เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 2457 ศรีเทพ เมืองมรดกโลก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 25 ก.ย. 23, 09:09

เมื่อ UNESCO ประกาศให้เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย  คนไทยก็เริ่มฮือฮาให้ความสนใจกับเมืองนี้ 

จึงขอตั้งกระทู้ ให้ท่านสมาชิกช่วยกันเล่าถึงเมืองนี้กันหน่อยค่ะ

ความสำคัญของเมืองศรีเทพ  ไม่ได้มีแค่เป็นเมืองเก่าแก่ที่เหลือร่องรอยรอดมาถึงปัจจุบันเท่านั้น  แต่เป็นข้อพิสูจน์ว่าดินแดนแหลมทองแห่งนี้ มีอารยธรรมรุ่งเรืองถึงขั้น "อาณาจักร" มาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยและอยุธนา   รวมระยะเวลาที่มีความเจริญรุ่งเรืองถึงกว่า 800 ปี ก่อนที่จะถูกทิ้งร้างไปด้วยสาเหตุโรคระบาดร้ายแรงหรือปัญหาภัยแล้งประการใดประการหนึ่งหรือทั้งสองประการ ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 อันเป็นช่วงก่อนที่วัฒนธรรมสุโขทัยและอยุธยาจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก และมีการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องมาจนเท่าถึงปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ก.ย. 23, 09:18

ชื่อ “ศรีเทพ” เป็นการอนุโลมตามพระวินิจฉัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย ที่ได้ทรงสันนิษฐานไว้ในคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในปี 2447

เมื่อสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาถึงมณฑลเพชรบูรณ์ ทรงพบเอกสารสำคัญชิ้นหนึ่งที่ระบุถึงเมืองชื่อ 'ศรีเทพ’ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก ใกล้ๆ กับเมืองไชยบาดาลและเมืองวิเชียรบุรี
แต่เมื่อทรงสอบถามชาวบ้าน ก็ไม่มีใครรู้จักเมืองชื่อนี้  สอบถามพระบางรูปก็บอกว่าถ้าถามถึง ‘เมืองเก่า’ ก็รู้จักแต่เมืองอภัยสาลี สอบถามอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดวิเชียรบุรีท่านบอกมีเมืองหนึ่งเคยชื่อ ศรีเทพ หรือท่าโรง  การชี้จุดเมืองเก่า ตามประสาชาวบ้านที่ก็พอจะทราบว่าเป็นเมืองเก่า แต่ไม่รู้ว่าเก่าขนาดไหน และไม่รู้ได้ถึงความสำคัญ!

เท่าที่ชาวบ้านบอกได้คือ ในเขตที่เรียกกันว่า "ป่าแดง" รกเรื้อไปด้วยต้นไม้และซากปรักหักพัง  มีโบราณวัตถุกระจัดกระจายตามพื้นดิน ทั้งหลักศิลาจารึกและพระพุทธรูปเก่าๆ

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2726584



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 ก.ย. 23, 10:35

ว่าด้วยเรื่อง เมืองศรีเทพ

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 ก.ย. 23, 15:26

          คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value)

คลิปจากกรมศิลปากร

         
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ก.ย. 23, 17:43

เพิ่มเติม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 ก.ย. 23, 18:50

    ศรีเทพ เป็นเมืองที่มีคูเมืองกำแพงเมืองล้อมรอบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย เมืองในและเมืองนอก มีพื้นที่ประมาณ 4.7 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,889 ไร่

    เมืองใน ผังเมืองค่อนข้างกลม มีพื้นที่ประมาณ 1.87 ตารางกิโลเมตร (1,300 ไร่) ภายในตัวเมืองมีภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลอนลูกคลื่น มีโบราณสถานกระจายตัวอยู่ 48 แห่ง  เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู มีรูปแบบศิลปกรรมในวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) และวัฒนธรรมเขมรโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 16-18) ซึ่งมีโบราณสถานที่สำคัญและมีขนาดใหญ่ ได้แก่ โบราณสถานเขาคลังใน โบราณสถานปรางค์ศรีเทพ และโบราณสถานปรางค์สองพี่น้อง ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมืองค่อนไปทางทิศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีสระน้ำโบราณทั้งขนาดใหญ่และเล็กอีกจำนวนกว่า 70 แห่ง
    เมืองนอก ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองใน มีพื้นที่ประมาณ 2.83 ตารางกิโลเมตร (1,589 ไร่) ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ภายในตัวเมืองสำรวจพบโบราณสถาน จำนวน 64 แห่ง มีสระน้ำโบราณจำนวนมาก

    นอกคูเมืองกำแพงเมืองโบราณยังมีการสำรวจพบโบราณสถานอีกจำนวน 50 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศเหนือของเมือง ที่สำคัญ ได้แก่ โบราณสถานเขาคลังนอก โบราณสถานปรางค์ฤๅษี กลุ่มโบราณสถานเขาคลังสระแก้ว และสระแก้ว สระน้ำโบราณขนาดใหญ่
     ส่วนทางด้านทิศตะวันตกนอกเมืองโบราณศรีเทพห่างออกไปประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเขาถมอรัตน์ ภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ที่มีรูปลักษณ์เฉพาะ ซึ่งใช้เป็นจุดสังเกตในการเดินทางที่สำคัญมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยบริเวณเชิงเขาเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือและกำไลหินที่สำคัญ ต่อมาในสมัยทวารวดีได้มีการดัดแปลงถ้ำหินปูนที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขาให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาแบบมหายาน กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 ก.ย. 23, 19:35

ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ศรีเทพ และ ศรีจนาศะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 ก.ย. 23, 20:35

ชื่อ ศรีจนาศะ อาจหมายถึง ศรีเทพ

เนื่องจากมีคนพูดเรื่องศรีเทพกับทวารวดีกันมาก ผมเกิดนึกจะลองค้นเรื่องทวารวดีในบันทึกจีนดูบ้าง

คนที่สนใจย่อมทราบว่าคนจีนแรก ๆ ที่เอ่ยถึงทวารวดีคือ "พระถังซำจั๋ง" (พระเสวียนจั้ง ซึ่งไปสืบพระศาสนาที่อินเดีย) ท่านเอ่ยไว้นิดเดียวในบันทึกของท่านว่า "ถัดจากทะเลใหญ่เบื้องตะวันออกเฉียงใต้มีประเทศกามะลังกา ถัดไปทางตะวันออกคือประเทศทวารวดี"

พระถังซำจั๋งท่านถอดคำว่าทวารวดีเป็นอักษรจีนว่า 陀羅缽地國 ซึ่งผมจะถอดเป็นสำเนียงจีนยุคกลาง (โดยละวรรณยุกต์) ดังนี้ว่า

ทา (陀) ลา (羅) พัต (缽) ดี (地)

บันทึกจีนยังเรียกทวารวดีต่าง ๆ กันไป เช่น ดูวาพัตเดย (杜和钵底) บ้างก็เรียก ดิววา (投和) และ ดวาวาลา (墮和羅) เป็นต้น

ที่ต้องยกตัวอย่างขนาดนี้เพื่อจะบอกว่าทวารวดีมันมีอยู่จริงถึงขนาดที่จีนเอ่ยถึงซ้ำกันหลายครั้ง

ชื่อหลังสุดคือ "ดวาวาลา" น่าสนใจชื่อนี้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังฉบับเก่า 《舊唐書》ข้อความเต็ม ๆ คือ "ประเทศทวารวดี ทางใต้มีพันพัน ทางเหนือมีประเทศ 迦羅舍佛 ตะวันออกมีประเทศเจนละ ทางใต้มีทะเลใหญ่"

จะเห็นว่าผมทิ้งภาษาจีนไว้ 迦羅舍佛 ส่วนชื่อเมืองอื่นผมแปลหมด นั่นเพราะประเทศที่นี้น่าจะสำคัญมาก

เรารู้ว่าเจนละคือเขมรโบราณ ที่บอกว่าอยู่ตะวันออกของทวารวดีก็ถูก เพราะ "สรุกแขมร์" อยู่ทางตะวันออกของภาคกลางของไทย หรืออาจจะหมายถึงเมืองเศรษฐปุระหรือวัดภูที่เมืองจำปาสัก ประเทศลาว อันเป็นเมืองหลวงเดิมของเจนละ

ประเทศพันพัน ยังเถียงกันว่าอยู่ที่ไหน แต่ผมเชื่อมาตลอดว่าควรอยู่แถวไชยา และให้สงสัยว่า "อำเภอพุนพิน" มีชื่อใกล้เคียงกันพันพัน อันนี้ควรถือเป็นบรรพบุรุษของศรีวิชัยแห่งหนึ่ง

มาถึงประเทศ 迦羅舍佛 ทางตอนเหนือของทวารวดี

ผมลองค้นดูแล้ว นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าน่าจะหมายถึง "จนาศะ" หรือ "จานาศะปุระ"

"จนาศะ/จานาศะ" คืออะไร? คืออาณาจักรโบราณที่ไม่ใช่ทวารวดี แต่มีศิลปะแบบทวารวดี ไม่ใช่เขมรเพราะจารึกบอกว่า "อยู่นอกกัมพุชเทศ" (หรือสรุกแขมร์) แต่จารึกกลับใช้ภาษาเขมร

มันสำคัญตรงที่นักวิชาการบางท่าน (เช่น อาจารย์ธิดา สาระยา) เชื่อว่า "จนาศะ/จานาศะ" อาจหมายถึง "ศรีเทพ"

อย่าลืมว่าเมืองโบราณศรีเทพร้างมานานจนลืมชื่อ เราไม่รู้ว่ามันชื่ออะไรกันแน่ คำว่าศรีเทพเป็นชื่อใช้กันใหม่ แต่ก็เชื่อว่าโบราณน่าจะมีเมืองชื่อนี้เหมือนกัน

พอผมลองค้นเรื่องของ 迦羅舍佛 ในบันทึกจีนก็เชื่อว่ามันคล้ายที่ตั้งของเมืองศรีเทพพอควร

ก่อนอื่นคำนี้ออกเสียงว่าอย่างไร?

ในภาษาจีนยุคกลาง มันควรออกเสียงว่า กาลาซา หรือ กานาซา (迦羅舍) ถ้าออกเสียงจีนปัจจุบันจะได้เป็น "จยา หลัว เส่อ"

แม้ในยุคกลางมันจะออกเสียงว่า "กา" (迦) แต่เสียงนี้เป็นเสียง "จ" หรือ "ก" ที่เลื่อนกันไปมาได้ อย่างที่ภาษาศาสตร์เรียกว่า Hard and soft C ดังคำว่า "จานาศะ" ในเสียงสันสกฤตอักษรโรมันเขียนว่า Canāśa

ดั้งนั้น กานาศะ หรือ จนาศะ ก็คือคำ ๆ เดียวกันได้ แม้จะออกเสียงต่างกัน

อักษร 羅 ออกเสียง ลา หรือ นา ก็ได้ อันนี้ไม่เป็นปัญหา

แต่มีคำที่มีปัญหาคือ 佛 คำนี้หมายถึง "พระพุทธ" ในภาษาจีนปัจจุบัน แต่โบราณมันอาจไม่ได้หมายความว่าแบบนั้น

ในจีนยุคกลางคำว่า 佛  ออกเสียงว่า "บุต" ซึ่งผมลองใคร่ครวญดูแล้วอาจหมายถึง ปูร หรือ ปุระ เช่น จันทบูร มาจาก จันทปุระ  

มันเป็นไปได้ไหม? ผมคิดว่าเป็นไปได้ถ้าเราดูชื่อประเทศกานาซาจากบันทึกอื่น

เมื่อลองดูการเรียกอาณาจักรนี้ใน "ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังฉบับใหม่ บรรพว่าด้วยประวัติหนานหมาน" 《新唐書·南蠻列傳》 เรียกชื่อประเทศนี้ว่า "กานาซาปุน" (哥羅舍分)

ฟังเหมือน "จานาศะปูร" ไหมครับ?

อนึ่ง หนานหมาน แปลว่าพวกคนเถื่อนทางใต้ ปกติใช้เรียกพวกชนชาติในยูนนาน แน่นอนว่าใช้เรียกบรรพบุรุษของคนไทด้วย บังเอิญที่ "กานาซา" ถูกจัดอยู่ในหมวดคนเถื่อนทางใต้เหมือนกัน

ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังบรรยายไว้ว่า "ประเทศกานาซาปุนอยู่ทางใต้ของทะเลใต้ (หมายถึงทะเลใต้จากจีน) ติดกับทวารวดี มีทหารสองหมื่นคน พระราชาของประเทศ คือปูเวียตกามา เมื่อรัชศกเสี่ยนชิ่งปีที่ ๕ เสด็จมาถวายราชบรรณาการ" (ปีเสี่ยนชิ่งที่ ๕ คือรัชสมัยพระเจ้าถังเกาจง ตรงกับ ค.ศ.๖๖๐)

ตอนนี้เรามีข้อมูลขัดกันนิดหน่อย ประวัติศาสตร์เล่มแรกบอกว่า ประเทศกานาซาอยู่ทางเหนือของทวารวดี เล่มต่อมาบอกว่าอยู่ทางตะวันออก แต่ผมว่าไม่ขัดกันเท่าไร

เพราะถ้าประเทศกานาซาหมายถึงจานาศะจริง ๆ อาณาจักรนี้น่าจะกินพื้นที่ถึงตอนเหนือของทวารวดี (เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์) และถึงตะวันออกด้วย (เมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา) ทุกวันนี้ยังเถียงกันไม่จบว่าจานาศะตั้งอยู่ที่ไหนระหว่างโคราชกับศรีเทพ?

นั่นก็เรื่องหนึ่ง แต่ที่น่าสนใจก็คือ ชื่อกษัตริย์ของจานาศะที่ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าถังเกาจง มีพระนามว่า "ปู เวียต กา มา" (蒲越伽摩) ฟังแล้วทะแม่ง ๆ แต่มันมีเค้าอยู่

จานาศะนั้นมีจารึกอยู่ไม่กี่หลัก หลักหนึ่งนั้นพบที่เทวสถานที่กรุงศรีอยุธยา บอกพระนามกษัตริย์ของ "จานาศปุระ" ไว้บางพระองค์ องค์ที่สองพระนามว่า "ศรีสุนทรปรากรม"

เป็นไปได้ไหมที่คำว่า "ปู เวียต กา มา" น่าจะเป็นเสียงจีนของคำว่า "ปรา กระมะ" อันเป็นท้ายพระนาม?

ยกเว้นคำว่า "เวียต" (越) คำอื่นดูจะเข้าเค้าหมด แต่กระนั้นผมยังเชื่อว่าในสมัยยุคกลางคำ ๆ นี้ยังสามารถออกเสียงเป็น "วอล/วัล" ได้เหมือนกัน ถ้าเป็นแบบนั้น ก็จะได้เป็น "ปูวัลกามา" ดูคล้าย "ปรากรมะ" มากขึ้นหน่อย

ถ้าจริงตามนี้ "กานาซาปุน" ควรเป็นประเทศจานาศะหรือศรีจานาศะปุระ  กษัตริย์ที่เสด็จไปเมืองถังก็คือพระเจ้าศรีสุนทรปรากรม องค์เดียวกับในจารึกที่พบที่อยุธยา

ที่สำคัญคือถ้าจริง มันบอกเราว่าจานาศะเป็นคนละประเทศกับทวารวดี และถ้าจานาศะเป็นศรีเทพ ศรีเทพก็ไม่ใช่ทวารวดี เพียงแต่มีศิลปะแบบเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเมืองโบราณยุคนั้นที่จะแชร์วัฒนธรรมกัน

นี่คือสันนิษฐานนะครับ โปรดคิดให้ดีก่อนเชื่อ

มาถึงคำถามว่าจารึกศรีจานาศะไฉนไปโผล่ที่อยุธยา ในเมื่อมันควรเป็นของศรีเทพหรือเมืองเสมาที่โคราช?

ผมก็จนปัญญา แต่มันน่าคิดตรงที่ว่าจารึกนี้พบที่เทวสถานของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอ้างว่าตัวเองคือทายาททวารวดี (ดังชื่อเต็มว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา) จะเป็นไปได้ไหมว่าอยุธยาก็อ้างตัวเองเป็นทายาทของจานาศะ?

หากจานาศะคือศรีเทพ อยุธยาก็คือทายาทของอารยะธรรมศรีเทพด้วย

กรุงเทพฯ ของเราทุกวันนี้ก็คือทายาทของอยุธยา (เรียกตัวเองว่ากรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยามาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ หลังจากรัชกาลนั้นจึงค่อยเรียกตัวเองว่าสยาม)

กรุงเทพฯ ก็คือทายาทของจานาศะและศรีเทพด้วยได้หรือเปล่า?

จาก เฟซบุ๊กของคุณกรกิจ ดิษฐาน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 ก.ย. 23, 12:30

เมื่อเอ่ยถึง"ศรีเทพ" ก็มีการเอ่ยถึง "ทวารวดี" ควบไปด้วยหลายครั้ง   
ทำให้อยากรู้เรื่องทวารวดี  ก็เลยไปค้นมาให้อ่าน

แต่เดิมนักวิชาการว่ากันว่าเป็นอาณาจักรโบราณ มีศูนย์กลางอยู่แถวๆนครปฐม   เพราะมีหลักฐานจากขุดพบเหรียญเงินสองเหรียญในโถขนาดเล็กที่บริเวณซากเจดีย์โบราณแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของวัดพระประโทณ จ.นครปฐม ราว 1 กิโลเมตร เมื่อ พ.ศ.2486
 
นอกจากนี้ ยังค้นพบจารึกบนฐานพุทธรูปที่วัดจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ยืนยันความมีตัวตนของทวารวดีขึ้นมาอีกด้วย      จารึกนี้เขียนด้วยอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต  เนื้อความกล่าวว่า พระเทวีของเจ้าแห่งทวารวดี ทรงบัญชาให้พระธิดาสร้างพระพุทธรูป

นี่คือหลักฐานในประเทศ  ส่วนหลักฐานนอกประเทศที่กล่าวถึงทวารวดี คือบันทึกของพระภิกษุเสวียนจั้ง หรือพระถังซัมจั๋ง  ซามูเอล บีล (Samuel Beal) ได้แปลบันทึกจากภาษาจีนโบราณออกเป็นภาษาอังกฤษ  มีคำว่า “To-lo-po-ti”  ตามข้อความที่แปลออกมาจากบันทึก ว่า

“เดินทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังชายขอบของมหาสมุทร เราจะมาถึงอาณาจักร (kingdom) ศรีเกษตร (ชิลิฉาตาหลอ)
ไกลออกไปจากนั้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่ชายฝั่งของมหาสมุทร เราจะมาถึงประเทศ (country) กามลังกา (เกียโมลังเกีย) ห่างออกไปทางทิศตะวันออกจะเป็นอาณาจักรแห่งทวารวดี (โถโลโปติ) ทางทิศตะวันออกต่อไปเป็นประเทศแห่งอิศานปุระ (อิซางป๋อหลอ) และไกลทางทิศตะวันออกต่อไปจะเป็นประเทศแห่งมหาจามปา (โมโหเฉนโป) ซึ่งก็คือหลินอี้ ถัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะเป็นประเทศที่ชื่อว่า ยามนทวีป (ยาวนทวีป, เยนเนียวนาฉือ) ทั้ง 6 ประเทศนี้ ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาและแม่น้ำที่ไม่อาจเข้าถึงได้ แต่ขอบเขต, ลักษณะของผู้คน และประเทศสามารถเรียนรู้ได้ด้วยการสอบถาม”


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 ก.ย. 23, 12:32

https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=Z_0oyltPiTI
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 ก.ย. 23, 13:35


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 ก.ย. 23, 14:04

ทำไมของดิฉัน  คลิปไม่ขึ้นล่ะคะ คุณเพ็ญชมพู? ฮืม ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 ก.ย. 23, 15:35


ตัด "app=desktop&" ออกหนาจะได้ผล ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 27 ก.ย. 23, 09:41

 ยิ้ม
ขอบคุณค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 ก.ย. 23, 09:47

   เมื่อมีการค้นพบซากเมืองโบราณ และโบราณวัตถุสถานต่างมากมาย บริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา  ดูศิลปะแล้วไม่เหมือนขอม–เขมร หรือของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ - หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 
   ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  จึงกำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่า "ทวารวดี" โดยอ้างอิงจากตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรและอายุตามบันทึกของจีน กับอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน
   โบราณสถานและโบราณวัตถุที่เมืองศรีเทพ  จึงถูกจัดกลุ่มเข้าเป็น "ทวารวดี" ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว   แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นการพิสูจน์ที่ตายตัวลงไป    นักวิชาการปัจจุบันบางกลุ่มก็ยังคัดค้านการนิยามดังกล่าว
   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง