เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 9234 ชีวิตในสังคมที่เรียบง่าย
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 มิ.ย. 23, 18:03

งานบุญสลากภัต  ผมไม่คุ้นกับชื่อของงานบุญนี้ ต้องสอบถาม อ.กู๋ จึงรู้ว่าก็คืองาน 'บุญตาน(ทาน)ก๋วยสลาก' นั่นเอง    งานบุญรูปแบบนี้ดูจะนิยมจัดขึ้นในช่วงระหว่างช่วงปลายของการเข้าพรรษา ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จภารกิจของงานในภาคสนาม ก็เลยไม่ค่อยจะได้เห็น    ก็ยังมีงานบุญนี้อยู่นะครับ ในกรุงเทพฯที่เด่นดังก็ที่วัดเบ็ญจมบพิตร สำหรับวัดอื่นๆนั้นแทบจะไม่เคยได้ยินชื่อวันของงานบุญในลักษณะนี้เลย 

ในภาคเหนือนั้น ยังพบว่าในหมู่บ้านต่างๆที่มีวัดประจำหมู่บ้านยังคงมีงานบุญในลักษณะนี้เป็นประะจำทุกปี แต่จะมีการปรับให้เข้ากับสภาพของพื้นที่ (ภูมิประเทศ ลักษณะการกระจายและทัศนคติของชุมชน...) 

คงจะต้องใช้ภาพในอีกด้านหนึ่งเพื่อช่วยขยายให้เห็นภาพที่กล่าวถึงมานี้ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 มิ.ย. 23, 18:18

ลืมบอกกล่าวไปว่า เพื่อความเข้าใจมากขึ้น เรื่องราวของบุญสลากภัต(ตานก๋วยสลาก)นั้น อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็ปที่ผมลิ้งค์ใว้ให้ข้างล่างนี้ มีรายละเอียดที่ดีและเข้าใจง่าย ครับ

https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2556/acma40956cp_ch4.pdf   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 มิ.ย. 23, 19:15

เป็นภาพที่ดูจะเป็นปกติที่เราจะเห็นว่า แต่ละหมู่บ้านมักจะมีวัดประจำหมู่บ้าน แต่ก็มีแบบที่บางหมู่บ้านมีหลายวัด ทั้งแบบหลายหมู่บ้านมีวัดร่วมกันวัดเดียว     วัดเหล่านั้นที่มีชื่อของวัดตามชื่อของหมู่บ้าน หรือมีชื่อตามชื่อของตำบล หรือมีการเปลี่ยนชื่อจากชื่อตามชื่อของหมู่บ้านไปเป็นชื่อที่ตั้งใหม่  ซึ่งชื่อใหม่ที่ดูจะนิยมกันก็คือ วัดเวฬุวัน   ซึ่งชื่อ วัดเวฬุวัน นี้มีการใช้ซ้ำกันอยู่มากทั้งภายในจังหวัดเดียวกัน และที่ใช้กันทั่วประเทศ

เมื่อมีวัด ก็ต้องมีพระ  ด้วยที่มีคนสละทางโลกบวชเป็นพระเป็นจำนวนน้อย วัดในพื้นที่ชนบทแต่ละวัดโดยส่วนมากก็เลยมีพระประจำอยู่น้อยองค์ ซึ่งหนักไปทางมีอยู่องค์เดียว แล้วมีเณรเป็นลูกวัดมากน้อยในแต่ละช่วงเวลา    ก็คงไม่ต้องเล่าความต่อไปนะครับว่า ในพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆก็จะมีจำนวนของพระในการประกอบพิธีไม่เหมือนดังที่เรา(ผู้เป็นคนเมือง)มีความคุ้นเคย  พิธีกรรมทางศาสนาหลายๆเรื่องจึงต้องมีการนิมนต์พระจากวัดอื่นๆในละแวกหมู่บ้านให้มาร่วมเพื่อให้ครบองค์คณะสงฆ์ตามเกณฑ์  ความไม่ครบเกณฑ์ของพิธีกรรมต่างๆก็จึงที่เกิดขึ้นเป็นปกติ    เรื่องหลายๆเรื่องก็จึงต้องเป็นเรื่องที่กระทำในภาพระดับตำบล           
บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 มิ.ย. 23, 10:13

ลืมบอกกล่าวไปว่า เพื่อความเข้าใจมากขึ้น เรื่องราวของบุญสลากภัต(ตานก๋วยสลาก)นั้น อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็ปที่ผมลิ้งค์ใว้ให้ข้างล่างนี้ มีรายละเอียดที่ดีและเข้าใจง่าย ครับ

https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2556/acma40956cp_ch4.pdf   

ขอบคุณมากครับ อ่านดูแล้ว ของภาคเหนือจะมีพิธีรีตองเยอะกว่า ของทางภาคกลางที่่ผมเคยทำมาครับ
แต่ก็น่ายินดีว่าชาวเหนือยังรักษาประเพณีนี้ไว้ได่เป็นอย่างดีครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 มิ.ย. 23, 18:41

ชุมชนในระดับหมู่บ้านจะมีประชากรทั้งเด็กและผุ้ใหญ่อยู่ในระดับประมาณ 500+/-    ในระดับตำบล โดยส่วนมากก็จะมีหมู่บ้านในระดับประมาณ 10+/- หมู่บ้าน  ในหนึ่งตำบลก็เลยมีประชากรรวมกันในระดับประมาณ 5,000+/- คน 

ด้วยที่จำนวนคนทั้งของแต่ละหมู่บ้าน และทั้งของแต่ละตำบลมีเป็นจำนวนค่อนข้างมาก แต่มีลักษณะของการตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในลักษณะเป็นกระจุกๆ กระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ก็จึงเป็นธรรมดาที่จะต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลความมั่นคงของชีวิต (ทุกข์ สุข เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ภยันตรายและโรคภัยต่างๆ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ...)  ก็เลยมีการกำหนดให้แต่ละหมู่บ้านต้องมีหัวหน้าผู้ดูแล เรียกกันตามภาษาทางราชการว่า ผู้ใหญ่บ้าน  โดยให้ชุมชนเป็นผู้ลงคะแนนเลือกตั้งกันขึ้นมา  คำว่าผู้ใหญ่บ้านนี้ ชาวบ้านในภาคเหนือนิยมจะเรียก แก่บ้าน หรือพ่อหลวง  สำหรับในภาคอื่นๆ ไม่มีความรู้ครับ    ตามกฎหมาย จะต้องมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอีก 2 คน  คนหนึ่งให้ช่วยทำหน้าที่ในด้านการปกครอง อีกคนหนึ่งช่วยทำหน้าที่ด้านการรักษาความสงบ

ในความเป็นจริง ทั้งผู้ใหญ่และผู้ช่วยก็จะช่วยกันทำงานและส่อภาพของความร่วมมือกันในเกณฑ์ที่ดี ด้วยเพราะเป็นการเสนอตัวเข้ามาเลือกตั้งในลักษณะเป็นทีม   เมื่อมาจากการเลือกตั้งก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการหาเสียง ผนวกกับเป็นการให้ได้มาด้วยอำนาจบางประการทั้งในทางรูปธรรมและนามธรรมในระดับหนึ่ง ก็เลยหนีไม่ค่อยจะพ้นจากใยแมลงมุมทางการเมืองในระดับต่างๆ ที่ต้องการขยายอุดมการณ์ ตรรกะความคิด ทัศนคติ ความเชื่อทางโลกและทางธรรม อิทธิพลทางการเมือง การได้ประโยน์ทางทรัพย์สิน (เชิง wealth ต่างๆ) ...    ก็หนีพ้นใยนั้นได้บ้าง ไม่ได้บ้าง มากน้อยต่างกันไป       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 07 มิ.ย. 23, 19:33

ในระดับตำบลก็จะมีผู้ดูแลที่มีอำนาจหน้าที่คล้ายๆกับผู้ใหญ่บ้านอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า กำนัน ซึ่งจะตั้งผู้ช่วยได้ 2 คน เรียกว่า สารวัตรกำนัน  ซื่งก็คือลูกมือของกำนัน  เชื่อว่าคงจะไม่ค่อยได้ยินชื่อเรียกตำแหน่งนี้กัน

และก็มี 'แพทย์ประจำตำบล' ซึ่งก็คงจะไม่ค่อยจะได้ยินชื่อนี้เช่นกัน  ภารกิจของแพทย์ประจำตำบลก็เป็นไปตามชื่อตำแหน่งที่เรียก คือการช่วยดูแลเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ สุขอนามัย และโรคระบาดต่างๆ   แต่ดั้งเดิมมา แพทย์ประจำตำบลน่าจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านการแพทย์แผนโบราณในระดับหนึ่ง ผมได้ทันอยู่ในช่วงเวลาที่ยังมีแพทย์ประจำตำบลปฏิบัติงานอยู่  ซึ่งมีทั้งที่เป็นผู้ที่มีความรู้ทางแพทย์แผนโบราณ รู้จักสมุนไพรต้นเป็นๆและการใช้ต่างๆ และผู้ที่มีความรู้ในระดับเป็นทหารเสนารักษ์     เชื่อว่าผู้ที่ทำหน้าที่เป็นแพทย์ประจำตำบลช่วงประมาณ พ.ศ.2500+/- น่าจะเป็นผู้ที่เคยเป็นทหารเสนารักษ์ที่ปฎิบัติภารกิจในช่วงสงครามเอเซียบูรพา  แพทย์ประจำตำบลในยุคนั้นดูจะมีภารกิจในด้านของสัตวแพทย์ด้วย

คนหนึ่งที่รู้จักและได้เคยสนทนาด้วยบ่อยครั้ง เป็นผู้ที่ให้ข้อมูลพื้นฐานในการนิพนธ์นวนิยายเรื่อง 'ล่องไพร'

คำว่าแพทย์ประจำตำบลดูจะค่อยๆเลือนลางหายไปในช่วงประมาณ พ.ศ.2520       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 มิ.ย. 23, 17:41

เรื่องทางด้านการสาธารณสุขในระดับหมู่บ้านนี้ ก็มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน   

ในสมัยก่อนนั้น จะมีผู้ดูแลแยกออกไปในบางเรื่องที่เกี่ยวกับผู้หญิงเป็นการเฉพาะ เรียกกันว่า 'หมอตำแย'   ชา่วบ้านสมัยก่อนเกิดมาด้วยฝีมือการทำคลอดของหมอตำแยเกือบทั้งนั้น  ท่านที่เป็นแพทย์คงจะนึกไปได้ไกลถึงบรรดาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆที่ต้องเตรียมเพื่อใช้ เช่น กาน้ำหรือหม้อต้มน้ำร้อน กะละมัง ผ้านุ่งหรือผ้าซิ่น ผ้าสะอาด มีดสะอาดที่ผ่านการต้มในน้ำเดือด....  หลังจากการคลอดแล้วก็จะเห็นอุปกรณ์สำหรับการอยู่ไฟ เช่น เตาอั้งโล่ ตะแกรงปิ้ง ใบของต้นพลับพลึง ก้อนอิฐ ผ้าหนาๆ...     

ก็มีพัฒนาการต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ค่อยๆเปลี่ยนจากหมอตำแยไปเป็นพยาบาลผดุงครรภ์  เกิดมีการจัดให้มีที่ทำงานของพยาบาลผดุงครรภ์ ซึ่งดูจะมีแต่เฉพาะหมู่บ้านใหญ่ๆ หรือที่เป็นตัวตำบลที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองนัก หรือในตัวอำเภอ   พัฒนาต่อไปเป็นอนามัยตำบล/อำเภอ มีนางพยาบาลหรือบุรุษพยาบาลอยู่ประจำ ต่อไปเป็นสถานีอนามัย มีแพทย์ไปให้การรักษาตามวันและเวลาที่กำหนด  จนเป็นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน คือเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งดูจะมีไม่ครบทุกตำบล (?) แล้วก็มีโรงพยาบาลประจำอำเภอต่างๆ  แล้วก็มีโรงพยาบาลที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์เพื่อรับการส่งต่อและให้ความช่วยเหลือในการรักษาโรคเฉพาะทางและโรคที่รักษายากๆ 

ภาพของพัฒนาการเหล่านี้ ดูจะเริ่มมีอัตราของการพัฒนาและของการขยายตัวที่ค่อนข้างจะมากและรวดเร็วตั้งแต่ช่วงประมาณ พ.ศ.2525 เป็นต้นมา 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 มิ.ย. 23, 18:26

ยังเห็นภาพเก่าๆในเรื่องเกี่ยวกับโรคภัยใข้เจ็บนี้  ชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีห่างจากโรงพยาบาล(น่าจะ)ประมาณ 20 กม. ต้องออกจากบ้านมาตั้งแต่ดึก เอาคนป่วยนั่งเกวียนมาโรงพยาบาล มากันเป็นกลุ่มสองสามเล่มเกวียน นัดกันเป็นเพื่อนเดินทาง   จอดเกวียนในสนามของโรงพยาบาล เอาวัวไปปล่อยให้พักกินหญ้าในทุ่งนานอกเขตโรงพยาบาล  ล้อมวงนั่งกินข้าวรอเวลาการตรวจ  คนป่วยก็มีทั้งเดินได้ มีที่ต้องอุ้ม มีที่ต้องล่าม เพราะเป็นโรคจิต หรือเป็นไข้มาลาเรียขึ้นสมอง ....   นึกถึงภาพในแต่ละวันของแพทย์หนึ่งหรือสองคน พยาบาลสามสี่คน กับคนไข้เป็นร้อย มีทั้งกรณี emergency ผ่าตัด คลอดลูก...

ก็เป็นภาพภายในสังคมที่ดูเรียบง่ายอีกภาพหนึ่ง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 มิ.ย. 23, 19:10

เมื่อมีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และสารวัตรกำนัน ช่วยกันดูแลในเรื่องของ 'ความสงบสุข'  ซึ่งเป็นเรื่องในด้านของอำนาจในการปกครอง รัฐก็เลยจัดใ้ห้มีการตั้งกลุ่มชาวบ้านขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อดูแลในด้านของการพัฒนา เรียกว่า อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล)  คณะบุคคลของ อบต.ก็ได้มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน  โดยนัยก็คือหน่วยงานที่ดูแลในด้านของ 'ความสุขสบาย' ของชุมชน     ซึ่งก็น่าจะโดยนัยของเรื่องทางด้านความสุขสบายนี้   อบต.ต่างๆจึงได้รับการพยายามสนับสนุนให้ยกระดับเป็น 'เทศบาลตำบล' ซึ่งจะเป็นเรื่องในด้าน Institutional building  ที่โยงไปถึงด้านของการงบประมาณที่จะดีขึ้น  ซึ่งก็จะโยงต่อไปถึงในเรื่องของการการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ (Capacity building) ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 มิ.ย. 23, 19:06

อบต. โดยนลักษณะก็คือคณะกรรมการในระดับตำบล ที่มีหน้าที่ในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่างๆ คล้ายกับงานของ กทม.แบบย่อขนาด  มีทั้งด้านการศึกษาด้วย 

เมื่อ อบต.เริ่มเบ่งบาน ก็เริ่มมีเรื่องแบบพ่อแง่แม่งอนกับกลุ่มงานด้านการปกครองตามมา ซึ่งก็คงยังมีอยู่จนในปัจจุบัน    อบต.มีงบประมาณในการดำเนินการต่างๆ  หากแต่การจัดสรรเพื่อการพัฒนาให้มีความเสมอภาคระหว่างหมู่บ้านต่างๆก็ดูจะมีปัญหาแล้ว  เพราะแต่ละหมู่บ้านต่างก็มีความแตกต่างกันในด้านกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจพื้นฐาน  และมีความต้องการที่แตกต่างกัน   การสมานให้มีความเสมอภาคดูจะทำให้การดำเนินงานของ อบต. ออกไปในลักษณะของงานกระจุกกระจิกและกระจัดกระจาย    ผู้ใหญ่บ้านก็เลยจึงยังคงเป็นผู้นำที่ชาวบ้านพึ่งพามากที่สุดในเรื่องของการพัฒนาชุมชนของตน

ที่เล่ามาก็คงพอจะทำให้เห็นภาพของสังคมที่ต่างไปจากภาพที่ผู้คนประสงค์จะให้เกิดขึ้นกัน  ที่มีเป้าในด้านของการสร้างเสริมพื้นฐานของความพร้อมและความมั่นคงสำหรับโอกาสของการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในองค์รวม (ศักยภาพสำหรับการพัฒนาตนเอง)  แต่กลับกลายเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในด้านของอำนาจและการเมือง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 มิ.ย. 23, 19:15

ก็เห็นว่า ภาพที่เล่ามานั้นเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาพในอีกด้านหนึ่งที่ทำให้เราเห็นว่าชนบทนั้นเป็นสังคมที่เรียบง่าย ภาพแรกก็คือ การอยู่ร่วมกันอย่างสงบและมีความสามัคคี
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 10 มิ.ย. 23, 18:37

เมื่อต้องดำเนินการพัฒนาชุมชนด้วยตัวของตัวเอง จะทำได้ก็จะต้องมีความสามัคคี ซึ่งหมายถึงว่าการจะกระทำการใดๆ ชาวบ้านต้องมีความเห็นพ้องกันเป็นส่วนใหญ่ สถานที่ๆจะใช้ถกกันก็คือ ศาลาประชาคม หรือใช้ศาลาวัด    แต่ก่อนนั้นจะเห็นศาลาประชาคมที่มีลักษณะเป็นโรงเรือนมีหลังคา และมีป้ายคำว่าศาลาประชาคม แม้จะเห็นไม่มากนัก แต่ภาพดังกล่าวนี้ดูจะไม่เห็นเลยหลังจากประมาณ พ.ศ.2520 เป็นต้นมา   แต่ก็ยังคงมีสถานที่ๆชุมชนของหมู่บ้านเลือกใช้เป็นการเฉพาะสำหรับการชุมนุม การประชุม หรือการทำประชาคม รวมทั้งใช้เก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนกลางของหมู่บ้าน  ผู้ใหญ่บ้านจะทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม การประชุมจะมีบ่อยครั้งหรือไม่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะมี ซึ่งวาระหลักๆก็จะมีเรื่องของทางราชการ  ข่าวสารบางเรื่อง การพัฒนาหมู่บ้าน เรื่องของความร่วมมือต่างๆทางสังคม   การประชุมมีได้ทั้งช่วงเวลากลางวันหรือในตอนเย็นหลังหกโมงเย็นไปแล้ว ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม คือให้รบกวนน้อยช่วงเวลาของการไปสวน ไปไร่ ไปนา หรือการไปทำมาหากิน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 11 มิ.ย. 23, 17:50

ประชาคม กับ ประชาพิจารณ์

ทำประชาคมเป็นศัพท์ที่ชาวบ้านใช้กัน  ทำประชาพิจารณ์เป็นศัพท์ที่ชาวเมืองและทางราชการใช้กัน  น่าสนใจนะครับว่าทั้งสองการกระทำนี้มีความเหมือนกันหรือมีความต่างกันอย่างไร  ทิ้งไว้ตรงนี้เพื่อลองพิเคราะห์กันดูนะครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 11 มิ.ย. 23, 19:02

แต่ละหมู่บ้านต่างก็ล้วนมีเรื่องที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแล และส่งเสริมพัฒนาให้มันมีความก้าวหน้าและมีความยั่งยืนยิ่งๆขึ้นไปด้วยกำลังของตนเองเพื่อประโยชน์ในองค์รวมของผู้คนที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นๆ ก็มีเช่นเรื่องของการดำเนินการตามนโยบายของรัฐเพื่อความมั่นคงในด้านต่างๆ (สาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อาชีพการงาน น้ำสะอาด ประปาหมู่บ้าน .....)  ซึ่งผู้ดำเนินการเกือบทั้งหมดจะมาร่วมด้วยช่วยกันดำเนินการในลักษณะของอาสาสมัคร  มีกลุ่มคนที่เป็นแกนหลักจริงๆอยู่ไม่กี่คน แต่มีคนมากมายที่สามัคคีเข้ามาช่วยแบบไม่ต้องมีการข้อร้องใดๆ ตัวอย่างก็เช่นกรณีของ อสม.(อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน)+ชาวบ้าน ที่เป็นกองกำลังช่วยกันสู้กับโรคระบาดโควิด-19    อพปร.(อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน)+ชาวบ้าน    คณะกรรมการวัดของหมู่บ้าน ....

ก็มีหลายภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของชุมชนที่ช่วยกันสร้างสรรขึ้นมา (เช่น ระบบประปาหมู่บ้าน ระบบประปาภูเขา  ระบบคลองส่งน้ำกลางเพื่อการเกษตร ระบบการสูบน้ำบาดาลด้วยไฟฟ้าหรือด้วยเครื่องยนต์ ...)  ก็จะดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ  มีการสมัคร มีการเลือกตั้งกัน ซึ่งด้วยภารกิจนี้มีเรื่องของเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากมีการเก็บค่าใช้ ก็เยต้องมีการตรวจสอบโดยประชาคม 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 12 มิ.ย. 23, 17:47

ก็มีเรื่องอื่นเช่น มีหมู่บ้านที่ผู้คนช่วยกันสละรายได้เล็กๆน้อยๆตามกำลัง จัดตั้งอาสาสมัครทำหน้าที่เป็นหน่วยลาดตระเวน/ยาม/หน่วยเคลื่อนที่เร็ว ใช้รถมอเตอร์ไซด์นั่งซ้อนกันเป็นคู่ วิ่งตระเวณเดี่ยวบ้าง เป็นคู่บ้าง หรือหลายคันบ้าง ขึ้นอยู่กับพื้นที่และสภาพการณ์ข่าว  ผู้ที่เป็นอาสาสมัครเกือบทั้งหมดจะเป็นคนหนุ่มสาวและวัยกลางคน  ที่ผมเองได้สัมผัสอยู่ก็เป็นกลุ่มคนจำนวนประมาณ 30+ คน จัดแบ่งกันกลุ่มเป็นเวรทำงานของแต่ละวัน  เริ่มจับกลุ่มทำงานกันตอนหัวค่ำ มีการประชุมฟังสรุปเรื่องและประเด็นที่พึงเน้นการให้การเพ่งเล็ง การสอดส่อง ติดตาม ฯลฯ     การดำเนินการได้ทำให้ปัญหาเรื่องการโจรกรรม ลักเล็กขโมยน้อย ได้หายไปหมดเลย หากจะมีก็เกือบจะรู้ได้เลยว่าเป็นการกระทำของคนนอกหมู่บ้านหรือมาจากถิ่นอื่น    เรื่องเกี่ยวกับยาเสพติดก็ทุเลา เกือบจะไม่ปรากฎเป็นปัญหาหลักของชุมชนเช่นแต่เดิม   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง