เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 482 มารู้จักวันเซนต์แพตริก St. Patrick's Day กัน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 17 มี.ค. 24, 11:03

     วันที่ 17  มีนาคมตรงกับวัน St. Patrick's Day  คนไทยอาจไม่ค่อยได้ยินชื่อวันนี้กันนัก  ไม่เหมือนวันวาเลนไทน์ แต่สำหรับคริสตศาสนิกชนชาวไอริช และผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคันคอมมิวเนียน (โดยเฉพาะเชิร์ชออฟไอร์แลนด์)  อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และลูเทอแรน  วันนี้เป็นวันสำคัญเฉลิมฉลองกันกว้างขวาง  เพราะถือเป็นวันเฉลิมนักบุญองค์อุปถัมภ์ (patron saint) ของประเทศไอร์แลนด์   ปัจจุบัน  ฉลองกันในสหราชอาณาจักร  แคนาดา สหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะในกลุ่มประชาชนที่มีเชื้อสายไอริช)  บราซิล อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
      


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 มี.ค. 24, 11:16

   นักบุญแพตริกเป็นใคร   นักบุญท่านนี้มีตัวตนอยู่จริง  (ไม่เหมือนซานตาคลอส)  มีชีวิตอยู่ในคริสตศตวรรษที่ 5   ในหนังสือ Confessio ซึ่งเป็นอัตชีวประวัติของท่านเล่าว่าท่านเป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิด   เมื่ออายุได้ 16 ปีถูกโจรสลัดไอริชจับตัวไปเป็นทาสในไอร์แลนด์    ท่านอยู่ที่นั่น 6 ปี เป็นคนเลี้ยงสัตว์ ก่อนจะหาทางหลบหนีกลับมาอยู่กับครอบครัวที่บ้านเดิมได้สำเร็จ
   ต่อมาหลังจากบวชเป็นพระบาทหลวง  ท่านก็เดินทางกลับไปไอร์แลนด์อีกครั้ง เพื่อเผยแพร่คริสตศาสนาทางเหนือและตะวันตกของประเทศ   ประจำอยู่ในไอร์แลนด์จนได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ (bishop)  แต่ไม่มีหลักฐานว่าท่านประจำอยู่ที่เมืองไหนหรือโบสถ์ไหนแน่    รู้แต่ว่าเมื่อล่วงมาถึงศตวรรษที่ 7  ท่านก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 มี.ค. 24, 11:28

    นักบุญองค์อุปถัมภ์ หรือ patron saint คือใคร
    ท่านเหล่านี้คือนักบุญในคริสตศาสนาบางนิกาย  เช่น อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก หรือออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ นับถือว่าเป็นผู้ที่ได้ใกล้ชิดพระเจ้า    สามารถอ้อนวอนขอพรจากพระองค์เพื่อประทานให่คริสตศาสนิกชนบนโลกได้    แต่ไม่ใช่ว่าผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักบุญทุกท่านจะได้เป็น patron saint    หลายท่านก็เป็นนักบุญเฉยๆ
    นักบุญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นองค์อุปถัมภ์นี้ จะเป็นองค์อุปถัมภ์ประจำดินแดนที่ท่านเกิดหรือปฏิบัติศาสนกิจ   ในบางกรณีสถานที่นั้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับนักบุญขณะยังมีชีวิต แต่ได้เป็นที่ฝังศพหลังจากมรณกรรมก็ถือว่านักบุญนั้นเป็นองค์อุปถัมภ์เมืองนั้น ในลาตินอเมริกามีหลายเมืองตั้งชื่อตามนักบุญ โดยถือว่านักเดินเรือชาวโปรตุเกสและสเปนมาถึงเมืองตรงกับวันฉลองนักบุญใด ผู้ค้นพบก็จะตั้งชื่อเมืองตามชื่อนักบุญนั้น ทำให้นักบุญนั้นได้กลายเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์เมืองในเวลาต่อมา
     นักบุญองค์อุปถัมภ์นอกจากอุปถัมภ์เมืองหรือประเทศแล้ว ยังอุปถัมภ์วิชาชีพอีกด้วย   มาจากอาชีพที่นักบุญนั้นเคยทำขณะยังมีชีวิตอยู่ หรือเคยแสดงการอัศจรรย์ซึ่งเทียบเทียมได้กับอาชีพนั้น ๆ เช่น นักบุญเวโรนีกาผู้ถวายผ้าคลุมผมของตนให้พระเยซูใช้ซับพระพักตร์ระหว่างเดินทางไปตรึงกางเขน แล้วเกิดปาฏิหาริย์รอยพระพักตร์ปรากฏติดบนผ้าผืนนั้น คริสตจักรจึงยกย่องนักบุญเวโรนีกาเป็นองค์อุปถัมภ์การถ่ายภาพ  
    แต่นักบุญองค์อุปถัมภ์นี้เป็นที่ยอมรับเฉพาะบางนิกาย ที่ได้กล่าวมาข้างบน  นิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น เพรสไบทีเรียน ไม่ยอมรับการนับถือหรือให้ความสำคัญกับนักบุญ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 มี.ค. 24, 17:01

    สมัยเป็นนักเรียนอยู่ที่อเมริกา  ก่อนวันเซนต์แพตริก จะมีบัตรอวยพรสีเขียวออกมาวางขายเต็มไปหมด  สำหรับส่งให้กันเหมือนบัตรอวยพรปีใหม่ 
    สัญลักษณ์ของวันนี้คืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับประเทศไอร์แลนด์และเซนต์แพตริก  เช่น สีเขียว (ไอร์แลนด์มีอีกชื่อว่า เกาะมรกต) ใบแชมร็อกหรืออีกชื่อว่า "โคลเวอร์" เป็นพืชประจำชาติ เป็นพืชสมุนไพรต้นเตี้ยๆคลุมดิน มีใบ 3 ใบรูปร่างเหมือนหัวใจ   แต่ถ้าใครเจอแชมร็อกที่มี 4 ใบละก็ถือว่าเป็นเครื่องราชนำโชค หาได้ยากมากค่ะ 
    เชื่อกันว่านักบุญแพตริกใช้ใบแซมร็อก 3 กลีบเป็นตัวอย่างสอนถึงพระตรีเอกานุภาพ (The Holy Trinity) แก่ชาวพื้นเมืองของไอร์แลนด์  ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้จักคริสตศาสนา จนกระทั่งพวกเขากลับใจมาเป็นคริสตศาสนิกชน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 17 มี.ค. 24, 17:04

  คนเชื้อสายไอริชในอเมริกาเฉลิมฉลองกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 มี.ค. 24, 17:12

      ถ้าเห็นรูปคนตัวเล็กๆในรูปข้างล่างนี้ปะปนอยู่ในการฉลองด้วยก็อย่าแปลกใจนะคะ   นี่คือสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมอีกอย่างของไอร์แลนด์   เป็นตัวคนแคระชื่อ leprechaun (อ่านว่า เล็บ-ประ-คอน)   พวกนี้เป็นภูตประจำท้องถิ่นไอร์แลนด์มาก่อนที่คริสตศาสนาจะเผยแพร่เข้าไป   หน้าตาเป็นชายชราตัวเล็กๆมีเครา แต่งชุดเขียว  เป็นช่างทำรองเท้า  มีสมบัติคือเหรียญทองคำใส่ไว้ในหม้อ ฝังไว้ที่สุดปลายของสายรุ้ง    ถ้าใครเดินทางไปถึงปลายสายรุ้งก็จะได้หม้อทองคำนี้
      เล็ปประคอนเป็นตำนาน  แต่ในยุคปัจจุบันก็มีผู้ที่อ้างว่าเคยพบเห็นเล็ปพระคอน โดยบอกว่ามีความสูงประมาณ 2 ฟุต มีปลายหูแหลม มีหนวดเคราสีแดง เคล่ื่อนไหวรวดเร็วมาก   เล็ปพระคอนอาศัยอยู่ตามถ้ำในป่าลึกทางแถบตะวันตกของไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นพื้นที่ ๆ มีความเชื่อเกี่ยวกับเทพนิยายและโลกเร้นลับสูงมาก    ทางรัฐบาลไอร์แลนด์ได้กำหนดให้พื้นที่แถบนี้เป็นเขตสงวนเล็ปพระคอนด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 มี.ค. 24, 17:24

      ถ้าเห็นรูปคนตัวเล็กๆในรูปข้างล่างนี้ปะปนอยู่ในการฉลองด้วยก็อย่าแปลกใจนะคะ   นี่คือสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมอีกอย่างของไอร์แลนด์   เป็นตัวคนแคระชื่อ leprechaun (อ่านว่า เล็บ-ประ-คอน)   พวกนี้เป็นภูตประจำท้องถิ่นไอร์แลนด์มาก่อนที่คริสตศาสนาจะเผยแพร่เข้าไป   หน้าตาเป็นชายชราตัวเล็กๆมีเครา แต่งชุดเขียว  เป็นช่างทำรองเท้า  มีสมบัติคือเหรียญทองคำใส่ไว้ในหม้อ ฝังไว้ที่สุดปลายของสายรุ้ง    ถ้าใครเดินทางไปถึงปลายสายรุ้งก็จะได้หม้อทองคำนี้
      เล็ปประคอนเป็นตำนาน  แต่ในยุคปัจจุบันก็มีผู้ที่อ้างว่าเคยพบเห็นเล็ปพระคอน โดยบอกว่ามีความสูงประมาณ 2 ฟุต มีปลายหูแหลม มีหนวดเคราสีแดง เคล่ื่อนไหวรวดเร็วมาก   เล็ปพระคอนอาศัยอยู่ตามถ้ำในป่าลึกทางแถบตะวันตกของไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นพื้นที่ ๆ มีความเชื่อเกี่ยวกับเทพนิยายและโลกเร้นลับสูงมาก    ทางรัฐบาลไอร์แลนด์ได้กำหนดให้พื้นที่แถบนี้เป็นเขตสงวนเล็ปพระคอนด้วย
     บัตรอวยพรวันเซนต์แพตริก มีตัวคนแคระแสดงอยู่เยอะมาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 มี.ค. 24, 17:52

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

สีฟ้าที่เรียกว่า St. Patrick's blue คือสีฟ้าอ่อน เหมือนสีท้องฟ้า    มาจากสีของสายสะพายที่ประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสหราชอาณาจักร  ชื่อ Order of St Patrick
ก่อนหน้าศตวรรษที่ 18  ชาวไอริชฉลองวันนี้ด้วยสีฟ้าอ่อน  มาเปลี่ยนเป็นสีเขียวในภายหลัง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 มี.ค. 24, 10:35

การฉลองวันนักบุญแพทริกที่ชิคาโก ด้วยการย้อมแม่น้ำเป็นสีเขียว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 มี.ค. 24, 19:02

  ใบโคลเวอร์หรือแชมร็็อก 4 กลีบ เป็นสัญลักษณ์ของ ศรัทธา (Faith)  ความหวัง (Hope)  ความรัก (Love)  และโชคดี (Luck)
   เขื่อกันว่าถ้ามีโคลเวอร์ 4 กลีบ ติดตัวไว้ จะทำให้มีแต่คนรัก
   ถ้าวางไว้ใต้ที่นอนหรือใต้หมอน  จะไม่มีภูติผีมารบกวน และจะหลับแต่ฝันดีตลอดคืน
  เด็กๆชาวไอริสเชื่อกันว่า หากมีใบโคลเวอร์ 4 กลีบติดตัวไว้ จะได้พบกับนางฟ้า
   หากใบมี 5 กลีบ จะทำให้มีโชคดีมากขึ้นไปอีก แต่ชาวอเมริกันกลับเชื่อว่า ถ้าเป็น 5 กลีบ จะพบแต่ความโชคร้าย
   พวงมาลาหรือมงกุฎที่ร้อยจากใบโคลเวอร์ 3 กลีบ มีความหมายแทนคำมั่นสัญญาจากชายหนุ่มให้หญิงสาว  เพราะกลีบที่สามนั้นกล่าวถึงความรัก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 มี.ค. 24, 19:04

เคท หรือแคทเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลส์  ไปร่วมเฉลิมฉลองงานนี้ ด้วยเสื้อผ้าสีเขียว  ประดับเข็มกลัดใบแชมร็อกบนเสื้อ 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 18 มี.ค. 24, 19:06

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 มี.ค. 24, 19:06

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 มี.ค. 24, 20:59

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 มี.ค. 24, 21:03

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 19 คำสั่ง