เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 4874 รบกวนอาจารย์ทุกท่าน ภาพนี่ใช่ถนนพระราม๔มั้ยครับ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 ก.ย. 23, 09:35

รถรางที่วิ่งคู่ขนานกับรถไฟสายปากน้ำคือ รถรางสายสามเสน วิ่งจากบางกระบือ ผ่านเทเวศร์ บางลำพู พาหุรัด เยาวราช หัวลำโพง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สวนลุมพินี สุดสายที่คลองเตย

ตอนเด็ก ๆ เคยขึ้นรถไฟสายนี้จากบ้านแถวหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ไปโรงเรียนที่บางกระบือ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 12 ก.ย. 23, 09:35

รถรางวิ่งบนถนนพระราม ๔ ผ่านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สวนลุมพินี โดยวิ่งขนานกับทางรถไฟฟ้าสายปากน้ำ

ภาพจาก  Thailand old Pictures



บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 12 ก.ย. 23, 21:39

ภาพนี้น่าจะมุมมองจากบริเวณประมาณบ้านศาลาแดงของเจ้าพระยายมราช ตึกสวยสง่ากลางภาพคือตึกจักรพงษ์ ต้นไม้ใหญ่ริมถนนหน้าร.พ.จุฬายังมองเห็นอยู่ ดังนั้นฟากถนนตรงข้ามจุดถ่ายภาพก็คืออนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 และหน้าประตูสวนลุมพินี ซึ่งเป็นหมุดหมายหลักที่เชื่อมต่ออดีต-ปัจจุบัน เพราะไม่มีอะไรเปลียนแปลงไปมากนัก
พ.ศ.นี้ตึกจักรพงษ์ยังอยู่ แต่ไม่มีมุมมองให้เห็นความสง่างามอีกแล้ว เพราะถูกแวดล้อมไปด้วยตึกสูงสมัยใหม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 13 ก.ย. 23, 11:35

ภาพนี้น่าจะมุมมองจากบริเวณประมาณบ้านศาลาแดงของเจ้าพระยายมราช … ฟากถนนตรงข้ามจุดถ่ายภาพก็คืออนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 และหน้าประตูสวนลุมพินี

จุดถ่ายภาพของคุณ Jalito น่าจะไกลไปหน่อย หากเป็นแยกศาลาแดงบริเวณแลายลูกศรน่าจะเป็นไปได้

ภาพถ่ายโดย วิลเลียม ฮันท์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 13 ก.ย. 23, 13:40

บ้านศาลาแดง

ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ เจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ถวายบ้านคืนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยตนเองไปซื้อที่ดินและบ้านของพระประมวญประมาณพล (ชั้น บุญบัญลือ) ที่บางรัก บ้านหลวงหลังนี้จึงว่างอยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานแก่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ สุขุม) บ้านศาลาแดง จึงเป็นที่รู้จักว่าเป็นบ้านของเจ้าพระยายมราช เสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัชกาลที่ ๖ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ ๗ และหนึ่งในผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

หลังจากการพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยายมราชและท่านผู้หญิงตลับที่วัดเทพศิริทราวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ทายาทได้โอนขายบ้านศาลาแดงแก่กระทรวงการคลัง หลังจากนั้น อาคารในบริเวณบ้านศาลาแดงถูกใช้เป็นที่ทำการสมาคมต่าง ๆ หลายแห่ง อาทิ แพทยสมาคม สมาคมเภสัชฯ และสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ

ต่อมา เมื่อธุรกิจทวีความสำคัญขึ้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมาหากษัตริย์ จึงร่วมลงทุนกับเอกชน รื้อถอนอาคารต่าง ๆ ในบ้านศาลาแดง เพื่อก่อสร้างโรงแรมใหญ่ที่ทันสมัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งก็คือ โรงแรมดุสิตธานี ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยในสมัยนั้น โดยโรงแรมฯ เริ่มเปิดดำเนินการในปี ๒๕๑๓ และถือเป็น สัญลักษณ์แห่งยุคสมัยใหม่แห่งแรกของกรุงเทพฯ ตั้งโดดเด่นอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร

--------- อ้างอิงจาก: นางสาวอรวรรณ ศรีอุดม. วันวาน...กับวันนี้ของถนนสีลม. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พรินติ้งกรุ๊พ จำกัด. ๒๕๓๕. ที่มาของภาพ: โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ

https://dusitthaniwelove.com/blog/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%20%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 13 ก.ย. 23, 13:42

ยังทันเห็นบ้านหลังนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 13 ก.ย. 23, 13:49

จำได้ว่าก่อนมีโรงแรมดุสิตธานี  บริเวณตรงนั้นมีอาคารของแพทย์อยู่แห่งหนึ่ง ไม่ใช้โรงพยาบาล  ลักษณะเป็นโพลีคลินิก คือมีการรักษาของแพทย์หลายสาขา  เป็นตึกรูปเหลี่ยมสูงสามหรือสี่ชั้น  เปิดจนถึงตอนกลางคืนด้วย
ผู้ปกครองเคยพาไปหาหมอที่นั่นค่ะ  ชื่อ "สห..." อะไรสักอย่าง จำไม่ได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 13 ก.ย. 23, 15:35

ฤๅจะเป็นชื่อ พ ท ภ พบ ซึ่งมาจากชื่อย่อของที่ทำการ ๔ สมาคม คือ แพทยสมาคม ทันตแพทยสมาคม เภสัชกรรมสมาคม และ สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ก่อนที่จะเปลี่ยนมือเพื่อสร้างโรงแรมดุสิตธานี

ทั้ง ๔ สมาคมอาจมีกิจกรรมเปิดคลินิกรักษาโรคก็เป็นได้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 13 ก.ย. 23, 19:54

ไม่ใช่ พ ภ ค่ะ แต่เป็นชื่ออะไรจำไม่ได้จริงๆ 
ถนนพระราม 4 ในความทรงจำ ถ้ามาจากรพ.จุฬา ตรงไปจะเลี้ยวเข้าถนนวิทยุ  ด้านซ้ายเป็นกำแพงสวนลุมพินี ยาวเหยียดตลอดสาย   ด้านขวาเป็นบ้านหลังใหญ่ๆมีเนื้อที่กว้าง อยู่ริมถนน   ถนนสีลมเองก็มีบ้านใหญ่ๆสองข้างทางเหมือนกัน  แต่ถนนที่สวยที่สุดคือถนนคอนแวนต์  มีต้นไม้ร่มรื่นสองข้างทาง  มีโรงเรียนและวัดของคริสต์อยู่ด้านข้างของถนน  บ้านช่องเป็นหลังๆ กว้างขวาง เรียงกันมีระเบียบ   ไม่มีตึกแถว  มองดูเหมือนเมืองเล็กๆทางตะวันตก 
บันทึกการเข้า
dukedike
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 ก.ย. 23, 15:50

แผนที่ พ.ศ. ๒๔๕๗
ภาพเเผนที่นี้ปรากฎชื่อโรงพักกองตระเวณศาลาเเดง ท่านใดมีประวัติหรือรูปภาพ ของโรงพักกองตระเวณศาลาเเดง ข่วยนำมาลงเป็นวิทยาทานหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 ก.ย. 23, 11:35

แผนที่ พ.ศ. ๒๔๗๕ (สำรวจราว พศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๖๘) โรงพักกองตระเวนศาลาแดง เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 ก.ย. 23, 12:35

จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๓ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี เพื่อให้สอดคล้องกับที่ตั้งใกล้พระบรมรูปรัชกาลที่ ๖ สวนลุมพินี ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้มีการแบ่งแยก สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ออกเป็น ๒ สถานี คือ สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ๑ และ สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ๒

พ.ศ. ๒๕๑๒ สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ๒ ได้ย้ายไปอยู่ที่ ชอยสวนพลู ถบนสาทรใต้ เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ และ สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ๑ ได้ย้ายมาตั้งอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน อาคารทำการตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๙ ถนนวิทยุ แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พร้อมกับเปลี่ยนมาใช้ชื่อเดิม คือ สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี จนถึงปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง