เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 1730 สถานที่ประทับเจ้านายฝ่ายในวังหน้าหลังสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพสวรรคต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 19 พ.ย. 23, 09:17

ยินดีที่คุณกันเกราได้ประโยชน์ทางการศึกษาจากกระทู้นี้ค่ะ   
ขอบคุณคุณหมอ SILA ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมด้วย   
 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 19 พ.ย. 23, 10:24

ยังมีต่ออีกหน่อยครับ

          เมื่อเจ้าฟ้าอิศรสุนทรได้สถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวร ฯ ในนิพนธ์ร.๔ ปรากฏความว่า
          คุณเสือกราบทูลว่า พระราชวังบวรฯ ร้าง ไม่มีเจ้าของทรุดโทรมยับเยินไป เหย้าเรือนข้างใน
ก็ว่างเปล่ามาก ขอพระราชทานให้เชิญเสด็จกรมพระราชวังบวร ฯ พระองค์ใหม่ขึ้นไปทรงครอบครอง
จึงจะสมควร
          ร. ๑ ดำรัสว่า


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 19 พ.ย. 23, 10:32

         ในรัชกาลที่ ๒,


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 19 พ.ย. 23, 11:11

และ         


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 19 พ.ย. 23, 11:34

    คำขอของกรมพระราชวังบวรฯ ก่อนสิ้นพระชนม์  จะว่าไปฟังๆก็น่าจะง่าย    คือให้เจ้านายพระโอรสของท่านครอบครองวังต่อไป  อย่าได้ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น  เหมือนกับพ่อสร้างบ้านไว้  ก็อยากให้ลูกชายได้อยู่ต่อเมื่อพ่อถึงแก่กรรมแล้ว    
    แต่ในทางปฏิบัติ ไม่ง่าย
   ถ้าพระองค์เจ้าลำดวนและพระองค์เจ้าอินทปัต รวมทั้งองค์อื่นๆได้ครองวังหน้าต่อไป   ท่านจะอยู่ในฐานะอะไร  
    1 อยู่ในฐานะเจ้าของวังหน้า   ก็ต้องได้รับการสถาปนาเป็นวังหน้าพระองค์ต่อไป ?
    2 เป็นพระองค์เจ้าเหมือนเดิม   แต่อยู่วังใหญ่โตกว่าเจ้านายอื่นๆ รวมทั้งเจ้าฟ้าด้วย
    ถ้าเป็นข้อ 1   พระองค์เจ้าลำดวน/พระองค์เจ้าอินทปัตก็ต้องเป็นพระมหาอุปราช    แล้วเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) พระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินจะทรงอยู่ในตำแหน่งอะไร  สูงหรือต่ำว่าพระโอรสวังหน้า
    ถ้าเป็นข้อ 2  ก็หมายความว่าพระองค์เจ้าลำดวนและองค์อื่นๆยังอยู่ในฐานะพระองค์เจ้าอย่างเดิม แต่อยู่วังใหญ่ มีผู้คนบริวารมากมาย สามารถซ่องสุมก่อกบฎได้ อย่างที่มีข่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว

     สมมุติว่าพระองค์เจ้าลำดวนและพระองค์เจ้าอินทปัตเป็นเจ้านายซื่อๆ สงบเสงี่ยมเจียมตนมาแต่แรก ไม่เคยหือออือกับใคร     เมื่อมีสิทธิ์อยู่วังหน้าก็อยู่ไปอย่างเงียบๆกับพี่น้อง  ส่วนขุนนางย้ายไปรับราชการวังหลวงกันหมดตามกฎหมาย   ท่านก็คงได้อยู่กันไปจนสิ้นอายุขัย        ถ้าตั้งหน้าตั้งตาช่วยรบทัพจับศึก เพราะเคยออกรบมาก่อน ก็คงจะได้ทรงกรมกับเขาบ้าง   ประวัติศาสตร์ก็จะบันทึกไว้ว่า ท่านเป็นเจ้านายทรงกรมอีก 2 องค์ที่ออกรบมาตลอดพระชนม์ชีพ เหมือนเจ้านายวังหลัง
   แต่พระองค์เจ้าลำดวนกับพระองค์เจ้าอินทปัตไม่คิดเช่นนั้น
   ก่อนหน้ากรมพระราชวังบวรสวรรคต   อยู่ระหว่างประชวร  พระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต และพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน) ซ่องสุมผู้คนการใหญ่  หาคนที่ดีมีวิชาความรู้มาทดลองวิชากันในวังพระองค์เจ้าลำดวน ถ้าพลั้งพลาดล้มตายลงก็ฝังเสียในกำแพงวังเป็นหลายคน  ของพรรค์นี้ถึงปิดก็ปิดไม่มิดอยู่ดี
    เมื่อสิ้นกรมพระราชบวร  ความก็แตก   พระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต ถูกจับตัวมาสอบสวน ยอมสารภาพ  ซัดถึงพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน) พระยากลาโหม (ทองอิน) ให้การว่าวันถวายพระเพลิงเป็นวันจะลงมือปลงพระชนม์
   ผลคือทั้งสองถูกถอดลงเป็นหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต  ถูกสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์ ส่วนพระยากลาโหมราชเสนากับพรรคพวก ถูกตัดคอประหารชีวิต
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 23 พ.ย. 23, 10:25

  เมื่อมีการสถาปนาตำแหน่งมกุฎราชกุมารในรัชกาลที่ 5  นับเป็นอวสานของตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  เจ้านายฝ่ายในของวังหน้าทรงถูกโยกย้ายเข้าไปอยู่ในพระราชฐานฝ่ายในของพระบรมมหาราชวัง รวมกับเจ้านายสตรีวังหลวง
    การยกเลิกตำแหน่งวังหน้า นำความร่วงโรยมาสู่เจ้านายวังหน้า     เจ้านายฝ่ายในหลายองค์ดำรงพระองค์อย่างอัตคัต    เห็นตัวอย่างได้จากพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ พระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาสุ่นเล็กพระองค์เจ้า   พระราชบิดาเสด็จทิวงคตเมื่อพระองค์เจ้าสุนทรีนาฏมีพระชันษาได้ 4 ปีเศษ
    พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานเงินเพื่อทรงใช้หนี้เก่าจำนวน 10,000 บาท แต่กระทรวงวังเบิกจ่ายให้ 5,560 บาท ต่อมาทรงกู้ยืมเงินจากนางแสง แสงชูคำ จำนวน 350 บาท จนเกิดคดีความขึ้น
    (เสียดายว่าหาหลักฐานคดีความไม่เจอ  คุณกันเกราทราบไหมคะ)

    พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ เป็นเจ้านายชั้น "พระราชวรวงศ์เธอ" ที่มีพระชนม์อยู่เป็นพระองค์สุดท้าย ก่อนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2513    สิริพระชันษา 90 ปี

    เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2514 เวลา 17.00 น. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงพระศพ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 24 พ.ย. 23, 12:04

จาก ตำนาน วังหน้า กรมพระยาดำรงราชานุภาพเรียบเรียงนี้
 
         กล่าวถึงเจ้าศรีรจจา เพิ่มเติมในตอนหลัง ในส่วนของสิ่งปลูกสร้าง ตำหนักวังหน้า ระบุว่าเจ้าศรีรจจาสิ้นเมื่อไร ไม่ปรากฏ
แต่ในวิกกี้ลงวันที่ - วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2364 อ้างจาก
         พับสาของพระยาเทพอุดร ขุนนางเมืองลำปาง ชาวเมืองพะเยา ระบุว่า "1183 ตัว ปีรวงไส้ เดือน 9 ออก 5 ค่ำ วัน 3 เจ้าครอกตาย มีสันนี้แล"
จากการคำนวณของชัยวุฒิ ไชยชนะ ตรงกับวันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2364


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 24 พ.ย. 23, 12:36

แสดงว่าเจ้าศิริรจจาสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2  ก่อนสิ้นรัชกาล 3 ปี
สิ้นพระชนม์ที่เมืองเหนือแน่นอน   ถ้าสิ้นพระชนม์ในกรุงเทพ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพน่าจะทรงทราบข้อมูล
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง