เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 565 เหตุใดจึงเรียก “เถียง”?
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
 เมื่อ 04 ม.ค. 24, 21:44

เห็นบทความของศิลปวัฒนธรรมเรื่องเถียงนา

https://www.silpa-mag.com/culture/article_70830

มีการกล่าวถึงว่าการที่เรียกเถียงนั้นความเขื่อชาวบ้านมาจากเคล็ดทีาต้องให้คนมาเถียงกันก่อนสร้าง

ข้อนี้ผมสงสัยว่าอาจจะกลับกัน คือเคบ็ดชาวบ้านอาจจะทำตามชื่อเรียกเถียงที่พ้องกับคำกริยาเสียมากกว่านะครับ

ส่วนเถียงทำไมถึงเรียกเถียงนั้นจนใจจะหาที่มา แต่ขอตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่าคำนี้น่าจะเป็นคำร่วมกับภาษาจีน 亭 ที่แปลว่าศาลา จีนกลางออกเสียงว่าถิง แต้จิ๋วว่าเต๊งครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 ม.ค. 24, 09:35

ขอตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่าคำนี้น่าจะเป็นคำร่วมกับภาษาจีน 亭 ที่แปลว่าศาลา จีนกลางออกเสียงว่าถิง แต้จิ๋วว่าเต๊งครับ

คำว่า เถียง เป็นภาษาถิ่นอีสาน มีความหมายดังที่ คุณติ๊ก แสนบุญ อธิบายไว้ใน บทความของศิลปวัฒนธรรม คือ โรงเรือนที่ปลูกสร้างไว้สำหรับพักอาศัยในลักษณะชั่วคราว เพื่อเฝ้าพืชผลในไร่นาเรียก เถียง ถ้าปลูกสร้างอยู่ในพื้นที่นาเรียก เถียงนา ส่วนถ้าปลูกสร้างไว้ที่ป่าเรียก เถียงไร่ หรือ เถียงไฮ่

คำนี้เป็นคำร่วมกับคำในภาษาตระกูลไท โดยมีความหมายเดียวกับคำในภาษาถิ่นอีสานของไทย

ภาษาลาว     ຖຽງ  (ถย̂ง)
ภาษาไทเขิน  ᨳ᩠ᨿᨦ   (ถยง)
ภาษาไทลื้อ   ᦵᦏᧂ (เถง)
ภาษาไทใหญ่ ထဵင် (เถง)


อ้างอิงจาก wiktionary
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ม.ค. 24, 19:57

น่าสงสัยว่าเป็นคำร่วม ไทย-จีนนะครับ มีคำศัพท์จำนวนมากที่เป็นลักษณะนี้ เข้าใจว่า อ.หลีฟางกุ้ยเป็นคนเริ่มศึกษา อ.เมชฌ สอดส่องกฤษ เขียน blog เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน น่าสนใจอยู่ครับ

https://metchs.blogspot.com/2010/10/
https://metchs.blogspot.com/2011/05/blog-post_25.html

อย่างการนับเลขไทยกับจีน เห็นได้ชัดว่ามีที่มาร่วมกัน คำที่ฟังดูต่างกันค่อนข้างมากคือหนึ่งกับสอง

ซึ่งสองเองก็มีคำอธิบายอยู่ เพราะถึงแม้จะออกเสียงต่าง 二 เอ้อร์ อยู่มาก แต่เห็นได้ว่าน่าจะเป็นคำเดียวกับ 双 ซวง ปัจจุบันจีนใช้แปลว่าคู่ครับ

มีเลขหนึ่งที่ผมยังจำต้นชนปลายไม่ถูก สงสัยว่าอาจเป็นคำไทแท้ นักภาษาศาสตร์อาจจะมีคำอธิบายที่ดีกว่าผมครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ม.ค. 24, 09:35


รายการคําศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่คาดว่า จะเป็นคําศัพท์ร่วมเชื้อสายตระกูลไท – จีน
เมชฌ สอดส่องกฤษ
อาจารย์ประจําคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทคัดย่อ
ภาษาอีสานมีความสัมพันธ์กับภาษาไทยมาตรฐานในฐานะภาษาถิ่น มีความแตกต่างกัน ในเรื่องของระบบเสียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ในระดับคํา ภาษาอีสานมีคําศัพท์เฉพาะถิ่นจํานวน หนึ่งที่ไม่มีในภาษาไทย จากการศึกษาเกี่ยวกับภาษาตระกูลไทพบว่า ภาษาไทยเกี่ยวข้องกับภาษา จีนในฐานะภาษาร่วมตระกูลกัน ทําให้เชื่อได้ว่าคําศัพท์ภาษาอีสานกลุ่มนี้น่าจะเป็นคําศัพท์ ร่วมเชื้อสายตระกูลไท-จีนเช่นกัน ตามสมมติฐานของการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มคําดังกล่าวมี เสียงและความหมายสัมพันธ์กับคําในภาษาจีนสามระดับ คือ คําที่น่าจะเกี่ยวข้องกันมี ๖ คํา คําที่มีความสัมพันธ์กันมี ๑๘๘ คํา และคําที่คาดว่าเป็นคําศัพท์ร่วมเชื้อสายมี ๒๑๓ คํา รวม ทั้งสิ้น ๔๐๗ คํา

เป็นบทความที่น่าสนใจ แต่หากต้องการดู คำ และ ความ ในตาราง ลิงก์นี้น่าจะดูง่ายกว่า

http://www.asia.tu.ac.th/journal/EA_Journal52_2/A06.pdf

ที่ว่า เถียง เป็นคำร่วมกับภาษาจีน 亭 ที่แปลว่าศาลา จีนกลางออกเสียงว่า ถิง (ting2) อยู่ในหน้า ๑๔๗
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 ม.ค. 24, 11:35

การนับเลขไทยกับจีน เห็นได้ชัดว่ามีที่มาร่วมกัน คำที่ฟังดูต่างกันค่อนข้างมากคือหนึ่งกับสอง

ในภาษา จีนแคะ หรือ ฮากกา การนับเลข (ยกเว้น ศูนย์, หนึ่ง, สอง และ ห้า) เหมือนกันของไทยอย่างยิ่ง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ม.ค. 24, 19:24

ไม่มีความรู้ทางภาษาจีนค่ะ  แต่คิดมานานแล้วว่า "เถียง" คำนี้ไม่ใช่ภาษาไทยกลาง  แต่เป็นภาษาถิ่นของอีสาน   เป็นคำพ้อง ที่พ้องทั้งรูปและพ้องทั้งเสียงกับคำว่า "เถียง"ของไทยกลาง  ส่วนความหมายนั้นไม่เกี่ยวกันเลย  เป็นประเภทคำคนละชนิดด้วย
เถียงของไทยกลาง เป็นคำกริยา  เถียงของอีสานเป็นคำนาม
คำที่พ้องรูปและพ้องเสียงของไทยกลางกับภาษาถิ่นภาคอื่นๆมีอีกหลายคำ   นึกออกตอนนี้คำเดียวคือคำว่า "จ้อง"
ไทยกลาง เป็นคำกริยา  แปลว่า เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
ไทยเหนือ เป็นคำนาม แปลว่า ร่ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 ม.ค. 24, 10:35

เถียงของไทยกลาง เป็นคำกริยา  เถียงของอีสานเป็นคำนาม

แท้จริงแล้ว คำว่า เถียง ของอีสาน, ลาว รวมทั้งคำในภาษาตระกูลไท เป็นได้ทั้ง คำนาม และ คำกริยา (โดยมีความหมายเดียวคำของไทยกลาง) ดังตัวอย่างในเพลงภาษาลาว ຖຽງເມຍບໍ່ຄືຖຽງນາ (เถียงเมียบ่คือเถียงนา)

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง