เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 4796 อาหารไทยแท้ข้อมูลนี้ถูกต้องไหมครับ
อุปนิกขิต
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


 เมื่อ 13 ก.ย. 23, 14:47

อาหารไทยแท้ข้อมูลนี้ถูกต้องไหมครับ

=========

อาหารไทยแท้ เป็นอาหารที่ทำกันมาตั้งแต่โบราณ โดยไม่ได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ ส่วนมากจะเป็นอาหารแบบง่าย ๆ เช่น ต้มโคล้ง ข้าวแช่ แกงป่า น้ำพริก และหลน
ขนมไทยแท้ จะไม่มีส่วนประกอบที่ทำมาจากไข่ หากทำมาจากไข่จะเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ แต่ขนมไทยแท้ทำมาจากแป้ง น้ำตาล กะทิเป็นส่วนใหญ่ เช่น ขนมถ้วย ขนมเปียกปูน ขนมเปียกอ่อน ตะโก้ ลอดช่อง ขนมปลากริมไข่เต่า ขนมใส่ไส้ และขนมครก เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูล : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=692268309601701&id=100064556145468

#อาหารไทยแท้ #ขนมไทยแท้
#สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
#สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่:เว็บไซต์: https://www.opm.go.th
Facebook : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สปน.
Youtube : https://www.youtube.com/thaiidentity


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ก.ย. 23, 18:54

ข้าวแช่ มาจากมอญ นะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ก.ย. 23, 19:57

คนอยุธยารู้จักไก่แน่นอน  เมื่อมีไก่ป่าให้พระลอตามไก่ได้  ไก่บ้านก็ต้องมีเหมือนกัน     ทำไมคนไทยจะเอาไข่มาทำทั้งของคาวของหวานไม่ได้  ต้องรอท้าวทองกีบม้ามาทำให้ดูอยู่คนเดียวหรือคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 ก.ย. 23, 09:21

เชิญอ่านอาหารโบราณในกระทู้นี้นะคะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7108.0
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 ก.ย. 23, 15:11

ผมสะดุดตาตรงชื่อ ลอดช่อง ครับ

เพราะลอดช่องน่าจะเป็นขนมหวานที่ผมรู้จักมักคุ้นเป็นชื่อต้นๆ เพราะบ้านเกิดอยู่ใกล้ร้านลอดช่องสิงคโปร์ ที่สามแยก

โตมาหน่อยผมก็ได้อ่านบทความบอกเล่าว่า

ชื่อลอดช่องสิงคโปร์ ได้มาเพราะร้านเค้าอยู่ตืดกับโรงหนังชื่อสิงคโปร ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นเฉลิมบุรี
บทความที่ผมเคยอ่านนั้นว่า คนสิงคโปร์เค้าไม่กิน และ ไม่รู้จักลอดช่อง ผมก็เชื่อตามนั้นมาตลอด...

กระทั่งวันหนึ่งที่ผมมีโอกาสไปทำธุระที่สิงคโปร์ ผมกลับพบว่า ตามฟู้ดคอร์ทที่เค้าย้ายร้านค้าริมถนนเข้าไปอยู่รวมกัน มีร้านขายลอดช่องหลายๆร้าน คนสิงคโปร์เค้าก็กินและชอบกินลอดช่อง ที่รสชาติละม้ายกับรสชาติของลอดช่องบ้านเรา

ผมจำเหตุการณ์ที่พบแย้งกับความรู้เดิมๆนั้นอยู่นานนับสิบปี กระทั่งวันที่การสืบค้นสาระความรู้บนอินเตอร์เน็ตง่าย สะดวก

ผมเรียนรู้ว่า ลอดช่องที่ผมรู้จัก มีชื่อฝรั่งว่า เซนดอล เมื่อเข้าไปสืบค้นก็ได้ความว่า ลอดช่องเป็นอาหารที่กินกันทั่วไปทั้งอาเซียน

ฝรั่งชาวดัตช์จดบันทึกเรื่องลอดช่องที่นิยมกินในประเทศอินโดนีเซียมาก่อนแล้วเป็นศตวรรษ

ลองอ่านดูสิครับ

https://en.wikipedia.org/wiki/Cendol
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 14 ก.ย. 23, 17:00

น่าตื่นเต้นมากค่ะ เป็นความรู้ใหม่ว่าลอดช่องไม่ใช่ของหวานไทยแท้  แต่มีต้นกำเนิดมาจากนอกประเทศ   ขอบคุณคุณนามแปลงมากค่ะ
ดิฉันไปค้นคำว่า cendol  ก็เจอหลายเว็บ   ระบุตรงกันว่า  ลอดช่องเป็นของกินเก่าแก่  ถอยหลังไปถึงศตวรรษที่ 12   ประเทศที่ประกาศว่าฉันเป็นเจ้าของคือชวาหรืออินโดนีเซีย  ไม่ใช่มาเลเซียอย่างที่เข้าใจกัน  ลอดช่องภาษาชวา เรียกชื่อว่า Dawet   มีหลักฐานอยู่ในบันทึกโบราณของชวาหลายแห่งด้วยกัน   
เมื่อDawet เริ่มที่ชวา  จะแพร่มาที่มลายูก็ง่ายนิดเดียว รั้วแทบจะติดกันอยู่แล้ว  จากนั้นจะเดินทางขึ้นมาที่อยุธยาก็ไม่ยากอีกนั่นแหละ

https://sea.mashable.com/culture/3213/fun-fact-the-cendol-is-a-900-year-old-dessert
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 14 ก.ย. 23, 17:07

แต่ลอดช่องชวา (หรืออินโดนีเซีย)กับลอดช่องมลายู (หรือมาเลเซีย)ก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียวนะคะ
cendol ของชวา หน้าตาเป็นเครื่องดื่ม  ส่วน chendol ของมลายู หน้าตาเป็นของหวาน 
ของไทยเราคล้ายมลายูมากกว่า  ชวนให้คิดว่าเป็นวัฒนธรรมที่เรารับมาจากทางใต้สุดของแหลมทองก็ได้



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 ก.ย. 23, 17:35

หน้าตาของ ลอดช่องชวา ก็คล้ายกับ ลอดช่องไทย นั่นแหละ เพียงแต่แตกต่างในเรื่องวัตถุดิบและวิธีทำ

ลอดช่องจากอินโดนีเซีย ถือว่าเป็นต้นกำเนิดให้กับของหวานประเภทนี้เลยก็ว่าได้ อินโดนีเซียเรียกลอดช่องว่า "เจ็นดล" (cendol) แปลว่า โหนก หรือ โป่ง
 ตามรูปร่างของแป้งลอดช่องสีเขียว ๆ คล้ายหนอนตัวบวม ๆ



แรกเริ่มเดิมที ลอดช่องชวา ทำจากแป้งที่ได้จากต้นตาว (พืชตระกูลปาล์ม คล้าย ๆ มะพร้าว หรือต้นตาล มีขึ้นอยู่ทั่วไปในหมู่เกาะอินโดนิเซีย)
หรือไม่ก็แป้งจากต้นสาคู (พืชตระกูลปาล์มเช่นกัน ภาคใต้ของไทยเราก็มี) ซึ่งเป็นแป้งที่ให้ความเหนียวเคี้ยวหนึบสู้ฟัน แต่ด้วยความที่แป้งต้นตาว หรือแป้งสาคู มีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก
เลยหันมาใช้แป้งข้าวเจ้าแทน ซึ่งตัวแป้งจะมีความเปื่อยกว่า ไม่หนึบเหมือนใช้แป้งสาคู
แต่กระนั้น คนโบราณก็มีเคล็ดลับก้นครัว คือการผสมน้ำปูนใสลงไปในแป้งข้าวเจ้า
แบบเดียวกับขนมเปียกปูน เพราะน้ำปูนใสมีแคลเซียม จึงช่วยให้แป้งข้าวเจ้าเด้งหนึบขึ้นมาได้



ส่วนวิธีทำน้ำกะทิของอินโดนั้น จะไม่เคี่ยวกะทิกับน้ำตาลให้เข้ากัน แบบลอดช่องไทย
แต่จะแยกเป็นน้ำกะทิสดหม้อหนึ่งกับน้ำตาลเคี่ยวอีกหม้อหนึ่ง รวมเป็น ๒ หม้อ
โดยใช้น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลจากต้นตาว มาเคี่ยวจนเหนียวข้น มีสีเข้ม แบบคาราเมล



เมื่อจะกิน จึงตักลอดช่องและกะทิใส่ชาม รินน้ำตาลข้นใส่เพื่อความหวาน ค่อย ๆ คน เพื่อให้น้ำตาลละลาย บ้างใส่เนื้อขนุน หรือทุเรียนลงไปด้วย เพิ่มรสชาติ เพิ่มกลิ่น และสีสันในการกิน "เจ็นดล" หรือลอดช่องตำรับชวา ได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลจาก มิวเซียมสยาม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 ก.ย. 23, 18:14

อาหารไทยแท้ควรจะมีลักษณะเป็นเช่นใด    

ขอให้ความเห็นที่ประมวลได้มาจากสิ่งที่ได้สัมผัสเมื่อครั้งต้องเดินทางเข้าทำงานในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ทุรกันดารต่างๆ ซึ่งต้องใช้ชีวิตคลุก
อยู่กับวิถีของชาวบ้านในพิกัดพื้นที่ๆเรียกว่า 'บ้าน...' (ซึ่งมีบ้านที่อยู่อาศัยเพียง 2-3 หลังคาเรือน) และพิกัดสถานที่ๆเรียกว่า 'หมู่บ้าน...' (ซึ่งมีบ้านที่อยู่อาศัยเพียง 5-6 หลังคาเรือน)    บ้านและหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลและเข้าถึงได้ยากเหล่านี้มีทั้งที่อยู่กันมาแต่ดั้งเดิมนานมากมาแล้ว (ตั้งแต่ครั้งสมัยสงครามเก้าทัพก็มี สมัยรัชกาลที่ 3 ก็มี  สมัยรัชกาลที่ 5 ก็มี  กระทั่งสมัยพระนเรศวรฯเดินทัพก็มี)  และทั้งที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ใหม่ก็มี (โดยเฉพาะช่วงหลัง พ.ศ.2510)  

พิจารณาจากสภาพของการตั้งอยู่ในสภาพที่โดดเดี่ยวนานมาพอสมควร ก็น่าจะพออนุโลมได้ว่าสิ่งที่ได้สัมผัสมานั้นยังคงมีความเป็นสภาพเดิมๆอยู่มาก      
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ก.ย. 23, 19:20

ภาพแรกคือเครื่องครัว ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ที่ต้องมีประจำครัวก็จะมี หม้อ (ดินหรือโลหะ) ไห ครกไม้ กะละมัง เขียงไม้ มีดครัวขนาดเล็ก (ใช้เอนกประสงค์ เช่น หั่น/ซอยผัก ปอกเปลือกผลไม้ ฯลฯ)  เตาไฟที่ใช้ฟืน ใช้ขาเป็นก้อนหินหรือเหล็กสามขา  กระบอกน้ำทำจากไม้ไผ่ 3-4 กระบอก เกลือ พริกแห้ง ตะแกรงไม่ไผ่สานขนาดฝ่ามือ ไม้ปลายแหลมยาวประมาณ 30 ซม.  ก็จะประมาณนี้ 

ภาพนี้ ในความเห็นของผม น่าจะพอทำให้จินตนาการออกไปพอได้ว่า  ลักษณะรูปร่างหน้าตาของอาหารไทยที่เรียกว่าเป็นอาหารไทยแท้นั้นน่าจะออกไปในทางใด  ที่เด่นออกมาก็คือ ดูจะเป็นอาหารที่นิยมปรุงด้วยวิธีการ ต้ม ตำ ยำ ย่าง  เป็นอาหารที่ไม่มีกระบวนการทอด (ไม่มีการใช้กระทะ)  เป็นอาหารที่นิยมจะให้กลิ่นและรสของเครื่องปรุงกระจายออกมาผ่านกระบวนการบดขยี้ (ตำ)  เป็นอาหารที่นิยมเอาของสดต่างๆมารวม
คลุกเข้าด้วยกันแล้วปรุงรสให้นัว   และนิยมเครื่องปรุงและอาหารที่ผ่านการย่างหรือหมก(ขี้เถ้า)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 ก.ย. 23, 19:35

เชิญอ่าน

เปิบพิสดารสมัยอยุธยา
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=442.0
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ก.ย. 23, 18:51

ที่คณะทูตจากเปอร์เซียได้บันทึกเรื่องของอาหารการกินสมัยอยุธยาไว้นั้น ดูจะมีสาระสำคัญบ่งชี้ว่า คนไทยในสมัยนั้นบริโภคสัตว์น้ำเป็นพื้นฐานและพวกสัตว์เล็กที่สามารถจับได้ง่ายด้วยอุปกรณ์ดักสัตว์เช่นพวก 'แล้ว' ชนิด/ลักษณะต่างๆ     และที่ว่าบริโภคสัตว์ที่ตายแล้ว ก็คงจะต้องเป็นเช่นนั้น เพราะเขามีความเชื่อของการกินสัตว์บนฐานของคำสอนทางศาสนาต่างกับเรา   

อนึ่ง ที่ว่าหนังสัตว์พวกกวางเป็นสินค้าสำคัญในสมัยนั้น ผมมีความเห็นว่าเกือบทั้งหมดน่าจะเป็นหนังเก้งมากกว่า (Barking deer)  เพราะกวางเป็นสัตว์ที่ตัวค่อนข้างใหญ่ ใช้การดักจับค่อนข้างยาก (หรือว่ามีการใช้ปืนแก็ปกันแพร่หลายในสมัยนั้นแล้ว ? )   ต่างกับเก้งที่ตัวเล็กและค่อนข้างจะมีความเชื่องมากกว่า พบได้ง่ายกว่าและยังชอบหากินอยู่ในบริเวณชายป่า/ชายทุ่ง     กรณีของการล่ากวางหรือเก้งจนได้หนังของมันในปริมาณมากพอจนกลายเป็นสินค้าได้นี้ ก็น่าจะบ่งชี้ว่าจะต้องมีการเอาเนื้อของพวกมันมาบริโภค ซึ่งวิธีการบริโภคเนื้อของคนไทยแบบบ้านๆแท้ๆนั้นก็ดูจะมีอยู่ 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ ในลักษณะของการสับให้ละเอียดแล้วปรุง (ลาบ) ซึ่งจะกินในลักษณะเป็นกับแกล้มมากกว่าที่จะเป็นจานกับข้าว  และในลักษณะของการย่างแห้ง ซึ่งจะนำมากินในลักษณะเป็นของกินแนมกับข้าว (ข้าวสวยหรือข้าวเหนียว)   

บันทึกนั้น ให้ภาพรวมๆในเชิงของวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยนั้น แต่ในเชิงของความเป็นจานอาหารที่ปรุงเพื่อการกินในแต่ละมื้ออาหารนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ก.ย. 23, 11:35

คนอยุธยารู้จักไก่แน่นอน เมื่อมีไก่ป่าให้พระลอตามไก่ได้ ไก่บ้านก็ต้องมีเหมือนกัน ทำไมคนไทยจะเอาไข่มาทำทั้งของคาวของหวานไม่ได้  ต้องรอท้าวทองกีบม้ามาทำให้ดูอยู่คนเดียวหรือคะ

ขนมไทยแท้ที่ทำจากไข่มีอะไรบ้างน้อ ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ก.ย. 23, 18:33

ขนมไทยแท้ที่ทำจากไข่มีอะไรบ้างน้อ ฮืม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ก.ย. 23, 19:08

นึกออกอยู่สองสามอย่างครับ แต่ไม่รู้ว่าจะถูกต้องหรือไม่ ก็มีสังขยา บัวลอยไข่หวาน ไข่ป่าม(ภาคเหนือ)  ยิงฟันยิ้ม

ขนมส่วนใหญ่ต้องมีแป้งเป็นส่วนผสม  สำหรับในโลกซีกตะวันออกนั้น แป้งหลักๆที่ใช้แต่ดั้งเดิมกันมาน่าจะเป็นแป้งจากข้าวที่ใช้บริโภคกัน  ก็อาจจะมีพวกแป้งที่ได้มาจากพืชหัวบางชนิด(ที่เป็นพืชในพื้นถิ่น)ใช้ผสมผสานร่วมไปด้วย เช่น แป้งท้าวยายม่อมของไทย  แป้งจากหัวบุก...

สำหรับขนมของไทยเราแต่ดั้งเดิมนั้น ควรจะอยู่ในลักษณะของใช้แป้งสามชนิด คือแป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียว และแป้งท้าวยายม่อม    ซึ่งจะต่างกับในซีกโลกตะวันตกที่แป้งสาลีเป็นแป้งพื้นฐานในการทำอาหารและขนมต่างๆ  ก็จนกระทั่งเกิดประเทศอเมริกากระมัง แป้งจากข้าวโพดจึงได้เข้ามามีบทบาทในการทำอาหารและขนมต่างๆของโลกตะวันตก    

ก็เลยเป็นเรื่องน่าสนใจว่า ของกินของคนต่างชาติที่มาอยู่ในเมืองไทยในสมัยอยุธยาที่ต้องใช้แป้งสาลีนั้น  แป้งสาลีได้ซึมเข้าใช้ไปอยู่ในเมนู/จานอาหารไทยใดบ้าง ก็เดาเอาในเบื้องแรกว่าน่าจะเป็นอาหารที่เรียกกันว่าอาหารชาววัง  และในทำนองกลับกัน พวกแป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียว และแป้งท้าวยายม่อม(?)นั้น ก็ย่อมจะเข้าไปเป็นส่วนผสมอยู่ในเมนู/จานอาหารของชาวต่างชาติบ้าง เช่น..?

เคยได้สนทนากับชาวญี่ปุ่นวัยชรา เขาเล่าว่า หลังสงครามโลกยุติลง ญี่ปุ่นขาดแคลนอาหารมาก การบรรเทาที่ได้รับการช่วยเหลือจะเป็นพวกแป้งสาลี และของกินที่ทำขึ้นมาบนพื้นฐานของแป้งสาลี ก็เป็นสัมผัสที่แปลกและรู้สึกว่าเป็นของกินที่ไม่เข้าท่าเอาเสียเลย คือต่างจากสัมผัสแบบข้าวจ้าวโดยสิ้นเชิง   คนญี่ปุ่นได้พัฒนาการทำอาหารและของหวานที่ต้องใช้แป้งสาลีตั้งแต่นั้นมา จนในที่สุดก็เป็นอย่างที่ได้ลิ้มรสและว่ากันว่าอร่อยกันในทุกวันนี้      
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง