เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4128 พม่าใกล้สันติกบฏกลุ่มน้อยกบฏกลุ่มน้อย
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
 เมื่อ 05 ต.ค. 01, 12:11

ขณะที่ทั่วโลกกำลังจับตารอคอยปฏิบัติการโจมตีกลุ่มก่อการร้ายที่หลบซ่อนตัวอยู่ในอัฟกานิสถานอย่างใจจดใจจ่อ ในประเทศพม่าเพื่อนบ้านใกล้ชิดกับไทย ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อชนกลุ่มน้อยที่จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลพม่ามายาวนาน ได้หารือกันเตรียมจะเปิดเจรจากับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อทำความตกลงยุติข้อขัดแย้งที่เคยมีมาต่อกันในอดีตให้หมดไป

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงระหว่าง 26 – 30 ส.ค.44 ที่ผ่านมา เมื่อผู้นำชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จากองค์กรสำคัญต่างๆ ได้มาพบปะกันที่ค่ายลอคีลา รัฐกอทูเล ประเทศพม่า และได้ปรึกษาหารือกันถึงความจำเป็นที่จะต้องมีความสามัคคี และร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

ผู้นำดังกล่าวเห็นพ้องต้องกันว่า จำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างความสามัคคีในกลุ่มของชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ให้มีความเข้มแข็ง และจำเป็นที่จะต้องมีคณะทำงานด้วย จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการเอกภาพและความร่วมมือกันของชนกลุ่มน้อย (The Nationalities Solidarity and Cooperation Committee/ENSCC) ขึ้นมา คณะกรรมการนี้ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ และสนับสนุนให้เกิดความปรองดองทางการเมืองอย่างสงบสุขขึ้นในพม่า ผ่านกระบวนการเจรจาไตรภาคี โดยมีสหประชาชาติเป็นตัวกลาง

ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เฝ้ามองการเจรจาระหว่างนางอองซานซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy - NLD) กลุ่มการเมืองฝ่ายค้าน กับ รัฐบาลทหารคือสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งชาติ (SPDC) ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ.2000 ซึ่งเป็นไปในทางที่ดี อย่างระมัดระวัง ผู้นำชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เห็นด้วย และขอสนับสนุน นายราซาลี อิสเมล ฑูตพิเศษ สหประชาชาติ ที่ได้พยายาม ช่วยเหลือและประสานงานเพื่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในประเทศพม่า โดยผ่านกระบวนการเจรจาไตรภาคี

ที่ประชุมผู้นำชนกลุ่มน้อยยังได้มีข้อตกลงที่จะให้ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ดำเนินการดังนี้คือ เข้าร่วมดำเนินงานเพื่อให้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองหมดสิ้นไป ทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในพม่า ผ่านกระบวนการเจรจา ที่มี SPDC, พรรค NLD ของนางออง ซาน ซูจี และตัวแทนชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เป็นผู้ร่วมเจรจา

ให้ความร่วมมือและการทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับผู้ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทั้งในพม่าและในประชาคมโลก, สมาคมและองค์กรระหว่างประเทศ, สหประชาชาติ และองค์กรการกุศลต่างๆ ในการแก้ไขให้วิกฤติการการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรของชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ อย่างมาก,ฟันฝ่าสนับสนุนการถ่ายโอนประชาธิปไตยในพม่าอย่างสงบเรียบร้อย และร่วมมือกันฟื้นฟูประเทศอย่างพร้อมเพรียงกัน ด้วยจิตสำนึกในสัญญาปางหลวง, หลักแห่งความเสมอภาค, การปกครองตนเอง, ระบอบประชาธิปไตย และความยุติธรรม

องค์กรชนกลุ่มน้อย กลุ่มต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมสัมมนาชนกลุ่มน้อยครั้งนี้ และเห็นด้วยกับข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น คือ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU : The Karen National Union ),พรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะยา (KNPP : The Karenni National Progressive Party),สันนิบาตสหชาติเพื่อประชาธิปไตย/พื้นที่อิสระ (UNLD/LA : The United Nationalities League for Democracy /Liberated Area ),สหภาพประชาธิปไตยฉาน (SDU : The Shan Democratic Union),พรรคปลดปล่อยอาระกัน (ALP : The Arakan Liberation Party)

นอกจากนี้ยังมีแนวร่วมแห่งชาติชิน (CNF : The Chin National Front ),องค์การปลดปล่อยประชาชนปะโอ (PPLO : The Pa-O People’s Liberation Organization ),แนวร่วมปลดปล่อยรัฐปะหล่อง (PLF : The Palaung State Liberation Front ),แนวร่วมประชาธิปไตยลาหู่ (LDF : The Lahu Democratic Front ) และพันธมิตรองค์กรชนกลุ่มน้อยอื่นๆ (Other allied Ethnic Nationalities organizations)
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ต.ค. 01, 18:48

ความปรองดองในพม่าเดินหน้า

เอเอฟพี/รอยเตอร์-ศึกการเมืองหม่องดูคลี่คลายไปไกลหลายขุม รัฐบาลทหารหม่องปล่อยตัว 2 ผู้นำสูงสุดของพรรคสันนิบาตประชาธิปไตยแห่งพม่า(เอ็นแอลดี)ได้แก่ ประธานพรรคอองชเววัย 83 ปี และรองประธานพรรคตินอูวัย 75 ปี ต้อนรับการมาเยือนของอิลมาอิล ราซาลิทูตพิเศษรับผิดชอบกิจการพม่าของสหประชาชาติ(ยูเอ็น)

สองผู้นำเฒ่าแห่งเอ็นแอลดีได้พบกับอองซานซูจีหัวหน้าเอ็นแอลดีเมื่อวันอาทิตย์(26) เป็นครั้งแรก หลังจากรัฐบาลเปิดศึกปราบฝ่ายค้านอย่างดุเดือดในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา

ราซาลิได้เดินทางมาถึงร่างยุ้งเมื่อวานนี้(27) เพื่อเร่งความคืบหน้าในการบรรลุการเจรจาปรองดองแห่งชาติครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างรัฐบาลท็อปบู๊ทและหญิงเหล็กแห่งโลกประชาธิปไตยอองซานซูจี

ราซาลิทูตชาวมาเลย์เดินทางมาเป็นตัวกลางการเจรจาดังกล่าวเป็นครั้งที่ 5 และจะอยู่ในร่างกุ้ง 5 วัน

ทูตเสือเหลืองได้สร้างบรรยากาศใหม่ อันเป็นความหวังในการผลักดันรัฐบาลพลเรือนพม่าตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา และระหว่าง 2-3 เดือนนี้ จอมเผด็จการพม่าได้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองเป็นระลอกๆรวม 170 คน ท่ามกลางสายตาจับจ้องของนานาชาติด้วยความยินดี.
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ต.ค. 01, 18:49

เสียงหมาเห่าที่น่ารำคาญในปัญหาไทย-พม่า

โดย ยอดธง ทับทิวไม้



อ่านได้ที่

http://www.manager.co.th/cgi-bin/viewNews.asp?newsid=1223149549960' target='_blank'>http://www.manager.co.th/cgi-bin/viewNews.asp?newsid=1223149549960
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ต.ค. 01, 18:49

เอามาจากนสพ.ผู้จัดการออนไลน์ ทั้งหมดครับ
การเมืองผมไม่รู้เท่าไหร่ แต่แว่วๆมาว่าทางตอนเหนือๆของพม่านั้นมีภูเขาสูง หิมะปกคลุม เลยคิดว่าถ้ามันสงบๆอาจจะมีที่เล่นสกีใกล้บ้าน ยิ้ม
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 ต.ค. 01, 19:16

ผมตามเรื่องการพยายามสร้างความปรองดองในชาติพม่ามาพักหนึ่งเหมือนกัน ตั้งแต่เมื่อมีข่าวว่าอ่องซานซุจีกำลังคุยกับผู้นำทหารพม่าฝ่ายที่หัวไม่รุนแรง หลายเดือนมาแลล้วครับ จะปีหนึ่งได้แล้วมั้ง? รัฐบาลทหารพม่าเขาบอกมานานแล้ว เกือบ 2-3 ปีแล้วว่าเขากำลังเจรจากับชนกลุ่มน้อย ใน 15 กลุ่มเจรจาได้แล้ว 14 กลุ่มเหลืออยู่กลุ่มเดียว เขาพูดมานานแล้ว ก็ว่ากันไปรอดูกันไป

ผมยังเห็นอยู่ว่า คุณยอดธง เอียง มีอะไรหลายอย่างที่น่ารับฟังในบทความของคุณยอดธง แต่ก็เป็นทัศนะของผู้ที่สุดโต่งไปข้างหนึ่งอยู่ดี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นพื้นฐานได้ แต่ความสัมพันธ์ส่วนตัวแทนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ได้ ทหารพม่าเขาชอบง่ายๆ ยังงั้น เขาจึงไม่สนใจกลไกที่ควรจะทำให้เป็นระบบ ชอบคุยเป็นส่วนตัว ในระยะสั้นอาจทำได้บ้าง แต่ในระยะยาวลำบากครับ มันต้องมีระบบมารองรับ ท่านรองนายกชวลิตท่านจะอยู่ช่วยเป็นทูตระหว่างไทยพม่าไปได้อีกกี่สิบปีกัน ไม่ได้แช่งนะครับ แต่ความจริงมีว่า สักวันหนึ่งท่านก็ต้องตายเหมือนผมเหมือนทุกคนแหละ

นอกจากนั้น การอิงความสัมพันธ์ส่วนตัวเกินไป ยังเปิดช่องให้เอื้อไปถึงการให้ประโยชน์กันเป็นส่วนตัวได้ ไม่ได้บอกว่ามีหรือไม่มี แต่บอกว่ามีความเป็นไปได้ ดังนั้นในฐานะประชาชนผู้เสียภาษี ผมขอย้ำอีกทีว่า ความสัมพันธ์ส่วนตัวช่วยเสริมความสัมพันธ์ระหว่างชาติได้ แต่แทนที่ไม่ได้ และที่แน่ๆ ผลประโยชน์ส่วนตัวจะมาแทนที่ผลประโยชน์แห่งชาติก็ไม่ควรจะได้เด็ดขาด

เรื่องชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ เชื้อสายต่างๆ ในพม่าเป็นเรื่องหนึ่ง แต่เรื่อง "ชนกลุ่มใหญ่" ล่ะครับ ประชาชนชาวพม่าเชื้อสายพม่าเองกับผู้ปกครองที่เป็นทหารพม่า มีการปรองดองดีหรือ? ในระยะสั้น NLD กับสลอร์ก (ผมเรียกรัฐบาลทหารพม่าตามชื่อเก่าแล้วกัน เดี๋ยวนี้เขาเรียกตัวเขาว่า SPDC) อาจจะกำลังคุยกันและคุยคืบหน้าไปได้ด้วยดีพอใช้ตามข่าว แต่ในระยะยาว สลอร์กจะยอมคืนอำนาจ คายอำนาจที่ตัวเองครองอยู่ให้ฝ่ายอื่น เช่น NLD มาแบ่งอำนาจ ไหม? อ้อยเข้าปากช้างครับ ผมว่า คงยาก แต่ก็ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นในระยะยาวต้องดูกันต่อไป คงต้องดูว่าฝ่ายพลเรือนที่อยู่นอกสลอร์กจะมีวิธีอย่างไรให้นายพลสลอร์กทั้งหลายขยับลงจากหลังเสือได้โดยไม่เสียหน้า หรือเสียอย่างอื่น ถ้ายังไม่มี ปมปัญหาก็ยังอยู่ หวังแต่ว่าปมนี้คงจะค่อยๆ แก้กันได้โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง

นายราซาลีทูตพิเศษของยูเอ็น เป็นชาวมาเลเซียครับ
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ต.ค. 01, 00:20

ไม่ได้อ่านของคุณธงฯ นะคะ
แต่จากที่ได้อ่านประวัติความเป็นมาในอดีต
ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ในปัจจุบันนั้น
และตามดูอยู่แบบห่างๆ คิดว่ารัฐบาล SPDC นั้น
คงไม่ยอมสลายอำนาจของตัวเองหรอกค่ะ
ตอนนี้เป็นช่วงหน้าฝน ทหารพม่าขึ้นไปจัดการ
กับชนกลุ่มน้อยไม่ได้ ต้องหยุดพักรบกันชั่วคราว
เลยหาอะไรทำกันแก้ว่างๆ ล่ะมั้ง
พอหมดฝน ก็เริ่มกันใหม่อีก เห็นเป็นอย่างนี้ทุกปี

ใครได้อ่านเรื่องเจ้าหลวงของรัฐฉานที่ถูกพม่าจับไป
แล้วหายไปเลยเมื่อสามสิบปีก่อนบ้างคะ คงยาก
ที่ชาวฉานจะยอมเข้ามาอยู่ใต้พม่าอย่างเบ็ดเสร็จ
เด็ดขาดอีก
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ต.ค. 01, 05:08

ขออย่าให้เป็นการเจรจาที่กลายเป็นการนองเลือดเหมือนสมัยที่ พ่อของนางออง ซานซูจี เคยโดนมาแล้วเลยนะครับ เห็นว่านั่นแหละคือต้นกำเนิดรัฐบาลสลอคเลยแหละ เพราะพ่อของนาง อองซาน ซูจี ก็เหมือนจะเป็นผู้นำสมัยนั้น เชิญชนกลุ่มน้อยมาคุยกันว่าจะทำยังไงให้พม่าสงบและอยู่กันอย่างสันติ รัฐบาลสลอค ทำได้ดีกว่านั้นครับ เก็บหมดเลยทุกกลุ่ม เรียกว่า เด็ดหัวผู้นำชนกลุ่มน้อยทุกกลุ่ม แล้วก็ตั้งรัฐบาลทหารพม่าขึ้นมาตั้งแต่บัดนั้น
บันทึกการเข้า
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 ต.ค. 01, 06:02

U Aung San, father of Daw Aung San Su Kyi and "Father of Modern Burma", did hold a talk with all minorities groups in Burma at the dawn of nation-building in that country. The result of that talk was the "Treaty of Panglong", as Puchadkarn Newspaper referred to. General Aung San intended to create a system of confederacy - the "Union of Burma" after Burma gained independence from the UK. But he was betrayed, so were the minorities, and his plan of the Union of Burma was not fully realized.



I am not sure what happened after U Aung San, probably U Nu got the power, before General Ne Win (SPDC's grandfather) staged a coup d'etat? Any Burma/Myanmar history expert around?
บันทึกการเข้า
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 ต.ค. 01, 06:21

I never know Khun Lung (Uncle) Yodthong, but at the top of his article, at his own name, one can click in and learn something about his life according to himself.



I draw one conclusion after reading Uncle Yod's short autobiography  : he is a 100% cynic.
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ต.ค. 01, 00:11

จากที่เคยอ่านผ่านตามาค่ะ

12 ก.พ. 2590 มีการทำสัญญาเวียงปางหลวงขึ้นระหว่างอูอ่องซาน
ซึ่งเป็นตัวแทนของพม่าในเวลานั้น ร่วมกับเจ้าฟ้าไทใหญ่ คะฉิ่น
และชิน  โดยตกลงกันว่าจะรวมตัวกันเป็นเวลาสิบปี แล้วหลังจากนั้น
ทุกรัฐอิสระสามารถแยกตัวออกไปตั้งเป็นประเทศใหม่ได้  ในการทำสัญญา
ครั้งนั้น มีแต่ชนกลุ่มกะเหรี่ยงเท่านั้น ที่ไม่ยอมทำสัญญานี้ด้วย เพราะ
ไม่เชื่อใจพม่า และหลังจากได้หลุดจากอำนาจของอังกฤษ ประธานาธิบดี
คนแรกของพม่าก็คือเจ้าฟ้าส่วยใต้ ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าไทใหญ่ แต่อำนาจที่
แท้จริงนั้น ยังคงอยู่ในมือของทหารพม่าซึ่งนำโดยอุนุ

สิบปีให้หลัง ทั่วเขตแควันรัฐฉานมีแต่กองกำลังพม่าไปตั้งมั่น
เตรียมการอยู่ รัฐมอญถูกรุกราน และในเดือนมีนาคม 2505 เนวินก็ยึดอำนาจ
จากอูนุ และบรรดาหัวหน้าของชนกลุ่มน้อยรัฐอิสระทั้งหลายก็ถูกเก็บ
ความฝันที่จะแยกตัวเองออกเป็นประเทศอิสระ พลันมลายหายไปจนสิ้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง