เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 6553 สุนทราภรณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 20 พ.ย. 23, 09:33

     ปีนี้ สุนทราภรณ์วงดนตรีเพลงไทยสากลแห่งแรกของไทย ฉลองวันครบรอบ 84 ปี
วงดนตรีสุนทราภรณ์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482  นับเป็นวงดนตรีบิ๊กแบนด์ที่อายุยืนยาวที่สุดในสังคมไทย
   
     ความจริง  การรวมกลุ่มของนักดนตรีวงสุนทราภรณ์ เกิดขึ้นก่อนหน้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 หัวหน้าวง  ครูเอื้อ สุนทรสนาน กับเพื่อน ๆ ร่วมกันตั้งวงดนตรีไทยฟิล์ม ของบริษัท ภาพยนตร์ไทยฟิล์ม จำกัด ซึ่งมีเจ้าของคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
     ต่อมา  เมื่อบริษัทเลิกกิจการในปี พ.ศ. 2482     วิลาศ โอสถานนท์ อธิบดีกรมโฆษณาการ(หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ประสงค์จะก่อตั้งวงดนตรีประจำกรมสำหรับบรรเลงในราชการงานเมืองต่างๆ    จึงขอให้ครูเอื้อและเพื่อนนักดนตรีวงไทยฟิล์มเข้ามารับราชการ ทำงานด้านดนตรีในชื่อ "วงหัสดนตรีกรมโฆษณาการ"   ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์"
     นักร้องและนักดนตรีชุดเดียวกันนี้ เดิมเมื่อทำงานของทางราชการใช้ชื่อว่า วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่เมื่อรับงานส่วนตัวนอกเวลาราชการ จะใช้ชื่อว่าวงดนตรีสุนทราภรณ์ โดยมีที่มาจากนามสกุลของเอื้อ (สุนทรสนาน) สนธิคำกับชื่อภรรยาของครูเอื้อ  คุณอาภรณ์ กรรณสูต  รับเล่นตามงานเอกชนต่างๆนอกเวลาราชการ 
    หลังจากครูเอื้อถึงแก่กรรมเมื่อ  1 เมษายน พ.ศ. 2524   วงสุนทราภรณ์ตกทอดเป็นสิทธิมรดกตามกฎหมายของอติพร เสนะวงศ์ บุตรสาวของครูเอื้อกับคุณอาภรณ์ กรรณสูต มีนักร้องและนักดนตรีของตนเอง    ส่วนวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ขึ้นกับกรมประชาสัมพันธ์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 พ.ย. 23, 09:49

  ลักษณะวงดนตรีสุนทราภรณ์ คือวงดนตรีบิ๊กแบนด์ (Big band) หมายถึงวงดนตรีที่มีนักดนตรีตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป  ส่วนมากประกอบด้วยเครื่องเป่าเช่นทรัมเป็ต   ทรอมโบน แซ็กโซโฟน  และยังมีเปียโน, กีตาร์ เบส และกลอง
  ส่วนเพลงของสุนทราภรณ์เรียกว่าเพลงไทยสากล  คือเพลงที่ขับร้องด้วยภาษาไทย แต่ใช้มาตรฐานของโน้ตเพลงแบบสากล จนเป็นเพลงไทยแนวใหม่  คนละอย่างกับเพลงไทยเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นผู้นำการแต่งทำนองเพลงตามมาตรฐานดนตรีสากลและในการประพันธ์เพลงสำหรับบรรเลงด้วยแตรวงโดยเฉพาะเพลงวอลซ์ปลื้มจิต ในปี พ.ศ. 2446 สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพลงไทยสากลเพลงแรกในประวัติศาสตร์ดนตรีของเมืองไทย เพลงต่าง ๆ เหล่านี้ทรงนิพนธ์โดยใช้โน้ตและจังหวะแบบสากล    จากพระปรีชาสามารถในการทรงประพันธ์เพลง จึงทรงได้รับการยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งเพลงไทยสากล
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 พ.ย. 23, 09:50

บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 พ.ย. 23, 21:28

เนื่องจากปกวอลซ์ปลื้มจิต จึงขออนุญาตแว้บออกซอยข้างทางนิดนึงครับ
สุภาพสตรีที่เป็นปก  คลับคล้ายว่าน่าจะใช่ “คุณเรียม”ลูกสาวกำนันเรือง-แม่รวย แห่งทุ่งบางกะปิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 07:55

อ้าว คุณ Jalito นี่เอง  เชิญนั่งแถวหน้าค่ะ
ความจำดีมาก  ใช่ค่ะ เธอคือแม่เรียมแห่งทุ่งบางกะปิ   หลังจากพี่ขวัญจากไปแล้วก็โยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกาจนปัจจุบัน
ภาพข้างล่างคือภาพล่าสุดที่หาได้  น่าจะประมาณ 10 ปีแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 08:52

    ครูเอื้อเป็นชาวอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2453 เป็นบุตรชายคนสุดท้องของนายดี และนางแส สุนทรสนาน  มีพี่ชายและพี่สาว 2 คน คือ หมื่นไพเราะพจมาน (อาบ)  นางเอื้อน แสงอนันต์, นายเอื้อ สุนทรสนาน
    ครูเอื้อเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดใหม่ราษฎร์บูรณะในจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อเข้าศึกษาได้เพียงปีเศษ อายุ 7 ขวบ บิดาก็ส่งตัวเข้ามากรุงเทพให้อยู่กับหมื่นไพเราะพจมาน พี่ชาย ซึ่งรับราชการเป็นคนพากย์โขนในกรมมหรสพ   ครูเอื้อจึงได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดระฆังโฆสิตารามจนจบชั้นประถมศึกษา
    ระยะนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโรงเรียนพรานหลวงขึ้นที่สวนมิสกวัน เพื่อสอนวิชาสามัญตามปกติในช่วงเช้า และวิชาดนตรีทุกประเภทในช่วงบ่าย   เด็กชายเอื้อเลือกเรียนดนตรีฝรั่ง ตามความถนัดกับครูผู้ฝึกสอนคือ ครูโฉลก เนตตะสุต และ อาจารย์ใหญ่คือ อาจารย์พระเจนดุริยางค์
    พรสวรรค์ด้านดนตรีของครูเอื้อฉายออกมาตั้งแต่ชั้นประถม  เข้าตาพระเจนดุริยางค์ ดังนั้นหลังจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ. 2465 ท่านจึงให้หัดไวโอลิน และแซ็กโซโฟน ทั้งยังให้เปลี่ยนมาเรียนดนตรีเต็มวัน ส่วนวิชาสามัญนั้นให้งดเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นต้นมา
    สองปีต่อมา เมื่ออายุได้เพียง 12 ขวบ พรสวรรค์ด้านดนตรีเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อคณาจารย์   ท่านจึงส่งเข้ารับราชการประจำ กองเครื่องสายฝรั่งหลวงในกรมมหรสพ กระทรวงวัง รับพระราชทานยศเป็น "เด็กชา" ได้เงินเดือน 5 บาท เมื่อ พ.ศ. 2467 กระทั่งมีความชำนาญมากขึ้นจึงได้เลื่อนขึ้นไปเล่นวงใหญ่ใน พ.ศ. 2469 เงินเดือนเพิ่มเป็น 20 บาท และ สองปีต่อมาก็ได้รับพระราชทานยศ "พันเด็กชาตรี" และ "พันเด็กชาโท" ในปีถัดไป

      จนถึงพ.ศ. 2475 ครูเอื้ออายุ 22 ปี  โอนไปรับราชการสังกัดกรมศิลปากรในสังกัดกองมหรสพ และใน พ.ศ. 2478 เมื่อหลวงวิจิตรวาทการเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ได้รับเงินเดือนขึ้นเป็น 40 บาท และ 50 บาท
     เส้นทางของครูเอื้อสู่โลกดนตรีเริ่มขยายกว้างออกเป็นลำดับ    ได้ร่วมงานกับคณะละครร้องที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่น คณะของ แม่เลื่อน ไวณุนาวิน และได้แต่งทำนองเพลง ยอดตองต้องลม ขึ้น นับเป็น เพลงแรกที่แต่งทำนอง (เฉลิม บุณยเกียรติ ใส่คำร้อง) ในปีเดียวกันนั้นได้ขับร้องเพลง นาฏนารี (คู่กับ นางสาววาสนา ทองศรี นักร้องและดาราดังในสมัยนั้น) กับวงนารถ ถาวรบุตร ซึ่งถือว่าเป็น เพลงแรกที่ได้ขับร้องบันทึกเสียง ภายหลังต่อมาได้มีการบันทึกเพลง บัวขาว เป็นเพลงที่สอง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 08:53

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 08:59

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 09:39

   ในระยะแรกของการเป็นหัวหน้าวง  ครูเอื้อทำงานทั้งภาครัฐและเอกชนไปพร้อมๆกัน   ทางภาครัฐคือควบคุมวงดนตรีขึ้นอยู่กับกรมประชาสัมพันธ์  แต่งเพลงตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา  และนำวงออกแสดงในงานต่างๆตามแต่ราชการกำหนด   ส่วนภาคเอกชน ก็นำวงออกบรรเลงตามงานต่างๆนอกเวลาราชการ
   เมื่อเริ่มมีวงดนตรี   ประเทศไทยอยู่ในยุค "รัฐนิยม" ตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม  นายกรัฐมนตรี ที่จะสนับสนุนทุกทางให้ไทยก้าวไปสู่ความเป็นมหาอำนาจ    อย่างหนึ่งในนั้นคือการแต่งเพลงปลุกใจ และเพลงสนับสนุนนโยบายของรัฐ    หัวหน้าวงดนตรีของกรมโฆษณาการ(หรือกรมประชาสัมพันธ์)จึงได้รับมอบหมายให้รับหน้าที่นี้ไป
   ครูเอื้อได้คัดเลือกและรวบรวมนักร้องเสียงดีจำนวนมากมาอยู่ในวง เช่น ล้วน ควันธรรม   มัณฑนา โมรากุล  รุจี อุทัยกร   เลิศ ประสมทรัพย์   สุปาณี พุกสมบุญ    สุภาพ รัศมิทัต   ชวลี ช่วงวิทย์   วินัย จุลละบุษปะ   เพ็ญศรี พุ่มชูศรี จันทนา โอบายวาทย์  จุรี โอศิริ  และยังมีนักแต่งเพลงฝีมือเลิศอีกหลายคนที่มาแต่งเนื้อร้องให้กับทำนองของครูเอื้อ    บุคคลสำคัญที่ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเพลงคู่ใจครูแก้วคือครูแก้ว อัจฉริยะกุล
   เพลงปลุกใจที่โดดเด่นที่สุดของสุนทราภรณ์คือ บ้านเกิดเมืองนอน  จากฝีมือแต่งทำนองของครูเอื้อ และแต่งเนื้อร้องของครูแก้ว  ชนะเลิศการประกวดในปี 2487  เพลงดั้งเดิมขับร้องในจังหวะฟร็อกทร็อต กับดนตรีที่ให้อารมณ์ปลุกใจฮึกเหิม

    https://www.youtube.com/watch?v=1K23d0gaRz0&list=PLf_frVsaYeVg4_jZ_-t8RRIMtM1hLtqJm&index=1

   นำมาร้องอีกครั้งโดยนักร้องคลื่นลูกใหม่ สุนทราภรณ์

  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 09:44

    77 ปีต่อมา  เพลงนี้กลับคืนมาในจังหวะร็อค  ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมีอีกหลายชุดติดตามมา  พิสูจน์ว่าเพลงของสุนทราภรณ์ ยั่งยืนข้ามกาลเวลาอย่างแท้จริง
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 09:45

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 10:39

อีกเพลงหนึ่ง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 12:45

  รัฐนิยมอีกอย่างหนึ่งคือบังคับให้ประชาชนทุกคนต้องสวมหมวกเมื่อออกนอกบ้าน  ตามแบบของชาวตะวันตก ตามที่จอมพล ป. ไปดูงานต่างประเทศมา     วงสุนทราภรณ์จึงมีเพลง "สวมหมวก" สำหรับเชิญชวนประชาชนให้เห็นดีเห็นงามกับเรื่องนี้

   
   
บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 14:01

กะจะกล่าวถึงวงสุนทราภรณ์พอดีเลยครับ
บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 พ.ย. 23, 14:09

เมื่อกล่าวถึงเพลงปลุกใจของสุนทราภรณ์ ผมเคยตั้งข้อสังเกตว่าเพลงปลุกใจที่เก่าที่สุดของวงคือเพลงอะไร?

ส่วนตัวผมเชื่อว่า น่าจะเป็นเพลง "ปลุกไทย" ที่นำบทพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 มาใส่ทำนอง

เพลงนี้เข้าใจกันว่าแต่งในปี 2483 อันเป็นปีที่เกิดสงครามอินโดจีน

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง