เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 8539 จริงอ๊ะป่าวนี่ ใครรู้ช่วย Confirm
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 ก.ย. 01, 07:20

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ฮี่ๆๆๆๆ
ถ้าคุณนวลมีเวลา ก็ขอบพระคุณมากครับ ฮี่ๆๆๆๆ
หากท่านอื่นสนใจจะเผยแพร่บทความก็ติดต่อทีมงานได้ครับ (ถือโอกาสชักชวน)
ความจริงจะแปะไว้เป็นกระทู้ก็ได้ แล้วแจ้งให้ทางวิชาการทีมทราบ
ผมจะตามไปอ่านดู ถ้าเป็นเรื่องที่ให้ความรู้และมีประโยชน์
ก็จะได้จัดรูปแบบให้สวยงาม แล้วเอาไปรวบรวมไว้อีกทีครับ
บันทึกการเข้า
อ้อยขวั้น
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 ก.ย. 01, 09:37

รอวิทยาทานจากคุณนวลด้วยคนค่ะ
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 ก.ย. 01, 23:34

แฮะ แฮะ ขอเป็นแค่กระทู้ก่อนก็แล้วกันนะคะ

อยากจะขออารัมภบทถึงพระเจ้าจอหน์ก่อน เพื่อที่จะได้ทราบเหตุผล
ที่มาของ Magna Carta ค่ะ
"พระเจ้าจอห์น  (1199-1216)"
เนื่องจากเป็นลูกชายคนเล็กของครอบครัวที่สูงส่งมีอำนาจ
ในประเทศ (King Henry II กับ Eleanor of Aquitaine)
อนาคตของจอห์นถูกกำหนดให้ไปทางสายศาสนา ด้วยการส่งตัว
เมื่ออายุได้เพียงขวบกว่าไปอยู่กับทางวัด แต่พอหกขวบ ก็ถูกส่งกลับเพราะ
เห็นแล้วว่า อุปนิสัยใจคอของจอห์นนั้น ไม่สามารถเอาดีทางด้านนี้ได้
ในสายตาของผู้อื่น จอห์นเติบโตมาเป็นเจ้าชายหนุ่มที่มีอารมณ์ทั้งร้อนทั้งร้าย
เปลี่ยนใจได้เร็ว ป่าเถื่อนโหดร้าย รุนแรง กล้าแสดงออกได้ทุกเวลา
เก็บอารมณ์ไม่ได้ งก คิดถึงแต่ตัวเอง สามารถเป็นมิตรได้กับทุกคน
แต่ก็ทำให้ทุกคนขยะแขยงได้พอๆ กัน ชอบทำอะไรตามอำเภอใจ
แต่มีเหตุผล ฉลาดและมีความสามารถ มีความคิดริเริ่ม และอยากเรียนรู้  
แต่ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นลักษณะนิสัยของทางสายสกุล Angevin ทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นเจฟฟรี้ แห่งอองจู เฮนรี่ที่สอง หรือริชาร์ดที่หนึ่ง ก็ตาม  
แต่เพราะอุปนิสัยเช่นนี้ รวมทั้ง จอห์นเป็นคนที่อยู่เฉยๆ ไม่เป็น กระตือรือร้น
มีพลังงานเหลือเฟือ จึงทำให้จอห์นเป็นกษัตริย์องค์เดียวที่สามารถรวม
สก็อตแลนด์ ไอร์แลนด์ และเวลส์ มาอยู่ใต้การปกครองของตน และสามารถทำ
ให้อาณาจักรเหล่านั้นยอมสยบเชื่อฟังได้อีกด้วย

ตลอดชีวิตของจอห์นล้วนแต่ติดพันกับการสู้รบ หรือไม่ก็ปราบกบฎภายในอังกฤษเอง
ในบางคราวเมื่อชนะศึก จอห์นได้แสดงความโหดเหี้ยมกับฝ่ายตรงข้ามที่จับเป็นเชลย
ไม่เว้นแม้แต่ญาติ จอห์นริดรอนสิทธิอำนาจของเหล่าขุนนางบารอนให้อยู่ใต้อำนาจของ
ตัวเอง หากเมื่อไรที่จอห์นจะออกศึก ก็หมายความว่าจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก
ซึ่งก็จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แล้วพวกขุนนางไม่สนับสนุนด้วยกองกำลัง ต้องเสีย
ค่าปรับอีกด้วย ซึ่งทำให้เหล่าบารอนไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะศึกต่างๆ นั้น
ล้วนแต่เป็นศึกต่างประเทศ (กับฝรั่งเศส) ทั้งสิ้น  นอกจากจะผิดใจกับพวกขุนนาง
ของตัวเองแล้ว จอห์นยังทะเลาะกับฝายศาสนาอันเนื่องมาจากการแต่งตั้ง Archbishop
of Canterbury ที่จอห์นต้องการให้คนของตัวเองเป็น แต่ทางฝ่ายศาสนากลับเลือกอีกคนหนึ่ง
ผลที่ตามมาทำให้จอห์นถูกขับออกจากศาสนา (excommunicated) และกว่าสันตะปาปา
Innocent II จะอภัยให้ก็เป็นเรื่องเป็นราวกันใหญ่โต จอห์นต้องให้สัญญาที่จะยอมรับ
ให้อำนาจของกรุงโรมเหนือบัลลังก์อีกครั้งในการแต่งตั้งพระราชาคณะ
ในการทำศึกกับกษัตริย์ฝรั่งเศสเพื่อช่วงชิงดินแดนใต้ปกครองทางฝรั่งเศสนั้น
ก็เพราะอุปนิสัยที่ขึ้นๆ ลงๆ ของจอห์น จึงทำให้ไม่สามารถจะชนะศึกได้ ทั้งๆ ที่มีโอกาส
และเป็นต่ออยู่ เหล่าพวกขุนนางต่างเอือมระอาและอยากหาความเป็นอิสระให้แก่ตัวเองบ้าง
โดยเฉพาะขุนนางบารอนทางเหนือ ซึ่งมีอารมณ์คุกรุ่นมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่จอห์นได้รับอภัยโทษ
จากกรุงโรม และจะยกทัพไปทำศึกกับฝรังเศสในปี 1213 แต่พวกบารอนทางเหนือปฏิเสธ
ที่จะรวมรบด้วย จอห์นถึงกับยกทัพขึ้นเหนือเพื่อไปสั่งสอนพวกบารอนนี้ แต่ Archbishop
of Canterbury ได้ห้ามไว้และเตือนให้จอห์นนึกถึงคำสัญญาที่ได้ให้ไว้ก่อนจะได้รับอภัยโทษ
ซึ่งได้แก่ให้วินิจฉัยตัดสินความผิดโดยนำขึ้นสู่การพิจารณาทางศาลมากกว่าจะใช้กำลัง
แต่กว่าจะทำให้จอห์นเชื่อได้ ก็เป็นเวลาสามสี่เดือน โดยทั้งสองฝ่ายยอมประนีประนอม
หันมาดีกันได้ชั่วคราวในเดือนพฤศจิกายน แต่แล้วในปีถัดไป ในขณะที่ทำศึกอยู่ที่ฝรั่งเศส
จอห์นได้ออกคำสั่งให้เก็บเงินค่าปรับสำหรับพวกบารอนที่ไม่ยอมส่งกำลังไปสนับสนุน
ซึ่งเป็นฟางเส้นสุดท้าย  เหล่่าบารอนทาางเหนือรวมตัวกันแข็งข้อไม่ยอมจ่ายค่าปรับ
และเรียกร้องให้จอห์นคืนเสรีภาพที่เคยมีมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งจอห์นเคยสัญญาไว้  
พวกบารอนทางเหนือได้ยกกำลังมาประชิดลอนดอน พร้อมขอแรงสนับสนุนจากกษัตริย์ฝรั่งเศส  
แต่แล้วจอห์นกลับพร้อมที่จะเจรจา ทั้งสองฝ่ายพบกันที่ รันนีมีด ริมฝั่งแม่น้ำเทมส์ใกล้กับวินเซอร์
และจอห์นได้ยินยอมที่จะลงนามในกฎบัตร Magna Carta ในวันที่ 15 มิถุนายน 1215

Magna Carta เขียนขึ้นเป็นภาษาลาติน ในขั้นแรกมีทั้งสิ้น 49 ข้อ
แต่ภายหลังได้เพิ่มขึ้นเป็น 61 ข้อ  ซึ่งในสาระสำคัญ ได้กำหนดสิทธิอันพึงมี
ีของแต่ละชนชั้น และกำหนดอำนาจของกษัตริย์ด้วย  


Magna Carta  ได้กำหนดให้อำนาจแก่ทางศาสนาที่จะเลือกคนเข้าดำรง
ดำแหน่งพระราชาคณะเอง โดยที่กษัตริย์จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวไม่ได้
-  กษัตริย์ไม่อาจเรียกเก็บภาษีโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา
- กำหนดค่าปรับในอยู่ในอัตราที่เหมาะสม
- กำหนดมาตราชั่งตวงวัดสำหรับการค้าภายในประเทศและต่างประเทศ
- ห้ามไม่ให้มีการซื้อขายเพื่อล้มคดี
-  แต่ข้อที่สำคัญที่สุด เห็นจะได้แก่ข้อ 39 ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า  
ห้ามจับกุม หรือกักขัง หรือประกาศให้เป็นคนนอกกฎหมาย หรือเนรเทศ
บุคคลใดๆ ที่เป็นคนอิสระ เว้นเสียแต่จะได้รับคำพิพากษาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ภายใต้คณะขุนนาง หรือกฎหมายของแผ่นดิน  ซึ่งข้อนี้เองได้กลายมาเป็นรากฐาน
การก่อเกิดของคณะลูกขุน
- ห้ามไม่ให้ขาย หรือปฏิเสธ หรือผัดผ่อนที่นะให้สิทธิ หรือความยุติธรรมแก่
บุคคลใดๆ ทั้งสิ้น
- การจำกัดอำนาจของเจ้าพนักงาน โดยห้ามไม่ให้ยึดทรัพย์ของผู้ใดมาเป็นของ
ตนตามอำเภอใจ ฯลฯ

จอห์นยังให้คำสาบานว่า ยินยอมให้ Magna Carto มีผลต่อตัวเองและลูกหลานที่จะมาครอง
บังลังก์สืบต่อไป แต่น่าเสียดายที่ ทั้งพวกบารอนและจอห์นไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ
อย่างเคร่งครัด และ Magna Carta มิได้ปรากฎผลเป็นที่เด่นชัดจนอีกประมาณสามร้อยปี
หลังจากการลงนามดังกล่าว

หากดูผ่านๆ Magna Carta เหมือนจะไม่มีความสำคัญสักเท่าไร
แต่ถ้าคำนึงถึงสาระสำคัญว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ (rights and liberties)
ของประชาชนแล้ว ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่า นี่คือรากฐานของประชาธิปไตย
บันทึกการเข้า
ลุงหมี
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 ก.ย. 01, 16:02

ตามมาอ่านเพราะหัวข้อ
กุ๊กกิ๊กกับคำย่อ
ตอนหลังมึน + มันดี กับ ประวัติศาสตร์
ชอบครับ  ชอบมาก
บันทึกการเข้า
ไร้นาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 ก.ย. 01, 18:58

ดีจังค่ะ แวะเข้ามาอ่านได้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์เพิ่มเติมด้วย ยิ้ม
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 23 ก.ย. 01, 01:55

ขอบคุณมากค่ะ คุณนวล ได้รู้ซะทีว่ามันมีที่มาอย่างไรกันแน่  เคยเรียนในชั้นเรียนประวัติศาสตร์ก็มึนมาก่อน  แต่คุณนวล อธิบายสรุปได้ให้เข้าใจง่ายมากเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 23 ก.ย. 01, 09:38

ขอบคุณค่ะ คุณนวล
อ่านเรื่องเล่าแบบนี้  
สนุกและได้ความรู้มากค่ะ
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 ก.ย. 01, 16:25

ขอบคุณคุณนวลมากๆ ครับ ผมอ่านแล้ว พอมาเปรียบเทียบของระบบศักดินาของไทย จะเห็นความแตกต่างได้ราง ๆครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 19 คำสั่ง