เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18
  พิมพ์  
อ่าน: 6540 สุนทราภรณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 14 ก.พ. 24, 10:02

คนเขียนบทดั้งเดิมตอบมาแล้วค่ะ

"บทดั้งเดิมเป็นละครเพลงแบบเดียวกันค่ะ ใข้ชีวประวัติครูเอื้อเป็นตัวดำเนินเรื่อง โดยจบที่เพลงพระเจ้าทั้ง 5 ซึ่งเป็นเพลงสุดท้ายที่ครูเอื้อได้บันทึกเสียงไว้

เมื่อทางโรงละครเคแบงค์สยามพิฆเนศขอลิขสิทธิ์ไปจัดแสดง มีการปรับเพิ่มให้มีตัวละครเล่าเรื่อง (อาร์มกรกันต์) และมีการเปลี่ยนใช้เพลงสุนทราภรณ์ที่คุ้นหูมากขึ้น (บทดั้งเดิมมีเพลงหาฟังยากเยอะค่ะ) มีการเพิ่มมุกตลก เพิ่มบทสนทนาที่กินใจ  

ทั้งนี้เพราะผู้จัดทำมองว่าอยากให้ละครออกมาดูสนุกสนาน และเข้าถึงกลุ่มคนดูที่กว้างขึ้นไม่จำกัดแค่กลุ่มแฟนเพลงสุนทราภรณ์
แต่เนื้อเรื่อง ลำดับการเล่าและยังตามบทดั้งเดิมอยู่พอสมควรค่ะโดยเฉพาะในองก์แรก

ของเดิมได้รับการสนับสนุนจาก สกว เป็นงานวิจัยค่ะ เลยค่อนข้างอิงความถูกต้องของชีวประวัติ และการเลือกใช้เพลงที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของวงสุนทราภรณ์ "
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 14 ก.พ. 24, 10:09

 เช่น บทเดิมใช้เพลง บ้านเรือนเคียงกัน ซึ่งมาจากชีวิตจริงของครูเอื้อ  ในเพลงรักเพลงแผ่นดิน ใช้เพลง รักฉันสักนิดหนึ่ง

หรือเพลงตอนที่พี่สาวคุณอาภรณ์มาดูครูเอื้ออยู่กับเพื่อน บทเดิมใช้ ปรัชญาขี้เมา บทละครใช้ ใครจะเมตตา

ฉากที่ครูเอื้อคุมวงดนตรี ก็ถูกตัดออกไป

ช่วงที่ครูเอื้อเกษียณ และตั้งโรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรี มีการใช้เพลงจังหวะชีวิต (บทละครตัดเนื้อหาตรงนี้ออก) เรื่อง ครูดำ หลานครูเอื้อที่ต่อมามาเป็นหัวหน้าวงดนตรี (บทละครตัดตรงนี้ออก)

เป็นต้น


เท่าที่รู้อีกอย่าง คือฉากครูเอื้อนั่งเรือไปในคลอง   ครูเอื้อร้องเพลง "กลิ่นราตรี" ตามที่มาจากชีวิตจริง   ผู้กำกับละครตัดเพลงนี้ออก  เอาเพลงอื่นใส่แทน แต่พูดสั้นๆ ถึงกลิ่นดอกราตรีหอมในเวลากลางคืนแทน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 14 ก.พ. 24, 11:33

          ขอบคุณมากครับ

          เชื่อว่าหลายคนก็ผิดคาดเพราะนึกว่าจะมีเพลง บ้านเรือนเคียงกัน
          เสียดายเพลง จังหวะชีวิต เพลงนี้ที่เคยคุ้นจากรายการ ชีวิตกับเพลง ซึ่งนำเสนอการแสดงจากวงดนตรีสุนทราภรณ์ทางช่องเจ็ด สี
(จัดโดยคุณอัจฉรา กรรณสูต) ออกอากาศทุกคืนวันอาทิตย์
          ฉากครูดำ สั้นๆ ตอนท้ายเรื่องประทับใจ ครับ นักแสดงเลือกมาหน้าละม้ายอยู่

นิตยสาร สารคดี ออนไลน์ เสนอบทความน่าสนใจเมื่อไม่นานมานี้ 1 ตุลาคม 2023

                หลงใหล หลงเหลือ หลงลืม สุนทราภรณ์

https://www.sarakadee.com/2023/10/01/สุนทราภรณ์/

“เคยได้ยินผ่านหู ไม่ค่อยได้เปิดฟังเลย”
"จะอยู่รอดมั้ยก็คงไม่ได้นานขนาดนั้น เหมือนรุ่นเราก็ไม่ค่อยได้สนใจ แต่ถ้าเป็นป้า ๆ น้า ๆ เขาก็สนใจกันอยู่เป็นวัยของเขา อาจจะไม่ได้สืบต่อไป”
“เราว่าเพลงสุนทราภรณ์ไม่ตายหรอก ตราบใดที่ยังมีวันสงกรานต์ วันปีใหม่ และวันลอยกระทง”.....

และ ประเด็น ลิขสิทธิ์

“ประกาศ ทราบมาว่ามีแฟนเพลง นักเรียน ฯลฯ ติดต่อขอโน้ตเพลงบ้าง ขอให้ทำซาวนด์เพลงบ้าง ขอเรียนให้ทราบว่า ไม่อนุญาตให้นักดนตรีทำให้
ทั้งการก๊อปปี้โน้ตเพลง และทำซาวนด์ดนตรีนะคะ ถ้ามีใครติดต่อมา ขอความกรุณาให้มาติดต่อขอที่ป้าอี๊ดเองนะคะ จะพิจารณาเป็นรายบุคคลไป”

ป้ายกระดาษเคลือบพลาสติกแผ่นนี้ปักด้วยหมุดพลาสติกที่บอร์ดโอ๊กหน้าทางเข้าโรงเรียน

ปัจจุบันผู้ถือลิขสิทธิ์เพลงของ เอื้อ สุนทรสนาน คือ นางอติพร เสนะวงศ์ ผู้เป็นลูกสาว แต่เพลงสุนทราภรณ์ไม่ได้มีครูเอื้อเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว
ทำนองมีผู้ประพันธ์อีกหลายท่าน ลิขสิทธิ์ก็จะไปอยู่ที่เหล่าทายาท หรือหากขายไว้กับบริษัทใด บริษัทนั้นก็จะเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ อย่างบริษัท เมโทรแผ่นเสียง-เทป
(1981) จำกัด ถือลิขสิทธิ์ครูเพลงจำนวนมาก รวมทั้งลิขสิทธิ์สตรีมมิง ซึ่งเป็นสุนทราภรณ์สิ่งบันทึกเสียงดั้งเดิม แต่ถ้าเป็นการคัฟเวอร์ใหม่ ลิขสิทธิ์จะอยู่ที่
คนให้สิทธิ์ เช่น แกรมมี่โกลด์ หรือ Royal Bangkok Symphony Orchestra (RBSO)

“ลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก เนื่องจากคนแต่งเยอะ และไม่รู้ว่าคนแต่งยกให้ใครต่อหรือเปล่า เพราะเสียชีวิตกันหมดแล้ว บางคนก็มอบให้คนที่ไม่ใช่ญาติ
เทคโนโลยีไปเร็วเกินกว่าเราจะทำงานทันหรือกฎหมายจะครอบคลุมทัน”

ไข่หวานกล่าวเสริมว่า หากขอใช้ลิขสิทธิ์เพลงสุนทราภรณ์เชิงพาณิชย์ เช่น รายการประกวดร้องเพลงที่มีรายได้ ก็ต้องมีค่าใช้จ่าย แต่หากขออนุญาตเชิงการศึกษา
การเผยแพร่ที่ไม่มีรายได้ หรือการกุศล จะอนุญาตให้ใช้ฟรี โดยมีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเก็บเป็นข้อมูลว่าให้ใครนำเพลงไปใช้บ้าง

ส่วนกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ให้สิทธิ์เพียง 50-100 ปีหลังเจ้าของผลงานเสียชีวิต จากนั้นจะตกเป็นของสาธารณะ หลานสาวครูเอื้อกล่าวว่าเมืองนอกได้ปรับขยายเวลาแล้ว
แต่ของไทยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถ้าถึงเวลานั้นยังมีงานดนตรี โรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรีก็ยังทำได้ เพียงแค่ไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์อีกต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 14 ก.พ. 24, 13:01

  สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ   ปัจจุบันคนอายุ 60 ปีขึ้นไปเคยฟังเพลงสุนทราภรณ์ผ่านหูมาทั้งนั้น จากปู่ย่าตายาย  จากพ่อแม่ลุงป้าน้าอา    บางทีก็ฟังเพลงสุนทราภรณ์ที่ค่ายอื่นนำไปบรรเลง  และการประกวดเพลงทางโทรทัศน์
   คนอายุ 60 ปีขึ้นไปรู้จักเพลงรำวง  เพลงเต้นรำทั้งบอลรูมและลาติน  ชมรมลีลาศเพื่อสุขภาพก็มีให้เห็นหลายแห่ง   สุนทราภรณ์มีเพลงตอบสนองความต้องการของกลุ่มนี้มากกว่าใคร
   ตราบใดยังมีคนขอบ    ลมหายใจของสุนทราภรณ์ก็ยังมีอยู่ตราบนั้น

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 14 ก.พ. 24, 13:03

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 22 ก.พ. 24, 16:33

วิรัช  ศรีพงษ์ คลื่นลูกใหม่ของสุนทราภรณ์ เข้าประกวดรายการ "เพลงเอก"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 22 ก.พ. 24, 16:34

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 08 มี.ค. 24, 20:26

    ล่าสุด  สวธ. (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) เปิดตัวเพลงสงกรานต์ฉบับภาษาต่างประเทศ จากเพลง รำวงเริงสงกรานต์ ของสุนทราภรณ์    หลังองค์การยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
    สวธ.ได้กำหนดให้นักร้องคลื่นลูกใหม่ของสุนทราภรณ์เป็นผู้ขับร้องหมู่ เพลงรำวงเริงสงกรานต์  เพื่อเป็นเกียรติแก่ครูเอื้อ ผู้แต่งทำนองและเป็นผู้ก่อตั้งวงสุนทราภรณ์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 09 มี.ค. 24, 07:51

เนื้อร้องภาษาอังกฤษ

ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน              เนื้อร้อง  ดร.สรจักร  เกษมสุวรรณ

(สร้อย)Here comes the Thai New Year
Songkran is here, we sing Thai tune
Hear the beat, ‘tone-pa-tone-tone’
The hips, the feet, dancing Songkran

(ชาย)Enjoy the holiday, the game we play, let us enjoy
Let Songkran come, have lots of fun
Let everyone, come splash all day
Oh what I say, my honey lady,
Let’s come ‘n play Songkran
(สร้อย)Let’s sing this pretty song, let’s come Ramwong ‘n enjoy Songkran

(สร้อย)Here comes the Thai New Year
Songkran is here, we sing Thai tune
Hear the beat, ‘tone-pa-tone-tone’
he hips, the feet, dancing Songkran

(หญิง)Hear you, my dearest love, my heart’s pounding and fluttering
My little soul will keep dancing
The drum’s beating, we dance, we sing
Oh my baby, let’s splash away
We dance all day, Songkran

(สร้อย)Let’s sing the pretty song, let’s come Ramwong ‘n enjoy Songkran

(สร้อย)Here comes the Thai New Year
Songkran is here, we sing Thai tune
Hear the beat, ‘tone-pa-tone-tone’
The hips, the feet, dancing Songkran

(ชาย)Enjoy the holiday, the game we play, let us enjoy
Let Songkran come, have lots of fun
Let everyone, come splash all day
Oh what I say, my honey lady,
Let’s come ‘n play Songkran
(สร้อย)Let’s sing the pretty song, let’s come Ramwong ‘n enjoy Songkran

(สร้อย)Here comes the Thai New Year
Songkran is here, we sing Thai tune
Hear the beat, ‘tone-pa-tone-tone’
The hips, the feet, dancing Songkran

(หญิง)Hear you, my dearest love, my heart’s pounding and fluttering

My little soul will keep dancing
The drum’s beating, we dance, we sing
Oh my baby, let’s splash away
We dance all day, Songkran

(สร้อย)Let’s sing the pretty song, let’s come Ramwong ‘n enjoy Songkran

(สร้อย)Here comes the Thai New Year
Songkran is here, we sing Thai tune
Hear the beat, ‘tone-pa-tone-tone’
The hips, the feet, dancing Songkran

(สร้อย)Here comes the Thai New Year
Songkran is here, we sing Thai tune
Hear the beat, ‘tone-pa-tone-tone’
The hips, the feet, dancing Songkran
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 09 มี.ค. 24, 07:52

รำวงเริงสงกรานต์ ฉบับภาษาจีน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 15 มี.ค. 24, 10:05

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 17 มี.ค. 24, 10:51

เพลงพรพรหม คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน จากเพลงไทยเดิม : แขกมอญบางขุนพรหม   เพลงนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ (ทูลกระหม่อมบริพัตร) ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2453
เป็นเพลงคู่ที่ร้องยากที่สุดเพลงหนึ่ง 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 21 มี.ค. 24, 12:54

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 28 มี.ค. 24, 13:43

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 01 เม.ย. 24, 10:32


ในวันนี้ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นวันครบรอบมตะกาล ๔๓ ปี ของครูเอื้อ สุนทรสนาน บุคคลสำคัญของโลก ด้านวัฒนธรรมดนตรีสากล ตามที่องค์การยูเนสโก แห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องในโอกาสครบรอบชาตกาล ๑๐๐ ปี ของท่านเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓


ครูเอื้อมีสิ่งสูงสุดที่เทิดทูนอยู่เหนือจิตใจอยู่ตลอดมาคือ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ครูเอื้อปลาบปลื้มที่สุดวันหนึ่งในชีวิตศิลปินนักดนตรีคือ วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญรูปเสมาทองคำพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันครบรอบ ๓๐ ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ ในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๒ และต่อมาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า อีกด้วย
 
ขอนำผลงานเพลงชิ้นสำคัญ ที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน หรือ "สุนทราภรณ์" ได้บรรจงสร้างสรรค์ไว้เป็นปัจฉิมอนุสรณ์ ก่อนที่ท่านจะลาจากวงการดนตรี ลาจากแผ่นดินเกิด ลาจากโลก ไปสู่สัมปรายภพ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔ นั่นคือ เพลง "พระเจ้าทั้งห้า" ซึ่งเปรียบเสมือนคำอำลาจากใจของท่าน ด้วยเสียงขับร้องของท่านเอง...

"พระเจ้าทั้งห้า"
ทำนอง : ครูเอื้อ สุนทรสนาน
คำร้อง : ครูสุรัฐ พุกกะเวส
ขับร้อง : สุนทราภรณ์


ดวงใจดวงเดียว ที่ฉันมีอยู่
ขออุทิศให้ผู้ เอ็นดูเอื้อรักบูชา
มีพระคุณท่วมฟ้า เป็นพระเจ้าทั้งห้า
ปั้นฉันมีค่า สุดคณารำพัน

หนึ่งนั้นหรือ คือบิดาและมารดร
เลือดจากอุทรกลั่นป้อนลูกทุกวัน
สอง ชาติศาสนา มหาทรงธรรม์
พระเจ้าอยู่หัวมิ่งขวัญ ราชันภูมิพล
   
สามความรู้ จากครูอาจารย์
ขับขานชำนาญเพราะท่าน ช่วยกันหว่านพืชผล
สี่ลูกรักเมียขวัญ สำคัญกว่าตน
ทุกข์สุขยอมทน เพื่อคนรักด้วยดวงใจ
   
พระที่ห้า มีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สิน
ซอสุดรักไวโอลิน เหนือศิลป์ใดใด
ขอฝากเพลงร้อง ให้เสียงนั้นก้องตลอดไป
อนุสรณ์ฝากไว้ จากหัวใจสุนทราภรณ์



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง