เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 9665 จุดจบของอาชีพนักเขียน
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 05 ธ.ค. 23, 15:20

               เมื่อ‘เอไอ’ถูกวัด‘ไอคิว’

โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ วันที่ 4 ธันวาคม 2566

https://www.matichon.co.th/article/news_4312349

          บริษัทต่างๆ พากันพัฒนาเอไอกันยกใหญ่ เป้าหมายหลักสำคัญอยู่จุดเดียวกัน นั่นคือการพัฒนาเอจีไอ (AGI) ขึ้นมา
          เอจีไอ (artificial general intelligence) หรือบางทีเรียกกันว่า จีเอไอ (generative AI) คือจุดที่เมื่อพัฒนาไปถึงแล้ว เอไอ
(ที่อยู่ในจักรกลทั้งหลาย) จะสามารถทำงานส่วนใหญ่ที่คนทำได้อยู่ในเวลานี้ได้นั่นเอง
          ตอนนี้เราพัฒนาเอไอไปถึงไหนกันแล้ว? หลายคนบอกว่ามาไกลมากแล้ว จนถึงขั้นวิตกกังวล (เช่น บรรดานักแสดง นักเขียนบทฮอลลีวู้ด
ที่พากันสไตรก์เมื่อไม่นานมานี้ ส่วนหนึ่งเพราะเหตุนี้) ว่างานของตัวเองจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร

          แต่มีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งรวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ด้านเอไอชั้นนำอย่าง เอียนน์ เลอคุน (Yann LeCun) หัวหน้าทีมปัญญาประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส
ของแพลตฟอร์มเมต้า ที่ออกมายืนยันเมื่อเร็วๆ นี้ว่า มนุษย์คงไม่บรรลุถึงเอจีไอได้ในเร็วๆ นี้หรอก
          เขาบอกอย่างมั่นใจว่า เอไอทั้งมวลในเวลานี้น่ะ ยัง “โง่” จะตาย โง่กว่า “แมว” ด้วยซ้ำไป
          ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งเผยแพร่รายงานผลการศึกษาวิจัยออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ โดยเลอคุนร่วมวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์เอไออีกหลายคนเพื่อวัด “ไอคิว”
ของเอไอเทียบกับมนุษย์
         
           วิธีการก็คือ ตั้งคำถามให้ทั้งเอไอแล้วก็กลุ่มตัวอย่างที่เป็นมนุษย์ตอบ แต่คำถามที่ว่านี้ไม่ได้เป็นคำถามธรรมดา เป็นคำถามที่
           “เป็นแนวคิดรวบยอดง่ายๆ สำหรับคน แต่ก็ยังถือว่าท้าทายสำหรับเอไอที่ก้าวหน้าด้วยเช่นกัน” เป็น “คำถามในโลกจริงๆ ที่การหาคำตอบนั้น
ต้องผ่านกระบวนการทำงานซึ่งอาศัยความสามารถพื้นฐานชุดหนึ่ง ที่ต้องอาศัยการให้เหตุผล, เป็นที่นิยมกันในยุคนี้, การท่องเว็บ แล้วก็ความคล่องแคล่ว
ในการใช้เครื่องมือ”
            เช่น การถามคำถามที่ผู้ตอบต้องเข้าไปในเว็บไซต์หนึ่ง เพื่อหาคำตอบที่ต้องการจากเว็บไซต์นั้น หรือเป็นคำถามที่เกี่ยวกับภาพของคนคนหนึ่ง
ซึ่งผู้ตอบต้องใช้การสืบค้นจากในเว็บเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง เป็นต้น     

            ผลก็คือ เอไอ ที่สามารถทำหลายอย่างที่คนทำไม่ได้ แพ้มนุษย์หลุดลุ่ยครับ GPT4 อัลกอริทึมเอไอของแชตจีพีที ตอบได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์
ของคำถามที่จัดว่าง่ายที่สุด แต่ถ้าเป็นคำถามยากๆ ละก็ โอกาสตอบถูก เป็น 0 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
            ในขณะที่มนุษย์ทำสำเร็จได้สูงสุดถึง 92 เปอร์เซ็นต์
            เอียนน์ เลอคุน ให้เหตุผลเอาไว้ว่า เป็นเพราะทุกเอไอในเวลานี้ยังไม่มี “แบบจำลองของทั้งโลกอยู่ภายใน” เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงไม่สามารถ “รู้จักเหตุ
และผล” และไม่สามารถ “วางแผน” ได้
            ต่างกับมนุษย์ที่จะมากจะน้อยก็เข้าใจโลกอยู่บ้าง รู้ว่าต้องทำอย่างไร เพื่อให้ได้ผลอะไรตามต้องการ
            การขาดศักยภาพในการวางแผนนี่เองที่ทำให้เลอคุนบอกว่า เอไอทุกวันนี้ แม้แต่แมวยังสู้ไม่ได้เลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 07 ธ.ค. 23, 09:03

ขอบคุณคุณหมอ   อ่านแล้วค่อยมีความหวัง ว่าอาชีพนักเขียนยังพอมีต่อไปได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 20 ธ.ค. 23, 15:16

         มีความหวัง ว่าอาชีพนักเขียนยังพอมีต่อไปได้ค่ะ

          อาทิตย์ก่อน, คุณรอมแพง ออกรายการ ยกสยาม ช่วงหนึ่งให้ข้อมูลว่า

          ปัจจุบันนี้ ไม่มีนักเขียนไส้แห้ง แล้ว, ไส้ฉ่ำกันทั้งนั้น
          บางคนสร้างผลงาน,มีแฟนคลับติดตาม สามารถสร้างรายได้ เดือนละหนึ่งล้านบาท !!! (ฟังไม่ผิดแน่)

ปล. ในรายการรอมแพงยังบอกว่า นักเขียนที่เธอชื่นชอบได้แก่ ทมยันตี แก้วเก้า ตรี อภิรุม กิ่งฉัตร โบตั๋น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 20 ธ.ค. 23, 16:06

  น่าจะเป็นตัวคุณรอมแพงเอง
  แต่แถวๆเรือนไทยไม่น่าจะมีค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 20 ธ.ค. 23, 16:35

รายการ ลายกนก ยกสยาม วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ ๒๐.๑๐ - ๒๑.๑๐

นาทีที่ ๔๐.๑๐ - ๔๑.๔๐ นักเขียนไส้ฉ่ำ และ นาทีที่ ๔๔.๒๕ - ๔๕.๒๐ นักเขียนที่มีอิทธิพลต่อการเขียนของคุณรอมแพง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 21 ม.ค. 24, 08:50

จาก  FB ของThe MATTER

 นักเขียนผู้คว้ารางวัลดังด้านวรรณกรรมญี่ปุ่น เฉลยว่าใช้ AI ช่วยเขียนหนังสือ

ดูเหมือนว่า AI จะบุกแทรกซึมทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่วงการงานเขียนและวรรณกรรม ล่าสุด ผู้ชนะรางวัลด้านวรรณกรรมที่ดังมากๆ ในญี่ปุ่นเปิดเผยว่า นวนิยายบางส่วนของเธอถูกแต่งโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

หลังจากริเอะ คุดัน (Rie Kudan) นักเขียนชื่อดังชาวญี่ปุ่นวัย 33 ปี ชนะรางวัล Akutagawa Prize สาขานวนิยายที่ดีที่สุดโดยนักเขียนหน้าใหม่ เธอก็ออกมาแถลงข่าวยืนยันว่าใช้แชตบอต ChatGPT ช่วยเขียนงานประมาณ 5% ของหนังสือที่ชื่อว่า ‘Tokyo Tower of Sympathy’ อันเป็นหนังสือที่คณะกรรมการรางวัลยกย่องว่า “ไร้ที่ติ”
.
คุดันเปิดเผยว่า “ฉันวางแผนที่จะสร้างประโยชน์จากการใช้ AI ในงานเขียนนวนิยายของฉันต่อไป พร้อมๆ กับการปล่อยให้ความคิดสร้างสรรค์ของฉันได้แสดงออกอย่างเต็มที่”
.
นิยายที่ชนะรางวัล เป็นนิยายที่ว่าด้วยเรื่องความขัดแย้งระหว่างสถาปนิกที่ได้รับมอบหมายให้สร้างเรือนจำสูงที่สะดวกสะบายในโตเกียว อันเป็นเรือนจำที่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจะได้รับการฟื้นฟู ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งธีมหลักคือการเล่าเรื่องที่ AI มีบทบาทสำคัญในสังคมมนุษย์
.
ทั้งนี้ ผู้ชนะรางวัลใหญ่เผยด้วยว่า เธอมักจะปรึกษา ChatGPT เกี่ยวกับปัญหาที่เธอไม่สามารถบอกใครได้อยู่แล้ว และบางครั้งเธอก็สะท้อนความรู้สึกของตัวเองผ่านบทของตัวละครหลักในนิยายด้วย
.
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ศิลปินออกมาเปิดเผยว่าใช้ AI ในการช่วยทำงาน ในห้วงเวลาที่กลุ่มสายงานสร้างสรรค์หลายคนรู้สึกว่าถูกคุกคามโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เมื่อปีก่อนที่แล้ว บอริส เอลดักเซน (Boris Eldagsen) ช่างภาพชื่อดังเพิ่งถอนตัวจากรางวัล Sony World Photography Awards หลังจากเปิดเผยว่ารางวัลภาพที่เขาได้ถูกสร้างขึ้นโดยเทคโนโลยี
.
และเมื่อปีที่แล้ว กลุ่มนักเขียน 17 คนในสหรัฐฯ เพิ่งยื่นฟ้องดำเนินคดีแบบกลุ่มต่อ OpenAI ผู้สร้างแชตบอต ChatGPT ด้วยข้อหา ‘ละเมิดลิขสิทธิ์ในวงกว้าง’ โดยพวกเขาอ้างว่า หนังสือของพวกเขาถูกป้อนเข้าอัลกอริธึมของ ChatGPT เพื่อฝึก AI ให้สามารถสร้างข้อความตามลักษณะการเขียนของพวกเขา
.
ทั้งนี้ สมาคมนักเขียนที่จัดการการฟ้องครั้งนี้เพิ่งออกคำเตือนว่า AI เองสามารถทำลายอาชีพนักเขียนได้

อ้างอิงจาก
https://www.thetimes.co.uk/.../chatgpt-helped-with-my...
https://edition.cnn.com/.../rie-kudan.../index.html
https://futurism.com/.../novelist-wins-award-then-reveals...
https://www.vice.com/.../rie-kudan-akutagawa-prize-used...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 03 มี.ค. 24, 11:32

ไม่ใช่แต่นักเขียนวรรณกรรม  นักเขียนโค้ดก็ทำท่าว่าจะเจอเข้าด้วยเหมือนกัน  เพราะ AI เข้ามาแย่งงาน

นายเจนเซน หวง ซีอีโอ ของบริษัท NVIDIA ได้ออกมาประกาศอีกครั้งว่า “การเขียนโค้ดนั้นกำลังจะตาย” แล้วเด็กนักเรียนนักศึกษาก็ไม่จำเป็นต้องเรียนมันอีก เพราะอีกหน่อย AI จะมาจัดการแทน ซึ่งครั้งนี้เขาได้ประกาศต่อหน้ากลุ่มคนที่อาจจะมีอิทธิพลมากกว่าเดิม

นายหวงกล่าวในงาน Word Government Summit ที่ดูไบ ว่า เนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนเขียนโค้ดจึงไม่ควรเป็นทักษะสำคัญอันดับแรก สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าสู่วงการเทคโนโลยีอีกต่อไป โดยเขาชึ้ให้เห็นว่า มันเป็นเวลานานที่การเรียนเขียนโค้ดถือเป็นทักษะสำคัญที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำในอุตสาหกรรมจำนวนมาก แต่แนวคิดเทคโนโลยีล่าสุดนั้นกำลังจะเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมนี้

เขากล่าวต่อไปอีกว่า “การพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องคือแนวทางที่ควรดำเนินต่อไป  โดยทักษะเหล่านี้จะช่วยให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการและจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมถึงการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) จะก้าวหน้าไปจนถึงจุดที่ภาษาเดียวที่จำเป็นสำหรับการเขียนโค้ด ก็คือภาษาแม่ของผู้เขียนนั้นเอง”

https://www.enterpriseitpro.net/nvidia-ceo-predicts-the-death-of-coding/?fbclid=IwAR3mD0SQ_dFyGH_bszXFjLwfK0ciYsHvdihiuYpqbJ8nPBB2BNABMk29qvM


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง