่นพุทธคือปัญญา ซึ่งแตกต่างจากศาสนาอื่นที่ใช้ศรัทธานำ เรื่องนี้ไม่ได้แปลว่าศาสนาอื่นไม่ดีแน่นอน แต่การใช้ปัญญาเป็นหลักนั้นต้องยอมรับว่าเข้าถึงตลาดล่างได้ยาก ความเชื่อที่แทรกเข้ามาหลายอย่าง(ผมเชื่อว่า)เป็นความพยายามใช้เพื่อเข้าถึงตลาดกลุ่มที่ว่านี้ เป็นที่น่าเสียดายว่าคนพุทธสมัยนี้กลับใช้ศรัทธาเป็นแกน เชื่อและพยายามเชื่อในสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจ และพยายามตีความว่าเป็นสิ่งที่ซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจได้ ซึ่งเราควรเชื่อว่าดีด้วยความปลาบปลื้มในสิ่งเหนือล้ำขององค์ศาสดาผู้ซึ่งบัญญัติแก่นธรรมอันลึกซึ้งเกินกว่าใครจะเข้าใจได้ เห็นได้ชัดเจนว่านี่คือศรัทธาที่บดบังปัญญา เลือกที่จะเชื่อว่าพระพุทธองค์เป็นผู้เหนือล้ำ ต้องเชื่อทุกอย่างที่ทรงบัญญัติไว้ถึงแม้ว่าตนเองจะเข้าใจไม่ได้ และ ละเลยพื้นฐานของหลักกาลามสูตร ซึ่งเป็นแก่นธรรมง่ายๆที่จับต้องได้ และยึดเป็นหลักการได้
แนวคิดที่ว่านี้หล่อหลอมให้พุทธตกอยู่ในยุคเสื่อมเช่นนี้ "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 19 ต.ค. 01, 11:11

ผมว่าการที่พระใช้อินเตอร์เน็ต หรือแสวงหาความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เป็นเรื่องไม่ผิด แต่ต้องอยู่ในกรอบที่เหมาะ
ที่ควร ถ้าถึงขนาดมีโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ (เพื่อใช้ต่ออินเตอร์เน็ต) ในกุฏิ ผมคิดว่าไม่เหมาะสม เพราะกุฏิเป็น
สถานที่สงบเหมาะแก่การพักผ่อน หรือทำใจให้เป็นสมาธิ ถ้าอยากจะแสวงหาความรู้ให้ทันโลกทันเหตุการณ์
ก็ไปอีกที่หนึ่ง ซึ่งทางวัดอาจจะตั้งเป็นศูนย์การศึกษา/แสวงหาความรู้ของพระสงฆ์ขึ้นมาก็ได้  พระสงฆ์รูปใด
ประสงค์จะใช้ก็สามารถขออนุญาตใช้ได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง   หรือไม่ก็กำหนดเป็นตารางเวลาให้ชัดเจน
อันนี้เป็นเรื่องของวัดที่จะจัดทำกันไป ไม่ใช่พระรูปใดอยากจะใช้ก็ใช้ได้ตามสะดวก มีคอมพิวเตอร์ในกุฏิ
อยากจะ chat กับสีกาก็ไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น อันนี้ผมว่าอันตรายต่อตัวพระเองเพราะใช้สื่อไปในทางที่ไม่
ถูกต้อง  และที่สำคัญเวลาท่านเล่นในเว็บบอร์ด หรือเล่น chat แต่ท่านไม่บอกว่าท่านเป็นพระ  เราไม่รู้บางทีก็
อาจจะใช้คำที่รุนแรง เผลอใส่อารมณ์ไปบ้าง ก็จะทำให้ตัวเราเกิดความรู้สึกบาปไปเปล่าๆ บางท่านอาจจะมอง
ว่าผมไม่ใว้ใจพระหรืออย่างไร เพราะพระบางรูปถึงแม้จะมีคอมพิวเตอร์มีโทรทัศน์อยู่ในกุฏิ ท่านอาจจะใช้เป็น
เครื่องแสวงหาความรู้จริงๆ ก็ได้  แต่ผมมองว่าภาพสู่สาธารณชนจะไม่เหมาะสม พระมีความจำเป็นมากน้อย
เพียงใดที่มีสิ่งของเหล่านี้อยู่ในกุฏิ  ผมได้ฟังวิทยุเมื่อเช้านี้ก็ได้ยินข่าวว่าพระที่ จ.นครปฐมหลอกสีกาซึ่งเป็น
นักศึกษาสถาบันแห่งหนึ่งไปทำมิดีมิร้าย โดยติดต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผมไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
แต่ข่าวที่ออกมาไม่เป็นผลดีต่อพระพุทธศาสนาแน่นอน หากเราสามารถกำหนดกรอบการแสวงหาความรู้ของ
พระสงฆ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ก็จะเป็นการช่วยให้พระที่มีความตั้งใจแสวงหาความรู้จริงๆสามารถใช้สื่อ
เหล่านี้ได้ และเป็นการปรามพระที่นอกลู่นอกทางมิให้ใช้สื่อเหล่านี้ไปในทางที่ผิดได้อย่างสะดวกนัก

ฝากกลอนนี่ไว้ซักนิดครับ ผมได้ยินจากวิทยุเมื่อตอนเด็กๆ รู้สึกชอบก็เลยจำได้ขึ้นใจ เกี่ยวกับเรื่องคนและ
เรื่องระบบ แต่ผมเปลี่ยนจากคนมาเป็น พระ เพราะเห็นว่าใช้ด้วยกันได้ (ระบบในที่นี่อาจจะตีความไปว่าเป็น
กฎหมายสงฆ์ก็ได้)

ระบบดี   พระดี ต้องดีแน่
ระบบแย่  พระดี ยังดีไหว
ระบบดี   พระแย่ แก้กันไป
ระบบแย่ พระแย่ ก็บรรลัย...เท่านั้นเอย
บันทึกการเข้า
ลูกนวมินทรฯ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 19 ต.ค. 01, 11:26

เห็นด้วยกันคุณแจ้ง ใยตองค่ะ
บันทึกการเข้า
คุณพุ่ม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 19 ต.ค. 01, 15:14

คุณนกข คะ อย่าเปิดประเด็นวิจารณ์ความคิดของผู้เขียนบทความนี้เลยค่ะ ดิฉันคัดลอกมาให้อ่านเพียงเพราะเห็นว่าแปลกดี และคนเราก็มีสิทธิที่จะเลือกเชื่อตามที่เห็นว่าเหมาะกับจริตของตน
ดิฉันไม่ได้อยู่ต่างประเทศหรอกค่ะ คุณเทาชมพู เพียงแต่เป็นพวกที่ไม่ยอมรับความจริง คือ ข่าวคราวที่เห็นนั้นก็คิดว่าเกิดแต่กับพระส่วนน้อย และเป็นเฉพาะกับพระผู้ใหญ่ หรือพระที่มีชื่อเสียงที่คนขึ้นเยอะ พยายามหลอกตัวเองว่าพระส่วนใหญ่ยังคงดีอยู่

ดิฉันก็เคยคิดอย่างมี ego ค่ะ ว่าศาสนาพุทธของเราดีที่สุด จนทุกวันนี้ก็ยังคิดอยู่ แต่พยายามจะลดลงและมองไปในลักษณะที่เป็นสากลมากกว่า คือมองที่ตัวธรรมะ ซึ่งพระพุทธองค์เองตรัสว่ามีคู่โลกเราอยู่แล้ว ดิฉันว่าทุกศาสนามีจุดเด่นจุดด้อย แต่ไม่ใช่ว่าคนที่บอกว่าไม่นับถือศาสนาอะไรเลยจะไม่ใช่คนไม่ดี ดิฉันว่าอยู่ที่ว่าคนๆ นั้นถือธรรมะหรือเปล่า และสิ่งที่สำคัญในสังคมไม่ใช่ว่าต้องมีพระสงฆ์ค่ะ ดิฉันว่าเราต้องการผู้นำทางจิตวิญญาณต่างหากคะ คงมีแต่คนรุ่นเรากระมังคะที่ดีใจเมื่อได้เห็นผ้าเหลือง แต่ถ้าเด็กรุ่นต่อไปมองผ้าเหลืองแล้วแทนที่จะอุ่นใจ กลับหวั่นใจ ดิฉันว่าเปล่าประโยชน์ที่จะคงสถาบันสงฆ์ไว้ค่ะ ยิ่งถ้ามีไว้เพื่อครอบงำศรัทธา (แทนที่จะทำให้ถึงพร้อมทั้งศีล สมาธิ ปัญญา) อย่างที่คุณ crazy horse บอกด้วยแล้วหละก้อ ยิ่งแย่ค่ะ ดิฉันมองว่า ถ้าคนได้รับการศึกษามากขึ้น และสถาบันสงฆ์ไม่พัฒนา คนรุ่นใหม่คงมองหาสิ่งอื่นที่ดีกว่า อาจจะกลายเป็นนิกายแปลกๆ ออกมา เรื่องแบบนี้มีตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้ว

ใครช่วยตอบดิฉันหน่อยเถอะค่ะ ว่าทำไมบ้านเมืองที่นับถือศาสนาพุทธอย่างเรา ถึงได้วุ่นวาย และดูอันตรายกว่าสังคมอื่นที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ บางคนเคยบอกเรื่องการจัดระเบียบของสังคม เป็นเรื่องทางบ้านเมือง ศาสนาไม่เกี่ยว สรุปว่าที่สังคมเรากำลังแย่อยู่ทุกวันนี้เป็นเพราะอะไรกันแน่คะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 20 ต.ค. 01, 09:29

Dear คุณพุ่ม



o you really belive we're practicing Buddhism?



What I see we've been practicing is more like Hindhu rites, no offense na ka.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 20 ต.ค. 01, 12:17

มาทักทายและขอบคุณคุณพวงร้อยค่ะ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW810x029.gif'>
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง