เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 12729 ชวนคุยเรื่องประเทศอิสราเอล
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 21 ต.ค. 01, 06:00

ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรือนไทยเท่าไหร่นัก แต่ไหนๆ ธุรกิจใหญ่ๆในเมืองไทยบางแห่ง
ก็มีคนเชื้อสายยิวเป็นเจ้าของ เช่น ห้างโลตัส ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของห้างเทสโก้ในอังกฤษ
ก็มีเจ้าของเป็นคนที่มีเชื้อสาย Hebrew เช่นกัน เลยคิดว่าน่าจะรู้จักประเทศอิสราเอล
ชาวอิสราเอล และ ชาวยิว ให้มากขึ้นอีกหน่อย ( จริงๆ แล้วผมอยากรู้ แหะๆๆ)

มีใครพอจะทราบบ้างครับว่าประเทศอิสราเอลนี่ตั้งขึ้นเมื่อไหร่ ผมคิดว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

มีเพื่อนชาวอียิปต์ที่บังเอิญเรียนเกี่ยวกับภูมิภาคตะวันออกกลางเล่าให้ฟังว่า ประชาชนอิสราเอลนั้น
อพยบมาจากหลายประเทศส่วนใหญ่มาจากรัสเซีย (ถ้าจำไม่ผิด) จนเดี๋ยวนี้ก็ยังมีชาวยิวจากรัสเซียอพยบเข้าไปอยู่
ถ้าติดตามข่าวเครื่องบินที่ถูกยิงตกในทะเลดำ ก็จะเห็นว่าเป็นชาวยิวที่เดินทางระหว่างอิสราเอล
กับรัสเซีย .... เพื่อนชาวอียิปต์ยังยกข้อมูลออกมาอีกว่า ชาวยิวที่อพยบเข้ามาอยู่ในอิสราเอลนั้น
มีจำนวนไม่น้อยที่อพยบเข้ามาไม่ใช่เพื่อที่จะอยู่ในอิสราเอล แต่อพยบเข้ามาเพื่อจะเอาพาสปอร์ตอิสราเอล
เพื่อที่จะได้อพยบไปยังประเทศอื่นๆต่อไป เช่นไปทำงานในอเมริกา เป็นต้น

ที่คุยกันอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องปัญหาปาเลสไตน์ ผมสงสัยว่าทำไม้ทำไม อิสราเอลถึงได้โหดนัก ไม่ยอมให้ปาเลสไตน์
ปกครองตนเองเสียที ขนาดเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาประธานาธิปดีอิสราเอลยังโมโหโกรธา ต่อว่าอเมริกาอย่างหนัก
ที่ประธานาธิบดีบุชกล่าวถึง รัฐปาเลสไตน์ .... คำแค่สองคำนี้สำคัญและกระเทือนความรู้สีกอิสราเอลอย่างมาก
เหตุผลก็เพราะว่า ถ้าหากมีรัฐปาเลสไตน์ขึ้นมาจริงๆ แม้ว่าจะเป็นรัฐที่มีขนาดเล็กขนาดไหน ก็สามารถที่จะทำให้
อิสราเอลทั้งประเทศล่มสลายได้ในเวลาไม่กี่สิบปี...

เนื่องจากว่าขณะนี้นั้นในจำนวนประชากรทั้งหมดของอิสราเอล มีคนเชื้อสายอาหรับ ที่ไม่ได้นับถือศาสนายิวอยู่ถึง
20 เปอร์เซนต์ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการประมาณกันว่าภายในปี 2012 จะมีคนเชื้อสายอาหรับอยู่
ถึง 40 เปอร์เซนต์ นั่นเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ รัฐบาลอิสราเอลกลัวว่าวันหนึ่งชาวยิวอาจจะเป็นคนส่วนน้อย
ยิ่งถ้ามีประเทศปาเลสไตน์เกิดขึ้นมาแล้ว ในอณาคตเมื่อประชาชนอิสราเอลมีส่วนที่เป็นชาวอาหรับมากขึ้น
เมื่อนั้นประเทศอิสราเอลอาจล่มสลายก็ได้ .... อิสราเอลจึงต้องจำกัดพื้นที่ และจำนวนของชาวปาเลสไตน์ให้มากที่สุด
ส่วนชาวปาเลสไตน์ก็ตอบโต้ด้วยการเพาะลูกหลานออกมาให้เยอะที่สุด ... เพื่อนผมบอกว่าอายุเฉลี่ยประชาการ
ของชาวปาเลสไตน์นั้นต่ำกว่าสิบขวบ .... อันนี้ไม่แน่ใจว่าจริงหรือไม่เหมือนกันครับเหอๆๆ

เลยไม่น่าสงสัยเท่าไหรนักที่รัฐบาลอิสราเอลจะแข็งกร้าวมาก ได้แต่รู้สึกเสียดายที่ทั้งสองเชื้อชาติอยู่ร่วมกัน
โดยสันติไม่ได้  แค่ศาสนาต่างกันเชื้อชาติต่างกัน .... ความจริงแล้วคนอิสราเอลที่รักสันติ และไม่ยึดมั่นในศาสนาเกินไป
ก็คงมีอยู่มาก เพียงแต่ไม่ได้มีอำนาจเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 ต.ค. 01, 05:13

อีกเรื่องหนึ่งคือ ทำไมอัจฉริยะของโลก ถึงมีเชื้อสายยิวหลายคน เช่นไอนสไตน์เป็นต้น
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายคนก็มีเชื้อสายยิว ... เป็นเพราะชาวยิว
มียีนส์ฉลาดกว่าชนชาติอื่นหรือเปล่า?

ไม่ทราบเหมือนกันว่าท่านอื่นคิดว่าอย่างไร แต่ผมคิดว่าคงไม่ใช่ เพราะอัจฉริยะหลายคน
ก็ไม่ใช่มีเชื้อยิว ผมคิดว่าคนที่มีเชื้อสายยิวส่วนใหญ่มีฐานะทางครอบครัวดีกว่า
เลยทำให้มีโอกาสได้รับการศึกษามากกว่า ซึ่งแน่นอนเมื่อมีโอกาสมากกว่าก็ต้องฉลาดกว่า
เป็นธรรมดา .... ก็เลยสงสัยต่อว่าทำไมชาวยิวถึงมีฐานะดี ส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก
การที่คนยิวขยันทำงานหนัก และมักจะเกาะกลุ่มช่วยเหลือกัน เลยทำให้ประสบความสำเร็จ

ผมเคยได้ยินว่าในยุโรปช่วงหนึ่งมีข้อห้ามทางศาสนาคริสต์ว่าห้ามค้าขายเอากำไร (หรืออะไรทำนองนั้น)
เลยทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ชาวยิวเป็นเจ้าของเพราะคนละศาสนากัน
ไม่ทราบว่ามีใครเคยได้ยินเรื่องทำนองนี้บ้างครับ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ต.ค. 01, 06:30

ประเทศอิสราเอลสมัยใหม่ เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จริงครับ

แต่ชนชาติยิวมีมานานมากแล้ว แต่แตกฉานซ่านเซ็นไปจากถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษของตนไปเสียเป็นร้อยพันปี ไปอยู่ในยุโรป รัสเซียและที่ต่างๆ ในเมืองจีนยังมีเลย
 
ขบวนการรณรงค์กอบกู้ชาติอิสราเอลขึ้นมาใหม่ คือขบวนการไซออนิสต์ ดูเหมือนจะมีความเป็นมามาราวร้อยปีมาแล้ว แปลว่าขบวนการไซออนิสต์สากลมีมาและต่อสู้มาราว 50 ปีก่อนที่วัตถุประสงค์ของขบวนการจะสำเร็จ คือจัดตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นมาได้อีกครั้ง

เรื่องนี้น่าปวดหัวครับ ประวัติศาสตร์คนละฉบับ ยิวก็อ้างว่าแผ่นดินนี้เป็นของเขาตั้งแต่โบร่ำโบราณ พระเจ้าให้พวกเขาตามสัญญาด้วยซ้ำ แล้วต่อมามีเหตุให้เขาต้องแตกหนีไปจากแผ่นดินนี้ แต่เขายังระลึกถึงแผ่นดินนี้เสมอ ไปตกระกำลำบากถูกกดขี่ข่มเหงที่ไหนๆ ก็อดทน รวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นชนชาติอยู่ได้ไม่ถูกกลืน ก็เพราะมีสำนึกประวัติศาสตร์ร่วมกันอันนี้ แล้วในช่วงที่ผ่านมาเขาก็ทุกข์ระทมขมขื่น ถูกกระทำต่างๆ นานาเหลือเกิน ในแดนคนอื่น  เขาขอมาอยู่เป็นประเทศของเขาเท่านั้นไม่ได้หรือ
ฝ่ายปาเลสไตน์ก็ว่า ก็ (หลังจากที่พวกยิวออกไปจากตรงนี้แล้วนาน) เขาก็อยู่กันตรงนี้มาแต่ไหนแต่ไรตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวด อยู่มาเป็นร้อยพันปี จู่ๆ ก็มีคนอื่นมาบอกว่าตรงที่ที่เขาอยู่นี่เป็นของคนอื่นจะไม่ให้เขาอยู่แล้ว แล้วจะให้เขาไปอยู่ตรงไหน ถ้ายิวอยากมีประเทศ ปาเลสไตน์ก็อยากมีประเทศเหมือนกัน

ผมยังสงสัยว่า ทำไมทั้งสองข้างที่เจอปัญหาคล้ายๆ กัน ถึงไม่เข้าใจเห็นใจกันได้? ทะเลาะกันมาหลายสิบปีแล้ว เอาใจเขาไปใส่ใจเรากันบ้างไม่ได้หรือ แล้วมีรัฐยิวกับรัฐปาเลสไตน์อยู่ด้วยกันร่วมกัน แบ่งแผ่นดินกัน?
เกิดไม่ได้อีก นอกจากเพราะไม่ยอมลดราวาศอกในเรื่องดินแดนแล้ว ยังเพราะมีของบางอย่างที่มีอยู่อันเดียว แบ่งกันไม่ได้ คือนครเยรูซาเล็ม นครศักดิ์สิทธิ์ของสามศาสนา คนยิว คนคริสต์ คนมุสลิม ไหว้นครนี้ว่าศักดิ์สิทธิ์ด้วยกันทั้งนั้น แต่ความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาของเยรูซาเล็มแทนที่จะเป็นเรื่องดีกลายเป็นชนวนให้ทะเลาะกันเสียอีก เพราะยิวก็บอกว่าเขาตั้งรัฐอิสราเอลแล้วจะเอาเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง ปาเลสไตน์บอก ไม่ได้ เขาก็อยากจะมีประเทศปาเลสไตน์เหมือนกัน แล้วถ้าเขาตั้งประเทศได้ ก็จะเอาเยรูซาเล็มนี่แหละ เป็นเมืองหลวง (เขาเรียกเป็นภาษาอาหรับว่า Al Oud หรืออะไรทำนองนั้น) ...

กลุ้มครับ สงสารพระเจ้าของศาสนา 3 ศาสนาโน้นจัง ท่านคงปวดพระเศียรน่าดู

สหประชาชาติเคยหาสูตรให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองเปิด เมืองสากล มีเขตที่เป็นของยิว ของปาเลสไตน์ เขตกลาง ให้มีการประกันสิทธิในการที่ศาสนิกของศาสนาต่างๆ จะไปเคารพสถานศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาของตนในเยรูซาเล็มเขตไหนก็ตามได้โดยเสรี แต่แผนนั่นก็อยู่แต่ในกระดาษครับ ในความเป็นจริง ยิวยึดเยรูซาเล็มไว้ได้ทั้งหมด ตอนแรกรีๆ รอๆ ยังไม่กล้าให้เป็นเมืองหลวงออกหน้า ก็ตั้งที่ทำการรัฐบาลที่เมืองเทลอาวีฟไปก่อน เพิ่งไม่กี่ปีนี่เองที่ประกาศว่าเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอืสราเอลเต็มตัว (แต่หลายๆๆ ประเทศ รวมทั้งไทย ยังไม่ยอมย้ายสถานทูตออกจากเทลอาวีฟ) แน่นอน อาหรับเขาไม่ยอมรับประกาศนี่

เมื่อกระบวนการสันติภาพล้มเหลวและเกิดความรุนแรงระเบิดขึ้นสักราวเมื่อปีก่อน สาเหตุหนึ่งเพราะอิสราเอลส่งคนเข้าไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่เขายึดครองได้อย่างไม่หยุดยั้ง (ดินแดนที่ยึดครองได้นี่อิสราเอลได้มาทีหลังตั้งประเทศแล้วครับ ตอนสงครามหกวัน) ตรงที่เป็นดินแดนอิสราเอลแท้ๆ ตอนตั้งประเทศนั้น แม้ปาเลสไตน์หรืออาหรับจะโวยยังไง ก็ต้องถือว่ายิวเขาได้มาถูกต้อง สหประชาชาติรับรอง แต่อาหรับทนให้มีรัฐอิสราเอลเกิดขึ้นดำรงอยู่ไม่ได้ จึงเกิดรบกันราวๆ ทศวรรษ 1960 แต่ยิวเก่งกว่าอาหรับ ทั้งๆ ถูกรุม ตีอาหรับแพ้ไป แต่แพ้แล้วยิวไม่หยุด ตีตะลุยเลยไปได้ดินแดนมาเพิ่มอีกแยะ เสร็จสงครามแล้วก็ดื้อแพ่งไม่ยอมคืน (เขาอ้างเหตุผลว่าเพื่อความมั่นคงของชาติเขา) ตรงที่ได้มาใหม่นี่แหละครับที่คนอื่นทั้งโลก รวมทั้งสหประชาชาติ เรียกว่าเป็นดินแดนที่อิสราเอลไปยึดครองเอามา ยิวไปตีชิงดินแดนมาอย่างนี้หลายที่ จากเพื่อนบ้านหลายประเทศ อันนี้ผิดกฏหมายระหว่างประเทศแน่ๆ เหมือนอิรักตีคูเวตสมัยต่อมาแหละ แต่อิสราเอลเป็นลูกน้องสนิทอเมริกา อเมริกาเลยไม่ทำเหมือนที่ทำกับอิรัก ในการเจรจาสันติภาพ (ก่อนที่จะเจ๊งไป) ก็มีการพูดถึงหลักการ Land for Peace ปาเลสไตน์เขาก็หมายถึงการคืนดินแดนที่อิสราเอลตีได้มามาเสียก่อน ส่วนดินแดนประเทศอิสราเอลจริงๆ ตามที่ UN รับรอง และสิทธํการคงอยู่ของรัฐอิสราเอล และปัญหาดินแดนสำคัญสุดคือเยรูซาเล็มนั้น เป็นอีกเรื่อง ต้องแยกประเด็นเจรจา
 
แต่อิสราเอลตอนนั้นก็ไม่ยอมหยุดสร้างถิ่นฐาน อพยพคนยิวเข้าไปในเขตยึดครอง เลยพูดกันไม่รู้เรื่อง พอดีเกิดเรื่องอีกเรื่องที่ทำให้ความรุนแรงปะทุขึ้นมา เกี่ยวกับมัสยิดที่มุสลิมเรียกว่า อัล อักซอ อยู่ในเยรูซาเล็ม ตรงนี้ยิวก็ถือว่าเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน ดูเหมือนว่าก่อนเป็นมัสยิดเคยเป็นสุเหร่ายิวมาเดิม มีเหตุคือ กลุ่มยิวหัวรุนแรงกลุ่มหนึ่งพยายามจะเข้าไปในมัสยิดหรือปีนขึ้นไปบนมัสยิด แล้วจะเปลี่ยนมัสยิดมุสลิมทำให้เป็นสุเหร่ายิวอยางเก่า มุสลิมก็ลุกฮือ เกิดการต่อสู้ เกิดการปะทะ แล้วก็แพร่ขยายไปตามเมืองต่างๆ อย่างรุนแรง  เป็นอันว่ากระบวนการสันติภาพที่ง่อนแง่นอยู่แล้วก็ล้มโต๊ะเลิกคุยได้

ผู้นำชาวยิวชาตินิยมจ๋าคนหนึ่งที่ปาเลสไตน์เขาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญในเหตุการณ์ที่อัล อักซอ คือแอเรียล ชารอน นักการเมืองหัวอนุรักษ์จัด ซึ่งต่อมาก็ชนะเลือกตั้งเป็นนายกยิวอยู่จนเดี๋ยวนี้ (ดังนั้นผมสงสัยว่ายิวกับปาเลสไตน์จะคุยกันไม่รู้เรื่องอีกนาน)

เหตุทั้งหลายทั้งปวงนี้เกิดมาได้สักราวปีหนึ่งเท่านั้นเองแหละครับ  แต่รากมันมีมานานแล้ว

ผมสงสารพระยาห์เวห์ หรือยะโฮวาห์ หรือพระอัลเลาะห์  ซึ่งแท้จริงแล้วคือองค์เดียวกัน ถ้าพระองค์มีตัวตนจริงคงจะทุกข์โทมนัสที่สุดที่ลูกๆ ของพระองค์ด้วยกันแท้ๆ ทะเลาะกันแย่งที่จะบูชาพระองค์ตามแบบของตัว ทั้งๆ ที่ถือพระเจ้าองค์เดียวกันนั่นแหละ...
ที่จริง ชนชาติยิวกะอาหรับนะเป็นชนชาติพี่น้องกันด้วยซ้ำ เผ่าเซมิติกเหมือนกัน...

ยังไม่ได้พูดถึงพี่เบิ้มที่หนุนอิสราเอลอยู่ คือสหรัฐ ยังไม่ได้พูดถึงปัจจัยอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมัน และปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ในแถบภูมิภาคนี้ พูดแล้วยิ่งยาวครับ จะหลุดจากเรื่องประวัติศาสตร์ที่คุณจ้อถามไปเสียด้วย เอาว่าพักเรื่องประวัติศาสตร์ยุคใกล้และเรื่องการเมืองไว้ก่อน ขอฟังประวัติศาสตร์จริงๆ จากท่านผู้รู้จริงท่านอื่นด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Peace
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ต.ค. 01, 09:29

ขอตอบคำถามในกระทู้ครับ   ทราบมาว่าประเทศอิสราเอลนี่ตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1948  จริงเท็จแค่ไหนท่านที่รู้จริงช่วยตรวจสอบด้วยครับ
บันทึกการเข้า
นนทิรา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ต.ค. 01, 19:56

ใช่แล้วค่ะ วันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 คือวันที่นายเบ็น กูเรียน นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลออกวิทยุประกาศเอกราชของอิสราเอล แต่พอวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 15 ประเทศอาหรับเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย อียิปต์ รวมกับอิรักเป็น 5 ประเทศ ก็รวมพลังยกทัพเข้าตีอิสราเอล แต่อิสราเอลก็รบชนะได้ในคราวนั้น แต่หลังจากนั้น อิสราเอลก็ยังรบกับอาหรับเรื่อยมา อย่างที่เรายังได้เห็นกันอยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ต.ค. 01, 00:33

ขอหลุดจากประเด็นเข้าประวัติศาสตร์การเมืองสักหน่อยค่ะ

เรื่องนี้เคยถกเถึยงกันกับเพื่อนร่วมชั้นตั้งแต่สมัยอายุสิบห้าสิบหก
ว่ามันยุติธรรมสำหรับชาวปาเลสไตน์หรือไม่ที่ถูกแย่งแผ่นดิน
จำได้ว่าสมัยโน้นนนนนนน... เทใจให้แก่ยิวหมด ถกกันแบบ
หน้าดำหน้าแดงจนอาจารย์ขอเข้ามานั่งฟังด้วย... แต่ไม่ได้ข้อยุติ

บัดนี้เวลาผ่านมาหลายๆๆๆๆๆๆๆ สิบปี ได้เปลี่ยนความคิด
หลังจากได้เห็นและเข้าใจ ถึงเหตุผลของการก่อตั้งชาติอิสราเอลแล้ว
ยิ่งเห็นใจชาวปาเลสไตน์มากขึ้น แต่ไม่โทษทั้งสองฝ่าย
เพราะฝ่ายที่ควรโทษก็คือเจ้าอาณานิคมนั่นเอง

การตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นหลังสงครามโลกยุติลงนั้น เท่ากับเป็นการวาง
ระเบิดเวลาของอังกฤษหรือไม่? หากคำนึงถึงภูมิศาสตร์แล้ว  แถบตะวันออกกลางนั้น
เป็นดินแดนของอิสลามโดยแท้ ซึ่งแต่ละประเทศก็ร่ำรวยในตัวของมันเองด้วย
หากความร่ำรวย บวกกับความสมานสามัคคีจากการร่วมศาสนาเดียวกัน
บวกกับสถานที่ตั้งของดินแดนแถบนั้น จะไม่เท่ากับพลังอำนาจที่ฝ่ายตะวันตก
ไม่อาจโค่นล้มได้ง่ายแน่ๆ หรือไร แต่หากมีหอกข้างแคร่โผล่ขึ้น ณ ที่หนึ่งที่ใด
อาทิเช่น อิสารเอล ... อะไรจะเกิดขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนก็คือ
ความไม่สงบสุขภายในดินแดนแห่งนั้น ซึ่งหมายความถึงการที่ไม่สามารถ
จะรวมตัวกันติดได้ในด้านกายภาพ และบางทีในด้านความคิดด้วยเช่นกัน
... นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ขนาดว่ารวมตัวกันไม่ติด พลังอำนาจของ
ชาติอาหรับ ที่เกิดจากพลังงานยังยิ่งใหญ่ปานนี้ มิน่า... ประเทศตะวันตก
ถึงต้องตัดไฟแต่ต้นลม... ฮืม?
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ต.ค. 01, 03:54

พอดีไปเดินเล่นในพันทิพย์ เห็นมีคนโพสต์กระทู้ไว้น่าสนใจ เป็นคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เลยก็อปมาฝากกันครับ



http://www.manager.co.th/cgi-bin/viewNews.asp?newsid=1243601769208' target='_blank'>http://www.manager.co.th/cgi-bin/viewNews.asp?newsid=1243601769208



แต่ค่อนข้างจะยาวหน่อย... นะครับ

------------------------------------------------------



ความตึงเครียดระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับ ซึ่งจะนำมาสู่สงครามในภายหลังถึงจุดระเบิด เมื่อชาวยิวก่อตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์เมื่อปี 1948 โดยอ้างว่า ได้รับพันธสัญญาจากพระเจ้า โดยพวกเขาได้ตั้งองค์กรไซออนนิสต์ (Zionist) ขึ้นมาในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่นานนัก เพื่อชักนำให้ชาวยิวด้วยกันอพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งในปาเลสไตน์ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศอาหรับซึ่งโกรธแค้น เปิดฉากโจมตีอิสราเอลเพียงหนึ่งวันให้หลังจากที่อิสราเอลประกาศตั้งประเทศ และนี่เป็นที่มาของสงครามใหญ่ระหว่างสองเชื้อชาติ





http://www.manager.co.th/cgi-bin/viewNews.asp?newsid=1383059471845' target='_blank'>สงครามครั้งที่ 1 : ค.ศ. 1948



กองทัพอาหรับของอียิปต์ จอร์แดน ซีเรีย เลบานอน และอิรัก ได้ร่วมกันบุกเข้าไปในดินแดนปาเลสไตน์ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 และยึดกรุงเยรูซาเลมไว้ได้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ในที่สุดสหประชาชาติต้องเข้ามาไกล่เกลี่ย โดยสั่งให้มีการหยุดยิง 1 เดือน และห้ามทั้ง 2 ฝ่ายแอบขนอาวุธเข้ามาเสริม หลังจากนั้นในวันที่ 11 กรกฎาคม อิสราเอลได้เปิดฉากโจมตีโดยทิ้งระเบิดที่กรุงไคโรของอียิปต์ และกรุงดามัสกัสของซีเรีย การรบครั้งนี้กินเวลา 10 วัน ขณะที่ทหารฝ่ายอาหรับล่าถอยออกไป ต่อมาในวันที่ 19 กรกฎาคม 1948 สหประชาชาติสั่งหยุดยิงโดยไม่กำหนดระยะเวลา และใช้วิธีการทูต



อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ถึงจุดผลิกผันอีกครั้ง เมื่อเคาน์ ฟอลเก เบอร์นาดอตด์ ผู้ที่สหประชาชาติส่งเข้าไปไกล่เกลี่ยถูกฆ่าตายเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1948 โดยกลุ่ม Sturn Group ซึ่งอ้างว่า เบอร์นาดอต์ดจงใจสนับสนุนให้สหประชาชาติส่งมอบนครเยรูซาเล็มให้กับชาวอาหรับ ต่อมาอิสราเอลได้เปิดฉากโจมตีแบบสายฟ้าแลบและยึดเมืองเนเกฟ กาลิลี และหมู่บ้านหลายแห่งที่ทหารเลบานอนตั้งฐานอยู่คืนได้ และหลังจากนั้นในเดือนธันวาคม 1948 อิสราเอลก็ได้เปิดยุทธการขั้นเด็ดขาดเรียกว่า ยุทธการโฮเรฟ อียิปต์ไม่สามารถสู้รบได้จึงต้องตกลงทำสัญญาสงบศึก สงครามครั้งนั้นสิ้นสุดเมื่อวันที่ 7มกราคมปีต่อมา ตามมาด้วยการเซ็นสัญญาของชาติอาหรับต่างๆกับอิสราเอล





http://www.manager.co.th/cgi-bin/viewNews.asp?newsid=1471870201825' target='_blank'>สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งที่ 2 : วิกฤตการณ์คลองสุเอซ ปี ค.ศ. 1956



สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อสหรัฐยกเลิกข้อตกลงสนับสนุนการสร้างเขื่อนอัสวาน ในอียิปต์ โดยอ้างว่า ไม่พอใจที่อียิปต์ตกลงซื้ออาวุธจากสหภาพโซเวียต โดยสงครามระเบิดขึ้นจากการเปิดฉากของอิสราเอลในวันที่ 29 ตุลาคมปี 1956 ภายใต้ชื่อ ยุทธการคาเดซ โดยมีเป้าหมายคือ ยึดทะเลทรายไซนายและฉนวนกาซ่า รวมทั้งแนวป้องกันที่อียิปต์วางไว้ เพื่อให้กองกำลังอียิปต์ส่วนอื่นๆถูกตัดขาดออกจากฉนวนกาซ่า และยึดฐานกับสร้างฐานทัพเพื่อเคลื่อนกำลังพลเข้าสู่ไคโร อาหรับต้านทานไม่ไหว ทำให้อิสราเอลสามารถเข้ายึดจุดสำคัญๆต่างๆได้ จนกระทั่งกองทัพอียิปต์ถูกทำลาย และอิสราเอลยึดฉนวนกาซ่าและไซนายได้ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 1956



กองกำลังอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังจะเคลื่อนทัพเข้ายึดคลองสุเอซ แต่สหประชาชาติก็ได้ยื่นคำขาดให้ทุกฝ่ายยุติเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน และในวันที่ 15 พฤศจิกายน สหประชาชาติก็ได้ส่งทหารเข้าประจำการแทนทหารอิสราเอลในจุดที่อิสราเอลยึดได้ พร้อมให้สัญญาว่าเรือของอิสราเอลจะสามารถแล่นผ่านอ่าวอกาบาและช่องแคบตีรานได้โดยเสรี





http://www.manager.co.th/cgi-bin/viewNews.asp?newsid=1310371178388' target='_blank'>สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งที่ 3 : สงคราม 6 วัน ค.ศ. 1967



สงคราม 6 วันเริ่มขึ้นจากการที่ซีเรียระดมยิงไปยังอาณานิคมยิวในที่ราบสูงโกลัน กองทัพของอิสราเอลจึงโต้ตอบกลับไปทั้งทางบกและทางอากาศ อย่างไรก็ตาม อิสราเอลยังไม่เปิดฉากรบอย่างเต็มตัว จนกระทั่งอียิปต์ประกาศปิดช่องแคบตีรานไม่ให้เรืออิสราเอลผ่านในวันที่ 22 พฤษภาคม และประกาศปิดอ่าวอกาบา ประชาชนอิสราเอลจึงได้เรียกร้องให้รัฐบาลหันมาใช้กำลังทหารเข้าโจมตีอาหรับเพื่อแก้แค้น โดยอิสราเอลได้สั่งระดมพลและประชุมเพื่อหาทางตอบโต้ท่าทีดังกล่าวในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1967 และนาย โมเช่ ดายัน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมของอิสราเอล



ด้วยความชาญฉลาด และชำนาญในการรบของโมเช่ ดายัน ทำให้เขาสามารถวางแผนการโจมตีกองกำลังทหารอาหรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ สงครามครั้งนี้ทำให้อิสราเอลยึดดินแดนฉนวนกาซ่า คาบสมุทรไซนายฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน และที่ราบสูงโกลันได้




http://www.manager.co.th/cgi-bin/viewNews.asp?newsid=1115871971845' target='_blank'>         สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งที่ 4 : ยมคิปปูร์ ค.ศ. 1973



ทหารอาหรับนำโดยกองทัพของอียิปต์และซีเรียปฏิบัติการในชื่อ ยุทธการบาตร์ บุกเข้าไปในอิสราเอลในวันที่ 6 ตุลาคม 1973 คือ วันยมคิปปูร์ ซึ่งเป็นวันล้างบาปของชาวยิวตามความเชื่อทางศาสนา



โดยทหารอียิปต์เปิดฉากโจมตีด้านคลองสุเอซ และทหารซีเรียโจมตีเข้าไปในที่ราบสูงโกลัน

การรบยืดเยื้อกินเวลาถึงเกือบ 20 วัน เนื่องจากทหารอาหรับ ได้กำลังหนุนจากอิรัก จอร์แดน และโซเวียต ส่วนอิสราเอลก็ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามก่อนที่สงครามจะบานปลาย สหรัฐฯ และโซเวียตได้ตกลงกันบีบบังคับให้อิสราเอล และอาหรับ ยุติสงคราม ทำให้มีการประกาศหยุดยิงขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1923 แต่หลังจากนั้นเพียง 2-3 ชั่วโมง อิสราเอลก็ฝ่าฝืนประกาศโดยการบุกโจมตีอียิปต์ต่อไป



วิกฤตการณ์ดำเนินไปจนถึงวันที่ 25 มหาอำนาจทั้ง 2 ขั้วตัดสินใจถอนตัว แล้วปล่อยให้สหประชาชาติเข้ามาดูแลแทน โดยสหประชาชาติได้ส่งกองทหารฉุกเฉิน เข้าควบคุมสถานการณ์ และมีคำสั่งหยุดยิงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง สงครามระหว่างอาหรับกับอิสราเอลจึงยุติลง
บันทึกการเข้า
นา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ต.ค. 01, 18:00

มาเก็บตกชอบเรื่องนี้แต่ไม่มีความรู้เลยมาแอบอ่าน
บันทึกการเข้า
mangngod
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ก.ค. 09, 01:56

สนใจเรื่อง อิสราเอลเข้าไปอ่านบล๊อกผมได้นะครับ ประเทศพี่ชายผมเอง
http://IsraelJeruzalem.blogspot.com
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง