เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6227 Autumnal equinox
ศศิศ
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 24 ก.ย. 01, 11:54

Autumnal equinox ...22 กันยา

วันนี้เป็นวันที่กลางวัน
ยาวเท่ากับกลางคืน

วันนี้เป็นวันที่
พระอาทิตย์ขึ้นตรงทิศตะวันออกพอดี

วันนี้เป็นวันที่
พระอาทิตย์ตกตรงทิศตะวันตกพอดี



อยากทราบว่า วัน Autumnal
equinox นี้ คนไทยเรารู้จักกันในวันอะไรครับ

( รวมถึง วัน Vernal
equinox ด้วยนะครับ )

และมีความสำคัญต่อคนไทยอย่างไรบ้างครับ
ในแง่ของการดำเนินชีวิตภายใต้ระบบเกษตรกรรม
/>
จากอดีตจวบจบปัจจุบันสมัย...



(ขอสู่มาโตยเน้อครับ
ตี้ถามเหมือนกับข้อสอบไปหน่อย )
src='http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW770x000.gif'>
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ก.ย. 01, 11:59

autumnal equinox ไทยว่า ศารทวิษุวัต ครับ และ vernal equinox เป็น วสันตวิษุวัต
แถม summer solstice เป็น ครีษมายัน กับ winter solstice เป็น เหมายัน

ส่วนใครเป็นคนบัญญัตินั้นผมสงสัยว่าจะเป็นราชบัณฑิตฯมาบัญญัติในชั้นหลังนี้เอง แต่ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับว่าทางโหรไทยมีใช้ด้วยหรือเปล่า (โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าไม่น่า) ซึ่งถ้าเป็นดังนั้นผมว่าจะใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษก็ดีอยู่แล้วครับเพราะสื่อสารเข้าใจเป็นสากลดีกว่าภาษาแขกครับ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ก.ย. 01, 14:21

เรื่องนี้จะอธิบายได้ง่ายมาก  หากวาดรูปประกอบได้อย่างใจ  แต่ดิฉันไม่มีโปรแกรมวาดรูป  ไปหารูปตามเว็บก็ไม่เคยได้ถูกใจซักที  เลยอาจจะทำให้ฟังดูเข้าใจยากหน่อยนะคะ



ดิฉันก็ไม่เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลี-สันสกฤตเท่าไหร่หรอกค่ะ  แต่จากคำที่เรียกๆกันที่มีรากศัพท์จากภาษาบาลีสันสกฤต  เข้าใจว่าเป็นคำศัพท์ที่ทางไทยเราเอามาตั้งกันเอง   ก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ  ว่าทางอินเดียเค้าเรียกกันอย่างไร



แต่พิเคราะห์จากคำเหล่านี้  ดูท่านผู้คิดคำขึ้นมา  จะอิงตามฤดูกาลที่พ้องกับวันเหล่านี้เป็นหลัก  ซึ่งต่างกับที่เค้าใช้เป็นมูลฐานทางภาษาอังกฤษ  คือยึดเอาปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์มาเป็นรากฐานของคำศัพท์  แม้จะมีการพ้องกับการเรียกฤดูกาลอยู่บ้าง  แต่ก็ไม่ใช่เป็นเอาปรากฏการณ์ทางฤดูกาลมาเป็นรากฐาน



คำว่า  Equinox  หมายถึงวันที่ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน  เกิดจากการที่ระนาบวงโคจรของโลก  ตัดกับระนาบวงโคจรของดวงอาทิตย์  ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละสองครั้ง  ในฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกภาคเหนือ และ ในฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกเดียวกัน  ปีละครั้ง  



ในแถบใกล้ศูนย์สูตร  จะไม่ค่อยรู้สึกถึงความสำคัญของมันเท่าไหร่  แต่อารยธรรมโบราณ  ที่อยู่เลยแถบศูนย์สูตรไป  ไม่ต้องมากหรอกค่ะ  ซัก ๒๕ องศาละติจูด  ความเปลี่ยนแปลงทางฤดูกาลก็มีผลอย่างมากต่อการเพราะปลูกแล้ว   แรงผลักดันให้เราศึกษาด้านดาราศาสตร์  ก็เพื่อบอกเวลาที่เปลี่ยนไปในรอบปี  เพื่อจะได้รู้ว่าจะได้เริ่มลงมือเพราะปลูกหรือเก็บเกี่ยวได้เมื่อไหร่  



ดาราศาสตร์ กับ ความต้องการรู้กำหนดของฤดูกาลก็มีความเกี่ยวพันกันมาก  เหมือนไก่กับไข่ใครเกิดก่อนกัน  แต่ที่ดิฉันว่า รากศัพท์มันหนักไปทางดาราศาสตร์มากกว่า  ก็เพราะคนโบราณอาศัยปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์มาบอกฤดูกาล  ไม่ใช่รู้กำหนดฤดูกาลแล้วเอามาบอกปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์  สมัยโน้นยังไม่มีปฏิทินนะคะ  การดิ้นรนขวนขวายสร้างปฏิทิน  เป็นการดิ้นรนทางเทคโนโลยีที่คนโบราณใช้เวลาเป็นพันเป็นหม่ืนปี  กว่าจะสามารถได้ความรู้นี้มา  



การตั้งคำศัพท์ให้ไปอิงฤดูกาล  ก็เหมือนจะลืมไปว่า  ในสมัยก่อนนั้น เราไม่รู้ว่าฤดูกาลเริ่มเมื่อไหร่  ใจดิฉันแล้วจึงไม่อยากใช้คำศัพท์แบบนี้ค่ะ  เพราะมันขัดกัลความเป็นไปทางประวัติศาสตร์ของอารยธรรมมนุษย์



รูปการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่ทำให้เกิดฤดูกาล ขออภัยค่ะ จำไม่ได้ว่าไปเอามาจากไหน
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW770x002.jpg'>
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ก.ย. 01, 15:10

ส่วนในด้านที่ว่า  เกี่ยวกับคนไทยมากมั้ย  ดิฉันว่าไม่เกี่ยวเท่าไหร่นักหรอกค่ะ  แต่ความรู้ด้านนี้ในสมัยโบราณ  ก็มีความสำคัญมาก  คนที่มีเวลาว่างมานั่งสังเกตการณ์การขึ้นลงของเทหวัตถุบนท้องฟ้า  ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลการจดบันทึกเป็นเวลานานกว่าจะรู้พอที่จะมาสรุปได้  ก็ต้องมีเวลาว่างมาก  สังคมโบราณจึงมอบหมายให้พระทำหน้าที่นี้  เพราะคงเพราะคิดว่า  พระเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่บนท้องฟ้า  คนที่รู้ความเป็นไปเกี่ยวกับท้องฟ้า  ก็ใกล้ชิดกับพระเจ้ามากกว่าคนธรรมดาไป  



การสรุปข้อสังเกตมาเข้าใจการขึ้นลง  เส้นทางโคจร ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว (เอาตำแหน่งสัมพัทธ์กับเรา  คือเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางตามที่สายตาเรามองเห็นและพาให้เข้าใจไปนะคะ)  ก็เริ่มมีมาสักหกพันปีก่อน  เป็นยุคที่เริ่มกำเนิดความรู้ทางดาราศาสตร์  ในสมัยโบราณ  ดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์ก็มีพื้นความรู้เดียวกัน  เมื่อเข้าใจเวลาการเปลี่ยนแปลงพอสมควรแล้ว  ความรู้นี้ก็เริ่มถูกนำมาใช้สนองความอยากรู้ชะตาอนาคตของคนเรา  โหราศาสตร์ก็ถือกำเนิดขึ้น  ตำราความรู้ทางโหราศาสตร์ก็กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ทางศาสนาไป



ดิฉันคาดว่า  การที่เรารับอิทธิพลศาสนาพราห์มมาใช้  ก็รับมาทั้งตำรา  เพราะทุกส่วนของพระเวทถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปหมด  ความรู้ทางดาราศาสตร์ก็เพื่อนำมาใช้ด้านโหราศาสตร์มากกว่า  ประโยชน์ของมันจริงๆในแง่เกษตรกรรม  ก็เลือนไปมาก   ยิ่งที่สำคัญคือ  ประเทศของเราอยู่ใกล้ศูนย์สูตร  ปัจจัยสำคัญทางเกษตรกรรมของบ้านเรา  อยู่ที่การพัดพาของลมมรสุม  มากกว่าตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า



ไม่ทราบจะพูดเรื่องที่คุณศศิศคิดสงสัยอยู่หรือเปล่า  ถ้าตอบไม่ถูกเรื่องก็ขออภัยด้วยนะคะ



ใน perspective ของคนบนโลก เรามองไม่เห็นว่าตำแหน่งของโลกเราในจักรวาลเป็นเช่นไร  เราไม่สามารถดูออกได้ง่ายนักว่า  โลกกำลังเคลื่อนที่ไปรอบๆดวงอาทิตย์  เพราะเราไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนที่นั้น  เรารู้สึกเหมือนว่า  โลกของเราไม่ได้เคลื่อนที่  ดวงตะวันจันทราและดวงดาวต่างหากที่เป็นฝ่ายเคลื่อนที่ไป



แล้วแต่ว่าเราจะอยู่ส่วนไหนบนโลก  เราจะมองเห็นว่า  ดวงอาทิตย์โคจรเป็นแนวโค้ง  แล้วแต่ว่าเราจะอยู่ตรงไหนบนวงโคจรรอบดวงอาทิตย์  ความที่แกนของโลกเอียง ๒๓.๕ องศา  ระนาบศูนย์สูตร(ในรูปข้างบนตามแนวเส้นรอบวงที่ศูนย์สูตร)หรือ equitoreal plane  จึงทำมุมกับระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์(วงรีใหญ่)  ที่เรียกว่า  ecliptic plane  และพื้นระนาบทั้งสอง  จะตัดกันตามแนวที่หากเรานึกภาพลากเส้นตรงระหว่างสองตำแหน่งของโลกที่  Vernal  และ Autumnal Equinox นะคะ ตำแหน่งนั้นทุกคนบนโลกจะเห็นพระอา่ทิตย์ขึ้นตรงทิศตะวันตกพอดี  และตกที่ทิศตะวันตกพอดี  คนที่อยู่บนแนวเส้นศูนย์สูตร  จะเห็นพระอาทิตย์เที่ยงวัน  อยู่ตรงหัวพอดีค่ะ



ส่วน  Solstice นั้น  รากศัพท์เดิมมาจากภาษาละตินว่า  solstitium  คำว่า sol แปลว่าดวงอาทิตย์ + stet- แปลว่าอยู่นิ่งๆ หรือ  stand still  เพราะดูจากจุด  equinox เมื่อโลกเคลื่อนตัวห่างออกไปตามวงโคจรรอบดวงอาทิตย์  คนบนโลกจะเห็นว่า  แนวเส้นทางเดินของดวงอาทิตย์  จะเบี่ยงไปทางเหนือหรือทางใต้  สังเกตดูตอนเที่ยงวันนะคะ  บางเวลาของปี  เราไปยืนกลางแดด  เงาของเรายังทอดตัวออกไป  ไม่ตรงหัวทีเดียว  เพราะดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงก็ยังทำมุมเฉียงๆอยู่  ก็เป็นเพราะมันไม่ได้อยู่ตรงหัวของเรานั่นแหละค่ะ  จนเมื่อโลกเราโคจรมาถึงจุดซ้ายหรือขวาดังภาพข้างบนนะคะ  คนบนโลกก็จะเห็นเหมือนกับว่า  พระอาทิตย์หยุดเบี่ยงไปทิศเหนือ(หรือใต้แล้วแต่ว่าเราเลือกเอาตำแหน่งด้านซ้ายหรือขวาในภาพ)  แต่วันนั้น  จะดูเหมือนพระอาทิตย์จะหยุดเบี่ยงเส้นทางโคจร  แล้วจะกลับเล้นทางการเบี่ยงไปยังทิศตรงข้ามในวันต่อไป  จึงเป็นที่มีของความหมายในคำว่า  solstice ค่ะ



พอเราเอามาแปลด้วยคำที่ให้ความหมายว่า  การมาเยือนของฤดูร้อนหรือฤดูหนาว(ครีษมายัน - เหมายัน)  ก็เลยผิดไปจากความหมายดั้งเดิมค่ะ



รูปนี้ดิฉันได้มาจากอาจารย์  James Schombert ซึ่งสอนดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโอเรก้อน  อาจารย์บอกว่าก็ไปแฮ้ปของเค้ามาอีกที  จำไม่ได้ว่าใครเป็นคนวาดภาพต้นฉบับแล้วค่ะ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW770x003.jpg'>
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ก.ย. 01, 15:16

อ้อ รูปข้างบนนี่  เป็นการมองตาม perspective ของคนบนโลกนะคะ  ตามการสังเกตการณ์ที่เราตัวเราเป็นหลัก  ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาดาราศาสตร์โบราณ  แต่เราก็ยังอาศัยระบบ coordinate ของท้องฟ้า  ตามตำแหน่งสังเกตการณ์ของคนบนโลกมาใช้ได้อยู่  ระบบนี้เรียกว่า  celestial sphere ซึ่งได้มาจากความที่ดูเหมือนกว่า  ดวงดาวจะอยู่ระยะห่างจากเราไปเท่าๆกันหมด  เพราะดวงดาวต่างๆอยู่ไกลมาก  และก็ดูเหมือนว่า  มีทรงกลมหุ้มห่อโลกอยู่  โดยโลกอยู่ที่จุดศูนย์กลาง  แล้วโดมนี้ก็หมุนไปรอบๆโลก  แต่ที่จริงแล้ว  เป็นเพราะโลกหมุนรอบตัวเองต่างหาก  

แต่เค้าก็ยังใช้ concept นี้มาหาตำแหน่งดาวกันอยู่นะคะ  

ในภาพจะเห็นได้ชัดว่า  ระนาบศูนย์สูตรกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์  มาตัดกันปีละสองครั้ง  ที่เราจะเห็นว่า  ช่วงเวลากลางวันกับกลางคืนเท่ากันพอดี

ไม่ทราบทำให้งงมากขึ้นไปกรือเปล่านะคะ
บันทึกการเข้า
ลุงหมี
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 ก.ย. 01, 16:06

รูปแรกรู้เรื่องกว่าครับ
บันทึกการเข้า
ไร้นาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 ก.ย. 01, 18:38

แหะ แหะ รู้เรื่องรูปสองค่ะ, ขอบคุณที่เอาเรื่องดีๆ มาเล่าให้ฟังนะคะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ก.ย. 01, 18:21

ผมมีความรู้สึก (แปลว่ามั่วครับ อย่าเพิ่งเชื่อ) ว่าคำสี่คำนี้มีมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งตั้งเร็วๆ นี้เพื่อแปลคำฝรั่ง ดูรูปคำเหมือนว่าจะเป็นภาษาสันสกฤต จะมีอยู่ก่อนแล้วในตำราฮินดูหรือไม่ ไม่ทราบ ใครทราบเรื่องปฏิทินหรือดาราศาสตร์อินเดียโบราณช่วยบอกด้วย

ผมนึกเอาเองว่าเป็นคำเก่าก่อนราชบัณฑิตฯ เพราะว่า ถ้าเป็นคำสร้างใหม่ราชบัณฑิตไม่น่าจะผูกศัพท์ใหม่ให้รุงรังอย่างนั้น แต่เป็นไปได้ว่าแขกอินเดียเขาก็สังเกตปรากฏการณ์นี้มาก่อนแล้วเหมือนฝรั่ง และจึงน่าจะมีคำ 4 คำนี้ใช้ในปฏิทินของเขาอยู่แล้ว การกลับไปหาคำนี้ซึ่งมีอยู่เดิมจึงเป็นการกลับไปหารากหนึ่งในวัฒนธรรมของเราเอง ยังยอมรับได้ แต่ถ้าเป็นการผูกขึ้นมาใหม่ของราชบัณฑิตท่านจริงๆ ก็เห็นจะบอกได้แต่ว่า - ไม่รู้เรื่อง....

อินเดียทางเหนือมีสี่ฤดูเหมือนฝรั่งครับ แต่ว่าชมพูทวีปนั้นกว้างใหญ่ ภูมิอากาศของทางอินเดียใต้ลงมาอาจจะคล้ายกับทางไทยเรามากกว่า ในตำราพุทธศาสนา (ผมไม่ทราบเหมือนกันว่ามีอยู่เดิมในตำราหรือเกิดขึ้นในการแปล) กำหนดให้ปีหนึ่งมีสามฤดูเหมือนเรา ร้อน-ฝน-หนาว (จำปราสาทสามฤดูของเจ้าชชายสิตธัตถะได้ไหมครับ) แต่ที่จริงนั้น บางภาคของอินเดียมีสี่ฤดูเหมือนฝรั่งด้วย
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 ก.ย. 01, 23:54

ขอบคุณมากค่ะ คุณ นกข ที่ช่วยให้เค้ามูลความเป็นไปได้ของที่มา ทำให้ได้แง่คิดได้อีกอย่างหนึ่ง



ดาราศาสตร์ของตะวันออกกับตะวันตกนั้น  ต่างกันตรงที่เอาดวงจันทร์ หรือ ดวงอาทิตย์มาเป็นตัวชี้(pointer) หรือตัวกำหนดเวลาในปฏิทินค่ะ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่กระทู้ห้องเด็กวิทย์ เรื่อง ราศีไทย ราศีฝรั่งนะคะ http://www.vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn20&ID=CS604)' target='_blank'>http://www.vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn20&ID=CS604)



คือเอาตำแหน่งที่พระอาทิตย์หรือพระจันทร์ขึ้น ว่าไปพ้องกับกลุ่มดาวกลุ่มใด  แล้วอาศัยกลุ่มดาวนั้นๆ  มาหมายเวลาปฏิทินน่ะค่ะ  แต่การหมุนของโลกรอบตัวเอง และรอบดวงอาทิตย์  กับการหมุนของดวงจันทร์รอบตัวเอง และรอบโลก(ซึ่งตามโลกไปรอบดวงอาทิตย์อีกทีหนึ่ง)  ทำให้วงจรต่างกัน  คือถ้าอาศัยรอบที่พระจันทร์มืด-สว่างมาสัมพัธท์กับรอบเดือน  มันจะคลาดเคลื่อนกับตำแหน่งกลุ่มดาวที่พระจันทร์ไปพ้องได้  คือพระจันทร์ขึ้นช้ากว่าเดิมวันละร่วมชั่วโมง  หรือแม้แต่การเอาตำแหน่งที่พระอาทิตย์ขึ้นตกมากำหนด  เมื่อสัมพัทธ์กับกลุ่มดาวแล้ว  จะดูเหมือนว่า  ดาวขึ้นลงเร็วกว่าเดิมวันละ ๔ นาทีกว่าๆ  ทั้งนี้ก็เพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปเรื่อยๆพร้อมกับที่หมุนรอบตัวเอง  และดวงจันทร์ที่ตามโลกไปโคจรรอบดวงอาทิตย์  ก็หมุนรอบตัวเองด้วยเหมือนกัน  แต่ดาวที่อยู่ไกลมากๆๆ  ตำแหน่งของมันก็เหมือนกับอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนไหว  กระทู้ราศึไทย-ราศีฝรั่งก็พยายามอธิบายตรงนี้ไว้แล้วค่ะ  แต่อาจจะอ่านไม่รู้เรื่องก็ได้ค่ะ เหอๆๆ



ปฏิทินทางตะวันออกนั้น ใช้ดวงจันทร์มากำหนด  จะเป็นการคิดค้นของชาวจีนหรืออินเดีย ก็ไม่ปรากฏแจ่มชัดนัก  แต่ใจดิฉันมีความเอนเอียงไปในทางที่ว่า  จีนได้มาจากอินเดียค่ะ  



การเอาพระจันทร์มาเป็นตัวชี้  มันเป็นไปโดยธรรมชาติ  เพราะจะเห็นกลุ่มดาวได้ชัดก่อนพระจันทร์ขึ้น  ไปรอก่อนพระจันทร์ขึ้นนิดเดียวก็จะรู้ได้ว่าคืนนั้นพระจันทร์จะ "เสวยฤกษ์" กลุ่มดาว  หรือนักษัตรไหน  คนโบราณจึงเริ่มพัฒนาด้วยระบบจันทรคติมาก่อน



แต่การใช้ระบบสุริยคตินั้น  ออกจะซับซ้อนอยู่สักหน่อย  เพราะเก่อนหลังพระอาทิตย์ขึ้น-ตกนั้น  ท้องฟ้ายังสว่างเกินไปที่จะดูดาวได้เห็น  ก็เลยต้องมีการหมายตำแหน่งขึ้นลงของดวงอาทิตย์ไว้ก่อน  พอฟ้ามืดพอควรแล้วจึงออกไปดูดาวอีกที  ในเขตละติจูดสูงๆนั้น  พระอาทิตย์ขึ้นลงอ้อยอิ่งใช้เวลานานกว่าใกล้ศูนย์สูตรมากเลยค่ะ  ดิฉันเคยไปที่ละติจูด ๕๕ องศาตอนหน้าร้อนทีงี้  เห็นๆว่าพระอาทิตย์จะตกแล้ว นู่น กว่าฟ้าจะมืดก็สองสามชั่วโมงโน่นแน่ะค่ะ  ใครที่อยู่ละติจูดสูงๆคงยืนยันให้ได้นะคะ



ตามพระเวทเก่าๆซึ่งหาได้ยากนั้น  หลักฐานชิ้นแรกปรากฏเมื่อ ๔๕๐๐ ปีมาแล้ว  โดยเอาดวงจันทร์มาเป็นตัวกำหนด  คือเป็นปฏิทินตามจันทรคติ  คือเอาตำแหน่งพระจันทร์ขึ้นมากำหนด  ตามตำราพระเวทก็ว่า  พระจันทร์เสวยฤกษ์นักษัตรอะไรน่ะค่ะ  นักษัตรนี้ก็คือกลุ่มดาวนั่นเอง  แต่ตามที่ทราบกันแล้วว่า  ปฏิทินจันทรคตินี้คลาดเคลื่อนมากต้องมาปรับเวลากันทีละเป็นเดือน



ต่อมาเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเด้อร์เข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย  ก็นำวิทยาการของตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ด้วย  ที่สำคัญที่สุดก็คือการใช้ปฏิทินตามสุริยคติ  ซึ่งชาวกรีกได้มาจากชาวอียิปต์ ชาวอียิปต์ก็ได้มาจากบาบิโลเนียอีกต่อหนึ่ง  



ที่เราเรียกว่า  พระอาทิตย์เสวยฤกษ์ในจักรราศี และการจัดระบบโดยจักรราศีทั้งปวง  ก็เป็นวิทยาการตะวันตกคือกรีกค่ะ  ในภายหลัง พวกพราห์มก็เริ่มรับระบบสุริยคติเข้ามาปนกับจันทรคติของเดิม  คือแม้จะดูเดือนตามจักรราศี  แต่ก็ยังไม่ทิ้งระบบนักษัตรไปเลย  ฤษีครคยา(อาจจะสะกดผิดนะคะ)ได้รวบรวมพระเวทขึ้นราวๆสองพันกว่าปีก่อน  และผสานสุริยคติเข้าด้วยกันกับจันทรคติค่ะ



จากการสันนิษฐานของดิฉันเอง  คิดว่า  จีนรับระบบจันทรคติไปจากอินเดีย  แล้วการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากจีนสู่อินเดีย "คงจะ" หยุดไปเมื่อจีนเองก็มีพัฒนาการของตัวเอง  จีนจึงไม่ได้ใช้ระบบจักรราศีค่ะ



ก็เป็นไปได้่ด้วยค่ะ  ว่าเราเอาศัพท์มาจากพราหมเรื่องสี่ฤดู  เพราะต้นตำรับการจัดสี่ฤดูตามจักรราศีนั้น  มาจากแหล่งอารยธรรมในตะวันออกกลาง  บาบิโลเนียนั้น  ก็ร่วมละติจูด ๓๕ องศาแล้วค่ะ  ลุ่มน้ำไนล์ก็สามสิบกว่าองศา  กรีกนั้นก็ถึง ๔๐ องศาทีเดียว  เค้ามีสี่ฤดูแน่นอนค่ะ  



ทางอินเดียนั้น  ดิฉันเดาๆเอานะคะ  ว่าเนื่องจากในภายหลังได้รับถ่ายทอดการจัดปฏิทินด้วยสุริยคติมาในภายหลัง  ก็อาจจะนำการแบ่งสี่ฤดูนี้มาตั้งแต่สมัยพราหมณ์แล้วมังคะ



แต่ไม่ว่าจะเป็นคนอินเดียคิดศัพท์นี้มาก่อน  หรือเรามาตั้งกันทีหลัง  ที่พอจะเห็นได้ชัดสักหน่อยก็คือ  มันไม่ตรงกับความหมายเดิมเท่าไหร่  แต่การไหลถ่ายเทความเข้าใจไปหลายต่อหลายต่อนั้น  คลาดเคลื่อนกันได้ง่ายๆค่ะ  



ต้องขออภัยที่อาจจะทำให้งง  ดิฉันเองก็ยังเรียบเรียงความคิดได้ไม่ดีนัก  วันหลังมีเวลาจะนั่งลงใช้สมาธิมากกว่านี้สักหน่อยคิดว่าจะวาดรูปประกอบอย่างไรให้เข้าใจได้ง่ายกว่านี้สักหน่อยค่ะ  และจะหาอ่านเพิ่มเติมให้ปะติดปะต่อเรื่องราวได้มากสักหน่อย  แต่หลักฐานพวกนี้หายากมากค่ะ  คนตะวันออกไม่ค่อยจะมีแหล่งกลางที่สะสมตำราเก่าๆ  และการจดบันทึกก็ไม่สมบูรณ์  การค้นหาอะไรย้อนหลังไปนานๆนี่ทำได้ยากมากเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 11:14

๒๒ กันยายน ๒๕๕๙



สุขสันต์วันศารทวิษุวัต

Happy Autumnal equinox day
ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 19 คำสั่ง