เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 3766 ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 18 ต.ค. 23, 16:57

ถือโอกาสเบิกฟ้ารับขวัญ
ในวันแรกของละครพรหมลิขิต
มาว่าด้วยเรื่องอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระกันครับ



บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ต.ค. 23, 17:35

ปูพื้นกันก่อนครับ

https://youtu.be/HEjl0T7RTwc?si=TWwzHAWHs1dSEzKQ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 ต.ค. 23, 18:35


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ต.ค. 23, 08:39

เมื่อคืนดูค่ะ  เชิญเสวนา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ต.ค. 23, 09:35

ผังความสัมพันธ์บุคคลในประวัติศาสตร์

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 ต.ค. 23, 10:38

         เขาว่า อ.ศัลยาเขียนบทเพิ่มเล่าเรื่องต่อเนื่องช่วงเปลี่ยนราชวงศ์(ในนิยายเริ่มที่แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ)
ทำให้ได้เห็นฉากจำได้จากอดีตอีกครั้งสมัยเป็นเด็กนอนดึกดูช่องสี่ บางขุนพรหมเรื่อง "ขุนศึกมหาราช" ผลงานของ "รพีพร"
         ฉาก - พระปีย์(รับบทโดยคุณสุรินทร์ แสงขำ) ตื่นมาล้างหน้าสีฟันแล้วถูกจับโยนจากหอบรรทม เสียงพระปีย์ร้องให้ช่วย
ปลุกพระนารายณ์(รับบทโดยป๋า ส. อาสนจินดา) ตื่นทันเห็นแต่ไม่อาจช่วยอะไรได้ (เหมือนในละครเมื่อคืน)
         เหตุการณ์นี้ได้รับการถ่ายทอดโดย "นายตำรา ณ เมืองใต้ - เรื่อง ครูเหม เวชกร - รูป" เป็นหนังสือ -
ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย เรื่อง ขุนรามคำแหงมหาราช และ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

http://www.sookjai.com/index.php?topic=252786.0


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 ต.ค. 23, 11:23

    พระปีย์ มีตัวตนจริง ตามจดหมายเหตุของนิโกลาส์ แชรแวส- เป็นราชบุตรบุญธรรมที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดปราน ได้รับเกียรติอย่างสูงกว่าขุนนางอื่นๆ   แต่พระปีย์เองก็คงรู้ตัวว่าไม่ได้มีอำนาจอยู่แต่ผู้เดียว ขุนนางอย่างพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์บุตรชายก็มีเหมือนกัน    จึงเกิดการแข่งกันขึ้น
     ช่วงท้ายรัชสมัยเต็มไปด้วยความวุ่นวายของการคานอำนาจและชิงอำนาจ     พระปีย์เข้ารีตไปนับถือคริสตศาสนา ย่อมทำให้กลายเป็นฝ่ายเดียวกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์อย่างไม่ต้องสงสัย     ถ้าหากว่าวิชเยนทร์เอากองกำลังฝรั่งเศสมายึดอยุธยาได้    พระปีย์ก็คงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์   แต่จะอยู่ได้กี่วันก็ยังน่าสงสัย เพราะวิชเยนทร์เองก็ไม่เบาเหมือนกันเรื่องทะเยอทะยาน
   ส่วนเรื่องหลวงสรศักดิ์เป็นโอรสลับของพระนารายณ์   ดิฉันเชื่อว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้น เพื่อให้สิทธิอันชอบธรรมแก่กษัตริย์องค์ใหม่ ว่าไม่ได้มาจากคนเดินดินสามัญชน      เปลี่ยนราชวงศ์ทีไร กษัตริย์องค์ใหม่เป็นโอรสลับกษัตริย์ราชวงศ์เก่ากัน แทบจะเป็นประเพณี
   พระเจ้าปราสาททองเองก็ได้ชื่อว่าเป็นโอรสลับพระเอกาทศรถ 
   ปกติแล้ว สมัยอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินไทยไม่จำเป็นต้องมีโอรสหรือธิดาลับ    ผิดกับฝรั่งที่ต้องมีลับๆเพราะผิดกฎมณเฑียรบาลของเขา   สังคมไทยอนุญาตให้ชายมีเมียได้หลายคนถูดต้องตามกฎหมาย   พระราชาจะมีนางสนมกี่คนก็ไม่มีข้อห้าม     
   ถ้านางเชลยที่ว่าเป็นมารดาของหลวงสรศักดิ์มีตัวจริง นางเป็นลูกสาวเจ้าเมือง ก็ถือว่ามีศักดิ์สูง    ได้เป็นเจ้าจอมมารดาอยู่แล้วถ้ามีลูกออกมา อาจจะถึงขั้นพระสนมเอกด้วยซ้ำไป
   โอรสลับของกษัตริย์มีอยู่องค์เดียวคือโอรสลับของสมเด็จพระเจ้าตากสิน  ที่พระราชทานเจ้าจอมปรางไปให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช    แต่นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังถกเถียงหาเหตุผลกันอยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 ต.ค. 23, 11:35

ปริศนาโครงกระดูกมนุษย์โบราณ "พระปีย์" และ "เจ้าพระยาวิชาเยนทร์"❓

ข่าวจาก ไทยรัฐ

กรมศิลปากร ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณในพื้นที่เอกชนลพบุรี คาดสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สันนิษฐานเป็น"พระปีย์" และ "เจ้าพระยาวิชาเยนทร์" ที่ถูกสังหาร ในครั้งที่พระเพทราชาก่อกบฏ เมื่อปลายรัชสมัยช่วงปี พ.ศ. ๒๒๓๑

เมื่อเวลา ๐๙.๓๐ น. วันที่ ๘ ต.ค. ๒๕๕๗ ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายแมน แสงอิ่ม อายุ  ๕๒ ปี ชาวบ้านที่อยู่บริเวณซอยพญาอนุชิต ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ว่า เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้มาทำการขุดสำรวจพื้นที่บริเวณพื้นที่เอกชน ตรงข้ามวัดสันเปาโล ซึ่งเป็นโบราณสถานสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่สร้างโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส จึงเดินทางไปตรวจสอบ

จากการตรวจสอบ พบฐานอิฐและโครงกระดูกมนุษย์ โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นของเอกชนที่ขายต่อกันมา มีเนื้อที่ประมาณ ๒ งาน เจ้าหน้าที่กรมศิลปกรที่ ๔ โดยนายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปกรที่  ๔ ทำการขุดสำรวจ เมื่อประมาณกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และทำการขุดพบซากฐานอิฐ โดยสันนิษฐานว่า เป็นฐานโบสถ์คริสเตียน นอกจากนี้แล้ว เมื่อขุดลงไปประมาณ  ๑.๕๐ เมตร ก็พบโครงกระดูกมนุษย์ ที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ และจากโครงกระดูกที่พบมีร่องรอยกระดูกหน้าแข้งหัก และโครงกระดูกจะเป็นมนุษย์ ที่มีความสูงไม่เกิน ๑๔๐ เซนติเมตร รอบ ๆ จะมีหม้อดิน ถ้วยชาม และที่นิ้วมือมีแหวนที่ทำจากหิน และอีก ๑ โครงกระดูกอยู่ห่างกันประมาณ ๕ เมตร ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน แต่โครงกระดูกนี้จะเป็นมนุษย์สูงใหญ่ อายุของโครงกระดูกทั้ง ๒ น่าจะมีอายุราว  ๓๐๐ กว่าปี

นายจารึก กล่าวว่า จากการตรวจสอบตามพงศาวดาร มีความเป็นไปได้ว่า โครงกระดูกที่พบ โครงแรกที่เป็นมนุษย์มีความสูงไม่เกิน  ๑๔๐ เซนติเมตร สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระปีย์ ซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ถูกผลักตกจากที่สูง และถูกประหารโดยการตัดศีรษะ โดยสมเด็จพระนารายณ์ทรงเรียกว่า "ไอ้เตี้ย" และอีกโครงกระดูก น่าจะเป็น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ที่ถูกตีด้วยท่อนจันทร์ บริเวณประตูวังนารายณ์ และประหารด้วยการตัดศีรษะ ซึ่งในสมัยนั้นประมาณปี  ๒๒๓๑ ที่พระเพทราชก่อกบฏ ทำให้มีการประหารชีวิต ข้าราชการชั้นสูง รวมทั้งมีนโยบายต่อต้านชาวต่างชาติ และที่โบสถ์แห่งนี้ก็เป็นของผรั่งเศส ผู้ที่ถูกประหารทั้ง ๒ คน เป็นเจ้านายระดับสูง จึงมีการนำศพมาฝังไว้ในโบสถ์ดังกล่าว รวมทั้งพระปีย์ก็ได้เข้ารีตเป็นคริสเตียนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การขุดค้นพบโครงกระดูกในครั้งนี้ก็นับว่า มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่พระราชทานพื้นที่ตรงที่พบโครงกระดูกให้ทำการก่อสร้างวัดในคริสต์ศาสนาของฝรั่งเศส และหอดูดาวอีกด้วย




มีคำถามจากคุณนวรัตนถึงกรมศิลปากร

ข้อมูลตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ถูกนำไปประหารชีวิตที่วัดซาก (ทราก) ใกล้ทะเลชุบศร เนื่องจากไม่ได้เป็นเจ้า จึงไม่ได้โดนทุบด้วยท่อนจันทน์ดังว่า แต่คงโดนทรมานทรกรรมเพียบก่อนตายตามสำนวนที่ฝรั่งเขียน  ส่วนพระปีย์ถูกผลักตกจากระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ในคืนวันที่สมเด็จพระนารายน์สวรรคต แม้มีระบุว่าถูกนำไปประหารที่วัดโคก แต่ประวัติศาสตร์บางสำนวนกล่าวว่าพอถูกผลักจากระเบียงพระปีย์ก็ร้องว่าทูลกระหม่อมแก้วช่วยด้วย ครั้นถึงไปถึงพื้นก็โดนฆ่าปิดปากเสียในบัดดลนั้นเอง

มีข้อสันนิษฐานอีกว่า ทั้งสองร่างได้ถูกผู้จงรักภักดีลอบขุดมาฝังที่โบสถ์คริสต์ อันเป็นที่พบโครงกระดูกทั้งสองร่างดังกล่าว ถ้างั้นก็มีคำถามจากผมอีกว่า เวลาที่ผ่านมาตั้ง ๓ ปีนี้ กรมศิลปากรได้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ใดบ้างไหม อย่างน้อยก็เพื่อยืนยันว่า โครงที่บอกว่าร่างใหญ่นั้นเป็นกระดูกของชาวยุโรป ส่วนร่างเล็ก มีสภาพพิการ และเป็นกระดูกคนไทย

ต่อมาคุณนวรัตนได้มาเฉลยว่า

คำถามดังกล่าวผมทราบคำตอบจากพวกนักโบราณคดีตั้งแต่ช่วงนั้นแล้วครับ แต่ทว่า เรื่องนี้กรมศิลปากรเลือกที่จะอมพะนำไว้ให้คนลืม เพราะกลัวจะเสียรังวัดลามปามกลับไปถึงเรื่องพระเจ้าอุทุมพรอีก นี่ถ้าไม่มีกระแสอันทรงพลังของบุพเพสันนิวาสมากระตุ้น ป่านนี้ผู้สนใจอย่างคุณหมอเพ็ญคงต้องรอจากใจระทึกเป็นระทวยไปเอง


ข่าวจากมติชนพาดหัวว่า "ฟันธง" คงไม่ได้ วิธีง่าย ๆ ที่จะฟันธงคงต้องพิสูจน์อายุของโครงกระดูก ถ้าหากมากกว่าพันปีขึ้นไปก็คงเป็นอย่างที่ใหข่าว แต่ถ้าหากตกอยู่ประมาณ ๓๐๐ ปี ก็คงไม่ใช่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ต้องพิสูจน์ต่อไปอย่างที่คุณนวรัตนว่า

ป.ล. สงสัยอยู่เช่นกัน เมื่อเห็นวันที่ของการออกข่าว กลัวจะเป็น "เอพริลฟูลส์" อยู่เหมือนกัน ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 ต.ค. 23, 14:10

        เขาว่า อ.ศัลยาเขียนบทเพิ่มเล่าเรื่องต่อเนื่องช่วงเปลี่ยนราชวงศ์(ในนิยายเริ่มที่แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ)
ทำให้ได้เห็นฉากจำได้จากอดีตอีกครั้งสมัยเป็นเด็กนอนดึกดูช่องสี่ บางขุนพรหมเรื่อง "ขุนศึกมหาราช" ผลงานของ "รพีพร"
         ฉาก - พระปีย์(รับบทโดยคุณสุรินทร์ แสงขำ) ตื่นมาล้างหน้าสีฟันแล้วถูกจับโยนจากหอบรรทม เสียงพระปีย์ร้องให้ช่วย
ปลุกพระนารายณ์(รับบทโดยป๋า ส. อาสนจินดา) ตื่นทันเห็นแต่ไม่อาจช่วยอะไรได้ (เหมือนในละครเมื่อคืน)
         เหตุการณ์นี้ได้รับการถ่ายทอดโดย "นายตำรา ณ เมืองใต้ - เรื่อง ครูเหม เวชกร - รูป" เป็นหนังสือ -
ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย เรื่อง ขุนรามคำแหงมหาราช และ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

http://www.sookjai.com/index.php?topic=252786.0

ไปค้นเรื่องนี้มา เจอเรื่องนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาด้วยครับ

- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน -


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 ต.ค. 23, 14:35

ฉากวาระสุดท้ายของพระปีย์กับการสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์ในพรหมลิขิต อ้างอิงตามพงศาวดารที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์รุ่นหลัง ความว่า (สะกดตามต้นฉบับ)

"ขณะนั้นบันดาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ก็ไปมั่วสุมอยู่ณพระเพทราชา จะได้มีผู้ใดผู้หนึ่งนำภาในฝ่าลอองธุลีพระบาทนั้นหามิได้ ยังแต่พระปิย์ผู้เดียว ปะฏิบัติรักษาประคองพระองค์ลุกนั่งอยู่ แลพระปิยผู้นี้เปนบุตรขุนไกรสิทธิศักดิ์ชาวบ้านแก่ง ทรงพระกรุณาเอามาเลี้ยงไว้ในพระราชวังแต่ยังเยาว์ ให้มีนางนมพี่เลี้ยงประดุจหนึ่งลูกหลวง แลพระปิยนั้นมีพรรณสัณฐานต่ำเตี้ย ทรงพระกรุณาเรียกว่าอ้ายเตี้ย แลพระปิยกอปรด้วยสวามีภักดิ นอนอยู่ปลายพระบาท คอยปรฏิบัติพยุงพระองค์ลุกนั่งอยู่

ครั้นรุ่งเพลาเช้าพระปิยลุกออกมาบ้วนปากล้างหน้า ณ ประตูกำแพงแก้ว จึ่งหลวงสรศักดิ์ผู้สำเร็จราชการณที่มหาอุปราช สั่งให้ขุนพิพิธรักษาชาวที่ผลักพระปิยตกลงไปจากประตูกำแพงแก้ว แลพระปิยร้องขึ้นได้คำเดียวว่า ทูลกระหม่อมแก้วช่วยด้วย ภอขาดคำลงคนทั้งหลายก็กุมเอาตัวพระปิยไปประหารชีวิตรตายในขณะนั้น สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังเสียงพระปิยร้องขึ้นมาดั่งนั้น ตกพระไทยความอาไลยในพระปิยจึ่งดำรัสว่า ใครทำอะไรกับอ้ายเตี้ยเล่า แลสมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็สวรรคตในเพลาวันนั้น เปนวันพฤหัสบดีเดือนห้าแรมสามค่ำ ลุศักราช ๑๐๔๔ ปีจอจัตวาศก

พระบาทบรมนารถนารายน์ราชบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระชันษาวอกศก เสดจเสวยราชสมบัตินั้น พระชนได้ ๒๕ พรรษา เสดจดำรงราชอาณาจักรอยู่ได้ ๒๖ พรรษา ขณะสวรรคตณพระที่นั่งสุธาสวรรย์มหาปราสาทนั้น สริพระชนม์ห้าสิบเอ็จพรรษา ๚ะ"- พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล)



แต่พงศาวดารรุ่นเก่าคือ พระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ซึ่งพิจารณาจากเนื้อความน่าจะชำระตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนปลาย ระบุเหตุการณ์ต่างกันว่า

"ศุภมัศดุ ศักราช ๑๐๕๐ ปีมโรง สัมฤทธิศก สมเด็จพระนารายน์เปนเจ้าเสด็จขึ้นไปเมืองลพบุรี อยู่ประมาณเดือนหนึ่ง ทรงประชวรหนักลง

วันหนึ่ง หม่อมปีย์เสด็จออกมาสรงพระภักตร์อยู่ณษาสา พญาสุรศักดิเข้าไปจะจับ หม่อมปีย์วิ่งเข้าไปในที่พระบรรธมร้องว่า ทูลกระหม่อมแก้ว ช่วยเกล้ากระหม่อมฉันด้วย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสว่า อ้ายพ่อลูกนี้คิดทรยศจะเอาสมบัติ แล้วมีพระราชโองการสั่งให้ประจุพระแสงปืนข้างที่ แล้วให้พญาเพชราชา พญาสุรศักดิ ก็เข้าไปยืนอยู่ที่พระทวารทั้งสองคน สมเด็จพระนารายน์เปนเจ้าเสด็จบรรธมอยู่ ยื่นพระหัตถ์คลำเอาพระแสงปืน เผยอพระองค์จะลุกขึ้น ก็ลุกขึ้นมิได้ กลับบรรธมหลับพระเนตร"

หลังจากเหตุการณ์นี้สมเด็จพระนารายณ์ยังไม่ได้สวรรคตทันที แต่ยังมีเหตุการณ์อื่นเกิดขึ้นระหว่างนั้นคือ

พระเพทราชาเรียกพระยาวิไชยเยนทร์เข้ามาจับกุมในพระราชวังเมืองลพบุรี - หลวงสุรศักดิ์เข้าจับพระปีย์ไปประหาร - เจ้าฟ้าอภัยทศเดินทางจากอยุทธยาขึ้นมาลพบุรีแล้วถูกหลวงสุรศักดิ์เอาตัวไปสำเร็จโทษที่วัดทราก - สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต

"เพลาสามยาม พระราชรักษาให้เรียนถามพญาเพทราชา พญาสุรศักดิ ว่า พร้อมแล้วฤๅยัง บอกว่า พร้อมแล้ว ขุนองค์อยู่งานถอนนิ้วขึ้นจากพระองค์ พระโอษฐงับก็นิ่งไป วัน ๗ ๕ฯ ๙ ค่ำ เพลา ๑๐ ทุ่ม เสด็จนิพพาน ๚"

ปีศักราชที่สมเด็จพระนารายณ์สวรรคตในพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) คือ จ.ศ. ๑๐๕๐ (พ.ศ. ๒๒๓๑)  ตรงตามหลักฐานร่วมสมัยของชาวฝรั่งเศสว่าเหตุการณ์ยึดอำนาจเกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๖๘๘ (พ.ศ. ๒๒๓๑) ในขณะที่พงศาวดารรุ่นหลังที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ระบุศักราชเร็วไป ๖ ปี

Timeline ของเหตุการณ์ยึดอำนาจในพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ยังตรงตามหลักฐานของชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในเหตุการณ์เวลานั้น คือ

๑๘ พฤษภาคม   ออกพระเพทราชายึดอำนาจในเมืองลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์ถูกกักบริเวณในพระตำหนัก ออกญาวิไชยเยนทร์ถูกเรียกตัวเข้ามาพระราชวังเมืองลพบุรีแล้วถูกจับกุม ถูกจำห้าประการและทรมานอย่างหนัก

๑๙ พฤษภาคม  เวลากลางคืน พระปีย์ออกมาจากห้องพระบรรทมจึงถูกจับกุม

๒๐ พฤษภาคม  เวลารุ่งเช้า พระปีย์ถูกประหารชีวิต

๕ มิถุนายน  ออกญาวิไชยเยนทร์ถูกประหารชีวิตที่ทะเลชุบศร

๖ มิถุนายน กองทหารฝรั่งเศสเริ่มเปิดศึกกับสยามที่ป้อมบางกอก

๙ กรกฎาคม  เจ้าฟ้าอภัยทศและเจ้าฟ้าน้อยถูกสำเร็จโทษที่ลพบุรี

๑๐/๑๑ กรกฎาคม  สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต

ในขณะที่พงศาวดารที่ชำระรุ่นหลัง ๆ จะลำดับเหตุการณ์ไม่ตรงกับหลักฐานต่างประเทศ คือเริ่มจาก

พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ยึดอำนาจในพระราชวัง - เรียกตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (หลักฐานร่วมสมัยระบุว่าเป็นเพียง พระยา/ออกญา) เข้าวังมาแล้วประหารทันที - พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ไปเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ - พระปีย์ถูกผลักตกจากกำแพงแก้วแล้วถูกประหาร - สมเด็จพระนารายณ์สวรรคตทันที - เจ้าฟ้าอภัยทศถูกสำเร็จโทษที่วัดทรากหลังจากสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตแล้ว  

พงศาวดารรุ่นหลังยังระบุเจ้าฟ้าอภัยทศเป็นพระโอรสของสมเด็จพระนารายณ์ ต่างจากหลักฐานชั้นต้นจำนวนมากที่ยืนยันว่าเจ้าฟ้าอภัยทศเป็นพระอนุชา

เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยอยุทธยาตอนปลายตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ลงมาหลายเหตุการณ์ที่พงศาวดารรุ่นเก่าและรุ่นหลังบันทึกช่วงเวลาและรายละเอียดของเหตุการณ์ไม่ตรงกัน  อีกตัวอย่างหนึ่งคือเหตุการณ์การสำเร็จโทษเจ้าพระขวัญและเจ้าพระองค์ดำพระโอรสของสมเด็จพระเพทราชา ที่ถูกบันทึกต่างกันจนเหมือนเป็น "หนังคนละม้วน"

เมื่อตรวจสอบข้อมูลหลักฐานหลายฝ่ายเทียบกัน  มักพบว่าเนื้อหาสมัยอยุทธยาตอนปลายในพงศาวดารรุ่นเก่า (เช่น ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ฉบับนายแก้วจำลอง ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)) จะใกล้เคียงกับหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานร่วมสมัยของต่างประเทศ มากกว่าพงศาวดารรุ่นหลัง (เช่น ฉบับบริติชมิวเซียม ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพน ฉบับหมอบรัดเล ฉบับพระราชหัตถเลขา) ที่มีรายละเอียดความพิสดาร และเร้าอารมณ์ผู้อ่านมากกว่า

จาก วิพากย์ประวัติศาสตร์ โดย คุณศรีสรรเพชญ์
บันทึกการเข้า
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ต.ค. 23, 22:38

หนูจะขออนุญาตถามออกนอกเรื่องหน่อยได้ไหมคะ ขอเกาะกระทู้นี้เลยก็แล้วกัน

หนูไม่ได้ดูละครเรื่องนี้ แต่เคยอ่านเรื่องบุพเพสันนิวาส สนุกดีเหมือนกันค่ะ ที่ติดใจอยู่แล้วเพิ่งได้เห็นมีคนในอินเตอร์เน็ตคอมเมนท์คนหนึ่งคือฉากที่นางเอกกำลังจะคลอดลูก ตอนนั้นทุกคนในเรือนกำลังกินหมูกะทะกันอยู่ มีคนบอกว่าไม่น่าเป็นไปได้เพราะคนในสมัยอยุธยาไม่มีเนื้อหมูกิน เพราะว่าการปศุสัตว์เราไม่ดี และให้สังเกตว่าตำรับอาหารสมัยนั้นไม่ได้มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ

ตรงนี้มีความจริงมากน้อยเพียงใดคะ แล้วถ้าเราไม่กินหมูกัน เรากินอะไรกันเป็นหลักคะ เพราะถ้าเป็นวัวควาย หนูว่าไม่น่าจะกินกันเนื่องจากเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้ในงานกสิกรรม หรือเรากินแค่ปลาหรือสัตว์เล็กอย่างอื่นคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 22 ต.ค. 23, 07:48

หนูเข้าไปอ่านกระทู้ข้างล่างนี้เลยค่ะ

เปิบพิสดารสมัยอยุธยา
กับ
ขออนุญาตเรียนถามถึงอาหารของชาวบ้านภาคกลางในสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนกลางค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 22 ต.ค. 23, 08:35

เรื่องการกินเนื้อหมูมีอยู่ทั้งใน บุพเพสันนิวาส และ พรหมลิขิต คุณรอมแพง ผู้แต่งได้อธิบายไว้ดังนี้

เกรงว่าต่อไปจะมีการพูดถึงเนื้อหมูในอยุธยาว่าไม่มี เลยจะออกมาบอกไว้ก่อนนะคะว่า ในกรุงศรีอยุธยามีเนื้อหมูขายที่ ย่านในไก่ ตลาดน้อยเป็นย่านของคนจีนที่นิยมฆ่าและกินเนื้อหมู ซึ่งที่นั่นจะมีขายทั้งเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด นะคะ มีบันทึกไว้ในพงศาวดารในเรื่องของภูมิสถานในสมัยกรุงศรีอยุธยา เลยแต่งให้นางเอกไปซื้อหมูที่ตลาดนี้

คนจีนเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยไหนไม่แน่ชัดแต่สมัยสุโขทัยก็ได้มีการนำเข้าช่างจีนมาทำเครื่องปั้นดินเผาแล้วทำให้เกิดเตาทุเรียงในสมัยนั้น สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าสมัยพระนารายณ์ราว ๒๐๐ กว่าปีก็มีกรมท่าซ้าย ที่มีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ซึ่งเป็นคนจีนคุมทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวกับจีนที่เข้ามา เมื่อมีชุมชนชาวจีนหมูพันธุ์ที่จีนนิยมกินจึงน่าจะถูกนำเข้ามาด้วย ดังนั้นจึงสันนิฐานได้ว่าเนื้อหมูมีมานานแล้วค่ะ

ในส่วนของข้อเท็จจริงเรื่องอาหารที่ชาวไทยสมัยกรุงศรีอยุธยานิยมกินนั้นมีบันทึกของบาทหลวงเล่าไว้ว่าจะนิยมกินปลาเพราะหาง่าย เนื้อหมูนี่ถือว่าหายากค่ะ และเป็นสัตว์ใหญ่คนไทยไม่นิยมฆ่ากินเพราะกลัวบาป


เรื่องการเลี้ยงหมูในสมัยอยุธยายังมีกำหนดไว้ในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการเบดเสรจ มาตรา ๘ ความว่า

ผู้ใดเลี้ยงหมู ให้ใส่เล้าไว้อย่าให้ปล่อยให้ไปกินข้าวในนาผู้อื่น และผู้ที่ทำนาก็ให้รักษาล้อมรั้วไว้ให้มั่นคง ถ้าเจ้าของหมูไม่ได้รักษาหมูให้ดี ปล่อยให้ไปกินข้าว เจ้าของนาข้าวแทงหมูตาย กฎหมายว่าจะหาโทษมิได้

ถ้าเจ้าของหมูได้นำหมูใส่เล้าไว้แล้ว แต่เจ้าของข้าวมิได้ล้อมนาข้าวของตนเองไว้ และหมูนั้นหลุดออกมาจากเล้าไปกินข้าวในนาตน เจ้าของนาข้าวแทงตาย กฎหมายว่าให้ใช้ค่าหมู


จาก เอกสารของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หน้า ๓๔ และ กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๓ หน้า ๑๐๑


บันทึกการเข้า
atomicno1
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 22 ต.ค. 23, 14:51

เรื่องการกินเนื้อหมูมีอยู่ทั้งใน บุพเพสันนิวาส และ พรหมลิขิต คุณรอมแพง ผู้แต่งได้อธิบายไว้ดังนี้

เกรงว่าต่อไปจะมีการพูดถึงเนื้อหมูในอยุธยาว่าไม่มี เลยจะออกมาบอกไว้ก่อนนะคะว่า ในกรุงศรีอยุธยามีเนื้อหมูขายที่ ย่านในไก่ ตลาดน้อยเป็นย่านของคนจีนที่นิยมฆ่าและกินเนื้อหมู ซึ่งที่นั่นจะมีขายทั้งเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด นะคะ มีบันทึกไว้ในพงศาวดารในเรื่องของภูมิสถานในสมัยกรุงศรีอยุธยา เลยแต่งให้นางเอกไปซื้อหมูที่ตลาดนี้

คนจีนเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยไหนไม่แน่ชัดแต่สมัยสุโขทัยก็ได้มีการนำเข้าช่างจีนมาทำเครื่องปั้นดินเผาแล้วทำให้เกิดเตาทุเรียงในสมัยนั้น สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าสมัยพระนารายณ์ราว ๒๐๐ กว่าปีก็มีกรมท่าซ้าย ที่มีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ซึ่งเป็นคนจีนคุมทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวกับจีนที่เข้ามา เมื่อมีชุมชนชาวจีนหมูพันธุ์ที่จีนนิยมกินจึงน่าจะถูกนำเข้ามาด้วย ดังนั้นจึงสันนิฐานได้ว่าเนื้อหมูมีมานานแล้วค่ะ

ในส่วนของข้อเท็จจริงเรื่องอาหารที่ชาวไทยสมัยกรุงศรีอยุธยานิยมกินนั้นมีบันทึกของบาทหลวงเล่าไว้ว่าจะนิยมกินปลาเพราะหาง่าย เนื้อหมูนี่ถือว่าหายากค่ะ และเป็นสัตว์ใหญ่คนไทยไม่นิยมฆ่ากินเพราะกลัวบาป


เรื่องการเลี้ยงหมูในสมัยอยุธยายังมีกำหนดไว้ในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการเบดเสรจ มาตรา ๘ ความว่า

ผู้ใดเลี้ยงหมู ให้ใส่เล้าไว้อย่าให้ปล่อยให้ไปกินข้าวในนาผู้อื่น และผู้ที่ทำนาก็ให้รักษาล้อมรั้วไว้ให้มั่นคง ถ้าเจ้าของหมูไม่ได้รักษาหมูให้ดี ปล่อยให้ไปกินข้าว เจ้าของนาข้าวแทงหมูตาย กฎหมายว่าจะหาโทษมิได้

ถ้าเจ้าของหมูได้นำหมูใส่เล้าไว้แล้ว แต่เจ้าของข้าวมิได้ล้อมนาข้าวของตนเองไว้ และหมูนั้นหลุดออกมาจากเล้าไปกินข้าวในนาตน เจ้าของนาข้าวแทงตาย กฎหมายว่าให้ใช้ค่าหมู


จาก เอกสารของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หน้า ๓๔ และ กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๓ หน้า ๑๐๑

ขอบคุณมากๆ เลยค่ะคุณเพ็ญชมพู


ไปตามอ่านมาแล้วค่ะ ได้ความรู้หลากหลายเหมือนกัน คิดสภาพไม่ออกเลยว่าถ้าตัวเองได้ไปอยู่ในยุคนั้นจริงๆ จะรอดได้เกินอาทิตย์รึเปล่า

บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 22 ต.ค. 23, 15:51

เรื่องหมูๆไม่ค่อยสงสัยค่ะ แต่สงสัยในความไม่มีกาละเทศะของนางเอกที่ถามเรื่องพระนารายณ์ถูกวางยาพิษกลางเรือนและมีบ่าวไพร่นั่งหูผึ่งหน้าสลอน ซึ่งบ่าวไพร่ก็ต้องพูดปากต่อปากจนสะพัดไปทั้งเมือง สักวันก็ต้องเข้าหูพระเพทราชา ไม่กลัวพี่หมื่นโดนฟันคอริบเรือนหรือไร อุตส่าห์เรียนประวัติศาสตร์มานะแม่เกศสุรางค์ คุณศัลยานักเขียนบทชั้นครูไม่รู้สึกประหลาดบ้างหรือ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง