เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 889 เรื่องสั้น "ทำคุณ...."
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 ม.ค. 24, 13:07

อันที่จริงเรื่องนี้อ่านง่ายเพราะอาจารย์ใส่ปีไว้อย่างเรียบร้อย แต่นักศึกษาอาจไม่ทันสังเกตเลยพลอยสับสนเรื่องช่วงเวลา มีจริงนะครับต้องเขียนตรงๆ ไล่จากหนึ่งสองสามสี่ห้าเท่านั้น

ผมเล่าประวัติส่วนตัวเล็กน้อย สมัยเด็กบ้านผมเป็นห้องแถวไม้และถูกไฟไหม้แบบนี้เลย เหตุเกิดเพราะบ้านหลังหนึ่งทำอาหารเช้าแล้วทำไฟไหม้ ตอนนั้นไม่เห็นมีใครโทษบ้านต้นเพลิงสักคนก็แปลกดี มีแต่พูดคุยเรื่องสร้างบ้านใหม่กับความช่วยเหลือจากทางการอะไรแบบนี้ ไฟเร็วมากบ้านผมหลังสุดท้ายยังขนอะไรแทบไม่ทัน ผมมีประสบการณ์เห็นบ้านตัวเองไฟไหม้ทั้งหลังจนกลายเป็นเถ้าถ่าน

อาจารย์ถามว่าเรื่องนี้ใครผิด เป็นคำตอบที่ออกได้หลายทางประกอบไปด้วย

1.ต๋องผิดเพราะเป็นคนจุดไฟเผาบ้าน

2.ป้าสุขผิดเพราะดูแลลูกชายไม่ถูกวิธี

3.ปลิวผิดเพราะเข้าไปห้ามต๋องไม่ให้ทำร้ายแม่

4.ตำรวจผิดเพราะไม่จับคนติดยาเข้าคุก

5.เถ้าแก่ฮงผิดเพราะไม่ยึดบ้านที่สมควรเป็นของตัวเอง

6.ชาวบ้านผิดที่เอาแต่นิ่งเฉยดูดายไม่หาวิธีป้องกัน

ผมเข้าใจว่าอาจารย์กำหนดไว้แล้วใครผิดเชื่อมโยงกับสิ่งไหน อาทิเช่นต๋องผิดเพราะเป็นคนก่อเหตุ ตำรวจผิดเพราะกฎหมายไม่เหมาะสม หรือชาวบ้านผิดเพราะเหตุผลเรื่องปากท้อง บังเอิญผมไม่ค่อยสันทัดเรื่องสัญลักษณ์เชิงสังคม ไม่รู้จะอธิบายยังไงฉะนั้นขอจบมันดื้อๆ ตรงนี้

ไม่ได้ช่วยอะไรเลย  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 ม.ค. 24, 13:17

คำตอบคุณ Superboy ช่วยได้มากทีเดียวค่ะ  แล้วจะมาไขปริศนาทีหลังนะคะ
 
อย่าไปเอาใจใส่คำว่าสัญลักษณ์เชิงสังคมเลยค่ะ  คำนี้เป็นศัพท์ทางวรรณกรรม คนไม่คุ้นอาจรู้สึกว่ามันฟังน่าเกรงขามไปหน่อย    พออธิบายแล้วมันก็ธรรมดาๆนี่แหละค่ะ 
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 ม.ค. 24, 06:44

.
ผู้ผืดต้นเรื่องคือ พ่อแม่ของต๋อง ที่ประกอบอาชีพซึ่งไม่เป็นสัมมาอาชีวะ เป็นเหตุแห่งอบายมุข
..
ผู้ผิดท้ายสุดคือ ปลิวที่เผลอใช้ความรุนแรงกับต๋อง ตอนเข้าช่วยเหลือแม่สุขในครั้งที่สอง ครับ
...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 ก.พ. 24, 13:49

ได้ความเห็นจากคุณ ส.อ.ก.  ซึ่งส่งอีเมลมาให้ ค่ะ

เรื่องสั้น “ทำคุณ..” ของ ว. วินิจฉัยกุล ทำให้ผู้อ่านต้องถามตัวเองว่า คำพังเพยไทยที่ว่า “ทำคุณบูชาโทษ” ที่กล่าวมานี้มันสอนให้คนเห็นแก่ตัวหรือไม่
ในเนื้อเรื่อง พ่อแม่ปลิวจะเน้นห้ามเขา ไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับป้าสุข และต๋องลูกชาย อ้างว่าป้าสุขหนังเหนียว เจ้าต๋องตัวผอม จะทำร้ายแม่ตัวเองคงทำได้ไม่มาก หรือถ้าทำร้ายแม่จนตาย ก็เป็นเรื่องบาปกรรมของสองแม่ลูกเอง คนอื่นไม่ควรเกี่ยวข้อง แค่มีฐานะเป็นคนดูเหตุการณ์ก็ไม่เห็นจะเสียหายตรงไหน
ทัศนะคติแบบใจไม้ไส้ระกำไม่สนใจต่อสวัสดิภาพของป้าสุขเป็นความคิดและความรู้สึกส่วนรวมของคนในชุมชนนี้ หากคนคิดเห็นแก่ตัวแบบนี้  เราจะมองว่าสังคมที่เขาอยู่นั้นเป็นสังคมแบบไหน
ถ้ามองดูเวลาของเหตุการณ์ในเรื่อง จากปี 2559-2565 คนอ่านไม่ต้องกังขามาก เพราะไม่ใช่เรื่องเกิดในสมัยโบราณ แต่เป็นเรื่องทีเกิดในช่วงเวลาทีคนอ่านมีชีวิตอยู่    เลยต้องหันมาย้อนดูสังคมของตัวเองแล้วถามว่า เราอยู่ในสังคมที่มีความเสื่อมทรามทางศิลธรรม (morally corrupted society) หรือไม่
ทำไมชาวบ้านเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เรื่องป้าสุขและลูกชายต๋อง โดยไม่รู้สึกผิด
ชาวบ้านไปโฟกัสที่เหยื่อของสถานะการณ์ผิดตัวหรือเปล่า ทำไมผู้ใหญ่ดีผู้ที่ชาวบ้านเกรงขามนักหนา ไม่ไปชวนให้ป้าสุข ไปบวชชีเสีย แทนที่จะพา ต๋องไปรักษาหลายครั้งที่โรงพยาบาล แล้วก็ไม่ได้ผลดีเกิดขึ้น
ทำไมชาวบ้านไปโกรธชังปลิว
เพราะคิดว่าปลิวทำให้พวกเขาสูญเสียทรัพย์สิน ทำไมการที่เราเป็นชาวพุทธ เราไม่รู้จักให้อภัย
นี่คือตัวอย่างข้อคิดที่ทำให้คนอ่านต้องถามว่า นีคือชุมชนของพวกถือสากปากถือศีลหรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 ก.พ. 24, 13:53

2

สำหรับความเห็นที่ว่า ตัวละครในเรื่องคนไหนที่ควรจะถูกตำหนิมากที่สุด ว่าเป็นคนทำให้เกิดไฟไทมั ทำให้เจ้าของห้องแถวสูญเสียทรัพย์สิน ในความเห็นของตัวเองจะบอกว่า ป้าสุข คือคนมีส่วนรับผิดชอบมากที่สุด
แกเคยพูดให้ปลิวรู้ว่าเจ้าต๋องชอบเดินบ่อยๆบนถนนตอนกลางคืน แต่ไม่ทำร้ายใคร    ห้องนอนของป้าสุขอยู่ชั้นสองของตัวบ้าน บ้านป้าสุขไม่มีรั้วอยู่หน้าบ้าน    แสดงว่าป้าสุขต้องคอยมองดูต๋องเดินตอนกลางคืน ตามประสาแม่ที่รักลูก (ป้าสุขบอกปลิวเอง)  ไม่อย่างนั้นแกจะพูดได้เต็มปากเหรอว่า ต๋องได้แต่เดินไม่ทำร้ายใคร
ในคืนเกิดเหตุไฟไหม้    ป้าสุขน่าจะเป็นคนที่เห็นว่าต๋องลากขยะจากหน้าบ้านตัวเองไปสุมหน้าบ้านพ่อแม่ปลิว   แล้วก่อไฟขึ้น ถ้าแกเห็นต๋องลากขยะ แกก็น่าจะคิดได้ว่าเป็นเรื่องผิดแปลกไปจากการเดินถนน
ป้าสุขน่าจะออกมาจากบ้านตะโกนเตือนชาวบ้าน หรือไม่ก็เสี่ยงตัวออกมาให้เจ้าต๋องตบตี   แล้วเรียกร้องขอความช่วยเหลือ ปลุกให้ชาวบ้านตื่นนอน ก่อนที่จะสายเกินไป
ถ้าคิดแบบคนไทยก็จะว่ารักลูกไม่ถูกทาง ถ้าว่าตามกฎหมาย  ป้าสุขอยู่ในฐานะผู้สมรู้แม้จะไม่ได้ร่วมคิดด้วย
อันที่จริงแล้วเรื่องสั้นนี้มีข้อคิดมากกว่าทำดีได้ร้าย แต่เพิ่มความเห็นที่ว่า   การเพิกเฉยละเลยและเห็นแก่ตัวไม่อาจแก้ปัญหาของชุมชนได้  และชุมชนคงต้องกลับไปถามตัวเองใหม่ว่า ก็สังคมแบบไหนล่ะที่เราอยากเป็นสมาชิกอยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 ก.พ. 24, 14:08

ได้รับความเห็นทางอีเมล จากเพื่อนที่ใช้นามแฝงว่า " A Reader From Utah" ค่ะ

That is a very affecting story.  One can feel the emotions of the characters in the way you have written it.  Even though there is not a lot of description of feelings, the feelings are very clear to the reader to feel.

The first part felt like the start of horror movie or of a bad dream, a nightmare, a very Thai nightmare.  One comes home for a visit and is met by indifference and coldness from one’s family and friends; one is not sure about the cause.  There is no way to ask without creating more bad feeling.  One is trapped in a painful situation.  If he leaves, they will be further offended.  He has to stay and wait for the cause of the pain to be revealed.  In a horror movie that might be a local ghost; in a gangster movie it might be the people in the house across the street; here it is his own family and friends who have been made afraid of the local gangster by something he has done.  Thai hell.

Your use of psychiatric terms and the can’t-get-there-from-here problem of what do with “mentally ill” persons who won’t take their medications makes it both modern and more intractable.  You make it clear.  There is no medical solution here, no “intervention” as it is termed in the US these days.  It makes the sense of powerlessness even stronger — there is nothing these people might do to end the violence against the mother or to remove the threat of violence from the community.

If you were writing a story about a failed psychiatric treatment and failures of the legal system, you would want to fill in some of the story about what has happened over the years with ต๋อง, but then the villain in the story would change.  Now the villain is ปลิว, right? The person who does the “good deed”.

ต๋อง is a demon in this story.  I am wondering if he is representative of something else.  His family background sort of sounds like that of เจ้าพ่อ/นักเลง.  Is that what you want the reader to pickup on?  … You might have made them disgraced policemen or ex-drug lord soldiers …

You seem to say that when one has a demon in one’s midst, one must accept that fate.  And if someone comes in and attempts to control the demon, that person must be expelled from the community.  Do you know Shirley Jackson’s stories?  One in particular, “The Lottery”.  She writes about that, but she would then see that the community was the demon.

It is a very, very hopeless story.  I like it quite a lot.  But I wonder if we read it at all the same. 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 ก.พ. 24, 14:27

(แปล)
    เรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่กระเทือนอารมณ์อย่างมาก เราสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตัวละครในแบบที่คุณเขียน แม้คุณไม่ได้อธิบายความรู้สึกของตัวละครมากนัก แต่คนอ่านก็ได้สัมผัสอารมณ์ชัดเจนมาก
  
    ภาคแรกของเรื่องให้ความรู้สึกเหมือนเป็นฉากเริ่มต้นของหนังสยองขวัญ  หรือฝันไม่ดีของคนสักคน  เป็นฝันร้าย    ฝันร้ายแบบไทยๆ  เริ่มต้นด้วยใครคนหนึ่งกลับมาเยี่ยมบ้าน กลับพบแต่ความเฉยเมยและเย็นชาจากครอบครัวและเพื่อนฝูง   เขาไม่แน่ใจเกี่ยวกับสาเหตุ  แต่ก็ไม่มีทางที่จะถามโดยไม่สร้างความรู้สึกเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก   เขาติดขังอยู่ในสถานการณ์ที่เจ็บปวด แต่ถ้าเขาเดินออกไป  คนอื่นๆก็จะยิ่งขุ่นเคืองเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
(ยังมีต่อค่ะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 ก.พ. 24, 18:51

    เขาจึงต้องอยู่  และรอให้สาเหตุของความเจ็บปวดถูกเปิดเผยออกมาเอง  ในภาพยนตร์สยองขวัญ สาเหตุอาจเป็นปีศาจประจำท้องถิ่น ในหนังเจ้าพ่อ  ต้นเหตุอาจเป็นคนในบ้านฝั่งตรงข้าม แต่นี่คือครอบครัวและเพื่อนฝูงของเขาเองที่ขยาดหวาดกลัวพวกนักเลงท้องถิ่น ว่าอาจเอาเรื่องขึ้นมา  จากสิ่งที่เขาไปทำกับพวกนั้น
นี่แหละนรกแบบไทยๆ
      วิธีที่คุณใช้คำศัพท์ทางจิตเวช และสร้างปัญหาประเภท " ไม่รู้จะหาทางออกยังไง" สำหรับสร้างตัวละครที่ “ป่วยทางจิต” ที่ไม่อาจใช้ยาบำบัดได้  ทำให้เรื่องนี้ทั้งทันสมัยและยุ่งยากในการแก้ไข     คุณเขียนไว้ชัดเจนว่า ที่นี่ไม่มีวิธีแก้ปัญหาทางการแพทย์  ไม่มีการ "ยื่นมือเข้ามาช่วย" ตามที่เรียกกันในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน มันทำให้ความรู้สึกส้ิ้นหวังชัดเจนยิ่งขึ้น   ไม่มีอะไรที่ชาวบ้านสามารถทำเพื่อยุติความรุนแรงต่อยายสุข  หรือขจัดภัยคุกคามรุนแรงออกจากชุมชน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ก.พ. 24, 18:58

     ถ้าคุณกำลังเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความล้มเหลวในการรักษาทางจิตเวช  และความล้มเหลวของระบบกฎหมาย คุณก็คงอยากจะเติมเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมากับต๋อง แต่แล้วตัวร้ายในเรื่องก็จะเปลี่ยนไป   ตอนนี้ตัวร้ายคือปลิวใช่ไหม? คนที่ได้ชื่อว่า สร้างสรรค์ความดี?
   
     ต๋องเป็นตัวปีศาจร้ายในเรื่องนี้ ผมชักสงสัยว่าเขาเป็นตัวแทนของสิ่งอื่นด้วยหรือไม่ ภูมิหลังทางครอบครัวของเขาฟังดูคล้ายกับเจ้าพ่อ หรือไม่ก็นักเลง นั่นคือสิ่งที่คุณต้องการให้ผู้อ่านคิดแบบนั้นใช่ไหม? … คุณอาจเพิ่มรายละเอียดให้พวกเขาเป็นตำรวจฉ้อฉล หรืออดีตเจ้าพ่อค้ายา...?
 
     
   คุณเหมือนจะบอกว่า เมื่อมีปีศาจร้ายอยู่ร่วมกับเราในสังคม  เราก็ต้องยอมรับชะตากรรม  และถ้ามีใครเข้ามาพยายามจะจัดการกับปีศาจ คนนั้นจะต้องถูกไล่ออกจากชุมชน    คุณเคยอ่านเรื่องของ Shirley Jackson ไหม? โดยเฉพาะเรื่อง “The Lottery ” เธอเขียนเกี่ยวกับประเด็นนี้   แต่แล้วเธอเห็นว่าชุมชนที่เธออยู่นั่นแหละคือปีศาจร้าย

  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แสดงความสิ้นหวังอยู่มาก  ผมว่าผมชอบมันมากนะ แต่ผมสงสัยว่าเราอ่านแล้วจะคิดตรงกันหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง