เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 1739 สถานที่ประทับเจ้านายฝ่ายในวังหน้าหลังสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพสวรรคต
กันเกรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 16:11

ข้อความในส่วนที่เกี่ยวกับฝ่ายใน ณ วังหน้าครากรมพระราชวังบวรฯ สวรรคต ที่พบ -

          สมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อสถาปนากรมหลวงอิศรสุนทรเป็นกรมพระราชวังบวรฯ แล้ว แต่ให้ประทับอยู่ในพระราชวังเดิม
ด้วยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้กราบมูลไว้แต่เมื่อประชวรหนักว่า ขอให้ลูกเธอได้อาศัยอยู่ในพระราชวังบวรฯ ต่อไป

          สมัยรัชกาลที่ ๕ เขตวังชั้นใน(ของวังหน้า) ให้รักษาเป็นพระราชวังอยู่อย่างเดิม ทรงมอบหมายให้พระองค์เจ้าดวงประภา
พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงสำเร็จราชการฝ่ายใน โดยโปรดให้เสด็จขึ้นมาประทับที่พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาส

          สมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อพระองค์เจ้าวงจันทร์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สิ้นพระชนม์ เจ้านายวังหน้าที่เหลือ
เสด็จลงไปอยู่พระราชวังหลวง...

    

ขอบพระคุณคุณ SILA นะคะ  แสดงว่าหากสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ กราบทูลขอให้เจ้านายฝ่ายในวังหน้าประทับพระบวรราชวังต่อ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้เป็นไปตามพระประสงค์โดยให้มีการจัดการที่เหมาะสมกับพระเกียรติยศของเจ้านายฝ่ายใน (จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ที่เจ้านายฝ่ายในวังหน้าน่าจะน้อยพระองค์แล้ว)  ในกรณีอื่น ๆ เช่นเป็นช่วงหลังสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ สวรรคตเป็นระยะเวลานานมาก ๆ เจ้านายฝ่ายในของพระบวรราชวังน่าจะมีการย้ายที่ประทับโดยที่ประทับใหม่เหมาะสมกับราชประเพณี  ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 18:34

นอกจากเจ้านาย ฝ่ายในของวังหน้ายังมีเจ้าจอมอีกด้วย   คุณกันเกราค้นข้อมูลได้หรือยังคะว่า บรรดาเจ้าจอมเมื่อสิ้นวังหน้าแล้ว  โยกย้ายตามเจ้านายสตรีไปอยู่ที่ใหม่ด้วยกัน  ไปอยู่วังข้างนอกกับพระองค์เจ้าที่เป็นพระโอรส หรือว่าลากลับไปอยู่บ้านกับญาติพี่น้อง
บันทึกการเข้า
กันเกรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 20:24

นอกจากเจ้านาย ฝ่ายในของวังหน้ายังมีเจ้าจอมอีกด้วย   คุณกันเกราค้นข้อมูลได้หรือยังคะว่า บรรดาเจ้าจอมเมื่อสิ้นวังหน้าแล้ว  โยกย้ายตามเจ้านายสตรีไปอยู่ที่ใหม่ด้วยกัน  ไปอยู่วังข้างนอกกับพระองค์เจ้าที่เป็นพระโอรส หรือว่าลากลับไปอยู่บ้านกับญาติพี่น้อง

ตอนนี้กันเกราพบข้อมูลที่แน่นอนสำหรับเจ้าจอมมารดาท่านเดียวค่ะคือเจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก ธิดาพระยาสุธรรมมนตรี(ท่านคืออุปราชพัฒน์ของนครศรีธรรมราชซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยพระราชทานเจ้าจอมมารดาปรางค่ะ) เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็กเป็นเจ้าจอมมารดาของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราชในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทค่ะและเป็นน้องสาวของเจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ พระมารดาสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพค่ะ

หลังสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ สวรรคตเจ้าจอมมารดานุ้ยเล็กท่านถวายบังคมลากลับไปยังนครศรีธรรมราชค่ะขณะที่พระธิดา (ซึ่งขณะนั้นมีพระชันษา 20 พรรษา)ยังประทับอยู่ในกรุงเทพ ฯ ตลอดจนถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ค่ะ   ในรัชสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 เมื่อเจ้าจอมท่านอายุมากแล้ว พระองค์เจ้าปัทมราชกราบทูลขอพระบรมราชานุญาตเสด็จนครศรีธรรมราชเพื่อทรงดูแลเจ้าจอมมารดาค่ะและได้รับพระบรมราชานุญาตค่ะ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ทรงรักนับถือพระองค์เจ้าปัทมราช ตรัสเรียกว่าเจ้าอาว์เจ้าน้า มีพระราชหัตถเลขาหลายครั้งถึงพระองค์เจ้าปัทมราชค่ะพร้อมกับพระราชทานเบี้ยหวัดของพระองค์เจ้าปัทมราชและเจ้าจอมมารดานุ้ยเล็กถึงนครศรีธรรมราชด้วยค่ะ เลยมีหลักฐานเชิงเอกสารค่ะว่าเจ้าจอมมารดาท่านกลับไปยังนครศรีธรรมราชค่ะ (เมื่อเจ้าจอมมารดาท่านถึงแก่อนิจกรรม พระธิดาเสด็จกลับกรุงเทพฯ ได้นำคณะละครผู้หญิงมาด้วยค่ะ เป็นที่มาของละครชาตรีค่ะ)
บันทึกการเข้า
กันเกรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 20:48

สำหรับอีกท่าน(หรือทางกัมพูชาต้องเรียกว่าอีกพระองค์) คือเจ้าจอมมารดานักองค์เภาค่ะ สมเด็จพระอุทัยราชากษัตริย์กัมพูชากราบทูลขอพระบรมราชานุญาตล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ขอพระปิตุจฉาคือนักองค์อีและนักองค์เภากลับสู่กัมพูชา แต่เรื่องมีหลายแบบ กันเกราจึงไม่แน่ใจค่ะ ถ้าตามพระราชพงศาวดารของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาตเนื่องจากทรงไม่อยากให้เจ้าจอมมารดาและพระธิดาจากกันไกลค่ะ  แต่บางเอกสาร (อาจจะทางกัมพูชา) คือพระราชทานพระบรมราชานุญาตเฉพาะนักองค์เภาค่ะ ส่วนนักองค์อีและพระธิดาประทับในกรุงเทพฯ ค่ะ  

อีกพระองค์ที่กันเกราไม่แน่ใจที่ประทับหลังสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ สวรรคตคือพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดีค่ะ พระธิดาสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระชายาสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ และพระมารดาพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ค่ะ หลังพระองค์เจ้าดาราวดีสิ้นพระชนม์ พระโอรสถวายพระตำหนักและพระอุทยานของพระองค์เจ้าดาราวดีสร้างเป็นวัดจอมสุดาราม แต่วัดจอมสุดารามอยู่ไกลจากวังพระโอรสมาก (ถ้าประทับที่นั่นจริง ๆ คือไกลมาก อยู่เขตดุสิต ขณะที่วังพระโอรสอยู่ปากคลองวัดชนะสงครามใกล้วังหน้า) พระอุทยานอาจจะหมายถึงสวนซึ่งพระองค์เจ้าดาราวดีทรงเป็นเจ้าของก็เป็นได้ค่ะ  ส่วนพระตำหนักกันเกราเดาว่าอาจจะเป็นในวังพระโอรสค่ะ (พระตำหนักมีความเป็นไปได้ทั้งในพระบวรราชวังและในวังพระโอรส แต่เดาว่าน่าจะอย่างหลังนะคะ ซึ่งถ้าเป็นจริงคือพระองค์เจ้าดาราวดีประทับกับพระโอรสหลังสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ สวรรคตค่ะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 08:00

นึกขึ้นมาได้ถึงอีกท่าน(หรือองค์)หนึ่ง  คือเจ้าศิริรจจา หรือเจ้าศรีอโนชา พระชายากรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท   ค้นข้อมูลไม่เจอ  แต่เคยได้ยินคุณเผ่าทองพูดถึง (พูดที่ไหนสักแห่ง จำไม่ได้แล้ว) ว่าเจ้าศิริรจจาท่านเสด็จกลับไปเมืองเหนือแต่เจ้าฟ้าพิกุลทองยังอยู่ในกรุงเทพ
เจ้าศิริรจจากลับไปตั้งแต่กรมพระราชวังบวรฯ ยังมีพระชนม์อยู่ หรือสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ยังหาข้อมูลไม่พบค่ะ
คุณกันเกราพอจะหาข้อมูลได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
กันเกรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 10:57

นึกขึ้นมาได้ถึงอีกท่าน(หรือองค์)หนึ่ง  คือเจ้าศิริรจจา หรือเจ้าศรีอโนชา พระชายากรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท   ค้นข้อมูลไม่เจอ  แต่เคยได้ยินคุณเผ่าทองพูดถึง (พูดที่ไหนสักแห่ง จำไม่ได้แล้ว) ว่าเจ้าศิริรจจาท่านเสด็จกลับไปเมืองเหนือแต่เจ้าฟ้าพิกุลทองยังอยู่ในกรุงเทพ
เจ้าศิริรจจากลับไปตั้งแต่กรมพระราชวังบวรฯ ยังมีพระชนม์อยู่ หรือสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ยังหาข้อมูลไม่พบค่ะ
คุณกันเกราพอจะหาข้อมูลได้ไหมคะ

กันเกราเคยอ่านพบเกี่ยวกับพระอัครชายา เจ้าศิริรจจา ในวารสารศิลปวัฒนธรรมค่ะ รศ. สมโชติ อ๋องสกุลเขียนในบทความเกี่ยวกับพระอัครชายาเจ้าศิริรจจาว่าหลังกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคต "ไม่พบเรื่องราวของพระอัครชายาเจ้าศรีอโนชา แต่คงอยู่ในพระราชวังบวรฯ จนสิ้นพระชนม์ และคงมีการนำอัฐิมาที่นครลำปาง"  กันเกราเคยแวะไปกราบพระธาตุลำปางหลวง ได้มีโอกาสเห็นกู่ที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระอัครชายา เจ้าศิริรจจา ด้วยค่ะ (อาจจะฟังดูแปลกนิดหนึ่งและ supernatural แต่กู่ที่ประดิษฐานพระอัฐิให้ความรู้สึกน่าเกรงขาม อันนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัวของกันเกรานะคะ ท่านอื่น ๆ อาจจะรู้สึกแตกต่างออกไป) สำหรับข้อมูลกันเกราขออนุญาตคาดเดาว่า อ.สมโชติน่าจะพยายามหาข้อมูลแต่ไม่พบข้อมูลที่ชัดเจน (ถ้าเสด็จล้านนา ทางล้านนาน่าจะบันทึก) ท่านจึงคิดว่าพระอัครชายาเจ้าศิริรจจาน่าจะประทับพระบวรราชวังกับพระธิดาหลังสมเด็จกรมพระราชวังบวร ฯ สวรรคตค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 11:18

  ดิฉันเคยได้ยินมา(ซึ่งอาจจะผิดก็ได้  ห้ามนำไปอ้างอิง) ว่าเจ้าศิริรจจาเสด็จกลับลำปาง ตั้งแต่กรมพระราชวังบวรฯ ยังมีพระชนม์อยู่   ภายหลังจากที่ทรงได้นักองค์อีมาเป็นเจ้าจอม 
  เจ้าศิริรจจาประทับอยู่ที่ลำปางจนสิ้นพระชนม์  ส่วนเจ้าฟ้าพิกุลทองยังอยู่ในวังหน้า จนสิ้นพระชนม์เมื่อพ.ศ. 2353  ในรัชกาลที่ 2  พระชันษา 33 ปี
บันทึกการเข้า
กันเกรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 11:39

กันเกราคิดว่าเป็นเรื่องที่แปลกนิดหนึ่ง เพราะพระอัครชายา เจ้าศิริรจจาทรงมีชื่อเสียงมากค่ะ แต่พระประวัติช่วงหลังค่อนข้างลางเลือน  ในพระราชพงศาวดาร (ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์อีกเช่นกันค่ะ)  กล่าวถึงงานพระเมรุของเจ้าฟ้าพิกุลทองที่สนามหลวงค่ะ แต่ในพระราชพงศาวดารฉบับนี้ ถ้าจำไม่ผิด (กันเกราอาจจะต้องขอเช็คอีกครั้ง) ไม่เอ่ยถึงพระมารดาเลยค่ะ

กันเกราเคยได้ยินว่าจริง ๆ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์มีพระประสงค์จะอภิเษกกับเจ้าฟ้าพิกุลทองค่ะ (อันนี้เป็นการได้ยินมาแบบไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์นะคะ) แต่เจ้าฟ้าพิกุลทองสิ้นพระชนม์ก่อน

เจ้าจอมมารดานักองค์อีเป็นพระสนมที่ทรงโปรดมาก (ทรงสร้างวัดสำหรับพระมารดานักองค์อีที่บวชเป็นรูปชีในพระบวรราชวัง แสดงว่าต้องโปรดมาก ๆ) แต่ชีวิตของเจ้าจอมมารดานักองค์อีผ่านอะไรเยอะมาก (แต่ละอย่างน่ากลัวมากเลยค่ะ)

 
บันทึกการเข้า
กันเกรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 12:06

กันเกราคิดว่าเป็นเรื่องที่แปลกนิดหนึ่ง เพราะพระอัครชายา เจ้าศิริรจจาทรงมีชื่อเสียงมากค่ะ แต่พระประวัติช่วงหลังค่อนข้างลางเลือน  ในพระราชพงศาวดาร (ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์อีกเช่นกันค่ะ)  กล่าวถึงงานพระเมรุของเจ้าฟ้าพิกุลทองที่สนามหลวงค่ะ แต่ในพระราชพงศาวดารฉบับนี้ ถ้าจำไม่ผิด (กันเกราอาจจะต้องขอเช็คอีกครั้ง) ไม่เอ่ยถึงพระมารดาเลยค่ะ

กันเกราเคยได้ยินว่าจริง ๆ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์มีพระประสงค์จะอภิเษกกับเจ้าฟ้าพิกุลทองค่ะ (อันนี้เป็นการได้ยินมาแบบไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์นะคะ) แต่เจ้าฟ้าพิกุลทองสิ้นพระชนม์ก่อน

เจ้าจอมมารดานักองค์อีเป็นพระสนมที่ทรงโปรดมาก (ทรงสร้างวัดสำหรับพระมารดานักองค์อีที่บวชเป็นรูปชีในพระบวรราชวัง แสดงว่าต้องโปรดมาก ๆ) แต่ชีวิตของเจ้าจอมมารดานักองค์อีผ่านอะไรเยอะมาก (แต่ละอย่างน่ากลัวมากเลยค่ะ)

 

ขออภัยมาก ๆ เลยค่ะ กันเกราจำผิดจริง ๆ พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 2 เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพค่ะ (รัชกาลที่ 1 3 และ 4 เขียนโดยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ และชำระโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพค่ะ แต่สำหรับรัชกาลที่ 2 เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ท่านเรียบเรียงไว้สั้นมาก จึงทรงพระนิพนธ์ขึ้นใหม่ค่ะ) ทรงเล่าถึงการทิวงคตของเจ้าฟ้าพิกุลทองแต่เพียงสั้น ๆ ค่ะ (ทรงเอ่ยถึงพระอัครชายา เจ้าศิริรจจาว่าคือพระมารดา แต่ไม่ได้ทรงเล่ามากกว่านั้น) สำหรับเรื่องงานพระเมรุเจ้าฟ้าพิกุลทองอยู่ในหนังสืออีกเล่มซึ่งก็กล่าวถึงสั้น ๆ เช่นกัน  (อาจจะไม่แปลกที่ไม่ได้เล่าถึงพระมารดาค่ะ เพราะทั้งสองเล่มรายละเอียดโดยสังเขปจริง ๆ ค่ะ)
บันทึกการเข้า
กันเกรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 12:35

กันเกราลองค้นข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ นักประวัติศาสตร์ล้านนามีหลายความเชื่อเกี่ยวกับพระประวัติช่วงหลังของพระอัครชายา เจ้าศิริรจจา ค่ะ  คุณเพ็ญสุภา สุขคตะเชื่อว่าพระอัครชายาสิ้นพระชนม์หลังเจ้าฟ้าพิกุลทองค่ะ และเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ว่าเสด็จกลับล้านนาหลังจากนั้น (คุณเพ็ญสุภาใช้คำว่า "ความเป็นไปได้" ค่ะ)   ส่วน อ.สมโชติท่านเชื่อว่าสิ้นพระชนม์ที่กรุงเทพฯ และอันเชิญพระอัฐิไปลำปางค่ะ รายละเอียดทางประวัติศาสตร์ล้านนาน่าจะไม่ชัดเจนค่ะ 

(อีกข้อมูลที่พบคือจากสาส์นสมเด็จค่ะ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตรัสถึงบุษบกพรหมพักตร์ในพระบวรราชวัง (ในนิพพานวังหน้าเรียกว่าพระที่นั่งพรหมพักตร์) ว่าบนบุษบกนอกจากที่ประทับตรงกลาง มีมุขพื้นลดสองข้างซ้ายขวาซึ่งมีที่ประทับเช่นกัน  บุษบกนี้ใช้เวลาให้สตรีบรรดาศักดิ์เข้าเฝ้าค่ะ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพดำริว่ามุขพื้นลดซ้ายขวาน่าจะเป็นที่ประทับของพระอัครชายาเจ้าศิริรจจาและเจ้าฟ้าพิกุลทองค่ะ)

บันทึกการเข้า
กันเกรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 12:58

เอกสารทางประวัติศาสตร์อีกชิ้นคือพระนิพนธ์นิพพานวังหน้าค่ะ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัมพุชฉัตร นิพนธ์ตอนหนึ่งว่า

จึงดำรัสเรียกเหล่าบุตรีสมร ประโลมสอนพ่อจะร้างนิราศา
ดวงจิตรฝากชีวิตรพระบิตุลา วาศนาหาไม่จงเจียมสกล
สมรยากฝากองค์ให้การุญ ถ้าพระคุณเคืองเข็ญไม่เปนผล
จะพึ่งพ่อเล่าก็พ่อไม่ยืนชนม์ ยลแต่บาทนะจงตั้งภักดีตรง
หนึ่งพระเสาวนีที่มียศ พระธิดาปรากฎมงกุฎหงษ์
จงฝากกายนะอย่าหมายหมิ่นทนง เจ้าเปนวงษ์จงรักษ์ธุลีลออง

กันเกราไม่แน่ใจนะคะ ปกติพระเสาวนีย์หมายถึงพระดำรัสของสมเด็จพระอัครมเหสี  "หนึ่งพระเสาวนีที่มียศ" จะทรงหมายถึงพระอัครชายา เจ้าศิริรจจาไหมคะ และ "พระธิดาปรากฏมงกุฏหงษ์" หมายถึงเจ้าฟ้าพิกุลทองไหมคะ หรือทั้งสองวรรครวมกันคือเจ้าฟ้าพิกุลทอง หรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดีในพระบรมมหาราชวัง (กันเกราไม่มั่นใจจริง ๆ ค่ะ) 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 13:05

   แปลกใจมานานแล้วว่า หลังจากวีรกรรมของเจ้าศิริรจจาเมือพระยาสรรค์ก่อเหตุวุ่นวายสมัยปลายธนบุรี   เรื่องราวของท่านก็หายเงียบไป  นอกจากมีพระธิดาคือเจ้าฟ้าพิกุลทองแล้ว  ก็ไม่มีพงศาวดารหรือบันทึกพูดถึงท่านอีกเลย  
   บันทึกเหตุการณ์สำคัญๆรวมทั้งงานราชประเพณีหลายอย่างในสมัยรัชกาลที่ 1 และ 2     ก็ไม่มีการเอ่ยถึงพระนามในฐานะเจ้านายฝ่ายในสูงสุดของวังหน้า  
   ถ้าหากว่าท่านสิ้นพระชนม์ในกรุงเทพ อย่างที่อ.สมโชติเชื่อ   ท่านไม่น่าจะอยู่ยืนยาวเกินรัชกาลที่ 3    ถ้าเป็นเช่นนั้น
 สามรัชกาลของรัตนโกสินทร์ต้องบันทึกถึงงานพระเมรุของท่าน  สั้นยาวแค่ไหนก็ต้องมี   แต่นี่ก็ไม่มี
  เหตุผลที่ดิฉันคิดออกมีอย่างเดียวคือเจ้าศิริรจจากลับลำปาง  แต่เสด็จกลับไปในรัชกาลไหนยังไม่เจอหลักฐาน   แล้วไปสิ้นพระชนม์ที่ลำปาง   จึงไม่มีหลักฐานงานพระเมรุ หรือบันทึกการสิ้นพระชนม์ (ถ้าไ่ม่ได้ขึ้นพระเมรุ) เจ้าศิริรจนาในกรุงเทพ      มีแต่หลักฐานการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าพิกุลทอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 13:36

อ้างถึง
กันเกราไม่แน่ใจนะคะ ปกติพระเสาวนีย์หมายถึงพระดำรัสของสมเด็จพระอัครมเหสี  "หนึ่งพระเสาวนีที่มียศ" จะทรงหมายถึงพระอัครชายา เจ้าศิริรจจาไหมคะ และ "พระธิดาปรากฏมงกุฏหงษ์" หมายถึงเจ้าฟ้าพิกุลทองไหมคะ หรือทั้งสองวรรครวมกันคือเจ้าฟ้าพิกุลทอง หรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดีในพระบรมมหาราชวัง (กันเกราไม่มั่นใจจริง ๆ ค่ะ)
  กำลังจะไปเปิดกระทู้นิพพานวังหน้าดูว่าจะเจออะไรบ้าง  คุณกันเกรารวดเร็วกว่า ไปเจอเสียก่อน
  ตอบเป็นข้อๆ
  1   ตลอดรัชกาลที่ 1   ไม่มีพระอัครมเหสี (อย่างเป็นทางการ)  เพราะสมเด็จพระอมรินทรฯท่านก็ตัดขาดไม่มาอยู่ในวังหลวงตั้งแต่ต้นรัชกาล      เจ้าจอมแว่นถึงมีอำนาจวาสนาสูงในวังก็ไม่ใช่ชั้นเจ้านาย 
  เพราะฉะนั้น ทั้งสองท่านไม่ใช่ "พระเสาวนีที่มียศ" แน่นอน
  2  พระดำรัสสั่งเสียของกรมพระราชวังบวรฯ มีต่อพระเจ้าลูกเธอทั้งหลายที่เป็นสตรี ย่อมรวมเจ้าฟ้าพิกุลทองด้วย    จึงตัดประเด็นไปได้อีกข้อว่า "พระธิดา" ในกลอนวรรคนี้ ย่อมไม่หมายถึงเจ้าฟ้าพิกุลทอง   
  3  เมื่อพระธิดาที่มียศ ไม่ได้หมายถึงเจ้าฟ้าพิกุลทอง   "พระเสาวนี" ก็ไม่ได้หมายถึงเจ้าศิริรจจา
  4  ถึงแม้ว่าเจ้าศิริรจจา มีความดีความชอบมาก แต่พระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงอำนวยพระยศให้ทรงกรม  ยังคงเป็นเจ้าศิริรจจาเหมือนเดิม  คำว่า "ที่มียศ" จึงไม่ใช่ท่าน
     อีกอย่าง  กรมพระราชวังบวรทรงฝากพระโอรสธิดาทุกองค์ไว้กับ พระบิตุลา คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ แสดงว่าท่านไม่เห็นว่าในวังหน้า จะมีเจ้านายผู้ใหญ่องค์ไหนอีกเป็นที่พึ่งได้    ท่านเป็นพ่อคนเดียวของครอบครัวใหญ่  เมื่อจะจากไปก็ฝากลูกเมียไว้กับลุง    เป็นการฝากอย่างเป็นทางการ
 
   5  ในทางปฏิบัติ เจ้านายสตรีย่อมขึ้นกับเจ้านายสตรีด้วยกัน   ดังนั้นนอกจากพระบิตุลา ก็ต้องมีเจ้านายสตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในราชสำนักเป็นผู้ปกครองอีกที   เจ้านายองค์นี้ต้องใหญ่กว่าเจ้าฟ้าพิกุลทองซึ่งมีพระยศสูงสุดของวังหน้า   ก็มีองค์เดียวคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี ซึ่งมีพระชันษาเท่ากับเจ้าฟ้าพิกุลทอง
   หนึ่งพระเสาวนีที่มียศ พระธิดาปรากฎมงกุฎหงษ์  น่าจะหมายถึงเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี ค่ะ   
บันทึกการเข้า
กันเกรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 17:33

  แปลกใจมานานแล้วว่า หลังจากวีรกรรมของเจ้าศิริรจจาเมือพระยาสรรค์ก่อเหตุวุ่นวายสมัยปลายธนบุรี   เรื่องราวของท่านก็หายเงียบไป  นอกจากมีพระธิดาคือเจ้าฟ้าพิกุลทองแล้ว  ก็ไม่มีพงศาวดารหรือบันทึกพูดถึงท่านอีกเลย  
   บันทึกเหตุการณ์สำคัญๆรวมทั้งงานราชประเพณีหลายอย่างในสมัยรัชกาลที่ 1 และ 2     ก็ไม่มีการเอ่ยถึงพระนามในฐานะเจ้านายฝ่ายในสูงสุดของวังหน้า  
   ถ้าหากว่าท่านสิ้นพระชนม์ในกรุงเทพ อย่างที่อ.สมโชติเชื่อ   ท่านไม่น่าจะอยู่ยืนยาวเกินรัชกาลที่ 3    ถ้าเป็นเช่นนั้น
 สามรัชกาลของรัตนโกสินทร์ต้องบันทึกถึงงานพระเมรุของท่าน  สั้นยาวแค่ไหนก็ต้องมี   แต่นี่ก็ไม่มี
  เหตุผลที่ดิฉันคิดออกมีอย่างเดียวคือเจ้าศิริรจจากลับลำปาง  แต่เสด็จกลับไปในรัชกาลไหนยังไม่เจอหลักฐาน   แล้วไปสิ้นพระชนม์ที่ลำปาง   จึงไม่มีหลักฐานงานพระเมรุ หรือบันทึกการสิ้นพระชนม์ (ถ้าไ่ม่ได้ขึ้นพระเมรุ) เจ้าศิริรจนาในกรุงเทพ      มีแต่หลักฐานการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าพิกุลทอง

กันเกราเห็นด้วยกับอาจารย์ทุกประการค่ะ ยิ่งพยายามค้นข้อมูลกันเกราก็ยิ่งรู้สึกแปลก เพราะพระอัครชายา เจ้าศิริรจจา ทรงหายไปจากพระราชพงศาวดารและเอกสารอื่น ๆ แม้กระทั่งการสิ้นพระชนม์ก็ไม่มีบันทึกช่วงเวลาดังที่อาจารย์อธิบายนะคะ (ปกติต้องมีแน่ ๆ) ทั้งที่วีรกรรมพระองค์สำคัญมาก ๆ  น่าจะมีโอกาสสูงจริง ๆ ที่เสด็จกลับล้านนาค่ะ (คุณเพ็ญสุภาให้เหตุผลกับความเป็นไปได้ที่เสด็จกลับทางเหนือว่าคล้ายคลึงกับครั้งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระอัครชายาเจ้าศิริรจจาไม่มีพระโอรสธิดาพระองค์อื่น incentive ของพระอัครชายาในการประทับที่กรุงเทพฯ หลังการสิ้นพระชนม์ของพระสวามีและเจ้าฟ้าพิกุลทองน่าจะไม่มีค่ะ แต่จริง ๆ ไม่มีบันทึกว่าเสด็จกลับทางล้านนาเมื่อไรจริง ๆ ค่ะซึ่งยิ่งทำให้เรื่องนี้แปลกมากขึ้น)
บันทึกการเข้า
กันเกรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 พ.ย. 23, 17:45

อ้างถึง
กันเกราไม่แน่ใจนะคะ ปกติพระเสาวนีย์หมายถึงพระดำรัสของสมเด็จพระอัครมเหสี  "หนึ่งพระเสาวนีที่มียศ" จะทรงหมายถึงพระอัครชายา เจ้าศิริรจจาไหมคะ และ "พระธิดาปรากฏมงกุฏหงษ์" หมายถึงเจ้าฟ้าพิกุลทองไหมคะ หรือทั้งสองวรรครวมกันคือเจ้าฟ้าพิกุลทอง หรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดีในพระบรมมหาราชวัง (กันเกราไม่มั่นใจจริง ๆ ค่ะ)
 กำลังจะไปเปิดกระทู้นิพพานวังหน้าดูว่าจะเจออะไรบ้าง  คุณกันเกรารวดเร็วกว่า ไปเจอเสียก่อน
  ตอบเป็นข้อๆ
  1   ตลอดรัชกาลที่ 1   ไม่มีพระอัครมเหสี (อย่างเป็นทางการ)  เพราะสมเด็จพระอมรินทรฯท่านก็ตัดขาดไม่มาอยู่ในวังหลวงตั้งแต่ต้นรัชกาล      เจ้าจอมแว่นถึงมีอำนาจวาสนาสูงในวังก็ไม่ใช่ชั้นเจ้านาย  
  เพราะฉะนั้น ทั้งสองท่านไม่ใช่ "พระเสาวนีที่มียศ" แน่นอน
  2  พระดำรัสสั่งเสียของกรมพระราชวังบวรฯ มีต่อพระเจ้าลูกเธอทั้งหลายที่เป็นสตรี ย่อมรวมเจ้าฟ้าพิกุลทองด้วย    จึงตัดประเด็นไปได้อีกข้อว่า "พระธิดา" ในกลอนวรรคนี้ ย่อมไม่หมายถึงเจ้าฟ้าพิกุลทอง  
  3  เมื่อพระธิดาที่มียศ ไม่ได้หมายถึงเจ้าฟ้าพิกุลทอง   "พระเสาวนี" ก็ไม่ได้หมายถึงเจ้าศิริรจจา
  4  ถึงแม้ว่าเจ้าศิริรจจา มีความดีความชอบมาก แต่พระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงอำนวยพระยศให้ทรงกรม  ยังคงเป็นเจ้าศิริรจจาเหมือนเดิม  คำว่า "ที่มียศ" จึงไม่ใช่ท่าน
     อีกอย่าง  กรมพระราชวังบวรทรงฝากพระโอรสธิดาทุกองค์ไว้กับ พระบิตุลา คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ แสดงว่าท่านไม่เห็นว่าในวังหน้า จะมีเจ้านายผู้ใหญ่องค์ไหนอีกเป็นที่พึ่งได้    ท่านเป็นพ่อคนเดียวของครอบครัวใหญ่  เมื่อจะจากไปก็ฝากลูกเมียไว้กับลุง    เป็นการฝากอย่างเป็นทางการ
  
   5  ในทางปฏิบัติ เจ้านายสตรีย่อมขึ้นกับเจ้านายสตรีด้วยกัน   ดังนั้นนอกจากพระบิตุลา ก็ต้องมีเจ้านายสตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในราชสำนักเป็นผู้ปกครองอีกที   เจ้านายองค์นี้ต้องใหญ่กว่าเจ้าฟ้าพิกุลทองซึ่งมีพระยศสูงสุดของวังหน้า   ก็มีองค์เดียวคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี ซึ่งมีพระชันษาเท่ากับเจ้าฟ้าพิกุลทอง
   หนึ่งพระเสาวนีที่มียศ พระธิดาปรากฎมงกุฎหงษ์  น่าจะหมายถึงเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี ค่ะ  

ขอบพระคุณมาก ๆ เลยค่ะ  พระธิดาปรากฏมงกุฏหงษ์น่าจะหมายถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดีจริง ๆ ค่ะ (ในนิพพานวังหน้า แม้แต่ในการพระเมรุสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ฝ่ายในจะแยกออกไป และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงของทางพระบรมมหาราชวังเป็นพระองค์บัญชาการฝ่ายในจริง ๆ) กันเกราลองค้นข้อมูลผ่านนิพพานวังหน้าอีกครั้ง พระองค์เจ้ากัมพุชฉัตรตรัสถึงพระอัครชายาเจ้าศิริรจจาครั้งหนึ่งค่ะ

โอ้พระคุณบุญน้อยไม่มีบุตร เปนมงกุฎสืบสายไปภายน่า
จะสนองแทนลอองอิศรา กับพระอรรคชายาไม่เลงยล
มีแต่หน่อพระสนมไม่สมยศ สวรรคตว้าเว่รเหรหน
กองกรรมจำนิราศบาทยุคล บรรดาชนฤๅจะชื่นทั้งหมื่นกรุง

กันเกราไม่แน่ใจค่ะว่า "เลงยล" หมายถึงอะไร (เป็นคำโบราณ เข้าใจยาก) แต่เป็นครั้งเดียวที่พระองค์เจ้ากัมพุชฉัตรตรัสถึงพระอัครชายา กันเกราพยายามคิดว่าคำนี้จะเป็น clue ของเรื่องทั้งหมดได้ไหมนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง